The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ice.salung, 2022-05-06 03:24:02

รำโทนไทยเบิ้ง

รำโทนไทยเบิ้ง

Rom-Thon Thaibeaung
รำโทนไทยเบิ้ง

Aesthetic and Criticism
THESIS DEFENSE by Tharathep Anansalung

Aesthetic and Criticism

• สุนทรียศาสตร์ (Aesthetic) ความประทับใจ
• การวิจารณ์งานศิลปะ (Criticism)
ขั้นบรรยาย/พรรณนา (Description)

- สิ่งที่เห็นจากภาพโดยตรง/เห็นทัศนธาตุ (Elements of Art) อะไร
ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)

- มีหลักการองค์ประกอบศิลป์ (Principles of Design) อย่างไร
ขั้นตีความ (Interpretation)

- สิ่งที่เเท้จริงที่ภาพต้องการจะสื่อ (ความหมายโดยนัย)
ขั้นตัดสิน (Judment)

- การให้คุณค่า (Evaluate) เเละผลงานให้ประโยชน์อย่างไรกับตนเอง สังคม

Rom-Thon Thaibeaung | รำโทนไทยเบิ้ง

• ลักษณะผลงาน
จิตรกรรมสีอะคริลิค จำนวน 3 ชิ้นงาน ขนาดรวม 100 x 200 cm

• เเนวคิดผลงาน (Concept)
การถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชีวิต วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง


จังหวัดลพบุรี จาการละเล่นเพลงรำโทน 3 บทเพลง ได้เเก่ เเพลงช่อมะกอก เพลงกินกลอย และ

เพลงระบำไทยเบิ้ง



Rom-Thon No.1 | ช่อมะกอก

ขนาด : 100 x 100 cm
แนวคิด : ถ่ายทอดเรื่องราวจากบทเพลงรำโทน “ช่อมะกอก” ที่สะท้อนวิถีชีวิตภาพ

รวมของชุมชนไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง

เพลง ช่อมะกอก คุณยายเอ้บ ศุขสลุง ผู้แต่ง

เจ้าช่อมะกอก เจ้าดอกทองกวาว ​ ครั้งโบราณก่อนเก่า เขาใช้ควายไถนา

แต่ก่อนคนเรายังโง่​ ยกเรือนหลังโต เอาแฝกมุงหลังคา ​

ทำฝาค้อ กั้นห้องเคหา ข​ันตักน้ำ ใช้กะโหลกกะลา ​

ไม้ไผ่ จักตอกเอามา​ สานครุเอาชันยา หาบน้ำมากิน

ชีวิต คนโบราณ ก่อนเก่า​ หุงข้าว เขาก็ใช้หม้อดิน ​

ใส่เสวียน ผูกมัด ตะแคงริน ​ กลิ่นหอมชวนกิน ข้าวหม้อดิน ไทยเรา

แกงมันนก กินเหนียว เคี้ยวสนิท ​แกงบอนกินติด แกงสามสิบยอดยาว

ลาบบึ้ง มะเขือจิ้มพอเหมาะๆ​ แกงแย้เหมือดเปราะ ลูกปลาซิวแกงเอาะ

อร่อยเหาะซะไม่เบา ​ผักลืมผัว จิ้มน้ำพริกปลาร้า(ซ้ำ)​

คั่วเขียด แกงปลา​ที่ข้ากล่าวมา ของป่าๆบ้านเรา

เจ้าช่อมะกอก เจ้าดอกกระดังงา (ซ้ำ) ห​ ลนปูนา จิ้มด้วยถั่วย่นยาว

เจ้าช่อมะกอก เจ้าดอกพุทรา(ซ้ำ) ​ หลนปูนา อร่อยกว่าผัดกระเพรา

Criticism Art | Rom-Thon No.1 ช่อมะกอก

• ขั้นบรรยาย/พรรณนา (Description)
ภาพโดยรวมเป็นภาพธรรมชาติเเละสิ่งมีชีวิต บริเวณกลางภาพมีหญิงสาวเเละเด็กที่นั่งบน

หลังควาย โดยหญิงสาวนั่งอยู่ด้านหน้าสวมชุดไทยพื้นบ้าน ซึ่งกำลังใช้ไม้คานหาบกระบุง 2 ใบ
บนไหล่ด้านขวา เด็กนั่งอยู่ด้านหลัง สวมชุดนักเรียน สะพายถุงย่ามพาดจากไหล่ขวา มือซ้าย
ยื่นออกไปทางด้านหลังซึ่งบนมือมีนกเกาะอยู่ ส่วนควายกำลังเดินไป ผ่านเเอ่งน้ำที่เต็มไปด้วย
สิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ มีนกกระยางสองตัวยืนด้านหน้าหรือทางด้านซ้ายของภาพซึ่งกำลังมองหา
อาหารที่อยู่ภายใต้เเอ่งน้ำซึ่งมีปลาตะเพียน ปลากราย ปลาน้ำเงิน หอยขม อึ่งอ่าง ปูนา เต่านา
รวมถึงพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่รายล้อม ทั้งต้นบอน ต้นค้อ บัวสาย และทางด้านขวาของภาพ
เป็นต้นคร้อที่ขึ้นอยู่ ด้านบนขวาเป็นรูปเรือนฝาค้อด้านหลังเป็นต้นไม้ใหญ่ ส่วนด้านซ้ายบนมี
ภาพหม้อดินที่เทน้ำออก เเละจุดเตาไฟขวันโขมง อยู่ใกล้ ๆ บริเวณต้นกล้วย บริเวณกลางภาพ
ด้านบนจะเห็นบรรยากาศของท้องฟ้า นกบิน ท่ามกลางใบไม้ที่ปลิดปลิว

• ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)
ภาพโดยรวมมีความเป็นเอกภพ ( unity) จากความกลมกลืน ( Harmony ) ของรูปร่าง รูป

ทรงที่มีลักษณะจิตรกรรมไทยประยุกต์ผสมผสานการจัดองค์ประกอบ โดยมีจุดเด่น ( Emphasis)
ที่บริเวณกลางภาพซึ่งเป็นหญิงสาวเเละเด็กที่นั่งบนหลังควายทำให้ภาพเกิดความสมดุล (balance)
เมื่อลากเส้นตรงกลางจากขอบจะพบว่าจัดเด่นอยู่บริเวณจุดตัดพอดี รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่กำลัง
ความเคลื่อนไหว (Movement) อยู่รายล้อม การไล่ระดับ (Gradation) ของสีที่เน้นสีเข้มไปหาสี
อ่อนจากด้านล่างสู่ด้านบนเเละใช้ความความหลากหลาย (Variety) ของรูปร่างรูปทรงมีที่มีสัดส่วน
(proportion) เเตกต่างกันจุดเด่นหรือวัตถุที่อยู่ด้านหน้าจะมีขนาดใหญ่ระยะกลาง ระยะไกลจะมี
สัดส่วนเล็กลงตามลำดับ

• ขั้นตีความ (Interpretation)
ภาพเเสดงออกถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง จากบทเพลง

“ช่อมะกอก” ซึ่งเป็นรำโทนพื้นบ้าน ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะที่อยู่อาศัยที่เป็นเเบบ
เรือนฝาค้อ ลักษณะการเเต่งกายที่ผู้หญิงมักจะใส่เสื้อ “อีหิ้ว” นุ่งโจงกระเบน พาดผ้าขาวม้า
สะพายถุงย่าม รายละเอียดต่าง ๆ ต้องการสื่อถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่พบใน
บริเวญชุมชน เช่น นกยางนา นกยางควาย นกกินปลี เต่านา เป็นต้น เเละสื่อถึงอาหารการ
กินหรือวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เช่น ปูนา อึ่งอ่าง ปลาตะเพียน หอยขม ต้นบอน ผักลืมผัว
เป็นต้น ซึ่งผลงานงานสะท้อนถึงอัตลักษณ์ รากเหง้าทางวัฒนธรรมไทยเบิ้ง จากคำขวัญที่ว่า
“ผ้าขาวม้างาม ถุงย่ามสวย ล้อมด้วยพนังกั้นน้ำ เเหล่งวัฒนธรรมไทยเบิ้ง”

• ขั้นตัดสิน (Judement)
ผลงานต้องการให้ผู้ชมเห็นถึงความสวยงามทางวัฒนธรรมที่สอดแทรกอยู่ทั่วไปในทุก

ส่วนของการดำเนินชีวิต การเติบโตทางวัฒนธรรมที่ควบคู่กับพัฒนาสังคม ซึ่งความก้าวหน้า
ที่ส่งผลให้การดำเนินชีวิตสะดวกสะบายขึ้น เเต่ก็อาจทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมกำลังเลือนหาย
ไป ผลงานจึงมุ่งเน้นให้จุดประกายความคิดให้อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานให้วัฒนธรรมพื้นถิ่น
สามารถปรับตัวเข้ากันสังคมปัจจุบันได้อย่างสมดุล จึงได้นำเเนวการวาดเเบบจิตรกรรมไทย
ประเพณีผสมผสานกับจินตนาการของรูปแบบเหนือจริงให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น เป็นการ
ถ่ายทอดเเนวคิด เเละตีความบทเพลงรำโทน ให้เกิดคุณค่าขึ้นจริง

Rom-Thon No.2
| กินกลอย

ขนาด : 50 x 100 cm
แนวคิด (Concept)

ถ่ายทอดเรื่องราวจากบทเพลงรำ
โทน “กินกลอย” ที่สะท้อนวิถีชีวิตในช่วง
เวลาหนึ่งของคนชุมชนไทยเบิ้งบ้านโคก
สลุงต้องเจอกับปัญหาทุกข์ยาก ขาดแค
ลนเเหล่งอาหารเเละที่อยู่อาศัย

เพลง กินกลอย คุณยายเอ้บ ศุขสลุง แต่ง


ครั้งหนึ่ง น้ำตาไหลย้อย ​ ขุดกลอย กันทั้งตำบล
พ่อแม่ พากันดิ้นรนๆ ​ ​พาลูก ทุกคน สู้ทนกินกลอย
เอากลอยมาซอยมาสับ ​หุงกับ ข้าวสารเล็กน้อย​
เรียกว่า ข้าวหุงปนกลอยๆ ​ ถึงไม่อร่อย ตายิบหยอย ก็ต้องกิน​
ชีวิตของชาวไทยเบิ้ง ​ขวัญกระเจิง ต้องน้ำตาริน
ฝนแล้ง ไม่มีข้าวในนาๆ ​เป็นบุญหนักหนา ที่ฉันมีกลอยกิน

Rom-Thon No.2

ระบำไทยเบิ้ง

ขนาด : 50 x 100 cm
แนวคิด (Concept)
ถ่ายทอดเรื่องราวจากบทเพลงรำโทน

“ระบำไทยเบิ้ง” ที่สะท้อนวิถีทาง

วัฒนธรรม ประเพณีเเห่ดอกไม้ เเละ

ประเพณีตักบาตรลูกอมที่เป็นเอกลักษณ์

ของคนชุมชนไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง

คิดถึงรำพึงรำพัน เพลง ระบ​
ำไทยเบิ้ง

คุณครูอัญชลี แก้วชัย แต่ง




มาไปด้วยกัน แห่ขบวนดอกไม้

ผู้เฒ่า เหย้าแก่หญิงชาย​ ร้องรำกันไป จิตใจเบิกบาน

แห่ดอกไม้ นั้นมีมานาน (ซ้ำ) คู่เพลงพิษฐาน สืบสานประเพณี (ซ้ำ) ร้อง 2 รอบ

คิดถึงรำพึงรำพัน​ มาไปด้วยกัน ตักบาตรกันไหม

ลูกอมเตรียมพร้อมรีบไป (ซ้ำ) ​ตักบาตรถวาย ในวันเทโว

ทำบุญกันไว้ ด้วยใจศรัทธา บ​ุญนำพา สร้างกุศลยิ่งใหญ่

ชาวไทยเบิ้ง ดั่งรากเหง้าต้นไม้​ ยึดโยงกันไว้ ต้านพายุพา


Click to View FlipBook Version