1.1.11.2 มีการจัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรม 1.1.12 ระดับความสำเร็จของครูในการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน ครู กศน..ตำบลคอหงส์จัดกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตาม อ ั ธ ย า ศ ั ย ร ว ม ท ั ้ ง เข ้ า ร ่ ว ม ก ิ จ ก ร ร ม ก ั บ ภ า ค ี เ ค ร ื อ ข ่ า ย ใ น ช ุ ม ช น ท ี ่ เ ก ี ่ ย ว ข ้ อ ง ด ั ง นี้ 1.1.12.1 ครูเข้าประชุม วางแผน ร่วมกับภาคีเครือข่าย ร่วมประชุมวางแผน และเป็นคณะทำงาน “ทีมขับเคลื่อนระดับตำบล” ของตำบลคอหงส์ ในการ หารือ แนวทางการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนพื้นที่ตำบลคอหงส์ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ตามบทบาทภารกิจ
1.1.12.2 ครูจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่าย ครู กศน.ตำบลคอหงส์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษาและประชาชนในพื้นที่ ตำบลคอหงส์
1.1.12.3 ครูได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากภาคีเครือข่าย ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้รับมอบเก้าอี้ จำนวน 6 ตัว จากภาคีเครือข่าย เพื่อสนับสนุนในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนของ ศกร.ตำบลคอหงส์
1.1.13 จำนวนงานตามนโยบายเร่งด่วนหรืองานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย กิจกรรม สถานที่ วันที่ ๑. ร่วมประชุมคณะกรรมการติดตามและ ประเมินผลแผนพัฒนาเทศบาลเมืองคอหงส์ เทศบาลเมืองคอหงส์ 17 ต.ค. 2566 ๒. กิจกรรมจิตอาสาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอ ดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อ่างเก็บน้ำแก้มลิง 12 ต.ค. 2566 ๓. กิจกรรม Kick Offความมั่นคงทางอาหาร สกร.อำเภอหาดใหญ่ 15 พ.ย. 2566 ๔. โครงการขับเคลื่อนสร้างความปรองดอง สมานฉันท์(หมู่บ้านศีลธรรม) วัดบ้านไร่ หมู่ 10 ต.บ้านพรุ 20 พ.ย. 2566 ๕. กิจกรรมจิตอาสาเนื่องในวันวชิราวุธ สกร.อำเภอหาดใหญ่ 24 พ.ย. 2566 ๖. กิจกรรมวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอ ดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กศน.ตำบลคอหงส์ 5 ธ.ค. 2566 ๗. โครงการบริจาคโลหิต ถวายเป็นพระราชกุศล สกร.อำเภอหาดใหญ่ 15 ธ.ค. 2566 8. ร่วมประชุมคณะกรรมการติดตามและ ประเมินผลแผนพัฒนาเทศบาลเมืองคอหงส์ เทศบาลเมืองคอหงส์ 22 ธ.ค. 2566 ๙. อบรมเชิงปฏิบัติการสำรวจฐานทรัพยากร ท้องถิ่น การเก็บข้อมูล 9 ใบงาน เทศบาลเมืองคอหงส์ 25 ม.ค. 2567 ๑๐. รับการนิเทศติดตามประเมินผลการจัด การศึกษา (ด้านอาชีพและบ้านหนังสือชุมชน) ศกร.ตำบลคอหงส์ 29 ม.ค. 2567 ๑๑. ร่วมถวายความจงรักภักดีต่อองค์สมเด็จพระ กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สกร.อำเภอหาดใหญ่ 14 ก.พ. 2567 ๑๒. ร่วมเข้าแถวเคารพธงชาติไทยและกล่าวคำ ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ 19 ก.พ. 2567 ๑๓. การแข่งขันกีฬาสกร.เกมส์ สนามกีฬาเนินขุมทอง 21 ก.พ. 2567 ๑๔. กิจกรรมละศีลอดร่วมกับหัวหน้าร่วมราชการ ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ 13 มี.ค. 2567 15. กิจกรรมตลาดนัดความรู้วรรณกรรมชุมชน สกร.อำเภอหาดใหญ่ 15 มี.ค. 2567 16. โครงการบริจาคโลหิต ถวายเป็นพระราชกุศล สกร.อำเภอหาดใหญ่ 22 มี.ค. 2567 17. โครงการพัฒนาบุคลากรในการใช้สื่อการสอน ออนไลน์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา โรงแรมหาดใหญ่รามา 28-29 มี.ค. 2567 18. โครงการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย ตำบล กิจกรรมเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตยระดับ ตำบล ศกร.ตำบลคอหงส์ 21 มี.ค. 2567
งานตามนโยบายเร่งด่วน
1.2.1 การมีวินัย ข้าพเจ้า ปฏิบัติตนโดยมีคุณลักษณะที่แสดงถึงความมีวินัย ดังต่อไปนี้ 1) มีความซื่อสัตย์ สุจริต หลักฐานที่แสดงเห็นคือ ไม่เคยมีประวัติในเรื่องทุจริต ประพฤติมิชอบ 2) มีความรับผิดชอบ ความตั้งใจปฏิบัติงานและติดตามผลงานที่ทำอย่างสม่ำเสมอ 3) เคารพสิทธิของผู้อื่น โดยมีพฤติกรรมที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น การ แสดงความคิดเห็นในที่ประชุม จะมีการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ 4) มีระเบียบและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยปฏิบัติตนเคารพกฎของสถาน ศึกษาทุกเรื่อง เช่น แต่งกายถูกต้อง เหมาะสมกับความเป็นครู 5) มีลักษณะมุ่งอนาคต โดยรู้จักการมองเห็นอนาคต พัฒนาตนเองโดยการเข้ารับ การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งยังเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานต่างสังกัด ตั้งแต่บรรจุเข้ารับราชการจนถึงปัจจุบัน อย่างสม่ำเสมอ 6) มีความเป็นผู้นำ โดยมีลักษณะการวางตัวที่ดี ควบคุมตนเองได้ทั้งในการปฏิบัติตน และอารมณ์ มีความกล้าหาญ เด็ดขาด ได้รับความไว้วางใจในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ หรืองานอื่นๆ โดย ผลงานไม่มีความผิดพลาด ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความคล่องแคล้ว ว่องไว มีความอดทน อดกลั้น ต่อสถานการณ์ที่บีบบังคับ มีความกระตือรือร้นจดจ่อต่อการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง มีความริเริ่มแสวงหาแนว ทางการปฏิบัติงาน ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม มีการแต่งกายตามระเบียบทางราชการ 1.2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2 การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ข้าพเจ้าปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี โดยปฏิบัติตน ตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพครู ได้แก่ 1) จรรยาบรรณต่อตนเอง โดยปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่นักศึกษาและเพื่อนร่วมงาน ในเรื่องความมีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กร ทั้งเรื่องตรงต่อเวลา การแต่งกาย มีความ รับผิดชอบขยันหมั่นเพียร พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพอยู่เสมอ ให้เกียรติและมีความเคารพต่อบุคคลทุกระดับ มี ความยำเกรงต่ออบายมุขทั้งปวง ยึดมั่นในความพอเพียง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล ประหยัด และ ออม รู้จักการถ่อมตน และยึดมั่นในศีล ๕ 2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู เอาใจใส่ต่องานที่ทำมีความ มุ่งมั่นในการทำงานจนประสบผลสำเร็จเสมอ มีความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ส่งผลให้ได้รับ เกียรติบัตร ๓) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ มีความรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กําลังใจแก่ ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ประพฤติปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างที่ดี ทั้งทางกายวาจา และใจ ส่งเสริมให้ศิษย์มีความเจริญทางกายสติปัญญาจิตใจอารมณ์ และ สังคม ให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่ โดยมิชอบ 4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ร่วมประกอบวิชาชีพอย่าง สร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะอยู่เสมอ สามารถเป็นแบบอย่างในการพัฒนา ตนเองให้เกิดประโยชน์ทุกด้านต่อผู้ร่วมงาน ๕) จรรยาบรรณต่อสังคม ประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ข้าพเจ้าปฏิบัติตนได้เป็นที่ยอมรับของนักศึกษาผู้ร่วมงาน ผู้ปกครองและชุมชน จะเห็นได้จากการได้รับเชิญจากหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ ตำบลคอหงส์ให้เข้าร่วมจัดกิจกรรม ต่าง ๆ
1.2.3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ข้าพเจ้า น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและการปฏิบัติงาน จนเป็นนิสัย โดย ปฏิบัติตนด้วยความประหยัด อดออม ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น มีเงินเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น หากต้องมีการใช้จ่ายใน สิ่งของที่ตนเองต้องการ ข้าพเจ้า จักคิด ทบทวน ประมาณตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว จนเป็นนิสัย และข้าพเจ้าก็มี ความสุขกับการดำรงชีวิตอย่างนี้ตลอดมา ข้าพเจ้าเข้าใจว่า การกินอยู่อย่างพอเพียง พอกิน พออยู่ พอใช้ ก็ทำให้ คนเรามีความสุขได้และเมื่อปฏิบัติได้ ก็สามารถพูดต่อ เผยแพร่ความคิดนี้สู่คนอื่นได้ อันเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นัก นักศึกษา เพื่อร่วมงานต่อไป พร้อมกันนี้ข้าพเจ้ายังสนับสนุนให้นักศึกษารู้จักการประหยัดอดออม และนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน นำหลัก 2 เงื่อน เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรมนำไปสู่ 3 ห่วง คือ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน สู่ความสมดุล 4 มิติ ด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้าน สิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม 1.2.4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ข้าพเจ้าปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
การเป็นสมาชิกที่ดีสนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมของวิชาชีพและทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์โดย เป็น สมาชิกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู เช่นสมาชิกคุรุสภา สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสงขลา สมาชิก ช.พ.ค. สมาชิก ช.พ.ส.สมาชิกกองทุนสวัสดิการ สกร.อำเภอหาดใหญ่ เป็นต้น โดยปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี
๑.๒.5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ๑.๒.๕.๑ การเอาใจใส่ ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือน ปิดบังหวังสิ่ง ตอบแทนตั้งใจปฏิบัติหน้าที่การสอนอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลา เต็มหลักสูตร โดยมาปฏิบัติงานก่อนเวลา และกลับหลังเวลาเลิกทำงาน จัดวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการวิเคราะห์ศักยภาพของ กลุ่มเป้าหมาย และสำรวจความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดวิธีการเรียนให้เหมาะสมกับนักศึกษาจัดทำแผนการ จัดการเรียนรู้รายสัปดาห์ แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ บันทึกการเรียนรู้ จัดทำข้อมูลการลงทะเบียนของผู้เรียน และแจ้งให้ผู้เรียนรับทราบทุกคน จัดทำปฏิทินการพบกลุ่มทั้งภาคเรียน จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สอน เสริมนักศึกษาที่คาดว่าจะจบในภาคเรียนนั้นเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(N-NET) ออกแบบให้นักศึกษาทุก คนมี username และ password เพื่อเข้าใช้สื่อการเรียนรู้ จากรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านเว็บไซด์ www.etvthai.tvหรือออนไลน์อื่นๆ มีการติดตามผู้เรียนผู้เรียน ที่ขาดเรียน และที่ไม่มาพบกลุ่ม จัดทำบัญชีลงเวลา ของผู้เรียนและบัญชีลงเวลาของครู จัดทำรายงานการประเมินคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน จัดทำกิจกรรม กพช. จัดให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานอื่นที่ประสานขอความร่วมมือ จัดทำวิจัยชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียน ตรวจสุขภาพนักศึกษา ประกวดโครงงานนักศึกษา ๑.๒.๕.๒ การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียน และผู้รับบริการ เต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่าง สม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน โดยให้ความรัก ความเมตตากรุณาต่อนักเรียน เอาใจใสช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจแก่ นักศึกษาทุกคนด้วยความบริสุทธิ์ใจ พบปะ พูดคุยกับผู้ปกครอง ในการช่วยเหลือและส่งเสริมนักศึกษา จัดทำ ข้อมูลนักเรียนอย่างครบถ้วนทุกด้าน และทำความรู้จักคุ้นเคยกับนักศึกษาเป็นรายบุคคล เมื่อเกิดปัญหาจะแก้ไข ทันทีตั้งใจดูแลอบรมให้ศึกษาเป็นคนดี มีความประพฤติที่ดีงามและรู้จักปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองไปในแนวทาง ที่ดีเพื่อ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรมในการพัฒนางานในหน้าที่ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลในสาขาวิชาที่สอนทั้งในหนังสือ ระบบอินเทอร์เน็ต บทเรียนสำเร็จรูป โปรแกรมสื่อการสอน มา ประกอบแผนการจัด การเรียนรู้ สร้างและพัฒนาสื่อการสอนให้เหมาะสม
การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผน พฤติกรรมตามจรรยาบรรณของ วิชาชีพศึกษาจรรยาบรรณของครู และประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณด้วยความเต็มใจมีระเบียบแบบแผนใน การทำงานและการใช้ชีวิต มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ เพื่อนร่วมวิชาชีพ และผู้รับบริการ มีความรู้ความเข้าใจใน คุณค่าและความสำคัญของวิชาชีพ มีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความรักความศรัทธาในวิชาชีพ มีความรู้ความ เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของวิชาชีพ และปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของวิชาชีพ ๑.๒.๕.๓ การมีจิตอาสา จิตสาธารณะ และมุ่งประโยชน์ส่วนรวมให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือในกิจกรรม งานโครงการที่โรงเรียนจัดอย่างเต็มใจ ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ให้สำเร็จตาม วัตถุประสงค์ ให้การช่วยเหลือผู้ร่วมงาน ตามความเหมาะสมที่เราจะช่วยได้
คำสั่งมอบหมายงาน/หนังสือเชิญ สมุดลงเวลาปฏิบัติงาน
แฟ้มสะสมผลงาน โล่รางวัล /เกียรติบัตร/วุฒิบัตร
ศกร.ตำบลคอหงส์มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ใช้การจัดการเรียนการ สอนโดยการพบกลุ่ม และจัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ผ่านระบบ HatyaiNFE LMS Hatyai NFE Care ETV YouTube ครูกศน.ตำบลมีทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ครอบคลุม และข้าถึงความต้องการของ ผู้เรียนอย่างเป็นระบบชัดเจน มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และสื่อการเรียน การสอนที่มีความหลากหลาย ทันสมัยและน่าสนใจ มีทักษะในการกระตุ้นการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมใช้ กระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษา มีการวัดและประเมินผลที่มีมาตรฐาน จากการสังเกต พฤติกรรม ชิ้นงาน หรือผลงาน แฟ้มสะสมผลงาน โครงงาน มีการวัดและประเมินผลระหว่างภาคเรียน ปลายภาค เรียน นอกจากนี้ ยังมีการติดตามผู้เรียนในการนำความรู้ไปใช้หลังจากเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือจาก แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบติดตามผู้เรียนหลังจบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่องในทุกกิจกรรมเป็นรายบุคคล เพื่อนำผลการวิเคราะห์และปรับปรุง ผลการจัดกิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น 1.3.1 ทักษะ เทคนิค การจัดการเรียนการสอนที่ครอบคลุม และเข้าถึงความต้องการของ ผู้เรียนอย่างเป็นระบบและชัดเจน 1.3 ด้านความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ความสามารถ
1.3.2 มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ศกร.ตำบลคอหงส์มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วม วางแผน มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง จากแหล่งเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ ต่างๆ ทั้งนี้ครูได้รับการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง โดยใช้จัดทำแผนการเรียนรู้แบบ BBL (Brain Based Learning)
1.3.3 มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือสื่อการเรียนการสอน ให้มีความหลากหลาย ทันสมัยและน่าสนใจ ศกร.ตำบลคอหงส์มีการออกแบบการจัดการเรียนการสอนใช้สื่อการสอนสลับกับการใช้สื่อ ออนไลน์ ผ่านระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์Hatyai NFE LMS, NFE Care, ETV, YouTube
1.3.4 มีทักษะในการกระตุ้นการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ครู กศน.ตำบลมีทักษะในการกระตุ้นการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อนำทักษะไปพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ เช่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ร่วมถึงกล่าวชมเชยและมอบ รางวัลแก่นักศึกษาที่ประพฤติดี 1.3.5 มีเทคนิคการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ภาคีเครือข่าย และช่องทางออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ผ่านทางเฟสบุ๊ค ประชาสัมพันธ์ เสียงตามสายของชุมชน ประชาสัมพันธ์ผ่านระบบ Line ของตำบล
ตัวชี้วัดที่ ๑ สภาพอาคาร ศกร.ตำบลคอหงส์อยู่ในสถานที่มั่นคง มีความเป็นสัดส่วนและปลอดภัย อาคาร ศกร.ตำบลคอหงส์ อยู่ภายในรั้วเดียวกันกับ สกร.อำเภอหาดใหญ่ โดยใช้พื้นที่โรงเรียนบ้านคลองเปล ซึ่งถูก ยุบเมื่อปี พ.ศ.2559 ศกร.ตำบลคอหงส์เป็นอาคารชั้นเดียว มี 1 ห้องพักครู 1 ห้องเรียน และมีห้องน้ำสำหรับครู และนักศึกษา มีสัดส่วนชัดเจน ด้านที่ 2 สภาพแวดล้อมทางกายภาพของ ศกร.ตำบล ดึงดูดความสนใจและเอื้อต่อการเรียนรู้ (Good Place Best-Check in)
ตัวชี้วัดที่ ๒ มีการจัดสภาพแวดล้อม โดยยึดหลัก ๕ ส. (สะสาง, สะดวก, สะอาด, สุขลักษณะ , สร้างนิสัยและ สะดุดตา) ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในเป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย และภายนอกบริเวณอาคารเป็น แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตำบล แหล่งเรียนรู้สวนผักพอเพียงโซนหงส์พรุตง มีสวนหย่อม หน้าอาคาร มีจุดเช็คอินที่สะดุดตา
ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้ใช้บริการ เกิดความรู้สึกเป็นมิตร(friendly), สะอาดตา (tidy), ปลอดภัย(safely), มีชีวิตชีวา (lively) และมีความสุข(happy) ในการเข้าใช้บริการ ศกร.ตำบลคอหงส์ เปิดให้บริการทุกวัน เป็นสถานที่ ๆ จัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ศกร.ตำบลคอหงส์ มีบริการตาม บทบาทภารกิจสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และบริบทของพื้นที่ ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การ เรียนรู้ได้แก่ 1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้มีการจัดสภาพแวดล้อมบริเวณภายนอกอาคารเป็นแหล่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (ศรร.) ในตำบลอย่างต่อเนื่อง เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการ เรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน มีมุมความรู้ให้บริการ เป็น แหล่งเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก และการเกษตรอินทรีย์
2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) ศกร.ตำบลคอหงส์ ร่วมมือกับ กกต.จังหวัดสงขลา จัดตั้งศูนย์ ศส.ปชต.คอหงส์ เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและ หน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ศกร.ตำบลคอหงส์ บริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับหน่วยงาน และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทัน ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน ศกร.ตำบลคอหงส์ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบ การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตาม อัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย ศกร. ตำบล มีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
ตัวชี้วัดที่ 4. มีการแสดงข้อมูลสารสนเทศตามบริบทของ ศกร.ตำบล ที่เป็นปัจจุบัน ศกร.ตำบลคอหงส์ มีข้อมูลระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ (DMIS) สถานที่ตั้ง และลักษณะพื้นที่ตั้ง มีพิกัด ตำแหน่งละติจูด ลองติจูด มีข้อมูลบุคลากร มีชื่อและเบอร์ติดต่อ ของหัวหน้า ศกร.ตำบล มีเว็บไซต์ ศกร.ตำบลคอหงส์ และ Fan page Facebook ศกร.ตำบลคอหงส์ มีข้อมูลสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต มีจำนวนผู้ใช้สื่อ รายงานผู้ใช้สื่อ มีแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการการศึกษา ตามอัธยาศัย ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ (DMIS)
ข้อมูลสถานที่ตั้ง และลักษณะพื้นที่ตั้ง ศกร.ตำบลคอหงส์ ตั้งอยู่เลขที่ 64 ถนนกาญจนวนิช ซอย 4 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (อดีตโรงเรียนบ้านคลองเปล) พิกัดตำแหน่ง ละติจูด 7.040738 ลองติจูด 100.498702
ข้อมูลบุคลากร ศกร.ตำบลคอหงส์
ชื่อและเบอร์ติดต่อ ของหัวหน้า ศกร.ตำบลคอหงส์ นางสาวจาริยา หมัดหมาน ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 0943201646 ลิงค์ เว็บไซต์และ Fan page Facebook ศกร.ตำบลคอหงส์ เว็บไซต์ ศกร.ตำบลคอหงส์ >>> http://sk.nfe.go.th/hatyai07/ แฟนเพจ ศกร.ตำบลคอหงส์>>> https://www.facebook.com/NFEtombonkhohong/about
ข้อมูลสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา มีสื่อ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ จำนวนผู้ใช้สื่อ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เฉลี่ยต่อเดือนต่อวัน
จำนวนผู้เข้ารับบริการที่ กศน.ตำบล เฉลี่ยต่อเดือน ข้อมูลคณะกรรมการ กศน.ตำบลคอหงส์
มีการรายงานผลข้อมูลพื้นฐานครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ศกร.ตำบลคอหงส์ มีการรายงานผลข้อมูลพื้นฐานให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยผ่านระบบ DMIS ตัวชี้วัดที่ 5 มีเอกลักษณ์ / อัตลักษณ์ ของตำบลตามบริบทของฟื้นที่ - เอกลักษณ์ของ ศกร.ตำบลคอหงส์ คือ “รักการเรียนรู้ คู่คุณธรรม” - อัตลักษณ์ของ ศกร.ตำบลคอหงส์ คือ “ ความรู้ คู่คุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ ๖ มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น โต๊ะ, เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้รับการจัดสรรโต๊ะ เก้าอี้ กระดานไวท์บอร์ด เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 7 เป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการ ไต้แก่ Internet, Wifi, สื่อ การเรียนรู้ออนไลน์ ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้รับการจัดสรรตัวรับสัญญาณไวไฟ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ มีชุดสื่อการเรียนการสอน หนังสือพิมพ์ วารสารเพียงพอแก่การให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย
ตัวชี้วัดที่ 8 เป็นจุดเช็คอิน (Check- In) ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เข้าใช้บริการ ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสามารถให้ผู้ที่มารับบริการให้มีสีสัน เพื่อได้มี ความสุขกับการบริการ บรรยากาศภายนอกอาคาร
ภาพบรรยากาศภายในอาคาร
ตัวชี้วัดที่ 9. มีการจัดทำรหัสคิวอาร์โค้ด ( QR. Code) เพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้ข้อมมูลต่างๆ คิวอาร์โค้ดศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน
คิวอาร์โค้ดศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง โครงการตามแนวพระราชดำริ คิวอาร์โค้ดศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง
QR. Code การศึกษาตามอัธยาศัย
ศกร.ตำบลคอหงส์มีการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลการจัดการศึกษาเชิงประจักษ์ โดดเด่น และมีการปฏิบัติที่ดี การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ระบบออนไลน์ มี การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้รวมถึงนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสม ตัวชี้วัดที่ 1 มีการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือการศึกษาต่อเนื่อง หรือการศึกษาตามอัธยาศัย มีผล เชิงประจักษ์ โดดเด่น และมีการปฏิบัติที่ดี รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ระบบออนไลน์ 1.1 มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลเชิงประจักษ์โดดเด่น 1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือการศึกษาต่อเนื่อง หรือการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลเชิงประจักษ์ ศกร.ตำบลคอหงส์มีนักศึกษาเข้ารับการศึกษาเกินจากเกณฑ์ที่กรม ส่งเสริมการเรียนรู้กำหนด ดังนี้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีนักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 81 คน ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 144 คน รวมทั้งหมด จำนวน 225 คน ครูผู้สอน ระดับประถม ระดับ ม.ต้น ระดับ ม.ปลาย รวม นางสาวจาริยา หมัดหมาน - 25 51 76 นายสถิรภัทร ลิ่มเซ่ง - 25 53 80 นายชัชนันท์ ชีวทรรศน์ - 30 39 69 รวมทั้งสิ้น 223 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 มีนักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 90 คน ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 134 คน รวมทั้งหมด จำนวน 224 คน ครูผู้สอน ระดับประถม ระดับ ม.ต้น ระดับ ม.ปลาย รวม นางสาวจาริยา หมัดหมาน - 28 45 73 นายสถิรภัทร ลิ่มเซ่ง - 28 53 81 นายชัชนันท์ ชีวทรรศน์ - 34 36 70 รวมทั้งสิ้น 224 ด้านที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือการศึกษาต่อเนื่อง หรือการศึกษาตาม อัธยาศัย มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพในการให้บริการ (Good Activities)
มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายสัปดาห์/แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ บันทึกการเรียนรู้และ จัดทำข้อมูลการลงทะเบียนของผู้เรียน และแจ้งให้ผู้เรียนรับทราบโดยทั่วกัน ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้มีการจัดทำแผนการเรียนรู้รายสัปดาห์ รายภาค ทุกภาคเรียน และสอดแทรกเนื้อหาเพิ่มเติมจากนโยบายที่ได้รับ มีการจัดทำปฏิทินการพบกลุ่มทั้งภาคเรียน และแจ้งให้ผู้เรียนรับทราบโดยทั่วกัน ศกร.ตำบลคอหงส์ มีการจัดทำปฏิทินการพบกลุ่มทั้งภาคเรียน และได้มีการแจ้งให้ผู้เรียนทราบ ตั้งแต่เริ่มจัดการเรียนการสอน
จัดทำบันทึกหลังการพบกลุ่ม เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขแผนการสอนในครั้งต่อไป ศกร.ตำบลคอหงส์ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโร นา หรือ COVID-19 ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งกระจายไปทั่วโลกทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (สบค.) กำหนดมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดออกมาเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะ ใ น ส ถ า น ศ ึ ก ษ า เ พ ื ่ อ ใ ห ้ เ ป ็ น ไ ป ต า ม ม า ต ร ก า ร ก า ร ป ้ อ ง ก ั น ก า ร ต ิ ด เ ช ื ้ อ ไ ว รั ส โคโรนา จึงได้ปรับกลยุทธ์ในจัดการเรียนการสอน เพื่อลดช่องว่างการพบปะของครูกับนักศึกษา และประชาชน เริ่มตั้งแต่การรับสมัครนักศึกษา โดยให้สมัครผ่านระบบ Online นักศึกษาสามารถสมัครเรียนด้วย การสแกน QR Code ในส่วนของการจัดการเรียนการสอน ได้ออกแบบระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรียกว่าหรือ HatyaiNFE LMS ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้กับครูและนักศึกษา ให้สามารถ จัดการเนื้อหาได้ทุกที่ทุกเวลา เช่นเดียวกันนักศึกษาก็สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ทุกที่ทุกเวลา สอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้มอบไว้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาว่า ปัจจุบันสังคมโลกก้าวเข้าสู่ ยุคดิจิทัล การศึกษาก็ต้องปรับตัว เพื่อก้าวข้ามการสอนในรูปแบบเดิม สู่การเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
ศกร.ตำบลคอหงส์จัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ เรียกว่า HatyaiNFE LMS ให้ข้อมูลด้าน การศึกษาแก่นักศึกษาผ่านช่อง Youtube (ช่อง Hatyai NFE Channel) ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษา สกร.อำเภอหาดใหญ่ โดยผ่านช่อง Hatyai NFE Channel
การปฏิบัติงานด้านการศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวทำให้ ศกร.ตำบลคอหงส์ มีผลเชิง ประจักษ์โดดเด่น ดังนี้ 1. มีนักศึกษาเข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (N-NET) ทั้ง 2 ภาคเรียน ดังต่อไปนี้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีผู้เข้าสอบคิดเป็นร้อยละ 96.15 ครูผู้สอน จำนวนนักศึกษาที่มี รายชื่อเข้ารับการทดสอบ N-NET เข้าสอบ เข้าสอบ คิดเป็น ร้อยละ ขาดสอบ ขาดสอบ คิดเป็น ร้อยละ นางสาวจาริยา หมัดหมาน 10 10 100 - - นายสถิรภัทร ลิ่มเซ่ง 9 8 88.89 1 11.11 นายชัชนันท์ ชีวทรรศน์ 7 7 100 - - รวม 26 25 96.15 1 3.85 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 มีผู้เข้าสอบคิดเป็นร้อยละ 92.98 ครูผู้สอน จำนวนนักศึกษาที่มี รายชื่อเข้ารับการทดสอบ N-NET เข้าสอบ เข้าสอบ คิดเป็น ร้อยละ ขาดสอบ ขาดสอบ คิดเป็น ร้อยละ นางสาวจาริยา หมัดหมาน 22 20 90.91 2 9.09 นายสถิรภัทร ลิ่มเซ่ง 22 20 90.91 2 9.09 นายชัชนันท์ ชีวทรรศน์ 13 13 100 - - รวม 57 53 92.98 4 7.02 จากการจัดการเรียนการสอนและการกำกับติดตามนักศึกษาที่มีรายชื่อสอบให้เข้าทดสอบ N-NET ของ ศกร.ตำบลคอหงส์รวม 2 ภาคเรียน มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 94.52 รวมทั้งยังส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์โดยภาพรวมใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของ สกร.อำเภอหาดใหญ่ มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้าน การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ผ่านเกณฑ์เป้าหมายขั้นสูง
2. ศกร.ตำบลคอหงส์จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ สกร.อำเภอหาดใหญ่ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา ครั้งที่ 4/2566 (ในระดับ ดี) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) 3. ศกร.ตำบลคอหงส์เป็นหนึ่งใน ศกร.ตำบล ที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการศึกษาภายใต้มาตรการรักษา ความปลอดภัยภายในสถานศึกษา อันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สกร.อำเภอหาดใหญ่ ได้รับรางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ดีเด่น ประจำปี 2566 ปีที่ 4 ติดต่อกัน จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4. ศกร.ตำบลคอหงส์ เป็นหนึ่งใน ศกร.ตำบล ที่ดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายา เสพติดในสถานศึกษา ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ร่วมมือกันเฝ้าระวังไม่ให้ผู้เรียนเข้าไป เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการบริหารจัดการ สภาพแวดล้อมของห้องเรียนและบริเวณโดยรอบให้ปลอดอบายมุข เป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้ สกร.อำเภอหาดใหญ่ ได้รับรางวัล ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น “ระดับเงิน” โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยา เสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 จากกระทรวงศึกษาธิการ 1.1.2 การศึกษาต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง ๔ กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมพัฒนาสังคมชุมชน และกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรมโดยใช้สื่อที่มีในชุมชนในการจัดการเรียนรู้ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาด้านอาชีพเพื่อการมีงานทำ ได้แก่ กลุ่ม อาชีพเกษตรกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม การบริการ และช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและ บริบทของพื้นที่ โดยมุ่งให้เกิดความรู้และทักษะ สามารถประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ตลอดจนส่งเสริม การรวมกลุ่ม การสร้างแบรนด์ รวมถึงการจัดหาช่องทางการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายและผู้สูงอายุ ที่สอดคล้องกับความ ต้องการเพื่อให้มีความรู้ เจตคติและทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในสังคม ปัจจุบัน สามารถเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน พึ่งพาตนเองได้โดยจัดกิจกรรมที่มีเนื้อหาสำคัญต่าง ๆ อาทิ การอบรมให้ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพกายสุขภาพจิต เป็นต้น การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบ ของการอบรมการให้ความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมอย่าง ยั่งยืน เช่น การอบรมการป้องกันตนเองจากโรคอุบัติใหม่และไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การอบรมสัมมนา จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ และรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่ โดยจัด ก ร ะ บ ว น ก า ร ใ ห ้ บ ุ ค ค ล ร ว ม ก ล ุ ่ ม เ พ ื ่ อ แ ล ก เ ป ล ี ่ ย น เ ร ี ย น ร ู ้ ร ่ ว ม ก ั น ส ร ้ า ง ก ร ะ บ ว น การคิด มีจิตธารณะ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน
กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับประชาชน เพื่อให้ความรู้เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ตลอดจนมีการบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมในการดำเนินชีวิต การจัดกิจกรรมดังกล่าวของ ศกร.ตำบลคอหงส์ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนดำเนินงานด้านการ ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันทำให้ สกร.อำเภอหาดใหญ่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2556 และได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนยกระดับให้ สกร.อำเภอหาดใหญ่ กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563
1.1.3 การศึกษาตามอัธยาศัย มีการจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมายตามความต้องการของ แต่ละกลุ่ม กิจกรรมที่ร่วมจัดกับแหล่งเรียนรู้ มีห้องสมุดเคลื่อนที่ที่ให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง 1.2 มีการปฏิบัติที่ดี(Best Practice) ศกร.ตำบลคอหงส์ มีผลการดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์ โดดเด่น มีผลการปฏิบัติที่ดี(Best Practice) ทั้ง การเรียนแบบชั้นเรียนและการใช้ระบบออนไลน์ มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบรูณาการและประยุกต์ใช้อย่าง เหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดี (Good Innovation) ด้วยการนำเทคโนโลยีมา ประยุกต์เป็นช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ที่ครูรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ มีการนำระบบการจัดการเรียนรู้ที่ทำ หน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์Learning Management System (LMS) โดยผู้สอนนำเนื้อหาและ ส ื ่ อ ก า ร ส อ น ข ึ ้ น เ ว ็ บ ไ ซ ต ์ เ พ ื ่ อ ใ ห ้ ผ ู ้ เ ร ี ย น เ ข ้ า ถึง เ น ื ้ อ ห าแ ล ะก ิ จ ก ร ร ม ต ่ า ง ๆ ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่จัดไว้ให้ นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ผู้เรียนใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำวันมาใช้เป็นช่องทางสื่อสารและ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การใช้แอปพลิเคชัน Line สร้างเป็นกลุ่มห้องเรียน เพื่อการ ติดต่อสื่อสาร การชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการเรียน การใช้ YouTube เป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์และ การเรียนรู้ผ่านรูปแบบออนไลน์ และการใช้ Google Meet มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบพบกลุ่มทางไกล