The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารวิชาการ
ข้าวฟ่าง การผลิตเมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษา
โดย วัลลิภา สุชาโต นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ข้าวฟ่าง การผลิตเมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษา

เอกสารวิชาการ
ข้าวฟ่าง การผลิตเมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษา
โดย วัลลิภา สุชาโต นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร

Keywords: ข้าวฟ่าง,การผลิตเมล็ดพันธุ์,การเก็บรักษา

เอกสารวชิ าการ

ข้าวฟ่าง :

การผลิตเมลด็ พันธแ์ุ ละการเก็บรกั ษา

วัลลภิ า สุชาโต

ศูนย์วิจยั พืชไรส่ ุพรรณบรุ ี กรมวชิ าการเกษตร
พ.ศ. 2551

สารบัญ ก

สารบญั หน้า
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ ก
สารบัญกราฟ ค
คานา ง
บทนา จ

บทท่ี 1 ขา้ วฟา่ ง ช
1.1 การจาแนกข้าวฟา่ งตามหลกั ช่ือวิทยาศาสตร์
1.2 ถนิ่ กาเนิดและการแพร่กระจาย 1
1.3 แหล่งปลูกข้าวฟ่าง 1
1.4 การใชป้ ระโยชนข์ องขา้ วฟ่างเมล็ด 2
2
บทที่ 2 ขา้ วฟา่ งในประเทศไทย 7
2.1 ประวตั ิขา้ วฟ่างในประเทศไทย
2.2 พันธข์ุ ้าวฟ่าง 9
2.3 พันธขุ์ ้าวฟ่างทีไ่ ด้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร 9
2.4 พนั ธุ์ขา้ วฟ่างแนะนาจากกรมวิชาการเกษตร 10
2.5 พันธข์ุ ้าวฟา่ งจากศนู ย์วิจัยข้าวโพดขา้ วฟ่างแห่งชาติทัง้ พันธ์แุ ท้และลกู ผสม 11
2.6 พนั ธุ์ข้าวฟา่ งลูกผสมจากบริษัทเอกชน 14
15
บทที่ 3 การผลิตเมลด็ พนั ธ์หุ ลักขา้ วฟ่าง 18
3.1 การแบง่ ช้นั ของการผลติ เมล็ดพนั ธุ์
3.2 คุณสมบัติของเมลด็ พนั ธท์ุ ่ดี ี 21
3.3 ปจั จัยท่ีมีผลตอ่ คุณภาพของเมลด็ พนั ธุ์ 21
3.4 หลักการดาเนินงานผลิตเมลด็ พนั ธุ์ 22
3.5 มาตรฐานเมล็ดพนั ธข์ุ ้าวฟา่ ง 24
3.6 ขัน้ ตอนการผลติ เมล็ดพนั ธ์หุ ลักข้าวฟ่าง 25
3.7 โรคและแมลงทส่ี าคัญของข้าวฟา่ ง 26
27
30

บทที่ 4 การเก็บรกั ษาเมล็ดพนั ธ์ขุ ้าวฟ่าง ข
4.1 ปัจจัยท่จี าเป็นต่ออายกุ ารเก็บรกั ษาเมลด็ พนั ธ์ุ
4.2 วิธีการจดั เก็บเมลด็ ข้าวฟ่าง หน้า
4.3 ขอ้ แนะนาในการเก็บรักษาเมลด็ พันธุ์
4.4 แมลงศตั รูโรงเกบ็ 37
37
บทท่ี 5 การผลติ เมลด็ พันธุห์ ลกั ข้าวฟา่ ง 43
5.1 ลักษณะโรงเกบ็ เมล็ดพนั ธ์ุ 46
5.2 อปุ กรณ์ท่ใี ช้ในโรงเก็บเมลด็ พันธุ์ 46
5.3 การรมยา
5.4 การจัดการโรงเกบ็ 51
5.5 สขุ ลักษณะของโรงเก็บ 51
51
53
55
56

สารบญั ตาราง ค

ตารางที่ 1 พื้นที่ ผลผลิต และผลผลติ เฉลย่ี ของข้าวฟ่างท่ัวโลกในปี 2549 หน้า
ตารางที่ 2 พ้นื ท่ี ผลผลิต และผลผลติ เฉลยี่ การผลิตขา้ วฟา่ งของไทยรายจังหวดั ในปี 2549 3
ตารางที่ 3 พื้นที่เพาะปลูก ผลผลติ ผลผลิตเฉลย่ี และราคาทเี่ กษตรกรขายได้ จากการผลติ 5
6
ขา้ วฟา่ งของไทยปี 2540-2549
ตารางท่ี 4 ลักษณะบางประการของขา้ วฟา่ งพนั ธุแ์ ท้เมลด็ สขี าวและสเี หลอื ง 16
ตารางที่ 5 ลกั ษณะบางประการของขา้ วฟา่ งพันธแ์ุ ท้ และลูกผสมเมล็ดสีแดง 17
ตารางที่ 6 มาตรฐานเฉพาะอย่างในการตรวจสอบในไร่ข้าวฟ่าง 26
ตารางท่ี 7 มาตรฐานเมล็ดพันธ์ุ ในการตรวจสอบจากห้องปฏบิ ตั ิการเมล็ดพนั ธ์ุ 26
ตารางที่ 8 ความช้ืนกับอายุในการเก็บรกั ษาโดยประมาณของเมลด็ ธัญพืช (ขา้ ว ข้าวโพด 39

ขา้ วฟ่าง) เมอื่ เก็บรกั ษาไวใ้ นอุณหภูมิไม่เกิน 90 oF 39
ตารางที่ 9 เปอรเ์ ซ็นต์ความชนื้ ของเมล็ดโดยประมาณในขณะท่ีสมดลุ กับอากาศที่มีความช้นื
40
สมั พันธ์ในระดบั ต่างๆ กนั ที่อุณหภมู ิ 25 oF 41
ตารางที่ 10 ระดับความช้นื ของเมลด็ กบั ผลเสยี ท่ีเกิดข้ึนในระหว่างการเก็บรกั ษา
ตารางที่ 11 เปอร์เซ็นตค์ วามงอกของเมล็ดพนั ธ์ขุ า้ วฟา่ งหลังจากการทดลองเก็บรักษา 42

ในสภาพอุณหภมู ิและความชื้นสมั พัทธ์ระดับต่างๆ 43
ตารางที่ 12 เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมลด็ พนั ธุ์พชื คุณภาพสงู 3 ชนิด หลงั จากการเก็บ

รักษาไวใ้ นสภาพที่แตกต่างกนั 3 ลักษณะ เปน็ ระยะเวลาตา่ งๆ กนั
ตารางที่ 13 ขอ้ แนะนาสาหรบั การใชอ้ ณุ หภูมิโรงเกบ็ และความช้ืนของเมล็ดสูงสดุ ในการ

เก็บรกั ษาเมลด็ พันธ์ุในระยะยาว

สารบัญภาพ ง

ภาพท่ี 1 พนั ธุ์อทู่ อง 1 ท่ีศูนยว์ จิ ยั พชื ไร่สพุ รรณบรุ ี หน้า
ภาพท่ี 2 พนั ธส์ุ ุพรรณบรุ ี 60 ที่ศนู ยว์ ิจัยพชื ไร่สุพรรณบรุ ี
ภาพที่ 3 พนั ธส์ุ พุ รรณบุรี 1 ทีศ่ นู ย์วิจัยพืชไร่สพุ รรณบรุ ี 11
ภาพท่ี 4 พันธุ์อู่ทอง 1694 ที่ศนู ยว์ ิจยั พชื ไรส่ พุ รรณบรุ ี 12
ภาพที่ 5 พนั ธ์ุอทู่ อง 1658 ที่ศนู ยว์ จิ ัยพชื ไร่สพุ รรณบุรี 12
ภาพที่ 6 พนั ธเ์ุ ฮกการีหนัก ทศ่ี นู ย์วิจยั พืชไรส่ ุพรรณบุรี 13
ภาพท่ี 7 พันธ์ุเฮกการีเบา ที่ไรเ่ กษตรกร จ.สพุ รรณบรุ ี 13
ภาพที่ 8 พันธุ์ KU 439 ที่ศูนยว์ จิ ัยข้าวโพดขา้ วฟ่างแห่งชาติ 14
ภาพที่ 9 พนั ธ์ุ KU 630 ทศ่ี นู ยว์ จิ ัยข้าวโพดขา้ วฟา่ งแห่งชาติ 14
ภาพที่ 10 พนั ธุ์ KU 8501 ที่ศนู ยว์ จิ ัยขา้ วโพดข้าวฟา่ งแห่งชาติ 15
ภาพที่ 11 ขา้ วฟา่ งพันธุแ์ ปซิฟิค 88 15
ภาพท่ี 12 ข้าวฟา่ งพนั ธุ์แปซิฟิค 99 16
ภาพท่ี 13 ขา้ วฟา่ งพนั ธแ์ุ ปซิฟิค 89 18
ภาพท่ี 14 ขา้ วฟ่างพันธ์ุ FBC 111 18
ภาพท่ี 15 ขา้ วฟ่างพันธุ์ FBC 999 18
ภาพท่ี 16 โรคราที่เมลด็ ข้าวฟา่ ง (Grain Mold) 19
ภาพที่ 17 บวั่ ขา้ วฟ่าง (Sorghum midge) 19
ภาพที่ 18 หนอนแมลงวันเจาะยอดขา้ วฟา่ ง (Shoot fly) 30
ภาพที่ 19 มวนอ้อย (sugarcane bug) 31
ภาพที่ 20 หนอนเจาะสมอฝ้าย (Cotton Bollworm) 33
ภาพท่ี 21 ตวั เตม็ วัยด้วงงวง (Sitophilus spp.) 34
ภาพท่ี 22 ตัวเต็มวัยมอดหัวป้อม (Rhyzopertha dominica) 35
ภาพท่ี 23 ตัวเตม็ วยั ผเี สือ้ ขา้ วสาร (Corcyra cephalonica) 46
ภาพท่ี 24 ตัวเตม็ วัยผเี สอื้ ขา้ วเปลอื ก (Sitotroga cerealella) 47
ภาพท่ี 25 ตวั เตม็ วัยเหาหนังสือ (Liposcells spp.) 47
ภาพท่ี 26 ช้ันวางเมลด็ พันธมุ์ าตรฐาน 48
48
51

ภาพท่ี 27 การวางกระสอบเมลด็ พันธุ์ จ
ภาพที่ 28 รูปแบบการวางช้ันกระสอบเมลด็ พนั ธุ์
ภาพท่ี 29 แบบการคานวณพ้นื ที่วางชัน้ กระสอบเมล็ดพันธ์ุ หนา้
ภาพที่ 30 รปู แบบการจดั วางกระสอบเมล็ดพนั ธุอ์ ย่างเปน็ ระเบยี บ
ภาพท่ี 31 รูปแบบการจดั วางกระสอบเมลด็ พันธ์ุอยา่ งถูกต้อง 52
ภาพท่ี 32 วธิ กี ารคลมุ พลาสติกกอ่ นการรมยา 52
ภาพที่ 33 วธิ ีการวางงูทราย 52
53
53
55
55

สารบัญกราฟ หน้า

กราฟท่ี 1 ประเทศผ้ผู ลติ ข้าวฟ่างของโลก ผลผลติ (1,000 ตนั ) และเปอรเ์ ซ็นต์ท่ผี ลิตได้ 4
กราฟท่ี 2 ประเทศผู้สง่ ออกข้าวฟา่ งของโลก ผลผลติ (1,000 ตนั ) และเปอร์เซน็ ตท์ ่ผี ลิตได้ 4



คำนำ

เอกสารฉบับนี้ จัดทาขึ้นโดยการรวบรวมผลงานวิจัยจากการตรวจเอกสารด้านข้าวฟ่าง โดยมี
วตั ถปุ ระสงค์ เพือ่ รวบรวมขอ้ มลู ทางวิชาการในเร่อื งขา้ วฟ่าง การผลติ เมล็ดพันธ์ุและการเก็บรักษา จากการ
ทผ่ี ้เู ขยี นได้ศึกษาด้านวิทยาการเมล็ดพนั ธ์ุ (Seed Technology) ทม่ี หาวทิ ยาลัยแมสสีย์ ประเทศนิวซีแลนด์
และฝึกงานด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ในช่วงหน่ึง ท่ีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยความรู้ที่ได้รับมาได้ใช้
ประโยชน์ในด้านการทางาน โดยเฉพาะอย่างย่ิงในการเป็นผู้ประสานงานในโครงการ CFC / FAO / ICRISAT
ซ่ึงในโครงการมีการฝึกอบรมเกษตรกรในการผลิตเมล็ดพันธ์ุข้าวฟ่างตลอดจนถึงการเก็บรักษาเพื่อเพิ่ม
รายได้ให้เกษตรกร นอกจากนี้ทางโครงการยังให้งบประมาณในการสร้างโกดังเก็บเมล็ดพันธุ์ในสองหมู่บ้าน
โดยมุง่ หวงั ให้เกษตรกรพงึ่ พาตนเองในดา้ นเมลด็ พันธ์ุอย่างยง่ั ยนื

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างย่ิงว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและ
ประชาชนผู้สนใจ ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวฟ่าง อย่างไรก็ดี หากมีข้อบกพร่องประการใด กรุณาติดต่อ
ได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160 โทร 035 551543 , 551433 หรือติดต่อ
ได้ที่ E-mail ; [email protected]

นางสาววัลลิภา สชุ าโต
กุมภาพนั ธ์ 2551


บทนำ

ข้าวฟ่าง Sorghum bicolor (L.) Moench เป็นธัญพืชที่มีลักษณะเด่น คือ มีความสามารถในการ
ทนแล้งสูง จึงนิยมปลูกในท้องที่ท่ีมีปริมาณน้าฝนจากัด ต้นข้าวฟ่างจะเหี่ยวและแห้งช้ากว่าข้าวโพด ทาให้
ทนแลง้ ไดน้ านเพราะข้าวฟ่างมีระบบมากกว่าขา้ วโพด จึงหาน้าหนกั และอาหารได้ดีกว่า นอกจากนี้ใบข้าวฟ่าง
มีสารคล้ายขผี้ ง้ึ เคลือบผิวใบ และลาตน้ ช่วยลดการสญู เสยี น้า

ขา้ วฟ่างเป็นพชื ที่ปลูกมากในเขตจังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นข้าวฟ่างลูกผสมสีแดง
เม่ือ 50 ปีก่อนข้าวฟ่างท่ีปลูกเริ่มแรกคือ พันธ์ุเฮกการี นาเข้ามาโดยโครงการช่วยเหลือของ USOM
ประเทศสหรัฐอเมริกา ตอ่ มากรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรมในสมัยนั้น) ได้รับรองพันธ์ุข้าวฟ่าง คือ พันธุ์
เฮกการีหนักและพันธุเ์ ฮกการีเบา เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปัจจบุ ันทั้ง 2 พันธ์ุ ยังนิยมปลูกทว่ั ไป

ในช่วงแรกข้าวฟ่างเป็นสินค้าส่งออก โดย 80 % ของผลผลิตท่ีได้ส่งออกไปยังประเทศญ่ีปุ่น ไต้หวัน
และซาอุดิอาระเบีย ซ่ึงเป็นข้าวฟ่างสีขาวท้ังหมด ปัจจุบันผลผลิตเกือบท้ังหมดเป็นข้าวฟ่างลูกผสมสีแดง
นามาใช้ภายในประเทศ ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดยประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่มากเป็นอันดับ 4
ของโลก รองจากประเทศบราซิล อเมริกา และสหภาพยโุ รป

ปัจจุบัน วัตถุดิบท่ีใช้เป็นอาหารสัตว์ส่วนใหญ่คือ ข้าวโพด รองลงมาคือ กากถ่ัวเหลือง ปลาป่น ซึ่ง
ข้าวโพดที่ใช้ยังมีปริมาณไม่เพียงพอ ข้าวฟ่างนามาชดเชยในส่วนน้ี โดยทั่วไปข้าวฟ่างจะมีราคาถูกกว่า
ขา้ วโพด 15-20 % เน่อื งจากมคี ณุ คา่ ทางอาหารนอ้ ยกว่าข้าวโพดและไม่มีสารสเี หลือง (คาโรทีน)

เมล็ดข้าวฟ่างมีปริมาณแป้งสูงถึง 75.8 % โปรตีน 12.3 % จึงเป็นแหล่งอาหารประเภท
คาร์โบไฮเดรตที่สาคัญ ในการใช้ต้นเลี้ยงสัตว์ ถึงแม้ว่า ข้าวฟ่างมีกรดไฮโดรไซยานิค แต่เม่ือข้าวฟ่างมีอายุ
60 วันหลังงอก ปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคจะมีเพียง 2.5 มิลลิกรัมต่อน้าหนักสุด 100 กรัม ซ่ึงโดยทั่วไป
ปลอดภัยต่อสัตว์ สามารถปล่อยให้วัวแทะเล็มต้นข้าวฟ่างหลังเก็บเกี่ยวเมลด็ แล้ว

เมลด็ ขา้ วฟา่ งสามารถนาไปใชเ้ ป็นวตั ถุดิบในการเล้ียงเชอ้ื เห็ด โดยข้าวฟ่างสีขาวจะให้ผลดีกว่าข้าวฟ่าง
สแี ดง เพราะมีปริมาณแป้งอ่อนสูงกว่า ทาให้เส้นใยเชื้อเห็ดเดินดี เจริญเติบโตได้เร็วกว่า แต่บางคร้ังขาดแคลน
ข้าวฟา่ งสีขาว จึงใช้ข้าวฟา่ งสแี ดงแทน

ถึงแม้พ้ืนที่การปลูกข้าวฟ่างลดลง แต่ในสภาวะท่ีแห้งแล้ง ข้าวฟ่างยังคงเป็นทางเลือกของเกษตรกร
มีความเส่ียงน้อยกว่าข้าวโพด โดยเฉพาะในเขตแห้งแล้ง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่า ในเขตจังหวัด
สุพรรณบรุ ี และกาญจนบรุ ี ขา้ วฟ่างสีขาวยงั คงสร้างรายไดใ้ ห้เกษตรกร แม้ประสบภาวะฝนแล้ง ไม่ได้เมล็ด
ตน้ ข้าวฟ่างยงั สามารถใชเ้ ลีย้ งสตั ว์หรอื ขายไดใ้ นราคาไรล่ ะ 800-1,000 บาท ดงั นนั้ ข้าวฟ่างสีขาวจึงยังคงมี
ความสาคัญในท้องถ่ินนี้ ข้าวฟ่างสีขาวเป็นข้าวฟ่างพันธ์ุแท้ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดไว้ทาพันธุ์ได้ การ
ผลติ เมล็ดพันธ์ุและการเก็บรกั ษาจึงเป็นเรอ่ื งที่มคี วามสาคญั

1

บทท่ี 1

ข้าวฟ่าง

ข้าวฟ่าง Sorghum [Sorghum bicolor (L.) Moench] เป็นธัญพืชที่สาคัญอันดับที่ห้าของโลก
รองจากข้าวสาลี (Triticum sp.) ข้าว (Oryza sativa, Oryza glaberrim), ข้าวโพด (Zea mays) และ
ขา้ วบารเ์ ลย์ (Hordeum vulgare) ในแงข่ องทั้งผลผลติ รวมและพนื้ ทปี่ ลกู (ICRISAT, 2008)

ข้าวฟ่างเป็นธัญพืชทมี่ ลี กั ษณะเด่น คือ มีความสามารถในการทนแล้งสูง จึงนิยมปลูกในท้องที่ท่ีมี
ปริมาณน้าฝนจากัด เป็นพืชอาหารหลักของประชากรในพ้ืนท่ียากจนของโลก ในหลายประเทศของทวีป
แอฟริกา และทวีปเอเชยี เช่นอนิ เดีย และจีน เปน็ ต้น

สถาบันการจัดการน้านานาชาติ IWMI (The International Water Management Institute)
ได้เตือนว่า ภายในปี พ.ศ. 2568 25 % ของประชากรโลกจะประสบภาวะขาดแคลนน้า การปลูกพืชใช้น้า
นอ้ ย เชน่ ขา้ วฟา่ งจะเปน็ วธิ หี นง่ึ ในการใชน้ ้าปลกู พชื ที่มีประสทิ ธภิ าพ

1.1 การจาแนกข้าวฟ่างตามหลกั ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific classification)
ข้าวฟ่าง Common Name : Grain Sorghum
ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Sorghum bicolor
 Kingdom : Plantae
 Division : Magnoliophyta
 Class : Liliopsida
 Order : Poales
 Family : Graminae – Grass family
 Subfamily : Panicoideae
 Tribe : Andropogoneae
 Genus : Sorghum
 Species : bicolor
ข้อมลู ท่ัวไป
 2005 World Production - 56,957,314 Metric Ton (FAOSTAT, 2005)
 2005 World Harvest - 42,685,302 Ha (FAOSTAT, 2005)
 Genome Size 750-770 Mb (Arumuganathan, K., and E. Earle, 1991)
 Chromosome number : 10
 2n = 20
 Photosynthetic pathway : C4

2

Sorghum มาจากภาษาอิตาเลียน “Sorgho” ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษาละติน “Syricum
Granum” หมายความถึงเมล็ดพืชแหง่ ไซเรีย (Grain of Syria)

1.2 ถน่ิ กาเนิดและการแพรก่ ระจาย
ข้าวฟ่างเป็นพืชปลูกด้ังเดิมของทวีปแอฟริกา เชื่อว่าถ่ินกาเนิดของข้าวฟ่างอยู่ที่อะบิสซีเนีย ซ่ึง

เป็นชายแดนระหว่างประเทศซูดานและเอธิโอเปีย ในทวีปแอฟริกาตะวันออก (Doggett, 1970) มีรายงาน
จากหลักฐานทางโบราณคดีว่า มีผู้นาข้าวฟ่างจากภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาไปปลูกในอินเดียเม่ือ
ประมาณ 1725 ปกี ่อนคริสต์ศตวรรษ ต่อมาในศตรวรรษที่ 10 มีการปลูกข้าวฟ่างในประเทศอิรัก ซึ่งข้าวฟ่าง
ได้เป็นอาหารหลักในเขตเปอร์เซียและได้แพร่กระจายไปยังพื้นที่เขตโลกมุสลิม ข้าวฟ่างแพร่ไปถึงประเทศ
จีนประมาณคริสต์ศตวรรษท่ี 13 ข้าวฟ่างเหล่านี้ในเวลาต่อมาได้พัฒนากลายมาเป็นข้าวฟ่างเกาเหลียงชนิด
ต่างๆ ของจีน แมนจูเรียและญี่ปุ่น ในศตวรรษท่ี 17 ทาสจากแอฟริกา ได้นาข้าวฟ่างไปปลูกในประเทศ
สหรัฐอเมริกา มีการปลูกมากในรัฐเทกซัส แคนซัสและเนบราสกา จนปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาเป็น
ประเทศผู้ส่งออกข้าวฟา่ งรายใหญข่ องโลก

อยา่ งไรก็ตามยงั ไมเ่ ป็นที่สรุปแนช่ ัดถงึ แหล่งกาเนิดท่แี ท้จริง มีการค้นพบเมล็ดข้าวฟ่างอายุ 8,000 ปี
โดยวิธี radiocarbon ในบริเวณ Nabta Playa ชายแดนระหว่างประเทศซูดาน – อียิปต์ (Wendorf et al.,
1992)

1.3 แหล่งปลูกข้าวฟ่าง
ข้าวฟ่างสามารถข้ึนได้ท่ัวไปในทุกทวีปในบริเวณที่อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า 20 องศา

เซลเซียส สามารถปลูกได้ตั้งแต่พ้ืนท่ีที่อยู่ในระดับน้าทะเลจนกระท่ังถึง 1,500 เมตร เหนือระดับน้าทะเล
ขา้ วฟ่างข้นึ ได้ดใี นดินแทบทุกชนดิ ดินทีเ่ หมาะสมสาหรบั การปลูกข้าวฟ่างให้ได้ผลิตผลสูงคือ ดินท่ีมีลักษณะ
เป็นดินร่วนเหนียวหน้าดินลึก การระบายน้าดีและมีความอุดมสมบูรณ์มาก ลักษณะความเป็นกรดด่างของ
ดินไม่ค่อยจะกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของข้าวฟ่างเท่าใดนัก ข้าวฟ่างข้ึนได้ดีในดินท่ีมีค่าความ
เป็นกรดด่างตง้ั แต่ 5.5-8.7 และสามารถทนตอ่ ความเปน็ เกลือไดด้ ีกวา่ ขา้ วโพด

ข้าวฟ่างเป็นพืชท่ีทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ในพ้ืนที่ท่ีมีปริมาณน้าฝน
ประมาณ 400-600 มิลลิเมตรตอ่ ปี ใบและตน้ ขา้ วฟา่ งจะเหี่ยวและแห้งช้ากวา่ ข้าวโพด เนื่องจากมีสารคล้าย
ขีผ้ งึ้ เคลือบผิวใบและลาตน้ ซง่ึ จะชว่ ยลดการสูญเสยี น้าได้ นอกจากนี้ข้าวฟ่างยังมีระบบรากมากกว่าข้าวโพด
จึงหาน้าและอาหารได้ดีกว่า ทาให้ข้าวฟ่างทนแล้งได้ดีกว่าข้าวโพด การงอกของเมล็ดข้าวฟ่างต้องการ
อุณหภูมิ 4.5-10 องศาเซลเซียส ช่วงท่ีข้าวฟ่างสามารถเจริญเติบโตได้ดีคือ อุณหภูมิระหว่าง 16-40 องศา
เซลเซยี ส และอุณหภูมิทขี่ า้ วฟา่ งเจรญิ เติบโตไดด้ ที สี่ ุดประมาณ 27 องศาเซลเซียส สาหรับผลผลิตข้าวฟ่างมี
ศกั ยภาพในการใหผ้ ลผลิตทสี่ งู โดยมขี อ้ มลู ผลผลติ สงู สดุ 3,200 กโิ ลกรัมต่อไร่ (Doggett, 1970)

พื้นท่ีปลูกข้าวฟ่างที่สาคัญของโลกได้แก่ ทวีปแอฟริกามีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 59 ของพ้ืนที่ปลูกข้าวฟ่าง
ทั่วโลก ทวีปเอเซียมีพ้ืนท่ีปลูกข้าวฟ่างเกือบร้อยละ 25 ทวีปอเมริกาเหนือและกลางมีพ้ืนท่ีปลูกข้าว ฟ่าง
ประมาณร้อยละ 11 ทวีปอเมรกิ ามีพนื้ ทปี่ ลกู ข้าวฟ่างประมาณร้อยละ 4 ทวีปยุโรปมีพ้ืนที่ปลูกข้าวฟ่างน้อย
ท่สี ดุ คอื ประมาณรอ้ ยละ 0.6 ของพ้ืนท่ีปลูกขา้ วฟ่างทวั่ โลก (ICRISAT, 2008)

3

พ้ืนท่ีเพาะปลูกข้าวฟ่างท่ัวโลก ในปี พ.ศ. 2549 มีประมาณ 256.8 ล้านไร่ ผลิตข้าวฟ่างได้ประมาณ
55.8 ลา้ นตัน ผลผลติ เฉลี่ยของข้าวฟ่างทั่วโลกประมาณ 217 กิโลกรัมต่อไร่ ประเทศทผี่ ลติ ข้าวฟ่างมากท่ีสุด
ไดแ้ ก่ ไนจเี รีย (9.18 ล้านตัน) รองลงมาคือ อินเดีย (7.24 ล้านตัน) และสหรัฐอเมริกา (7.05 ล้านตัน) และ
ยังมีประเทศทผ่ี ลติ ข้าวฟา่ งได้มากรองลงไปไดแ้ ก่ เม็กซิโก ซูดาน จีน อารเ์ จนตินา เอธโิ อเปีย และบราซิล
(ตารางที่ 1) ประเทศที่ผลิตส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการบริโภคของคนและเป็นอาหารสัตว์ภายในประเทศ ไม่ได้
ผลิตเพอื่ ส่งออกจาหนา่ ยตา่ งประเทศ

ตารางที่ 1 พน้ื ท่ี ผลผลติ และผลผลติ เฉลยี่ ของข้าวฟ่างท่ัวโลกในปี 2549

ประเทศ พืน้ ที่ (ล้านไร่) ผลผลติ (ลา้ นตัน) ผลผลิตเฉลี่ย (กก./ไร่)

ไนจเี รีย 45.52 9.18 202
อินเดยี 54.19 7.24 134
สหรัฐอเมริกา 12.49 7.05 565
เมกซิโก 10.05 5.49 546
ซดู าน 42.24 5.20 123
จนี 3.58 2.56 715
อารเ์ จนตินา 3.11 2.33 749
เอธโิ อเปีย 9.00 2.31 257
บราซลิ 2.67 1.56 583
บูรก์ นิ าฟาโซ 8.89 1.55 175
ไทย 0.20 0.05 263
โลก 256.8 55.8 217

ทีม่ า : สานกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร, 2549

ในปี พ.ศ. 2549 ข้อมูลจาก USDA ผลผลิตข้าวฟ่างแตกต่างไปเล็กน้อย โดยประเทศไนจีเรียผลิต
ข้าวฟ่างได้ 10.5 ล้านตัน คิดเป็น 19 % ของผลผลิตทั่วโลกในขณะท่ีสหรัฐอเมริกาผลิตได้ 10.0 ล้านตัน
หรอื 17 % ของผลผลติ ทว่ั โลก รองลงมาคือ อินเดีย 7.8 ล้านตัน คิดเป็น 13 % (กราฟที่ 1)

4
ประเทศท่ีผลิตข้าวฟ่างนอกจากใช้ภายในประเทศแล้ว ยังมีเหลือส่งจาหน่ายที่เป็นรายใหญ่ของโลก
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซง่ึ เปน็ ผสู้ ่งออกขา้ วฟา่ งรายใหญข่ องโลกโดยมีปริมาณส่งออก 4.97 ล้านตัน โดยครอง
ตลาด 89 % รองลงมาได้แก่ ประเทศอาร์เจนตนิ าและออสเตรเลียประเทศละ 4 % (กราฟท่ี 2)

กราฟที่ 1 ประเทศผู้ผลติ ข้าวฟา่ งของโลก ผลผลิต (1,000 ตัน) และเปอร์เซน็ ตท์ ผี่ ลิตได้
ทมี่ า : USDA, 2006

กราฟท่ี 2 ประเทศผสู้ ง่ ออกข้าวฟ่างของโลก ผลผลิต (1,000 ตัน) และเปอรเ์ ซน็ ตท์ ่ีผลติ ได้
ที่มา : USDA, 2006

5

สาหรับประเทศไทยน้ันสามารถปลูกข้าวฟ่างได้เกือบทุกภาคของประเทศ เว้นแต่ภาคใต้ ซ่ึงแทบจะ
ไม่มีรายงานว่า มีการปลูกข้าวฟ่าง พบว่า มีการปลูกเล็กๆ น้อยๆ ในบริเวณบ้าน เพื่อใช้เป็นอาหารนกและ
อาหารไก่เท่านั้น จากสถิติพืชเพาะปลูกปี 2549 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวฟ่าง 211,887 ไร่ ได้ผลิตผล
53,085 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยของท่ัวประเทศประมาณ 263 กิโลกรมั ต่อไร่

แหล่งปลูกข้าวฟ่างส่วนใหญ่เป็นบริเวณเดียวกับแหล่งปลูกข้าวโพด จังหวัดที่ผลิตข้าวฟ่างท่ีสาคัญ
ไดแ้ ก่ ลพบรุ ี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ สระบรุ แี ละชัยนาท ในบริเวณนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกข้าวฟ่างเป็น
พืชท่ีสองในปลายฤดูฝนหลังเก็บเก่ียวข้าวโพด ซ่ึงปลูกเป็นพืชแรกตอนต้นฤดูฝน แล้วปลูกข้าวฟ่างซึ่งเป็น
พันธุ์ลูกผสมสีแดงตาม นอกจากนี้ยังมีปลูกกันมากพอสมควรทางแถบจังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี
ซึง่ เป็นข้าวฟา่ งพนั ธุ์แท้สขี าว

พ้ืนที่ปลูกข้าวฟ่างอยู่ในเขตน้าฝน ไม่มีการให้น้า ผลผลิตท่ีได้จึงข้ึนอยู่กับปริมาณน้าฝนเป็นหลัก
จังหวัดที่มีพ้ืนท่ีปลูกข้าวฟ่างสูงสุดคือ จังหวัดลพบุรี มีพ้ืนที่ปลูก 91,576 ไร่ จังหวัดท่ีมีพื้นที่ปลูกข้าวฟ่าง
รองลงมาคือ จงั หวัดนครสวรรค์ มพี ื้นท่ีปลูก 70,202 ไร่

จังหวัดที่มีผลผลิตเฉล่ียของข้าวฟ่างสูงสุดคือ จังหวัดเพชรบูรณ์ 329 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ
จังหวดั นครสวรรค์ ได้ผลผลติ เฉลยี่ 285 กิโลกรัมตอ่ ไร่

ตารางที่ 2 พ้ืนที่ ผลผลิต และผลผลิตเฉลย่ี การผลติ ขา้ วฟ่างของไทยรายจังหวัด ในปี 2549

จงั หวัด พื้นท่ี (ไร)่ ผลผลิต (ตนั ) ผลผลติ เฉล่ีย (กก./ไร)่

ลพบรุ ี 91,576 19,780 223

นครสวรรค์ 70,202 19,025 285

เพชรบรู ณ์ 41,623 12,529 329

สระบุรี 5,961 1,437 252

ชัยนาท 1,987 240 130

สุพรรณบรุ ี 538 74 145

รวมทง้ั ประเทศ 211,887 53,085 263

ทม่ี า : สานักงานเศรษฐกจิ การเกษตร, 2549

6

ตารางที่ 3 พน้ื ทเี่ พาะปลูก ผลผลิต ผลผลิตเฉลยี่ และราคาท่ีเกษตรกรขายได้จากการผลิตข้าวฟ่างของไทย
ในปี 2540-2549

ปี พ้นื ทเ่ี พาะปลูก ผลผลติ ผลผลติ ต่อไร่ ราคาทเี่ กษตรกรขายได้
(1,000 ไร่) (1,000 ตนั ) (กก.) (บาท/กก.)

2540 677 156 240 3.86
241 2.61
2541 615 146 262 3.52
277 3.00
2542 549 142 278 2.84
295 3.26
2543 575 148 300 3.83
268 4.37
2544 535 145 302 4.04
263 5.36
2545 460 132

2546 327 96

2547 231 60

2548 258 77

2549 212 53

ที่มา : สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2549

พื้นทป่ี ลกู ข้าวฟ่างของประเทศไทยได้ลดลงมาตลอด สาเหตเุ พราะเกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นท่ีให้
รายได้ดีกว่า เช่น อ้อย มันสาปะหลัง นอกจากนี้ยังมีพืชรองปลูกตามหลังข้าวโพด คือ ทานตะวัน ซ่ึงได้รับ
การส่งเสริมให้ปลูกในเขตจังหวัดลพบุรีเพื่อการท่องเท่ียว ยิ่งทาให้พ้ืนที่ปลูกข้าวฟ่างลดลงเหลือเพียง
211,887 ไร่ จากที่เคยมีพ้ืนที่ปลกู 1.2 ล้านไร่ ในปี 2534/35

ผลผลติ ตอ่ ไร่ของข้าวฟ่างในประเทศไทยไม่สูงมาก เน่ืองจากมีปริมาณน้าฝนเป็นปัจจัยจากัด ในปี 2547
และ 2549 ฝนปลายฤดูหมดเร็ว ในเดือนพฤศจิกายน มีปริมาณน้าฝนเล็กน้อย ทาให้ผลผลิตต่อไร่ต่าเพียง
268 และ 263 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ปี 2546 และ 2548 มีปริมาณน้าฝนปลายปีดี ข้าวฟ่างให้ผลผลิต
300 และ 302 กิโลกรัมตอ่ ไร่ ตามลาดับ

ราคาขายขา้ วฟา่ งมีแนวโนม้ สงู ขน้ึ โดยตลอด โดยปกตขิ ้าวฟา่ งมีราคาต่ากว่าข้าวโพดประมาณ 20 %
ซงึ่ ใช้เปน็ อาหารสัตว์เช่นเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2549 ข้าวฟ่างมีราคา 5.36 บาทต่อกิโลกรัมสูงกว่าปี พ.ศ. 2548
25 % ซ่ึงในปี พ.ศ. 2548 เกษตรกรขายขา้ วฟา่ งไดร้ าคาเพียง 4.04 บาทต่อกิโลกรมั

7

1.4 การใช้ประโยชนข์ องขา้ วฟ่างเมล็ด (Grain Sorghum)
การใชป้ ระโยชน์ของขา้ วฟา่ งเมล็ดมีดงั น้ี
1. อาหารคน (Human food) ข้าวฟ่างที่ผลิตได้มากกว่าครึ่งของโลกใช้เป็นอาหาร โดยเฉพาะ
ประชากรในทวีปอาฟริกา เช่น ซูดาน ไนจีเรีย บูกินาฟาโซและในทวีปเอเซีย เช่น อินเดีย จีน
โดยใช้เป็นอาหารในรูปของแป้ง (Flours) ข้าวต้ม (Porridges) เคร่ืองเคียง (Side dishes) มอลต์
และเครื่องด่ืม (Malted and distilled beverages) ข้าวฟ่างคั่ว (Popped sorghum) ข้าวฟ่าง
ในประเทศอินเดียใช้ทาอาหารเป็นแป้งโรตี (Roti) ในประเทศอาหรับใช้ทาอาหารเรียกคูส คูส
(Cous-cous) ในประเทศจีนยังใช้เมล็ดข้าวฟ่าง ทาเหล้าพวกเกาเหลียง ข้าวฟ่างเป็นอาหารที่มี
antioxidants สูง เป็นผลดีต่อสุขภาพ ไม่มีความหนืดของกลูเตน (Gluten-free) เหมาะสาหรับผู้
แพ้อาหารจากข้าวสาลีที่มีกลูเตน นอกจากน้ีข้าวฟ่างยังมีคุณสมบัติพิเศษดูดซับกล่ิน รส ได้ดี
เนื่องจากมรี สกลางๆ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้นาเข้าข้าวฟ่างจากสหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นส่วนผสมในการ
ผลติ อาหารวา่ ง (Snack food)
2. อาหารสัตว์ (Feed) ข้าวฟ่างท่ีผลิตได้เกือบท้ังหมดใช้เป็นอาหารสัตว์ในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยผ่านขบวนการบดและผสม โดยทั่วไปข้าวฟ่างมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่าข้าวโพดจาเป็นต้อง
เติมวิตามินเอเพิ่มเตมิ เช่นเดยี วกบั ประเทศไทย ข้าวฟ่างทผ่ี ลิตไดเ้ กือบท้งั หมดใชเ้ ป็นอาหารสัตว์ปีก
เช่น เป็ด ไก่ โดยผา่ นขบวนการบดและผสม
3. เอทานอล (Ethanol) เมล็ดข้าวฟ่างสามารถนาไปผลิตเอทานอลได้เช่นเดียวกับข้าวโพด โดย
ผลผลิต 12 % ของข้าวฟ่างในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ผลิตเอทานอล ข้าวฟ่างหรือข้าวโพด 1 ตัน
สามารถผลิตเอทานอลได้ 380 ลิตร และมี by product จากการผลิตเอทานอลคือ DDGS
(Distillers dried grains with soluble) ซงึ่ สามารถใช้เป็นอาหารสตั วท์ ่ีมคี ณุ คา่ ทางอาหารสงู
4. อื่นๆ ข้าวฟ่างสามารถนาไปทาเป็นวัสดุเพาะเชื้อเห็ด โดยเฉพาะข้าวฟ่างสีขาว ซ่ึงมีแป้งอ่อน
Mycelium ของเช้อื ราจะเจริญเติบโตไดด้ ีกวา่ ข้าวฟา่ งสแี ดง

จากประโยชน์ดังกล่าว ข้าวฟ่างจึงได้ชื่อว่าเป็น Smart crop โดยสามารถนาไปใช้ประโยชน์เป็น
Food (อาหารคน) Feed (อาหารสัตว์) และ Fuel (เชอื้ เพลิงและเอทานอล)

นอกจากเมล็ดข้าวฟ่างแล้ว ลาต้นข้าวฟ่าง (Sorghum stalk) สามารถนาไปทาเป็นอาหารสัตว์
อาหารหมกั (Silage) ร้ัว และเชือ้ เพลิง

ช่อข้าวฟ่าง (Sorghum spikeletes) สามารถนาไปตากแห้ง และย้อมสี ทาเป็นดอกไม้แห้งเป็นไม้
ประดบั ทส่ี วยงาม (Aree et al., 1995)

8

เอกสารอา้ งอิง

สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2549. สถิติการเกษตรของประเทศไทย. สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หนา้ 12-13.

Arree, K., Suchato, W., Chompunich, W. and Chuyot, R. 1995. Sorghum spikelets for
ornamental purposes. International Sorghum and Millets Newsletter 1995 No. 36.
Pp 87-88.

Arumuganathan, K., and E. Earle, 1991. Nuclear DNA Content of Some Important Plant
Species Plant Molecular Biology Reporter, Vol. 9. Pp 208-218.

FAOSTAT date. 2008. (online). Available http://faostat.fao.org/site/339/default.aspx
(14/02/2551)

Gramene, 2008. (online). Sorghum Introduction. (online). Available www.Gramene.org/
specics/sorghum/sorghum_intro.html (14/02/2551)

H. Doggett, 1970. Sorghum, Longman Green & Co. Ltd, 403 pp.

ICRISAT. 2008. Sorghum. (online). Available http://www. Icrisat.org/sorghum/sorghum.htm
(19/02/2551)

R.L., House, 1985. A Guide to Sorghum breeding. Second edition. ICRISAT, Andhrapradesh,
India. 206 pp.

Wendorf, F., Close, A.E., Schild, R., Wasylikowa, K., Housley, R.A., Harlan, J.R. and Krolik, H.
1992. Saharan exploitation of plants 8,000 years. Nature 359 : 721-724.

Wikipedia contributors, 2006. Sorghum. Wikipedia, The Free Encyclopedia. Retrieved May
18, 2006 (online). Available http://en.wikipedia.org/wiki/Sorghum. (1/02/2551)

9

บทที่ 2

ขา้ วฟา่ งในประเทศไทย

2.1 ประวัตขิ ้าวฟา่ งในประเทศไทย

ข้าวฟ่างที่ปลูกคร้ังแรกในประเทศไทยน้ัน สันนิษฐานว่า เป็นข้าวฟ่างคั่ว พวกข้าวฟ่างหางช้าง
ซ่ึงส่วนใหญ่จะปลูกกันตามร้ัวบ้านเขตที่ดินหรือคันนา และเนินดินในปริมาณไม่มากนัก ข้าวฟ่างพวกนี้มี
ลกั ษณะของเมล็ดค่อนข้างเรียวเล็ก สีขาวข้างในเป็นแป้งใส สีออกเหลืองเร่ือๆ ช่อรวงกระจายแบบรวงข้าว
ต้นสูง ค่อนข้างใหญ่ ท้ังน้ีขึ้นกับระยะเวลาของการปลูก ถ้าปลูกปลายฤดูฝนคือ ประมาณกลางเดือนสิงหาคม
ต้นจะเต้ียและผอม ออกดอกติดเมล็ดเร็วกว่าปลูกต้นฝนมากเพราะเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะไวต่อช่วงแสง การนา
ข้าวฟ่างพวกนี้เข้าสู่ประเทศไทยนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่า เข้ามาได้เม่ือใดและอย่างไร แต่สันนิษฐานว่า พวก
ชาวเขาเป็นผู้นาเข้ามา เพ่อื ใชค้ ว่ั รับประทาน ปัจจบุ ันพบว่า ข้าวฟ่างชนิดนี้ใช้เป็นอาหารนกใช้ค่ัวและเปียกเป็น
ขนมรับประทานกันอยู่บ้างในหมู่คนไทยในชนบทท่ัวๆ ไป รวมท้ังในจังหวัดภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี
นอกจากน้ี มีส่งไปขายยังประเทศญ่ีปุ่นบ้าง เพ่ือใช้ค่ัวชงน้ารับประทานเช่นเดียวกับลูกเดือย ข้าวฟ่างที่ปลูก
เพ่ือใช้เมล็ดเป็นอาหารสัตว์นั้น คนไทยจัดเป็นพืชใหม่กว่าข้าวโพดมากแต่ข้าวฟ่างชนิดน้ีในปัจจุบันปลูกกัน
มากกว่าข้าวฟ่างชนิดอื่นๆ ข้าวฟ่างเมล็ดนี้ได้รับการนาเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา เพื่อปลูกในประเทศไทย
ครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2494 โดยมีจุดประสงค์สาคัญเพ่ือนาส่วนต้นมาใช้เลี้ยงสัตว์ นามาปลูกท่ีสถานี
บารงุ พนั ธ์สุ ตั ว์ทบั กวางจังหวดั สระบุรี ข้าวฟ่างทนี่ าเข้ามาในช่วงน้ันเป็นข้าวฟ่างเฮกการีต้นเต้ีย เมล็ดสีขาว
แตเ่ ม่อื ปลูกแล้วปรากฏว่า ให้ผลผลิตเมล็ดดีและเมล็ดใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดีด้วย จึงคัดพันธ์ุไว้เพื่อปลูกเป็น
ขา้ วฟ่างเมล็ด แล้วแพร่หลายตอ่ ไปในนามของพันธุ์ “ทับกวางต้นเตี้ย” ซึ่งเกษตรกรใช้ปลูกต่อมาอีกหลายปี
(ณรงคศ์ กั ด์,ิ 2537)

ในชว่ งระหว่าง พ.ศ. 2497-2505 นกั วชิ าการของสถานีทดลองพืชและสถานีทดลองปศุสัตว์ ได้นา
ข้าวฟา่ งพนั ธ์ุตา่ งๆ อีกหลายพันธุ์จากสหรัฐอเมริกา เข้ามาปลูกศึกษาเพ่ือหาพันธ์ุที่เหมาะสมและให้ผลผลิต
สงู กวา่ พนั ธ์ุเดิม แต่ปรากฏว่าขา้ วฟา่ งพวกพนั ธุเ์ ฮกการยี งั เป็นพันธ์ุที่ให้ผลผลิตดีท้ังในด้านของผลผลิตต้นสด
และผลผลติ เมล็ดอยู่

ใน พ.ศ.2506 เนือ่ งจากตลาดญ่ีปุ่นมีความต้องการข้าวฟ่างเมล็ดสีอื่นนอกเหนือไปจากเมล็ดสีขาว
จึงได้นาเอาข้าวฟ่างพันธ์ุต่างๆ ที่มีสีเมล็ดแตกต่างไปจากสีขาว เช่น สีเหลือง แดง แสด จากสหรัฐอเมริกา
เข้ามาปลูกเปรียบเทียบกับพันธ์ุเฮกการีเดิม นอกจากนี้ทางมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ยังได้นาพันธุ์ข้าวฟ่างที่
คัดเลือกปรบั ปรุงพนั ธุ์ในประเทศอนิ เดียเข้ามาทดลองปลูกด้วย พันธ์ุที่นาเข้ามาในระยะนี้นั้นมีพันธ์ุเฮกการีเบา
ต้นเตี้ยและพันธุ์เฮกการีหนักต้นสูงรวมอยู่ด้วย ปรากฏว่า พันธ์ุเฮกการีหนักให้ผลผลิตสูงท่ีสุด พันธ์ุน้ีจึงได้
กระจายไปในหมู่เกษตรกรท่ีสนใจจนกลายเป็นพันธ์ุที่เกษตรกรนิยมปลูกทั่วไป แม้แต่ในปัจจุบัน สายพันธุ์
พวกเมล็ดสีแดงในช่วงนั้นยังไม่มีพันธ์ุท่ีเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยคือ ต้นเจริญเติบโตไม่
คอ่ ยดี เปน็ โรคมาก

10

ใน พ.ศ. 2509 มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ได้นาพันธ์ุข้าวฟ่าง ซึ่งส่วนใหญ่นามาจากประเทศอินเดีย
เข้ามาใช้ในการปรับปรุงพนั ธุ์ข้าวฟา่ งของไทยเปน็ จานวนมาก โดยเฉพาะอย่างย่ิงพวกทม่ี ีเนื้อในเมล็ดแข็งใส
สีเหลอื ง นบั ว่าเปน็ จุดเรม่ิ ตน้ อยา่ งจริงจงั ในการปรบั ปรงุ และพัฒนาพนั ธขุ์ า้ วฟ่างจนกระท่งั ได้พันธุ์ต่างๆ ที่ใช้
ปลกู อยู่ในปัจจุบัน

ระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2516 ได้มีการปลูกทดสอบเปรียบเทียบพันธุ์ข้าวฟ่างต่างๆ พบว่า พันธุ์
ไอเอส 8719 อี 173 (IS 8719 E 173) ซ่งึ มลู นิธริ ็อกกีเฟลเลอรน์ ามาจากอินเดียใหผ้ ลผลิตสูงที่สุด แต่พันธุ์น้ี
มีข้อเสียคอื ต้นสูงใหญ่เก็บเกย่ี วลาบาก เมล็ดมีสีน้าตาลและมีปริมาณของสารแทนนิน (Tannin) สูง สารนี้
เป็นสาเหตุทาให้คุณค่าอาหารสาหรับเล้ียงสัตว์ด้อยลงไป แต่ก็มีผู้นิยมปลูกอยู่มาก เพราะทนทานต่อ
สภาพแวดล้อมที่เลวได้ดี นกไม่ทาลายเมล็ด เพราะมีรสขมฝาดไม่เหมือนข้าวฟ่างท่ีมีเมล็ดสีเหลืองและ
ข้าวฟา่ งเฮกการีซ่ึงมเี ปลือกนอกของเมลด็ สขี าว พันธุ์น้ีเหมาะท่ีจะปลูกช่วงปลายฤดูฝน เนื่องจากเป็นพันธุ์ท่ี
ไวตอ่ ช่วงแสง ในปัจจบุ ันพันธนุ์ ี้ได้เลิกปลูกไปแล้ว

หลงั จากนัน้ ใน พ.ศ. 2517-2525 ไดม้ ีการพฒั นาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างต่อเน่ืองกันมาเรื่อยๆ
รวมท้ังมีการริเร่ิมผลิตข้าวฟ่างลูกผสมเพ่ือการค้า โดยได้รับเช้ือพันธุกรรม (Germplasm) จากสถาบันวิจัย
ทางการเกษตรนานาชาติหลายแหล่ง และจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธ์ุของเอกชน ในช่วงเวลานี้ยังได้มี
การศึกษาธัญพืชเมลด็ เลก็ (Millets) และข้าวฟ่างชนิดอ่ืนๆ เช่น ข้าวฟ่างไข่มุก (Pearl millet) ข้าวฟ่างหาง
กระรอก (Foxtail millet) ข้าวฟ่างนก (Proso millet) ข้าวฟ่างหวาน (Sweet sorghum) และข้าวฟ่าง
ไม้กวาด (Broom corn) ตลอดจนได้มีการแนะนาให้เกษตรกรรู้จักและทดลองปลูกธัญพืชและข้าวฟ่าง
เหลา่ นีอ้ ีกดว้ ย

พนั ธ์ุขา้ วฟ่างทใ่ี ชป้ ลูกอยู่ในปัจจบุ ันมที ง้ั พันธุ์แท้หรือพันธุ์บริสุทธิ์ (Inbred line) และพันธุ์ลูกผสม
(Hybrid) มากมายหลายชนิด เมล็ดมีสีต่างๆ ตามความต้องการของผู้ปลูก พันธุ์เหล่านี้เกิดข้ึนได้เน่ืองจาก
การวิจยั และพัฒนาพนั ธุอ์ ยา่ งต่อเนอื่ งของทงั้ ภาครัฐและภาคเอกชน มีผลให้การปลูกข้าวฟ่างในประเทศไทย
ขยายตวั ขึ้นอยา่ งรวดเร็ว

2.2 พันธุข์ า้ วฟา่ ง

พันธ์ุข้าวฟ่างที่ใช้ปลูกอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ ผลิตจาหน่ายโดยภาครัฐบาลและ
ภาคเอกชน พันธุข์ ้าวฟา่ งทีใ่ ช้อาจแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภทใหญ่ๆ ไดด้ ังนี้

1. ข้าวฟ่างพันธุ์แท้หรือสายพันธ์ุบริสุทธ์ิ (Inbred line) เป็นพันธุ์ข้าวฟ่างที่มีความคงตัวของ
ลักษณะพันธุ์จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งไม่เปลี่ยนแปลงคือ รุ่นลูกจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับรุ่นพ่อแม่เสมอ
ถา้ ไม่ได้รบั การผสมขา้ มหรือปะปนมาจากพันธ์ุอ่ืน ในธรรมชาติแล้วข้าวฟ่างจะเป็นข้าวฟ่างสายพันธุ์บริสุทธ์ิ
เกอื บท้ังหมด ข้าวฟา่ งที่ดปี ระเภทนี้จะสามารถให้ผลผลติ สูง ต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดี แต่ต้นมีความสูง
ไม่ค่อยสม่าเสมอนัก ข้าวฟ่างชนิดนี้มีท้ังพันธุ์หนักอายุยาว (Late maturity) และพันธ์ุเบา อายุสั้น (Early
maturity) สามารถเก็บเมล็ดเอาไว้ทาพันธ์ุเพื่อปลูกในฤดูต่อไปได้โดยไม่กลายพันธ์ุ เช่น พันธุ์เฮกการีหนัก
พนั ธ์อุ ู่ทอง 1 และพนั ธ์สุ ุพรรณบรุ ี 60

11

2. ข้าวฟ่างลูกผสม (Hybrid) คือ พันธุ์ข้าวฟ่างท่ีได้จากการผสมข้ามของสายพันธ์ุแท้ (Inbred
line) สองสายพนั ธุข์ ึ้นไป เรยี กว่า ลูกช่ัวแรก (F1) เพ่ือให้เกิดลักษณะดีเด่นหลายๆ ประการ เช่น ให้ผลผลิต
สูง แข็งแรง ต้นเตี้ย มีความสูงสม่าเสมอมาก เก็บเกี่ยวได้ง่าย เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วออกดอกเร็ว อายุ
เก็บเกี่ยวส้ัน ต้านทานโรคและแมลงได้ดี ตอบสนองต่อปุ๋ยดี แต่เมล็ดของข้าวฟ่างประเภทน้ีไม่สามารถ
นาไปใช้เป็นเมล็ดพันธ์ุเพ่ือปลูกต่อไปได้ เพราะลักษณะดีเด่นต่างๆ จะแปรปรวนและเสื่อมลง ต้องซ้ือเมล็ด
พันธุ์ใหม่มาปลูกทุกปี เมล็ดพันธ์ุส่วนใหญ่ผลิตจาหน่ายโดยบริษัทเอกชน ราคาเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างแพง
เนื่องจากวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมนี้ทาให้ยาก เช่น พันธุ์ลูกผสม เคยู 8501 (KU 8501) พันธ์ุแปซิฟิค 88
(Pacific 88) พันธุ์แปซิฟิค 99 (Pacific 99) พันธ์ุแปซิฟิค 89 (Pacific 89) พันธ์ุ FBC 111 และพันธุ์ FBC 999
เป็นตน้

สีของเมล็ดข้าวฟ่างท่ีมีอยูใ่ นปจั จบุ นั ทงั้ พันธ์แุ ทแ้ ละพันธ์ุลูกผสม มีท้ังสีขาว สีเหลืองสีเหลืองนวล
สแี ดงแสดและสนี า้ ตาล ความนยิ มปลกู ของพันธทุ์ ม่ี เี มลด็ ตา่ งๆ นนั้ ไมม่ หี ลกั เกณฑ์ที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความ
ตอ้ งการของตลาดหรือการค้าและวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์หรือในการแปรรูป ซ่ึงแตกต่างกันไปใน
แต่ละท้องถ่ิน ข้าวฟ่างโดยธรรมชาติจะเป็นพืชผสมตัวเอง แต่อาจจะมีการผสมข้ามโดยลมหรือแมลงถึง
ร้อยละ 15 ดงั นน้ั จึงไม่ควรปลูกข้าวฟ่างต่างพันธุ์ที่มีสีเมล็ดต่างกันไว้ใกล้กันและในเวลาเดียวกัน เพราะจะ
ทาใหเ้ กดิ การผสมข้าม เปน็ เหตุให้สีเมลด็ เกิดการผสมปนกัน ขายไม่ได้ราคาดี

2.3 พนั ธขุ์ ้าวฟ่างที่ได้รบั การรบั รองพนั ธ์จุ ากกรมวชิ าการเกษตร
1. พนั ธอ์ุ ทู่ อง 1

ภาพที่ 1 พันธ์อุ ู่ทอง 1 ที่ศูนยว์ จิ ัยพชื ไร่สุพรรณบุรี

เปน็ พนั ธุ์แท้ เมลด็ สขี าวเปน็ มัน เมลด็ ค่อนข้างใหญ่ ชื่อเดิมคือ พันธ์ุ DA 80
ลักษณะเด่น คือ ลาต้นเต้ีย อายุออกดอกและอายุเก็บเก่ียวส้ันเป็นพันธุ์เบา ช่อค่อนข้างเปิด เมล็ดโต

คณุ ภาพแป้งดี มีปริมาณสารแทนนินตา่ ไมไ่ วต่อชว่ งแสง แตไ่ ม่เหมาะท่ีจะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
เพราะจะสุกแก่ในช่วงปลายฤดูฝน ซ่ึงจะทาให้เกิดความเสียหายอันเน่ืองมาจากโรคราบนช่อ
ข้าวฟ่างได้เม่ือมีความชื้นสงู

12

2. พนั ธุ์สุพรรณบรุ ี 60

ภาพท่ี 2 พันธส์ุ พุ รรณบุรี 60 ทีศ่ ูนยว์ จิ ยั พชื ไร่สพุ รรณบรุ ี

เป็นพันธแุ์ ท้ เมลด็ สีขาวเป็นมัน เมล็ดคอ่ นข้างใหญ่ ช่ือเดิมคือ พันธุ์ DA 80
ลักษณะเด่น คือ ลาต้นเต้ีย อายุออกดอกและอายุเก็บเกี่ยวสั้นเป็นพันธ์ุเบา ช่อค่อนข้างเปิด เมล็ดโต

คุณภาพแปง้ ดี มีปริมาณสารแทนนนิ ตา่ ไมไ่ วต่อช่วงแสง แต่ไมเ่ หมาะท่ีจะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
เพราะจะสุกแก่ในช่วงปลายฤดูฝน ซ่ึงจะทาให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากโรคราบนช่อ
ข้าวฟ่างไดเ้ มอ่ื มคี วามช้นื สูง

3. พนั ธ์สุ ุพรรณบรุ ี 1

ภาพที่ 3 พันธ์สุ พุ รรณบุรี 1 ทีศ่ นู ยว์ จิ ยั พืชไรส่ ุพรรณบุรี

เป็นพันธ์ุแท้ เมล็ดสีแดง ชือ่ เดมิ คือ พันธุ์ UT 203 B เกษตรกรสามารถเก็บเมลด็ ไว้ทาพันธไุ์ ด้ ได้รับการ
รับรองพันธ์จุ ากกรมวชิ าการเกษตร ในปี พ.ศ. 2536 ใช้ประโยชนไ์ ด้ 2 ทาง (Dual purpose)
คอื ได้ทั้งเมลด็ และลาต้นใชเ้ ป็นอาหารสตั ว์ เม่ือปลูกกลางเดือนสงิ หาคม ให้ผลผลิตตน้ สดสูง
ถึง 10.35 ตนั /ไร่ (Suriyaphan et al, 1989)

ลกั ษณะเด่น คือ ต้นสดมีปรมิ าณกรดไฮโดรไซยานิก เฉล่ียประมาณ 2.15 มิลลิกรัมต่อน้าหนักสด 100 กรัม
มีโปรตีนประมาณ 9 % ลาต้นหวาน บริกซ์ 14-15 ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี ออกดอกเร็ว อายุ
การเกบ็ เกีย่ วสนั้ ชอ่ รปู ทรงโปร่ง ไมไ่ วตอ่ ชว่ งแสง

ขอ้ เสีย คอื ผลผลติ เมลด็ ไมส่ งู มาก

13

ขา้ วฟา่ งพันธ์ใุ หมจ่ ากกรมวิชาการเกษตร
1. พนั ธอ์ุ ูท่ อง 1694

ภาพที่ 4 พนั ธอุ์ ู่ทอง 1694 ที่ศูนย์วจิ ัยพืชไร่นครสวรรค์
เป็นพันธแุ์ ท้ เมลด็ สีขาว เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดไว้ทาพันธุ์ได้ คาดว่า จะเสนอรับรองพันธ์ุจากกรมวิชา

การเกษตร ในปี พ.ศ. 2552
ลกั ษณะเด่น คือ ผลผลิตสูง 500-600 กก./ไร่ ได้จากการผสมพันธ์ุระหว่างพันธ์ุ ICSV-LM 90502 กับพันธุ์

เฮกการีหนกั ปลกู ตน้ ฝนจะมีอายวุ นั ออกดอกยาวนานขึ้น
2. พันธุอ์ ทู่ อง 1658

ภาพที่ 5 พนั ธุ์อู่ทอง 1658 ทีศ่ นู ย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
เปน็ พนั ธแุ์ ท้ เมล็ดสขี าว เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดไว้ทาพันธุ์ได้ คาดว่า จะเสนอรับรองพันธุ์จากกรมวิชา

การเกษตร ในปี พ.ศ. 2552
ลักษณะเด่น คือ ผลผลิตสูง 400-500 กก./ไร่ ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธ์ุ ICSV-LM 90502 กับพันธุ์

เฮกการีหนกั เชน่ เดียวกบั พันธอุ์ ่ทู อง 1694 แตอ่ ายวุ ันออกดอกส้ันกว่า

14

2.4 พันธุ์ข้าวฟ่างแนะนาจากกรมวิชาการเกษตร
1. พนั ธ์ุเฮกการีหนัก

ภาพท่ี 6 พนั ธุ์เฮกการีหนัก ทศ่ี นู ย์วจิ ยั พชื ไร่สุพรรณบุรี

เป็นขา้ วฟ่างพนั ธ์แุ ท้ต้นสูง เมล็ดใหญ่สีขาวขุ่น เกษตรกรสามารถเกบ็ เมล็ดไว้ทาพันธุ์ได้ กรมวชิ าการเกษตร
(กรมกสิกรรม) แนะนาให้เกษตรกรปลกู ต้งั แตป่ ี พ.ศ. 2506

ลกั ษณะเดน่ คอื มีผลผลิตเมล็ดเฉลี่ยประมาณ 400-600 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดมีขนาดใหญ่และมีความไวต่อ
ช่วงแสง เหมาะสาหรับปลูกในปลายฤดูฝนตง้ั แต่ปลายเดอื นกรกฎาคม ถึงตน้ เดอื นกนั ยายน

ขอ้ เสยี คอื ลาตน้ หกั ล้มง่าย

1. พันธุ์เฮกการเี บา

ภาพที่ 7 พนั ธ์เุ ฮกการเี บา ทไ่ี รเ่ กษตรกร จ.สพุ รรณบรุ ี

เปน็ พันธแ์ุ ท้ เมล็ดสีขาว เกษตรกรสามารถเกบ็ เมล็ดไวท้ าพันธ์ุได้ กรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรม)
แนะนาให้เกษตรกรปลกู ต้งั แต่ปี พ.ศ. 2506

ลักษณะเด่น คือ ต้นเต้ีย อายุส้ัน ผลผลิตเมล็ดเฉล่ียประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะสาหรับปลูกปลาย
ฤดูฝน

15

2.5 พันธขุ์ ้าวฟา่ งจากศูนย์วิจัยข้าวโพดขา้ วฟ่างแห่งชาติท้งั พนั ธุแ์ ท้และลกู ผสม
1. พันธ์ุ KU 439

ภาพที่ 8 พนั ธ์ุ KU 439 ทศี่ ูนย์วิจยั ขา้ วโพดข้าวฟา่ งแห่งชาติ

เป็นพนั ธ์ุแท้ เมล็ดสขี าว โครงการปรบั ปรงุ พันธุ์ข้าวฟา่ ง มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ ไดส้ ่งเสรมิ ให้ปลูกตัง้ แต่
พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา

ลักษณะเด่น คือ ลาต้นแข็งแรง ต้านทานต่อโรคทางใบ ให้ผลผลิตสูง ช่อทรงกระบอก ค่อนข้างแน่น
เมล็ดโต เปน็ พนั ธหุ์ นักอายุเกบ็ เก่ยี วประมาณ 110 วัน

2. พันธุ์ KU 630

ภาพที่ 9 พันธุ์ KU 630 ทศ่ี ูนยว์ ิจัยขา้ วโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ

เป็นพนั ธุ์แท้ เมลด็ สแี ดง เกษตรกรสามารถเกบ็ เมลด็ ไวท้ าพนั ธ์ไุ ด้ โครงการปรบั ปรงุ พนั ธ์ุข้าวฟ่าง
มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ ไดส้ ่งเสริมให้ปลกู ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เปน็ ต้นมา

ลักษณะเด่น คือ อายุเก็บเก่ียวส้ันประมาณ 90 วัน ผลผลิตสูง มีลาต้นสูงปานกลาง มีสารแทนนินในเมล็ด
ต่าประมาณ 0.16 % เมล็ดกะเทาะออกจากรวงไดง้ า่ ยและไม่มีเปลือกตดิ เมล็ด

16

3. พนั ธุ์ KU 8501

ภาพท่ี 10 พันธุ์ KU 8501 ทศ่ี นู ย์วิจัยข้าวโพดขา้ วฟ่างแห่งชาติ

เปน็ พนั ธ์ลุ ูกผสม เมลด็ สแี ดง โครงการปรับปรุงพนั ธขุ์ ้าวฟ่าง มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ได้ส่งเสรมิ ได้ปลกู
ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา

ลกั ษณะเดน่ คอื ให้ผลผลติ สูง เมลด็ โต ต้นเต้ีย เปน็ พนั ธ์หุ นัก อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 115 วัน

การเปรยี บเทียบลักษณะของข้าวฟ่างพนั ธุแ์ ท้ตา่ งๆ ณ ศนู ยว์ ิจัยข้าวโพดขา้ วฟา่ งแหง่ ชาติ
ปรากฏดังตารางขา้ งล่างนี้

ตารางที่ 4 ลกั ษณะบางประการของข้าวฟ่างพันธ์แุ ท้เมลด็ สีขาวและสเี หลือง

ลักษณะ พนั ธ์ุ

ความสงู ตน้ (ซม.) เฮกการหี นัก เฮกการเี บา อทู่ อง 1 เคยู 439
การหกั ลม้ ของตน้
อายดุ อกบาน 50 % (วัน) 200 170 150 165
อายุเกบ็ เก่ียว (วนั ) ไมต่ ้านทาน ตา้ นทาน
ลักษณะช่อ ไมต่ า้ นทาน ตา้ นทาน
ความสมา่ เสมอของตน้ 58 66
สเี มล็ด 120 55 90 110
น้าหนัก 1,000 เมลด็ (กรมั ) แนน่ คอ่ นขา้ งแนน่
ผลผลติ (กก./ไร)่ ปานกลาง 100 90 ดมี าก
ขาวขนุ่ ขาวไมเ่ ป็นมัน
35 แน่น ค่อนข้างโปร่ง 25
500 800
ปานกลาง ดมี าก

ขาวขนุ่ มจี ุดประ เหลอื งออ่ น

20 34

400 550

ตารางที่ 4 ตอ่ 17

ลักษณะ พันธุ์ เคยู 439
-
องค์ประกอบทางเคมีของเมลด็ เฮกการหี นัก เฮกการเี บา อทู่ อง 1 -
โปรตีน (%) -
ไขมนั (%) 9.85 - 9.67 -
คาร์โบไฮเดรต (%) 3.35 - 2.32 -
แป้ง (%) 72.97 - 72.53
แทนนิน (%) 68.62 - 69.75
0.190 0.350 0.104
ทมี่ า : สถาบนั วจิ ยั พชื ไร่, 2537

ตารางที่ 5 ลักษณะบางประการของขา้ วฟา่ งพันธแุ์ ทแ้ ละลูกผสมเมลด็ สีแดง

ลกั ษณะ สพุ รรณบุรี 1* สุพรรณบุรี 60 พนั ธ์ุ เคยู 8501 เคยู 8703
แท้ แท้ เคยู 630 ลกู ผสม ลกู ผสม
พนั ธ์ุ 200 160 165 160
ความสงู ต้น (ซม.) แท้ ต้านทาน ต้านทาน
การหักลม้ ของตน้ ต้านทาน ต้านทาน 140
อายดุ อกบาน 50 % (วนั ) 58 56 ต้านทาน 66 66
อายเุ กบ็ เกี่ยว (วัน) 95 95 55 115 115
ลกั ษณะชอ่ 90 คอ่ นขา้ งแนน่ คอ่ นขา้ งแนน่
ความสมา่ เสมอต้น คอ่ นขา้ งโปรง่ ค่อนข้างโปร่ง คอ่ นข้างแน่น ดีมาก ดมี าก
สเี มล็ด ดีมาก ดมี าก ดมี าก แดงออ่ น สม้ ถงึ แดงออ่ น
น้าหนัก 1,000 เมล็ด (กรมั ) แดง แดง แดงสด 23 -
ผลผลติ (กก./ไร)่ 32 30 24 1,070 1,100
องค์ประกอบทางเคมีของเมลด็ 464 500 750
โปรตีน (%) - -
ไขมนั (%) 9.05 9.49 - - -
คารโ์ บไฮเดรต (%) 2.49 2.57 - - -
แป้ง (%) 71.75 77.58 - - -
แทนนนิ (%) 70.17 76.50 - - -
0.408 0.164 -

* สามารถนาต้นสดไปเล้ียงสตั ว์ได้
ที่มา : สถาบันวิจยั พชื ไร,่ 2537

18

2.6 พันธ์ขุ า้ วฟ่างลกู ผสมจากบริษัทเอกชน
1. พันธุ์แปซฟิ คิ 88

ภาพที่ 11 ขา้ วฟ่างพนั ธุ์แปซิฟคิ 88
เป็นพันธุ์ลกู ผสม เมลด็ สแี ดง จากบรษิ ัท แปซฟิ ิคเมล็ดพันธุ์ จากดั
ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง ปรับตัวได้ดี ช่อแน่น ระแง้ส้ัน กะเทาะเมล็ดง่าย ลาต้นและใบให้วัวกินได้

ลาต้นแข็งแรง ต้านทานการหักล้ม ทนแล้ง เม่ือถึงอายุเก็บเกี่ยว ลาต้นและใบยังคงสด ทาให้
สะสมน้าหนกั แหง้ ได้ดี
2. พันธุ์แปซิฟิค 99

ภาพที่ 12 ขา้ วฟ่างพันธแุ์ ปซิฟิค 99
เป็นพันธ์ุลกู ผสม เมลด็ สแี ดง จากบริษัท แปซิฟิคเมลด็ พนั ธ์ุ จากดั
ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง ต้านทานการหักล้ม ช่อแน่น ช่อใหญ่ กะเทาะเมล็ดง่าย เมล็ดใหญ่

เมล็ดสีสวย ตา้ นทานโรค ต้านทานแมลง ทนแลง้ ดีเยี่ยม
3. พนั ธ์ุแปซิฟคิ 89

ภาพที่ 13 ข้าวฟ่างพนั ธแุ์ ปซิฟิค 89

19
เป็นพันธ์ลุ ูกผสม เมลด็ สีแดง จากบรษิ ัท แปซิฟิคเมล็ดพนั ธ์ุ จากดั
ลกั ษณะเด่น คอื ใหผ้ ลผลิตสงู ต้านทานการหักล้ม ช่อโปร่ง ระบายความช้ืนได้เร็ว เป็นพันธุ์ลูกผสมล่าสุด

ในตลาด วางตลาดเม่ือปี พ.ศ. 2550
4. พนั ธ์ุ FBC 111

ภาพท่ี 14 ขา้ วฟ่างพันธุ์ FBC 111
เป็นพันธุ์ลูกผสม เมล็ดสีแดง จากบริษัท เฟอรต์ ิไลเซอรแ์ อนด์ไบโอซีด จากดั
ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง เมล็ดใหญ่ ช่อทรงกระบอก ทนแล้งดีมาก กะเทาะเมล็ดง่าย ต้านทานโรค

และแมลง
5. พนั ธุ์ FBC 999

ภาพท่ี 15 ข้าวฟ่างพนั ธุ์ FBC 999
เปน็ พนั ธุ์ลูกผสม เมลด็ สแี ดง จากบริษัท เฟอร์ติไลเซอร์แอนด์ไบโอซดี จากดั
ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง เมล็ดใหญ่ ช่อทรงกระบอก ทนแล้งดีมาก กะเทาะเมล็ดง่าย ต้านทานการ

หักล้ม

20

เอกสารอ้างองิ

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2551. การปลูกข้าวฟ่าง. คาแนะนาที่ 35 เร่ือง การปลูกข้าวฟ่าง. กรมส่งเสริม
การเกษตร. Online. (Available) http://web.ku.ac.th/agri/fang1/index.html (12/02/2551)

นริ นาม. 2551. ขา้ วฟา่ ง. สารานุกรมไทยสาหรบั เยาวชนฯ เล่มท่ี 14. Online (Available)
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter7/chap7.htm (10/02/2551)

ศูนยว์ จิ ยั ข้าวโพดขา้ วฟ่างแห่งชาติ. 2538. คาแนะนาเร่ืองพันธ์ุขา้ วฟ่าง. ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ.
นครราชสีมา. : เฉลิมชยั การพิมพ์. ปากชอ่ ง. นครราชสีมา.

ศนู ย์วจิ ยั พชื ไร่นครสวรรค์. 2549. คู่มือเกษตรกร การปลูกข้าวฟ่างสีแดง. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์. กรม
วิชาการเกษตร. 26 หนา้ .

ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี. 2549. คู่มือเกษตรกร การปลูกข้าวฟ่างสีขาว. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี. กรม
วชิ าการเกษตร. 28 หนา้ .

สถาบนั วิจัยพชื ไร.่ 2539. การปลูกพืชไร.่ เอกสารวิชาการ. สถาบันวจิ ัยพชื ไร่. กรมวชิ าการเกษตร กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์. 288 หน้า.

สถาบนั วจิ ัยพืชไร.่ 2537. การปลูกพืชไร.่ เอกสารวชิ าการ. สถาบนั วิจยั พืชไร่. กรมวิชาการเกษตร กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์. 180 หน้า.

P. Suriyapan, W. Suchato, A. Boontum and P. Sithithai. 1989. Study on planting time of
forage and grain yield for ratoon. Thailand National Corn and sorghum Program
1989. Annual Report. P. 238-246.

21

บทท่ี 3

การผลิตเมลด็ พนั ธ์หุ ลักขา้ วฟ่าง (Sorghum seed production)

3.1 การแบง่ ชั้นของการผลิตเมล็ดพนั ธ์ุ (Seed class)

การขยายพันธ์ุที่นิยมใช้เป็นมาตรฐานทั่วไปจัดแบ่งข้ันตอนการขยายพันธุ์ออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่
เมล็ดพันธุ์คัด เมล็ดพันธุ์หลัก เมล็ดพันธ์ุขยายและเมล็ดพันธ์ุจาหน่าย ซึ่งเมล็ดพันธุ์ในชั้นต่างๆ เหล่าน้ี
จะต้องมีคุณลักษณะถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ได้กาหนดไว้ ชั้นของเมล็ดพันธ์ุดังกล่าว สามารถจาแนกได้
ดงั ต่อไปนี้

1. เมล็ดพันธ์ุคัด (Breeder seed) คือ เมล็ดพันธ์ุท่ีผลิตโดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชเจ้าของพันธุ์
หรือนักปรับปรุงพันธ์ุผู้ร่วมงานในโครงการปรับปรุงพันธุ์พืช ท่ีทราบลักษณะประจาพันธ์ุของพันธ์ุนั้น เมล็ด
พันธ์ุชั้นน้ีจะนาไปขยายเป็นเมล็ดพันธ์ุหลัก กรรมวิธีการผลิตจะต้องใช้แรงงานและข้ันตอนในรายละเอียด
ค่อนข้างมาก จึงทาให้ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง เพราะนอกจากจะต้องผลิตในแปลงที่ห่างไกลจากพื้นท่ี
ปลูกพืชชนิดเดียวกันแล้ว อาจจะต้องมีการควบคุมการผสมเกสร วิธีการผลิตน้ันจะต้องปลูกในลักษณะนา
เมล็ดจากแต่ละช่อ รวง หรือแต่ละต้นมาปลูกแยกกันเป็นแถว 1-3 แถว ตามปริมาณเมล็ดที่มี จากนั้นจะ
คัดแถวที่มีลักษณะประจาพนั ธุ์เหมอื นพันธุ์ดั้งเดมิ ท้งั หมด แถวใดมลี ักษณะไม่ตรงตามพันธ์ุด้ังเดิม ก็จะถูกคัด
ท้ิงไป เมื่อเมล็ดแก่จึงเก็บรวบรวมเมล็ดจากแถวท่ีมีลักษณะเหมือนพันธุ์ดั้งเดิมทุกประการรวมกันเป็นเมล็ด
พนั ธ์ุคัด

2. เมล็ดพันธ์ุหลัก (Foundation or Basic seed) เป็นการผลิตเมล็ดพันธ์ุข้ันท่ี 2 ที่นาเมล็ด
พันธุ์คัดมาขยายปริมาณให้เพ่ิมมากข้ึนตามหลักและวิธีการผลิตเมล็ดพันธ์ุ ซ่ึงจะอยู่ในการควบคุมดูแลของ
นักวิชาการขยายพันธ์ุพืช โดยมีนักปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นท่ีปรึกษาจะต้องมีการรักษาความบริสุทธ์ิให้เหมือน
พันธ์เุ ดมิ ใหม้ ากทส่ี ุด โดยการกาจดั ต้นท่ีปลอมปนตั้งแต่สามารถสังเกตเหน็ ลักษณะแตกต่างได้ เช่น การถอน
ต้นปนเมื่อข้าวฟ่างมีการยืดปล้อง หรือมีการทาลายจากโรค แมลง แล้วใบหรือต้นเปล่ียนสี การกาจัดต้น
ปลอมปนในระยะแรกก่อนออกดอกจะทาให้ละอองเกสรของต้นปลอมปน ไม่สามารถแพร่กระจายไปผสม
พันธ์ุกับต้นที่ตรงตามพันธ์ุจะทาให้เมล็ดพันธ์ุมีความบริสุทธ์ิตรงตามพันธุ์มากขึ้น การกาจัดต้นปนในระยะ
ต่อมาคือ ในระยะออกดอกและระยะก่อนเก็บเกี่ยว การกาจัดต้นปนในระยะหลังนี้ อาจจะทาให้มีความ
บริสุทธ์ิของพันธ์ุลดลง เนื่องจากพืชผสมเกสรแล้ว แต่ก็ต้องทาเพื่อให้เมล็ดพันธุ์ได้มาตรฐาน เมล็ดพันธุ์ที่
เก็บเก่ยี วไดใ้ นชัน้ น้ีจะนาไปใชผ้ ลิตเปน็ เมล็ดพันธ์ุขยาย

3. เมล็ดพันธุ์ขยาย (Registered or Stock or Multiplication seed) คือ เมล็ดพันธ์ุท่ีผลิต
จากเมล็ดพันธุ์หลัก ในหน่วยงานท่ีได้รับการรับรองหรือผู้ผลิตที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธ์ุ
ขยาย เช่น ศูนย์ขยายพันธุ์พืช โดยจะต้องมีการรักษาและตรวจสอบคุณลักษณะทางสายพันธุ์และความ
บริสุทธ์ิตามมาตรฐานท่ีกรมวิชาการเกษตรกาหนดไว้ ผู้ผลิตจะต้องมีท่ีปรึกษาท่ีได้รับการฝึกอบรมวิธีการ
ผลิตเมล็ดพันธุ์ท่ีดี เพื่อให้คาแนะนาแก่ผู้ผลิตในการกาจัดต้นปน เมล็ดพันธ์ุขยายอาจแบ่งช้ันเป็น 2 ชั้น
ได้แก่ เมล็ดพันธุข์ ยายช้นั 1 และเมล็ดพันธ์ขุ ยายชนั้ 2

22

เมล็ดพันธ์ุขยายชั้น 1 คือ เมล็ดพันธ์ุขยายซ่ึงผลิตจากเมล็ดพันธุ์หลักโดยตรงเมล็ดพันธ์ุช้ันน้ีจะ
นาไปใช้ผลติ เมล็ดพันธขุ์ ยายช้นั 2

เมล็ดพันธ์ุขยายชั้น 2 คือ เมล็ดพันธุ์ขยายที่ผลิตโดยใช้เมล็ดพันธุ์ขยายชั้น 1 เมล็ดพันธุ์ชั้นนี้จะ
นาไปใช้สาหรับผลติ เมล็ดพันธจุ์ าหน่าย

4. เมล็ดพันธ์ุจาหน่าย (Certified or Extension Seed) คือ เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตจากเมล็ดพันธ์ุ
หลักหรือเมล็ดพันธุ์ขยาย โดยจะต้องรักษาและตรวจสอบคุณลักษณะทางสายพันธุ์และความบริสุทธ์ิของ
พันธุ์ตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกาหนดไว้ การผลิตเมล็ดพันธุ์จาหน่ายผลิตได้โดยหน่วยงานหรือ
ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานท่ีได้รับการรับรองแล้ว เมล็ดพันธุ์ช้ันนี้เป็นเมล็ดพันธุ์สาหรับจ่ายให้
เกษตรกรใช้เปน็ พันธ์ปุ ลูกต่อไป

3.2 คณุ สมบตั ขิ องเมลด็ พนั ธ์ทุ ดี่ ี (Seed quality)
คุณสมบัตขิ องเมลด็ พนั ธุ์ทด่ี มี ดี ังน้ี
1. ความบริสุทธ์ิของพันธ์ุ (Cultivar purity) เป็นลักษณะความบริสุทธ์ิท่ีไม่มีพันธ์ุอื่นๆ ผสม

เช่น ข้าวฟ่างพันธ์ุ UT 1694 ไม่มีเมล็ดพันธ์ุ KU 439 ผสมอยู่ ซ่ึงลักษณะนี้ไม่สามารถคัดเลือกภายหลัง
หรอื ตรวจสอบไดจ้ ากหอ้ งปฏิบตั กิ ารเมลด็ พนั ธุ์ ตอ้ งตรวจจากแปลงปลูกเท่าน้นั

2. ความบริสทุ ธข์ิ องชนดิ พนั ธุ์ (Species purity) เมลด็ พันธ์ขุ ้าวฟ่างไม่ควรจะมีเมล็ดพันธุ์ชนิด
อืน่ ๆ ปะปนมา เชน่ ขา้ ว ข้าวโพด ซ่ึงถ้าใชเ้ ครือ่ งนวด อาจมเี มลด็ ที่นวดคร้ังก่อนตกค้าง สามารถคัด – แยก
ออกไดจ้ ากการเกรดเมล็ด แต่ถ้าเมล็ดพนั ธอ์ุ ่นื มขี นาดใกลเ้ คียงกนั กจ็ ะยากในการคดั แยก

3. ความบริสุทธ์ิทางกายภาพ (Analytical purity) เมล็ดพันธ์ุต้องไม่มีเศษหิน ดิน ทราย
เปลอื กหมุ้ เมล็ด เศษเมลด็ แตกเกนิ กวา่ เปอรเ์ ซน็ ต์ท่ีกาหนดไว้ ซง่ึ สามารถ คัด - กรอง จากเครื่องเกรดเมล็ด
ได้ภายหลัง ความบริสุทธ์ิทางกายภาพต้องระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น ความบริสุทธ์ิ 99.8 % ระบุในป้ายติด
กระสอบเมล็ดพันธ์ุ เชน่ เดียวกับเปอร์เซน็ ต์ความงอก

4. ความงอก (Germination) เมลด็ พันธุ์ดีตอ้ งมีเปอรเ์ ซ็นต์ความงอกที่สูง ไม่ต่ากว่ามาตรฐาน
ที่กาหนดไว้ ทาการตรวจสอบได้โดยเพาะเมล็ด 100 เมล็ดบนกระดาษ (Top paper) หรือระหว่างกระดาษ
แล้วม้วนตั้งขึ้น (Between paper) หรือเพาะด้วยทราย (Sand) ใช้เวลา 5-6 วัน นับจานวนต้นอ่อนท่ีปกติ
(Normal seedlings) เปน็ เปอรเ์ ซ็นตค์ วามงอก ควรทาหลายๆ ซา้

23

ปัจจัยท่ีจาเปน็ ในการงอกของเมลด็
1. นา้
2. อุณหภูมทิ เ่ี หมาะสม
3. ออกซเิ จน

เมล็ดพชื บางชนิดอาจตอ้ งการแสง เช่น ยาสูบ แต่เมลด็ พนั ธุ์ส่วนใหญ่ไมต่ อ้ งการแสงในการงอก
เมล็ดพันธ์ุหลายชนิด แม้มีปัจจัยทุกอย่างเหมาะสม แต่เมล็ดพันธ์ุไม่งอก แสดงว่า เมล็ดพันธุ์มี
การพักตัว (Seed dormancy) การทาลายการพักตัว เช่น การแช่น้า ใช้กรด กระดาษทรายขัดเปลือก
เมล็ดพันธุ์ โดยปกติข้าวฟ่างไม่มีการพักตัวท่ีแท้จริง (True dormancy) แต่อาจมีการพักตัวในกรณีท่ีเก็บเกี่ยว
ขา้ วฟ่างแลว้ นาไปทาพนั ธป์ุ ลูกทันที ขา้ วฟ่างจะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่า การทาลายการพักตัวนี้ใช้ความร้อน
โดยนาเมลด็ พนั ธุไ์ ปผึง่ แดด 2-3 วนั กอ่ นนาไปปลกู

5. ความแขง็ แรง (Vigor) ความแข็งแรงเป็นลกั ษณะภายในของเมล็ด ซึ่งเมื่อกระทบต่อลักษณะ
ท่ีไม่เหมาะสม เช่น เย็นจัด ร้อนจัด เมล็ดพันธุ์ยงั มเี ปอร์เซ็นต์ความงอกสูงหรือสามารถอยู่รอดได้ในสภาวะที่
ไม่เหมาะสม เปน็ การเปรยี บเทยี บคุณสมบตั ขิ องเมลด็ พันธุ์ในแต่ละ lot เช่น เมล็ดพันธ์ุข้าวฟ่าง lot A มี
เปอร์เซ็นต์ความงอก 90 % เท่ากับเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่าง แต่เม่ือตรวจวัดความแข็งแรงด้วยวิธีการเร่งอายุ
(AA - Accelerated aging) ที่อุณหภูมิ 43oC ความชื้น 100 % เวลา 72 ช่ัวโมง (ISTA, 1993) ตรวจวัด
เปอร์เซ็นต์ความงอกครั้งที่ 2 พบว่า lot A มีเปอร์เซ็นต์ความงอก 75 % ในขณะท่ี lot B มีเปอร์เซ็นต์
ความงอก 60 % สรุปได้ว่า จากการทดสอบด้วยการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ ข้าวฟ่าง lot A มีความแข็งแรง
มากกวา่ เมลด็ พนั ธ์ขุ า้ วฟ่าง lot B

6. ปราศจากวัชพืช (Freedom from weed) ในข้าวฟ่างลูกผสมสีแดง อาจมีหญ้าจอห์นสัน
ผสมปะปนอยู่ ซึ่งลักษณะคล้ายข้าวฟ่างแต่ต้นสูงกว่า เมล็ดพันธ์ุบางชนิด ถ้ามีการพบวัชพืชร้ายแรง
(Noxious weed) เพียงเมลด็ เดียวในล๊อท เมล็ดพันธท์ุ ้ังล๊อทนนั้ จะไม่ผา่ น ไม่ได้รับใบรับรองนาไปขายเป็น
เมล็ดพนั ธไ์ุ มไ่ ด้

7. ขนาด (Size) เมล็ดพันธุ์ควรมีขนาดสม่าเสมอ ไม่แตกต่างกันมาก ซึ่งคัดเกรดโดยผ่าน
ตะแกรงร่อนจากการเกรดเมล็ดพันธ์ุ และทาความสะอาดเมล็ดพันธุ์ เมล็ดข้าวฟ่างภายในช่อเดียวกันจะมี
ขนาดไม่เท่ากัน โดยเมล็ดบนช่อส่วนบนจะมีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดส่วนล่าง เมล็ดพันธ์ุแปลงท่ีกระทบแล้ง
จะมขี นาดเมลด็ ทเี่ ลก็ กว่าแปลงท่มี นี า้ อดุ มสมบูรณ์

ขนาดเมล็ดพันธุ์ จาเป็นในการคานวณอัตราการใช้เมล็ดพันธ์ุให้ได้จานวนต้นท่ีต้องการ เช่น ใน
ยโุ รป ขา้ วโพด 1 ถุงใช้ปลูกในพ้นื ที่ 1 เฮกแตร์ (6.25 ไร่) เมล็ดพันธ์ุข้าวโพดขนาดเล็กอาจใช้เพียง 12 กก.
ในขณะทข่ี า้ วโพดเมล็ดใหญใ่ ช้ 14 กก. ซ่ึงจะได้จานวนเมล็ดเท่ากัน และจานวนต้นต่อพ้ืนท่ีเท่ากันในการใช้
เครอื่ งปลูก โดยท่วั ไปขา้ วโพดมีเปอรเ์ ซ็นตค์ วามงอกเกือบ 100 %

24

8. ความสมา่ เสมอ (Uniformity) เมล็ดพนั ธุต์ อ้ งมีความสมา่ เสมอ ใชเ้ วลาในการงอกสม่าเสมอ
พร้อมเพรียงกัน มีการเจริญเติบโตสม่าเสมอ ความสูงใกล้เคียงกัน สุกแก่พร้อมเพรียงกัน ในล๊อทควรมี
ความสมา่ เสมอเช่นกนั เชน่ ทกุ กระสอบจะมีปรมิ าณเมล็ดพันธุบ์ รสิ ทุ ธิ์ใกล้เคียงกนั

9. สุขภาพของเมล็ด (Health) เมล็ดพันธุ์ควรมีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรคติดมากับ
เมล็ด เชน่ เชือ้ ราจากเมล็ด (Seed born pathogens) หรอื เช้อื ราจากการเก็บรักษาเมล็ดพันธ์ุที่ไม่ถูกต้อง
(Storage fungi)

10. ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ (Seed moisture content) ถ้าเมล็ดพันธ์ุมีความช้ืนต่าจะ
สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้นานมากข้ึน เมล็ดพันธ์ุที่มีความช้ืนสูงจะเส่ือมได้ง่ายและเกิดเชื้อราเข้าทาลาย
เมล็ดพันธ์ุพืชแต่ละชนิดจะมีระดับความชื้นที่ปลอดภัยในการเก็บรักษา (Safe moisture content)
โดยทว่ั ไปจะประมาณ 10-11 %

3.3 ปจั จัยที่มีผลต่อคณุ ภาพของเมลด็ พนั ธ์ุ

1. เมลด็ พันธท์ุ ่ีใช้ปลูก ซึ่งจะมีผลต่อท้ังผลผลติ และคณุ ภาพของเมล็ดพันธุ์ท่ีได้

2. ความอดุ มสมบรู ณ์ของดินและการใส่ปุ๋ย ถ้าปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะทาให้ได้เมล็ด
พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ สมบูรณ์ ผลผลิตเมล็ดพันธ์ุสูง ถ้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่า ต้องให้ปุ๋ยให้เพียงพอต่อ
การเจริญเตบิ โต

3. ปริมาณและความถี่ของการให้น้า การให้น้าที่เหมาะสมทาให้ได้ผลผลิตเมล็ดพันธ์ุที่ดี ระยะ
วิกฤติคือ ก่อนพืชจะออกดอก โดยระยะพืชผสมเกสรไมค่ วรจะขาดนา้

4. การปอ้ งกันกาจดั ศตั รูพชื ท้ังโรค แมลง ซ่งึ จะมีผลตอ่ ทง้ั ผลผลติ และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์

5. ระยะห่างจากแปลงอ่ืนๆ (Isolation) ซ่ึงจะมีผลต่อการผสมข้าม ข้าวฟ่างเป็นพืชผสมตัวเอง
จะต้องการระยะห่างจากแปลงข้าวฟ่างอ่ืนไม่มาก ถ้าใกล้มากต้องปลูกเหล่ือมวันกันเพื่อหลีกเล่ียงการออกดอก
ที่พร้อมกนั ปอ้ งกนั การผสมขา้ ม

6. การถอนแยก (Roguing) แปลงพนั ธ์ตุ อ้ งมกี ารถอนแยกต้นท่ีไม่สมบูรณ์ เป็นโรคหรือมีลักษณะ
ไม่เหมอื นพันธน์ุ ้ันๆ (Off-types or variants) เช่น ความสงู สขี องเปลือกหุ้มเมล็ดท่แี ตกต่าง

7. การกาจัดวัชพืช มีความสาคัญมากโดยเฉพาะวัชพืชร้ายแรงเพ่ือป้องกันเมล็ดวัชพืชท่ีติดไปกับ
เมลด็ พนั ธ์ุ

8. สภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ไม่ควรมีฝนในช่วงเก็บเก่ียวเมล็ดพันธ์ุ เพราะจะทาให้เกิดโรครา
เมลด็

9. ลกั ษณะทางพนั ธกุ รรม พืชบางชนดิ อาจมกี ารพักตวั พืชทีม่ ีเปลือกหุ้มเมล็ดสีขาว จะพบเชื้อรา
มากกว่าสคี ล้า

25

10. วิธีการเก็บเก่ียว ต้องเก็บเก่ียวเม่ือเมล็ดพืชมีความชื้นลดลง หรือหลังจากจุดสุกแก่ทาง
สรรี วทิ ยา ถ้าแหง้ เกินไปจะทาใหเ้ มลด็ แตก เสยี หาย ถ้าช้ืนเกินไปเมล็ดก็จะช้าเสียหายได้

3.4 หลกั การดาเนนิ งานผลิตเมล็ดพันธ์ุ
การดาเนินงานผลิตเมล็ดพันธุ์ จาเป็นจะต้องพิจารณาข้อบังคับต่างๆ ซึ่งเป็นหลักท่ัวไปในการ

ปฏิบัติงานดงั ตอ่ ไปนี้

1. แหล่งท่ีมาของเมลด็ พันธุ์ (Source of seed)
เมล็ดพันธ์ุท่ีใช้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ชั้นต่างๆ จะต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้หรือผ่านการ

รบั รองมาแลว้ เชน่ เมลด็ พนั ธ์ุคัด สาหรบั ใชใ้ นการผลิตเมล็ดพันธหุ์ ลัก เมล็ดพันธุ์หลักสาหรับผลิตเมล็ดพันธ์ุ
ขยาย เป็นต้น เมลด็ พันธ์เุ หลา่ นจี้ ะต้องได้รับความยินยอมล่วงหนา้ จากสถาบันผรู้ บั รองคณุ ภาพเมลด็ พนั ธ์ุ

2. ประวตั ิของพน้ื ที่ปลูกพชื (Cropping history of the field)
ที่ดินที่จะใช้สาหรับผลิตเมล็ดพันธ์ุ จะต้องไม่เคยปลูกพืชชนิดน้ันมาก่อนระยะเวลาหน่ึง เช่น

1-2 ปี ยกเวน้ การผลิตเมล็ดพันธ์ุ ชนิดและพนั ธุ์เดียวกนั หรือช้นั เดยี วกนั เพอ่ื ป้องกันเมล็ดพันธเ์ุ ก่าทีต่ กค้าง

3. การจากดั จานวนช่วั อายุของการขยายพนั ธุ์ (Limited generation program)
เมล็ดพันธ์ุที่ใช้เป็นพันธุ์ปลูกแต่ละชั้นจะมีการจากัดการนามาใช้ซ้า เช่น เมล็ดพันธุ์หลักและ

เมล็ดพันธุ์ขยาย โดยปกติจะไม่นาลูกหลานมาผลิตเป็นเมล็ดพันธ์ุช้ันเดียวกันซ้าอีก สาหรับเมล็ดพันธุ์
จาหน่าย พืชชนิดผสมเกสรตัวเอง (Self-pollinated) จะนามาใช้ซ้าได้ 2 ชั่วอายุได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง
ถว่ั ลิสง ขา้ วฟ่าง แตพ่ ืชท่ีผสมเกสรข้าม (Cross - pollinated) เชน่ ข้าวโพด มกั จะใชเ้ พียงช่วั อายุเดียว

4. การกาหนดระยะการเว้นชว่ งระหว่างแปลง (Isolation)
เพ่ือป้องกันการผสมข้ามพันธ์ุ จะต้องกาหนดระยะระหว่างแปลงในการปลูกพืช ชนิดและพันธ์ุ

เดียวกับการผลิตเมล็ดพันธ์ุหลักของพืชท่ีผสมเกสรข้าม (Cross - pollinated) จะต้องเว้นระหว่างแปลงให้
ห่างกนั อย่างนอ้ ย 400 เมตร เมลด็ พันธขุ์ ยาย เวน้ ช่วงอยา่ งน้อย 100 เมตร และเมล็ดพันธุ์จาหน่าย เว้นช่วง
อย่างน้อย 50 เมตร สาหรับพืชผสมเกสรตัวเอง (Self - pollinated) การเว้นช่วงระหว่างแปลงกาหนดไว้
เพียง 3 เมตร เพ่อื ปอ้ งกนั การปะปนพนั ธร์ุ ะหว่างการเกบ็ เกี่ยวเท่านั้น

5. การกาหนดจานวนของพันธุ์ (Number of Varieties)
โดยทว่ั ไปจะกาหนดใหผ้ ผู้ ลิตทาการผลิตเมล็ดพนั ธแ์ุ ต่ละชนดิ เพียงพันธุ์เดียว ในแหล่งเดียวกัน

เพือ่ ป้องกันการปะปนพนั ธุ์

26

3.5 มาตรฐานเมลด็ พนั ธข์ุ ้าวฟ่าง
ก. มาตรฐานการตรวจสอบในไร่
1. มาตรฐานทวั่ ไป
1.1 ข้าวฟ่างพนั ธหุ์ นงึ่ จะต้องปลกู ในเนื้อท่ผี ืนเดยี วกัน
1.2 ไรท่ ปี่ ลูกขา้ วฟ่างจะตอ้ งปลูกในทๆ่ี ไม่เคยปลกู ข้าวฟ่างมาก่อนในฤดูทีแ่ ลว้ มา
1.3 การปลูกข้าวฟ่างแต่ละพันธ์ุจะต้องเว้นช่วงระหว่างแปลงไม่น้อยกว่า 200 เมตร สาหรับ
เมล็ดพันธุห์ ลักและ 100 เมตร สาหรับเมลด็ พนั ธขุ์ ยายจาหน่าย
1.4 ทาการตรวจสอบไร่อย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งแรกก่อนออกดอก ครั้งท่ี 2 เมื่อเร่ิมออกดอก
ครง้ั ท่ี 3 ก่อนการเก็บเกยี่ ว

2. มาตรฐานเฉพาะอยา่ ง

ตารางท่ี 6 มาตรฐานเฉพาะอยา่ งในการตรวจสอบในไร่ข้าวฟ่าง

รายการ ไร่เมลด็ พันธุ์หลัก ไรเ่ มล็ดพันธุข์ ยาย ไร่เมลด็ พันธจ์ุ าหนา่ ย

พันธ์ุอ่นื ๆ (สูงสุด) 0 0 0.01 %
0 0 0.1 %
ตน้ ที่ผิดแปลกไป (สูงสดุ ) 0 0 0.5 %

ต้นทเี่ ปน็ โรค (สงู สดุ )

ทมี่ า : สถาบนั วจิ ัยพชื ไร,่ 2537

ข. มาตรฐานเมลด็ พนั ธุ์

ตารางท่ี 7 มาตรฐานเมล็ดพนั ธุ์ ในการตรวจสอบจากห้องปฏบิ ัตกิ ารเมลด็ พนั ธุ์

รายการ ไรเ่ มลด็ พันธห์ุ ลัก ไร่เมล็ดพันธ์ขุ ยาย ไร่เมล็ดพนั ธจุ์ าหนา่ ย
เมล็ดบริสทุ ธ์ิ % (ตา่ สุด)
พันธุ์อนื่ ๆ เจอื ปน % (สงู สุด) 97 97 96
ส่งิ เจอื ปน % (สงู สุด) 0 0 0.01
ความงอก % (ต่าสดุ ) 3 3 4
ความชืน้ % (สงู สุด) 80 80 75
12 12 12
ที่มา : สถาบันวจิ ยั พชื ไร่, 2537

27

3.6 ขน้ั ตอนการผลติ เมล็ดพนั ธห์ุ ลกั ขา้ วฟ่าง
สิ่งทจ่ี ะตอ้ งจัดเตรยี มกอ่ นการผลติ
1. เมล็ดพันธุ์คัดข้าวฟ่าง (Sorghum breeder seed) ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ความงอกไม่ต่ากว่า 90 %
และไมม่ พี ันธ์ุปลอมปน ไม่มีร่องรอยการทาลายของแมลงและโรค
2. วัสดอุ ุปกรณ์
1. สารเคมีป้องกันกาจัดแมลง คาร์โบฟูแรน 3 %G อัตรา 6 กก./ไร่ เพ่ือป้องกันกาจัดหนอน
แมลงเจาะยอด (Shoot fly) ซึ่งจะทาใหย้ อดข้าวฟา่ งเหย่ี วแห้งตาย (Deadheart)
2. สารเคมีกาจัดวัชพืช อะทราซีน 80 %wp อัตรา 450 กรัม ai/ไร่ เพื่อทาการฉีดคุมวัชพืช
กอ่ นงอกภายหลงั ปลูกข้าวฟ่างแล้ว
3. ปุ๋ยสตู ร N-P2O5-K2O 16-20-0 หรอื 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่

สงิ่ ทต่ี อ้ งดาเนนิ การระหว่างผลติ
1. การเตรยี มดิน ไถดินลึก 5-6 นิ้ว ตากดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้วัชพืชตาย จากนั้นจึง

ไถแปรหรือไถพรวนให้ดินร่วน เพ่ือให้เก็บความชื้นและอากาศถ่ายเทได้ดี เหมาะแก่การงอกและการ
เจรญิ เติบโตของต้นอ่อน การเตรียมดินไมด่ ีอาจทาให้เมล็ดงอกไม่สม่าเสมอหรือไม่งอกได้

2. การปลกู แปลงพันธุ์หลัก ควรทาการปลูกเป็นแถว โดยทาการแถกดินให้เป็นร่องลึกประมาณ
2-3 ซม. หรือ 1 นิ้ว โรยเมล็ดในร่องแล้วกลบด้วยดินบางๆ เพ่ือไม่ให้นกและแมลงทาลายได้และช่วยรักษา
ความช้ืน สาหรับเมล็ดและต้นอ่อน มีระยะระหว่างแถวประมาณ 60 ซม. ระยะห่างระหว่างต้น 10 ซม.
โดยทาการถอนแยกเม่ือข้าวฟ่างงอกได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ข้าวฟ่างจะมีจานวนต้นต่อไร่ประมาณ
26,000 ต้น/ไร่ หรือใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าวฟ่าง ซึ่งลักษณะคล้ายเคร่ืองหยอดเมล็ดข้าวโพดแต่มีการปรับ
จานให้มีขนาดรเู ลก็ ลงเหมาะสมกับเมล็ดข้าวฟ่างในอตั ราที่พอควร (ประมาณ 1.5 กก.ตอ่ ไร)่

3. การป้องกันกาจัดวัชพืช ใช้สารเคมีป้องกันวัชพืชอะทราซีน (Atrazine) 80 %wp อัตรา
450 กรมั ai/ไร่ทนั ทหี ลังปลูก และกาจัดวชั พืชด้วยจอบพร้อมใสป่ ยุ๋ เมือ่ ข้าวฟ่างอายุได้ 1 เดอื น

4. การใส่ปุ๋ย สาหรับดินท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ต่า ควรโรยปุ๋ยเคมีก้นร่องก่อนปลูกในอัตรา 25
กก./ไร่ และใส่ปุ๋ยอีกคร้ังเม่ือข้าวฟ่างอายุได้ 1 เดือน ในอัตราท่ีเท่ากัน ในดินท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
ใส่ปุ๋ยครั้งเดียว เมื่อข้าวฟ่างมีอายุ 1 เดือน ในอัตรา 50 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยโดยวิธีโรยข้างแถว (Side dressing)
แลว้ พนู โคนกลบรอ่ งข้าวฟา่ งใหส้ งู เป็นการกาจัดวัชพืชไปดว้ ย

28

5. การกาจัดโรค แมลง ส่วนใหญ่ข้าวฟ่างที่ปลูกในปลายฤดูฝน จะไม่มีปัญหาโรคหรือแมลง
ระบาดรุนแรง แมลงที่มีปัญหาในการทาลายต้นอ่อนข้าวฟ่างคือ หนอนแมลงวันเจาะยอด (Shoot fly) ควร
ป้องกันการทาลายก่อน โดยใช้สารเคมีป้องกันกาจัดแมลงคาร์โบซัลแฟน (Carbosulfan) (Poss 20 %EC)
อตั รา 80 cc/น้า 20 ลิตร ในกรณีที่มีหนอนกัดกินช่อข้าวฟ่างในช่วงเมล็ดข้าวฟ่างเป็นน้านม เช่น หนอนใย
ขา้ วฟ่าง หนอนเจาะสมออเมรกิ ัน ควรใช้ยาฆ่าแมลงไบทรอยดฉ์ ีดพ่นเมื่อมกี ารระบาดรุนแรง

โรคที่มีปัญหามากท่ีสุดในข้าวฟ่าง คือ โรคราเมล็ด (Grain mold) ซึ่งเกิดจากเช้ือราเข้าทาลาย
ข้าวฟ่างต้ังแต่ออกดอกจนกระท่ังแก่ ถ้าฝนตกในระยะข้าวฟ่างออกดอกได้ 20 วัน โรคน้ีจะรุนแรงมาก
ควรป้องกันโดยการเลื่อนวันปลูกเพ่ือไม่ให้กระทบกับฝนในช่วงออกดอกคือ ปลูกข้าวฟ่างในช่วงปลายฝน
ในเดือนสงิ หาคม

6. การให้น้า ใหน้ ้าเสริมในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่าง เม่ือข้าวฟ่างแสดงอาการเหี่ยวหรือขาด
น้า โดยให้น้าแบบระบบน้าฝอย (Sprinkle) ในช่วงปลูกจนกระทั่งข้าวฟ่างงอกได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์
(ชว่ งถอนแยก) ข้าวฟ่างควรจะไดร้ ับน้ามากเพยี งพอ โดยเฉพาะช่วงถอนแยกดินควรจะชุ่มน้า เพ่ือสะดวกใน
การถอนท้ิง และในช่วงข้าวฟ่างแทงช่อดอก ไม่ควรให้เกิดการขาดน้า เพราะจะกระทบถึงการผลิตเมล็ด
ข้าวฟา่ ง

7. การตรวจแปลง ทาการตรวจแปลงเมื่อข้าวฟ่างงอกได้ประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อจะได้ทาการ
ปลูกซ่อมทันที ในบริเวณที่มีข้าวฟ่างข้ึนน้อย ในช่วงถอนแยกข้าวฟ่างทาการตรวจแปลงและถอนต้นท่ีเป็น
โรคและมีแมลงทาลายท้ิง ควรถอนต้นที่อ่อนแอและไม่แข็งแรงท้ิงด้วยในช่วงข้าวฟ่างออกดอก บันทึกวัน
ออกดอกและถอนต้นท่แี สดงลักษณะผิดไปจากพนั ธุแ์ ละไม่สมา่ เสมอ เช่น สูงเกนิ ไป ออกดอกช้ากวา่ ปกติทิง้

8. การเก็บเกี่ยว เมล็ดข้าวฟ่างจะแก่เต็มท่ีที่ระยะสุกแก่ทางสรีรวิทยา (Physiological
maturity) ซึ่งเป็นระยะท่ีเมล็ดมีความงอก ความแข็งแรงและมีน้าหนักแห้งสูงสุด แต่ยังมีความชื้นค่อนข้าง
สงู ประมาณ 20 % จึงควรเกบ็ เกยี่ วหลงั จากระยะนี้เล็กน้อย ประมาณ 1 อาทิตย์ ถ้าเก็บเกี่ยวช้ามากเกินไป
เมล็ดจะมกี ารเสือ่ มคุณภาพ ทาให้ไดเ้ มล็ดพันธ์ุทม่ี ีคณุ ภาพต่า

9. การตากเมล็ดหรอื การทาให้เมลด็ แห้ง เมลด็ ขา้ วฟ่างที่เก็บเก่ียวใหม่ๆ มีความช้ืนค่อนข้างสูง
ถ้านามากองสุมไว้ ความร้อนที่เกิดข้ึนจากกระบวนการหายใจจะสะสมอยู่ในกองเมล็ด ทาให้เกิดความร้อน
ถึงระดับที่ทาลายเมล็ดได้ และยิ่งเมล็ดมีความชื้นสูงโอกาสท่ีเช้ือราจะเข้าทาลายเมล็ดย่ิงง่ายขึ้น ฉะน้ัน
ภายหลังเก็บเก่ยี วข้าวฟ่าง จึงควรนาช่อขา้ วฟา่ งไปผึ่งแดด 2-3 แดด กอ่ นการนาไปกะเทาะเมล็ด

ในกรณีท่ีไม่มีแดด หรือในช่วงฝนตก การลดความช้ืนของเมล็ดโดยใช้ความร้อนจะต้องทาให้ถูก
หลักการ ส่ิงสาคัญในการอบเมล็ดท่ีจะต้องคานึงถึงคือ ความช้ืนของเมล็ดและอุณหภูมิที่ใช้อบ เมล็ดท่ีมี
ความชื้นสูงควรอบด้วยอุณหภูมิต่าและค่อยๆ เพ่ิมอุณหภูมิให้สูงข้ึนเม่ือความช้ืนของเมล็ดลดลง อุณหภูมิ
สูงสดุ ที่ใช้อบเมล็ดไมค่ วรเกนิ 45oC ถ้าอุณหภูมิสูงไปกว่าน้ี เมล็ดจะได้รับอันตราย เช่น Radicle แตก เม่ือ
ปลูกจะทาให้ต้นอ่อนผิดปกติเกิด Abnormal seeding เมล็ดร้าวหรือเมล็ดตายได้ และจะต้องมีอากาศ
ถา่ ยเท ผา่ นกองเมลด็ ในระหวา่ งทาการอบดว้ ย

29

10. การนวดเมล็ด ควรเลือกใช้เคร่อื งมอื ท่ีถกู ต้องและเหมาะสม การใช้อัตราเร็วรอบของเคร่ือง
นวดที่สูงเกินไป จะทาให้เมล็ดแตก หรือกระทบกระเทือนเสียได้ง่าย ความช้ืนของเมล็ดก็มีความสาคัญมาก
ถา้ เมล็ดชนื้ เกินไปจะนวดไม่คอ่ ยออก และเมล็ดจะช้าเสยี หายไดเ้ หมือนกัน เคร่ืองนวดเมล็ดควรสะอาด ไม่มี
เมล็ดทผ่ี ่านการนวดมาแล้วหลงเหลอื อยู่ โดยเฉพาะขา้ วฟา่ งจากแปลงอ่นื ๆ

11. การคัดและทาความสะอาดเมล็ด ทาการคัดแยกเมล็ดโดยใช้ตะแกรงที่มีขนาดถูกต้อง
เหมาะสมต่อเมล็ดข้าวฟ่าง เพื่อจะได้ลดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด และให้ได้เมล็ดท่ีมีขนาดใหญ่
กาจัดเมล็ดท่ีมีขนาดเล็กเกินมาตรฐานและแยกสิ่งปลอมปนอ่ืนๆ เช่น เศษหิน กรวด และเมล็ดแตกออกให้
หมด

12. การตรวจสอบคุณภาพ นาเมล็ดพันธ์ุข้าวฟ่างไปทดสอบความงอก ความชื้นเมล็ด เพื่อ
นาไปบรรจุหบี ห่อต่อไป

การดาเนนิ การหลังการผลติ
1. การเก็บรักษา เมล็ดข้าวฟ่างปลูกต่างวันกันถึงแม้จะเป็นพันธุ์เดียวกัน แต่การปลูก ดูแลรักษา

เก็บเกี่ยว นวด ทาความสะอาดต่างกัน เมล็ดก็จะมีคุณภาพต่างกัน ฉะนั้น ข้าวฟ่าง lot เดียวกันควรจะมี
การปลูก การดแู ลรกั ษาที่เหมอื นกนั

สภาพของสถานทเี่ ก็บ มปี จั จัยที่สาคญั ดงั น้ี.-
1.1 อุณหภูมิ ควรเก็บในห้องท่ีมีอุณหภูมิต่า จากกฎของ Harringion “ถ้าลดความชื้นของเมล็ด

ลง 1 % หรือลดอุณหภูมิของท่ีเก็บลง 10oF จะสามารถเก็บรักษาเมล็ดไว้ได้นานเป็น
2 เทา่ ”
1.2 ความช้ืนสัมพัทธ์ของอากาศ เมล็ดพันธุ์มีคุณสมบัติ สามารถรับและถ่ายเทความช้ืนของ
อากาศไดจ้ นกวา่ จะถงึ จดุ สมดลุ ความชนื้ ในเมล็ดจะคงท่ี ดังนั้นในสถานที่เก็บรักษา จึงควร
มีความชน้ื สมั พทั ธต์ ่า เพอ่ื ความชื้นของเมลด็ จะได้ตา่ ดว้ ย

30

3.7 โรคและแมลงท่ีสาคญั ของขา้ วฟ่าง
โรคข้าวฟา่ ง
1. โรคราทเ่ี มลด็ ขา้ วฟ่าง (Head Mold หรือ Grain Mold)

ภาพที่ 16 โรคราทีเ่ มลด็ ข้าวฟ่าง (Grain Mold)

โรคราที่เมล็ดเกิดได้ง่ายเน่ืองจากประเทศไทยมีอากาศร้อนชื้น เหมาะกับเชื้อราในอากาศ จะเข้า
ทาลายและขา้ วฟ่างซง่ึ ปลกู ฤดูฝนเมื่อแก่จะพบปัญหาโรคน้ีมาก นอกจากนี้เมื่อฝนทิ้งช่วงและฝนตกในระยะ
ข้าวฟา่ งออกดอกได้ประมาณ 20-30 วัน หรือในสภาพที่มีหมอกและน้าค้างมากจะเป็นโรครุนแรงท่ีสุด เชื้อ
ราเหล่านี้สร้างสารพษิ อยใู่ นเมล็ดและผทู้ ี่รับประทานข้าวฟ่างมีเชื้อราท่ีเมล็ดทาให้ได้รับอันตรายจากสารพิษ
ของเช้ือราท่ีเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อนาไปเลี้ยงสัตว์สารพิษก็จะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารท่ีเมื่อคนนามาบริโภคก็จะ
กลบั มาสคู่ นไดอ้ ีก

สาเหตุ
โรคราทีเ่ มล็ดเกิดจากเช้ือรา 13 ชนิด แต่ชนิดที่พบมากที่สุดคือ Curvularia lunata, Fusarium

sp., Colletotrichum graminicola , Colletotrichum gloeosporioides และ Phoma sp.

ลกั ษณะอาการ
อาการโรคราท่ีเมล็ดเกิดจากสปอร์เช้ือราในอากาศ เม่ือตกลงมาบนดอกข้าวฟ่าง จะเข้าทาลาย

โดยแอบแฝงอยตู่ ้งั แต่ขา้ วฟ่างเรมิ่ ตดิ เมลด็ ใหม่ๆ ภายหลงั ผสมเกสร 2 สัปดาห์ เมื่อเมล็ดใกล้แก่มีความช้ืนใน
อากาศพอเหมาะสรา้ งสปอรท์ าใหเ้ กดิ เปน็ สีดา สีชมพู สสี ้ม ขนึ้ ปกคลมุ เมล็ดสีที่ขึ้นปกคลุมเมล็ดจะข้ึนอยู่กับ
แถบบริเวณนั้น มีราชนิดใดมาก ถ้ามี Curvularia ข้ึนปกคลุมมากจะมีสีดา ถ้าเป็นเช้ือ Fusarium ข้ึนปก
คลุมจะเห็นเปน็ สสี ม้ สชี มพู สีขาว ขึน้ อยูก่ บั species ของเชอื้ บางครัง้ เชื้อราเข้าทาลายมากกว่า 5 ชนิด ใน
1 ช่อ การเข้าทาลายของเชื้อราแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเมล็ดขาดคุณภาพ เน่ืองจากมี
สารพษิ จากเชอ้ื ราซ่ึงเป็นสารกอ่ มะเร็ง

31

การแพร่ระบาด
มีหลายวิธี เช่น ติดไปกับเมล็ด ปลิวไปตามลม ติดไปกับน้าฝน กระเด็นติดไปกับวัสดุซากพืช

ตลอดจนแพร่ไปกับพืชอาศัยตระกูลหญ้า และเข้าไปอาศัยตามเศษซากพืชอาศัยและเมื่อสภาพแวดล้อม
เหมาะสมเชอื้ ราจะแพรก่ ระจายไปตามลม
การปอ้ งกันกาจัด

1. ควรกาหนดเวลาปลูกให้เหมาะสมให้ข้าวฟ่างติดเมล็ดในขณะที่ไม่มีฝนตกชุก ไม่มีหมอกหนา
หรือปลูกขา้ วฟ่างปลายฝน จะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคได้

2. ปลกู ข้าวฟา่ งพนั ธุต์ า้ นทานโรค
3. ปลูกข้าวฟ่างให้มีระยะห่างกว่าปกติ เพ่ือให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อหมอกและน้าค้างจะ
ไดแ้ ห้งเร็ว
4. ปลูกในท่ีแดดจัดไม่มีร่มเงาของไม้ผล เช่น มะม่วง ยางพารา เพราะร่มเงาทาให้การเจริญไม่ดี
และความชน้ื สะสมอยูน่ าน
แมลงศตั รูข้าวฟา่ ง
1. บ่วั ข้าวฟ่าง (Sorghum midge) Contarinia sorghicola (Coquillettt)

ภาพที่ 17 บั่วขา้ วฟา่ ง (Sorghum midge)

ปัจจุบันได้มีการระบาดของแมลงในแปลงข้าวฟ่างเขตจังหวัดนครสวรรค์ ทาความเสียหายแก่
ผลผลิตเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหาจากแมลงดังกล่าว ได้เกิดข้ึนมาก่อนแล้วในประเทศอ่ืน เช่น ออสเตรเลีย
สหรฐั อเมริกา หรอื ประเทศในแถบแอฟรกิ า แตใ่ นประเทศไทยเพ่ิงพบการระบาดในปี 2550

32

ลกั ษณะและวงจรชวี ติ
บว่ั ข้าวฟา่ งเป็นแมลงตระกูลเดียวกบั บัว่ ขา้ ว ลักษณะเป็นแมลงตวั เล็กๆ สีส้ม หรือสีส้มอมแดง ตัว

เมีย มีลาตัวยาว 1.6 มม. ส่วนตัวผู้ลาตัวยาว 1.3 มม. ขาสีน้าตาล ปีกมีสีเทา ตัวเมียจะทาการวางไข่
ในขณะท่ีดอกข้าวฟ่างกาลงั บาน โดยสามารถวางไข่ได้ 30-120 ฟอง โดยตัวเมียสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 1 วัน
สว่ นตวั ผู้มชี วี ติ เพยี ง 2-3 ชัว่ โมง

เม่ือตัวเมียวางไข่เรียบร้อยแล้ว ไข่จะใช้เวลา 42-60 ช่ัวโมง (ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ) เพื่อฟักเป็นตัว
อ่อน หลังจากนั้นตัวอ่อนก็จะกินรังไข่ที่กาลังพัฒนาเป็นเมล็ดภายในดอกข้าวฟ่างเป็นอาหาร ในระยะตัว
ออ่ นนีใ้ ชเ้ วลา 9-11 วนั เพื่อพฒั นาเป็นดกั แด้ ดักแด้จะเปลี่ยนจากสีส้มเป็นสีดา ยกเว้น ท้องท่ียังเป็นสีส้ม
คงเดิม จากนน้ั ดักแด้ก็จะเคล่ือนตัวไปอยู่ที่ส่วนปลายของดอก เพ่ือที่จะลอกคราบใช้เวลา 2-3 วัน เม่ือลอก
คราบเปน็ ตวั เตม็ วยั แล้ว จะมคี ราบของดักแดส้ ีขาวตดิ อยู่ท่ปี ลายดอกข้าวฟา่ ง

ตัวออ่ นของบัว่ ขา้ วฟ่างสามารถมีอายไุ ด้นานถึง 3 ปี (โดยการจาศีล) จะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย เมื่อ
สภาพแวดลอ้ มและอุณหภมู ทิ ่ีเหมาะสม (อณุ หภมู ิ 26 องศาเซลเซียส)

วงจรชีวิตของบั่วข้าวฟ่าง 1 รอบ ใช้เวลา 14-16 วัน ดังนั้นใน 1 ปี สามารถขยายพันธ์ุได้หลายรอบ
ถ้าสภาพแวดลอ้ มเหมาะสม รวมทง้ั มพี ชื อาศยั หลายชนิดนอกจากขา้ วฟ่าง เชน่ หญ้าจอหน์ สันและข้าวฟ่างผี
ซ่งึ เปน็ วชั พชื ที่พบมากในปจั จุบัน

วิธีการสงั เกตและตรวจสอบแปลงขา้ วฟา่ งทมี่ กี ารระบาด
ควรทาการตรวจเช็คแปลงขา้ วฟ่างทุกวนั หรอื ทุกสองวนั ในชว่ งที่ดอกข้าวฟ่างกาลังบาน ช่วงเวลา

ท่ีเหมาะสมคือ ช่วง 09.00-12.00 น. เน่ืองจากเป็นช่วงเวลาท่ีดอกข้าวฟ่างกาลังบานและบั่วข้าวฟ่างกาลัง
จะวางไข่ในดอกข้าวฟา่ ง สามารถสงั เกตเห็นได้ด้วยตาเปลา่ หรือใชถ้ ุงพลาสติกคลุมช่อข้าวฟ่าง ปิดถุงให้แน่น
แล้วทาการเขย่าช่อข้าวฟ่าง จากนั้นนาถุงมาตรวจสอบดูว่า มีแมลงตัวเล็กๆ หรือไม่ อีกวิธีการหน่ึงคือ
สังเกตชอ่ ข้าวฟ่างทผ่ี สมแล้ว ถา้ พบว่า มีการระบาดของบั่วขา้ วฟ่างจะพบว่า มีคราบสีขาวของดักแด้ติดอยู่ท่ี
ปลายดอกข้าวฟ่าง ขา้ วฟา่ งแปลงที่ปลูกช้ากว่าแปลงอืน่ ๆ หรือแปลงที่มีต้นข้าวฟ่างงอกหลายรุ่นจะมีโอกาส
พบการระบาดของบ่ัวข้าวฟ่างคอ่ นขา้ งสงู

วธิ กี ารควบคุมและจดั การโดยใช้สารเคมี
เม่อื พบการระบาดของบ่วั ขา้ วฟา่ ง ควรจะทาการฉดี พ่นยาฆ่าแมลงเพ่ือป้องกันและกาจัดไม่ให้เกิด

ความเสียหายต่อผลผลติ ของข้าวฟา่ ง
การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ควรจะทาการฉีดช่วงที่ดอกข้าวฟ่างกาลังบานและฉีดประมาณ 2-3 คร้ัง

ห่างกัน 3-5 วันต่อครั้ง โดยสังเกตจากปริมาณของแมลงที่พบ การใช้สารเคมีเพ่ือกาจัดตัวเมียเพื่อไม่ให้
สามารถวางไข่ได้ เพราะตัวอ่อนท่ีอยู่ในดอกข้าวฟ่างจะทาให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตได้ ส่วนไข่ตัวอ่อน
และดกั แดท้ ี่อาศยั อยู่ในดอกขา้ วฟ่างจะไมถ่ ูกสารเคมีโดยตรง จะทาให้ควบคุมยาก ดังนั้นจึงต้องมีการฉีดพ่น
สารเคมซี า้ เพ่ือเป็นการกาจัดตวั เต็มวัยท่เี กดิ ขึ้นใหม่

33

สารเคมที ่สี ามารถใชไ้ ด้ ช่ือการค้า อัตราแนะนา

ชอ่ื สามัญ ไบทรอยด์ (Baythroid) 10 ซซี /ี นา้ 20 ลติ ร
Cyfluthrin เฟซไดเม็ธ 400 , คาร์เสด 10-20 ซีซี/นา้ 20 ลติ ร
Dimethoate 40 % W/V ลอสแบน (Lorban) ตามอัตราแนะนา
Chlorpyrifos 40 % W/V คาราเต้ 2.5 (Karate 2.5) 10 ซซี ี/นา้ 20 ลิตร
Cyhalothrin L. ไดอะซินอน 60 ตามอตั ราแนะนา
Diazinon แลนเนท (Lannate) ตามอัตราแนะนา
Methomyl มาลาไทออน 10-30 ซซี /ี น้า 20 ลติ ร
Malathion

2. หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง (Shoot fly) Atherigona soccata

ภาพที่ 18 หนอนแมลงวันเจาะยอดขา้ วฟา่ ง (Shoot fly)

หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง เป็นแมลงศัตรูที่สาคัญที่สุดของข้าวฟ่างในระยะต้นกล้าลง
ทาลายข้าวฟ่างตั้งแต่เร่ิมงอกจนถึงอายุประมาณ 3 สัปดาห์ โดยตัวหนอนจะเจาะเข้าไปอาศัยกัดกินท่ีจุด
เจริญเติบโตของข้าวฟ่าง ทาให้ข้าวฟ่างทุกต้นทุกแขนงที่ถูกทาลายแสดงอาการยอดเห่ียว (Dead heart)
และไม่ให้ผลผลติ ระยะวกิ ฤตการทาลายของแมลงชนิดน้ีอยู่ในช่วงข้าวฟ่างอายุ 1-2 สัปดาห์ การทาลายของ
หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่างทาให้ข้าวฟ่างสูญเสียผลผลิตประมาณ 40-60 % แมลงชนิดน้ีระบาดอยู่
ทว่ั ไปในแหลง่ ที่มกี ารปลูกข้าวฟ่างติดต่อกนั ตลอดทง้ั ปี

34

การป้องกนั กาจัด
1. ควรกาหนดวันปลูกข้าวฟ่างในแต่ละท้องท่ีให้พร้อมกันหรือใกล้เคียงกันมากท่ีสุด ข้าวฟ่างจึง

จะรอดพ้นจากการเข้าทาลายของแมลงชนิดน้ี ข้าวฟ่างท่ีปลูกล่าจะถูกทาลายอย่างหนักจากแมลงรุ่นที่สอง
เน่ืองจากแมลงศัตรชู นดิ นี้มีวงจรชวี ิต 3 สัปดาหเ์ ทา่ นัน้

2. ในแหล่งท่ีพบหนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่างทาลายอยู่เป็นประจาในฤดูปลูกควรจะหว่าน
เมลด็ ขา้ วฟา่ งใหม้ ากขึ้น เพอ่ื ชดเชยการทาลายท่สี ังเกตได้ในฤดกู ่อน โดยไม่จาเป็นต้องใชส้ ารฆ่าแมลง

3. ก่อนปลูกข้าวฟ่างควรเผาทาลายตอซังของข้าวฟ่างและวัชพืชในไร่บริเวณใกล้เคียงเพ่ือกาจัด
หนอนท่ีอาจจะอาศยั อยู่ในวชั พืชและตอซังเหลา่ นน้ั

4. ในกรณีท่ีมกี ารระบาดค่อนขา้ งรุนแรงและมีความจาเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงนั้น เกษตรกรควร
พ่นสารฆ่าแมลงคาร์โบซัลแฟนเพียงคร้ังเดียวเมื่อข้าวฟ่างอายุ 1 สัปดาห์ เพราะสามารถป้องกันกาจัดการ
ทาลายในระยะวกิ ฤตไดพ้ อดี

3. มวนออ้ ย (Sugarcane bug, Linear bugs) Phaenacantha saccharicida (Karsch)

ภาพท่ี 19 มวนอ้อย (Sugarcane bug)

มวนอ้อยเปน็ แมลงศตั รูสาคัญชนิดหนึ่งของข้าวฟ่าง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้าเล้ียงจากซอก
ใบและใต้ใบล่างๆ ตั้งแต่ข้าวฟ่างเจริญเติบโตมีอายุประมาณ 1 เดือนเป็นต้นไป ถ้าการทาลายของแมลง
ชนิดนี้เกิดขึ้นในระยะก่อนมีช่อ จะทาให้ใบข้าวฟ่างแห้งและเหลืองซีด ต้นแคระแกร็นและไม่ให้ช่อในที่สุด
แต่ถา้ การระบาดเกิดขึ้นในระยะข้าวฟ่างเร่ิมมีช่อและติดเมล็ด ใบข้าวฟ่างจะเหลืองไหม้และแห้งตายไปทีละใบ
จากโคนตน้ ขา้ วฟ่างจะไม่ค่อยติดเมล็ดหรือเมล็ดลีบซึ่งจะมผี ลต่อผลผลติ ของขา้ วฟา่ งโดยตรง

35

การป้องกันและกาจัด
1. ในไร่ข้าวฟ่างท่ีพบการระบาดของมวนอ้อยเป็นประจาในฤดูปลูก หลังเก็บเกี่ยวข้าวฟ่างแล้ว

ควรเผาทาลายตอซงั ของข้าวฟา่ งและวชั พชื ในไรแ่ ละบรเิ วณใกลเ้ คียง เพื่อกาจัดไข่รวมท้ังตัวอ่อนและตัวเต็ม
วยั ของมวนออ้ ย กส็ ามารถจะลดการทาลายของแมลงชนิดน้ใี นฤดปู ลูกต่อไปได้

2. ถ้ามีการระบาดค่อนข้างรุนแรงและมีความจาเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงควรใช้คาร์บาริล 85 %WP
อัตรา 50 กรัม ผสมน้า 1 ป๊ีบ ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งไร่ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างย่ิงบริเวณโคนต้นข้าวฟ่างและพ่น
สารฆา่ แมลงซา้ ตามความจาเป็น

4. หนอนเจาะสมอฝ้าย (Cotton Bollworm) Helicoverpa armigera

ภาพที่ 20 หนอนเจาะสมอฝา้ ย (Cotton Bollworm)

หนอนเจาะสมอฝ้ายเป็นแมลงท่ีสาคัญของข้าวฟ่าง โดยหนอนจะกัดกินดอกและเมล็ดข้าวฟ่าง
ต้ังแต่ออกจากไข่จนเข้าดักแด้ การทาลายของแมลงชนิดน้ีนับว่า ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ข้าวฟ่างท่ีมีลักษณะช่อรวงใหญ่และแน่นกาบใบติดช่อรวง เพราะนอกจากหนอนจะใช้ช่อข้าวฟ่างเป็นท่ี
อาศัยกัดกินและหลบซ่อนจากแมลงศัตรูธรรมชาติแล้ว มูลของหนอนที่ถ่ายทิ้งไว้ในช่อข้าวฟ่างยังอม
ความชน้ื เมอื่ มีเช้ือรามาขน้ึ ทาให้คุณภาพเมล็ดขา้ วฟ่างลดลง
การป้องกันและกาจัด

ปกติข้าวฟา่ งทชี่ ่อรวงท่ีค่อนข้างหลวม (Loose spikeletes) จะไม่มีปัญหากับแมลงชนิดนี้มากนัก
ถ้าปรากฏว่า มีหนอนเจาะสมอฝ้ายทาลายข้าวฟ่างในบริเวณท่ีไม่มากควรเก็บและทาลายหนอนด้วยมือ
เพราะสามารถท่ีจะทาได้ง่ายและประหยัด แต่ถ้ามีหนอนระบาดมากก็ควรจะพ่นด้วยสารฆ่าแมลงเม็ทโธมิล
90%SP อัตรา 10-15 กรัม เอ็นโดซัลแฟน 35 %FL อัตรา 40-60 มล. อย่างใดอย่างหนึ่งผสมน้า 1 ป๊ีบ
โดยพน่ เพียงครงั้ เดียวเฉพาะรวงข้าวฟา่ งและบรเิ วณที่มหี นอนระบาดเท่าน้นั

36

เอกสารอา้ งองิ

สถาบันวิจัยพืชไร่. 2537. การปลูกข้าวฟ่าง. เอกสารวิชาการการปลูกพืชไร่. กรมวิชาการเกษตร.
287 หนา้ .

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2538. สรีรวิทยา. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
213 หนา้ .

ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์. 2549. คู่มือเกษตรกร การปลูกข้าวฟ่างสีแดง ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์.
26 หนา้ .

วัลลิภา สุชาโต. 2550. คู่มือเกษตรกร การผลิตเมล็ดพันธ์ุข้าวฟ่างสีขาว ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี.
28 หน้า.

สถาบันวิจัยพืชไร่. 2542. การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
124 หน้า.

ISTA. 1993. International Rules for Seed Testing. Seed Sci. and Technol. 21:1-288.

37

บทท่ี 4

การเกบ็ รักษาเมล็ดพนั ธุ์ขา้ วฟา่ ง (Sorghum seed storage)

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เป็นกิจกรรมท่ีจาเป็นประการหน่ึงในวงจรการเพาะปลูก เน่ืองจากฤดู
ปลูกถัดไปมักจะทิ้งช่วงจากฤดูการเก็บเกี่ยว เกษตรกรจึงจาเป็นต้องเก็บเมล็ดพันธ์ุไว้ระยะหน่ึง นอกจาก
ความจาเป็นตามเง่ือนไขของเวลาแล้ว บางคร้ังยังเกิดภัยธรรมชาติ จึงจาเป็นต้องสารองเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้
เพื่อให้การเพาะปลูกดาเนินต่อไปได้ไม่ขาดสาย สาหรับข้าวฟ่างพันธุ์แท้การเก็บรักษาเมล็ดพันธ์ุมีความจา
เป็นอย่างย่ิง เพราะมีช่วงระยะเวลาการเก็บรักษาเมล็ดพันธ์ุยาวนานถึง 6 เดือน การเก็บรักษาเมล็ดพันธ์ุไว้
ใช้เองก็ดี ไว้ขายก็ดี หรือไว้ใช้ในงานวิจัยและพัฒนาก็ดี มิใช่เพียงแต่เก็บไว้ให้ปลอดภัยจากนก หนู และ
แมลงเท่านั้น แต่จะตอ้ งถนอมให้เมล็ดพนั ธุ์ยงั คงมคี วามงอกและความแข็งแรงเป็นสาคัญ

เมล็ดขา้ วฟ่างจะแกเ่ ตม็ ทีท่ ีร่ ะยะสกุ แก่ทางสรีระ (Physiological maturity) ประมาณ 30-35 วัน
หลังดอกบาน โดยสังเกตได้จากเนื้อเยื่อท่ีอยู่ใต้เปลือกเมล็ดบริเวณที่ติดกับข้ัวของฐานดอกเปลี่ยนเป็นสีดา
(Black layer) ระยะน้ีจะเป็นระยะท่ีเมล็ดมีความงอก (Germination) ความแข็งแรง (Vigour) และมี
น้าหนักแห้งสูงสุด แต่ยังมีความช้ืนค่อนข้างสูง (มากกว่า 20 %) จึงควรเก็บเก่ียวหลังจากระยะน้ีเล็กน้อย
ประมาณ 1 อาทิตย์ การเกบ็ เกี่ยวทาโดยตัดช่อขา้ วฟ่างนามาตากแดด 2-3 วัน หลังจากนั้นสีด้วยเครื่องสีข้าว
ฟ่าง นาเมลด็ มาตากแดดอกี 1-2 วันกอ่ นนาไปเกบ็ รกั ษา

ถา้ มฝี นช่วงเก็บเกย่ี วจะทาให้เมล็ดข้าวฟ่างมีคุณภาพต่า เน่ืองจากราเมล็ด (Grain mold) ซ่ึงอาจ
ทาให้เกิดสารพิษ (Mycotoxins) เช่น อัฟลาท็อกซิน (aflatoxin) ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Aspergillus flavus
หรือฟูโมนิซิน (Fumonicin) ซ่ึงเกิดจากเชื้อรา Fusarium moniliforme แต่โดยปกติไม่พบสารพิษในข้าว
ฟ่างในอัตราที่เปน็ อนั ตรายต่อการใช้เปน็ อาหารสัตว์

เมล็ดพันธ์ุเป็นสิ่งมีชีวิต หายใจโดยใช้ออกซิเจนและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ความร้อน น้า
ถ่ายเทความชนื้ กบั บรรยากาศไดจ้ นถงึ จดุ สมดลุ ข้าวฟา่ งท่ีเหมาะสมในการเก็บรักษาควรจะแห้ง โดยมีความชื้น
เมล็ดไม่เกิน 12 % เก็บไว้ในที่ท่ีมีอุณหภูมิต่า ความช้ืนสัมพัทธ์ต่า ควรวางบนช้ันวางเมล็ดพันธ์ุไม่ให้เมล็ด
พนั ธุ์สมั ผสั พ้นื โดยตรง เพราะความชืน้ จากพ้นื สามารถถา่ ยเทสเู่ มล็ดพนั ธุ์ได้

4.1 ปัจจัยท่จี าเป็นตอ่ อายกุ ารเกบ็ รกั ษาเมล็ดพนั ธ์ุ

1. ชนดิ ของพืช (Crop)

พชื มีข้อแตกต่างในเรอ่ื งพนั ธุกรรม รูปร่างลักษณะโครงสร้าง และองค์ประกอบทางเคมี ทาให้เมล็ด
พืชแต่ละชนิดมีช่วงอายุหรือธรรมชาติที่จะเก็บรักษาไว้ได้แตกต่างกัน เมล็ดพืชที่เก็บรักษาได้เรียก
Orthodox seed ซ่ึงสามารถลดความช้ืนให้ต่าลงมาได้ แตกต่างจากเมล็ด Recalcitrant seed ท่ีไม่
สามารถลดความชื้นให้ต่าลงมาได้ เช่น เมล็ดขนุน ทุเรียน ฯลฯ เมล็ด Orthodox seed จัดประเภทกว้างๆ
ได้เช่น ข้าว ผัดกาดหัวและพืชตระกูลแตง จัดเป็นพวกที่สามารถเก็บรักษาได้ดี ฝ้าย ถั่วเขียว ข้าวฟ่าง
ข้าวสาลี ข้าวโพด จัดเป็นระดับปานกลาง ส่วนพวกตระกูลถั่วมีน้ามันในเมล็ดสูง เช่น ถ่ัวเหลือง ถ่ัวลิสง
รวมท้ังพืชผักบางชนิด เช่น หอมจัดเป็นพวกท่ีรักษาไว้ได้ยาก นอกจากนี้ในพืชชนิดเดียวกันท่ีเมล็ดมีขนาด
ใหญเ่ ล็กตา่ งกันไปตามสายพันธุ์กจ็ ะมอี ายุในการเก็บรักษาทแี่ ตกต่างกนั ดว้ ย

38

2. ประวตั ิของเมล็ดพันธ์ุ (Seed history)

ประวัติของเมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยเบ้ืองต้นท่ีจะบอกให้ทราบว่า เมล็ดก่อนท่ีจะเก็บรักษา นั้นมีสภาพ
และความเป็นมาอย่างไร อันดับแรกคือ ระดับความงอกและความแข็งแรงเบื้องต้น ซึ่งเป็นปฏิภาคกลับกับ
ความเส่ือมและเป็นผลสะท้อนมาจากการปฏิบัติดูแลในระยะการปลูก การเก็บเกี่ยวจนถึงการจัดการหลัง
การเก็บเก่ียว นอกจากน้ันเป็นข้อปลีกย่อยที่สังเกตเห็นได้ เช่น มีเมล็ดแตกร้าวเสียหายหรือมีรอยถลอก
เนื่องจากการนวดหรือการปรับปรุงสภาพ มีเชื้อราสีดา เน่ืองมาจากเมล็ดถูกฝน มีโรค แมลงหรือไข่ มีเมล็ด
อ่อน ส่ิงเจือปน หรือวัชพืช หรือมีสีสันหม่นหมองเนื่องจากอายุเก่า (Aged seed) ทาให้คุณภาพและอายุ
ของเมล็ดพันธ์ุแปรเปลี่ยนไป โดยปกติการเก็บรักษาจะคัดเลือกจากเมล็ดพันธ์ุท่ีแก่เต็มท่ี มีความสมบูรณ์
ทางกายภาพ สะอาด และมีความงอกเบ้ืองต้นสูง ซ่ึงให้แนวโน้มท่ีจะเก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเมล็ดที่ด้อย
คุณลักษณะ

3. ความชน้ื ของเมล็ด (Seed moisture content)

ความช้ืนของเมล็ด เป็นปริมาณน้าท่ีมิใช่องค์ประกอบทางเคมีที่สามารถขับออกจากเมล็ดได้ ถือว่า
เปน็ ตวั แปรในสภาพการเก็บรกั ษาทีม่ ีความสาคญั เปน็ อันดบั แรก อธบิ ายได้ว่า เมล็ดท่ีมีความชื้นสูง จะมีการ
เผาผลาญอาหารสูงเพ่ิมภาวะที่เป็นอันตรายกับตัวรวมท้ังชักนาให้โรคและแมลงเข้าทาลายจึงเส่ือมคุณภาพ
ได้รวดเร็วกวา่ เมลด็ ที่แหง้ การเกบ็ รกั ษาจึงถือหลักการแรกคือ ทาเมล็ดให้แห้ง โดยยึดกฎท่ีใช้ท่ัวๆ ไปจากกฎ
Harrington Rule’s of Thumb (Harrington, 1970) “การลดความช้นื เมลด็ ลง 1 % จะทาให้เก็บรักษาได้
นานขน้ึ เป็น 2 เท่า” ซึง่ จะใช้ไดด้ ีเมอ่ื เมลด็ มคี วามชืน้ ระหวา่ ง 5-14 % ดังมีเกณฑ์ให้พิจารณาได้คร่าวๆ ตาม
ตารางท่ี 8 อย่างไรก็ตามเมล็ดพืชมีสภาพ Hygroscopic คือ สามารถที่จะรับหรือถ่ายเทความชื้นให้กับ
บรรยากาศรอบๆ ตวั จนถึงภาวะสมดลุ (Equilibrium moisture content) หากนาเมล็ดที่แห้งดีแล้วไปเก็บ
รักษาในสภาพที่มีความช้ืนสัมพัทธ์ของอากาศสูง เมล็ดก็จะดูดรับความชื้นเข้าไปและหากนาเมล็ดท่ีมี
ความชนื้ สูงไปเกบ็ ไวใ้ นทท่ี ่ีมคี วามช้ืนสัมพนั ธ์ของอากาศต่า เมล็ดก็จะคายความชื้นออก (ตารางท่ี 9) แต่เมื่อ
เก็บรกั ษาเมล็ดพชื ต่างชนดิ ไว้ที่สภาพความชืน้ สัมพัทธ์เดียวกัน แต่ละชนิดจะมีจุดสมดุลความช้ืนท่ีไม่เท่ากัน
ซึ่งจะเป็นเท่าใดนั้นข้ึนอยู่กับปริมาณของโปรตีน คาร์โบไฮเดรท เซลลูโลสและน้ามัน ที่เป็นองค์ประกอบใน
เมล็ด ดังนน้ั เรือ่ งของความช้ืนเพ่ือการเกบ็ รกั ษาจึงต้องพิจารณาทั้ง 2 ประเด็นควบคู่กัน

39

ตารางท่ี 8 ความชื้นกับอายุในการเก็บรักษาโดยประมาณของเมล็ดธัญพืช (ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง) เม่ือ
เก็บรกั ษาไว้ในอณุ หภูมิไม่เกิน 90oF

ช่วงความช้นื เมล็ดพันธุ์ อายใุ นการเกบ็ รักษาโดยประมาณ

11 - 13 % 1/2 ปี

10 - 12 % 1 ปี

9 - 11 % 2 ปี

8 - 10 % 4 ปี

(8 - 9 % สามารถเก็บรกั ษาในภาชนะอบั อากาศได้)

ท่ีมา : Harrington J.F. and J.E. Douglas (1970)

ตารางท่ี 9 เปอร์เซ็นต์ความชื้นของเมล็ดโดยประมาณในขณะท่ีสมดุลกับอากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ ใน
ระดับตา่ งๆ กนั ท่ีอุณหภูมิ 25oC

ชนิดของ ความช้ืนสมั พัทธ์ ( RH ) 75 % 90 %
15 % 30 % 45 % 60 %
เมล็ด 14.0 17.5
5.5 8.0 10.0 12.0 15.0 19.5
ธัญพชื 6.5 8.5 10.0 12.0 15.0 19.0
ขา้ ว 6.5 8.5 10.5 12.5 15.0 19.0
ข้าวสาลี 6.5 8.5 10.5 12.0
ข้าวโพด
ขา้ วฟา่ ง

ที่มา : Harrington J.F. and J.E. Douglas (1970)

40

4. อณุ หภูมิ (Temperature)

อณุ หภมู ิมบี ทบาทสาคัญต่อการเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีภายในเมล็ด การเก็บรักษาในที่อุณหภูมิสูง
จะเรง่ กจิ กรรมในเมลด็ ทาใหม้ อี ตั ราการหายใจสูง ผลท่ีตามมาคือ เมล็ดจะสูญเสียความงอกได้เร็ว ในเร่ืองนี้
มีกฎที่ใช้ทั่วๆ ไปจากกฎของ Harrington Rule’s of Thumb (Harrington, 1970) “การลดอุณหภูมิของ
โรงเก็บลง 10oF จะทาให้อายุการเก็บรักษาเพ่ิมข้ึนเป็น 2 เท่า” ซึ่งจะใช้ได้ดีในช่วงของอุณหภูมิระหว่าง
32oF - 112oF เช่นกัน อิทธิพลของอุณหภูมิและความช้ืนที่มีต่ออายุในการเก็บรักษา สามารถชดเชยและ
สนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น เมล็ดที่มีความช้ืนต่าที่เก็บรักษาไว้ท่ีอากาศร้อนอาจจะมีชีวิตอยู่ได้นาน พอกัน
กบั เมลด็ ท่ีมคี วามชื้นสูง แต่เก็บในท่ีเย็นในสภาพท่ีท้ังร้อนและชื้น นอกจากจะไม่มีผลดีกับเมล็ดแล้ว กรณีท่ี
ความชื้นของเมล็ดสงู ถงึ 12-14 % จะเอือ้ อานวยต่อการเจริญของเชอื้ รา รวมทั้งการเกิดพิษจากสารเคมีท่ีใช้
คลุกเมล็ด (ตารางที่ 10) สภาพที่ดีท่ีสุดสาหรับการเก็บรักษาคือ พยายามลดความช้ืนของเมล็ดให้ต่าแล้ว
เก็บในที่อากาศเย็นและแห้ง ซ่ึงยังมีกฎข้อสุดท้ายเพิ่มเติมอีกว่า สภาพเก็บรักษาดีที่สุดควรให้มีผลบวกของ
ความช้ืนสัมพัทธ์และอณุ หภมู ิ (เป็น oF) ไม่เกิน 100 (ตารางที่ 11) อย่างไรก็ตามการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ใน
เขตร้อนชน้ื เชน่ ประเทศไทยให้มีคุณภาพดีได้นาน นับว่า เป็นเรื่องท่ีท้าทาย เนื่องจากมีสภาพอากาศร้อน
และความชืน้ สมั พทั ธ์คอ่ นขา้ งสูง เมลด็ พันธจุ์ งึ มอี ายกุ ารเก็บรักษาในสภาพท้องถิ่นท่ีไม่มีการควบคุมส้ันกว่า
ในประเทศเขตอบอุน่

ตารางท่ี 10 ระดับความชื้นของเมล็ดกบั ผลเสยี ท่เี กิดขึ้นในระหวา่ งการเก็บรกั ษา

ระดับความช้ืนเมล็ดพันธ์ุ สภาพทเ่ี กดิ

สงู กว่า 40 - 60 % - เมลด็ เรมิ่ งอก

สงู กวา่ 18 - 20 % - มีความรอ้ นสะสมในกองเมลด็

สงู กวา่ 12 - 14 % - เชอ้ื ราเข้าทาลายท้งั ภายนอกและในเมล็ด

สงู กว่า 12 - 14 % - การรมด้วยสารเคมีเป็นอันตรายกับความงอก

สงู กว่า 8 - 9 % - แมลงเข้าทาลายและมกี ารขยายพนั ธ์ุ

สงู กวา่ 5 - 10 % - ไม่ปลอดภยั ต่อการเก็บในภาชนะปิดสนทิ

ที่มา : Harrington J.F. and J.E. Douglas (1970)

41

ตารางที่ 11 เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธ์ุข้าวฟ่างหลังจากการทดลองเก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิ
และความชนื้ สัมพัทธร์ ะดบั ต่างๆ

ความช้ืน อุณหภมู ิ จานวนเดือนท่ีเก็บรักษา

สมั พทั ธ์% oF 0 2 4 6 8 10 12

20 50 95.2 93.5 94.2 95.7 95.7 94.7 96.5

68 95.2 94.0 94.2 94.7 95.0 96.5 95.7

86 95.2 93.2 92.5 95.2 93.0 94.0 94.5

40 50 95.2 94.2 93.7 95.0 95.0 96.2 95.0

68 95.2 93.0 93.7 92.7 93.7 93.0 94.7

86 95.2 93.0 93.7 95.5 93.2 95.2 92.0

60 50 95.2 93.2 93.2 95.2 93.5 94.5 97.2

68 95.2 92.2 94.5 94.7 95.0 93.7 97.2

86 95.2 92.5 94.2 89.2 89.5 86.2 75.2

80 50 95.2 92.7 92.3 56.7 47.5 44.5 38.0

68 95.2 56.5 47.2 39.2 10.5 0.0 0.0

86 95.2 45.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0

100 50 95.2 85.5 44.0 22.7 0.0 0.0 0.0

68 95.2 41.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0

86 95.2 1.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0

ที่มา : J.C. Delouche et al., (1973)


Click to View FlipBook Version