The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นวัตกรรม เล่มที่1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by krusuraya, 2023-10-10 10:29:17

นวัตกรรม เล่มที่ 1

นวัตกรรม เล่มที่1

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบจ าลองเป็นฐานบูรณาการอัลกุรอาน (Quran-Integrated Science Learning through Inquiry and Model-based Approaches : Q-SIM) เรื่อง อัลกุรอาน ดวงดาวและอวกาศ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จัดท าโดย นางสุรญา เดชอรัญ ต าแหน่ง ครู วิทยฐานะ ช านาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านสิเดะ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2


ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบจ าลอง เป็นฐานบูรณาการอัลกุรอาน (Quran-Integrated Science Learning through Inquiry and Model-based Approaches : Q-SIM) เรื่อง อัลกุรอาน ดวงดาวและอวกาศ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 สอดคล้องกับตัวชี้วัด/สาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสอดคล้องกับตัวชี้วัด/สาระอัลกุรอาน หลักสูตรอิสลามศึกษา ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ มีทั้งหมด 4 เล่ม ผู้เขียนได้ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้น าไปใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนมุสลิม เป็นการน าหลักค าสอน ของอัลกุรอานมาปฏิบัติต่อเองและผู้อื่น เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่าง สันติสุข ที่ส าคัญแนวการจัดกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ แบบจ าลองเป็นฐานบูรณาการอัลกุรอานนี้ ยังช่วยเสริมสร้างทักษะการสร้างแบบจ าลอง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้และทักษะ กระบวนการที่หลากหลาย อันน าไปสู่การประกอบอาชีพและสร้างสรรค์นวัตกรรมในอนาคต ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับแบบจ าลองเป็นฐานบูรณาการอัลกุรอาน จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนส าคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณนายนิมะนาเซ สามะอาลี ผู้อ านวยการโรงเรียนบ้านสิเดะ และคณะผู้ทรงคุณวุฒิที่กรุณาให้ค าปรึกษา ขอบคุณคณะครู นักเรียน ตลอดจนครอบครัวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาชุดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบจ าลองเป็นฐานบูรณาการ อัลกุรอาน เรื่อง อัลกุรอานดวงดาวและอวกาศ จนส าเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มา ณ โอกาสนี้ สุรญา เดชอรัญ ครู โรงเรียนบ้านสิเดะ ค ำน ำ


ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบจ าลองเป็นฐานบูรณาการอัลกุรอาน


ค ำชี้แจง ส ำหร ั บคร ู ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบจ าลอง เป็นฐานบูรณาการอัลกุรอาน (Quran-Integrated Science Learning through Inquiry and Model-based Approaches : Q-SIM) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครูผู้สอนต้องศึกษาขั้นตอนใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เข้าใจ ดังนี้ 1. ศึกษาและใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ แบบจ าลองเป็นฐานบูรณาการอัลกุรอาน เรื่อง อัลกุรอาน ดวงดาวและอวกาศ ควบคู่กับ แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อัลกุรอาน ดวงดาวและอวกาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2. ครูต้องเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ล่วงหน้าและเตรียมสื่อ อุปกรณ์ที่ ก าหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ให้พร้อมก่อนใช้แผนการจัดการเรียนรู้และชุดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบจ าลองเป็นฐานบูรณาการ อัลกุรอาน เรื่อง อัลกุรอาน ดวงดาวและอวกาศ 3. ครูจัดเตรียมชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับ แบบจ าลองเป็นฐานบูรณาการอัลกุรอาน เรื่อง อัลกุรอาน ดวงดาวและอวกาศให้เพียงพอ กับจ านวนนักเรียน 4. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน โดยภายในกลุ่มจะต้องคละนักเรียน ทั้งสามระดับ คือ เก่ง ปานกลาง อ่อน แล้วเลือกประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม และ เลขานุการกลุ่ม 5. ให้นักเรียนท ากิจกรรมการเรียนรู้และปฏิบัติตามขั้นตอนการด าเนินกิจกรรมทุก ขั้นตอน ในกรณีที่นักเรียนมีปัญหาหรือไม่เข้าใจ ครูควรให้ค าแนะน าอย่างใกล้ชิด 6. วัดและประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างเรียนโดยใช้แบบประเมินการท ากิจกรรมของ ผู้เรียนตามที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง และทดสอบหลังเรียน หากนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ครูควรให้ นักเรียนท ากิจกรรมเสริมนอกเวลา


ค ำชี้แจง ส ำหรับนักเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบจ าลอง เป็นฐานบูรณาการอัลกุรอาน (Quran-Integrated Science Learning through Inquiry and Model-based Approaches : Q-SIM) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ นักเรียนใช้เป็นคู่มือเพื่อเรียนรู้ ซึ่งจะเกิดผลดีเมื่อนักเรียนได้ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ 1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน โดยภายในกลุ่มต้องคละนักเรียนทั้ง 3 ระดับ คือ เก่ง ปานกลาง อ่อน แล้วเลือกประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม และเลขานุการกลุ่ม 2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีการด าเนินกิจกรรม ให้เข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติ 3. นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในแต่ละกิจกรรม จากนั้น บันทึกผลการท ากิจกรรมในแบบบันทึกกิจกรรมแต่ละกิจกรรม 4. ในการท ากิจกรรมทุกครั้ง นักเรียนควรตั้งใจและให้ความร่วมมือในการท า กิจกรรม รวมถึงเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อยเมื่อท ากิจกรรมแล้วเสร็จ 5. เมื่อนักเรียนท ากิจกรรมครบทุกกิจกรรมแล้ว ให้นักเรียนท าแบบทดสอบ หลังเรียนด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์


มำตรฐำนกำรเร ี ยนร ้ ู และต ั วช ี ้ วด ั สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการคิด และ วิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ รวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีอวกาศ ตัวชี้วัด ว 3.1 ป.4/3 สร้างแบบจ าลองแสดงองค์ประกอบของระบบ สุริยะ และอธิบายเปรียบเทียบคาบการโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ จาก แบบจ าลอง หลักสูตรอิสลามศึกษา สาระอัลกุรอาน มาตรฐานการเรียนรู้ ก 1 เข้าใจประวัติ ความส าคัญ หลักการอ่าน และหลักการอรรถาธิบายอัลกุรฺอาน สามารถอ่าน ท่องจ า อรรถาธิบาย เห็นคุณค่า และน าไปใช้ในการด าเนินชีวิตอย่างสันติสุข ตัวชี้วัด ก 1 อต.4/1 บอกความหมาย ความเป็นมา ความส าคัญของ ซูเราะฮ์ที่ก าหนดโดยสรุป


วิทยาศาสตร์ (Science) อัลกุรอาน (Alquran) ระบบสุริยะของเราเป็นระบบที่มี ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โดยมี ดาวเคราะห์ บริวารของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ โดยดาวเคราะห์และ วัตถุต่าง ๆ มีขนาด ต าแหน่ง และ คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์แตกต่างกัน “พระองค์ผู้ทรงบันดาลกลางคืนและ กลางวัน ดวงอาทิตย์และดวงเดือน ทุกสิ่ง ทุกอย่างโคจรตามเส้นทาง” (ซูเราะฮ์อัลอัมบียาอฺ : 33) สำระกำรเร ี ยนร ้ ู(บ ู รณำกำร)


จ ุ ดประสงค ์ กำรเร ี ยนร ้ ู 1. นักเรียนสามารถบอกความหมายและความส าคัญของซูเราะฮ์อัลอัมบียาอ์ : 33 2. นักเรียนสามารถเชื่อมโยงอัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจ าวัน 3. นักเรียนสามารถอธิบายองค์ประกอบของระบบสุริยะ และเปรียบเทียบคาบการโคจรของ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 4. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลองค์ประกอบของระบบสุริยะและคาบการโคจรของดาวเคราะห์ ต่าง ๆ 5. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ อธิบายความคิดรวบยอด และลงข้อสรุป 6. นักเรียนสามารถสร้างแบบจ าลองระบบสุริยะ 7. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือข้อบกพร่องของผลงานและแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น 8. นักเรียนสามารถขยายผลแบบจ าลองระบบสุริยะ 9. นักเรียนมีความสนใจใฝ่เรียนรู้หรืออยากรู้อยากเห็น


สำรบัญ ขั้นที่ 1 อัลกุรอานชวนคิด กิจกรรมที่ 1.1 อัลกุรอานชวนคิด 1 แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.1 อัลกุรอานชวนคิด 6 ขั้นที่ 2 พิชิตค้นหา กิจกรรมที่ 1.2 พิชิตค้นหา 7 แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.2 พิชิตค้นหา 32 ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป กิจกรรมที่ 1.3 อธิบายและลงข้อสรุป 34 แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.3 อธิบายและลงข้อสรุป 35 ขั้นที่ 4 ขยายความรู้สู่แบบจ าลอง กิจกรรมที่ 1.4 มาสร้างแบบจ าลองกันเถอะ 40 แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.4 ฉันรู้อะไร 42 ขั้นที่ 5 ประเมินและแก้ไข กิจกรรมที่ 1.5 ประเมินและแก้ไข 44 แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.5 ประเมินและแก้ไข 45 ขั้นที่ 6 น าไปขยายผล กิจกรรมที่ 1.6 น าไปขยายผล 46 แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.6 น าไปขยายผล 47


สำรบัญ (ต่อ) แบบทดสอบหลังเรียน เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ 48 อภิธานศัพท์ 53 บรรณานุกรม 54 ภาคผนวก แนวค าตอบแบบบันทึกกิจกรรม เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน การประเมินตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เกณฑ์การประเมินทักษะการสร้างแบบจ าลอง ประวัติผู้เขียน


ขั้นที่ 1 อัลกุรอานชวนคิด


กิจกรรมที่ 1.1 อัลกุรอำนชวนคิด จุดประสงค์กำรเรียนรู้ ศึกษาสถานการณ์ที่ก าหนดให้ แล้วตอบค าถามลงในแบบบันทึกกิจกรรม ที่ 1.1 อัลกุรอานชวนคิด 1. นักเรียนสามารถบอกความหมายและความส าคัญของซูเราะฮ์อัลอัมบียาอ์ : 33 2. นักเรียนสามารถเชื่อมโยงอัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจ าวัน วิธีกำรด ำเนินกิจกรรม เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 1


อามีนและฮาวา เป็นเด็กมุสลิมจังหวัดปัตตานีที่ชอบศึกษาเรื่องราวจาก คัมภีร์อัลกุรอาน ในค่่าคืนหนึ่งอามีนและฮาวาเห็นท้องฟ้าประดับประดาไปด้วย ดวงดาวระยิบระยับสวยงาม ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า สถำนกำรณ์ “แท้จริงเราได้ประดับประดาท้องฟ้าแห่งดุนยาอย่างสวยงามด้วย ดวงดาวทั้งหลาย” (อัศศอฟฟาต : 6) ٍك يَ ْسبَ ُحو َن َمَر ُك ٌّل فِي فَلَ قَ ْ َر َوال َّش ْم َس َوال َها َّ ْي َل َوالن َّ َق الل ِذي َخلَ َّ َو ُهَو ال “พระองค์ผู้ทรงบันดาลกลางคืนและกลางวัน ดวงอาทิตย์และ ดวงเดือน ทุกสิ่งทุกอย่างโคจรตามเส้นทาง” (อัลอัมบียาอ์ : 33) อามีนและฮาวา ได้ศึกษาคัมภีร์อัลกุรอานเพิ่มเติม ในอายะฮ์ที่กล่าวว่า อามีนและฮาวา ไม่เข้าใจในอายะฮ์ที่กล่าวว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างโคจรตาม เส้นทาง” ทั้งสองจึงได้ไปถามคุณครู َكَوا ِك ِب ْ ِ ِزينَ ٍة ال ُّْنيَا ب َء الد س َما َّا ال َّ َّن َّا َزي ِن إ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 2


คุณครูคะ...อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัลอัมบียาอ์ อายะฮ์ที่กล่าว ว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนโคจรตาม เส้นทาง” หมายถึงอะไรหรือคะ หมายถึงดวงดาวต่าง ๆ ในอวกาศที่โคจร ตามเส้นทางของมันอย่างเป็นระบบ เช่น โลก ของเราก็เป็นดาวดวงหนึ่งในอวกาศที่โคจร ตามเส้นทางของวงโคจรโดยมีดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางค่ะ มาชาอ ัลลอฮฺ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 3


อวกาศเป็นพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีขอบเขตที่แน่นอน มีดาว ฝุ่น แก๊ส และพลังงานต่าง ๆ มากมาย แล้วอวกาศ คืออะไร หรือครับ เรียกรวม ๆ กันว่า จักรวาลหรือเอกภพ เอกภพก็จะอยู่เป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่า “กาแล็กซี” ค่ะ เอ...แล้วอย่างนี้ โลกที่เรา อาศัยอยู่ในกาแล็กซีไหน หรือคะ โลกของเราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “ระบบสุริยะ” และระบบสุริยะก็เป็น เพียงส่วนหนึ่งของกาแล็กซีหนึ่ง ที่มีชื่อ ว่า “กาแล็กซีทางช้างเผือก” นั่นเองค่ะ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 4


แล้วนักเรียนอยากทราบไหมคะว่าระบบ สุริยะ มีอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง และ นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเรื่องราวของ องค์ประกอบของระบบสุริยะและวงโคจร ของดาวต่าง ๆ ไว้ว่าอย่างไร อยาก ทราบครับ อยาก ทราบค่ะ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 5


แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.1 อัลกุรอำนชวนคิด 1. จากที่อามีนและฮาวาได้ใคร่ครวญอัลกุรอานซูเราะฮ์อัลอัมบียาอ์ อายะฮ์ที่กล่าวว่า “พระองค์ผู้ทรงบันดาลกลางคืนและกลางวัน ดวงอาทิตย์ และดวงเดือน ทุกสิ่งทุกอย่างโคจรตามเส้นทาง” ค าว่า “…..ทุกสิ่งทุกอย่าง โคจรตามเส้นทาง” นักเรียนสามารถอธิบายความหมายในทางวิทยาศาสตร์ ได้อย่างไร ตอบ…………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… 2. จากสถานการณ์ดังกล่าว อามีนและฮาวายังไม่ค่อยเข้าใจและไม่เห็นภาพ การโคจรของดวงดาวในระบบสุริยะ นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไรให้อามีนและ ฮาวาเข้าใจและเห็นภาพการโคจรของดวงดาวในระบบสุริยะมากที่สุด ตอบ…………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… ค ำชี้แจง : ตอบค ำถำมต่อไปนี้ให้ถูกต้อง เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 6 ชุดกิจกรรมกำรเรียนรู้ I-STEAM ร่วมกับเทคนิคผังกรำฟิก คะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนที่ได้........คะแนน ผ่านเกณฑ์ 7.5 คะแนน ผลการประเมิน Oผ่าน O ไม่ผ่าน


ขั้นที่ 2 ค้นดูเสำะหำ ขั้นที่ 2 พิชิตค้นหา


กิจกรรมที่ 1.2 พิชิตค้นหำ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถอธิบายองค์ประกอบของระบบสุริยะและเปรียบเทียบคาบการโคจร ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 2. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลองค์ประกอบของระบบสุริยะและคาบการโคจรของ ดาวเคราะห์ต่าง ๆ 3. นักเรียนมีความสนใจใฝ่เรียนรู้หรืออยากรู้อยากเห็น วิธีการด าเนินกิจกรรม 1. นักเรียนสืบค้นข้อมูลในใบความรู้ที่ 1 มีอะไรในอวกาศ 2. รวบรวมข้อมูลจากการสืบค้นแล้วบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.2 พิชิตค้นหา เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 7


ใบควำมรู้ที่ 1 มีอะไรในอวกำศ มนุษย์ได้ตั้งค าถามเกี่ยวกับชีวิตและโลกมาตั้งแต่อดีตกาล ค าถามพื้นฐานที่ผู้คน ทุกเผ่าพันธุ์ได้สงสัยกันคือ โลก จักรวาลและอวกาศมีจุดก าเนิดหรือไม่ หากมีแล้วการ ก าเนิดที่เกิดขึ้นมีลักษณะอย่างไร ในแต่ละช่วงเวลาตามยุคสมัยค าถามพื้นฐานนี้ได้ถูก ค้นหาโดยนักปรัชญา นักคิด นักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งนักการศาสนา ได้ให้ค าตอบและ อธิบายแตกต่างกันไปตามความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธา โดยได้รับอิทธิพลมาจาก วัฒนธรรมของการด าเนินชีวิตของกลุ่มคนในสังคมหนึ่งๆ ใน แต่ละช่วงเวลานั่นเอง อิสลามเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ได้ให้ค าตอบกับค าถาม พื้นฐานนี้ผ่านอัลกุรอานที่ได้ให้ความกระจ่างไว้ว่า فَتَ ْقنَا ُه َما ْر َض َكانَتَا َرتْقًا فَ َّن ال َّس َما َوا ِت َواْْلَ َ ُروا أ ِذي َن َكفَ ْم يَ َر الَّ َولَ َ أ ََل يُ ْؤ ِمنُو َن فَ َ أ َماء ُك َّل َش ْي ٍء َح يٍ نَا ِم َن الْ َو َجعَلْ ก ำเนิดอวกำศ (อัลอัมบียาอ์ : 30) เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 8


“.......... แท้จริงชั้นฟ้ำทั้งหลำยและแผ่นดินนั้นแต่ ก่อนนี้รวมติดเป็นอันเดียวกัน แล้วเรำได้แยกมันทั้ง สองออกจำกกัน และเรำได้ท ำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมำ จำกน้ ำ......” (อัลอัมบิยำอ์ : 30) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการได้เปิดเผยให้เห็น ในหลักดาราศาสตร์และหลักธรณีวิทยาว่า โลก ดวงอาทิตย์ และดวงดาวต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ ไพศาล เมื่อเราถามถึงต้นก าเนิด เราจะพบว่ามันมาจาก แหล่งก าเนิดเดียวกัน ที่เรียกว่า กลุ่มแก๊ส โดยมีดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์ ได้แยกตัวออกจากกลุ่มแก๊สนี้ เช่นเดียวกับโลก ที่ได้แยกตัวออกมา ความว่า เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 9


นักวิชาการพบว่า เมื่อ ประมาณ 15,000 ล้านปีมาแล้ว จักรวาลพลันอุบัติขึ้น จากการระเบิดที่รุนแรงมหาศาล ซึ่งเรียกว่า “บิ๊กแบง” มีแก๊สพุ่งออกมาหลังการ ระเบิดครั้งนั้นและสุดท้ายก็กลายเป็นกาแล็กซี ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ รวมทั้ง ดวงอาทิตย์และโลกของเรา ภาพที่ 1.1 ทฤษฎีบิ๊กแบง ที่มา : https://ngthai.com/app/uploads/2019/ หากนี่คือความจริงที่นักวิชาการดาราศาสตร์ และนักธรณีวิทยาได้รวบรวม ความจริงนี้ไว้ และอัลกุรอานก็ได้บอกแก่เราถึงความจริงนี้ด้วยเช่นกัน เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 10


อวกำศ (Space) เอกภพกับจักรวาลนั้น ใช้เหมือนกัน ในทางดาราศาสตร์และปัจจุบันนี้นิยมใช้ค าว่า "เอกภพ" กันอย่างแพร่หลายกว่าครับ อวกำศ (Space) คือ อำณำบริเวณอันกว้ำงใหญ่ที่อยู่เลยชั้นบรรยำกำศ ของโลกออกไป ไม่สำมำรถระบุถึงขอบเขตได้อย่ำงชัดเจน อวกำศเป็นที่อยู่ของ ดำวเครำะห์และดำวฤกษ์ อวกำศหลำยๆ อวกำศรวมกันเป็นเอกภพหรือ จักรวำล (Universe) นั่นเอง ภาพที่ 1.2 อวกาศ ที่มา : https://mgronline.com/science ภาพที่ 1.3 เอกภพ ที่มา : https://kalyanamitra.org/th เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 11


ในเอกภพประกอบไปด้วยหลาย ๆ กลุ่มดาว หรือเรียกว่า กำแล็กซี (Galaxy) ทั้งนี้ภายในกาแล็กซีนั้นจะประกอบไปด้วยดวงดาวมากมายหลายร้อยล้านดวง ทั้งดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ฝุ่นและกลุ่มเนบิวลา เอกภพ (Universe) เนบิวลา คือบริเวณเป็นฝ้าขาวคล้ายกลุ่มเมฆ ปรากฏเห็นได้บางแห่งบนท้องฟ้า มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มแก๊ส ดาวฤกษ์ ฝุ่นผง และวัตถุ ต่าง ๆ ที่จะก่อตัวรวมกันเป็นดาวฤกษ์. แล้วโลกของเรา อยู่ส่วนไหนของ เอกภพกันนะ ภาพที่ 1.4 เนบิวลา ที่มา : https://www.scimath.org/ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 12


กำแล็กซี (Galaxy) เป็นกลุ่มดาว ฝุ่นและเนบิวลาที่อยู่ในเอกภพ ซึ่งกาแล็กซีที่ มีอยู่ในเอกภพนั้นมีอยู่นับล้านกาแล็กซี หนึ่งในกาแล็กซีนั้นคือ กำแล็กซีทำงช้ำงเผือก โลกที่เราอาศัยอยู่นั้นอยู่ในระบบสุริยะ (Solar system) และระบบสุริยะก็เป็นเพียง ส่วนเล็ก ๆ ของกาแล็กซีทางช้างเผือก กำแล็กซี (Galaxy) ภาพที่ 1.5 ภาพถ่ายอินฟราเรดของกาแล็กซีทางช้างเผือก ที่มา : https://chompatcharee.wordpress.com/ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 13


กำแล็กซีมีมำกมำยนับไม่ถ้วนในเอกภพ ในขณะเดียวกันภำยในแต่ละกลุ่มเมฆหมุนเวียน หรือกำแล็กซีนั้นก็จะเกิดกำรรวมตัวกันเองอยู่ ภำยในกลุ่มแก๊สกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย (เนบิวลำ) ซึ่ง แก๊สนั้นก็จะหมุนเคลื่อนที่ไปด้วย และเกิดกำร รวมตัวกันจนเกิดเป็นดำวฤกษ์ขึ้นมำและเศษซำก หลงเหลือจำกกำรเกิดดำวฤกษ์ บำงทีก็รวมตัวกัน เกิดเป็นดำวเครำะห์ กำแล็กซีทำงช้ำงเผือก มำจำกภำษำอังกฤษ ว่ำ Milky Way (Galaxy) แปลว่ำ ทำงน้ ำนม เนื่องจำกในตอนกลำงคืนเมื่อเรำมองดูท้องฟ้ำ เรำจะมองเห็น Milky Way คล้ำยกับนมหกเป็นทำง แต่เมื่อเป็นภำษำไทย จะใช้ค ำว่ำ กำแล็กซีทำง ช้ำงเผือกแทน เพรำะสื่อถึงเส้นทำงสีขำวนั่นเอง เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 14


อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า ٍك يَ ْسبَ ُحو َن َمَر ُك ٌّل فِي فَلَ قَ ْ َر َوال َّش ْم َس َوال َها ْي َل َوالنَّ َّ َق الل ِذي َخلَ َّ َو ُهَو ال “พระองค์ผู้ทรงบันดาลกลางคืนและกลางวัน ดวงอาทิตย์และดวงเดือน ทุกสิ่งทุกอย่างโคจรตามเส้นทาง” อัลอัมบียาอ์ : 33 ในอายะฮ์นี้ได้กล่าวถึงเดชานุภาพของพระองค์ ที่ทรงให้การด ารงชีวิต แตกต่างกันไปตามการหมุนเวียนของโลก คือให้กลางคืนมีความมืดสงบ กลางวันมี แสงสว่าง และให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นสัญญาณอันยิ่งใหญ่ที่บ่งชี้ถึงความ เป็นเอกภาพของพระองค์ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 15


และจากอายะฮ์ที่กล่าวว่า “พระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์ ดวงเดือน ทุกสิ่งทุกอย่างโคจรตามเส้นทาง” นักวิทยาศาสตร์ได้ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์นั้นนอกจากจะ หมุนรอบตัวเองแล้ว ดวงอาทิตย์ยังเคลื่อนที่โดยโคจรไปรอบ ๆ ใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกอีกด้วย ดวงอาทิตย์โคจรรอบทางช้างเผือกด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร ต่อวินาที และจะโคจรครบ 1 รอบใช้เวลาประมาณ 200 ล้านปี และขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้น ดวงจันทร์ก็หมุนรอบตัวเองและหมุนรอบโลกเช่นเดียวกัน แล้วดวงจันทร์และโลก มีคาบการ โคจรอย่างไร นักเรียนสามารถ ศึกษาได้ในหัวข้อถัดไปค่ะ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 16


ระบบสุริยะ (Solar system) หมายถึง ระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โดยมีดาวเคราะห์ บริวารของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุขนาดเล็กอื่นโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยดาวเคราะห์และวัตถุต่าง ๆ มี ขนาด ต าแหน่ง และคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์แตกต่างกัน ระบบสุริยะ (Solar system) ระบบสุริยะ เป็นกลุ่มดาวเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งในกาแล็กซีทาง ช้างเผือกซึ่งมีดาวฤกษ์ คือดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหางและวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ โคจรอยู่โดยรอบ ภาพที่ 1.6 ระบบสุริยะ ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสุริยะ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 17


ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตนเอง ดาวเคราะห์ 8 ดวง ที่เป็นดาวบริวารของดวงอาทิตย์ในระบบ สุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน โดยดาวแต่ละดวงจะโคจรรอบ ดวงอาทิตย์และมีวงโคจรของตัวเองด้วย ดาวพฤหัสบดี ภาพที่ 1.7 ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ที่มา : https://sites.google.com/site/1995a2538/ ดาวยูเรนัส ดวงอาทิตย์ โลก ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวเสาร์ ดาวเนปจูน ดาวพุธ ดำวเครำะห์ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 18


ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ จ าแนกเป็น 2 กลุ่มโดยใช้โลกเป็นหลักในการแบ่ง ดังนี้ 1. ดาวเคราะห์วงใน ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์ 2. ดาวเคราะห์วงนอก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ภาพที่ 1.8 ดาวเคราะห์วงใน ดาวเคราะห์วงนอก ที่มา : https://astronomysite.com ดาวเคราะห์คืออะไร แตกต่างจากดวงอาทิตย์ อย่างไรนะ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 19


แรงดึงดูดที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่ และฝุ่นละอองที่หมุนเวียนอยู่ในจักรวาล ท าให้แก๊สหดตัวและเพิ่ม ความเร็วในการหมุน บริเวณใจกลางจึงร้อนขึ้นมากจนเกิดการ ระเบิดและลุกไหม้ตลอดเวลา เกิดเป็นดาวดวงใหม่เรียกว่า ดาวฤกษ์ แสงสว่างและความร้อนจากดาวฤกษ์จะถูกส่งออกไป รอบ ๆ เป็นระยะทางไกล ๆ ส่วนแก๊สและฝุ่นละอองที่เหลือ จากการเป็นดาวฤกษ์ จะเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ มีการชนและ รวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ และวัตถุอื่น ๆ ในกลุ่มดาวฤกษ์นั้น ดว งอ ำทิตย์ (Sun) เป็นดาวฤกษ์ ดวงหนึ่งที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด มีขนาดใหญ่ กว่าโลกประมาณ 100 เท่า และอยู่ห่างจาก โลกประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร เป็นดาวที่ ให้พลังงานแก่ดาวเคราะห์ทั้งหลายในระบบ สุริยะ พลังงานแสงและพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ถูกส่งออกไปรอบ ๆ เป็น ระยะไกล ดวงอำทิตย์ ภาพที่ 1.9 ดวงอาทิตย์ ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 20


ดาวพุธ (Mercury) เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กมาก อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ที่สุด มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 57 ล้านกิโลเมตร ได้รับสมญานามว่า เตาไฟแช่แข็ง เนื่องจากในเวลากลางวันดาวพุธจะมีอุณหภูมิสูงมากถึง 427 องศา เซลเซียส แต่กลางคืนมีอุณหภูมิ –183 องศาเซลเซียส ดาวพุธใช้เวลาในการโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 87.97 วัน และเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ 58.65 วัน ไม่มีดาวบริวาร เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ด้วยตาเปล่าในเวลาพลบค่ า ทางทิศตะวันออกและตอนเช้าตรู่ทางทิศตะวันตก ภาพที่ 1.10 ดาวพุธ ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 21


ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นล าดับที่ 2 มี ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 108 ล้านกิโลเมตร ได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดของโลก เพราะมีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย ดาวศุกร์ใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 224.70 วัน และเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 243.02 วัน (โดยมี ทิศทางการหมุนรอบตัวเองที่ตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่น) ไม่มีดาวบริวาร พื้นที่ของ ดาวศุกร์เต็มไปด้วยหินลาวาที่แข็งแรงและแหลมคม เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้ ด้วยตาเปล่าในเวลาพลบค่ าทางทิศตะวันตก เรียก ดาวประจ าเมือง และตอนเช้าตรู่ ทางทิศตะวันออก เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือดาวประกายพรึก ภาพที่ 1.11 ดาวศุกร์ ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 22


ภาพที่ 1.12 โลก ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ โลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์ล าดับที่ 3 มีระยะห่างจาก ดวงอาทิตย์เฉลี่ย 149 ล้านกิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์สีน้ าเงิน จนบางครั้งเรียกว่า ดาวมหาสมุทร โลกใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 365 วัน และ เวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 1 วัน มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 1 ดวง โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะที่พอเหมาะ และบรรยากาศของโลกเอื้ออ านวย และให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาได้ บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วยแก๊สหลายชนิด แก๊สที่ส าคัญคือแก๊สออกซิเจน พบประมาณ 20% และแก๊สไนโตรเจนพบประมาณ 78% ท าให้โลกมีสภาพบรรยากาศเหมาะต่อการด ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 23


ภาพที่ 1.13 ดาวอังคาร ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 4 ในระบบสุริยะ มีระยะห่างจาก ดวงอาทิตย์เฉลี่ย 227 ล้านกิโลเมตร ดาวอังคารใช้เวลาในการโคจรดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 687 วัน และหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 24.62 ชั่วโมง มี ดาวบริวาร 2 ดวง ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์สีแดงจึงได้รับสมญานามว่า ดาวเทพ แห่งสงคราม พื้นผิวของดาวอังคารเต็มไปด้วยก้อนหินและฝุ่นจ านวนมาก องค์ประกอบของดินเป็นแร่เหล็กท าให้เห็นเป็นสีสนิมเหล็ก และเป็นดาวที่ นักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยการไหลของน้ า ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ทั้ง 4 ดวงนี้เป็น ดาวเคราะห์มีพื้นผิวแข็งเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศบาง ๆ ห่อหุ้ม ยกเว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่มีบรรยากาศ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 24


ภาพที่ 1.14 ดาวพฤหัสบดี ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 5 ในระบบสุริยะ มีระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ เฉลี่ย 778 ล้านกิโลเมตร ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาในการโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 11.86 ปี และเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 9.92 ชั่วโมง มีดาวบริวารไม่น้อยกว่า 62 ดวง (และคาดว่าจะถูกค้นพบเรื่อย ๆ) กลุ่มดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ 4 ดวง รวมเรียกว่า ดาวบริวารกาลิเลียน ประกอบด้วย 1) ไอโอ 2) ยุโรปา 3) แกนีมีด และ 4) แคลลิสโต ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวที่มี ความหนาแน่นน้อย เพราะเป็นดาวเคราะห์แก๊ส ไม่เป็นหินแข็งเหมือนโลก บรรยากาศ ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน และแก๊สฮีเลียม ลักษณะเด่น คือ มีแถบเข็มขัดกับจุดแดง ใหญ่เป็นสัญลักษณ์ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 25


ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 ของระบบสุริยะ ที่มีรูปร่างเป็น เอกลักษณ์ที่สุด ดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยมาก หากเราสามารถน าดาวเสาร์มาใส่ ในอ่างน้ าขนาดใหญ่ได้ เราจะพบว่าดาวเสาร์สามารถลอยน้ าได้ เนื่องจากดาวเสาร์มี ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ า แกนของดาวเสาร์มีการเอียงเช่นเดียวกับโลก มีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณเป็น 8 เท่าของโลก หมุนรอบตัวเองรอบละ 10 ชั่วโมง 40 นาที แต่เนื่องจากอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 10 เท่า ของระยะห่างจาก ดวงอาทิตย์มายังโลก จึงใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์เกือบ 30 ปี มีดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารไม่น้อยกว่า 30 ดวง ภาพที่ 1.15 ดาวเสาร์ ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 26


ภาพที่ 1.16 ดาวยูเรนัส ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ ดาวยูเรนัส (Urenus) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 7 ของระบบสุริยะ เป็นดาวเคราะห์ ดวงแรกที่ค้นพบด้วยกล้องโทรทัศน์ โดยดาวยูเรนัสมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจาก ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณเป็น 3 เท่าของโลก เป็นดาวที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ า หมุนรอบตัวเองใช้เวลารอบละ 17 ชั่วโมง แต่เนื่องจากอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 20 เท่าของระยะทางจากดวงอาทิตย์มายัง โลก จึงใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 84 ปี มีดวงจันทร์บริวารไม่น้อยกว่า 21 ดวง เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 27


ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ของระบบสุริยะ เป็น ดาวเคราะห์ดวงแรกที่พบจากการค านวณของนักดาราศาสตร์ก่อนที่จะตรวจพบบนท้องฟ้า ด้วยกล้องโทรทัศน์ เป็นดาวที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ า มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง โดยประมาณเป็น 3 เท่าของโลก หมุนรอบตัวเองรอบละประมาณ 16 ชั่วโมง แต่เนื่องจาก อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 30 เท่าของระยะจากดวงอาทิตย์มายังโลก จึงใช้เวลา โคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 164 ปี มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารไม่น้อยกว่า 8 ดวง ภาพที่ 1.17 ดาวเนปจูน ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จะเป็นแก๊ส ทั่วทั้งดวง อาจมีแกนหินขนาดเล็กอยู่ภายในพื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศ ที่ปกคลุมด้วยแก๊สมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 28


ภาพที่ 1.19 ดาวหางและอุกกาบาต ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ วัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ ที่จะกล่าวถึงคือ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต ซึ่งเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มีขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่รอบ ดวงอาทิตย์และขณะเดียวกันก็หมุนรอบตัวเอง โดยวัตถุท้องฟ้าเหล่านี้จะกระจายอยู่ โดยรอบระบบสุริยะ วัตถุท้องฟ้ำอื่น ๆ ภาพที่ 1.18 ดาวเคราะห์น้อย ที่มา : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 29


ระบบสุริยะของเราประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โดยมี ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์โคจรอยู่โดยรอบ และ วัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ กระจายอยู่โดยรอบ ดาวเคราะห์แต่ละดวงมีระยะเฉลี่ยที่ห่างจากดวงอาทิตย์แตกต่าง กัน เป็นผลให้ดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มีคาบการโคจรหรือ เวลาที่ใช้ในการโคจรมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น ดังที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ด ารัสไว้ในอัลกุรอาน ความว่า “พระองค์ผู้ทรงบันดาลกลางคืนและกลางวัน ดวงอาทิตย์และ ดวงเดือน ทุกสิ่งทุกอย่างโคจรตามเส้นทาง” (อัลอัมบียาอ์ : 33) เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 30


ตัวอย่ำงแบบจ ำลองระบบสุริยะ ภาพที่ 1.20 แบบจ่าลองระบบสุริยะ ที่มา : https://www.pinterest.com วิธีการหนึ่งที่สามารถอธิบายระบบสุริยะได้เห็นภาพที่สุด นั่นก็คือแบบจ าลอง ดังตัวอย่างด้านล่างนี้ค่ะ เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 31


แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.2 พิชิตค้นหำ ตอนที่ 1 ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย หน้าข้อที่ถูกต้องและกาเครื่องหมาย × หน้าข้อที่ผิด คะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนที่ได้........คะแนน ผ่านเกณฑ์ 7.5 คะแนน ผลการประเมิน Oผ่าน O ไม่ผ่าน 1. จักรวาลเกิดขึ้นจากระเบิดที่รุนแรงมหาศาล เรียกว่า “บิ๊กแบง” 2. อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องราวของการก าเนิดจักรวาลไว้ในซูเราะฮ์อัลอัมบียาอ์:30 3. ดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ และดาวต่าง ๆ มาจากแหล่งก าเนิดเดียวกันคือละออง น้ าที่แยกตัวออกมา 4. อวกาศเป็นที่อยู่ของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ อวกาศหลาย ๆ อวกาศรวมกัน เป็นเอกภพ 5. จักรวาลเป็นส่วนหนึ่งของเอกภพ 6. ในเอกภพประกอบไปด้วยหลาย ๆ กลุ่มดาวเรียกว่ากาแล็กซี 7. เนบิวลา คือบริเวณฝ้าขาวคล้ายกลุ่มเมฆปรากฏเห็นบางแห่งบนท้องฟ้า 8. ในเอกภพมีนับล้านกาแลกซี ขณะที่โลกของเราอยู่ในกาแลกซีทางช้างเผือก 9. อายะฮ์อัลกุรอานที่กล่าวถึงการโคจรของดวงดาวคือซูเราะฮ์อัลอัมบียาอ์:33 10. ดาวเคราะห์คือดาวที่มีแสงสว่างในตนเอง เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 32


ตอนที่ 2 ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลของระบบสุริยะและอวกาศ จากนั้นระบุแหล่งที่มา ของข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น แล้วตอบค่าถาม แหล่งข้อมูล 1……………………………………………...………………………………………………………………….. 2………………………………………………………………………………………………………………….. 3………………………………………………………………………………………………………………….. ค ำถำม : ระบบสุริยะคืออะไร …………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………..…….…………… คะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนที่ได้........คะแนน ผ่านเกณฑ์ 7.5 คะแนน ผลการประเมิน Oผ่าน O ไม่ผ่าน เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 33


ขั้นที่ 2 ค้นดูเสำะหำ ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป


กิจกรรมที่ 1.3 อธิบำยและลงข้อสรุป จุดประสงค์กำรเรียนรู้ นักเรียนสามารถวิเคราะห์ อธิบายความคิดรวบยอด และลงข้อสรุป วิธีด ำเนินกำร นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ แปลผล และสรุปผลการสืบค้นจากใบความรู้ ที่ 1 เรื่อง มีอะไรในอวกาศ แล้วบันทึกผลลงในแบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.3 อธิบายและ ลงข้อสรุป เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 34


ตอนที่ 1 ค ำชี้แจง เลือกค ำตอบที่ก ำหนดให้ในสี่เหลี่ยมด้ำนล่ำงนี้ เติมลงในช่องว่ำง ของผังกรำฟิกให้ถูกต้อง เลือกค าตอบไปเติมลงใน ผังกราฟิกหน้าถัดไปนะคะเด็ก ๆ วัตถุท้องฟ้าอื่นๆ ดาวเคราะห์ กาแล็กซี ดวงอาทิตย์ เนบิวลา เอกภพ แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1.3 อธิบำยและลงข้อสรุป เล่มที่ 1 มีอะไรในอวกาศ : 35


Click to View FlipBook Version