The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ห้องเรียนคุณภาพตำบลคอหงส์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Jariya1646, 2024-04-23 01:20:37

ห้องเรียนคุณภาพตำบลคอหงส์

ห้องเรียนคุณภาพตำบลคอหงส์

กระบวนการดำเนินงานยึดหลักวงจรคุณภาพของเดมมิง (PDCA) ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณของ ศกร.ตำบลคอหงส์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย โดยยึดแนวทางตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสงขลา ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหาดใหญ่ ตลอดจนบริบทความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของ ศกร.ตำบลคอหงส์


นำผลการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ มาวิเคราะห์สภาพความต้องการ และ ความจำเป็น (SWOT Analysis) เมื่อดำเนินการโครงการ/กิจกรรม สำเร็จบรรลุผล จึงได้จัดทำการรายงานการจัดทำโครงการ/กิจกรรม ศกร.ตำบลคอหงส์ได้ตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นการประเมินผลจากการร่วมทำโครงการตาม แผนการดำเนินงาน เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารสถานศึกษา ที่สำคัญเพื่อได้นำไปปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นใน โอกาสต่อไป


ผลการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice ) ของ ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้แก่ การทำเครื่องดื่มม็อกเทล การทำผ้า มัดย้อม และการทำพวงหรีด เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนตำบลคอหงส์มีการรวมกลุ่ม ใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงขยายผลต่อยอดไปสู่การสร้างอาชีพ 1.3 มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ระบบออนไลน์ ศกร.ตำบลคอหงส์จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนออนไลน์ ผ่านระบบการจัดการเรียนการสอน ออนไลน์Hatyai NFE LMS นอกจากนี้ ยังมีจัดทำคู่มือการใช้งานระบบทั้งสำหรับครูสอนและสำหรับนักศึกษา เพื่อให้สะดวกในการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา


มีการจัดทำคู่มือการใช้งานระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ดังนี้ 1. คู่มือการใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ HatyaiNFE LMS สำหรับครูเพื่อส่งเสริมการ จัดการความรู้ระบบออนไลน์ เป็นฐานข้อมูลบริการแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ แก่นักศึกษา เป็นแหล่งค้นคว้า เข้าสู่ยุคไทย แลนด์ 4.0 ช่วยให้ระบบการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเพิ่มโอกาสทางการศึกษา สามารถกระจายแหล่ง เรียนรู้ไปได้ทุกที่ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2. คู่มือการใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ HatyaiNFE LMS สำหรับนักศึกษา ให้ใช้งานระบบ การจัดการความรู้ออนไลน์ในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการความรู้ระบบออนไลน์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลบริการ แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ แก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป เป็นแหล่งค้นคว้า ช่วยลดทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะกระดาษ ลดภาวะโลกร้อน เข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ช่วยให้ระบบการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเพิ่มโอกาสทาง การศึกษา


3. คู่มือการใช้งานระบบ HATYAINFE CARE ข้อมูลนักศึกษารายบุคคลศกร.ตำบลคอหงส์ ซึ่งเป็นเอกสารฉบับ 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) เหมาะสมสำหรับนักศึกษาทั่วไปทุกระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งไม่ต้องเดินทางมาสถานศึกษาโดยตรง เหมาะกับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโร น่า-19 คู่มือได้รองรับนักศึกษาต่างประเทศจำนวนหนึ่ง ที่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร การจัดทำคู่มือการใช้งานระบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและครูสามารถดูหรือตรวจเช็คข้อมูลนักศึกษา รายบุคคล ผ่านระบบออนไลน์ได้ทันทีที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งระบบได้ออกแบบมาให้รองรับกับการใช้งานบนสมาร์ท โฟน แท็บเล็ต ไอแพต ไอโฟน ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ หรือจะใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แล็ปท็อป ก็จะสะดวกยิ่งขึ้น ตอบ โจทย์ในยุคการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ เพียงแค่เลือกระดับชั้น ใส่เลขบัตรประจำตัว ก็จะรู้ข้อมูลทุกอย่างครบ จบในระบบเดียว รวมถึงทราบข้อมูลการลงทะเบียนรายบุคคลล่วงหน้า โดยเฉพาะวันเวลาของวันสอบจริง ทำให้เพิ่ม เปอร์เซ็นต์การเข้าสอบ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอีกด้วย


ตัวชี้วัดที่ 2 บูรณาการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกิจกรรมการเรียนรู้ ศกร.ตำบลคอหงส์ได้ประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ และยังเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล มีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการ เ ร ี ย น ร ู ้ ต า ม ห ล ั ก ป ร ั ช ญ า ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ ก ิ จ พ อ เ พ ี ย ง โ ด ย บ ู ร ณ า ก า ร จ า ก ภ ู ม ิ ป ั ญ ญ า ท ้ อ ง ถิ่ น ใช้กระบวนการทำประชาคมร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย ผู้นำชุมชน และประชาชน สู่การจัดแผนมุ่งสู่ การพัฒนานวัตกรรมใหม่ (Innovation) มาปรับใช้ให้เข้ากับยุคและสมัย ศกร.ตำบลคอหงส์จัดทำแผนโครงการกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการโดยนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จัดกิจการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไป ทุกกลุ่มวัยและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้รับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการ ด้านการพัฒนาอาชีพมุ่งให้เกิด ความรู้ ทักษะสามารถประกอบกอบอาชีพเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ด้านพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อให้มีความรู้เจตคติและ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน สามารถเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ด้านพัฒนาสังคมและชุมชนเป็นการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืนและใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ และด้านหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการส่งเสริมการดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างพอเพียง โดยมีการจัดทำแผนงานและโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและมีแผนการจัดการ เรียนรู้ สื่อ แหล่งเรียนรู้ และมีการรายงานผลการจัดกิจกรรมและติดตามผู้เรียน


แผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โครงการ/กิจกรรม ที่ โครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย DMIS (คน) ผลการดำเนินงาน (คน) 1 การทำฝาชีจากเส้นพลาสติก กลุ่ม 1 7 8 2 การทำฝาชีจากเส้นพลาสติก กลุ่ม 2 7 8 3 การทำโดนัทจิ๋ว 7 8 4 การทำม็อกเทล 7 8 5 การทำเมี่ยงคำ 7 7 6 การทำพวงมาลัยเงิน 7 8 7 การทำยาหม่องน้ำ 7 8 8 การทำพวงหรีด 7 7 9 การเลี้ยงปลาดุก 7 8 10 การแปรรูปปลาดุก 7 8


ที่ โครงการ/กิจกรรม เป้าหมาย DMIS (คน) ผลการดำเนินงาน (คน) 11 การทำกาแฟสด 7 9 12 การทำผ้ามัดย้อม 7 8 13 การทำบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ 7 8 14 การตัดผมชายเบื้องต้น 12 12 15 กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : การทำปุ๋ยก้อน 1 1 รวมทั้งหมด 15 กิจกรรม 104 116 การรายงานผลการจัดกิจกรรม


ศกร.ตำบลคอหงส์ มีศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในตำบล และยังเป็นศูนย์ ประสานงานเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล มีการสนับสนุนให้ชุมชนส่งเสริมการเรียนรู้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษาและประชาชนในพื้นที่ แบบติดตามผู้เรียนกิจกรรม/โครงการ ที่บูรณาการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มีการติดตามผู้เรียนที่นำความรู้ไปใช้จริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต นำความรู้ไปใช้ลดรายจ่าย เพิ่ม รายได้ต่อยอดอาชีพเดิม ประกอบอาชีพเสริม และอื่น ๆ


กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ วิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรไม่เกิน 30 ชั่วโมง และหลักสูตร 31 ชั่วโมงขึ้นไป ที่ โครงการ/กิจกรรม ค่า เป้าหมาย ตามแผน ผลการ ดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ทำเป็น อาชีพ เสริม สร้าง อาชีพ ใหม่ ต่อยอด อาชีพ เดิม พัฒนา คุณภาพ ชีวิต ลดราย จ่าย รวม 1 การทำฝาชีจากเส้นพลาสติกกลุ่ม 1 7 8 3 - - 3 2 8 2 การทำฝาชีจากเส้นพลาสติกกลุ่ม 2 7 8 3 - - - 5 8 3 การทำโดนัทจิ๋ว 7 8 2 - - 3 3 8 4 การทำม็อกเทล 7 8 2 - - 3 3 8 5 การทำเมี่ยงคำ 7 7 - - - 4 3 7 6 การทำพวงมาลัยเงิน 7 8 - - - 6 2 8 7 การทำยาหม่องน้ำ 7 8 - - - 4 4 8 8 การทำพวงหรีด 7 7 - - - 3 4 7 9 การเลี้ยงปลาดุก 7 8 - - - 5 3 8 10 การแปรรูปปลาดุก 7 8 - - - 5 3 8 11 การทำกาแฟสด 7 9 - - - 4 5 9 12 การทำผ้ามัดย้อม 7 8 2 - - 3 3 8 13 การทำบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ 7 8 - - - 5 3 8 14 การตัดผมชายเบื้องต้น 12 12 - - - 6 6 12 รวมกลุ่มเป้าหมาย 14 กิจกรรม 103 115 12 - - 54 49 115 คิดเป็นร้อยละ 10.43 - - 46.95 42.60 100 กิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละของผู้จบหลักสูตรที่นำความรู้ไป ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม ที่ กิจกรรม พัฒนาตนเอง รวม คิดเป็นร้อยละ 1 การทำปุ๋ยก้อน 1 1 100 รวม 1 1 100


ตัวชี้วัดที่ 3 มีการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชน และความ ต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุมและเป็นระบบ โดยคำนึงถึงต้นน้ำ (Upstream) กลางน้ำ (Midstream) ปลายน้ำ (Midstream) ปลายน้ำ (Downstream) โครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชน และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 กิจกรรม ดังนี้ 1. โครงการมหกรรมการแสดงผลงานวิชาการและการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ศกร.ตำบลคอหงส์ มีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นพื้นฐาน (Project-Base-Learning) เป็นการจัด กระบวนการการเรียนรู้โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นทางความคิด เพื่อทำให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกในสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ เพื่อ นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมและการศึกษาค้นคว้า หาความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง นำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ได้จากการลง มือปฏิบัติ โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ที่จะนำมาสู่การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ มีการ เขียนกระบวนการจัดทำโครงงานศึกษาหาความรู้โดยการทดลองและได้ผลการจัดกิจกรรมเป็นผลงานรูปธรรม เป็น การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานตามระดับทักษะที่ตนเองมีอยู่ เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจและได้รับสิทธิการเลือกว่า จะตั้งคำถามอะไร และต้องการผลผลิตอะไรจากการทำงานโครงงานชิ้นนี้ โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้คอยชี้แนะ สนับสนุนอุปกรณ์และจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวิเคราะห์ การ วางแผนการปฏิบัติงานและการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน


2. โครงการค่ายพัฒนาวิชาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์นักศึกษา สกร. ระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย (N - NET) วันที่ 18 และ 19 มกราคม 2567 ณ สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในสาระทักษะการเรียนรู้ สาระการประกอบอาชีพ สาระทักษะการดำเนินชีวิต สาระความรู้ พื้นฐาน และสาระการพัฒนาสังคม ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาให้สูงขึ้น 3. โครงการเสริมสร้างความรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยและศึกษาแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วันที่ 22 และ 24 มกราคม 2567 ณ หอประวัติพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เพื่อสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้มีโอกาส เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และรู้ถึงชีวประวัติของบุคคลสำคัญในจังหวัดที่ตนเองอาศัยอยู่ 4. โครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับยุวกาชาด วันที่ 30 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหาดใหญ่ เพื่อให้นักศึกษาที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาล เบื้องต้นที่ถูกต้อง


5. โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จะนะ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์และ สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรง และได้เปลี่ยนสถานที่เรียนรู้จากการเรียนรู้ เฉพาะในห้องเรียน ตัวชี้วัดที่ 4 มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน/ผู้รับบริการในแต่ละกิจกรรม แต่ละพื้นที่จัด กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ศกร.ตำบลคอหงส์มีเครื่องขยายเสียง จำนวน 1 ชุด เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์จำนวน 1 ชุด เพื่อใช้ใน การจัดการเรียนการสอน มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ มีชุดสื่อการเรียน การสอน หนังสือพิมพ์ และวารสารเพียงพอต่อการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย ศกร.ตำบลคอหงส์มีการจัดการเรียนการสอนนอกเหนือจากการพบกลุ่ม โดยมีสื่อการเรียนการสอนใน ระบบอื่น ๆ ทั้งหมด 4 ระบบ ประกอบด้วย 1. การเรียนการสอนระบบออนไลน์โดยใช้ระบบ LMS (Learning Management System) เป็นสื่อการเรียนการสอนระบบออนไลน์ที่ใช้ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้นักศึกษาสามารถรับใบความรู้ รับใบ


งาน ส่งใบงาน ในรายวิชาบังคับ วิชาเลือก และวิชาเลือกบังคับ ผ่านระบบนี้ได้ในระบบเดียว โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน ระบบอื่น ๆ 2. การเรียนการสอนผ่านระบบ ETV (Educational Television) เป็นสื่อการเรียนการสอนสถานีวิทยุ โทรทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นสถานีโทรทัศน์ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอรายการ เ ก ี ่ ย ว ก ั บ ก า ร ศ ึ ก ษ า ท ั ้ ง ร ะ ด ั บ ป ร ะ ถ ม ศ ึ ก ษ า ม ั ธ ย ม ศ ึ ก ษ า แ ล ะ ก า ร ศ ึ ก ษ า น อ ก โร ง เร ี ย น ให้นักศึกษาสามารถได้รับความรู้ผ่านช่องทางนี้ได้


3. การให้ข้อมูลด้านการศึกษาแก่นักศึกษาผ่านช่อง Youtube (ช่อง HatyaiNFE Channel) เป็นช่องทาง แนะนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ สกร.อำเภอหาดใหญ่ มีการปฐมนิเทศนักศึกษาออนไลน์ คู่มือแนะนำการใช้งานระบบ ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษา 4. การให้ข้อมูลด้านการศึกษาแก่นักศึกษาผ่านเว็บไซต์ HATYAINFE CARE เป็นการให้บริการข้อมูล นักศึกษารายบุคคล ออกแบบขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและครู ที่สามารถดูหรือตรวจสอบ ข้อมูลนักศึกษารายบุคคลผ่านระบบออนไลน์ได้ทันทีที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ซึ่งระบบได้ออกแบบมาให้รองรับกับ การใช้งานบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไอแพด ไอโฟน ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ หรือจะใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แล็ปท็ อป ก็จะสะดวกยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ในยุคการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ เพียงแค่เลือกระดับชั้น ใส่เลขบัตร ประจำตัว ก็จะรู้ข้อมูลทุกอย่างครบ จบในระบบเดียว


ศกร.ตำบลคอหงส์จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับนักศึกษาและประชาชนใน พื้นที่ตำบลคอหงส์โดยมีภาคีเครือข่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาสาสมัคร ศกร.ตำบล ร่วมจัด ส่งเสริม สนับสนุนการ จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ 4.1 มีทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ และภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ที่เป็นปัจจุบัน ดังนี้ 4.1.1 ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาด้าน ชื่อ-สกุล ที่อยู่ การนวดแผนไทย นางอารี วิสุทธิชาติ ชุมชนบ้านคลองเตย ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การเกษตร นายลัภย์ หนูประดิษฐ์ ชุมชนบ้านคลองหวะ เลขที่ 50 ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พิธีกรรมทางศาสนา นางอารี ปานบุตร ชุมชนบ้านในไร่ เลขที่ 50 ถนนบ้าน ในไร่-ควนจง ตำบลคอหงส์ อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 4.1.2 ทำเนียบแหล่งเรียนรู้ ชื่อแหล่งเรียนรู้ ประเภท ที่อยู่ ศูนย์บริการและถ่ายทอด เทคโนโลยีเกษตร เกษตร เลขที่ 999 ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ศูนย์ OOCC สกร.อำเภอ หาดใหญ่ การศึกษา เลขที่ 64 ถนนกาญจนวณิชย์ ซอย 4 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา ด้านที่ 4 ภาคีเครือข่าย ร่วมจัด ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้อย่างมีคุณภาพ (Good Partnership)


ชื่อแหล่งเรียนรู้ ประเภท ที่อยู่ วัดคลองเปล (น้ำผุด) ศาสนาวัฒนธรรม เลขที่ 78 ถนนกาญจนวณิชย์ ซอย 4 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา ศกร.ตำบลคอหงส์ การศึกษา เลขที่ 64 ถนนกาญจนวณิชย์ ซอย 4 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา บ้านหนังสือชุมชนบ้านในไร่- ควนจง ที่อ่านหนังสือ เลขที่ 34 ถนนบ้านในไร่-ควนจง ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา บ้านหนังสือชุมชนคลองเปล 1 ที่อ่านหนังสือ ซอยโรงอิฐ ตำบลคอหงส์ อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา บ้านหนังสือชุมชนคลองเตย ที่อ่านหนังสือ ถนนคลองเตย-คลองเปล ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำนักสงฆ์สัจจธรรมบ้านในไร่ ศาสนาวัฒนธรรม เลขที่ 761 ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 4.1.3 ทำเนียบภาคีเครือข่ายประเภทองค์กร ภาคีเครือข่าย การสนับสนุน ที่อยู่ เทศบาลเมืองคอหงส์ ด้านสถานที่/วิทยากร เลขที่ 999 ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองคอหงส์ ด้านกลุ่มเป้าหมายในการจัด กิจกรรม/สถานที่จัดกิจกรรม เลขที่ 204 ซอยร่วมพัฒนา ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


ภาคีเครือข่าย การสนับสนุน ที่อยู่ วัดคลองเปล (น้ำผุด) ด้านสถานที่/กิจกรรม เลขที่ 78 ถนนกาญจนวณิชย์ ซอย 4 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา บ้านหนังสือชุมชน ด้านสถานที่/กิจกรรม เลขที่ 34 ถนนบ้านในไร่-ควนจง ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ศูนย์บริการและถ่ายทอด เทคโนโลยีการเกษตร ด้านวิทยากร/กิจกรรม เลขที่ 999 ถนนปุณณกัณฑ์ ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 4.1.4 ทำเนียบภาคีเครือข่ายประเภทบุคคล ภาคีเครือข่าย ตำแหน่ง ที่อยู่ นางศิริ สังขชาติ ประธาน อสม.ชุมชนคลองเปล 2 และเลขานุการชุมชน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายเสนอ แน่นแผ่น ประธาน ศส.ปชต. และคณะกรรม ศกร.ตำบลคอหงส์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นางบุษราภรณ์ ปานบุตร เจ้าของบ้านหนังสือชุมชน บ้านในไร่-ควนจง เลขที่ 34 ถนนบ้านในไร่- ควนจง ตำบลคอหงส์ อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นางวรรณา เทวรัตน์ เจ้าของบ้านหนังสือชุมชน คลองเปล 1 ซอยโรงอิฐ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา นางสาวเข็มทอง อากาศฤกษ์ กรรมการชุมชน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


4.1.5 ทำเนียบอาสาสมัคร ศกร.ตำบลคอหงส์ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง ที่อยู่ นางศิริ สังขชาติ ประธาน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา นางบุษราภรณ์ ปานบุตร รองประธาน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา นางวรรณา เทวรัตน์ กรรมการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา นางสาวเข็มทอง อากาศฤกษ์ เลขานุการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา นางสาวจุฑารัตน์ พันธ์โพคา ผู้แทนองค์กรนักศึกษา ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา 4.2 มีภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ร่วมวางแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ศกร.ตำบลคอหงส์จัดประชุมคณะกรรมการ ศกร.ตำบล ภาคีเครือข่าย และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนว ทางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยครู กศน.ตำบล เป็นผู้ประสานงาน และยังทำหน้าที่คณะทำงานการขับเคลื่อนทีมงานระดับตำบล โดยมีการเข้า ร่วมประชุมรับทราบนโยบายของ สกร.อำเภอหาดใหญ่ เพื่อนำมาเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมในการพัฒนา คุณภาพชีวิตให้กับประชาชนตำบลคอหงส์


4.3 มีภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ร่วมจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ศกร.ตำบลคอหงส์จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับประชาชนตำบล คอหงส์ ประกอบด้วย การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตาม อัธยาศัย โดยมีภาคีเครือข่ายร่วมจัด 1) ศกร.ตำบลคอหงส์ ร่วมกับเทศบาลเมืองคอหงส์ จัดโครงการเทศบาลเคลื่อนที่พบประชาชน โดยทางเทศบาลเมืองคอหงส์เปิดโอกาสให้ ศกร.ตำบลคอหงส์ นำกิจกรรมวิชาชีพไปให้ความรู้แก่ประชาชน นอกจากนี้ยังให้ประชาสัมพันธ์เรื่องการรับสมัครนักศึกษาในภาคเรียนใหม่ 2) ศกร.ตำบลคอหงส์ร่วมกับวัดคลองเปล จัดกิจกรรมการถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2566 เนื่องในวันเข้าพรรษา โดยมีบุคลากรและนักศึกษา สกร.อำเภอหาดใหญ่ เข้าร่วมกิจกรรม มีการถวายเทียนพรรษา เพื่อเป็นพุทธบูชาเนื่องในสัปดาห์วันเข้าพรรษา เป็นการร่วมกันส่งเสริมให้นักศึกษาได้ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชน ที่ดีและสืบสานประเพณีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสืบไป 3) ศกร.ตำบลคอหงส์ ร่วมกับคณะกรรมการ ศส.ปชต. ของ ศกร.ตำบลคอหงส์ จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนในตำบลคอหงส์ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีบุคลากร นักศึกษา สกร.อำเภอหาดใหญ่ และคณะกรรมการ ศส.ปชต. ศกร.ตำบลคอหงส์เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เพื่อเป็น การให้ความรู้ ปลุกจิตสำนึก และเน้นย้ำความสำคัญให้ประชาชนตื่นตัวและออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง


ศกร.ตำบลคอหงส์ ร่วมกับเทศบาลเมืองคอหงส์ จัดโครงการเทศบาลเคลื่อนที่พบประชาชน ศกร.ตำบลคอหงส์ ร่วมกับวัดคลองเปล จัดกิจกรรมการถวายเทียนพรรษา เนื่องในวันเข้าพรรษา


ศกร.ตำบลคอหงส์ ร่วมกับคณะกรรมการ ศส.ปชต. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง


4.4 มีภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ร่วมนิเทศประเมินผลการเรียนรู้ตลอดชีวิต ศกร.ตำบลคอหงส์ จัดทำแผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มอบให้ภาคีเครือข่ายร่วมเป็นเกียรติในการจัดกิจกรรม นิเทศ ติดตามผล ได้แก่ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ อาทิ หลักสูตรอาชีพระยะสั้น ไม่เกิน 30 ชั่วโมง หลักสูตรอาชีพระยะสั้น 31 ชั่วโมง ขึ้นไป ชั้นเรียนวิชาชีพ และกิจกรรมอื่น ๆ ครู กศน.ตำบล จัดทำหนังสือราชการแจ้งแผนการจัดกิจกรรมให้ภาคี เครือข่ายรับทราบ ซึ่งมีภาคีเครือข่ายร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง แผนการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ศกร.ตำบลคอหงส์ ที่ กิจกรรม วัน เวลา สถานที่ เป้าหมาย 1 การทำเมี่ยงคำ 21-22 ธ.ค. 66 09.00 - 12.00 น. ศกร.ตำบลคอหงส์ 7 คน 2 การทำพวงมาลัยเงิน 16-17 ก.พ. 67 09.00 - 12.00 น. ชุมชนคลองเปล 2 7 คน 3 การทำยาหม่องน้ำ 27-28 ก.พ. 67 09.00 - 12.00 น. ชุมชนคอหงส์ 6 7 คน 4 การทำพวงหรีด 5-6 มี.ค. 67 09.00 - 12.00 น. ศาลาบ้านคลองเตย 7 คน 5 การทำฝาชีจากเส้นพลาสติก รุ่น 1 22-23 ธ.ค. 66 09.00 - 12.00 น. ศกร.ตำบลคอหงส์ 7 คน 6 การทำฝาชีจากเส้นพลาสติก รุ่น 2 27-28 ธ.ค. 66 09.00 - 12.00 น. บ้านในไร่-ควนจง 7 คน 7 การทำโดนัทจิ๋ว 13-14 ม.ค. 67 09.00 - 12.00 น. ศกร.ตำบลคอหงส์ 7 คน 8 การทำม็อกเทล 26-27 ม.ค. 67 09.00 - 12.00 น. ศูนย์ OOCC 7 คน 9 การเลี้ยงปลาดุก 27-28 ม.ค. 67 09.00 - 12.00 น. ศกร.ตำบลคอหงส์ 7 คน 10 การแปรรูปปลาดุก 29-30 ม.ค. 67 09.00 - 12.00 น. ศกร.ตำบลคอหงส์ 7 คน 11 การทำกาแฟสด 13-14 ม.ค. 67 09.00 - 12.00 น. ศูนย์ OOCC 7 คน


ที่ กิจกรรม วัน เวลา สถานที่ เป้าหมาย 1 การทำเมี่ยงคำ 21-22 ธ.ค. 66 09.00 - 12.00 น. ศกร.ตำบลคอหงส์ 7 คน 12 การทำผ้ามัดย้อม 9-10 มี.ค. 67 09.00 - 12.00 น. ศกร.ตำบลคอหงส์ 7 คน 13 การทำบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ 31 ม.ค. 67 09.00 - 12.00 น. ศกร.ตำบลคอหงส์ 7 คน 14 การตัดผมชายเบื้องต้น 7-14 ก.พ. 67 13.00 - 17.00 น. ศกร.ตำบลคอหงส์ 12 คน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศกร.ตำบลคอหงส์ ที่ กิจกรรม วัน เวลา สถานที่ เป้าหมาย 1 การทำปุ๋ยก้อน 22 มี.ค. 67 09.00 - 12.00 น. สกร.อำเภอหาดใหญ่ 1 คน ภาคีเครือข่ายร่วมนิเทศติดตามผลการจัดการศึกษาต่อเนื่อง สมุดตรวจเยี่ยมนิเทศกิจกรรม ศกร.ตำบลคอหงส์


4.5 มีภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ ร่วมรับประโยชน์การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 1) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลหาดใหญ่ ได้เปิดพื้นที่ให้เป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ออนไลน์ OOCC โดยนำผลิตภัณฑ์จากตำบลคอหงส์ไปวางจำหน่าย จนทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก 2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลคอหงส์ ได้ร่วมกิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้ง ตามโครงการรณรงค์สร้างจิตสำนึกวิถีประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง


3) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมจัดกิจกรรมการร่วมรับบริจาคโลหิต โดยมีบุคลากรและนักศึกษา ของ สกร.อำเภอหาดใหญ่ ภาคีเครือข่าย และประชาชน เข้าร่วมบริจาค 4.6 มีอาสาสมัคร ศกร.ตำบล อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน หรืออาสาสมัครรูปแบบอื่น ๆ ที่ส่งเสริมสนับสนุน การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ศกร.ตำบลคอหงส์จัดตั้งนักศึกษา สกร. ที่มีศักยภาพ มีความรู้ ความสามารถ และสมัครใจทำงานเพื่อ สังคมในด้านการศึกษา เป็นอาสาสมัคร สกร. และอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน โดยทำหน้าที่ ร่วมกับครู กศน.ตำบล ในการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ประสาน งาน ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมสนับสนุน ร่วมกิจกรรม จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน พัฒนา ศกร.ตำบลคอหงส์ รวมทั้งร่วมติดตามผลการจัดกิจกรรมในตำบล คอหงส์ ดังนี้ อาสาสมัคร ศกร.ตำบลคอหงส์ ภาคีเครือข่าย ตำแหน่ง ที่อยู่ นางศิริ สังขชาติ ประธาน อสม.ชุมชนคลองเปล 2 และเลขานุการชุมชน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายเสนอ แน่นแผ่น ประธาน ศส.ปชต. และคณะกรรม ศกร.ตำบลคอหงส์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นางบุษราภรณ์ ปานบุตร เจ้าของบ้านหนังสือชุมชน บ้านในไร่-ควนจง เลขที่ 34 ถนนบ้านในไร่- ควนจง ตำบลคอหงส์ อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นางวรรณา เทวรัตน์ เจ้าของบ้านหนังสือชุมชน คลองเปล 1 ซอยโรงอิฐ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา นางสาวเข็มทอง อากาศฤกษ์ กรรมการชุมชน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


อาสาสมัคร ศกร. ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและพัฒนา ศกร.ตำบลคอหงส์ 4.7 มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ตำบลคอหงส์เป็นไปอย่างมี คุณภาพ ศกร.ตำบลคอหงส์ได้จับมือภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ใน การจัดการศึกษา การพัฒนาสังคมและชุมชน ประสานความร่วมมือด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาอาชีพ การส่งเสริม สุขภาพอนามัย ส่งเสริมการดำเนินการจัดการศึกษารูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แลกเปลี่ยนบุคลากร สถานที่ ทรัพยากรของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งพัฒนาวัตกรรม ในการดำเนินกิจกรรม หรือ โครงการต่าง ๆ ตามบทบาทภารกิจของแต่ละหน่วยงาน


4.8 มีการดำเนินจัดกิจกรรมตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ศกร.ตำบลคอหงส์ สังกัด สกร.อำเภอหาดใหญ่ จัดกิจกรรมตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านการจัดการศึกษา การพัฒนาสังคมและชุมชน การประสานความร่วมมือด้าน ว ิชาการ ด ้านอาชีพ แ ลกเปลี่ยนบุคลากร สถานที่ ทรัพยากรของแ ต ่ละหน่ว ยงาน ในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานทั้งสองเห็นสมควร และสอดคล้องกับภารกิจหลัก ของแต่ละหน่วยงาน ดังนี้ 1. ร่วมจัดการศึกษาต่อเนื่องในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง การทำน้ำหมักชีวภาพ ให้กับประชาชน ในตำบลคอหงส์ โดยเชิญเจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เทศบาลเมืองคอหงส์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการทำน้ำหมักชีวภาพ สามารถ นำไปทำใช้เองสำหรับการดูแลพืชผลทางการเกษตร หรือต่อยอดไปใช้ในการจำหน่ายได้ ซึ่งปัจจุบันน้ำหมัก ชีวภาพนิยมกันอย่างแพร่หลายและได้รับความนิยมในการปลูกผักอินทรีย์ 2. ศกร.ตำบลคอหงส์ เข้าร่วมให้ข้อมูลการคัดเลือกประเมินรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี การบริหารจัดการที่ดีณ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เทศบาลเมือง คอหงส์ ทั้งนี้เพื่อให้เทศบาลเมืองคอหงส์ที่เป็นเครือข่ายสำคัญของ ศกร.ตำบลคอหงส์ สามารถดำเนินงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการของราชการส่วนท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลและหลักการบริหาร จัดการบ้านเมืองที่ดี อันจะส่งผลให้การบริการสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตอบสนอง ความต้องการของประชาชน


3. ศกร.ตำบลคอหงส์ เข้าร่วมงานสัมมนา เรื่อง กัญชา ปลูก แปรรูป ใช้ประโยชน์ให้ถูกกฎหมาย ณ เทศบาลเมืองคอหงส์ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของคุณและโทษของกัญชา รวมถึงการนำไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ในทางบวก 4. ศกร.ตำบลคอหงส์ เข้าร่วมการประชุม เรื่อง การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ณ เทศบาลเมืองคอหงส์ เพื่อร่วมกันหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล และร่วมกันขับเคลื่อนงานในเรื่องของการเฝ้าระวัง ดูแล และส่งต่อผู้ที่มี ภาวะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยทาง ศกร.ตำบลคอหงส์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ใกล้ชิดกับผู้ที่อยู่ ในวัยที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สามารถช่วยเฝ้าระวัง ดูแล และส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยง รวมทั้งช่วย ให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวแก่นักศึกษาและประชาชนผ่านทางการจัดกิจกรรม โครงการต่าง ๆ และการ จัดการเรียนการสอน 5. ร่วมจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้กับนักศึกษา โดยขอใช้ สถานที่กับทางวัดคลองเปลในการนำนักศึกษามาทำกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความมีจิตอาสาของนักศึกษา ให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกันกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่เป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในการวัดผลและประเมินผลของการเรียน ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 6. ร่วมจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น โดยขอใช้สถานที่กับทางเทศบาลเมืองคอหงส์ ในการจัดกิจกรรมวิชาชีพระยะสั้นหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ให้แก่ประชาชน ที่มีความสนใจในเขตพื้นที่ตำบลคอหงส์ ให้ประชาชนในชุมชนได้ฝึกอบรมและพัฒนาตนเอง ทั้งยังช่วย ส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้ช่วยเหลือครอบครัว 7. ศกร.ตำบลคอหงส์ เข้าร่วมการอบรมให้ความรู้ เรื่อง สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานข้อมูล ทรัพยากร อพ.สธ. ณ เทศบาลเมืองคอหงส์ โดยขอความร่วมมือเจ้าที่ผู้มีความรู้และประสบการณ์จากทาง เทศบาลเมืองคอหงส์ ช่วยเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการทำแบบบันทึก 9 ใบงาน เพื่อให้ทางครูของ ศ ก ร . ต ำ บ ล ค อ ห ง ส ์ เ ก ิ ด ค ว า ม ร ู ้ ค ว า ม เ ข ้ า ใ จ ส า ม า ร ถ น ำ ไ ป ใ ช ้ ส อ น น ั ก ศ ึ ก ษ า และนำไปใช้ในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานข้อมูลทรัพยากร อพ.สธ.


ศกร.ตำบลคอหงส์ ร่วมกับเทศบาลเมืองคอหงส์ ร่วมกันประชุมหารือ เรื่อง การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ณ เทศบาลเมืองคอหงส์ ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จากวัดคลองเปล ในการใช้จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับนักศึกษา กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน


ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้รับความร่วมมือจากเทศบาลเมืองคอหงส์ ขอใช้สถานที่จัดกิจกรรมวิชาชีพระยะสั้นให้กับประชาชน


ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าที่ผู้มีความรู้และประสบการณ์ เทศบาลเมืองคอหงส์เป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้ในเรื่องการทำแบบบันทึก 9 ใบงาน เพื่อใช้ในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานข้อมูลทรัพยากร อพ.สธ.


4.๙ มีภาคีเครือข่ายได้รับรางวัลจากการร่วมจัด ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ ศกร.ตำบล จากภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยของ ศกร.ตำบลคอหงส์ ดังนั้น สกร.อำเภอหาดใหญ่ จึงได้มอบเกียรติบัตรเครือข่ายผู้สนับสนุน ศกร.ตำบล คอหงส์ ประจำปี 2567 ดังนี้


5.1 ม ี ก า ร นำเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ชุมชนเกิด การเรียนรู้ตลอดชีวิต ปีการศึกษา 256๖ สกร.อำเภอหาดใหญ่ ได้พัฒนานวัตกรรมระบบการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนอง ความต้องการของผู้เรียนให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้นำนวัตกรรมและสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่ สกร.อำเภอหาดใหญ่ พัฒนาขึ้นมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานและการจัด กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของ ศกร.ตำบลคอหงส์ดังนี้ 1. ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ HatyaiNFE LMS เป็นระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ โดย ศกร..ตำบลคอหงส์ ได้นำระบบมาใช้ในการจัดการศึกษาให้กับนักศึกษาทั้งระดับประถม ,ม.ต้น ,ม.ปลาย เพื่อให้นักศึกษาเข้าถึงเนื้อหาและสื่อการสอนรายวิชา และกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บไซต์ ทำให้นักศึกษาอยู่ที่ ไหนก็สามารถเรียนได้ ประกอบอาชีพอยู่ ก็สามารถเรียนไปด้วยได้ ด้านที่ 5 มีนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริง (Good Innovation)


2. ระบบ Hatyai Care เป็นระบบตรวจสอบข้อมูลนักศึกษารายบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความ สะดวกให้กับนักศึกษา และครูตรวจเช็คข้อมูลนักศึกษาผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งสามารถใช้งานบนสมาร์ทโฟน แท็บ เล็ต ไอแพท ไอโฟน หรือจะใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คส์ก็สะดวกง่ายดาย เลขบัตรประจำตัวประชาชน ของ นักศึกษาก็จะรู้กระบวนการตั้งแต่นักศึกษาเริ่มสมัครจนกระทั่งจบหลักสูตร รวมถึงทราบข้อมูลการลงทะเบียน รายบุคคลล่วงหน้า โดยเฉพาะวันเวลาของวันสอบจริง ทำให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์การเข้าสอบ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนเพิ่มขึ้นอีกด้วย เข้าระบบ HATYAINFE CARE โดยการสแกน QRCODE


๓. Google Form ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้สร้างแบบทดสอบระหว่างภาครายวิชาเลือกเสรี แบบประเมิน ความพึงพอใจกิจกรรมต่าง ๆ แบบสำรวจอื่น ๆ แบบฟอร์มการรับสมัครออนไลน์ และ แบบฟอร์มแจ้งผลการเรียน ผ่านทาง Google Form


๔. Kahoot ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้สร้างเกมที่ตอบสนองต่อการเรียนการสอนออนไลน์ช่วยให้นักเรียนสนุก กับการเรียนผ่านทางเว็ปไซด์ Kahoot


๕. ETV สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา ช่อง ETV สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็น ช่องที่รวบรวมสื่อรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่ผลิตโดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษามาเผยแพร่ในช่องนี้ เพื่อ ให้บริการแก่ครู กศน. และนักศึกษา ศกร. ได้เข้ามาใช้สื่อจากช่องนี้ประกอบการเรียนการสอนในชั้นเรียน หรือใช้ เป็นสื่อในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ และเพื่อให้สื่อของ กศน.เป็นที่รู้จัก และมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย


5.2มีการทดลอง พัฒนาโดยใช้กระบวนการปฏิบัติที่ดีเพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้/ นวัตกรรมอาชีพ หรือนวัตกรรมอื่นที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆอีกทั้งประชาชนสามารถพัฒนาตนเอง ได้พัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้ดำเนินการจัดทำฐานการเรียนรู้ ศรร. และจัดสาธิตการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก โดย ศกร.ตำบลคอหงส์ นำเทคโนโลยีโซล่าเซลล์มาพัฒนาใช้กับระบบน้ำวนภายในบ่อเพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำโดยไม่ สิ้นเปลืองน้ำและพลังงานไฟฟ้า ซึ่งผลการใช้นวัตกรรมดังกล่าวทำให้น้ำเสียช้าลงและอัตราการตายของปลาน้อยลง นำมาซึ่งผลผลิตที่ดีขึ้นและช่วยประหยัดน้ำเนื่องจากไม่ต้องเปลี่ยนน้ำในการเลี้ยงปลาบ่อย ๆ


5.3มีการนำนวัตกรรมที่เกิดจากการทดลองการพัฒนามาใช้หรือเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้เผยแพร่การนำนวัตกรรมมาใช้ผ่านเว็ปไซด์ ศกร.ตำบล และ แฟนเพจ ศกร.ตำบล


5.4 มีการประเมินผลการนำนวัตกรรมไปใช้ ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้ดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง วิชาการเลี้ยงปลาดุก หลักสูตร ๖ ชั่วโมง เพื่อขยายผลการนำนวัตกรรมการใช้โซล่าเซลล์เพิ่มออกซิเจนให้น้ำในการ เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ซึ่งมีการประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับดี


5.5 มีแนวทางการพัฒนาหรือต่อยอด เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบท ของขุมชน ศกร.ตำบลคอหงส์ ได้ต่อยอดนวัตกรรมโซล่าเซลล์เพิ่มออกซิเจนให้น้ำในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก โดย ดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง วิชาการแปรรูปปลาดุก หลักสูตร ๖ ชั่วโมง และวิชาการบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ หลักสูตร ๓ ชั่วโมง เพื่อนำผลผลิตปลาดุกที่เลี้ยงได้มา แปรรูปและบรรจุภัณฑ์ คาดว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะสามารถสร้างอาชีพใหม่ หรือสร้างอาชีพเสริมต่อไปได้ในอนาคต


คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นายไพโรจน์ คเชนทองสุวรรณ์ ผู้อำนวยการ สกร.อำเภอหาดใหญ่ นางประไพ ณ รังษี ครูชำนาญการพิเศษ นางสุพิทย์ ลอยแก้ว บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ นางสาววาสนา คงทอง ครู นางสาวสาลีนา สูนสละ ครู นางสาวกัญญา คงประมูล ครูอาสาสมัคร ผู้จัดทำ นางสาวจาริยา หมัดหมาน ครู กศน.ตำบล นายสถิรภัทร ลิ่มเซ่ง ครู กศน.ตำบล นายชัชนันท์ ชีวทรรศน์ ครู กศน.ตำบล


Click to View FlipBook Version