The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือผ้าลายโบราณชาติพันธู์ผู้ไท
จัดทำโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหาร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by otopmukdahan7, 2022-04-11 22:51:30

หนังสือผ้าลายโบราณชาติพันธู์ผู้ไท

หนังสือผ้าลายโบราณชาติพันธู์ผู้ไท
จัดทำโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหาร

Keywords: ผ้าลายโบราณ

คำนำ

เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

และเพื่ออนุรักษ์ผ้าไทย ให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดิน โดยชาวจังหวัดมุกดาหารส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าผู้ไท ที่ยังคง

อนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการเก็บรวมรวมผ้าโบราณที่สะสมมาตั้งแต่รุ่น

บรรพบุรุษ รวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งผ้าโบราณ

แต่ละผืนมีลวดลายการมัดหมี่ของช่างทอผ้าสมัยโบราณ ปัจจุบันจึงมีการนำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่น

นำองค์ความรู้มาพัฒนาเป็นอาชีพ เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน ส่งผลต่อการพัฒนา

เศรษฐกิจฐานราก

จังหวัดมุกดาหารได้จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ "ผ้าลายโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท" เพื่อเป็นสื่อในการ
ประชาสัมพันธ์มรดกทางภูมิปัญญาของชาวมุกดาหาร ซึ่งเป็นของสะสมที่ทรงคุณค่า มีอัตลักษณ์ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นของชาติพันธุ์ผู้ไท ให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหาร

สารบัญ หน้า
1
พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ 2
ชาติพันธุ์ผู้ไท 3-12
ผ้าโบราณ 13-114
ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท
ที่อยู่ติดต่อ 115
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหาร

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ

ในอดีตเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา “ป้าวึ” เป็นผู้ที่มีใจรักในการเก็บสะสมผ้าลายโบราณโดยมีวิธีการจัดเก็บโดยใช้ถุง
กระสอบปุ๋ยในการรวบรวมผ้า ซึ่งผ้าลายโบราณที่ป้าวึได้เก็บสะสมนั้น ล้วนเป็นผ้าที่อยู่ภายในชุมชนถิ่นกำเนิดของ
ป้าวึเอง ป้าวึจึงมีความผูกพันและมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้ามาตั้งแต่เล็กจนโต โดยเรียนรู้จากการซึมซับ
ของบุพการีของป้าวึ ในช่วงเว้นว่างจากการทำเกษตรกรรม (ดำนา) กิจกรรมที่มักจะเกิดขึ้นภายในครอบครัว คือ
การทอผ้าและเป็นเช่นเดียวกันทั้งชุมชนระแวกนั้น ชาวบ้านต่างเห็นว่าป้าวึเป็นบุคคลที่มีใจรักในการสะสมและทอ
ผ้าเป็นชีวิตจิตใจ ชาวบ้านจึงได้มอบผ้าลายโบราณต่าง ๆ ทั้งผ้าทอใหม่ ผ้าที่ใช้แล้ว รวมไปถึงผ้าที่ชำรุด ส่งมอบ
แก่ป้าวึต่อเพื่อให้ป้าวึได้เก็บและดูแลรักษาต่อไป

ต่อมา ป้าวึเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เริ่มมีนักเรียน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา จากสถาบันต่างๆ เข้ามา
ศึกษาเรื่องผ้าลายโบราณกับป้าวึ ทำให้ป้าวึได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เพื่อ
ประกอบการศึกษาต่อไป ภายหลังจากนั้นป้าวึได้เริ่มมีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณขึ้น มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช
2554 จนถึงปัจจุบัน โดยใช้งบประมาณของตนในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้น ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ผ้าลายโบราณ มี
ผ้าลายโบราณสะสมทั้งสิ้น 264 ผืน




นางสาวนรินทิพย์ สีหะตา (ป้าวึ)
ป้าวึเป็นปราชญ์ด้านการมัดหมี่และถอดลวดลายผ้าโบราณ
ที่เกิดจากบรรพบุรุษเพื่ออนุรักษ์ลวดลายผ้าโบราณสืบสา

ภูมิปัญญา ท้องถิ่นโดยการส่งต่อให้กับทายาทในชุมชน และฝึกฝน
ให้เยาวชนรุ่นหลังในชุมชนที่มีความสนใจได้เรียนรู้และรักษาให้
ลวดลายผ้าโบราณที่มีต้นแบบมาจากบรรพบุรุษได้ดำรงไว้ ทั้งนี้ป้าวึ
ยังเปิดบ้านเป็น “พิพิธภัณฑ์บ้านผ้านรินทิพย์” เพื่อเป็นแหล่ง
รวบรวมผ้าลายโบราณซึ่งมีมากว่า 230 ลาย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่ง
ที่ศึกษาเรียนรู้กระบวนการทอผ้า ย้อมคราม มัดหมี่ ให้กับเยาวชน
และประชาชนทั่วไปได้นำความรู้ไปประกอบอาชีพ

ที่อยู่
บ้านเลขที่ 203 หมู่ที่ 6 ตำบล หนองสูงเหนือ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
เบอร์โทรศัพท์ 087 -2290304

1

ชาติพันธุ์ผู้ไท

“ผู้ไท” จัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสอง รองจากกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ

ประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยในจังหวัดสกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ บางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดมุกดาหาร อำนาจเจริญ

และยโสธร ภาษาพูดของชาวภูไทอยู่ในกลุ่มตระกูลไต-กะได มีการแต่งกาย ประเพณี วัฒนธรรม และภาษาพูดเป็นเอกลักษณ์

ของตนเอง นิยมเรียกแทนกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองว่า “ภูไท” หรือ “ผู้ไท” ส่วนความหมายของชื่อเรียกนั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน

อยู่ว่าหมายถึงอะไรหรือมีที่มาจากสิ่งใดกันแน่ เมื่อความหมายเกี่ยวกับชื่อยังคงเลื่อนไหลจึงมักมีผู้รู้พยายามคาดการณ์

สันนิษฐานจากข้อมูลหลายชุด ชาวผู้ไทมีลักษณะความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ในบ้านเดียวกัน เป็นกลุ่มคนทำงานที่มี

ความขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ ทำงานได้หลายอาชีพเช่น ทำนา ทำไร่ ค้าวัว ค้าควาย นำกองเกวียนบรรทุกสินค้าไปขายต่างถิ่น

เรียกว่า ‘นายฮ้อย’ เผ่าผู้ไทเป็นกลุ่มที่พัฒนาได้เร็วกว่าเผ่าอื่น มีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้มแข็งในการปกครอง มีหน้า

ตาที่สวย ผิวพรรณดี กริยามารยาทแช่มช้อย มีอัธยาศัยไมตรีในการต้อนรับแขกแปลกถิ่นจนเป็นที่กล่าวขวัญถึง วัฒนธรรม

ประเพณีเผ่าผู้ไทมีเอกลักษณ์เป็นจุดเด่นหลายประเภท เช่น การแต่งทำนองดนตรี เรียกว่า ‘ลายเป็นเพลงของผู้ไท’ มีบ้าน

แบบผู้ไทคือ มีป่องเอี้ยม เป็นช่องลม มีประตูป่อง หน้าต่างยาวจรดพื้น มีห้องภายในเรือนเป็นห้องๆ ที่เรียกว่า ‘ห้องส่วม’

นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรมการทอผ้าห่มผืนเล็กๆ ใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาวใช้คลุมไหล่ เรียกว่า ผ้าจ่อง นอกจาก

นี้แล้วยังมีผ้าแพรวา ใช้ห่มเป็นสไบ ซึ่งมีแหล่งใหญ่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และมีผ้าลาย ใช้เป็นผ้ากั้นห้อง

หรือห่มแทนเสื้อกันหนาวได้ ประเพณีที่สำคัญของเผ่าผู้ไทซึ่งถือกันแต่โบราณ ได้แก่ การลงข่วง พิธีแต่งงาน การทำมาหากิน

การถือผี และการเลี้ยงผี

วัฒนธรรมการแต่งกาย
โดยลักษณะทางสังคม ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยันและอดออมเป็นพิเศษและมีวัฒนธรรมในเรื่องการถักทอ

เสื้อผ้าเด่นชัดจึงปรากฏเสื้อผ้าชนิดต่างๆทั้งฝ้าฝ้ายผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท (ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวานับว่ามีวัฒนธรรม
เรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมาก

ผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มภูไทที่เด่นชัด คือ การทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อเป็นผืนเดียวกับผ้าผืน เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง 4
ถึง 5 นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า ตีนเต๊าะ เป็นที่นิยมในหมู่ภูไท ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาว
บ้านเรียกว่า?ผ้าดำ? หรือซิ่นดำ ลักษณะเด่นของซิ่นหมี่ชาวภูไท คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็กๆ นอกจาก
นี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาคั่นไว้ สีที่นิยม
คือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูกฝ้ายสีเปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำในกลุ่มผู้ไทย
เสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์
สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อม ครามเข้มใน ราว พ.ศ. 2480 โดยมีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อ
ปลายแขนเพื่อใช้ในการฟ้อนภูไทสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

2

3

1รูปที่ ผ้าโบราณ

ผ้าสมปักปูมท้องเลี่ยน

สมัยโบราณถือเป็นผ้าส่วยของหลวง
ที่มาจากเมืองเขมร ใช้เป็นผ้าหลวงเอาไว้
พระราชทานให้เป็นเครื่องยศแก่ขุนนาง มี
ลวดลายต่างๆ ตามตำแหน่งยศศักดิ์ และ
ถือเป็นผ้าชนิดดีที่สุด ที่ใช้พระราชทาน

โดยผ้าผืนที่อยู่ในครอบครองของป้าวึ
เป็นผืนที่รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทาน ให้
พระไกรสรราช (สิงห์ ไตรยวงค์) เจ้าเมือง
หนองสูงองค์แรก ในปี พ.ศ. 2387

4

2รูปที่ ผ้าโบราณ

ผ้ารายสุด (ผ้าแม่มาน)

เป็นผ้าโบราณสมัยก่อน ทำจากเส้นใย
ฝ้ายธรรมชาติ ใช้เป็นผ้าห่อเด็กทารกแรกเกิด
เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีผ้าอ้อม ชาวบ้านจึง
จำเป็นต้องทอผ้าให้มีความนิ่มและบาง เพื่อใช้
ห่อเด็กทารก

ซึ่งในปัจจุบันป้าวึ ก็ยังอนุรักษณ์ไว้เพื่อให้
คนรุ่นหลังได้ศึกษา

*แม่มาน หมายถึง หญิงตั้งครรภ์

5

3รูปที่ ผ้าโบราณ

ผ้าจ่องดำ

ผ้าจ่องดำ เป็นผ้าที่ถักทอตามความเชื่อ
วัฒนธรรมสมัยโบราณ ทุกบ้านจะต้องมีผ้า
จ่องดำเมื่อมีงานศพ งานขาวดำ จะมีการนำ
ผ้าจ่องดำมาคลุมไว้ โดยมีความเชื่อว่าจะไม่
ทำให้เกิดการสูญเสียอีก แต่ในปัจจุบันไม่มี
การนำผ้าจ่องดำมาใช้แล้ว

6

4รูปที่ ผ้าโบราณ

ผ้าจ่องแดง

เป็นผ้าโบราณสมัยก่อน ใช้เป็นผ้า
ห่อบาตรนาค ตอนบวช

7

5รูปที่ ผ้าโบราณ

ผ้าม่วง

ผ้าไหมสีพื้น มีลายคั่นตรงเชิงผ้า ผ้า
สำหรับเจ้านาย และข้าราชการใช้นุ่งห่ม เป็น
ผ้าไหมโบราณ เอาไว้ใช้นุ่งโจงกระเบน ส่วน
มากจะทอให้มีความยาว 3 เมตร

8

6รูปที่ ผ้าโบราณ

ผ้าเก็บจากไม้เหล่าแร้ง

เก็บ = การทำลาย
ผ้าเก็บจากไม้เหล่าแร้ง = ผ้าที่เก็บลวดลาย
จากไม้เหล่าแร้ง

นำไม้เหล่าแร้งมาเก็บลายตามที่เรา
ต้องการ เมื่อได้ลายแล้วช่างทอก็จะสลัด
ลายทิ้ง

9

7รูปที่ ผ้าโบราณ

ผ้าไหมสีประโด

เป็นผ้าสำหรับผู้หญิง เป็นคลุ่มไหล่
ใส่เบี่ยงข้าง สามารถใช้เป็นยกทรงขอคน
สมัยก่อน/กระโจมอก...

10

8รูปที่ ผ้าโบราณ

ซิ่นทิวไหม

เป็นผ้าของชาติพันธุ์ภูไทที่ใส่ในงาน
สำคัญต่างๆ

11

9รูปที่ ผ้าโบราณ

ซิ่นทิวฝ้าย

เป็นผ้าซิ้นที่เส้นยืนเป็นไหม เส้นพุ่ง
เป็นฝ้าย เป็นผ้าที่ใส่ในชีวิตประจำวันของ
ชาวบ้าน

12

รูปที่ 10 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ผ้าซิ่นคั่นขอ

คนสมัยก่อนจะทำซิ้นคั่น แล้วทำตีน
ซิ้นใส่สลับสีได้หลายสี ทำซิ้นเสร็จแล้วจึง
ต่อตีนซิ้น

13

รูปที่ 11 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ผ้าซิ่นคั่นลายนาค

ทำซิ้นเสร็จแล้วจึงต่อตีนลายนาค

14

รูปที่ 12 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ผ้าซิ่นคั่นลายนาคน้อย

การทำซิ้นคั่นจะไม่นิยมทำลายใหญ่ จึง
ทำลายนาคน้อยและต่อตีน

15

รูปที่ 13 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ซิ่นคั่นลายกุ้งน้อย

จินตราการจากสัตว์น้ำ บ่งบอกถึง
ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร

16

รูปที่ 14 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายหางปลาปาก

เป็นการบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์
ของท้องถิ่นโดยการเลือกนำบริเวณห่าง
ปลามาทำลวดลาย

* ปลาปาก หมายถึง ปลาตะเพียน

17

รูปที่ 15 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายหมี่ลำพอง

ลำ = เรียกสิ่งที่มีลักษณะยาวกลมบาง
อย่าง

พอง = ทำให้โป่ง หรือฟูขึ้น
เกิดจากจิตนาการจากลำพอง เป็น
ลวดลายในจินตนาการของช่างทอ

18

รูปที่ 16 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายแมงกะบี้จับเครือ

เป็นจิตนาการของช่างทอ ที่นำเอา
รูปร่างของแมงกะบี้(ผีเสื้อ) มาเป็น
ลวดลายในผ้า ประกอบกับลวดลายของ
เครือ

* แมงกะบี้ หมายถึง ผีเสื้อ

19

รูปที่ 17 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายผักแว่น

เป็นจิตนาการของช่างทอ ที่นำเอารูป
ร่างของผักแว่น(ใบบัวบก) มาเป็นลวดลาย
ในผ้า

* ผักแว่น หรือผักใบบัวบก เล็ก

20

รูปที่ 18 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายต้นสน

เป็นจิตนาการของช่างทอ ที่นำเอารูป
ร่างของต้นสน มาเป็นลวดลายในผ้า

21

รูปที่ 19 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายนาค

เป็นจิตนาการของช่างทอ และเป็น
ลวดลายผ้าของกลุ่มประเทศในภูมิภาค
เอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ
เป็นการแสดงสัญลักษณ์ตามคติความเชื่อ
ของแต่ละประเทศ ในเรื่องของ "นาค" หรือ
"พญานาค"

* นาค หรือพญานาค

22

รูปที่ 20 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายตุ้มเหลี่ยม

เป็นลายหลักของชาติพันธุ์ภูไท

23

รูปที่ 21 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายตุ้มเครือ

เวลาทำลายตุ้มแล้ว จะนิยมนำเครือมา
เป็นลายประกอบของลายตุ้ม

24

รูปที่ 22 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายตุ้มหางคู่

ลักษณะของห่างตุ้มจะยาว

25

รูปที่ 23 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายตุ้มดอกวี

เน้นที่ลายแต่นำดอกวีมาประกอบ

26

รูปที่ 24 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายตุ้มใจป่อง

เป็นการทำลายตุ้มที่ออกแบบให้
ภายในตุ้มมีช่องว่าง มีลักษณะเป็นรู

27

รูปที่ 25 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายตุ้มประกบ

นำตุ้มมาประกบกัน

28

รูปที่ 26 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายตุ้มเปียกปูน

ทำลายตุ้มและทำลายเปียกปูนประกอบ

29

รูปที่ 27 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายต้างขจร

เป็นลายที่ทำขึ้นจากตุ้มหูโบราณลาย
ดอกขจร

* ต้าง หมายถึง ต่างหู

30

รูปที่ 28 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายนาคขด

เน้นลำตัวของนาค จะเป็นเครือแล้ว
ขด ไม่เน้นหัวนาค แต่จะเน้นลำตัว

31

รูปที่ 29 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายดอกซ้อน

เป็นลายที่ทำจากดอกซ้อน

32

รูปที่ 30 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายดอกกระบวน

เป็นลวดลายในจิตนาการของช่างทอ

* ดอกกระบวน คือ ดอกไม้ในจินตาการของช่างทอ

33

รูปที่ 31 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายโจก

อาจเห็นลายที่มาจากเหยือกเบียร์ของ
ทหารฝรั่งเศษที่มาตั้งฐานทัพบริเวณใกล้
สนามบินชั่งทองในอดีต

* โจก หมายถึง แก้วน้ำ

34

รูปที่ 32 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายขัน

เป็นขันดอกไม้ผีเสื้อ ขนทรงคล้ายขับ
ฝรั่ง เกิดขึ้นพร้อมลายโจก เกิดขึ้นที่อำเภอ
หนองสูงที่เดียว ใครได้ใส่

35

รูปที่ 33 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายข้าวหลามตัด

ทำลวดลายที่พบ

36

รูปที่ 34 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายขอนอนเครือ

เป็นลายที่ทำเอียงและมีเครือเป็นส่วน
ประกอบ

37

รูปที่ 35 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายกะปู

ส่วนมากจะเป็นลายที่จินตนาการจากปู
โดยเน้นส่วนขา

* กะปู หมายถึง ปู

38

รูปที่ 36 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายกระเช้าสีดา

เป็นการจินตนาการพระนางมัดทรี เอา
กระเช้านี้ไปเก็บผลไม้

39

รูปที่ 37 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายนาคก้นตี่

ช่างทอจินตนาการ นาคสองตัวหันหลัง
ใส่กัน

* ตี่ หมายถึง ถ่างออก

40

รูปที่ 38 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายหมากส้านน้อย

ลายในจินตนาการแล้วตั้งซื้อตามที่คิด

* หมากส้าน คือ บ่าส้าน

41

รูปที่ 39 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายนาคหัวโพ๊ะ

เป็นลายที่เน้นหัวของนาค โดย "โพ๊ะ"
มีความหมายว่า "ใหญ่" จึงเรียกลายผ้าว่า
"ลายนาคหัวโพ๊ะ"

42

รูปที่ 40 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายตุ้มเจือป่อง

เน้นลายตุ่มเป็นพื้นฐานแล้วปล่อย
ช่องว่าง

43

รูปที่ 41 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายเครือตุ้มเต่าน้อย

มองว่าทำให้เป็นเต๋า หลังเต๋า และก็ทำ
เป็นเครือลงมา

44

รูปที่ 42 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายนาคน้อยจับเครือ

เป็นการทอลายนาคตัวเล็กๆ โดยคั้น
ด้วยลายเครือ มีนาคตัวเล็กๆล้อมรอบเป็น
พันๆ ตัว

45

รูปที่ 43 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

รูปที่

ลายพวงมาลัยเครือตุ้ม

ทำพวงมาลัยอยู่ชั้นในแล้วนำลายตุ้ม
มาประกอบกันขึ้นไปเป็นเครือ

46

รูปที่ 44 ลายผ้าโบราณชาติพันธุ์ผู้ไท

ลายผักอีฮีน

ทำลายที่เห็นจากผักอีฮีนซึ่งเป็นอาหาร
ของคนโบราณ

* ผักอีฮีน หมายถึง ผักขาเขียด

47


Click to View FlipBook Version