The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

annual report2566

annual report2566

WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 [ปกนอก] รายงานประจำปี 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัด.......... /สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร………. กรมส่งเสริมสหกรณ์


WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 [ปกใน]


WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 สารบัญ สารผู้บริหารหน่วยงาน ก ทำเนียบบุคลากร ข บทสรุปผู้บริหาร ช ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน 1 1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่ 2 1.2 โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของหน่วยงาน 5 1.3 แผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 6 1.4 ข้อมูลสารสนเทศสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ 9 ส่วนที่ 2 ผลการปฏิบัติราชการ 16 2.1 ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 17 2.2 ผลการดำเนินงาน/โครงการนอกแผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ถ้ามี) 82 2.3 ผลการดำเนินงาน/โครงการตามนโยบายสำคัญ และการบูรณาการในระดับพื้นที่ (ถ้ามี) 90 ส่วนที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 98 3.1 กิจกรรมของหน่วยงาน 99 3.2 กิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการร่วมกับสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ 108 3.3 กิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ 123 3.4 รางวัลที่หน่วยงานได้รับจากหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ (ถ้ามี) 150 ส่วนที่ 4 รายงานทางการเงิน 151 4.1 งบแสดงฐานะการเงิน 152 4.2 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน 153 4.3 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 154 ส่วนที่ 5 ภาคผนวกและ/หรือบรรณานุกรม 158


ก WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ทำเนียบบุคลากรในหน่วยงาน คำชี้แจง ทำเนียบบุคลากรควรประกอบด้วย รูปภาพ ชื่อ-นามสกุล และตำแหน่ง ตามฝ่าย/กลุ่มงานที่สังกัด


ข WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023


ค WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023


ง WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023


จ WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023


ฉ WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023


ช WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในรอบปีงบประมาณ ที่ผ่านมา โดยข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งมั่น ทุ่มเท ตั้งใจช่วยกันปฏิบัติงานจนทำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่รับผิดชอบมีความเจริญก้าวหน้า เข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของมวลสมาชิก เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ หน่วยงานราชการอื่น สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และองค์กรอื่นได้รับทราบ จึงขอสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2566 ดังต่อไปนี้ 1. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีบุคลากร 54 ราย 1.1 ข้าราชการ จำนวน 30 ราย 1.2 ลูกจ้างประจำ จำนวน 4 ราย 1.3 พนักงานราชการ จำนวน 14 ราย 1.4 จ้างเหมาบริการ จำนวน 6 ราย 2. งบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566จำนวน 19,058,721.91 บาท แยกเป็น 2.1 งบประมาณรายจ่ายประจำปี 8,058,721.91 บาท (ร้อยละ 42.28) แยกเป็น งบบุคลากร 3,771,880.00 บาท (ร้อยละ 46.80) งบดำเนินงาน 2,971,502.54 บาท (ร้อยละ 36.87) งบลงทุน 308,600.00 บาท (ร้อยละ 3.83) เงินอุดหนุน 1,006,739.37 บาท (ร้อยละ 12.50) งบรายจ่ายอื่น (ถ้ามี) - บาท (ร้อยละ 0.00) 2.2. กองทุนพัฒนาสหกรณ์ 7,500,000.00 บาท (ร้อยละ 39.36) 2.3 กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 3,500,000.00 บาท (ร้อยละ 18.36) 2.4 งบประมาณจังหวัด - บาท (ร้อยละ 0.00)


ซ WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 3. การบริหารงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงาน ราชการ และจ้างเหมาบริการ จำนวนรวม 54 ราย งบประมาณทั้งสิ้น 19,058,721.91 บาท รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ต่างๆ นำไปส่งเสริม แนะนำ ดูแลสหกรณ์ จำนวน 66 สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร จำนวน 72 กลุ่ม รวม 138 สถาบัน ข้อมูลทั่วไปและผลการดำเนินงานของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรมีรายละเอียดโดยสรุป ดังต่อไปนี้ สหกรณ์ 1. ประเภทสหกรณ์การเกษตร จำนวน 26 แห่ง สมาชิก 49,158คน ปริมาณธุรกิจ รวมทั้งสิ้น 2,641,652,260.35 บาท มีผลกำไร 10แห่ง จำนวน 17,050,786.35 บาท ขาดทุน 15แห่ง จำนวน 55,806,297.23 บาท สหกรณ์การเกษตร ขาดทุนสุทธิ 38,755,510.88 บาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 2. ประเภทสหกรณ์นิคม จำนวน 1 แห่ง สมาชิก 323คน ปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 1,321,439.30 บาท มีผล กำไร 1 แห่ง จำนวน 230,149.97 บาท 3. สหกรณ์ออมทรัพย์ จำนวน 16 แห่ง สมาชิก 22,748คน ปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 24,210,789,817.17 บาท มีผลกำไร 16 แห่ง จำนวน 656,172,046.74 บาท 4. สหกรณ์บริการ จำนวน 20 แห่ง สมาชิก 2,067คน ปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 34,659,205.68 บาท มีผลกำไร 11 แห่ง จำนวน 1,038,286.53 บาท ขาดทุน 1แห่ง จำนวน 23,753.84 บาท สหกรณ์บริการ มีผลกำไรสุทธิ 1,014,532.69 บาท 5. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จำนวน 3 แห่ง สมาชิก 2,084คน ปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 344,739,343.69 บาท มี ผลกำไร 2 แห่ง จำนวน 18,850,945.46 บาท ขาดทุน 1 แห่ง จำนวน 208,239.85 บาท สหกรณ์เครดิตยูเนียน มีผลกำไร สุทธิ 18,642,705.61 บาท สรุป มีสหกรณ์ จำนวน 66 แห่ง สมาชิกสหกรณ์ 76,380 คน สหกรณ์ภาคการเกษตร (ภาคการผลิต) 2 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์นิคม ไม่มีประเภทสหกรณ์ประมง มีจำนวนสหกรณ์ 27แห่ง สมาชิก 49,481คน สมาชิก ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.พระนครศรีอยุธยา จำกัด ถึง 32,077 คน สหกรณ์ นิคมมีสมาชิกเพียง 323คน ซึ่งเป็นนิคมประเภทเช่าซื้อและจัดที่ดินตามพระราชบัญญัติ จัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 เสร็จเรียบร้อย ประกาศเลิกนิคมสหกรณ์แล้ว สหกรณ์ภาคการเกษตร มีปริมาณธุรกิจทั้ง 2 ประเภท รวม 2,642,973,699.65 บาท มีกำไร 11แห่ง จำนวน 17,280,936.32 บาท ขาดทุน 15แห่ง จำนวน 55,806,297.23 บาท ทางด้านสหกรณ์นอกภาคเกษตร ประกอบด้วยสหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์บริการ สหกรณ์เครดิตยูเนียน ไม่มีสหกรณ์ ร้านค้า มีจำนวนทั้งสิ้น 39 แห่ง สมาชิก จำนวน 26,899 คน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครู พระนครศรีอยุธยา จำกัด ถึง 11,109 คน สหกรณ์นอกภาคการเกษตร มีปริมาณธุรกิจ รวมทั้งสิ้น 31แห่ง จำนวน 24,590,188,366.54 บาท ซึ่งปริมาณธุรกิจส่วนใหญ่เป็นของประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์มีผลกำไร 29แห่ง จำนวน 676,426,448.71 บาท และขาดทุน 2แห่ง จำนวน 231,993.69 บาท จะเห็นได้ว่าสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์นอกภาคการเกษตร มีปริมาณธุรกิจและกำไรมากกว่าสหกรณ์ ภาคเกษตร ถึงแม้จะมีจำนวนสมาชิกน้อยกว่า สาเหตุที่ทำให้สหกรณ์ภาคเกษตรส่วนใหญ่ขาดทุน เป็นเพราะพื้นที่ ทำการเกษตรลดลง และสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสนใจเข้ามาเป็นสมาชิก ซึ่งต่างจาก สหกรณ์นอกภาคเกษตร โดยเฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์ มีความเจริญเติบโตสูงขึ้นทุกปี


ฌ WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 กลุ่มเกษตรกร 1. ประเภทกลุ่มเกษตรกรทำนา จำนวน 69 แห่ง สมาชิก 3,003 คน ปริมาณธุรกิจรวม ทั้งสิ้น 55,004,840.45 บาท มีผลกำไร 61 แห่ง จำวน 1,990,329.69 บาท ขาดทุน 8 แห่ง จำนวน 393,608.83 บาท 2. ประเภทกลุ่มเกษตรกร ทำสวน จำนวน 2 แห่ง สมาชิก 80 คน ปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 282,800 บาท มีผลกำไร ทั้ง 2 แห่ง จำนวน 8,198.94 บาท 3. ประเภทกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ จำนวน 1 แห่ง สมาชิก 71 คน ไม่มีปริมาณธุรกิจ มีผลกำไร จำนวน 16,887.53 บาท สรุป จะเห็นได้ว่ากลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นประเภทกลุ่มเกษตรกรทำนา มีถึง 69 แห่ง เพราะพื้นที่ ทำการเกษตรในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่ทำนา แต่จำนวนสมาชิกและ ปริมาณธุรกิจของกลุ่ม เกษตรกรมีแนวโน้มลดลงเปลี่ยนไปเป็นลูกค้า ธกส. หรือสมาชิกสหกรณ์ จากการดำเนินการส่งเสริมสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรผ่านระบบการส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อพัฒนาให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์ มาตรฐาน ตรงตามเป้าหมายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคง ให้ความสำคัญกับโครงการหลายโครงการ รวมทั้งโครงการของรัฐบาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การดำเนินโครงการที่ผ่านมาสามรถตอบสนองนโยบายของ กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยมุ่งพัฒนาและแก้ไขปัญหาของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร เพื่อเป็นที่พึ่งของ มวลสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป ช่วยให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งยังตอบสนอง นโยบายของจังหวัด พระนครศรีอยุธยาอีกด้วย ข้อเสนอแนะ 1. การส่งเสริมสหกรณ์ควรมีการแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ประเภทการเกษตรขยายการรับ สมาชิก เพิ่มและเพิ่มปริมาณธุรกิจให้สูงขึ้น ทำธุรกิจการเกษตรให้ครบวงจร 2. การส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรต้องแนะนำให้กลุ่มเกษตรกรเพิ่มการทำธุรกิจให้ครบทุก ประเภท เป็นการทำธุรกิจแบบครบวงจร สามารถทำให้ปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น ตอบสนองความต้องการ ของสมาชิก 3. การส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ควรเน้น วิเคราะห์สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ถูกต้องตรง กับสภาพและความต้องการของสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร และแนะนำส่งเสริมรวมทั้งติดตามอย่างต่อเนื่อง 4. ควรแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้บริหารองค์กรมีระบบควบคุมภายในที่ดี 5. ต้องดำเนินการคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งและเป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ ดำเนินการตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง


1 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน


2 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่


3 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023


4 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023


5 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของหน่วยงาน โครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรอบอัตรากำลังของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรอบอัตรากำลัง เพศชาย เพศหญิง รวม 1) ข้าราชการ 14 16 30 2) ลูกจ้างประจำ 3 1 4 3) พนักงานราชการ 3 11 14 4) จ้างเหมาบริการ 6 - 6 รวม 26 28 54 หมายเหตุ ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 55% 8% 26% 11% ข้าราชการ ลูกจ้างประจ า พนักงานราชการ จ้างเหมาบริการ สหกรณ์จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ฝ่ายบริหารทั้วไป กลุ่มจัดตั้งและ ส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและ พัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริม และพัฒนาการบริหาร การจัดการสหกรณ์ กลุ่มตรวจการ สหกรณ์ ข้าราชการ 2 ราย ลูกจ้างประจำ 3 ราย พนักงานราชการ 2 ราย จ้างเหมาบริการ 4 ราย ข้าราชการ 3 ราย พนักงานราชการ 1 ราย ข้าราชการ 3 ราย พนักงานราชการ 1 ราย ข้าราชการ 2 ราย พนักงานราชการ 2 ราย ข้าราชการ 5 ราย พนักงานราชการ 2 ราย จ้างเหมาบริการ 1 ราย ข้าราชการ 3 ราย พนักงานราชการ 2 ราย ข้าราชการ 4 ราย พนักงานราชการ 2 ราย จ้างเหมาบริการ 1 ราย ข้าราชการ 5 ราย พนักงานราชการ 2 ราย จ้างเหมาบริการ 1 ราย


6 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 แผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566


7 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023


8 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023


9 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ข้อมูลาสารสนเทศสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ 1) ข้อมูลสารสนเทศสหกรณ์(จำแนกตามประเภทสหกรณ์)ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566ดังนี้ 1.1) จำนวนสหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ (ถ้ามี) แยกตามสถานะสหกรณ์ ประเภท จำนวนสหกรณ์ จำนวนชุมนุมสหกรณ์ รวมทั้งสิ้น Active Non-Active Active Non-Active ยังไม่เริ่ม ดำเนินการ ดำเนินการ เลิกสหกรณ์ ยังไม่เริ่ม ดำเนินการ ดำเนินการ เลิกชุมนุม สหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร - 26 2 - - 1 29 สหกรณ์ประมง - - - - - - - สหกรณ์นิคม - 1 1 - - - 2 สหกรณ์ร้านค้า - - 1 - - - 1 สหกรณ์บริการ - 20 2 - - - 22 สหกรณ์ออมทรัพย์ - 16 1 - - - 17 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - 3 2 - - - 5 รวมทั้งสิ้น - 66 9 - - 1 76 1.2) จำนวนสหกรณ์(Active) และจำนวนสมาชิกสหกรณ์ ประเภท จำนวนสหกรณ์(แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) สหกรณ์การเกษตร 26 49,145 สหกรณ์ประมง - - สหกรณ์นิคม 1 321 สหกรณ์ร้านค้า - - สหกรณ์บริการ 20 2,160 สหกรณ์ออมทรัพย์ 16 23,227 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 3 1,956 รวมทั้งสิ้น 66 76,809


10 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 1.3) จำนวนสหกรณ์(Active) แยกตามเดือนสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ประเภท เดือนสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. สหกรณ์การเกษตร - - 14 1 - 6 - - 3 - - 2 สหกรณ์ประมง - - - - - - - - - - - - สหกรณ์นิคม - - 1 - - - - - - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - - - - - สหกรณ์บริการ - 1 3 2 - 1 - - 1 - - 12 สหกรณ์ออมทรัพย์ 2 - - - - - - - 5 1 1 7 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - - - - - - - - - - - 3 รวมทั้งสิ้น 2 1 18 3 - 7 - - 9 1 1 24 1.4) จำนวนสหกรณ์(Active)แยกตามผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ (เกณฑ์เดิม) ประเภท ผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 สหกรณ์การเกษตร - 26 - - สหกรณ์ประมง - - - - สหกรณ์นิคม - 1 - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - สหกรณ์บริการ 3 15 2 - สหกรณ์ออมทรัพย์ 7 9 - - สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 1 2 - - รวมทั้งสิ้น 11 53 2 -


11 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 1.5) จำนวนสหกรณ์(Active) และปริมาณธุรกิจสหกรณ์แยกตามประเภทธุรกิจ หน่วย : ล้านบาท ประเภท จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) ปริมาณธุรกิจแยกตามประเภทธุรกิจ รับฝากเงิน ให้เงินกู้ จัดหา สินค้ามา จำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต ให้บริการ และอื่น ๆ รวม ปริมาณธุรกิจ สหกรณ์การเกษตร 26 113.676 206.147 503.841 781.386 1.947 3.011 1,610.008 สหกรณ์ประมง - - - - - - - - สหกรณ์นิคม 1 - - - - - 0.477 0.477 สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - สหกรณ์บริการ 20 0.146 7.833 0.078 - - 0.493 8.550 สหกรณ์ออมทรัพย์ 16 1,301.545 5,827.765 31.260 - - 0.010 7,160.580 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 3 22.118 251.935 20.869 - - - 294.922 รวมทั้งสิ้น 66 1,437.485 6,293.680 556.048 781.386 1.947 3.991 9,074.537 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว 1.6) จำนวนสหกรณ์(Active)และผลการดำเนินงานของสหกรณ์ (กำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ) ประเภท ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) สหกรณ์การเกษตร 10 17,050,786.35 15 55,806,761.26 สหกรณ์ประมง - - - - สหกรณ์นิคม 1 230,149.97 - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - สหกรณ์บริการ 10 865,676.53 1 23,753.84 สหกรณ์ออมทรัพย์ 16 655,053,477.61 - - สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 2 18,850,945.46 1 208,239.85 รวมทั้งสิ้น 39 692,051,035.92 17 56,038,754.95 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว


12 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2) ข้อมูลสารสนเทศกลุ่มเกษตรกร (จำแนกตามประเภทกลุ่มเกษตรกร) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566ดังนี้ 2.1) จำนวนกลุ่มเกษตรกร แยกตามสถานะกลุ่มเกษตรกร ประเภท จำนวนกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งสิ้น Active Non-Active ยังไม่เริ่ม ดำเนินการ ดำเนินการ เลิกกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรทำนา - 69 4 73 กลุ่มเกษตรกรทำสวน - 2 - 2 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - - - กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ - 1 - 1 กลุ่มเกษตรกรประมง - - - - กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ - - - - รวมทั้งสิ้น - 72 4 76 2.2) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active) และจำนวนสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ประเภท จำนวนกลุ่มเกษตรกร (แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) กลุ่มเกษตรกรทำนา 69 2,923 กลุ่มเกษตรกรทำสวน 2 75 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 1 71 กลุ่มเกษตรกรประมง - - กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ - - รวมทั้งสิ้น 72 3,069


13 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2.3) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active) แยกตามเดือนสิ้นปีทางบัญชีของกลุ่มเกษตรกร ประเภท เดือนสิ้นปีทางบัญชีของกลุ่มเกษตรกร ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. กลุ่มเกษตรกรทำนา - - 52 - - 11 - - 6 - - - กลุ่มเกษตรกรทำสวน - - 2 - - - - - - - - - กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - - - - - - - - - - - กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ - - - - - - - - 1 - - - .กลุ่มเกษตรกรประมง - - - - - - - - - - - - กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ - - - - - - - - - - - - รวมทั้งสิ้น - - 54 - - 11 - - 7 - - - 2.4) จำนวนกลุ่มเกษตรกร(Active)แยกตามผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร (เกณฑ์เดิม) ประเภท ผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 กลุ่มเกษตรกรทำนา - 67 2 - กลุ่มเกษตรกรทำสวน - 2 - - กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - - - กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ - 1 - - .กลุ่มเกษตรกรประมง - - - - กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ - - - - รวมทั้งสิ้น - 70 2 -


14 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2.5) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active) และปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกรแยกตามประเภทธุรกิจ หน่วย : ล้านบาท ประเภท จำนวน กลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) ปริมาณธุรกิจแยกตามประเภทธุรกิจ รับฝากเงิน ให้เงินกู้ จัดหา สินค้ามา จำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต ให้บริการ และอื่น ๆ รวม ปริมาณธุรกิจ กลุ่มเกษตรกรทำนา 69 - 44.248 - - - - 44.248 กลุ่มเกษตรกรทำสวน 2 - 0.329 - - - - 0.329 กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - - - - - - - กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 1 - - - - - - - .กลุ่มเกษตรกรประมง - - - - - - - - กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ - - - - - - - - รวมทั้งสิ้น 72 44.577 44.577 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว 2.6) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active)และผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร (กำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ) ประเภท ผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ จำนวนกลุ่มเกษตรกร (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) กลุ่มเกษตรกรทำนา 64 2,100,691.73 5 203,139.01 กลุ่มเกษตรกรทำสวน 2 17,223.90 - - กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - - - กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 1 16,887.53 - - .กลุ่มเกษตรกรประมง - - - - กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ - - - - รวมทั้งสิ้น 67 2,134,803.16 5 203,139.01 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว


15 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 3) ข้อมูลสารสนเทศกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์(จำแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์)ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566ดังนี้ 3.1) จำนวนกลุ่มอาชีพแยกตามสถานะกลุ่มอาชีพ ประเภท Active Non-Active รวมทั้งสิ้น ดำเนินธุรกิจ ดำเนินธุรกิจ เป็นครั้งคราว หยุด ดำเนินการ แจ้งยกเลิก กลุ่มแล้ว แต่ยังไม่ได้ แจ้งคืนเงินเข้า คลังจังหวัด แจ้งยกเลิกกลุ่ม และคืนเงินเข้า คลังจังหวัด เรียบร้อยแล้ว ติดตามไม่ได้ อาหารแปรรูป 18 1 1 - - - 20 ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4 - - - - - 4 ของใช้/ของตกแต่ง/ ของที่ระลึก/เครื่องประดับ 11 1 2 - - - 14 เลี้ยงสัตว์ - - - - - - - บริการ - - - - - - - เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - - - - - - - เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2 - - - - - 2 สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร/ยา 3 1 1 - - - 5 เพาะปลูก 2 - - - - - 2 ปัจจัยการผลิต - - - - - - - รวมทั้งสิ้น 40 3 4 - - - 47


16 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ส่วนที่ 2 ผลการปฏิบัติราชการ


17 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการดำเนินภารกิจพื้นฐานเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ ➢ แผนงานพื้นฐาน ⚫ แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 1) งานแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและกำกับการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.1) แนะนำส่งเสริมฯ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 กลุ่ม เขตพื้นที่ความ รับผิดชอบทั้งหมด 16 อำเภอ โดยแบ่งเขตพื้นที่แต่ละกลุ่มในการเข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็ง ดังนี้


18 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 เป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อุทัย วังน้อย บางปะอิน และบางบาล จำนวน 54 แห่ง จำนวนสมาชิก 62,639 ราย ประกอบด้วย ประเภท จำนวน (แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) สหกรณ์ 37 61,976 กลุ่มเกษตรกร 17 663 รวมทั้งสิ้น 54 62,639 ผลการดำเนินการ ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของ สมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 63 แห่ง 34 23 67.65 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีสถานะดำเนินการมีอัตราการขยายตัวของปริมาณ ธุรกิจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 แห่ง 54 33 61.11 3. สหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับ 1 และ 2 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 91 แห่ง 34 37 108 4. สหกรณ์ที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมฯไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 30 17 56.67 5. กลุ่มเกษตรกรที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมฯ ไม่น้อย กว่าร้อยละ 80 แห่ง 14 15 107 6. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีประจำปี ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ร้อยละ 100 แห่ง 54 40 74.07 7. ผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมกำไรประจำปี ร้อยละ 100 แห่ง 54 43 79.62 กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการแนะนำส่งเสริมพัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 แห่ง 54 54 100 2. ส่งเสริม แนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิด บัญชีประจำปีได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 54 54 100 3. ส่งเสริม แนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ได้ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี (30 มิ.ย.65 – เม.ย.66) แห่ง 54 52 96.30 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1. เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 4 4 100 2. การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 14 14 100


19 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์ 1. สหกรณ์ : ได้แก่ สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินวังน้อย จำกัด มีผลงาน/ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ผลจากการที่สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินวังน้อย จำกัด ขับเคลื่อนการดำเนินการตามโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร” จากการดำเนินการอบรมดังกล่าว สหกรณ์ได้กำหนด แนวทางการบริหารงาน โดยการปรับปรุงฐานข้อมูลสมาชิก กระตุ้นการมีส่วนร่วมจากสมาชิก ส่งผลให้สหกรณ์ สามารถรักษาให้มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับชั้น 2 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. สหกรณ์สามารถรักษาความเข้มแข็งอยู่ในระดับชั้น 2 2. สหกรณ์มีอัตราการมีส่วนร่วมของสมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ณ สิ้นปีบัญชี 31 มีนาคม 2565 มีสมาชิกมีส่วนร่วม ร้อยละ 66.47 ประจำปีบัญชีสิ้นสุด 31 มีนาคม 2566 มีสมาชิกมีส่วนร่วม ร้อยละ 70.03 3. สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.65 4. สหกรณ์มีอัตราส่วนหนี้สินทั้งสินต่อทุน 0.04 เท่า ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งถือว่าอยู่ ในระดับขั้นสูง (ดี) แสดงว่าทุนของสหกรณ์สามารถคุ้มครองหนี้สินได้ทั้งหมด 5. สหกรณ์มีทุนสำรองต่อสินทรัพย์ 0.60 เท่า ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งถือว่าสหกรณ์มี อัตราทุนสำรองต่อสินทรัพย์อยู่ในระดับขั้นสูง (ดี) แสดงว่าสหกรณ์มีเกราะป้องกันทางการเงินที่ดี มีความมั่นคง ทางการเงิน 2. สหกรณ์ : ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน แมกเนคอมพ์จำกัด มีผลงาน/ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ผลจากการแนะนำส่งเสริม และขับเคลื่อนให้สหกรณ์มีการพัฒนาให้ดำเนินการจัดให้มีแอปพลิเคชั่น เพื่อให้สมาชิกได้ตรวจสอบข้อมูลได้ เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีปัญหาการทุจริตเกิดขึ้นในสหกรณ์หลายแห่ง มากขึ้น เพื่อให้มีการตรวจสอบได้ของสมาชิก เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น จึงได้ขับเคลื่อนให้สหกรณ์ ดำเนินการให้มีแอปพลิเคชั่น แต่เนื่องจากสหกรณ์มีการลงบันทึกบัญชีด้วยโปรแกรม Excel ไม่ได้ใช้โปรแกรม บัญชีสำเร็จรูปจึงเป็นอุปสรรคในการดำเนินการดังกล่าว จึงได้แนะนำให้สหกรณ์ประสานการใช้โปรแกรมบัญชี สำเร็จรูปจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เนื่องจากเป็นระบบที่มีการต่อยอดการมีแอปพลิเคชั่นได้และไม่มีค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สหกรณ์ในการพัฒนาการใช้โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ เวอร์ชั่น 3.0 ของกรมตรวจบัญชี เริ่มใช้โปรแกรมบัญชีในวันที่ 1 กันยายน 2565 โดยเริ่มใช้โปรแกรมบัญชีแบบ ครบวงจรสำหรับปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2566 และสหกรณ์ได้ดำเนินการจัดให้มีแอปพลิเคชั่นเป็นแนวทาง ต่อยอดโปรแกรมระบบัญชีสหกรณ์ครบวงจร เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและตรวจสอบความโปร่งใสในการ ดำเนินงานของสหกรณ์ สหกรณ์ได้ดำเนินการให้มีแอปพลิเคชั่น 3 ตัว คือ Smart Member Smart Manager และ Smart Me โดยเริ่มใช้ในเดือน สิงหาคม 2566


20 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. คณะกรรมการดำเนินการ/เจ้าหน้าที่สหกรณ์ เห็นความสำคัญในการพัฒนาการใช้ระบบ โปรแกรมบัญชีแทนการลงบันทึกบัญชีใน Excel เพื่อให้มีระบบตรวจสอบได้ และมีการควบคุมภายในของ สหกรณ์ ตลอดจนได้ต่อยอดการจัดให้มีแอปพลิเคชั่นให้สมาชิกตรวจสอบข้อมูล เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ 2. สหกรณ์เริ่มใช้โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ แบบร้อยเปอร์เซ็นต์สำหรับปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2566 คือข้อมูลระหว่าง 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2566 3. สหกรณ์ประกาศใช้แอปพลิเคชั่น คือ Smart Member Smart Manager และ Smart Me ในเดือนสิงหาคม 2566 3. สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรบางปะอิน จำกัด มีผลงาน/ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ผลจากการแนะนำส่งเสริม และขับเคลื่อนให้สหกรณ์ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างนานของสมาชิก สหกรณ์การเกษตรบางปะอิน จำกัด สหกรณ์ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ “การแก้ไขปัญหาหนี้ค้างนานของ สมาชิกสหกรณ์ 62” และโครงการ “การแก้ไขปัญหาหนี้ค้างนานของสมาชิกสหกรณ์ปี 2564” และมีการ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ พบว่าศักยภาพการชำระหนี้ ของสมาชิกสหกรณ์บางส่วน ทั้งที่ได้เข้าร่วมโครงการ “การแก้ไขปัญหาหนี้ค้างนานของสมาชิกสหกรณ์ 62” และโครงการ “การแก้ไขปัญหาหนี้ค้างนานของสมาชิกสหกรณ์ปี 2564” และยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ สมาชิกได้ประสบปัญหากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลาดรับซื้อผลิตผลการเกษตรของสมาชิกไม่แน่นอน มีการชะลอตัว ส่งผลต่อรายได้ และการดำรงชีพของ สมาชิก ทำให้ไม่มีเงินมาชำระหนี้ต่อสหกรณ์ได้ สหกรณ์การเกษตรบางปะอิน จำกัด จึงได้จัดทำโครงการ “การลดหนี้ค้างนานของสมาชิกสหกรณ์ ปี 2566-2571” เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างนานของสมาชิก รวมทั้งลดจำนวน หนี้ค้างนานของสมาชิกที่มีต่อสหกรณ์ ตามหลักการอุดมการณ์และวิธีการของสหกรณ์ ว่าสหกรณ์ได้มีการ ช่วยเหลือตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ โดยวิธีการดำเนินการสหกรณ์จ่ายคืนดอกเบี้ยและค่าปรับแก่ สมาชิกเป็นจำนวน 49 % ของจำนวนดอกเบี้ยและค่าปรับที่เรียกเก็บมาจากสมาชิก จากผลการดำเนินการตาม โครงการติดตามเร่งรัดหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ปี 2566 มีผลการดำเนินการ ดังนี้ ที่ รายการ จำนวนหนี้ตาม โครงการ ปีวางแผน 2566 ร้อยละทั้ง โครงการ แผนงาน ผลงาน ร้อยละปี 2566 1 ราย 354 71 22 30.99 6.21 2 ต้นเงิน 73,165,375.00 14,600,000.00 4,558,275.47 31.22 6.23 3 ดอกเบี้ยค้าง 28,800,559.00 5,760,000.00 1,256,210.73 21.81 4.36 4 ค่าปรับค้าง 3,489,941.00 531,439.00 283,606.40 53.37 8.13


21 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. คณะกรรมการดำเนินการ/เจ้าหน้าที่สหกรณ์ เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาลดภาระหนี้สิน ระหว่างสมาชิกที่มียอดหนี้ค้างชำระต่อสหกรณ์ 2. สมาชิกที่มีหนี้ค้างนานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ทั้งกรณีที่สมาชิกยังมีชีวิตอยู่ และทายาทสมาชิกที่ เสียชีวิตแล้ว โดยสมัครเข้าโครงการด้วยความสมัครใจเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิก 4. สหกรณ์ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรอุทัย จำกัด มีผลงาน/ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ผลจากการที่สหกรณ์การเกษตรอุทัย จำกัด ได้มีการประสานงานกับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและ พัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประชาสัมพันธ์ไปยังสมาชิกของสหกรณ์ซึ่งเป็นหนี้ค้างกับ สหกรณ์ฯ เพื่อเข้าร่วมดำเนินการจัดการหนี้ กรณีสถาบันเกษตรกร ทำให้สหกรณ์ฯ มีปริมาณหนี้สินของสมาชิก ที่มีสถานะผิดนัดชำระหนี้ลดลง และมีรายได้เข้าสหกรณ์ฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งในปีบัญชี 2566 ของสหกรณ์ฯ มีจำนวน เงินที่ได้รับจากการอนุมัติเบิกจ่ายเงินงบประมาณชำระหนี้แทนเกษตรกรของสหกรณ์การเกษตรรอุทัย จำกัด จากสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตร สาขาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 3,616,270.29 บาท จากรายได้เงินงบประมาณดังกล่าว ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรอุทัย จำกัด มีผลการ ดำเนินงานกำไรสุทธิประจำปี 2566 จำนวน 167,128.04 บาท ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานสุทธิที่มีผลกำไร เนื่องจากในรอบปีที่ผ่านมาสหกรณ์ฯ มีผลการดำเนินงานขาดทุนติดต่อกัน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. สมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว รวมทั้งสหกรณ์ฯ มีส่วนช่วย ในการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวเพิ่มเติมไปยังสมาชิก 2. สหกรณ์ฯ ได้รับการแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุนโยบายจากภาครัฐและหน่วยงานราชการต่างๆ 5. สหกรณ์ : ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินพระนครศรีอยุธยา จำกัด มีผลงาน/ผลสำเร็จที่ เกิดขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ดังนี้ ในรอบปีสหกรณ์มีการแก้ประเด็นที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ให้สามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ โดยสามารถจัดทำงบการเงินแล้วเสร็จและส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ รับรองงบการเงิน และนำเสนอเพื่ออนุมัติ ในที่ประชุมใหญ่ได้ทันภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีซึ่งได้ดำเนินการระหว่างคณะกรรมการ ดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ที่รับผิดชอบ โดยชี้แจงแนวทางปฏิบัติการดำเนินงานสหกรณ์และ ให้คำแนะนำต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อให้สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมส่งเสริม สหกรณ์กำหนด ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. สหกรณ์มีการมอบหมายกรรมการให้ทำหน้าที่จัดทำบัญชีของสหกรณ์โดยได้รับการช่วยเหลือ จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง 2. การจัดทำบัญชีเป็นไปตามรูปแบบบัญชีตามที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้แนะนำ 3. ติดตามและตรวจสอบหลักฐานการลงบัญชีให้ถูกต้อง และบันทึกรายการทางบัญชีให้เป็น ปัจจุบันเพื่อส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบได้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี


22 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน สหกรณ์ สหกรณ์ภาคการเกษตร 1. สหกรณ์การเกษตรปัญหาที่พบคือ สหกรณ์ขายปุ๋ยเงินเชื่อกับกลุ่ม/เครือข่ายภายนอกเป็น จำนวนเงินสูงมากและมีการผิดสัญญาไม่ได้รับการชำระเงิน รวมถึงสมาชิกมีหนี้ค้างนานผิดสัญญาเงินกู้ ทำให้สหกรณ์ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และประสบปัญหาขาดทุนสะสมมูลค่าทุนเรือนหุ้นคงเหลือติดลบ ทำให้ไม่สามารถจ่ายคืนทุนเรือนหุ้นให้กับสมาชิกได้ คณะกรรมการ/ฝ่ายจัดการของสหกรณ์ขาดความ กระตือรือร้นในการติดตามแก้ไขปัญหาหนี้ค้างนานอย่างสม่ำเสมอ และไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ได้ ทุกกลุ่ม ทำให้การติดตามหนี้เป็นไปได้ยาก 2. สหกรณ์ประเภทนิคม สหกรณ์ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหนี้เนื่องจากสมาชิกที่กู้เงิน จากสหกรณ์ไม่ส่งชำระหนี้ตามกำหนดสัญญาเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้สมาชิกและบุคคลภายนอกขาดความ เชื่อมั่นในสหกรณ์และการมีส่วนร่วมของสมาชิกมีการอัตราที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากจุดอิ่มตัวในการดำเนิน ธุรกิจสหกรณ์และการประชาสัมพันธ์การให้บริการของสหกรณ์ยังไม่ทั่วถึง สหกรณ์พึ่งพารายได้หลักจากธุรกิจ บริการให้เช่าสถานที่ 3. คณะกรรมการดำเนินการบางท่านยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องระเบียบ/ข้อบังคับ/กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ 4. ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์มีการจัดให้มีผู้ตรวจสอบกิจการตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 53 โดยผู้ตรวจสอบกิจการยังไม่ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์อย่างเต็มที่ ยังมีความรู้ไม่เพียงพอในการตรวจสอบกิจการ ไม่สามารถนำผลการตรวจสอบไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 1. สหกรณ์นอกภาคการเกษตร ปัญหาที่พบคือสหกรณ์บ้านมั่นคงไม่สามารถปิดบัญชีได้ พบเงินสดขาดบัญชีจำนวนมาก คณะกรรมการดำเนินการ สมาชิกสหกรณ์ไม่ให้ความสำคัญในการเข้าร่วม ประชุมของสหกรณ์ มีปัญหาการทุจริต มีความขัดแย้งภายในสหกรณ์และคณะกรรมการดำเนินการชุดเก่าๆ ไม่มีการจัดทำเอกสารตามระบบสหกรณ์ ไม่มีระบบการควบคุมภายใน ไม่มีการส่งมอบเอกสารระหว่าง คณะกรรมการดำเนินการชุดเก่าและชุดใหม่ ทำให้การบริหารงานภายใต้คณะกรรมการดำเนินการชุดปัจจุบันมี ความล่าช้า และต้องแก้ปัญหาที่คณะกรรมการดำเนินการชุดเก่าได้ก่อปัญหาไว้ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเข้าไป แนะนำส่งเสริมสหกรณ์และการแก้ไขปัญหาของสหกรณ์ 2. ปัญหาทางด้านสหกรณ์ดำเนินธุรกิจด้านให้บริการเดินรถ คณะกรรมการดำเนินการและสมาชิก สหกรณ์ไม่มีเวลาในการเข้าร่วมประชุม ปัจจุบันมีการแข่งขันจากเอกชนที่ประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันมาก ขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเดินรถ สมาชิกส่วนมากหยุดการให้บริการเดินรถ ส่งผลกระทบต่อการ ดำเนินงานของสหกรณ์เป็นอย่างยิ่ง ตลอดจนคณะกรรมการดำเนินการขาดความรู้ ความสามารถในการ บริหารงานในรูปแบบสหกรณ์ และขาดความรู้ขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องระเบียบ/ข้อบังคับ/กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับสหกรณ์


23 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 3. ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์มีการจัดให้มีผู้ตรวจสอบกิจการตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 53 โดยผู้ตรวจสอบกิจการยังไม่ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์อย่างเต็มที่ ยังมีความรู้ไม่เพียงพอในการตรวจสอบกิจการ ไม่สามารถนำผลการตรวจสอบไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง กลุ่มเกษตรกร 1. กลุ่มเกษตรกรดำเนินธุรกิจสินเชื่อเพียงด้านเดียว การขยายธุรกิจเป็นไปด้วยยากเนื่องจาก สมาชิกส่วนมากมีแหล่งเงินทุนหลายแห่ง มีหนี้สิ้นหลายทาง 2. คณะกรรมการดำเนินการ ยังขาดความรู้ เกี่ยวกับข้อบังคับและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มเกษตรกร 3. คณะกรรมการดำเนินการ ขาดความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจ 4. สมาชิกกลุ่มเกษตรกรสมาชิกขาดการให้ความร่วมมือ เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ไม่ สะดวกในการเข้าร่วมประชุมต่างๆ กับกลุ่มเกษตรกร และการรับสมาชิกใหม่ค่อนข้างยากเนื่องจากปัจจุบัน คนรุ่นใหม่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและขาดการสนใจในการเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร แนวทางการแก้ไขปัญหา/ข้อเสนอแนะ 1. จัดการประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มงานและกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประจำเพื่อติดตามปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ในการแนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์ 2. แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ปฏิบัติตามข้อบังคับ/ระเบียบของสหกรณ์ รวมทั้งคำสั่ง/ระเบียบ/ ประกาศของนายทะเบียนสหกรณ์และกฏหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด 3. แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์แจ้งปัญหาที่แท้จริงให้สมาชิกทราบ ผ่านการประชุมกลุ่มสมาชิกและ/ หรือ การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหกรณ์ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพราะแก้ไข ปัญหาต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย 4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) สหกรณ์ที่มีปัญหาในการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น ปัญหาหนี้สินค้างนานของสมาชิกต่อสหกรณ์ เป็นต้น 5. ควรพิจารณาความพร้อมทุกด้านก่อนการจัดตั้งสหกรณ์ เช่น สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงควร ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่สมาชิก คณะกรรมการและฝ่ายจัดการถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง สิทธิหน้าที่ ก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจัดหาเจ้าหน้าที่จัดทำบัญชีที่สามารถออกงบการเงินได้ เพื่อป้องกันการ ปิดบัญชีไม่ได้ของสหกรณ์ 6. ควรจัดให้มีการอบรมสอนการจัดทำบัญชีให้กับเจ้าหน้าที่บัญชีของสหกรณ์ โดยเฉพาะสหกรณ์ เคหสถานบ้านมั่นคงที่ปิดบัญชีไม่ได้ 7. กระตุ้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกโดยให้ความรู้กับสมาชิก ให้เข้าใจบทบาท หน้าที่ ของสมาชิก เพื่อให้สมาชิกมีส่วนกับสหกรณ์มากขึ้น


24 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพกิจกรรม ภาพประกอบ การจัดอบรมโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร” สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมกับสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินวังน้อย จำกัด ได้จัดอบรมโครงการ ฝึกอบรมหลักสูตร “ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร” ณ วันที่ 17 มกราคม 2567 โดยมีผู้รับการฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้แทนจากสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินวังน้อย จำกัด จำนวน 20 คน


25 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพประกอบ การพัฒนาการใช้โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์และแอปพลิเคชั่น แนะนำส่งเสริม ขับเคลื่อน ต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อ ขับเคลื่อนให้สหกรณ์ดำเนินการจัดให้มีแอปพลิเคชั่นให้สมาชิกตรวจสอบ สหกรณ์ขับเคลื่อนพัฒนาการใช้โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ และประกาศใช้แอปพลิคชั่น คือ Smart Member Smart Manager และ Smart Me


26 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพประกอบ การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อแนะนำส่งเสริม ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างนานของสมาชิกสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเข้าร่วมแนะนำส่งเสริม ขับเคลื่อน ต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ร่วมกับ สหกรณ์เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างนานของสมาชิกสหกรณ์ พร้อมติดตามการดำเนินการเป็นประจำทุก เดือน


27 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพประกอบ การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อแนะนำส่งเสริม ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเข้าร่วมแนะนำส่งเสริม ขับเคลื่อน ต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ร่วมกับสหกรณ์หา วิธีการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานสหกรณ์ พร้อมติดตามการดำเนินการเป็นประจำทุกเดือน ภาพประกอบ การผลักดันให้สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมแนะนำส่งเสริม ขับเคลื่อน โดยการชี้แจงแนวทการปฏิบัติเพื่อผร่วมประชุมคณะกรรมการ ดำเนินการ ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อหาแนวทางร่วมกันและผลักดันให้สามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สหกรณ์ประจำปี 2566


28 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 เป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอท่าเรือ อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน อำเภอนครหลวง อำเภอภาชี และอำเภอบ้านแพรก จำนวน 47 แห่ง จำนวนสมาชิก 14,291 ราย ประกอบด้วย ประเภท จำนวน (แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) สหกรณ์ 15 7,822 กลุ่มเกษตรกร 32 6,469 รวมทั้งสิ้น 47 14,291 ผลการดำเนินการ ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของ สมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 63 แห่ง 30 15 50 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีสถานะดำเนินการมีอัตราการขยายตัวของปริมาณ ธุรกิจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 แห่ง 47 20 42.55 3. สหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับ 1 และ 2 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 91 แห่ง 14 12 85.71 4. สหกรณ์ที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมฯไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 แห่ง 12 3 25 5. กลุ่มเกษตรกรที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมฯ ไม่น้อย กว่าร้อยละ 80 แห่ง 26 21 80.77 6. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีประจำปี ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ร้อยละ 100 แห่ง 47 42 89.36 7. ผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมกำไรประจำปี ร้อยละ 100 แห่ง 47 36 76.59 กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการแนะนำส่งเสริมพัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 แห่ง 47 47 100 2. ส่งเสริม แนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิด บัญชีประจำปีได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 47 47 100 3. ส่งเสริม แนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ได้ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี (30 มิ.ย.65 – เม.ย.66) แห่ง 47 42 89.36 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1. เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 1 1 100 2. การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 7 7 100


29 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์ จากการแนะนํา ส่งเสริม และแก้ไขปัญหา สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดย การให้คำแนะนําในที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ตรวจเยี่ยมในพื้นที่ เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรมีความเข้มแข็งตามศักยภาพ ปรากฏผล ดังนี้ 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 6,469คน สมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับ สหกรณ์ จำนวน 3,794คน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.60ของสมาชิกทั้งหมด สหกรณ์มีผลกำไร 5แห่ง จำนวน 3,154,205.64 บาท สหกรณ์ขาดทุน 7แห่ง จำนวน (13,425,076.64) บาท สหกรณ์สามารถปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินแล้วเสร็จภายใน 30 วันนับจากวันสิ้นปีทางบัญชี จำนวน 12 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ80.00 ของสหกรณ์ทั้งหมด และสามารถประชุมใหญ่ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นปีทางบัญชี จำนวน 13แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ86.67ของสหกรณ์ทั้งหมด 2. กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 1,353คนสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจ กับสหกรณ์ จำนวน 692คน หรือคิดเป็นร้อยละ 51.14 กลุ่มเกษตรกรมีผลกำไร 31แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 96.88 จำนวน 1,028,377.22บาท และมีผลขาดทุน 1แห่ง จำนวน (10,913.88) บาท กลุ่มเกษตรกรสามารถปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินแล้ว เสร็จภายใน 30 วันนับจากวันสิ้นปีทางบัญชี จำนวน 30แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ93.75ของกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด และสามารถ ประชุมใหญ่ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นปีทางบัญชี จำนวน 29แห่งหรือคิดเป็นร้อยละ90.63ของกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์: สหกรณ์การเกษตรท่าเรือ จํากัด สหกรณ์การเกษตรท่าเรือ จำกัด เป็นสหกรณ์ที่มีผลงานเด่นโดยสหกรณ์ฯ ได้เข้าร่วมโครงการบริการ ประชาชนผู้ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยได้จัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคมาจำหน่ายให้สมาชิกสหกรณ์และ เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่ ซึ่งทำให้สมาชิกสหกรณ์และประชาชนทั่วไปที่ได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถ เข้าถึงสินค้าอุปโภคบริโภคได้สะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง นอกจากกิจกรรมดังกล่าว สหกรณ์ฯ ยังมีการผลิตพันธุ์ข้าวแบบครบวงจร เพื่อจำหน่ายให้แก่บรรดาสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรทั่วไปหลากหลาย สายพันธุ์ โดยสหกรณ์มีกระบวนการในการผลผลิตและควบคุมในทุกขั้นตอนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ส่งผลให้สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่อำเภอท่าเรือ มีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มี คุณภาพไว้ใช้ในการเพาะปลูกในแต่ละฤดูการผลิต และในปีที่ผ่านมาสหกรณ์ได้จำหน่ายข้าวปลูกและข้าวสาร ได้แก่ข้าวพื้นนุ่ม กข 87 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในด้านการพัฒนาความเข้มแข็ง คณะกรรมการดำเนินการได้นำความรู้ที่ได้จากการแนะนำส่งเสริมและ การศึกษาดูงาน มาพัฒนาสหกรณ์/สมาชิก/คณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการของสหกรณ์ โดยพัฒนา ด้านการให้บริการสมาชิก การทำโครงการจัดชั้นสมาชิก โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สิน และโครงการต่างๆ ให้แก่สมาชิก รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ผ่านทาง แอปพลิเคชัน Facebook และ Line ของ สหกรณ์ จนส่งผลให้ในปีที่ผ่านมาสหกรณ์มีผลการดำเนินงานขาดทุนลดลง


30 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์จากกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 ได้ส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตรท่าเรือ จํากัด เข้าร่วมโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เป็นสหกรณ์ที่สามารถให้บริการสมาชิกได้ตาม หลักการ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์และการดำเนินงานภายใต้ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ รวมถึง แนะนำส่งเสริมในการศึกษาดูงานสหกรณ์การเกษตรต่างพื้นที่เพื่อนำมาปรับใช้กับสหกรณ์ และได้ร่วมกับทาง คณะกรรมการดำเนินการ เจาหนาที่สหกรณในการใหความรูและทำความเขาใจกับสิทธิ และหนาที่ของสมาชิก ผ่านการประชุมกลุมสมาชิก สงผลใหสมาชิกหันมาให้ความร่วมมือกับสหกรณมากขึ้น มีการชําระหนี้เพิ่มขึ้น กว่าเดิม ตลอดจนมีการแนะนําสงเสริมใหสหกรณจัดทำโครงการช่วยเหลือสมาชิกด้านต่างๆ เชน การแกปญหา หนี้สินของสมาชิก โครงการช่วยเหลือสมาชิกด้านหนี้สิน ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิก ของสหกรณ์ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการ และการขับเคลื่อนการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง จนสามารถ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านการเกษตรแก่สมาชิกและชุมชนได้ กลุ่มเกษตรกร : กลุ่มเกษตรกรทำนาวังแดง กลุ่มเกษตรกรทำนาวังแดง จดทะเบียน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2526 มีสมาชิก 69 คน กลุ่มเกษตรกรมี ทุนดําเนินงานทั้งสิ้น 2,969,867.99 บาท ทุนดําเนินงานดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นทุนของกลุ่มเกษตรกรเอง ร้อยละ 79.04 เจ้าหนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร้อยละ 20.20 ส่วนที่เหลือเป็นหนี้สินอื่น ร้อยละ 0.76 กลุ่มเกษตรกรดำเนิน ธุรกิจ 2 ด้าน มีมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น 3,177,750 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,265,750 บาท หรือร้อยละ 66.20 โดยเป็นธุรกิจสินเชื่อมากที่สุดร้อยละ 79.61 และการจัดหาสินค้ามาจําหน่าย ร้อยละ 20.39 ลูกหนี้ทุกราย สามารถชําระหนี้ได้ตามกำหนด ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา มีผลกําไรสุทธิ 138,118.35 บาท ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. กลุ่มเกษตรกรได้มีการคัดเลือกสมาชิกที่ให้ความร่วมมือ เสียสละ มาเป็นสมาชิกของกลุ่ม ทําให้การ บริหารจัดการมีประสิทธิภาพ 2. คณะกรรมการ และสมาชิกให้ความร่วมมือกับภาครัฐเป็นอย่างดีในการมาประชุม หรือทำกิจกรรมต่างๆ 3. คณะกรรมการดำเนินการ มีความรู้ความสามารถ สามารถบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการ 1. สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ อุดมการณ์สหกรณ์ สมาชิก บางส่วนขาดจิตสำนึกการเป็นเจ้าของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จึงไม่มีการร่วมมือกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพและยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ต้องการแค่สิทธิหรือผลประโยชน์ที่จะ ได้รับจากองค์กร ขาดการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการ ไม่ปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ของตนเอง ไม่เห็นคุณค่าใน การทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเข้าประชุมใหญ่สามัญประจำปีการทำธุรกิจร่วมกับองค์กร


31 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2. คณะกรรมการดำเนินการ/ผู้ตรวจสอบกิจการ/ฝ่ายจัดการ บางแห่งขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อบังคับ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบริหารจัดการองค์กร การบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ขาดการ ควบคุมภายในที่ดี และไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ทำให้การปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพ 3. คณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นคณะกรรมการชุดเดิมซึ่งเป็นผู้สูงอายุ ส่งผลให้ความคิดด้านการพัฒนาการดำเนินงานยังไม่ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และคนรุ่นใหม่ไม่สนใจสมัครเป็นสมาชิก 4. สหกรณ์ขนาดเล็กไม่มีความพร้อมด้านบุคลากร ไม่ได้จัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์/เจ้าหน้าที่บัญชี มีเพียง มอบหมายกรรมการ ซึ่งไม่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชี จึงไม่สามารถจัดทำบัญชีให้เป็นปัจจุบัน ไม่ สามารถปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบได้ภายในกำหนด ในส่วนของกลุ่มเกษตรกรส่วน ใหญ่การจัดทำบัญชีเป็นการมอบหมายหน้าที่ให้กรรมการดำเนินการ ซึ่งยังต้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสหกรณ์ในการปิดบัญชี และจัดทำงบการเงินประจำปีเพื่อส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบและรับรองงบ 5. สหกรณ์การเกษตรส่วนใหญ่ขาดทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากไม่มีการระดมทุนภายใน การระดมทุนในรูปของหุ้นและเงินฝากออมทรัพย์มีน้อย ส่งผลให้สหกรณ์ต้องใช้เงินทุนจากภายนอก ซึ่งมีอัตรา ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ทำให้สหกรณ์มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น 6. สมาชิกของสหกรณ์ที่มีหนี้ค้างนานมีความเชื่อและความหวังว่ากองทุนฟื้นฟูจะเข้ามาซื้อหนี้กับสหกรณ์ จึงไม่มาชำระหนี้ให้กับสหกรณ์ทำให้เกิดปัญหาสหกรณ์ขาดทุนและมีหนี้ค้างเป็นจำนวนมาก 7. สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกรบางแห่ง มีลูกหนี้ค้างชำระไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ จากหลาย สาเหตุ เช่น สมาชิกบางรายขาดวินัยและความรับผิดชอบในการชำระหนี้ สมาชิกบางรายมีหนี้หลายทาง บาง รายกู้เงินโดยไม่นําไปใช้เพื่อการประกอบอาชีพ แต่กลับใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ทำให้เกิดการผิดนัดชําระหนี้ จน นําไปสู่การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ส่งผลให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรขาดทุนสะสม มีผลทำให้มูลค่าหุ้นไม่เต็ม จำนวน และสมาชิกไม่สามารถถอนหุ้นคืนได้ สมาชิกจึงขาดความเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ สมาชิกชั้นดีเริ่มไม่ ชําระหนี้ตามกำหนดสัญญา ประกอบกับคณะกรรมการดำเนินการไม่มีการเร่งรัดติดตามหนี้ ทำให้มีลูกหนี้ค้าง ชำระเพิ่มมากขึ้นทุกปี นำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีซึ่งทำให้สหกรณ์เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 8. สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ ปัจจัยการ ผลิตราคาสูง ทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย 9. สหกรณ์การเกษตรไม่ได้ใช้สิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์การตลาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการ เสื่อมสภาพและทรุดโทรม 10. สหกรณ์การเกษตรหลายแห่งใช้ระบบโปรแกรมบัญชีของภาคเอกชน จึงไม่สามารถใช้ Application ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เพื่อให้สมาชิกใช้ในการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินได้ รวมถึงสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ สูงวัยไม่มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยี


32 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 11. สหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งยังไม่มีความพร้อมในการใช้ระบบโปรแกรมทางบัญชีของกรมตรวจบัญชี สหกรณ์ ทำให้สหกรณ์ไม่มี Application ให้สมาชิกใช้ตรวจสอบข้อมูลทางการเงินที่เป็นปัจจุบันของตนเองกับ สหกรณ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการทุจริตได้ 12. สหกรณ์ออมทรัพย์มีสมาชิกในสถานประกอบการที่มีการเข้าใหม่และลาออกเป็นประจำ ซึ่งส่งผล กระทบโดยตรงในเรื่องของธุรกิจสินเชื่อ เพราะภาระในการชำระหนี้ของผู้กู้ตกไปอยู่กับผู้ค้ำประกัน ทำให้ผู้ค้ำ ประกันบางรายออกจากสถานประกอบการเพราะไม่ต้องการชดใช้หนี้แทน ทำให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ สหกรณ์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเพิ่มขึ้น 13. สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีคณะกรรมการดำเนินการในสถานประกอบการไม่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การอบรมต่าง ๆ หรือกิจกรรมวันสำคัญของสหกรณ์ เนื่องจากต้องปฏิบัติงานประจำในบริษัท 14. กลุ่มเกษตรกรบางแห่งมีเงินทุนไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน หรือความต้องการของสมาชิก ทำให้ขาดเงินทุน หมุนเวียนในการให้สมาชิกกู้เพื่อไปประกอบอาชีพ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาเงินทุนจากหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะเงินกู้ปลอด ดอกเบี้ยจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในรูปของเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการ ดำเนินธุรกิจให้กับสมาชิก ซึ่งกลุ่มเกษตรกรบางแห่งมีสมาชิกที่ไม่มีวินัยในการชำระหนี้ ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรผิดนัดชำระ หนี้กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำให้คณะกรรมการดำเนินการที่ค้ำประกันเงินกู้ต้องรับผิดชอบชำระหนี้แทนสมาชิก ทำให้เวลา เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสมาชิกจึงไม่ประสงค์จะเป็นกรรมการของกลุ่มเกษตรกร แนวทางการแก้ไขปัญหา/ข้อเสนอแนะ 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจในหลักการ อุดมการณ์ และ วิธีการสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพิ่มมากขึ้น ควรจัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิก หรือจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างจิตสำนึก และตระหนักถึงความเป็นเจ้าของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และสร้างความรู้ ความเข้าใจใน บทบาทหน้าที่ของสมาชิก การมีส่วนร่วม เพื่อสมาชิกจะได้เข้าใจระบบของสหกรณ์ เห็นถึงความสำคัญและ ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2. แนะนำ ส่งเสริม ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้ดำเนินการตาม กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ นายทะเบียนสหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบของ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตลอดถึงกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนโยบาย มติที่ประชุมใหญ่ มติที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการ และแนะนําส่งเสริมให้คณะกรรมการดำเนินการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่าย จัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และมติที่ประชุม รวมถึงการทบทวนข้อบังคับ ระเบียบต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมกับการดําเนินงานและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นต้น และควรมีการพัฒนา ส่งเสริม พัฒนาการด้านการเรียนรู้ คณะกรรมการดำเนินการ จากประสบการณ์ตรง โดยการพาศึกษาดูงานสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกร ที่มีการดำเนินกิจการและประสบความสำเร็จอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจเพื่อ กลับมาพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรของตนเอง


33 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 3. ควรจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มงานวิชาการและกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อติดตาม และ แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการแนะนํา ส่งเสริม สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร รวมทั้งควรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการของ สหกรณ์ที่มีปัญหาในการดําเนินงานด้านต่างๆ เช่น ปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา 4. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรจัดทำแผนธุรกิจที่ครอบคลุมวงจรธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของสมาชิกสหกรณ์ด้วยวิธีการสํารวจความคิดเห็นของสมาชิกสหกรณ์ และเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ในการดำเนินธุรกิจให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง และควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรเพื่อให้สมาชิกได้รับทราบข่าวสารและมาร่วมทำธุรกิจและกิจกรรมกับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 5. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรพิจารณาใช้ความสามารถในการชําระหนี้ของสมาชิกเป็นเกณฑ์ที่สำคัญ ในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ มีการติดตามผลหลังจากการจ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีการจัดชั้น ลูกหนี้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการชําระหนี้ให้เป็นไปตามกำหนดสัญญา ส่วนปัญหาหนี้ค้างชําระ ควรมีการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา และกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ควรส่งเสริมการทำอาชีพเสริมให้แก่ สมาชิกเพื่อให้มีรายได้เสริม แนะนําสงเสริมเรื่องการแกไขปญหาหนี้สินของสมาชิกโดยการใชกลไกของสหกรณ เชน มาตรการผอนระยะเวลาในการชําระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การลดดอกเบี้ยและค่าปรับ การแกไข เพิ่มเติมข้อบังคับและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับการดำเนินงานใหมีความสอดคลองกับการแกไขปญหา หนี้สินของสมาชิก และสอดคลองกับการดําเนินงานและดำเนินธุรกิจในปจจุบัน 6. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่มีปัญหาขาดทุนสะสม ควรดำเนินการเชิงรุกในทุกธุรกิจ โดยมีการจัดทำ แผนงานประจำปีและติดตามผลรายเดือนเพื่อให้งานเป็นไปตามแผน เพื่อเป็นการประเมินผลการดําเนินงานให้ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 7. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรนํา Application ทางการเงินมาใช้เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริต 8. การให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีแก่เจ้าหน้าที่หรือกรรมการผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำบัญชีของ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อทำให้เกิดความชำนาญและสามารถจัดทำบัญชีส่งผู้สอบบัญชีได้ทันภายในเวลาที่ กำหนด 9. แนะนำให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรมีการระดมทุนภายใน โดยการส่งเสริมการออมและการระดม หุ้นของสมาชิก เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กร ก่อนที่จะขอรับการสนับสนุนเงินทุนจากภาครัฐหรือแหล่ง เงินกู้ภายนอก


34 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพกิจกรรม ภาพประกอบ สหกรณ์การเกษตรท่าเรือ จำกัด โครงการบริการประชาชนผู้ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยได้จัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคมาจำหน่ายให้สมาชิก สหกรณ์และเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่ ภาพประกอบ กลุ่มเกษตรกรทำนาวังแดง ประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2565 สำหรับปีบัญชีสิ้นสุด 31 มีนาคม 2566 ณ บ้านประธาน กรรมการ ตำบลวังแดง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


35 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 เป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอเสนา อำเภอบางไทร อำเภอผักไห่ อำเภอบางซ้าย และอำเภอลาดบัวหลวง จำนวน 37 แห่ง จำนวนสมาชิก 9,311 ราย ประกอบด้วย ประเภท จำนวน (แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) สหกรณ์ 14 8,305 กลุ่มเกษตรกร 23 1,006 รวมทั้งสิ้น 37 9,311 ผลการดำเนินการ ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของ สมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 63 แห่ง 23 19 82.61 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีสถานะดำเนินการมีอัตราการขยายตัวของปริมาณ ธุรกิจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 แห่ง 37 18 48.65 3. สหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับ 1 และ 2 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 91 แห่ง 13 14 107.69 4. สหกรณ์ที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมฯไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 แห่ง 11 4 36.36 5. กลุ่มเกษตรกรที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมฯ ไม่น้อย กว่าร้อยละ 80 แห่ง 19 19 100 6. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีประจำปี ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ร้อยละ 100 แห่ง 37 33 89.19 7. ผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมกำไรประจำปี ร้อยละ 100 แห่ง 37 72.97 กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการแนะนำส่งเสริมพัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 แห่ง 37 37 100 2. ส่งเสริม แนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิด บัญชีประจำปีได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 37 37 100 3. ส่งเสริม แนะนำสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ได้ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี (30 มิ.ย.65 – เม.ย.66) แห่ง 37 35 94.59 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1. เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 1 1 100 2. การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 7 7 100


36 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์ 1. สหกรณ์ : สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเสนา จำกัด มีผลงานเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ผลจากการที่สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเสนา จำกัด ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการแก้ไข ปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2566 มีผลการดำเนินการดังนี้ 1) มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ฯ จำนวน 72 รายคิดเป็นร้อยละ 34.29 ของสมาชิกทั้งหมด ข้อมูลยอด ยกมา มีต้นเงินคงค้าง จำนวน 9,738,493.00 บาท ดอกเบี้ยค้าง จำนวน 1,572,983.62 บาท ค่าปรับค้าง จำนวน 3,052,590.16 บาท รวมทั้งสิ้น จำนวน 11,698,168.91 บาท ยอดคงเหลือ ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ยอดหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ลดลง จำนวน 1,342,261 บาท แผนภูมิที่ 1 ผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขหนี้ค้างชำระของสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเสนา จำกัด 2) สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 17.04 3) สหกรณ์มีผลการดำเนินงานมีกำไรสุทธิประจำปี จำนวน 152,262.37 บาท มีเงินออมเฉลี่ยต่อ สมาชิก จำนวน 12,756.55 บาท 4) สหกรณ์มีผลการดำเนินงานมีกำไรสุทธิ ส่งผลให้สหกรณ์มีผลขาดทุนสะสมลดลงร้อยละ 10.67 และมีแนวโน้มขาดทุนสะสมลดลงในปีต่อไป ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1) คณะกรรมการดำเนินการเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาและมีแผนงานในการขับเคลื่อน โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ 2) สหกรณ์มีทุนสวัสดิการสมาชิกและสังคมในการช่วยเหลือสนับสนุนการแก้ปัญหาหนี้ค้างของสมาชิก 3) ได้รับความร่วมมือและความตั้งใจในการแก้ไขจากลูกหนี้ของสหกรณ์ 4) ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐและหน่วยงานราชการต่าง ๆ 0.00 2,000,000.00 4,000,000.00 6,000,000.00 8,000,000.00 10,000,000.00 ต้นเงินคงค้าง ดอกเบี้ยค้าง ค่าปรับค้าง 9,738,493.00 1,572,983.62 386,692.29 1,177,385.21 138,359.19 26,516.20 ผลการด าเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างช าระของ สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเสนา จ ากัด ยอดยกมา ผลการด าเนินงาน ปี 2566


37 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2. สหกรณ์ : สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินช้างใหญ่ จำกัด มีผลงานเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ผลจากการที่สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินช้างใหญ่ จำกัด ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ รวบรวมข้าวเปลือก “การตลาดนำการผลิต” ของสหกรณ์ มีผลการดำเนินงานดังนี้ 1. สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจหมุนเวียนในระบบสหกรณ์เพิ่มมาก โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สหกรณ์ สามารถรวบรวมข้าวเปลือกได้ จำนวน 2,089,330.00 กิโลกรัม มูลค่า 23,229,299.00 บาท ล ำดับ ชนิดพันธุ์/ ประเภท ปริมำณกำรรวบรวม มูลค่ำ (บำท) สมำชิก (กก.) สถำบันเกษตรกร (กก.) เกษตรกร ทั่วไป (กก.) รวม (กก.) 1 ข้าวเปลือก RJ22 786,392 982,990 196,598 1,965,980 21,625,809.00 2 ข้าวเปลือกพันธุ์ ข้าว RJ22 86,340 37,005 0 123,345 1,603,490.00 2. สหกรณ์และสมาชิก ขายข้าวเปลือกในราคาที่ดี สามารถเพิ่มอำนาจในการต่อรองในการขายผลผลิต ของสมาชิก 3. สมาชิกมีรายได้เพิ่มส่งผลให้มีศักยภาพหรือความสามารถในการชำระหนี้ให้กับสหกรณ์ 4. สหกรณ์มีการตลาด มีผู้ผลิตสินค้า และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายที่ดี 5. เกิดทีมงาน และกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างสหกรณ์ กับสหกรณ์ และ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. สหกรณ์มีความเข็มแข็งในการดำเนินธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือกกับสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป 2. คณะกรรมการ ฯ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารงาน 3. สหกรณ์มีพันธมิตรด้านการตลาดที่ดี คือ บริษัท ไทยฮา จำกัด (มหาชน) 3. สหกรณ์ : สหกรณ์การเกษตรเสนา จำกัด มีผลงานเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ผลจากการที่สหกรณ์การเกษตรเสนา จำกัด ดำเนินงานตามแผนงานประจำปีของสหกรณ์ มีผลการ ดำเนินงานดังนี้ 1) สหกรณ์มีผลการดำเนินธุรกิจ มีรายได้รวม 163,809,729.50 บาท ซึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 18,180,513.52 บาท 2) สหกรณ์มีความเข้มแข็งด้านทุนดำเนินงานของสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์มีทุนดำเนินงานจำนวน 206,662,669.76 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 12,604,635.39 บาท หรือร้อยละ 6.50 ทุนดำเนินงาน ดังกล่าวมาจากแหล่งเงินทุนภายใน ร้อยละ 99.92


38 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 3) สหกรณ์มีผลการดำเนินงานมีกำไรสุทธิประจำปี จำนวน 2,132,705.03 บาท สหกรณ์ได้จัดสรรกำไร สุทธิ เป็นเงินปันผลตามหุ้นร้อยละ 1.5 เป็นเงิน 914,715.24 บาท เงินเฉลี่ยคืน ตามส่วนดอกเบี้ย ร้อยละ 1 เป็นเงิน 58,241.78 บาท และตามส่วนธุรกิจซื้อ ร้อยละ 1 เป็นเงิน 618,795.77 บาท 4) สหกรณ์มีเงินออมเฉลี่ยต่อสมาชิก จำนวน 186,665.77 บาท หนี้สินเฉลี่ยต่อสมาชิก 138,744.65 บาท ซึ่งสหกรณ์มีเงินออมเฉลี่ยต่อสมาชิกมากกว่า หนี้สินเฉลี่ยต่อสมาชิก 5) ลูกหนี้ของสหกรณ์ สามารถชำระหนี้ได้ ร้อยละ 69.48 ของหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ 6) สมาชิกสหกรณ์มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ เกินกว่าร้อยละ 80 7) สหกรณ์รักษาระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์ ระดับชั้น 2 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1) สหกรณ์มีการจัดแผนดำเนินงานประจำปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของสหกรณ์ 2) คณะกรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ มีความพร้อมและเต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง 3) ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกสหกรณ์เป็นอย่างดี 4) สหกรณ์ได้รับการแนะนำ ส่งเสริม และสนับสนุนจากหน่ายงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5) ได้รับการยกเว้นภาษีรายได้ ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการ 1) คณะกรรมการดำเนินการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของระเบียบ ข้อบังคับ และ กฎหมาย สหกรณ์ และดำเนินงานโดยไม่ได้ศึกษาวิเคราะห์ระเบียบ และข้อบังคับของสหกรณ์ให้ชัดเจน 2) คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ขาดความรู้ทางด้านการทำธุรกิจ/การตลาด/การแปรรูป/ราคา สินค้า 3) สหกรณ์มีปัญหาหนี้ค้างชำระเป็นจำนวนมาก สหกรณ์มีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในปริมาณ ที่ สูง มีผลดำเนินงานขาดทุน และขาดทุนสะสม 4) คณะกรรมการดำเนินการ/เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ขาดจิตวิญญาณ ขาดความเข้าใจในหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์ 5) สหกรณ์ขนาดเล็กและกลุ่มเกษตรกรไม่มีเจ้าหน้าที่ในการจัดทำบัญชี/กรรมการสหกรณ์ที่ได้รับ แต่งตั้งให้ดำเนินการจัดทำงบการเงินขาดความรู้ ความสามารถในการจัดทำบัญชี และความสนใจในเรื่อง เอกสารหลักฐานในการลงบัญชี 6) สหกรณ์ไม่สนใจในการตรวจสอบสถานภาพของสมาชิก เช่น เสียชีวิต ย้ายถิ่นฐาน


Click to View FlipBook Version