The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรรายวิชา พุทธวิถีหลวงพ่ออี๋ถัดสัตหีบ สค3300174 ระดับมัธยมศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ebookchon, 2023-08-06 05:43:20

หลักสูตรรายวิชา พุทธวิถีหลวงพ่ออี๋ถัดสัตหีบ สค3300174 ระดับมัธยมศึกษา

หลักสูตรรายวิชา พุทธวิถีหลวงพ่ออี๋ถัดสัตหีบ สค3300174 ระดับมัธยมศึกษา

42 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2489 พระภิกษุสงฆ์ได้จัดเวรยาม ผลัดกันเฝ้าพยาบาลท่าน 4 รูปบ้าง 5 รูปบ้าง จนกระทั้งถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2489 ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ เวลา 20.35 น. คือวันถึงกาลอาวสานแห่งชีวิติของหลวงพ่ออี๋ ท่านได้สั่งให้พระภิกษุจำเนียร พระ หลานชาย ช่วยประคองให้ท่านลุกขึ้นนั่ง และสั่งไม่ให้คนแตะต้องตัวท่าน เสร็จแล้วท่าน ได้ นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง เริ่มเจริญ จิตตภาวนา ขณะที่ทุกคนกำลังใจจดใจจ่อห่วงใยอาการอาพาธ ของ ท่านอยู่ก็เกิดเหตุการณ์ที่ทุกกคนคาดไม่ถึง ทำให้ตกใจกันสุดขีด เมื่อไม้กระดานแผ่นหนึ่งซึ่งตั้งพิงฝา ผนังภายในกุฏิอยู่อย่างนั้นมานานแล้ว ได้ล้มโครมลงมาฟาดกับพื้นกระจกแผ่นหนึ่งที่ติดกับบาน ประตูตู้ ห่างจากไม้กระดานหลายเมตร กระเด็นหลุดออกมาแตกกระจายทั่วพื้น ทั้งพระและลูกศิษย์ ต่างหันมาดูหลวงพ่ออี๋ท่านนั่งสงบนิ่งปราศจากลมหายใจเข้าออกแล้ว ทุกคน เริ่มตะลึง บ้างก็คร่ำ ครวญร้องไห้ด้วยความอาลัยรักต่อหลวงพ่ออี๋ ข่าวการมรณภาพของท่าน แพร่กระจายไปทั่วกิ่ง อำเภอสัตหีบอย่างรวดเร็ว รวมสิริอายุของท่าน 81 ปี แม้ว่าหลวงพ่ออี๋ท่านมารภาพละสังขารจากโลกนี้ไป จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2558) นับได้ 69 ปีแล้วก็ตาม แต่ดูประหนึ่งว่าชีวิตของท่านยังดำรงอยู่ เพราะคุณงามความดีที่ท่านได้บำเพ็ญมา ตั้งแต่เริ่มอุปสมบทจนถึงมรณภาพ ยังคงตราตรึงอยู่ในจิตใจของศิษยานุศิษย์ ท่านเป็นพระสุปฏิปัน โน เป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวสัตหีบ และผู้ที่เคารพศรัทธาอย่างแรงกล้าถึงปัจจุบันนี้ ณ วิหารหลวง พ่ออี๋เป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเหมือนของท่าน มีศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพศรัทธา ได้เดินทางมา นมัสการรูปเหมือนท่านอย่างมิรู้เสื่อมคลาย วัดสัตหีบในอดีต เป็นแหล่งธรรม และยังเป็นสถานที่ให้ความร่มเย็นแก่ญาติโยม ผู้ เดินทาง มาพึ่งพาอาศัย คนป่วยจากจังหวัดต่าง ๆ ได้รอนแรมมาเพื่ออาศัยอิทธิบุญมารมีของหลวง พ่ออี๋ ได้ช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์ให้ ด้วยอำนาจแห่งอภิญญาญาณของท่าน สามารถช่วยเหลือชีวิตผู้ เจ็บป่วย ให้หายวันหายคืนจนกลับสู่บ้านเรือนของตนได้ รวมทั้งคนเจ็บป่วยที่ต้องด้วยคุณไสย ร้ายแรง หลวงพ่อท่านก็ช่วยปัดเป่าให้รอดชีวิตกลับไปได้ จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ชนทั่วไป การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กกกกกกก1. กำหนดประเด็นการศึกษาร่วมกัน ให้ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคลและภูมิปัญญา และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน กกกกกกก2. บันทึกผลการศึกษาค้นคว้าลงในเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.) กกกกกกก3. พบกลุ่ม อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาได้พร้อมสรุปการ เรียนรู้ร่วมกัน และบันทึกลงในเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.) กกกกกกก4. นำผลสรุปการเรียนรู้ที่ได้ไปฝึกปฏิบัติตามใบงาน สื่อและแหล่งเรียนรู้


43 กกกกกกก1. สื่อเอกสาร ได้แก่ 1.1 ใบความรู้ 1.2 ใบงาน 1.3 หนังสือเรียนสาระการพัฒนาสังคมรายวิชา สค3300174 พุทธวิถีหลวงพ่ออี๋วัด สัตหีบ 1.4 หนังสือที่เกี่ยวข้องกับประวัติหลวงพ่ออี๋ ได้แก่ 1.4.1 หนังสือเปิดตำนานหลวงพ่ออี๋ พระครูวรเวทมุนี เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำทะเล ตะวันออก วัดสัตหีบ ฉบับสมบูรณ์ กกกก กกกกกกก2. สื่อบุคคลและภูมิปัญญา 2.1 พระครูทัศนีย์คุณากร เจ้าคณะอำเภอสัตหีบ เจ้าอาวาสวัดสัตหีบ ที่อยู่333 หมู่ ที่ 1 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี กกกกกกก3. สื่อแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 3.1 วัดสัตหีบ ที่อยู่ เลขที่ 333 หมู่ที่ 1 ถนนชายทะเล ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 038-437125, 038-431400 3.2 ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอสัตหีบ (ห้องสมุด กศน.อำเภอสัต หีบ) ที่อยู่ เลขที่ 471 หมู่ที่ 1 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 038- 437807 การวัดและประเมินผล กกกกกกก1. ประเมินความก้าวหน้า ด้วยวิธีการ 1.1 การสังเกต 1.2 การซักถาม 1.3 ตรวจเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.) กกกกกกก2. ประเมินผลรวม ด้วยวิธีการ 2.1 ตอบแบบทดสอบวัดความรู้ หัวเรื่องที่ 2 ประวัติหลวงพ่ออี๋ 2.2 ตอบแบบสอบถามวัดเจตคติที่มีต่อรายวิชาพุทธวิถีหลวงพ่ออี๋วัดสัตหีบ


44 หัวเรื่องที่ 3 คุณค่า และความศรัทธาที่มีต่อพระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) สาระสำคัญ กกกกกกกพระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) เป็นพระสมณะ เป็นพระเกจิผู้อุทิศตนเสริมสร้าง พระพุทธศาสนาและพัฒนาชุมชน เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชน เปรียบเสมือน “เทพเจ้าแห่งภาค ตะวันออก” แม้เวลาจะผ่านไปนานจนถึงในปัจจุบันชื่อเสียงของท่านก็ยังเป็นที่บอกกล่าวเล่าขานกัน สืบต่อมา และบารมีของท่านและวัดสัตหีบ (วัดหลวงพ่ออี๋) ก็ยังคงอยู่ตราบนานเท่านาน ตัวชี้วัด กกกกกกก1. ให้คุณค่า และความศรัทธาที่มีต่อพระครูวรเวทมุนี(หลวงพ่ออี๋) ได้ กกกกกกก2. เห็นคุณค่า และความศรัทธาที่มีต่อพระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) ขอบข่ายเนื้อหา กกกกกกก1. คุณค่า และความศรัทธาของมีต่อพระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) เนื้อหา กกกกกกก1. คุณค่าของพระครูวรเวทมุนี(หลวงพ่ออี๋) พระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสัตหีบ โดยนายขำ และนางเอียงบิดามารดาของหลวงพ่ออี๋ได้ขอพระราชทานที่ดินว่างเปล่าที่เป็นป่าไม้เพื่อสร้างวัดจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อปีพ.ศ. 2442 และพระองค์ได้ทรงอนุญาต โดยมีชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัด เพื่อให้ใช้ประกอบศาสนกิจต่างๆ จนสำเร็จสมประสงค์ ในนาม “วัดสัตหีบ” หรือที่เรียกว่า “วัด หลวงพ่ออี๋” มาจนทุกวันนี้ หลวงพ่ออี๋ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้นท่านได้สร้าง โรงเรียนประชาบาล 1 หลัง ชื่อว่า "โรงเรียนบ้านสัตหีบ" ที่ย้ายมาตั้งที่ถนนบ้านนา ชาวบ้านเรียน ว่า "โรงเรียนบ้านนา" ส่วนอาคารเรียนเดิมชื่อ "ศาลาธรรมประสพ" ปัจจุบัน คือ "ห้องสมุดของวัด สัตหีบ" หลวงพ่ออี๋มีความชำนาญในด้านสมถะวิปัสสนาธุระมากคือ คล่องแคล่วในการเข้าใน ออกนอก และในการพักจิตอยู่เป็นกสิณ และในธรรมารมณ์ตามปรารถนา จะเรียกว่า มีวสีภาพก็ควร เพราะเมื่อท่านปรารถนาจะสำรวมจิตแล้ว ไม่มีอะไรมาขัดขวางทางเดินภายในของท่านได้ เป็นการ เข้าออกได้เรียบร้อยตามประสงค์


45 เมื่อกล่าวถึงคุณสมบัติแล้วท่านจะเหนือว่าพระเถระอื่น ๆ มากทีเดียวเพราะท่าน สามารถยกจิตให้พ้นจากเวทนาได้เสมอ ดังจะเห็นได้จากเวทนาที่เกิดขึ้นจากความหนาว ร้อน หิว กระหาย ปวด บวม ระบม เป็นต้น ท่านไม่เคยปริปากบ่นในเรื่องทุกขเวทนาดังกล่าวให้ผู้อื่นได้ยิน เลย แม้การเจ็บป่วยเจ็บป่วยของท่าน คงอยู่ในอาการสงบเป็นปรกติจนหมดอายุขัย เมื่อหลวงพ่ออี๋ท่านมรณภาพแล้ว ศิษย์เกรงว่าจะไม่มีเงินทำศพของท่าน เพราะไปดู กระเป๋าพระ (ย่าม) มีแต่ผ้ากราบ และผ้าเช็ดหน้า - ปาก ผ้ารองนั่งเท่านั้น เงินไม่มีเลย แต่เมื่อ ตรวจดู ตามภาชนะเก่า ๆ บ้าง ใต้ถาด ใต้พานดอกไม้ ที่ลูกศิษย์มาทำบุญกับท่านบ้าง ได้พบเงินที่ เสียบไว้กับสิ่งต่าง ๆ รวมได้ถึง 20,000 บาทเศษ หลวงพ่ออี๋ท่านมิได้ถือว่าเป็นของท่าน ใครมาวาง ไว้ที่ใดก็อยู่ตรงนั้น ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันมรณภาพ นี่คือชีวิตของท่านผู้ทรงคุณ ซึ่งดำรงชีวิตอย่าง สมณะโดยแท้จริง แม้หลวงพ่ออี๋จะจากไปจนถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2563) นับได้ 74 ปี แล้วแต่ก็เหมือนว่า ชีวิตของท่านยังดำรงอยู่ ทั้งคุณค่าของงานทางฝ่ายสงฆ์และ ฝ่ายสังคมโลกที่หลวงพ่ออี๋ได้บำเพ็ญ บารมีมาตั้งแต่เริ่มบวชจนถึงมรณภาพ บารมีของท่านยังปรากฏอยู่ในวัดสัตหีบ ดังที่เห็นอยู่ใน ปัจจุบันนี้ กกกกกกก2. ความศรัทธาที่มีต่อพระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) หลวงพ่ออี๋ เป็นพระสมณะ ที่ได้มอบกาย ถวายชีวิตนี้ ไว้แก่พระพุทธศาสนาแล้ว ท่าน พึงพอใจที่จะมีชีวิตอย่างสันโดษ มีสมบัติติดกายเพียงผ้าสามผืน จิตสงบวิเวกเป็นสมถะธรรม ท่าน กลายเป็นพระที่ “มีเหมือนไม่มี” แล้ว “ไม่มีเหมือนกับมี” เงินทองก็หลั่งไหลเข้ามามากมาย แต่ท่าน ไม่เคยยึดมั่นในสิ่งเหล่านั้น เมื่อท่านเห็นว่า สิ่งอันใดควรจะสร้าง ท่านก็อนุญาตให้สร้างถาวรวัตถุ ทำความเจริญรุ่งเรืองแก่สถานที่นั้น แม้สถานที่นั้นจะอยู่ในป่าในดง ก็เจริญขึ้นมากมาย ในปีที่หลวงพ่ออี๋ท่านสร้างวัดใหม่ๆ นั้น กิตติศัพท์ของท่านได้ขจรขจายไป ในด้าน ความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหาร ผู้คนพากันหลั่งไหลไปมากมาย มีทั้งที่ต้องการฟังธรรมะ และ การ ปฏิบัติสมาธิกับท่าน บางคนต้องการวัตถุมงคล ก็ได้สมความปรารถนาทุกประการ หลวงพ่ออี๋ ท่านเป็นพระเกจิผู้โด่งดังในยุคสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อม หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม และ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ในนาม ‘จาด จง คง อี๋’ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างแจกจ่ายแก่เหล่าทหารหาญล้วนทรงพุทธคุณปรากฏ เป็นที่ยำเกรงของศัตรู ท่านยังเป็นพระเกจิผู้อุทิศตนเสริมสร้างพระพุทธศาสนาและพัฒนาชุมชน เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชน เปรียบเสมือน “เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก” "หลวงพ่ออี๋" ได้สร้างวัตถุมงคลต่างๆ ไว้มาก รวมทั้งปลัดขิกที่มีชื่อมาก ทั้งตะกรุด เสื้อยันต์ เหรียญ พระปิดตา "พระสาม" และ "พระสี่" (พรหมสี่หน้า) กล่าวกันว่าในระยะ พ.ศ.2483 -2486 นั้น หลวงพ่ออี๋ก็มีของดีเกรียงไกรออกสู่สงครามอินโดจีนไปก็มาก วัตถุมงคลของขลังของ หลวงพ่ออี๋มีสร้างออกมามากแบบเอาใน พ.ศ.2484 และตาม พ.ศ. นี้เอง "พระสาม" และ "พระสี่" หรือ พระพรหมสี่หน้า ก็ได้กำเนิดตามออกมาด้วย พระทั้ง 2 พิมพ์เป็นพระเนื้อเมฆพัด องค์หนึ่งทำ


46 เป็นพระ 3 หน้าพระทับนั่งบนฐานบัวกลีบ (3 หน้า 3 องค์) ส่วนพระสี่หรือพรหมสี่หน้าก็ทำเป็นพระ ประทับนั่งบนฐานเขียงเหมือนกันทั้ง 4 หน้า (4 หน้า 4 องค์) ด้านพุทธคุณมีทั้งแคล้วคลาด และคง กระพันชาตรี แม้เวลาจะผ่านไปนานจนถึงในปัจจุบันชื่อเสียงของท่านก็ยังเป็นที่บอกกล่าวเล่าขาน กันสืบต่อมา และบารมีของท่านและวัดสัตหีบ (วัดหลวงพ่ออี๋) ก็ยังคงอยู่ตราบนานเท่านาน ผู้ที่ เลื่อมใสในหลวงพ่ออี๋ ต่างพากันมาทำบุญและปิดทองนมัสการรูปหล่อของท่านที่วัดเป็นจำนวนมาก เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว 2 วัตถุมงคล 1.1 เหรียญ พ.ศ.2471 เหรียญพระพุทธบนฐานบัว เป็นเหรียญที่แจกในปีพ.ศ. 2471 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาของพระอุโบสถ หลังเก่าในสมัยของหลวงพ่ออี๋ (ปัจจุบันได้ทำการรื้อถอนไปแล้ว) ท่านได้นำวัตถุมงคลเหรียญนี้แบ่ง มาจากพระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลานอกในสมัยนั้น ซึ่งพระอาจารย์แตง พระอาจารย์หลวงพ่ออี๋ ท่านได้ทำการพุทธาภิเษกเหรียญนี้มาแล้ว และหลวงพ่ออี๋ ได้ทำการอธิษฐานจิตซ้ำอีกครั้ง เหรียญ เป็นเหรียญเนื้อตะกั่วลักษณะคล้ายกลีบบัว พิมพ์ภายในเหรียญ เป็นรูปองค์พระประธานปรางค์มาร วิชัยนั่งประทับบนฐานบัวโค้ง ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปพระพุทธ หรือพระประธานนั่งบนบัวโค้งคว่ำ-หงาย ใต้ฐานมี อักขระยันต์ตัว “นะ” ด้านหลังเหรียญ จะเรียบ และมีรอยจารมือของ หลวงพ่ออี๋ เป็นจารตัวยันต์ทุกเหรียญ จำนวนการสร้าง ไม่มีข้อมูลหลักฐานระบุว่าสร้างไว้จำนวนกี่เหรียญ แต่คงสร้างจำนวน ไม่มาก ท่านแจกให้ชาวบ้านเอาไว้บูชา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และไว้เพื่อป้องกันภัย ปัจจุบันพบเห็น เหรียญนี้ได้น้อยมากถึงแม้นว่าจะเป็นในพื้นที่สัตหีบเองก็ตาม วัตถุมงคลประเภทอื่น ๆ ที่จัดสร้างในปีพ.ศ. 2471 ได้แก่ รูปภาพหลวงพ่ออี๋ ขนาด 1 นิ้ว และ 2 นิ้ว , พระบูชา, ผ้าประเจียด และปลัดขิก เป็นต้น 1.2 เหรียญรุ่นหล่อพระพุทธรูป พ.ศ. 2473 คือ เป็นเหรียญที่จัดสร้างโดยหลวงพ่ออี๋ และหลวงพ่ออี๋ท่านได้ทำการพุทธาภิเษกด้วย ตัวของท่านเอง สร้างเป็นเหรียญที่ระลึกเมื่อคราวงงานหล่อพระประธาน เพื่อนำเข้าประดิษฐานใน พระอุโบสถสมัยหลวงพ่ออี๋ ปัจจุบันได้ถูกสร้างเป็นพระวิหาร (ต่อมาทางวัดสัตหีบได้ทำการจัดสร้าง พระอุโบสถหลังใหม่ และได้ทำการรื้อถอนพระอุโบสถหลังเดิม เพื่อสร้างเป็นพระวิหาร พระพุทธรูป นั้นจึงได้ถูกนำมาประดิษฐานในพระวิหารที่สร้างขึ้นจนถึงปัจจุบัน เหรียญปี พ.ศ.2473 นี้ ได้จัดสร้างโดยถ้าแบ่งตามลักษณะของเหรียญแล้ว มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ


47 แบบที่ 1 เหรียญรูปไข่ใหญ่ เป็นเหรียญรูปไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเหรียญทั่ว ๆไป เนื้อ ของโลหะที่ใช้ในการสร้างมีอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ เนื้อทองคำ, เนื้อนาค, เนื้อเงิน, เนื้อทองแดงกะไหล่ ทอง และเนื้อทองแดง ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิเต็มองค์ เหนืออาสนะ เหนือศีรษะของรูปหลวงพ่ออี๋ มีอักขระ อุ มะ อะ เหนืออักขระคำว่า “อุ” เป็นยันต์อุณาโลม ใต้อาสนะเป็นลายกนก ตามส่วนโค้ง ของเหรียญเป็นอักขระไทย ด้านขวาของเหรียญคำว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” ด้านซ้ายคำว่า “วัดสัต หีบ” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์ 3 ชั้น ใต้ยันต์ล่างสุดของเหรียญบอกปีพ.ศ.ที่สร้าง “พ.ศ.2473” ตามส่วนโค้งของเหรียญเป็นอักษรไทย ความว่า “ที่ระฤกในงานหล่อพระพุทธรูป” บล็อก หรือพิมพ์ ด้านหน้าเหรียญ ทุกเนื้อโลหะ มีแค่บล็อก หรือพิมพ์เดียว ด้านหลังเหรียญ มี 3 บล็อก ได้แก่ 1. บล็อกยันต์ใหญ่ หรือที่ชอบเรียกกันว่า บล็อก “สระอูยาว” 2. บล็อกยันต์กลาง (หาได้ยากมาก) 3. บล็อกยันต์เล็ก หรือมักชอบเรียกกันว่า “บล็อกสระอูสั้น” ที่เรียกว่า สระอูยาว หรือสระอูสั้น นั้นดูจากด้านหลังเหรียญของคำว่า “รูป” ตรงสระ “อู” มี ความยาวและสั้นแตกต่างกันระหว่างทั้งสองบล็อก ซึ่งความแตกต่างนี้จึงใช้มาเรียกกันในหมู่นักเลง พระ แบบที่ 2 เหรียญดอกจิก หรือมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ หลวงพ่ออี๋ท่านจัดสร้างไว้ จุดประสงค์เพื่อสำหรับแจกแม่ครัว หรือผู้หญิง แต่สร้างจำนวนน้อยมาก ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเหรียญ รูปองค์ของหลวงพ่ออี๋นั่งบนอาสนะตรงกลางของเหรียญ ด้านบน ศรีษะมีอักขระเช่นเดียวกับเหรียญไข่ คือ “ อุ มะ อะ” เหนือตัว อะ มี “ยันต์อุณาโลม” ใต้ล่าง อาสนะมีอักษรไทยคำว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” ด้านขวาของเหรียญมีคำว่า “วัดสัต” และด้านซ้ายมีคำ ว่า “หีบฯ” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์ สามชั้น ใต้ยันต์ล่างสุดของเหรียญเป็นปีพ.ศ. “พ.ศ.2473” ตามส่วนโค้งของเหรียญเป็นอักษรไทย คำว่า “ที่ระฤก ในงานหล่อพระพุทธรูป” และส่วนบนของเหรียญนั้นมียันต์สาม


48 1.3 เหรียญรุ่นสร้างโรงเรียนพ.ศ.2483 เหรียญปี พ.ศ.2483 หลวงพ่ออี๋ ท่านได้ทำการพุทธาภิเษก เพื่อแจกเป็นเหรียญที่ระลึกใน การสร้างโรงเรียน เหรียญรุ่นนี้ ลักษณะของเหรียญได้ถูกสร้างออกเป็น 2 แบบ กล่าวคือ แบบที่ 1 เหรียญรูปไข่ แต่จะมีขนาดย่อมกว่าเหรียญปี 2473 เนื้อโลหะที่นำมาสร้าง มี เพียงเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว เท่าที่พบสีของเนื้อทองแดงสีจะจัดกว่า เหรียญรุ่นสร้างศาลาการ เปรียญวัดนาจอมเทียน ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางของเหรียญเป็นรูปหลวงพ่ออี๋หันข้างครึ่งองค์ รูปของหลวง พ่ออี๋ เป็นรูปตัวนูนออกมาจากผิวเหรียญ ด้านบนเหนือศรีษะมีตัวอักขระ “อุ มะ อะ” เหนือตัว อักขระ “อุ” เป็น “ยันต์อุณาโลม” และตามส่วนโค้งขวามาซ้ายของเหรียญ เป็นอักษรไทย อ่านว่า “วัดสัตหีบ ในงานสร้างโรงเรียน พ.ศ.83 หลวงพ่ออุปัชฌาย์อี๋” ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์สาม ภายในช่องยันต์มีอักขระ “ภะ คะ วา” และโดยรอบยันต์ สามทั้งสามด้านมีอักขระ “มะ อะ อุ” ตามส่วนโค้งใกล้ขอบเหรียญ เป็นอักขระขอมอ่านได้ความว่า “สํ วิ ธา ปุ กะ อะ ปะ อา ปา มะ ทา (จุ) ปะ นิ มะ สะ (สํ) อํ คุ” แบบที่ 2 เหรียญกลม ลักษณะเป็นเหรียญกลมขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.4 ซม. เนื้อโลหะที่สร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ และหูเหรียญจะเชื่อมติดกับตัวเหรียญ หรือเรียกว่า หู เชื่อม ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปหลวงพ่ออี๋หน้าตรงครึ่งองค์ ใต้รูปหลวงพ่ออี๋ มีอักษรไทยว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” และตามส่วนโค้งของเหรียญว่า “ที่ระลึกในการสร้างโรงเรียน” ด้านหลังเหรียญ เป็นพระธรรมจักร ซึ่งตรงกลางพระธรรมจักรจะเป็น “ยันต์เฑาะว์ ขัดสมาธิ” เหรียญกลม แยกตามลักษณะของพิมพ์หรือบล็อก ที่แตกต่างกันพอคร่าว ๆ ที่พบเห็นมี ด้วยกัน 3 บล็อก จุดสังเกตพอสังเขป คือ ๑. ความห่างของตัวหนังสือกับขอบเหรียญ ของด้านหน้าเหรียญ ๒. ความแตกต่างในรายละเอียดของธรรมจักร ของด้านหลังเหรียญ ๓. ความตื้น ลึกของเนื้อภายในเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นตัวรูปองค์ของหลวงพ่อ ตัวหนังสือและ พระธรรมจักร เนื่องจากช่วงปี พ.ศ.2483 ได้เกิดสงครามอินโดจีน ทุกคนต่างหาที่พึ่งของขลัง เพื่อปกป้อง คุ้มกันภัย อันตรายจากพิษของสงคราม จึงมักสร้างสิ่งของนำมาให้หลวงพ่ออี๋ท่านปลุกเสก หรือนิมนต์ให้ท่าน จัดสร้าง หรือนิมนต์ให้ท่านไปร่วมเป็นกรรมการในพิธีพุทธาภิเษกของวัดอื่น ๆ เนื่องจากทราบใน กิตติคุณของท่าน วัตถุมงคลประเภทอื่น ๆ ที่ได้จัดสร้าง ในปี พ.ศ.2483 ได้แก่ 1. ปลัดขิก 7. ผ้ายันต์รองหมวก


49 2. พระพรหมสี่หน้า เมฆพัตร 8. ผ้ายันต์คาดหมวก 3. พระพรมสามหน้า เมฆพัตร 9. แหวนนพเกล้า 4. พระปิดตามหาอุตต์ เมฆพัตร 10. รูปถ่ายนั่ง (รูปออกโซนเขียว) 5. เสื้อยันต์ 11. ตะกรุด 6. ผ้ายันต์ 1.4 เหรียญรุ่นสร้างศาลาการเปรียญ วัดนาจอมเทียน พ.ศ.2483 เป็นปีเดียวกับที่สร้างเหรียญรุ่นสร้างโรงเรียนที่วัดสัตหีบ เข้าใจว่าทางวัดนาจอมเทียนได้ทำ การจัดสร้าง แล้วนำมาให้หลวงพ่ออี๋ท่านทำการพุทธาภิเษก เพื่อแจกให้กับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันทำบุญบริจาคสร้างศาลาการเปรียญในสมัยนั้น (ปัจจุบันศาลาได้ทำการรื้อถอนไปแล้ว) ซึ่งมี ผู้บริจาคเป็นจำนวนมาก นอกจากจะได้ทำบุญแล้ว อีกประการหนึ่งที่ผู้บริจาคต้องการคือ อยากที่จะ ได้เหรียญเก็บเอาไว้บูชาเป็นอันมาก ลักษณะของเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ ขนาดเท่ากับเหรียญรุ่นสร้างโรงเรียนในปีพ.ศ.2483 เช่นเดียวกันซึ่งภายในเนื้อหาของเหรียญจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เนื้อของโลหะที่สร้างมีเพียงเนื้อ ทองแดงอย่างเดียวเป็นเหรียญที่มีหูในตัว ห่วงตรงหูจะเชื่อม จำนวนการสร้างไม่มีข้อมูลหลักฐาน ระบุไว้แน่นอน เหมือนกับรุ่นสร้างโรงเรียน ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปหลวงพ่ออี๋หน้าหันข้างครึ่งองค์ ข้างใต้ภายในตัว รูปองค์ท่านมีข้อความเป็นอักษรไทยว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” เหนือศรีษะมีตัวอักขระ “อุ มะ อะ” เหนืออักขระ “อุ” มี “ยันต์อุณาโลม” ตามส่วนโค้งขอบเหรียญมีข้อความอักษรไทยว่า “ในงาน สร้างศาลาการเปรียญ พ.ศ.83 วัดนาจอมเทียน” ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์ใบพัด ภายในช่องยันต์มีอักขระ “ภะ คะ วา” ด้านบนเป็น “ยันต์ อุณาโลม” ส่วนด้านข้างทั้งสามด้านของยันต์ มีอักขระ “มะ อะ อุ” แต่บางเหรียญมีอักขระ “อุ” อยู่ ตรงด้านล่างของยันต์ใบพัด เพียงตัวเดียวตามส่วนโค้งใกล้ขอบเหรียญ เป็นอักษรขอม อ่านได้ความ ว่า “สํ วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ อา ปา มะ ทา (จุ) ปะ นิ มะ สะ (สํ) อํ คุ” บล็อก หรือพิมพ์ ได้ถูกแบบตามอักขระที่ปั๊มไปในเหรียญ ของด้านหลังเหรียญ จึงจำแนก เป็นด้านหน้าเหรียญมีเพียงบล็อกเดียว ส่วนด้านหลังเหรียญนั้นมี 2 บล็อก กล่าวคือ อักขระตรง ด้านข้างของยันต์ใบพัดมีทั้ง “มะ อะ อุ” กับมีแค่ “อุ” เพียงตัวเดียว และส่วนด้านหลังของเหรียญ ที่มีอักขร “อุ” ข้างยันต์ใบพัดเพียงคำเดียวนั้น อักขระขอมตรงข้างขอบเหรียยจะมีลักษณะเล็กว่า อักขระข้างยันต์ “มะ อะ อุ” 1.5 เหรียญรุ่นพระราชทานเพลิง พระครูศรีสัตตคุณ (เกษม สนฺตุสฺสโก ป.ธ.4) พ.ศ.2496


50 พระครูศรีสัตตคุณ หรือพระมหาเกษม สนฺตุสฺสโก เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรเรียบร้อย เป็น พระนักพัฒนา สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับวัดสัตหีบ แม้ในวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านก็มรณภาพ กับงานที่ท่านกำลังพัฒนาวัดอยู่ วันที่ 9 กรกฎาคม 2496 ท่านมรณภาพด้วยอุบัติเหตุรถคว่ำ ขณะไปกับรถเพื่อนำไม้จาก จังหวัดระยองมาสร้างกุฎิ ด้วยในคุณงามความดีของท่าน จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ และ กาลครั้งนี้ทางวัดสัตหีบได้ทำการจัดสร้างเหรียญ เพื่อเป็นที่ระฤกในงานพระราชทานเพลิงศพ ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญรูปทรงดอกจิก โลหะที่สร้าง เป็นเนื้อทองแดงรมดำ ไม่มี หลักฐานข้อมูลระบุจำนวนในการสร้าง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปองค์หลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิ ลอยองค์ ด้านล่างหลวง พ่อมีคำว่า “หลวงพ่ออี๋” และขีดลายไทยด้านข้างทั้งสองเป็นลายไทย และตามโค้งของขอบเหรียญ ด้านนอก เป็นลายกนก ด้านในจะเป็นจุดไข่ปลา ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์ใบพัด ภายในช่องยันต์มีตัวอักขระ ว่า “สุ คะ โต” ส่วนด้านข้าง ยันต์สามด้านมีตัวอักขระ ว่า “มะ อะ อุ” และด้านบนของยันต์ใบพัดเป็น “ยันต์อุณาโลม” วัตถุมงคล พ.ศ. 2504 เมื่อครั้งสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เพื่อทดแทนพระอุโบสถหลังเก่าในสมัยหลวงพ่ออี๋ ที่ทรุด โทรมด้วยกาลเวลา ด้วยแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2504 ทางวัดสัตหีบได้จัดสร้างวัตถุมงคลไว้เป็นที่ระลึก จัดมอบเหรียญให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาสมทบทุนในการสร้างพระอุโบสถครั้งนี้ คณาจารย์ อันเชิญพระเกจิอาจารย์ที่ดัง ๆ และมีชื่อเสียงในสมัยนั้น เข้าร่วมพุทธาภิเษก เช่น ๑. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโณทฺย วัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ) ๒. พระวิสุทธสมาจารย์ (หลวงปู่ศรี วัดอ่างศิลา ชลบุรี) ๓. พระครูวรพรตปัญญาจารย์ (หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าอรัญญิกาวาส ชลบุรี) ๔. พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี) ๕. พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง ชลบุรี) ๖. พระวินัยการกวี โดยมีเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ (อยู่ ญาโณทฺย) เสด็จทรงเป็นประธานจุดเทียน ชัย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2504 วัตถุมงคล ที่ทำการจัดสร้างในปีพ.ศ.2504 รุ่นที่ระฤกในการพระอุโบสถ ลักษณะของเหรียญ เป็นเหรียญปั๊ม ทรงรูปไข่ มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก เนื้อหาภายใน เหรียญคล้ายกัน แตกต่างกันตรงหน้าตาของหลวงพ่ออี๋


51 ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปองค์หลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ บนอาสนะ ด้านบนศรีษะมีตัว อักขระ “อุ มะ อะ” ข้างบนตัว “อุ” มี “ยันต์อุณาโลม” ด้านล่างใต้อาสนะเป็นช่อกนก ตามส่วนโค้ง ด้านขวาของเหรียญมีอักษรไทย คำว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” ด้านซ้าย คำว่า “วัดสัตหีบฯ” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี่ สามชั้น ส่วนโค้งด้านบนของเหรียญมีอักษรไทย คำว่า “ที่ระฤกในการสร้างพระอุโบสถ” และส่วน โค้งด้านล่างเป็นปีพ.ศ. “พ.ศ.2504” เนื้อโลหะที่ใช้ในการสร้างเหรียญ มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ ๑) เนื้อทองคำ จำนวนในการสร้างเป็นการสั่งจอง ไม่มีหลักฐานบ่งบอกว่าสร้างไว้จำนวน เท่าไร ๒) เนื้อนาค จำนวนในการสร้างเป็นการสั่งจอง เหมือนเนื้อทองคำ ๓) เนื้อเงิน จำนวนในการสร้างประมาณ 200 เหรียญ ๔) เนื้อทองแดง (รมดำและไม่รมดำ) จำนวนในการสร้างประมาณ 5,000 เหรียญ ๕) เนื้ออัลปาก้า จำนวนในการสร้างประมาณ 5,000 เหรียญ บล็อกหรือพิมพ์จะถูกแยกเฉพาะ “เหรียญรูปไข่ใหญ่” จากลักษณะการพิมพ์ของเหรียญ ซึ่งได้จำแนกบล๊อกหรือพิมพ์ ดังนี้ ด้านหน้าเหรียญ จะมีเพียงบล็อกหรือพิมพ์เดียว ด้านหลังมี ด้วยกัน 2 บล็อก คือ ๑. บล๊อกธรรมดา จะพบเห็นอยู่ในเหรียญที่เป็นเหรียญทองแดงรมดำและไม่รมดำ และ เหรียญอัลปาก้า ๒. บล็อก ส ร ไหล ที่เรียกชื่อบล็อกนี้ว่า “ส ร ไหล” เพราะมาจากข้อความด้านหลัง เหรียญว่า “ที่ระฤกในการสร้างพระอุโบสถ” ตรงกับคำว่า “สร้าง” ตัว ส กับ ร จะมีเส้นบาง ๆ เชื่อมติดกัน จะ มีเฉพาะเหรียญทองคำ นาค เงิน และเหรียญทองแดงไม่รมดำ เท่านั้น วัตถุมงคล พ.ศ. 2508 วัตถุมงคล ปีพ.ศ.2508 ทางวัดสัตหีบ ได้ทำการหล่อพระประธานเพื่อนำเข้าประดิษฐานใน พระอุโบสถหลังใหม่ที่กำลังทำการก่อสร้าง ซึ่งทางวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกให้สำหรับผู้มี จิตศรัทธาร่วมกันในงานพิธีครั้งนี้ คณาจารย์ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” วัดอรุณราชวราราม เป็น ประธานเจริญพระพุทธมนต์ ทรงเจิมและจุดเทียนชัย พระมหาเถราจารย์ทำการพุทธาภิเษก ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2508 ปั๊มหลังเตารีดมีหู พ.ศ.2508 รุ่นงานหล่อรูปเหมือนรุ่นพิเศษ ลักษณะขององค์พระ ปั๊มหนาเหมือนทรงเตารีดมีหู คล้ายหลังเตารีดของหลวงปู่ทวด พ.ศ.2506 แห่งวัดช้างให้ ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่ออี๋เต็มองค์ นั่งสมาธิบนอาสนะ ด้านหน้าของ อาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่ออี๋สัตหีบ”


52 ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นยันต์ใบพัด ภายในช่องยันต์มีตัวอักษร คำว่า “สุ คะ โต” ด้านข้างยันต์ทั้งสามด้านมีอักขระ คำว่า “มะ อะ อุ” และบนยันต์ใบพัดนั้นมี “ยันต์ อุณาโลม” ส่วนด้านล่างของเหรียญ มีอักษรและตัวเลขไทย คำว่า “ที่ระลึกในงานหล่อรูป 2508” เนื้อโลหะที่ใช้ในการทำเหรียญ เท่าที่พบส่วนใหญ่แล้วจะเป็น เนื้อทองเหลืองรมดำ ส่วน จำนวนในการสร้างไม่ปรากฎหลักฐานว่าได้สร้างไว้เป็นจำนวนเท่าไร วัตถุมงคลประเภทอื่น ๆ ที่ได้สร้างในปีพ.ศ.2508 ได้แก่ ๑. พระบูชา เนื้อโลหะรมน้ำตาล ขนาด 5 นิ้ว สร้างไว้ 299 องค์ มีตอกหมายเลข 1 –299 ๒. พระบูชาเนื้อปูน ขนาด 5 นิ้ว สร้างไว้ 200 องค์ ๓. เหรียญกลม ๔. พระผง ๕. แหนบ ๖. ปลัดขิก วัตถุมงคล พ.ศ. 2509 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2509 เวลา 09.49 ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี และท่านผู้หญิงจงกลนี กิตติขจร ได้มอบและมาถวายพระประธานให้กับวัดสัตหีบ เพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถหลังใหม่ และต่อมาไม่กี่วัน ทางวัดได้จัดงานสมโภชพระประธาน และงานหล่อรูป พระอัครสาวก โดยผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือสมัยนั้น พล.ร.อ.อนันต์ เนตรโรจน์ เป็นเกรียติทำพิธี เททองหล่อพระอัครสาวก จากนั้นได้สร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึกสำหรับพิธีนี้ เพื่อแจกจ่ายให้กับ ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา กำหนดของงานพิธี วันที่ 11 ถึง 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 เหรียญ ปี พ.ศ.2509 รุ่นงานสมโภชพระประธานและหล่อพระอัครสาวก ลักษณะของเหรียญ เป็นเหรียญกลม ด้านหน้าเหรียญ กลางเหรียญเป็นรูปหลวงพ่ออี๋เต็มองค์ นั่งสมาธิบนอาสนะ ที่เป็นเส้นตรง ตามส่วนโค้งทางด้านขวาของเหรียญมีคำว่า “ หลวงพ่ออี๋” ส่วนทางด้านซ้ายของเหรียญคำว่า “วัด สัตหีบ” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญมีรูปพระประธาน ขนาบข้างด้วยพระอัครสาวกทั้งซ้าย ขวา ตามส่วนโค้งของเหรียญ มีคำว่า “ที่ระลึกในงานสมโภชพระประธานและหล่อพระอัครสาวก 2509” โลหะที่ใช้ในการสร้างเหรียญ ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองแดง หรือบางครั้งพบเห็นเป็นทองแดง กะไหล่ทอง ส่วนเหรียญที่เป็นทองคำ นาค เงิน และอัลปาก้า จะพบเห็นได้น้อยมาก วัตถุมงคลประเภทอื่น ๆ ที่ได้จัดสร้างในปีพ.ศ.2509 ได้แก่ ๑. เหรียญกลม พลเรือเอกกรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ พิธีเททองหล่อพระรูป ฯ ที่สัต หีบ


53 ๒. รูปหล่อยืน เสด็จเตี๋ย กรมหลวงชุมพร ฯ ใต้ฐาน ตอกโค้ดตัวอักษรภาษาอังกฤษตัว “CP” วัตถุมงคลพ.ศ. 2511 วัตถุมงคลในปี พ.ศ.2511 ทางวัดหลวงพ่ออี๋ หรือวัดสัตหีบ ได้ทำการจัดสร้างเป็นที่ระลึกใน งานด้วยกัน 3 วาระ หรือ 3 งานพิธี ได้แก่ • งานพิธีผูกพัทธสีมา เป็นพิธีใหญ่และสำคัญ • งานพิธีบำเพ็ญกุศลถวายหลวงพ่อ • งานนมัสการประจำปี ที่จัดขึ้นทุกปี แต่ละงานได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกไว้หลายประเภท เช่น พระบูชา เหรียญ รูป ปั๊มเหมือน พระผง ล๊อกเก็ต รูปภาพ แหนบ ปลัดขิก เป็นต้น เหรียญรูปไข่ เหรียญใหญ่และเหรียญเล็ก พ.ศ.2511 รุ่นงานผูกพัทธสีมา ทางวัดได้จัดงานพิธีผูกพัทธสีมาที่อุโบสถหลังใหม่ วันที่ 27 มกราคม ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2511 คณาจารย์ที่เข้าร่วมพุทธาภิเษก ประกอบด้วย ๑. พระครูศรีสัตคุณ (พระอาจารย์สายบัว โกมุโท) เจ้าอาวาสรูปที่ 3 วัดสัตหีบ ๒. พระครูวรพรตศีลขันต์ (หลวงพ่อแฟ้ม วัดอรัญญิกาวาส หรือวัดป่าชลบุรี) ๓. พระครูพินิจสมาจาร (หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี) ๔. หลวงพ่อแพ (วัดพิกุทอง สิงห์บุรี) ๕. พระครูสุนทรธรรมรส ( วัดนอก ชลบุรี) ๖. พระครูวิบูลนวการ (พระอาจารย์ทองอินทร์ วัดหนองเกตุใหญ่ ชลบุรี) ๗. หลวงพ่อทองอยู่ (วัดบางเสร่ฯ ชลบุรี) ๘. หลวงพ่อสำลี (วัดห้วยยาง ชลบุรี) หลังจากทำพิธีพุทธาภิเษก ทางวัดสัตหีบได้นำวัตถุมงคลไปให้ทางหลวงพ่อทิม (พระครู ภาวนาภิ วัต วัดละหาร ระยอง) ได้ทำการปลุกเสกซ้ำ ลักษณะของเหรียญ เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ มีหูในตัว มีทั้งใหญ่และเล็ก ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่ออี๋นั่งเต็มองค์บนอาสนะ บนเหนือศรีษะมีตัวอักษร คำว่า “อุ มะ อะ” และบนตัวอักขระตัว “อุ” มี “ยันต์อุณาโลม” ส่วนด้านล่างใต้อาสนะมีช่อกนก ตาม ส่วนโค้งด้านขวาของเหรียญมีข้อความภาษาไทยว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” และด้านซ้ายของเหรียญคำ ว่า “วัดสัตหีบ” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมด้วยยันต์สี่สามชั้น ตาม ส่วนโค้งด้านบนของเหรียญมีข้อความภาษาไทยคำว่า “ที่ระฤกงานผูกพัทธสีมา” และด้านล่างของ เหรียญบอกปีพ.ศ. “พ.ศ.2511” ระหว่างข้อความกับปีพ.ศ. นั้นมีดอกจันทร์อยู่ทั้งสองข้าง


54 เนื้อโลหะที่ใช้ในการทำเหรียญ มีอยู่ 5 ชนิด คือ ๑. เหรียญทองคำ จำนวนในการสร้างขึ้นอยู่กับผู้ที่สั่งจอง ไม่มีจำนวนแน่ชัด ๒. เหรียญนาค จำนวนในการสร้างขึ้นอยู่กับผู้สั่งจองเช่นเดียวกัน ๓. เหรียญเงิน จำนวนการสร้าง ประมาณ 200 เหรียญ ๔. เหรียญทองแดง จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ ๕. เหรียญอัลปาการ์ จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ บล็อกหรือพิมพ์ แตกต่างเฉพาะเหรียญรูปไข่ใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 บล็อก คือ ๑. เหรียญบล็อกหลังไม่แตก สังเกตจากรูปตัวองค์หลวงพ่ออี๋ ตัวหนังสือ และตัวเลขภายใน เหรียญจะมีลักษณะคมชัด และลึก ๒. เหรียญบล็อกหลังแตก ภายในเหรียญ รูปตัวองค์หลวงพ่ออี๋ ตัวหนังสือ และตัวเลข ภายใน หรียญเหมือนกับบล็อกหลังไม่แตก ลักษณะพิมพ์จะตื้น โดยเฉพาะด้านหลังของเหรียญของพิมพ์นี้ จะมีเส้นแตกจากขอบเหรียญตรงตัว “ฤ” ยาวจนถึงตรงส่วนบนของยันต์ ซึ่งรอยนั้นเกิดจากพิมพ์ที่ นำมาปั๊มเหรียญ วัตถุมงคลประเภทอื่น ๆ ที่ได้จัดสร้าง ในปีพ.ศ.2511 ได้แก่ 1. พระบูชา ขนาด 5 นิ้ว 2. รูปเหมือนปั๊มลอยองค์ รุ่นงานผูกพัทธสีมา 3. เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์ รุ่นงานผูกพัทธสีมา 4. เหรียญเสมาเล็ก รุ่นงานผูกพัทธสีมา 5. พระผงผสมว่านพิมพ์กลีบบัว รุ่นงานผูกพัทธสีมา 6. พระผงผสมว่านพิมพ์พระสมเด็จ รุ่นงานผูกพัทธสีมา 7. ผ้ายันต์คลุมลูกนิมิต 8. เหรียญรูปไข่ใหญ่และไข่เล็ก รุ่นงานบำเพ็ญกุศลถวายหลวงพ่ออี๋ 9. เหรียญรูปไข่ใหญ่และไข่เล็ก รุ่นงานนมัสการประจำปี 10. ล๊อกเก็ต รูปภาพ 11. แหนบ 12. ปลัดขิก วัตถุมงคล พ.ศ. 2512 จากการที่ได้รื้อถอนพระอุโบสถหลังเก่า เพื่อสร้างหลังใหม่ แล้วพื้นที่ตรงพระอุโบสถเดิมนั้น ทางวัด สัตหีบจะทำการสร้างวิหารใหม่ โดยได้อันเชิญ สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณณสิริ ป.ธ.6) วัด


55 พระเชตุพลวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เสด็จวางศิลาฤกษ์พระวิหาร เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2512 โดยมีพระครูศรีสัตคุณ หรือพระอาจารย์สายบัว เจ้าอาวาสวัดสัตหีบ รูปที่ 3 เป็นผู้อำนวยการสร้าง ได้จัดมีการจัดสร้างวัตถุมงคล ไว้เป็นที่ระฤกแจกให้สำหรับบุคคลที่มีจิตศรัทธา ช่วยในการสร้างพระ วิหารหลวงพ่ออี๋ ในครั้งนี้นอกจากนี้ ปีพ.ศ.2512 ยังจัดสร้างเหรียญและแหนบ เป็นที่ระฤกในงาน นมัสการประจำปี กับงานวางศิลากฤษ์ไว้อีกอ้วย เหรียญรุ่นสร้างวิหาร พ.ศ.2512 เป็นเหรียญที่ระฤก ในการสร้างพระวิหารพ.ศ.2512 ลักษณะของเหรียญมีอยู่ 2 ขนาด คือ เหรียญใหญ่ และเหรียญเล็ก เหรียญใหญ่ ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญ เป็นรูปองค์หลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์บนธรรมาสน์ และ บนศรีษะมี “ยันต์อุณาโลม” ส่วนด้านข้างมีช่อกนกทั้งสองข้าง และด้านล่างธรรมาสน์ที่ประทับมี อักษรๆทยอยู่ในโบว์โค้ง คำว่า “พระครูวรเวทมุนี หลวงพ่ออี๋” และใต้ล้างโบว์นั้นมีช่อกนก ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี่สามชั้น อยู่ในวงรีตามส่วนโค้งขอบเหรียญด้านบน มีอักษรไทย คำว่า “วัดสัตหีบ ชลบุรีฎ และด้านล่างมีคำ ว่า “ที่ระฤกในงานสร้างวิหาร 2512” เหรียญเล็ก ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์บนธรรมาสน์ ใต้ล้างมีอักษรไทย คำว่า “หลวงพ่ออี๋” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะวห์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี่สาม ชั้นอยู่ในวงรี ตามส่วนโค้งขอบเหรียญด้านบน มีอักษรไทย คำว่า “วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี” และ ด้านล่างมีคำว่า “ที่ระฤกในงานสร้างวิหาร 2512” เนื้อโลหะ ที่ใช้ทำเหรียญมี 5 ชนิด คือ ทองคำ นาค เงิน ทองแดง-ทองแดงกะไหล่ทอง และอัลปา การ์วัตถุมงคลประเภทอื่น ๆ ได้แก่ รูปเหมือนปั๊มลอยองค์ แหนบ ปลัดขิก วัตถุมงคล พ.ศ. 2513 วัตถุมงคลในปี พ.ศ.2513 ทางวัดหลวงพ่ออี๋ หรือวัดสัตหีบ ได้ทำการจัดสร้างเป็นที่ระลึกใน งานด้วยกัน 3 งานพิธี ได้แก่ ๑. งานพิธียกช่อฟ้า ๒. งานฉลองสมณศักดิ์ พระครูศรีสัตคุณ (บัญญัติ โกมุทโท) เจ้าอาวาสรูปที่ 3 วัดสัตหีบ ๓. งานวันครบรอบมรณะภาพ เหรียญรุ่นงานยกช่อฟ้า พ.ศ.2513 เหรียญรุ่นงานยกช่อฟ้า ทางวัดสัตหีบได้เชิญ พระคณาจารย์ที่มีกิตติคุณหลายรูป ได้เข้า ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ ที่วัดสัตหีบ ในคราวงานพิธียกเครื่องบนวิหาร ต่อมาทางวัดยังได้นำเหรียญ


56 รุ่นนี้ ไปให้ทาง เจ้าคุณนรราชมานิต แห่งวัดเทพศิรินฯ พระมหาเถระผู้มีพุทธะอันแกร่งกล้าเข้าพิธี พุทธาภิเษก อธิษฐานจิตเพื่อบรรจุพลังความศักดิ์สิทธิ์ของเหรียญซ้ำอีกครั้ง ลักษณะของเหรียญ เป็นเหรียญกลมหูในตัว ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปองค์หลวงพ่อครึ่งองค์ ด้านบนศรีษะหลวงพ่อ ตามแนวโค้งของ เหรียญ มีคําว่า “พระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี)” ด้านหลังเหรียญ กลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี่ 3 ชั้น ส่วน โค้งด้านบนของเหรียญ มีคําว่า “ที่ระลึกงานยกช่อฟ้า 2513” และด้านล่างมีคําว่า “วัดสัตหีบ ชลบุรี” เนื้อโลหะที่ใช้ในการทำเหรียญ มีเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว วัตถุมงคลประเภทอื่น ๆ ที่ได้จัดสร้าง ในปีพ.ศ.2511 ได้แก่ 1) เหรียญรุ่นที่ระลึกวันครบรอบมรณะ 2) เหรียญรุ่นที่ระลึกฉลองสมณศักดิ์ 3) แหนบ วัตถุมงคลพ.ศ. 2514 ปี พ.ศ.2514 ทางวัดสัตหีบ ได้ทําการจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นที่ระลึกในงาน พิธียกช่อฟ้า วิหารหลวงพ่ออี๋ และพิธีที่ระลึกงานประจำปี โดยอันเชิญพระเถระที่มีกิตติคุณ เข้าร่วมพุทธาภิเษก วัสดุมงคลที่จัดสร้าง เหรียญรุ่นที่ระลึกงานยกช่อฟ้า ลักษณะเหรียญมีทั้งเหรียญใหญ่ และเหรียญเล็ก ด้านหน้าเหรียญ รูปหลวงพ่ออี๋นั่งบนธรรมาสน์ บนศรีษะหลวงพ่อเป็น “ยันต์อุณาโลม” และด้านข้างสองด้านเป็น “ช่อกนก” ด้านล่างธรรมาสน์ มีโบว์โค้งและอักษรในโบว์ คำว่า “พระ ครูวรเวทมุนี หลวงพ่ออี๋” และถัดลงมาเป็นช่อกนก ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี่ 3 ชั้น และอยู่ในวงรี ส่วนโค้งของเหรียญ ด้านบน มีคำว่า “วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี” ส่วนโค้งด้านล่าง มีคําว่า “ที่ระลึกในงานยกช่อฟ้า พ.ศ.2514” เนื้อโลหะที่ใช้ในการจัดสร้าง มี 6 ชนิด คือ ทองคำ นาค เงิน ทองแดง อัลปาก้า และ ทองแดงกะไหล่ทอง วัตถุมงคลประเภทอื่น ๆ ที่ได้จัดสร้าง ในปี พ.ศ. 2514 1) พระบูชา หน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อทองเหลืองรมดำ ตอกโค็ต คำว่า “วิหาร” ตรงฝ่ามือ สร้าง จำนวน200 องค์ 2) เหรียญรุ่นงานประจำปี เหรียญรูปไข่ เหรียญใหญ่และเหรียญเล็ก ลักษณะเหรียญคล้าย รุ่นงานยกช่อฟ้า ต่างกันตรงรูปองค์หลวงพ่อและชื่อรุ่น


57 3) รูปเหมือนปั้มลอยองค์ เป็นเนื้อทองเหลือง ใต้ฐานองค์พระอุดกริ่ง มีตัวอักษร (เป็นตัว จม) อยู่ด้าน ล่าง ด้านหน้าองค์พระมีคำว่า “หลวงพ่ออี๋” ด้านหลังองค์พระ ใต้สังฆาฏิมีตัวอักขระ ตัว “อุ” และด้านล่างมีคำว่า “วัดสัตหีบ” 4) แหนบ วัตถุมงคลพ.ศ. 2515 เมื่อปี พ.ศ. 2489 ครั้งหลวงพ่ออี๋ได้มรณภาพแล้ว ทางวัดสัตหีบได้ทำการหล่อรูปเหมือน เท่าองค์จริง ท่านเพื่อเตรียมไว้สำหรับบรรจุอัฐิธาตุหลวงพ่ออี๋ หลังพระราชทานเพลิง หลังจากที่ได้บรรจุอัฐิหลวงพ่ออี๋ไว้ในองค์พระเป็นที่เรียบร้อย เริ่มแรกทางวัดสัตหีบได้นำรูป หล่อเท่าองค์จริง ของท่านเข้าประดิษฐานยังศาลาการเปรียญหลังเก่า แล้วต่อมา ครั้งเมื่อสร้างพระ วิหารหลังใหม่แล้วเสร็จ พ.ศ. 2515 ทางวัดสัตหีบจึงได้ย้ายรูปหล่อหลวงพ่ออี๋นั้น นำเข้าประดิษฐาน ยังพระวิหารอีกครั้ง ตลอดเท่าถึงทุกวันนี้ พ.ศ. 2515 ท่านพระครูศรีสัตคุณ (บัญญัติ โกมุโท) เจ้าอาวาสรูปที่ 3 วัดสัตหีบ กับทาง คณะกรรมการวัด ได้ร่วมกันจัดพิธีที่จะนำ รูปหล่อหลวงพ่ออี๋ ที่สร้างไว้ ได้เข้าประดิษฐานในยังพระ วิหาร อยู่ด้านหน้าขององค์พระประธาน และพระอัครสาวก ได้จัดขบวนแห่รูปหล่อองค์หลวงพ่ออี๋ อย่างสมเกียรติ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ในกาลครั้งนี้ ไปทั่วตลาดสัตหีบ จังหวัดระยอง และตลอดจน พื้นที่บริเวณใกล้เคียง งานพิธีเข้าประดิษฐานวิหาร ทางวัดสัตหีบ ยังได้จัดสร้างวัตถุมงคลหลายประเภทเป็นที่ ระฤก แจกจ่ายให้กับประชาชนที่มีจิตศรัทธาในตัว หลวงพ่ออี๋ คณาจารย์ ทางวัดสัตหีบ ได้กราบนมัสการ เรียนเชิญนิมนต์พระเถระอาจารย์ผู้ทรงไสยเวท เข้าร่วมพิธี พุทธาภิเษกอาทิเช่น 1. หลวงพ่อวิเชียร วัดเครือวัลย์ ชลบุรี 8. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางเสร่ ชลบุรี 2. หลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง ชลบุรี 9. หลวงพ่อทิม วัดระหารไร่ ระยอง 3. หลวงพ่อพิพัฒน์ วัดบางเป้ง ชลบุรี 10. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง 4. หลวงพ่อลั้ง วัดอัมพาราม ชลบุรี 11. หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ ระยอง 5. หลวงพ่ออิน วัดหนองปลาไหล ชลบุรี 12. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อยุธยา 6. หลวงจรินทร์ วัดโรงโป๊ะ ชลบุรี 13. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 7. หลวงพ่อสำลี วัดห้วยยาง ชลบุรี โดยมี หลวงพ่อแฟ้ม วัดป่าอรัญญิกาวาส เป็นเจ้าพิธี จุดเทียนชัย เหรียญรูปไข่ รุ่นเข้าประดิษฐานวิหาร พ.ศ. 2515 ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ มีทั้ง เหรียญใหญ่ และเหรียญเล็ก


58 ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปองค์หลวงพ่ออี๋นั่งเต็มองค์บนอาสนะ บนศรีษะมีตัวอักขระ “อุ มะ อะ” และบนอักขระตัว “อุ” มี “ยันต์อุณาโลม” ส่วนด้านล่างใต้อาสนะมี ช่อกนก และตามส่วนโค้ง ด้านขวาของ...... มีคำภาษาไทยว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” และด้านซ้ายคำว่า “วัดสัตหีบฯ” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น“ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี่ 3 ชั้น ตามส่วนโค้งด้านบนของเหรียญมีภาษาไทย คำว่า “ที่ระฤกในงานเข้าประดิษฐานวิหาร” และ ด้านล่างเป็นปี พ.ศ. “พ.ศ.2515” เนื้อโลหะที่ใช้ในการทำเหรียญ มีอยู่ 5 ชนิด คือ 1. เหรียญทองคำ จำนวนในการสร้างขึ้นขึ้นอยู่กับผู้ที่สั่งจอง ไม่มีจำนวนบอกที่ แน่ชัดว่าสร้างกี่เหรียญ 2. เหรียญนาค จำนวนในการสร้างขึ้นขึ้นอยู่กับผู้ที่สั่งจอง (เช่นเดียวกับเหรียญ ทองคำ) 3. เหรียญเงิน จำนวนการสร้างประมาณ 200 เหรียญ 4. เหรียญทองแดง จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ 5. เหรียญอัลปาก้า จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ บล็อคหรือพิมพ์มีเพียงพิมพ์เดียว วัตถุมงคลประเภทอื่น ๆ ที่ได้จัดสร้าง ในปี พ.ศ.2515 ได้แก่ 1) พระบูชา ขนาด 4 นิ้ว เป็นเนื้อโลหะผสม จำนวนการสร้าง 200 เหรียญ 2) รูปปั๊มเหมือนลอยองค์ ใต้ฐานอุดกริ่ง ด้านหน้าองค์พระด้านล่างมีอักษร (ตัวนูน) คำว่า “หลวงพ่ออี๋” และด้านหลังใต้สังฆาฏิ มีอักขระ ตัว “อุ” 3) รูปปั๊มเหมือนลอยองค์ ใต้ฐานอุดกริ่ง และบางองค์ตอกคำว่า คำว่า “วิหาร” ด้านหน้า องค์พระ ด้านล่างมีอักษร (ตัวนูน) คำว่า “หลวงพ่ออี๋”เช่นเดียวกัน ส่วนด้านหลังใต้สังฆาฏิ จะมี ลักษณะตัวเลขไทย “1” รุ่นนี้ขนาด....หรือเล็กกว่ารุ่นที่สังฆาฏิ มีอักขระ ตัว “อุ” 4) ล็อกเก็ต และรูปภาพ มีทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก 5) ภาพรวมเกจิอาจารย์ พ.ศ.2481 6) เหรียญบาทขวัญถุง ตอกโค๊ดคำว่า “หลวงพ่ออี๋” จำนวนการสร้าง 20,000 เหรียญ 7) ผ้ารูปองค์หลวงพ่อ (มีหลายสี) 8) แหนบ 9) ปลัดขิก ตอกโค๊ดคำว่า “หลวงพ่ออี๋”(โค๊ดตัวเดียวกับเหรียญขวัญถุง) วัตถุมงคลพ.ศ. 2516


59 วัตถุมงคล ที่ได้จัดสร้าง ในปี พ.ศ. 2516 เนื่องในวาระ เป็นที่ระลึกในงานนมัสการประจำปี ที่ได้จัดงานนี้ขึ้นเป็นประจำ ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ⧫ วัตถุมงคลที่ทางวัดได้ทำการจัดสร้าง • พระบูชา หน้าตัก 5 นิ้ว จำนวนสร้าง 200 องค์ • พระผงรูปสามเหลี่ยม ด้านหน้า เป็นรูปองค์หลวงพ่อ นั่งบนอาสนะ ใต้อาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่ออี๋” ด้านหลังเป็นยันต์ใบพัด และใต้ล่างยันต์เขียนคำว่า “วัดสัตหีบ” 1) แบบเนื้อผงลงลักปิดทอง 2) แบบเนื้อผงธรรมดา วัตถุมงคลพ.ศ. 2517 งานพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายให้กับหลวงพ่ออี๋ หรืองานคล้ายวันครบรอบมรณะภาพ ได้จัด ขึ้นประจำทุกปี อยู่ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ในปี พ.ศ. 2517 นี้ ทางวัดสัตหีบ ได้ทำการจัดสร้างวัตถุ มงคลไว้เป็นที่ระฤก สำหรับงานพิธีบำเพ็ญกุศลเอาไว้ด้วย วัตถุมงคลที่ทางวัดได้ทำการจัดสร้าง • พระบูชา หน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อทองผสม จำนวนการสร้าง 200 องค์ • เหรียญรูปไข่เล็ก ครึ่งองค์ สร้างเป็นเหรียญทองแดง เพียงเนื้อเดียว ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปองค์หลวงพ่อครึ่งองค์ บนศรีษะหลวงพ่อ มีคำว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋ วัดสัตหีบ” ด้านหลังเหรียญ กลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี่ 3 ชั้น มีคำ ภาษาไทย ตามส่วนโค้งด้านบนของเหรียญว่า “ที่ระฤกในการบําเพ็ญกุศลอุทิศถวาย” ส่วนด้านล่าง เป็นปี พ.ศ. “พ.ศ. 2517” ซึ่งมีดอกจันทร์ขั้นอยู่ระหว่าง ตัวอักษร กับปี พ.ศ.ทั้งสองด้าน จํานวนการสร้าง ประมาณ 5,000 เหรียญ วัตถุมงคลพ.ศ. 2519 ปี พ.ศ. 2519 ที่วัดสัตหีบ ได้จัดงานพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ นั่นคือ “งานสร้างรูป เหรียญ” ได้ทำการสร้างวัตถุมงคลไว้หลายประเภท เพื่อเป็นที่ระฤกสําหรับงาน ทำพิธีในวันศุกร์ เวลา 19.00 น. คณาจารย์ ทางวัดสัตหีบ อันเชิญนิมนต์พระเถระอาจารย์ที่มีกิตติคุณ ผู้ทรงไสยเวท เข้าร่วม พิธีพุทธาภิเษก อาทิเช่น 1. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 2. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี 3. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา 4. หลวงพ่อโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี


60 5. หลวงพ่อสวน วัดท่ากระดาน ตราด 6. หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี 7. หลวงพ่อพิศาล วัดบูรพา จันทบุรี 4. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง 4. หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ ระยอง 10. หลวงพ่อวิเชียร วัดเครือวัลย์ ชลบุรี 11. หลวงพ่อเหมือน วัดกําแพง ชลบุรี 12. หลวงพ่อพิพัฒน์ วัดบางเป้ง ชลบุรี 13. หลวงพ่อลั้ง วัดอัมพาราม ชลบุรี 14. หลวงพ่ออินทร์ วัดหนองปลาไหล ชลบุรี 15. หลวงพ่อจรินทร์ วัดโรงโป๊ะ ชลบุรี 16. หลวงพ่อสำลี วัดห้วยยาง ชลบุรี โดยมี หลวงพ่อแฟ้ม วัดป่าฯ อรัญญิกาวาส ชลบุรี เป็นเจ้าพิธี วัตถุมงคล พ.ศ. 2519 รุ่นที่ระฤกในงานสร้างรูปเหรียญ 1. พระบูชา ขนาด 5 นิ้ว เนื้อทองผสม จำนวนสร้าง 500 องค์ 2. เหรียญไข่ และเหรียญกลม ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปองค์หลวงพ่อนั่งเต็มองค์บนอก เป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” และบอกชื่อรุ่น กับ ปี พ.ศ. “พ.ศ. 2519” โลหะเหรียญ แบ่งเป็น 5 ชนิด คือ 1. เหรียญทองคำ จำนวนสร้างเป็นการสั่งจอง 2. เหรียญนาค จำนวนสร้างเป็นการสั่งจอง 3. เหรียญเงิน จำนวนการสร้าง 200 เหรียญ 4. เหรียญนวะโลหะ จำนวนการสร้าง 1,000 เหรียญ 5. เหรียญทองแดง จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ รูปเหมือนหล่อลอยองค์อุดกริ่ง ตรงฐานด้านหน้ามีคําว่า “พระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) วัดสัตหีบ” ด้านหลังฐานเป็นเลขไทย “2519” เนื้อโลหะรูปหล่อเหมือนลอยองค์ แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ 1. ทองคํา จํานวนสร้างเป็นการสั่งจอง 2. เงิน จํานวนการสร้าง 300 องค์ 3. นวะกะไหล่ทอง จํานวนการสร้าง 1,000 องค์ 4. นวะโลหะ จํานวนการสร้าง 2,000 องค์ วัตถุมงคล พ.ศ. 2521


61 วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2523 ทางวัดสัตหีบ และประชาชน มีความยินดีร่วมรับ เสด็จ“สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก” วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเสด็จ....เป็นประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช ณ วัดหลวงพ่ออี สัตหีบ กาลต่อมาพระ พุทธชินราชจำลองนั้นได้ถูกประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญในปัจจุบัน ครั้งนี้ทางวัดได้ทำการ จัดสร้างพระบูชา และเหรียญเป็นที่ระฤก พระครูศรีสัตคุณ (บัญญัติ โกมุโท) เจ้าอาวาสวัดสัตหีบ รูปที่ 3 จุดธูป เทียนชัย พุทธาภิเษก อาราธนาพระนั่งปรก และพระสงฆ์เถระ 16 รูป เจริญพระพุทธ มนต์ วัตถุมงคลที่ทำการจัดสร้าง 1. พระบูชา เนื้อทองผสม ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว จำนวนสร้าง 300 องค์ 2. เหรียญรูปไข่ เหรียญใหญ่ และเหรียญเล็ก ลักษณะเหรียญ ด้านหน้า เป็นรูปองค์หลวงพ่อห่มคลุม ครึ่งองค์ บนศรีษะมีตัวอักขระ “อุ มะ อะ” บนตัว อุ มี “ยันต์ณาโลม” ด้านขวาของเหรียญมีคำว่า “พระอุปัชฌาย์อี” ด้านซ้ายคำว่า “วัดสัตหีบฯ” ด้านหลัง ตรงกลางเหรียญเป็นรูป “พระพุทธชินราช” ใต้ฐานมีวันพิธี “8 ก.พ. 21” และ ตามส่วนโค้งของเหรียญ มีอักษรไทย คําว่า “ที่ระฤกในงานเททองหล่อพระพุทธชินราช สมเด็จ พระสังฆราชทรงเป็นประธาน” เนื้อโลหะ ที่ใช้ในการสร้างเหรียญ มี 4 ชนิด คือ 1. เหรียญทองคำ จำนวนการสร้างเป็นการสั่งจอง 2. เหรียญเงิน จำนวนการสร้าง 60 เหรียญ 3. เหรียญทองแดงกะไหล่ทอง จำนวนการสร้าง 1,000 เหรียญ 4. เหรียญทองแดง จำนวนการสร้าง 2,000 เหรียญ วัตถุมงคล พ.ศ. 2523 เนื่องในงานบำเพ็ญกุศล ที่ได้จัดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ทางวัดสัตหีบได้กระทำพิธี พุทธาภิเษก และฉลองศาลาการเปรียญ วัดสัตหีบ ณ ที่พระวิหารหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ในวัน พฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์2523 และงานนี้จัดมหรสพสมโภช ตั้งแต่วันที่ 15 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2523 คณาจารย์มีพระเกจิอาจารย์พระเถระ ที่เข้าร่วมพุทธาภิเษกและเจริญพระพุทธมนต์วัตถุ มงคล ปี พ.ศ. 2523 อาทิเช่น 1. หลวงพ่อคง (พระครูอาคมวิสุทธิ์) วัดวังสรรพรส จันทบุรี 2. หลวงพ่ออิน (พระครูเนกขัมมาภิรม) วัดลาด จันทบุรี 3. หลวงพ่อเหลือ (พระครูสังฆการพินิต) วัดหัวกระสังข์ ฉะเชิงเทรา 4. หลวงพ่อยิ้ม (พระครูนพบุราจารย์) วัดบางคา ฉะเชิงเทรา 5. หลวงพ่อประสงค์ (พระครูพิทักษ์เขมากร) วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา


62 6. หลวงพ่อบุญ (พระครูสุทธิวัฒน์สุนทร) วัดบ้านนา ระยอง 7. หลวงพ่อละเมียด (พระครูไพศาลสุตคุณ) วัดเนินฆ้อ ระยอง 4. หลวงพ่อเจียม (พระวินัยการกวี) วัดลุ่มมหาชัยชุมพล ระยอง 4. หลวงพ่อโต่ง (พระครูสังวรสมาธิวัตร) วัดเภตราสุขารมณ์ ระยอง 10. หลวงพ่อเหมือน (พระครูอุดมวิชชากร) วัดกําแพง ชลบุรี 11. หลวงพ่อวิเชียร (พระชลธารมุนี) วัดเครือวัลย์ ชลบุรี 12. หลวงพ่อจรินทร์ (พระครูพิพัฒนธรรมคุณ) วัดประชุมคงคา ชลบุรี 13. หลวงพ่อทองอินทร์ (พระครูวิบูลนวการ) วัดหนองเกตุใหญ่ ชลบุรี 14. หลวงพ่อลั้ง (พระครูสาธกธรรมคุณ) วัดอัมพาราม ชลบุรี 15. หลวงพ่อสายบัว (พระครูศรีสัตคุณ) วัดสัตหีบ ชลบุรี 16. หลวงพ่อองุ่น ธมมรกุขิโต วัดสัตหีบ ชลบุรี โดย หลวงพ่อแฟ้ม (พระครูวรพรตศีลขันธ์) วัดอรัญญิกาวาส เ ป็ น เจ้าพิธี วัตถุมงคล พ.ศ.2513 รุ่นที่ระลึกฉลองศาลา รุ่นพิเศษ 1. พระบูชา ขนาด 5 นิ้ว เนื้อโลหะผสม จำนวนสร้าง 300 องค์ 2. เหรียญรูปไข่ ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเหรียญ รูปองค์หลวงพ่อนั่งเต็มองค์บนอาสนะ ด้านบนศรีษะมีอักขระตัว “อุ มะ อะ” อักขระตัว “อุ” มี “ยันต์อุณาโลม” และด้านขวาของเหรียญมีอักษรไทย คำว่า “พระอุปัชฌาย์ อี๋” ด้านซ้ายคำว่า “วัดสัตหีบ ฯ” และด้านล่างอาสนะมีช่อกนก ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี่ 3 ชั้น ด้านบน ยันต์มีอักษรไทย คำว่า “ที่ระลึกในงานฉลองศาลา รุ่นพิเศษ” ด้านล่างบอกปี “พ.ศ.2523” เนื้อโลหะ ที่ใช้สร้างเหรียญ มี 3 ชนิด คือ 1. เหรียญทองคำ จำนวนการสร้างเป็นการสั่งจอง 2. เหรียญเงิน จำนวนการสร้าง 200 เหรียญ 3. เหรียญทองแดง จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ 3. เหรียญพุ่มข้าวบิณฑ์ ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปองค์หลวงพ่ออี๋ครึ่งองค์ บนศรีษะหลวงพ่อมีคำว่า “สัตหีบ” ใต้องค์ หลวงพ่อ คำว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” ด้านหลังเหรียญ รายละเอียดเหมือนเหรียญรูปไข่ เนื้อโลหะ ที่ใช้ในการสร้างเหรียญ มี 5 ชนิด คือ


63 1. เหรียญทองคำ จำนวนการสร้างเป็นการสั่งจอง 2. เหรียญเงิน จำนวนการสร้าง 200 เหรียญ 3. เหรียญทองแดงกะไหล่ทองทองลงยา มีด้วยกัน 7 สี จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ 4. เหรียญทองแดงกะไหล่ทองทอง จำนวนการสร้าง 1,000 เหรียญ 5. เหรียญทองแดง จำนวนการสร้าง 5,000 เหรียญ 4. ล็อกเก็ตสีฟ้า 5. ปลัดขิก วัตถุมงคล พ.ศ. 2527 วัดสัตหีบ ทําการจัดสร้างวัตถุมงคลไว้เป็นที่ระฤก และได้กระทําพิธีพุทธาภิเษกด้วย 2 วาระงานพิธี คือ พิธีพุทธาภิเษกสร้างรูปเหรียญ ในงานครบรอบบำเพ็ญกุศล พระครูเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) วัด สัตหีบ งานสมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นประธานในพิธีสร้างเหรียญ 11 ก.ย. 2527 สมเด็จพระอริ ยวงศาคญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสพมหาเถร ป.ธ. 4) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เสด็จเป็นประธานจุดเทียนชัย กระทำพุทธาภิเษก และเสด็จเยี่ยมศพ พระครูศรีสัตคุณ หรือพระ อาจารย์สายบัว เจ้าอาวาสรูปที่ 3 วัดสัตหีบ คณาจารย์ ทางวัดสัตหีบ อันเชิญพระเถระ ผู้มีกิตติคุณไสยเวท เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกห ลายพระอาจารย์เช่น 1. หลวงพ่ออิน วัดลาด จันทบุรี 2. หลวงพ่อโต่ง วัดเภตราสุขารมณ์ ระยอง 3. หลวงพ่อรวยวัดท่าเรือ ระยอง 4. หลวงพ่อประสงค์ วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา 5. หลวงพ่อแฟ้ม วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี 6. หลวงพ่อเกลี้ยง วัดบางปลาสร้อย ชลบุรี 7. หลวงพ่อลั้ง วัดอัมพาราม ชลบุรี 8. หลวงพ่อบุญ วัดบ้านนา ระยอง 9. หลวงพ่อเจียม วัดลุ่มมหาชัยชุมพล ระยอง 10. หลวงพ่อละเมียด วัดเนินฆ้อ ระยอง 11. หลวงพ่อเหลือ วัดหัวกระสังฆ์ ฉะเชิงเทรา 12. หลวงพ่อวิเชียร วัดเครือวัลย์ ชลบุรี 13. หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี


64 วัตถุมงคล พ.ศ. 2527 รุ่นงานสร้างรูปเหรียญ เหรียญรูปไข่ เหรียญใจงาม เหรียญเล็ก ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปองค์หลวงพ่ออื๋นั่งบนอาสนะ บนศรีษะมีอักขระ “อุ มะ อะ” บนตัว “อุ” มี “ขันต์อุณาโลม” ด้านขวารูปองค์หลวงพ่อ มีคาว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” ด้านซ้าย “วัดสัตหีบ ฯ” ส่วนใต้ล่าง อาสนะเป็นรูปซ่อนก ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี่ 3 ชั้น ด้านบนยันต์ ตามส่วนโค้งของเหรียญ มีคำว่า“ที่ระฤกในงานสร้างรูปเหรียญ” และด้านล่างเป็นปี พ.ศ. “พ.ศ. 2527” เนื้อโลหะ ที่ใช้ในการสร้างเหรียญ มี 4 ชนิด คือ 1. เหรียญทองคํา จํานวนการสร้างเป็นการสั่งจอง 2. เหรียญนาค จํานวนการสร้างเป็นการสั่งจอง 3. เหรียญเงิน จํานวนการสร้าง 300 เหรียญ 4. เหรียญทองแดง จํานวนการสร้าง 5,000 เหรียญ วัตถุมงคล พ.ศ. 2527 รุ่นสมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นประธานในพิธีสร้างเหรียญ 1. พระบูชาหลวงพ่ออี๋ ขนาด 9 นิ้ว จํานวนการสร้าง 59 องค์ 2. พระบูชาหลวงพ่ออี๋ ขนาด 5 นิ้ว จํานวนการสร้าง 499 องค์ 3. เหรียญรูปไข่ ลักษณะ ขอบเหรียญจะหนากว่าปกติ ด้านหน้าเหรียญ เหรียญรุ่นนี้หน้าองค์หลวงพ่ออี้จะออกอูมใหญ่ และส่วนลําตัวจะดูอ้วนล่ำ กว่าเหรียญ ทั่วๆไป นั่งสมาธิบนอาสนะ ด้านบนศรีษะมีอักขระ “อุ มะ อะ” บนตัว “อุ” มี “ยันต์ อุณาโลม” ด้าน ขวารูปองค์หลวงพ่อ มีคําว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” ด้านซ้าย มีคําว่า “วัดสัตหีบฯ” และใต้ล่างอาสนะเป็นรูปช่อกนก ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ล้อมรอบด้วยยันต์สี 3 ชั้น ตามส่วนโค้งของเหรียญ มีคําว่า “สมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นประธานในพิธีสร้างเหรียญ 10 ก.ย. 2527” เนื้อโลหะ ที่ใช้ในการสร้างเหรียญ มี 4 ชนิด คือ 1. เหรียญทองคํา จํานวนการสร้างเป็นการสั่งจอง 2. เหรียญเงิน จํานวนการสร้าง 300 เหรียญ 3. เหรียญทองแดงกะไหล่ทอง จํานวนการสร้าง 1,000 เหรียญ 4. เหรียญทองแดง จํานวนการสร้าง 5,000 เหรียญ 4. ปลัดขิก ไม้คูณ ไม้กัลปังหา วัตถุมงคลพ.ศ. 2529


65 เนื่องในงานบําเพ็ญกุศล พระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) วัดสัตหีบ วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 ณ วิหารหลวงพ่ออี๋ ได้กระทําพิธีพุทธาภิเษกรูปเหรียญ รุ่นบูรณะอุโบสถ และงาน นี้ได้จัดมหรสพสมโภช วันที่ 7 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2529 คณาจารย์ได้มีพระเถระหลายรูป เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก 1. หลวงพ่อเหลือ วัดหัวกระสังข์ 2. หลวงพ่อกริ่ม วัดบางคา 3. หลวงพ่อผิว วัดหนองแหน 4. หลวงพ่อสาย วัดช้าป่าง่าม 5. หลวงพ่อลําใย วัดท่าเกวียน 6. หลวงพ่อสีนวล วัดเกวียนหัก 7. หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดชากมะกรูด 8. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า 9. หลวงพ่อบุญ วัดบ้านนา 10. หลวงพ่อละเมียด วัดเนินฆ้อ 11. หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ 12. หลวงพ่อโต่ง วัดเภตราสุขารมณ์ 13. หลวงพ่อเจียม วัดลุ่มมหาชัยชุมพล 14. หลวงพ่อจํารัส วัดใหญ่อินทาราม 15. หลวงพ่อจรินทร์ วัดประชุมคงคา 16. หลวงพ่อทองอินทร์ วัดหนองเกตุใหญ่ 17. หลวงพ่อลัง วัดอัมพาราม 18. หลวงพ่อองุ่น วัดสัตหีบ 19. หลวงพ่อแฟ้ม วัดอรัญญิกาวาส เจ้าพิธี วัตถุมงคล พ.ศ. 2529 รุ่นงานบูรณะอุโบสถ 1. พระบูชา ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เนื้อทองผสม จํานวนการสร้าง 49 องค์ 2. พระบูชา ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว เนื้อปูน จํานวนการสร้าง 19 องค์ 3. พระบูชา ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อทองผสม จํานวนการสร้าง 499 องค์ 4. พระเหรียญ ลักษณะเป็น 1) เหรียญรูปไข่ มีทั้งขนาดเล็กและเหรียญจิ๋ว 2) เหรียญกลม เนื้อโลหะ ที่จัดสร้างเหรียญ มี 5 ชนิด คือ 1. ทองคํา จํานวนการสร้าง (สั่งจอง) 2. เงิน จํานวนการสร้าง 300 เหรียญ 3. ทองแดงกะไหล่ทอง จํานวนการสร้าง 1,000 เหรียญ


66 4. ทองแดง จํานวนการสร้าง 5,000 เหรียญ 5. อัลปาก้า จํานวนการสร้าง 5,000 เหรียญ วัตถุมงคล พ.ศ. 2530 วัตถุมงคล ปี พ.ศ.2530 ทางวัดสัตหีบ ต้องการที่จะหาปัจจัย เพื่อสมทบทุนในการสร้าง อาคารพยาบาลหลวงปู่อี๋ ที่ ก.ม. 10 สําหรับประชาชนทั่วไปที่เจ็บไข้ได้ป่วยได้มาใช้บริการ ซึ่ง กาลครั้งนี้ ทางวัดจึงได้จัดสร้าง วัตถุมงคล 2530 รุ่นสมทบทุนสร้างอาคารพยาบาลหลวงปู่อี ก.ม. 10 1. พระบูชา ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว จํานวนการสร้าง 499 องค์ 2. เหรียญรูปไข่ ลักษณะ เป็นเหรียญรูปไข่ขนาดจิ๋ว คล้ายเม็ดแตง ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปองค์หลวงพ่ออี๋ ครึ่งองค์ ด้านบนศรีษะมีตัวอักษรโค้งตามเหรียญ คําว่า “พระอุปัขณาย์อี๋ วัดสัตหีบ” ด้านหลังเหรียญ เป็น “ยันต์ เนตวัดสมาธิ” ถูกล้อมด้วยยันต์สี่ 3 ชั้น ด้านนอกมีอักษรไทยโค้ง ตามเหรียญคําว่า “ที่ระลึกสมทบทุนสร้างอาคารพยาบาลหลวงปู่อี้ ก.ม 10 พ.ศ. 2530” เนื้อโลหะ ที่ใช้สร้างเหรียญ มี 2 ชนิด คือ 1) เหรียญเงิน จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ 2) เหรียญทองแดง จํานวนการสร้าง 5,000 เหรียญ วัตถุมงคล พ.ศ. 2532 จากคราวที่ “พระครูสรีสัตคุณ หรือพระอาจารย์สายบัว เจ้าอาวาสรูปที่ 3 วัดสัตหีบ”ได้ ริเริ่มสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2515 ทั้งหมด 4 หลัง ในปี พ.ศ. 2532 ทางวัดสัตหีบ ได้จัดสร้าง และกราบนมัสการ นิมนต์เชิญพระเถระหลายรูป เข้าร่วมกระทําพิธีพุทธาภิเษกรูปหล่อเหรียญ (ส่วนใหญ่เป็นพระเถระอาจารย์ ที่เคยร่วมพิธีพุทธา ภิเษก ณ วัดสัตหีบ ในงานที่ระลึกของปีที่ผ่านๆมา) เพื่อเป็นเหรียญที่ระลึกในการสร้างกุฏิสงฆ์ใน ครั้งนั้น วัตถุมงคล พ.ศ. 2532 รุ่นที่ระลึกสร้างกุฏิสงฆ์ 1. พระบูชา ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อโลหะผสม สร้างจํานวน 499 องค์ 2. เหรียญรูปไข่ มีเหรียญใหญ่ และเหรียญเล็ก ลักษณะเหรียญ ด้านหน้าเหรียญ รูปองค์หลวงพ่ออี๋นั่งสมาธิบนอาสนะ บนศรีษะมีอักขระ “อุ มะ อะ” และ บนตัว “อุ” มี “ยันต์อุณาโลม” ด้านขวารูปองค์หลวงพ่อ มีคําว่า “พระอุปัชฌาย์อี๋” และด้านซ้าย คําว่า “วัดสัตหีบฯ”


67 ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็น “ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ” ถูกล้อมด้วยยันต์สี่ 3 ชั้น ด้านบนของ ๆ ยันต์มีคําว่า “ที่ระลึก สร้างกุฏิสงฆ์” และส่วนด้านล่าง บอกปี พ.ศ. “พ.ศ. 2532 เนื้อโลหะ เหรียญที่จัดสร้าง มี 6 ชนิด คือ 1. เหรียญทองคํา จํานวนการสร้าง (สั่งจอง) 2. เหรียญเงิน จํานวนการสร้าง 300 เหรียญ 3. เหรียญนวะโลหะ จํานวนการสร้าง 1,000 เหรียญ 4. เหรียญทองแดงกะไหล่ทองลงยา จํานวนการสร้าง 1,000 เหรียญ 5. เหรียญทองแดงกะไหล่ทอง จํานวนการสร้าง 1,000 เหรียญ 6. เหรียญทองแดง จํานวนการสร้าง 5,000 เหรียญ 3. เหรียญกลม มีเหรียญใหญ่ และเหรียญเล็ก 4. รูปภาพหลวงพ่อ 5. ปลัดขิก ไม้คูณ กัลปังหา ปลัดขิก หลวงพ่ออี้ อันสื่บเนื่องจาก หลวงพ่ออี๋ ออกรุกขมูลอยู่เป็นประจำเหมือนครูบาอาจารย์ และนี่เองเป็น มูลเหตุในการสร้าง “ปลัดขิก" ของท่าน ครั้งหนึ่ง หลวงพ่ออี๋ เดินทางไปรุกขมูล ท่านได้บ่อน้ำแห่งหนึ่ง จึงได้หยุดพักปักกลด เพื่อ โปรดทายก ทายิกา ในระหว่างนั้นท่านได้ไป นั่งดูบ่อน้ำทุกวัน เพราะหลวงพ่ออี๋ ได้เห็นปลัดขิก อันหนึ่งผุดขึ้นมาจากผิวน้ำ เหมือนปลาดุกผุดขึ้นมาหายใจ หลวงพ่ออี้จึงพยายามซ้อน ปลัดขิก ก็ ช้อนไม่ติดสักอัน ขณะที่กําลังซ้อนอยู่นั้น มีโยมแก่คนหนึ่งเดินมาถามหลวงพ่ออี้ว่า “ทําอะไรหรือ หลวงพ่อ” หลวงพ่ออี้ก็บอกว่า “ซ้อนปลัดขิก" โยมแก่คนนั้นก็ เราะและพูดว่า “อย่าซ้อนเลย ท่าน ช้อนไม่ได้ดอก ถ้าท่าน หากได้จริง ๆ ก็ให้หาหญิงพรหมจารีย์มาซ้อน จึงจะซ้อนได้” หลวงพ่ออี้ก็ได้ เที่ยวตามหาหญิงพรหมจารีย์มาได้คน หนึ่ง ได้ขอให้หญิงพรหมจารีย์นั้นช้อนปลัดขิกให้ หญิงคนนั้น ก็ซ้อน ให้หลวงพ่ออี้อันหนึ่ง ถึงแม้จะพยายามซ้อนอัน ที่สองก็ซ้อนไม่ได้ เมื่อหลวงพ่ออี้ได้ปลัดขลิก แล้วท่านก็เดินทางกลับวัด ขณะที่อยู่วัดท่านพยายามหาวิธี สร้าง “ปลัดขิก” โดย จําลองจาก ที่ท่านได้มาในการสร้าง แรกเป็นไปด้วยความ ยากลําบาก เพราะต้องสร้างขึ้นถึง 108 ตัว เพื่อคัดเลือก หัวโจก หรือจ่าฝูง ครั้นได้จ่าฝูงมาแล้ว การสร้างครั้งต่อไป ไม่จําเป็นต้องจํากัดจํานวน ที่ว่าจ่าฝูงนั้นก็คือตัวที่บินเก่ง ที่สุด และมันชอบนําลูกฝูงบินเป็นการสมานตัวของพลังปราณ เมื่อได้ปลัดขิกจ่าฝูงแล้ว อยู่มาวัน หนึ่ง หลวงพ่อจึงได้นําปลัดขลิกมาทดลอง ในบ่อน้ำซึ่งอยู่ในบริเวณวัด ปลัดขิก ของท่านได้วิ่งอยู่บน ผิวน้ำ สั่งให้จมน้ำปลัดขิกของท่านก็จมน้ำ สั่งให้โผล่ก็โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ทําความประหลาดใจ ให้แก่พระภิกษุและญาติโยมมาก นับตั้งแต่ มาชื่อเสียงของหลวงพ่อ ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วไป


68 การปลุกเสก “ปลัดขลิก” นั้น หลวงพ่ออี๋จึงศักดิ์สิทธิยิ่งนัก นำปลัดขลิกปาน ทั้งหมดใส่ ลง ในบาตรปลุกเสกจนวิ่งเกรียวกราว และกระโดดออกมาจากบาตร ด้วยจึงจะถือว่าขลัง และให้ ได้จึง จะทําการแจกลูกศิษย์ ทําไม “ปลัดขลิก”ของท่าน หลวงพ่ออี๋ จึงศักดิ์สิทธิยิ่งนัก และท่านสร้างมาจากอะไร มี วิธีการสร้างอย่างไรบ้าง ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ เป็นเครื่องรางของขลังที่นักนิยมพระเครื่องสะสม แสวงหากันนัก และ น้อยคนที่จะไม่รู้จัก ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ ลักษณะปลัดขิกของท่านหลวงพ่ออี๋ เป็นไม้เหลาเป็น ท่อนกลมยาว มีหลายขนาด ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ แต่ก็ลักษณะเดียวกันคือ เรียวยาว ได้สัดส่วน ที่ ปลายหัวปลัดขิกมี 2 แบบ คือ แบบแรก ปลายหัวปลัดขิกจะเรียว ออกแหลมเรียก ว่า “หัวปลาหลด” แบบที่สอง ปลายหัวปลักขิกจะมีลักษณะมน ออก ด้าน บานเรียกว่า “หัวหมวกเยอรมัน” โดยเรียกกันตามลักษณะ ที่เห็น แล้วแต่ใครจะชอบเรียกกันแบบไหน “ปลัดขิก” ไม้ที่สร้างก็แล้วแต่ความนิยมของอาจารย์ แต่ละท่านซึ่งมีอยู่ 6 ชนิด ที่นิยม นํามาทําปลัดขิกตาม สมัยโบราณ คือ 1. ต้นกัลปังหาใต้ท้องทะเลลึก เป็นของดีในตัว ภูตผีปีศาจเกรงกลัว คําว่า “กัล” หมายถึง ป้องกันสรรพ ภัย และจะต้องเลือกเอาต้นที่มีอายุมากเป็นร้อยปีที่มีเนื้อ แข็งแกร่ง และขนาด พอสมควร 2. แก่นมะขามฟ้าผ่า ใช้แก่นมะขามกิ่งด้านทิศ ตะวันออกที่ฟ้าผ่า ขาดล่วงลงมา เป็นของที่ หายาก ดีทาง มหาอํานาจมีผู้คนให้ความนับถือ เกรงขาม ป้องกันฟ้าผ่าได้ เนื้อไม้ดำสนิทยิ่งใช้นาน ยิ่งเป็นเงามันเลื่อมสวยงามมาก 3. แก่นคุณนิพพาน หมายถึงต้นคูณที่ยืนต้นตาย มีความขลังภูต พรายเกรงกลัว และยัง หมายถึงการค้ำคูนช่วย ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในทางที่ดี 4. ไม้เหลาชะโอน เป็นของอาถรรพณ์จากนางไม้ดีในด้านเจรจา พาที่ค้าขาย หรือธุรกิจ ติดต่อกับผู้คนต่างๆ 5. เสือครัว หรือลูกครก แต่ต้องเป็นของแม่ม่ายลูกโทน (ลูกชายคนเดียว) เสน่ห์ดีนัก เมตตา มหานิยม 6. หิน ที่เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนักสิทธิ์วิทยาธรสร้างไว้เป็นมรดกโลกแบบหอยหิน หรือแท่ง เขาฤาษีมักพบตามถ้ำที่อยู่ใกล้ลำธารน้ำวันดีคืนดี ปลัดขลิกหินจะกระโดดน้ำจ๋อมแจ๋มผู้ใดโชคดี อาจได้ไว้ครอบครองเป็นเจ้าของ ความมีอิทธิฤทธิ์ปาฎิหารริย์ของปลัดขลิกหินนี้ ตัวอย่างเช่น สมมติ หากผู้ใดทํา อีเป๋อตกหล่นลงในน้ำ ให้เอาปลัดขิกหินผูกเชือกหย่อนลงควานหา อีเป๋อจะติดปลัดขิก หินขึ้นมาเหมือนแม่เหล็กดูดเหล็ก เป็นเรื่องมหัศจรรย์ยิ่งนัก มีเรื่องเล่ากันว่าในขณะถากไม้ทําปลัดขิก (จากการเล่าขานสืบต่อกันมา หลวงพ่ออี๋ ท่านจะ เป็นผู้ถากเหลา ไม้เอง ส่วนฝ่ายฆราวาสก็จะมี“หลวงตามั่น” และอีกหลายๆท่าน ได้ทําการเหลาไม้


69 นํามาให้ท่านปลุกเสก) หลวงพ่ออี๋ ท่านได้ใช้ภาวนาคาถามหาเมตตา ถึงว่าขนาดไปที่ไหนทั้งเทวดา และมนุษย์ต่างหลงใหล หลวงพ่ออี๋ ท่านใช้คาถานี้กำกับปลัดขิกจนดังไปทั้งประเทศ และหากภาวนา บ่อยๆ จะเป็นมหานิยมอย่างสูง “รูปี รูปี พุทธะจิตตัง พุทธเมตตานัง มหาสิเนหัง ลิติ ลิติ กรุณามหาจิตตัง เมตตาพุทโธ นชาลิติ นะชาลิติ นะชานิติ เอหิภัณธัง มหาสิเนหังโหนตุ นอกจากนี้ หลวงพ่ออี๋ท่านยังได้จารึกอักขระไว้บนตัวปลัดขิก วิธีการจารของท่านจะมี เอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งตำแหน่งที่มีอยู่ด้วยกัน6 ตำแหน่ง “ปิ กัณขวา มี เนซ้าย โอฟ้าฝ่า ตาพระ อินทร์ เสา พระจันทร์ของพระสิวะ 1.ที่หัวประธานปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ จะลงคาถาโอฟ้าผ่า “อุโอ” หรือ “อุอิ” 2.ด้านขวาหัวปลัดขิกจะลงตัว “ปี” นี้น่าจะมาจากบท ปี รัตนมาลา ใช้ดีทางเมตตามหา เสนห์ชั้นสูง หรืออีกนัย หนึ่งท่านคงย่อมาจาก บทสากปลัดขิก ที่ขึ้นต้นด้วย “รุปี” ซึ่งสรุปแล้ว “ปี” ตัวนี้ก็เน้นทางเมตตามหาเสน่ห์เช่นกัน 3. ด้านซ้ายหัวปลัดขิกจะลงตัว “มิ” จะมีสลับตําแหน่งกันบ้าง แต่พบเป็นส่วนน้อย “มิ” ตัวนี้ก็ ก็จะหมายถึง ตัวเรานี้ 4. ถัดหยักขุนเพ็ดลงจาร “พินทุ” เป็นวงกลมเหมือนเลขหนึ่งไทยหัวปิด หรือเรียกว่า “ตา พระอินทร์” 5. ด้านซ้ายลําตัวปลัดขิกลงหัวใจโจร “กัณหะ” 6. ด้านขวาลำตัวปลัดขิกลงหัวใจโจร “เนหะ” เรื่องวิชาไสยศาสตร์ วิชาสร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ นั้นมีด้วยกันหลายแขนง วิชา “ปลัดขิก” ก็เป็นวัตถุ มงคลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในแขนงวิชาไสยศาสตร์เช่นกัน เน้นพุทธคุณไป ทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ" โภคทรัพย์ เป็นหลัก ปลัดขิก เป็นเครื่องรางของขลังที่นับถือกัน มาช้านาน บางท่านอาจมองเลยไปในแง่หยาบโลน ความจริงแล้วเรื่องของ ปลัดขิก มีความเป็นมา ตั้งแต่โบราณกาลและเป็นของมงคล ซึ่งมีเรื่องราวทางพราหมณ์ กามณ์เก็ตขน ฮินดู ของการ “กำเนิดปลัดขิก” เล่าขานมาว่า เมื่อหนึ่งพันปีก่อนพุทธกาลชนชาติหนึ่งในซีกโลกตะวันตกที่พากันนับถือบูชาพระ อาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว เพื่อระลึกถึงพระ และพระเพลิง เพราะว่าผู้คนพวกนั้นคิดว่า ความร้อน และแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ที่พวยพุ่งมายังโลกมนุษย์ช่วยให้พืชพรรณธัญญาหารเจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์ และยังช่วยดลบันดาลให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่วน พระจันทร์ที่ทอแสงนวลใยนั้น หมายถึงสัญลักษณ์ของความรักความร่มเย็นเป็นสุขของมวลมนุษย์ กาลเวลาผ่านมาชนชาติหนึ่งในอาฟกานิสถาน และธิเบตที่ชื่อว่า อริวะ ได้เดินทางเข้าไป กราบบูชา พระอาทิตย์ พระจันทร์ ของชนชาติดังกล่าวจึงได้นําเอาดัดแปลงเป็นศาสนาของตน แต่ก็ ยังคงนับถือดวงอาทิตย์ เป็นเทพเจ้าเหมือนกัน และเรียกเทพเจ้านี้ว่า สวิตะระ และยังนับถือสายฝน


70 จากท้องฟ้าเป็นเทพเจ้าอีกองค์หนึ่ง มีชื่อเรียกว่า วรุณะ แต่ชาว “อริวะ” ถือว่าเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ กว่าเทพทั้งหลายทั้งปวงคือ อินทร์ พระองค์เป็นผู้ดลให้บังเกิดทุกสรรพสิ่งในสากลจักรวาล แต่ก็ยังมี เทพอีกองค์เป็นผู้ทําลายชีวิตมนุษย์และสัตว์ เทพที่ว่านั้นคือ พระยม หรืออีกนัยหนึ่งที่เราพูดกันเป็น ภาษาชาวบ้านว่า เทพเจ้าแห่งความตาย ส่วนเทพเจ้าที่รักษาโรคทั้ง4ทิศ เรียกว่า ท้าวโลกบาล ต่อมาที่ตําบลเชระ ในสุสะประเทศมีพรมหากษัตริย์องค์หนึ่งนสมว่าสิปประอุรานาคะได้ สร้างวิหารพระอาทิตย์และพระจันทร์ขึ้นอย่างละหนึ่งเพื่อไว้เป็นสถานที่ประกอบพีกรรมภานใน วิหารว่างโล่งมิได้มีเครื่องหมายใดแทนเทพเจ้าเลย ต่อมาพระศิวะอุมากษัตริย์ นาค นวะโพธิ โอรสของพระอุสิระกษัตริย์ได้เสด็จไปประกอบ พิธีบูชา ณ ที่พระวิหารดังกล่าวเห็นวิหารว่างเปล่าก็เกิดจินตนาการที่จะให้มีเครื่องหมายอย่างใด อย่างหนึ่งแทนเทพเจ้าพระอาทิตย์ และเทพเจ้าพระจันทร์ เพราะในบางขณะเทพเจ้าทั้งสองไม่ส่อง แสงลงมาให้ประชาชนประกอบพิธีบุชากราบไหว้พระองค์จึงได้ให้มีการจัดสร้างสลักรูปพระอาทิตย์ และรูปพระจันทร์ขึ้นประดิษฐ์ไว้บนเสาปลายหินตั้งเอาไว้ใจกลางพระวิหารสมนาถแห่งนั้นและชน ทั้งหลายก็เรียกเสานั้นว่าเสาพระจันทร์ของพระสิวะแต่เนื่องจากเสาหินที่ว่าตรงส่วนบนสุดมีรูปหิน กลมๆอยู่เมื่อมองผ่านๆคล้ายรูปลึงค์ตั้งอยู่จึงเรียกกันว่า “สิวลึงค์” เวลาต่อมาเมื่อศาสนาพราหมณ์ เกิดขึ้นบรรดาผู้สักกาละบูชาที่เคารพเลื่อมใสได้นำหลักหินเป็นรูปโยณีรับแท่นสิวลึงค์หมายเป็นรูป เคารพแทนพระองค์พระอิศวรและพระอุมาเทวี พราหมณ์พฤฒินาศ ผู้ชำนาญพิธีได้จำลองสิวลึงค์ เป็นรูปเล็กๆเพื่อให้นำติดตัวเพื่อระลึกถึงพระสิวะบนสววรค์และโดยที่พราหมณ์พฤฒินาศนี้เป็น ผู้เชี่ยวชาญในการขับเสนียดจัญไรสิ่งเลวร้ายให้พ้นไปจากมนุษย์สิวลึงค์จำลองจึงกลายเป็น เครื่องรางอย่างดีไปโดยปริยายและมีผู้เคารพนับถือกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากาลเวลาผ่านมาถึงขันค นาจารย์ผู้ชาญฉลาดท่านได้เปลี่ยนนามสิวะลึงค์เสียใหม่เป็นปรัศว์แปลว่าผู้เคียงข้างแต่เนื่องจาก วัตถุที่ว่ามีรูปร่างคล้ายลึงค์ผู้ที่เห็นผูกอยู่กับเด็กไร้เดียงสาก็เห็นเป็นของตลกขบขันหัวเราะคิกๆกัน ลักษณะอาการหัวเราะเมื่อได้ยินได้เห็นคือหัวเราะคิกเลยพากันเรียกรูปร่างลึงค์นั้นว่าปลัดคิกและ ต่อมาได้เพี้ยนเป็นปลัดขิก ชื่อเสียง “ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋” นั้นกล่าวกันว่าหาใครเทียบไม่ได้ในช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ ผู้คนทั่วทั้งประเทศต่างรู้จักชื่อของ “วัดสัตหีบ” ได้ดีก็ในช่วง “ปลัดขิก” หลวงพ่ออี๋มีชีชื่อเสียง กิตติศัพท์เลื่องลือนี่แหละอันว่าปลัดขิกหลวงพ่ออี๋นี้มีสรรพคุณมากมายหลายประการใช้ผูกเอว ป้องกันเขี้ยวงาสารพัดป้องกันเสนียดจัญไรโรคภัยไข้เจ็บมีเสน่ห์เมตตามหานิยมคลาดแคล้วจากภัย อันตรายทั้งปวงซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดจากผู้ที่ได้ปลัดขิกของท่านหลวงพ่อได้เล่าให้ฟังหลายต่อหลาย รายเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ของปลัดขิกหลวงพ่ออี๋เล่ากันว่าครั้งหนึ่งมีงานฉลองกุฏิวัดบรรดาสาวแก่ แม่ค้าชาวสัตหีบที่มีความศรัทธาก็มาช่วยงานโรงครัวหรือไม่ก็งานเบ็ดเตล็ดครั้นเสร็จงานหลวงพ่ออี๋ ก็หาของที่ระลึกมาแจกโดยท่านนำกระดาษห่อไว้บอกให้ไปแกะดูที่บ้านปรากฏว่าแม่ครัวเหล่านั้นได้ มาถึงกลางทางอยากรู้จนอดใจไม่ได้ก็แกะห่อออกดุเห็นเป็นปลัดขิกแกะจากแก่นไม่คูณตัวเล็กๆทำให้ สาวแก่แม่ค้าเหล่านั้นหัวเราะด้วยความเนียมอายก็พากันโยนลงทะเลหมดปลัดขิกของวิเศษคิดว่า


71 เขาท้าแข่งก็เลยว่ายแข่งไปกับเรือไม่ยอมแพ้จนเป็นเหตุให้สาวแก่แม่ค้าชาวสัตหีบเกิดความเสียดาย ต้องหยุดเรือและเก็บปลัดขิกที่หลวงพ่ออี๋ให้ไว้เหมือนเดิมทั้งเกิดความตื่นเต้นในอภินิหารซึ่งไม่เคย ประสบพบเห็นมาก่อน ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับศิษย์ชองหลวงพ่ออี๋คือคุณสำราญซึ่งห้อยปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ ติดตัวตลอดเวลาวันหนึ่งคุณสำราญได้พาพวกเพื่อนมาคุกกันที่บ้านขณะที่คุยกันเพื่อนของคุณ สำราญคนหนึ่งได้ควักเอาปืนกออกมาเป็นการล้อเล่นและหันปากกระบอกปืนมาทางคุณสำราญ เพื่อนเห็นว่าการล้อเล่นแบบนี้ไม่ดีจึงปัดปืนของเพื่อนและโดยที่ไม่คาดฝันกระสุนปืนเกิดลั่นสนั่น กระสุนปืนพุ่งเข้าหน้าอกของคุณสำราญอย่างจังถึงกับงอฟุบไปคุณสำราญใช้มือกุมตรงที่เจ็บปวด เพราะแรงกระสุนปืนแต่ไมมีเลือดออกเลยแม้แต่น้อยเสื้อผ้าของคุณสำราญก็ไม่ขาดเพื่อนๆพากันงง ถามกันแซดว่าคุณสำราญมีของดีอะไรคุณสำราญก็บอกว่ามีเพียงปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋เพียงอัน เดียวเท่านั้น ปัจจุบันปลัดขิกหลวงพ่ออี่โดยแท้ๆนั้นนับวันหายากส่วนปลัดขิกตัวจ่าฝูงหรือตัวครูเล่นกัน ว่าได้ตกทอดมาตกทอดอยู่ที่หลวงพ่อจำเนียรซึ่งเป็นพระหลานชายหลวงพ่ออี๋ปลัดขิกตัวครูหลวงพ่อ อี๋ท่านได้ทำมาจากไม้คูณมีความยาว9นิ้วเส้นผ่านศูนย์กลาง1.7นิ้วปลายหัวปลักขิกปิดทองเลือนๆ เขียนอักขระด้วยเหล็กจาร อักษรขอมตัว “มะอะ” หัวตัวบนได้ลงสูตร “ศูนย์ยะพุทธาปัง นะ ชาวิเต” เป็นวงกลมใต้ตัว ปลัดขิกมีรูเจาะทะลุถึงกันส่วนลำตัวด้านข้างมีอักษรขอมด้านขวาเขียนว่า “กันหะ” ด้านซ้ายเขียน ว่า “เนหะ” ในด้านแคล้วคลาดก็เป็นหนึ่งนายทหารเรือผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งที่เขายัง ประจำการอยู่ที่สตหีบแต่ต้องขับรถกลับบ้านที่กรุงเทพฯในวันศุกร์มีอยู่วันหนึ่งเขาได้ขับรถมาตาม ทางจะเข้ากรุงเทพฯได้ถูกรถบรรทุกคันหนึ่งพุ่งเข้าชนทางท้ายรถของเขาอย่างจังรถของเขาก็เสีย การทรงตัวพลิกคว่ำข้างทางหลายตลบรถพับยับเยินทั้งคันใช้การไม่ได้ส่วนตัวของเขาหน้าอกได้ กระแทกกับพวงมาลัยอย่างแรงจนหมดสติไปรถบรรทุกคู่กรณีหนีไปได้แต่ชาวบ้านที่มาช่วยเหลือนำ ร่างของเขาออกมาจากรเมื่อได้สติก็มองหน้าอกและเนื้อปรากฏว่าไม่เป็นอะไรเลย “ทั้งเนื้อทั้งตัว ผม มีปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ห้อยอยู่เพียงอันเดียว ชายคนหนึ่งกินเหล้าจนเมาได้ที่ก็เดินไปหาพวกคนขับรถสองแถวแล้วมีการแซ่วกันเกิดขึ้น ทำให้รถสองแถวเจ้าถิ่นไม่สบอารมณ์กระชาก 11 มม.ลั่นไกลใส่ร่างชายขี้เมาจนกระเด็นอยู่กลาง ถนนแต่ปรากฏว่าชายขี้เมาไม่เป็นอะไรเลยแถมยังไม่เอาเรื่องพวกรถสองแถวที่ลั่นกระสุนใส่อีกด้วย โดยปล่อยให้พวกรถสองแถวงงงันว่าแกมีของดีอะไรถึงไม่เป็นอันตรายแกบอกกับนักข่าว หนังสือพิมพ์ว่า “มีปลัดขิกของท่านหลวงพ่ออี๋ห้อยอยู่ที่เอวเพียงอันเดียวแท้ๆ ควายขวิดไม่เป็นอะไร ครูบุญช่วยแห่งโรงเรียนสัตหีบได้ปลัดขิกของหลวงพ่ออีกอันหนึ่ง เวลาที่ครูบุญช่วยออกนอกบ้านไปไหนมาไหน ครูบุญช่วยจะนำติดตัวไปด้วยตลอดเวลา เพาะครูบุญ ช่วยศรัทธาต่อหลวงพ่ออี๋มาก ตาเวลาที่ครูบุญช่วยไม่ได้ไปไหนก็จะเก็บปลัดขิกไว้ที่บ้าน พ่อตก


72 กลางคืนยามดึกเงียบสงัดมีเสียงเหมือนคนเดินอยู่บนบ้าน ครูบุญช่วยก็นึกวาขโมยขึ้นบ้าน จึงลุกไป แอบดูแต่ก็ไม่เห็นใครสักคนแต่ก็ยังได้ยินเสียงฝีเท้าคนเดินอย่างนั้น ใจก็คิดไปว่าผีหลอก จึงตัดสินใจ คว้าไฟฉายออกมาฉายดูก็ไม่อะไรนอกจากปลัดขิกของพลวงพ่ออี๋ ที่วางอยู่ข้างหน้าประมาณ 1 ศอก ครูบุญช่วยจึงหยิมขึ้นแล้วเอาไว้ใต้หมอนที่ตนเองหนุนนอน รุ่งเช้าครูบุญช่วยออกไปโรงเรียนเช่นเคย และได้นำปลัดขิกติดตัวไปด้วยเหมือนทุกครั้ง ใน ระหว่างที่ครูบุญช่วยกำลังเดินมาตามทาง ก็ได้เห็นควาย 2 ตัวกำลังขวิดกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ใน ทุ่งนาที่กำลังเดินผ่าน ก็พอดีกับความตัวหนึ่งวิ่งหนี้มาทางตน ควายอีกตัวก็วิ่งไล่ตามมาขวิด แต่พ่อ มันเห็นครูบุญช่วยมันก็ตรงรี่เข้าขวิดครูบุญช่วย จนล้มลงจากนั้นมันยังขวิดครูบุญช่วยจนกลิ้งไป กลิ้งมา เสื้อกางเกงขาดกระจุยเนื้อตัวเปรอะเปื้อนด้วยฝุ่นดิน ครูบุญช่วยได้ส่งเสียงร้องให้คนมาช่วย ไล่ความ เมื่อควายตัวนั้นไปแล้วปรากฏว่าร่างกายของครูบุญช่วยมิได้มีบาดแผลเลยแม้ตาน้อยเป็น เพราะความศักดิ์สิทธิจากปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋นั่นเอง เรื่องราวความศักดิ์สิทธิจากปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ยังมีอีกมากซึ่งแสดงถึงอภินิหารให้เห็นอยู่ บ่อนครั้ง ปลัดขิกของท่านเป็นวัตถุมงคลที่ ต่างคนต่างเสาะแสวงหา เป็นที่ต้องการอย่างมากใน ปัจจุบัน ปลัดขิกของท่านเองแท้ๆนั้นนับวันยิ่งหายากคนที่มีไว้บูชามักหวงแหน 3. ประสบการณ์ปาฏิหาริย์ 3.1 ปาฏิหาริย์ กสิณลม หรือวาโยกสิณ วัดสัตหีบ ในอดีตเป็นแหล่งธรรม และยังเป็นสถานที่ให้ความร่มเย็นกับญาติโยมผู้ เดินทางมาพึ่งพาอาศัย คนป่วยจากจังหวัดต่างๆ ได้รอนแรมมาเพื่ออาศัยอิทธิบุญบารมี ของหลวง พ่อ ได้ช่วยขจัดปัดเป้าทุกข์ให้ ด้วยอำนาจแห่งอภิญญา ของท่าน ก็สามารถช่วยเหลือชีวิตผู้ เจ็บป่วย ให้หายวันหายคืนจนกลับสู่บ้านเรือน ของตนได้ รวมทั้งคนเจ็บป่วยที่ต้องคุณไสยร้ายแรง หลวงพ่อก็ช่วยปัดเป้าให้รอดชีวิตกลับไปได้ จึงเป็นที่เลื่องลือในหมู่ชนทั่วไปในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ อำเภอสัตหีบ คือที่มั่นของกองทัพเรือ และเป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่ง จึงเป็นที่หมายของข้าศึก บรรดาชาวบ้านโดยทั่วไป ต่างก็ยึดเอาตัวของหลวงพ่ออี๋เป็นที่พึ่ง วันหนึ่ง ๆ ชาวบ้านและผู้คนใน อำเภอสัตหีบ จะมาหลบภัยอยู่ในวัดสัตหีบกันจนหมดสิ้น ด้วยเกรงว่าข้าศึกจะมาทิ้งระเบิด ปรากฏ ว่าเครื่องบินฝ่ายพันธมิตร ได้นำระเบิดมาทิ้งที่สัตหีบ แต่ลูกระเบิด ไม่ระเบิดเลยสักลูกเดียว เพราะ ไปตกลงทะเลเสียหมด เมื่อเวลาเครื่องบินมาทิ้งระเบิด หลวงพ่ออี๋ ท่านจะออกไปยืนอยู่กลางแจ้ง แล้วเพ่งมองขึ้นไปเบื้องบนกำหนดกสิณสม พัดเอาลูกระเบิดหนักเป็นตัน ๆ นั้นไปตกลงในทะเล ลูก ระเบิดเหล่านั้นไม่ทำงาน เพราะเมื่อเครื่องบินฝูงใหญ่มาถึง หลวงพ่ออี๋ท่านก็ ก็เดินลงไปที่ลานวัด เอาผ้าอาบน้ำฝน ที่ท่านพาดบ่าไว้นั้น สะบัดโบกไปมา ท่านเพ่งกสิณนั้นไปที่ชนวน และดินระเบิด ลูกระเบิดเมื่อเปียกน้ำ เหมือนลูกเหล็ก หนักๆ ลูกหนึ่งเท่านั้นเอง เมื่อหลวงพ่ออี๋ ยืนบริกรรมอยู่ ฝูง เครื่องบิน พอบินมาถึงตลาดสัตหีบก็โปรยลูกระเบิดเปียกน้ำลงมา พอผ่านฐานทัพเรือก็โปรยลูก ระเบิดลงมา ก็ผลลูกระเบิดถูกลมหอบพัดไปตกลงกลางทะเลหมด การทิ้งระเบิด ระเบิดแม้ลูกเดียวก็


73 ไม่ทำงาน ประชาชนจึงเชื่อในปาฏิหาริย์ของท่านยิ่งนัก ทหารเรือทั้งหลาย นอกจากจะมีความเคารพ ในสมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือเสด็จเตี๋ยฯ แล้วก็มี หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร อีกองค์หนึ่ง ที่ เป็นที่เคารพสักการะบูชา 3.2 ปาฏิหาริย์ คุ้มทัย ท่านพระครูศรีสัตคุณ (บัญญัติ โกมุโท) เจ้าอาวาสรูปที่ 3 วัดสัตหีบ ท่านเป็นศิษย์ลวง พ่ออี่ท่านได้เล่าให้ฟังว่า “ก่อนนี้นะโยม ขาวบ้านแถว สัตหีบนี่ก็คือ บ้านป่าทะเล มีอาชีพการจับ ปลาเป็นหลักเท่านั้น แหละ ไร่สวนก็ปลูกไว้กินเอง ถนนหนทางก็มีทางเกวียน และทางเกวียนนั้น ก็ ไปมาลำบาก เพราะเป็นป่าดงพงไพร การเดินทางไป อย่างชลนุรี และกรุงเทพฯ นี่นะ ต้องไปเรือ คราวหนึ่ง อาดมาต้องไปทำธุระที่จังหวัด นั่งเรือ ไปกับเขาด้วย พอนั่งเรือมาถึงช่วงอำเภอศรีราชา นั่นอง ทะเลเกิดคลื่นลมพัด มีพายุพัดกระหน่ำ เรืออีกทั้งฝนฟ้าก็ตกอย่างหนัก หนักเข้าเรือล่มจมน้ำ คนในเรือก็ต้องช่วยตัวเองละ ถูกคลื่นลมพายุพัด ชัดกระจายไปคนสะทางสองทาง ตัวอาตมาเองต้อง ลอยคออยู่กลางทะเล แล้วก็จีวรกับน้ำเจอกันได้ที่ไหน จีวรเจอน้ำเป็นกอดกันแน่น คนกลางคือตัว อาตมานี่ซิ จะจมน้ำทะเลตายแหล่ มิตายแหล่ ใจก็นึกถึงหลวงพ่ออี๋ท่าน มันกลัวตายอยู่นะตอนนั้น ในความรู้สึก เพราะใกล้จะหมดแรงนั้น คล้ายกับมีใครมาอุ้มพยุงตัวเอาไว้ 6 ชั่วโมงที่ลอยคออยู่ ก็ ปรากฏว่ามีเรือประมงชาวศรีราชา เขาออกจากฝั่งเพราะคลื่นลมสงบหมดแล้ว เซามาพบอาดมา ลอยคออยู่ก็ช่วยไว้ ก่อนที่เจ้าของเรือประมงจะออกจากฝั่ง เขามีความรู้สึกเหมือนมีผู้มาดลใจ ตามที่ เขาเล่าว่า “ขณะที่ฉันและพรรคพวกจะนำเรืออกทะเลโน้น มีพระสงฆ์องค์หนึ่ง ท่านอยู่บนผิวน้ำ ฉัน เป็นเจ้าของและไต้ก๋งเรือด้วย ก็สั่งให้ลกน้องตรงไปข้างหน้า พวกลกน้องคงไม่เห็นอย่างที่ฉันเห็นแน่ ฉันยืนอยู่บนเสากระโดง คอยมองปลา จึงแล่นเรือเข้าไป ก็พบกับหลวงพ่อพระครูเข้า ก็เลยเหมาว่า ท่านต้องมีอะไรดี ๆ แน่ ครั้นพอท่านส่งวัตถุนิยมของหลวงพ่ออี๋ ให้เป็นรางวัล ก็เกิดศรัทธา เพราะ ตั้งใจมานานแล้วว่าอยากได้ แม้นจะเป็นผ้าเช็ดเท้า ก็จะบูชาเอาไว้เจ้าของเรือลำนั้นท่านพระครูบอก ว่า "เขาชื่อนายสง่า เป็นเจ้าของเรืออยู่ศรีราชานี่เอง อาตมาเชื่อความบริสุทธิ์ของหลวงพ่ออี๋ท่าน มาก เพราะอาตมาเคยเห็นท่านมาตั้งแต่อาตมาเป็นเด็กวัด มาอยู่กับท่านตั้งแต่อายุ7-8 ขวบนั้น อาตมาเป็นลูกกำพร้านะ มีโยมบิดาเลี้ยง ท่านก็ดีมาก ชีวิตผันเข้ามาในพระศาสนา ก็นับว่าดีแล้วไม่ ขาดทุน ยิ่งได้มาเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออี๋ ก็ถือว่าเคยร่วมกุศลมากับท่าน ตั้งแต่ อดีตชาติกันอีก ช่วยกันอีก นี่แหละโลกนะ มันควรค่าแก่การเรียนรู้ดีแท้"พระครูศรีสัตคุณ (บัญญัติ โกมุโท) เจ้า อาวาสรูปที่ 3 วัดสัตหีบ โดยโยมบิดาเลี้ยงตั้งใจจะให้ศึกษาทางแพทย์แผนโบราณและอาคม ตลอด ทั้งไสยศาสตร์จากหลวงพ่ออี๋ ทั้งนี้ เนื่องด้วยโยมบิดาเลี้ยงของท่านเคยป่วยหนัก หมอรักษาไม่ได้อีก แล้ว แต่หลวงพ่ออี๋ ท่านได้รักษาทั้งทางยาและวิชาอาคมจนหายเป็นปกติ โยมบิดาเลี้ยงของพระครู ศรีสัตคุณมีความเคารพในตัวหลวงพ่ออี๋มาก และตอนนั้นพ่อท่านก็เลยให้ท่านมาเป็นลูกศิษย์ หลวง พ่ออี๋นับแต่นั้นมาพระครุศรีสัตคุณ เล่าว่า "อาตมาเป็นผู้ใกล้ชิด ติดตามหลวงพ่ออี๋มาโดยตลอด เห็น


74 จริยาวัตรของท่าน การดำรงชีวิต ท่านเป็นผู้เลี้ยงง่ายที่สุด เป็นพระอนาคาริก หรือผู้สละเรือน จริง ๆ ท่านเป็นพระที่มีศีลาจารวัตรงดงาม น่ากราบไหว้บูชายิ่ง" 3.3 ปาฏิหาริย์ จิตตุธรรม พลังจิตยัศจรรย์ของหลวงพ่ออี๋นั้น พระอาจารย์แง (พระครูโกศล)วัดเจริญสุขาราม สมุทรสาคร ศิษย์ของหลวงพ่อปานเหมือนกัน ได้เล่าให้ฟังว่า "หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน สมุทรปราการ ท่านสอนศิษย์ทุกรูปให้มีพลังจิต แก้กล้า โดยเอาพลังจิตรวมไว้ที่นัยน์ตา แล้วไม่ กระพริบ ทำอย่างนั้นให้คล่อง แคล่ว แล้วก็อาศัยจิตเข้าผนวกกัน เพื่อดำเนินจิตเข้าทางกสิณ คุณ ไสยที่ถูกส่งมาเช่น เขาส่งหนังควายเสกบินเป็นแมลง คนที่มีจิตใจแก่กล้าอย่างหลวงพ่ออี๋เท่านั้น แผ่นหนังควายก็จะตก คลายสภาพทันทีและถ้าท่านไม่รู้เห็น นอนหลับ เข้ามาใกล้ท่าน สามวา ของ เหล่านั้นจะอ่อนกำลัง กลับไปหาเจ้าของอย่างรวดเร็ว หลวงพ่ออี๋ ท่านเป็นพระรุ่นพี่บรรดาลูกศิษย์ ทั้งหลายของหลวงพ่อปาน พวกที่ชอบเล่นคุณไสยศาสตร์ครั่นคร้ามไม่กล้าจะยุ่งเกี่ยว ถึงจะรู้ว่าท่าน เป็นผู้แก้ไข คุณไสยที่เขาส่งไปทำร้ายคนเจ็บที่ท่านรักษา เมื่อท่านรักษาคนป่วยหายแล้ว ท่านก็ให้ รับศีลป้องกันการแก้แค้น แล้วก็ให้พรว่า "เอาล่ะ ต่อไปไม่มีอะไรมาทำร้ายได้อีกแล้ว "หลวงพ่อแง ท่านเล่าต่อไปว่า "ตอนนั้น มีพระร่วมธุดงค์ 6 องค์ หลวงพ่อปาน เป็นพระ อาจารย์หัวหน้า ได้ไปพักอยู่ที่โน้น ใกล้เมืองเขมร เช้านั้นออกบิณฑบาตร ก็มานั่งฉันกันที่ละเมาะป่า กำลังฉันกันอยู่ หลวงพ่อปานท่านก็ว่า "อื้อ... อื้อ...." พวกเราก็เงยหน้าขึ้น....งูจงอางตัวเท่ากับไผ่ตง ละมั้ง มันยกตัวขึ้นสูง หลวงพ่ออี๋ท่านนั่งอยู่ตรงกับมัน แล้วก่อนที่มันจะทิ้งตัวลงฉกกัดน่ะ ท่านเอง เห็นมันก่อน ท่านก็เพ่งเข้าใส่งูจงอางจนตัวแข็งไปเลย พอตัวแข็งมันก็ล้มลงไปกับพื้น นอนเฉย มัน ไม่ตาย แต่มันทำอะไรไม่ได้ ตัวมันเหลืองเชียวเวลามันล้มน่ะ เหมือนคนล้มทั้งยืนนั่นแหละหลวงพ่อ ปานท่านหัวเราะหึ หึ แล้วมองว่า"ใครจะขี้เล่นกับมัน ก็ไม่ว่าแล้วทีนี้"....ด้วยอานุภาพองจิตนี้ ขณะ หลวงพ่ออี๋ ท่านอยู่ในกุฏิ ทำจิตสงบเป็นอารมณ์เดียวนิ่งอยู่ ถ้าใครเข้ามาหาท่านในตอนนี้ แล้วได้ ประสานสาบตากับท่าน ก็เหมือนถูกไฟฟ้าช็อต คนนั้นจะชาหมด เหมือนงูจงอางตัวนั้นมันเกิดพลัง ขึ้นโดยจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งท่านชำนาญ...รวดเร็วในการทำสมาธิ ให้เกิดขึ้นในชั่วกระพริบตา 3.4 ปาฏิหาริย์ วัตถุศักดิ์สิทธิ์ มีผู้เล่าได้มีโอกาสเช่าเหรียญหลวงพ่อยี่ ปี 2514 รุ่นที่ระฤกในงานผูกพัทธสีมา เนื้อ ทองแดงรมดำบล๊อคหลังยันต์แตก ซึ่งเป็นพิมพ์ที่หายากพิมพ์หนึ่ง จากชาวบ้านใน ตัวตลาดสัตหีบ เจ้าของเต็มที่ ให้เช่าบอกว่าเหรียญนี้ได้มีประสบการณ์ และประวัติคามเป็นมา แล้วเล่าให้ฟังว่า "ใน ตอนที่ไฟไหม้ชุมชนตลาดสัตหีบ ถนนเรียบชายทะเล ตำบลสัตหีบเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2550 เพลิง ได้เผาไหม้บ้านเรือน วอดวายไป ประมาณ 40 หลังคาเรือน ซึ่งบ้านเจ้าของเหรียญก็เป็นหนึ่งบ้านที่ ถูกไฟไหม้ด้วย เหตุการณ์นั้นไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตสำหรับเพลิงไหม้ครั้งนี้นับเป็น ครั้ง ที่ ของตลาดสัตหีบ ที่ถูกไฟไหม้ ครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี หลังเกิดเหตุ เขาและครอบครัวพากันไป


75 สำรวจ ดูความเสียหายภายในบ้านว่า อะไรบ้าง...เขาเล่าต่อว่า ขณะที่สำรวจ ความเสียหายอยู่นั้น ได้ พบเหรียญพระตกอยู่กับพื้น จึงหยิบขึ้นมาดู ปรากฏว่าเป็น เหรียญหลวงพ่ออี่ ปี 2511 เหรียญ ดังกล่าว สภาพของ เหรียญที่พบ ไม่มีร่องลอยของการถูกไฟไหม้เลย มีก็เฉพาะคราบเขม่า เถ้าถ่าน ไฟ เป็นฝุ่นติดตามเหรียญเท่านั้น แต่สิ่งของอื่นๆ ที่พบอยู่ใกล้กัน กลับถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหมด ไม่ ว่าจะเป็นหิ้งพระ พานแจกันตอกไม้ ทั้งส่วนที่เป็นโลหะและไม้" นับเป็นสิ่งอัศจรรย์โดยแท้ วัตถุ มงคลของ หลวงพ่ออี๋ท่านไม่ว่าจะเป็นของในยุคท่านที่เราทราบถึงอิทธิฤทธิ์ บารมี ของท่านกันดี หรือยุคหลังท่าน ซึ่งพิธีในการจัดสร้างแต่ละครั้งล้วนแล้ว แต่สำคัญ มีความตั้งใจและวัตถุประสงค์ ดีๆ ในการจัดสร้าง นอกจากนั้น พระเถระที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก เป็นพระสงค์ที่มีกิตติคุณอันมี ชื่อเสียง และเก่งกล้าทางด้นไสยเวทย์ มีความศักดิ์สิทธิ์ทุกพระอาจารย์ 3.5 ปาฏิหาริย์ เหตุเรือรบหลวง จากหนังสือการบันทึกของ นายสวัสดี นั่งมี"ในระหว่าง พ.ศ. 2483 ถึง 2497 เกิดช่วง สงคราม ได้มีเครื่องบินมาโจมตีถ่าวสัดหีบ ซึ่งในขณะนั้น ทางทหารเรือสัดหีบ ได้นำเรือรบหลวงศรี อยุธยา สุโขทัย และเรืออื่นๆอีก 2 - 3 ลำ ซึ่งมีเรืออ่างทองอยู่ด้วย ในช่วงเวลาตอนบ่ายของวันหนึ่ง (ผู้บันทึกจำวัน เดือนปีที่แน่นอนไม่ได้) ได้มีเสียงสัญญาเกิดภัย (เสียงหวอ) ขึ้น ชาวบ้านต่างก็ได้ หลบไปต้านหลังของตลาดสัตหีบข้ามหนองตะเคียนไปเรียกกันว่าป่ายุบ ในขณะนั้นได้มีเรือบินหมู่ หนึ่งทิ้งระเบิดมาที่เรือรบหลวงอ่างทอง โดยมีคนในเรือได้วิ่งหลบระเบิดไปหัวรีดแต่ผลปรากฏว่า ดู ระเบิดไม่ได้ลงที่ตัวเรือแต่ได้ลงน้ำทะเล ต้านข้างและท้ายเรือ เองจึงปลอดภัยจากการทิ้งระบิด ขณะนั้นไปได้พอตอนกลางคืน เรือรบหลวงถ่างทองก็ได้ถอนสมได้ทราบข่าวต่อมาว่าได้ถูกลูกระเบิด จมอยู่ที่เกาะจวง ทำไมเรือรบหลวงอ่างทองจอดอยู่ในไม่มีอันตราย แต่ไปจอดที่เกาะจวงกลับถูกทิ้ง ระเบิด จึงเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นยิ่งนัก""สงครามโลกครั้งที่ : ได้มีเครื่องบินมาโจมตีอ่าวสัตหีบ ซึ่งในขณะนั้น มีเรือรบหลวงศรีอยุธยา สุโขทัยได้จอดทอดสมอปิดอ่าวสัตหีบ บริเวณหน้าเกาะหมูไป จนถึงจุกเสม็ด ในวันนั้น ผู้การเรือรบหลวงศรีอยุธยานำเรือเล็กไปนิมนต์หลวงพ่ออี๋ไปทำพิธีบนเรือ และเมื่อเสร็จพิธีแล้ว ก็ได้นำเรือเร็วมาส่งท่านที่สะพานหน้าวัดซึ่งยื่นไปจากฝั่งเล็กน้อย พอเรือเร็ว กลับจากส่งหลวงพ่ออี๋ ไปถึงเรือรบหลวงศรีอยุธยาสักครู่หนึ่ง ก็ได้ถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดลงมาที่เรือ พอเรือรบหลวงศรีอยุธยาเคลื่อนตัวออก ลูกระเบิดก็ได้ตกลงมาที่ท้ายเรือ ถูกเรือเล็กที่ห้อยอยู่ท้าย เรือจมลง แต่เรือรบหลวงศรีอยุธยาไม่รับอันตรายใด ๆ อาจคิดได้ว่า นี่เป็นเพราะบุญบารมีของ หลวงพ่ออึ โดยแท้ ที่ท่านได้มาทำพิธี จึงทำให้รอดพันจากการถูกระเบิดในครั้งนี้"บุญญาธิการ และ ด้วยอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ที่เกิดจากพระผู้ทรงคุณ พระครูวรเวทมุนี หรือหลวงพ่ออี๋ พุทธสโร นั้นมี มากมายแทบที่จะกล่าวได้หมด หลวงพ่ออี๋ ท่านเป็นพระที่มีกิตติคุณอันยิ่งใหญ่ ปฏิบัติตามลอยพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีสุปฏิปันโณ เป็นพระผู้สร้างและจรรโลงส่งเสริมทางพุทธศาสนา เป็น พระผู้ที่พึ่งประชาชน อีกทั้งเป็นพระที่เก่งกล้าทางด้านไสยศาสตร์ วิชาอาคม และการรักษาโดยยา นับไต้ว่าท่านเกิดมาเพื่อทางพระพุทธศาสนา และช่วยเหลือผู้ที่ซึ่งเดือนร้อนโดยแท้


76 "พุทธะสังมิ อิสวาสุวาระเวทะ อาจะรีโย มาตาปิตุ ปูชาจะปูชะนียานัง" การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กกกกกกก1. กำหนดประเด็นการศึกษาร่วมกัน ให้ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคลและภูมิปัญญา และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน กกกกกกก2. บันทึกผลการศึกษาค้นคว้าลงในเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.) กกกกกกก3. พบกลุ่ม อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาได้พร้อมสรุปการเรียนรู้ ร่วมกัน และบันทึกลงในเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.) กกกกกกก4. นำผลสรุปการเรียนรู้ที่ได้ไปฝึกปฏิบัติตามใบงาน สื่อและแหล่งเรียนรู้ กกกกกกก1. สื่อเอกสาร ได้แก่ 1.1 ใบความรู้ 1.2 ใบงาน 1.3 หนังสือเปิดตำนานหลวงพ่ออี๋พระครูวรเวทมุนี เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำทะเล ตะวันออก วัดสัตหีบ ฉบับสมบูรณ์ กกกกกกก2. Website ได้แก่ 2.1 บทความ เรื่อง หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ สืบค้น เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 จาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=4337 2.2 บทความ เรื่อง เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี 2473 หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี สืบค้น เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 จาก https://siamrath.co.th/n/166869 2.3 บทความ ชื่อ วัดสัตหีบ (หลวงพ่ออี๋) สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 จาก http://www.sattahipmunicipality.go.th/travels/travel.php?salb_id=1 2.4 บทความ เรื่อง ชวนไปไหว้ “หลวงพ่ออี๋” เดินเล่นถนนเลียบชายทะเลสัตหีบ สืบค้น เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 จาก https://siamrath.co.th/n/137203 2.5 เพจเฟซบุ๊ก ชื่อ หลวงปู่อี๋ พระเครื่อง ยอดนิยม (วัดสัตหีบ) สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 https://www.facebook.com/groups/1698385303769172 2.6 วิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาการบูชาวัตถุมงคลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมดีในทาง พระพุทธศาสนาของประชาชนอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์สืบค้น เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 จาก http://br.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=3528 2.7 บทความ เรื่อง หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ พระเกจิดังยุคสงครามอินโดจีน สืบค้น เมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม 2563 จาก http://www.arjanram.com/relic_detail.php?g=3&id=718


77 กกกกกกก3. สื่อแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 3.1 ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอสัตหีบ (ห้องสมุด กศน.อำเภอสัตหีบ) ที่อยู่ เลขที่ 471 หมู่ 1 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีหมายเลขโทรศัพท์ 038-437807 การวัดและประเมินผล กกกกกกก1. ประเมินความก้าวหน้า ด้วยวิธีการ 1.1 การสังเกต 1.2 การซักถาม 1.3 ตรวจเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.) กกกกกกก2. ประเมินผลรวม ด้วยวิธีการ 2.1 ตอบแบบทดสอบวัดความรู้ หัวเรื่องที่ 3 คุณค่า และความศรัทธาที่มีต่อ พระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) จำนวน 10 ข้อ 2.3 ตอบใบงาน หัวเรื่องที่ 3 คุณค่า และความศรัทธาที่มีต่อพระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋) จำนวน 5 ข้อ 2.2 ตอบแบบสอบถามวัดเจตคติที่มีต่อรายวิชาหลวงพ่ออี๋


78 หัวเรื่องที่ 4 ศาสนพิธีภายในวัดสัตหีบ สาระสำคัญ กกกกกกก1. ความเชื่อเกี่ยวกับหลวงพ่ออี๋หรือพระครูวรเวทมุนี วัดสัตหีบ ความเชื่อเกี่ยวกับหลวงพ่ออี๋และวิธีการบูชา การนมัสการหลวงพ่ออี๋ถือเป็นสิริมงคล และได้อานิสงส์อย่างมาก ในปัจจุบันมีผู้เลื่อมใสในหลวงพ่ออี๋ ต่างพากันมาทำบุญและปิดทอง นมัสการรูปหล่อของท่านที่วัดเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่าหลวงพ่ออี๋เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญใน ด้านวิปัสสนากรรมฐาน และการบริกรรมคาถา ครั้งเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ไว้แจกจ่ายเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ประชาชนเป็นจำนวนมาก เช่นผ้ายันต์ ผ้าพันหมวกให้ทหารเรือ ไว้ติดตัว หรือที่ชื่อรู้จักกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือ ปลัดขิก ที่มีกิตติศัพท์ในด้าน สิริมงคลทำมา ค้าขึ้น ซึ่งผู้คนยังให้ความนิยมและต่างเสาะหากันมาบูชาด้วยศรัทธาที่ไม่เคยจาง 2. พิธีกรรมศาสนพิธีในวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่ออี๋วัดสัตหีบ ศาสนาพิธี มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาและชาวพุทธมากโดยเฉพาะเกี่ยวกับ ด้านจิตใจเพราะศาสนพิธีเป็นเครื่องจูงใจในเบื้องต้นตั้งแต่แรกพบและมองเห็นผู้อื่นประกอบและ ขณะที่ตนเองประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ อยู่ ซึ่งทําให้เกิดความคิดขึ้นว่าพิธีกรรมนั้น ๆ ศักดิ์สิทธิ์ ขลัง น่าศรัทธาเสื่อมใสไม่กล้าล่วงละเมิด ไม่กล้าดูถูก เหยียดหยาม ลบหลู่ ทําให้เกิดความอิ่มเอิบใจที่ เรียกว่าปิติ ศาสนาพิธีในวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่ออี๋วัดสัตหีบ จะจัดขึ้นปีละ 3 ครั้งคือ ช่วงก่อนวันตรุษจีน ช่วงวันที่ 1 -9 พฤษภาคม และวันมรณภาพของหลวงพ่ออี๋ ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 (ประมาณเดือนกันยายน) เพื่อบำเพ็ญกุศลให้กับหลวงพ่ออี๋ หรือพระครูวรเวทมุนีวัด สัตหีบ เกจิอาจารย์ชื่อดังภาคตะวันออก อีกทั้งอดีตเจ้าอาวาสวัดสัตหีบทุกรูป เพื่อแสดงความนอบ น้อมกตัญญู ระลึกถึงความดีและพระคุณที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มีแต่เราท่านทั้งหลาย.. 3. ศาสนพิธีในวันสำคัญทางศาสนา วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะยึดตามปฏิทินจันทรคติ เป็นวันที่เคยมี เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพุทธประวัติ และเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับศาสนาพุทธ และวันสำคัญทาง ศาสนาพุทธ ที่ชาวพุทธยึดถือปฏิบัติมายาวนาน มีดังนี้ 3.1 วันวิสาขบูชา วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญ ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปีซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์3 ประการ ได้แก่ วันที่ พระพุทธเจ้าระสูติวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้(อนุตตรสัมโพธิญาณ) และวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติสร้างภพอีกต่อไป)


79 3.2 วันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็น ครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณ ฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมือง พาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกใน พระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ 3.3 วันมาฆบูชา วันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตามประวัติ กล่าวว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประชุมครั้งใหญ่ ครั้งแรกในพุทธศาสนา ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร เรียกว่า มหาสาวกสันนิบาต ในการประชุมครั้งนี้ มีองค์ประกอบ 4 ประการ เรียกว่า จาตุรงค สันนิบาต มีความหมายดังนี้ เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 มีพระสาวกเข้าประชุมโดยมิได้นัดหมาย จำนวน 1,250 รูป มีพระสาวกเข้าร่วมประชุมล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ และพระอรหันต์สาวกที่เข้า ร่วมประชุมทุกรูปเป็นผู้ได้รับอุปสมบทจากพระพุทธองค์โดยตรง ดังนั้น พระองค์ทรงได้แสดง โอวาทปาติโมกข์ ประกาศตั้งหลักการของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวก ถือเป็นหลักปฏิบัติใน การสั่งสอนประชาชนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 3.4 วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำ อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัย บัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา โดยเหตุที่พระภิกษุ ในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ใน ฤดูฝน 3.5 วันออกพรรษา วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับตั้งแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม เรียกว่า มหา ปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์ บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย


80 4. บทสวดในพิธีกรรม การสวดมนต์คือการกล่าวคำศักดิ์สิทธิ์ อันมีฤทธิ์มีอำนาจเหนือชีวิตจิตใจ ได้แก่ การสรร เสริญ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และมนต์ของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่า “พระ พุทธมนต์” แต่พระพุทธมนต์เป็นคำศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง ผู้นับถือพระพุทธศาสนาย่อมนับถือพระพุทธ มนต์เสมอด้วยชีวิตจิตใจ ถือว่าเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตราย และประสิทธิ์ประสาทความเจริญ ให้ จัดเป็นกุศลพิธีมาแต่ครั้งพุทธกาล การสวดมนต์ใช้สวดกันเป็นภาษามคธเป็นพื้น เพราะภาษามคธ เป็นภาษาหลักเดิมของพระพุทธศาสนา และนับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ข้อสำคัญควรรู้ความที่ สวดนั้นด้วย การสวดมนต์ที่เราเห็นกันอยู่คือการสวดเป็นกิจวัตรสำหรับตนอย่างหนึ่ง ฟังพระสวด มนต์ในพิธีต่างๆ อย่างหนึ่ง ในการสวดก็มีหลายแบบ หลายวิธีสุดแต่จะนิยมสวดกัน ส่วนที่นิยมเป็น อย่างเดียวกันและเว้นไม่ได้ก็คือ บทนมัสการพระ ได้แก่ “นะโม” บทนี้ต้องใช้ขึ้นต้นเสมอไปไม่ว่าใน พิธีใด ๆ และดูเหมือนจะขึ้นใจกันในบทนี้ก่อน เพราะเป็นบทไหว้พระบรมครู ที่ต้องการว่าก่อน เรียกว่าตั้ง นะโม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อท่านผู้เป็นพระบรมครูของโลก ผู้เริ่มสร้าง หลักธรรมของพระพุทธศาสนาขึ้นจะได้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ บทสวดในพระพุทธศาสนามีมาก พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาถือเป็น หลักสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประโยชน์ของการสวดมนต์ไหว้พระที่เห็นได้ชัด มี 3 อย่าง คือ 1. เป็นปริตรป้องกันเหตุเภทภัยต่าง ๆ 2. เป็นการทรงจำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเอาไว้ 3. เป็นกัมมัฏฐานอบรมจิตใจของตน ทั้งที่เป็นสมถะและวิปัสสนา ด้วยเหตุทั้ง 3 ประการนี้ ที่ถือกันว่าเป็นสิริมงคล และสามารถที่จะป้องกันภัย อันตรายได้นั้น จึงพากันนิยมการสวดสาธยาย เป็นไปทั้งทางวัดและทางบ้าน ภิกษุสามเณรและ อุบาสกอุบาสิกาได้สวดเป็นประจำ เช่น ทำวัตรไหว้พระเป็นต้น ในบางสมัยเมื่อปรารภเหตุอย่างใด อย่างหนึ่งขึ้น ก็อาราธนาพระสงฆ์สวดเพื่อสิริมงคลบ้าง เพื่อเจริญความสังเวชบ้าง เมื่อมี ความนิยม มากขึ้น ต่อมาก็เลยนิยมเป็นพิธีทั้งในพระราชพิธีและพิธีของปวงชนทั่วไป. ตัวชี้วัด 1. บอกความเชื่อเกี่ยวกับหลวงพ่ออี๋ได้ 2. สามารถปฏิบัติตนในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่ออี๋ได้เหมาะสมกับ 3. เห็นคุณค่าความสำคัญของศาสนพิธีในวันสำคัญทางศาสนา


81 ขอบข่ายเนื้อหา 1. ความเชื่อเกี่ยวกับเชื่อเกี่ยวกับหลวงพ่ออี๋ 2. พิธีกรรมเกี่ยวกับวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่ออี๋ 3. ศาสนพิธีในวันสำคัญทางศาสนา เนื้อหา กก ก 1. ความเชื่อเกี่ยวกับหลวงพ่ออี๋หรือพระครูวรเวทมุนี วัดสัตหีบ ความเชื่อเกี่ยวกับหลวงพ่ออี๋และวิธีการบูชา การนมัสการหลวงพ่ออี๋ถือเป็นสิริมงคล และได้อานิสงส์อย่างมาก ในปัจจุบันมีผู้เลื่อมใสในหลวงพ่ออี๋ ต่างพากันมาทำบุญและปิดทอง นมัสการรูปหล่อของท่านที่วัดเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่าหลวงพ่ออี๋เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญใน ด้านวิปัสสนากรรมฐาน และการบริกรรมคาถา ครั้งเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ไว้แจกจ่ายเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ประชาชนเป็นจำนวนมาก เช่นผ้ายันต์ ผ้าพันหมวกให้ทหารเรือ ไว้ติดตัว หรือที่ชื่อรู้จักกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือ ปลัดขิก ที่มีกิตติศัพท์ในด้าน สิริมงคลทำมา ค้าขึ้น ซึ่งผู้คนยังให้ความนิยมและต่างเสาะหากันมาบูชาด้วยศรัทธาที่ไม่เคยจาง 2. พิธีกรรมศาสนพิธีในวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่ออี๋วัดสัตหีบ ศาสนาพิธี มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาและชาวพุทธมากโดยเฉพาะเกี่ยวกับ ด้านจิตใจเพราะศาสนพิธีเป็นเครื่องจูงใจในเบื้องต้นตั้งแต่แรกพบและมองเห็นผู้อื่นประกอบและ ขณะที่ตนเองประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ อยู่ ซึ่งทําให้เกิดความคิดขึ้นว่าพิธีกรรมนั้น ๆ ศักดิ์สิทธิ์ ขลัง น่าศรัทธาเสื่อมใสไม่กล้าล่วงละเมิด ไม่กล้าดูถูก เหยียดหยาม ลบหลู่ ทําให้เกิดความอิ่มเอิบใจที่ เรียกว่าปิติ ศาสนาพิธีในวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่ออี๋วัดสัตหีบ จะจัดขึ้นปีละ 3 ครั้งคือช่วง ก่อนวันตรุษจีน ช่วงวันที่ 1 -9 พฤษภาคม และวันมรณภาพของหลวงพ่ออี๋ ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 (ประมาณเดือนกันยายน) เพื่อบำเพ็ญกุศลให้กับหลวงพ่ออี๋ หรือพระครูวรเวทมุนีวัดสัต หีบ เกจิอาจารย์ชื่อดังภาคตะวันออก อีกทั้งอดีตเจ้าอาวาสวัดสัตหีบทุกรูป เพื่อแสดงความนอบ น้อมกตัญญู ระลึกถึงความดีและพระคุณที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มีแต่เราท่านทั้งหลาย.. 3. ศาสนพิธีในวันสำคัญทางศาสนา วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะยึดตามปฏิทินจันทรคติ เป็นวันที่เคยมี เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพุทธประวัติ และเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับศาสนาพุทธ และวันสำคัญทาง ศาสนาพุทธ ที่ชาวพุทธยึดถือปฏิบัติมายาวนาน มีดังนี้ วันวิสาขบูชา


82 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7 ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ 1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวท หะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี 2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรี มหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปี ระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธค ยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย 3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย) นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมี ช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่านผู้เป็นดวง ประทีปของโลก


83 ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่ง สันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกา ในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทย กับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้ เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติใน ประเทศไทยด้วย ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้ง ประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนคร สุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการ อุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุ วงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ต ลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธานส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวาย สลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่ คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป " ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนา พราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ พุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวัน แรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระ ประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เญ็นเป็นสุขปราศจาก ทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัช สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัด


84 อารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่า สัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัด ภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ใน บริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณี พิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย หลักธรรมสำคัญที่ควรนำมาปฏิบัติ 1. ความกตัญญูคือความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว่ก่อน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น • บิดามารดา มีอุปการคุณแก่ลูก ในฐานะผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบโต ให้การศึกษา อบรมสั่งสอน ให้เว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครองที่ เหมาะสมให้ และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก • ลูกเมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้ ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียง ให้ แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่าน และช่วยทำงานของ ท่าน และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศ ส่วนกุศลให้ท่าน • ครูอาจารย์มีอุปการคุณแก่ศิษย์ ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคน ดี สอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบังยกย่องให้ปรากฎแก่คนอื่น และช่วยคุ้มครองให้ศิษย์ทั้งหลาย • ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และ ให้ความเคารไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู • ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้ครอบครัว และ สังคมมีความสุขได้เพราะ บิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และลูก ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน • นอกจากบิดากับลูก และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ ระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้าง อันจะส่งผลให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข • ในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้า ทรงเป็นบุพการรีในฐานะที่ทรงสถาปนา พระพุทธศาสนา และทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่เวไนยสัตว์ • พุทธศาสนิกชน รู้พระคุณอันนี้จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชาและปฎิบัติบูชากล่าวคือการจัด กิจกรรม ในวันวิสาขบูชา เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที ต่อพระองค์ ด้วยการทำนุ บำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และประพฤติปฎิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุ พระพุทธศาสนาสืบไป 2. อริยสัจ 4


85 อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงความจริงของชีวิตที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุก คน มี 4 ประการ คือ • ทุกข์ได้แก่ปัญหาของชีวิตพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีทุกข์ เหมือนกัน ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐาน และทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐานคือทุกข์ที่ เกิดจาก การเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือทุกข์ที่เกิด จากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกันสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ ตั้งใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อาทิความ ยากจน • สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหาพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็น ปัญหา ของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัญหา อันได้แก่ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไป ด้วยความยึดมั่น • นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของ ชีวิต ทั้งหมดที่สามารถแก้ไข ได้นั้นต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้ 8 ประการ ( ดูมัชฌิมาปฎิปทา ) • มรรค การปฏิบัติเพื่อจำกัดทุกข์ เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา เพื่อบรรลุ เป้าหมายการแก้ปัญหาที่ต้องการ ความไม่ประมาท ความไม่ประมาทคือ การมีสติเสมอทั้ง ขณะทำขณะพูด และขณะคิด สติคือการระลึกได้ ใน ภาคปฎิบัติเพื่อนำ มาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหว ของอริยาบท 4 คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การฝึกให้เกิดสติทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวของอริยาบท กล่าวคือ ระลึกทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้ง ระลึกรู้ทัน ในขณะพูดคิด และขณะทำงานต่างๆ เมื่อทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่า มีความไม่ประมาทการทำงานต่างๆ สำเร็จได้ก็ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือผู้ทำย่อมต้องมีสติระลึกรู้อยู่ว่า ตนเองเป็นใครมีหน้าที่อะไร และกำลังทำอย่างไร หากมีสติ ระลึกรู้ได้อย่างนั้น ก็ย่อมไม่ผิดพลาดกิจกรรมของวันวิสาขบูชาทางราชการประกาศชักชวนให้ ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ทั้งเอกชน และราชการประดับตกแต่งอาคารสถานที่ด้วยธงชาติ ธง เสมาธรรมจักร จุดประทีบโคมไฟ แต่โดยทางปฎิบัติแล้ว ใช้หลอดไฟประดับหลากสี ในวันขึ้น 14- 15 ค่ำ เดือน 6พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จประกอบพระราชกุศล ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงบาตร ในตอนเช้า ในตอนเย็น ทรงนำเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ และสดับพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ พร้อมทั้งถวายไทยธรรม • จัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่บริเวณท้องสนามหลวงเป็นประจำทุกปี แต่ละปีมี กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาหลากหลายหน่วยงาน ทั้งทางราชการ และเอกชนทั้งฝ่ายบรรพชิต และคฤหัสถ์ ร่วมกันจัดงานอันยิ่งใหญ่สร้างความศรัทธาให้แก่พุทธศาสนิกชนบำเพ็ญกุศล มีการ ทำบุญตักบาตร ให้ทานรักษาศีลฟังธรรม สนทนาธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนาเป็นที่ประทับใจยิ่ง นัก


86 • สถานที่จัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งก็คือ ณ บริเวณพุทธมณฑล ซึ่งมี หน่วยงานกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธการร่วมกับประชาชนทั่วไป ได้จัดกิจกรรมปฎิบัติธรรม ทั้งฝ่าย พระสงฆ์ และฆราวาส มีจำนวนหลายหมื่นได้ร่วมทำบุญตักบาตรให้ทานรักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม และเจริญภาวนาแผ่เมตตาถวายเป๋นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์ปัจจุบัน เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา และในวันวิสาขบูชา ณ บริเวณพุทธมณฑลนี้เอง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน ทรงเวียนเทียนทุกปีด้วย • พระสงฆ์ผู้จัดรายการธรรม ทางสถานีวิทยุ เกือบทุกรายการทั่วประเทศเมื่อถึงสำคัญ คือ วันวิสาขบูชาเช่นนี้ ก็มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนพุทธศาสนิกชนบำเพ็ญกุศล เป็นกรณีพิเศษ คือ บรรพชาอุปสมบทนาคหมู่ และบวช เนกขัมมะ เพื่อปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชะ ธรรมบูชา เป็น การช่วยสนับสนุน ส่งเสริม สร้างความสงบสุขให้แก่บุคคลและสร้างความสามัคคีธรรมให้แก่สังคม ตลอดถึงประเทศชาติอีกด้วย สรุปแล้ววันวิสาขบูชาปีนี้ คงจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทางราชการ และเอกชน ตลอดทั้ง ผู้จัดรายการธรรมะ ทางสถานีวิทยุทั่วประเทศ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ เชิญชวนสาธุชนผู้ ศรัทธา จัด กิจกรรมปฎิบัติธรรม บำเพ็ญมหากุศลอันยิ่งใหญ่เป็นกรณีพิเศษ เหมือนที่เคยปฏิบัติมาทุกๆ ปี วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติคือ "วันสำคัญของโลก" ( Vesak Day )


87 ภูมิหลัง 1. ในการประชุม International Buddhist Conference ณ กรุงโคลัมโบ ระหว่างวันที่ 9 - 14 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากเข้าร่วม อาทิ บัง คลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฐาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากีสถาน และ ไทย ได้ตกลงกันที่จะเสนอให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองข้อมติประกาศวัน วิสาขบูชาให้เป็น วันหยุดของสหประชาชาติ 2. ในการเยือนของประเทศต่างๆ ในอินโดจีนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ศรีลังกา ในปี 2542 ก็ได้มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือ และได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ได้ ด้วยดี 3. คณะทูตถาวรศรีลังกาประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กได้จัดเตรียมร่างข้อมติ และ ได้ขอเสียงสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ เพื่อให้มีการรับรองข้อมติเรื่องการประกาศให้วันวิสาขบูชา เป็นวันหยุดของสหประชาชาติในที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 4. โดยที่สหประชาชาติประกาศวันหยุดเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว และจะเป็นปัญหาในเรื่อง งบประมาณและการบริหารแก่ สหประชาชาติ หากประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุด ศรีลังกาจึง ได้ตัดสินใจที่จะเสนอร่างข้อมติ ขอให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลที่สหประชาชาติ ทั้งที่ สำนักงานใหญ่ และสำนักงานต่าง ๆ แทนการเสนอให้เป็นวันหยุดซึ่ง ออท. ผู้แทนถาวรประเทศต่าง ๆ รวม 16 ประเทศ ได้แก่ ศรีลังกา บังคลาเทศ ภูฐาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครน ได้ร่วมลงนามในหนังสือถึง ประธานสมัชชาฯ เพื่อให้นำเรื่องวันวิสาขบูชาเข้าเป็นระเบียบวาระการประชุมของสมัชชาฯ 5. ต่อมาเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2542 General Committee ของสมัชชาฯ ได้พิจารณา เรื่องดังกล่าว โดย ออท.ผู้แทน ถาวรศรีลังกาได้กล่าวถ้อยแถลงสนับสนุนหนังสือร้องขอให้ที่ประชุม บรรจุระเบียบวาระดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสมัชชาเต็มคณะ ออท.ผู้แทนถาวรไทย


88 อินเดีย สเปน บังคลาเทศ ปากีสถาน ไซปรัส ลาว และภูฐาน ได้กล่าวถ้อย แถลงสนับสนุน ซึ่งที่ ประชุม General Committee ได้มีมติให้บรรจุเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาเต็มคณะ ปัจจุบัน 1. เมื่อ 15 ธันวาคม 2542 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 ได้ พิจารณาระเบียบวาระที่ 174 International recognition of the Day of Visak โดยการเสนอ ของศรีลังกา 2. ในการพิจารณา ประธานสมัชชาฯ ได้เชิญผู้แทนศรีลังกาขึ้นกล่าวนำเสนอร่างข้อมติ และเชิญผู้แทนไทย สิงคโปร์ บังคลาเทศ ภูฐาน สเปน พม่า เนปาล ปากีสถาน อินเดียขึ้นกล่าวถ้อย แถลง สรุปความว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มี เมตตาธรรมและขันติธรรม ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางของ สหประชาชาติ จึงขอให้ที่ประชุมรับรองข้อมตินี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรองความสำคัญของพุทธ ศาสนาในองค์การสหประชาชาติ โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง (observance) ตามความเหมาะสม 3. ที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างข้อมติโดยฉันทามติ เหตุผลที่ องค์การสหประชาชาติหนดให้ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก เนื่องจากคณะกรรมมาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ร่วมพิจารณาและมีมติเห็นพ้องต้องกัน ประกาศให้วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของโลกทั้งนี้ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวล มนุษย์ ทั้งหลายในโลก จะเห็นได้จากการยกเลิกแบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งเท่ากับเป็นการเลิกทาสโดยไม่มีการ เสียเลือดเสียเนื้อ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกด้วย กล่าวคือ ทรงสอนให้ไม่ ฆ่าสัตว์ ให้รู้จักช่วยเหลือสัตว์ เหตุผลสำคัญ อีกประการหนึ่งคือ พระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ทุก ศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ โดย ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับ ถือศาสนาพุทธและทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณสอนโดยไม่คิดค่าตอบแทน 2.วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย"มาฆบูชา" ย่อมา จาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมี เดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4) วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่ เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุม มหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้น


89 พร้อมกัน 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6 และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 เดิมนั้นไม่มีพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ตั้งแห่ง ความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น การ ประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ และมีการ พระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระอารามหลวง ต่าง ๆ เป็นต้น ในช่วงแรก พิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ต่อมา ความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร ปัจจุบัน วันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดย พุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และประชาชนประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตัก บาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์ สำคัญดังกล่าวที่ถือได้ว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาฏิโมกข์ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอัน เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และ การทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากในสังคมไทยปัจจุบัน หญิงสาวมักเสียตัวในวันวาเลนไทน์หลายหน่วยงานจึงพยายาม รณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันมาฆบูชาตามพุทธประวัติ จาตุรงคสันนิบาต คัมภีร์สุมังคลวิลาสินีอรรถกถามหาปทานสูตร ระบุว่าหลังจากพระพุทธเจ้าเทศนา "เวทนา ปริคคหสูตร" (หรือทีฆนขสูตร) ณ ถ้ำสูกรขาตา เขาคิชฌกูฎ จบแล้ว ทำให้พระสารีบุตรได้บรรลุ อรหัตตผล จากนั้นพระองค์ได้เสด็จทางอากาศไปปรากฏ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงรา ชคฤห์แคว้นมคธ แล้วทรงประกาศโอวาทปาติโมกข์แก่พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป โดยจำนวนนี้ เป็นบริวารของชฏิลสามพี่น้อง 1,000 รูป และบริวารของพระอัครสาวก 250 รูป คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่า การประชุมสาวกครั้งนั้นประกอบด้วย "องค์ประกอบอัศจรรย์ 4 ประการ" คือ 1.วันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 2.พระภิกษุทั้ง 1,250 องค์นั้น ได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3.พระภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญา 6


90 4.พระภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ปลงผมด้วยมีดโกน เพราะพระพุทธเจ้าประทาน "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ด้วยพระองค์เอง ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อม ด้วยองค์ 4 ดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุการณ์ประจวบกับ 4 อย่าง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จาตุรงคสันนิบาต (มาจาก ศัพท์บาลีจาตุร+องฺค+สนฺนิปาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการ) หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว 9 เดือน (45 ปี ก่อนพุทธศักราช) มีผู้เข้าใจผิดว่าเหตุที่พระสาวกทั้ง 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายนั้น เพราะ วันเพ็ญเดือน 3 ตามคติพราหมณ์เป็นวันพิธีมหาศิวาราตรีเพื่อบูชาพระศิวะ พระสาวกเหล่านั้นซึ่ง เคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนจึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัวกันทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์ มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน แต่ความคิดนี้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะพระศิวะเป็นเทพที่ชาว ฮินดูเริ่มบูชากันในยุคหลังพุทธกาล คือตั้งแต่ พ.ศ. 800 เป็นต้นมา ประทานโอวาทปาติโมกข์ พระพุทธเจ้าเมื่อทอดพระเนตรเห็นมหาสังฆสันนิบาตอันประกอบไปด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว จึงทรงเห็นเป็นโอกาสอันสมควรที่จะแสดง "โอวาทปาติโมกข์" อันเป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจ ของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่านั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการ เข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันตสาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธองค์จึงทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตนั้น มีใจความดังนี้ • พระพุทธพจน์คาถาแรกทรงกล่าวถึง พระนิพพาน ว่าเป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อัน สูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ดังพระบาลีว่า "นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา" • พระพุทธพจน์คาถาที่สองทรงกล่าวถึง "วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของ พระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ ความดีและการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาฏิ โมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของ โอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น • ส่วนพระพุทธพจน์คาถาสุดท้าย ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่ พระศาสนา 6 ประการ คือ การไม่กล่าวร้ายใคร, การไม่ทำร้ายใคร , การมีความสำรวมใน ปาติโมกข์ทั้งหลาย, การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ,การรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด และบำเพ็ญ เพียรในอธิจิต สถานที่สำคัญเนื่องด้วยวันมาฆบูชา (พุทธสังเวชนียสถาน)


91 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันมาฆบูชา เกิดภายในบริเวณที่ตั้งของ "กลุ่มพุทธสถานโบราณวัด เวฬุวันมหาวิหาร" ภายในอาณาบริเวณของวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งลานจาตุรงคสันนิบาตอันเป็นจุด ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชานั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงและหาข้อสรุปทางโบราณคดีไม่ได้มา จนถึงปัจจุบัน วัดเวฬุวันมหาวิหาร "วัดเวฬุวันมหาวิหาร" เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภาร บรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขต กำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธในสมัยพุทธกาล) วัดเวฬุวันในสมัยพุทธกาล เดิมวัดเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นสวนป่าไผ่ ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออก เวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่า "พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน" หรือ "เวฬุวันกลันทกนิวาป" (สวนป่าไผ่สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่ กระแต) พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยาน แห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้สดับ พระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ณ พระราชอุทยานลัฏฐิวัน (พระราชอุทยานสวน ตาลหนุ่ม) โดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และ หลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นาน อารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา อันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา วัดเวฬุวันหลังการปรินิพพาน หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มี พระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับ อยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ ติดต่อกันกว่าพันปี แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากอำมาตย์ และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราช บัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็น กษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเว สาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรส ของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร ทำให้ เมืองราชคฤห์ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดเวฬุวันขาดผู้ อุปถัมภ์และถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา โดยปรากฏหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธ ภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942–947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (พระเจ้าวิกรมาทิตย์) แห่ง


Click to View FlipBook Version