41
2) จาํ พวกเปา ลมผานล้ิน ไดแก คลารเิ น็ต แซกโซโฟน
คลาริเน็ต
3. เครือ่ งเปา โลหะ
เคร่ืองดนตรีประเภทนี้ ทําใหเกิดเสียงไดโดยการเปาลมใหผานริมฝปากไปปะทะกับชองท่ีเปา
ไดแ ก ทรัมเปต ทรอมโบน เปนตน
ทรัมเปต
42
4. เคร่อื งดนตรปี ระเภทคียบ อรด
เครื่องดนตรปี ระเภทน้เี ลน โดยใชน วิ้ กดลงบนลมิ่ นิว้ ของเครือ่ งดนตรี ไดแก เปยโน เมโลเดียน คียบอรด
ไฟฟา อิเล็คโทน
เมโลเดียน
5. เครอ่ื งดนตรีประเภทเคร่ืองตี แบงเปน 2 กลมุ คอื
5.1) เครื่องตปี ระเภททาํ นอง ไดแก ไซโลไฟน เบลไลรา ระฆังราว
เบลไลรา
5.2) เคร่อื งตีประเภททําจังหวะ ไดแก กลองทิมปานี กลองใหญ กลองแต็ก ทอมบา กลองชุด ฉาบ กรับ ลูก
แซก
กลองทิมปานี
43
กิจกรรม
ใหนักศกึ ษาแบงกลมุ และรว มกันสืบคน หาเครื่องดนตรสี ากลทกุ ประเภทๆ ละ 2-3 ชนิด
แลว เกบ็ รวบรวม ไวในแฟมสะสมงาน
44
เร่อื งท่ี 3 คุณคา ความไพเราะของเพลงสากล
ดนตรีเปนสือ่ สนุ ทรยี ศาสตรท่ีมคี วามละเอยี ด ประณีต มีความสําคัญอยางยิ่งตอมนุษย ท้ังทางกาย และ
ทางจิต เมื่อเราไดยินเสียงดนตรีที่มีความสงบ ก็จะทําใหจิตสงบ อารมณดี หากไดยินเสียงเพลงท่ีใหความ
บนั เทิงใจ ก็จะเกิดอารมณทีส่ ดใส ทง้ั นเี้ พราะดนตรีเปนสอ่ื สนุ ทรียท่สี รางความสุข ความบันเทิงใจใหแกมนุษย
เปนเครื่องบําบัดความเครยี ด สรางสมาธิ กลอมเกลาจติ ใจใหสุขมุ เยือกเย็น อารมณดี โดยที่ไมตองเสียเวลาหรือ
เสียเงนิ ซอ้ื หาแตอ ยา งใด ดนตรีจงึ มคี ุณคา ตอ มนุษยม ากมาย ดังเชน เสาวนีย สังฆโสภณ กลาววา จากงานวิจยั ของ
ตางประเทศ ทําใหเราทราบวา ดนตรีมีผลตอการทํางานของระบบประสาท ระบบกลามเนื้อ และสภาพจิตใจ
ทาํ ใหสมองหล่ังสารแหงความสขุ เพอ่ื บรรเทาอาการเจ็บปวด ทาํ ใหเกิดสติ ความรูส ึกนึกคิดทด่ี ี และนาํ มาใชใ น
เร่ืองการคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล ลดความกลัว บรรเทาอาการเจ็บปวด เพิ่มกําลัง และการ
เคลอ่ื นไหวของรา งกาย โดยนิยมใชในงานฟน ฟูสขุ ภาพคนท่ัวไป พฒั นาคุณภาพชีวิต ฟนฟูสมรรถภาพคนพิการ
ผูปวยโรคจติ และเดก็ มีความตองการเปน พิเศษ เพราะดนตรเี ปนศลิ ปะท่อี าศยั เสียงเพื่อการถายทอดอารมณไปสู
ผูฟง เปน ศลิ ปะที่งายตอการสมั ผสั กอ ใหเกดิ ความสขุ ความปต ิพอใจแกมนษุ ยไ ด
กลา ววา ดนตรเี ปน ภาษาสากล เพราะเปน สอ่ื ความรูสึกของชนทุกชาติได ดังน้ัน คนท่ีโชคดีมีประสาท
รบั ฟงเปน ปกติ ก็สามารถหาความสุขจากการฟงดนตรีได เมื่อเราไดฟงเพลงที่มีจังหวะ และทํานองที่ราบเรียบ
นมุ นวล จะทําใหเ กิดความรสู กึ ผอนคลายความตึงเครยี ด ดวยเหตุน้ี เม่ือเราไดฟงดนตรี ที่เลือกสรรแลว จะชวย
ทาํ ใหเรามีสุขภาพจติ ท่ีดี อนั มผี ลดีตอสุขภาพรางกาย ดนตรีจึงเปรียบเสมือน ยารักษาโรค การที่มีเสียงดนตรี
รอบบา น เปรยี บเสมือนมอี าหารและวติ ามิน ทช่ี ว ยทาํ ใหค นเรามสี ุขภาพแข็งแรง
คุณประโยชนของดนตรีที่มีตอมนุษย ซึ่งสวนใหญมักจะกลาวถึงดนตรีมีผลตอสภาวะทางรางกาย
แตค วามเปนจรงิ แลว ดนตรเี ปน เรอ่ื งของ “จติ ” แลว สงผลดีมาสู “กาย” ดงั นน้ั จงึ ไมแปลกอะไร ท่ีเรามักจะไดยิน
วา ดนตรีชวยกลอมเกลาจิตใจ ทําใหคนอารมณดี ไมเครียด คลายปวด ฯลฯ เพราะดนตรีเปนส่ือสุนทรียะ
ท่ถี ายทอดโดยใชเ สียงดนตรีเปน สอ่ื สุดทา ยของการบรรยายเร่ือง “สนุ ทรยี ศาสตร ทางดนตรี” จึงสรุปเปนขอคิด
จากการศึกษาในเร่ืองของความงามในเสียงดนตรี ผูเสพ ควรเลือกวาจะเสพเพียงแค “เปนผูเสพ” หรือจะเปน
“ผูไดรบั ประโยชนจากการเสพ” เพราะดนตรีนั้นงามโดยใชเสียงเปนสื่อ แตข้ันตอนสําคัญในการถายทอดคือ
นักดนตรถี า ยทอดโดยใช “จติ ” ผฟู งรับสอื่ โดยใช “จติ ” เปนตวั รับรรู ับสัมผสั อารมณต าง ๆ ผลจากการรบั สัมผัส
ดว ยจติ นัน้ เพลงทีส่ งบ ราบเรยี บ จติ กจ็ ะวา ง (สญู ญตา) ทาํ ใหจ ิตขณะนนั้ ปราศจาก “กิเลส” ผูฟงจึงรูสึกสบายใจ
คลายความวิตกกังวล คลายความเศรา คลายความเจ็บปวด ผูฟงเกิดสมาธิ จึงเปนผลใหสมองทํางานไดอยางมี
ประสิทธิภาพ
45
องคประกอบของดนตรสี ากล
ดนตรไี มว า จะเปน ของชาตใิ ด ภาษาใด ลว นมีพืน้ ฐานมาจากสวนตางๆ เหลานี้ทั้งสิ้น ความแตกตางใน
รายละเอียดของแตละสวน ของแตละวัฒนธรรม โดยวัฒนธรรมของแตละสังคมจะเปนปจจัยท่ีกําหนดให
ตรงตามรสนยิ มของแตละวัฒนธรรม จนเปนผลใหสามารถแยกแยะดนตรีของชาติหน่ึงแตกตางจากดนตรีของ
อีกชาตหิ นึ่งได
องคป ระกอบของดนตรีสากล ประกอบดว ย
1. เสยี ง (Tone)
คีตกวีผูสรางสรรคดนตรี เปนผูใชเสียงในการสรางสรรคและผลิตงานศิลปะเพ่ือรับใชสังคม
ผูสรางสรรคด นตรีสามารถสรางเสียงทห่ี ลากหลายโดยอาศยั วิธีการผลิตเสียงเปนปจจยั กําหนด เชน การดีด การสี
การตี การเปาเสยี งทเี่ กดิ จากการสั่นสะเทือนของอากาศทเี่ ปน ไปอยา งสมาํ่ เสมอ สวนเสยี งอกึ ทึกหรอื เสยี งรบกวน
(Noise) เกดิ จากการสน่ั สะเทือนของอากาศท่ีไมสม่ําเสมอ ลักษณะความแตกตางของเสียงข้ึนอยูกับคุณสมบัติ
สาํ คญั 4 ประการ คือ ระดบั เสยี ง ความยาวของเสียง ความเขมของเสียง และคุณภาพของเสยี ง
1.1 ระดับเสยี ง (Pitch) หมายถึง ระดับของความสูง-ต่าํ ของเสียง ซ่ึงเกิดจากการจํานวนความถ่ี
ของการสั่นสะเทือน กลาวคือ ถาเสียงท่ีมีความถ่ีสูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะสงผลใหมีระดับเสียงสูง
แตถ า หากเสียงมีความถีต่ าํ่ ลักษณะการสน่ั สะเทือนชาจะสงผลใหม ีระดบั เสียงตา่ํ
1.2 ความส้นั -ยาวของเสียง (Duration) หมายถงึ คณุ สมบัตทิ ่เี ก่ียวกบั ความยาว-สนั้ ของเสยี ง ซึ่ง
เปนคณุ สมบตั ทิ สี่ ําคญั อยา งยง่ิ ของการกาํ หนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวนั ตก การกําหนดความสั้น-ยาวของเสียง
สามารถแสดงใหเหน็ ไดจากลกั ษณะของตวั โนต เชน โนต ตวั กลม ตวั ขาว และตัวดํา เปนตน สําหรับดนตรีของ
ไทยนั้น แตเดิมมิไดใชระบบการบันทึกโนตเปนหลัก แตอยางไรก็ตาม การสรางความยาว-สั้นของเสียง
อาจสังเกตไดจากลีลาการกรอระนาดเอก ฆองวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลาก
คันชกั ยาวๆ
1.3 ความเขม ของเสยี ง (Intensity) ความเขมของเสียงเกี่ยวของกับนํ้าหนักของความหนักเบา
ของเสยี ง ความเขม ของเสยี งจะเปนคุณสมบัติท่ีกอ ประโยชนใ นการเกอ้ื หนนุ เสยี งใหมีลีลาจงั หวะท่ีสมบูรณ
1.4 คณุ ภาพของเสียง (Quality) เกิดจากคณุ ภาพของแหลงกาํ เนดิ เสยี งที่แตกตางกัน ปจจัยที่ทํา
ใหค ุณภาพของเสยี งเกดิ ความแตกตางกนั นน้ั เกิดจากหลายสาเหตุ เชน วิธกี ารผลติ เสียง รปู ทรงของแหลงกําเนิด
เสยี ง และวสั ดุที่ใชท ําแหลงกําเนิดเสียง ปจจัยเหลานี้กอใหเกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซ่ึงเปนหลักสําคัญให
ผูฟ งสามารถแยกแยะสสี ันของเสียง (Tone Color) ระหวางเครือ่ งดนตรเี ครอื่ งหนึง่ กับเครื่องหน่ึงไดอ ยางชดั เจน
46
2. พืน้ ฐานจังหวะ (Element of Time)
เปนศิลปะของการจัดระเบียบเสียงที่เกี่ยวของกับความชาเร็ว ความหนักเบาและความสั้น-ยาว
องคประกอบเหลาน้ีหากนํามารอยเรียงปะติดปะตอเขาดวยกันตามหลักวิชาการเชิงดนตรีแลว สามารถท่ีจะ
สรางสรรคใหเกิดลีลาจังหวะอันหลากหลาย ในเชิงจิตวิทยา อิทธิพลของจังหวะที่มีผลตอผูฟงจะปรากฏพบ
ในลักษณะของการตอบสนองเชิงกายภาพ เชน ฟง เพลงแลวแสดงอาการกระดิกนิว้ ปรบมอื รว มไปดวย
3. ทํานอง (Melody)
ทํานองเปนการจัดระเบียบของเสียงที่เกี่ยวของกับความสูง-ต่ํา ความสั้น-ยาว และความดัง-เบา
คณุ สมบัติเหลา น้ีเม่อื นํามาปฏบิ ัติอยา งตอเนอื่ งบนพน้ื ฐานของความชา -เรว็ จะเปน องคประกอบของดนตรีท่ีผูฟง
สามารถทําความเขาใจไดงา ยท่สี ดุ
ในเชงิ จิตวิทยา ทาํ นองจะกระตุน ผูฟงในสวนของสติปญญา ทํานองจะมีสวนสําคัญในการสรางความ
ประทับใจ จดจํา และแยกแยะความแตกตา งระหวา งเพลงหนง่ึ กับอีกเพลงหนึง่
4. พืน้ ผวิ ของเสียง (Texture)
“พื้นผิว” เปนคําท่ีใชอยูท่ัวไปในวิชาการดานวิจิตรศิลป หมายถึง ลักษณะพ้ืนผิวของส่ิงตางๆ เชน
พ้นื ผวิ ของวัสดุทม่ี ีลกั ษณะขรขุ ระ หรอื เกล้ียงเกลา ซ่ึงอาจจะทําจากวสั ดุทต่ี างกนั
ในเชิงดนตรนี ัน้ “พืน้ ผิว” หมายถงึ ลกั ษณะหรอื รูปแบบของเสียงท้งั ท่ปี ระสานสมั พนั ธแ ละไมประสาน
สัมพันธ โดยอาจจะเปนการนําเสียงมาบรรเลงซอนกันหรือพรอมกัน ซ่ึงอาจพบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
ตามกระบวนการประพันธเพลง ผลรวมของเสียงหรือแนวทั้งหมดเหลาน้ัน จัดเปนพ้ืนผิวตามนัยของดนตรี
ท้งั สนิ้ ลกั ษณะรูปแบบพ้ืนผวิ ของเสยี งมีอยหู ลายรปู แบบ ดังนี้
4.1 Monophonic Texture เปน ลกั ษณะพนื้ ผิวของเสยี งทมี่ แี นวทํานองเดียว ไมม เี สียงประสาน
พื้นผวิ เสียงในลักษณะนี้ถอื เปนรปู แบบการใชแ นวเสียงของดนตรีในยคุ แรกๆ ของดนตรีในทกุ วฒั นธรรม
4.2 Polyphonic Texture เปนลักษณะพ้ืนผิวของเสียงที่ประกอบดวยแนวทํานองตั้งแต
สองแนวทํานองข้ึนไป โดยแตละแนวมีความเดนและเปนอิสระจากกัน ในขณะที่ทุกแนวสามารถประสาน
กลมกลืนไปดวยกัน
ลักษณะแนวเสียงประสานในรูปของ Polyphonic Texture มีวิวัฒนาการมาจากเพลงชานท
(Chant) ซึ่งมีพ้ืนผิวเสียงในลักษณะของเพลงทํานองเดียว (Monophonic Texture) ภายหลังไดมีการเพิ่มแนว
ขับรองเขาไปอกี หน่ึงแนว แนวทเ่ี พิ่มเขา ไปใหมน จี้ ะใชระยะขน้ั คู 4 และคู 5 และดําเนินไปในทางเดียวกับเพลง
ชานทเดิม การดําเนินทํานองในลักษณะนี้เรียกวา “ออรกานุม” (Orgonum) นับไดวาเปนยุคเริ่มตนของ
การประสานเสียงแบบ Polyphonic Texture หลงั จากคริสตศตวรรษที่ 14 เปนตนมา แนวทํานองประเภทนี้ไดมี
การพัฒนากาวหนา ไปมาก ซึง่ เปน ระยะเวลาทก่ี ารสอดทํานอง (Counterpoint) ไดเ ขา ไปมบี ทบาทเพ่ิมมากขึ้นใน
การตกแตงพ้นื ผวิ ของแนวทาํ นองแบบ Polyphonic Texture
47
4.3 Homophonic Texture เปน ลักษณะพ้ืนผิวของเสียง ที่ประสานดวยแนวทํานองแนวเดียว
โดยมี กลมุ เสยี ง (Chords) ทําหนาทีส่ นับสนนุ ในคีตนพิ นธป ระเภทน้ี แนวทาํ นองมกั จะเคล่ือนทใี่ นระดับเสยี งสงู
ทสี่ ุดในบรรดากลมุ เสียงดวยกนั ในบางโอกาสแนวทํานองอาจจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงตํ่าไดเชนกัน ถึงแมวา
คตี นิพนธป ระเภทนี้จะมแี นวทาํ นองที่เดนเพียงทํานองเดียวก็ตาม แตกลุมเสียง (Chords) ที่ทําหนาที่สนับสนุน
นนั้ มคี วามสําคัญทไ่ี มน อยไปกวา แนวทํานอง การเคลื่อนท่ขี องแนวทาํ นองจะเคลื่อนไปในแนวนอน ในขณะที่
กลมุ เสียงสนับสนุนจะเคลื่อนไปในแนวต้ัง
4.4 Heterophonic Texture เปนรูปแบบของแนวเสียงท่ีมีทํานองหลายทํานอง แตละแนว
มีความสาํ คญั เทากนั ทุกแนว คาํ วา Heteros เปน ภาษากรีก หมายถึงแตกตางหลากหลาย ลักษณะการผสมผสาน
ของแนวทํานองในลักษณะน้ี เปนรูปแบบการประสานเสยี ง
5. สีสันของเสียง (Tone Color)
“สีสันของเสยี ง” หมายถึง คุณลกั ษณะของเสียงทีก่ าํ เนิดจากแหลงเสียงท่ีแตกตางกัน แหลงกําเนิดเสียง
ดังกลา ว เปนไดท ้งั ท่ีเปน เสยี งรอ งของมนุษยแ ละเครอื่ งดนตรชี นิดตา งๆ ความแตกตา งของเสยี งรองมนุษย ไมวา
จะเปนระหวางเพศชายกับเพศหญิง หรือระหวางเพศเดียวกัน ซ่ึงลวนแลวแตมีพื้นฐานของการแตกตาง
ทางดานสรรี ะ เชน หลอดเสยี งและกลองเสียง เปน ตน
ในสวนท่ีเก่ียวของกับเคร่ืองดนตรีน้ัน ความหลากหลายดานสีสันของเสียง ประกอบดวยปจจัยท่ี
แตกตา งกันหลายประการ เชน วธิ กี ารบรรเลง วัสดุที่ใชทําเคร่ืองดนตรี รวมท้ังรูปทรง และขนาด ปจจัยเหลานี้
ลว นสงผลโดยตรงตอ สีสันของเสียงเคร่อื งดนตรี ทาํ ใหเ กิดคุณลักษณะของเสียงท่ีแตกตางกนั ออกไป
5.1 วิธีการบรรเลง โดยวิธีดีด สี ตี และเปา วิธีการผลิตเสียงดังกลาวลวนเปนปจจัยใหเคร่ือง
ดนตรมี คี ณุ ลักษณะของเสียงท่ีตา งกัน
5.2 วัสดุที่ใชท ําเคร่ืองดนตรี วัสดุที่ใชทําเครอ่ื งดนตรขี องแตล ะวัฒนธรรมจะใชวัสดุท่ีแตกตาง
กนั ไปตามสภาพแวดลอมของสงั คมและยคุ สมยั นับเปนปจจัยทีส่ าํ คัญประการหนึง่ ทส่ี ง ผลใหเ กดิ ความแตกตาง
ในดา นสีสันของเสียง
5.3 ขนาดและรูปทรง เคร่อื งดนตรีท่ีมีรูปทรงและขนาดที่แตกตางกัน จะเปนปจจัยที่สงผลให
เกิดความแตกตางกันในดานของเสยี งในลักษณะทีม่ คี วามสัมพนั ธกัน
6. คตี ลักษณ (Forms)
คีตลักษณห รือรูปแบบของเพลง เปรยี บเสมอื นกรอบทไ่ี ดห ลอมรวมเอาจังหวะ ทํานอง พ้ืนผิว และสีสัน
ของเสียงใหเคล่อื นทีไ่ ปในทิศทางเดยี วกัน เพลงทีม่ ีขนาดสั้น-ยาว วนกลบั ไปมา ลว นเปนสาระสาํ คัญของ
คตี ลักษณทั้งสิน้
ดนตรมี ีธรรมชาตทิ แ่ี ตกตางไปจากศลิ ปะแขนงอน่ื ๆ ซึ่งพอจะสรปุ ไดดงั นี้
1. ดนตรีเปนสื่อทางอารมณทสี่ ัมผสั ไดดวยหู กลาวคือ หูนับเปนอวัยวะสําคัญที่ทําใหคนเราสามารถ
สัมผสั กับดนตรีได ผทู หี่ หู นวกยอมไมส ามารถทราบไดว า เสียงดนตรีนนั้ เปน อยางไร
48
2. ดนตรีเปนสวนหน่ึงของวัฒนธรรม กลาวคือ กลุมชนตาง ๆ จะมีวัฒนธรรมของตนเอง และ
วฒั นธรรมนเี้ องท่ที าํ ใหค นในกลุมชนนัน้ มีความพอใจและซาบซง้ึ ในดนตรีลักษณะหนึ่งซ่ึงอาจแตกตางไปจาก
คนในอีกวัฒนธรรมหน่ึง ตัวอยางเชน คนไทยเราซึ่งเคยชินกับดนตรีพื้นเมืองไทยและดนตรีสากล เม่ือไปฟง
ดนตรีพื้นเมอื งของอนิ เดยี ก็อาจไมรูสึกซาบซ้ึงแตอ ยางใด แมจ ะมคี นอินเดียคอยบอกเราวาดนตรีของเขาไพเราะ
เพราะพริ้งมากกต็ าม เปนตน
3. ดนตรีเปนเร่ืองของสุนทรียศาสตรวาดวยความไพเราะ ความไพเราะของดนตรีเปนเร่ืองท่ีทุกคน
สามารถซาบซง้ึ ไดและเกดิ ขนึ้ เม่ือใดกไ็ ด กับทุกคน ทุกระดบั ทุกชนชัน้ ตามประสบการณข องแตละบคุ คล
4. ดนตรีเปนเรื่องของการแสดงออกทางอารมณ เสียงดนตรีจะออกมาอยางไรน้ันข้ึนอยูกับเจาของ
อารมณที่จะชว ยถา ยทอดออกมาเปน เสียง ดังน้ันเสียงของดนตรีอาจกลาวไดวาอยูที่อารมณของผูประพันธเพลง
ท่ีจะใสอารมณลงไปในเพลงตามที่ตนตองการ ผูบรรเลงเพลงก็ถายทอดอารมณจากบทประพันธลงบน
เครื่องดนตรี ผลที่กระทบตอผูที่ฟงก็คือ เสียงดนตรีท่ีประกอบขึ้นดวยอารมณของผูประพันธผสมกับ
ความสามารถของนักดนตรีทจี่ ะถา ยทอดไดถ งึ อารมณห รอื มคี วามไพเราะมากนอ ยเพียงใด
5. ดนตรีเปนทั้งระบบวิชาความรูและศิลปะในขณะเดียวกัน กลาวคือ ความรูเก่ียวกับดนตรีนั้น
เปน เรื่องเกย่ี วกบั เสียงและการจดั ระบบเสียงใหเ ปน ทว งทํานองและจงั หวะ ซึ่งคนเรายอมจะศึกษาเรียนรู “ความรู
ท่ีเก่ยี วกับดนตรี” นี้ก็ได โดยการทอง จํา อาน ฟง รวมท้ังการลอกเลยี นจากคนอืน่ หรอื การคดิ หาเหตผุ ลเอาเองได
แตผทู ี่ไดเ รยี นรจู ะมี “ความรเู กย่ี วกบั ดนตรี” ก็อาจไมสามารถเขาถึงความไพเราะหรือซาบซ้ึงในดนตรีไดเสมอ
ไป เพราะการเขาถึงดนตรีเปนเร่ืองของศิลปะ เพียงแตผูที่มีความรูเก่ียวกับดนตรีน้ันจะสามารถเขาถึงความ
ไพเราะของดนตรีไดง า ยข้นึ
กิจกรรม
- ใหผูเรียนรวมกลุมและจัดหาเพลงท่ีมีจังหวะชาและเร็วนํามาเปดใหฟงในชั้นเรียน และบอกเลา
ความรสู กึ ของตนในแตล ะเพลงใหท กุ คนฟง
- ใหผเู รยี นรวมกลุมหาเพลงบรรเลงสากลนาํ มาเปด และแตล ะคนเขยี นถงึ ความรสู ึกและจนิ ตนาการจาก
เพลงนั้น
49
เร่ืองท่ี 4 ประวตั ภิ มู ิปญญาทางดนตรสี ากล
ดนตรีสากลมกี ารพัฒนามายาวนาน และเกอื บทงั้ หมดเปน การพฒั นาจากฝงทวีปยุโรป จะมีการพัฒนา
ในยคุ หลงั ๆที่ดนตรีสากลมีการพฒั นาสงู ในฝง ทวปี อเมริกาเหนือ สามารถแบง การพัฒนาออกเปนชวงยุค ดังนี้
1. ดนตรีคลาสสกิ ยุโรปยุคกลาง (Medieval European Music พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943) ดนตรคี ลาสสกิ
ยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง เปนดนตรีที่ถือวาเปนจุดกําเนิดของดนตรีคลาสสิก เร่ิมตนเมื่อประมาณป
พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซ่ึงเปนปของการลมสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงคเพ่ือประกอบ
พธิ ีกรรมทเี่ กยี่ วขอ งกับศาสนา โดยมีตนกําเนดิ มาจากดนตรีของยคุ กรีกโบราณ
ดนตรคี ลาสสกิ ของยุโรปยุคกลาง
2. ดนตรียุคเรเนสซองส (Renaissance Music พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143) เร่ิมการนับเมอ่ื ประมาณป พ.ศ.
1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเร่ิมมีการเปล่ียนแปลงศิลปะ และฟนฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แตดนตรียังคง
เนนหนกั ไปทางศาสนา เพยี งแตเรมิ่ มกี ารใชเ ครื่องดนตรที ่หี ลากหลายข้ึน
ดนตรยี คุ เรเนสซองส
50
3. ดนตรียุคบาโรค (Baroque Music พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2293) ยุคนี้เริ่มข้ึนเมื่อมีการกําเนิดอุปรากร
ในประเทศฝรั่งเศสเม่ือป พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเม่ือ โยฮันน เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในป
พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แตบ างครง้ั กน็ บั วาสนิ้ สุดลงในป พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730)ในยุคท่ีเริ่มมีการเลนดนตรีเพื่อ
การฟงในหมูชนชั้นสูงมากข้ึน เคร่ืองดนตรีประเภทออรแกนไดรับความนิยมแตเนนหนักไปทางศาสนา นัก
ดนตรีท่ีมชี ื่อเสยี งในยุคนี้ เชน บาค ววิ ลั ดิ เปน ตน
ดนตรยี คุ บาโรค
4. ดนตรียคุ คลาสสิค (Classical Period Music พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363) เปนยุคท่ีมีการเปล่ียนแปลง
กฏเกณฑ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเลนดนตรีอยางชัดเจน ศูนยกลางของดนตรียุคน้ีคือประเทศ
ออสเตรีย ท่ีกรุงเวียนนา และเมอื งมานไฮม( Mannheim) นกั ดนตรีทีม่ ชี อื่ เสียงในยุคน้ี ไดแก โมซารท เปน ตน
ดนตรยี คุ คลาสสคิ
51
5. ดนตรียุคโรแมนติค (Romantic Music พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443) เปนยุคที่เร่ิมมีการแทรกของ
อารมณเ พลง ซึง่ ตา งจากยคุ กอ นๆซึง่ ยังไมมกี ารใสอารมณในทํานอง นักดนตรที ่มี ชี ื่อเสยี งในยคุ น้ี เชน เบโธเฟน
ชูเบิรต โชแปง ไชคอฟสกี เปนตน
ลุดวกิ ฟาน เบโธเฟน
6. ดนตรียุคศตวรรษท่ี 20 (20th Century Calssical Music พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2543) นักดนตรี
เร่มิ แสวงหาแนวดนตรี ท่ีไมขึน้ กับแนวดนตรีในยุคกอนๆ จังหวะในแตละหองเริ่มแปลกไปกวาเดิม ไมมีโนต
สําคญั เกิดใหม ระยะหางระหวางเสียงกับเสียงเริ่มลดนอยลง ไรทวงทํานองเพลง นักดนตรีบางกลุมหันไปยึด
ดนตรีแนวเดมิ ซึ่งเรยี กวา แบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic) นักดนตรีท่ีมีชื่อเสียงในยุคนี้ เชน อิกอร เฟโดโรวิช
สตราวนิ สกี เปนตน
อกิ อร เฟโดโรวชิ สตราวนิ สกี
52
7. ดนตรยี คุ ปจ จบุ นั (ชวงทศวรรษหลงั ของครสิ ตศตวรรษท่ี 20 - ปจ จบุ นั )
ยคุ ของดนตรีปอ ป (pop music)
- ยุค 50 เพลงรอ็ กแอนดโ รลลไ ดรบั ความนยิ ม มีศิลปน ที่ไดรบั ความนิยมอยา งเอลวสิ เพรสลยี
- ยุค 60 เปนยุคของทีนไอดอลอยาง วงเดอะบีทเทิลส เดอะบีชบอยส คลิฟ ริชารด โรลลิ่ง สโตน
แซนดี ชอว เปน ตน
- ยุค 70 เปนยุคของดนตรีดิสโก มีศิลปนอยาง แอบบา บีจีส และยังมีดนตรีประเภทคันทรีท่ีไดรับ
ความนิยมอยาง เดอะ อีเกิลส หรือดนตรีปอปที่ไดรับอิทธิพลจากร็อกอยาง เดอะ คารเพ็นเทอรส,ร็อด สจวต,
แครี ไซมอ น แฌร เปน ตน
- ยุค 80 มีศิลปนปอปที่ไดรับความนิยมอยาง ไมเคิล แจ็คสัน, มาดอนนา, ทิฟฟานี, เจเน็ท แจ็คสัน,
ฟล คอลลนิ ส แวม ลกั ษณะดนตรจี ะมกี ารใสดนตรีสังเคราะหเขาไป เพลงในยุคนี้สวนใหญจะเปนเพลงเตนรํา
และยังมอี ทิ ธิพลถงึ ทางดานแฟชน่ั ดว ย
- ยุค 90 เร่ิมไดอิทธิพลจากเพลงแนวอารแอนดบี เชน มารายห แครี,เดสทินี ไชลด,บอยซ ทู เม็น,
เอ็น โวค, ทีแอลซี ในยุคน้ียังมีวงบอยแบนดที่ไดรับความนิยมอยาง นิว คิดส ออน เดอะบล็อก, เทค แดท,
แบ็คสตรีท บอยส
- ยุค 2000 มีศิลปนที่ประสบความสําเร็จอยาง บริทยนี สเปยร, คริสตินา อากีเลรา, บียอนเซ,
แบล็ค อายด พสี , จสั ติน ทิมเบอรเ ลค สว นเทรนดปอ ปอืน่ เชนแนว ปอป-พังค อยางวง ซิมเปล แพลน เอฟริล ลาวีน
รวมถงึ การเกิดรายการสุดฮติ อเมรกิ ัน ไอดอลทีส่ รางศิลปนอยา ง เคลลี่ คลารกสัน และ เคลย ไอเคน แนวเพลงปอป
และอารแอนดบีเรม่ิ รวมกนั มีลกั ษณะเพลงปอ ปทเ่ี พมิ่ ความเปนอารแ อนดบมี ากข้ึนอยาง เนลลี เฟอรตาโด ริฮานนา,
จสั ติน ทิมเบอรเลค เปนตน
กจิ กรรม
ใหผ ูเรียนสบื คน ประวัตนิ กั ดนตรสี ากล ทง้ั ในประเทศไทย และสากล เขียนเปนรายงาน
ไมตาํ่ กวา5 หนากระดาษ ขนาดA4 จากนัน้ ใหน าํ มารายงานหนาชัน้ เรยี น แลว นาํ เกบ็ รายงานน้ัน
ในแฟมสะสมงาน
53
บทท่ี 3
นาฏศลิ ป
สาระสาํ คัญ
เขาใจและเห็นคุณคาทางนาฏศิลป สามารถวิเคราะห วิพากษวิจารณ ถายทอดความรูสึก ความคิด
อยางอสิ ระ ช่นื ชมและประยุกตใชในชีวติ ประจําวัน
ผลการเรียนรทู ี่คาดหวงั
อธิบายความหมาย ความสําคญั ความเปนมาของนาฎยนิยาม สุนทรียะทางนาฎศิลป เขาใจถึงประเภท
ของนาฎศิลปแขนงตาง ๆ ภูมิปญ ญา
ขอบขา ยเน้อื หา
เรื่องท่ี 1 นาฏยนยิ าม
เรื่องท่ี 2 สนุ ทรียะทางนาฏศลิ ป
เรื่องที่ 3 นาฏศลิ ปส ากลเพ่อื นบานของไทย
เร่อื งที่ 4 ละครท่ไี ดรบั อิทธพิ ลของวัฒนธรรมตะวนั ตก
เร่ืองท่ี 5 ประเภทของละคร
เรื่องที่ 6 ละครกับภมู ิปญ ญาสากล
54
เรอ่ื งที่ 1 นาฏยนิยาม
นาฏยนิยาม หมายถึง คําอธิบาย คําจํากัดความ ขอบเขต บทบาท และรูปลักษณของนาฏศิลป ซ่ึงลวน
แสดงความหมายของนาฏยศิลปท่ีหลากหลาย อันเปนเครื่องบงช้ีวานาฏยศิลปมีความสําคัญ เก่ียวของกับชีวิต
และสงั คมมาตงั้ แตอ ดีตกาล
นยิ าม
ในสวนนี้เปน การกลาวถึง ความหมายของนาฏยศลิ ป หรอื การฟอ นราํ ทปี่ ราชญแ ละนกั วิชาการสาํ คัญได
พยายามอธบิ ายคําวา นาฏยศิลป ไวในแงมุมตาง ๆ ดังน้ี
สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงกําเนิดและวิวัฒนาการของ
นาฏยศลิ ปทผี่ กู พนั กับมนุษย ดงั นี้
“การฟอนรําเปนประเพณีของมนุษยทุกชาติทุกภาษา ไมเลือกวาจะอยู ณ ประเทศถิ่นสถานท่ีใด
ในพิภพนี้ อยาวา แตม นษุ ยเ ลย ถึงแมสตั วเ ดรัจฉานก็มีวิธีฟอน เชน สุนัข ไกกา เวลาใดสบอารมณ มันก็จะเตน
โลดกรดี กรายทํากริ ิยาทาทางไดตาง ๆ ก็คือการฟอนรําตามวิสัยสัตวน้ันเอง ปราชญแหงการฟอนรําจึงเล็งเห็น
การฟอนรําน้ีมูลรากเกิดแตวิสัยสัตวเม่ือเวทนาเสวยอารมณ จะเปนสุขเวทนาก็ตามหรือทุกขเวทนาก็ตาม
ถาเสวยอารมณแรงกลาไมกล้ันไวได ก็แลนออกมาเปนกิริยาใหเห็นปรากฏยกเปนนิทัศนอุทาหรณดังเชน
ธรรมดาทารก เวลาอารมณเ สวยสขุ เวทนากเ็ ตน แรง เตน แฉง สนุกสนาน ถาอารมณเสวยทุกขเวทนาก็ดิ้นโดยให
แสดงกริ ยิ าปรากฏออกใหรวู า อารมณเ ปนอยา งไร ยิง่ เติบโตรูเดียงสาข้ึนเพียงไร กิริยาท่ีอารมณเลนออกมาก็ยิ่ง
มากมายหลายอยางออกไป จนถึงกิริยาที่แสดงความกําหนัดยินดีในอารมณ และกิริยาซึ่งแสดงความอาฆาต
โกรธแคน เปน ตน กริ ยิ าอนั เกดิ แตเ วทนาเสวยอารมณน ี้นบั เปนขน้ั ตน ของการฟอ นรํา
ตอมาอีกขั้นหน่ึงเกิดแตคนทั้งหลายรูความหมายของกิริยาตาง ๆ เชน กลาวมาก็ใชกิริยาเหลานั้นเปน
ภาษาอนั หนึง่ เม่อื ประสงคจะแสดงใหป รากฏแกผูอืน่ โดยใจจริงกด็ ี หรือโดยมายาเชน ในเวลาเลน หวั ก็ดี วา ตนมี
อารมณอยางไร ก็แสดงกิริยาอนั เปน เคร่อื งหมายอารมณอยางนั้น เปนตนวาถาแสดงความเสนหา ก็ทํา กิริยาย้ิม
แยมกรดี กราย จะแสดงความรื่นเริงบันเทิงใจก็ขับรองฟอนรํา จําขูใหผูอ่ืนกลัวก็ทําหนาตาถมึงทึงแลโลดเตน
คกุ คาม จงึ เกดิ แบบแผนทาทางที่แสดงอารมณตาง ๆ อันเปนตนของกระบวนฟอนรําขึ้นดวยประการน้ีนับเปน
ขัน้ ท่สี อง
อนั ประเพณกี ารฟอนรําจะเปนสาํ หรบั ฝก หัดพวกท่ีประกอบการหาเล้ียงชีพดวยรําเตน เชน โขนละคร
เทานั้นหามิได แตเดิมมายอมเปนประเพณีสําหรับบุคคลทุกช้ันบรรดาศักด์ิและมีที่ใชไปจนถึงการยุทธและ
การพธิ ีตา ง ๆ หลายอยา ง จะยกตัวอยางแตประเพณีการฟอนรําที่มีมาในสยามประเทศของเรานี้ ดังเชนในตํารา
คชศาสตร ซ่ึงนับถือวาเปนวิชาช้ันสูงสําหรับการรณรงคสงครามแตโบราณ ใครหัดข่ีชางชนก็ตองหัดฟอนรํา
ใหเปนสงาราศีดวยแมพระเจาแผนดินก็ตองฝกหัด มีตัวอยางมาจนถึงรัชกาลท่ี 5 เมื่อพระบาทสมเด็จฯ
พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ทรงศึกษาวิชาคชศาสตรตอสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยาบําราบ
55
ปรปกษ ก็ไดทรงหัดฟอ นรํา ไดยินเคยทรงราํ พระแสงขอบนคอชา งพระท่ีนัง่ เปน พทุ ธบชู าเมื่อครง้ั เสดจ็ พระพทุ ธบาท
ตามโบราณราชประเพณี เมือปวอก พ.ศ. 2414 การฟอ นราํ ในกระบวนยุทธอยางอ่ืน เชน ตีกระบี่กระบองก็เปน
วิชาที่เจานายตองทรงฝกหัดมาแตกอน สวนกระบวนฟอนรําในการพิธี ยังมีตัวอยางทางหัวเมืองมณฑล
ภาคพายัพ ถาเวลามงี านบญุ ใหทานเปน การใหญก็เปนประเพณีท่ีเจานายตั้งแตเจาผูครองนครลงมาที่จะฟอนรํา
เปน การแสดงโสมนัสศรทั ธาในบญุ ทาน เจา นายฝายหญิงก็ยอมหัดฟอนรําและมีเวลาที่จะหัดฟอนรําในการพิธี
บางอยางจนทกุ วันนี้ ประเพณตี า ง ๆ ดังกลาวมา สอใหเห็นวาแตโบราณยอมถือวาการฟอนรําเปนสวนหนึ่งใน
การศกึ ษา ซึ่งสมควรจะฝกหดั เปนสามญั ทวั่ มุกทุกช้นั บรรดาศักดสิ์ ืบมา
การทีฝ่ กหัดคนแตบ างจําพวกใหฟอนรํา ดงั เชน ระบาํ หรือละครนัน้ คงเกิดแตป ระสงคจะใครดูกระบวน
ฟอ นราํ วา จะงามไดถ ึงท่สี ดุ เพยี งไร จึงเลอื กสรรคนแตบางเหลาฝกฝนใหชาํ นิชํานาญเฉพาะการฟอนรํา สําหรับ
แสดงแกคนทงั้ หลายใหเ หน็ วา การฟอ นรําอาจจะงามไดถ ึงเพียงน้นั เมอื่ สามารถฝกหดั ไดส มประสงคก็เปน ที่ตอง
ตาตดิ ใจคนทัง้ หลาย จึงเกิดมนี กั ราํ ข้นึ เปน พวกทีห่ นึ่งตางหาก แตทีจ่ ริงวชิ าฟอนรําก็มแี บบแผนอนั เดียวกับที่เปน
สามญั แกคนทัง้ หลายทุกช้นั บรรดาศกั ดนิ์ นั่ เอง”1
ราชบัณฑิตยสถาน ไดใหความหมายของนาฏยศิลปไวกวาง ๆ ตลอดจนกําหนดการออกเสียงไวใน
พจนานกุ รมฉบบั เฉลมิ พระเกียรติ พ.ศ. 2530 ดงั นี้
“นาฏ, นาฏ – [นาด, นาตะ – นาดตะ-] น. นางละคร, นางฟอนรํา, ไทยใชห มายถึง
หญิงสาวสวย
เชน นางนาฏ นุชนาฏ (ป.; ส.)
นาฏกรรม [นาดตะกาํ ] น. การละคร, การฟอ นรํา.
นาฏดนตรี [นาดตะดนตรี] น. ลิเก.
นาฏศิลป [นาดตะสนิ ] น. ศิลปะแหงการละครหรือการฟอนรํา.
นาฏก [นาตะกะ (หลกั ), นาดตะกะ (นยิ ม)] น. ผฟู อ นรํา. (ป.; ส.)
นาฏย [นาดตะยะ-] ว. เก่ียวกับการฟอนรํา, เกี่ยวกับการแสดงละคร (ส.)
นาฏยเวที น. พืน้ ที่แสดงละครล ฉาก.
นาฏยศาลา น. หอ งฟอนรํา, โรงละคร
นาฏยศาสตร น. วิชาฟอ นราํ , วชิ าแสดงละคร” 2
หมายเหตุ
1 สมเดจ็ พระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานภุ าพ, “ประวัตกิ ารฟอ นราํ .” ใน การละครไทย อางถงึ ใน หนงั สอื อา นประกอบคาํ
บรรยายวชิ าพ้ืนฐานอารยธรรมไทยตอนดนตรแี ละนาฏศลิ ปไ ทย.มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร (พระนคร : โรงพิมพมหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร, 2515) ,
หนา 12 -14.
2 พจนานกุ รมฉบับเฉลิมพระเกยี รติ พ.ศ. 2530. พิมพครง้ั ท่ี 3 (กรงุ เทพฯ : ไทยวัฒนาพานชิ , 2531), หนา 279.
56
ธนิต อยโู พธิ์ ไดอธบิ ายความหมายของนาฏยศิลปดงั ทปี่ รากฏในคัมภรี อ ินเดยี ไวด ังนี้
“คําวา “นาฏย” ตามคมั ภรี อภิธานปั ปทปี ก าและสูจิ ทา นใหวเิ คราะหศัพทวา “นฏสเสตนตินาฏย” ความ
วา ศลิ ปะของผูฟอ นผูราํ เรียกวา นาฏย และใหอรรถาธิบายวา “นจจ วาทิต คีต อิท ตุริยติก นาฏยนาเมนุจจเต”
แปลวา การฟอ นราํ การบรรเลง (ดนตรี) การขบั รอง หมวด 3 แหงตุริยะน้ี ทาน (รวม) เรียกโดยช่ือวา นาฏย ซึ่ง
ตามน้ีทานจะเห็นไดวา คําวา นาฏะ หรือนาฏยะ น้ัน การขับรอง 1 หรือพูดอยางงาย ๆ ก็วาคํา “นาฏย” น้ันมี
ความหมายรวมทั้งฟอนรําขับรองและประโคมดนตรีดวย ไมใชมีความหมายแตเฉพาะศิลปฟอนรําอยางเดียว
ดงั ทบี่ างทานเขา ใจกนั แมจ ะใชคําวาหมวด 3 แหงตุรยิ ะหรอื ตุรยิ ะ 3 อยาง แสดงใหเหน็ วาใชคาํ “ตรุ ยิ ะ” หมายถึง
เครื่องตีเครือ่ งเปา แตแปลงกันวา “ดนตรี” กไ็ ด นว่ี า ตามรปู ศัพท แททจ่ี ริงแมในวิธีการปฏิบัติศิลปนจะรับระบํา
ราํ ฟอนไปโดยไมม ีดนตรีและขับรอ งประกอบเร่อื งและใหจงั หวะไปดว ยน้ันยอ มเปนไปไมไดและไมเปนศิลปะ
ทส่ี มบูรณ ถาขาดดนตรีและขบั รองเสยี แลว แมในสว นศิลปะของการฟอ นราํ เองกไ็ มส มบูรณในตัวของมัน พระ
ภรตมนุ ี ซงึ่ ศลิ ปนทางโขนละครพากนั ทาํ ศรีษะของทานกราบไหวบ ูชา เรียกกันวา “ศรีษะฤๅษี” นั้น มีตํานานวา
ทา นเปน ปรมาจารยแหงศลิ ปะทางโขนละครฟอนรํามาแตโบราณ เม่ือทานไดแตงคัมภีรนาฏยศาสตรข้ึนไว ก็มี
อยูหลายบริเฉทหรือหลายบทในคัมภีรนาฏยศาสตรน้ัน ท่ีทานไดกลาวถึงและวางกฎเกณฑในทางดนตรีและ
ขบั รอ งไวด ว ย และทานศารงคเทพผูแตงคัมภีรสังคีตรัตนากรอันเปนคัมภีรที่วาดวยการดนตรีอีกทานหนึ่งเลา
กป็ รากฏวาทานไดว างหลักเกณฑและอธิบายศลิ ปะทางการละครฟอ นรําไวมากมายในคมั ภรี น ้นั เปนอันวา ศลิ ปะ
3 ประการ คือฟอนราํ 1 ดนตรี 1 ขบั รอง 1 เหลานตี้ า งตองประกอบอาศยั กัน คาํ วา นาฏยะ จึงมคี วามหมายรวมเอา
ศลิ ปะ 3 อยางนนั้ ไวในศพั ทเ ดียวกนั ”
57
เรื่องท่ี 2 สนุ ทรยี ะทางนาฏศลิ ป
ความหมายสุนทรยี ะทางนาฏศลิ ป
สุนทรียะ (Aesthetic) หมายถงึ ความเกีย่ วเน่อื งกับส่งิ สวยงาม รูปลกั ษณะอนั ประกอบดว ยความสวยงาม
(พจนานุกรมฉบับเฉลมิ พระเกียรติ พ.ศ. 2530 : 541)
นอกจากนยี้ งั มีผใู หความหมายของคําวา “สนุ ทรยี ะ” ไวต า ง ๆ กัน ดังน้ี
*หลวงวจิ ิตรวาทการ ไดอธิบายความหมายไววา ความรูส กึ ธรรมดาของคนเรา ซึ่งรูจักคุณคาของวัตถุที่
งามความเปน ระเบยี บเรียบรอยของเสียงและถอยคาํ ไพเราะ ความรูสกึ ความงามที่เปนสุนทรียภาพนี้ยอมเปนไป
ตามอุปนิสัยการอบรมและการศึกษาของบุคคล ซึ่งรวมเรียนวา รส (Taste) ซ่ึงความรูสึกนี้จะแตกตางกันไป
ขึ้นอยูกับการฝกฝนปรนปรือในการอาน การฟง และการพินิจดูส่ิงท่ีงดงามไมวาจะเปนธรรมชาติหรือศิลปะ
(หลวงวิจิตรวาทการ 2515 : 7 – 12)
*อารี สทุ ธพิ นั ธุ ไดใหแนวคดิ เกีย่ วกับ “สนุ ทรียศาสตร” ไว 2 ประการ ดังน้ี
1. วชิ าทีศ่ ึกษาเกี่ยวกบั ความรูสกึ ท่ีเกิดขน้ึ จากการรับรขู องมนุษย ซึ่งทําใหมนุษยเกิดความเบิกบานใจ
อิ่มเอมโดยไมห วังผลตอบแทน
2. วชิ าทศ่ี ึกษาเกย่ี วกับวิชาที่มนุษยสรางขึ้นทุกแขนง นําขอมูลมาจัดลําดับเพ่ือนเสนอแนะใหเห็นคุณคา
ซาบซ้ึงในสิ่งท่ีแอบแฝงซอนเรน เพื่อสรางความนิยมชมชื่นรวมกัน ตามลักษณะรูปแบบของผลงานนั้น ๆ
(อารี สทุ ธิพันธ,ุ 2534 : 82)
ความหมายของคาํ วา “สุนทรยี ะ” หมายถึง ความรูสึกของบุคคลที่มีความซาบซ้ึง และเห็นคุณคาในสิ่ง
ดีงาม และไพเราะจากสิง่ ทเี่ กิดขน้ึ ตามธรรมชาติ หรอื อาจเปนสิง่ ท่ีมนุษยประดิษฐขน้ึ ดว ยความประณีต ซ่งึ มนุษย
สมั ผัสและรับรไู ดดว ยวธิ ีการตาง ๆ จนเกิดความพึงพอใจ ความประทับใจและทําใหเกดิ ความสุขจากสิ่งท่ีตนได
พบเหน็ และสมั ผสั
ความหมายของคาํ วา “นาฏศลิ ป” หมายถงึ ศลิ ปะแหง การละครหรือการฟอ นราํ (พจนานุกรมฉบับเฉลิม
พระเกยี รติ พ.ศ. 2534 : 279) นอกจากนย้ี งั มผี ใู หความหมายของคาํ วา “นาฏศลิ ป” ไวตา ง ๆ กนั ดงั น้ี
*ธนติ อยโู พธ์ิ ไดแปลคําวา “นาฏศิลป” ไวว า คือความช่ําชองในการละครฟอ นรําดว ยมีความเหน็ วาผูท่ี
มศี ิลปะทีเ่ รยี กวา ศลิ ปน จะตอ งเปน ผมู ีฝม ือมีความชาํ่ ชองชํานาญในภาคปฏิบตั ใิ หด ีจริง ๆ (ธนติ อยูโพธ์ิ 2516 : 1)
ความหมายของคําวา “นาฏศิลป” ท่ีไดกลาวมาน้ัน สรุปไดวา หมายถึงศิลปะในการฟอนรําที่มนุษย
ประดษิ ฐข ้นึ จากธรรมชาติและจากความคํานงึ ดวยความประณตี งดงาม มีความวิจิตรบรรจง นาฏศิลป นอกจาก
จะหมายถึงทา ทางแสดงการฟอ นราํ แลว ยงั ประกอบดว ยการขับรองท่ีเรียกวา คีตศิลปและการบรรเลงดนตรีคือ
“ดุรยิ างคศลิ ป” เพอื่ ใหศ ิลปะการฟอนรําน้นั งดงามประทบั ใจ
“สุนทรียะทางนาฏศลิ ปส ากล” จึงหมายถึง ความวจิ ิตรงดงามของการแสดงนาฏศิลปสากล ซ่ึงประกอบ
ไปดวย ระบํา รํา ฟอน ละคร อันมีลีลาทารําและการเคล่ือนไหวที่ประกอบดนตรี บทรองตามลักษณะและ
ชนิดของการแสดงแตล ะประเภท
58
พื้นฐานความเปน มาของนาฏศลิ ปไทย
นาฏศิลปมีรูปแบบการแสดงทแ่ี ตกตา งกัน ทัง้ ทีเ่ ปนการแสดงในรูปแบบของการฟอนรําและการแสดง
ในรูปแบบของละคร แตล ะประเภทจงึ แตกตางกัน ดงั น้ี
1. นาฏศิลปที่แสดงในรูปแบบของการฟอนรํา เกิดจากสัญชาตญาณด้ังเดิมของมนษุ ยหรือสัตวทั้งหลาย
ในโลก เมือ่ มคี วามสุขหรอื ความทกุ ขก็แสดงกิริยาอาการออกมาตามอารมณและความรูสึกน้ัน ๆ โดยแสดงออก
ดวยกิริยาทาทางเคล่ือนไหว มือ เทา สีหนา และดวงตาที่เปนไปตามธรรมชาติ รากฐานการเกิดนาฏศิลปใน
รปู แบบของการฟอ นราํ พฒั นาข้ึนมาเปน ลาํ ดับ ดงั น้ี
1.1 เพื่อใชเ ปนพธิ ีกรรมทางศาสนา มนษุ ยเ ชอื่ วา มีผดู ลบนั ดาลใหเกิดความวิบตั ิตาง ๆ หรือเช่ือวามี
ผทู ่สี ามารถบันดาลความสําเรจ็ ความเจริญรุงเรอื งใหกับชวี ติ ของตน ซึ่งอาจเปนเทพเจาหรือปศาจตามความเชื่อ
ของแตละคนจงึ มีการเตน ราํ หรอื ฟอนรํา เพื่อเปนการออ นวอนหรือบูชาตอ ผูท่ตี นเชื่อวา มีอํานาจดังกลาว
สมเดจ็ กรมพระยาดํารงราชานภุ าพฯ ไดอธิบายในหนังสือตําราฟอนรําวา ชาติโบราณทุกชนิด
ถือการเตนรําหรือฟอนรําเปนประจําชีวิตของทุกคน และยังถือวาการฟอนรําเปนพิธีกรรมทางศาสนาดวย
สําหรบั ประเทศอนิ เดยี น้ันมตี าํ ราฟอนราํ ฝกสอนมาแตโ บราณกาล เรยี กวา “คมั ภีรนาฏศลิ ปศ าสตร”
1.2 เพื่อใชในการตอสูและการทําสงคราม เชน ตําราคชศาสตร เปนวิชาชั้นสูง สําหรับการทํา
สงครามในสมัยโบราณ ผูท่ีจะทําสงครามบนหลังชางจําเปนตองฝกหัดฟอนรําใหเปนที่สงางามดวย แมแต
พระเจา แผน ดนิ กต็ อ งทรงฝก หดั การฟอ นรําบนหลังชา งในการทําสงครามเชน กัน
1.3 เพือ่ ความสนุกสนานร่นื เริง การพกั ผอ นหยอนใจเปน ความตองการของมนุษย ในเวลาวางจาก
การทํางานก็จะหาส่ิงที่จะทําใหตนและพรรคพวกไดรับความสนุกสนานเพลิดเพลินคลายความเหน็ดเหนื่อย
เน่อื งจากการรองราํ ทําเพลงเปน ธรรมชาตทิ ม่ี อี ยใู นตวั ของมนุษยทุกคน ดังนน้ั จงึ มีการรวมกลุมกันรองเพลงและ
รา ยรําไปตามความพอใจของพวกตน ซ่ึงอาจมีเนื้อรอ งทม่ี ีสาํ เนียงภาษาของแตละทองถ่ิน และทวงทํานองเพลง
ทเ่ี ปน ไปตามจังหวะประกอบทารายรําแบบงาย ๆ ซึ่งไดพัฒนาตอมาจนเกิดเปนการแสดงนาฏศิลปรูปแบบของ
การฟอนราํ ของแตละทอ งถนิ่ เรียกวา “ราํ พนื้ เมือง”
2. นาฏศิลปท่ีแสดงในรูปแบบของละคร มีรากฐานมาจากความตองการของมนุษยท่ีจะถายทอด
ประสบการณหรอื เหตุการณที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับมนุษยท่ีเปนความประทับใจ ซ่ึงสมควรแกการจดจํา หรืออาจมี
วัตถุประสงคเพื่อประโยชนในการเผยแพรศาสนาและสอนศีลธรรม เพราะการสรางในรูปแบบของละคร
เปน วธิ กี ารที่งา ยตอ ความเขาใจแตยากทจ่ี ะใชการเผยแพรแ ละอบรมส่งั สอนดวยวิธกี ารอื่น จงึ มีการสรา งเร่ืองราว
หรือบันทึกเหตุการณอันนาประทับใจและมีคุณคาน้ันไวเปนประวัติศาสตรในรูปแบบของการแสดงละคร
เพราะเช่ือวา การแสดงละครเปนวิธีหนึ่งของการสอนคตธิ รรม โดยบุคลาธษิ ฐานในเชงิ อุปมาอปุ มยั
อาจกลาวไดวารากฐานการเกิดของนาฏศิลปไทยตามขอสันนิษฐานที่ไดกลาวมาน้ันท้ังการแสดงใน
รปู แบบของการฟอ นรํา และการแสดงในรูปแบบของการละครไดพัฒนาข้ึนตามลําดับ จนกลายเปนแบบแผน
ของการแสดงนาฏศิลปไ ทยท่ีมีความเปน เอกลักษณเดน ชัด
59
คําถามตรวจสอบความเขา ใจ
1. หลวงวจิ ิตรวาทการ ใหค วามมุงหมายของสุนทรียะวาอยา งไร
2. อารี สทุ ธิพนั ธุ ใหแนวคิดเก่ยี วกับความหมาย ของคําวา “สุนทรยี ศาสตร” ไวก่ีประเภท อะไรบาง
3. “สวนสาํ คัญสว นใหญของนาฏศลิ ปอ ยูท่กี ารละครเปน สาํ คญั ” เปน คาํ อธิบายของใคร
4. “สนุ ทรียะทางนาฏศิลปสากล” หมายถงึ อะไรในทัศนะคติของนักเรียน
5. ผูช มนาฏศลิ ปสากลจะตองมคี วามรูค วามเขา ใจเร่ืองอะไรบาง
6. นาฏศลิ ปท่ีแสดงในรูปแบบของการฟอ นรํามขี อ สันนษิ ฐานวา เกิดมาจากอะไร
60
เรอื่ งที่ 3 นาฏศิลปส ากลเพอื่ นบานของไทย
ประเทศในกลุมทวีปเอเชีย ซ่ึงมีวัฒนธรรมประจําชาติ ท่ีแสดงความเปนเอกลักษณ ตลอดท้ังเปน
สอื่ สมั พันธอ ันดีกับชาติตาง ๆ ลักษณะของนาฏศิลปของชาติเพื่อนบานไมวาจะเปนประเทศพมา ลาว กัมพูชา
มาเลเชยี จนี ธิเบต เกาหลี และญ่ปี ุน มักจะเนนในเร่ืองลลี าความสวยงามเกือบทุกเรื่อง ไมเนนจังหวะการใชเทา
มากนัก ซงึ่ แตกตา งจากนาฏศลิ ปข องตะวันตกท่มี กั จะเนนหนักในลลี าจงั หวะทร่ี ุกเรา ประกอบการเตนที่รวดเร็ว
และคลองแคลว นาฏศิลปของชาติเพอ่ื นบา นทีค่ วรเรยี นรูไดแก ประเทศดงั ตอ ไปนี้
1. นาฏศลิ ปประเทศพมา
2. นาฏศิลปป ระเทศลาว
3. นาฏศลิ ปป ระเทศกัมพชู า (เขมร)
4. นาฏศลิ ปประเทศมาเลเชีย
5. นาฏศลิ ปป ระเทศอินโดนีเซีย
6. นาฏศลิ ปประเทศอนิ เดยี
7. นาฏศลิ ปประเทศจีน
8. นาฏศลิ ปประเทศทเิ บต
9. นาฏศลิ ปป ระเทศเกาหลี
10. นาฏศิลปประเทศญีป่ นุ
นาฏศิลปประเทศพมา
หลังจากกรงุ ศรีอยธุ ยาแตกครงั้ ที่ 2 พมาไดร บั อทิ ธพิ ลนาฏศลิ ปไ ปจากไทย กอ นหนาน้นี าฏศลิ ปข องพมา
เปน แบบพื้นเมอื งมากกวา ทจ่ี ะไดรับอทิ ธิพลมาจากภายนอกประเทศเหมือนประเทศอื่นๆ นาฏศิลปพมาเร่ิมตน
จากพิธีการทางศาสนา ตอ มาเมอ่ื พมา ติดตอ กับอนิ เดียและจนี ทารา ยราํ ของสองชาติดังกลาวกม็ ีอิทธิพลแทรกซึม
ในนาฏศิลปพน้ื เมืองของพมา แตท า รายรําเดิมของพมา นนั้ มีความเปนเอกลักษณของตัวเอง ไมมีความเก่ียวของ
กับเรื่องรามายณะหรือมหาภารตะเหมือนประเทศเอเชยี อน่ื ๆ
นาฏศิลปและการละครในพมา นั้น แบง ไดเ ปน 3 ยุค คอื
1. ยคุ กอนนบั ถอื พระพุทธศาสนา เปนยคุ ของการนับถอื ผี การฟอนรําเปนไปในการทรงเจาเขาผี บูชาผี
และบรรพบุรษุ ทล่ี วงลับ ตอ มาก็มีการฟอ นราํ ในงานพธิ ตี า งๆเชน โกนจุก เปน ตน
2. ยคุ นบั ถือพระพทุ ธศาสนา พมานบั ถอื พระพทุ ธศาสนาหลงั ป พ.ศ. 1559 ในสมยั นีก้ ารฟอ นราํ เพอ่ื บูชา
ผกี ย็ งั มีอยู และการฟอนรํากลายเปน สว นหนึง่ ของการบูชาในพระพุทธศาสนาดว ย
หลังป พ.ศ. 1800 เกิดมีการละครแบบหน่งึ เรยี กวา “นิพัทข่ิน” เปนละครเร แสดงเรื่องพุทธประวัติเพ่ือ
เผยแพรความรใู นพระพุทธศาสนา เพอื่ ใหช าวบา นเขาใจไดงา ย
61
3. ยุคอิทธิพลละครไทย หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแกพมา ในป พ.ศ. 2310 ชาวไทยถูกกวาดตอนไปเปน
เชลยจาํ นวนมาก พวกละครและดนตรีถูกนาํ เขา ไปไวใ นพระราชสํานกั จงึ เกดิ ความนยิ มละครแบบไทยข้ึน ละคร
แบบพมายุคนเ้ี รียกวา “โยธยาสตั คยี” หรือละครแบบโยธยา ทาราํ ดนตรี และเรื่องทแี่ สดงรวมทั้งภาษาทีใ่ ชก็เปน
ของไทย มีการแสดงอยู 2 เรือ่ ง คือ รามเกยี รต์ิ เลน แบบโขน และอเิ หนา เลนแบบละครใน
ในป พ.ศ. 2328 เมียวดี ขาราชการสํานักพมาไดคิดละครแบบใหมขึ้นชื่อเร่ือง “อีนอง” ซ่ึงมีลักษณะ
ใกลเคียง กับอิเหนามาก ที่แปลกออกไปคือ ตัวละครของเร่ืองมีลักษณะเปนมนุษยธรรมดาสามัญท่ีมีกิเลส
มีความดคี วามชัว่ ละครเรือ่ งน้เี ปนแรงบันดาลใจใหเ กิดละครในแนวนีข้ นึ้ อกี หลายเรื่อง
ตอมาละครในพระราชสาํ นกั เส่ือมความนยิ มลง เมื่อกลายเปนของชาวบานก็คอ ยๆ เสอื่ มลงจนกลายเปน
ของนา รงั เกียจเหยยี ดหยาม แตละครแบบนิพทั ขิ่นกลับเฟองฟขู ึ้น แตมกี ารลดมาตรฐานลงจนกลายเปน จําอวด
เมอื่ ประเทศพมาตกเปนเมอื งขึ้นของอังกฤษแลว ในป พ.ศ. 2428 ละครหลวงและละครพื้นเมืองซบเซา
ตอมามกี ารนําละครทน่ี าํ แบบอยางมาจากองั กฤษเขาแทนท่ี ถงึ สมัยปจจุบันละครคูบานคูเมืองของพมาหาชมได
ยากและรกั ษาของเดิมไวไมคอยจะได ไมม กี ารฟนฟกู นั เนอื่ งจากบา นเมอื งไมอ ยูในสภาพสงบสุข
นาฏศลิ ปประเทศลาว
ลาวเปน ประเทศหนึง่ ทมี่ ีโรงเรยี นศิลปะดนตรแี หง ชาติ กอกําเนิดมาตงั้ แตป พ.ศ. 2501 โดย Blanchat de
la Broche และเจาเสถียนนะ จําปาสัก ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ การสอนหนักไปแนวทางพ้ืนบาน (ศิลปะ
ประจาํ ชาต)ิ ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2518 ไดเ ขารวมกับโรงเรียนศิลปะดนตรีของเทาประเสิด สีสาน มีช่ือใหม
วา “โรงเรียนศิลปะดนตรีแหง ชาต”ิ ขึ้นอยูกบั กระทรวงแถลงขาวและวัฒนธรรม มีครู 52 คน นักเรียน 110 คน
เรียนจบไดประกาศนียบัตรชั้นกลาง ผูมีความสามารถดานใดเปนพิเศษจะไดรับการสงเสริมใหเรียนตอใน
ตา งประเทศ หรือทําหนา ทเี่ ปน ครหู รือนักแสดงตอ ไป วชิ าท่เี ปด สอนมีนาฏศิลป ดนตรี ขบั รอ ง นาฏศิลปจะสอน
ทั้งท่ีเปนพื้นบาน ระบําชนเผา และนาฏศิลปสากล ดนตรี การขับรองก็เชนกัน สอนท้ังในแนวพ้ืนฐานและ
แนวสากล
นาฏศิลปป ระเทศกัมพชู า (เขมร)
นาฏศิลปเขมรนับไดวาเปนนาฏศิลปช้ันสูง (Classical Dance) มีตนกําเนิดมาจากที่ใดยังไมมีขอสรุป
ผูเชี่ยวชาญบางกลาววามาจากอินเดียเมื่อตนคริสตศตวรรษ แตบางทานกลาววามีข้ึนในดินแดนเขมร-มอญ
สมยั ดกึ ดาํ บรรพ หากจะศึกษาขอความจากศิลาจารึกก็จะเห็นไดวา นาฏศิลปช้ันสูงน้ีมีขึ้นมาประมาณ 1,000 ป
แลว คือ เม่อื ศตวรรษท่ี 7 จากศลิ าจารกึ ในพระตะบอง
เมือ่ ศตวรรษท่ี 10 จากศลิ าจารกึ ในลพบุรี
เม่ือศตวรรษท่ี 11 จากศิลาจารึกในสะดอกกอกธม
เมือ่ ศตวรรษท่ี 12 จากศิลาจารกึ ในปราสาทตาพรหม
ตามความเชือ่ ของศาสนาพราหม นาฏศลิ ปช ้นั สูงตองไดม าจากการรายรําของเทพธิดาไพรฟาท้ังหลายท่ี
ราํ รา ยถวายเทพเจา เมอื งแมน
62
แตสําหรับกรมศิลปากรเขมร สมัยกอนนั้นเคยเปนกรมละครประจําสํานักหรือเรียกวา “ละครใน”
พระบรมราชวังซงึ่ เปน พระราชทรัพยสวนพระองคของพระเจาแผน ดินทุกพระองค
ตอมา “ละครใน” พระบรมมหาราชวังของเขมร ไดถูกเปล่ียนชื่อมาเปนกรมศิลปากร และในโอกาส
เดียวกันกเ็ ปน ทรัพยส ินของชาตทิ ม่ี ีบทบาทสําคญั ทางดา นวฒั นธรรม ทําหนา ที่แสดงทัว่ ๆ ไปในตา งประเทศ
ในปจจุบนั กรมศลิ ปากรและนาฏศลิ ปช น้ั สูง ไดร บั ความนยิ มยกยองขนึ้ มาก ซง่ึ นับไดวาเปน สมบตั ลิ ้ําคา
ของชาติ
นาฏศลิ ปเ ขมรที่ควรรูจ กั
1. ประเภทของละครเขมร แบงออกไดดงั นี้
1.1 ละครเขมรโบราณ เปนละครด้ังเดิม ผูแสดงเปนหญิงลวน ตอมาผูแสดงหญิงไดรับคัดเลือกโดย
พระเจาแผน ดินใหเ ปน นางสนม ครสู อนจึงหนอี อกจากเมืองไปอยตู ามชนบท ตอมาพระเจาแผนดินจึงดูแลเรื่อง
การละครและไดโอนเขามาเปนของหลวง จึงเปลย่ี นช่ือวา “ละครหลวง” (Lakhaon Luong)
1.2 ละครที่เรียกวา Lakhaon Khaol เปนละครซ่ึงเกิดจากการสรางสรรคงานละครข้ึนใหมของบรรดา
ครผู สู อนระดบั อาวโุ สท่ีหนีไปอยใู นชนบท การแสดงจะใชผูชายแสดงลว น
1.3 Sbek Thom แปลวา หนงั ใหญ เปนการแสดงทใ่ี ชเงาของตัวหนุ ซึ่งแกะสลกั บนหนัง
2. ประเภทของการรา ยรํา แยกออกเปน 2 ประเภท ดังนี้
2.1 นาฏศลิ ปราชสํานักเชน
1) รําศิรพิ รชยั เปน การรา ยรําเพื่อประสิทธพิ รชยั
2) ระบําเทพบันเทิง เปนระบําของบรรดาเทพธดิ าท้งั หลาย
3) ระบาํ รามสรู กับเมขลา เปน ระบาํ เก่ียวกบั ตํานานของเมขลากับรามสูร
4) ระบาํ อรชนุ มังกร พระอรชุนนําบริวารเหาะเทย่ี วชมตามหาดทรายไดพบมณีเมขลาทก่ี าํ ลัง
เลน นํ้าอยกู ็รว มมอื กันราํ ระบาํ มงั กร
5) ระบํายี่เก แพรหลายมากในเขมร เพลงและการรา ยราํ เปนสว นประกอบสาํ คญั ของการแสดง
กอนการแสดงมักมกี ารขบั รอ งระลกึ ถงึ “เจนิ”
6) ระบาํ มติ รภาพ เปนระบําแสดงไมตรีจติ อนั บรสิ ุทธิ์ตอประชาชาตไิ ทย
2.2 นาฏศลิ ปพ นื้ เมอื ง เชน
1) ระบําสากบันเทงิ จะแสดงหลังจากการเก็บเกย่ี วเสร็จเรยี บรอย
2) ระบํากรบั บันเทิง ระบาํ ชุดนแ้ี สดงถึงความสนิทสนมในจติ ใจอนั บรสิ ทุ ธ์ขิ องหนุม สาวลกู ทงุ
3) ระบาํ กะลาบนั เทงิ ตามริมนา้ํ โขงในประเทศกัมพูชาชาวบานนยิ มระบาํ กะลามากในพธิ มี งคล
สมรส
4) ระบําจับปลา เปนระบําที่ประดิษฐขึ้นมาใหมโดยนักศึกษากรมศิลปากร หลังจากที่ไดดู
ชาวบานจับปลาตามทองนา
(ทมี่ า : สุมติ ร เทพวงษ, 2541 : 156-278)
63
นาฏศิลปม าเลเชีย
เปนนาฏศิลปท่ีมีลักษณะคลายกับนาฏศิลปชวา ซันตน และบาหลีมาก นาฏศิลปซันตนและบาหลี
กไ็ ดร บั อิทธพิ ลมาจากมาเลเชีย ซงึ่ ไดร ับอทิ ธพิ ลตกทอดมาจากพวกพราหมณข องอนิ เดียอกี ทีหนง่ึ ตอ มาภายหลัง
นาฏศลิ ปบ าหลี จะเปน ระบบอสิ ลามมากกวา อนิ เดีย เดิมมาเลเซียไดรับหนังตะลุงมาจากชวา และไดรับอิทธิพล
บางสว นมาจากอุปรากรจนี มลี ะครบงั สวนั เทา นน้ั ท่เี ปนของมาเลเซียเอง
ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 20 ชวามีอิทธิพลและครอบครองมาเลเซียตอนใตท่ีเปนเมืองข้ึนของ
สลุ ตานมายาปาหติ แหงชวา ทม่ี ะละกาน้นั เปน ตลาดขายเครอ่ื งเทศที่ใหญท่ีสุดของชวา ชาวมาเลเซียใชภาษาพูด
ถงึ 3 ภาษา คือมลายู ชวา และภาษาจีน ซง่ึ มที ัง้ แตจ ๋วิ ฮกเกีย้ น และกวางตุง
ชาวมาเลเซียรับหนังตะลุงจากชวา แตก็ไดดัดแปลงจนเปนของมาเลเซียไป รวมท้ังภาษาพูดมาเลเซีย
อีกดว ย
นาฏศลิ ปม าเลเชียท่คี วรรูจัก
1. ละครบังสวนั ของมาเลเซยี เปน ละครทีส่ ันนษิ ฐานไดวาจะเกิดข้นึ ในศตวรรษปจจุบันนี้ เรื่องที่แสดง
มักนยิ มนาํ มาจากประวัตศิ าสตรมาเลเซีย ละครบงั สวนั ยังมีหลายคณะ ปจจบุ นั น้ีเหลอื อยู 2 คณะ
ละครบังสวนั เปนละครพดู ท่ีมีการรอ งเพลงรา ยราํ สลับกนั ไป ผูแ สดงมีท้งั ชายและหญงิ เนอ้ื เร่ืองตดั ตอน
มาจากประวตั ศิ าสตรของอาหรับและมาเลเซยี ปจ จบุ นั มกั ใชเ ร่ืองในชีวติ ประจําวันของสังคมแสดง เวลาตัวละคร
รองเพลงมีดนตรีคลอ สมัยกอนใชเคร่ืองดนตรีพ้ืนเมือง สมัยน้ีใชเปยโน กลอง กีตาร ไวโอลิน แซกโซโฟน
เปนตน ไมม ลี กู คอู อกมารองเพลง การรา ยรํามีมาผสมบาง แตไ มมีความสําคัญมากนัก ตัวละครแตงตัวตามสมัย
และฐานะของตัวละครในเรื่องนนั้ ๆ ถา เปน ประวตั ศิ าสตรก ็จะแตง ตัวมากแบบพระมหากษัตริย และจะแตงหนา
แตพองามจากธรรมชาติ แสดงบนเวที เวทีทําเปนยกพื้น ซ่ึงสรางช่ัวคราว มีการชักฉากและมีหลืบ แสดงเวลา
กลางคนื และใชเวลาแสดงเรือ่ งละ 3-5 ช่วั โมง
2. เมโนราทหรือมโนหรา คือ นาฏศิลปท่ีจัดวาเปนละครรํา ผูแสดงจะตองรายรําออกทาทางตรงตาม
บทบาท ลีลาการรําออนชอยสวยงาม ละครรําแบบน้ีจะพบท่ีรัฐกลันตันโดยเฉพาะเทานั้นท่ีอ่ืนหาดูไดยาก
ตามประวตั ิศาสตรก ลา วกันวา ละครรําแบบน้ีมีมาต้ังแตสมัยอาณาจักรลิกอร (Ligor) ประมาณ 2,000 ปมาแลว
การเจรจา การรอ งบทในเวลาแสดงใชภาษามาเล ตัวละครเมโนราทใชผูชายแสดงท้ังหมด การแตงกายของตัว
ละครจะมีลักษณะแปลก คอื มีการใสหนา กากรปู ทรงแปลก ๆ หนา กากนัน้ ทาสีสนั ฉูดฉาดบาดตาเปนรูปหนาคน
หนายักษ หนาปศ าจ หนา มนุษยน ั้นมีสีซดี ๆ แลดนู า กลัว เวลาแสดงสวมหนา กากเตนเขาจังหวะดนตรี ตัวละคร
คลา ยโขน นิยมแสดงเรอ่ื งจักรๆวงศๆ สวนละครพนื้ บาน เคร่ืองดนตรีท่บี รรเลงในระหวางการแสดงคือ กลอง 2
หนาและกลองหนา เดียว นอกจาน้ันมีฆองราว ฆอ งวง ขลุย ป
3. แมกยอง (Magyong) มีลักษณะการแสดงเปนเรื่องราวแบบละคร คลายโนราห และหนังตะลุง
ของไทย แมกยองเปนศิลปะพ้ืนเมืองท่ีมีชื่อในหมูชาวกลันตัน ตรังกานู การแสดง จะมีผูหญิงกลุมหน่ึง
เรยี กวา Jong Dondang จะออกมาเตน รําเบกิ โรง หลังจากน้นั ก็เรมิ่ ซึ่งเรื่องท่จี ะแสดงจะเก่ียวกับวรรณคดี
64
4. การแสดงประเภทการรายรํา
4.1 ระบําซาปน เปน การแสดงฟอ นราํ หมู ซง่ึ เปน ศลิ ปะพ้ืนเมืองของมาเลเซียโบราณ
4.2 ระบําดรดตั เปน การเตน รําพืน้ เมือง ชุดนเ้ี ปน การเตน ในเทศกาลประเพณีทางศาสนา
4.3 ระบําอาชัค เปน การราํ อวยพรทีเ่ กา แกในราชสาํ นักของมาเลเซยี ในโอกาสท่ีตอนรบั ราชอันตุกะ
4.4 ระบําอัสรี เปนนาฏศิลปชั้นสูงในราชสํานักมาเลเซีย ซ่ึงแสดงออกถึงการเก้ียวพาราสี
อยา งสนกุ สนานของหนุม สาวมาเลเซยี
4.5 ระบาํ สมุ าชาว เปนนาฏศลิ ปพืน้ เมอื งของชาวมาเลเซียตะวันออก ไดแก แถบซาบาร การแสดงชุดน้ี
ชาวพนื้ เมอื งกําลงั รน่ื เริงกนั ในฤดกู าลเกบ็ เก่ยี วขา ว
4.6 วา วบหุ ลนั (ระบาํ วาวรูปพระจันทร) สําหรับการแสดงชุดนี้เปนการประดิษฐทาทาง และลีลาใหดู
คลายกบั วาว
4.7 จงอีหนาย เปนการรืน่ เรงิ ของชาวมาเลเซียหลังจากเก็บเกี่ยวจะชวยกันสีขาวและฝดขาวซ่ึงจะเรียก
ระบาํ นีว้ าระบาํ ฝด ขาว
4.8 เคนยาลัง เปนนาฏศิลปพ้ืนเมืองของชาวซาบารในมาเลเชียตะวันออก การแสดงชุดนี้เปนลีลาการ
แสดงท่คี ลายกบั การบนิ ของนกเงือก
4.9 ทดงุ ซะจี หรือระบาํ ฝาชี
4.10 โจเก็ต เปน นาฏศลิ ปพ ืน้ เมืองที่ชาวมาเลเซยี นยิ มเตนกันท่วั ๆไปเชนเดยี วกบั รําวงของไทย
4.11 ยาลาดัน เปนการแสดงท่ีไดรับอิทธิพลมาจากพอคาชาวอาหรับ ลีลาทาทางบางตอนคลายกับ
ภาพยนตรอาหรบั ราตรี
4.12 อีนัง จีนา คือ ระบําสไบของชาวมาเลเซีย ปกติหญิงสาวชาวมาเลเซียจะมีสไบคลุมศรีษะเมื่อถึง
คราวสนกุ สนานกจ็ ะนาํ สไบนี้ออกมารา ยรํา
4.13 การเดย่ี วแอคโคเดยี นและขับรองเพลง “คาตาวา ลากี” ซึ่งแปลเปนไทยไดวามาสนุกเฮฮา เพลงน้ี
นยิ มขับรอ งกนั แถบมะละกา
4.14 ลิลิน หรือระบาํ เทียนของมาเลเซีย
4.15 เดมปรุง (ระบาํ กะลา) เมื่อเสร็จจากการเก็บเก่ียว ชาวมาเลยจะมีงานร่ืนเริง บางก็ขูดมะพราวและ
ตาํ นา้ํ พรกิ จงึ นํากะลามะพรา วมาเคาะประกอบจงั หวะกนั อยางสนกุ สนาน
65
นาฏศิลปประเทศอินโดนเี ซีย
นาฏศิลปประเทศอินโดนีเซียทค่ี วรรจู ัก
1. นาฏศลิ ปชวา แบงไดด ังนี้
1.1 แบบยอกยาการตา คอื การแสดงแบบอยางของชาวชวาสว นกลางจะสอนใหนักเรียนรูจักนาฏยศัพท
ของชวาเสียกอน (Ragam-Ragam) และจะสอนรําจากงายไปหายากตามขั้นตอน การใชผาจะใชผาพันเอว
เรอ่ื งของดนตรจี ะดังและมที าํ นองกับเสน แบงจงั หวะมาก
1.2 แบบซรู าการต า เปน การแสดงสว นกลาง การเรยี นการสอนเหมือนกับยอกยาการตา แตทารําแปลก
ไปเล็กนอย การใชผ าก็จะใชผา แพรพาดไหล ดนตรจี ะมที วงทํานองนุมนวลและราบเรียบ เสน แบงจังหวะมนี อ ย
2. นาฏศิลปซุนดา ศิลปะของชาวซุนดาหนักไปทางใชผา (Sumpun) ซ่ึงมีลีลาเคลื่อนไหวไดสวยงาม
ในการรําซนุ ดาท่ีเปนมาตรฐานที่ช่ืนชอบในปจจุบันในชุมชนตะวันตกเฉพาะ และในชุมชนอินโดนีเซียท่ัวไป
คอื ราํ เดวี (Deve), เลยาปน (Leyapon), โตเปง ราวานา (Topang Ravana), กวนจารัน (Kontjaran), อันจาสมารา
(Anchasmara), แซมบา (Samba), เคน็ ดทิ (Kendit), บิราจงุ (Birajung) และ เรลาตี (Relate) นอกจากน้ียังมีศิลปะ
ท่บี คุ คลทัว่ ไปจะนยิ มมาก คอื ราํ ไจปง (Jainpong)
การเรียนการสอนเหมอื นแบบ Yogyakarta คอื สอนใหรจู กั นาฏยศัพทตา งๆ สอนใหรูจักเดิน รูจักใชผา
แลว จงึ เร่มิ สอนจากงายไปหายาก
3. นาฏศิลปบาหลี นาฏศลิ ปบ าหลีไดพัฒนาแตกตางไปจากชวา โดยมีลักษณะเราใจ มีชีวิตชีวามากวา
สวนวงมโหรี (Gamelan) ก็จะมีจงั หวะความหนกั แนน และเสียงดงั มากกวาชวากลางทม่ี ีทวงทํานองชาออนโยน
สิง่ สาํ คัญของบาหลีจะเก่ียวกับศาสนาเปน สวนใหญ ใชแสดงในพธิ ีทางศาสนาซึง่ มอี ยูทัว่ ไปของเกาะบาหลี
การสอนนาฏศิลปแตเดิมของบาหลีเปนไปในทางตรงกัน ครูจะตองจัดทาทาง แขน ขา มือ นิ้ว
ของลกู ศิษย จนกระทัง่ ลูกศิษยส ามารถเรยี นไดค ลอ งแคลวข้ึนใจเหมือนกบั การเลียนแบบ ซ่ึงวิธีการสอนนี้ยังคง
ใชอ ยจู นกระท่งั ปจจุบนั ท้ังในเมอื งและชนบท สําหรับผทู ่เี รมิ่ หัดใหมจะตองผานหลักสูตรการใชกลามเน้ือออน
หัดงา ย ซงึ่ เกีย่ วกบั การเคล่อื นไหว รา ยรํา การกมตัว มุมฉาก การเหยียด งอแขน เปนตน ตอมาผูฝกจะเริ่มสอน
นาฏศิลปแบบงายๆ เพื่อใหเหมาะสมกับผูเริ่มฝก เชน Pendet Dance ของนาฏศิลปบาหลี สําหรับเด็กหญิง
ตัวเล็กๆและจะสอนนาฏศลิ ปแบบยากข้ึนเรือ่ ยๆไปจนถึง Legong Kraton
นาฏศลิ ปอ ินเดีย
ในอดีตการฟอนรําของอินเดียมีลักษณะที่เกี่ยวของกับการบูชาพระศาสนา และการแสดงออกของ
อารมณมนุษย การเกิดการฟอนราํ ของอนิ เดยี น้ันไดหลักฐานมาจากรูปปน สาวกําลังราํ ทําดว ยโลหะสาํ รดิ เทคนิค
ของนาฏศิลปอนิ เดยี จะเกี่ยวพนั กับการใชรางกายทัง้ หมด จากกลามเน้ือดวงตา ตลอดจนแขน ขา ลําตัว มือ เทา
และใบหนา
66
การจดั แบงนาฏศลิ ปของอินเดียนัน้ จะมอี ยู 2 ลักษณะ คอื
1. นาฏศลิ ปแ บบคลาสสกิ
2. นาฏศิลปแ บบพน้ื เมือง
นาฏศิลปแ บบคลาสสิก
นาฏศลิ ปแบบคลาสสกิ มีอยู 4 ประเภท คอื ภารตนาฏยัม (Pharata Natyam) คาธะคาลี (Kathakali) คาธัค
(Kathak) และมณีบรุ ี (Manipuri) นาฏศลิ ปคลาสสิกท้งั หมดมี 3 ลักษณะ อยา งทีเ่ หมอื นกันคือ
1.1 นาฏยะ (Natya) นาฏศลิ ปนไดร บั การสงเสรมิ เหมอื นในละคร จากเวทีและฉากซง่ึ สง ผลอันงามเลศิ
1.2 นริทยะ (Nritya) นาฏศิลปนจะถายทอดหรือแปลนิยายเรื่องหนึ่ง ตามธรรมดามักจะเปนเร่ืองของ
วรี บุรุษจากโคลง-กาพย
1.3 นริทตะ (Nrita) เปนนาฏศิลปที่บริสุทธิ์ประกอบดวยลีลาการเคล่ือนไหวของรางกายแตอยางเดียว
เพอ่ื มผี ลเปน เคร่ืองตกแตงประดับเกียรติยศและความงาม
นาฏศิลปค ลาสสกิ ท้งั หมดมีส่งิ เหมือนกันคือ ลีลาช้ันปฐมตัณฑวะกับลาสยะ ซ่ึงเปนส่ือแสดงศูนยรวม
แหงศรัทธาของหลกั คิดแหงปรชั ญาฮินดู
“ตณั ฑวะ” หลักธรรมของเพศชายเปนเสมอื นการเสนอแนะความเปน วีรบรุ ษุ แขง็ แกรง กลา หาญ
“ลาสยะ” หลกั ธรรมขนั้ ปฐมของเพศหญงิ คอื ความออ นโยน นมุ นวล งามสงา สมเกียรติ (ลกั ษณะพเิ ศษ
ของนาฏศลิ ปค ลาสสิกของอินเดยี คือ การแสดงตามหลกั การไดท งั้ เพศชายและเพศหญิง)
นาฏศลิ ปคลาสสกิ ทคี่ วรรจู กั
1. ภารตนาฏยมั (Pharata Natyam) ภารตนาฏยัมเปนการฟอ นราํ ผูหญิงเพียงคนเดยี ว ซ่งึ ถือกําเนดิ มาใน
โบถว ิหาร เพอ่ื อุทศิ ตนทําการสกั การะดวยจิตวิญญาณ มีการเคลื่อนไหวที่สวยงาม แสดงทาทางแทนคําพูดและ
ดนตรี
2. คาธคั (Kathak) หรือ กถกั คาธัคเปนนาฏศิลปของภาคเหนือซ่ึงมีสไตลการเตนระบําเด่ียวเปนสวน
ใหญอยา งหนงึ่ คาธัคไมเ หมือนภารตนาฏยัม โดยทม่ี ปี ระเพณีนยิ มการเตน ระบําทั้ง 2 เพศ คือชายและ หญิง และ
เปน การผสมผสานระหวาความศักด์สิ ิทธ์ิของศาสนา และของฆราวาสนอกวดั แหลงกาํ เนดิ ของ “คาธัค” เปนการ
สวดหรือการทอ งอาขยาน เพื่อสกั การะหรอื การแสดงดวยทาทางของคาธคั คารา หรือมีผูเลานิยายเก่ียวกับโบสถ
วิหาร ในเขตบราจของรัฐอุตตรประเทศ พ้ืนที่เมืองมะธุระ วิรินทราวัน อันเปนสถานท่ีซึ่งเชื่อถือกันวา
พระกฤษณะไดประสูตทิ ี่น่นั ดว ยเหตนุ ้ชี ือ่ นาฏศิลปแ บบนี้ก็คือ “บะราชราอัส”
3. มณีบุรี (Manipuri) หรือ มณีปูร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย แวดลอมไปดวยเทือกเขา
เปนหบุ เขาอนั สวยงามของ “มณปี ูร” นาฏศลิ ปของมณีปูรส ว นใหญจ ะมีลักษณะเพอื่ บชู าสักการะทว งทาของลีลา
ฟอ นราํ อนั สงา งาม พืน้ รองเทา ท่แี ตะอยางแผว เบาและความละเมียดละไมของมือที่รายรําไปมา ทําใหนาฏสิลป
ของมณีปรุ ีแยกออกจากโครงสรา งทางเลขาคณติ (ประกอบดวยเสน ตรงและวงกลม) ของภารตนาฏยมั และมีลลี า
ตามระยะยาวอยางมคี ณุ ภาพของ “คาธคั ”
67
4. โอดิสสิ (Odissi) รัฐ “โอริสสา” อยูบนชายฝงทะเลดานตะวันออก เปนแหลงกําเนิดของรูปแบบ
นาฏศลิ ป “โอดสิ ส”ิ เปนทร่ี ูจักกันวาเตม็ ไปดวยความรูสึกทางอารมณสูง และมีทวงทํานองโคลงอันราเริง ลีลา
การเคลือ่ นไหวรายรํา มคี วามแตกตา งอยา งเหน็ ไดชัด จากระบบแผนนาฏศิลปคลาสสิกอ่ืนๆในอินเดยี
5. คูชิปูดี (Kuchipudi) รูปแบบนาฏศิลปท่ีงดงามล้ําเลิศน้ีไดชื่อมาจากหมูบานชนบทในรัฐอันตร
ประเทศ อันเปนถ่ินท่ีไดกอกําเนิดของนาฏศิลปแบบนี้ เหมือนกับแบบของการละครฟอนรําดวยเรื่องราวทาง
ศาสนา
6. คาธะคาลี (Kathakali) หรือกถกฬิ นาฏศิลปในแบบอินเดียท่ีสําคัญมากท่ีสุดก็คือ คาธะคาลีจากรัฐ
เคราลา (ในภาคใตของอนิ เดีย) เปน นาฏศลิ ปท ่ีไดรวมสว นประกอบของระบาํ บัลเลต อปุ กรณ ละครใบและละคร
โบราณแสดงอภินิหาร และปาฏิหาริยของปวงเทพ ท้ังยังเปนการฝกซอมพิธีการทางศาสนาในการเพาะกาย
อกี ดว ย
7. ยัคชากานา บายาลาตะ ยคั ซากานาเปนรูปแบบนาฏศิลปการละคร มีลลี าการเคลอ่ื นไหวอันหนักแนน
และมีคาํ พรรณนาเปนบทกวีจากมหากาพยอนิ เดีย ซ่ึงนาฏศลิ ปอ ินเดียไดแสดงและถายทอดใหไดเหน็ และซาบซ่งึ
ในยคั ซากานา (Yokshagana) ไมเ พยี งแตจ ะมีดนตรี และการกาวตามจังหวะฟอนรําเปน ของตนเองเทาน้นั แตก าร
แตงหนาและเคร่ืองแตงกายแบบ อาฮาระยะ อภินะยะ ไดรับพิจารณาลงความเห็นโดยผูเช่ียวชาญบางทานวา
หรูหรางดงามและสดใสยิง่ กวา คาธะคาลี
8. ชะฮู (Chhau) ชะฮเู ปนนาฏศลิ ปท่ีผสมผสานระหวา งคลาสสิกแทกับระบําพื้นเมืองทั้งหมด ซึ่งไมได
เปนของถ่ินใดๆ โดยเฉพาะ หากแตเปน นาฏศิลปอันยงิ่ ใหญข อง 3 รัฐ คอื รฐั พหิ าร รัฐโอรสิ สา และรัฐเบงกอล
นาฏศิลปจนี
นาฏศิลปจีนพัฒนามาจากการฟอนรํามาตั้งแตโบราณ มีหลักฐานเก่ียวกับระบําตางๆ ท่ีเกิดข้ึนของ
นาฏศลิ ปจ นี ดังนี้
1. สมยั ราชวงศซง ถงึ ราชวงศโ จวตะวันตก มีระบาํ เสาอู ระบําอูอู ปรากฏขึน้ เปน ระบําที่มุงแสดงความดี
ความชอบของผูปกครองฝา ยบุน และฝา ยบขู องราชการสมยั นัน้
2. สมัยปลายราชวงศโจวตะวันตก มีคณะแสดงเรียกวา “อิว” มาจากพวกผูดี หรือเจาครองแควนได
รวบรวมจดั ตั้งเปน คณะข้ึน แบง เปน ชางอวิ คือนกั แสดงฝายหญิงแสดงการรองรํา และไผอิว คือคณะนักแสดง
ฝายชาย แสดงทาํ นองชวนขนั และเสยี ดสี
3. สมัยราชวงศฮั่น ไดมีการแลกเปล่ียนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมกับชนชาติตางๆ ทําใหเกิดการ
แสดงตางๆขึ้น คือ ไปซ ี คือละครผสมผสานของศิลปะนานาชาติ และเจ่ียวต่ีซี่ คือ ละครผูกเปนเร่ือง มีลักษณะ
ผสมระหวา งการฟอนราํ กับกายกรรม
4. สมยั ราชวงศจนิ้ ราชวงศใต- เหนอื ถึงปลายสมัยราชวงศสุย การแลกเปล่ียนผสมผสานในดานระบํา
ดนตรีของชนชาติตา งๆไดพฒั นาไปอีกขน้ั หน่งึ
68
5. ราชวงศถงั เปน สมัยทีศ่ ลิ ปวฒั นธรรมยุคศกั ดนิ าของจีนเจริญรุงเรืองอยางเตม็ ท่ี มีหลายสิ่งที่เกดิ ขึน้ ใน
สมัยน้ไี ดแก
5.1 เปยนเหวินหรือสูเจียง เปนนิยายท่ีใชภาษางายๆมาเลาเปนนิทานทางศาสนาดวยภาพที่เขาใจงาย
หลังจากนั้นมกี ารขับรอ งและเจรจา
5.2 ฉวนฉ่ี เปนนยิ ายประเภทความเรียง โครงเรือ่ งแปลก เร่ืองราวซับซอ น
5.3 เกออูส้ี เปนศิลปะการแสดงที่มีบทรอง เจรจา แตงหนา แตงตัว อุปกรณเสริมบนเวที ฉาก
การบรรเลงเพลง คนพากย เปน ตน
5.4 ซันจุนสี้ เปนการผลัดกันซักถามโตตอบสลับกันไปของตัวละคร 2 ตัว คือ “ซันจุน” และ “ชางถู”
โครงเร่อื ง เปน แบบงา ยๆ มดี นกนั สดๆ เอาการตลกเสยี ดสเี ปนสาํ คัญ
6. สมัยราชวงศซง ศิลปะวรรณคดีเจริญรุงเรืองมาก พรอมท้ังมีสิ่งตางๆเกิดข้ึนไดแก การแสดง
ดงั ตอ ไปน้ี
6.1 ฮวา เปนหรอื หนังสือบอกเลา เปน วรรณคดพี ้นื เมืองทเี่ กิดขึน้
6.2 หวาเสอ คือ ยานมหรสพทเี่ กดิ ข้ึนตามเมอื งตา งๆ
6.3 ซูฮยุ คอื นักแตงบทละคร ซ่งึ เกดิ ข้นึ ในสมัยน้ี
6.4 ละคร “จา จ้วิ ” ภาคเหนอื หรืองิว้ เหนือ แบงออกเปน 2 ประเภท คือ ประเภทบทเจรจาเปนหลักและ
ประเภทรองราํ เปน หลัก ซง่ึ ก็คือ อปุ รากร
6.5 ละครหลานล้หี รือง้ิวใต ประยุกตศิลปะขบั รอ งกบั เลา นทิ านพื้นบา นเขา ดว ยกัน
7. สมัยราชวงศหยวน เปนสมัยท่ีละครหนานล้ีเร่ิมแพรหลาย และไดรับความนิยมจนละครจาจิ้ว
ตองปรับรายการแสดงเปนหนานล้ี ละครหนานลี้นับเปนวิวัฒนาการของการสรางรูปแบบการแสดงงิ้วที่
เปน เอกลักษณของจนี ทงั้ ยังสง ผลสะทอนใหแ กง วิ้ ในสมัยหลังเปน อยา งมาก
การแสดงงิว้ ในปจ จบุ ัน งว้ิ มบี ทบาทในสังคมของจีนโดยทั่วไป โดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู
ทกุ จังหวัด ประเภทของงวิ้ ท่ีแสดงในปจจุบนั พอจะแบง ออกเปนประเภทตางๆได เชน
1) จิงจวี้ หรือ ผิงจวี้ หรอื งว้ิ งวั กัง เปน งว้ิ ชน้ั สงู เปนแมบ ทของงิ้วอนื่ ๆ
2) ง้วิ แตจวิ๋ หรอื ไปจื้อซ่ี ผูแ สดงมีทัง้ เด็กและผูใหญ เปน ที่นิยมท่สี ุดในปจจุบนั
3) งว้ิ ไหหลํา ใชบทพดู จีนไหหลํา การแสดงคลา ยงิ้วงวั กงั
4) ง้วิ กวางตุง ใชบทเจรจาเปนจนี กวางตงุ มักแสดงตามศาลเจา
ลกั ษณะของงวิ้ งว้ิ ทีค่ นไทยสวนใหญไ ดพบเห็นในปจจบุ ันเปนประจํานน้ั มีลักษณะหลายอยา ง ดงั น้ี
1) มกั นยิ มแสดงตามหนา ศาลเจาตา งๆ ในงานเทศกาลของแตล ะทอ งถ่นิ น้นั ๆ ที่จดั ข้นึ โดยคนจีน
2) แนวความคิดนน้ั เปนการผสานความคิดของลัทธเิ ตา และแนวคําสอนของขงจอ้ื
3) เนนเร่ืองความสัมพนั ธในครอบครวั หนา ทท่ี ี่มตี อ กัน
4) เนนเร่ืองความสาํ คญั ของสังคมทีม่ ีเหนอื บุคคล
5) ถอื ความสขุ เปนรางวลั ของชวี ติ ความตายเปนการชําระลางบาป
69
6) ตัวละครเอกตองตาย ฉากสุดทายผูทาํ ผดิ จะไดรบั โทษ
7) ถือวาฉากตายเปน ฉาก Climax ของเรอื่ ง
8) จะตองลงดว ยขอ คดิ สอนใจ
9) ชนดิ ของละครมีทงั้ โศกปนสขุ
10) ผูหญงิ มกั ตกเปน เหยื่อของเคราะหกรรม
11) ใชผ ชู ายแสดงบทผูหญิงสมยั โบราณ ปจ จบุ ันใชชายจริงหญงิ แท
ผูแ สดง ง้ิวโบราณน้ันกาํ หนดตวั แสดงงว้ิ ไวต า ง ๆ กนั คือ
1) เชิง คอื พระเอก
2) ตา น คือ นางเอก
3) โฉว หรอื เพลาท่วิ คอื ตัวตลก
4) จ้ิงหรอื อูเมียน (หนา ดาํ ) คอื ตัวผูรา ย เชน โจโฉ
5) เมอะหรือเมอะหนี หรอื โอชา รบั บทพวกคนแก
6) จา หรอื โชวเกยี่ ะ ตัวประกอบเบด็ เตล็ด เชน พลทหาร คนใช เปน ตน
นาฏศลิ ปท ิเบต
นาฏศลิ ปทิเบตนนั้ การรา ยรําจะเก่ยี วพันกับพธิ บี วงสรวงเจา เซน วิญญาณ หรือพธิ ีกรรมทางพุทธศาสนา
ทิเบต มักจะแสดงเปนเร่ืองราวตามตํานานโบราณที่มีมาแตอดีต โดยจะแสดงในสถานที่ศักด์ิสิทธ์ิ เชน ในวัด
เปนตน ในการแสดงจะมีการรา ยราํ ตามจงั หวะเสยี งดนตรี ผแู สดงจะสวมหนากาก สมมติตามเร่ืองราวท่ีบอกไว
ผูแ สดงตองฝก มาพเิ ศษ หากเกิดความผดิ พลาดจะทาํ ใหความขลังของพิธีขาดไป พิธีสําคัญ เชน พิธีลาซัม ท่ีเปน
วธิ ีบชู ายัญทจ่ี ัดขนึ้ ในบรเิ วณหนาวดั เนื่องในงานสงทายปเกาตอนรับปใหม พิธีดังกลาวนี้อาจพูดไดวาเปนการ
รายรําบูชายัญดวยการเลนแบบโขน และเตนรําสวมหนากาก ตรงกลางที่แสดงจะมีรูปปนมนุษยทําดวยแปง
ขา วบารเลย กระดาษ หรอื หนงั ยคั (ววั ท่มี ีขนดก) การทาํ พิธีบชู ายญั ถือวาเปน การทําใหภ ตู ผปี ศ าจเกดิ ความพอใจ
ไมม ารบกวน และวญิ ญาณจะไดไปสูสวรรค อาจกลาวไดวาเปนการขับไลภูตผีปศาจ หรือกําจัดความช่ัวรายที่
ผานมาในปเ กา เพื่อเริม่ ตน ชวี ิตใหมดวยความสุข
ในการแสดงจะมีผูรวมแสดง 2 กลุม กลุมหน่ึงสวมหมวกทรงสูง ซ่ึงเรียกช่ือวา นักเตนหมวกดํา และ
อกี กลมุ หนึ่งเปนตัวละครทตี่ อ งสวมหนา กาก กลุมทสี่ วมหนา กากกม็ ีผูที่แสดงเปนพญายม ซึ่งสวมหนากากเปน
รูปหัววัวมีเขา ผูแสดงเปนวิญญาณของปศาจก็สวมหนากากรูปกะโหลก เปนตน ตัวละครจะแตงกายดวยชุด
ผา ไหมอยางดจี ากจีน
การรายรําหรือการแสดงละครในงานพิธีอ่ืนๆ มักจะเปนการแสดงเร่ืองราวตามตํานานพุทธประวัติ
เกียรติประวัติของผูนําศาสนาในทิเบต ตํานานวีรบุรุษ วีรสตรี ตลอดจนกระทั่งนักบุญผูศักด์ิสิทธ์ิ
ทรงอทิ ธปิ าฏหิ ารยิ ในอดีตการแสดงดังกลา วเปน ท่นี ยิ มของชาวทิเบตในทั่วไป ตางถือวาหากใครไดชมก็พลอย
ไดรบั กุศลผลบญุ ในพิธีหรอื มคี วามเปน สริ ิมงคลแกตนเอง ดวยเหตุนี้จึงกลาวไดวาเปนการชมดวยความเคารพ
เล่ือมใส
70
นาฏศิลปเกาหลี
วิวัฒนาการของนาฏศิลปเกาหลีก็ทํานองเดียวกับของชาติอื่นๆมักจะเริ่มและดัดแปลงใหเปนระบํา
ปลุกใจในสงครามเพ่ือใหกําลังใจแกนักรบ หรือไมก็เปนพิธีทางพุทธศาสนา หรือมิฉะน้ันก็เปนการรองรํา
ทําเพลงในหมูชนช้ันกรรมมาชีพ หรือแสดงกันเปนหมู นาฏศิลปในราชสํานักนั้นก็มีมาแตโบราณกาล
เชนเดียวกัน นาฏศิลปเกาหลีสมบูรณตามแบบฉบับทางการละครที่สุดและเปนพิธีรีตรอง ไดแก ละครสวม
หนากาก
ลักษณะของนาฏศลิ ปเ กาหลี
ลี ล า อั น ง ด ง า ม อ อ น ช อ ย ข อ ง น า ฏ ศิ ล ป เ ก า ห ลี อ ยู ที่ ก า ร เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ร า ง ก า ย แ ล ะ เ อ ว เ ป น สํ า คั ญ
ตามหลกั ทฤษฎี นาฏศิลปเกาหลมี ี 2 แบบ คือ
1. แบบแสดงออกซ่งึ ความรน่ื เรงิ โอบออมอารี และความออ นไหวของอารมณ
2. แบบพธิ กี าร ซ่ึงดดั แปลงมาจากวฒั นธรรมและประเพณีทางพทุ ธศาสนา
จดุ เดนของนาฏศิลปเกาหลีมีลักษณะคลายนาฏศิลปสเปนผูแสดงเคล่ือนไหวทั้งสวนบนและสวนลาง
ของรางกาย
นาฏศลิ ปเ กาหลีท่ีควรรูจัก
1.ละครสวมหนากาก เนื้อเร่ืองมักคลายคลึงกัน ลีลาการแสดงน้ันนําเอานาฏศิลปแบบตางๆ
มาปะติดปะตอกนั
2. ระบาํ แมม ด เปน นาฏศลิ ปอีกแบบหนึ่ง และการรองรําทาํ เพลงแบบลูกทุงนั้นกม็ ีชวี ิตชวี าอยางย่งิ
3. ระบําบวงสรวงในพิธีและระบําประกอบดนตรีที่ใชในพิธีราชสํานักซึ่งประกอบดวยบรรยากาศอัน
งดงามตระการตานาชมมาก
นาฏศิลปญ ี่ปุน
ประวตั ิของละครญีป่ ุนเร่ิมตนประมาณศตวรรษท่ี 7 แบบแผนการแสดงตางๆ ที่ปรากฏอยูในครั้งยังมี
เหลืออยู และปรากฏชัดเจนแสดงสมัยปจจุบันนี้ ไดแก ละครโนะ ละครคาบูกิ ปูงักกุ ละครหุนบุนระกุ ละคร
ชมิ ปะ และละครทาคาราสุกะ
การกาํ เนิดของละครญปี่ ุนกลาวกนั วา มกี าํ เนิดมาจากพ้ืนเมืองเปนปฐมกลาวคือ วิวัฒนาการมาจากการ
แสดงระบําบูชาเทพเจาแหงภเู ขาไฟ และตอมาญ่ปี ุนไดร บั แบบแผนการแสดงมาจากประเทศจีน โดยไดรับผาน
ประเทศเกาหลีชวงหนงึ่
นาฏศลิ ปญี่ปนุ ทีค่ วรรูจัก
1.ละครโนะ เปน ละครแบบโบราณ มกี ฎเกณฑแ ละระเบียบแบบแผนในการแสดงมากมาย ในปจ จุบันถือ
เปนศิลปะชน้ั สูงประจําชาติของญีป่ นุ ทตี่ อ งอนรุ กั ษเ อาไว
ในป พ.ศ. 2473 วงการละครโนะของญ่ีปุนไดมีการเคล่ือนไหวท่ีจะทําใหละครประเภทน้ีทันสมัยข้ึน
โดยจุดประสงคเ พื่อประยกุ ตก ารเขยี นบทละครใหมๆที่มีเนื้อเรอ่ื งทท่ี ันสมยั ข้ึน และใชภาษาปจจุบัน รวมทั้งให
ผูแสดงสวมเสื้อผาแบบทันสมัยนิยมดวย และยังมีส่ิงใหมๆ ท่ีนํามาเพ่ิมเติมดวยก็คือ ใหมีการรองอุปรากร
71
การเลน ดนตรรี าชสํานักงะงักกุ และการใชเ คร่อื งดนตรีประเภทเคร่ืองสาย ซ่ึงละครแบบประยุกตใหมน้ีเรียกวา
“ชนิ ชากโุ น”
บทละครโนะ ทางดานบทละครโนะน้ันมีช่ือเรียกวา “อูไท” (บทเพลงโนะ โดยแสดงในแบบของ
การรอ ง) อไู ทน้ไี ดห ลีกตอ การใชคําพูดที่เพอเจอฟุมเฟอยอยางที่ดี แตจะแสดงออกดวยทํานองอันไพเราะที่ใช
ประกอบกบั บทรองที่ไดก ลนั่ กรองจนสละสลวยแลว
บทละครโนะทง้ั อดีตและปจจบุ นั มีอยูประมาณ 1,700 เรอื่ ง แตน ําออกแสดงอยา งจริงจัง 40 เร่ืองเทาน้ัน
เน้อื เรื่องก็มีเรอ่ื งราวตางๆกัน โดยเปนนิยายเกีย่ วกับนกั รบ หรอื เร่ืองความเศราของผูหญิงซ่ึงเปนนางเอกในเร่ือง
และตามแบบฉบับของการแสดง
ลกั ษณะของละครโนะ
1) ยเู งน-โนะ ผูแสดงเปน ตวั เอก (ชเิ ตะ) ของละครยูเงน-โนะ จะแสดงบทของบุคคลผูท่ีละจากโลกนี้ไป
แลวหรือแสดงบทตามความคิดฝน โดยเคาจะปรากฏตัวข้ึนในหมูบานชนบทหรือสถานที่เกิดเหตุการณนั้นๆ
และมีการแสดงเด่ยี วเปน แบบเรื่องราวในอดีต
2) เงนไซ-โนะ ผแู สดงเปนตัวเอก (ชเิ ตะ) ของละคร เงนไซ-โนะ จะแสดงบทบาทของบุคคลที่มีตัวตน
จรงิ ๆ ซง่ึ โครงเรอ่ื งของละครนัน้ ไมไ ดสรา งขึน้ มาในโลกของการคิดฝน
เวทีละครโนะ เวทีแสดงละครโนะมีรูปส่ีเหล่ียมจัตุรัส ยาวประมาณดานละ5.4เมตรมีเสามุมละตน
พน้ื เวทแี ละหลงั คาทาํ ดว ยไมส นญ่ปี ุน ซึ่งวัสดุกอสรางที่เห็นสะดุดตาของเวที คือ ระเบียงทางเดินท่ียื่นจากเวที
ทางขวามือตรงไปยงั ดา นหลงั ของเวที สว นฝาผนังทางดา นหลังเวทีละครโนะ เปนฉากเล่ือนดวยไมสนญ่ีปุนและ
บนฉากก็จะเขยี นภาพตน สนอยา งสวยงามในแบบศิลปะอันมีชอื่ วา โรงเรยี นคาโนะ
ตามประวตั กิ ลา ววา เวทลี ะครโนะ เกา แกท สี่ ดุ ทย่ี ังคงมีเหลอื อยู คอื เวทลี ะครโนะภาคเหนือ ซ่ึงสรางข้ึน
ในป พ.ศ. 2124 ทบ่ี รเิ วณวัดนิชิออน งันจิ เมอื งเกียวโต และไดรบั การยกยอ งวา เปน สมบตั ทิ างวฒั นธรรมของชาติ
เครื่องดนตรี เคร่ืองดนตรีท่ีใชประกอบในการแสดงละครโนะน้ัน ใชเพียงเครื่องดนตรีชนิดเคาะ
ทีจ่ ะเปน บางชิ้นเทา นน้ั เชนกลองขนาดเลก็ (โคทสึซมึ ิ) กลองมอื ขนาดใหญ (โอสซึ ึม)ิ และกลองตี (ไตโกะ) และ
เครอื่ งเปา มีชนิดเดียว คอื ขลยุ (ฟเู อะ)
2. ละครคาบูกิ เปนละครอกี แบบหนงึ่ ของญ่ปี ุน ที่ไดรบั ความนิยมมากกวาละครโนะ มีลักษณะเปนการ
เช่ือมประสานความบันเทิงจากมหรสพของยุคเกาเขากับยุคปจจุบันคําวา “คาบูกิ” หมายถึง การผสมผสาน
ระหวา งโอเปรา บลั เลต และละคร ซ่งึ มีทัง้ การรอง การราํ และการแสดงละคร
ลกั ษณะพเิ ศษของละครคาบกู ิ
1) ฮานามิชิ แปลวา “ทางดอกไม” เปนสะพานไมกวางราว 4 ฟุตอยูทางซายของเวที ยื่นมาทางท่ีนั่งของ
คนดไู ปจนถึงแถวหลงั สดุ เวลาตัวละครเดนิ เขา มาหรือออกไปทางสะพานนี้
2) คู โร โง แปลวา นโิ กร จะแตงตวั ชดุ ดํา มีหนาท่คี อยชว ยเหลือผูแสดงในดา นตางๆ เชน การยกเกา อ้ีให
ผูแสดง หรือทาํ หนา ที่เปน คนบอกบทใหผ แู สดงดว ย
3) โอ ยา มา หรือ โอนนะกะตะ ใชเรยี กตัวละครท่แี สดงบทผหู ญิง
72
4) “คิ” ใชเ รียกผูเคาะไม ไมท เ่ี คาะหนาประมาณ 3 นิ้ว ยาวราว 1 ฟุต
5) หนาโรง ละครคาบกู ิท่ีขึ้นช่ือจะตองแขวนปายบอกนามผูแสดง และตราประจําตระกูลของผูนั้นไว
ดว ยหนาโรง
3. บูงกั กุ ลกั ษณะการแสดงเปนการแสดงที่มีลักษณะเปนการรายรําที่แตกตางจากการรายรําของญ่ีปุน
แบบอ่ืน คือ
1) บูงักกุ จะเนนไปในทางรายรําลวนๆ มากกวาที่จะเนนเนื้อหาของบทละคร ซึ่งถือวามีความสําคัญ
นอยกวาการรายรํา
2) ทา รําบูงักกุ จะเนน สวนสัดอันกลมกลืน ไมเฉพาะในการรําคู แมในการรําเด่ียวก็มีหลักเกณฑแบบ
เดียวกัน
สถานท่แี สดง ธรรมเนียมของบูงกั กทุ ีจ่ ะตอ งแสดงบนเวทกี ลางแจง ในสนามของคฤหาสนใหญๆ หรือ
วิหารหรอื วัด ตัวเวทีทาสีขาวน้ันมีผาไหมยกดอกสีเขียว รูปส่ีเหลี่ยมจัตุรัสดานละ 18 ฟุต ปูอยูตรงกลางเปนท่ี
รายรํามีบันไดขัดมันสีดําทั้งดานหนาและดานหลังของเวที สําหรับเวทีตามแบบฉบับที่ถูกตอง จะตองมี
กลองใหญ
2 ใบตั้งอยูดา นหลงั ของเวที แตละใบประดับลวดลาย มีสแี ดงเพลิง มเี สน ผา นศูนยกลางประมาณ 4 ฟุต
บทละคร บทละครของบงู กั กุมีอยูป ระมาณ 60 เรื่องซ่ึงรับชวงตอมาตั้งแตสมัยโบราณ สามารถแบงได
เปน 2 ประเภทใหญต ามวัตถุประสงค คือ
1) ตามแบบฉบับการรายรําของทองถ่ินท่ีเช่ือกันวาเปนตนกําเนิดของบทละคร ซ่ึงแบงออกเปน
2 ประเภท คอื
- ประเภทที่เรยี กวา “ซาไม” หรอื การราํ ซาย ซึ่งรวมแบบรา ยราํ จากจนี อนิ เดยี
- ประเภททเ่ี รยี กวา “อุไม” หรือแบบการราํ ขวา ซ่งึ รวมแบบการรายราํ แบบเกาหลีและแบบอ่นื ๆ
2) ตามวตั ถปุ ระสงคของการแสดงซ่งึ แบงประเภทรา ยราํ ออกเปน 4 ประเภท คอื
- แบบบไุ ม หรอื การรายรําในพิธีตา งๆ การรายราํ “ซนุ เดกะ” ก็รวมอยูดว ย
- แบบบูไม หรือการรายราํ นักรบ การราํ บท “ไบโร” รวมอยูใ นแบบนี้ดวย
- แบบฮาชริ ไิ บ หรอื การรา ยราํ ว่ิง และรวมบทราํ ไซมากซุ า และรนั เรียวโอะไวดว ย
- แบบโดบุ หรอื การรา ยรําสาํ หรับเด็กมกี ารรําซา ย “รันเรียวโอะ” รวมอยดู วย
4. ละครหุนบุนระกุ กําเนิดของละครหุนบุนระกุ นับยอนหลังไปถึงศตวรรษท่ี 16 แบบฉบับที่เปนอยู
ในปจจุบันไดพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 18 การแสดงละครหุนบุนระกุมีเปนประจําท่ีโรงละครบุนระกุชา
ในนครโอซากา และมีการแสดงในโตเกียวเปนคร้ังคราว ตัวหุนประณีตงดงามมีขนาดคร่ึงหนึ่งขององคจริง
ผทู ี่ควบคุมใหหนุ เคลอ่ื นไหวในทาตางๆ นัน้ มถี งึ 3 คน การแสดงหุนมีการบรรยายและดนตรีซามิเซนประกอบ
ทาํ ใหเ กดิ ภาพแสดงอารมณแ ละความรูสึกของมนุษย
73
5. ละครชมิ ปะ คือละครที่ทาํ หนา ที่เปน ประหนึ่งสะพานเช่อื มระหวางละครสมัยเกาและละครสมัยใหม
ชมิ ปะนก้ี อ กาํ เนิดข้ึนในตอนปลายศตวรรษที่ 19 และมีลักษณะด้ังเดิมคลายคาบูกิ เชน แตเดิมใชตัวแสดงเปน
ชายลวน แตปจจุบันมีแผนการแสดงตามธรรมชาติ โดยปกติแสดงถึงความเปนอยูของชาวบานคนธรรมดา
และตวั แสดงมีทั้งชายและหญงิ
6. ละครทาคาราสุกะ เปนละครสมัยใหมแบบเฉลิมไทย แตมีระบํามากมายหลายชุดและรองเพลง
สลบั เร่ืองชนิดนี้ เรยี กวา ทาคาราสุกะ ประชาชนนิยมดกู ันมาก เพราะมักเปนเรื่องตลก ตัวระบําแตละตัวมาจาก
ผหู ญงิ นับพัน ละครทาคาราสุกะนอ้ี าจจะแสดงเปนเรื่องญป่ี นุ ลวน หรอื เปน เร่ืองฝรง่ั แตงตัวแบบตะวันตก
คาํ ถามตรวจสอบความเขาใจ
1. ลกั ษณะพิเศษของนาฏศิลปและการละครในประเทศพมา คืออะไร
2. ละครเรของพมา ที่แสดงเรอ่ื งพทุ ธประวัตเิ รียกวาอะไร
3. ละครแบบพมาท่ีเรยี กวา “โยธยาสตั คยี” ไดรบั อิทธิพลมาจากประเทศใด
4. ใครเปน ผูกอ กําเนดิ สถาบันการศกึ ษานาฏศลิ ปแ ละดนตรีของประเทศลาว
5. ตามความเชอ่ื ของศาสนาพรามณนาฏศิลปชัน้ สงู ตองมาจากอะไร
6. “ละครใน” พระบรมหาราชวังของเขมร ไดถกู เปล่ยี นชื่อเปนอะไร
7. ละคร Lakhaon Khaol เกิดจากการสรา งสรรคงานละครขึ้นใหมโดยใคร
8. อธบิ ายความหมาย “การราํ ศริ ิพรชยั ” ของเขมรมาโดยสังเขป
9. ระบําของเขมรที่แสดงถงึ ความสนทิ ใจอันบริสทุ ธิ์ของหนุมสาวลกู ทงุ เรียกวาอะไร
10. ละครบังสวันของมาเลเซียเปนละครประเภทใด
11. มโนราหของมาเลเซยี เหมือนและแตกตางกับละครนอกของไทยอยา งไร
12. กีตารแ บบอาระเบยี นมีลกั ษณะและวธิ ีการเลน อยา งไร
13. เครื่องดนตรที ่ใี ชบรรเลงในการเตน ราํ โรดตั มีอะไรบาง
14. การแสดงทน่ี ยิ มแสดงกนั ในงานมงคลสมรสของชาวมาเลยคอื การแสดงอะไร
15. เพลง “คาตาวา ลาก”ี ของมาเลเซียมคี วามหมายในภาษาไทยวา อะไร
16. การสอนแบบยอกยาการตาของอนิ โดนเี ซยี คอื การสอนลกั ษณะใด
17. การใชผ าพันแบบยอกยาการต ากบั แบบซูราการตาแตกตางกนั อยางไร
18. นาฏศลิ ปแบบสดุ ทายที่ยากท่ีสุดของบาหลีคืออะไร
19. “วายัง” ของอนิ โดนีเซียเปน การแสดงลักษณะแบบใด
20. การแสดงหนังคนเปน “วายัง” ลกั ษณะใด
21. หลกั ฐานการเกดิ ฟอนรําของอนิ เดยี คอื อะไร
22. นาฏศลิ ปคลาสสกิ ของอนิ เดยี ทง้ั หมดมี 3 อยา งทเ่ี หมอื นกนั คอื อะไรบาง
23. อธบิ ายความหมายของ “ตณั ฑวะ” และ “ลาสยะ” ในอนิ เดีย
74
24. นาฏศิลป “คาธคั ” ของอินเดยี มีแหลงกาํ เนิดมาจากอะไร
25. จงั หวะการเตน ระบาํ หมนุ ตัวรวดเรว็ ดุจสายฟา แลบเรยี กวา อะไร
26. นาฏศิลปอ ินเดียในแบบละครท่ีสาํ คัญมากที่สุดคอื อะไร
27. ระบาํ ที่มุง แสดงความดีความชอบของผูปกครองฝายบุนและฝา ยบขู องขาราชการคือระบาํ อะไร
28. ศลิ ปวฒั นธรรมยคุ ศกั ดนิ าของจีนเจริญรุงเรืองอยางเต็มท่ีในสมยั ใด
29. วรรณคดปี ากเปลาของจนี เรยี กวา อะไร
30. งว้ิ ชั้นสงู ที่เปน แมบ ทของง้วิ อืน่ ๆคืออะไร
31. เพราะอะไรจงึ หามนาํ ปูทะเล ลูกหมา ลกู แมว ขึ้นไปบนเวทแี สดงง้ิว
32. พธิ ลี าซัมของทเิ บตมีลักษณะอยางไร
33. นาฏศิลปเกาหลีสมบรู ณตามแบบฉบบั ทางการละครและเปน พธิ ีรตี องทสี่ ดุ คอื อะไร
34. จุดเดน ของนาฏศลิ ปเกหลมี ีลักษณะคลา ยนาฏศลิ ปสเปนอยา งไร
35. ละครญ่ีปุนมกี ําเนดิ มาจากอะไร
36. ละครโนะ แบบประยุกตใ หมเรยี กวาอะไร
37. ประโยชนสาํ คญั ของ “ทางดอกไม” ในละครคาบูกคิ อื อะไร
38. ใครเปนผใู หกาํ เนดิ ละครคาบกู ิ
39. บทละครของบูงักกุแบบใดแตง ข้ึนใหเดก็ ราํ โดยเฉพาะ
40. ละครสมัยใหมแ บบเฉลมิ ไทย แตม ีระบาํ มากมายหลายชดุ และรองสลับเรือ่ งเรียกวา อะไร
75
เร่อื งท่ี 4 ละครทไ่ี ดร ับอทิ ธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 วัฒนธรรมทางนาฏศิลปของตะวันตกไดกระจายแพรหลายเขามาในประเทศไทย
ทําใหเ กดิ ละครแบบตางๆ ข้นึ เชน ละครดกึ ดําบรรพ ดังท่ีไดกลาวไปบางแลวในตอนตน แตละครดึกดําบรรพ
ยังคงใชท า รําของไทยเปน หลกั และถอื ไดวาเปนนาฏศิลปของไทยอยางสมบูรณ สวนละครที่นําแบบอยางของ
ตะวนั ตกมาแสดงคือละครทไี่ มใชท ารําเลย ใชแตกิริยาทาทางของคนธรรมดาสามัญท่ีปฏิบัติกันอยูในชีวิตจริง
เทา นน้ั ไดแก
1. ละครรอง เปนละครที่ใชทาทางแบบสามัญธรรมดา ไมมีการรายรํา แสดงบนเวที และมีการเปลี่ยน
ฉากตามทอ งเร่ือง ละครรอ งแบง เปน 2 ประเภท คอื
1) ละครรองลวนๆ การดําเนินเร่ืองใชเพลงรองตลอดเร่ือง ไมมีคําพูด ละครรองลวนๆ เชนบทละคร
เร่อื งสาวิตรี พระราชนิพนธใ นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหวั เปน ตน
2) ละครรองสลับพูด การดําเนินเรื่องมีท้ังรองและพูด แตยึดถือการรองเปนสําคัญ การพูดเปนเพียง
สอดแทรกและบทพูดทบทวนบทที่รองจบไปแลวเทานั้น ละครรองประเภทนี้ไดรับความนิยมและรูจักกัน
แพรห ลาย ดังน้นั เมือ่ กลา วถงึ ละครรองมักจะหมายถงึ ละครรองสลับพูดกนั เปน สว นใหญ ละครรองสลับพูด เชน
สาวเครอื ฟา ตกุ ตายอดรกั เปนตน
2.ละครพดู เปนละครท่ใี ชศ ลิ ปะในการพูดดําเนินเรอ่ื ง เปนละครแบบใหมทสี่ มเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช
เจาฟามหาวชริ าวธุ สยามมงกฎุ ราชกมุ าร ทรงเปน ผูใหกาํ เนิด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว
ละครพดู จะแบงได 2 ประเภท คือ
1) ละครพูดลวนๆ ดาํ เนินเรื่องดวยวธิ กี ารพูด ตัวละครแสดงทาทางตามธรรมชาติประกอบบทบาทไป
ตามเน้อื เรือ่ ง เปนละครที่ไดรับความนยิ มจนทกุ วันน้ี เพราะแสดงไดงายแบบสามัญชน ตัวละครไมตองใชเวลา
ฝกฝนเปนเวลานานๆเหมือนละครรํา ไมตองมีดนตรีหรือการรองเพลง แตมีฉากและเปลี่ยนฉากตามทองเรื่อง
เรอ่ื งทีน่ ํามาแสดงอาจแตง ขึน้ หรือดัดแปลงมาจากตา งประเทศกไ็ ด
2) ละครพูดสลบั ลํา ลาํ หมายถึง ลํานําหรือเพลง ละครพูดสลับลําจะดําเนินเรื่องดวยการพูดและมีการ
รอ งเพลงแทรกบาง เชน ใหตัวละครรองเพื่อแสดงอารมณของเร่ืองหรือตัวละคร ซ่ึงหากตองการตัดเพลงออก
จะตองไมเสียเร่ือง และเมอ่ื ตดั ออกก็เปนเพียงละครพูดธรรมดา เรื่องที่ใชแสดง เชน เรื่องปลอยแก ของนายบัว
ทองอิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวทรงพระราชนิพนธบทรองแทรก โดยใชพระนามแฝงวา
“ศรอี ยุธยา”
76
เรอ่ื งที่ 5 ประเภทของละคร
ละครสามารถแบงเปน 2 ประเภทใหญๆ คอื ละครสากล และละครไทย
ละครสากล
ละครสากลแบง ออกเปนประเภทไดด งั น้ี
1. ละครประเภทโศกนาฎกรรม (Tragedy) เปน วรรณกรรมการละครท่เี กา แกทส่ี ดุ และมคี ุณคา สูงสดุ ใน
เชงิ ศลิ ปะและวรรณคดี ละครประเภทนถ้ี ือกําเนิดขนึ้ ในประเทศกรซี และพัฒนาไปสูค วามสมบูรณภายใตการนํา
ของ เอสดิลุส (Aeschylus,525-456 B.C.) โซโปคลีส (Sophocles, 496-406 B.C.) และยูริพิดีส (Euripides,484-
406 B.C.)เปนละครท่ีพยายามตอบปญหาหรือตั้งคําถามท่ีสําคัญๆ เก่ียวกับชีวิตท่ีตองนํามาใหผูชมตองขบคิด
เชน ชีวติ คืออะไร มนุษยคืออะไร อะไรผิด อะไรถูก อะไรจริง ภายใตจ กั รวาลทีเ่ ตม็ ไปดวยความเรนลับ ละคร
ประเภทน้ถี อื กําเนดิ จากพธิ ีทางศาสนา จึงนับวาเปน ละครทีม่ คี วามใกลช ิดกบั ศาสนาอยมู าก แมในปจจุบันละคร
แทรจิดี ท่ีมีความสมบูรณยังสามารถใหความรูสึกสูงสง และความบริสุทธิ์ทางจิตใจไดดวยการช้ีชวนแกม
บงั คับให มองปญหาสาํ คัญ ๆ ของชวี ติ ทําใหไดต ระหนักถึงคุณ คาของความเปนมนุษย กลาเผชิญความจริง
เก่ยี วกบั ตนเองและโลก และมองเหน็ ความสําคญั ของการดํารงชีวิตอยางมีคณุ คาสมกับทไ่ี ดเ กิดมาเปนมนษุ ย
ลกั ษณะสําคญั ของละครประเภทโศกนาฎกรรม
1. ตองเปนเรอ่ื งทีแ่ สดงถงึ ความทกุ ขทรมานของมนษุ ย และจบลงดว ยความหายนะของตวั เอก
2. ตวั เอกของแทรจดิ จี ะตอ งมีความยิง่ ใหญเ หนือคนทั่วๆไป แตในขณะเดียวกันก็จะตองมีขอบกพรอง
หรอื ขอ ผดิ พลาดท่เี ปนสาเหตุของความหายนะท่ีไดร บั
3. ฉากตา งๆทแ่ี สดงถงึ ความทรมานของมนุษยจะตองมีผลทําใหเกิดความสงสาร และความกลัวอันจะ
นาํ ไปสคู วามเขา ใจชวี ติ
4. มีความเปน เลศิ ในเชิงศิลปะและวรรณคดี
5. ไดค วามรสู กึ อนั สูงกวา หรือความรสู ึกผองแผว จริงใจ และการชําระลา งจิตใจจนบรสิ ทุ ธ์ิ
2. ละครประเภทตลกขบขัน ตามหลักของทฤษฎีการละครที่เปนที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้นมักจะถือวา
ละครประเภทตลกขบขนั แยกออกเปน 2 ประเภทใหญๆ คอื
1) ละครตลกชนิดโปกฮา (Farce) ใหความตลกขบขันจากเร่ืองราวหรือเหตุการณที่เหลือเช่ือเปนการ
แสดงทรี่ วดเรว็ และเอะอะตึงตงั
2) ละครตลกทมี่ ีลกั ษณะเปน วรรณกรรม (Comedy) บางเร่อื งเปนวรรณกรรมชั้นสูงท่ีนับเปนวรรณคดี
อมตะของโลก เชน สขุ นาฎกรรม (Romantic Comedy) ของเชกสเปยร (Shakespeare) ละครตลกประเภทเสียดสี
(Satiric Comedy) ของโมลิแยร (Moliire) และตลกประเภทความคิด (Comedy of Ideas) ของจอรจ เบอรนารด
ชอว (George Bernard Shaw) เปนตน ละครคอมเมดีมีหลายประเภท ดงั น้ี
77
- สุขนาฏกรรม (Romantic Comedy) ละครคอมมาดีประเภทนี้ถือเปนวรรณกรรมชั้นสูง เชน สุข
นาฎกรรมของวิลเลี่ยม เชกเสปยร เรื่อง เวนิชวานิช (The Merchants of Venice) ตามใจทาน (As You Like It)
และทเวลฟร ไนท (Twlfth Night) เปนตน ละครประเภทนี้นิยมแสดงในเรื่องราวท่ีเต็มไปดวยจินตนาการและ
ความคิดสรางสรรค แตก็เปนเรื่องราวที่นาเช่ือสมเหตุสมผล ตัวละครประกอบดวยพระเอกนางเอกท่ีมีความ
สวยงามตามอุดมคติ พูดจาดวยภาษาที่ไพเราะเพราะพร้ิง และมักจะตองพบกับอุปสรรคเก่ียวกับความรักใน
ตอนตน แตเร่อื งก็จบลงดว ยความสุข ซ่ึงมักจะเปนพิธีแตงงานหรือเฉลิมฉลองที่สดช่ืนร่ืนเริง บทบาทสําคัญที่
ดึงดูดความสนใจและเรียกเสียงหัวเราะจากคนดูในละครประเภทสุขนาฏกรรมนี้ มักไปตกอยูกับตัวละคร
ทม่ี ลี กั ษณะเปนตัวตลกอยางแทจ ริงซงึ่ ไมใ ชตัวพระเอก หรอื นางเอก ตัวตลกเหลานี้รวมถึงตัวตลกอาชีพ (Clown)
ที่มหี นาทท่ี าํ ใหคนหวั เราะดว ยคาํ พดู ทคี่ มคายเสยี ดสี หรอื การกระทําทต่ี ลกโปกฮา
- ละครตลกชั้นสงู (Hight Comedy) หรอื ตลกผูดี (Comedy of Manners) เปน ละครทล่ี อเลยี นเสียดสีชีวิต
ในสังคม เฉพาะอยางยิ่งในสังคมชั้นสูง ซึ่งมีกฎเกณฑขอบังคับมากมาย ความสนุกสนานขบขันของผูชม
เกิดจากการทีไ่ ดเหน็ วธิ กี ารอนั แยบยลตางๆ ที่ตวั ละครในเรื่องนํามาใชเพ่ือหลกี เล่ียงกฎขอ บงั คับของสงั คม
- ละครตลกประเภทเสียดสี (Satiric Comedy) ละครตลกประเภทน้ีมีลักษณะใกลเคียงกับตลกช้ันสูง
แตเนน การเสียดสโี จมตีวิธีการท่ีรุนแรงกวา ในขณะท่ีละครตลกช้นั สงู มงุ ลอเลยี นพฤติกรรมของคนในวงสังคม
ช้นั สงู ละครตลกเสียดสีจะมุงโจมตีขอบกพรองของมนุษยโดยท่ัวไป ไมจํากัดวาจะตองอยูในแวดวงสังคมใด
ละครตลกประเภทน้ีมุงทจ่ี ะแกไขส่ิงบกพรองในตัวมนุษยและสงั คม ดวยการนําขอบกพรองดังกลาวมาเยาะเยย
ถากถางใหเปนเรื่องขบขันและนาละอาย เพ่ือท่ีวาเม่ือไดดูละครประเภทนี้แลวผูชมจะไดมองเห็นขอบกพรอง
ของตนเกดิ ความละอายใจ และพยายามปรบั ปรงุ แกไ ขตอไป
- ละครตลกประกอบความคิด (Comedy Ideas) ละครตลกประเภทนี้ใชวิธีลอเลียนเสียดสี แตเนนการ
นําเอาความคิดความเช่ือของมนุษยท่ีผิดพลาดบกพรองหรือลาสมัย มาเปนจุดที่ทําใหผูชมหัวเราะ
โดยมีวัตถุประสงคท่ีจะทําใหผ ชู มกลบั ไปคิดแกไขขอบกพรองในความคิดความเช่ือของตนเองและของสังคม
โดยสวนรวม จงึ เรยี กละครประเภทน้ีอกี อยา งหนงึ่ วา “ละครตลกระดับสมอง (Intellectual Comedy) ซง่ึ จัดอยูใน
ระดบั วรรณกรรมเชนกัน นักเขยี นทีเ่ ปนผูนําในการประพนั ธล ะครตลกน้ี ไดแ ก จอรจ เบอรนารด ซอร (George
Bernard Shaw)
- ละครตลกประเภทสถานการณ (Situation Comedy) ละครตลกประเภทน้ีมักเกิดจากเรื่องราวที่สับสน
อลเวงประเภทผดิ ฝาผดิ ตัว ซึ่งสวนใหญเปนเร่ืองบังเอิญแทบท้ังสิ้น ลักษณะของการแสดงก็มักจะออกทาออก
ทางมากกวาตลกช้ันสงู
- ละครตลกประเภทโครมคราม (Slapstick Comedy) ละครตลกประเภทน้ีมีลักษณะเอะอะตึงตัง มักมี
การแสดงประเภทว่งิ ไลจ ับกัน และการตีก็มกั จะทาํ ใหเกดิ เสยี งอกึ ทกึ ครกึ โครมมากวา ทจี่ ะทําใหใหใ ครเจบ็ จรงิ ๆ
ละครประเภทนมี้ ีความแตกตางจากคอเมดชี น้ั สูงมาก และมคี วามใกลเ คียงไปทางละครฟารส มากกวา
78
- ละครรกั กระจุมกระจิ๋ม (Sentimental Comdy) และละครตลกเคลาน้ําตา (Tearful Comedy) ละครตลก
ประเภทน้ี จดั อยใู นประเภทละครเรงิ รมยท่ีเขยี นขึ้น เพ่อื ใหถ ูกใจตลาดเชน เดียวกับละครชวี ิตประเภทเมโลดรามา
(Melodrama) และมลี ักษณะใกลเคยี งไปทางเมโลดรามามากกวาคอมเมดี เพราะผูเขียนใหความเห็นอกเหน็ ใจกับ
ตวั เอกมาก ผิดกับลกั ษณะของการเขียนประเภทคอมมาดี ซงึ่ มกั จะลอ เลยี น หรือเสียดสโี ดยปราศจากความเหน็ ใจ
และความตลกของตวั เอก และความตลกของตวั เอกมักจะนาเอ็นดู สวนใหญแ ลว ตลกมักจะมาจากตัวคนใชหรือ
เพื่อนฝงู ของพระเอกนางเอกมากกวา
3. ละครอิงนิยาย (Romance) เปนเรื่องราวท่ีมนุษยใฝฝนจะไดพบมากกวาที่จะไดพบจริงๆ
ในชีวิตประจําวัน ละครประเภทน้ีมีลักษณะท่ีหลีกไปจากชีวิตจริงไปสูชีวิตในอุดมคติ รูปแบบของละคร
โรมานซน ยิ มการสรางสรรคอยา งมสี าระเตม็ ทโี ดยไมยึดถือกฎเกณฑใดๆ ผูเขียนบทละครสามารถวางโครงเรื่อง
โดยนําเหตุการณมาตอกันเปนตอนๆ ในดานภาพและเสียงและมักเปนบทท่ีนําไปจัดแสดงดวยฉาก แสง สี
และเครือ่ งแตงกายท่ีงดงามตระการตา สวนในดานการแสดง ละครโรมานซนิยมใชการเคล่ือนไหวท่ีนุมนวล
คลองแคลว งดงาม และไมพยายามลอกเลยี นการกระทําท่ีใกลเ คยี งกับชีวติ จริงจนเกินไป อาจใชลลี าทสี่ รา งสรรค
ขึน้ ใหมีความงดงามมากกวาชวี ติ จริงและเปนสัญลกั ษณของส่งิ ทต่ี อ งการจะสือ่ ตอผชู ม
4. ละครประเภทเริงรมย (Melodrama) หมายถงึ ละครทีถ่ อื ความสําคญั ของโครงเร่ือง (Plot) หรือความ
สนกุ สนานของการดําเนินเร่ืองเปนสําคัญ ตัวละครมีความสําคัญลองลงมา จึงใชตัวละครเปนเครื่องมือในการ
เลาเรื่อง ที่สนุกสนาน และเพื่อใหเขาใจงาย ติดตามทองเร่ืองไดงาย จึงนิยมใชตัวละครประเภท “ตายตัว”
(Typed Characters) เชนพระเอก นางเอก ผูร า ย เปน ตน
5. ละครสมยั ใหม (Modern drama) มแี นวทางดงั นี้
1) ละครสมัยใหมแนว “เหมือนชีวิตหรือเปนธรรมชาติ” (Realism/Naturalism) หมายถึง ละคร
สมัยใหมที่พยายามมองชีวิตดวยความเปนกลาง แลวสะทอนภาพออกมาในรูปของละครตามความเปนจริง
โดยไมเสรมิ แตง หรือบิดเบอื น ตลอดจนใชว ธิ กี ารจดั เสนอท่ีทําใหล ะครมคี วามใกลเ คยี งกับชวี ติ มากทส่ี ดุ
การเรม่ิ ตนละครยุคสมัยใหม ในราวปลายศตวรรษท่ี 19 บรรดาผูนําในดานละครสมัยใหมตางก็พากัน
เรียกวา “ละครคือชีวิต” (Theatre is life itself) และการแสดงละครท่ีถูกตองคือการนําเอา “แผนภาพชีวิต”
(Slice of Life) ท่ีเหมือนจริงทกุ ประการมาวางบนเวทีโดยไมมกี ารดดั แปลง
2) ละครสมัยใหมแนว “ตอตานชีวิตจริง” (Anti-realism) เกิดข้ึนเม่ือราวปลายคริสตศตวรรษที่ 19
มหี ลายแนวดงั น้ี
- ละครแนวสัญลักษณ (Symbolism) เปนละครที่ใชสัญลักษณในการนําเสนอความเปนจริงแทนที่จะ
หลอกภาพที่เหมือนมาแสดงแตอางเดียว แตจะอวดอางวา “ความจริง” ท่ีเสนอโดยใชสัญลักษณท่ีลึกซึ้งกวา
ความจรงิ ทไี่ ดม าจากการลอกเลยี นแบบธรรมชาตโิ ดยใชท้งั การสัมผัส นอกจากจะคัดคานการลอกแบบชีวิตจริง
มาใชในการประพันธแลว ยังคัดคานการสรางฉากท่ีเหมือนจริง ตลอดจนการเนนรายละเอียดและการใช
ขอปลกี ยอ ยเกย่ี วกับกาลเวลาและสถานทใี่ นการเสนอละครมากเกินไป นิยมใชฉาก เคร่ืองแตงกายที่ดูเปนกลางๆ
79
ไมจําเพาะเจาะจงวาเปนยุคใด แตจะเนนการใชอารมณ บรรยากาศ และทําใหฉาก แสง สี เคร่ืองแตงกายเปน
สัญลกั ษณ
- ละครแนวโรแมนติก (Romantic) หรือโรแมนติซิสม (Romantism) สมัยใหม เปนละครที่สะทอนให
เห็นจินตนาการ ความใฝฝ น และอุดมคติที่มีอยูในตัวมนุษย แทนท่ีจะใหเห็นแตอํานาจฝายตํ่าหรือตกเปนทาส
ของสง่ิ แวดลอม
- ละครแนวเอกสเพรสชนั่ นสิ ม (Expressionism) เปนละครที่เสาะแสวงหาความจริงสวนลึกของสมอง
และจติ ใจมนุษย ซง่ึ อาจจะไมเ หมอื นกับความจรงิ ทีเ่ ห็นหรือจับตองได ฉากในละครบางครงั้ จงึ มลี กั ษณะบดู เบย้ี ว
และมขี นาดแตกตา งไปจากความเปน จรงิ มาก คือ เปน ภาพทถ่ี กู บิดเบอื นไปตามความรสู กึ นึกคิดหรืออารมณของ
ตัวละคร ละครประเภทนีไ้ มใชการแสดงแบบเหมอื นชีวติ หรือเปน ธรรมชาติ แตอ าจใหต วั ละครใสหนากากหรือ
เคลือ่ นไหวแบบหุนยนต หรือแสดงการเคลือ่ นไหวแบบอน่ื ๆท่เี หน็ วาเหมาะสม
- ละครแนวเอพิค (Epic) เปนละครท่ีมีอิสระในดานลีลาการแสดง บทเจรจา และเทคนิคของการจัด
เสนอท่ีทําใหดูหางไกลจากแนวเหมือนชีวิต แตยังคงเสนอเร่ืองราวที่ติดตามได มีเหตุผลตามสมควรและมี
ภาพสะทอนเกีย่ วกบั โลกและมนษุ ยเ สนอตอผชู ม แบรโทลท เบรซท นักเขียนชาวเยอรมันเปนคนสําคัญที่สุดที่
ทําใหละครแนวเอพิคไดรับความนิยมแพรห ลายทว่ั โลก
- ละครแนวแอบเสิรด (Absurd) เปนละครที่มีแนวการนําเสนอแบบตลกขบขันดวยลีลาของจําอวด
แบบเกาแก แตเนอ้ื หาสาระแสดงใหเ หน็ ความสบั สนวนุ วายของโลก ความวางเปลาไรจุดหมายของชีวิต การใช
ภาษามกั แสดงใหเห็นความบกพรองและการเส่ือมคาของภาษา จนถึงขนาดที่วาภาษาในโลกปจจุบันน้ันใชส่ือ
ความหมายแทบไมไ ดเ ลย การดลู ะครแนวแอบเสิรด จึงคลายกับการดูภาพเขียนประเภทแอบเสิรด จึงคลายกับ
การดภู าพเขยี นประเภทแอบสแทรคท (Abstract) คอื ผูดจู ะตองตีความหมายทุกอยางดวยตนเอง นําเอาความคิด
ความรูสึกและประสบการณของตนเขามามีสวนในการ “เขาถึง” ดังนั้นผูชมแตละคนจึงอาจแปลความหมาย
ที่ไดรับจากการดูละครแอบเสิรดเร่ืองเดียวกันแตกตางกันไปขึ้นอยูกับจินตนาการ ภูมิหลัง และเจตคติของ
แตละคน
การจัดการแสดงละคร
การจดั การแสดงละคร หมายถึง การนําบทละครหรือเร่ืองราวท่ีมีอยูมาจัดเสนอในรูปของการแสดง
ณ สถานทีใ่ ดทหี่ นึง่ ซงึ่ อาจจะเปน โรงละครหรอื สถานท่ีทส่ี ามารถจดั แสดงใหผชู มชมได
ผชู มละคร คือ ผรู ับรคู ุณคาของละครและมปี ฏิกิริยาตอบโตตอคณุ คา นัน้ ๆ โดยการนาํ ไปกลอมเกลานสิ ยั
ใจคอ รสนิยม หรอื เจตคติของตนเองที่มตี อสง่ิ ตางๆในชีวติ ในขณะเดยี วกันผูชมคอื ผทู วี่ ิจารณการละคร ปฏิกริ ิยา
ของผชู มทม่ี ตี อ ละครจงึ มีอทิ ธพิ ลตอ ผสู รา งสรรคล ะครเปนอยา งมาก
80
เรื่องที่ 6 ละครกับภูมปิ ญ ญาสากล
สมาคมการละครเพื่อการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา (American Alliance for -Theatre and
Education) ไดใหค ํานยิ ามของละครสรางสรรคไ วว า
ละครสรางสรรค (Creative Drama) หมายถึง รูปแบบของละครชนิดหนึ่งที่เกิดจากการดนสด
(Improvisation) การไมพ ยายามอวดผชู ม (Nonexhibitional) การใชกระบวนการเรียนรู (Process-centered) โดยมี
ผูนําชวยช้ีนําใหผูรวมกิจกรรมไดใชจินตนาการเพ่ือเลนบทบาทสมมติและเพื่อสะทอนถึงประสบการณของ
มนุษย ผนู าํ มหี นา ทช่ี วยเหลือและแนะนําใหผ ูรว มกจิ กรรมน้ันสํารวจขอมูล พัฒนาวิธีการแสดงออกเพื่อสื่อสาร
ความคดิ และความรูสึกโดยการใชละครซึ่งเกิดจากการดนสดดวยทาทางและคําพูด เพ่ือท่ีจะคนหาความหมาย
หรือสัจธรรมอันเกี่ยวกบั ประสบการณช วี ติ
กจิ กรรมในละครสรางสรรคเปน กระบวนการ (Process) ที่มขี นั้ ตอนทาํ กิจกรรมโดยผูรวมกิจกรรมเปน
ศูนยกลางนั้น มักจะเร่ิมตนจากส่ิงที่ผูเรียนมีความรูหรือ คุนเคยอยูแลว จากนั้นผูนําจึงจะจัดประสบการณ
เช่ือมโยงจากส่ิงท่ีผูรวมกิจกรรมรูจักอยูแลวไปสูการเรียนใหมๆ ที่กวางขึ้นและลึกซ้ึงขึ้น และมุงหวังท่ีจะ
พัฒนาการทาํ งานของสมองท้งั สองซกี ไปอยา งสมดลุ
โดยภาพรวมละครสรางสรรคมักจะเร่ิมดวยการใชประสบการณจากประสาทสัมผัสท้ัง 5 (Sensory
Recall) การใชความทรงจํา (Memory Recall) นําไปสูจินตนาการ (Imagination) และความคิดสรางสรรค
(Creativity) ซ่ึงนําไปสูการสวมบทบาทสมมติ (Role Play) ภายใตสถานการณและกติกาที่ตกลงรวมกัน
กอใหเ กดิ การแสดงในแบบดน สด ซ่งึ ตองใชจนิ ตนาการผนวกกบั การใชปฏิภาณ จนกระทั่งนําไปสูความเขาใจ
ในสถานการณนั้นๆ มากขึน้ ในทสี่ ุดกระบวนการประเมินผลในตอนทายนัน้ กช็ วยใหผ ูร ว มกิจกรรมไดใชทักษะ
การคิดวิเคราะหอยางมีวิจารณญาณและไมวาเปาหมายในการจัดกิจกรรมและละครสรางสรรคในแตละคร้ัง
จะเปนอยา งไรก็ตาม สิง่ หนง่ึ ท่ผี ูนํากจิ กรรมควรจะตองทํากอนเร่ิมกิจกรรมในข้ันตอนแรกคือ การเตรียมความ
พรอม (Warm-up) รางกายและสมาธิใหกับผูรวมกิจกรรม การเตรียมรางกายและจิตใจเปนข้ันตอนสําคัญมาก
กอนท่ีจะเร่ิมกิจกรรมหลักอื่นๆ ผูนําไมควรมองขามความสําคัญของขั้นตอนน้ี ตัวอยางกิจกรรมการเตรียม
ความพรอ ม เชน การเดิน การวิ่งเบาๆ การยดื เสนยืดสายแบบงายๆหรือเปนการเลนเกมสตางๆ เม่ือเตรียมความ
พรอ มอบอนุ รา งกายเสร็จแลว จะตามดว ยกระบวนการตอไปนี้ คือ กิจกรรมจูงใจ (Motivation) กิจกรรมเตรียม
ทกั ษะละคร (Predrama) และกิจกรรมละคร (Drama Playing) และการประเมินผล (Evaluation) ซงึ่ มรี ายละเอียด
ดังนี้
1.กจิ กรรมจูงใจ (Motivation) หมายถึงการใชคําถามหรือสื่อประเภทตางๆในการกระตุนความสนใจ
ของผรู ว มกิจกรรมเพอื่ ใหผ รู วมกิจกรรมเกดิ ความตองการท่ีจะเรียนรหู รอื ทาํ ความเขา ใจกับประเด็นท่ีไดถูกหยิบ
ยกข้ึนมา ขน้ั ตอนในในการสรา งแรงจูงใจนี้อาจจะเร่ิมตนดวยการถามคําถามทเี่ รา ปฏิกริ ยิ าตอบสนอง เพอ่ื ดงึ ใหผ ู
รวมกิจกรรมมีสวนเริ่มตั้งแตแรกเริ่ม จากนั้นผูนํากิจกรรมอาจจะนําเสนอขอมูลท่ีจะจําเปนตอการแสดงใน
ชวงทาย “ขอมูล” ที่วานี้ หมายถึง สื่อท่ีสะทอนใหเห็นถึงประเด็นที่จะนําไปสูการอภิปราย หรือการเรียนรู
81
ตามเปาหมายที่ไดวางไว สื่อที่วานี้มีหลายรูปแบบ เชน เกมส นิทาน บทกวี บทเพลง วีดีทัศน บทสัมภาษณ
ขาวสาร บทความ เรือ่ งสน้ั ภาพจําลอง แผนผัง เปนตน ผนู าํ ตองพจิ ารณาตามความเหมาะสมเองวา จะใชขอมลู ใด
เวลาเทา ไร และอยา งไร เพอื่ เปนการปูพน้ื ฐานและสรา งแรงจงู ใจในการแสวงหาคําตอบใหกับผูรวมกิจกรรมให
มากทส่ี ุด
กิจกรรมจงู ใจ แบง ออกเปน 3 ประเภท คอื
1) การเคล่ือนไหว (Movement and Game) ไดแกทาใบ (Pantomime) การเคลื่อนไหวสรางสรรค
(Creative Movement) การเลนเกมส (Game) การทําทาทางการเคล่ือนไหวประกอบจังหวะดนตรี หรือเพลง
(Movement with music and song)
2) การใชภ าษา (Language or Word Games) ไดแก การถามคําถามการเลานิทาน (Story Telling) ดวย
เทคนิคตางๆ การรอ งเพลง (Song) การอานบทกลอน คําสภุ าษติ คาํ รอ งในการละเลน และการไขปริศนาคําทาย
(Riddles)
3) การใชสือ่ ตางๆ เชน ใชหุน สิง่ พิมพ ภาพเขยี น ถา ยภาพ แผน พบั เปนตน
2. กิจกรรมเตรียมทักษะละคร (Per-drama) กอนที่จะไปถึงข้ันตอนการแสดงละครนั้นผูนํากิจกรรม
ควรวางแผนไวว า จะใหผ รู ว มกจิ กรรมเตรียมตวั ในเรื่องใดบาง เชน เตรียมพรอมรางกาย การทําความเขาใจกับ
ละครที่จะแสดง การจดั เตรยี มพืน้ ทสี่ าํ หรบั แสดง การคดั เลือกผแู สดง ตลอดจนการฝกซอมบทบาทในบางตอน
ตามความจําเปน การที่ผูนํากิจกรรมจะเตรียมความพรอมกับผูรวมกิจกรรมอยางไรบางน้ัน จําเปนตอง
จนิ ตนาการไปลว งหนา ใหเห็นภาพของการแสดงละครในหอ งทาํ กิจกรรมนนั้ ภายในระยะเวลาและองคป ระกอบ
ทางเทคนิคท่ีจาํ กดั เพอ่ื จะไดแ สดงละครทีใ่ ชด น สดไดอ ยา งมีประสิทธภิ าพและบรรลเุ ปา หมายทป่ี ระสงค
3. กจิ กรรมละคร (Drama Playing) เมอ่ื มกี ารเตรียมความพรอมมาพอสมควรแลว ผูรวมกิจกรรมก็จะมี
ความม่ันใจและความพรอมท่ีจะแสดง ผูนํากิจกรรมควรสรางบรรยากาศท่ีปลอดภัย อบอุนเปนกันเอง
เพื่อที่จะใหทั้งผูแสดงและผูชมซึ่งเปนผูมารวมดวยกันน้ัน สามารถทุมเทสมาธิใหกับละครที่กําลังจะเกิดข้ึน
ภายในหอ งทาํ กิจกรรม ในการแสดงละครสรางสรรคผ ูนาํ กิจกรรมควรมีความเขาใจที่ถูกตองวาการแสดงละคร
สรางสรรคนัน้ ไมใชก ารแสดงละครเวที ดงั นั้น จึงไมจาํ เปน ตอ งกังวลเกี่ยวกับความสมบูรณแบบของการแสดง
แตจําเปนตองเขาใจวาการแสดงแตละครั้งจะนําไปสูเปาหมายและวัตถุประสงคที่ต้ังไดอยางไร ตัวอยางเชน
การนําเรื่องหนูนอยหมวกแดงมาเปนแรงจูงใจในการทําละคร ผูนํากิจกรรมอาจตองใหผูรวมกิจกรรมพัฒนา
ทกั ษะการพดู ดนสด โดยกระทําภายใตโ ครงเรือ่ งท่งี ายและตวั ละครที่ไมซับซอน ในการแสดงละครจึงอาจใหผู
รว มกจิ กรรมแสดงโดยตลอดทงั้ เร่ือง เพ่ือให เปนการฝก ฝนทกั ษะการดนสด แตถ าหากเรอื่ งหรอื นทิ านทนี่ าํ มาใช
เปนแรงจูงใจท่ีมีความยาวมาก ก็อาจจะเปนอุปสรรคตอการแสดงภายในเวลาที่จํากัดได ดังนั้น ผูนํากิจกรรม
อาจจะเลอื กแสดงเฉพาะบางตอนโดยเฉพาะตอนท่กี ระตนุ ใหเ กดิ การดนสดท่มี ีคณุ ภาพ กลาวคือ เปนการดน สดท่ี
นาํ ไปสูป ระเดน็ การพูดคุย อภปิ รายในชวงตอ ไปได
82
จะเห็นไดวา ผูนาํ กิจกรรมจะตองรูจกั จินตนาการและเลือกเฟนวาจะใหผูรวมกิจกรรมแสดงละครเรื่อง
อะไรตอนไหนเพื่อทจี่ ะนําไปสูก ารประเมินผลทีม่ คี ณุ ภาพ แตในการแสดงออกอยางไรนั้นผูนํากิจกรรมควรจะ
ปลอยใหผูแสดงมีอิสรภาพในการแสดงโดยไมจําเปนตองเขาไปกํากับการแสดงมากจนเกินความจําเปน
แตอาจจะทําหนา ทค่ี ลา ยกับกรรมการการแสดงละครมากกวา เพื่อทจ่ี ะดูวาผรู ว มกจิ กรรมไดใหความรวมมือใน
การทํากิจกรรมน้นั ตามกตกิ าท่ตี กลงกนั ไวไดหรอื ไม
ประโยชนของการสรา งสรรค
ประโยชนข องละครสรางสรรคม ีมากมาย โดยจะกลา วแบบกวา งๆ ไดดงั น้ี
1. ละครสรางสรรคพ ัฒนาจนิ ตนาการและความคดิ สรางสรรค จนิ ตนาการเปน จดุ เร่มิ ตน ท่ีสําคญั กอนจะ
ไปถึงขน้ั ตอนของการลงมอื ทํา จนิ ตนาการ คือ ความสามารถในการขา มพน ขอบเขตและสภาวะแหงปจจุบันคือ
ความสามารถที่จะมองเห็นตวั เองในสถานการณใ หมๆ หรือมองเหน็ ตวั เองในชวี ิตของผอู ่นื ความคิดสรางสรรค
หมายถึง ความคดิ หรือการกระทาํ ในส่งิ ทีใ่ หมโดยไมซ าํ้ แบบหรอื เลียนแบบใคร
ในระยะแรกเร่ิมของการฝกใชจินตนาการนั้นผูรวมกิจกรรมควรจะเร่ิมตนจินตนาการในสิ่งท่ีตนเอง
มปี ระสบการณมากอน โดยเฉพาะอยางยิ่งประสบการณจากการใชประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะชวยใหเกิดจินตภาพ
ซง่ึ เปน บอเกิดแหงการขยายจินตนาการใหกวางไกลและลึกซ้ึงในลําดับตอๆไป การเลนบทบาทสมมติจึงเปน
สวนหน่งึ ของการฝกพฒั นาจินตนาการและความคิดสรา งสรรค
2. ละครสรางสรรคพัฒนาทักษะการคิด การคิดเปน ทําเปน และการแกปญหาเปน เปนกระบวนการ
ซึ่งเปนเครอื่ งมือสาํ คญั ในการเรยี นรูของผูรวมกจิ กรรมทุกคน ดังนน้ั การสอนกระบวนการคิดจงึ เปน ส่ิงจําเปนที่
ผูนํากิจกรรมทุกคนตองเขาใจ เนื่องจากกระบวนการของละครสรางสรรคน้ันตองอาศัยทักษะในการถาม
อยางสรางสรรคจ ากผูนํากิจกรรม กระบวนการคิดมักจะเกิดขึ้นเม่ือผูรวมกิจกรรมถูกถามดวยคําถามท่ีชวนคิด
ซ่ึงเปนคําถามท่ีทําใหเกิดการแสวงหาคําตอบ กระบวนการคิดในละครสรางสรรคเกิดขึ้นอยูแทบตลอดเวลา
ความซับซอนหรือระดับของการคิดน้ันขึ้นอยูกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะของคําถาม ตัวอยางเชน
หลงั จากท่ผี นู ํากจิ กรรมเลนนิทานใหผรู ว มกิจกรรมฟงเรียบรอ ยแลว ผนู ํากจิ กรรมอาจจะใหผรู วมกจิ กรรมลองคดิ
หาวธิ ีการในการนํานิทานมาจัดแสดงเปน ละครภายในเวลาทีก่ ําหนด หลงั จากน้นั อาจมีคําถามท่ชี วนคดิ ทเ่ี กยี่ วกบั
ละครที่แสดงจบไปแลว เพื่อใหผูรวมกิจกรรมรูจักการคิดในหลายลักษณะ เชน คิดคลอง คิดหลากหลาย
คดิ ละเอยี ด คิดอยา งมเี หตผุ ล คิดถกู ทาง คดิ กวา ง คิดลกึ ซง้ึ คิดไกล เปน ตน
3. ละครสรา งสรรคพัฒนาทักษะของการส่ือสารกับผูอ่ืน กิจกรรมของละครสรางสรรคสวนใหญเปน
กิจกรรมท่ีอาศัยทักษะของการเคล่ือนไหว การพูด การอาน โดยการกระทําเปนกลุม ทุกๆ ขั้นตอนในการ
วางแผนของกลุม ทุกคน จะตองระดมความคิด ระดมสมอง และรับฟงความคิดเห็นของผูอ่ืน มีการเสนอ
ความคิดเห็น สรางขอตกลงรวมกันเพ่ือนําเสนอออกมาเปนช้ินงานที่จะสื่อสารกับทุกคน ในหองกิจกรรม
และภายในกระบวนการแสดงละครสรางสรรค น้นั ผสู วมบทบาทสมมติก็ตองตั้งใจฟงตัวละครอื่น ๆ เพื่อท่ีจะ
สามารถตอบโตดว ยการดนสดได
83
4. ละครสรางสรรคพัฒนาทักษะทางสังคม ทุกคร้ังที่ผูรวมกิจกรรมทํางานรวมเปนกลุม การเรียนรู
เกยี่ วกบั สมาชิกในกลุม ยอ มเกิดขน้ึ โดยธรรมชาติ โดยเร่มิ เรียนรทู ่ีจะเปดใจใหกวา ง รบั ฟงความคิดเห็นของผูอ่ืน
และรจู กั ท่จี ะเปน ผูเ สยี สละหรอื เปน ผูใ หแกก ลมุ เพ่อื ผลของงานทีด่ ี กระบวนการกลมุ ทําใหสมาชิกในกลุมเขาใจ
ความหมายของการพ่ึงพาซึ่งกันและกัน
5. ละครสรางสรรคพัฒนาการมองคุณคา เชิงบวกในตนเอง เน่อื งจากกระบวนการของละครสรางสรรค
นัน้ ใหโอกาสผรู วมกิจกรรมทุกคนมีสวนรวม นับตั้งแตการแสดงความคิดเห็น การวางแผน การมีปฏิสัมพันธ
และการไดแสดงออกอยา งเปนตวั ของตวั เองภายใตบ รรยากาศทีป่ ลอดภัยและเปนกนั เอง ผนวกกับปฏกิ ิรยิ าในแง
บวกคําชืน่ ชม การใหกําลังใจซึ่งกันและกัน ทําใหผูรวมกิจกรรมเกิดความรูสึกที่ดีเก่ียวกับตัวเอง พัฒนาการท่ี
เกี่ยวกับการมองเหน็ คุณคาของตนน้ันเปนพน้ื ฐานสาํ คัญของความม่นั คงในจิตใจและตอ บุคลิกภาพบคุ คลผูนนั้
6. ละครสรางสรรคพัฒนาการรับรูและสรางความเขาใจถึงสภาพความเปนจริงในสังคม และชวยให
ตระหนักถึงปญหาที่มีอยูในสังคม การไดลองสวมบทบาทเปนตัวละครตางๆรวมทั้งการไดชมตัวละครที่มี
ตัวละครมาปรากฏอยูอยางมีชีวิตชีวานั้น ทําใหผูรวมกิจกรรมนั้นมีโอกาสเขาไปอยูในสถานการณเดียวกับ
ตัวละคร บอยคร้ังท่ีผูเขารวมกิจกรรมจําเปนตองคํานึงถึงเหตุผลที่ตัวละครตัดสินใจกระทําส่ิงใดสิ่งหนึ่งหรือ
เหตผุ ลที่ตวั ละครแสดงทาทางลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ทําใหผูรวมกิจกรรมรูและเขาใจในสภาพของตัวละคร
ลึกซง้ึ ดวยตนเอง
7. ละครสรางสรรคพัฒนาทักษะในการใชรางกายและการใชภาษา เกมสและกิจกรรมของละคร
สรา งสรรคนัน้ มักจะเปน แรงจงู ใจที่ดี ซ่งึ ชวยใหผ ูรว มกจิ กรรมเกิดความตอ งการท่จี ะแสดงออกดว ยรางกายและ
ดวยการใชภ าษาที่ถกู ตอ งชัดเจนภายใตก ารเลน บทบาทสมมติที่สนกุ สนานและปลอดภัย เปนโอกาสท่ีดีที่ทําให
ผูนาํ และผรู ว มกจิ กรรมไดม ีโอกาสเห็นความสามารถที่มีอยใู นตัวของผูรวมกจิ กรรมทุกคน
8. ละครสรา งสรรคพ ฒั นาทกั ษะการอาน กิจกรรมสวนใหญของละครสรางสรรคมักจะมีจุดเริ่มตนมา
จาก นิทาน คํากลอน บทกวี เรื่องสั้น หรือสารคดี ฯลฯ เร่ืองราวที่ถูกจินตนาการแลวกลายมาเปนละคร
สรา งสรรคน้นั มกั จะสรา งความประทบั ใจทดี่ ใี หกับผูร ว มกจิ กรรม เมอ่ื ผรู วมกจิ กรรมมปี ระสบการณเกย่ี วกับการ
อานท่ีดี ประสบการณน้ันก็จะเปนการปลกู ฝงนิสยั รักการอา นไดอ ีกทางหนึง่
9. ละครสรา งสรรคเปนจดุ เริมตน ไปสูความเขา ใจในศิลปะของการละคร ถึงแมว า ละครสรา งสรรคไมได
มีจุดมงุ หมายท่จี ะฝกใหผรู วมกิจกรรมไปเปนนักแสดง อีกท้ังบรรยากาศในการจัดกิจกรรมละครสรางสรรคนั้น
จะแตกตางจากบรรยากาศในการแสดงละครเวที ซ่ึงละครเวทีจะมุงเนนที่ภาพรวมของการเปนละคร แตละคร
สรา งสรรคม งุ เนน ท่กี ระบวนการเรียนรขู องผรู ว มกิจกรรม แตก ารแสดงละครสรา งสรรคยังมีลักษณะบางสวนที่
เหมือนกบั ละครเวที คือละครสรางสรรคเสนอบรรยากาศของการสมมติที่อยูบนพ้ืนฐานของขอตกลงรวมกัน
การแสดงละครสรางสรรคท่เี กดิ ขึ้น จงึ มลี ักษณะของ “โลกสมมต”ิ ท่ีใหความเช่ืออยางจริงใจกับผูชม ผูท่ีน่ังชม
ละครสรา งสรรคก ็จะไดเ รียนรูบทบาทของการชมที่ดี บทบาทของการเปน นกั แสดงที่ดี และเรียนรถู ึงบทบาทท่ีดี
ดว ย การเรยี นรูเหลานลี้ วนเปน พน้ื ฐานอนั สาํ คัญตอความเขาใจในศลิ ปะของละคร
84
10. ละครสรางสรรคพ ฒั นาจิตใจใหละเอียดออนและสรา งเสรมิ จริยธรรมในจิตใจ การท่ีผูรวมกิจกรรม
ไดม โี อกาสใชก จิ กรรมตา งๆในละครสรา งสรรคเพอื่ ท่ีจะเขาใจถงึ ประสบการณจากประสาทสัมผัสท้ัง 5 การใช
จนิ ตนาการทดแทนความรูสึกของตวั เองดวยความรสู ึกของผอู น่ื การทําสมาธเิ พือ่ การเคลอ่ื นไหวอนั ละเอยี ดออน
เหลาน้ี ลว นแตเปน การสรางความละเอยี ดออ นใหกับจติ ใจไปทีละนอ ย และนาํ ไปสูวุฒภิ าวะทางอารมณและทาง
ความคดิ ไดในที่สุด
11. ละครสรางสรรคเปนเทคนคิ การสอนในศาสตรอนื่ ๆ การเรียนรูจากละครสรางสรรคเปนการเรียนรู
ผา นประสบการณ จงึ นบั วา เปนวิธีการเรียนรูที่ไดผลดี เพราะทําใหผูเรียนหรือผูรวมกิจกรรมมีสวนรวม โดยมี
จินตนาการความรคู วามเขาใจ และความรูสึกของตนเปนศูนยกลาง วิธีการเรียนรูแบบน้ีจึงเปนวิธีการเรียนรูท่ี
ยั่งยืน ซึ่งครูสามารถนําเอาวิธีการของละครสรางสรรคมาเปนเทคนิคในการเรียนการสอนโดยนําหนวย
การเรยี นรทู เี่ กิดขึ้นไปขยายผลตอเนือ่ งเขา สูเนอ้ื หาวิชาอน่ื ๆไดอกี ดว ย
คาํ ถามตรวจสอบความเขาใจ
1. ละครสรางสรรคห มายถึงอะไร
2. กจิ กรรมจูงใจหมายถึงอะไร
3. กิจกรรมจูงใจมกี ี่ประเภทอะไรบาง
4. กิจกรรมการเตรียมทกั ษะละครของผูน ํากจิ กรรมตอ งทําอยา งไร
5. กจิ กรรมละครมกี ารจดั การอยา งไรอธบิ ายมาพอเขา ใจ
6. จดุ หมายของการทาํ ละครสรางสรรคตา งจากการสรางละครเวทีอยางไร
7. จนิ ตนาการคืออะไร
8. ความคดิ สรางสรรคค อื อะไร
9. ละครสรางสรรคมปี ระโยชนใ นดา นใดบา งอธบิ ายมาพอเขาใจ
85
เรื่องท่ี 7 ประวตั คิ วามเปนมาและวิวฒั นาการของลลี าศสากล
1. ประวัตคิ วามเปนมาของลีลาศสากล
การลีลาศมีพื้นฐานมาจากการเตนรําพ้ืนเมือง ซึ่งชนแตละชาติแตละเผา ใชในการพิธีกรรม
ตา ง ๆ แตจากความเปน มาไมม ีหลกั ฐานบง บอกวา การลีลาศเกิดข้ึนเม่ือใด และจากการไมมีหลักฐานบงบอกวา
การลลี าศเกดิ ขนึ้ เมือ่ ใด และจากการคนพบหลกั ฐานการผนังถํ้าไดพบวามนุษยมีการเตนรํามาเปนเวลา 5,000 ป
มาแลว แตเปนการเตนรําเพ่ือเปนการประกอบกิจกรรมพิธีทางศาสนา หรือความเช่ือตาง ๆ จึงกลาวไดวา
การลลี าศหรอื การเตนราํ นาจะเกิดขึ้นมาพรอมกับมนุษยนั่นเอง และไดมีวิวัฒนาการมาเร่ือย ๆ ตามวัฒนธรรม
ประเพณี และความเปนอยูข องชนชาตติ าง ๆ เชน การเตนรําพื้นเมอื งของชาติตา ง ๆ ที่ไดมีการพัฒนารูปแบบให
เปนทามาตรฐานมากขนึ้ จนเปนรปู แบบสากลนยิ ม หรือการลลี าศในปจจุบนั นั่นเอง
2. ประเภทของลลี าศ
ลลี าศแบงไดเปน 2 ประเภท คือ
2.1 การลีลาศทเ่ี ปน จังหวะมาตรฐานสากลนยิ ม แบงเปน 2 รูปแบบ คอื
1. การลีลาศแบบบอลรมู (Ballroom หรือ Standard) มี 5 จงั หวะไดแ ก
1) วอลซ (Waltz)
2) แทงโก (Tango)
3) สโลว ฟอกซท รอท (Slow Foxtrot)
4) เวยี นนีสวอลซ (Viennese Waltz)
5) ควกิ สเตป็ (Quick Step)
2. การลีลาศแบบละติน – อเมริกา (Latin-Amarican) เปนท่ีนิยมแพรหลายเน่ืองจากเปนจังหวะที่
สนุกสนาน คึกคัก และในบางจังหวะสามารถเตนได โดยไมมีพ้ืนท่ีกวางนัก การลีลาศ และลาติน-อเมริกา
มจี งั หวะทเี่ ปนมาตรฐาน 5 จงั หวะคือ
1) ชา ชา ชา (Cha Cha Cha)
2) แซมบา (Samba)
3) ควิ บนิ รัมบา (Cuban Rumba)
4) พาโซโดเบล (Paso Doble)
5) จังหวะไจวฟ (Jive)
86
3. การลีลาศแบบไมเปนมาตรฐานหรือการลีสาศเพ่ือเขาสงั คม มกี ารพฒั นามาจากการเตนระบําพนื้ เมือง
มอี ยู 5 รปู แบบคอื
1) แบบละตนิ -อมเริกา เปนแบบลลี าศเพ่ือการเขา สังคมและสนกุ สนาน มีจังหวะตางๆดังน้ี เชน
จังหวะ แมมโบ (Merenque) อารเ จนตินา แทงโก (Argentina Tango)
2) แบบอเมรกิ นั สไตล เปนการเตน แบบบอลรมู และละตนิ เชน เดยี วกับ จังหวะมาตรฐาน แตมี
วิธีหรอื เทคนิคในการเตนที่แตกตา งไปบางตามความนิยมของชาวอเมริกัน นอกจากนี้จังหวะที่ชาวอเมริกันใช
เตนในงานตา งๆ เชน จงั หวะ ร็อกแอนดโรล (Rock & Roll) และจังหวะสวงิ (Swing)
3) แบบโอลดไ ทมแ ดนซ เปนลักษณะลีลาศ ทมี่ วี ิวัฒนาการมาจากการเตนราํ แบบโบราณท่ีนิยม
ใชเตนตามงานเล้ียงสังสรรค โดยจะจับเปนคู แตเวลาเตนจะเตนพรอมกันทุกคู ไปเปนรูปแบบวงกลมโดย
ใชจงั หวะหลายๆจังหวะในการเตน เชน สวิง วอลช (Swing Waltz) เปนตน
87
บทท่ี 4
การออกแบบกบั แนวทางการประกอบอาชีพ
การออกแบบทางศิลปะสามารถนําไปประยุกตใชในการประกอบอาชีพไดหลายสาขา ดังน้ี
งานมัณฑนากร หรือนักออกแบบตกแตง (Interior-Decorator) นักออกแบบเคร่ืองเฟอรนิเจอร นักออกแบบ
เครอื่ งเรอื น (Furniture Designer) และนักออกแบบเสื้อผาแฟชัน่ (Fashion-Designer) เปนตน
ลกั ษณะเฉพาะของอาชีพดานการออกแบบแตล ะสาขา
1. งานมัณฑนากรหรือนักออกแบบตกแตง(Interior-Decorator) ทํางานเก่ียวกับการออกแบบและ
ตกแตงภายในอาคารสาํ นกั งาน อาคารอยูอาศัย และบา นเรอื น ใหเ ปนไปตามความตองการของลูกคา
2. นักออกแบบเคร่ืองเฟอรนิเจอร(Furniture-Designer)ทําหนาท่ีออกแบบและสรางแบบเครื่อง
เฟอรน เิ จอรหรือเครอ่ื งเรือนประเภทตา งๆเพ่ือนํามาผลิตเปนเชิงอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชยกรรมโดยการใช
วสั ดุท่แี ตกตางกนั นาํ มาผสมผสานกนั เพอ่ื ใหเกิดความสวยงามและประโยชนใ ชสอย
3. นักออกแบบเสือ้ ผาแฟชัน่ (Fashion-Designer) ทําหนาทสี่ รา งสรรคก ารออกแบบสิ่งทอเสอ้ื ผา รวมทั้ง
การออกแบบเนื้อผา หรือลายผาสวยงามเหมาะกับแฟช่ันแตละยุคสมัยใหแกบุคคล และวิธีการตัดเย็บหรือ
ผลิตเสื้อผาสาํ เร็จรปู ในทางอุตสาหกรรมและมีการพฒั นาเพือ่ ใหม ีการแขงขนั กับตลาดตา งประเทศได
1. งานมัณฑนากรหรือนกั อออกแบบตกแตง (Interior - Decorator)
ลักษณะของงานทที่ ํา
มัณฑนากรเปนผูออกแบบการตกแตงภายในสถานที่อยูอาศัยหรือสถานที่ทํางาน ตองทํางานตาม
ขน้ั ตอน และกาํ หนดเวลาชิ้นผลงานตา งๆรว มกับผวู า จา งดงั นี้
88
1. บันทึกรายละเอียดความตองการของลูกคาเพ่ือออกแบบใหสรางสรรคท่ีสุดและเปนท่ีสะดุดตา
ประทบั ใจและไดรสนยิ มตรงตามความตองการของลกู คา
2. ศึกษาโครงสรา งของงาน จัดดาํ เนินการออกแบบตกแตง คาํ นวณแบบ ประมาณราคา และเลือกวัสดุ
ตกแตง ทีม่ คี ุณภาพเหมาะสม และใหป ระโยชนสูงสดุ กบั ลกู คา และใหต รงเปาหมายและประโยชนใชสอย
3. สงแบบที่วาดและเสนองบประมาณใหลกู คาพิจารณา
4. เม่อื ผา นการแกไขดดั แปลงแบบใหสมบรู ณแ ลว จงึ สงแบบใหกบั ชา งตางๆเชน ชางไม หรือชา งเชื่อม
เหล็กใหท ํางานตามโครงสรา งทีอ่ อกแบบไว
5. ปฏิบตั ิงาน และประสานงานกบั ระบบและหนว ยงานท่เี กี่ยวของ
6. ใหคําปรกึ ษาแนะนําแกชางเพ่อื ใหการออกแบบเปน ไปตามเงอ่ื นไขสัญญา
สภาพการจางงาน
มณั ฑนากรท่ีรับราชการจะไดรบั เงินเดอื นตามวฒุ ิการศึกษาถาทํางานกับภาคเอกชนจะไดรับ เงินเดือน
ข้นั ตน อยรู ะหวาง15,000 - 20,000 บาทข้นึ อยูกับฝมือและประสบการณในการฝกงาน ขณะท่ีกําลังศึกษาอยูและ
ไดรับสวัสดิการตามที่กฎหมายแรงงานกําหนด และสิทธิประโยชนอ ่นื เชน โบนสั ขึน้ อยูกบั ผลประกอบการ
สภาพการทาํ งาน
การปฏบิ ตั งิ านการออกแบบ สวนมากตองทํางานท้ังในและนอกสํานักงาน เชน ในอาคาร ในสถานที่
กําลังตกแตง อาจตอ งใชค อมพิวเตอรแ ละโปรแกรมชว ยในการออกแบบ
คุณสมบัตขิ องผปู ระกอบอาชพี
ผปู ระกอบอาชพี มณั ฑนากรหรอื นกั ออกแบบตกแตง ตองมคี ุณสมบัตดิ ังน้ี
1. มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปตยกรรมศาสตร สาขาตกแตงภายใน หรือ
มีประสบการณใ นดา นการออกแบบตกแตงสงู มากอน
2. มคี วามคดิ สรางสรรค ผลิตผลงานทไ่ี มเ หมือนใคร เปน คนมคี วามละเอยี ดรอบคอบ
3. มีความสามารถในการรูจกั ประยกุ ตใชว สั ดทุ มี่ ีในประเทศ เพื่อแสดงเอกลกั ษณและประโยชน ใชสอย
สงู สุด
4. มที กั ษะในการใชโ ปรแกรมคอมพิวเตอรในการชวยวาดรูปหรอื ออกแบบหรือมคี วามสามารถในการ
เขยี นภาพหรือออกแบบสงู
5. มรี ะเบยี บวนิ ัยเขาใจถงึ การบริการทางธุรกิจ
6. มมี นษุ ยสัมพันธท่ีดี ใหค วามรว มมือกบั ทีมงานดี และมคี วามสามารถในการประสานงาน
7. มวี สิ ัยทศั นก วา งไกลและปรับปรุงความรูค วามสามารถอยูต ลอดเวลา
8. รแู หลง ขอมลู หรอื แหลง ผลิตและจาํ หนายวัตถุดบิ เพอ่ื ซ้ือหาวัตถดุ ิบมาใชในผลงาน
9. ออกแบบตกแตงภายในอาคารบานเรือนใหถูกหลักและตรงตามความตองการของผูบริโภค และ
เพอ่ื ความปลอดภัย ประหยดั เหมาะสมกับภาวะสงั คมและเศรษฐกิจในยุค
89
โอกาสในการมีงานทํา
สภาพเศรษฐกจิ ในปจจุบนั ทาํ ใหอุตสาหกรรมวงการกอ สรางและอสงั หารมิ ทรพั ยไดรับผลกระทบมาก
ในการจดั หาเงินมาดาํ เนินการลงทุนทางดา นกอสราง ทําใหมัณฑนากรสะดุดไประยะหนึ่งแตผูประกอบอาชีพ
มัณฑนากรพยามเปลี่ยนวกิ ฤตใหเปนโอกาส คอื ใชความรูค วามสามารถ และประสบการณเปลี่ยนไปออกแบบ
เฟอรน เิ จอร ของเลน อุปกรณการออกกําลังกายเพ่ือสุขภาพ และผลิตภัณฑเครื่องใชตางๆเพ่ือเจาะตลาดลูกคา
กลมุ เปา หมายเฉพาะ
โอกาสความกาวหนาในอาชพี
ในภาครัฐบาลผูที่ปฏิบัติในหนาท่ีนี้จะไดรับการเลื่อนตําแหนงและขั้นตามความสามารถถาพยายาม
ปรบั พฒั นาฝม ือ และสรา งสรรคผ ลงานตําแหนงอาจเลอ่ื นถึงผูอํานวยการของหนวยงานที่ตนสังกัดอยูประกอบ
อาชีพสวนตัวในการออกแบบทําสินคาพรีเมี่ยม (สินคาทั่วๆไป มีไวสําหรับแจกเพื่อสมนาคุณลูกคา ในวาระ
ตางๆ เชนปใหม , ครบรอบวันกอต้ัง , ประชาสัมพันธสินคาใหมๆ และโอกาสอื่นๆ) สินคาที่ระลึก ผูท่ีจะ
ประกอบอาชีพมัณฑนากรที่ตองการความกาวหนา ควรศึกษาตอจนมีวุฒิการศึกษาอยางนอยปริญาตรีใน
สาขาศิลปกรรม มณั ฑณศลิ ป หรือสถาปต ยกรรม
อาชพี ที่เก่ียวเนื่อง
นกั ออกแบบเฟอรนิเจอร หรอื อุปกรณตางๆ นกั ออกแบบกราฟฟค ครู -อาจารย ในคณะสถาปตยกรรม
ของสถาบนั การศกึ ษาตางๆ
2. นักออกแบบเครื่องเฟอรน เิ จอร (Furniture - Designer)
เกาอี้ผลงานออกแบบของ Chishen Chiu นกั ออกแบบเฟอรน เิ จอรจ าก Flexiblelove
ลักษณะของงานทที่ าํ
ผปู ระกอบอาชพี นกั ออกแบบเครอ่ื งเฟอรนิเจอรจะปฏบิ ัตงิ านตามขัน้ ตอน ดังน้ี
1. ออกแบบผลิตภณั ฑ โดยอาจใชก ราฟฟค คอมพิวเตอรเขาชวยในการออกแบบ เพ่ือใหภ าพออกมามีมิติ
และสมบรู ณแ บบเสนอผูว า จา งหรอื ลกู คา พิจารณา
90
2. สรางแบบจําลองและทดลองทําผลิตภัณฑตนแบบโดยผสมผสานวัสดุทองถ่ินท่ีแตกตางกันซ่ึง
มคี วามแข็งแรงและทนทานโดยคํานึงถึงประโยชนใชสอยสูงสดุ และตรวจสอบการทดลองใช
3. เขียนเทคนิควธิ ีการประกอบแบบ ระบบพิกดั พรอ มท้ังขน้ั ตอนในการปฏบิ ัติในโรงงาน
4. ประมาณการตนทุนคา ใชจา ย เพอื่ ใหม รี าคายอมเยาสาํ หรบั ผูใช
สภาพการจา งงาน
ผปู ระกอบอาชีพนักออกแบบเคร่ืองเฟอรนิเจอร ที่มีความสามารถจะไดรับคาตอบแทนเปน เงินเดือน
ประมาณเดือนละ 6,000 - 10,000 บาทตามความสามารถและวุฒิทางการศึกษา มีสวัสดิการอยางนอยตาม
กฎหมายแรงงาน สว นโบนัสและผลประโยชนอยา งอนื่ ขึน้ อยกู ับผลกาํ ไรของผปู ระกอบการ
ผปู ระกอบอาชีพนักออกแบบเคร่อื งเฟอรน ิเจอรโดยปกติทํางานวันละ 8 ช่ัวโมง หรือสัปดาหละ 40 - 48
ช่ัวโมง อาจตองทํางานลวงเวลาวันเสาร วนั อาทิตย และวันหยุด เมื่อมีความจาํ เปนเรงดวน
สภาพการทํางาน
สถานที่ทาํ งานจะเหมือนสาํ นักงานออกแบบท่ัวไปที่มีบรรยากาศของการสรางสรรคงาน นักออกแบบ
เครอ่ื งเฟอรน ิเจอรจะตอ งตดิ ตามดคู วามเรยี บรอ ยของงานตน แบบในโรงงานท่ีผลติ
คณุ สมบตั ิของผูประกอบอาชพี
ผทู ่ีประกอบอาชพี นักออกแบบเครือ่ งเฟอรน ิเจอรค วรมีคุณสมบัติดงั นี้
1. มคี วามสามารถในการวาดภาพแสดงรปู รา ง (Perspective) หรือใชคอมพิวเตอรช วยในการออกแบบ
2. มีความรแู ละเขาใจในจติ วิทยาอุตสาหกรรม
3. สามารถเดินทางไปตา งจังหวดั หรือออกพื้นทีไ่ ด
4. มีความเขาใจในวัสดุท่นี ํามาผสมผสานประยุกตใชออกแบบไดเ ปน อยา งดี โดยใหเขา กบั ทองถน่ิ และ
แสดงถึงเอกลกั ษณข องทอ งถิ่นนน้ั ไดอ ยา งดี
5. สนใจความเคลื่อนไหวของงานออกแบบตางๆ และมีความคิดริเริ่มสรางสรรคเพ่ือสรางผลิตภัณฑ
นวัตกรรมใหก ับวงการอตุ สาหกรรม
6. มีระเบียบวินยั และความรบั ผิดชอบสงู
โอกาสในการมีงานทาํ
สําหรับผูประกอบอาชีพนักออกแบบเครื่องเฟอรนิเจอรท่ีมีความสามารถในการริเริ่มสรางสรรคเม่ือ
ทํางานในองคกรธุรกิจเอกชนอยูระยะหน่ึงจะออกมาประกอบอาชีพอิสระเปดกิจการธุรกิจของตนเอง
เพ่ือออกแบบผลิตภณั ฑท ี่แปลกใหมใ หต รงกับกลุมเปา หมายที่วางไวซ่งึ จะทํารายไดดีเพราะผูวาจางจะเปนผูที่มี
ฐานะ นักออกแบบเคร่ืองเฟอรนิเจอรจึงเปนอาชีพท่ีไมมีการตกงาน ถามีไฟในการทํางานควรเปดโลกทัศน
ใหกวาง สนใจคนควาหาขอมูล เพิ่มเติมและสรางสัมพันธกับองคกรและลูกคาในเชิงธุรกิจ แนวโนม
ในตลาดแรงงานอยใู นระดับปานกลาง
สวนมากผูประกอบอาชีพนักออกแบบเครื่องเฟอรนิเจอรมักจะศึกษาตอในสาขาตกแตงภายในซ่ึงมี
วชิ าการออกแบบเครือ่ งเรอื นทาํ ใหม ีโอกาสเลือกทํางานประเภทนีไ้ ดกวางขวางข้ึน