The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by naiyana2523, 2022-01-29 04:01:34

รวมเล่ม วันที่ 29 มกราคม 2565

๓๗



(๕) การใช้กลไกทางกฎหมาย รูปแบบนี้ไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชน

โดยตรงแต่เป็นลักษณะของการเรียกร้องและป้องกันสิทธิของตนจากการไม่ได้รับความเป็นธรรม เพื่อให้

ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่คิดว่าควรจะได้รับ ในรัฐธรรมนูญได้ให้หลักการเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน

ไว้ในหลายมาตรา ซึ่งประชาชนสามารถใช้สิทธิของตนตามรัฐธรรมนูญทั้งในรูปของปัจเจก และในรูป

ขององค์กรตามที่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้น



๓.๒ แนวคิดการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)


การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance) เป็นการจัดการบริหาร

ราชการแผ่นดินตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งจะนำไปสู่ระบบราชการที่มีคุณลักษณะ

สำคัญตามหลักธรรมาภิบาล คือ เป็นระบบราชการที่มีความสุจริตโปร่งใส เปิดเผยข้อมูล เที่ยงธรรมและ

มีการบริหารงานที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมุ่งประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ


๓.๒.๑ ความหมายการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

ความหมายหรือนิยามของ “การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

นั้น มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น

เศรษฐิยา เปรื่องพิชญาธร ให้ความหมายว่า หมายถึง การบริหารราชการที่เจ้าหน้าที่

หรือหน่วยงานของรัฐได้เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้

เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการบริหารและดำเนินงานของรัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อที่จะ

ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

อรพินท์ สพโชคชัย ให้ความหมายว่า หมายถึง การจัดระบบการบริหารราชการ ขั้นตอน

วิธีการปฏิบัติงาน และโครงสร้างของการตัดสินใจในการบริหารราชการ ให้เป็นระบบที่เปิดให้ประชาชน
ได้เข้ามามีส่วนร่วม (Public Participation) ในพันธกิจขององค์กรภาครัฐมากขึ้น องค์กรภาครัฐที่มี

ระบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมจะดำเนินการให้บริการสาธารณะและการตัดสินใจเชิงนโยบาย

ในมิติที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เน้นความเปิดเผยและโปร่งใสให้ความสำคัญในการ

พัฒนาและสรรหาข้าราชการและบุคลากรทุกระดับ โดยยึดถือหลักปรัชญาการมีส่วนร่วมของประชาชน

และเป็นบุคลากรที่มีคุณลักษณะดังนี้ คือ มีจิตสาธารณะมีความเป็นประชาธิปไตย เคารพในสิทธิขั้น





๕ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (๒๕๖๐) การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม:เทคนิควิธีและการ
นำไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, หน้า ๑๕-๑๘.

๓๘



พื้นฐานของประชาชน เปิดกว้างพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และปฏิบัติงานเพื่อ

ประโยชน์สุขของประชาชน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา ให้ความหมายว่า หมายถึง การบริหารราชการที่นำผู้มี

ส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน การตัดสินใจ การ

ดำเนินงานและการประเมินผล โดยมีการจัดระบบงานหรือวิธีการทำงาน การจัดโครงสร้าง และการสร้าง

วัฒนธรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เอื้อต่อการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่
เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ

การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม จึงเป็นแนวคิดในการบริหารราชการที่ให้ความสำคัญ

กับการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเน้นการปฏิบัติงานที่ให้ภาคประชาชนเข้ามามี

บทบาทในลักษณะหุ้นส่วนที่ครอบคลุม ตั้งแต่การริเริ่มการดำเนินงานหรือดำเนินโครงการ การจัดทำ

งบประมาณโครงการ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ การติดตามตรวจสอบ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน



๓.๒.๒ ประโยชน์ของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม


การปรับเปลี่ยนการบริหารราชการของหน่วยงานภาครัฐ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้า

มามีส่วนร่วมในลักษณะของหุ้นส่วน การพัฒนาภายใต้แนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมการมีส่วน

ร่วมของประชาชน และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐใน

หลายประการ ได้แก่

๑. การตัดสินใจที่มีคุณค่าและความหมาย (Meaningful decision) เพราะภาค

ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ แผนงาน การใช้งบประมาณ

๒. การใช้ทรัพยากร (Public resources) อย่างรอบคอบ เพราะภาคประชาชนเข้ามามี

ส่วนในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
๓. ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา

สาธารณะต่างๆ ทำให้แนวทางเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนเมื่อนำไปปฏิบัติ และได้รับการยอมรับ ซึ่งทำ

ให้ภาครัฐไม่ต้องทำงานในลักษณะโดดเดี่ยวต่อไป

๔. การทำงานในลักษณะหุ้นส่วน (Partnership) โดยภาครัฐปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้

ประสานและอำนวยความสะดวก (Facilitator) ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทภาครัฐในการบริหารราชการยุค

ใหม่ทำให้รัฐสามารถลดขนาดลง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะมีหุ้นส่วนการพัฒนามา

ช่วยแบ่งเบาภาระด้านค่าใช้จ่าย บุคลากร และงบประมาณ

๓๙



๕. ความสามารถในการให้บริการที่ดีขึ้น เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของ

ประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ทั่วถึงและตรงจุดมากขึ้น เช่น การสาธารณสุข การศึกษา

เป็นต้น

๖. ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและประชาชนมีความไว้วางใจเป็นพื้นฐานอันเป็นผลสืบ

เนื่องมาจากการได้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำและร่วมรับผลประโยชน์ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ข่าวสารและองค์ความรู้อย่างเปิดเผยระหว่างกัน
กล่าวโดยสรุป จากพัฒนาการของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ส่งผลให้แนวคิดการมี

ส่วนร่วมของประชาชน และแนวคิดการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจ

และให้ความสำคัญในการนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐในปัจจุบัน ซึ่ง

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของประชาชน และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เป็น

แนวคิดที่ต่างมีความหมายและนิยามที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามก็มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน

โดยต่างก็มีคำอธิบายที่แสดงให้เห็นและได้คำตอบที่คล้ายคลึงกัน ดังจะเห็นได้จากการมีส่วนร่วมของ

ประชาชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ด้วยระบบประชาธิปไตยนั้นได้ถูก
ปลูกฝังไว้ว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ถ้าขาดประชาชนก็ไม่มี

ประชาธิปไตย ในขณะเดียวกันระบบประชาธิปไตยจะพัฒนาก้าวเดินไปข้างหน้านั้น การบริหารราชการก็

ต้องมีการจัดระบบการบริหารจัดการที่เป็นการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งการจะบรรลุผลได้ต้อง

สร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยสามารถ

แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และเชื่อมโยงระหว่างกันในสามมิติ ได้แก่ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

(Participatory Democracy - PD) การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance -

PG) และการมีส่วนร่วมของประชาชน (PublicParticipation - PP)




๓.๓ แนวคิดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
แนวคิดหลักธรรมาภิบาล หรือ Good Governance หรือตามกฎหมายใช้คำว่า

“การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี” นั้น ตามกฎหมาย กล่าวคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร

ราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้นำหลักการดังกล่าวมากำหนดไว้ โดยมีความหมายและหลักการสำคัญ ๆ ดังนี้






๖ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒

๔๐



๓.๓.๑ ความหมายของธรรมาภิบาล (Good Governance)

ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญใน

การจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่าย

ปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมีความรู้รักสามัคคีและร่วมกัน

เป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ

เพื่อบรรเทาป้องกันหรือ แก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติภยันตรายที่อาจจะมีมาในอนาคตเพราะสังคมจะรู้สึก
ถึงความยุติธรรม ความโปร่งใสและความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็น

มนุษย์ และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สอดคล้องกับความ

เป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน



๓.๓.๒ หลักการพื้นฐานของการสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร

การส่งเสริมให้เกิดกรสร้างธรรมาภิบาลนั้น มาจากความร่วมมือของทั้งสถาบันทั้งภาครัฐ

ภาคเอกชนและประชาสังคม บทบาทของรัฐที่สำคัญนั้น คือ รัฐเป็นผู้มีบทบาทในการวางรากฐาน
และรักษากฎระเบียบต่าง ๆ การสร้างธรรมาภิบาลของรัฐนั้นจำเป็นต้องอาศัยระบบการจัดการภาครัฐ

ที่มีประสิทธิภาพ มีภาระรับผิดชอบภายใต้กฎหมาย และนโยบายที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ดังนั้น จึงมีความ

จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องมีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มี

ประสิทธิภาพ และรับผิดชอบภายใต้กรอบของกฎหมาย ซึ่งจุดมุ่งหมายในการสร้างธรรมาภิบาล

ของภาครัฐนั้น จะต้องพยายามปฏิรูปการบริหารจัดการให้ถูกต้องตามหลักเหตุผล และหน้าที่ มีระบบ

ความรับผิดชอบด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ และให้มีความโปร่งในการปฏิบัติงาน ยกระดับความ

ชำนาญของภาครัฐให้มีความทันสมัย เป็นต้น ส่วนบทบาทขององค์การภาคเอกชนและบทบาทของ

ประชาสังคม ที่มีต่อการสร้างธรรมาภิบาล คือ การรวมตัวกันของสาธารณชนในการต่อต้านการทุจริต

และการประพฤติมิชอบ โดยรัฐควรมีการหามาตรการที่จะกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงการทำผิด
จรรยาบรรณ เป็นต้น

สำหรับหลักการพื้นฐานของธรรมมาภิบาลในองค์กรตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า

ด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบไปด้วย หลักนิติธรรม

หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

๑. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ

ซึ่งรวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติการไม่ทำตามอำเภอใจ การไม่ละเมิดกฎหมาย และการไม่ละเมิดสิทธิของ
ผู้อื่น

๔๑



๒. หลักคุณธรรม (Morality) คือ การยึดมั่น ถือมั่นในคุณธรรมความดีงาม ความ

ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมรวมถึงมีความซื่อสัตย์จริงใจ และยึดมั่นในความสุจริตคุณธรรมเป็น

แนวทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต ทั้งความประพฤติและจิตใจซึ่งแต่ละสังคมกำหนดและยอมรับปฏิบัติ

กัน เช่น ชื่อสัตย์อดทน เมตตากรุณา เสียสละ เป็นต้นในระดับกิจการ หลักคุณธรรม คือ การทำธุรกิจ

ด้วยความมีจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง มาตรฐานทางศีลธรรมคุณธรรมที่ใช้กับองค์กรทางธุรกิจ

ปัญหาจริยธรรมธุรกิจที่เกิดขึ้นกับกิจการ เช่น การปกบิดข้อเท็จจริง หรือตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อหวัง
ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง การฟอกเงิน การหลบเลี่ยง หนีภาษี การละเลยไม่ดูแลด้านความปลอดภัย

ในสถานที่ทำงาน การเลือกปฏิบัติหรือมีสองมาตรฐานในการบริหารงานบุคคล

๓. หลักความโปร่งใส (Accounta bility) คือ ความถูกต้อง ชัดเจน ปฏิบัติตามหลักการ

ที่ควรจะเป็นรวมถึงการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องได้

รวมทั้งการให้และรับข้อมูลที่เป็นจริงตรงไปตรงมาทันเวลาในระดับกิจการ อาจแปลความหมายของ

“Accountability" ว่าเป็น "ความรับผิดชอบที่อธิบายได้" ซึ่งเป็นภาระบทบาทของผู้บริหารในแง่

ข้อผูกพันหรือความเต็มใจที่จะยอมรับความรับผิดชอบ รวมทั้งความสามารถในการรายงานชี้แจงให้
เหตุผลเพื่ออธิบายการกระทำของตนเองและสามารถตอบคำถามของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ในทุกที่

ทุกโอกาส เพื่อแจกแจงอธิบายการกระทำทั้งหมดที่ตนรับผิดชอบ

๔. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) อ การให้โอกาสบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วน

ร่วมในการตัดสินใจ ในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญรวมทั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็น เพื่อรับคำแนะนำมาร่วม

วางแผนและปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระดับสังคม ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลากหลาย

และมีความคิดเห็นที่แตกต่าง หลักการมีส่วนร่วมจะช่วยประสานความคิดเห็นหรือความต้องการที่

แตกต่าง เพื่ออยู่บนพื้นฐานโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมในระตับกิจการ องค์กรจะกำหนดให้มี

คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีประสบการณ์หลากหลายช่วย บริหารงานขององค์กรให้บรรลุ

วัตถุประสงค์
๕. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) คือ ความรับผิดชอบในงานของตน ความรับ

ผิตชอบต่อการกระทำของตนเอง รวมถึงการตระหนักและสำนึกในสิทธิและหน้าที่

๖. หลักความคุ้มค่า (Cost -Effectiveness or Economy) คือ การบริหารจัดการ

ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระตับบุคคล ความคุ้มค่าเทียบเคียงได้กับความประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย

และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าในระดับกิจการ คือ การบริหารจัดการ

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือเกิดมูลค่ามากที่สุด เช่น การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และรักษา

ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน

๔๒



๓.๔ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and

Transparency Assessment : ITA)

คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส

ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้มีมติเห็นชอบคู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส

ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปี

งบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาและรายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุดและหน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้ประกอบการพัฒนาคุณธรรม

และความโปร่งใสในการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง (continuous improvement) และร่วมกัน

พัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น

การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมถึงนำข้อมูลดังกล่าวไป

ใช้ประกอบการประเมิน ITA ของหน่วยงานตามให้เป็นไปตามขั้นตอนการประเมินที่กำหนดต่อไป

โดยการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

(Integrity and Transparency Assessment: ITA) เป็นเครื่องมือในเชิงบวกที่มุ่งพัฒนาระบบราชการ
ไทยในเชิงสร้างสรรค์ มากกว่ามุ่งจับผิด เปรียบเสมือนเครื่องมือตรวจสุขภาพองค์กรประจำปี โดยมี

วัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ทั่วประเทศได้รับทราบถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้าน

คุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร ผลการประเมิน ที่ได้จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้

ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การให้บริการ สามารถอำนวยความ

สะดวก และตอบสนองต่อประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นเครื่องมือ ในการยกระดับมาตรฐาน

การดำเนินงานภาครัฐ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้าน การทุจริตและ

ประพฤติมิชอบ ด้วยเหตุนี้การประเมิน ITA จึงไม่ได้เป็นเพียงการประเมินคุณธรรมการดำเนินงาน

การป้องกันการทุจริตในองค์กรและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ แต่ยังเป็นการประเมินประสิทธิภาพ

การปฏิบัติงาน และการให้บริการประชาชน เพื่อให้ทราบถึงช่องว่างของความไม่เป็นธรรมและความด้อย
ประสิทธิภาพ สำหรับนำไปจัดทำแนวทางมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ในระบบราชการไทยต่อไป

การประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นับปีที่ 9 ของการดำเนินการ

ที่ผ่านมา และเป็นปีที่ 4 ที่ได้ปรับเข้าสู่การประเมินในรูปแบบออนไลน์ โดยการพัฒนาร่วมกันกับ

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือการประเมินให้มี

ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบกับ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยี

สารสนเทศรองรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity and Transparency Assessment System: ITAS) ซึ่งนำมาใช้เป็นศูนย์กลางในการ

๔๓



ดำเนินการประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการประเมิน ITA ในรูปแบบ ปัจจุบันได้ส่งผลให้หน่วยงาน

ภาครัฐได้เกิดความตระหนักในการบริหารงานและกำกับดูแลการดำเนินงานให้มีคุณธรรมและให้

ความสำคัญกับความโปร่งใสขององค์กรของรัฐเป็นอย่างมากและครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐ

ไปทั่วประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมานั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงและ

พัฒนาการของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวและหันมาให้

ความสนใจต่อการพัฒนาแฟลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้นที่
สำคัญคือส่งผลให้หน่วยงานมีการจัดการข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบระเบียบและเตรียมความพร้อม

ในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะให้ได้รับทราบและส่งเสริมให้เกิดการตรวจสอบอีกด้วย

ทั้งนี้ หลักการพื้นฐาน ITA คือ

1. “เปิดเผยข้อมูล” ของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบและสามารถ

ตรวจสอบการดำเนินงานได้

2. “เปิดโอกาส” ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งเจ้าหน้าที่ภายใน

หน่วยงาน และประชาชนผู้รับบริการ/ติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมประเมินหรือแสดง
ความเห็นต่อหน่วยงานภาครัฐ

ส่วนเป้าหมายของ ITA นั้น มุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐได้มีการปรับปรุงพัฒนาตนเอง

ในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐ มีการดำเนินงานที่มุ่งให้

เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและส่วนรวมเป็นสำคัญ และลดโอกาสที่จะเกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ในหน่วยงานภาครัฐ ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บท

ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

ทั้งนี้ ได้มีการเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 การเก็บข้อมูลจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ (Internal Integrity and

Transparency Assessment: IIT) โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรภาครัฐทุกระดับที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า
1 ปีได้มีโอกาส สะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานตนเอง

ส่วนที่ 2 การเก็บข้อมูลจากผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐ (External

Integrity and Transparency Assessment: EIT) โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงาน

ภาครัฐในช่วง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้มีโอกาสสะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน

ของหน่วยงานภาครัฐ

ส่วนที่ 3 การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน (Open Data Integrity and

Transparency Assessment: OIT) เป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่
เผยแพร่ไว้ทางหน้าเว็บไซต์ หลักของหน่วยงาน

๔๔





กล่าวโดยสรุป การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน

ภ า ครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) เป็นการประเมินที่มีวัตถุประสงค์

ที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ โดยมีการประเมิน

ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑

มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรม
และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔ โดยใช้

แนวทางและเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

แห่งชาติ หรือ สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด



๓.๕ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI)

ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) คือ เครื่องมือในการวัด

ความโปร่งใสและการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีค่าคะแนนตั้งแต่ ๐ (คอร์รัปชัน
มากที่สุด) - ๑๐๐ (คอร์รัปชันน้อยที่สุด) ซึ่งจัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency

International : TI)

ตัวชี้วัด ดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย (Corruption Perceptions Index: CPI)

(อันดับ/คะแนน) และค่าเป้าหมาย

เป้าหมาย ประเทศไทยมีการทุจริตและประพฤติมิชอบลดลง

ปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ อยู่ในอันดับ ๑ ใน ๕๔ และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๐ คะแนน

ปี ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ อยู่ในอันดับ ๑ ใน ๔๓ และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ๕๗ คะแนน

ปี ๒๕๗๑ – ๒๕๗๕ อยู่ในอันดับ ๑ ใน ๓๒ และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ๖๒ คะแนน

ปี ๒๕๗๖ – ๒๕๘๐ อยู่ในอันดับ ๑ ใน ๒๐ และ/หรือ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ๗๓ คะแนน


(ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)

ปี ๒๕๖๔ คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต อยู่ที่ 40 คะแนน

ปี ๒๕๖๕ คะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต อยู่ที่ 45 คะแนน



แผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

เป้าหมายรวม ประเทศไทยมีระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions
Index: CPI) อยู่ใน ๒๐ อันดับแรกของโลกในปี พ.ศ. ๒๕๗๙

๔๕



ประเด็นคำถามทั้ง 9 แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับคะแนน CPI

1. แหล่งข้อมูล IMD World Competitiveness Yearbook (IMD) ซึ่งได้คะแนนลดลง

คือ ได้ ๓๙ คะแนน (ปี 20๒๐ ได้ 4๑ คะแนน)

IMD นำข้อมูลสถิติทุติยภูมิและผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูง ไปประมวลผล

จัดอันดับ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบ คือ

1) สมรรถนะทางเศรษฐกิจ
2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ

3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ

4) โครงสร้างพื้นฐาน

ทั้งนี้ IMD สำรวจข้อมูลประมาณ เดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี ในแหล่งข้อมูล IMD

World Competitiveness Yearbook(IMD) โดยมีประเด็น ที่องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ นำมา

คำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตจากแบบสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทย

คือ “มีการติดสินบนและคอร์รัปชันหรือไม่”
คะแนนลดลง ๒ คะแนน เนื่องจากปัญหาการติดสินบนและการทุจริตที่สั่งสมมา

ประกอบกับสถานการณ์โควิด–19 ที่เกิดขึ้น ยังปรากฏผ่านการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนว่ามีการทุจริต

ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโควิด–19 อาทิ การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ รวมถึงปัญหาการติดสินบนกับ

เจ้าหน้าที่ของรัฐในการอนุมัติ-อนุญาต และการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการบางราย ถึงแม้รัฐบาลได้มี

การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการอนุมัติ-อนุญาตที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมากขึ้น แต่ยังมี

การเปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดจนขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่มีการนำมาใช้จึงทำให้

ผู้ประเมินอาจมองว่าปัญหาดังกล่าวไม่ต่างจากปีที่ผ่านมา

2. แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล Bertelsmann Stiftung Transformation Index (BF (TI))
ได้ 37 คะแนน (ปี 20๒๐ ได้ 37 คะแนน)

BF (TI) ใช้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์และประเมินกระบวนการเปลี่ยนแปลงไป

สู่ประชาธิปไตย และระบบ เศรษฐกิจแบบตลาดเสรี และดูความเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน คือ

1) ด้านการเมือง

2) ด้านเศรษฐกิจ และ

3) ด้านการจัดการของรัฐบาล

ทั้งนี้ BF (TI) จะมีการเผยแพร่ผลทุก 2 ปี และข้อมูลที่เผยแพร่ครั้งล่าสุดช่วงต้นปี 2563
ถึงแม้ว่า การประเมินจะประกอบด้วยชุดคำถามหลายข้อ แต่องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ

๔๖



ใช้คะแนนจากคำถาม ของ BF (TI) เพียง 2 ข้อ ในการประเมินคะแนน CPI คือ การดำเนินการ

กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำการทุจริต และความสำเร็จของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหาคอร์รัปชัน

โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ ของ BF (TI) ในประเทศไทย จำนวน 2 คน

การประเมินค่าดัชนีTransformation index BTI จะประกอบด้วยชุดคำถามหลายข้อ

แต่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติใช้คะแนนจากคำถามของ BF (TI) ๒ ข้อ ในการประเมินคะแนน

CPI คือ ๑) การดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำการทุจริต “To what extent are public
officeholders who abuse their positions prosecuted or penalized?” ๒) ความสำเร็จของ

รัฐบาลในการจัดการกับปัญหาการทุจริต “To what extent does the government successfully

contain corruption?”

คะแนนคงที่ ถึงแม้รัฐบาลจะมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาการทุจริต ตลอดจนการ

ดำเนินการต่าง ๆ แต่จากการรับรู้ของผู้ประเมินยังคงขาดความเชื่อมั่นในการลงโทษผู้กระทำการทุจริต

รวมถึงขาดความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้การประชาสัมพันธ์

ที่ก่อให้เกิดการรับรู้ถึงความจริงจังของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันการทุจริตยังไม่ชัดเจน
๓. แหล่งข้อมูล Economist Intelligence Unit Country Risk Ratings (EIU) ได้ 37

คะแนน (ปี 20๒๐ ได้ 37 คะแนน)

EIU วิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับ ความเสี่ยงที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศต้องเผชิญ

ได้แก่ ความโปร่งใส ในการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณ การใช้ทรัพยากรของราชการ/ส่วนรวม

การแต่งตั้งข้าราชการจากรัฐบาลโดยตรง มีหน่วยงานอิสระในการตรวจสอบการจัดการงบประมาณ

ของหน่วยงาน นั้น ๆ มีหน่วยงานอิสระด้านยุติธรรมตรวจสอบผู้บริหาร/ผู้ใช้อำนาจ ธรรมเนียมการให้

สินบน เพื่อให้ได้สัญญาสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ EIU มีการสำรวจเก็บข้อมูลประมาณ

เดือนกันยายนของทุกปี โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนามาวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญของ EIU จำนวน 2 - 3 คน

คะแนนคงที่ ที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการจัดทำรายละเอียดทั้งแผนการใช้จ่าย เป้าหมาย และ
แหล่งที่มา ของรายได้ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณ

การใช้ทรัพยากรของราชการ และการแต่งตั้งข้าราชการ ผ่านรูปแบบหรือช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ รวมถึง

การเปิดช่องทางให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของภาครัฐ แต่ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ

ของ EIU อาจเห็นว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะดำเนินการต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว แต่ประเทศไทยยังคงมีปัญหา

ไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมาในเรื่องความโปร่งใสในการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณ การใช้ทรัพยากร

ของราชการ การแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง การตรวจสอบการจัดการงบประมาณ ในกรณีต่าง ๆ

จึงทำให้ผู้เชี่ยวชาญยังคงมองสถานการณ์ประเทศไทยไม่ต่างจากเดิม

๔๗



๔. แ ห ล่ งข้ อ มู ล Global Insight Country Risk Ratings (GI) ได้ 35 ค ะแ น น

(ปี 20๒๐ ได้ 35 คะแนน)

ในแหล่งข้อมูล Global Insight Country Risk Ratings (GI) มีประเด็นที่องค์การเพื่อ

ความโปร่งใสนานาชาติ นำมาคำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต คือ “ความเสี่ยงของการ

ที่บุคคลหรือบริษัทจะต้องเผชิญกับการติดสินบนหรือการคอร์รัปชันในรูปแบบอื่นเพื่อที่จะทำให้

การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น เช่น เพื่อให้ได้รับสัญญาเพื่อการส่งออก นำเข้า หรือเพื่อความสะดวกสบาย
เกี่ยวกับงานด้านเอกสารต่าง ๆ มีมากน้อยเพียงใด” ซึ่งถูกประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละประเทศ ซึ่งได้รับ

ข้อมูลจากกลุ่มลูกค้า ผู้ทำสัญญากับภาครัฐ นักลงทุน นักธุรกิจ ผู้รับงานอิสระ เครือข่ายนักข่าว

คะแนนคงที่ ถึงแม้รัฐบาลมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน แต่ผู้เชี่ยวชาญ

ซึ่งได้รับข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มลูกค้า ผู้ทำสัญญากับภาครัฐ นักลงทุน นักธุรกิจ ผู้รับงานอิสระ

และเครือข่ายนักข่าว) เห็นว่าการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับ

การติดสินบนหรือสิ่งตอบแทนสำหรับการพิจารณาสัญญาและการขอใบอนุญาตต่าง ๆ ตลอดจน

การคอร์รัปชันในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจ เป็นไปอย่างราบรื่น
๕. แ ห ล่ ง ข้ อ มู ล The Political and Economic Risk Consultancy (PERC)

ได้ 3๖ คะแนน (ปี 20๒๐ ได้ 38 คะแนน)

PERC สำรวจข้อมูลจากนักธุรกิจในท้องถิ่นและนักธุรกิจชาวต่างชาติที่เข้าไป

ทำธุรกิจในประเทศนั้น ๆ ได้แก่ นักธุรกิจจากสมาคมธุรกิจ ผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมต่าง ๆ ในเอเชีย

ผู้แทนหอการค้าประเทศต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่นามาใช้จัดทำ CPI 2020 เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวม

ข้อมูลประมาณเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคม 2019 และตีพิมพ์วารสารในเดือนมีนาคม 2020

ทั้งนี้ PERC มีหลักเกณฑ์ในการสำรวจโดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นการถามคำถาม

ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการรับรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน โดยมีคำถามที่ใช้ในการสำรวจที่สำคัญ คือ ท่านจะ

ให้คะแนนปัญหาการทุจริตในประเทศที่ท่านทำงานหรือประกอบธุรกิจเท่าใด
คะแนนลดลง ๒ คะแนน เนื่องจากมุมมองการรับรู้ของผู้ตอบแบบสอบถามอาจมองว่า

รัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาทางการเมืองมากกว่าการสร้างมาตรการอย่างเป็นระบบใน

การต่อสู้กับปัญหาการทุจริตที่ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19 ส่งผล

ต่อการบริหารจัดการของรัฐบาล เศรษฐกิจ สังคม และการดำรงชีวิตของประชาชน อีกทั้งปัญหาในเรื่อง

กระบวนการยุติธรรมที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการทุจริตในวงกว้างเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งถูก

มองว่าเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานของภาคธุรกิจ

๔๘



๖. แหล่งข้อมูล PRS International Country Risk Guide (PRS) ได้ 32 คะแนน

(ปี 20๒๐ ได้ 32 คะแนน)

ICRG เป็นการจัดอันดับความเสี่ยงของประเทศต่าง ๆ ทั้งความเสี่ยงด้านการเมือง

ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีการรายงานผลทุกเดือน

ครอบคลุม 140 ประเทศทั่วโลก

“การคอร์รัปชัน” เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงด้านการเมือง PRS จึงมุ่ง
ประเมินการคอร์รัปชันในระบบการเมือง โดยรูปแบบการทุจริตที่พบมากที่สุด คือ การเรียกรับสินบน

หรือการเรียกรับเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้า/ส่งออก การประเมินภาษี รวมถึงระบบ

อุปถัมภ์ ระบบพวกพ้อง การให้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองแบบลับๆ และความสัมพันธ์ใกล้ชิดของ

นักการเมืองกับนักธุรกิจ ในแหล่งข้อมูล Political Risk Services International Country Risk

Guide (ICRG) มีประเด็นที่องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ นำมาคำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้

การทุจริต คือ “การประเมินการคอร์รัปชันในระบบการเมือง ซึ่งรูปแบบของการคอร์รัปชันโดยตรงที่การ

ดำเนินธุรกิจพบบ่อยครั้ง คือ การเรียกร้องเงินหรือการต้องจ่ายสินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาต
การนำเข้าและส่งออก (Import and Export Licenses) การควบคุมการส่งออก (Exchange Controls)

การประเมินภาษีการคุ้มครองจากตำรวจ หรือการกู้ยืมขอให้ท่านช่วยให้คะแนนปัญหาการคอร์รัปชัน

ทั้งการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นจริงหรือโอกาสที่จะเกิดการคอร์รัปชันจากระบบอุปถัมภ์ ระบบเครือญาติ

การฝากเข้าทำงาน การต่างตอบแทน การระดมทุนที่เป็นความลับและความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่น่าสงสัย

ระหว่างนักการเมืองกับภาคธุรกิจ

คะแนนคงที่ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ข้อมูลแล้วเห็นว่า การดำเนินธุรกิจ

ในประเทศไทยยังมีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับปัญหาการเรียกรับเงินหรือการจ่ายสินบนในการดำเนิน

ธุรกิจ แม้ว่ารัฐบาลจะมีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันด้วยการออกมาตรการต่าง ๆ

เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน แต่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินการ
ตลอดจนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมทำให้เกิดการรับรู้ไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา

๗. แหล่งข้อมูล World Economic Forum (WEF) ได้ 4๒ คะแนน (ปี 20๒ ๐

ได้ 43 คะแนน)

ในแต่ละปี WEF ได้จัดทำรายงานการวัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทั่วโลก

(The Global Competitiveness Report: GCR) โดยรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ผ่าน “แบบสำรวจ

ความคิดเห็นผู้บริหาร” (The Executive Opinion Survey: EOS) ซึ่งถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อสำรวจ

ความพึงพอใจของนักธุรกิจต่างประเทศและนักธุรกิจภายในประเทศว่าการประกอบธุรกิจในประเทศ
เหล่านั้นมีความสะดวกระดับใด มีปัจจัยใดบ้างที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ

๔๙



WEF สำรวจมุมมองของนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเกี่ยวกับปัจจัย

ที่เป็นอุปสรรค สูงสุด ในการทำธุรกิจ 5 ด้าน คือ

1) การคอร์รัปชัน

2) ความไม่มั่นคงของรัฐบาล/ปฏิวัติ

3) ความไม่แน่นอนด้านนโยบาย

4) ระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ
5) โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่ไม่เพียงพอว่า

แต่ละปัจจัยเป็นอุปสรรคเพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือลดลง ทั้งนี้ WEF สำรวจข้อมูลประมาณ

เดือนมกราคม – มิถุนายน ของทุกปี โดยในแหล่งข้อมูล World Economic Forum (WEF)

มีประเด็นที่องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ นำมาคำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต คือ

1) “ในประเทศของคุณ เป็นเรื่องปกติเพียงใดที่บริษัทจ่ายเงินพิเศษโดยไม่มีเอกสารอ้างอิง

หรือจ่ายสินบนที่เชื่อมโยงกับเรื่องต่อไปนี้”

(1) การนำเข้า – ส่งออก
(2) สาธารณูปโภค

(3) การชำระภาษีประจำปี

(4) การทำสัญญาและการออกใบอนุญาต

(5) ได้รับการตัดสินใจที่เอื้อประโยชน์จากกระบวนการยุติธรรม

2) ในประเทศของคุณ เป็นเรื่องปกติเพียงใดที่มีการคอร์รัปชันโดยการจ่ายโอนเงิน

งบประมาณ ของรัฐไปยังบริษัท บุคคลธรรมดาหรือกลุ่มบุคคล

โดย WEF จะสำรวจข้อมูลประมาณเดือนมกราคม – มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งในปี 2021

แม้จะไม่ได้มีการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันของแต่ละประเทศเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

แต่จะใช้ดัชนีใหม่ที่พัฒนาขึ้นและนำมาใช้ชี้วัดเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา โดยเน้นในเรื่องการเติบโตอย่าง
ยั่งยืน

คะแนนลดลง มุมมองของนักลงทุนเกี่ยวกับสถานการณ์การทุจริตแทบจะไม่เปลี่ยนแปลง

ถึงแม้หน่วยงานภาครัฐจะมีการตื่นตัวในการปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางนโยบาย

Digital Government รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลสู่ระบบดิจิทัลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสแต่ภาพลักษณ์

การแข่งขันภายในประเทศยังคงถูกมองว่ามีการดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุนหรือ

บริษัทขนาดใหญ่ให้มีอำนาจควบคุมตลาดในระดับสูง ส่วนภาพรวมของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันยังคง

มีปัญหาเกี่ยวกับประเด็นสินบนและการแทรกแซงการดำเนินธุรกิจจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบกับ
ยังปรากฏกรณีที่เป็นข่าวเกี่ยวกบการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่อย่างต่อเนื่อง


๕๐



๘. แหล่งข้อมูล World Justice Project (WJP) ได้ 3๕ คะแนน (ปี 20๒ ๐ ได้

38 คะแนน)

WJP เป็นดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม (Rule of Law) โดยมีเกณฑ์การวัด ประกอบด้วย

๘ เกณฑ์ ได้แก่ ขีดจำกัดอำนาจของรัฐบาล (Constraints on Government Powers) ปราศจาก

การคอร์รัปชัน (Absence of Corruption) การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government)

สิทธิขั้นพื้นฐาน (Fundamental Rights) ความสงบเรียบร้อยของสังคม (Order and Security)
การบังคับใช้กฎหมาย (Regulatory Enforcement) กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง (Civil Justice) และ

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice)

องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ จะนำค่าคะแนนของแหล่งข้อมูล WJP เฉพาะเกณฑ์ที่

๒ คือ ปราศจากการคอร์รัปชัน (Absence of Corruption) โดยผู้เชี่ยวชาญจะถามคำถามทั้งหมด

๕๓ ข้อ เกี่ยวกับขอบเขตของเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการในการแสวงหาผลประโยชน์

ส่วนตัว คำถามเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล รวมไปถึงระบบ

สาธารณสุข หน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ตำรวจ และศาล ซึ่งคำถามแต่ละข้อ ประกอบด้วย
๔ ดัชนีย่อย ได้แก่

๑. เจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายบริหาร ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว

๒. เจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายตุลาการ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว

๓. เจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายทหารและตำรวจ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์

ส่วนตัว

๔. เจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว

โดยมีเฉพาะคะแนนที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่ถูกนำมาพิจารณาในการคำนวณ

ค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต และดัชนีย่อย ๔ ดัชนีจะถูกนำมาคิดเป็นค่าเฉลี่ยของทั้งหมดจนคงเหลือเป็น

ค่าเดียว
คะแนนลดลง ๓ คะแนน เนื่องจากการรับรู้ของผู้ประเมินที่มองว่าถึงแม้เจ้าหน้าที่ของรัฐ

มีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนปฏิบัติตามแนวทางเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน

กับผลประโยชน์ส่วนรวมแล้วก็ตาม แต่การดำเนินการยังขาดความชัดเจนและต่อเนื่องทั้งการกำหนด

นโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อำนาจและดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้อำนาจ

หน้าที่ตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของส่วนรวม

๙. แหล่งข้อมูล Varieties of Democracy Institute (VDEM) ได้ 2๖ คะแนน

(ปี 20๒๐ ได้ 20 คะแนน)
V-DEM วัดเกี่ยวกับความหลากหลายของประชาธิปไตย การถ่วงดุลของฝ่ายบริหาร

๕๑



นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ในฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่งใน

ปี 2016 มีการวัด ในอาเซียนเพียง 4 ประเทศ แต่ต่อมาในปี 2017 จนถึงปัจจุบันมีการวัดในประเทศ

กลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ

ในแหล่งข้อมูล Varieties of Democracy Institute (VDEM) มีประเด็นที่องค์การ

เพื่อความโปร่งใสนานาชาติ นำมาคำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ตามคำถามที่ว่า การทุจริต

ทางการเมือง เป็นที่แพร่หลายมากน้อยเพียงใด (How pervasive is political corruption?) โดยดัชนี
แสดงความแพร่หลาย ของการทุจริตนี้ ถูกคำนวณจากค่าเฉลี่ยของดัชนี 4 ด้านคือ

1) ดัชนีการคอร์รัปชันในภาครัฐ (Public sector corruption index) โดยใช้คำถามว่า

“เจ้าหน้าที่รัฐ มีพฤติกรรมเรียกรับสินบน หรือสิ่งของอื่นใด ในระดับใด และเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรม

ขโมยเบียดบังเงินหรืองบประมาณ หรือทรัพยากรภาครัฐ เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อคนในครอบครัว

ของตนเองบ่อยครั้งเพียงใด”

2) ดัชนีการคอร์รัปชันของผู้บริหารระดับสูง (Executive corruption index) โดยใช้

คำถามว่า “ผู้บริหารระดับสูง หรือตัวแทน มีพฤติกรรมเรียกรับสินบน หรือสิ่งของอื่นใดเป็นประจำ
หรือไม่ และผู้บริหาร ระดับสูง หรือตัวแทนเหล่านั้นมีพฤติกรรมขโมย เบียดบังเงินหรืองบประมาณ หรือ

ทรัพยากรภาครัฐ เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อคนในครอบครัวของตนเองบ่อยครั้งเพียงใด”

3) ดัชนีการคอร์รัปชันของฝ่ายนิติบั ญ ญั ติ (The indicator for legislative

corruption) โดยใช้คำถามว่า “เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อเรียกรับผลประโยชน์ใน

ประเด็นเหล่านี้ในระดับใด”

(1) เรียกรับสินบน
(2) รับเงินเพื่อช่วยเหลือให้ได้รับสัญญาจากภาครัฐ (เพื่อตัวเอง ครอบครัว เพื่อน

ผู้สนับสนุนทางการเมือง)
(3) มีผลประโยชน์ต่างตอบแทนกับภาคธุรกิจเพื่อแลกกับโอกาสในการว่าจ้างภาย

หลังจากออกจากสภานิติบัญญัติ

(4) ขโมย (เบียดบัง) เงินของภาครัฐหรือเงินจากโครงการบริจาคต่าง ๆ
เพื่อนำมาใช้ส่วนตัว”

4) ดัชนีการคอร์รัปชันของฝ่ายตุลาการ (The indicator for judicial corruption)

โดยใช้คำถามว่า “ประชาชนหรือภาคธุรกิจ มีการจ่ายเงินพิ เศษ (ที่ ไม่มีเอกสาร

การจ่ายเงิน) หรือสินบน เพื่อเร่งหรือชะลอกระบวนการของฝ่ายตุลาการ ในระดับใด”

คะแนนเพิ่มขึ้น ๖ คะแนน จากการวิเคราะห์บรรยากาศทางการเมืองในปี พ.ศ. ๒๕๖๔

ประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ซึ่งเปิดโอกาสให้ภาคการเมืองต่าง ๆ สามารถทำ

กิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งสื่อมวลชน และภาคประชาชนได้มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็น

๕๒



ทางการเมือง ส่งผลให้บรรยากาศความเป็นประชาธิปไตยมีมากขึ้น รวมถึงการตอบคำถามของ

ผู้เชี่ยวชาญ ในรูปแบบ Expert survey แสดงให้เห็นทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมเรียกรับสินบนของ

เจ้าหน้าที่รัฐ ความโปร่งใสในการบริหารเงินงบประมาณ และการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์

อีกทั้งในปีนี้มีการปรับเปลี่ยนระเบียบวิธีวิจัยที่ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น

โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการทุจริต

คอร์รัปชันโดยระบุว่าแม้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาโควิด-19 แต่รัฐบาลของนานาประเทศยังคงต้องให้
ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพทางสังคม ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างและการใช้จ่ายงบประมาณ

ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งและความเป็นอิสระให้กับหน่วยงานตรวจสอบ รวมถึงการรับมือกับ

ปัญหาการทุจริตข้ามชาติ ทั้งในเรื่องช่องว่างของกฎหมายเพื่อสามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

จากผลคะแนนการรับรู้การทุจริต ในปี 202๑ เป็นเครื่องบ่งชี้สำคัญถึงสถานการณ์การทุจริต

ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจำเป็นต้องมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างจริงจัง

เพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติในการสร้างความโปร่งใสในการดาเนินการของหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้

ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการทุจริต
และไม่ยอมทน ต่อการทุจริต ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่สุจริตส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ และส่งผลต่อ

การเพิ่มขึ้นของคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตต่อไป



๓.๖ การเข้าถึงเทคโนโลยีของคนไทย



เพื่อนำเสนอข้อมูลที่จะนำไปสู่การประยุกต์นวัตกรรมหรือการกำหนดกลไกที่จะทำให้

การป้องกันและการปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยนั้น

ต้องทราบถึงสถานะเกี่ยวกับการเข้าถึงเทคโนโลยีของคนไทยในปัจจุบันว่าเป็นเช่นไรบ้าง

จากการศึกษา พบว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสารในครัวเรือน ซึ่งได้จัดทำเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา

สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทราบจำนวนประชาชนที่ใช้










ี่




ส ำนักงำนสถตแห่งชำตกระทรวงดจทัลเพอเศรษฐกิจและสงคม. สรปผลทส ำคญส ำรวจกำรมีกำรใชเทคโนโลยีสำรสนเทศ และกำร

ื่
สอสำรในครวเรอน พ.ศ. ๒๕๖๓. สบค้นเมอ ๒๑ ตุลำคม ๒๕๖๔, จำก
ื่


http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99ICT/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%82%e0%b8%99
%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%b5%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8
%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/2563/Pocketbook63.pdf

๕๓



โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ลักษณะ และพฤติกรรมในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ

รวมทั้งจำนวนครัวเรือนที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์พื้นฐาน

เครื่องคอมพิวเตอร์ และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในครัวเรือน เป็นต้น การสำรวจใช้วิธีสัมภาษณ์

หัวหน้าครัวเรือน และสมาชิกในครัวเรือนที่มี อายุ ๖ ปีขึ้นไป ผลการสำรวจในปี ๒๕๖๓ พบว่า มีจำนวน

ประชาชนอายุ ๖ ปีขึ้นไป ทั้งสิ้นประมาณ ๖๓.๘ ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ ๙๔.๘

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร้อยละ ๗๗.๘ และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ ๒๖.๔
และจากการสำรวจการใช้สื่อโซเชียลของคนไทย โดย Global Digital Report 2021 ของ

We Are Social และ Hootsuite แพลตฟอร์มบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์ เปิดสถิติถึงเดือน


กรกฎาคม ช่วงครึ่งปีหลังของปี ๕ ๖ ๔ บ พฤติกรรมใช้ออนไลน์คนไทย “ติดอันดับโลก”

หลายรายการ โดยสถิติจาก We Are Social ยังพบด้วยว่า คนไทย จำนวนร้อยละ ๖๙ อยู่บนโลก

ออนไลน์เป็นที่เรียบร้อย และมีพฤติกรรมออนไลน์หลายอย่างที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น คนไทย

ใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการอัพเดทข่าวเป็นอันดับ ๑ ของโลกในปีนี้ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๘

ขณะที่ คนไทยมากถึงร้อยละ ๙๑ อ่านข่าวออนไลน์ มากเป็นอันดับที่ ๒ ของโลก โดยในกลุ่มของโซเชียล
มีเดีย คนไทยใช้แพลตฟอร์ม Facebook มากเป็นอันดับ 8 ของโลก โพสต์เฟซบุ๊กเฉลี่ยคนละ ๑๑ ครั้ง

ต่อเดือนและแสดงความคิดเห็น (comment) บนเฟซบุ๊ก เฉลี่ย ๘ ครั้งต่อเดือน ขณะที่ YouTube คน

ไทยใช้มากเป็นอันดับ ๑๘ ของโลก Instagram มากเป็นอันดับ ๑๖ ของโลก ใช้ Facebook Messenger

มากเป็นอันดับ ๖ ของโลก และใช้ Twitter มากเป็นอันดับ ๑๐ ของโลก

๕๔



ที่มา : https://datareportal.com/reports/digital-2021-july-global-statshot



นอกจากนี้ จากการศึกษาการใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่คนไทยคุ้นชิน ณ ปัจจุบัน

พบว่า มีมากมาย เช่น เป๋าตัง ไทยชนะ หมอพร้อม ล้วนแต่ต้องใช้งานโดยวิธีสแกน QR Code ทั้งสิ้น

ซึ่งทำให้ประชานชนมีความชำนาญและคุ้นชินกับระบบดังกล่าว โดยพบว่า คนไทยที่เช็คอินผ่านระบบ

ชองไทยชนะหรือหมอชนะกว่า ๔๗ ล้านคน เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด ๖๗ ล้านคน คิดเป็น
กว่าร้อยละ ๗๐ ซึ่งถือว่ามีประมาณมากพอสมควร ดังพิจารณาได้จากแผนภูมิรายงานข้อมูล

แอปหมอชนะ



























ที่มา : https://www.bbc.com/thai/thailand-55784607



กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม

ของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต พบข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

(Participatory Democracy) ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง

การปกครอง และในการตัดสินใจระดับต่าง ๆ มากขึ้น ตลอดจนแนวคิดหลักธรรมาภิบาล หรือ Good

Governance หรือตามกฎหมายใช้คำว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี” ที่แนวคิด
ในการนำไปดำเนินการของกิจการของหน่วยงานของรัฐให้มีความโปร่งใส ประกอบข้อมูลเบื้องต้น

๕๕



เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and

Transparency Assessment : ITA) และข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption

Perceptions Index : CPI) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่มี

เครื่องมือต่าง ๆ มาใช้ในการขับเคลื่อนการบริหารราชแผ่นดินที่มีความโปร่งใสมากขึ้น

นอกจากนี้ จากการศึกษาถึงข้อมูลการเข้าถึงเทคโนโลยีของคนไทยสำหรับเพื่อนำไป

วิเคราะห์เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินตามรูปแบบที่
คณะกรรมาธิการฯ จะนำเสนอนั้น พบว่า ประชาชนคนไทยเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างทั่วถึงในระดับสูง

และมีแนวโน้มจะครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ดังจะเห็นได้จากการเข้าถึงการใช้โปรแกรมประยุกต์หรือ

แอปพลิเคชันต่าง ๆ อาทิ หมอพร้อม ไทยชนะหรือหมอชนะ เป๋าตัง

๓.๗ นโยบายแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕



ในภาวะปัจจุบัน แรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม (Driving Force) ส่งผล

ให้การดำเนินงานภาครัฐของประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับยุคของการ
เปลี่ยนผ่านทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) ที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาท และ

ทดแทนการทำงานของบุคคล รวมถึงเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ซึ่งมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรมการบริโภค และการรับบริการของประชาชนที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ

ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากผลสำรวจจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมี

มากกว่า ๔๗.๕ ล้านคน จากผลสำรวจในปี ๒๕๖๒ คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๕ ของประชากรทั้งหมดใน

ประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการจัดทำดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ขององค์การสหประชาชาติ

(UN e-Government Index) ในปี ๒๕๖๓ ที่ได้มีการรายงานจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์

ผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อยู่ในระดับสูง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ดังที่ได้กล่าวมานี้ได้ถูกเร่งรัด (Catalyst)
การเปลี่ยนแปลงยิ่งขึ้นไปเมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดของโรค Covid-19 ในช่วงปลายปี ๒๕๖๒

มาจนถึงปัจจุบันที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางสังคมที่เรียกว่า “ความปกติใหม่” หรือ New Normal

ที่ประชาชนจะต้องเว้นระยะห่างและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ทำให้ความจำเป็น (Demand) ของ

เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนที่จะเกิดการระบาดของโรค จากสถานการณ์นี้ ทำให้หน่วยงาน

ภาครัฐที่มีหน้าที่ในการให้บริการประชาชนจะต้องเร่งรัดการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการให้บริการจาก

การให้บริการโดยตรงกับประชาชน ต้องเปลี่ยนมาให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจะ

ดำเนินการให้บริการภาครัฐสามารถให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบได้นั้น หน่วยงาน
ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐให้เป็นดิจิทัล

๕๖



(Digitization) การบูรณาการบริการและข้อมูลภาครัฐเพื่อที่จะให้หน่วยงานภาครัฐสามารถให้บริการ

ผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างเบ็ดเสร็จและไร้รอยต่อ (Seamless) นอกจากการให้บริการต่อประชาชนแล้ว

นั้น สถานการณ์ของการระบาดของโรค Covid-19 ทำให้หน่วยงานภาครัฐของไทยจำเป็นที่จะต้องปรับ

รูปแบบ วิธีการทำงาน เช่น การลดจำนวนบุคลากรที่จะต้องทำงานที่สำนักงาน หรือการหลีกเลี่ยง

การประชุม ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ ทำให้หน่วยงานภาครัฐมีความจำเป็นต้องนำเทคโนโลยี

ดิจิทัลมาปรับใช้ในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้การทำงานของหน่วยงานภาครัฐมีความสะดวก
และคล่องตัวมากขึ้น

ในการปรับเปลี่ยนการให้บริการ และการทำงานของหน่วยงานภาครัฐดังที่ได้กล่าวมานี้แสดงให้

เห็นถึงปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน (Digital Transformation) ของหน่วยงาน

ภาครัฐ เพื่อให้สอดรับกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ รัฐบาลได้เล็งเห็น

ความสำคัญของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการให้บริการภาครัฐ จึงได้มีการจัดทำแผนพัฒนา

รัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน

และการให้บริการภาครัฐของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการบริหารงาน
และการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ รวมไปถึงแผนยุทธศาสตร์ชาติแผ่นแม่บท

ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะแผนการปฏิรูปประเทศว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน

ที่ได้มีการปรับเป้าหมายในเรื่องของความปกติใหม่ในหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย อีกทั้ง

แผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่มุ่งจะพัฒนาให้ประเทศไทยมีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

จนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ มีวัตถุประสงค์ ๕ ประการ

ได้แก่

๑) เพื่อบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน

๒) เพื่อให้มีกรอบการขับเคลื่อนกิจกรรม/โครงการที่ชัดเจนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน
๓) เพื่อกำหนดการอบรมขับเคลื่อนการบูรณาการรัฐบาลดิจิทัลที่สำคัญ สำหรับกำหนดประเด็น

แผนบูรณาการประจำปีงบประมาณ

๔) เพื่อกำหนดหน่วยงานหลักและหน่วยงานรองในการขับเคลื่อนประเด็นที่เกี่ยวข้อง

พร้อมกรอบงบประมาณในการดำเนินงาน

๕) เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ

พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒

วิสัยทัศของพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
พ.ศ. ๒๕๖๒ คือ “รัฐบาลดิจิทัล เปิดเผย เชื่อมโยง และร่วมกันสร้างบริการที่มีคุณค่าให้ประชาชน”

๕๗



ยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล มีจำนวน ๔ ยุทธศาสตร์ มุ่งหวังให้นำไปสู่เป้าหมายของ

ประเทศในด้าน “การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการและสวัสดิการของประชาชน การเพิ่มขีด

ความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย การสร้าง

ให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐ ที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ และการสร้างการมี

ส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของประเทศ”


๓.๘ การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในต่างประเทศ

ปัจจุบันนานาประเทศตระหนักถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการ

พัฒนาประเทศและได้มีการริเริ่มพัฒนารัฐบาลดิจิทัลขึ้น ซึ่งการศึกษาวิสัยทัศน์ นโยบายและแผนการ

ดำเนินงานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางใน

การกำหนดกรอบและทิศทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยได้ ได้แก่ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก

สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งสามารถสรุปการพัฒนาที่สำคัญได้ดังนี้

๑) การจัดทำข้อมูลดิจิทัล โดยรวบรวมและปรับเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อ
นำไปใช้ประโยชน์ และพัฒนาบริการประชาชนและภาคธุรกิจ

๒) การปรับปรุงกระบวนการภาครัฐ ที่มีการกำหนดรูปแบบการทำงานระหว่างหน่วยงาน

ภาครัฐ และบทบาทการสนับสนุนของหน่วยงานกลาง โดยการนำระบบดิจิทัลมาลดขั้นตอน

ลดกระบวนการทำงาน ลดงานเอกสารและมีการจัดทำลำดับการปรับปรุงตามความสำคัญ

ของกระบวนการ และจัดกลุ่มความสำคัญของหน่วยงานที่ให้บริการ เพื่อให้เกิดกระบวนงาน

ที่เป็นไปตามมาตรฐานบนพื้นฐานความปลอดภัยและมีจริยธรรมภายใต้กรอบธรรมาภิบาล

ซึ่งหลายประเทศมุ่งเน้นการดำเนินงานแบบ Agile เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงาน

๓) การพัฒนาบริการดิจิทัล ที่มุ่งเน้นการให้บริการดิจิทัลภาครัฐที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว

ปลอดภัย และมีคุณภาพสูงอีกทั้งต้องมีความน่าเชื่อถือ ยืดหยุ่น และมีความมั่นคงปลอดภัย
จากการคุกคามทางไซเบอร์ เป็นมิตรกับประชาชนและเอื้อต่อการเติบโตของภาคธุรกิจ

โดยยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric)

๔) การพัฒนาและบูรณาการแพลตฟอร์มดิจิทัลภาครัฐ มุ่งเน้นการบูรณาการบริการภาครัฐและ

การพัฒนาต่อยอดระบบบริการ ณ จุดเดียว (One-Stop Service) ผ่านระบบดิจิทัลโดยเป็น

กระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ (End – to – End Process) การพัฒนาระบบยืนยันตัวตน

(Digital ID) เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนและผู้ประกอบการในการดำเนินการด้าน

ธุรกรรม การสร้างแพลตฟอร์มกลางสำหรับการบริการประชาชน รวมถึงการพัฒนา
แพลตฟอร์มพื้นฐานที่หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้งานร่วมกันได้ การพัฒนามาตรฐานร่วม

๕๘



การใช้ Open Source Framework และการใช้ Open ซอฟท์แวร์ ซึ่งมีความจำเป็นต้องมี

การประกาศมาตรฐานและแนวทางดำเนินงานสำหรับการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลใน

แผนงานระดับชาติ

๕) การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ โดยส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยม

และการบูรณาการระบบดิจิทัลผ่านเทคโนโลยีสำคัญต่าง ๆ เช่น AI และ IoT เพื่อให้เกิดการ

แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และสามารถนำไปพัฒนาบริการสาธารณะได้
๖) การพัฒนาบุคลากรทั้งในด้านทักษะและทัศนคติ โดยยกระดับบุคลากรด้านดิจิทัลให้เท่าทัน

ต่อนวัตกรรมพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคขั้นสูง การแต่งตั้ง Chief Digital Strategy

Officers จากกระทรวงต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามแผน รวมถึงส่งเสริมให้บุคลากรมีทัศนคติ

ด้านดิจิทัลที่ดีในการเสนอความคิดและรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ และสนับสนุนให้

ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ใช่สายงานดิจิทัลเข้าใจถึงความเป็นไปได้ในการทงานในรูปแบบใหม่ หรือใน

รูปแบบที่แตกต่างจากเดิม ตลอดจนการปลูกฝังการเรียนรู้ best practice ของต่างประเทศ

เพื่อนำมาพัฒนาบริการภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
๗) การปรับปรุงเครื่องมือ กลไกและกฎหมาย โดยจัดเตรียมเครื่องมือดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการ

ดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ

ร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันวิจัยที่มีศักยภาพ (Public-Private Partnerships: PPPs)

รวมถึงการให้ความสำคัญในการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน

แบบดิจิทัล

๘) การเปิดเผยข้อมูลและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูล

ภาครัฐเพื่อสร้างความโปร่งใส รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อม (Ecosystem) ใหม่ที่ภาครัฐ

ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนสามารถร่วมมือกันได้และมีการรับฟังความเห็นจากประชาชน

เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมบริการที่ดีขึ้นร่วมกับภาคประชาชน (Co-creating)
โครงการเชิงบูรณาการที่สำคัญในต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จำนวน ๗

โครงการหลักสำคัญดังนี้

๑) Citizen Platform แพลตฟอร์มกลางที่รวบรวมข้อมูลและงานบริการต่าง ๆ เพื่อประชาชน

โดยบูรณาการระหว่างหน่วยงานสามารถหาข้อมูลสำหรับการดำเนินชีวิต รวมถึงทำธุรกรรม

ออนไลน์ไว้ในเว็บไซต์เดียวกัน เพื่อให้สะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลและบริการของภาครัฐ

๒) Business Platform แพลตฟอร์มกลางที่รวบรวมข้อมูลและงานบริการต่าง ๆ เพื่อภาคธุรกิจ

โดยบูรณาการระหว่างหน่วยงานสามารถหาข้อมูลสำหรับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงธุรกรรม
ออนไลน์ไว้ในเว็บไซต์เดียวกัน เพื่อให้สะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลและบริการของภาครัฐ

๕๙



๓) Open Data Platform แพลตฟอร์มกลางที่รวบรวมข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลจากทุก

หน่วยงานภาครัฐไว้ในเว็บไซต์เดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคประชาชนและภาค

ธุรกิจนำข้อมูลไปพัฒนา หรือคิดค้นต่อยอดธุรกิจของตน รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพการใช้

ข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล และการแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน

๔) Data Exchange Platform ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการ

แลกเปลี่ยนที่รวดเร็ว ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ โดยอาจเป็นการเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลกลาง
หรือแลกเปลี่ยนโดยตรง ซึ่งหน่วยงานสามารถนำข้อมูลที่ได้รับการอนุมัติไปใช้ต่อ เช่น

นำไปใช้กรอกข้อมูลอัตโนมัติหรือนำไปเผยแพร่บน Open Data Platform ได้

๕) E-Authentication ระบบการลงทะเบียน การยืนยันตัวตน และการระบุสิทธิการเข้าถึง

ข้อมูลเพื่อต้องการใช้บริการภาครัฐผ่านระบบออนไลน์ได้ทุกบริการแทนการสร้างบัญชีใหม่

ทุกครั้งที่ต้องการทำธุรกรรมออนไลน์กับภาครัฐทำให้เจ้าของบัญชีสามารถเพิ่มเติม หรือ

แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลได้ตลอดเวลา อีกทั้งระบบจะทำการอัพเดทข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง

ไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน เป็นการลดขั้นตอนในการทำงานซ้ำซ้อน
๖) e-Procurement เว็บไซต์กลางสำหรับรวบรวมการจัดซื้อจัดจ้างมีแค็ตตาล็อกสินค้าและงาน

บริการให้เลือกซื้อพร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี

ด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้านการท่องเที่ยว ด้านกฎหมาย และสำหรับธุรกิจขนาดย่อม (SMEs)

ทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถค้นหาและจัดซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพได้อย่างสะดวก

ในราคาที่คุ้มค่า

๗) Crowdsourcing เว็บไซต์กลางของภาครัฐใช้เป็นช่องทางออนไลน์อย่างเป็นทางการ เพื่อการ

แลกเปลี่ยน รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชน และภาคธุรกิจ ทั้งในมิติของ

การร่วมกันออกแบบบริการและการร่วมกันจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย


๓.๙ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรูปแบบของ QR Code

๖๐



QR Code คืออะไร

QR Code คือ สัญลักษณ์สี่เหลี่ยม ที่เริ่มเห็นแพร่หลายในประเทศไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจาก

หนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร QR Code ย่อมาจาก Quick Response เป็นบาร์โค้ด ๒ มิติ ที่มีต้นกำเนิด

มาจากประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท Denso-Wave ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๔ คุณสมบัติของ QR code คือ

เป็นสัญลักษณ์แทนข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาใช้กับสินค้า ,

สื่อโฆษณาต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือจะเป็น URL เว็บไซต์ เมื่อนำกล้องของโทรศัพท์มือถือไปถ่าย
QR Code ก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ QR Code จะทำให้เข้าถึงการอ่านได้อย่าง

ง่ายดาย โดยใช้โทรศัพท์มือถือที่มีกล้องถ่ายรูป และมีโปรแกรมที่เรียกว่า QR Code reader ติดตั้งอยู่ใน

เครื่องโทรศัพท์

QR Code มีกี่ประเภท

ประเภทของ QR Code นั้นมีทั้งหมด ๕ ประเภทหลัก ดังนี้

๑) QR Code Model 1 เป็น QR Code แบบดั้งเดิม มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา QR Code

ทั้งหมด มีขนาด ๗๓*๗๓ โมดูล มีความสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง ๑๑๖๗ ตัว และ QR Code Model 2
ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่พัฒนามาจาก Model 1 มีความสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง ๗๐๘๙ ตัวอักษร ในปัจจุบัน

Model 2 เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและสามารถพบเห็นได้ทั่วไป

๒) Micro QR Code เป็น QR Code ที่มีขนาดเล็กกว่าแบบแรกมากเพราะแสดงผลบางจุดตรวจ

ตำแหน่ง (position detection pattern) เพียงตำแหน่งเดียว ขนาดใหญ่ที่สุดของแบบที่สองนี้ คือ M4

(๑๗*๑๗ โมดูล) บรรจุข้อมูลได้ ๓๕ ตัวเลข

๓) IQR Code เป็น QR Code ที่มีขนาดเล็กกว่าแบบดั้งเดิมมากและพิมพ์ออกมาเป็นแนวนอน

(rectangular code) สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าจัดเก็บข้อมูลในปริมาณที่

เท่ากันจะประหยัดพื้นที่ในการแสดงผลได้ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ เก็บข้อมูลได้ถึง ๔๐,๐๐๐ ตัวอักษร

๔) SQRC เป็น QR Code ที่มีคุณลักษะเหมือนกับ QR Code Model 1 and Model 2
ทุกประการ แต่ที่เพิ่มเติม คือ สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นความลับได้

๕) Frame QR เป็น QR Code ที่สามารถนำรูปภาพ กราฟิกมาติดบริเวณ ตรงกลางของ QR

Code ได้ ส่วนใหญ่ใช้ในงานประชาสัมพันธ์ งานอีเวนต์ นิทรรศการ เพื่อให้สะดุดตาผู้เข้าชม โดยการนำ

ภาพมาติดจะไม่ส่งผลกระทบกับการอ่านข้อมูลบน QR Code

๖๑



ประโยชน์ของ QR Code














QR Code สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น แสดง URL ของเว็บไซต์ ,

ข้อความ , เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้อีกมากมาย ปัจจุบัน QR Code ถูกนำไปใช้ใน

หลาย ๆ ด้าน เนื่องจากความรวดเร็ว ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดที่สุดของ QR Code คือการแสดง URL ของ

เว็บไซต์ เพราะ URL โดย ปกติแล้วจะจดจำยากเพราะยาวและบางทีก็จะซับซ้อนมาก แต่ด้วย QR Code

เพียงแค่ยกมือถือมาสแกน QR Code ที่พบเห็นตามผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ , นามบัตร , นิตยสาร ฯลฯ แล้ว
มือถือจะลิ้งค์เข้าเว็บเพจที่ QR Code นั้น ๆ บันทึกข้อมูลอยู่โดยอัตโนมัติ




















วิธีการสร้าง QR Code มี ๒ วิธีหลักๆ ดังนี้

• สร้างผ่านเว็บที่ให้บริการแบบออนไลน์ ซึ่งง่าย สะดวก และทำที่ไหนก็ได้ แต่ต้องสามารถเข้าสู่

หน้าเว็บที่ให้บริการได้

• ติดตั้งโปรแกรม QR Code ซึ่งสามารถหา download ได้ฟรี เช่นกัน

๖๒



สามารถสร้างและใช้ QR Code ได้เองหรือไม่

เราสามารถสร้าง QR Code ใช้เองได้ง่าย ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้วยโปรแกรม AIS QR Code

Generator ที่สามารถสร้างตัว QR-Code ได้ทั้งแบบเป็น ข้อความ, URL, PIN แบล็คเบอรี่,

เบอร์โทรศัพท์, SMS, e-mail และนามบัตร โดยเราสามารถกำหนดขนาดของ QR Code ได้ทั้งแบบ

แสตมป์, จดหมาย, กระดาษปรินท์ และเสื้อยืด อีกทั้ง ยังสามารถนำตัว QR Code ไปโพสต์ไว้ตามเว็บ

บอร์ดต่าง ๆ ด้วยการ Copy โค้ด HTML ไปใช้ได้หรือ Share ให้เพื่อนที่ Facebook และ twitter ได้อีกด้วย









แนะนำเว็บไซต์สร้าง QR Code แบบไม่เสียเงิน

การสร้าง QR code สามารถทำได้หลายวิธี มีทั้งการสร้าง QR Code แบบอัตโนมัติผ่าน

แอปพลิเคชั่น และการสร้างผ่านเว็บไซต์สำหรับสร้าง QR cord โดยเฉพาะ สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่

ต้องการสร้าง QR code เพื่อโปรโมทร้านค้าหรือเว็บไซต์สามารถทำได้ผ่านเว็บไซต์ฟรี ดังนี้

๑) เว็บไซต์ QR code Genertor เป็นเว็บที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปสร้าง QR Code ได้ฟรี

เพียงแค่นำ URL ของเว็บไซต์หรือแฟนเพจของร้านคุณไปใส่ในช่อง เว็บไซต์ URL จากนั้นคลิกปุ่มสร้าง

รหัส QR แล้วระบบจะทำการสร้าง QR code ให้คุณ และคุณก็สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้เลย นอกจาก

URL แล้วเว็บไซต์นี้ยังให้คุณสร้างนามบัตร ข้อความ SMS ออกมาเป็น QR code ได้อีกด้วย

๖๓





๒) เว็บไซต์ websiteplanet จะมีเมนูให้เลือกสร้างได้มากมายถึง ๑๕ เมนู ได้แก่ สร้าง URL

เบอร์โทรศัพท์ URL Facebook Vcard MeCard ปฏิทิน ข้อความ อีเมล สถานที่ SMS Twitter และ

Wifi ซึ่งขั้นตอนการสร้าง URL เว็บไซต์ สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

(๑) คลิกที่เมนู URL

(๒) กรอก URL เว็บไซต์ของคุณลงในช่องดานล่าง
(๓) เปลี่ยนสี เพิ่มโลโก้ เพิ่มกรอบได้ตามใจชอบ

(๔) คลิกปุ่ม สร้าง QR

(๕) ดาวน์โหลด QR มาใช้งานได้เลย












วิธีใช้ QR Code

เมื่อติดตั้ง QR Code Reader เรียบร้อยแล้ว หากพบเห็น QR Code และอยากรู้ว่า QR Code

นั้นคืออะไร ให้เปิดโปรแกรม QR Code Reader และถ่ายรูปสัญลักษณ์ QR Code ระบบจะแปลง

สัญลักษณ์ ให้เป็นข้อมูลที่อ่านได้ทันที



QR Code Reader ที่ใช้ได้สำหรับโทรศัพท์มือถือจะมีอยู่ ๒ ประเภท ได้แก่

๑. แบบ Real-Time คือ แค่ใช้กล้องในโทรศัพท์มือถือส่อง QR Code ได้ทันที
๒. แบบ Snapshot/Capture คือ ต้องเปิดโปรแกรมแล้วถ่ายภาพจากกล้องมือถือ ถ่ายภาพ

Code ก่อน แล้วจึงประมวล Code ออกมา



๖๔



ตัวอย่างการใช้งาน QR Code







บทที่ ๔


ผลการพิจารณาศึกษา



เมื่อคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบ และเสริมสร้าง
ธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้ดำเนินการพิจารณาศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังได้นำเสนอมาในบทที่ ๒

และบทที่ ๓ แล้ว คณะกรรมาธิการฯ ยังศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ กล่าวคือ การเชิญผู้แทนจากหน่วยงาน

ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม รวมทั้งการลงพื้นที่ในต่างจังหวัดเพื่อให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยน

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาและจัดทำระบบติดตามตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการทุจริต

คอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในรูปแบบการนำเทคโนโลยี QR Code สำหรับเชื่อมโยงไปยัง
เว็บไซต์ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ

ที่เป็นการเปิดเผย โปร่งใส และกลไกในการป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในทุกขั้นตอน

รวมทั้งมีกลไกในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้กับประชาชนที่แจ้งเบาะแส

หรือให้ข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยได้มีการสำรวจ

ความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นสำคัญ ๆ หรือหัวข้อคำถามดังต่อไปนี้
๑. องค์กรของท่าน มีบทบาทอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างอย่างไร

๒. หากมีรูปแบบ QR Code ในการเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับ

การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการทุจริต องค์กรของท่านมีความ

พร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน หรือสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นช่องทางที่สะดวกและปลอดภัยในการแจ้ง

เบาะแสของประชาชนประการใด
๓. ท่านมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะประการใด เกี่ยวกับหลักการพิจารณาศึกษา

เรื่อง "การจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบรามการทุจริตการจัดซื้อ

จัดจ้างภาครัฐ" ของคณะกรรมาธิการและมีข้อขัดข้องประการใด

๔. องค์กรของท่านมีการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีความประสงค์จะแจ้ง

เบาะแสหรือยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐอย่างไร
๕. องค์กรของท่านมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชน

ได้เข้าไปตรวจดูหรือไม่ หากมีเป็นการเปิดเผยโดยวิธีการใดและมีข้อมูลใดบ้างที่นำไปเปิดเผย

ซึ่งจากการรับฟังความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ

กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ป.ป.ท.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

๖๖



ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การ

มหาชน) สภาสถาปนิก สภาวิศวกร สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

และประพฤติมิชอบ (ปปป.) คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST

Committee) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

(ป.ป.ง) และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานอัยการสูงสุด รวมจำนวน

๒๐ หน่วยงาน และจากการลงไปศึกษาข้อมูลในพื้นที่ต่างจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงราย จังหวัด
อุบลราชธานี จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน

ต่าง ๆ เช่น สำนักงานศาลยุติธรรมจังหวัด สำนักงานอัยการจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน

และปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด โยธาธิการและผังเมือง
จังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ท่องเที่ยวจังหวัด พัฒนา

สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการ

ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เขต เกษตรจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด องค์การ

บริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล สถานศึกษา

และภาคประชาชน รวมจำนวนกว่า ๘๐ หน่วยงาน สรุปสาระสำคัญตามความเห็นของแต่ละหน่วยงานได้
ดังนี้


๔.๑ การรับความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


๑) กรมบัญชีกลาง

กรมบัญชีกลาง มีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน เนื่องจากพระราชบัญญัติ
การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔๓ (๒) ได้กำหนดให้คณะกรรมการ

พิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนมีหน้าที่พิจารณาข้อร้องเรียนกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติ

ให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่ออกตามความใน

พระราชบัญญัติฯ อยู่แล้ว ประกอบกับหมวด ๒ ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและ

ผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตแห่งพระราชบัญญัติฯ ที่กำหนดให้ภาคประชาชนและ
ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า

โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency Initiative : CoST)

และข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) มาใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบความโปร่งใสในกระบวนการ

จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ยังได้มีการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ

และสามารถรายงานได้หากมีการพบเห็นพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต ดังนั้น จึงไม่ขัดข้องประการใด

๖๗



สำหรับในส่วนของการสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นช่องทางที่สะดวกและปลอดภัยในการแจ้งเบาะแส
ของประชาชน

ปัจจุบันกรมบัญชีกลางได้มีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั้งหมด

เช่น แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประกาศเชิญชวน ประกาศผู้ชนะ สาระสำคัญในสัญญา ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูล

การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ www.gprocurement.go.th เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งอยู่ระหว่าง การพัฒนา
Dashboard สำหรับให้ประชาชนเข้าถึงและตรวจสอบโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐได้อย่างสะดวก

รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก และลงในระดับพื้นที่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ดังนั้น

จึงอาจไม่จำเป็นต้องพัฒนารูปแบบ QR Code เพื่อการเผยแพร่แผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อ

จัดจ้าง หากแต่เป็นการต่อยอดจากสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้การตรวจสอบข้อมูล

จากประชาชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในส่วนของความปลอดภัยในการ
แจ้งเบาะแสของประชาชนนั้น กรมบัญชีกลางได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทาง

วิชาการและส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ

ปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สานักงาน ป.ป.ท.) โดยกำหนดกรอบการดำเนินการซึ่งรวมถึง

การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อรับเรื่องร้องเรียนตามหมวด ๒ ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและ

ผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตแห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าประชาชนที่ร้องเรียนการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเข้ามาจะ

ปลอดภัยตามมาตรฐานการดำเนินงานของสานักงาน ป.ป.ท.

กรมบัญชีกลาง ไม่ขัดข้องกับการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

ป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของกรรมาธิการ เนื่องจากตามหมวด ๒

แห่งพระราชบัญญัติฯ ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกัน
การทุจริต ได้มีการกำหนดให้ภาคประชาชนสามารถตรวจสอบการดำเนินโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) และโครงการความโปร่งใสในการ

ก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency Initiative : CoST) ดังนั้น จึงเห็นด้วยกับการที่

คณะกรรมาธิการจะมีการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปราม

การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อย่างไรก็ดี เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับหน่วยงานของรัฐตลอดจนเพื่อให้
ประชาชนเข้าถึงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างแบบ one stop service ผู้พัฒนาระบบต้องพัฒนาเครื่องมือ

ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งควรหารือในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน

ดำเนินการพัฒนาระบบใหม่ เพื่อให้การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนมีประสิทธิภาพ

และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

๖๘



๒) สำนักงบประมาณ
สำนักงบประมาณ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดทำรูปแบบ QR Code เพื่อติดตาม

ตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ดังนี้

๑. การเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง

ปัจจุบันสำนักงบประมาณยังไม่มีการจัดทำ QR Code ในการเผยแพร่
รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง แต่สำนักงบประมาณได้ดำเนินการเผยแพร่

รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง เป็นประจำทุกปี บนเว็ปไซต์สำนักงบประมาณ

www.bb.go.th และเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.gprocurement.go.th ซึ่งเป็นการปฏิบัติ

ตามกฎหมายและระเบียบพัสดุฯ

๒) การรบเรื่องร้องเรียนของสำนักงบประมาณ

สำนักงบประมาณมีความพร้อมสำหรับการรับเรื่องร้องเรียน โดยปัจจุบันการรับ

เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตในประเด็นของการจัดซื้อจัดจ้าง ประชาชนสามารถร้องเรียนผ่านศูนย์

รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ๑๑๑๑ โดยสำนักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานที่ดูแล

ระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ออนไลน์ ซึ่งระบบดังกล่าวครอบคลุมถึงประเด็นการร้องทุกข์

เรื่องทุจริตด้วย หน่วยงานราชการหลายแห่งรวมถึงสำนักงบประมาณจะรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้อง
กับหน่วยงานนั้นผ่านระบบฯ ดังกล่าว เพื่อนำไปดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้มอบหมาย

ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการติดตามเรื่องร้องเรียนจากระบบฯ ดังกล่าวทุกวัน

ในส่วนศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต สำนักงบประมาณ มีช่องทางการแจ้ง

เบาะแสร้องเรียน และเสนอแนะ ให้กับประชาชนผ่านระบบเว็บไซต์ของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต

http://www.bb.go.th /anticrt โดยขณะนี้ สำนักงบประมาณอยู่ระหว่างการวางแผนที่จะดำเนินการ
ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปราม

การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของคณะกรรมาธิการฯ เป็นการเปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบ

การทางานภาครัฐ สอดคล้องกับแนวทางตามรัฐธรรมนูญซึ่งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

ดำเนินงานของรัฐ แต่อย่างไรก็ตามการจัดทำระบบดังกล่าวต้องมีมาตรการการจัดการที่ดี มีการป้องกัน
และบทลงโทษหากพบการร้องเรียนที่เป็นเท็จในประเด็นที่ไม่มีมูลความจริง รวมถึงมาตรการคุ้มครอง

เจ้าหน้าที่ภาครัฐผู้ปฏิบัติงานผู้ถูกกล่าวโทษ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ผู้ที่ปฏิบัติงานตามกฎ

ระเบียบ ให้ได้รับความเป็นธรรม

๖๙



๓) กรมการปกครอง
กรมการปกครองมีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ต่าง ๆ รวมทั้ง

ได้ดำเนินการสร้างช่องทางการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริต ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่สะดวก

และปลอดภัย ดังนี้

๑. หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๖ ๐๕๓๐ (ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต)
หรือ ๐ ๒๖๒๙ ๙๑๒๓ (กองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์)

๒. ร้องเรียน/แจ้งเบาะแสทางออนไลน์ (Online) ได้แก่

- เว็บไซต์กรมการปกครอง (หัวข้อ ร้องเรียนร้องทุกข์) : www.dopa.go.th.

- เว็บไซต์ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ : https://damrongdhama.dopa.go.th

- Facebook กรมการปกครอง fanpage
- Line official (แจ้งเบาะแสทุจริต ปค.)

๓. ยื่นเรื่องร้องเรียน/แจ้งเบาะแสด้วยตนเองได้ที่ :

- ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กรมการปกครอง

- ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่งทั่วประเทศ

กรมการปกครองมีความเห็นว่า การจัดทำรหัส QR Code สำหรับเป็นฐานข้อมูล
เกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐนั้น ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มุ่งเน้นให้เกิด

ความเปิดเผย โปร่งใส ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐและถือเป็นการเพิ่มช่องทางและอำนวย

ความสะดวกให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่าง รวดเร็ว

และเฝ้าระวังการทุจริตได้อย่างเป็นรูปธรรมได้

อย่างไรก็ตาม การจัดทำระบบดังกล่าว ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำระบบจะต้อง
ออกแบบระบบให้มีความสะดวก ไม่ซับซ้อนและมีขั้นตอนที่ง่ายต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

ในแต่ละหน่วยงาน เพื่ออำนวยความสะดวกและไม่ถือว่าเป็นการสร้างภาระงานหรือการเพิ่มขั้นตอน

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งต้องคำนึงถึงความง่าย ความรวดเร็ว ความสะดวกของระบบในการ

เข้าใช้ของประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย

ดังนั้น หากมีการจัดทำระบบดังกล่าวขึ้น กรมการปกครองเห็นด้วยและพร้อมที่จะ
ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด รวมทั้งพร้อมให้ความร่วมมือในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง

๔) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด

ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค โดยดำเนินการตามขั้นตอนจัดซื้อ
จัดจ้างตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

๗๐



๑) พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

พ.ศ. ๒๕๖๐

๓) กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียนจาก
ประชาชนทุกภาคส่วนในการตรวจสอบการทุจริต และเห็นด้วยในการจัดทำระบบการมีส่วนร่วม

ของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

๕) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหน่วยงาน
ที่เป็นอิสระ มีฐานะเทียบเท่ากรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และถือเป็น

“หน่วยงานภาครัฐ” ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนั้น การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐภายในสำนักงานจะต้อง

ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนและมีระบบติดตามเรื่องกล่าวหาร้องเรียน ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน

ซึ่งเป็นช่องทางที่สะดวกรวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการ

ดังนั้น จึงเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการที่จะดำเนินการจัดทำระบบการมีส่วนร่วม

ดังกล่าว เพื่อเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบและป้องกัน

ปราบปรามการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อย่างเป็นรูปธรรม
๖) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)

สำนักงาน ป.ป.ท. ในฐานะเป็นกลไกของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปราม

การทุจริตในภาครัฐ และมีบทบาทอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตาม

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลัง

ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยดำเนินการผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้าง
ภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Procurement : e-GP) ของกรมบัญชีกลางทุกขั้นตอน

โดยยึดหลักการคือต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อราชการ มีความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพ

และตรวจสอบได้

สำนักงาน ป.ป.ท. เห็นว่า หากมีรูปแบบ QR Code สำหรับเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับ
การดำเนินการบริหาร การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่เปิดเผยจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุน

ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบดำเนินการโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ

๗๑



เพื่อป้องกันการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในการดำเนินโครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากการศึกษา
ดังกล่าวสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม จะทำให้มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการบริหาร

การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่เปิดเผยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก รวดเร็ว และประชาชน

ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุจริตในการดาเนินการจัดซื้อ

จัดจ้างในโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ
ดังนั้น สำนักงาน ป.ป.ท. เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการดังกล่าว

๗) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐภายในสำนักงานได้ปฏิบัติ

ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบ

กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
สำนักงาน สตง.มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียน/แจ้งเบาะแสหลายช่องทาง

ได้แก่ ร้องเรียนเป็นหนังสือ ร้องเรียนผ่านช่องทางเว็บไซต์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน

และร้องเรียนด้วยตนเอง อีกทั้ง ให้ความสำคัญในการรักษาความลับในเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบ

โดยการตรวจสอบเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนเป็นการปฏิบัติงานตรวจสอบหนึ่งของ สตง. ซึ่งผู้ตรวจสอบ

ต้องปฏิบัติงานตรวจสอบภายใต้หน้าที่และอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยเฉพาะในเรื่องของการรักษาความลับ ข้อความ ข้อเท็จจริง

หรือข้อมูลที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกำหนดไว้ใน มาตรา ๑๐๔ อย่างชัดเจน ดังนั้น สตง.

จึงมีความพร้อมในการรับและดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย

ของประชาชนผู้แจ้งเบาะแสเป็นสำคัญ

สำนักงาน สตง. ยินดีสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมาธิการที่จะกำหนดให้
มีการพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าว และมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้

๑) ควรกำหนดรูปแบบหรือมาตรฐานของข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

๒) ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำและเผยแพร่การจัดซื้อจัดจ้างทั้งปี เพื่อให้การ

จัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีกำหนดเวลาที่เหมาะสม รอบคอบ เป็นการดำเนินการตาม
วัตถุประสงค์ในการใช้งานของหน่วยงาน ภายใต้แผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสมและชัดเจน

๓) ส่งเสริมให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับการ

ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอ

ที่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๔) ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ

การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ต้องการให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร

๗๒



พัสดุภาครัฐเป็นมาตรฐานเดียวกัน เน้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
และเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่จะก่อให้เกิดความคุ้มค่า

มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง

ภาครัฐเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน


๕) ระบบฐานข้อมูลควรมีรายละเอียดข้อมูลสำคั อ ย่างเพียงพอให้กับภาค
ประชาชนในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริต เช่น ชื่อโครงการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ สถานที่

ดำเนินการ ช่วงระยะเวลาที่ดำเนินการ เพื่อให้การแจ้งเบาะแสของประชาชนเกิดความชัดเจนเพียงพอ

ที่หน่วยงานจะสามารถดำเนินการตามเรื่องร้องเรียน/การแจ้งเบาะแสได้

๘) สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีการจัดซื้อจัดจ้าง
ตามแผนงานโครงการของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกองบังคับการ

ปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และมีหน้าที่ให้ความเห็น

ประกอบการพิจารณาของปลัด หรือรัฐมนตรี กรณีที่มีการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัด

การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐภายในสำนักงาน

ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ปฏิบัติตามและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัดสุภาครัฐของหน่วยงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ

ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

พ.ศ. ๒๕๖๐ กฎกระทรวง ประกาศ หนังสือเวียน และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เห็นด้วยกับการพิจารณา

ศึกษาของคณะกรรมาธิการ เพื่อให้มีระบบติดตามตรวจสอบที่เหมาะสม
๙) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

การจัดทำระบบการติดตามตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน

ในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบการบริหาร

การจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในรูปแบบหนึ่งโครงการหนึ่ง QR Code โดยมีการติดรหัส

ดังกล่าวไว้ตามป้ายโครงการต่าง ๆ จะทำให้สามารถตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการได้
ตั้งแต่เริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดโครงการ ตลอดจนทำให้เกิดความสะดวก

ในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในแต่ละโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างว่า มีการเปลี่ยนชื่อ

ใช้งบประมาณดาเนินโครงการจำนวนเท่าไหร่ และเป็นโครงการเดิมที่เคยดำเนินโครงการนี้ไปแล้วหรือไม่

ดังนั้น หากโครงการใดที่ดำเนินการแล้วไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและมีการทุจริตเกิดขึ้นก็สามารถ
ที่จะร้องเรียนโครงการนี้ได้โดยสแกนรหัส QR Code เพื่อแจ้งเบาะแสการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง

ซึ่งจะทำให้งบประมาณที่ถูกนาไปใช้จ่ายในแต่ละโครงการ เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุน และไม่เกิดความ

๗๓



ซ้ำซ้อนในการขออนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการที่มีลักษณะเดียวกันอีก อีกทั้งการจัดทำรูปแบบ
QR Code จะทำให้ง่ายต่อการติดตามตรวจสอบโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างด้วย

การจัดทำรูปแบบ QR Code ควรมีกฎหมายและระเบียบรองรับในการจัดทำ

รูปแบบ QR Code ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนทางกฎหมาย เนื่องจากรหัส QR Code ที่ติดตามป้าย

โครงการต่าง ๆ และอุปกรณ์ของสำนักงานที่มีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรูปแบบ QR Code ที่
จะต้องมีการสื่อสารไปถึงประชาชนในฐานะผู้ที่ใช้บริการ จึงต้องมีกฎและระเบียบรองรับในการ

ดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ รูปแบบ QR Code เป็นระบบที่มีรูปแบบตอบกลับการสนทนาผ่านข้อความ

และเสียงแบบอัตโนมัติ (Chatbot) ประชาชนที่ร้องเรียนจึงสามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกับเจ้าหน้าที่

เกี่ยวกับรายละเอียดในแต่ละโครงการว่าการดำเนินโครงการอยู่ในขั้นตอนใดตลอดจนสามารถที่จะ

ร้องเรียนเจ้าของโครงการได้อีกด้วยและควรเป็นมติจากคณะรัฐมนตรีที่บังคับให้ทุกหน่วยงานที่
ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government

Procurement: e-GP) ของกรมบัญชีกลาง ต้องดำเนินการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่เริ่ม

โครงการ ระหว่างดำเนินการ และสิ้นสุดโครงการอีกทั้ง ในปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ

คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ใช้ระบบดังกล่าวดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนทั่วไปของเมือง ซึ่งมี
หลายหน่วยงานที่ใช้ระบบนี้ จึงเห็นว่า ควรนำรูปแบบ QR Code ในการรับเรื่องร้องเรียนทั่วไปของเมือง

มาเชื่อมโยงในระบบการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง

การจัดทำรูปแบบ QR Code ดังกล่าวเป็นระบบที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล

ต่าง ๆ ของภาครัฐได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น การร้องเรียน หรือการแจ้งเบาะแสเรื่องการทุจริต

การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากระบบดังกล่าวเป็นระบบที่มีรูปแบบตอบ
กลับการสนทนาผ่านข้อความและเสียงแบบอัตโนมัติ (Chatbot) จึงสามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกับ

ประชาชนได้ในเรื่องต่าง ๆ โดยผู้ที่ร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสเรื่องการทุจริต เพียงแค่สแกน QR Code

ตามป้ายโครงการก็จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ Applications LINE เพื่อส่งข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่

ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ประชาชนจึงสามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่และสามารถตรวจสอบโครงการต่าง ๆ

ที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ อีกทั้ง กรมบัญชีกลางมีฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ของ
ภาครัฐ ซึ่งอยู่ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government

Procurement: e-GP) จึงเห็นว่า ควรมีการเชื่อมต่อฐานข้อมูลดังกล่าวกับกรมบัญชีกลาง

๑๐) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

สพร. เป็นหน่วยงานกลางของระบบรัฐบาลดิจิทัลทีให้บริการส่งเสริม
และสนับสนุน การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

โดยการจัดให้มีการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ภายใต้ชื่อ

๗๔



“data.go.th” ด้วยแนวคิดการเป็นศูนย์กลางกาเข้าถึงข้อมูลเปิดภาครัฐของประเทศ เพื่อให้ประชาชน
สามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา พร้อมทั้งบริการให้คาปรึกษาในด้านการทำ

Data Government Framework หรือธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้มีการจำแนกประเภท และการจัดกลุ่ม

ความสำคัญของข้อมูลก่อนการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ

สพร. มีช่องทางในการรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนโดยข้อมูลดังกล่าว
จะถูกส่งถึงเฉพาะผู้เกี่ยวข้องเท่านั้นและมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลผู้ร้องเรียนให้มีความปลอดภัย

โดยมีช่องทาง ดังนี้

๑. ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ที่ URL:http://dga.or.th/th/contact

๒. ผ่านทาง DGA Contact Center: (+๖๖) ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๖๐ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๓. ผ่านทางอีเมล์ : [email protected]
การส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

ของรัฐมีช่องทางและมาตรฐานในการเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน API คณะกรรมาธิการ สามารถประสาน

ขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้เพื่อนำไปต่อยอดโครงการต่อไป

๑๑) สภาสถาปนิก

การจัดทำระบบการติดตามตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัป
ชันในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบการ

บริหารการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในรูปแบบหนึ่งโครงการหนึ่ง QR Code

ในส่วนของข้อมูลรูปแบบ QR Code ควรมีข้อมูลพื้นฐานสำคัญไว้ในรหัส QR Code เพื่อประโยชน์ต่อ

การติดตามและตรวจสอบการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของประชาชน เช่น ข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง

(TOR) วัตถุประสงค์ ขอบเขตงาน งบประมาณ วงเงินตามสัญญาจ้าง รายชื่อกรรมการ หลักเกณฑ์
การพิจารณา และผลการพิจารณาคัดเลือก เป็นต้น

ผู้รับจ้างมีข้อมูลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเท่านั้น ดังนั้น การให้ข้อมูล

เพื่อประชาชนสามารถเข้าเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างน่าจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน

ที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากมีข้อมูลครบถ้วนอยู่แล้ว อีกทั้ง เพื่อให้ความโปร่งใสเกี่ยวกับการ

ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จึงควรหารือไปยังคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (ค.ป.ท.)
ที่มีอำนาจหน้าที่ในการส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ

ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ในส่วนของสภาสถาปนิกยังไม่พบร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน

ภาครัฐ และภาคเอกชนแต่อย่างใด

๑๒) สภาวิศวกร
สภาวิศวกรเห็นด้วยกับการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

ป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อ จัดจ้างภาครัฐการเข้าถึงข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ

๗๕



ได้สะดวก รวดเร็วและปลอดภัยเป็นการเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้เข้าถึงข้อมูล
และอำนวยความสะดวกในการร้องเรียนเมื่อพบเหตุการณ์ทุจริต ยังผลให้หน่วยงานของรัฐกระทำการ

จัดซื้อจัดจ้างด้วยความรัดกุม และประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้สะดวก

มากขึ้น

๑๓) สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างดำเนินการโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ

(Infrastructure Transparency Initiative : CoST) ซึ่งเป็นโครงการที่หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการ

ก่อสร้างจะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสู่สาธารณชนตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการ

โครงการก่อสร้าง โดยเบื้องต้นกำหนดให้จังหวัดนำโครงการก่อสร้างที่ใช้งบประมาณมากที่สุดมาหนึ่ง

โครงการเพื่อทดลองนำข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวเข้าสู่ระบบ CoST ซึ่งผู้ที่นำเข้าข้อมูลคือหน่วยงาน
เจ้าของโครงการ ทั้งนี้ มีประเด็นคำถามว่าโครงการดังกล่าวจะมีลักษณะเช่นเดียวกับโครงการ


ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภบาล วุฒิสภา
หรือไม่

ประเด็นข้อสังเกตของสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ดังนี้
๑) งานก่อสร้างมีหลายขนาด โดยหลักจะแบ่งเป็น โครงการขนาดใหญ่

ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดจิ๋ว แต่ละประเภทจะพบปัญหาต่างกัน และปัญหาอาจเริ่มตั้งแต่

การได้มาของโครงการ วิธีการและนโยบาย โดยยอมรับว่าในวงการก่อสร้างย่อมต้องมีเรื่องของการทุจริต

แต่เห็นว่าควรพิจารณาว่าหากมีการทุจริตแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิด

ความเสียหายแก่ประเทศชาติ หรือเกิดความเสียหายน้อยที่สุด
๒) ประเด็นปัญหาราคากลาง ปัจจุบันคณะกรรมการราคากลางจะพิจารณาราคา

ต่อหน่วย แต่มิได้พิจารณาถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าของโครงการ ปริมาณ หรือความเหมาะสม

ของการใช้วัสดุแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น การก่อสร้างถนนสี่เลนในพื้นที่ชนบทที่ไม่ค่อยมีการสัญจร

มีความคุ้มค่าเพียงใด ในส่วนของรูปแบบ QR Code และระบบ CoST เห็นว่าระบบดังกล่าวเป็นเพียง

การประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงข้อมูลของโครงการเท่านั้น แต่จะไม่ทราบถึงกระบวนการของการทุจริต
จึงเสนอความเห็นว่า ภาครัฐควรหาแนวทางแก้ไขปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้ราคากลางมีความเหมาะสม

และควรพิจารณาถึงความจำเป็นของโครงการดังกล่าวด้วย อีกทั้งในความเป็นจริง ราคากลางที่กำหนด

ขึ้นไม่สามารถใช้ได้จริง เนื่องจากพื้นที่แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน เช่น การจัดซื้อหินในพื้นที่ที่อยู่ใกล้

ภูเขาก็จะสามารถจัดซื้อหินในราคาถูกได้ แต่สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีภูเขา และอยู่ไกลออกไปก็จะทำให้ราคา
หินย่อมมีความแตกต่างกันออกไปได้

๗๖



๓) เรื่องของการให้ภาคเอกชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตาม
และประเมินผลโครงการ โดยกำหนดให้ภาคเอกชนที่ไม่มีส่วนได้เสียเข้าร่วมเป็นผู้ตรวจสอบโครงการ

ดังนั้น จึงเห็นว่า รูปแบบ QR Code และระบบ CoST ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตในโครงการต่าง

ๆ เนื่องจากข้อมูลในระบบจะไม่สามารถตรวจสอบถึงกระบวนการที่มีการทุจริตได้

๔) ปัญหาเรื่องการเจาะ (Hack) ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
(e – GP) ของกรมบัญชีกลาง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น ชื่อผู้ซื้อ ราคา ที่เสนอ บุคคล

ที่ประมูลได้ เรื่องดังกล่าวกรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างการหาแนวทางการแก้ไข

๑๔) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สวทช. เห็นด้วยในหลักการการเปิดเผยให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบ

การทุจริต และได้จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ของ สวทช. ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะถือเป็น
ความลับ จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลและตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องเรียน

ต่อสาธารณชน

สวทช. เห็นว่า การจัดทำระบบการติดตามตรวจสอบและป้องกันปราบปราม

การทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและ

ตรวจสอบการบริหารการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในรูปแบบหนึ่งโครงการหนึ่ง QR
Code นั้น กรมบัญชีกลางได้จัดให้มีระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดเผยให้ประชาชน

ทุกภาคส่วนสามารถเข้าตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนอยู่แล้ว นอกจากนี้ ตามหมวด ๒ ของพระราชบัญญัติ

การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้กล่าวถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของภาค

ประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตไว้ด้วยแล้ว ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับแนวคิด

ของคณะกรรมาธิการ จึงอาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มกระบวนการในการจัดทา QR Code ดังกล่าว เพื่อมิให้
เป็นภาระแก่ผู้ปฏิบัติงานพัสดุมากจนเกินสมควร ในส่วนของช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียน สวทช.

เสนอให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานจัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนในลักษณะดังกล่าว เพื่อประโยชน์

ในการตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน

๑๕) กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.)

กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.)
มีความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในประเด็นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังนี้

(๑) การเปิดช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริต

(๒) มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส
(๓) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ

๗๗



และมีข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ ว่า สถานการณ์ในปัจจุบันการทุจริตมีปรากฏให้
เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ในทางสื่อโซเชียลและจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่ปรากฏ ปัญหา

หลัก ๆ คือ ไม่มีผู้แจ้งเบาะแส ร้องเรียน หรือมีการกระทำการทุจริตที่เป็นกระบวนการ มีอิทธิพลในพื้นที่

ทำให้การตรวจสอบเข้าไม่ถึง

ดังนั้น ตามที่คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบ
และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา จะดำเนินการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

ป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นั้น เป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง ประเด็นการเปิด

ช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริตนั้น ปัจจุบันกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติ

มิชอบ มีช่องทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและเพจเฟชบุ๊คของหน่วยงาน ที่ยังขาดคือ หมายเลขโทรด่วน

แจ้งเหตุ หรือหากคณะกรรมาธิการจะมีช่องทางอื่นใดก็เป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น
ในประเด็นมาตรการคุ้มครองปัจจุบัน ช่องทางของกองบังคับการป้องกัน

ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จะปิดบังข้อมูลของผู้แจ้งเหตุทุกราย และการลงพื้นที่

ตรวจสอบจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจลงไปสืบสวนหาข้อมูลจากหลายฝ่ายจนแน่ชัด จึงจะสรุปสำนวน

สืบสวนของหน่วยงานเอง เนื่องด้วยขั้นตอนสืบสวนเป็นการสืบสวนจากพยานหลักฐานจึงไม่จำเป็นต้อง

อ้างถึงผู้แจ้งเบาะแสเป็นพยาน
สำหรับปัญหาอุปสรรค เนื่องจาก บุคลากรของกองบังคับการป้องกันปราบปราม

การทุจริตและประพฤติมิชอบ ไม่เพียงพอ ต่อการแจ้งเบาะแสจากเพจที่เปิดไว้ได้ครบทุกราย

และไม่สามารถที่จะลงไปตรวจสอบได้ทุกเบาะแสที่มีผู้แจ้ง ยกเว้น เดินทางมาร้องทุกข์หรือมีการร้องทุกข์

เป็นเอกสารลงนามมายังพนักงานสอบสวนของกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติ

มิชอบ และหากการตรวจสอบข้อมูลหรือการสืบสวนเป็นไปอย่างไม่รัดกุม กองบังคับการป้องกัน
ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในเรื่องร้องเรียนนั้นได้

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการเปิดช่องทางการแจ้งเบาะแส

การทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส และ

มาตรการเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ

เรื่องดังกล่าว ดังนี้
๑) ต้องประชาสัมพันธ์ผ่านทางระบบช่องทางการสื่อสาร โทรทัศน์ วิทยุ

อินเตอร์เน็ต โซเชียลมิเดีย หรือ ทางระบบการสื่อสารอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้เข้าใจถึงกฎหมาย

ของนิยามคำว่า “ทุจริต” และ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร

๒) ต้องเพิ่มช่องทาง การแจ้ง ร้องเรียน เมื่อประชาชนพบเห็นความผิดให้ง่าย
สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการติดตาม การร้องเรียนดังกล่าว พร้อมข้อมูลการ

ติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับการร้องเรียนให้เป็นรูปธรรม

๗๘



๓) เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรับข้อร้องเรียน
ทางทุจริตให้เพิ่มมากขึ้น และง่ายต่อการเข้าถึงของประชาชน

๔) เสริมสร้างแรงจูงใจในการแจ้งเบาะแส ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตของ

เจ้าหน้าที่รัฐ โดยเพิ่มเติมกฎหมายในประเด็น “ค่าสินบนแห่งคดี” หากพบว่า คดีที่ผู้ร้องเรียนสามารถ

สืบสวน สอบสวน จนสามารถติดตามจับกุม เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี และตรวจยึด
ทรัพย์สินที่เชื่อว่าหรือได้มาจากการกระทำความผิด ขายทอดตลาด หรือตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน

โดยเทียบเคียงกับรางวัลสินบนนำจับตามประมวลศุลกากร

๕) สร้างเครือข่ายคนดีมีคุณธรรมต่อต้านการทุจริตให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่ม

ช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในทางทุจริตในแต่ละกลุ่ม

๖) ควรมีการจัดมอบรางวัลประจำปีในการต่อต้านการทุจริตซึ่งท่าน
นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้มอบให้กับประชาชนผู้ได้รับการคัดเลือก

๗) เพิ่มหลักสูตรการเรียนรู้ในการต่อต้านการทุจริตให้กับเยาวชนของชาติตั้งแต่

ในระดับอนุบาล

๑๖) คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST

Committee)
โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency

Initiative : CoST) เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย Department for International ของประเทศอังกฤษ

ภายใต้การสนับสนุนจากธนาคารโลกในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ปัจจุบันมี ๑๙ สมาชิก ได้แก่ กานา

(เมืองเซกันดี-ตาโกราดี) กัวเตมาลา คอสตาริกา โคลัมเบีย (กรุงโบโกตา) แทนซาเนีย ติมอร์-เลสเต

ปานามา มาลาวี เม็กซิโก (รัฐฮาลิสโก) โมซัมบิก ยูกันดา ยูเครน อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย (เขตลอมบ็อก
ตะวันตก) เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ เอธิโอเปีย ฮอนดูรัส และไทย

โครงการ CoST มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างภาครัฐ

ผ่านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างภาครัฐในระบบโครงสร้าง

พื้นฐานของประเทศ โดยหลักการของ CoST ประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบ ได้แก่

(๑) การเปิดเผยข้อมูลโครงการก่อสร้างภาครัฐ (Disclosure)
หน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องเปิดเผยข้อมูลตลอดระยะเวลาของ

โครงการตามแนวทางที่ CoST กำหนด โดยแบ่งการเปิดเผยข้อมูลเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่

(๑.๑) การเปิดเผยข้อมูลโครงการต่อสาธารณะหรือข้อมูลเชิงรุก (Proactive

Disclosure) หน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องเปิดเผยข้อมูลตลอดระยะเวลาของโครงการก่อสร้าง
ตั้งแต่กระบวนการจัดทำและนำเสนอโครงการ การเตรียมความพร้อมของโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง

ช่วงการดำเนินการโครงการและหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ มีทั้งสิ้น ๔๐ รายการ

๗๙



(๑.๒) การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการร้องขอหรือข้อมูลเชิงรับ (Reactive
Disclosure) เป็นข้อมูลที่หน่วยงานเจ้าของโครงการจะเปิดเผยเมื่อมีการ้องขอ

ทั้งนี้ โครงการ CoST ประเทศไทยได้กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเชิงรุกที่

เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสู่สาธารณชนในทุก ๆ ระยะของการดำเนินการ โดยจัดให้มีช่องทางการเปิดเผย

ข้อมูล ได้แก่ เว็บไซต์ CoST Thailand ของกรมบัญชีกลาง (http://process3.gprocurement.go.th/eGPCostWeb/home)
และ Facebook CoST Thailand (http://www.facebook.com/CoSTThailand)

(๒) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Multi-Stakeholder Group : MSG)

MSG ประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ CoST สำหรับประเทศไทย คือ คณะอนุกรรมการเพื่อ

ส่งเสริมความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (คณะอนุกรรมการ CoST) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประกาศ
คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตภายใต้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร

พัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๗ วรรคสอง โดยมีอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานอนุกรรมการ

ที่ปรึกษาหรือรองอธิบดีกรมบัญชีกลางที่กำกับดูแล กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อ

จัดจ้างภาครัฐ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนัก

งบประมาณ ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาวิศวกรรมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคม

อุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรม

ราชูปถัมภ์ ผู้แทนองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ผู้แทนองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย

ผู้แทนสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนมูลนิธิต่อต้านการทุจริต เป็น

อนุกรรมการและมีผู้แทนกรมบัญชีกลางเป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการ CoST
(๓) กระบวนการตรวจสอบข้อมูล (Assurance)

เป็นกระบวนการตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลโครงการ

ก่อสร้างที่เข้าร่วมโครงการ CoST โดยคณะทำงานตรวจสอบข้อมูล (Assurance Team) และจัดทำ

รายงานผลการตรวจสอบข้อมูล (Assurance Report) ให้อยู่ในรูปของภาษาที่เข้าใจได้ง่าย และเผยแพร่

ให้สาธารณชนได้รับทราบ และหากตรวจพบความไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนของข้อมูลจะดำเนินการ
รายงานให้คณะอนุกรรมการ CoST พิจารณาให้ความเห็น และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ

ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

(๔) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (Social Accountability)

เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเกิดการ
ตระหนักรู้ในความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างภาครัฐ เช่น

๘๐



การให้ความรู้เรื่องการนำข้อมูลไปใช้การจัดเวทีภาคประชาชนเพื่อรับฟังความคิดเห็น และกระบวนการ
รับเรื่องร้องเรียน เป็นต้น

คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและ

กรมบัญชีกลางดำเนินการโครงการ CoST โดยได้เริ่มนำร่องโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘

จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ จึงได้ขยายการดำเนินให้ครอบคลุมส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อให้การดำเนินโครงการ CoST

มีสภาพบังคับทางกฎหมายและครอบคลุมหน่วยงานของรัฐทุกประเภท คณะกรรมการความร่วมมือ

ป้องกันการทุจริตจึงได้นำโครงการ Cost เข้าดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง

และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และได้ออกประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกัน

การทุจริต เรื่อง โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผล
บังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างเข้าร่วมโครงการ CoST

จำนวน ๑,๕๒๗ โครงการ แบ่งเป็นส่วนราชการ จำนวน ๒๕๙ โครงการ รัฐวิสาหกิจ จำนวน

๓๑ โครงการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๑,๒๓๗ โครงการ

ตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง โครงการความ

โปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ ข้อ ๕ กำหนดให้คณะอนุกรรมการ CoST พิจารณาคัดเลือกโครงการ
ก่อสร้างโครงการหนึ่งโครงการใดที่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ให้เข้าร่วมโครงการ CoST

(๑) โครงการก่อสร้างที่จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศ

ของกรมบัญชีกลาง ที่มีลักษณะ ดังนี้

(๑.๑) เป็นโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณสูงสุดของหน่วยงานราชการ

ระดับกรมหรือเทียบเท่า
(๑.๒) ในกรณีที่เป็นโครงการก่อสร้างของหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น

ต้องมีลักษณะ ดังนี้

(๑.๒.๑) เป็นโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณสูงสุดขององค์การ

บริหารส่วนจังหวัด

(๑.๒.๒) เป็นโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณตั้งแต่เจ็ดล้านบาท
ขึ้นไปของเทศบาล

(๑.๒.๓) เป็นโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณตั้งแต่เจ็ดล้านบาท

ขึ้นไปขององค์การบริหารส่วนตำบล

(๑.๒.๔) เป็นโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณสูงสุดขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

๘๑



(๑.๓) เป็นโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
ของรัฐวิสาหกิจ

(๑.๔) เป็นโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณสูงสุดของหน่วยงานอื่น

นอกเหนือจาก (๑.๑) – (๑.๓)

(๒) โครงการก่อสร้างที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน
(๓) โครงการก่อสร้างที่คาดว่าจะมีการดำเนินการแน่นอน

(๔) โครงการก่อสร้างที่หน่วยงานเจ้าของโครงการพิจารณาเสนอให้เข้าร่วม

โครงการ CoST

(๕) โครงการก่อสร้างที่คณะอนุกรรมการ CoST เห็นสมควรให้เข้าร่วม

โครงการ CoST
การดำเนินการโครงการ CoST ที่ผ่านมา มีอุปสรรคที่สำคัญ ๓ ประการ ได้แก่

๑) การเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานเจ้าของโครงการ พบว่า หน่วยงานเจ้าของ

โครงการยังให้ความร่วมมือในระดับที่ต่ำ โดยจากจำนวนข้อมูลที่ต้องเปิดเผยทั้งสิ้น ๔๐ รายการ

จะมีการเชื่อมโยงมาจากระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) โดยอัตโนมัติ จำนวน

๒๕ รายการ (คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๕) และบันทึกเพิ่มเติม จำนวน ๑๕ รายการ (คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๕)
แต่ข้อมูลในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ พบว่า ค่าเฉลี่ยการเปิดเผยข้อมูลอยู่ที่ร้อยละ ๘๑.๓๕

แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานเจ้าของโครงการมีการบันทึกข้อมูลโครงการเพิ่มเติมโดยเฉลี่ยประมาณ

๗ รายการเท่านั้น

๒) ปัจจุบันระบบ CoST ถูกวางอยู่บนระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย

อิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) จึงมีข้อจำกัดในการใช้งาน เช่น จำนวนโครงการที่เข้าโครงการ CoST และ
รูปแบบการแสดงผล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรมบัญชีกลางได้ขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบ

CoST เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานพัฒนาระบบ CoST

คาดว่าจะสามารถรองรับจำนวนโครงการที่เข้าร่วมโครงการ CoST ได้เพิ่มมากขึ้น และจะอำนวย

ความสะดวกให้กับหน่วยงานเจ้าของโครงการในการเข้ามาใช้งานระบบ รวมถึงภาคประชาชนที่จะเข้า

มาใช้งานเว็บไซต์ CoST ด้วย
๓) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ที่ผ่านมากรมบัญชีกลางได้พัฒนา

โครงสร้างพื้นฐานของโครงการ CoST เพื่อรองรับการดำเนินงาน เช่น การนำโครงการ CoST

เข้าดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ การพัฒนา

ระบบ CoST การจัดเวทีภาคประชาชน และการจัดให้มีคณะทำงานตรวจสอบข้อมูล (Assurance
Team) เป็นต้น ซึ่งถือว่าการดำเนินการดังกล่าวครอบคลุมตามหลักการของ CoST ได้อย่างครบถ้วน

อย่างไรก็ตามยังพบว่า ภาคประชาชนยังเข้ามาใช้ข้อมูลจากโครงการ CoST ไม่มากนัก ดังนั้น เป้าหมาย

๘๒



ในการขับเคลื่อนโครงการในระยะต่อไปจะมุ่งเน้นการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อให้
สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงสามารถพัฒนาไปสู่การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมได้

อย่างแท้จริง

๔) ข้อจำกัดด้านงบประมาณ เนื่องจากโครงการ CoST จำเป็นต้องมีคณะทำงาน

ตรวจสอบข้อมูลตามแนวทางที่ CoST กำหนดซึ่งกรมบัญชีกลางได้ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
ประจำปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน ๒ ส่วน ได้แก่ (๑) เพื่อจ้างที่ปรึกษามาทำหน้าที่เป็นคณะทำงาน

ตรวจสอบข้อมูล และ (๒) เพื่อให้สำนักงานคลังจังหวัดในการทำหน้าที่ผู้ช่วยคณะทำงานตรวจสอบ

ข้อมูล และดำเนินการสุ่มตรวจโครงการในพื้นที่ โดยที่ผ่านมากรมบัญชีกลางได้รับจัดสรรงบประมาณ

เฉพาะในส่วนของค่าจ้างที่ปรึกษาและได้รับจัดสรรในวงเงินที่ลดลงซึ่งไม่สอดคล้องกับจำนวนโครงการ

ก่อสร้างภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการ CoST ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง โครงการความ

โปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ ครอบคลุมเฉพาะที่เป็นโครงการก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐ

ทุกประเภทตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ หากจะขยาย

โครงการ CoST ให้ครอบคลุมการจัดซื้อจัดจ้างประเภทอื่น อาจต้องปรับปรุงรายการข้อมูลที่เปิดเผย

ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละประเภท รวมถึงจะต้องปรับปรุงระบบ CoST
ให้รองรับการดำเนินการดังกล่าวด้วย

หน่วยงานเจ้าของโครงการก่อสร้างและภาคประชาชนสามารถติดตามข้อมูล

โครงการก่อสร้างที่เข้าร่วมโครงการ CoST ได้ทางเว็บไซต์ CoST Thailand ของกรมบัญชีกลาง

(http://process3.gprocurement.go.th/eGPCostWeb/home) และ Facebook CoST Thailand

(https://www.facebook.com/CoSTThailand) ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็วอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ดี
หากจะเพิ่มเติมให้เชื่อมโยงในรูปแบบของ QR Code ก็สามารถเป็นไปได้

ในส่วนของการรับเรื่องร้องเรียนกรมบัญชีกลางขอเรียนว่า เว็บไซต์ใหม่ของ

โครงการ CoST ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาจะมีระบบการรับเรื่องร้องเรียน และการติดตามเรื่องร้องเรียน

เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานเจ้าของโครงการและภาคประชาชนในการจัดการเรื่องร้องเรียน

ต่าง ๆ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการเชื่อมโยงข้อมูลอาจพิจารณาดำเนินการขอเชื่อมโยงข้อมูลที่
ต้องการผ่านระบบ CoST ได้ในระยะต่อไป

หากลักษณะของการดำเนินงานโครงการทั้ง ๓ โครงการมีความคล้ายคลึงกัน

อาจบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของโครงการ CoST ปัจจุบันมีการ

เปิดเผยข้อมูลโครงการก่อสร้างที่เป็นมาตรฐานสากล มีระบบสารสนเทศที่รองรับการเปิดเผยข้อมูล
ดังกล่าว รวมถึงมีเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน หากโครงการ “การจัดทำระบบการมีส่วนร่วม

ของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง” และแนวคิด “๑ โครงการ ๑

๘๓



QR Code” จะพิจารณาใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่บนระบบ CoST อาจเป็นประโยชน์ในการ
ดำเนินงานของทั้งสองโครงการต่อไปในอนาคต

สำหรับการส่งเสริมการดำเนินงานของทั้ง ๓ โครงการ อาจพัฒนาในส่วนของการ

ประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการดำเนินการที่มี

ลักษณะเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมีอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ระดับการเข้ามา
มีส่วนร่วมของภาคประชาชนซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งที่หน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานได้จัดให้มีระบบ

รวมถึงช่องทางต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคประชาชนเข้ามาใช้บริการอยู่แล้ว ดังนั้น

หากการดำเนินงานทั้ง ๓ โครงการ สามารถกระตุ้นให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น

จะเป็นประโยชน์และโอกาสสำคัญในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมต่อไปในอนาคต

๑๗) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
สำนักงาน ปปง. เป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือ

ทบวง ปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระและเป็นกลาง มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน

และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังต่อไปนี้

(๑) ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ คณะกรรมการธุรกรรมและ

ปฏิบัติงานธุรการอื่น
(๒) รับรายงานการทำธุรกรรมที่ส่งให้ตามหมวด ๒ และแจ้งตอบการรับรายงาน

รวมทั้งการรับรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่ได้มาโดยอย่างอื่น

(๓) รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้หรือ

กฎหมายอื่น หรือตามข้อตกลงที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างหน่วยงานในประเทศหรือต่างประเทศ

(๓/๑) กำหนดแนวทางปฏิบัติ กำกับ ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัตินี้ของผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ

แนวปฏิบัติ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

(๓/๒) ประเมินความเสี่ยงระดับชาติที่เกี่ยวกับการฟอกเงินหรือการ

สนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเพื่อจัดทำนโยบายและกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและ

ปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เสนอต่อ
คณะกรรมการและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งแจ้งผลการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวไปยังหน่วยงานกำกับ

ดูแลผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๖ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการใด ๆ ใน

การป้องกันและปราบปรามการการฟอกเงิน หรือการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

(๓/๓) จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ
ที่เกี่ยวข้อง ที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปราม

การฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

๘๔



(๓/๔) แจ้งรายชื่อผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๖ ซึ่งไม่
ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามสนับสนุนทางการเงินแก่การ

ก่อการร้าย ไปยังหน่วยงานกำกับดูแลผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๖ เพื่อพิจารณา

ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

(๓/๕) ส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อ
การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

(๔) เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ ตรวจสอบ และติดตามประเมินผลการดำเนินการ

ตามพระราชบัญญัตินี้และวิเคราะห์รายงานหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรม และประเมิน

ความเสี่ยง ที่เกี่ยวกับการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

(๕) เก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้

(๖) จัดให้มีโครงการที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ การให้การศึกษา และ

ฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือช่วยเหลือหรือสนับสนุนทั้ง

ภาครัฐ และภาคเอกชนให้มีการจัดโครงการดังกล่าว

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในการ
ตรวจสอบการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้น เนื่องจากตามมาตรา ๓ (๕) แห่ง

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตาม

กฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น เป็นความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตามมาตรการทางแพ่ง บูรณาการและ

ส่งเสริมให้เกิดการดำเนินการตามมาตรการทางอาญา

สำนักงาน ปปง. มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียน แจ้งเบาะแสตามความผิด

มูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผ่านสายด่วน ปปง. ๑๗๑๐

ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน ปปง. และการเดินทางมาแจ้งด้วยตนเองที่สำนักงาน ปปง.
ทั้งนี้ สำนักงาน ปปง. เห็นว่าการพิจารณาศึกษา เรื่อง “การจัดทำระบบการมี

ส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ” ในรูปแบบ QR

Code ของคณะกรรมการ เป็นการสนับสนุน ส่งเสริม เสริมสร้างระบบการป้องกันและปราบปรามการ

ทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นในรูปของการข่าว
การแจ้งเบาะแส ซึ่งเป็นประโยชน์ในการปราบปรามหรือการให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้เกิดผลในด้าน

การป้องกัน

๘๕



๑๘) สำนักงานอัยการสูงสุด
องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย ก.อ. อัยการสูงสุด

และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยธุรการ และเป็นส่วนราชการที่มีอิสระใน

การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น และเป็นนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็น

ผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล โดยที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ บัญญัติคำว่า หน่วยงานของรัฐ ให้หมายความว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประกอบกับ

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้นิยาม

คำว่า “หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งองค์กรตาม

รัฐธรรมนูญ หมายถึง อัยการสูงสุด ที่มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า

หน่วยงานของรัฐนั้นสามารถกำหนดหน่วยงานระดับใด ผู้บังคับบัญชาชั้นใด ตำแหน่งใด มีอำนาจ
ดำเนินการตามระเบียบนี้ก็ให้กระทำได้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีการ

กระจายอำนาจและลดขั้นตอนการดำเนินการ อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งมอบอำนาจดำเนินการและสั่งการ

เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งในกรุงเทพมหานคร สำนัก

นักบริหารทรัพย์สินมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาพัสดุ งานจัดจ้าง ก่อสร้างอาคาร งาน

บริหารสัญญา และควบคุมพัสดุ ครุภัณฑ์ทั้งปวงของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมถึงแผนการจัดหาพัสดุ
ศึกษา วิเคราะห์และพัฒนาระบบ รูปแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ รวมทั้งจัดทำระเบียบ คู่มือปฏิบัตินิเทศ

งาน และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการพัสดุ สัญญาและการควบคุมพัสดุแก่หน่วยงานในสำนักงาน

อัยการสูงสุด รวมทั้งปฏิบัติร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ

มอบหมาย

ทั้งนี้ หากคณะกรรมาธิการ มีระบบ QR Code ในการเผยแพร่ฯ สำนักงาน
อัยการสูงสุดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนั้น เมื่อมีระบบ QR

Code สำนักงานอัยการสูงสุดก็พร้อมที่จะเตรียมการในการรับเรื่องร้องเรียน หรือสร้างเครื่องมือเพื่อเป็น

ช่องทางที่สะดวกและปลอดภัยในการแจ้งเบาะแสของประชาชน

สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นด้วยกับการมีระบบ QR Code ในการเผยแพร่

รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการ
ทุจริต แต่มีข้อสังเกตในการเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการ กล่าวคือ ในการจัดซื้อจัดจ้างของ

สำนักงานอัยการสูงสุดได้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

พ.ศ. ๒๕๖๐ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐

กฎกระทรวง รวมถึงหนังสือของกรมบัญชีกลาง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องเผยแพร่รายละเอียด
แผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ในระบบจัดซื้อจัดจ้าง

ภาครัฐ e-GP ของกรมบัญชีกลางอยู่แล้ว จึงอาจเป็นการซ้ำซ้อนหากต้องเผยแพร่รายละเอียดในระบบ

๘๖



QR Code อีก หากระบบดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP ได้ จะเป็นการ
ลดขั้นตอนในการเผยแพร่รายละเอียดโครงการ สะดวก และรวดเร็วในการตรวจสอบการทุจริตและ

การแจ้งเบาะแสของประชาชน

๑๙) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

ข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยกวับการดำเนินการเปิดช่องว่างทางการ
แจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

(๑) ต้องประชาสัมพันธ์ผ่านทางระบบช่องทางการสื่อสาร โทรทัศน์ วิทยุ

อินเตอร์เน็ต โซเชียลมิเดีย หรือทางระบบการสื่อสารอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้เข้าใจถึงข้อ

กฎหมายของนิยามคำว่า “ทุจริต” และ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร

(๒) ต้องเพิ่มช่องทาง การแจ้ง ร้องเรียน เมื่อประชาชนพบเห็นความผิดให้ ง่าย
สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการติดตาม การร้องเรียนดังกล่าว พร้อมข้อมูลการ

ติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับการร้องเรียนให้เป็นธรรม

(๓) เพิ่มจำนวน เจ้าหน้าที่ ประจำแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรับข้อ

ร้องเรียน ทางทุจริตให้เพิ่มมากขึ้น และง่ายต่อการเข้าถึงของประชาชน

(๔) เสริมสร้างแรงจูงใจในการแจ้งเบาะแส ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตของ
เจ้าหน้าที่รัฐ โดยเพิ่มเติมกฎหมายในประเทศ “ค่าสินบนแห่งคดี” หากพบว่า คดีที่ผู้ร้องเรียนสามารถ

สืบสวน สอบสวน จนสามารถติดตามจับกุม เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี และตรวจยึด

ทรัพย์สินที่เชื่อว่าหรือได้มาจากการกระทำความผิด ขายทอดตลาด หรือตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน

โดยเทียบเคียงกับรางวัลสินบนนำจับตามประมวลศุลกากร

(๕) สร้างเครือข่ายคนดีมีคุณธรรมต่อต้านการทุจริตให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่ม
ช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในทางทุจริตในแต่ละกลุ่ม

(๖) ควรมีการจัดมอบรางวัลประจำปีในการต่อต้านการทุจริต ซึ่งท่าน

นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้มอบให้กับประชาชนผู้ได้รับการคัดเลือก

(๗) เพิ่มหลักสูตรการเรียนรู้ในการต่อต้านการทุจริตให้กับเยาวชนของชาติตั้งแต่

ในระดับอนุบาล
๒๐) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


Click to View FlipBook Version