Rom-Thon Thaibeaung
รำโทนไทยเบิ้ง
Aesthetic and Criticism
THESIS DEFENSE by Tharathep Anansalung
Aesthetic and Criticism
• สุนทรียศาสตร์ (Aesthetic) ความประทับใจ
• การวิจารณ์งานศิลปะ (Criticism)
ขั้นบรรยาย/พรรณนา (Description)
- สิ่งที่เห็นจากภาพโดยตรง/เห็นทัศนธาตุ (Elements of Art) อะไร
ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)
- มีหลักการองค์ประกอบศิลป์ (Principles of Design) อย่างไร
ขั้นตีความ (Interpretation)
- สิ่งที่เเท้จริงที่ภาพต้องการจะสื่อ (ความหมายโดยนัย)
ขั้นตัดสิน (Judment)
- การให้คุณค่า (Evaluate) เเละผลงานให้ประโยชน์อย่างไรกับตนเอง สังคม
Rom-Thon Thaibeaung | รำโทนไทยเบิ้ง
• ลักษณะผลงาน
จิตรกรรมสีอะคริลิค จำนวน 3 ชิ้นงาน ขนาดรวม 100 x 200 cm
• เเนวคิดผลงาน (Concept)
การถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชีวิต วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง
จังหวัดลพบุรี จาการละเล่นเพลงรำโทน 3 บทเพลง ได้เเก่ เเพลงช่อมะกอก เพลงกินกลอย และ
เพลงระบำไทยเบิ้ง
Rom-Thon No.1 | ช่อมะกอก
ขนาด : 100 x 100 cm
แนวคิด : ถ่ายทอดเรื่องราวจากบทเพลงรำโทน “ช่อมะกอก” ที่สะท้อนวิถีชีวิตภาพ
รวมของชุมชนไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง
เพลง ช่อมะกอก คุณยายเอ้บ ศุขสลุง ผู้แต่ง
เจ้าช่อมะกอก เจ้าดอกทองกวาว ครั้งโบราณก่อนเก่า เขาใช้ควายไถนา
แต่ก่อนคนเรายังโง่ ยกเรือนหลังโต เอาแฝกมุงหลังคา
ทำฝาค้อ กั้นห้องเคหา ขันตักน้ำ ใช้กะโหลกกะลา
ไม้ไผ่ จักตอกเอามา สานครุเอาชันยา หาบน้ำมากิน
ชีวิต คนโบราณ ก่อนเก่า หุงข้าว เขาก็ใช้หม้อดิน
ใส่เสวียน ผูกมัด ตะแคงริน กลิ่นหอมชวนกิน ข้าวหม้อดิน ไทยเรา
แกงมันนก กินเหนียว เคี้ยวสนิท แกงบอนกินติด แกงสามสิบยอดยาว
ลาบบึ้ง มะเขือจิ้มพอเหมาะๆ แกงแย้เหมือดเปราะ ลูกปลาซิวแกงเอาะ
อร่อยเหาะซะไม่เบา ผักลืมผัว จิ้มน้ำพริกปลาร้า(ซ้ำ)
คั่วเขียด แกงปลาที่ข้ากล่าวมา ของป่าๆบ้านเรา
เจ้าช่อมะกอก เจ้าดอกกระดังงา (ซ้ำ) ห ลนปูนา จิ้มด้วยถั่วย่นยาว
เจ้าช่อมะกอก เจ้าดอกพุทรา(ซ้ำ) หลนปูนา อร่อยกว่าผัดกระเพรา
Criticism Art | Rom-Thon No.1 ช่อมะกอก
• ขั้นบรรยาย/พรรณนา (Description)
ภาพโดยรวมเป็นภาพธรรมชาติเเละสิ่งมีชีวิต บริเวณกลางภาพมีหญิงสาวเเละเด็กที่นั่งบน
หลังควาย โดยหญิงสาวนั่งอยู่ด้านหน้าสวมชุดไทยพื้นบ้าน ซึ่งกำลังใช้ไม้คานหาบกระบุง 2 ใบ
บนไหล่ด้านขวา เด็กนั่งอยู่ด้านหลัง สวมชุดนักเรียน สะพายถุงย่ามพาดจากไหล่ขวา มือซ้าย
ยื่นออกไปทางด้านหลังซึ่งบนมือมีนกเกาะอยู่ ส่วนควายกำลังเดินไป ผ่านเเอ่งน้ำที่เต็มไปด้วย
สิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ มีนกกระยางสองตัวยืนด้านหน้าหรือทางด้านซ้ายของภาพซึ่งกำลังมองหา
อาหารที่อยู่ภายใต้เเอ่งน้ำซึ่งมีปลาตะเพียน ปลากราย ปลาน้ำเงิน หอยขม อึ่งอ่าง ปูนา เต่านา
รวมถึงพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่รายล้อม ทั้งต้นบอน ต้นค้อ บัวสาย และทางด้านขวาของภาพ
เป็นต้นคร้อที่ขึ้นอยู่ ด้านบนขวาเป็นรูปเรือนฝาค้อด้านหลังเป็นต้นไม้ใหญ่ ส่วนด้านซ้ายบนมี
ภาพหม้อดินที่เทน้ำออก เเละจุดเตาไฟขวันโขมง อยู่ใกล้ ๆ บริเวณต้นกล้วย บริเวณกลางภาพ
ด้านบนจะเห็นบรรยากาศของท้องฟ้า นกบิน ท่ามกลางใบไม้ที่ปลิดปลิว
• ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)
ภาพโดยรวมมีความเป็นเอกภพ ( unity) จากความกลมกลืน ( Harmony ) ของรูปร่าง รูป
ทรงที่มีลักษณะจิตรกรรมไทยประยุกต์ผสมผสานการจัดองค์ประกอบ โดยมีจุดเด่น ( Emphasis)
ที่บริเวณกลางภาพซึ่งเป็นหญิงสาวเเละเด็กที่นั่งบนหลังควายทำให้ภาพเกิดความสมดุล (balance)
เมื่อลากเส้นตรงกลางจากขอบจะพบว่าจัดเด่นอยู่บริเวณจุดตัดพอดี รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่กำลัง
ความเคลื่อนไหว (Movement) อยู่รายล้อม การไล่ระดับ (Gradation) ของสีที่เน้นสีเข้มไปหาสี
อ่อนจากด้านล่างสู่ด้านบนเเละใช้ความความหลากหลาย (Variety) ของรูปร่างรูปทรงมีที่มีสัดส่วน
(proportion) เเตกต่างกันจุดเด่นหรือวัตถุที่อยู่ด้านหน้าจะมีขนาดใหญ่ระยะกลาง ระยะไกลจะมี
สัดส่วนเล็กลงตามลำดับ
• ขั้นตีความ (Interpretation)
ภาพเเสดงออกถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง จากบทเพลง
“ช่อมะกอก” ซึ่งเป็นรำโทนพื้นบ้าน ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะที่อยู่อาศัยที่เป็นเเบบ
เรือนฝาค้อ ลักษณะการเเต่งกายที่ผู้หญิงมักจะใส่เสื้อ “อีหิ้ว” นุ่งโจงกระเบน พาดผ้าขาวม้า
สะพายถุงย่าม รายละเอียดต่าง ๆ ต้องการสื่อถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่พบใน
บริเวญชุมชน เช่น นกยางนา นกยางควาย นกกินปลี เต่านา เป็นต้น เเละสื่อถึงอาหารการ
กินหรือวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เช่น ปูนา อึ่งอ่าง ปลาตะเพียน หอยขม ต้นบอน ผักลืมผัว
เป็นต้น ซึ่งผลงานงานสะท้อนถึงอัตลักษณ์ รากเหง้าทางวัฒนธรรมไทยเบิ้ง จากคำขวัญที่ว่า
“ผ้าขาวม้างาม ถุงย่ามสวย ล้อมด้วยพนังกั้นน้ำ เเหล่งวัฒนธรรมไทยเบิ้ง”
• ขั้นตัดสิน (Judement)
ผลงานต้องการให้ผู้ชมเห็นถึงความสวยงามทางวัฒนธรรมที่สอดแทรกอยู่ทั่วไปในทุก
ส่วนของการดำเนินชีวิต การเติบโตทางวัฒนธรรมที่ควบคู่กับพัฒนาสังคม ซึ่งความก้าวหน้า
ที่ส่งผลให้การดำเนินชีวิตสะดวกสะบายขึ้น เเต่ก็อาจทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมกำลังเลือนหาย
ไป ผลงานจึงมุ่งเน้นให้จุดประกายความคิดให้อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานให้วัฒนธรรมพื้นถิ่น
สามารถปรับตัวเข้ากันสังคมปัจจุบันได้อย่างสมดุล จึงได้นำเเนวการวาดเเบบจิตรกรรมไทย
ประเพณีผสมผสานกับจินตนาการของรูปแบบเหนือจริงให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น เป็นการ
ถ่ายทอดเเนวคิด เเละตีความบทเพลงรำโทน ให้เกิดคุณค่าขึ้นจริง
Rom-Thon No.2
| กินกลอย
ขนาด : 50 x 100 cm
แนวคิด (Concept)
ถ่ายทอดเรื่องราวจากบทเพลงรำ
โทน “กินกลอย” ที่สะท้อนวิถีชีวิตในช่วง
เวลาหนึ่งของคนชุมชนไทยเบิ้งบ้านโคก
สลุงต้องเจอกับปัญหาทุกข์ยาก ขาดแค
ลนเเหล่งอาหารเเละที่อยู่อาศัย
เพลง กินกลอย คุณยายเอ้บ ศุขสลุง แต่ง
ครั้งหนึ่ง น้ำตาไหลย้อย ขุดกลอย กันทั้งตำบล
พ่อแม่ พากันดิ้นรนๆ พาลูก ทุกคน สู้ทนกินกลอย
เอากลอยมาซอยมาสับ หุงกับ ข้าวสารเล็กน้อย
เรียกว่า ข้าวหุงปนกลอยๆ ถึงไม่อร่อย ตายิบหยอย ก็ต้องกิน
ชีวิตของชาวไทยเบิ้ง ขวัญกระเจิง ต้องน้ำตาริน
ฝนแล้ง ไม่มีข้าวในนาๆ เป็นบุญหนักหนา ที่ฉันมีกลอยกิน
Rom-Thon No.2
ระบำไทยเบิ้ง
ขนาด : 50 x 100 cm
แนวคิด (Concept)
ถ่ายทอดเรื่องราวจากบทเพลงรำโทน
“ระบำไทยเบิ้ง” ที่สะท้อนวิถีทาง
วัฒนธรรม ประเพณีเเห่ดอกไม้ เเละ
ประเพณีตักบาตรลูกอมที่เป็นเอกลักษณ์
ของคนชุมชนไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง
คิดถึงรำพึงรำพัน เพลง ระบ
ำไทยเบิ้ง
คุณครูอัญชลี แก้วชัย แต่ง
มาไปด้วยกัน แห่ขบวนดอกไม้
ผู้เฒ่า เหย้าแก่หญิงชาย ร้องรำกันไป จิตใจเบิกบาน
แห่ดอกไม้ นั้นมีมานาน (ซ้ำ) คู่เพลงพิษฐาน สืบสานประเพณี (ซ้ำ) ร้อง 2 รอบ
คิดถึงรำพึงรำพัน มาไปด้วยกัน ตักบาตรกันไหม
ลูกอมเตรียมพร้อมรีบไป (ซ้ำ) ตักบาตรถวาย ในวันเทโว
ทำบุญกันไว้ ด้วยใจศรัทธา บุญนำพา สร้างกุศลยิ่งใหญ่
ชาวไทยเบิ้ง ดั่งรากเหง้าต้นไม้ ยึดโยงกันไว้ ต้านพายุพา