สรุปผลการสัมมนา เรื่อง “การจัดการสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” โดย คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖ ณ ห้องแมจิก ๓ ชั้น ๒ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร --------------------------------------------- แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคณะกรรมการ ปฏิรูปประเทศได้เห็นความส าคัญของการปฏิรูปเรื่องการจัดการปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุม มลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด (จังหวัดระยอง) ทั้งนี้ในการด าเนินการปฏิรูปดังกล่าวจะส่งผล ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้นทั้งในเขตเมือง และชุมชน มลพิษทางอากาศดีขึ้นในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด (จังหวัดระยอง) และเกิดความสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทั้งทรัพยากรทางบก ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อมและระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนปฏิรูปฯดังกล่าวมีเป้าหมายและตัวชี้วัด คือการปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง (ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕)ด้วยเป้าหมาย ได้แก่ ๑) ควบคุม ลด และขจัดมลพิษที่เกินค่ามาตรฐาน ๒) การยกเลิกประกาศเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด
๒ ความเป็นมาของเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง คือ นายเจริญ เดชคุ้ม กับพวกรวม ๒๗ คน ผู้ฟ้องคดี และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยผู้ฟ้องคดีอ้างว่าการด าเนินการของนิคมอุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลมาบตาพุดได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและต่อสุขอนามัยของประชาชนในพื้นที่ มาบตาพุดอย่างรุนแรง แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติผู้ถูกฟ้องคดีละเลยมิได้ประกาศก าหนดให้ พื้นที่ต าบลมาบตาพุด และเทศบาลเมืองมาบตาพุดตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมร้ายแรง เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อด าเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษตามพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีเอกสารทางวิชาการหลายรายการ ซึ่งล้วนแต่ระบุว่าปัญหามลพิษในท้องที่มาบตาพุด กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ศาลจึงรับฟังว่า เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นพื้นที่ ซึ่งมีปัญหามลพิษมีแนวโน้มร้ายแรงเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิด ผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงสมควรที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อด าเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษได้ ศาลจึงมีค าพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติผู้ถูกฟ้องคดี ประกาศให้ท้องที่ เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดทั้งหมด รวมทั้งต าบลเนินพระ ต าบลมาบข่า และต าบลทับมา อ าเภอเมืองระยอง ทั้งต าบล ตลอดจนพื้นที่ต าบลบ้านฉาง อ าเภอบ้านฉางทั้งต าบล เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อด าเนินการ ควบคุม ลด และขจัดมลพิษ ตามที่ก าหนดไว้ในกฎหมายต่อไป คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงได้ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒) ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เรื่อง ก าหนดให้ท้องที่เขตต าบลมาบตาพุด ต าบลห้วยโป่ง ต าบลเนินพระ และต าบลทับมา อ าเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ทั้งต าบล ต าบลมาบข่า อ าเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ทั้งต าบล และต าบลบ้านฉาง อ าเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ทั้งต าบล รวมทั้งพื้นที่ทะเลภายในแนวเขตเป็นเขตควบคุม มลพิษ
๓ หลังจากมีการประกาศเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง หน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้จัดท าแผนแก้ไขปัญหามลพิษในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง และพื้นที่ใกล้เคียงตามกฎหมาย และได้ด าเนินการตามแผนเรื่อยมา แต่ปรากฏว่าจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ของกรมควบคุมมลพิษในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ระหว่างช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๖๔ จนถึงปัจจุบันปรากฏว่าทั้งสารเบนซีน และสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีน ยังคงมีแนวโน้มเกินค่ามาตรฐาน คุณภาพอากาศในบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง โดยที่ได้มีค าสั่งคณะกรรมการกรมควบคุมมลพิษ ที่ ๑/๒๕๕๗ ให้คณะอนุกรรมการก ากับดูแลการแก้ไขปัญหามลพิษในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง และพื้นที่ใกล้เคียง จัดท าร่างมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งสารเบนซีนและสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีน ในรูปอัตรา การระบาย(Loading) จากโรงงานอุตสาหกรรมเคมีคณะอนุกรรมการได้มีการจัดท าร่างมาตรฐานควบคุม สารเบนซีน และสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีน แต่ยังไม่สามารถประกาศได้และยังไม่สามารถประกาศ ค่าขีดความสามารถในการรองรับสารเบนซีนเป็นค่าเป้าหมายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย และนิคมอุตสาหกรรม อาร์ไอแอล (รวมท่าเรือ) ภายใต้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาศัยอ านาจ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ นอกจากนั้น จากการ คาดการณ์โดยใช้ข้อมูลในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประเภท ๔๒ และ ๔๔ ตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าอัตราการระบายรวมของสารเบนซีนนั้น เกินศักยภาพ ในการรองรับสารเบนซีนของพื้นที่ ด้วยปัญหาอุปสรรคที่ส าคัญดังที่กล่าวมาแล้ว น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ส าคัญที่สุดที่ไม่สามารถ ยกเลิกเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง ได้ตามแผนการปฏิรูปประเทศคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา มีหน้าที่ติดตาม เสนอแนะและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยส าคัญ (Big Rock) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ
๔ กรณีเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง ให้เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จึงเห็นสมควรจัดให้มีการจัดโครงการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“การจัดการสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ ๑) เพื่อทราบสถานการณ์ ความส าคัญ การจัดการสารเบนซีน และสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีน ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง ๒) เพื่อทราบปัญหาอุปสรรคของการจัดการสารเบนซีน และสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีน โดยหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่เกี่ยวข้อง ๓) เพื่อรับฟัง และระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะการจัดการสารเบนซีน และสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีน จากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ๔) เพื่อน าผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ได้รับ ไปใช้ส าหรับการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัด การด าเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการสัมมนาดังกล่าว สรุปผลการสัมมนาได้ดังนี้ - การบรรยายสรุป เรื่อง “แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม: การปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญส่ง ไข่เกษ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” มุ่งเน้นสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนา ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยยุทธศาสตร์ที่ ๕ : ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การจัดการมลพิษที่ต้นทางโดยภาคการผลิตขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ควบคู่กับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
๕ มี มลพิษต่ า โดยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีระบบจัดการของเสียจากแหล่งก าเนิดมลพิษ ทุกประเภทที่เพียงพอ และมีการจัดการมลพิษให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งจะต้องด าเนินการ ในช่วงแรก ของแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ ตัวชี้วัดด้านที่ ๖ เรื่องระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้อ ๖.๒ ก าหนดไว้ว่ายกเลิกเขตควบคุมมลพิษซึ่งเป็นผลจากการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ส าเร็จ ไม่น้อยกว่า ๓ พื้นที่ (จาก ๑๘ พื้นที่) ในระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ -๒๕๖๕) แต่จากการประเมินผลที่ผ่านมาพบว่า ไม่สามารถที่จะด าเนินการตามตัวชี้วัดที่ก าหนดได้ จึงปรับลดจาก ๓ พื้นที่ เหลือ ๑ พื้นที่ โดยให้ด าเนินการ ระหว่างปี ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕
๖ การด าเนินการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เลือกกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยส าคัญ (Big Rock) มาด าเนินการก่อน น าไปสู่การปฏิบัติตามหลัก ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติในช่วงระยะเวลา ๕ ปี โดยการเลือกแก้ไขปัญหามลพิษในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยองและยกเลิกภายในช่วงเวลา ปี ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเป็นไปได้ ประกอบกับตัวชี้วัดในการด าเนินการคือ “คุณภาพ สิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง เป็นไปตามค่าเกณฑ์มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” ดังนั้นจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การควบคุมให้การปล่อยมลพิษเป็นไปตามมาตรฐาน แล้วจึงด าเนินการประกาศ ยกเลิกเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยองต่อไป โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ตามแผนการปฏิรูปประเทศ) บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๗๐ ก าหนดให้ วุฒิสภามีหน้าที่และอ านาจติดตาม เร่งรัด เสนอแนะ การปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตามหมวด ๑๖ ของการปฏิรูปประเทศ การจัดท าและด าเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีได้ แจ้งความคืบหน้าการด าเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศต่อวุฒิสภาเพื่อทราบทุก ๓ เดือน จึงเป็นที่มา ของการด าเนินการในวันนี้ จากการด าเนินการที่ผ่านมา (ประมาณ ๒ ปี) ของคณะอนุกรรมาธิการด้านสิ่งแวดล้อม สรุปได้ว่า ยังไม่สามารถควบคุม ลด และก าจัดมลพิษที่เกินค่ามาตรฐานได้ มลพิษที่เกินค่ามาตรฐานที่ส าคัญ คือ สารอินทรีย์ระเหย (VOCs) โดยเฉพาะสารเบนซีน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน ๑) การอภิปรายประเด็น “แหล่งก าเนิดและสถานการณ์สารอินทรีย์ระเหย (VOCs) และสถานการณ์ ด้านสุขภาพ ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปผลได้ดังนี้ นายแพทย์ศุภชัย เอี่ยมกุลวรพงษ์รองผู้อ านวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “แหล่งก าเนิดและสถานการณ์สารอินทรีย์ ระเหย(VOCs) และสถานการณ์ด้านสุขภาพ ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้
๗ (๑) การพัฒนาอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง นโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๙) ก าหนดให้ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมหลัก - นโยบายส่งเสริมการลงทุน การจูงใจ และการผ่อนปรนกฎระเบียบ ท าให้เกิดช่องว่าง ในการประกอบกิจการที่ไม่มีมาตรฐาน - หน่วยงานไม่เคร่งครัดในการตรวจสอบการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม - ส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง - มีการลงทุนจากต่างประเทศ - โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมขยายตัว จากการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา นอกจากการเติบโต ทางด้านเศรษฐกิจ ก็ยังก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ (๑.๑) ด้านสังคม - แรงงานและประชากรแฝงเพิ่มขึ้น - เกิดความแออัดในพื้นที่ - บริการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ (๑.๒) ด้านสิ่งแวดล้อม - เกิดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปริมาณสาร VOCs บางประเภท - แหล่งน้ ามีการปนเปื้อนโลหะหนักและน้ าทิ้งจากชุมชน - ขยะชุมชนเพิ่มขึ้นเกินควบคู่กับขยะจากโรงงานอุตสาหกรรม
๘ (๑.๓) ด้านการใช้ที่ดิน - โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น - ที่อยู่อาศัยและความเป็นเมืองขยายตัว - พื้นที่ทางธรรมชาติถูกบุกรุก (๒) ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพที่เฝ้าระวัง - อัตราการเจ็บป่วยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมย้อนหลัง ๕ ปี (ปี ๒๕๒๙ – ๒๕๖๕) - อัตราการเข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ในสถานพยาบาลภาครัฐของประชาชน ในเขตควบคุมมลพิษย้อนหลัง ๓ ปี (ปี ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔) -สถิติการเกิดอุบัติภัยสารเคมีจังหวัดระยองหลัง ๕ ปี (ตุลาคม ๒๕๖๑ –เมษายน ๒๕๖๕) - ผลการตรวจสุขภาพประชาชนในเขตควบคุมมลพิษ สาธารณสุขจังหวัดได้ก าหนดโรคที่เผ้าระวังในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง ได้แก่ ๑) โรคทางเดินระบบหายใจส่วนล่าง อัตราการเกิด ประมาณ ๖๐๐ คน/ปี และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นในระดับคงที่ ๒) โรคทางเดินระบบหายใจทั่วไป อัตราการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจทั่วไปมีแนวโน้มลดลง เป็นโรคที่อยู่ในเครือข่าย เฝ้าระวัง แต่จากการวินิจฉัยไม่ได้เป็นการบ่งบอกว่าเป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากสาร VOCs ๓) โรคหัวใจขาดเลือด อัตราป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มลดลง
๙ ๔) โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม อัตราการบาดเจ็บจากการท างานในปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ มีแนวโน้มลดลง ๕) สถิติการเกิดอุบัติภัยสารเคมีจังหวัดระยอง ปี ๒๕๕๑ – ๒๕๖๕ อัตราเฉลี่ย ๑๐ ครั้ง/ปีซึ่งมีเหตุการณ์ส าคัญ ได้แก่ - วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ เกิดเพลิงไหม้ในกระบวนการผลิตสารไซลอกเซน ในนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มีผู้เสียชีวิต จ านวน ๑ ราย - วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ เกิดระเบิดประกายไฟบริเวณถังเก็บวัตถุดิบแนฟทา บริเวณท่าเรือมาบตาพุด มีผู้เสียชีวิต จ านวน ๔ ราย ผลการตรวจเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนในเขตควบคุมมลพิษ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๐ มีผู้รับบริการตรวจสุขภาพ จ านวน ๑๘,๐๗๔ ราย - จากผลการตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (ภาวะซีด) มีจ านวน ๕,๙๙๑ ราย - ผลการตรวจอนุพันธ์ของสารเบนซีนในปัสสาวะ พบว่ามีผลผิดปกติ จ านวน ๓๒ ราย ข้อสังเกต : นอกจากการรั่วซึมของสารเคมีในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่ได้ก่อให้เกิด ปัญหามลพิษและส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ยังพบว่าการปล่อยกระจายกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว ได้ส่งผลให้เกิดปัญหามลพิษเช่นกัน (๓) สถานการณ์มะเร็ง อัตราอุบัติการณ์จ านวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จังหวัดระยองเทียบกับประเทศไทย - ปี ๒๐๑๗ เพศชาย มีค่า ASR อยู่ในอันดับ ๑๔๗ ของประเทศไทยเพศหญิง มีค่า ASR อยู่ในอันดับ ๑๔๑ จากการเปรียบเทียบค่า ASR แต่ละปี ในแต่ละชนิดของโรคมะเร็งของประชาชน จังหวัดระยองเทียบกับประเทศไทยพบว่า มะเร็งปอดมีแนวโน้มลดลง มะเร็งตับลดลง มะเร็งล าไส้ใหญ่ และไส้ตรงลดลง มะเร็งต่อมน้ าเหลืองลดลง
๑๐ (หมายเหตุ ASR (Age – standardized Incidence Rates) คือ อัตราอุบัติการณ์ที่ใช้ โครงสร้างของมาตรฐานอายุ โดยใช้มาตรฐานประชากรโลก (World standardized incidence rate) ในการค านวณค่าอุบัติการณ์มีหน่วยอัตราต่อจ านวนประชากรแสนคน อัตราอุบัติการณ์ปรับตามมาตรฐาน ของประชากรโลกมีความเหมาะสมและสามารถใช้เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการเกิดโรคมะเร็ง ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก) (๔) ทบทวนผลการศึกษาด้านสุขภาพ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการตรวจสุขภาพประชาชนในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง ปี ๒๕๕๓ – ๒๕๖๐ โดยผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบความสัมพันธ์ ระหว่าง t,t-MA อายุ การสูบบุหรี่ งานอดิเรกเกี่ยวกับสารระเหย ค่า creatinine (การท างานของไต) และ Hemoglobin (เม็ดเลือดแดง)ผู้ที่มีงานเกี่ยวกับสารระเหยมีค่า t,t-MA สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีงานที่เกี่ยวข้อง กับสารระเหย ผู้ที่มีค่า creatinineสูง (การท างานของไตไม่ดี) มีค่า t,t-MA น้อย เพราะขับสารเบนซีน ออกได้ไม่ดี -อนุพันธ์สารเบนซีนของประชาชนในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ ประชาชนในเขตควบคุมมลพิษที่ตรวจสุขภาพทุกปี เป็นเวลา ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙) จ านวน ๒,๕๑๒ คน พบกรดมิวโคนิคในปัสสาวะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยในแต่ละปีเท่ากับ ๒๒.๗๔ ๓๖.๙๗ และ ๓๗.๔๖ และพบว่า เพศ พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ระยะทางจากบ้านกับนิคมอุตสาหกรรม ระยะเวลาอาศัยในพื้นที่ มีความสัมพันธ์กับภาวะซีด ส่วนการท างานของตับ ร้อยละ ๗๕ อยู่ในเกณฑ์ปกติ
๑๑ - ปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีพของการเกิดมะเร็งระบบเม็ดเลือดในจังหวัดระยอง จากการตรวจกลุ่มตัวอย่างจ านวน ๕๒๕ คน สรุปได้ว่าการสัมผัสสารเคมีก าจัดศัตรูพืช และควันระหว่างการประกอบอาชีพ เป็นปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีพที่ส าคัญต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด ในจังหวัดระยอง -การเฝ้าระวังสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเบนซีนในสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียน ใกล้นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาบตาพุด จากกลุ่มตัวอย่างจ านวน ๔๔๔ คน พบว่าการรับสัมผัสสารเบนซีน พบค่าเฉลี่ยของปี ๒๕๕๓ มากที่สุดเท่ากับ ๑๘๗.๔๕ พิโกกรัม (pg/g) - ผลกระทบต่อเม็ดเลือดต่อการรับสัมผัสสารเบนซีนในสิ่งแวดล้อมของประชาชน เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง ประชาชน จ านวน ๙,๘๒๐ คน พบว่ากรดมิวโคนิกในปัสสาวะมีความสัมพันธ์กับปริมาณ ฮีโมโกลบิน ฮีมาโตรคริด เม็ดเลือดขาว อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ -ระดับรายวันของสารมลพิษทางอากาศและปริมาณผู้ป่วยที่ได้รับการพ่นยาขยายหลอดลม ในโรงพยาบาลมาบตาพุด จังหวัดระยอง ผู้ป่วยจ านวน ๓๒๐ คน พบว่าสาร Formaldehy และก๊าซ Ozone สูงแตกต่างจาก ค่ามาตรฐานอย่างมีนัยส าคัญ ปริมาณสาร acetaldehyde มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผู้ป่วยที่ได้รับการพ่นยา ขยายหลอดลม
๑๒ (๕) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพรองรับเขตพัฒนาอุสาหกรรมให้ทันสมัยและสอดคล้อง กับบริบทพื้นที่การจัดบริการสร้างเสริม ป้องกัน เฝ้าระวังสุขภาพ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้กระทรวง สาธารณสุขและส านักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ในเขตควบคุมมลพิษ ด้วยการขยายโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ระยอง เป็นโรงพยาบาลขนาด ๒๐๐ เตียง เพิ่มขีดความสามารถของโรงพยาบาลระยอง / โรงพยาบาลบ้านฉาง / โรงพยาบาลนิคมพัฒนา เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม (๖) ข้อเสนอแนะ/โอกาสพัฒนา -ตั้งคณะท างานศึกษาผลกระทบต่อสุขของประชาชนในเขตควบคุมมลพิษ โดยประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา เช่น สาขามะเร็ง และภาคมหาวิทยาลัย -รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ น าผลการศึกษาวิจัยที่มีอยู่มาวิเคราะห์ (Meta –analysis) -ตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในเขตควบคุมมลพิษ - ให้มีกองทุนสุขภาพในเขต EEC เพื่อคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ - ขยายเตียงยกระดับโรงพยาบาล เพิ่มก าลังคนในโรงพยาบาลในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ - พัฒนาอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ - พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและการส่งต่อผู้ป่วยในเขต EEC โดยให้ภาคเอกชนและ ภาคอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมพัฒนาและร่วมลงทุน รวมทั้ง mapping ระบบบริการที่จ าเป็นอื่น เช่น Burn Unit
๑๓ นายศักดา ตรีเดช ผู้อ านวยการส่วนพยากรณ์อากาศและนวัตกรรม กรมควบคุมมลพิษ ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “แหล่งก าเนิดและสถานการณ์สารอินทรีย์ระเหย (VOCs) และสถานการณ์ ด้านสุขภาพในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้ สถานการณ์สารเบนซีน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอินในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๖๔ ค่าเฉลี่ยสารเบนซีน อยู่ที่ ๑.๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งนับตั้งแต่ ปี ๒๕๖๔ จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถท าให้ค่าสารเบนซีนอยู่ในค่ามาตรฐานได้ ส่วนสาร ๑,๓ – บิวทาไดอิน ค่าเฉลี่ยรายปี อยู่ที่ ๐.๓๓ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ทั้ง ๒ สารแล้วจะพบว่าค่าเฉลี่ยของสาร ๑,๓ – บิวทาไดอิน มีแนวโน้ม ที่จะมีค่าเฉลี่ยเข้าใกล้ตามค่ามาตรฐานได้มากกว่าสารเบนซีน หลักการและเหตุผล/การด าเนินการในต่างประเทศ ศักยภาพในการรองรับมลพิษในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่ได้ก าหนดให้ค่ามาตรฐาน สารเบนซีน อยู่ที่ ๑.๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร นั้น เนื่องจากสารดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพและก่อให้เกิด โรคมะเร็งได้ ซึ่งอัตราค่าเฉลี่ยต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อประชาชนจะอยู่ที่ ๑ : ๑๐๐,๐๐๐ ในต่างประเทศ อาทิประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมายเพื่อก าหนดการปล่อยสารVOCs ออกสู่บรรยากาศ โดยเริ่มจากโรงกลั่นน้ ามัน ซึ่งมีบางโรงกลั่นที่สามารถท าได้ และบางโรงกลั่น ที่ไม่สามารถท าตามกฎหมายได้ ส่วนในกลุ่มประเทศEU อาทิ ประเทศเบลเยี่ยม ได้มีการก าหนดมาตรฐานอัตราการปล่อย สาร VOCs เช่นกัน โดยก าหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ในแต่ละปี
๑๔ การด าเนินงานของคณะอนุกรรมการก าหนดมาตรฐาน การด าเนินการก าหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งสารเบนซีน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ มติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก (กพอ.) ให้ก าหนดมาตรฐานที่เข้มงวด วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๗ คสช. ลงมติอนุมัติตามมติที่ประชุม กพอ. ค าสั่งคณะกรรมการควบคุมมลพิษ (กกคพ.) จัดตั้งคณะอนุกรรมการจัดท าร่างมาตรฐาน สารเบนซีนและสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีนในรูปแบบ Loading ปี ๒๕๖๐ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ คณะอนุกรรมการจัดท าร่างมาตรฐานสารเบนซีนและสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน มีมติเห็นชอบต่อร่างอัตราการระบายสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีนที่ ๑๖๐ กิโลกรัมต่อปีต่อโรงงาน และมีมติเห็นชอบต่อร่างอัตราการระบายสารเบนซีนเชิงพื้นที่ในอัตราที่ ๖,๐๐๐ กิโลกรัมต่อปี ปี ๒๕๖๑ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ กรมควบคุมมลพิษเสนอมติคณะอนุกรรมการฯ ต่อคณะกรรมการ ควบคุมมลพิษ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการควบคุมมลพิษมีมติเห็นชอบต่อร่างอัตราการระบาย สาร ๑,๓ – บิวทาไดอีนที่ ๑๖๐ กิโลกรัมต่อปีต่อโรงงาน และมีมติเห็นชอบต่อร่างอัตราการระบายสารเบนซีน เชิงพื้นที่ในอัตราที่ ๖,๐๐๐ กิโลกรัมต่อปี และให้เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป วันที่ ๒๘ พฤษภาคม – ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างประกาศกระทรวงฯ โดยมีผู้เห็นด้วยร้อยละ ๘๗ เดือนธันวาคม ๒๕๖๑ เตรียมบรรจุวาระต่อที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ การด าเนินการของคณะอนุกรรมการเพื่อจัดท าร่างมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้ง สารเบนซีน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน ในรูปอัตราการระบาย (Loading) จากโรงงานอุตสาหกรรม ขั้นตอนการก าหนดค่าร่างมาตรฐาน (๑) การพิจารณาประเภทโรงงาน (๒) การทบทวนมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (๓) การก าหนดพื้นที่ศึกษา (๔) การศึกษาศักยภาพสถานประกอบการ (๕) การศึกษาสถานการณ์มลพิษอากาศด้วยแบบจ าลองคณิตศาสตร์ (๖) การก าหนดค่าความเข้มข้นเป้าหมาย (๗) พิจารณาก าหนดค่าอัตราการระบาย (๘) ทดสอบค่าอัตราการระบายด้วยแบบจ าลองคณิตศาสตร์ (๙) เสนอค่ามาตรฐานต่อคณะกรรมการควบคุมมลพิษเพื่อพิจารณาเห็นชอบ พื้นที่ศึกษา : พื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยครอบคลุมนิคมอุตสาหกรรม ๔ แห่ง ได้แก่ (๑) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (๒) นิคมอุตสาหกรรมเหมราช (๓) นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
๑๕ (๔) นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย (๕) นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล (๖) ท่าเรือมาบตาพุด แนวทางการด าเนินการทางกฎหมาย ประกาศกรมควบคุมมลพิษ - การก าหนดค่าขีดความสามารถในการรองรับสารเบนซีนเป็นค่าเป้าหมาย ในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก นิคมอุตสาหกรรม ผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย และนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ก าหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งสารเบนซีน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน จากโรงงานอุตสาหกรรมเคมี (ฉบับที่ ๒) -ก าหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานกลั่นน้ ามันปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๒) การด าเนินการให้เป็นไปตามค่าขีดความสามารถในการรองรับสารเบนซีน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน เป็นค่าเป้าหมายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย นิคมอุตสาหกรรม อาร์ไอแอล มีการด าเนินการ ได้แก่ (๑) ก าหนดค่าเป้าหมายที่สอดคล้องกับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ เป็น Ultimate Goal (๒) ประเมินสถานการณ์อัตราการระบายของพื้นที่ ณ ปัจจุบันโดยอ้างอิงจากรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (๓) ก าหนดระยะเวลาในการปรับลดอัตราการระบายของพื้นที่ในลักษณะขั้นบันได รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจ ากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้อง ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจ ากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและจะกระทบ ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจ าเป็นในการจ ากัดสิทธิและเสรีภาพไว้ ด้วย กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด กรณี หนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง พระราชกฤษฎีกาทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๘ ก าหนดเวลาที่จะทบทวน ทุกห้าปีที่กฎหมายใช้บังคับหรือเมื่อมีกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อเห็นว่าจ าเป็นต้องมีการปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมาย (๒) เมื่อได้รับข้อร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะที่มีเหตุผลอันสมควร จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง หรือจากประชาชนทั่วไป (๓) เมื่อได้รับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย (๔) เมื่อมิได้มีการบังคับใช้หรือปฏิบัติตามกฎหมายเกินสามปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นใช้บังคับ
๑๖ สรุปแนวทางการด าเนินงานของกรมควบคุมมลพิษ (๑) ด าเนินการก าหนดค่าขีดความสามารถในการรองรับสารเบนซีน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน เป็นค่าเป้าหมายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรม ตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล (๒) ก าหนดการควบคุมสารเบนซีนที่ริมรั้วส าหรับโรงงานอุตสาหกรรมประเภท ๔๒ ๔๔ และ ๔๙ (๓) ก าหนดค่าอัตราการระบายสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน รายโรงงาน นางสาวเวฬุกา รัตนวราหะ คณะท างานกลุ่มปิโตรเคมีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “กลยุทธ์และความร่วมมือการจัดการสารอินทรีย์ระเหยในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ ด้วยมาตรการจัดการที่ดี (Code of Practice, CoP)” สรุปได้ดังนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อสารอินทรีย์ระเหยในบรรยากาศ แหล่งก าเนิด ได้แก่ - อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและการกลั่น - อุตสาหกรรมปิโตรเคมี - แหล่งจ่ายและให้บริการ (ปั๊มน้ ามัน) - การจราจรและคมนาคม - อู่ซ่อมรถ ตัวท าลาย สารเติมแต่ง - การเผาในที่โล่งแจ้ง ทางผ่าน ได้แก่ - ระยะทางจากแหล่งก าเนิดถึงตัวรับ - สภาวะอุตุนิยมวิทยา (เช่น ความดันบรรยากาศ ค่าเพดานอากาศ อุณหภูมิ ทิศทาง ความเร็วลม ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ าฝน ปริมาณแสงอาทิตย์)
๑๗ ตัวรับ ได้แก่ -ต าแหน่งที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของสถานีเก็บตัวอย่าง (เช่น พื้นที่แอ่งกระทะ ที่ราบล้อมรอบ ด้วยภูเขา) กระบวนการด าเนินงานความร่วมมือโครงการน าร่องเพื่อจัดการสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีน และสารเบนซีนด้วยมาตรการ CoP (Code of Practice) (๑) เก็บรวบรวมข้อมูล (พิจารณาทบทวน) (๒) วิเคราะห์สถานการณ์และวินิจฉัยปัญหา (๓) ก าหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน (๔) วางแผนด าเนินการ ออกแบบการทดลอง (๕) ปฏิบัติการ ด าเนินการ (๖) ติดตาม ตรวจสอบ ก าหนดเป็นมาตรฐาน สถานการณ์สารเบนซีนในเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง ค่าเฉลี่ยรายปีของทั้ง ๗ สถานี ที่ได้เก็บตัวอย่างในเขตควบคุมมลพิษ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ – ๒๕๖๔ จากการเก็บตัวอย่างสารเบนซีน จาก ๗ สถานีได้แก่ ๑) สถานีบ้านพลง ๒) สถานีโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพต าบลมาบตาพุด (รพ.สต. มาบตาพุด) ๓) สถานีเมืองใหม่มาบตาพุด ๔) สถานีวัดหนองแฟบ ๕) สถานีศูนย์บริการสาธารณสุขตากวน ๖) สถานีวัดมาบฉลูด และ ๗) สถานีหมู่บ้านนพเกตุ มีค่าเฉลี่ยที่ตรวจวัดได้ดังนี้ - ปี ๒๕๕๖ ค่าเฉลี่ย ๒.๕๔ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร - ปี ๒๕๕๗ ค่าเฉลี่ย ๒.๙๙ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร - ปี ๒๕๕๘ ค่าเฉลี่ย ๒.๗๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร - ปี ๒๕๕๙ ค่าเฉลี่ย ๒.๕๘ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
๑๘ - ปี ๒๕๖๐ ค่าเฉลี่ย ๒.๙๒ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร - ปี ๒๕๖๑ ค่าเฉลี่ย ๓.๒๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร - ปี ๒๕๖๒ ค่าเฉลี่ย ๑.๘๑ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร - ปี ๒๕๖๓ ค่าเฉลี่ย ๓.๐๑ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร - ปี ๒๕๖๔ ค่าเฉลี่ย ๓.๐๔ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร การวิเคราะห์และแปลสารจากผลการตรวจวัดรายเดือนและค่าเฉลี่ยรายปีของกรม ควบคุมมลพิษในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง การสืบสาเหตุและแหล่งก าเนิดเป็นไปได้ยากเพราะ (๑) เก็บตัวอย่าง ๑ ครั้งต่อเดือน จ านวน ๑๒ ครั้งต่อปี แล้วค านวณเป็นค่าเฉลี่ยรายปี - เมื่อค่าเฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐาน มีพฤติกรรมข้อมูลเป็นอย่างไร ต้องไปแก้ไขที่ตรงจุดไหน (๒) รายงานค่าเฉลี่ยรายปีรวมของทั้ง ๗ สถานี - ค่าเกินมาตรฐานที่สถานีใด ต้องแก้ไขที่ใด (๓) ข้อมูล ๑ ตัวอย่างเก็บอากาศผสม ๒๔ ชั่วโมง - ไม่สามารถบอกได้ว่าพบค่าสูงในช่วงเวลาใด (เช้า กลางวัน เย็น) ต้องแก้ไขที่กิจกรรมใด Code of Practice – CoP กฎหมายโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม มาตรการ/แนวปฏิบัติ ที่มุ่งเน้นการควบคุมการระบายสาร VOCs จากกิจกรรมของโรงงาน มีมาตรการ ๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) มาตรการควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากการประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ - จัดท าแผนการซ่อมบ ารุง โดยต้องมีมาตรการควบคุมการปลดปล่อย - ใช้ระบบบ าบัดควบคุมการระบายสาร VOCs ในช่วงซ่อมบ ารุง - ติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงการซ่อมบ ารุง (ก่อน ระหว่าง และหลัง) เพื่อเฝ้าระวังระดับความเข้มข้นของสาร VOCs ในบรรยากาศที่แนวรั้วของโรงงาน (๒) มาตรการควบคุมการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากถังกักเก็บ พ.ศ. ๒๕๖๕
๑๙ - จัดท าข้อมูลจ าเพาะของถังกักเก็บและปรับปรุงถังกักเก็บให้เป็นไปตามมาตรการ - ติดตั้งระบบ VRU เพื่อน าสาร VOCs น ากลับมาใช้ใหม่ - จัดท ารายงานข้อมูลการใช้ถังกักเก็บ ปริมาณการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยและ ประสิทธิภาพของระบบควบคุมสารอินทรีย์ระเหย - ประเมินปริมาณการระบายไอสารอินทรีย์ระเหยจากถังกักเก็บเป็นรายปี (๓) การควบคุมการใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. ๒๕๖๕ - รายงานรายละเอียดของการใช้หอเผาทิ้ง ระยะเวลา สาเหตุที่ใช้หอเผาทิ้ง รวมถึง มาตรการป้องกันหรือลดการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในอนาคต เพื่อป้องกันการเกิดควันด า - จัดท ารายงานบันทึกการใช้หอเผาทิ้งรายเดือน - มีการน าเทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่ดีกว่ากฎหมายก าหนด (Best Appropriate Technology) เช่น การลงทุนติดตั้ง Enclosure Ground Flare (EGF) ผลส าเร็จการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๑ สารเบนซีน มีปริมาณ ๓.๒๓ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๖๕ มีปริมาณ สารเบนซีน ๑.๘๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณสารเบนซีนในบรรยากาศลดลง คิดเป็นร้อยละ ๔๒ เป็นผลจาก (๑) จ านวนค่าที่สูงบางช่วงบางเวลา (Peak) ณ บ้านพลง ลดลงร้อยละ ๑๐๐ (๒) จ านวนค่าที่สูงบางช่วงบางเวลา (Peak) ทุกสถานี ลดลงร้อยละ ๘๓ (๓) ค่าตรวจวัดสูงสุด ลดลงร้อยละ ๔๔ การศึกษาการจัดการสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีนในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ปี ๒๕๕๗ มีค่าเฉลี่ย ๐.๗๓ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๕๘ มีค่าเฉลี่ย ๐.๘๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๕๙ มีค่าเฉลี่ย ๐.๓๘ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๖๐ มีค่าเฉลี่ย ๐.๓๐ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๖๑ มีค่าเฉลี่ย ๑.๐๙ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง พบว่าสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน มีค่าสูง ในช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน ของทุกปี การด าเนินการแก้ไขปรับปรุง (๑) ทดลองปรับปรุงกิจกรรม (๒) ตรวจสอบและก าหนดเป็นมาตรฐานการท างานใหม่ ผลส าเร็จการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๑ สาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน มีปริมาณ ๑.๐๙ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๖๕ มีปริมาณ ๐.๕๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน ในบรรยากาศลดลงคิดเป็นร้อยละ ๔๘ เป็นผลจาก (๑) จ านวนค่าที่สูงบางช่วงบางเวลา (Peak) ณ รพ.สต.มาบตาพุด ลดลงร้อยละ ๑๐๐ (๒) จ านวนค่าที่สูงบางช่วงบางเวลา (Peak) ทุกสถานี ลดลงร้อยละ ๕๐ (๓) ค่าตรวจวัดสูงสุด ลดลงร้อยละ ๖๒
๒๐ ข้อเท็จจริงที่พบจากการท าความร่วมมือโครงการน าร่องเพื่อจัดการสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีน และสารเบนซีนด้วยมาตรการ CoP - ค่าสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีนและเบนซีนที่ตรวจพบในบรรยากาศ มีค่าสูงเกินมาตรฐาน เป็นบางช่วงเวลา (peak) ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยรายปีมีค่าสูงเกินมาตรฐาน เมื่อมุ่งค้นหาค่าที่สูงเป็นบางช่วงเวลา (peak) และท าการควบคุมแก้ไขปรับปรุง ได้ท าให้ค่าเฉลี่ยรายปีลดลง - แหล่งก าเนิดที่ต่างกันของสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีนและเบนซีน ส่งผลต่อค่าในบรรยากาศ ที่แต่ละสถานีแตกต่างกัน (source and receptor correlation) ฉะนั้น จึงต้องมีการบ่งชี้ให้ชัด เพื่อก าหนด มาตรการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ -แหล่งก าเนิดของสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีนและเบนซีน มีความสัมพันธ์กันตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ทั้งภาคการผลิตต้นน้ า – ปลายน้ า การขนส่ง การขายและบริการ การใช้งานในครัวเรือน จึงจ าเป็นต้องพิจารณาผลกระทบที่สัมพันธ์ต่อกันทั้งหมด เพื่อการก าหนดมาตรการควบคุมที่ยั่งยืน - แหล่งก าเนิดจากภาคอุตสาหกรรม สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ช่วงสภาวะ ได้แก่ สภาวะ การผลิตปกติ สภาวะที่ไม่ใช่การผลิตที่ปกติและสภาวะฉุกเฉิน ซึ่งมีลักษณะการก่อก าเนิดที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการศึกษาและก าหนดมาตรการควบคุมที่มีความเฉพาะเจาะจง - สภาวะอุตุนิยมวิทยาตามธรรมชาติ มีอิทธิพลต่อการตรวจพบค่าสาร ๑,๓ - บิวทาไดอีน และเบนซีนในบรรยากาศ จึงต้องมีการศึกษาและระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เพื่อการบริหารจัดการ อย่างเหมาะสม ข้อเสนอแนะและแนวทางการด าเนินการต่อไป (๑) ข้อมูลไม่เพียงพอในการบ่งชี้และวินิจฉัยปัญหา เช่น กรณีพบค่าสูงแต่ไม่สามารถระบุ ช่วงเวลา ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ท าให้ยากต่อการค้นหาสาเหตุและแหล่งก าเนิด ดังนั้น ควรมีการบูรณาการข้อมูล สร้างเครือข่ายการตรวจวัด การสอบเทียบเครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือ
๒๑ การรายงานกิจกรรม และจัดท าเป็นฐานข้อมูล เพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการด าเนินการ แก้ไขป้องกัน (๒) การแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ขาดการพิจารณาแหล่งก าเนิดที่ครบถ้วน ครอบคลุมทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน การก าหนดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ ควรพิจารณาสภาพสิ่งแวดล้อม สภาวะสุขภาพ เพื่อน าไปสู่การก าหนดมาตรฐานที่เหมาะสมต่อไป (๓) ระบบบริหารจัดการแยกเป็นหน่วยงาน ยังไม่มีการสอดประสานการท างานร่วมกัน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การค้นหาสาเหตุ การก ากับติดตามและการแก้ไขปรับปรุง ควรมีการด าเนินการร่วมกัน เป็นทีมเดียวกันเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมออกแบบพัฒนาระบบที่ยังไม่ครบถ้วนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (๔)การขยายผลการด าเนินงานที่ดี เช่น โครงการความร่วมมือนาร่องด้วยมาตรการปฏิบัติที่ดี (CoP) ควรขยายผลไปยังแหล่งก าเนิดอื่น ๆ (๕) ขาดการสื่อสารการด าเนินงานและท าความเข้าใจต่อทุกภาคส่วน (๖) จากที่ได้มีการตั้งคณะกรรมการบริหารเพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน เพื่อบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาสาร ๑,๓-บิวทาไดอีนและเบนซีนเกินค่ามาตรฐาน โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นประธานคณะกรรมการนั้น ควรมีการตั้งคณะท างานเพื่อแก้ไขปัญหาเพิ่มเติม ภายใต้ชื่อ “คณะบูรณาการเพื่อการจัดการสาร ๑,๓-บิวทาไดอีนและเบนซีนในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด” เพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาสาร ๑,๓-บิวทาไดอีนและเบนซีนเกินค ่ามาตรฐาน ซึ ่งมีวัตถุประสงค์ได้แก่ (๑) เพื่อให้เกิดการบูรณาการการท างานของภาครัฐ ภาคเอกชน ในการให้ความร่วมมือแก้ไขปัญหา (๒) เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการดูแลรับผิดชอบ ในรูปแบบคณะท างานภาคปฏิบัติการ (steering committee) โดยมีโครงสร้างของคณะท างาน ดังนี้ - การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานคณะท างาน - กรมควบคุมมลพิษ เป็นกรรมการ
๒๒ - กรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ - ส านักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นกรรมการ - เทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นกรรมการ - กรมธุรกิจพลังงาน เป็นกรรมการ - สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ - นักวิชาการ เป็นกรรมการ - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นเลขานุการ และมีเป้าหมายในการด าเนินการ ๓ ปี ได้แก่ (๑) ปีที่ ๑ บูรณาการข้อมูล (๒) ปีที่ ๒ น าไปสู่การแก้ไขปัญหา (๓) ปีที่ ๓ สรุปผลความสามารถในการรองรับ (carrying capacity) ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาพื้นที่ อย่างยั่งยืน รองศาสตราจารย์สราวุธ เทพานนท์คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็นแหล่งก าเนิดจากการวิจัยกับ JICA สรุปได้ดังนี้ ๑) ประเด็นแหล่งก าเนิดจากการวิจัยกับ JICA ด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ได้จากแหล่งก าเนิดในพื้นที่และเป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรร่วม ด าเนินการในการให้ข้อมูล ๒) โรคจากสิ่งแวดล้อม เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจขาดเลือด การที่จะ ระบุสาเหตุที่ชัดเจนที่ท าให้เกิดโรคจะท าได้ยาก รวมทั้ง โรคมะเร็งเม็ดเลือดจะอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยง ในการสัมผัสกับสารเคมีก าจัดศัตรูพืช ทั้งนี้ใน ๑๐๐,๐๐๐ คน จะสามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนเพียง ๕ คน ปัญหาส าคัญในการวิเคราะห์คือการขาดฐานข้อมูลด้านสุขภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันข้อมูลที่มีจะค่อนข้าง กระจัดกระจาย จึงเสนอให้ท า Meta analysis และเสนอตั้งคณะท างานเพื่อศึกษาเรื่องการท าฐานข้อมูล ด้านสุขภาพ และตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในเขตควบคุมมลพิษ
๒๓ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ๑)วิศวกรเคมี ท าหน้าที่เปลี่ยน raw material ให้มีประโยชน์ ดังนั้น อาจต้องตั้งค าถามกลับว่า “เราจ าเป็นที่จะต้องใช้ VOCs ต่อไปอีกหรือไม่และ “เราสามารถลดการใช้หรือเลิกใช้ได้หรือไม่” ๒) Key word ในการสัมมนาวันนี้ คือ “Carrying Capacity” เห็นด้วยกับแนวคิด ที่เราต้องรู้ก่อนว่ามลพิษที่มีอยู่นั้นมีอยู่จ านวนเท่าไรก่อน แล้วจึงจะสามารถที่จะตั้งค่ามาตรฐานที่ถูกต้อง หรือเหมาะสม เป็นจริงได้ และไม่ควรอ้างอิงข้อมูลจากยุโรปหรืออเมริกา เนื่องจากแถบเอเชีย มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากที่อื่น ๓) ได้ท าการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ระรอกที่ ๔ ร่วมกับการ พัฒนาอุตสาหกรรมบ้านเมืองระรอกที่ ๔” เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่ได้ก้าวสู่การพัฒนา อย่างเต็มที่ จากผลการศึกษาออกมาพบว่ายังไงประเทศไทยก็คงยังหนีไม่พ้น hydrocarbon business อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและไม่พ้นการใช้สารVOCs ดังนั้นควรหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกัน ๔)ต้องมั่นใจว่า emission sources ที่ใช้นั้นไม่มีการน าoutlining data เข้ามาใส่รวมไว้ ๕) การศึกษาเกี่ยวกับเขตควบคุมมลพิษนั้น ควรต้องศึกษาประวัติศาสตร์ด้วย เพื่อให้รู้ ต้นสายปลายเหตุ ว่าเหตุใดถึงเกิดการประกาศเขตควบคุมมลพิษ และท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องต้องด าเนิน โครงการอย่างไร หน่วยงานไหนต้องท าอะไร อย่างไรบ้าง หลังการประกาศเขตควบคุมมลพิษ ๖) ต้องการทราบข้อมูลเดิมซึ่งอาจารย์นันทวัน วิจิตรวาทการ เคยมีการศึกษา และเก็บตัวอย่าง ๑,๐๐๐ คน จากพนักงานที่ท างานในโรงงานและผู้ประกอบอาชีพรอบโรงงาน (เก็บน้ าลาย และเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม) พบว่ามีถึง ๗๐๐ กว่าคน ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็ง ได้เคยมีการติดตาม ต่อหรือไม่ว่าปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเป็นอย่างไรกันบ้าง ๗) ข้อมูลที่น าเสนอเกี่ยวกับอุบัติภัย ในปี ๒๕๕๕ มีการระเบิดครั้งใหญ่และมีการ เสียชีวิต กรณีเรือบิวทีอินวันระเบิดต้องลากออกไปกลางทะเล ยังไม่มีข้อมูลนี้ในการน าเสนอวันนี้ จึงควร มีการศึกษาข้อมูลเหล่านี้อย่างจริงจัง โดยควรแจ้งข้อมูลให้กับคนในพื้นที่ทราบเรื่องด้วย นอกจากนี้ เรื่องการปนเปื้อนโลหะหนักในเนื้อหอย และปริมาณกากอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนอยู่ในอ่าวประดู่ ประมาณ ๓ แสนกว่าตัน มีการก าหนดให้มีการขุดลอกเอาสารโลหะหนักเหล่านั้นออกไป (งบประมาณ ๕๐๐ กว่าล้านบาท) แต่ทุกวันนี้ยังไม่มีการด าเนินการ ๘) แนวคิดที่ว่ามีเขตควบคุมมลพิษแล้วจะท าให้การพัฒนาอุตสาหกรรมมีอุปสรรค ไม่เป็นความจริง ซึ่งจะเห็นได้จากตั้งแต่มีการประกาศเขตควบคุมมลพิษมา จ านวนโรงงานอุตสาหกรรม ก็ยังเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ๙) การน าเสนอข้อมูล กราฟของสาร VOCs ที่มีการปรับเปลี่ยนสูงขึ้นและลดลง ต้องมี ค าอธิบายว่าช่วงมีที่แนวโน้มสูงขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไรด้วย จึงจะเป็นข้อมูลที่จะน าไปสู่การวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ๑๐) ความรุนแรง และปริมาณของสาร VOCs ที่เกิดจากการจราจร สารเคมีภาคเกษตร กับการผลิตที่ต่อเนื่อง ๒๔ ชั่วโมง อะไรที่มีผลกระทบที่รุนแรงมากกว่ากัน ๑๑) ควรมีการท า SEA ในพื้นที่ (ลงถึงในระดับองค์การบริหารส่วนต าบล (อบต.)
๒๔ ๑๒) EEC ประกาศผังเมืองรวมให้บริเวณวังจันทร์ เขาชะเมา เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียวทแยงขาว) เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นลุ่มน้ าชั้นเอ แต่ก าลังมีสัมปทานอนุญาตให้ท าเหมืองทอง ซึ่งไม่มีการถามความเห็นจาก EEC เพื่อประกอบการอนุญาต ๑๓) การแก้ไขปัญหามลพิษทั้งหมด ไม่ใช่การแก้ไขด้วยกระบวนการ CSR ๑๔) ควรน าแนวคิดที่ได้จากการตกผลึกจากปัญหามาใช้ในการพัฒนา ภายใต้ชื่อแนวคิด ว่า “PEAK committed” ซึ่งเป็นการให้ความส าคัญกับ commitment ของภาคอุตสาหกรรม และภาค ประชาสังคม ๑๕) ประเด็นส าคัญทางสุขภาพที่ทางประชาชนต้องฟ้องศาลปกครอง คือ อัตราการเกิด โรคมะเร็ง และโรคทางเดินหายใจมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ๑๖) การสัมมนาในวันนี้มุ่งเน้นเรื่องของสาร VOCs แต่อยากให้มองในมุมอื่น ๆ ด้วย เพื่อจะได้หาแนวทางจัดการ หรือลดผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างครอบคลุม ๑๗) ระบบสุขภาพ ที่เรามีข้อจ ากัดในการด าเนินการ คือ การเฝ้าระวังสุขภาพ ทั้งเชิงรุก และเชิงรับ ที่มีการน าเสนอว่าระบบที่มีอยู่ไม่ตอบสนองต่อการเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ประเด็นส าคัญคือ อยากให้มีกลไกของรัฐที่เหนือกว่าระดับพื้นที่และจังหวัด เนื่องจากระดับพื้นที่หรือ จังหวัดเป็นหน้างานการให้บริการ ส่วนบทบาทในการวิเคราะห์เชิงลึก ถึงความสัมพันธ์ว่าผลกระทบต่อ สุขภาพต่าง ๆ นั้น มีความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะ องค์ความรู้ และผู้เชี่ยวชาญมาช่วย โดยเฉพาะโรคมะเร็ง และโรคระบบทางเดินหายใจ อีกเรื่องหนึ่งคือ ในพื้นที่ ในขณะนี้ไม่ได้มีสารอินทรีย์ระเหยแค่เพียงชนิดเดียว แต่มีหลายชนิดรวมกัน (แบบ COCKTAIL) แต่การศึกษาที่มีอยู่ เป็นการศึกษาแยกแต่ละชนิด และมีการก าหนดค่ามาตรฐานของแต่ละชนิด จึงอยากทราบว่าในทางพิษวิทยา การที่สารอินทรีย์ระเหยต่าง ๆ หลายชนิดมารวมกัน มันจะส่งผลต่อ อัตราการเกิดมะเร็งอย่างมีนัยส าคัญหรือไม่ หน่วยงานใดจะมาช่วยท าการศึกษาวิจัย ซึ่งหากมีการศึกษา เรื่องนี้อย่างจริงจัง อาจท าให้เกิดผลการศึกษาที่แตกต่างไปจากที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เป็นได้ ๑๘) การจราจรที่เป็นสาเหตุหลักของสารเบนซีนในพื้นที่ ได้มีการศึกษาลงรายละเอียด หรือไม่ว่าปริมาณของการจราจรที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการจราจรของบุคลากรที่ท างานในโรงงานหรือ นิคมอุตสาหกรรม เป็นจ านวน/สัดส่วนเท่าไหร่ หากมีการปรับแก้ไขระบบโลจิสติกส์อาจช่วยลดปัญหา ในเรื่องนี้ลงได้ ๑๙) การตรวจวัดค่าสาร VOCs เป็นไปตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งท าการ ตรวจวัดเดือนละ ๑ วัน ปีละ ๑๒ วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับการท างานของโรงงานที่ท าต่อเนื่องทุกวัน วันละ ๒๔ ชั่วโมง ท าให้เกิดค าถามในใจว่า มันเป็นตัวแทนที่แท้จริงแล้วหรือไม่ ๒๐) ประเด็น “Carrying Capacity” ได้บอกว่าวิเคราะห์โดยเอาผลจาก EIA/EHIA จากการคาดการการกระจายมาใช้ร่วมด้วยนั้น มีความน่าเชื่อถือได้แค่ไหน เนื่องจากคนที่จ้างบริษัทมาท า EIA/EHIA ก็คือเจ้าของโรงงาน หากมีผลการศึกษาออกมาแล้วส่งผลให้โรงงานไม่สามารถท าได้ ก็คงจะถูก เอาผลเหล่านั้นออกจากรายงาน ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะแก้ไขความสงสัย หรือความไม่เชื่อใจใน EIA/EHIA ด้วยการหากลไกให้หน่วยที่จ้างท า EIA/EHIA ไม่ใช่เจ้าของโรงงาน หากท าได้ก็จะท าให้เกิด ความน่าเชื่อถือหรือลดข้อกังขาของการจัดท ารายงาน EIA/EHIA ลง
๒๕ ๒๑) หากมีการยกเลิกเขตควบคุมมลพิษแล้ว ยังมีข้อสงสัยว่าจะมีกลไกอะไรที่จะช่วย ตรวจติดตาม ควบคุมให้โรงงานต่างๆ โดยเฉพาะโรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายให้ด าเนินการตาม มาตรฐาน เพราะหากเป็นเขตควบคุมมลพิษอยู่ก็คือต้องมีกฎหมายบังคับควบคุม ๒๒) จากที่อยู่ในพื้นที่มากว่า ๔ ปี พบว่าการเจรจา การพัฒนา และการพูดคุยกับ ผู้ประกอบการต่าง ๆ ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ผู้ประกอบการมักแจ้งเวลาเกิดเหตุขัดข้องในการด าเนินงานและ อุบัติภัยต่าง ๆ เช่น ความเสถียรของไฟฟ้า การซ่อมบ ารุงที่มีรอบไม่ตรงกัน และกระบวนการผลิต ที่หากไม่มีการระบายออกก็จะเกิดเหตุระเบิด เป็นต้น จึงต้องการเห็นการวิเคราะห์ที่น าสถิติการเกิดเหตุ กับสถานการณ์มลพิษที่เกิดขึ้นมาประมวลดูว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ๒๓) มีความเห็นด้วย และสนับสนุนให้มีการออกกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับการ ปลดปล่อยสาร VOCs และการเปิดเผยข้อมูล ๒) การอภิปรายประเด็น “ภาครัฐกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย(VOCs)”ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” นายแพทย์สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้อภิปรายเกี่ยวกับ ประเด็น “ภาครัฐกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย(VOCs)”ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง”สรุปได้ดังนี้ (๑) ความเป็นมาและสถานการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากสาร VOCs ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ แผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่จังหวัดระยอง (Eastern Seaboard Development) น าไปสู่การขยายตัวของอุตสาหกรรมและมลพิษอุตสาหกรรม ท าให้เกิดสาร VOCs มีพิษเฉียบพลัน พิษเรื้อรัง อุบัติภัยสารเคมี
๒๖ ปีพ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นมา รัฐบาลก าหนดให้มีโครงการแก้ไขปัญหามลพิษจังหวัดระยอง มีการก าหนดเขตควบคุมมลพิษ หน่วยงานภาครัฐมีการด าเนินงานแบบบูรณาการ มีธรรมาภิบาล และมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรมควบคุมโรค ได้มีการก าหนดมาตรการด าเนินงานและมีโครงการด าเนินงานภายใต้มาตรการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นมา (๒) มาตรการและโครงการของกรมควบคุมโรค (๒.๑) มาตรการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ - จัดท ายุทธศาสตร์ชุมชน (ต้นแบบ) ส าหรับพื้นที่มาบตาพุด - ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยจากมลพิษสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนของ สารเคมีในสิ่งแวดล้อมร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ - ติดตาม ตรวจสอบการด าเนินงานด้านอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและความ ปลอดภัยร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และโรงงานในเขตการนิคมอุตสาหกรรม - พัฒนาแนวทางการประเมินความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพและการประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ และตรวจสภาพแวดล้อมการท างานและตรวจวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารเคมีในตัวอย่าง ชีวภาพทั้งในกรณีเฝ้าระวังสุขภาพปกติและกรณีเหตุฉุกเฉินจากอุบัติภัยสารเคมีในจังหวัดระยอง - ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ โดยร่วมมือ ในการด าเนินงานยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติและร่วมในการจัดท ายุทธศาสตร์จริยธรรม นาโนเทคโนโลยีและความปลอดภัย รวมทั้งร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น WHO ILO UNEP JICA UEOH GDHOD เป็นต้น
๒๗ (๒.๒) มาตรการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพเชิงรุกและเชิงรับ ได้แก่ - โครงการศึกษาวิจัยด้านพิษวิทยาสารเคมีส าหรับเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคจากมลพิษ - โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรค ๕ มิติ ส าหรับการประกอบอินทรีย์ระเหย (VOCs) และสารเคมีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง - โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้การเฝ้าระวังและการสื่อสารความเสี่ยง ด้านการประเมิน ความเสี่ยงเริ่มแรก และการประเมินผลร่วมฤทธิ์ของสารเคมี (๒.๓) มาตรการพัฒนาทีมสอบสวนโรคและเคลื่อนที่เร็ว ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมโรค จากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒ - มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ EnvOcc CU ซึ่งท าหน้าที่ในการสอบสวนโรค เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม จ านวน ๘ แห่งในจังหวัดระยอง - พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒ ก าหนดให้มีโรคจากการประกอบอาชีพ จ านวน ๕ โรค ได้แก่ (๑) โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว (๒) โรคจากฝุ่นซิลิกา (๓) โรคจากแอสเบสตอส หรือโรคมะเร็งจากแอสเบสตอส (๔) โรคจากพิษสารก าจัดศัตรูพืช (๕) โรคจากภาวะอับอากาศ - โรคจากสิ่งแวดล้อม จ านวน ๒ โรค ได้แก่ (๑) โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว (๒) โรคจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน (PM2.5) ซึ่งมีกลุ่มสี่ยง ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพ (แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานทางทะเล แรงงานข้ามชาติ) และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมลพิษ
๒๘ (๒.๔) มาตรการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อรองรับผู้ป่วยหรือผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติภัย สารเคมีจากอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (๒.๕) มาตรการพัฒนาระบบข้อมูลวิชาการและพัฒนาการศึกษาวิจัยเฉพาะทาง ได้แก่ - ประกาศกรมควบคุมโรคเรื่องข้อแนะน าการเฝ้าระวังสุขภาพจากพิษสารเคมีกรณีดัชนี ชี้วัดการได้รับ/สัมผัสทางชีวภาพส าหรับผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมีส าหรับประเทศไทย -การศึกษาค่าเฉลี่ยสารเคมีพื้นฐานของประชาชนจังหวัดระยอง ค่าเฉลี่ยสารเคมี ๘ ชนิด (โลหะหนัก ๔ ชนิด ได้แก่ ตะกั่ว สารหนูปรอท แคดเมียม) และสาร VOCs ๔ ชนิด (เบนซีน โทลูอีนซลีน สไตรีน) - การศึกษาค่าเฉลี่ยของสารแปรรูป ๑,๓ – บิวทาไดอีน ในปัสสาวะของประชาชน ในจังหวัดระยอง บุคลากรหน่วยงานภาครัฐที่ตั้งอยู่บริเวณรอบจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ - ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมี (VOCs) ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ และประชาชนในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) (โดยใช้ค่า อ้างอิงทางสุขภาพของจังหวัดระยอง เป็นเกณฑ์ในการคัดกรองความเสี่ยง เฝ้าระวัง และสอบสวนโรค) - จัดท าระบบข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพรายบุคคลกับการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล - จัดท าข้อมูลพื้นฐานด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยให้ทุกจังหวัดมีการเข้าใช้ งานและน าเข้าข้อมูลรายงานในระบบ OEHP online ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพของข้อมูลด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพประเด็นส าคัญ (๓) แผนการจัดการในอนาคต ได้แก่ (๓.๑) การพัฒนากลไกภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรค จากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒ - การตราอนุบัญญัติเรื่อง การเปรียบเทียบความผิดตามมาตรา ๔๙ และเรื่องชื่อ และอาการส าคัญของโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ที่เหลืออีก ๖ โรค - จัดท าคู่มือ แนวทาง เกณฑ์การประเมินมาตรฐาน คุณภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติ ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒ จ านวน ๘ เรื่อง - จัดท าหลักสูตรพัฒนาบุคลากร จ านวน ๓ หลักสูตร สื่อการสอน (พนักงานเจ้าหน้าที่ บุคลากรด้านการจัดบริการ) - จัดท าโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ การขึ้นทะเบียน การออกบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ - ฝึกปฏิบัติการน าร่องกลไกตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ และโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒ - สื่อประชาสัมพันธ์ ชี้แจงพระราชบัญญัติ และสร้างการรับรู้ให้ทุกกลุ่มเป้าหมาย (๓.๒) กลไกพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยด้าน EnvOcc และโรคอุบัติใหม่ ในพื้นที่
๒๙ นางจตุพร รักสันติชาติผู้อ านวยการกลุ่มงานปิโตรเคมี ส านักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “ภาครัฐกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย (VOCs)” ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้ นิยาม “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๒) ให้ความหมาย “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” ความว่า กระบวนการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการด าเนินโครงการหรือกิจการหรือการ ด าเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้มีการด าเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อก าหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ผลการศึกษาเรียกว่า “รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๒) ประกอบด้วย รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) รายงาน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)และรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) เป็นการจัดท า รายงานส าหรับโครงการหรือกิจการหรือการด าเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส าคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือ สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง นอกจากนี้ มาตรา ๔๗ ได้บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ตามระเบียบหรือกฎหมายอื่นใดไว้แล้ว การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ค านึงถึงผลการประเมิน สิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ดังกล่าวด้วย”
๓๐ ประเภทโครงการ กิจการ หรือการด าเนินการที่เข้าข่ายต้องจัดท ารายงาน EIA/EHIA ได้แก่ - อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่มีกระบวนการผลิตทางเคมี (จัดท า EIA) -อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง (ที่ผลิตสารเคมีหรือใช้วัตถุดิบ ที่เป็นสารเคมีซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม ๑ และที่ผลิตสารเคมีหรือใช้วัตถุดิบที่เป็นสารเคมีซึ่งเป็นสาร ก่อมะเร็งกลุ่ม ๒ เอ) ขั้นตอนการเสนอรายงาน - ในขั้นขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการ - ในขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ EIA กับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง ได้แก่ อ าเภอเมืองระยอง (ต าบลมาบตาพุด ต าบลห้วยโป่ง ต าบลเนินพระ และต าบลทับมาทั้งต าบล) อ าเภอนิคมพัฒนา (ต าบลมาบข่าทั้งต าบล) อ าเภอบ้านฉาง (ต าบลบ้านฉางทั้งต าบล) ส าหรับสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมมีองค์ประกอบของสารอินทรีย์ระเหยง่าย ส่วนอุตสาหกรรม ที่มีการปล่อยสาร VOCs ได้แก่ โรงกลั่นน้ ามันปิโตรเลียม โรงงานปิโตรเคมี รายละเอียดโครงการ : มลพิษทางอากาศและการจัดการ - ระบุลักษณะของกิจกรรม - ระบุแหล่งก าเนิดของมลพิษ - ระบุประเภทของมลพิษ - ระบุเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษ - ระบุความเข้มข้นและอัตราการระบายมลพิษ - ระบุแนวทางและวิธีที่ใช้ในการประเมินผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ
๓๑ การประเมินการระบายสาร VOCs ได้แก่ - การรั่วซึม/รั่วระเหยจากอุปกรณ์ (Fugitives) - การเผาไหม้ (Combustion) - ระบบหอเผาทิ้ง (Flares) - การขนถ่ายเพื่อการค้า (Transportation and Marketing) - ถังเก็บสารเคมี (Storage Tank) - ระบบบ าบัดน้ าเสีย (Waste Water Treatment Plant) “กระบวนการผลิต ถังเก็บวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และสารเคมี การขนถ่ายเพื่อการค้า ระบบบ าบัดน้ าเสีย” จะต้องพิจารณารวบรวมไปบ าบัดก่อนระบายออกสู่บรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสารอินทรีย์ระเหยง่ายดังกล่าวจัดอยู่ในสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่ก าหนดตามค่ามาตรฐานคุณภาพ อากาศในบรรยากาศ ค่าเผ้าระวังมีคุณสมบัติเป็นพิษ หรือเป็นสารก่อมะเร็ง “การรั่วซึมจากอุปกรณ์” จะต้องระบุสัดส่วน (Fraction) ของสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่สนใจ ในแต่ละชนิดอุปกรณ์ (กรณีที่เป็นของผสม) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสารอินทรีย์ระเหยง่ายดังกล่าว จัดอยู่ในสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่ก าหนดตามค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ค่าเฝ้าระวัง มีคุณสมบัติเป็นพิษ หรือเป็นสารก่อมะเร็ง เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศ - การควบคุมมลพิษที่แหล่งก าเนิด การเลือกใช้อุปกรณ์ที่ป้องกันการรั่วซึม เช่น ปั๊มแบบกระบอกหุ้มมิดชิด (Canned Motor Pump) วาล์วป้องกันการรั่วซึม (Bellow Seal Valve) ประเก็นชนิดป้องกันการรั่วซึม (Kempchen Gasket) เป็นต้น - การควบคุมมลพิษที่ปลายท่อ (๑) ระบบบ าบัดอากาศแบบเปียก หอดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ (๒) ระบบเผาไหม้ เช่น เตาเผาแบบ Catalytic และระบบ Flare เป็นต้น ซึ่งสามารถเผาท าลาย สารไฮโดรคาร์บอน สารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือก๊าซที่เผาไหม้ได้ (Combustible) เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น กรณีโครงการขยายก าลังการผลิต หรือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ “มลพิษที่ระบายออกจากปล่อง (Stack)” ให้ใช้ “ค่าอัตราการระบายมลพิษตามหลักการ ๘๐/๒๐ เฉพาะมลพิษที่ระบายออกจากปล่อง (Stack) ซึ่งเกิดจากการใช้วัตถุดิบหรือสารเคมีหรือเกิดขึ้นจาก กระบวนการผลิต” ยกเว้น มลพิษที่ระบายออกจากปล่อง (Stack) ที่เกิดจากการเผาไหม้ “แหล่งก าเนิดรั่วซึม (Fugitive)” แหล่งก าเนิดจากการรั่วซึมทั้งหมดของโครงการเดิมและ โครงการขยายหรือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ให้ใช้ “เกณฑ์ค่าควบคุมที่เข้มงวดขึ้นจาก ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมก าหนดอย่างน้อยร้อยละ ๒๐” และ “อย่างน้อยร้อยละ ๕๐ กรณีที่ สารอินทรีย์ระเหยเป็นสารก่อมะเร็งที่มีสัดสวนตั้งแต่ร้อยละ ๖๐ โดยปริมาตร และสารดังกล่าวมีผลการ ตรวจวัดในพื้นที่ศึกษาเกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ”
๓๒ กรณีโครงการตั้งใหม่ - โครงการจะต้องใช้ “เทคโนโลยีที่สามารถลดอัตราการระบายมลพิษจากปล่องและจากการ รั่วซึมได้มากที่สุด” อัตราการระบายมลพิษ สารอินทรีย์ระเหยง่ายที่มีผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศในพื้นที่ศึกษาไม่เกิน ร้อยละ ๘๐ ของค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ Stack : ก าหนดอัตราการระบายโดยใช้ค่าจากการออกแบบ Fugitive : ก าหนดตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม สภาพสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน - แสดงข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยรอบพื้นที่ศึกษาและบริเวณ ใกล้เคียงจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ท าการตรวจวัดอย่างต่อเนื่อง ย้อนหลังอย่างน้อย ๓ ปี ล่าสุด การประเมินผลกระทบ “แบบจ าลองคุณภาพอากาศ (Air Model)” กรณีที่ ๑ : ก่อนการเปลี่ยนแปลง กรณีที่ ๒ : หลังการเปลี่ยนแปลง กรณีที่ ๓ : ผลกระทบโดยรวม ซึ่งท าการสรุปผลการประเมิน โดยเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ การประเมินผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ “ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ” ให้พิจารณา ดังนี้ (๑) มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศที่มีอยู่ในประเทศไทย (๒) มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศที่มีอยู่ในต่างประเทศในกรณีที่มลพิษที่สนใจไม่ได้ ถูกก าหนดไว้ในมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศของประเทศไทย เช่น ค าแนะน าของ Arizona Vermont เป็นต้น (๓) Odor threshold ส าหรับกรณีที่เป็นสารอินทรีย์ระเหยง่าย (๔) กรณีที่โครงการก่อให้เกิดสารมลพิษที่มีกลิ่นรบกวนให้สรุปผลการศึกษาผลกระทบ ด้านกลิ่นรบกวนที่อาจส่งผลกระทบต่อบริเวณใกล้เคียง โดยการน าค่าที่ได้จากแบบจ าลองทางคณิตศาสตร์ มาค านวณที่ค่าเฉลี่ย ๑๐ นาที พร้อมทั้งระบุเกณฑ์มาตรฐานอ้างอิงที่เป็นที่ยอมรับ (๕) เสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (๑) เชิงคุณภาพ เช่น ตารางความเสี่ยง (Health Risk Matrix) เป็นต้น (๒) เชิงปริมาณ เช่น การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพส าหรับสิ่งคุกคามสุขภาพที่เป็นสาร ก่อมะเร็ง เป็นต้น การประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และสังคม เรื่องร้องเรียน : ผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ สารอินทรีย์ระเหย กลิ่น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชน โดยสรุปรายละเอียดเรื่องร้องเรียนจากชุมชนและจากโรงงานข้างเคียงต่อการ
๓๓ ด าเนินการโครงการย้อนหลัง ๓ ปีล่าสุด โดยระบุประเด็นข้อร้องเรียน สาเหตุของปัญหา วิธีการและ ระยะเวลาในการแก้ไข ผลการด าเนินการและมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ า ผลการปฏิบัติตามมาตรการ การรายงานการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม - สรุปและวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่โครงการได้มีการปฏิบัติจริง ในกรณีที่มีมาตรการที่ไม่ได้ปฏิบัติ มาตรการที่ปฏิบัติไม่ได้ และมาตรการ ที่ปฏิบัติได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพ ให้แสดงเหตุผลประกอบ และแนวทางหรือแผนการด าเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรคดังกล่าว พร้อมทั้งระบุมาตรการที่เสนอเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดซ้ า - สรุปผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ย้อนหลังอย่างน้อย ๓ ปี - กรณีที่ผลการตรวจวัดมีแนวโน้มไม่เป็นไปตามค่าที่ก าหนดไว้ในรายงานและหรือค่ามาตรฐาน ให้วิเคราะห์หาสาเหตุ ก าหนดแนวทางแก้ไข และท าการตรวจวัดซ้ าเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งประเมินความเพียงพอและเหมาะสมของมาตรการ รวมถึงอาจมีการเสนอมาตรการเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวซ้ า มาตรการป้องกันเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดจากการระบายสารอินทรีย์ระเหยง่าย (๑) มาตรการทั่วไป - เนื่องจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดเป็นเขต ควบคุมมลพิษ (ถ้าอยู่ในพื้นที่มาบตาพุด) ดังนั้น “โครงการซึ่งตั้งอยู่ในเขตควบคุมมลพิษ ต้องด าเนินการ ตามแผนลดและขจัดมลพิษเของเขตควบคุมมลพิษนั้น” - หากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศบริเวณพื้นที่โครงการและบริเวณ โดยรอบมีแนวโน้มเข้าใกล้ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ โครงการจะต้องให้ความร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด าเนินการแก้ไขผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ - ในกรณีที่ผลการตรวจวัดมลพิษจากแหล่งก าเนิดและผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่โครงการมีแนวโน้มสูงขึ้นจากค่าที่ตรวจวัดได้ในช่วงการด าเนินการปกติ แต่ยังไม่เกินค่าควบคุมที่ ก าหนดไว้ ให้โครงการตรวจสอบหาสาเหตุและท าการเฝ้าระวัง เพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ให้สรุปรายละเอียดดังกล่าวไว้ในรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ครบถ้วนชัดเจนด้วย - ในกรณีที่ผลการตรวจวัดมลพิษจากแหล่งก าเนิดของโครงการมีค่าเกินค่าควบคุมที่ก าหนดไว้ ให้โครงการท าการตรวจสอบหาสาเหตุ ท าการแก้ไข และท าการตรวจวัดซ้ า เพื่อยืนยันประสิทธิภาพ ในการแก้ไข พร้อมทั้งก าหนดมาตรการเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในลักษณะดังกล่าวให้ครบถ้วน - ให้ความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมแบบต่อเนื่อง ในสถานประกอบการไปยังศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย
๓๔ (๒) มาตรการคุณภาพอากาศ - จัดท าบัญชีสารอินทรีย์ระเหย (VOCs Inventory) จัดท าข้อมูลการระบายสารอินทรีย์ระเหยที่มาจากแหล่งก าเนิดของโครงการ โดยให้ ด าเนินการตามแนวทางของ U.S. EPA ทั้งนี้ การประเมินการรั่วซึมจากแหล่งก าเนิดให้ด าเนินการตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๑ ปี หลังจากด าเนินโครงการ หลังจากนั้นให้ด าเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก าหนด - ควบคุมการรั่วซึม รั่วระเหยจากอุปกรณ์กระบวนการผลิต - การป้องกันการระเหยสารอินทรีย์จากระบบบ าบัดน้ าเสีย - การก าหนดอัตราการระบายมลพิษ -การก าหนดให้มีแผนงานบ ารุงรักษาและมาตรการเฝ้าระวังหอเผาให้ท างานอย่างมีประสิทธิภาพ (๓) มาตรการด้านอื่น ๆ - การจัดตั้งคณะกรรมการ (ระบุชื่อคณะกรรมการของบริษัท) หรือกรณีโครงการตั้งอยู่ ในนิคมอุตสาหกรรม ให้เข้าร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยให้ กนอ. เป็นหน่วยงานกลางในการจัดตั้งคณะกรรมการ - ก ากับดูแล ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ - เสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางป้องกันและแก้ไขข้อร้องเรียนจากแต่ละภาคส่วน - เสนอแนะกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ และการชดเชยเยียวยา -แสดงรายละเอียดของคณะกรรมการ ซึ่งมีองค์ประกอบ ได้แก่ ภาคประชาชน ภาคราชการ ภาคเอกชน โดยมีสัดส่วนผู้แทนชุมชนที่ไม่มีต าแหน่งบริหารหรือต าแหน่งผู้น าชุมชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ขององค์ประกอบคณะกรรมการ มาตรการติดตาม ตรวจสอบสารอินทรีย์ระเหยง่าย - การตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากปล่อง ความถี่ปีละ ๒ ครั้ง ในช่วงเวลาเดียวกับการ ตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ - การตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ ความถี่เดือนละ ๑ ครั้ง - การตรวจวัดการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ระเหยในดินและน้ าใต้ดิน ตรวจคุณภาพดิน ความถี่ทุก ๓ ปี ตรวจคุณภาพน้ าใต้ดิน ความถี่ปีละ ๒ ครั้ง - การตรวจสุขภาพของพนักงาน ตรวจสุขภาพทั่วไปและการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง
๓๕ นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุลรักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองส่งเสริมเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “ภาครัฐกับการจัดการ สารอินทรีย์ระเหย (VOCs)” ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้ การจัดการสิ่งแวดล้อมโรงงาน ประกอบด้วย การก าหนดค่ามาตรฐานเสียงสูดสุด เสียงเฉลี่ย เสียงรบกวน ส่งเสริมการจัดการมลพิษที่แหล่งก าเนิดตามแนวทาง BCG ก าหนดค่ามาตรฐานกลิ่น ก าหนดค่ามาตรฐานการปนเปื้อน ก าหนดค่ามาตรฐานการระบายน้ าเสีย อากาศเสีย ติดตามตรวจสอบ การระบายการรายงาน การเปิดเผยข้อมูล การเฝ้าระวังผ่าน POMs การขออนุญาตน าออกของเสีย การขออนุญาตกักเก็บของเสีย การขออนุญาตขนส่งของเสีย การติดตามการขนส่งของเสียอันตราย กฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) และที่ถูกแก้ไขโดยกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙) และกฎกระทรวงฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๖๓) อาศัยอ านาจตามมาตรา ๘ (๑) – (๖) และ (๘) ให้อ านาจ รัฐมนตรีก าหนดวิธีควบคุมมลพิษให้โรงงานต้องมีวิธีการควบคุมการปล่อยมลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมการเกิดมลพิษโรงงานต้องควบคุมการประกอบกิจการโรงงานและ การใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่ก่อให้เกิดอากาศเสีย บุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมต้องก าหนดให้ โรงงานจัดให้มีผู้ควบคุมดูแลและปฏิบัติงานประจ าส าหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การ ก าหนดค่ามาตรฐานการระบายมลพิษ ต้องให้สารเจือปนในอากาศเสียที่ระบายออกจากโรงงานต้องไม่ เกินกว่าค่าที่ก าหนด ต้องไม่ใช้วิธีท าให้เจือจาง กรณีที่มีระบบฟอกอากาศ ต้องด าเนินการ ดังนี้ (๑) ต้องติดตั้งมาตรวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้า และต้องมีการจดบันทึกเลขหน่วยและปริมาณการ ใช้ไฟฟ้าประจ าวัน (๒) ต้องมีการจดบันทึกการใช้สารเคมีในการฟอกอากาศประจ าวันและมีหลักฐานในการจัดหา สารเคมีดังกล่าว
๓๖ นอกจากนี้ ยังก าหนดให้โรงงานต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษ เพื่อรายงาน การระบายอากาศเสียออกจากโรงงานเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และต้องมีการควบคุมเสียงดังที่เกิดจากการประกอบกิจการซึ่งต้องไม่เกินมาตรฐานที่ก าหนด กฎกระทรวงฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕) และที่ถูกแก้ไขโดยกฎกระทรวงฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๖๓)ข้อ ๗ โรงงานที่มีสารมลพิษหรือสารเคมีตามที่รัฐมนตรีก าหนดไม่ว่าจะเกิดจากการผลิต การครอบครอง หรือการใช้ หรือเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ต้องจัดท ารายงานข้อมูล ดังต่อไปนี้ (๑) ปริมาณการผลิต การครอบครอง และการใช้สารมลพิษหรือสารเคมี (๒) การเคลื่อนย้ายสารมลพิษหรือสารเคมีออกนอกโรงงาน (๓) ขั้นตอนการด าเนินงานเพื่อควบคุมการปลดปล่อยสารมลพิษหรือสารเคมี (๔) คุณลักษณะเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง (๕) การตรวจสอบประสิทธิภาพระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (๖) การปลดปล่อยสารมลพิษหรือสารเคมี และการตรวจสอบสภาพแวดล้อม (๗) ข้อมูลอื่นตามที่รัฐมนตรีก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายควบคุมมลพิษอากาศจากโรงงาน ได้ก าหนดเกณฑ์การเจือปนสารมลพิษในการระบาย อากาศเสียออกจากโรงงาน ได้แก่ มาตรฐานทั่วไปส าหรับทุกโรงงาน มาตรฐานเฉพาะด้านมลพิษอากาศ ส าหรับโรงงานบางประเภท เช่น โรงไฟฟ้า โรงปูนซิเมนต์ โรงผลิตเหล็ก โรงกลั่นน้ ามันปิโตรเลียม โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงหลอมแก้วและกระจก เตาเผาของเสียอันตราย การก าหนดเกณฑ์ความเข้มกลิ่นที่ปล่องระบายโรงงาน และบริเวณริมรั้วโรงงาน ส าหรับโรงงาน ๒๓ ประเภท เป็นกลิ่นอินทรีย์สาร เช่น โรงอบนึ่งธัญพืช โรงแปรรูปสัตว์น้ า โรงผลิตอาหารสัตว์เป็นต้น การเฝ้าระวังการระบายมลพิษอากาศและเปิดเผยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (POMS) โดยการ ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอัตโนมัติที ่ปล ่องระบายอากาศเสีย น ารถปฏิบัติการออกตรวจวัดวิเคราะห์ คุณภาพอากาศ
๓๗ การควบคุมการระบายสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ได้แก่ - ก าหนดเกณฑ์การระบายสารไซลีน - ก าหนดแนวทางการตรวจสอบการรั่วซึมไอสารอินทรีย์ระเหยจากระบบท่อและอุปกรณ์ ภายในโรงแยกก๊าซ และโรงงานที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเคมี เพื่อให้เกิดการซ่อมบ ารุง - รายงานการระบายมลพิษอากาศออกจากโรงงาน (รว.) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ - อากาศที่ระบายออกจากโรงงาน คือ อากาศที ่ระบายออกจากปล ่อง หรือช่อง หรือท่อ ระบายอากาศของโรงงานไม่ว่าจะผ่านระบบบ าบัดหรือไม่ก็ตาม - น้ ามันหรือน้ ามันเตา ให้รวมถึง ผลพลอยได้ที่น ามาใช้เป็นเชื้อเพลิง - เชื้อเพลิงชีวมวล รวมถึงก๊าซชีวภาพ - ระบบปิด คือ ระบบการเผาไหม้เชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบที่มีการออกแบบให้มีการควบคุม ปริมาตรอากาศและสภาวะแวดล้อมในการเผาไหม้ - ระบบเปิด คือ ระบบการเผาไหม้เชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบที่ไม่มีการออกแบบให้มีการควบคุม ปริมาตรอากาศและสภาวะแวดล้อมในการเผาไหม้ - กรณีใช้เชื้อเพลิงร่วมกันตั้งแต่ ๒ ประเภทขึ้นไป อากาศที่ระบายออกจากโรงงาน ต้องมีค่า ปริมาณสารเจือปนในอากาศไม่เกินค่าที่ก าหนด ส าหรับเชื้อเพลิงประเภทที่มีสัดส่วนการใช้มากที่สุด - การรายงานผลการตรวจวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศให้รายงานผล ดังนี้ (๑) ในกรณีที่ไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ให้ค านวณผลที ่ความดัน ๑ บรรยากาศ หรือที่ ๗๖๐ มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ ๒๕ องศาเซลเซียส ที่สภาวะแห้ง โดยมีปริมาตรออกซิเจนในการ อากาศเสีย ณ สภาวะจิรงขณะตรวจวัด (๒) ในกรณีที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง - ระบบปิดให้ค านวณผลที ่ความดัน ๑ บรรยากาศหรือที ่ ๗๖๐ มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ ๒๕ องศาเซลเซียส ที่สภาวะแห้ง โดยมีปริมาตรอากาศส่วนเกินในการผาไหม้ร้อยละ ๕๐ หรือมีปริมาตรออกซิเจนในอากาศเสียร้อยละ ๗ - ระบบเปิดให้ค านวณผลที ่ความดัน ๑ บรรยากาศหรือที ่ ๗๖๐ มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ ๒๕ องศาเซลเซียส ในอากาศเสีย ณ สภาวะจริงขณะตรวจวัด มาตรการแนวทางในการด าเนินงานแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในเขตควบคุม มลพิษจังหวัดระยอง (ฉบับปรับปรุง) มอบหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบหลัก - ควบคุมการระบายสาร VOCs จากแหล่งก าเนิดอุตสาหกรรม - เร่งออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมสาร VOCs จากแหล่งก าเนิดมลพิษ -ควบคุมการระบายไอสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน และสารเบนซีน โดยใช้มาตรการตามแนวปฏิบัติที่ดี(CoP)
๓๘ แนวปฏิบัติที่ดี (CoP) เพื่อควบคุมการระบายสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) จาก ๓ กิจกรรมหลัก ของกลุ่มโรงกลั่น โรงแยกก๊าซ และปิโตรเคมี - การซ่อมบ ารุงใหญ่ ได้แก่ แจ้งก่อนด าเนินการซ่อมใหญ่ จัดท าแผนซ่อมบ ารุง จัดท ามาตรการ ลดสาร VOCs ติดตามผลกระทบ - หอเผาทิ้ง ได้แก่ ท าทะเบียนหอเผาทิ้ง ควบคุมควันด า รายงานสาเหตุควันด า รายงานการใช้ Flare ประเมินการระบายสาร VOCs - ถังกักเก็บสารอินทรีย์ระเหย ได้แก่ ท าเบียนถังกักเก็บ ปรับปรุงถังตามมาตรการควบคุม ไอระเหย ตรวจสอบซ่อมบ ารุง รายงานการใช้ถัง ควบคุมการระบาย VOCs ประเมินการระบายสารVOCs ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง ก าหนดให้โรงงานต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษ เพื่อรายงานมลพิษอากาศจากปล่องโรงงาน พ.ศ. ๒๕๖๕ -ก าหนดให้โรงงานมลพิษสูงทั่วประเทศต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดมลพิษก่อนระบายออกจากปล่อง - รายงานผลแบบ online ผ่านทาง Application POMs และเว็บไซด์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม แสดงผ่านป้ายข้อมูล กฎหมายมลพิษอากาศที่อยู่ระหว่างด าเนินการ ได้แก่ - เรื่องกลิ่น ปรับปรุงกฎกระทรวงเรื่องกลิ่น (อยู่ระหว่างเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณา) กฎกระทรวงควบคุมการระบายอากาศที่มีกลิ่น - ครอบคลุมทุกประเภทอุตสาหกรรม - การตรวจวัดกลิ่นด้วยการดมและวิธีอื่น ๆ - ให้รัฐมนตรีก าหนดค่าความเข้มกลิ่นที่ระบายออกจากโรงงาน - ประกาศกระทรวงก าหนดค่าความเข้มกลิ่น อุตสาหกรรมจ านวน ๒๓ ประเภท และโรงยาง กฎหมาย PRTR - ออกประกาศ อก.การรายงานการเคลื่อนย้ายและปลดปล่อยสารมลพิษ รวมถึงการจัดท า ระบบท าเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (PRTR) -การปลดปล่อยมลพิษสู่น้ า อากาศ และดิน การเคลื่อนย้ายน้ าเสียและของเสียออกนอกโรงงาน โรงไฟฟ้า ปรับปรุงค่ามาตรฐานการระบายอากาศเสียจากปล่องโรงไฟฟ้า (อยู่ระหว่างจัดท าร่างประกาศ ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ) นายประทีป เอ่งฉ้วน รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สายงานปฏิบัติการ ๑) ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “ภาครัฐกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย (VOCs)” ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้ บทบาทของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้แก่ ๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการตั้ง นิคมอุตสาหกรรม ๒) การกระจายนิคมอุตสาหกรรมไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ๓) ก ากับดูแล โรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรม ส าหรับส่วนที่อยู่ภายนอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เป็นหน้าที่ของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ส าหรับภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดนั้น ได้มีปัญหาเรื่องมลพิษ หลายเรื่อง อาทิ เรื่องกลิ่นรบกวน และเรื่องภัยแล้ง รวมทั้งเหตุระเบิดรุนแรงในปี ๒๕๕๕ และเหตุน้ ามัน
๓๙ รั่วไหล จะท าอย่างไรที่จะให้เกิดความสมดุลระหว่างด้านการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชน ที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการขับเคลื่อนแผนลดและขจัดมลพิษ ภายใต้โครงการ ยกระดับลดการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ได้แก่ เรื่องอากาศ กากของเสียและน้ า ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้มีโรงงานในพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๖๐ กว่าโรงงาน สะท้อนให้เห็นว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดท าให้เศรษฐกิจของประเทศมีการพัฒนาและเจริญเติบโต ได้มีการสร้างงานและสร้างความเจริญเติบโตให้กับชุมชนโดยรอบ ท าให้ท้องถิ่นมีรายได้จากการพัฒนา พื้นที่ อุตสาหกรรมในพื้นที่โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เริ่มตั้งแต่อุตสาหกรรมขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย การที่จะยกเลิกการใช้สารไฮโดรคาร์บอนนั้น ไม่สามารถท าได้เนื่องจากเป็นสารที่ มีความจ าเป็นส าหรับชีวิตประจ าวันและอุตสาหกรรมต้นน้ า อีกทั้งเม็ดพลาสติกต่าง ๆ ยังคงเป็น สิ่งจ าเป็นที่ต้องใช้ในชีวิตประจ าวันของมนุษย์ รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่และ ส่งไปยังพื้นที่ใกล้เคียง การให้ความส าคัญกับการแก้ไขปัญหาสาร VOCs เกินค่ามาตรฐานได้มีการร่วมมือ กับทุกภาคส่วนในพื้นที่ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการภาครัฐและประชาชน การด าเนินงานที่ผ่านมาของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ให้ความส าคัญในเรื่อง ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าไปตรวจการปลดปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม โดยให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจโรงงานที่อยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรม และได้แจ้งให้ ประชาชนทราบว่าในแต่ละโรงงานมีมาตรการใดบ้างที่น าไปใช้ส าหรับการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้แจ้งผลการติดตามตรวจสอบให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจไปด้วยกัน ในส่วนการประกาศ เขตควบคุมมลพิษได้น าค่าอัตราการระบายมลพิษตามหลักการ ๘๐/๒๐ มาด าเนินการ โดยได้มีการ ตรวจวัดค่าสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ภายในโรงงานอุตสาหรรม ซึ่งพบว่าไม่เกินเกณฑ์ค่ามาตรฐาน แต่ในช่วงปี ๒๕๖๐ พบว่ายังคงมีปัญหาเรื่องสาร VOCs สารเบนซีน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีนเกินค่า
๔๐ มาตรฐาน ซึ่งในประเด็นดังกล่าวได้มีการขับเคลื่อนร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยได้จัดท าร่าง CoP มาเป็นมาตรการในการควบคุม ส าหรับเรื่องแหล่งก าเนิดมลพิษนั้น ไม่ได้มาจากโรงงานอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมได้มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารเบนซีน ซึ่งแหล่งก าเนิดของสารเบนซีนอาจมา จากการจราจรภายในพื้นที่ ดังนั้น จึงควรแจ้งให้ภาคประชาชนในท้องถิ่นให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ในเรื่องแหล่งก าเนิดมลพิษดังกล่าว ส าหรับหลักเกณฑ์อัตราการระบายสาร VOCs ในพื้นที่นั้น กลุ่มโรงงาน อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ใช้อัตราการระบายที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ส าหรับค่ามาตรฐานการระบาย สาร VOCs ในประเทศไทย อยู่ที่ ๑.๗ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สูงเกินกว่าประเทศ สหรัฐอเมริกาที่มีค่ามาตรฐานอยู่ที่ ๕ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าหากจะให้โรงงานอุตสาหกรรม สามารถลดการปลดปล่อยสาร VOCs ให้อยู่ในค่ามาตรฐานได้นั้น ทุกหน่วยงานจะต้องช่วยเหลือกัน ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “ภาครัฐกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย(VOCs)” ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้ สาเหตุการเกิดปัญหาสาร VOCs เกินค่ามาตรฐานนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าแหล่งก าเนิดมาจาก แหล่งใด การที่จะประกาศค่าเกณฑ์มาตรฐานการปลดปล่อยสาร VOCs ให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ จึงค่อนข้างยาก เนื่องจากข้อมูลการปลดปล่อยสาร VOCs ของภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับแหล่งก าเนิด สาร VOCs แตกต่างกัน การที่จะก าหนดค่าเกณฑ์มาตรฐานการปลดปล่อยสาร VOCs ให้เป็นไป ในมาตรฐานเดียวกันได้นั้น จะต้องหาจุดเหมาะสมร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน อีกทั้งในการ ประกาศของกรมควบคุมมลพิษในเรื่องดังกล่าวจะต้องให้มีสภาพบังคับ จึงจะท าให้การแก้ไขปัญหา ดังกล่าวเป็นรูปธรรมได้
๔๑ นอกจากนี้ ภาครัฐและภาคเอกชนมีข้อมูลเรื่องแหล่งก าเนิดสาร VOCs ที่ไม่ตรงกัน การจะยกเลิก ประกาศเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง ในเบื้องต้นนั้นข้อมูลจากภาครัฐและภาคเอกชน ควรที่จะมีข้อมูลในเรื่องดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ๓) ประเด็น “ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” นายเจริญชัย ประเทืองสุขศรี ประธานกลุ่มปิโตรเคมีผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมกับการจัดการ สารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้ ปี ๒๕๖๑ สารเบนซีน มีปริมาณ ๓.๒๓ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๖๕ มีปริมาณ สารเบนซีน ๑.๘๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณสารเบนซีนในบรรยากาศลดลง คิดเป็นร้อยละ ๔๒ เป็นผลจาก (๑) จ านวนค่าที่สูงบางช่วงบางเวลา (Peak) ณ บ้านพลง ลดลงร้อยละ ๑๐๐ (๒) จ านวนค่าที่สูงบางช่วงบางเวลา (Peak) ทุกสถานี ลดลงร้อยละ ๘๓ (๓) ค่าตรวจวัดสูงสุด ลดลงร้อยละ ๔๔ การศึกษาการจัดการสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีนในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ปี ๒๕๕๗ มีค่าเฉลี่ย ๐.๗๓ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๕๘ มีค่าเฉลี่ย ๐.๘๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี๒๕๕๙ มีค่าเฉลี่ย ๐.๓๘ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๖๐ มีค่าเฉลี่ย ๐.๓๐ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๖๑ มีค่าเฉลี่ย ๑.๐๙ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
๔๒ จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง พบว่าสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน มีค่าสูง ในช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน ของทุกปี ผลส าเร็จการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๑ สาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน มีปริมาณ ๑.๐๙ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปี ๒๕๖๕ มีปริมาณ ๐.๕๗ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน ในบรรยากาศลดลงคิดเป็นร้อยละ ๔๘ เป็นผลจาก (๑) จ านวนค่าที่สูงบางช่วงบางเวลา (Peak) ณ รพ.สต.มาบตาพุด ลดลงร้อยละ ๑๐๐ (๒) จ านวนค่าที่สูงบางช่วงบางเวลา (Peak) ทุกสถานี ลดลงร้อยละ ๕๐ (๓) ค่าตรวจวัดสูงสุด ลดลงร้อยละ ๖๒ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ๑) ข้อมูลไม่เพียงพอในการบ่งชี้และวินิจฉัยปัญหา เช่น กรณีพบค่าสูงแต่ไม่สามารถระบุ ช่วงเวลา ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ท าให้ยากต่อการค้นหาสาเหตุและแหล่งก าเนิด ข้อเสนอแนะ -ควรมีการยกระดับบูรณาการข้อมูล สร้างเครือข่ายการตรวจวัดเพิ่มเติม การสอบเทียบ เครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือ การรายงานกิจกรรม และจัดท าเป็นฐานข้อมูลเพื่อความรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพในการด าเนินการแก้ไขป้องกัน
๔๓ ๒) ขาดการพิจารณาแหล่งก าเนิดที่ครบถ้วน ครอบคลุมทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่อยู่ใน สภาพแวดล้อมเดียวกัน ขาดการทบทวนข้อมูล และการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน ข้อเสนอแนะ - ควรพิจารณาสิ่งแวดล้อม สภาวะสุขภาพ เพื่อน าไปสู่การก าหนดมาตรฐานที่ เหมาะสม ๓) ยังไม่มีการสอดประสานการท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การค้นหาสาเหตุ การก ากับติดตาม และการแก้ไขปรับปรุง การสร้างกลไกการควบคุมอย่างยั่งยืน ข้อเสนอแนะ - ควรมีการด าเนินการร่วมกันเป็นทีมเดียวกันเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วม ออกแบบพัฒนาที่ยังไม่ครบถ้วนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ๔) การขยายผลการด าเนินงานที่ดี เช่น โครงการความร่วมมือน าร่องด้วยมาตรการ ปฏิบัติที่ดี (CoP) ยังจ ากัดอยู่แค่กลุ่มปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ ามัน โรงแยกก๊าซในพื้นที่ และเขตอุตสาหกรรม ไออาร์พีซี ข้อเสนอแนะ - ควรขยายผลไปยังแหล่งก าเนิดอื่น ๆ เช่น โรงงานนอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด ปั๊มน้ ามัน อู่ซ่อมรถ และการจราจรขนส่ง เป็นต้น ๕) การสื่อสารการด าเนินงานยังจ ากัดในพื้นที่เท่านั้น ควรขยายขอบเขตและท าความเข้าใจ ต่อทุกภาคส่วน ข้อเสนอแนะ -ควรจัดตั้งคณะท างานภาคปฏิบัติการ (Steering committee) ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย
๔๔ - การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - กรมควบคุมมลพิษ - ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - กรมโรงงานอุตสาหกรรม - ส านักงานสาธารณสุขจังหวัด - เทศบาลมาบตาพุด - กรมธุรกิจพลังงาน - สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย - นักวิชาการ - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้ ๑) เรื่องภาพลักษณ์การลงทุนของประเทศ - รัฐบาลก าลังสร้างและรักษาภาพลักษณ์ผิดให้แก่ประเทศ ถ้ายังไม่เปลี่ยนวิธีคิด สถานการณ์หลายด้านจะก้าวสู่จุดวิกฤต โดยจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย หรืออาจจะต้องสูญเสีย งบประมาณในการแก้ไขปัญหาในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้คือ การท าลายรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยในระยะยาว
๔๕ ๒) ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องสาร VOCs เป็นเรื่องเทคนิค และไม่ควรออกกฎหมายบังคับ แต่ควรให้ภาคเอกชนก ากับ ควบคุมกันเอง - ความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นก าลังส าคัญในการแก้ปัญหามลพิษอุตสาหกรรม ทุกด้าน (VOCs POPS โลหะหนัก) แต่ที่ผ่านมาหลายทศวรรษ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การสมคบคิด ระหว่าง ภาคเอกชนกับข้าราชการและนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชัน แสวงหาผลประโยชน์จากประเทศและ สังคมเพื่อตนเองและพวกพ้อง สิ่งนี้ท าให้ภาคเอกชนได้รับประโยชน์สูงมาโดยตลอด โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมรายใหญ่ ด้วยเหตุผลเรื่องภาพลักษณ์ของประเทศ ความจ าเป็นของการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศและการจ้างงาน - ภาคเอกชนควรให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนากฎหมายที่จะช่วยวางรากฐาน ให้ประเทศมีความแข็งแกร่งในทุกด้าน เพื่อคุณภาพของคนทุกชั้นและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีของประเทศ ไทย ซึ่งสิ่งนี้จะท าให้การเติบโตและการขยายอุตสาหกรรมยั่งยืนโดยตัวมันเอง - การใช้ระบบสมัครใจและควบคุมกันเอง ได้พิสูจน์แล้วว่า มีการปฏิบัติต่างและ ท าให้ปัญหาเรื้อรัง สูญเสียภาพลักษณ์และงบประมาณมากกว่า ๓) ควรยกเลิกเขตควบคุมมลพิษหรือไม่ - กรมควบคุมมลพิษระบุว่ามากกว่า ๕ ปีที่มีการเก็บข้อมูล และท าการวิเคราะห์ ด้านสิ่งแวดล้อม มีความเป็นไปได้สูงที่จะยังไม่ประกาศยกเลิกเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง เพราะภาครัฐยังไม่สามารถจัดการปัญหาการปล่อยมลพิษของอุตสาหกรรมบางชนิดได้ - โครงการประเมินผลเพื่อยกเลิกเขตควบคุมมลพิษ ซึ่งท าการศึกษาโดยศูนย์บริการ วิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอการจัดกลุ่มตามความพร้อมในการยกเลิกเขตควบคุมมลพิษ แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) ไม่เสนอพื้นที่ใดที่มีความพร้อมในการยกเลิกเขตควบคุมมลพิษภายในปี ๒๕๖๕ (๒) เข้าสู่ความพร้อมในระยะไม่เกิน ๓ ปี คือ หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่
๔๖ (๓) มีความพร้อมปานกลาง และต้องใช้เวลามากกว่า ๓ ปี มี ๑๕ พื้นที่ใน ๑๐ จังหวัด (๔) มีความพร้อมน้อย คือ ต าบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี และมาบตาพุด จังหวัดระยอง ๔) กรมควบคุมมลพิษเร่งประกาศมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งสารเบนซีนและสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน ในรูปอัตราการระบาย (Loading) จากโรงงานอุตสาหกรรมเคมี -กฎหมายนี้ท าให้ภาคเอกชนต้องลงทุนเพิ่มเพื่อลดการปล่อยสาร ๒ ชนิดนี้ แต่ยังไม่มีบทลงโทษ ๕) การเร่งจัดท าบัญชีแหล่งก าเนิดมลพิษภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแหล่งก าเนิด สาร VOCs โดย ๓ หน่วยงานหลัก คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ - เป็นหนทางให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุม - ตัดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องแหล่งก าเนิดมลพิษแบบ Point Source/Non Point Source ว่ามีการปล่อยมากน้อยอย่างไร - เป็นวิธีการพื้นฐานที่จะต้องท า เพื่อท าให้แผนลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยองบรรลุผลส าเร็จได้ - ก่อประโยชน์อื่น ๆ ในการป้องกันปัญหา รวมถึงการเฝ้าระวังด้านสุขภาพ ๖) การพัฒนาและประกาศใช้กฎหมาย PRTR (Pollutant Release and Transfer Register) -ผลการด าเนินโครงการ Development of Environmental and Emission Standard of Volatiel Organic Compounds (VOCs) in Thailand โดยกรมควบคุมมลพิษ และ JICA (๒๕๔๙ – ๒๕๕๑) เสนอให้มีการใช้ PRTR - ในการประชุมเพื่อแก้ปัญหาสารอินทรีย์ระเหยง่ายในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งจัดที่ส านักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เมื่อปี ๒๕๔๙ มีการเสนอเรื่องกฎหมาย PRTR - ผลจากการฟ้องคดีให้ยกเลิกโครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องจ านวน ๗๖ โครงการ ปี ๒๕๕๒ ท าให้รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอให้ประเทศไทยพัฒนาระบบ PRTR เพื่อแก้ปัญหามลพิษในจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นที่มาของโครงการน าร่อง JICA – PRTR
๔๗ - จากการจัดประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการ และนักกฎหมายสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๕ ทุกฝ่ายสนับสนุนให้มีกฎหมาย PRTR รองศาสตราจารย์วราวุธ เสือดีอุปนายกคนที่ ๒ สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม แห่งประเทศไทย ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมกับการจัดการ สารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้ ความเป็นพิษและกลไกการเกิดพิษของสาร VOCs สาร VOCs เป็นสารตั้งต้นการเกิดโอโซนที่ระดับผิวพื้นโอโซนเป็นสารมลพิษซึ่งเกิดขึ้น ภายหลัง เกิดจากปฏิกิริยา Photochemical Reaction ระหว่าง NOx และ VOCs เมื่อมีแสงแดดจัด ยกตัวอย่างเช่นในเขตเมืองจะมีสาร VOCs ที่เผาไหม้ไม่หมดจากรถยนต์กับออกไซด์ของไนโตรเจน เมื่อมีแสงแดดจะท าปฏิกิริยาได้สารประเภท Photochemical Oxidants ซึ่งมีโอโซนและ Peroxyacetylnitrate (PAN) เป็นองค์ประกอบหลัก สารประเภท Photochemical Oxidants ที่ได้จากปฏิกิริยานี้เป็นกลุ่มของ สารเคมี ซึ่งส่วนใหญ่จะมีผลต่อการท าลายสิ่งแวดล้อมและมีผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ สาร VOCs เคลื่อนย้ายจากตัวกลางชนิดหนึ่งไปยังตัวกลาอีกชนิดหนึ่ง สาร VOCs อาจถูกปล่อยออกสู่อากาศ เมื่อปรากฏในอากาศระยะหนึ่ง อาจมีการละลายลงสู่ น้ าผิวดิน อาจแพร่ไปสู่น้ าใต้ดิน และสู่ดิน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ทางอ้อม ความเป็นพิษของสารอินทรีย์ระเหยรายชนิด สาร VOCs มีทั้งเป็นพิษและไม่เป็นพิษ แต่เนื่องจากพบว่าในรายการ “สารพิษทางอากาศ” มีสาร VOCs ที่เป็นพิษประมาณ ๑๕๐ ชนิด ดังนั้น จึงอาจประมาณได้ว่ามีสาร VOCs ที่เป็นพิษที่พบปะ ในบรรยากาศที่เราหายใจอยู่ประมาณ ๑๕๐ ชนิด กลไกการเกิดพิษมีทั้งในรูปผลเฉียบพลัน (Acute Effects) และผลเรื้อรัง (Chronic Effects) และอาจจัดเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogenic) หรือไม่ใช่สารก่อมะเร็ง (Non – carcinogenic) หรืออาจมีผลที่ไม่ใช่เป็นสารก่อมะเร็งและเป็นสารก่อมะเร็ง
๔๘ - จากโครงการศึกษาการจัดการมลพิษทางอากาศในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเสนอต่อส านักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบวาความเฉลี่ยเข้มข้นเท่ากันเฉลี่ย ๑ ปี ของสารเบนซีน (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ที่อัตราการระบาย สารเบนซีนเท่ากับ ๗๙,๗๙๐ กิโลกรัม - จากโครงการศึกษาการจัดการมลพิษทางอากาศในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเสนอต่อส านักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบวาความเฉลี่ยเข้มข้นเท่ากันเฉลี่ย ๑ ปี ของสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ที่อัตราการระบายสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีนเท่ากับ ๒๓,๒๘๐ กิโลกรัม - ใช้ AERMOD ประเมินอัตราการระบายสูงสุด ส าหรับสารเบนซีนที่จะท าให้ค่าความเข้มข้น สารเบนซีน เฉลี่ย ๑ ปี ไม่เกินกว่า ๑.๗ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อัตราการระบายสารเบนซีนสูงสุด คิดเป็น ๒,๐๔๓.๕ กิโลกรัมต่อปี - ใช้ AERMOD ประเมินอัตราการระบายสูงสุด ส าหรับสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน ที่จะท าให้ ค่าความเข้มข้นสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน เฉลี่ย ๑ ปี ไม่เกินกว่า ๐.๓๓ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรอัตราการระบาย สาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน คิดเป็น ๓๙๖.๗ กิโลกรัมต่อปี ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ๑) ควรทบทวนปรับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศส าหรับสารอินทรีย์ระเหย ค่าเฉลี่ย ๑ ปี เพราะมีค่าที่ไม่มีความเข้มงวดที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ๒) ค่าเฉลี่ย ๑ ปี ส าหรับสารอินทรีย์ระเหยในประเทศไทยที่ก าหนดให้ใช้ค่าที่ตรวจวัด เพียง ๑ วัน ในแต่ละเดือน (๑ วัน/เดือน) มาเฉลี่ยเป็นค่าเฉลี่ย ๑ ปี นั้น ใช้ตัวอย่างที่น้อยเกินไป ไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนที่จะอธิบายค่าเฉลี่ย ๑ ปี ได้ การก าหนดให้ท าเช่นนี้ไม่มีหลักการทางวิชาการ และจะเห็นว่าค่าเฉลี่ย ๑ ปี ที่น ามารายงานหลายกรณีให้ภาพสถานการณ์ที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริง ๓) การที่ใช้ค่ามาตรฐานที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงมาให้เป็นเครื่องมือในการจัดการ เช่น ใช้ก าหนดอัตราการระบายสูงสุดก็จะท าให้มาตรการดังกล่าวไม่สามารถด าเนินการได้ ๔ ) การ ก าหนดอัตราการระบายสูงสุดเชิงพื้นที่ โดยใช้แบบจ าลองทางคณิตศาสตร์จะได้ผลดีส าหรับแหล่งก าเนิด ชนิด stack เช่น Sox และ NOx แต่ไม่เหมาะกับแหล่งก าเนิดที่มีการปล่อยออกที่ระดับผิวพื้นเช่นสาร VOCs ๕) การก าหนดค่าควบคุมการระบายสาร VOCs รายสารต้องพิจารณาหลายมิติ เช่น ทั้งประเภทการผลิต ผลิตภัณฑ์ ตามประเภทกิจกรรม เช่น ก าหนดเป็นกิโลกรัม/ตัน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ ๖) การก าหนดค่าควบคุมควรสะท้อนผลกระทบหรือความสามารถในการจัดการสาร VOCs ที่ท าได้จริง และควรให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ ใช้ค่ามาตรฐานที่เป็นตัวเลขเดียวกันสอดคล้อง กันในการก ากับดูแลโรงงาน ๗) สนับสนุนกฎหมายรูปแบบ Self – Regulation/CoP เพื่อให้สถานประกอบการ มีโอกาสรวมกลุ่มกันเพื่อบริหารจัดการเองโดยเห็นความส าคัญอย่างแท้จริง ไม่ใช่ด าเนินการเพราะ กฎหมายก าหนด เช่น เห็นว่าสาร VOCs ที่ปล่อยออกคือ Loss
๔๙ ๘) เกณฑ์ในการที่จะแสดงให้เห็นว่าโรงงานไดบ้างที่จะต้องลดการปล่อยสาร VOCs ผู้บริหารจัดการสาร VOCs ในพื้นที่จะต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจน ที่จะมาใช้ซึ่งในต่างประเทศก็มีตัวอย่าง เช่น การท าสาร VOCs Inventory, LDAR Program, Emission Load การวัดสาร VOCs ที่เพิ่มขึ้นใต้ลมใน เขตพื้นที่โรงงาน เทคนิคเหล่านี้ล้วนประสบความส าเร็จในการน ามาใช้ในต่างประเทศแล้ว ควรน า ตัวอย่างดังกล่าวมาใช้ นายสมนึก จงมีวศิน ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาชน ได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมกับการจัดการสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง” สรุปได้ดังนี้ ผลการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ (๑๗ มกราคม ๒๕๕๔) ศักยภาพในการรองรับพื้นที่อุตสาหกรรมของพื้นที่มาบตาพุด (Carrying Capacity) ด้านนิเวศวิทยา สารอินทรีย์ระเหยง่ายประเภทเบนซีน ๑,๒ – ไดคลอโรอีเทน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน ซึ่งมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานเฉลี่ยรายปีและอาจท าให้มีผลกระทบต่อชุมชนในระยะต่อไป ด้านสังคม – สุขภาพอนามัย ประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ซึ่งมีอัตราผู้ป่วยต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย ข้อเสนอแนวทางการด าเนินงาน ๑) ก าหนดประเภทอุตสาหกรรม/กิจกรรมที่เป็นแหล่งก าเนิดมลพิษ โดยเฉพาะสารอินทรีย์ ระเหยง่าย ที่ยังมีปัญหาในการควบคุมมิให้เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ สารเบนซีน สาร ๑.๒ – ไดคลอโรอีเทน และสาร ๑,๓ – บิวทาไดอีน เพื่อให้อุตสาหกรรมจัดท าแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาสารอินทรีย์ระเหยง่าย และควบคุมอย่างเข้มงวด
๕๐ ๒) ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวกับกระบวนการอนุมัติ อนุญาต การลดและขจัดมลพิษ ให้มีความรวดเร็วและสนับสนุนให้มีการออกกฎหมายส าหรับควบคุมสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากแหล่งก าเนิด ที่ยังไม่มีมาตรฐานควบคุม ๓) เร่งประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) จังหวัดระยอง เพื่อศึกษา ศักยภาพและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมพื้นที่จังหวัดระยอง และเสนอแนะแนวทางเลือกที่เหมาะสม บนพื้นฐานการยอมรับของประชาชนและศักยภาพการรองรับของพื้นที่ ๔) จัดตั้งกลไกระดับพื้นที่ “ศูนย์อ านวยการฟื้นฟูสภาพพื้นที่มาบตาพุดที่จังหวัดระยอง” เน้นการควบคุมอุตสาหกรรม – กิจกรรมที่เป็นแหล่งก าเนิดมลพิษ ให้ด าเนินการตามมาตรการควบคุม มลพิษอย่างเข้มงวด เช่น ติดตั้งระบบควบคุมไอระเหย (Vapor Recovery Unit) ปัญหาอุปสรรค ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ๑) ปัญหามลพิษอากาศที่ส าคัญของพื้นที่มาบตาพุด (๑) ปัญหาสาร VOCs Nox และสาร SO2 ข้อเสนอแนะ - ควรมีการตรวจสอบเป็นรายอุตสาหกรรมว่าอุตสาหกรรมประเภทใดเป็นผู้ปล่อย สารมลพิษดังกล่าว และมีเครื่องมือในการตรวจวัดมลพิษที่มีมาตรฐานและเข้มงวด สามารถทราบ แหล่งก าเนิดมลพิษได้ทันที (๒) ภาพรวมยังขาดศูนย์รวมในระดับพื้นที่ในการบูรณาการร่วมกัน ข้อเสนอแนะ ควรมีศูนย์อ านวยการระดับพื้นที่ เพื่อให้สามารถติดตามแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว