39 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 แนวทางการแก้ไขปัญหา/ข้อเสนอแนะ 1) ส่งเสริมให้สหกรณ์มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินการเป็นประจำทุกเดือนเพื่อรับทราบผลการ ดำเนินงานและหารือแนวทางแก้ไขปัญหาหากพบปัญหา 2) จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมาย ระเบียบ ต่างๆ กับกรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ 3) ส่งเสริมให้สหกรณ์ทำแผนการดำเนินงานรายปี และกระจายแผนดำเนินงานรายปีเป็นแผนการดำเนินงาน รายเดือน รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้สหกรณ์สามารถชี้แจงรายได้ – ค่าใช้จ่ายของสหกรณ์ได้อย่างชัดเจน ทราบถึงผลกำไร-ขาดทุนและดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ทันต่อเหตุการณ์ 4) ส่งเสริมการจัดทำโครงการแก้ปัญหาหนี้ค้างชำระของสหกรณ์/ส่งเสริมให้สหกรณ์ติดตามการชำระ หนี้ของลูกหนี้เงินกู้ให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์ 5) จัดให้มีการอบรมให้ความรู้เรื่องหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์ แก่สมาชิก คณะกรรมการ ดำเนินการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ 6) ส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องการจัดทำบัญชีสหกรณ์แก่คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ 7) กรณีสหกรณ์มีสมาชิกที่เสียชีวิต ย้ายถิ่นฐาน ให้กรรมการลงมติให้ออกจากสหกรณ์ นำเสนอที่ ประชุมใหญ่ พร้อมโอนค่าหุ้นทำทะเบียนคุมเงินรอจ่ายคืน ภาพกิจกรรม ภาพประกอบ การเข้าร่วมประชุมชี้แจง แนะนำส่งเสริมและติดตามแก้ปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิก สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเสนา จำกัด สหกรณ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ประชุมเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิก สหกรณ์ พร้อมติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ
40 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพประกอบ การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการรวบรวมข้าวเปลือก “การตลาดนำการผลิต” ของสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินช้างใหญ่ จำกัด
41 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพประกอบ การแนะนำ ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของ สหกรณ์การเกษตรเสนา จำกัด
42 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2) งานกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 2.1) การตรวจการสหกรณ์ 2.1.1) การตรวจการสหกรณ์ โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด เป้าหมาย สหกรณ์ 17 แห่ง (ร้อยละ 25) ผลการดำเนินการกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่หน่วยงานได้ดำเนินการ 1) คัดเลือกสหกรณ์เป้าหมาย โดยนำผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง รายงานของผู้สอบบัญชี รายงาน ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ข้อมูลการวิเคราะห์สหกรณ์จากนักการเงินประจำจังหวัด โดยตรวจสอบจำนวนร้อย ละ 25 ของสหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินการ ณ วันที่ 1 กันยายน 2565 โดยไม่นับซ้ำกับสหกรณ์เป้าหมายที่ได้ ตรวจสอบโดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัดไปแล้ว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2) จัดทำคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้งคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ และมอบหมายคณะผู้ตรวจการ สหกรณ์ และบันทึกในระบบตรวจการสหกรณ์ 3) คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบสหกรณ์เป้าหมาย ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด 4) จัดประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ - คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ วิเคราะห์สถานภาพ/ความเสี่ยงของสหกรณ์ ข้อสังเกตตามรายงาน การสอบบัญชีประจำปี/ข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชี/ผลการตรวจการสหกรณ์ที่ผ่านมา และข้อมูล การวิเคราะห์สหกรณ์จากนักการเงินประจำจังหวัด เพื่อนำมาพิจารณากำหนดแนวทาง และขอบเขตในการ ตรวจการร่วมกัน - ชี้แจงการตรวจการตามแนวทางการตรวจการสหกรณ์ (ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 8/2559 สั่ง ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการสหกรณ์ และขั้นตอนการตรวจการสหกรณ์ - ชี้แจงการใช้งานระบบการตรวจการสหกรณ์ และวิธีการรายงานผลการตรวจการสหกรณ์ใน ระบบตรวจการสหกรณ์ 5) คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ เข้าตรวจสอบสหกรณ์ตามแผนที่กำหนด โดยตรวจสอบทุกประเด็น ตาม รายการที่กำหนดในแนวทางการตรวจการสหกรณ์ (ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 8/2559 สั่ง ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559) 6) สรุปข้อเท็จจริงและรายงานผลการตรวจสอบสหกรณ์ (ตามแบบท้ายคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 8/2559 สั่ง ณ วันนที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559) - คณะผู้ตรวจการสหกรณ์บันทึกผลการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ใน ระบบตรวจการสหกรณ์และรายงานผลการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ต่อนายทะเบียน สหกรณ์ผ่านกลุ่มตรวจการสหกรณ์ เพื่อให้นายทะเบียนสหกรณ์เพื่อพิจารณาแนะนำ/สั่งการ - กลุ่มตรวจการสหกรณ์ ทำการวิเคราะห์ผลการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของ สหกรณ์และเสนอต่อนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อพิจารณา แนะนำ/สั่งการ และบันทึกผลการวิเคราะห์ในระบบ ตรวจการสหกรณ์ - นำผลการพิจารณาแนะนำและสั่งการของนายทะเบียนสหกรณ์บันทึกในระบบตรวจการสหกรณ์ - จัดทำหนังสือแนะนำ/สั่งการ ให้สหกรณ์และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมที่รับผิดชอบดำเนินการ - ติดตามผลการดำเนินการแก้ไขตามหนังสือแนะนำ/สั่งการ ของนายทะเบียนสหกรณ์ตาม ระยะเวลาที่กำหนด
43 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน - ผู้ตรวจการสหกรณ์ส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และเทคนิคใน การตรวจการสหกรณ์ และเป็นข้าราชการบรรจุใหม่ ส่งผลให้การตรวจการสหกรณ์ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และไม่ สามารถตรวจพบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในสหกรณ์ได้ จึงทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานที่ กำหนดไว้ - ประเด็นการตรวจการสหกรณ์มีหลายประเด็นทำให้ต้องตรวจสอบเอกสารเป็นจำนวนมาก จึงไม่สามารถตรวจได้ครบทุกประเด็นในเวลาที่จำกัด แนวทางการแก้ไข/ข้อเสนอแนะ - ควรให้พัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ผู้ตรวจการสหกรณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดทักษะและความ ชำนาญในการตรวจการสหกรณ์ - ผู้ตรวจการสหกรณ์ควรดำเนินการตรวจสอบซ้ำในประเด็นที่ที่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด ความเสียหายหรือพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต ภาพกิจกรรม 2.1.2) การตรวจการสหกรณ์ ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ เป้าหมายสหกรณ์ 11 แห่ง (ร้อยละ 15) ผลการดำเนินการกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่หน่วยงานได้ดำเนินการ 1) คัดเลือกสหกรณ์เป้าหมาย โดยนำผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง รายงานของผู้สอบบัญชี รายงาน ข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีข้อมูลการวิเคราะห์สหกรณ์จากนักการเงินประจำจังหวัด โดยตรวจสอบจำนวนร้อยละ 15 ของสหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินการ ณ วันที่ 1 กันยายน 2565 โดยต้องเป็นสหกรณ์ที่ไม่อยู่ในรายชื่อ สหกรณ์ที่ต้องตรวจการสหกรณ์ โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2) จัดทำคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้งคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ และมอบหมายคณะผู้ตรวจการ สหกรณ์ และบันทึกในระบบตรวจการสหกรณ์ 3) คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบสหกรณ์เป้าหมาย ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด
44 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 4) จัดประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ - คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ วิเคราะห์สถานภาพ/ความเสี่ยงของสหกรณ์ ข้อสังเกตตามรายงาน การสอบบัญชีประจำปี/ข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชี/ผลการตรวจการสหกรณ์ที่ผ่านมา และข้อมูล การวิเคราะห์สหกรณ์จากนักการเงินประจำจังหวัด เพื่อนำมาพิจารณากำหนดแนวทาง และขอบเขตในการ ตรวจการร่วมกัน - ชี้แจงการตรวจการตามแนวทางการตรวจการสหกรณ์ (ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 8/2559 สั่ง ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการสหกรณ์ และขั้นตอนการตรวจการสหกรณ์ - ชี้แจงการใช้งานระบบการตรวจการสหกรณ์ และวิธีการรายงานผลการตรวจการสหกรณ์ใน ระบบตรวจการสหกรณ์ 5) คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ เข้าตรวจสอบสหกรณ์ตามแผนที่กำหนด โดยตรวจสอบทุกประเด็น ตาม รายการที่กำหนดในแนวทางการตรวจการสหกรณ์ (ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 8/2559 สั่ง ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559) 6) สรุปข้อเท็จจริงและรายงานผลการตรวจสอบสหกรณ์(ตามแบบท้ายคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 8/2559 สั่ง ณ วันนที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559) - คณะผู้ตรวจการสหกรณ์บันทึกผลการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ใน ระบบตรวจการสหกรณ์และรายงานผลการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ต่อนายทะเบียน สหกรณ์ผ่านกลุ่มตรวจการสหกรณ์ เพื่อให้นายทะเบียนสหกรณ์เพื่อพิจารณาแนะนำ/สั่งการ - กลุ่มตรวจการสหกรณ์ ทำการวิเคราะห์ผลการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของ สหกรณ์และเสนอต่อนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อพิจารณา แนะนำ/สั่งการ และบันทึกผลการวิเคราะห์ในระบบ ตรวจการสหกรณ์ - นำผลการพิจารณาแนะนำและสั่งการของนายทะเบียนสหกรณ์บันทึกในระบบตรวจการสหกรณ์ - จัดทำหนังสือแนะนำ/สั่งการ ให้สหกรณ์และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมที่รับผิดชอบดำเนินการ - ติดตามผลการดำเนินการแก้ไขตามหนังสือแนะนำ/สั่งการ ของนายทะเบียนสหกรณ์ตาม ระยะเวลาที่กำหนด ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน - ผู้ตรวจการสหกรณ์ส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และเทคนิคใน การตรวจการสหกรณ์ และเป็นข้าราชการบรรจุใหม่ ส่งผลให้การตรวจการสหกรณ์ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และไม่ สามารถตรวจพบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในสหกรณ์ได้ จึงทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานที่ กำหนดไว้ - ประเด็นการตรวจการสหกรณ์มีหลายประเด็นทำให้ต้องตรวจสอบเอกสารเป็นจำนวนมาก จึงไม่สามารถตรวจได้ครบทุกประเด็นในเวลาที่จำกัด แนวทางการแก้ไข/ข้อเสนอแนะ - ควรให้พัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ผู้ตรวจการสหกรณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดทักษะและความ ชำนาญในการตรวจการสหกรณ์ - ผู้ตรวจการสหกรณ์ควรดำเนินการตรวจสอบซ้ำในประเด็นที่ที่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด ความเสียหายหรือพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต
45 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพกิจกรรม เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อแก้ไขปัญหาการร้องเรียน ของสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำกัด 2.2) การติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เป้าหมายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง จำนวน 6 แห่ง (สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินลาดบัวหลวง จำกัด, สหกรณ์การเกษตรบางบาล จำกัด, สหกรณ์ออม ทรัพย์ตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำกัด, สหกรณ์การเกษตรอุทัย จำกัด, ร้านสหกรณ์อยุธยา จำกัด, สหกรณ์ชุมชนเทศบาลตำบลท่าหลวง จำกัด) ผลการดำเนินการกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่หน่วยงานได้ดำเนินการ 1. มีการกำหนดแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ เป็นไปหรือสอดคล้องตามข้อกำหนดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องสามารถกำหนดขั้นตอนพร้อมระยะเวลาแล้วเสร็จ ในแต่ ละขั้นตอนของการจัดทำแผนงานปรับปรุงการดำเนินการของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งติดตามการ แก้ไขปัญหา จนทำให้ข้อบกพร่องลดน้อยลง 3. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์/ผู้ตรวจการสหกรณ์, กลุ่มตรวจการสหกรณ์ หรือบุคลากรและผู้ที่ เกี่ยวข้องสามารถติดตาม มีการตรวจสอบ ดูแล และติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานปรับปรุงการ ดำเนินกิจกรรมของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งกำหนดแนวทางป้องกัน เฝ้า ระวังการเกิดข้อบกพร่องของสหกรณ์ได้ 4. รายงานผลการแก้ไขข้อบกพร่องต่อที่ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.)
46 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 5. ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 ของร้านสหกรณ์อยุธยา จำกัด เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกร้านสหกรณ์อยุธยา จำกัด และมีประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2565 เรื่องการเลิกร้านสหกรณ์อยุธยา จำกัด ตามมาตรา 70(3) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 6. นายทะเบียนสหกรณ์ มีคำสั่ง ที่ อย 22/2565 สั่งเลิกสหกรณ์ชุมชนเทศบาลตำบลท่าหลวง จำกัดสั่งเลิกตาม มาตรา ๗๑(1) และ 73(3) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๕ ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ได้ติดตามผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว แต่เนื่องจากมูลค่าความเสียหายมีมูลค่ามาก ซึ่ง ทำให้ผู้รับผิดชอบไม่สามารถชดใช้ได้ครั้งเดียว จึงได้ขอผ่อนชำระเป็นงวด หรือยินยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ โดยไม่มี หลักทรัพย์มาค้ำประกันหรือมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันแต่ไม่คุ้มกับมูลค่าความเสียหาย รวมทั้งการผ่อนชำระหนี้ ต่อเนื่องเป็นงวด ๆ แต่จำนวนไม่มาก ทำให้การชำระหนี้ใช้ระยะเวลายาวนานการแก้ไขจึงยังไม่เสร็จสิ้น 2. คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ไม่สามารถดำเนินการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงและผู้รับผิดชอบ หรือผู้ที่กระทำให้สหกรณ์เกิดความเสียหายได้ ส่งผลให้สหกรณ์ไม่ได้รับการแก้ไขข้อบกพร่องได้ทันท่วงที เนื่องจากมี กรอบแห่งระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทำให้ขาดอายุความแห่งการฟ้องร้องดำเนินคดี แนวทางแก้ไข/ข้อเสนอแนะ 1. มอบเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับกลุ่มตรวจการสหกรณ์ติดตามการแก้ไขข้อบกพร่องของ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป็นประจำทุกเดือน 2. แนะนำส่งเสริม และกำกับดูแล กำหนดแนวทางป้องกันการเกิดข้อบกพร่องและข้อสังเกตต่าง ๆ ใน สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 3. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์/ผู้ตรวจการสหกรณ์ ควรวิเคราะห์สถานภาพของสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งต้องมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับข้อควรเฝ้าระวังความเสี่ยงในการ ดำเนินงานของสหกรณ์ ภาพกิจกรรม
47 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2.3) การจัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.) เป้าหมายสหกรณ์ 6 แห่ง ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ที่ปรึกษาคณะทำงานและคณะทำงานตามคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 57/2559 สั่ง ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ที่รับผิดชอบสหกรณ์ที่มี ข้อบกพร่อง จำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 19 คน ผลการดำเนินการกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่หน่วยงานได้ดำเนินการ 1) คัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เกิดข้อบกพร่อง ตามข้อสังเกตที่ ตรวจพบจากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ หรือการกำกับผู้ตรวจการสหกรณ์รายงาน ที่อาจจะเกิดผล เสียหายขึ้นแล้ว และที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริต 2) ติดตามการแก้ไขปัญหา ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์สั่งการ ตามมาตรา 16(1) และมาตรา22(1) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมติที่ประชุมของคณะทำงานฯ (จกบ.) 3) พิจารณาแก้ไขข้อบกพร่องและข้อร้องเรียนของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัด รวมทั้งกำหนด แนวทาง และมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสามารถดำเนินงานได้เป็นปกติ 4) สหกรณ์ได้รับแนวทาง คำแนะนำในการดำเนินคดีตามกฎหมายอาญาและทางแพ่ง การสืบทรัพย์ เพื่อบังคับคดี การดำเนินการตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คำแนะนำในการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไป ตามระเบียบ ข้อบังคับ การได้รับความช่วยเหลือจากพนักงานสอบสวน และอัยการ ทำให้การดำเนินคดีตาม กฎหมายเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว 5) ผลการดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานฯ - จัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มี ข้อบกพร่อง (จกบ.) ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 23 คน - จัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มี ข้อบกพร่อง (จกบ.) ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน - จัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มี ข้อบกพร่อง (จกบ.) ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน - จัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มี ข้อบกพร่อง (จกบ.) ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 23 คน ปัญหา/อุปสรรค การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรโดยส่วนใหญ่อยู่ในสถานะ ดำเนินการแล้วเสร็จแต่ ต้องติดตาม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา หรือการติดตามเงินที่เสียหายให้ได้รับกลับคืนมาค่อนข้าง ยาก เนื่องจากถูกยักย้าย ถ่ายเท หรือสหกรณ์ได้แต่ดำเนินคดีทางอาญา ส่วนทางแพ่งไม่ได้รับการชดใช้
48 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 แนวทางแก้ไข/ข้อเสนอแนะ ติดตามสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องให้รายงานผลการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง ตาม คำแนะนำและแนวทางการดำเนินงานของที่ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.) ภายในระยะเวลาที่กำหนดทุกเดือน รวมถึงต้องส่งเสริมให้ สหกรณ์มีการควบคุมภายในที่ดี และมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่อง รวมถึงอบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะในด้านการตรวจการสหกรณ์ให้แก่ ผู้ตรวจการสหกรณ์ให้สามารถดำเนินการตรวจการสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาพกิจกรรม
49 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2.4) การชำระบัญชีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เป้าหมาย สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั้งหมดที่อยู่ในระหว่างการชำระบัญชี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ประกอบด้วย 1. สหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวนทั้งสิ้น 4 แห่ง ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตรที่ดินภาชีพัฒนา จำกัด 2) สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินบางไทร จำกัด 3) สหกรณ์การเกษตรวังน้อย จำกัด 4) ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำกัด 2. สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวนทั้งสิ้น 4 แห่ง ได้แก่ 1) สหกรณ์เคหสถานอาคารสงเคราะห์ทรัพย์เจริญ จำกัด 2) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเซนต์โยเซฟอยุธยา จำกัด 3) สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน เอ พี ซี บี อิเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 4) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนลาดบัวหลวงพัฒนา จำกัด 3. กลุ่มเกษตรกร จำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านกรด 2) กลุ่มเกษตรกรทำสวนพระยาบันลือ 3) กลุ่มเกษตรกรทำสวนคลองพระยาบันลือ 4) กลุ่มเกษตรกรทำนาพุทเลา 5) กลุ่มเกษตรกรทำสวนลาดบัวหลวง 6) กลุ่มเกษตรกรทำนาคลองพระยาบันลือ 7) กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านกลึง
50 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลการดำเนินงาน 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการชำระบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ลำดับ ที่ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ขั้นตอนการชำระบัญชี ความก้าวหน้า/ขั้นตอน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 1 สหกรณ์การเกษตรที่ดินภาชีพัฒนา จำกัด ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการจัดการทรัพย์สิน และหนี้สิน ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการจัดการทรัพย์สิน และหนี้สิน 2 สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินบางไทร จำกัด ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 3 สหกรณ์เคหสถานอาคารสงเคราะห์ทรัพย์เจริญ จำกัด ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 4 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเซนต์โยเซฟอยุธยา จำกัด ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการจัดการทรัพย์สิน และหนี้สิน ขั้นตอนที่ 7 ส่งรายงานการชำระบัญชี ม.87 5 สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน เอ พี ซี บี อิเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการจัดการทรัพย์สิน และหนี้สิน ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการจัดการทรัพย์สิน และหนี้สิน 6 ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำกัด ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการจัดการทรัพย์สิน และหนี้สิน ขั้นตอนที่ 6 ดำเนินการจัดการทรัพย์สิน และหนี้สิน 7 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนลาดบัวหลวงพัฒนา จำกัด ขั้นตอนที่ 2 รับมอบทรัพย์สินและจัดทำ งบการเงิน ม.80 ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 8 สหกรณ์การเกษตรวังน้อย จำกัด ขั้นตอนที่ 2 รับมอบทรัพย์สินและจัดทำ งบการเงิน ม.80 ขั้นตอนที่ 2 รับมอบทรัพย์สินและจัดทำ งบการเงิน ม.80 9 กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านกรด ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 ขั้นตอนที่ 10 ส่งมอบบรรดาสมุดบัญชี และเอกสาร (ถอนชื่อออกจากทะเบียน) 10 กลุ่มเกษตรกรทำสวนคลองพระยาบันลือ ขั้นตอนที่ 7 ส่งรายงานการชำระบัญชี ม.87 ขั้นตอนที่ 10 ส่งมอบบรรดาสมุดบัญชี และเอกสาร (ถอนชื่อออกจากทะเบียน)
51 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ลำดับ ที่ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ขั้นตอนการชำระบัญชี ความก้าวหน้า/ขั้นตอน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 11 กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านกลึง ขั้นตอนที่ 7 ส่งรายงานการชำระบัญชี ม.87 ขั้นตอนที่ 7 ส่งรายงานการชำระบัญชี ม.87 12 กลุ่มเกษตรกรทำนากกแก้วบูรพา ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 13 กลุ่มเกษตรกรทำนาภาชี ขั้นตอนที่ 2 รับมอบทรัพย์สินและจัดทำ งบการเงิน ม.80 ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 14 กลุ่มเกษตรกรทำนาคู้สลอด ขั้นตอนที่ 2 รับมอบทรัพย์สินและจัดทำ งบการเงิน ม.80 ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 15 กลุ่มเกษตรกรทำนากบเจา ขั้นตอนที่ 3 ส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชี ม.80 ขั้นตอนที่ 10 ส่งมอบบรรดาสมุดบัญชี และเอกสาร (ถอนชื่อออกจากทะเบียน) 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ระหว่างชำระบัญชี สามารถถอนชื่อออกจากทะเบียนได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรทำสวนคลองพระยาบันลือ ถอนชื่อ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 2) กลุ่มเกษตรกรทำนากบเจา ถอนชื่อ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 3) กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านกรด ถอนชื่อ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ลำดับ ที่ ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ แผน ผล ร้อยละ (แห่ง) (แห่ง) (%) 1 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ระหว่างชำระบัญชีขั้นตอนที่ 3-4 ยกระดับขึ้นสู่ ขั้นตอนที่ 5 5 2 40.00 2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั้งหมดที่อยู่ระหว่างชำระบัญชี สามารถถอนชื่อได้ 15 3 20.00 ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน การชำระบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งด้านการ บัญชี การเงิน กฎหมายต่าง ๆ รวมถึงต้องติดต่อประสานงานจากหน่วยงานภายนอกหรือบุคคลที่หลากหลาย
52 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 แนวทางการแก้ไขปัญหา/ข้อเสนอแนะ 4.1) อบรมให้ความรู้แก่ผู้ชำระบัญชีให้เข้าใจในกระบวนการชำระบัญชีตั้งแต่ขั้นที่ 1 จนถึง ขั้นที่ 10 บทบาทหน้าที่ อำนาจของผู้ชำระบัญชี 4.2) ประสานงานการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสำนักงาน ตรวจบัญชีสหกรณ์พระนครศรีอยุธยา เพื่อขับเคลื่อนงานการชำระบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ภาพกิจกรรม ปิดประกาศคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง สั่งเลิกสหกรณ์บริการชุมชนเทศบาล ตำบลท่าหลวง จำกัด จังหวัดระนครศรีอยุธยา
53 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 3) งานส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีมาตรฐานเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับ ของสมาชิกและสังคมได้อย่างยั่งยืน 2) เพื่อกำกับและส่งเสริมการบริหารงานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีธรรมาภิบาล โปร่งใส และตรวจสอบได้ ตัวชี้วัดความสำเร็จ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐานเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ประกอบด้วย 1) เกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ 7 ข้อ ประกอบด้วย 1.1) ผลการดำเนินงานในรอบ 2 ปีบัญชีย้อนหลัง สหกรณ์มีผลการดำเนินงานไม่ขาดทุน เว้นแต่ปีใดมีอุบัติภัยหรือภัยธรรมชาติ จนเกิดความเสียหายต่อสมาชิกและสหกรณ์โดยรวมให้ตัดปีนั้น 1.2) ผลการดำเนินงานในรอบ 2 ปีบัญชีย้อนหลัง ไม่มีการกระทำอันถือได้ว่าทุจริตต่อสหกรณ์ 1.3) ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชีสุดท้าย สหกรณ์จัดทำงบการเงินแล้วเสร็จและส่งให้ ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี 1.4) ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชีสุดท้าย สหกรณ์ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของสมาชิกทั้งหมดทำธุรกิจกับสหกรณ์ 1.5) ต้องจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์ปฏิบัติงานประจำรับผิดชอบดำเนินการและธุรกิจ ของสหกรณ์หรือสมาชิกที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำ 1.6) ผลการดำเนินงานในรอบ 2 ปี บัญชีย้อนหลัง สหกรณ์ต้องมีการจัดสรรกำไรสุทธิ และจ่ายเงินทุนสวัสดิการสมาชิก หรือ ทุนสาธารณประโยชน์อย่างน้อย 1 ครั้ง 1.7) ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชีสุดท้าย สหกรณ์ต้องไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน กฎหมาย ระเบียบ หรือ คำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ ข้อยกเว้นที่ไม่นำมาจัดมาตรฐานสหกรณ์ (1) สหกรณ์ที่จัดตั้งใหม่ไม่ถึง 2 ปี (2) สหกรณ์ที่หยุดดำเนินธุรกิจหรือไม่ดำเนินธุรกิจ (3) สหกรณ์อยู่ระหว่างชำระบัญชี หรือ สหกรณ์ที่หยุดดำเนินกิจการ 2) เกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกร 5 ข้อ ประกอบด้วย 2.1) คณะกรรมการดำเนินการจัดให้มีการจัดทำงบดุลรอบ 12 เดือนแล้วเสร็จและจัดให้มี ผู้สอบบัญชีตรวจสอบได้ภายใน 150 วัน ตามกฎหมาย 2.2) ไม่มีข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับรายการข้อบกพร่องทางการเงินและบัญชีอย่างร้ายแรง 2.3) มีการทำธุรกิจหรือบริการอย่างน้อย 1 ชนิด 2.4) มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีภายในกำหนดเวลา 150 วัน ตามกฎหมาย 2.5) มีกำไรสุทธิประจำปีและมีการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีตามกฎหมาย
54 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 กลุ่มเกษตรกรใดมีผลการดำเนินไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานที่กำหนด ตั้งแต่ 1-5 ทุกข้อ ให้จัดกลุ่มเกษตรกรนั้นเป็นระดับมาตรฐาน ส่วนกลุ่มเกษตรกรใดมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าระดับเกณฑ์ชี้วัด มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ ตั้งแต่ 1-5 เพียงข้อเดียวกลุ่มเกษตรกรนั้นเป็นระดับต่ำกว่ามาตรฐาน สำหรับกลุ่ม เกษตรกรใดได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งมาแล้วไม่ถึง 2 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มเกษตรกรจัดตั้งใหม่ ทั้งนี้ ตัวชี้วัดของ โครงการ คือ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามรายละเอียดข้างต้น ดังต่อไปนี้ (1) สหกรณ์ภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (2) สหกรณ์นอกภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (3) กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 1) สหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 31 แห่ง (นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 27 แห่ง) 2) สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 45 แห่ง (นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 38 แห่ง) 3) กลุ่มเกษตรกร จำนวน 76 แห่ง (นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 70 แห่ง) ผลการดำเนินงาน ลำดับ ที่ ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ นำมาจัดมาตรฐาน แผน ผล ร้อยละ (แห่ง) (แห่ง) (แห่ง) (%) 1 สหกรณ์ภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ 27 22 4 14.81 2 สหกรณ์นอกภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ 38 31 20 52.63 3 กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกร 70 57 55 78.57 รวม 135 110 79 58.52 ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ 1) ผลสำเร็จเชิงปริมาณ 1.1) ผลการจัดมาตรฐานสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (1) สหกรณ์ภาคการเกษตร - นำมาจัดมาตรฐาน 27 แห่ง - ผ่านมาตรฐาน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 14.81 - ไม่ผ่านมาตรฐาน 23 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.19 (2) สหกรณ์นอกภาคการเกษตร - นำมาจัดมาตรฐาน 38 แห่ง - ผ่านมาตรฐาน 20 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 78.57 - ไม่ผ่านมาตรฐาน 18 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 47.37 1.2) ผลการจัดมาตรฐานกลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - นำมาจัดมาตรฐาน 70 แห่ง - ผ่านมาตรฐาน 55 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 52.63 - ไม่ผ่านมาตรฐาน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 21.43
55 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2) ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าใจหลักเกณฑ์แนวทางการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด รวมถึงแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรทราบถึงสถานะและผลการดำเนินงานในภาพรวม สามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินงานให้ผ่าน เกณฑ์ได้โดยยึดหลักและวิธีการสหกรณ์ และสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสถาบันเกษตรกร ที่มีความเข้มแข็งและเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิกได้ ผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน/โครงการ การจัดระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เป็นการประเมินเพื่อวัดการดำเนินงาน และการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้มีการพัฒนาปรับปรุง การดำเนินงาน การบริหารจัดการ การให้บริการสมาชิก และการควบคุมภายในอย่างเหมาะสมผ่านเกณฑ์ การจัดมาตรฐานในแต่ละข้อ ตลอดจนการยกระดับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพ ในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานและมีความเข้มแข็ง เจริญก้าวหน้าต่อไป ปัญหา/อุปสรรคของการดำเนินงาน/โครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาหลายแห่งมีผลการดำเนินงานขาดทุน สะสม และบางแห่งมีปัญหาข้อบพกร่อง แนวทางแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์กับสหกรณ์ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหาเป็นรายสหกรณ์ และหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา 4) งานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่นแห่งชาติ วัตถุประสงค์ 1) พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่น 2) คัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน 2) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการคัดเลือกเป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ อย่างน้อยประเภทละ 1 แห่ง
56 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย 1) สหกรณ์ภาคการเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรเสนา จำกัด และ สหกรณ์การเกษตร บางซ้าย จำกัด 2) สหกรณ์นอกภาคการเกษตร ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูพระนครศรีอยุธยา จำกัด และ สหกรณ์ ออมทรัพย์สาธารณสุขพระนครศรีอยุธยา จำกัด 3) กลุ่มเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาวังแดง และ กลุ่มเกษตรกรทำนาเสนาบ้านละมุ ผลการดำเนินงาน ลำดับ ที่ ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ แผน ผล ร้อยละ (แห่ง) (แห่ง) (%) 1 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน การดำเนินงาน 6 6 100 2 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น ที่มีคะแนน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3 - - ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือ ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ 1) ผลสำเร็จเชิงปริมาณ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน จำนวน 6 แห่ง 2) ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ 2.1) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2.2) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน/โครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลางน ดีเด่นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จักและยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานอีกทั้งเป็นการเสริมสร้างให้ เกิดขวัญกำลังใจในการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ปัญหา/อุปสรรคของการดำเนินงาน/โครงการ หลักเกณฑ์การคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตามเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ กำหนดมีความยุ่งยากในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไม่ส่งผลงานเข้าประกวด แนวทางแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการต้องแนะนำ ส่งเสริม แนวทาง การดำเนินงานการพัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่น พร้อมติดตามการดำเนินงาน อย่างสม่ำเสมอ
57 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตร ➢ แผนงานยุทธศาสตร์ ⚫ แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 1) โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์ภาคการเกษตรให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะการเป็น ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรแบบมืออาชีพ 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจด้านการผลิต ด้านการแปรรูป และด้านการตลาดของ สหกรณ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. สหกรณ์ภาคการเกษตรได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ 100% 2. สหกรณ์ภาคการเกษตรสามารถเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ บริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรระดับชุมชนได้ เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ 1. ผู้แทนจากสหกรณ์การเกษตรท่าเรือ จำกัด จำนวน 15 คน 2. ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 5 คน ผลการดำเนินงาน การจัดโครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร หลักสูตร “โครงการ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” ใช้เวลาการจัดอบรมทั้งสิ้น 1 วัน รวม 6 ชั่วโมง โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นการจัดเวทีเสวนา จำนวน 3 ชั่วโมง ในหัวข้อ “ชาวนาไทยอยู่ดี กินดี หากพี่กินข้าว สหกรณ์” ส่วนที่ 2 เป็นการบรรยายและฝึกปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง เกี่ยวกับการจัดทำแผนในการบริหารจัดการ สินค้าเกษตร จากนั้นถาม – ตอบประเด็นปัญหา
58 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือ ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ ผลสำเร็จเชิงปริมาณ ดำเนินการโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 1 ครั้ง โดยมีผู้แทนจากสหกรณ์ การเกษตรท่าเรือ จำกัด จำนวน 15 คน ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด พระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน ที่เข้ารับการอบรม จำนวนทั้งสิ้น 20 คน โดยใช้ งบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 9,600 บาท (เก้าพันหกร้อยบาทถ้วน) แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม เชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิต พร้อมจัดทำแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิต จำนวน 8,000 บาท และเป็นค่าใช้จ่ายในการแนะนำ ส่งเสริม กำกับ ติดตามผลการดำเนินโครงการ จำนวน 1,600 บาท ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ (1) สหกรณ์มีการบริหารจัดการองค์กรที่มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น (2) สหกรณ์มีการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิต กระบวนการรวบรวมและแปรรูปเพิ่มขึ้น (3) สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นและมีผลประกอบการที่ดีขึ้น ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน/โครงการ 1. สหกรณ์ภาคการเกษตรเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นสามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ บริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรระดับชุมชน 2. มีการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิต มีกระบวนการรวบรวมและแปรรูป รวมทั้งมีการทำการตลาดสำหรับ เกษตรของชุมชน 3. สหกรณ์สามารถสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรในพื้นที่ได้เพิ่มขึ้น งบประมาณที่ได้รับจัดสรร และผลการใช้จ่ายงบประมาณ ลำดับ ที่ ประเภทงบรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ (บาท) (บาท) (%) 1 งบดำเนินงาน 9,600.00 9,600.00 100.00 รวมทั้งสิ้น 9,600.00 9,600.00 100.00
59 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพกิจกรรม ภาพการดำเนินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจการเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ วัตถุประสงค์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยกำหนด เป้าหมายในพื้นที่ของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร (แปลงใหญ่สหกรณ์) ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัด ส่งเสริมให้มีการ บริหารจัดการร่วมกัน จัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพดี ราคาถูก อาทิ พันธุ์ ปุ๋ย การใช้เทคโนโลยีการผลิตและ แปรรูป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและ เครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของสินค้าเกษตร ตลอดจนเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิตแปลงใหญ่และผู้ซื้อ นอกจากนี้ยังกำหนดเป้าหมายในการส่งเสริมแปลงใหญ่ที่จัดตั้งปี 2564 (แปลงใหญ่ทั่วไป) และแปลง ใหญ่สหกรณ์ จำนวน 1,284 แปลง ให้สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเกษตรระหว่างผู้ผลิตแปลงใหญ่และ ผู้ซื้อทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้มีตลาดรองรับที่แน่นอน รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มช่อง ทางการจำหน่าย
60 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 1.1 ส่งเสริมแปลงใหญ่ให้มีการบริหารจัดการกลุ่มร่วมกัน การรวมกลุ่มผลิต การจำหน่าย ตลอดห่วงโซ่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูป เพื่อลดต้นการผลิตและเพิ่มผลผลิต 1.2 สนับสนุนและเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิตแปลงใหญ่และผู้ซื้อ ให้มีตลาดรองรับที่แน่นอนและเพิ่ม ช่องทางการจำหน่าย ตัวชี้วัดความสำเร็จ 2.1 แปลงใหญ่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในปี พ.ศ. 2564 ได้รับการสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงตลาด เครือข่าย ไม่น้อยกว่า 4 แปลง 2.2 แปลงใหญ่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตลดลงเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,200 บาท/ไร่ เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ แปลงใหญ่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเป้าหมายจำนวน 4 แปลง ได้แก่ - แปลงใหญ่ข้าวตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา - แปลงใหญ่ข้าว/มันเทศตำบลบางนางร้า อำเภอบางปะหัน - แปลงใหญ่เมล่อนตำบลคู้สลอด อำเภอลาดบัวหลวง - แปลงใหญ่ประมง นิคมเกษตรกรรมฯ บางไทร อำเภอบางไทร ผลการดำเนินงาน 4.1 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้า ร่วมประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานคณะกรรมการแปลงใหญ่ 4.2 ส่งเสริมแปลงใหญ่ให้มีการบริหารจัดการกลุ่มร่วมกัน การรวมกลุ่มผลิต การจำหน่ายตลอดห่วงโซ่ โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัยเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต 4.3 เกษตรกรที่อยู่ภายใต้ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้นหรือมีตลาด รองรับผลผลิต มีต้นทุนการผลิตต่อไรของเกษตรกรลดลง ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือ ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ (1) แปลงใหญ่มีการบริหารจัดการกลุ่มร่วมกัน จำนวน 4 แปลง คือ 1) แปลงใหญ่ข้าวตำบล ปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา 2) แปลงใหญ่เมล่อนตำบลคู้สลอด อำเภอลาดบัวหลวง 3) แปลงใหญ่ข้าว/ มันเทศตำบลบางนางร้า อำเภอบางปะหัน และ 4) แปลงใหญ่ประมง นิคมเกษตรกรรมฯ บางไทร อำเภอ บางไทร (2) แปลงใหญ่ได้รับการสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงตลาด/เครือข่ายระหว่างผู้ผลิตแปลงใหญ่ และผู้ซื้อ
61 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน/โครงการ (1) กลุ่มแปลงใหญ่มีการบริหารจัดการผลผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิต มีการเชื่อมโยงด้านการตลาด กับผู้ซื้อ (2) สมาชิกแปลงใหญ่มีต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มส่งผลให้ความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น (3) เกษตรกรมีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น มีตลาดรับซื้อผลผลิตที่แน่นอนและขายได้ในราคายุติธรรม งบประมาณที่ได้รับจัดสรร และผลการใช้จ่ายงบประมาณ ลำดับ ที่ ประเภทงบรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ (บาท) (บาท) (%) 1 งบดำเนินงาน 4,600.00 4,600.00 100.00 รวมทั้งสิ้น 4,600.00 4,600.00 100.00 ภาพกิจกรรม ภาพการดำเนินโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
62 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 3) โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร วัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง 2) เพื่อยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1) ร้อยละ 60 ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย สามารถยกระดับความเข้มแข็งจากระดับ ชั้น 2 ขึ้นสู่ ระดับชั้น 1 2) ร้อยละ 100 ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย สามารถรักษาความเข้มแข็งอยู่ในระดับ ชั้น 2 กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 1) สหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1.1) สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินวังน้อย จำกัด 1.2) สหกรณ์การเกษตรบางไทร จำกัด 1.3) สหกรณ์การเกษตรนครหลวง จำกัด 2) กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 แห่ง ประกอบด้วย 2.1) กลุ่มเกษตรกรทำนาดอนทอง งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ลำดับ ที่ ประเภทงบรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ (บาท) (บาท) (%) 1 งบดำเนินงาน 47,200.00 47,200.00 100.00 รวมทั้งสิ้น 47,200.00 47,200.00 100.00 ผลการดำเนินงาน การจัดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร” ใช้เวลาการฝึกอบรมทั้งสิ้น จำนวน 1 วัน รวม 6 ชั่วโมง โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นการบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ในหัวข้อ “การส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มี ความเข้มแข็ง เรื่อง การส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์” หรือหัวข้อ “การส่งเสริมและพัฒนา สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง เรื่อง การบริหารจัดการองค์การให้มีประสิทธิภาพ (การควบคุมภายใน)” ส่วนที่ 2 เป็นการฝึกปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมง ในหัวข้อ “การจัดทำแผนการยกระดับสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรสู่ความเข้มแข็ง” และนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติ ลำดับ ที่ ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ ทั้งหมด ผล ร้อยละ (แห่ง) (แห่ง) (%) 1 สหกรณ์ภาคการเกษตรรักษาระดับชั้นความเข้มแข็ง ชั้น 2 3 3 100.00 2 กลุ่มเกษตรกรรักษาระดับชั้นความเข้มแข็ง ชั้น 2 1 1 100.00 รวมทั้งสิ้น 4 4 100.00
63 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่ กลุ่มเป้าหมายได้รับ 1) ผลสำเร็จเชิงปริมาณ 1.1) ดำเนินการโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร” จำนวน 4 ครั้ง โดยมีผู้แทนจากสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินวังน้อย จำกัด สหกรณ์การเกษตรบางไทร จำกัด สหกรณ์การเกษตรนครหลวง จำกัด และกลุ่มเกษตรกรทำนาดอนทอง ที่เข้ารับการฝึกอบรม จำนวนทั้งสิ้น 80 คน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 47,200.00 (สี่หมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน) เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) ที่ได้กำหนดไว้ 1.2) จากการประเมินสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย สามารถรักษาระดับความเข้มแข็ง ชั้น 2 ได้จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดินวังน้อย จำกัด สหกรณ์การเกษตรบางไทร จำกัด สหกรณ์การเกษตรนครหลวง จำกัด และกลุ่มเกษตรกรทำนาดอนทอง 2) ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ 2.1) สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น 2.2) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2.3) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นและมีผลประกอบการดีขึ้น ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน/โครงการ 1) สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรมีศักยภาพและมีความเข้มแข็ง สร้างความเชื่อถือศรัทธา และสามารถเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิกได้อย่างแท้จริง 2) สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรเป็นองค์กรหลักในการรองรับนโยบายภาครัฐสู่สมาชิก สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เกษตรกร และชุมชนในระดับอำเภอ 3) ภาครัฐสามารถเพิ่มประสิทธิภาพใช้ทรัพยากรในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการใช้สหกรณ์ ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรเป็นช่องทางการนำทรัพยากรสู่เกษตรกรและชุมชนได้โดยตรง ภาพกิจกรรม ภาพการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
64 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการดำเนินภารกิจยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ ➢ แผนงานยุทธศาสตร์ ⚫ แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาศและความเสมอภาคทางสังคม 1) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ด้วยระบบสหกรณ์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ของตนเอง 3. เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก โดยผ่านกลไกการให้บริการของสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้ค้าง (NPL) ได้รับการส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการสินเชื่อที่มี ประสิทธิภาพ 2. สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีภาระหนี้ค้างลดลงเฉลี่ยร้อยละ 10 เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 17 แห่ง ได้แก่ 1) สหกรณ์ การเกษตรปฏิรูปที่ดินพระนครศรีอยุธยา จำกัด 2) สหกรณ์การเกษตรอุทัย จำกัด 3) สหกรณ์การเกษตรท่าเรือ จำกัด 4) สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินลาดบัวหลวง จำกัด 5) สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเสนา จำกัด 6) สหกรณ์ การเกษตรมหาราช จำกัด 7) สหกรณ์การเกษตรภาชีพัฒนา จำกัด 8) สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรอยุธยา จำกัด 9) สหกรณ์ผู้ใช้ น้ำห่อหมก จำกัด 10) สหกรณ์การเกษตรนครหลวงพัฒนาที่ดิน จำกัด 11) สหกรณ์การเกษตรนครหลวง จำกัด 12) กลุ่มเกษตรกรทำนาคลองสวนพลู 13) กลุ่มเกษตรกรทำนาหันตะเภา 14) กลุ่มเกษตรกรทำนาตาลเอน 15) กลุ่มเกษตรกรทำนาทับน้ำ 16) กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านร่อม และ 17) กลุ่มเกษตรกรทำนาช้างน้อย ผลการดำเนินการ 1. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร และทีมงานส่งเสริมการแก้ไขปัญหาหนี้ (ทีมโค้ช) 2. ทีมโค้ชนำข้อมูลการให้เงินกู้แก่สมาชิกของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้ค้างชำระทั้งหมดมา วิเคราะห์ เพื่อเสนอคณะทำงานฯ ในการพิจารณาคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ 3. ประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อพิจารณาคัดเลือก สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย และรายงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ 4. ทีมโค้ชเข้าร่วมประชุมชี้แจงโครงการกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายและวางแผนปฏิบัติการใน การเข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ
65 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 5. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการบริหารคุณภาพหนี้อย่างยั่งยืนในสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกร 6. ทีมโค้ชร่วมกับทีมปฏิบัติการจัดทำแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจสินเชื่อของสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร แผนการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิก รวมทั้งแผนส่งเสริมอาชีพเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน 7. ทีมโค้ชร่วมกับทีมปฏิบัติการของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ขับเคลื่อนตามแผนที่กำหนด 8. ทีมโค้ชติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการและรายงานผลการดำเนินการปัญหาอุปสรรคให้ คณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้ฯ ทราบเป็นประจำทุกเดือน 9. รายงานผลการดำเนินการให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือ ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ ผลสำเร็จ - เชิงปริมาณ ที่ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มูลหนี้ค้างชำระ ก่อนเข้าร่วม โครงการ (บาท) มูลหนี้ลดลง (บาท) คิดเป็น ร้อยละ 1 สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินพระนครศรีอยุธยา จำกัด 144,287.00 2,500.00 1.732 2 สหกรณ์การเกษตรอุทัย จำกัด 24,992,206.68 3,616,270.29 14.469 3 สหกรณ์การเกษตรท่าเรือ จำกัด 25,932,871.00 0.00 0.00 4 สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินลาดบัวหลวง จำกัด 3,927,742.67 0.00 0.00 5 สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเสนา จำกัด 11,698,168.91 1,365,261.00 11.670 6 สหกรณ์การเกษตรมหาราช จำกัด 193,141,078.20 215,962.47 0.111 7 สหกรณ์การเกษตรภาชีพัฒนา จำกัด 963,497.81 128,250.86 13.310 8 สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรอยุธยา จำกัด 5,627,138.09 1,912,158.23 33.981 9 สหกรณ์ผู้ใช้น้ำห่อหมก จำกัด 1,120,996.00 0.00 0.00 10 สหกรณ์การเกษตรนครหลวงพัฒนาที่ดิน จำกัด 3,527,761.86 76,425.66 2.166 11 สหกรณ์การเกษตรนครหลวง จำกัด 22,543,355.69 519,343.46 2.303 12 กลุ่มเกษตรกรทำนาคลองสวนพลู 24,200.00 10,000.00 41.322 13 กลุ่มเกษตรกรทำนาหันตะเภา 9,609.00 0.00 0.00 14 กลุ่มเกษตรกรทำนาตาลเอน 214,908.00 0.00 0.00 15 กลุ่มเกษตรกรทำนาทับน้ำ 10,800.00 400.00 3.703 16 กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านร่อม 190,625.00 0.00 0.00 17 กลุ่มเกษตรกรทำนาช้างน้อย 458,425.00 40,700.00 8.878 รวมทั้งสิ้น 294,527,679.91 7,887,271.97 2.678
66 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 - เชิงคุณภาพ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีแนวทางและสามารถบริหารจัดการหนี้ค้างชำระได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - ประโยชน์ที่ได้รับ 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารจัดการสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระได้ ส่งเสริมอาชีพให้ สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถจัดการหนี้ของตนเองได้ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรและผลการใช้จ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 23,800 บาท (สองหมื่นสามพันแปดร้อยบาทถ้วน) เบิกจ่าย 23,800 บาท (สองหมื่นสามพันแปดร้อยบาทถ้วน) คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน สหกรณ์ที่ใช้โปรแกรมบัญชีของผู้สอบบัญชีจะมีการแยกต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยค้างรับ ค่าปรับ ค้างรับไม่ตรงกับแบบ กปน. 3 เช่น ลูกหนี้ค้างชำระแยกตามอายุหนี้สูงสุดตามแบบ กปน. 3 คือ อายุหนี้ 5 – 10 ปี และ10 ปีขึ้นไป แต่ของสหกรณ์การแยกต้นเงินกู้คงเหลือมูลหนี้สูงสุดคือ 5 ปีขึ้นไป เท่านั้น ดอกเบี้ย ค้างรับแยกเพียง 1 – 5 ปี และค้างเกิน 5 ปีเท่านั้น และค่าปรับค้างรับแยกเพียง 1 – 2 ปี และ 2 ปีขึ้นไป เท่านั้นและสมาชิก 1 ราย แต่เป็นหนี้มากกว่า 1 สัญญา ทำให้เกิดความยุ่งยากในการกรอกข้อมูล แนวทางการแก้ไขปัญหา ประสานกับสหกรณ์ที่มีปัญหาในการแยกอายุลูกหนี้เพื่อให้เป็นไปตามแบบฟอร์มที่ กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด ภาพกิจกรรม รูปภาพการประชุมเชิงปฏิบัติการ การบริหารคุณภาพหนี้อย่างยั่งยืนในสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ภายใต้โครงการ แก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
67 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2) โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร วัตถุประสงค์ 1. เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและลดต้นทุนในการประกอบอาชีพการเกษตรแก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร 2. เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ประกอบอาชีพการเกษตรมีโอกาสนำเงินส่วนที่ได้รับการ ช่วยเหลือไปฟื้นฟูประกอบอาชีพ ตลอดจนมีเงินทุนไว้ใช้จ่ายในครัวเรือน ตัวชี้วัด 1. จำนวนสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรได้รับการลดภาระดอกเบี้ย 2. จำนวนสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิก เพิ่มขึ้น เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 แห่ง จำนวนสมาชิก 1,467 ราย ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตรนครหลวงพัฒนาที่ดิน จำกัด 28 ราย 2) สหกรณ์การเกษตรท่าเรือ จำกัด 164 ราย 3) สหกรณ์การเกษตรบางบาล จำกัด 263 ราย 4) สหกรณ์การเกษตรบางปะอิน จำกัด 118 ราย 5) สหกรณ์ การเกษตรปฏิรูปที่ดินพระนครศรีอยุธยา จำกัด 9 ราย 6) สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินลาดบัวหลวง จำกัด 16 ราย 7) สหกรณ์การเกษตรพระนครศรีอยุธยา จำกัด 104 ราย 8) สหกรณ์การเกษตรมหาราช จำกัด 264 ราย 9) สหกรณ์การเกษตรเสนา จำกัด 373 ราย 10) สหกรณ์การเกษตรอุทัย จำกัด 24 ราย 11) สหกรณ์ การเช่าซื้อที่ดินวังน้อย จำกัด 1 ราย 12) กลุ่มเกษตรกรทำนากะทุ่ม 8 ราย 13) กลุ่มเกษตรกรทำนาขวัญเมือง 13 ราย 14) กลุ่มเกษตรกรทำนาดอนทอง 2 ราย 15) กลุ่มเกษตรกรทำนาทางช้าง 14 ราย 16) กลุ่มเกษตรกร ทำนาบางซ้าย 6 ราย 17) กลุ่มเกษตรกรทำนาบางหลวง 4 ราย 18) กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านป้อม 5 ราย 19) กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านร่อม 3 ราย 20) กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านใหม่ 3 ราย 21) กลุ่มเกษตรกรทำนา ปากกราน 7 ราย 22) กลุ่มเกษตรกรทำนามารวิชัย 5 ราย 23) กลุ่มเกษตรกรทำนาลาดน้ำเค็ม 11 ราย 24) กลุ่มเกษตรกรทำนาวังพัฒนา 5 ราย และ 25) กลุ่มเกษตรกรทำนาศาลาลอย 17 ราย ผลการดำเนินการ 1. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประสานงาน แนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เป้าหมายในการดำเนินโครงการให้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติงานโครงการฯ ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด 2. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรเป้าหมายเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการฯ 3. ดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้แก่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เฉพาะเป้าหมาย ที่ผ่านการตรวจสอบและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ภายในระยะเวลาที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด 4. รายงานผลการเบิกจ่ายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ 5. ส่งคืนเงินอุดหนุนส่วนที่สมาชิกขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ 6. รายงานผลให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ
68 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือ ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ ผลสำเร็จ - เชิงปริมาณ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่เข้าร่วมโครงการได้รับการลดภาระ ดอกเบี้ยและลดต้นทุนในการประกอบอาชีพ จำนวน 1,467 ราย เป็นเงิน 1,006,829.35 บาท - เชิงคุณภาพ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรได้รับการลดภาระ ดอกเบี้ยและมีอัตราส่วนเงินออมต่อหนี้สินของสมาชิกเพิ่มขึ้น - ประโยชน์ที่ได้รับ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนด้าน ภาระหนี้สินและได้รับโอกาสในการฟื้นฟูอาชีพของตนเอง งบประมาณที่ได้รับจัดสรรและผลการใช้จ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,006,829.35 บาท (หนึ่งล้านหกพันแปดร้อยยี่สิบเก้าบาทสามสิบห้าสตางค์) เบิกจ่าย 1,006,829.35 บาท (หนึ่งล้านหกพันแปดร้อยยี่สิบเก้าบาทสามสิบห้าสตางค์) คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวน งบประมาณที่ได้รับจัดสรร ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนชดเชยดอกเบี้ยไม่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จในคราวเดียว จึงทำให้ เอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายค่อนข้างเยอะ และเมื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนชดเชยดอกเบี้ย ให้แก่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรแล้วมีสมาชิกสหกรณ์บางรายพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิก (สมาชิกเสียชีวิต) ซึ่ง สหกรณ์ไม่สามารถติดต่อทายาทได้จึงต้องส่งคืนเงินอุดหนุนดังกล่าว แนวทางการแก้ไขปัญหา แนะนำ/กำชับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกก่อนการ ขอเบิก เงินอุดหนุนชดเชยดอกเบี้ยเพื่อให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
69 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านพลังทางสังคม ➢ แผนงานยุทธศาสตร์ ⚫ แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม 1) โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.1) โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน ตามพระราชดำริสมเด็จพระ กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนมีการเรียนรู้ในเรื่องอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ และการสหกรณ์ในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสหกรณ์พร้อมทั้งปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยให้เด็กได้เรียนรู้ถึงประโยชน์ การรวมกลุ่มกัน ทำงาน การช่วยเหลือตนเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามอุดมการณ์สหกรณ์ 2. เพื่อเปิดโลกทัศน์ เพิ่มประสบการณ์ กระตุ้น และจุดประกายความคิดให้กับนักเรียน สามารถนำ ความรู้และแนวคิดที่ได้รับไปปรับใช้ในการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพต่อไป ตัวชี้วัด นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับด้านการสหกรณ์ไปปรับใช้ได้ เช่น เข้าร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนด้วย ความสมัครใจ เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ นักเรียนโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง ต.บ้านแป้ง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ผลการดำเนินการ 1. แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้เรื่องการสหกรณ์ในภาคทฤษฎี โดยจัดให้มี "การจัดการ เรียนรู้วิชาการสหกรณ์ในภาคทฤษฎี" ตามช่วงชั้นเรียนประถมศึกษา 3-6 1.1 ร่วมประชุมหารือกับผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เพื่อ ชี้แจงและวางแผนการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนร่วมกัน 1.2 แนะนำครูผู้สอนถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนโดยวิธีสอดแทรกความรู้ด้านการสหกรณ์ผ่านการ เรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการเรียนการสอนภาคปกติ 2. จัดกิจกรรมหรือแนะนำการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการสหกรณ์แก่ครูผู้รับผิดชอบ/ผู้บริหาร โรงเรียน เพื่อถ่ายทอดให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้เรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ 2.1 ร่วมกับโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้างพิจารณาจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการออมทรัพย์ของนักเรียน กิจกรรม ประกวดการออม "สุดยอดเด็กดีมีเงินออม" เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมและเป็นการปลูกฝัง ลักษณะนิสัยให้รู้จักประหยัด และอดออม ระยะเวลากิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ผลการประกวดตัดสินจากจำนวนครั้งของการออม โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สนับสนุนเงินรางวัล ที่ได้รับอุดหนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)
70 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2.2 เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แนะนำการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการ สหกรณ์แก่ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เพื่อถ่ายทอดให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้เรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ และสอนแนะเทคนิค วิธีการบันทึกรายงานการประชุมให้กับคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน 2.3 แนะนำให้โรงเรียนประสานสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์พระนครศรีอยุธยา จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้า ให้คำแนะนำ ส่งเสริมด้านการจัดทำบัญชีของสหกรณ์นักเรียนให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน 3. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน สมาชิกสหกรณ์ และ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง รวมจำนวน 15 คน ไปทัศนศึกษา เพื่อศึกษา กระบวนการบริหารจัดการสหกรณ์นักเรียนจากโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน Best of the best ระดับประเทศ ประจำปี 2565 ณ โรงเรียนวัดทุ่งคอก (สุวรรณสาธุกิจ) ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัด สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 4. ประเมินผลการเรียนรู้ด้านการสหกรณ์ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ข้อสอบกลาง ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยนักเรียนจะต้องผ่านการประเมินจากการทำแบบทดสอบจำนวน 50 ข้อ และต้อง ผ่านเกณฑ์การทดสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 การประเมินผลการเรียนรู้ด้านการสหกรณ์ของเด็กนักเรียนโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 17 คน ปรากฏว่าคะแนนทดสอบของนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การทดสอบ และผลคะแนนเฉลี่ย รวมคิดเป็นร้อยละ 83.29 ของนักเรียนทั้งหมด ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่ กลุ่มเป้าหมายได้รับ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน คณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน และนักเรียนได้เรียนรู้และมี ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ สามารถนำความรู้และแนวคิดที่ได้รับไป ปรับใช้ในการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพต่อไปได้ งบประมาณที่ได้รับจัดสรร และผลการใช้จ่ายงบประมาณ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมรองส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมจำนวน 9,620 บาท (เก้าพันหกร้อยยี่สิบบาทถ้วน)แยกเป็น งบดำเนินงาน จำนวน 8,620 บาท - ค่าใช้สอยและวัสดุ ในการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ (ถัวจ่าย) จำนวน 1,900 บาท - ค่าใช้จ่ายในการทัศนศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์แก่นักเรียน จำนวน 6,720 บาท งบเงินอุดหนุนทั่วไป จำนวน 1,000 บาท - เงินอุดหนุนสำหรับเป็นเงินรางวัลให้แก่โรงเรียนในโครงการส่งเสริมสหกรณ์ตามพระราชดำริสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจำนวน 1,000 บาท (กิจกรรม ประกวดการออม "สุดยอดเด็กดีมีเงินออม")
71 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบันทึกบัญชี หรือการบันทึกรายงานการประชุมค่อนข้างยาก เนื่องจากโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้างเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนยังอยู่ในวัยเด็กเล็ก แนวทางการแก้ไขปัญหาหรือข้อเสนอแนะ แนะนำให้โรงเรียนพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กวัยประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียน สนใจ จดจำ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ควรเป็นสื่อวีดีทัศน์สั้น ๆ การ์ตูน แผนภาพสีสันสดใสเข้าใจ ง่าย รวมถึงการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา ใช้สื่อการสอนที่เข้าใจได้ ง่าย เช่น การเล่นเกมส์สหกรณ์ เล่าเรื่องแบ่งปันประสบการณ์ ฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาโดยการลงมือฝึกปฏิบัติเอง ภาพกิจกรรม กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการสหกรณ์ และเยี่ยมชมสหกรณ์นักเรียน ของคณะนักเรียนโรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง
72 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 1.2) โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมารี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อร่วมจัดกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ ภายใต้โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ฯ ให้ การจัดงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ให้เป็นที่รู้จัก และให้ความรู้เรื่องหลักการ อุดมการณ์และวิธีการ สหกรณ์ ให้คำปรึกษาเรื่องปัญหาสหกรณ์ และกฎหมายสหกรณ์ 3. เพื่อส่งเสริม พัฒนา ให้ความรู้เรื่องอาชีพ แก่เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ และประชาชนที่สนใจ ตัวชี้วัด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมคลินิกสหกรณ์จำนวนรวมทั้งปีไม่น้อยกว่า 300 ราย เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ ประชาชนทั่วไปที่อยู่ในพื้นที่รับบริการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 4 ครั้ง/ปี ผลการดำเนินการ กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่หน่วยงานได้ดำเนินการ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุ เคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในรูปแบบบูรณา การร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยร่วมจัดคลินิกสหกรณ์ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปที่อยู่ในพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ให้เป็นที่รู้จัก และให้ความรู้เรื่อง หลักการ อุดมการณ์และวิธีการสหกรณ์ ให้คำปรึกษาเรื่องปัญหาสหกรณ์ และกฎหมายสหกรณ์ ส่งเสริม พัฒนา ให้ความรู้เรื่องอาชีพ แก่เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ และประชาชนที่สนใจในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 4 ครั้ง มีเกษตรกรเข้ารับบริการรวมจำนวน 304 ราย ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกษตรกรเข้ารับบริการ จำนวน 75 ราย - ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ วัดเจ้าปลุก ต.เจ้าปลุก อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา เกษตรกรเข้ารับบริการ จำนวน 72 ราย - ครั้งที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 ณ วัดสิงห์สุทธาวาส ต.บ้านแป้ง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เกษตรกรเข้ารับบริการ จำนวน 95 ราย - ครั้งที่ 4 วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนวัดช่างทอง (บุญบำรุงราษฎร์) ต.เกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เกษตรกรเข้ารับบริการ จำนวน 62 ราย
73 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือ ประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการสหกรณ์ มีลักษณะนิสัยที่ สอดคล้องกับอุดมการณ์สหกรณ์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และปรับใช้เพื่อประกอบอาชีพได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น งบประมาณที่ได้รับจัดสรร และผลการใช้จ่ายงบประมาณ ใช้เงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ กิจกรรมหลักพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งบดำเนินงาน หมวดค่าตอบแทนและใช้สอยและวัสดุ จำนวน 9,100 บาท (เก้าพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน) ภาพกิจกรรม สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมจัดนิทรรศการ จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านการสหกรณ์ และมอบของที่ระลึกแก่ผู้เข้ารับบริการในคลินิกสหกรณ์
74 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 1.3) โครงการขับเคลื่อนการประยุกต์ให้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรน้อมนำแนวทางปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมี การดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งจัดให้มีการประกวดผลงานการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีกิจกรรม รูปแบบการบริหารจัดการ ที่สามารถเป็นแบบอย่างสำหรับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร การคัดเลือกแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด ระดับ เขต และระดับกรม โดยกำหนดให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการแนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 5 แห่ง ให้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและ ส่งเสริมให้สมาชิกนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีกิจกรรม รูปแบบการบริหาร จัดการที่ดี และมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและส่งเสริมสมาชิกใช้ ในการดำเนินชีวิตจนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี จังหวัดละ 2 แห่ง การดำเนินการคัดเลือกให้ใช้หลักเกณฑ์ตามที่ กำหนดไว้ใน “คำแนะนำการดำเนินโครงการประกวดผลงานการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์ และ กลุ่มเกษตรกร” วัตถุประสงค์ เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรน้อมนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการ ดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจ พอเพียง ตัวชี้วัด สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรน้อมนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน อย่างเป็นรูปธรรม และสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตร ปฏิรูปที่ดินบางไทร จำกัด 2) สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินช้างใหญ่ จำกัด 3) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด 4) กลุ่มเกษตรกรทำนาวังแดง 5) กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบางชะนี ผลการดำเนินการ กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่หน่วยงานได้ดำเนินการ 1. คัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 แห่ง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินการแนวทางฯ ที่กรมกำหนด โดยได้คัดเลือก สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1) สหกรณ์ การเกษตรปฏิรูปที่ดินบางไทร จำกัด 2) สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินช้างใหญ่ จำกัด 3) สหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยน ฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด 4) กลุ่มเกษตรกรทำนาวังแดง 5) กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบางชะนี
75 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2. แนะนำ ส่งเสริม ติดตามสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้นำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไป ประยุกต์ใช้ทั้งในระดับองค์กรและสมาชิก และให้ดำเนินกิจกรรมตามแผนการดำเนินกิจกรรมการประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. คัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้และ สามารถเป็นแบบอย่างได้ ตามแนวทางโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร ที่กองประสานงานโครงการพระราชดำริกำหนด สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิจารณาคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเข้าร่วม ประกวดผลงานการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 2 แห่ง คือ สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินบางไทร จำกัด และ สหกรณ์การเกษตรในเขต ปฏิรูปที่ดินช้างใหญ่ จำกัด แต่เนื่องจากสหกรณ์เป้าหมายทั้ง 2 แห่ง ไม่ผ่านคุณสมบัติของสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรที่เข้ารับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์การคัดเลือก ข้อ (5) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ปีล่าสุด และไม่มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอื่น สมัครเข้า ประกวดผลงานการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร คณะกรรมการ คัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต้นแบบที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการ ดำเนินงาน ระดับจังหวัด จึงมีมติไม่เสนอรายชื่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมประกวดผลงานการ ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 4. รายงานผลการดำเนินงานตามแบบรายงานที่กองประสานงานโครงการพระราชดำริกำหนด ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่ กลุ่มเป้าหมายได้รับ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรน้อมนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการ ดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม มีกิจกรรม รูปแบบการบริหารจัดการที่สามารถเป็นแบบอย่างสำหรับสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร และสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง งบประมาณที่ได้รับจัดสรร และผลการใช้จ่ายงบประมาณ ใช้เงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงานเสริมสร้างพลังทางสังคม กิจกรรมหลัก พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ งบดำเนินงาน จำนวน 3,200.- บาท (สามพันสองร้อยบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร/สมาชิกให้นำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและในการดำเนินชีวิต และจัดประชุมคณะกรรมการคัดเลือกสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรต้นแบบที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ระดับ จังหวัด
76 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน อุปสรรคสำคัญของการดำเนินโครงการมาจากการที่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรขาดแรงจูงใจ ในการเข้าร่วมโครงการ แนวทางการแก้ไขปัญหาหรือข้อเสนอแนะ ผู้รับผิดชอบโครงการควรปรับรูปแบบการจัดการโครงการ เช่น เพิ่มเงินรางวัล สนับสนุน งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลงานให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกเข้าประกวดผลงานในทุกระดับ เพื่อเป็นการ ยกย่อง เชิดชู สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ภาพกิจกรรม แนะนำส่งเสริม และติดตามสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ
77 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 1.4) โครงการจัดงาน “7 มิถุนายน วันสหกรณ์นักเรียน ประจำปี 2566” วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในโรงเรียน 2. เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสู่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน ทั่วไป ให้เป็นที่แพร่หลาย 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการสหกรณ์ให้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและประชาชน ทั่วไป ตัวชี้วัด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการไม่น้อยกว่า 80 คน เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนของโรงเรียน ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ขบวนการสหกรณ์ และประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 80 คน กำหนดจัด งานในวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ณ โรงเรียนชุมชนวัดระโสม ตำบลระโสม อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการดำเนินการ กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่หน่วยงานได้ดำเนินการ 1. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดทำโครงการจัดงาน “7 มิถุนายน วันสหกรณ์ นักเรียน ประจำปี 2566” เสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณ ให้กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ดำเนิน โครงการ 2. วางแผนดำเนินโครงการ โดยออกแบบและกำหนดให้มีกิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น การ จัดนิทรรศการการจัดการเรียนรู้สหกรณ์ในโรงเรียนและกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน นิทรรศการสื่อการสอน สหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน การตอบปัญหาชิงรางวัล การประกวดผลงาน หรือกิจกรรมอื่นๆ ตามความ เหมาะสม กิจกรรมที่ดำเนินการ : - กิจกรรมจัดนิทรรศการการจัดการเรียนรู้สหกรณ์ในโรงเรียน นิทรรศการด้านการสหกรณ์และการ บัญชีสหกรณ์ และนิทรรศการสื่อการสอนสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน - กิจกรรมการประกวดวาดภาพ หัวข้อ “สหกรณ์นักเรียนในฝัน” - กิจกรรมการประกวดเรียงความ หัวข้อ “สหกรณ์นักเรียนในความคิดฉัน” - กิจกรรมมอบทุนการศึกษา - กิจกรรมเกมการสหกรณ์และตอบคำถามชิงรางวัล 3. ร่วมกับสถานศึกษา สหกรณ์หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดงาน
78 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 4. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม “7 มิถุนายน วันสหกรณ์นักเรียน ประจำปี 2566” ผ่านสื่อ Social media ผ่านช่องทางต่อไปนี้ 4.1 Facebook (1) https://www.facebook.com/cpd.ayutthaya/?locale=th_TH (2) https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=676618314476868&id =100063861167341&sfnsn=mo&mibextid=VhDh1V 4.2 เวปไซต์สำนักงาน https://ayutthaya.web.cpd.go.th/ https://ayutthaya.web.cpd.go.th/news-all/activities-news/209- khorngkar-7-mithunayn-wan-shkrn-nakreiyn-praca-pi-2566.html 5. ประเมินผลและสรุปผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ จำนวนผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด : 200 คน แยกเป็น 1) จำนวนนักเรียน : 100 คน 2) จำนวนครู/บุคลากรทางการศึกษา : 15 คน 3) จำนวนผู้ปกครอง/ประชาชนทั่วไป : 20 คน 4) จำนวนส่วนราชการ : 40 คน 5) จำนวนผู้เข้าร่วมงานส่วนอื่นๆ : 25 คน 6. รายงานผลไปยังสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ตามแบบรายงานที่กำหนด ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ โรงเรียนโดย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เห็นความสำคัญในการจัดการ เรียนรู้และการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน และสามารถใช้แนวทางสหกรณ์ในการพัฒนาสมรรถนะนักเรียน ให้เป็นคนเก่ง คนดี ของสังคมตามวิถีสหกรณ์ได้ งบประมาณที่ได้รับจัดสรร และผลการใช้จ่ายงบประมาณ ใช้เงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566 แผนงานพื้นฐาน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิต สหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร งบดำเนินงาน จำนวน 20,000.- บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนิน โครงการจัดงาน “7 มิถุนายน วันสหกรณ์นักเรียน ประจำปี 2566” ดังต่อไปนี้ 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 12,000 บาท (80 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 150 บาท) 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5,600 บาท (80 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท) 3. ค่าวัสดุ จำนวน 2,400 บาท รวมเป็นเงิน 20,000 บาท
79 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน 1) ด้านการประสานงาน วันที่ 9 พ.ค. 66 กรมส่งเสริมสหกรณ์แจ้งประสานให้จังหวัดทราบถึงการจัดงานวันสหกรณ์ นักเรียน ประจำปี 2566 ซึ่งโรงเรียนหลายแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ระหว่างปิดภาคเรียน (กำหนด เปิดภาคเรียนหลังวันที่ 16 พฤษภาคม 2566) โรงเรียนอยู่ในช่วงที่ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดภาค เรียน บุคลากรของโรงเรียนมีจำนวนน้อย ครูมีภารกิจด้านการเรียนการสอนเป็นภารกิจหลัก เมื่อมีกิจกรรมที่ ต้องปฏิบัติเพิ่มจากภารกิจหลัก ทำให้การประสานงานกับโรงเรียนล่าช้า โดยเฉพาะในสัปดาห์แรกของการเปิด เทอม อีกทั้งโรงเรียนเป็นสถานศึกษาภาครัฐ การมอบหมายงานต่างๆ ต้องดำเนินการขออนุมัติตามขั้นตอน ประกอบกับช่วงวันที่ 3-5 มิถุนายน 2566 เป็นวันหยุดราชการ ทำให้การเตรียมความพร้อมด้านสถานที่และ การประสานงานด้านอื่นๆ ล่าช้า 2) ด้านงบประมาณ กรมส่งเสริมสหกรณ์อนุมัติและจัดสรรงบประมาณล่าช้า งบประมาณที่จัดสรรให้ไม่ เพียงพอต่อการจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมภายในงาน การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์บางชนิดมีราคาสูง เช่น ป้าย การ์ตูน ข้อเสนอแนะ 1) ด้านการประสานงาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ควรแจ้งแผนการจัดงานและงบประมาณโครงการให้จังหวัดทราบ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เนื่องจากจังหวัดต้องวางแผนการจัดงานและประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชนหลายแห่ง 2) ด้านงบประมาณ กรมส่งเสริมสหกรณ์ควรอนุมัติ จัดสรร และโอนงบประมาณให้จังหวัดภายในไตรมาสที่ 2 เพื่อไม่ให้กระทบต่องบประมาณปกติของจังหวัด และกรมควรเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทำสื่อ ประชาสัมพันธ์สำหรับงานวันสหกรณ์นักเรียน เช่น แมสคอต แผ่นป้ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดนิทรรศการและ สถานที่ ตลอดจนเอกสารเผยแพร่ต่างๆ ส่งมอบให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้างโดย จังหวัดมีปริมาณน้อย ใช้ระบบการเบิกจ่ายแบบเครดิต ขาดอำนาจต่อรอง ทำให้มูลค่าในการจัดซื้อจัดจ้างสูง และการจัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในหมวดต่างๆ ควรมีความครอบคลุมทุกรายการในกิจกรรม เช่น ค่า ของขวัญของรางวัลเพื่อใช้ในกิจกรรมเกมสหกรณ์
80 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ภาพกิจกรรม
81 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านเศรษฐกิจฐานราก ➢ แผนงานบูรณาการ ⚫ แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 1) โครงการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร 1.1) โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน ตามพระราชดำริสมเด็จพระ กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืน 2) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามโครงการจัดที่ดินตามนโยบายรัฐบาล ให้มีความกินดีอยู่ดี มีสันติสุข และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ตัวชี้วัดความสำเร็จ การดำเนินการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในรูปแบบสหกรณ์ หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ เช่น กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ ประชาชนในพื้นที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกิน ตามโครงการจัดที่ดินตามนโยบายรัฐบาล จำนวน 4 แปลง ได้แก่ 1) แปลง “ดอนแตงสาธารณประโยชน์” ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร 2) แปลง “ที่สาธารณประโยชน์” ตำบลช้างน้อย อำเภอบางไทร 3) แปลง “ที่สาธารณประโยชน์ชวาดโคก 1” ตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร 4) แปลง “ที่สาธารณประโยชน์ชวาดโคก 2” ตำบลไม้ตรา อำเภอบางไทร ผลการดำเนินงาน ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในรูปแบบสหกรณ์ หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ เช่น กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น สรุปผลการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 (จำแนกตามประเภทงบรายจ่าย) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 งบบุคลากร งบดําเนินงาน งบลงทุน งบอุดหนุน งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 3,789,500 2,854,246 308,600 1,007,829 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ 3,789,500 2,854,246 308,600 1,007,829 3,789,500 2,854,246 308,600 1,007,829 3,789,500 2,854,246 308,600 1,007,829 0 1,000,000 2,000,000 3,000,000 4,000,000 งบประมาณ หน่วย : บาท
82 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลการดำเนินงาน/โครงการนอกแผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 1) โครงการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้และเข้าใจแนวคิดหลักการและวิธีการสหกรณ์ กฎหมายสหกรณ์ กฎ ระเบียบที่ออกตามในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ความรู้เกี่ยวกับการเงิน การบัญชีของสหกรณ์ การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ การบริหารความเสี่ยง เทคนิคและวิธีการตรวจสอบ กิจการ การสรุปผลการตรวจสอบและเขียนรายงานผลการตรวจสอบกิจการเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามารถ นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสรุปผล เสนอรายงาน ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์และต่อมวลสมาชิกได้ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผู้เข้ารับการอบรมต้องมีระยะเวลาในการเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของระยะเวลา การอบรมทั้งหมด จึงจะถือว่าผ่านการอบรม กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 1) สมาชิกสหกรณ์ 2) ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สหกรณ์ต้นสังกัดที่ส่งสมาชิกหรือผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์เข้ารับการอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการฝึกอบรมทั้งหมด ผลการดำเนินงาน การบรรยายสาธิตและฝึกปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดหัวข้อวิชา ดังนี้ 1. หลักการ วิธีการสหกรณ์ กฎหมายสหกรณ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 1.30 ชั่วโมง กับการดำเนินงานสหกรณ์ 2. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ 1.30 ชั่วโมง พ.ศ. 2563 และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ความรู้เกี่ยวกับการเงินการบัญชีและการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ 4.00 ชั่วโมง 4. การบริหารความเสี่ยง 2.00 ชั่วโมง 5. การประเมินผลการควบคุมภายในและการวางแผนการตรวจสอบกิจการสหกรณ์ 3.00 ชั่วโมง 6. เทคนิค วิธีการตรวจสอบกิจการ และการเขียนรายงานผลการตรวจสอบ 5.00 ชั่วโมง รวม 17.00 ชั่วโมง ที่ ประเภทกลุ่มเป้าหมาย จำนวนสหกรณ์ จำนวนคน แผน ผล แผน ผล 1 สมาชิก/ผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ 24 23 37 41
83 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการ 1) ผลสำเร็จเชิงปริมาณ 1.1) ดำเนินการการจัดโครงการฝึกอบรม “หลักสูตรผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566” ระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชั้น 3 โดยมีผู้เข้า รับการฝึกอบรมที่เป็นสมาชิกและผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 23 แห่ง ผู้เข้ารับ การอบรม จำนวนทั้งสิ้น 41 คน โดยงบประมาณที่ใช้ในการฝึกอบรมทางสหกรณ์ต้นสังกัดที่ส่งสมาชิกหรือผู้ ตรวจสอบกิจการสหกรณ์เข้ารับการอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมทั้งหมด 1.2) ผู้เข้ารับการอบรม จำนวนทั้งสิ้น 41 คน ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566 ทั้งหมด ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมต้องมีระยะเวลาในการเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งหมด จึงถือว่าผ่านการอบรม 2) ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ 2.1) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการตรวจสอบ กิจการของสหกรณ์ พ.ศ. 2563 กล่าวคือ “ผู้ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ต้องผ่านการอบรมการ ตรวจสอบกิจการจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์หรือได้รับการรับรองหลักสูตรจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์” 2.2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ใช้ในการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานในการตรวจสอบ กิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน/โครงการ ผู้เข้ารับการอบรมรู้และเข้าใจแนวคิดหลักการและวิธีการสหกรณ์ กฎหมายสหกรณ์ กฎ ระเบียบที่ออก ตามในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ความรู้เกี่ยวกับการเงิน การบัญชีของสหกรณ์ การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ การบริหารความเสี่ยง เทคนิคและวิธีการตรวจสอบกิจการ การสรุปผลการ ตรวจสอบและเขียนรายงานผลการตรวจสอบกิจการเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ สามารถนำความรู้ที่ได้รับ จากการอบรมไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสรุปผล เสนอรายงาน ให้ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์และต่อมวลสมาชิกได้ ภาพประกอบ ภาพการดำเนินโครงการฝึกอบรม “หลักสูตรผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566”
84 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 2) โครงการพัฒนาผู้นำกลุ่มเกษตรกร (การจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ระดับจังหวัด) วัตถุประสงค์ เพื่อให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรได้ประชุมและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาของสมาชิกกลุ่ม เกษตรกร และเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง สามารถเป็นที่พึ่งของสมาชิกได้ ตัวชี้วัด กรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรกรระดับอำเภอเข้าประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรกรระดับจังหวัด จำนวน 14 คน ผลการดำเนินการ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ประสานประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ระดับจังหวัด กำหนดจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชั้น 3 มีคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรกรระดับอำเภอเข้าร่วมประชุมจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของเป้าหมายผู้เข้าร่วม ประชุม หัวข้อสำคัญในการประชุมประกอบด้วย 1. โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึง แหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด 2. การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร 3. การจัดทำบัญชีของกลุ่ม เกษตรกร ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน/โครงการและผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับ คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัดได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาความต้องการและ ข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ได้ร่วมกันเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาและลดผลกระทบให้กับเกษตรกร โดยที่ประชุมเห็นควรให้กรรมการกลางระดับอำเภอขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่รับผิดชอบไปสู่ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและให้ตัวแทนระดับจังหวัด เตรียมความพร้อมในการนำเสนอข้อมูล และเป็นตัวแทนสะท้อนปัญหา ความต้องการ เสนอแนวทางแก้ไข ปัญหาของกลุ่มเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในที่ประชุมคณะกรรมการกลางฯ ระดับภาค การประชุมคณะกรรมการกลางฯ ระดับประเทศ และการประชุมวันคล้ายวันก่อตั้งกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้ได้มากที่สุด แหล่งงบประมาณ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับโอนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิตสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร งบดำเนินงาน จำนวน 7,140 บาท (เจ็ดพันหนึ่งร้อยสี่สิบบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ พัฒนาผู้นำกลุ่มเกษตรกร กิจกรรม การจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด
85 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 งบประมาณที่ได้รับจัดสรร และผลการใช้จ่ายงบประมาณ การประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชั้น 3 มีคณะกรรมการกลางกลุ่ม เกษตรกรกรระดับอำเภอเข้าร่วมประชุมจำนวน 14 คน ค่าใช้จ่ายในการประชุมรวมเป็นเงิน 7,140 บาท (เจ็ด พันหนึ่งร้อยสี่สิบบาทถ้วน) แยกรายการได้ดังนี้ ค่าเบี้ยเลี้ยง (14 คน x 1 วัน x 240 บาท) เป็นเงิน 3,360 บาท ค่าพาหนะ (14 คน x 1 วัน x 200 บาท) เป็นเงิน 2,800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (14 คน x 2 มื้อ x 35 บาท) เป็นเงิน 980 บาท ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน 1. คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรกรระดับอำเภอไม่มีงบประมาณในการจัดประชุม 2. คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรกรระดับจังหวัดได้รับงบประมาณในการจัดประชุมปีละ 1 ครั้ง ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ของคณะกรรมการกลางฯ ระดับอำเภอ แนวทางการแก้ไขปัญหาหรือข้อเสนอแนะ 1. แนะนำให้คณะกรรมการกลางฯ จัดประชุมแบบออนไลน์ 2. แนะนำให้คณะกรรมการกลางฯ จัดทำหนังสือแจ้งขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการ จัดประชุมคณะกรรมการกลางฯ เสนอสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อนำเสนอกรมส่งเสริมสหกรณ์ พิจารณาต่อไป ภาพประกอบ การประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566 วันที่ 30 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชั้น 3
86 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 3) ชื่องาน/โครงการพัฒนาศักยภาพสหกรณ์นอกภาคการเกษตรสู่ความเข้มแข็ง ประจำปี 2566 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้จัดทำบัญชีของสหกรณ์นอกภาคการเกษตรให้สามารถจัดทำบัญชีและ งบการเงินได้ 2. เพื่อให้สหกรณ์นอกภาคการเกษตรสามารถจัดทำบัญชีได้ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดทำบัญชีและงบการเงินได้ ร้อยละ 100 2. สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถปิดบัญชีได้อย่างน้อยร้อยละ 90 เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ กลุ่มเป้าหมายผลักดัน (สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565 ที่อยู่ระหว่าง ผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงิน/ยังไม่สามารถปิดบัญชีได้ ได้แก่ 1. สหกรณ์บ้านมั่นคงชุมชนบ้านต้นตาลพัฒนา จำกัด และ 2. สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงคลองสระบัว จำกัด กลุ่มเป้าหมายขยายผล สหกรณ์เป้าหมายใหม่ที่เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่ สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงชุมชนลำตาเสา จำกัด ผลการดำเนินการ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการดังนี้ - กลุ่มเป้าหมายผลักดัน 1. ติดตาม แนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์เป้าหมายให้สามารถปิดบัญชีได้ 2. รายงานผลความก้าวหน้าให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ - กลุ่มเป้าหมายขยายผล 1. คัดเลือกสหกรณ์นอกภาคการเกษตรที่ปิดบัญชีไม่ได้เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ 2. แต่งตั้งทีมงานในการแก้ไขปัญหาการปิดบัญชีของสหกรณ์ ประกอบด้วย ทีมปิด บัญชีสหกรณ์ประจำจังหวัด/พื้นที่ และทีมปฏิบัติงานจัดทำบัญชีสหกรณ์ 3. จัดเก็บข้อมูล และวิเคราะห์สภาพปัญหารายสหกรณ์ 4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการปิดบัญชีสหกรณ์ 5. จัดอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติด้านการจัดทำบัญชีของสหกรณ์ 6. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามผลการดำเนินงานปิดบัญชีสหกรณ์ 7. ติดตาม แนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์เป้าหมายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 8. สรุปผลการดำเนินโครงการฯ
87 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 ผลสำเร็จ - เชิงคุณภาพ สหกรณ์นอกภาคการเกษตรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการควบคุม ภายในของสหกรณ์ การจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การปรับปรุงบัญชี การออกใบเสร็จรับเงินกรณี สมาชิกชำระเงินกู้แบบเงินโอนและแบบชำระเป็นเงินสด การบันทึกบัญชีกรณีต่าง ๆ รวมทั้งวิธีปฏิบัติทางบัญชี ที่ถูกต้อง - ประโยชน์ที่ได้รับ สหกรณ์นอกภาคการเกษตรที่เข้าร่วมโครงการได้มีการระดมความคิด วิเคราะห์ปัญหาเพื่อ นำมากำหนดเป็นแผนและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้สหกรณ์สามารถปิดบัญชีได้ รวมทั้งได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในและการจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี จนสามารถนำไปสู่ การบันทึกบัญชีเบื้องต้นได้ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรและผลการใช้จ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 11,900 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยบาทถ้วน) เบิกจ่าย 11,900 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยบาทถ้วน) คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือข้อเสนอแนะ - ปัญหา/อุปสรรค คณะกรรมการบางคนไม่มีความรู้เรื่องระบบการควบคุมภายในของสหกรณ์ รวมถึงการจัดทำ บัญชี และเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี จึงทำให้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีที่ผ่านมาไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ - แนวทางการแก้ไขปัญหา ขอคำแนะนำการจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีและการบันทึกบัญชีจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อให้สหกรณ์สามารถดำเนินการปิดบัญชีต่อไปได้ ภาพกิจกรรม รูปภาพประกอบการจัดอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติด้านการจัดทำบัญชีของสหกรณ์
88 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ส านักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานประจำปี 2566 ANNUAL REPORT 2023 4) โครงการสนับสนุนการรวบรวมและกระจายผลไม้เพื่อยกระดับราคาไม่ให้ตกต่ำของ สถาบันเกษตรกร วันที่ 16 ตุลาคม 2566 นายนาถ บำรุงพาณิชย์ สหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยบุคลากร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร่วมในการกระจายลองกองจากจังหวัดยะลา ผ่านขบวนการ สหกรณ์กับชุมนุมสหกรณ์การเกษตรยะลา จำกัด เป็นต้นทางรวบรวมลองกองสู่ผู้บริโภคปลายทางในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา โดยมีสหกรณ์ต่าง ๆ และหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนร่วม สั่งซื้อลองกองเป็นอย่างมาก โดยมียอดจำหน่วยในการกระจายลองกองครั้งนี้กว่า 3.47 ตัน มูลค่ารวมกว่า 90,000 บาท ภาพกิจกรรม