๘๗
๔.๒ การเดินทางลงพื้นที่ เพื่อความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑) เทศบาลตำบลบ้านเหล่า
เทศบาลตำบลบ้านเหล่ามีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้
ประชาชนได้เข้าไปตรวจดูโดยเปิดเผยข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้
ทางเว็บไซต์ www.tbl.go.th และเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ www.gprocurement.go.th
และปิดประกาศที่หน่วยงาน โดยเผยแพร่ข้อมูล ประกาศเชิญชวน ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาสัญญา
ซื้อขาย สัญญาจ้าง และประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสหรือยื่นข้อร้องเรียนด้วยตนเองที่สำนักงาน
เทศบาลตำบลบ้านเหล่า ๒๕๙ หมู่ ๔ ตำบลทุ่งถ่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย ๕๗๓๕๐ หรือโทรศัพท์
สายด่วนผู้บริหาร ปลัดเทศบาล ๐๙๗ ๙๒๑ ๒๒๔๔ หรือทางเว็บไซต์ www.tbl.go.th และ E-mail :
[email protected]
เทศบาลตำบลบ้านเหล่า มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดทำและควบคุม
ช่องทางการติดต่อระบบจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดรหัสและข้อมูลส่วนบุคคล
ในการขอตรวจสอบและยื่นข้อร้องเรียน จึงมีความพร้อมดำเนินการจัดทำระบบการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ” ของคณะกรรมาธิการ
หากมีการใช้รูปแบบ QR Code ในการจัดซื้อจัดจ้างของเทศบาลตำบลบ้านเหล่าได้ให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
และประชาสัมพันธ์การตรวจรับงานจ้างให้ประชาชนในพื้นที่เข้าสังเกตการณ์และร่วมแสดงความคิดเห็น
และควรประชาสัมพันธ์วิธีการดังกล่าวตามสื่อหลักให้กว้างขวางและทั่วถึงเพื่อให้การมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการป้องกันปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มากขึ้น
๒) สถานีตำรวจภูธรจังหวดเชียงราย
ั
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงรายมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อ
จัดจ้างให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจดูโดยการเปิดเผยโดยวิธีติดประกาศ ซึ่งเป็นข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้าง
ทั่วไปและข้อมูลในการก่อสร้าง และได้มีการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีความประสงค์
จะแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ
โดยโทรสายด่วน ๑๕๙๙ ส่งหนังสือมาทางหน่วยงาน หรือยื่นด้วยตัวเอง
หากมีรูปแบบ QR Code ในการเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับ
การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการทุจริต สถานีตำรวจภูธรจังหวัด
เชียงรายมีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน หรือสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นช่องทางที่สะดวกและปลอดภัย
ในการแจ้งเบาะแสของประชาชน
๘๘
๓) เทศบาลตำบลท่าสุด
เทศบาลตำบลท่าสุดมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้
ประชาชนได้เข้าไปตรวจดูโดยมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชน
ได้เข้าตรวจสอบดูผ่านทางเว็บไซต์และเฟสบุ๊กของเทศบาลตำบลท่าสุด เป็นการเปิดเผยการจัดซื้อจัดจ้าง
ของโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ และได้มีการอำนวยความสะดวก
ให้กับประชาชน ที่มีความประสงค์จะแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง
ของหน่วยงานภาครัฐ ผ่านทางช่องทาง ดังนี้
๑) แจ้งผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน www.tasud.co.th
๒ ) แจ้งผ่าน ท างเฟ สบุ๊ ก ของห น่ วยงาน http://www.facebook.com
/tasud.subdistrict.municipality/
๓) แจ้งตู้แดง ตู้ของเทศบาล ที่ประจาในแต่ละหมู่บ้าน เป็นต้น
เทศบาลตำบลท่าสุดเห็นด้วยกับหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะเป็นไปตามหลักความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ
ตรวจสอบได้ และไม่มีข้อขัดข้องประการใด และหากมีการดำเนินการตามแผนงานโครงการเกี่ยวกับ
การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐฯ เทศบาลตำบลท่าสุดมีความพร้อมในการรับเรื่องราวร้องเรียนร้องทุกข์
หรือช่องทางในการแจ้งเบาะแสของประชาชนอยู่แล้ว โดยสามารถแจ้งผ่านทางเว็บไซต์ของเทศบาล
ตำบลท่าสุดหรือทางเฟซบุ๊คของเทศบาลตำบลท่าสุดที่สะดวกและปลอดภัยเพราะเจ้าหน้าที่รับเรื่องไว้
จะไม่นำข้อมูลที่ได้รับมาเปิดเผยแต่จะนำไปสอบสวนเพื่อดาเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ต่อไป
๔) องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองใน
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองใน ยึดหลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิด
เป็นข้อยกเว้น” อบต.แม่สลองใน ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนได้เข้าไป
ตรวจดู ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ประกอบด้วย แผนการจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารประกอบการจัดซื้อจัดจ้าง/ราคา
กลาง ผลการจัดซื้อจัดจ้าง และสัญญา โดยอาศัยการประชาสัมพันธ์หรือเปิดเผยผ่านช่องทางสื่อสังคม
ออนไลน์ต่าง ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ทางการของ อบต. เฟซบุ๊ค ไลน์ทางการ จดหมายถึงผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน
และหนังสือถึงบริษัทห้างร้านทั่วไปที่เกี่ยวข้อง และได้มีการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
ที่มีความประสงค์จะแจ้งเบาะแสและยื่นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่
การส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ภายในองค์กรจากผู้มีประสบการณ์
เกี่ยวกับงานพัสดุให้แก่บุคลากรผ่านการฝึกอบรม สัมมนาและศึกษาดูงาน และรณรงค์เสริมสร้างจิตอา
สำนึกและความตระหนักในหลักธรรมาภิบาลเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก โดยการจัดขบวน
๘๙
เดินรณรงค์ภายในพื้นที่ตำบลแม่สลองใน รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียล
มีเดียในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
ในปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศยังไม่มีความเป็นมาตรฐาน
หรือแนวทางเดียวกันในการจัดหาพัสดุ แม้ว่าจะมี พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยกรมบัญชีกลางวางไว้แล้วก็ตาม ทั้งนี้ ยังพบว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ยังมีจุดอ่อนที่ทาให้เกิดการคอรัปชั่น มีช่องทางการทุจริตอื่น ๆ ถูกมองว่าไม่เป็นธรรมและประชาชน
เห็นว่ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง รวมทั้งประชาชนยังไม่ได้มีเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและการ
เปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนก็ยังน้อยอยู่ จึงต้องจัดการปัญหาเหล่านี้ให้ได้ ดังนั้น อบต.แม่สลองใน
จึงเห็นด้วยในการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และมีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน หรือสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นช่องทาง
ที่สะดวกและปลอดภัยในการแจ้งเบาะแสของประชาชนในระดับดีมาก ซึ่งในปัจจุบัน อบต.แม่สลองใน
ได้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ เช่น การกำหนด
วิธีการและขั้นตอนในการจัดหา การควบคุม และการจำหน่ายพัสดุ เพื่อลดปัญหาในการจัดหาพัสดุ
โดยคาดหวังว่าจะเป็นการประหยัดงบประมาณ ลดระยะเวลาในการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้เกิดประสิทธิภาพ
และความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมากขึ้น
๕) องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงห้าว
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงห้าวมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการ
จัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจดูผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน ข้อมูลที่เปิดเผย เช่น วงเงิน
งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรและราคากลางในงานก่อสร้าง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา คำสั่งแต่งตั้ง
คณะกรรมการ แผนการจัดซื้อจัดจ้าง สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และได้มีการอำนวย
ความสะดวกให้กับประชาชนที่มีความประสงค์จะแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต
การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐผ่านทาง Facebookา เว็บไซต์ โทรศัพท์ หรือเดินทางมาด้วย
ตนเอง
การจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐหรือรูปแบบ QR Code เป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลแก่ประชาชน
อีกช่องทางหนึ่ง
๖) เทศบาลตำบลบ้านหว้า
เทศบาลตำบลบ้านหว้ามีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้
ประชาชนได้เข้าไปตรวจดูผ่านศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ/เว็บไซต์ของเทศบาลตำบลบ้านหว้า
/บอร์ดประชาสัมพันธ์/เสียงตามสายภายในชุมชนเขตเทศบาลตำบลบ้านหว้า และได้มีการอำนวย
๙๐
ความสะดวกให้กับประชาชนที่มีความประสงค์จะแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต
การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐโดยติดต่อเทศบาลตำบลบ้านหว้าโดยตรง หรือผ่านทางโทรศัพท์
หรือผ่านทางเว็บไซต์ และเว็บไซต์ของเทศบาล
เทศบาลตำบลบ้านหว้ามีความพร้อมในการเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการ
เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการทุจริตเนื่องจากเป็น
หน่วยงานของรัฐมีบุคลากรและงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวและต้องใช้อำนาจ
หน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน
๗) องค์การบริหารส่วนตำบลแม่จัน
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่จันมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อ
จัดจ้างให้ประชาชนทราบ โดยประชาชนสามารถเข้าไปตรวจดูได้ทางเว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบล
ทางระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และบอร์ดประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล และส่ง
ประกาศการจัดซื้อจัดจ้างให้กับผู้นำชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสาย ประกอบด้วย ข้อมูลการ
จัดซื้อจัดจ้าง วงเงินงบประมาณ ราคากลาง เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน ประกาศรายชื่อผู้ชนะการจัดซื้อ
จัดจ้าง เป็นต้น และมีช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ในหน้าเว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบล
แม่จัน maechansao.go.th เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีความประสงค์แจ้งเบาะแส
ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่จันเห็นด้วยการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของคณะกรรมาธิการเพื่อเป็น
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และมีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน
และได้สร้างเครื่องมือคือช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนในเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบล
โดยผู้ร้องเรียนสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนในทางลับโดยไม่ระบุตัวตนได้เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
ในการแจ้งเบาะแสของประชาชน
๘) องค์การบริหารส่วนตำบลสันทราย
องค์การบริหารส่วนตำบลสันทรายมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการ
จัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนทราบ โดยติดประกาศบอร์ดประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน / ทางเว็บไซต์ของ
องค์การบริหารส่วนตำบล / ระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง / ข้อมูลที่นำไปลง ข้อมูล
เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง ประกาศประกวดราคา ประกาศผู้ชนะ
ประกาศผู้ชนะรายไตรมาส เป็นต้น และมีการจัดทำเว็บบอร์ด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทางเว็บไซต์ของ
องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งสามารถเข้าแจ้งเบาะแสทุจริตเข้ามาได้
องค์การบริหารส่วนตำบลสันทรายเห็นด้วยการจัดทำระบบการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของคณะกรรมาธิการ
๙๑
เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนจะได้ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีความ
พร้อมในการเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อให้ประชาชน
ทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการทุจริต และรับเรื่องร้องเรียนเนื่องจากปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบล
สามารถเผยแพร่ได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทางไลน์ เฟสบุ๊ค ทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
๙) เทศบาลนครเชียงราย
เทศบาลนครเชียงรายมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
ให้ประชาชนทราบอย่างเปิดเผย และโปร่งใสเพื่อให้ประชาชนได้สามารถเข้ามาตรวจสอบ ผ่านทาง
เว็บไซต์ และบอร์ดประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ให้ได้รับทราบ ทั้งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและบริการ
กระบวนการจัดจ้างก่อสร้าง และการกำหนดราคากลางพัสดุ การจัดทำสัญญาและบริหารสัญญา
หรือ website : Chiengraicity.go.th และสามารถแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต
การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐผ่านช่องทางหลากหลาย เช่น เดินทางมาด้วยตนเองที่สำนักงาน
เทศบาล หรือ ผ่านช่องทาง Online ต่าง ๆ
เทศบาลนครเชียงรายเห็นด้วยการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือรูปแบบ QR Code เนื่องจาก
ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสอบของภาครัฐได้ง่ายขึ้น สะดวก รวดเร็ว นอกเหนือจากการเข้า
ระบบผ่านทางเว็บไซต์ อีกทั้งเพิ่มช่องทางการตรวจสอบได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น และเทศบาล
นครเชียงรายมีความพร้อมในการเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการทุจริต และรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทาง
ที่สะดวก ปลอดภัย ได้แก่ ช่องทาง online ผ่านเว็บไซต์ หรือ Facebook ที่สามารถสร้าง QR Code
ใช้สาหรับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้
๑๐) องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการ
จัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนทราบอย่างเปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) เว็บไซต์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จัดส่งประกาศเผยแพร่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดเชียงราย และติดประกาศ ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
ี
โดยประชาชนสามารถร้องเรยน/แจ้งเบาะแสการทุจริต ได้ดังนี้
๑) ร้องเรียนด้วยตนเอง
๒) ตู้รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
๓) ทางไปรษณีย์ ที่อยู่ เลขที่ ๕๒๑ หมู่ที่ ๖ ถนนศูนย์ราชการฝั่งหมิ่น ตาบลริม
กก อาเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ ๕๗๑๐๐
๙๒
๔) ร้องเรียนทางโทรศัพท์ หมายเลข ๐๕๓ ๑๗๕ ๓๕๑ หมายเลขโทรสาร ๐๕๓
๑๗๕ ๓๑๙
๕) เว็บไซต์ www.chiangraipao.go.th
๖) Facebook องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย มีความยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการ
เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง
ภาครัฐ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น มีตัวแทนประชาคม
หมู่บ้านจากทุกอำเภอในจังหวัดเชียงราย เข้ามาเป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุร่วมกับหน่วยงาน
มีศูนย์ดารงธรรม ศูนย์ข้อมูลข่าวสารและศูนย์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น จึงมีความ
พร้อมในการเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อให้ประชาชน
ทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการทุจริต และพร้อมรับเรื่องร้องเรียนหรือสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นช่องทาง
ที่สะดวกและปลอดภัยในการแจ้งเบาะแสของประชาชน
๑๑) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงรายมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการ
ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนทราบอย่างเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
เชียงราย ในหัวข้อการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีการจัดทำรายงานแสดงผลการจัดซื้อจัดจ้างทุกเดือน
มีการสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายปีงบประมาณ และรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
โดยประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแส
การพบเห็นเจ้าหน้าที่ทุจริตหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในเว็บไซต์สานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
เชียงราย หัวข้อแบบฟอร์มร้องทุกข์ www.industry.go.th/cheangrai/index.php หรือโทรศัพท์
๐๕๓-๗๑๑๖๖๖ โทรสาร ๐๕๓-๗๑๗๗๐๖
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงรายเห็นด้วยการจัดทำระบบการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือรูปแบบ QR Code
เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้มากขึ้น ลดการทุจริตและป้องกันการเปิด
ผลประโยชน์ทับซ้อนในการจัดซื้อจัดจ้างได้ และมีความพร้อมในการเผยแพร่รายละเอียดแผนงาน
โครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการทุจริต
และรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางที่สะดวก ปลอดภัย ในเว็บไซต์ของสานักงานอุตสาหกรรมฯ
www.industry.go.th/cheangrai/index.php หัวข้อแบบฟอร์มร้องทุกข์ หรือโทร ๐๕๓-๗๑๑๖๖๖
โทรสาร ๐๕๓-๗๑๗๗๐๖
๙๓
๑๒) องค์การบริหารส่วนตำบลดอยงาม
องค์การบริหารส่วนตำบลดอยงามได้มีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการจัดซื้อ
จัดจ้างเพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจดูผ่านทาง เว็บไซต์ อบต.ดอยงาม ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
(e-GP) โดยเจ้าหน้าที่พัสดุผู้รับผิดชอบเป็นผู้บันทึกข้อมูลตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบ
กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ เช่น ประกาศ
เชิญชวน ประกาศราคากลาง ประกาศผลผู้ชนะ เป็นต้น และมีการดำเนินการให้ความรู้แก่เครือข่าย
ป้องกันการทุจริตประจำปีทุกปี การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อ
จัดจ้างและมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนพบเห็นการทุจริต สามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงาน อบต.
ดอยงาม เว็บไซต์ อบต.ดอยงาม และทาง Facebook อบต.ดอยงาม อ.พาน
ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลดอยงาม มีเว็บไซต์ และ Facebook
และศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางราชการ ซึ่งมีความพร้อมในการเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการ
เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการทุจริต และรับเรื่อง
ร้องเรียน เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบการทุจริต และเจ้งเบาะแสได้อย่างทั่วถึง แต่การ
จัดทำรูปแบบ QR Code ดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดกับประชาชนในช่วงวัยผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถเข้าถึง
เทคโนโลยีได้
๑๓) เทศบาลตำบลแม่จัน
เทศบาลตำบลแม่จันได้มีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้
ประชาชนได้เข้าไปตรวจดูผ่านทางเว็บไซต์เทศบาล เว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP)
ข้อมูลที่เปิดเผย เช่น แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประกาศผู้ชนะ ประกาศประมูลการจัดซื้อจัดจ้างโดยระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และหากประชาชนพบเห็นการทุจริตสามารถร้องเรียนผ่านเฟซบุ๊คของ
เทศบาล ส่งเรื่องที่ตู้ ปณ. ๗๗ สายตรงผู้บริหาร และผ่านทางเว็บไซต์ของเทศบาล
เทศบาลตำบลแม่จัน เห็นว่าการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือรูปแบบ QR Code เป็นเรื่องที่ดี
ในการส่งเสริมระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การจัดซื้อจัด
จ้างภาครัฐ ซึ่งจะทำให้การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างน้อยลง และมีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน
และสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นช่องทางที่สะดวกและปลอดภัยในการแจ้งเบาะแสของประชากร มีบุคลากร
ที่มีความพร้อม มีงบประมาณ มีวัสดุอุปกรณ์ มีการบริหารจัดการ จึงไม่มีข้อขัดข้องในการดำเนินการ
๑๔) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดเชียงราย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดเชียงราย ได้มีการเปิดเผยข้อมูล
การจัดซื้อจัดจ้างในเว็บไซต์ ระบบข่าวการจัดซื้อจัดจ้างของ ททท. และประกาศในระบบการจัดซื้อ
จัดจ้างภาครัฐ (e-GP) ของกรมบัญชีกลาง โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดเชียงราย
๙๔
มีหน้าที่ในการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวของประเทศ มีบริการให้ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว
และรับเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยว ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงดาเนินการต่อไป
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดเชียงราย เห็นด้วยที่จะมีการ
จัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
หรือรูปแบบ QR Code และไม่มีข้อขัดข้องประการใด
๑๕) องค์การบริหารส่วนตำบลบัวคลี
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวคลีได้มีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการจัดซื้อ
จัดจ้างโดยสามารถตรวจดูได้ที่เว็บไซต์ของ อบต. และเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง และบอร์ด
ประชาสัมพันธ์ของ อบต. และหากประชาชนพบเห็นการทุจริตสามารถแจ้งเบาะแสหรือยื่นข้อร้องเรียน
เกี่ยวกับการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างได้ที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบัวคลี่และเว็บไซต์ของ อบต.
องค์การบริหารส่วนตำบลบัวมีความพร้อมในการเผยแพร่รายละเอียด
แผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบ
การทุจริต และรับเรื่องร้องเรียนเพราะปัจจุบันมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย และเป็นการอำนวยความ
สะดวกให้แก่ประชาชน
๑๖) สำนักงานจังหวัดระยอง
สำนักงานจังหวัดระยองมีการจัดทำระบบแจ้งเรื่องการร้องเรียนการทุจริต
ผ่านทางหน้าเว็บไซต์จังหวัดระยอง www.rayong.go.th โทรศัพท์ ๐ ๓๘๖๙ ๔๐๐๐ ซึ่งสามารถเข้าไป
ตรวจดูได้จากเว็บไซต์จังหวัด www.rayong.go.th และสามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานจังหวัด
ระยองได้โดยตรงและปัจจุบันมีการกำหนดให้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างทั้งผ่านทางเว็บไซต์
ของจังหวัดและเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง
เห็นด้วยกับการจัดทำระบบ QR Code ถ้าหากมีการจัดทำระบบควรใช้
ฐานข้อมูลชุดเดิมที่เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลไว้แล้วเพื่อลดความซ้ำซ้อนและไม่เป็นการเพิ่มภาระงานให้
เจ้าหน้าที่
๑๗) สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระยอง
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระยองมีการรับเรื่องกล่าวหาและทำการ
ไต่สวนกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือโดยมิชอบ หรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐกระทำความผิดฐานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือร่ำรวยผิดปกติ ทั้งนี้ รวมทั้งการจัดซื้อจัด
จ้างของหน่วยงานภาครัฐด้วย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการทุจริตต่อหน้าที่หรือการปฏิบัติหรือละเว้นการ
ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระยอง มีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน
โดยปัจจุบันทางสำนักงาน ป.ป.ช. มีสายด่วน ๑๒๐๕ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้แจ้งเบาะแสเพื่อ
๙๕
ความปลอดภัยของผู้เจาะเบาะแส ต่าง ๆ ที่มีมายังสำนักงาน ป.ป.ช. นอกจากนี้ยังมีช่องทาง Facebook
(สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระยอง) และ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๘-๖๒๓๒๐๗ ซึ่งอำนวยความ
สะดวกให้แก่ประชาชนผู้ประสงค์จะแจ้งเบาะแสการทุจริตต่าง ๆ รวมทั้งร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตการ
จัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐด้วย
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระยองเห็นด้วยกับการจัดทำระบบ QR Code
เพราะการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเฝ้าระวังการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน
ภาครัฐ จักส่งผลให้การดำเนินงานของภาครัฐเกิดความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของ
หน่วยงานภาครัฐลดน้อยลง
๑๘) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง มีความพร้อมในการรับเรื่อง
ร้องเรียน โดยปัจจุบันทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง มีหลายช่องทางในการติดต่อ
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต เช่น ทางเว็บไซต์สำนักงานฯ Facebook
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง และ E-mail : [email protected] และหมายเลข
โทรศัพท์ ๐๓๘ - ๖๑๘๙๖๘ โดยมีการปกปิดข้อมูลผู้แจ้งเบาะแสเพื่อความปลอดภัยของผู้แจ้งเบาะแส
ต่าง ๆ ที่มีมายังสำนักงานฯ
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง มีการเปิดเผยการดำเนินงาน
เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างให้กับประชาชนได้เข้าไปตรวจสอบได้ โดยการลงข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างทุก
อย่างในระบบ e-GP และประกาศผล ให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบในเว็บไซต์ของสำนักงานฯ
สำนักงานการท่องเที่ยวเห็นด้วยกับการจัดทำระบบ QR Code เพราะการ
เข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเฝ้าระวังการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ
จักส่งผลให้การดำเนินงานของภาครัฐเกิดความโปร่งใส และเกิดความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น การทุจริต
การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐลดน้อยลง
๑๙) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดระยอง
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดระยองมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ
จ้างเหมาบริการบุคคล จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำนักงานฯ ดำเนินการจัดจ้างดำเนินโครงการ เป็นต้น
ซึ่งสำนักงานฯ มีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน และมีระบบ QR Code ในการสอบถามความพึง
พอใจ สำนักงานฯ ได้จัดทำช่องทางอำนวยความสะดวกในการแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่องร้องเรียนได้หลาย
ช่องทางทั้งผ่านระบบ Online และ Walk in สำนักงานฯ เห็นด้วยกับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การตรวจสอบ
๙๖
๒๐) สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดระยอง
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดระยอง เป็นหน่วยงานรับงบประมาณของ
กรมโยธาธิการและผังเมือง และจังหวัดระยอง ในการดำเนินการตามแผนงานโครงการต่าง ๆ ที่จะต้อง
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างด้วย ในปัจจุบันในการจัดซื้อจัดจ้างมีการประกาศแผน
การดำเนินงานแต่ละแผนงานและโครงการอยู่แล้ว ทั้งเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางและของสำนักงาน
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดระยอง
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดระยองไม่มีข้อโต้แย้งประการใดต่อ
การจัดทำระบบ QR Code และเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
๒๑) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยองมีความพร้อมในการจัดทำ QR Code
แบบฟอร์มช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนในรูปแบบ google form ปัจจุบันสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
ระยอง มี ๘ ช่องทางการร้องเรียน ได้แก่
(๑) การยื่นเรื่องด้วยตนเองที่ สอจ.ระยอง
(๒) ทางไปรษณีย์ ๑๔๐/๒๐ หมู่ ๒ ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง ๒๑๐๐๐
(๓) ทาง E-mail : [email protected]
(๔) ทางเว็บไซต์สำนักงาน www.rayong.industry.go.th
(๕) Facebook : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
(๖) ทางโทรศัพท์ ๐๓๘-๘๐๘๑๗๖-๘
(๗) ทางโทรสาร ๐๓๘-๖๑๒๐๓๘
(๘) กล่องแสดงความคิดเห็น
และมีการประชาสัมพันธ์สื่อเรื่อง “๘ ช่องทางการร้องเรียน เจ้าหน้าที่ทุจริตหรือ
ประพฤติมิชอบ” ของสำนักงานเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน และบอร์ดประชาสัมพันธ์หน้า
สำนักงาน
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยองเห็นด้วยกับระบบ QR Code สำหรับการจัด
ให้มีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เนื่องจาก
สะดวก ง่าย และรวดเร็ว แต่ประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศไม่สามารถเข้าถึงระบบออนไลน์ต่าง ๆ ได้
เนื่องจากขาดความรู้และอุปกรณ์ทำให้เสียโอกาสในการเข้าถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงเสนอว่า
ควรจัดทำช่องทางการร้องเรียนหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบรหัส QR Code และแบบแสดงความคิดเห็นใน
รูปแบบอื่น ๆ
๙๗
๒๒) องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง มีความพร้อมในการจัดทำระบบ QR Code ใน
การเผยแพร่รายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เนื่องจากมความพร้อมใน
ี
ทุก ๆ ด้าน และสามารถตรวจสอบได้ทุกช่องทาง ปัจจุบัน ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่อง
ร้องเรียนได้ในหลายช่องทาง เช่น แจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางเว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ระยอง , Facebook องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และ E-mail ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ระยอง เป็นต้น
องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองเห็นด้วยกับการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยการจัดทำรหัส QR
Code เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบรายละเอียดแผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของ
ภาครัฐ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และเสนอว่าในการแจ้งข้อมูลเบาะแสของประชาชนนั้นต้อง
ให้ความเชื่อมั่นว่าประชาชนผู้แจ้งข้อมูลต้องมีความปลอดภัยและข้อมูลที่แจ้งมีความถูกต้องและเชื่อถือได้
๒๓) เทศบาลนครระยอง
เทศบาลนครระยอง มีความพร้อมสำหรับการรับเรื่องร้องเรียน โดยสามารถนำ
ระบบ QR Code เผยแพร่ผ่านช่องทาง Website, Line@ และ Facebook ของเทศบาลนครระยอง
ซึ่งช่องทางดังกล่าวเป็นช่องทางที่สะดวกและปลอดภัยสำหรับการแจ้งเบาะแสของประชาชน เนื่องจาก
เทศบาลนครระยองมีคณะทำงานที่มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนโดยเฉพาะ
เทศบาลนครระยอง สนับสนุนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในในการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
๒๔) เทศบาลตำบลชากบก
เทศบาลตำบลชากบกเป็นหน่วยงานของรัฐระบบท้องถิ่น ที่สามารถดำเนินการ
จัดซื้อจัดจ้างเองได้โดยอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบตามหน่วยงานส่วนกลางเหมือนกัน ปัจจุบัน
มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจสอบได้ เช่น E-mail
เว็บเพจเทศบาล และไลน์ส่วนกลางของเทศบาล เป็นต้น
เทศบาลตำบลชากบกมีความยินดีรับฟังและพร้อมแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน
และเห็นว่าระบบ QR Code เป็นแนวทางที่ดีในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันแลปราบปราม
การทุจริตเพราะหน่วยงานของรัฐต้องโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
๒๕) เทศบาลตำบลชุมแสง
เทศบาลตำบลชุมแสงมีความพร้อมพอสมควรในการจัดทำระบบ QR Code
เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อรองรับการร้องเรียนออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวก
และรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้แจ้งเบาะแส ทั้งนี้ เห็นว่าการพิจารณาศึกษา เรื่อง “การจัดทำระบบ
๙๘
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ” เป็นเรื่อง
ทางวิชาการ มีข้อมูลและวิธีคิดที่ซับซ้อน เมื่อศึกษาเสร็จแล้วควรถ่ายทอดผลการศึกษาให้แก่หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและให้ประชาชนทราบเข้าใจได้โดยง่าย และเห็นว่าควรศึกษาและปลูกฝังค่านิยม
ความตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนต้อง
เข้าใจและมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน
๒๖) เทศบาลตำบลเชิงเนิน
เทศบาลตำบลเชิงเนินมีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน ผ่านระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นช่องทางที่สะดวกและปลอดภัยในการแจ้งเบาะแส และเห็นด้วยกับการ
จัดทำระบบ QR Code เนื่องจากภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมักถูกมองว่าเป็นหน่วยงาน
ที่มีการทุจริตอยู่เสมอ ทั้งที่ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายและจำนวนร้อยละของการทุจริตทั้งหมดน้อยกว่า
หน่วยงานอื่น ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนได้รับรู้จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และเห็นว่าก่อนดำเนินการเปิดระบบ หน่วยงานมีความต้องการให้มีการ
จัดอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดูแลระบบดังกล่าว
๒๗) เทศบาลตำบลทุ่งควายกิน
เทศบาลตำบลทุ่งควายกินมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างโดยการ
ติดประกาศที่เทศบาล การประกาศเผยแพร่ในเว็บไซต์ของเทศบาล และการประกาศในระบบ
ของกรมบัญชีกลาง และมีการรับเรื่องร้องเรียนได้หลายช่องทาง เช่น โทรสายตรงถึงนายกเทศมนตรี
ปลัดเทศบาลหรือยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานและช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์เทศบาล Facebook
เทศบาล เป็นต้น
๒๘) เทศบาลตำบลบ้านนา
เทศบาลตำบลบ้านามีการจัดทำช่องทางการร้องเรียนการทุจริต ดังนี้
(๑) ด้วยตนเอง ณ เทศบาล
(๒) ทางไปรษณีย์
(๓) ระบบรับเรื่องร้องเรียนทางเว็บไซต์ www.banna-klaeng.go.th
(๔) ตู้รับฟังความคิดเห็น
(๕) Facebook
เทศบาลตำบลบ้านนาไม่ขัดข้องในการจัดทำระบบ QR Code และเสนอว่า
สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ระบบ ITA ของ ป.ป.ช.
๙๙
๒๙) เทศบาลตำบลเนินฆ้อ
เทศบาลตำบลเนินฆ้อได้จัดทำกล่องแจ้งร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตฯไว้
ด้านหน้าหน่วยงาน ในส่วนของการจัดทำระบบ QR Code เห็นว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกในการ
ปฏิบัติงาน และจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๓๐) เทศบาลตำบลสำนักท้อน
เทศบาลตำบลสำนักท้อนมีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียนจากการจัดซื้อ จัด
จ้างของภาครัฐ โดยเห็นควรให้ระบบ QR Code ที่มีควรเน้นแพลตฟอร์มเดียวกันทั่วประเทศและ
มาจากหน่วยงานส่วนกลาง
เทศบาลตำบลสำนักท้อนมีเครื่องมือที่เทศบาลตำบลสำนักท้อน สร้างขึ้นเพื่อรับ
เรื่องร้องเรียนจากประชาชน ในปัจจุบัน มีดังนี้
ช่องทางที่ 1 - ตู้รับเรื่องร้องเรียน/ ข้อคิดเห็น
ช่องทางที่ 2 - ร้องเรียนผ่านทางจดหมายถึงผู้เกี่ยวข้อง
ช่องทางที่ 3 - ร้องเรียนด้วยตนเองในวัน เวลาราชการ กรณีไม่มีหนังสือร้องเรียน
ให้มีการบันทึกรายละเอียดการร้องเรียนพร้อมชื่อ- นามสกุล ลงลายมือชื่อ พร้อมที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่
สามารถติดต่อได้
ช่องทางที่ 4 - ร้องเรียนทางโทรศัพท์ ให้มีการบันทึกรายละเอียดการร้องเรียน
พร้อมที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
ช่องทางที่ 5 - ร้องเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook, E-mail , website
, line , กระทู้ต่าง ๆ เป็นต้น ให้ผู้ดูแลระบบรวบรวมและสามารถติดต่อได้
ช่องทางที่ 6 - ร้องเรียนผ่านทางสื่อ สิ่งพิมพ์ สื่อมวลชนให้รวบรวมข้อมูล
เทศบาลตำบลสำนักท้อน ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนได้เข้าไป
ตรวจดูได้ ตามช่องทาง ดังต่อไปนี้
1. ในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง (ระบบ EGP)
2. ใน Website ของเทศบาลตำบลสำนักท้อน
3. ในระบบ line official ของเทศบาลตำบลสำนักท้อน
4. ติดประกาศเผยแพร่ที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ของเทศบาลตำบลสำนักท้อน
ข้อมูลที่นำไปเปิดเผยได้ ประกอบไปด้วย
- ประกาศประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง
- ประกาศราคากลางจัดซื้อจัดจ้าง
- ประกาศผู้ชนะการเสนอราคางานจ้าง
- ประกาศสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน
- ประกาศสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำไตรมาส (ราคาต่ำกว่า 5,000.-บาท)
ข้อมูลที่สงวนไว้ไม่เปิดเผย ประกอบไปด้วย - ไม่มี
เทศบาลตำบลสำนักท้อนเห็นด้วยกับการจัดทำระบบดังกล่าว โดยทั้งนี้ให้เป็นไป
ตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการ
๑๐๐
จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ขั้นตอนใด
ขั้นตอนหนึ่งของการจัดซื้อจัดจ้าง โดยอาจกำหนดให้มีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมก็ได้
เทศบาลตำบลสำนักท้อนเห็นว่าความโปร่งใสอย่างเดียวไม่เพียงพอ การเปิดเผย
ข้อมูลต่อสาธารณชนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ต้องให้ความสำคัญกับประสิทธิผลของกลไก
การตรวจสอบและภาระความรับผิดชอบต่อสังคม การส่งเสริมความซื่อตรงภาครัฐเป็นพันธกิจ และเป็น
ความรับผิดชอบร่วมกันสำหรับข้าราชการทุกระดับผ่านการสั่งการ และระดับของการปกครองตนเองที่
แตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิดขององค์กร และกฎหมายของประเทศ ดังนั้นข้อเสนอแนะนี้จึง
เกี่ยวข้องกับข้าราชการทุกระดับในการส่งเสริมความไว้วางใจจากประชาชน
๓๑) องค์การบริหารส่วนตำบลตาขัน
องค์การบริหารส่วนตำบลตาขันเห็นด้วยกับการจัดทำระบบ QR Code เพราะ
ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม แต่เห็นว่าปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างบางครั้งเกิดจากนโยบายระดับกระทรวง
หรือกรมที่สั่งการให้ท้องถิ่นถือปฏิบัติโดยมิได้สอบถามหรือตรวจสอบผลกระทบในการดำเนินการหรือ
ปฏิบัติงานของท้องถิ่นทำให้เกิดการทจริตจากระบบหรือวิธีการ
๓๒) องค์การบริหารส่วนตำบลทางเกวียน
องค์การบริหารส่วนตำบลทางเกวียนมีช่องทางในการแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่อง
ร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานผ่านเว็บไซต์ของ อบต. ในส่วนของการจัดทำ
ระบบ QR Code อบต. มีความพร้อมในการจัดทำ
๓๓) องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งควายกิน
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งควายกินมีการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
ที่มีความประสงค์จะแจ้งเบาะแสหรือยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน
ของรัฐโดยประชาชนสามารถแจ้งผ่าน Website ของหน่วยงาน แจ้งโดยตรงโดยยื่นหนังสือได้ที่
หน่วยงานหรือสามารถแจ้งได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งควายกินเห็นด้วยกับการจัดทำระบบการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานมีความพร้อมในการ
ดำเนินการตลอดจนสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมาธิการในการพิจารณาศึกษาครั้งนี้ด้วย
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งควายกินมีความพร้อมที่จะดำเนินการและ
สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
เนื่องจากประชาชนมีหน้าที่ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการ
ดำเนินการเพื่อสร้างความโปร่งใสของภาครัฐ
๑๐๑
๓๔) องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเป็น
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเป็นมีช่องทางในการแจ้งเบาะแสได้ใน
www.namphen.go.th Facebook : องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเป็น และสามารถตรวจสอบได้จาก
www.gprocurement.go.th ของกรมบัญชีกลาง
๓๕) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแลง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแลงมีการเปิดเผยการจัดซื้อจัดจ้างโดยติดบอร์ด
ประชาสัมพันธ์หน้า อบต. และลงเว็บไซต์ ของ อบต. ทั้งนี้ อบต. มีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน
โดยการหากมี QR Code ต้องลงในเว็บไซต์ อบต.บ้านแลงและก็จะลงประชาสัมพันธ์ในเฟสบุคเพื่อให้
ประชาชนรับทราบ
๓๖) องค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม
องค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยมมีช่องทางแจ้งเบาะแสเรื่องร้องเรียนทาง
E-mail , Line , Facebook , Website ขององค์การบริหารส่วนตำบล และเบอร์โทรศัพท์สายตรง
ผู้บริหาร
๓๗) องค์การบริหารส่วนตำบลแม่น้ำคู้
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่น้ำคู้พร้อมที่จะดำเนินการเผยแพร่รายละเอียด
โครงการ และรับเรื่องร้องเรียนทุกช่องทาง ปัจจุบัน อบต.มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนโดยร้องเรียน
ด้วยตนเองในวันและเวลาราชการ ร้องเรียนทางไปรษณีย์ ร้องเรียนทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
: [email protected] และเว็บไซต์ของ อบต. www.meanamkhu.go.th
๓๘) องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
องค์การบริหารส่วนตำบลละหารมีช่องทางแจ้งเบาะแสเรื่องร้องเรียนทาง E-
mail , Line , Facebook , Website ขององค์การบริหารส่วนตำบล และเบอร์โทรศัพท์สายตรง
ผู้บริหาร
๓๙) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอกมีระบบ e – service ร้องเรียน
การทุจริตและประพฤติมิชอบ ผ่านทาง www.nonglalok.go.th ระบบงานต่าง ๆ ร้องเรียนการทุจริต
ทั้งนี้ เห็นว่า ระบบ QR Code เป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับหลายหน่วยงานที่มักโอนมาให้ อปท. ปฏิบัติให้
เป็นภาระให้กับหน่วยงาน สตง. , ป.ป.ช. , ป.ป.ท. , ป.ป.ง. , COST โครงการความโปร่งใสภาครัฐ
ี
ซึ่ง อปท. ก็มีช่องทางร้องเรยนที่ประชาชนสามารถร้องเรียนได้หลายช่องทางอยู่แล้ว
๔๐) สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เห็นด้วยกับจัดทำระบบการมีส่วน
ร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแต่เนื่องจากสมาคม
๑๐๒
สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยมีบุคลากรจำกัดจึงอาจทำให้ขาดเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการต่อ
ในภายหลัง
๔๑) สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอุบลราชธานี มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ว่าควรกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ และขอบเขตการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
เพื่อป้องกันการหาประโยชน์จากการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
๔.๓ การวิเคราะห์ผลรับความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เมื่อพิจารณาข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจากการลงไปสำรวจ
ความคิดเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ต่างจังหวัดดังกล่าวมาแล้วใน ๔.๑ และ ๔.๒ ข้างต้น สามารถ
นำมาประกอบการวิเคราะห์สรุปประเด็นการรับฟังความคิดเห็น ดังนี้
๑. บทบาทอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของแต่หน่วยงาน พบว่า
การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจสอบนั้น ทุกหน่วยงาน
ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบอยู่แล้ว และพบข้อมูลสำคัญว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ
จัดจ้างในปัจจุบัน คือ กรมบัญชีกลางก็ได้มีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั้งหมด
เช่น แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประกาศเชิญชวน ประกาศผู้ชนะ สาระสำคัญในสัญญา ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูล
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ www.gprocurement.go.th และมีการสร้างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
และผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตแห่งพระราชบัญญัติฯ ที่กำหนดให้ภาคประชาชนและ
ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า
โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency Initiative : CoST)
และข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) มาใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบความโปร่งใสในกระบวนการ
จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ยังได้มีการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ
และสามารถรายงานได้หากมการพบเห็นพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตด้วย จากการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
ี
เกี่ยวกับโครงการ CoST ซึ่งดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๗ วรรคสอง นั้น พบว่า ในโครงการนี้ มีการระบุข้อมูลต่าง ๆ กล่าวคือ
๑) กระบวนการจัดทำและนำเสนอโครงการ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล หน่วยงาน
เจ้าของโครงการ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ สถานที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ
รายละเอียดของโครงการโดยสังเขป สถานะโครงการ
๒) ข้อมูลการเตรียมความพร้อมโครงการ ประกอบด้วยข้อมูล คือ ผลที่คาดว่าจะ
ได้รับรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบในการเวนคืนที่ดิน ปีงบประมาณ งบประมาณโครงการ
๑๐๓
วันที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณ เงินงบประมาณ หรือเงินนอกงบประมาณ ข้อมูลติดต่อเจ้าหน้าที่และ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
๓) ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย รายละเอียดในการติดต่อของหน่วยงาน
จัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานที่จัดซื้อจัดจ้าง ร่างขอบเขตงาน (TOR) วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ประเภทการจัดซื้อ
จัดจ้าง ราคากลาง และบริษัทที่เข้าร่วมประกวดราคา
๔) ข้อมูลสัญญาและความคืบหน้าโครงการ ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน
บริหารสัญญา ชื่อสัญญา เลขที่คุมสัญญา สถานะปัจจุบันของสัญญา ขอบเขตสัญญาและความคืบหน้า
โครงการ ประเภทสัญญา รายละเอียดการจ่ายเงินของโครงการ บริษัทที่ได้สัญญา มูลค่าของสัญญา
วันที่ลงนามสัญญา ระยะเวลาดำเนินการตามสัญญา วันเริ่มต้นสัญญาและระยะเวลาคงเหลือตามสัญญา
๕) ข้อมูลหลังจากเสร็จสิ้นโครงการและการจัดการข้อร้องเรียน ประกอบด้วยข้อมูล
วันที่โครงการเสร็จสมบูรณ์ ขอบเขตงานเมื่อเสร็จสมบูรณ์ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ เหตุผล
ในการเปลี่ยนแปลงโครงการ การจัดการข้อร้องเรียน และการตรวจสอบและรายงานประเมินผลโครงการ
ซึ่งพิจารณาแล้ว เห็นว่า มีหลักการที่ดีสอดคล้องกับแนวคิดของคณะกรรมาธิการฯ
ที่จะดำเนินการกำหนดวิธีการตรวจสอบการทุจริตของหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินโครงการต่าง ๆ แต่
ยังพบข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายและสะดวก โดยเฉพาะข้อมูลที่อยู่ใน
พื้นที่การดำเนินโครงการ
๒. ความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียน หรือสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นช่องทางที่สะดวกและ
ปลอดภัยในการแจ้งเบาะแสของประชาชน หากมีรูปแบบ QR Code ในการเผยแพร่รายละเอียด
แผนงานโครงการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้ตรวจสอบ
การทุจริต รวมถึงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักการพิจารณาศึกษา เรื่อง "การจัดทำระบบ
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ" ของ
คณะกรรมาธิการฯ พบว่า ทุกหน่วยงานมีความพร้อมในการรับเรื่องร้องเรียนซึ่งปัจจุบันก็มีการ
ดำเนินการอยู่แล้ว และหากมีโครงการหรือนำรูปแบบ QR Code มาจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของคณะกรรมาธิการฯ หลาย
หน่วยงานก็ไม่ขัดข้องในการดำเนินการดังกล่าว
๓. การอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีความประสงค์จะแจ้งเบาะแสหรือ
ยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ และวิธีการเปิดเผยข้อมูล
เกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนได้เข้าไปตรวจดู พบว่า ทุกหน่วยงานมีการอำนวย
ความสะดวกให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็มีรูปแบบที่แตกต่าง
กันออกไป อาทิ ผ่านเว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก
๑๐๔
กล่าวโดยสรุป จากการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า แม้หลาย
หน่วยงานจะมีระบบการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แต่เมื่อคณะกรรมาธิการฯ เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ
“๑ โครงการ ๑ QR Code” เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง
ภาครัฐ หน่วยงานได้เห็นด้วยและไม่ขัดข้องที่จะมีช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐดังกล่าว แต่หน่วยงานภาครัฐผู้ปฏิบัติบางหน่วยมีความ
กังวลเรื่องของการให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานและการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนผู้แจ้งข้อมูล
ถึงความปลอดภัยในการแจ้งข้อมูลดังกล่าว รวมตลอดจนต้องมีการตรวจสอบถึงความถูกต้องและเชื่อถือ
ได้ของข้อมูลการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจากผู้แจ้งเบาะแสด้วย
บทที่ ๕
สรุปผลการพิจารณาศึกษา ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
๕.๑ สรุปผลการพิจารณาศึกษา
คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบ และเสริมสร้าง
ธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบการจัดซื้อจัดจ้าง
ในหน่วยงานของรัฐที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะทวี
ความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมารูปแบบการทุจริตมีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อน
เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ประเทศชาติได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
สูญเสียงบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาลไปกับการทุจริตโดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้
งบประมาณมาก ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทุกมิติ แม้ทุกภาคส่วนในสังคมจะมีความตื่นตัวและ
เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามบทบาทและภาระหน้าที่ของตนเองเพิ่มมาก
ขึ้นก็ตาม แต่ดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ที่ถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ ๙๙ จาก ๑๘๐ ประเทศ
ทั่วโลกในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ย่อมแสดงให้เห็นว่าการสร้างการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยยังจำเป็นต้อง
ได้รับการพัฒนาต่อไป คณะกรรมาธิการฯ จึงได้ริเริ่มดำเนินการพิจารณาศึกษาโครงการศึกษาและจัดทำ
ระบบติดตามตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
ในรูปแบบ QR Code ซึ่งมีวิธีการพิจารณาศึกษาโดยการรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นจากหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑) รับฟังความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ
กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(ป.ป.ท.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การ
มหาชน) สภาสถาปนิก สภาวิศวกร สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
และประพฤติมิชอบ (ปปป.) คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST
Committee) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(ป.ป.ง) และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานอัยการสูงสุด รวมจำนวน
๒๐ หน่วยงาน
๑๐๖
๒) ลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงราย จังหวัดระยอง
จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
ต่าง ๆ เช่น สำนักงานศาลยุติธรรมจังหวัด สำนักงานอัยการจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด โยธาธิการและผังเมือง
จังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ท่องเที่ยวจังหวัด
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด สำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เขต เกษตรจังหวัด พัฒนาชุมชน
จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหาร
ส่วนตำบล สถานศึกษาและภาคประชาชน รวมจำนวนกว่า ๘๐ หน่วยงาน
นอกจากนี้ ยังได้มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์
สภาพปัญหาที่ผ่านมาของการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสำหรับประกอบการ
จัดทำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
จากการพิจารณาศึกษาและรับข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งในส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค ทั้งหมดจำนวน ๕๖ หน่วยงาน นั้น พบว่า หน่วยงานเหล่านั้นล้วนมีความเห็นสอดคล้อง
และเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า หากมีรูปแบบ QR Code สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ซึ่งเป็น
ฐานข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ
ที่เปิดเผยจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ
ดำเนินการโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในการดำเนินโครงการได้
อย่างมีประสิทธิภาพ และหากการศึกษาดังกล่าวสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม จะทำให้มี
ฐานข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่เปิดเผยให้ประชาชนสามารถ
เข้าถึงได้โดยสะดวก รวดเร็ว และประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบและ
เฝ้าระวังการทุจริตในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งโครงการนี้
เปรียบเสมือน “ตาสับปะรด” ที่คอยจับตามองโครงการที่ภาครัฐกำลังดำเนินการมิให้มีการทุจริตหรือ
เกิดการรั่วไหลของงบประมาณ จึงไม่ขัดข้องและมีความพร้อมในการดำเนินโครงการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม บางหน่วยงานมีข้อสังเกตว่า โครงการศึกษาและจัดทำระบบติดตาม
ตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในรูปแบบ
QR Code ดังกล่าวมีความคล้ายกับโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure
Transparency Initiative : CoST) แ ล ะ ข้ อ ต ก ล ง คุ ณ ธ ร ร ม (Integrity Pact : IP)
ตามหมวด ๒ ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
พัฒนาและควบคุมโดยกรมบัญชีกลาง แต่ก็ไม่ขัดข้องในการดำเนินการโครงการจัดทำรูปแบบ QR Code
๑๐๗
เนื่องจากเป็นการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ประกอบกับหมวด ๒ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการ
ในการป้องกันการทุจริต แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ได้มีการกำหนดให้ภาคประชาชนสามารถตรวจสอบการดำเนินโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) และโครงการความโปร่งใสในการ
ก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency Initiative : CoST) ดังนั้น จึงเห็นด้วยกับการที่
คณะกรรมาธิการฯ จะมีการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับหน่วยงานของรัฐตลอดจนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล
จัดซื้อจัดจ้างแบบ one stop service ผู้พัฒนารูปแบบ QR Code ต้องพัฒนาเครื่องมือที่ไม่ซ้ำซ้อนกับ
เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งควรหารือในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการพัฒนา
ระบบใหม่ เพื่อให้การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
๕.๒ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุน
การทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ ขณะที่รัฐเองก็ต้องจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวด รวมทั้งกลไกในการส่งเสริมให้
ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส โดยได้รับ
ความคุ้มครองจากรัฐ โดยปัจจุบันการทุจริตมีการพัฒนารูปแบบและวิธีการที่ซับซ้อนขึ้น
ลำพังอาศัยเพียงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่และอำนาจ
ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอที่จะสอดส่องดูแลหรือเฝ้าระวัง
เพื่อป้องกันหรือป้องปรามไม่ให้เกิดการทุจริตได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไข
ปัญหาดังกล่าวมีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
อย่างเข้มงวด และส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมในการต่อต้าน หรือชี้เบาะแสการทุจริต
และประพฤติมิชอบ ภาครัฐจึงควรเสริมสร้างกลไกหรืออำนวยความสะดวกให้เครือข่ายภาคประชาสังคม
หรือประชาชนในพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการจัดซื้อจัดจ้างหรือก่อสร้างโครงการใด ๆ
ของหน่วยงานรัฐซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจสำคัญในการเชิญชวนให้เครือข่าย
หรือบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมเฝ้าระวัง สอดส่อง และแจ้งเบาะแสการทุจริตในพื้นที่ของตน
โครงการศึกษาและจัดทำระบบติดตามตรวจสอบและป้องกันปราบปรามการทุจริต
คอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในรูปแบบ QR Code ที่คณ ะกรรมาธิการฯ
ได้ริเริ่มดำเนินการพิจารณาศึกษานั้น จะเป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการเปิดโอกาสและสร้าง
๑๐๘
แรงจูงใจให้เครือข่ายภาคประชาสังคมหรือประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมเฝ้าระวัง สอดส่อง และแจ้งเบาะแส
การทุจริตในพื้นที่ของตนเนื่องจากได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบ
การบริหารการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ ในรูปแบบ “๑ โครงการ ๑ QR Code”
โดยมีการติด QR Code ดังกล่าวไว้ตามป้ายโครงการต่าง ๆ จะทำให้สามารถตรวจสอบกระบวนการ
จัดซื้อจัดจ้างโครงการได้ตั้งแต่เริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดโครงการ ตลอดจนทำให้
เกิดความสะดวกในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในแต่ละโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างว่า
มีการเปลี่ยนชื่อ ใช้งบประมาณดำเนินโครงการจำนวนเท่าไหร่ และเป็นโครงการเดิมที่เคยดำเนิน
โครงการนี้ไปแล้วหรือไม่ ประการใด ซึ่งหากโครงการใดที่ดำเนินการแล้วไม่ก่อเกิดประโยชน์
ต่อประชาชนและมีการทุจริตเกิดขึ้นก็สามารถที่จะร้องเรียนโครงการนี้ได้โดยสแกนรูปแบบ QR Code
เพื่อแจ้งเบาะแสการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะทำให้งบประมาณที่ถูกนำไปใช้จ่ายในแต่ละโครงการ
เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุน และไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการขออนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการที่มี
ลักษณะเดียวกันอีก อีกทั้งการจัดทำรูปแบบ QR Code จะทำให้ง่ายต่อการติดตามตรวจสอบ
โครงการต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างด้วย ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้สอดคล้องกับแนวคิด
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ที่เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้นมิใช่เพียงให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยของตน
ผ่านการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ความเคลื่อนไหว และความคืบหน้าของการบริหารจัดการประเทศ หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
เฝ้าระวัง สอดส่อง และแจ้งเบาะแสการทุจริต
นอกจากนี้ ในปัจจุบัน พบว่า เทคโนโลยีมีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมากดังจะ
เห็นได้จากภาพรวมของการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนา ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล
เต็มรูปแบบมากขึ้นโดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยสูงถึง ๕๐.๑ ล้านคน
และมีจำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยต่อวันตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ – พ.ศ. ๒๕๖๓ เฉลี่ยสูงขึ้น
ในทุกปี ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ประชาชนไทยใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยต่อวันสูงถึง ๑๑ ชม. ๒๕ นาที
ต่อวันเนื่องจากสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย มีเครือข่ายครอบคลุม ดังจะเห็นได้จากการเข้าถึง
๑
แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ อาทิ หมอชนะ หมอพร้อม เป๋าตังส์ หรือโครงการคนละครึ่งที่มี
การใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QR Code เพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประชาชนมีความพร้อม
ในเรื่องการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านระบบการสแกน QR Code
๑ สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, รายงานผล
การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563, (กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, 2563),
น.38-40.
๑๐๙
ดังนั้น เมื่ออินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีโครงข่ายทั่วถึง และมีการดำเนิน
โครงการจัดทำรหัส QR Code ติดไว้ตามป้ายโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ จะเป็นเครื่องมือหรือ
กลไกสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้เครือข่ายภาคประชาสังคมหรือประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม
เฝ้าระวัง สอดส่อง และแจ้งเบาะแสการทุจริต เนื่องจากประชาชนสามารถเข้าถึงระบบและมีส่วนร่วม
ในการตรวจสอบแจ้งเบาะแสได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ที่สามารถ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และสแกน QR Code ก็สามารถร่วมตรวจสอบ และแจ้งเบาะแสการทุจริตได้
โดยไม่ต้องเข้าผ่านระบบหรือวิธีการเดิมดังเช่นเคยปฏิบัติมา อาทิ เว็บไซต์ของหน่วยงาน การแจ้งเรื่อง
ร้องเรียนผ่าน Call Center หรือส่งเอกสารเป็นไปรษณีย์ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ
อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการฯ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการออกแบบระบบหรือรูปแบบ
การจัดทำรหัส QR Code ดังนี้
๑) การจัดทำระบบดังกล่าว ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำระบบจะต้องออกแบบระบบให้มี
ความสะดวก ไม่ซับซ้อนและมีขั้นตอนที่ง่ายต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในแต่ละหน่วยงาน
เพื่ออำนวยความสะดวกและไม่เป็นการสร้างภาระงานหรือการเพิ่มขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
รวมทั้งต้องคำนึงถึงความง่าย ความรวดเร็ว ความสะดวกของระบบในการเข้าใช้ของประชาชน
อีกทางหนึ่งด้วย
๒) ระบบฐานข้อมูลควรมีรายละเอียดข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอให้กับภาคประชาชน
ในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริต เช่น ชื่อโครงการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ สถานที่ดำเนินการ
ช่วงระยะเวลาที่ดำเนินการ เพื่อให้การแจ้งเบาะแสของประชาชนเกิดความชัดเจนเพียงพอ
ที่หน่วยงานจะสามารถดำเนินการตามเรื่องร้องเรียน/การแจ้งเบาะแสได้
๓) รูปแบบ QR Code ควรเป็นระบบที่มีรูปแบบตอบกลับการสนทนาผ่านข้อความและ
เสียงแบบอัตโนมัติ (Chat bot) ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ในการสนทนากับประชาชนที่ร้องเรียน
โดยสามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับรายละเอียดในแต่ละโครงการว่าการดำเนินโครงการ
อยู่ในขั้นตอนใด ตลอดจนสามารถที่จะร้องเรียนเจ้าของโครงการได้อีกด้วย
๔) ควรกำหนดเสนอให้คณะรัฐมนตรีออกมาตรการหรือนโยบายผ่านมติคณะรัฐมนตรี
สั่งการหรือบังคับให้ทุกหน่วยงานที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย
อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement: e-GP) ของกรมบัญชีกลาง ต้องดำเนินการ
ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบโครงการต่าง ๆ
ของภาครัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่เริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินการ และสิ้นสุดโครงการ
๕) การจัดทำรูปแบบ QR Code ดังกล่าวเป็นระบบที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล
ต่าง ๆ ของภาครัฐได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น การร้องเรียน หรือการแจ้งเบาะแสเรื่องการทุจริต
การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากระบบดังกล่าวเป็นระบบที่มีรูปแบบตอบ
๑๑๐
กลับการสนทนาผ่านข้อความและเสียงแบบอัตโนมัติ (Chatbot) จึงสามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกับ
ประชาชนได้ในเรื่องต่าง ๆ โดยผู้ที่ร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสเรื่องการทุจริต เพียงแค่สแกน QR Code
ตามป้ายโครงการก็จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ Applications LINE เพื่อส่งข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ประชาชนจึงสามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่และสามารถตรวจสอบโครงการต่าง ๆ
ที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ อีกทั้ง กรมบัญชีกลางมีฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ
ของภาครัฐ ซึ่งอยู่ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government
Procurement: e-GP) จึงเห็นว่า ควรมีการเชื่อมต่อฐานข้อมูลดังกล่าวกับกรมบัญชีกลาง
๖) หากการจัดทำรูปแบบ QR Code เป็นผลสำเร็จและประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและ
สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้โดยสะดวกแล้ว ฝ่ายหน่วยงานตรวจสอบที่จะรับเรื่องร้องเรียนของ
ประชาชนก็จะต้องมีการสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า
ทรัพยากรต่าง ๆ จะไปถึงผู้ที่มีความต้องการอย่างแท้จริง และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต
และหน่วยงาน ตรวจสอบต้องได้รับจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรที่เพียงพอ รวมถึงมีความเป็นอิสระ
ในการดำเนินการอย่างแท้จริงด้วย
๗) ควรเปิดเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและรับรองการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่าสาธารณชน
ได้รับข้อมูลสำคัญได้ โดยง่าย สะดวก และตรงต่อเวลา
บรรณานุกรม
กฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒
หนังสือและวารสารทางวิชาการ
ดุษฎี อายุวัฒน์ และคณะ. (๒๕๓๕). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในงานวนศาสตร์ชุมชน: กรณีชุมชนห้วยม่วง.
ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน. วารสารพัฒนาชุมชน. ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔.
ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธ ารงธัญวงศ์. (๒๕๔๕). แนวความคิดและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒.
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (๒๕๖๐), การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม: เทคนิควิธี
และการน าไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
ส านักยุทธศาสตร์ ส านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
(2563). รายงานผลการส ารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ:
ส านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.
วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์
ประพันธ์ วรรณบวร. (๒๕๔๓). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนต าบลในการ
ด าเนินงานองค์การบริหารส่วนต าบล: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา, (โครงการศึกษาค้นคว้า
ด้วยตนเอง (ศศ.ม.), บัณฑิตวิทยาลัย) ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (๒๕๕๐). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการ
บริหารงาน องค์การบริหารส่วนต าบล อ าเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐. สืบค้นเมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก
http://plan.bru.ac.th/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B
8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8
%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-20-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-
%E0%B8%9E-%E0%B8%A8-2561-2580/
ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ. (๒๕๖๔). ภาษีไปไหน. สืบค้นเมื่อ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔, จาก
https://govspending.data.go.th/dashboard/๑
ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (๒๕๖๔). คะแนนดัชนีการรับรู้
การทุจริต (CPI). สืบค้นเมื่อ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๔, จาก
https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/26809121fcc59b165111ad494e
9b86f2f5b8f4f.pdf?fbclid=IwAR25yhFi4tJQ7gE_9zFIC7smUoNJPfa-
lPQbRmjNaNlUbFTmONyvBSzqFSU
ส านักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สรุปผลที่ส าคัญส ารวจการมีการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๔,
จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%
b8%b2%e0%b8%99ICT/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%82%e
0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%b5%e0%b9%83%e0
%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0
%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/2563/Pocketbook63.pdf