The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบางมดวิทยา "สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์"

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Iamail Miie, 2024-05-14 05:31:14

คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2567

คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบางมดวิทยา "สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์"

โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 99 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 7. การปฏิบัติของผู้สมัครเป็น นศท. ชั้นปีที่ 1 ต้องปฏิบัติตั้งแต่สถานีที่ 1-7 ดังนี้ สถานีที่ 1 กำ หนดสาย สถานีที่ 2 ตรวจหลักฐาน สถานีที่ 3 ตรวจร่างกาย สถานีที่ 4 ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย สถานีที่ 5 ชำ ระเงินบำ รุง/รับคู่มือ นศท. สถานีที่ 6 เก็บหลักฐาน สถานีที่ 7 ถ่ายรูป/ทำ บัตรประจำตัว นศท./รับบัตร 8. การปฏิบัติของผู้รายงานตัว ซํ้าชั้น เลื่อนขั้น และโอนย้ายสถานศึกษา (ชั้นปีที่ 1) ปฏิบัติเฉพาะ สถานีที่ 1 กำ หนดสาย สถานีที่ 2 ตรวจหลักฐาน สถานีที่ 5 ชำ ระเงินบำ รุง/รับคู่มือ นศท. สถานีที่ 6 เก็บหลักฐาน 9. การชำ ระเงินบำ รุงเพื่อส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร 9.1 นศท. ชั้นปีที่ 1 (ใหม่) ชำระเงินบำรุง 650 บาท ค่าทำ บัตรประจำตัว 30 บาท 9.2 นศท. ชั้นปีที่ 1 (เก่า) - ชั้นปีที่ 3 ชำ ระเงินบำ รุง 650 บาท 9.3 นศท. ชั้นปีที่ 4 และ 5 ไม่ต้องชำ ระค่าบำ รุง 9.4 เมื่อ นศท. ได้ชำระเงินบำรุงเพื่อส่งเสริมการฝึกวิชาทหารและได้รับใบเสร็จ รับเงินแล้ว ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน จะไม่ จ่ายเงินคืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น


100 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 การเตรียมตัวของผู้สมัคร เป็น นศท. ชั้นปีที่ 1 1. การเตรียมหลักฐานของผู้สมัคร 1.1 ใบสมัคร ติดรูปถ่ายขนาด 3x4 ซม. กรอกข้อความในช่องที่ต้องการให้ ครบถ้วน ถูกต้องตามระเบียนโดยมีหัวหน้าสถานศึกษาวิชาทหาร ลงนามรับรองและ บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองลงนามให้คำยินยอมให้เรียบร้อย ก่อนนำ ไปสมัคร 1.2 สำ เนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร จำ นวน 1 ฉบับ โดยผู้ปกครอง ลงนาม รับรองสำ เนา 1.3 หลักฐานการศึกษา สำ เนาระเบียนแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น (ปพ.1) จำ นวน 1 ฉบับ โดยมีหัวหน้าสถานศึกษาหรือฝ่ายวัดผลของสถาน ศึกษาปัจจุบันจะต้องคิดคะแนนเฉลี่ย และลงนามรับรองสำ เนาให้เรียบร้อย 1.4 เงื่อนไขประกอบการสมัคร บิดา มารดาหรือผู้ปกครอง จะต้องกรอก ข้อความและลงนามให้คำยินยอมให้เรียบร้อย 1.5 ใบรับรองการตรวจร่างกาย ออกโดยแพทย์ปริญญาผู้จดทะเบียนประกอบ โรคศิลป์ แผนปัจจุบันชั้น 1 สาขาเวชกรรมจากโรงพยาบาลของรัฐ หรือเอกชนที่รัฐบาล รับรอง หรือหน่วยตรวจโรคของทหารตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไปหรือ สถานพยาบาลเอกชน ที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง 1.6 หลักฐานการขอผ่อนผัน 1.7 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี) 2. มีนํ้าหนัก ขนาดรอบตัว ส่วนสูง ตามส่วนสัมพันธ์ที่กองทัพบกกำ หนด


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 101 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 3. การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย สถานศึกษาวิชาทหารควรมีการทดสอบ สมรรถภาพร่างกายของผู้ที่จะสมัครเพื่อให้เกิดความเคยชินและมีโอกาสปรับสภาพ ร่างกายให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ หนดไว้ ดังนี้ 4. การแต่งกาย ผู้สมัครเป็น นศท.ชั้นปีที่ 1 ชาย แต่งเครื่องแบบของสถานศึกษา หญิง ชุดกีฬาของสถานศึกษา 5. ต้องไว้ผมสั้น ทรงผมของผู้สมัครใหม่ชั้นปีที่ 1 ต้องเป็นผมสั้นเท่านั้น (ตาม นสร.) 6. กำ หนดเวลาในการรับสมัครและรับรายงานตัว นศท. เพื่อป้องกันนักเรียน และนักศึกษา และ นศท. ไปสมัครและรายงานตัวไม่ทันอาจถูกขีดฆ่าชื่อผู้ไม่มา ออกจาก บัญชี โปรดแจ้งให้นักเรียน นักศึกษา และ นศท. เวลาเข้าที่รวมพล ประมาณ 30 นาที รอบเช้า รวมพล เวลา 07.00 น. รอบบ่าย รวมพล เวลา 11.30 น.


102 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 102


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 103 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 กลุ่มบริหาร งานบุคคล โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 103


104 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ผู้ช่วยรองผู้อำ นวยการ คนที่ 1 นางวลัยรัตน์ สายสุธนาวิชญ์ 1. งานสำ นักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล นางวลัยรัตน์ สายสุธนาวิชญ์ 2. งานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน นางสาวสุปรียา ทองรุ่ง 3. งานสภานักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน นายไพฑูรย์ กลิ่นประยูร 4. งานส่งเสริมประชาธิปไตย นายไพฑูรย์ กลิ่นประยูร 5. งานส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน นายวิชญะ นารี 6. งานระดับชั้นและครูที่ปรึกษา นายประพาฬ แก้ววงษา 7. งานห้องเรียนสีขาว นางสาวอิสริยา โหยกระโทก 8. งานป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดฯ นายเดย์ จะริบรัมย์ 9. งานป้องกันและแก้ไขปัญหาทางเพศ นางสาวกาญจนา ยาสมร 10. งานวินัยและความประพฤตินักเรียน/พสน. นายสันต์ศิณุ ลีส้มซ่า 11. งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นางสาวภริตพร ตระกูลนํ้าผึ้ง 12. งานวิทยุสื่อสาร นายอริสมันต์ ผิวทน 13. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้ช่วยรองผู้อำ นวยการ คนที่ 2 นางสาวอภิญญา นาคโสภณ 1. งานวินัยและการรักษาวินัย นายศรีสุวรรณ โพธิน 2. งานดูแลความปลอดภัยสถานที่ราชการ นางสาวสุกานดา บัวคำ 3. งานเวรประจำวัน นางสอาดชนม์ ชมดอกไม้ 4. งานประสานและพัฒนาเครือข่าย นางสุพัฒตรา อนันตวราศิลป์ 5. งานส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร นางสาวประไพพร ทิพย์อาสน์ 6. งานวางแผนอัตรากำลัง สรรหา บรรจุฯ นางสาวปาริชาติ แก้วล้อม 7. งานทะเบียนประวัติฯ นางสาวสมัชญา ปินตา 8. งานประชาสัมพันธ์ (งานบุคคล) นายมาณุภพ แย้มบุญชู 9. งานสารสนเทศ (งานบุคคล) นายเด่นศักดิ์ ทองแท้ 10. งานตรวจสอบควบคุมภายใน (งานบุคคล) นางสาวอภิญญา นาคโสภณ 11. งานพัสดุ (งานบุคคล) นายวุฒิชัย ศรีประไหม 12. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย แผนภูมิโครงสร้างกลุ่มบริหารงานบุคคล โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้อำ นวยการโรงเรียน นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก รองผู้อำ นวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล นายภิภพ ฉิมพาลี สมาคมผู้ปกครองและครูฯ สมาคมศิษย์เก่า มูลนิธิบางมดวิทยาฯ ชมรมเพื่อนครูบางมดวิทยา วัดสีสุก ชุมชน เครือข่ายผู้ปกครอง


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 105 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 กลุ่มบริหารงานบุคคล ประกาศกฎกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา พ.ศ. 2522 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเคารพของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2530 ระเบียบกรมสามัญศึกษา ว่าด้วยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พ.ศ. 2551 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยการปฏิบัติตน ของนักเรียน พ.ศ. 2567 ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยคะแนน ความประพฤติ พ.ศ. 2567 บัญชีต่อท้ายระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยคะแนน ความประพฤตินักเรียน พ.ศ. 2567 ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยการแต่งกายนักเรียน พ.ศ. 2567 เครื่องแบบและทรงผมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” เรื่อง ระเบียบว่าด้วย การไว้ทรงผมของนักเรียน


106 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ประกาศกฎกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา พ.ศ. 2522 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปกครองนักเรียน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอำ นาจตามความในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 126 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 จึงยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องผู้ปกครองนักเรียน ลงวันที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 2503 และให้ผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษาที่กำลังศึกษา ระดับตํ่ากว่าปริญญาตรีในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการต้องปฏิบัติตามประกาศ ดังนี้ 1. “ผู้ปกครอง” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับนักเรียนหรือนักศึกษาไว้ในความ ปกครอง หรืออุปการะเลี้ยงดู หรือบุคคลที่นักเรียนหรือนักศึกษาอาศัยอยู่ด้วย 2. ให้นักเรียน นักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรระดับ ปวส. ป.กศ.สูง หรือเทียบเท่า ลงมาในสถานศึกษา สังกัดหรือในความควบคุมดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ เว้นแต่ การศึกษาผู้ใหญ่ ต้องมีผู้ปกครองตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ 3. ในวันมอบตัวนักเรียน นักศึกษาใหม่ ให้ผู้ปกครองมามอบตัวนักเรียน นักศึกษา ที่สถานศึกษา พร้อมกับส่งหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ตามที่สถานศึกษากำ หนด ถ้าผู้ปกครอง ไม่อาจมามอบตัวนักเรียน นักศึกษาได้ตามกำ หนดให้ผู้ปกครองตกลงกับหัวหน้าสถานศึกษา กำ หนดวันมอบตัวนักเรียน นักศึกษาใหม่ 4. ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับสถานศึกษา เพื่อควบคุมความประพฤติและการศึกษา เล่าเรียน โดยให้นักเรียน นักศึกษา แต่งกายเครื่องแบบ และประพฤติตนตามระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของสถานศึกษาหรือของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามกฎหมายกำ หนด 5. ผู้ปกครองควรติดต่อกับสถานศึกษาอยู่เสมอ เพื่อจะได้รับทราบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการศึกษาของนักเรียน นักศึกษา และจะได้ช่วยสถานศึกษาแก้ไขปัญหานั้น ๆ 6. เมื่อผู้ปกครองย้ายที่อยู่ หรือความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ปกครองแจ้งให้สถานศึกษาทราบ (แจ้งฝ่ายแนะแนวและกลุ่มบริหารงานบุคคล)


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 107 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 7. สำ หรับนักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับการศึกษาอยู่ในสถานศึกษาแล้วให้สถานศึกษา ตรวจสอบติดตามหลักฐานการเป็นผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา หากเห็นว่านักเรียน นักศึกษาคนไหนไม่มีผู้ปกครองหรือมีผู้ปกครองไม่เหมาะสมให้สถานศึกษาดำ เนินการ ให้เป็นไปตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์) รัฐมนตรีช่วยว่าการ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หมายเหตุ : แนวปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ปกครองของนักเรียน ทางโรงเรียนได้ถือปฏิบัติ เกี่ยวกับผู้ปกครองของนักเรียนดังนี้ 1. การประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อทราบนโยบายและแผนปฏิบัติงานของโรงเรียน ทุก ๆ ปีการศึกษา 2. หากมีปัญหาที่จะปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง โดยรีบด่วน ทางโรงเรียนจะเชิญผู้ปกครองมาพบเป็นราย ๆ ไป จึงขอให้ผู้ปกครองได้ให้ความร่วมมือ โดยเคร่งครัด


108 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเคารพของนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ. 2530 โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงธรรมการว่าด้วยการเคารพของ นักเรียน พุทธศักราช 2482 เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำ นาจตามความในข้อ 23 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 กระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเคารพของ นักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2530” ข้อ 2 ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงธรรมการเรื่องการเคารพของนักเรียน พุทธศักราช 2482 บรรดาระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำ หนดไว้แล้ว ในระเบียบนี้หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “นักเรียนและนักศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งกำ ลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ใน สถานศึกษา “สถานศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งกำ ลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา ที่เรียก อย่างอื่นที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อ 5 การทำความเคารพในห้องเรียน (ข้อความในวงเล็บเป็นระเบียบของโรงเรียน) 5.1 เมื่อครูเข้ามาในห้องเรียนให้หัวหน้าห้องเรียนบอกทำความเคารพโดยใช้ คำว่า “นักเรียนหรือนักศึกษาเคารพ” ให้ทุกคนในห้องเรียนหยุดทำ งานที่กำลังทำอยู่นั้น ทันที นั่งตัวตรงแล้วบอกว่า “เคารพ” ให้นักเรียนหรือนักศึกษายืนตรงแล้วไหว้ (พร้อมทั้ง กล่าวคำว่าสวัสดีครับ/ค่ะ โดยพร้อมเพรียงกัน) เมื่อได้รับคำสั่งจากผู้เคารพให้นั่งลงจึงนั่ง (เมื่อผู้เคารพจะออกจากห้องเรียน หัวหน้าห้องนักเรียนบอก “นักเรียนเคารพ” อีกครั้ง


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 109 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ให้นักเรียน “ขอบคุณครับ/ค่ะ” และรอจนกว่าผู้รับการเคารพออกจากห้องเรียนแล้ว จึงนั่งลง) 5.2 นักเรียนและนักศึกษาจะพูดกับครูต้องยืนตรง เมื่อไปพบครูหรือจะกลับมา ที่โต๊ะเรียนให้ใช้ไหว้ 5.3 การเคารพผู้ควรเคารพในทางศาสนาให้กระทำความเคารพตามประเพณีนิยม ข้อ 6 การทำความเคารพของนักเรียนและนักศึกษานอกห้องเรียน 6.1 นักเรียนและนักศึกษาทั้งชายและหญิง เมื่ออยู่ในแถวให้ใช้คำว่า “แถวตรง” 6.2 การเคารพผู้ควรเคารพในทางศาสนาให้กระทำความเคารพตามประเพณีนิยม ข้อ 7 การทำความเคารพของนักเรียน นักศึกษาในโอกาสอื่น 7.1 เมื่ออยู่กับที่ มีผู้เคารพผ่านมาให้ยืนตรงแล้วไหว้ 7.2 เมื่อเดินสวนผู้เคารพ นักเรียนและนักศึกษาต้องหยุดหันหน้าไปทางผู้ควร เคารพยืนตรงแล้วไหว้ 7.3 เมื่อผู้ควรเคารพอยู่กับที่ นักเรียนและนักศึกษาจะเดินผ่านไปให้หยุด ยืนตรงไหว้ แล้วจึงเดินผ่านไปโดยการก้มตัวเล็กน้อย 7.4 หากนักเรียนและนักศึกษาพบผู้ควรเคารพคนเดียวมากกว่าหนึ่งครั้งในวันนั้น 7.4.1 เมื่อผู้ควรเคารพผ่านมาหรือเดินสวนกับผู้ควรเคารพ นักเรียนและ นักศึกษาต้องหยุด หันหน้าไปทางผู้ควรเคารพแล้วยืนตรงเป็นการแสดงความเคารพ 7.4.2 เมื่อผู้ควรเคารพอยู่กับที่ นักเรียนและนักศึกษาจะเดินผ่านไปให้เดิน ก้มตัวเล็กน้อย ข้อ 8 การทำ ความเคารพของนักเรียนและนักศึกษาขณะที่อยู่ในยานพาหนะ เมื่อสวนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือผู้แทนพระองค์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระราชวงศ์ ธงมหาราช ธงราชินี ธงบรมราชวงศ์ ธงเยาวชน ธงประจำกองทหาร ธงลูกเสือ ประจำกองลูกเสือ 8.1 ถ้าอยู่ในยานพาหนะสาธารณะ เช่น รถโดยสารประจำ ทาง หรือยานพาหนะนั้น ด้วยอาการสำ รวม 8.2 ถ้าอยู่ในยานพาหนะส่วนตัวที่สามารถออกมาทำความเคารพ ได้สะดวก เช่น รถจักรยานยนต์ ให้หยุดและออกจากพาหนะนั้นแล้วแสดงความเคารพ


110 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ข้อ 9 นักเรียน นักศึกษาไม่ทำความเคารพในโอกาสต่อไปนี้ 9.1 เมื่อขับขี่ยานพาหนะหรืออยู่ในที่คับขัน ข้อ 10 นักเรียนและนักศึกษาที่เป็นลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด สมาชิกผู้บำ เพ็ญ ประโยชน์หรือนักศึกษาวิชาทหาร แสดงความเคารพให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วย ข้อ 11 การแสดงความเคารพ ต้องให้เหมาะสมแก่เวลา สถานที่และบุคคล ข้อ 12 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2530 มารุต บุนนาค (นายมารุต บุนนาค) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 111 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ระเบียบสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยเรื่องเครือข่ายผู้ปกครอง พ.ศ. 2551 เพื่อการให้บริหารและการจัดการเกี่ยวข้องกับเครือข่ายผู้ปกครองเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 อาศัยอำ นาจตามความในมาตรา 30 วรรค 3 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2596 และข้อ1(3) (7) ของกฎกระทรวงแบ่งส่วน ราชการสำ นักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พศ. 2546 จึงกำ หนด วางระเบียบ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร และจัดการร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ปกครอง ไว้ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยเครือข่ายผู้ปกครอง พ.ศ.2551” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับประกาศ และคำสั่งอื่นใด ที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ระเบียบนี้ ใช้บังคับสำ หรับสถานศึกษาสังกัดสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 สำ หรับสถานศึกษาที่จัดการศึกษาแตกต่างไปจากนี้ หากจะดำ เนินการเครือข่ายผู้ปกครอง ให้ถือบังคับใช้ระเบียบนี้โดยอนุโลม ข้อ 5 นิยามศัพท์ในระเบียบนี้ “เครือข่ายผู้ปกครอง” หมายความว่า การรวมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียน ในสถานศึกษาเดียวกัน เพื่อร่วมมือกับสถานศึกษาในการประกอบกิจกรรมด้านการพัฒนา การเรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียน “ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดา มารดา หรือ บิดา หรือ มารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำ นาจ ปกครอง หรือผู้ปกครองตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่ นักเรียนอยู่ด้วยเป็นประจำ หรือนักเรียนอยู่รับใช้การงาน


112 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา ข้อ 6 วัตถุประสงค์ของเครือข่ายผู้ปกครอง (1) เพื่อการดำ เนินงานสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง (2) เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้และ พฤติกรรมของนักเรียน (3) เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวคิด ระหว่างผู้ปกครอง ครู นักเรียนในสถานศึกษา ข้อ 7 คณะกรรมการ คุณสมบัติของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง (1) เป็น บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของนักเรียนปัจจุบัน (2) ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะและต้องดูแลอุปการะนักเรียนที่แท้จริง (3) โครงสร้าง องค์ประกอบ และจำ นวนของคณะกรรมการให้สถานศึกษากำ หนด ได้ตามความเหมาะสม การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ขาดคุณสมบัติตามที่ได้กำ หนดไว้ในข้อ 7 (4) มติที่ประชุมของคณะกรรมการการร่วมกับผู้บริการสถานศึกษาพิจารณา ให้พ้นจากสภาพเป็นคณะกรรมการ กรณีที่พบว่าคณะกรรมการได้กระทำการส่อไปทาง เจตนาแสวงหาหรือได้มาซึ่งผลประโยชน์และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อตนเองหรือผู้อื่น (5) สิ้นสุดวาระ วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ให้มีวาระคราวละ 1 ปี ข้อ 8 บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ (1) ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา ด้านพัฒนาการเรียนรู้และพฤติกรรม ของนักเรียน โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารสถานศึกษา (2) ร่วมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและผู้ปกครอง (3) สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษา (4) เสนอข้อคิด ข้อเสนอแนะในการพัฒนาที่จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนและ สถานศึกษา (5) ร่วมกับสถานศึกษา จัดให้มีการประชุม ระหว่างคณะกรรมการกับผู้ปกครอง ตามความเหมาะสม อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 113 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 (6) สรุปและรายงานผลการดำ เนินงานของคณะกรรมการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในที่ประชุมใหญ่ของผู้ปกครองนักเรียน ข้อ 9 ให้สถานศึกษาแต่งตั้งครูเป็นผู้ประสานงานกับคณะกรรมการตามความเหมาะสม ข้อ 10 ให้สถานศึกษาดำ เนินการให้ได้คณะกรรมการโดยเร็ว อย่างช้าภายในภาคเรียน ที่ 1 ของทุกปี ข้อ 11 ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการ ข้อ 12 ให้สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาสนับสนุนและพัฒนาการดำ เนินการของ คณะกรรมการ ข้อ 13 คณะกรรมการที่สถานศึกษาจัดตั้งขึ้นหรือมีอยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำ เนินการต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ ข้อ 14 ให้ผู้บริหารสถานศึกษากำ หนดระเบียบ วิธีการ เพิ่มเติมได้ตามความ เหมาะสมแต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551


114 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 อาศัยอำ นาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียน และนักศึกษาไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ. 2548” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียน หรือ นักศึกษา พ.ศ. 2543 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษาของ โรงเรียนหรือ สถานศึกษานั้น “การกระทำความผิด” หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษา ประพฤติฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วย การส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา “การลงโทษ” หมายความว่า การ ลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา ที่กระทำความผิดโดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน ข้อ 5 โทษสำ หรับนักเรียนหรือนักศึกษา ที่กระทำความผิดมี 4 สถาน ดังนี้ (1) ว่ากล่าวตักเตือน (2) ทำ ทัณฑ์บน (3) ตัดคะแนนความประพฤติและบันทึกข้อมูล (4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อ 6 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้งหรือลงโทษ ด้วยความโกรธหรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำ นึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษาและ ความร้ายแรงของพฤติกรรมประกอบการลงโทษ


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 115 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัย และความ ประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำ นึกในความผิด และกลับประพฤติตนใน ทางที่ดีต่อไป ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียน หรือสถานศึกษา มอบหมาย เป็นผู้มีอำ นาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา ข้อ 7 การว่ากล่าวตักเตือนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง ข้อ 8 การทำ ทัณฑ์บน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติไม่เหมาะสม กับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติตนไม่เหมาะสม กับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา หรือกรณีทำ ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของ สถานศึกษาหรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้วยัง ไม่เข็ดหลาบ การทำ ทัณฑ์บนให้ทำ เป็นหนังสือ และเชิญบิดา-มารดา หรือ ผู้ปกครองมาบันทึก รับทราบความผิดและรับรองการทำ ทัณฑ์บนไว้ด้วย ข้อ 9 การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัด คะแนนความประพฤตินักเรียนหรือนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำ หนด และให้ทำ บันทึกไว้เป็นข้อมูลเป็นหลักฐาน ข้อ 10 ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ในกรณีที่นักเรียน และนักศึกษา กระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทาง ที่กระทรวงศึกษาธิการกำ หนด ข้อ 11 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มี อำ นาจตามความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 อดิสัย โพธารามิก (นายอดิสัย โพธารามิก) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


116 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยการปฏิบัติตนของนักเรียน พ.ศ. 2567 เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นการเสริมสร้างความมีระเบียบวินัย ให้นักเรียนโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” อันจะมีผลให้สามารถดำ เนิน ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และเพื่อเป็นเกียรติภูมิของโรงเรียน จึงเห็นสมควรกำ หนด แนวการปฏิบัติตนไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยการปฏิบัติตนของนักเรียน พ.ศ. 2567 ข้อ 2 ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 3 ให้ใช้ระเบียบนี้คู่กับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแต่งกายของ นักเรียน พ.ศ. 2527 หมวด 1 การปฏิบัติตนโดยทั่วไป ข้อ 4 นักเรียนโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ต้องปฏิบัติตนให้เป็น ไปตามระเบียบของโรงเรียนโดยเคร่งครัดดังนี้ (1) ต้องมีผู้ปกครองที่ถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2527 หากเปลี่ยนผู้ปกครองใหม่ ต้องแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ และนำ ผู้ปกครองมาทำการ มอบตัวใหม่ (2) ต้องแต่งกายสุภาพให้ถูกต้องตามระเบียบ ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักเรียน (3) ต้องมาโรงเรียนให้ทันเวลาที่กำ หนด การหยุดเรียนไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ต้อง ปฏิบัติตามระเบียบการลา


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 117 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 (4) นักเรียนพึงปฏิบัติตนเป็นคนดี มีความขยันหมั่นเพียร มีความซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติตนเป็นคนดีของบิดา มารดา ผู้ปกครอง ครู เพื่อน นักเรียน และบุคคลทั่วไป (5) นักเรียนพึงรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ การแตกแยก การทะเลาะเบาะแว้ง ในระหว่างนักเรียนด้วยกัน ถือเป็นความผิดร้ายแรง (6) นักเรียนพึงเป็นผู้ดี มีกิริยาวาจาสุภาพ กล้าหาญ อดทน มีสัมมาคารวะต่อ บิดา มารดา ครูและมีความสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลทั่วไป มีวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดี (7) นักเรียนพึงรักษาทรัพย์สินของโรงเรียน หากทำ เสียหาย ต้องรับผิดชอบชดใช้ ค่าเสียหายให้กับโรงเรียน (8) นักเรียนพึงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง แก่ครอบครัว และหมู่คณะ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนให้เจริญขึ้น (9) นักเรียนจะต้องเป็นผู้มีประชาธิปโตยอันอยู่ในขอบเขต ที่ถูกที่ควร เข้าใจสิทธิ และหน้าที่ของตน และต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น (10) นักเรียนพึ่งเสียสละช่วยเหลือกิจกรรมเพื่อการพัฒนาและให้ความร่วมมือ กับโรงเรียน (11) เมื่อถึงเวลาเลิกเรียนให้รีบกลับบ้าน หากมีกิจกรรมนอกเวลาเรียนต้องมีครู ควบคุมดูแลและรับผิดชอบ (12) การมาโรงเรียนในวันหยุด ต้องแจ้งให้กลุ่มบริหารงานบุคคลทราบ และต้อง แต่งเครื่องแบบนักเรียนให้เรียบร้อย พร้อมทั้งได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองทุกครั้ง หมวด 2 สิ่งที่ต้องงดเว้นการปฏิบัติ ข้อ 5 นักเรียนโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ต้องงดเว้นการปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้ (1) สูบบุหรี่ เสพสุรา หรือสิ่งเสพติดอย่างอื่น (2) เล่นการพนันหรือการละเล่นที่มีลักษณะเข้าข่ายการพนัน (3) เข้าไปในสถานที่จำ หน่ายสุรา สถานการพนัน โรงรับจำ นำ และสถานค้า ประเวณี


118 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 (4) ประพฤติตนทำ นองชู้สาว (5) แสดงกิริยาวาจาหรือการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่ไม่สุภาพ (6) เที่ยวเตร่ในยามคํ่าคืน (7) ทำลายทรัพย์สินของโรงเรียนหรือของผู้อื่นเสียหาย (8) หยิบฉวยสิ่งของเงินทองของผู้อื่น หรือกรรโชกทรัพย์ผู้อื่น (9) พกพาอาวุธหรือสิ่งของที่ใช้เป็นอาวุธ เช่น วัตถุระเบิด ของแหลม ของมีคม ทุกชนิดเข้าไปในบริเวณโรงเรียน (10) ก่อกวนทะเลาะวิวาทกันเอง หรือทะเลาะวิวาทกับบุคคลภายนอก หรือ นักเรียนสถาบันอื่น (11) นำอาหารหรือขนม ตลอดจนเครื่องดื่มทุกชนิดขึ้นบนอาคารเรียน (12) ก่อกวนให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น (13) ทำความสกปรกแก่อาคารสถานที่ในบริเวณโรงเรียนและชุมชนข้างเคียง หมวด 3 การออกนอกบริเวณโรงเรียน ข้อ 6 เมื่อนักเรียนมาถึงโรงเรียนแล้ว ต้องอยู่ในความดูแลของครู ห้ามออกนอก บริเวณโรงเรียนจนกว่าจะถึงกำ หนดเวลาเลิกเรียน หากมีกิจธุระต้องออกนอกบริเวณ โรงเรียนให้นักเรียนปฏิบัติดังนี้ (1) สำ หรับนักเรียนที่อยู่ใกล้โรงเรียน หากประสงค์จะไปรับประทานอาหาร กลางวันที่บ้าน ต้องทำ บัตรสำ หรับอนุญาตออกไปรับประทานอาหาร ที่ห้องสำ นักงาน กลุ่มบริหารงานบุคคล (2) กรณีผู้ปกครองมีหนังสือ มาขออนุญาต ให้นักเรียนขอคำ ร้องขออนุญาต ออกนอกบริเวณ ที่ห้องสำ นักงานกลุ่มบริหารงานบุคคลแล้วยื่นคำร้องต่อหัวหน้ากลุ่มบริหาร งานบุคคล โดยผ่านครูที่ปรึกษา ครูหัวหน้าระดับ และครูเวรประจำวัน เพื่อออกบัตรอนุญาต เมื่อกลับมาจากกิจธุระให้รายงานตัวที่ครูที่ปรึกษา (3) ผู้ปกครองมาขอลาให้นักเรียนไปทำกิจธุระ หรืออนุญาตนำ นักเรียนกลับบ้าน ด้วยตนเอง ให้ทำ บันทึกขออนุญาตที่ห้องสำ นักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 119 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 หมวด 4 การปฏิบัติตนขณะอยู่ในห้องเรียน ข้อ 7 ให้นักเรียนปฏิบัติตนขณะอยู่ในห้องเรียน ดังนี้ (1) แสดงความเคารพครูผู้สอนเมื่อเข้าและออกจากห้องเรียน (2) ตั้งใจฟังครูไม่พูดคุย เล่นหยอกล้อขณะครูสอน หากประสงค์ ออกนอกห้อง ต้องได้รับอนุญาตจากครูก่อน (3) ต้องนำสมุด หนังสือเรียน พร้อมทั้งอุปกรณ์การเรียนของวิชานั้นๆ มาเรียน (4) หากยังไม่มีครูเข้าสอน ต้องอยู่ในความสงบ นำ งานขึ้นมาทำ และเชื่อฟัง หัวหน้าห้อง (5) ไม่นำ เครื่องประดับ ของมีค่า อาวุธ หรือสิ่งอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียน เข้าไปในห้องเรียน หมวด 5 การมาโรงเรียนและการเดินทางกลับบ้านของนักเรียน ข้อ 8 การมาโรงเรียนของนักเรียน (1) นักเรียนต้องมาถึงโรงเรียนเวลา 07.45 น. เพื่อเข้าแถวเคารพธงชาติ และร่วม พิธีการหน้าเสาธง และเริ่มเรียนในเวลา 08.15 น. และเลิกเรียนในเวลา 15.30 น. ผู้มาถึง โรงเรียนหลังธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา ถือว่ามาสาย (2) นักเรียนคนใดมาสาย ให้พบครูเวรหรือหัวหน้าระดับเพื่อขอบัตรเข้าห้องเรียน และบันทึกพฤติกรรม (3) นักเรียนที่มาสาย 4 ครั้ง โรงเรียนจะแจ้งผู้ปกครองทราบ เพื่อรับรองว่าจะ แก้ไขไม่ให้นักเรียนในปกครองมาสายเช่นนั้นอีก (4) นักเรียนที่ประสงค์จะลา ต้องให้ผู้ปกครองรับรองการลาให้ถูกต้องตาม ระเบียบ (5) กรณีที่นักเรียนเปลี่ยนผู้ปกครองหรือย้ายที่อยู่ ต้องแจ้งให้กลุ่มบริหารงาน บุคคลทราบทันที


120 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 (6) ก่อนออกจากโรงเรียนเพื่อกลับบ้าน ต้องสำ รวจเครื่องแต่งกายให้เรียบร้อย ถูกต้องตามระเบียบการแต่งกาย (7) ในวันหยุดราชการ หากประสงค์จะเข้ามาทำกิจกรรมในโรงเรียนมีครูรับผิดชอบ ควบคุมดูแล และต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียนทุกครั้ง พร้อมทั้งขออนุญาตล่วงหน้าโดย ความเห็นชอบของผู้ปกครอง (8) นักเรียนที่มีความจำ เป็นต้องมาสาย ผู้ปกครองจะต้องมาแจ้งด้วยตนเองเพื่อ ขออนุญาตให้นักเรียนมาโรงเรียนสาย เป็นกรณีพิเศษ โดยมีคำรับรองจากครูที่ปรึกษาและ ทำ บัตรอนุญาตมาสายจากกลุ่มบริหารงานบุคคล (9) ห้ามนักเรียนขึ้นบนอาคารเรียนก่อนเวลา 06.00 น. และห้ามอยู่บนอาคาร เรียน หลังเวลา 16.30 น. ยกเว้นมีครูควบคุมดูแล ข้อ 9 การเดินทางกลับบ้าน (1) ให้นักเรียนเดินทางกลับบ้านหลังเลิกเรียนเวลา 15.00 น. หากมีภารกิจต้อง ปฏิบัติให้อยู่ในโรงเรียนได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง หลังเลิกเรียน ยกเว้นกรณีที่มีกิจกรรมพิเศษและ มีครูควบคุม อนุญาตให้อยู่ได้ไม่เกิน 17.00 น. หมวด 6 การเชิญผู้ปกครอง ข้อ 10 การเชิญผู้ปกครอง (1) ในกรณีที่มีความจำ เป็นและเพื่อประโยชน์ของนักเรียน โรงเรียนจะเชิญ ผู้ปกครองโดยฝากผ่านหนังสือเชิญให้นักเรียนนำ ไปแจ้งผู้ปกครอง นักเรียนต้องนำ หนังสือ แจ้งให้ผู้ปกครองทราบเพื่อมาตามกำ หนดนัดหมาย (2) หากผู้ปกครองขัดข้องไม่สามารถมาโรงเรียนตามกำ หนดนัดหมายได้ต้องแจ้ง ให้โรงเรียนทราบทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2468-8272 ต่อ 115 โทรสาร 0-2476-0629 หรือทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของโรงเรียน เลขที่ 9 ถนนพระราม 2 ซอย 28 แยก 2 แขวง บางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10150 (3) หากผู้ปกครองไม่มาติดต่อหลังจากออกหนังสือเชิญ 3 ครั้ง โรงเรียนจะ พิจารณาลงโทษนักเรียนตามขั้นตอนต่อไป


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 121 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 หมวด 7 การทำ ความเคารพ ข้อ 11 การแสดงความเคารพต่อครู และผู้ที่ควรเคารพ การแสดงความเคารพเป็นการ แสดงออกของผู้ซึ่งได้รับการศึกษาอบรม โรงเรียนจึงกำ หนดหลักปฏิบัติเพื่อปลูกฝังนิสัย ให้นักเรียนรู้จักเคารพครูและผู้ที่ควรเคารพดังนี้ การแสดงความเคารพในบริเวณโรงเรียน (1) ครูทุกท่านของโรงเรียนถือว่าเป็นครูของนักเรียนทุกคน ต้องให้ความเคารพ นับถือยกย่อง (2) ขณะที่นักเรียนนั่งหรือยืน เมื่อครูเดินผ่านไประยะใกล้พอสมควรให้นักเรียน แสดงความเคารพด้วยการยืนตรง โค้งคำ นับ หรือไหว้ (3) ขณะนักเรียนเดินสวนทางกับครู ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง โค้งคำ นับ หรือไหว้ รอให้ครูเดินผ่านไปจึงเดินต่อไป (4) เมื่อนักเรียนเดินตามหลังครู ไม่ควรชิงขึ้นหน้า หากจำ เป็นจริง ๆ ต้องกล่าว คำว่า “ขอโทษค่ะ” หรือ “ขอโทษครับ” ก่อนเดินผ่าน (5) การทำความเคารพของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด หรือ นักศึกษาวิชาทหาร ให้ปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของเหล่านั้น ๆ (6) เมื่อครูเข้าห้องเรียน หรือก่อนออกจากห้องเรียน ให้หัวหน้าห้องบอกทำความ เคารพโดยโค้งคำ นับหรือยกมือไหว้ (7) การเข้าพบครู ให้แสดงความเคารพโดยการโค้งคำ นับหรือยกมือไหว้และยืน ห่างจากโต๊ะครูประมาณ 1 ก้าว ไม่ยืนห้อมล้อมโต๊ะครู การแสดงความเคารพนอกโรงเรียน (8) เมื่อนักเรียนพบครูภายนอกโรงเรียน ให้แสดงความเคารพทุกครั้งโดยการไหว้ และกล่าวคำว่า “สวัสดีค่ะ” “สวัสดีครับ” ทักทายปราศรัยตามความเหมาะสม


122 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 หมวด 8 เบ็ดเตล็ด ข้อ 12 การเรียนพิเศษหรือทำ งานในวันหยุดราชการ (1) ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร (2) ต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียนให้เรียบร้อย เว้นแต่กรณีที่ต้องแต่งกายทำ กิจกรรมเพื่อความเหมาะสม ครูผู้ควบคุมแจ้งให้โรงเรียนทราบเป็นกรณีไป (3) เมื่อประสงค์จะมาติดต่อกับโรงเรียนทุกกรณี นักเรียนทุกคนต้องแต่ง เครื่องแบบนักเรียน ข้อ 13 โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนนำจักรยานยนต์และรถยนต์ มาโรงเรียน ยกเว้น มีการขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษ และต้องปฏิบัติตามข้อกำ หนดของโรงเรียน ข้อ 14 ผู้ปกครองที่ประสงค์จะพบหรือเยี่ยมนักเรียนให้ติดต่อยาม เจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน หรือกลุ่มบริหารงานบุคคล และให้รอในบริเวณที่กำ หนดให้ ไม่อนุญาตให้ผู้ปกครองไปพบนักเรียนที่ห้องโดยลำ พัง ข้อ 15 นักเรียนทุกคนจะต้องทำ บัตรประจำตัวนักเรียน ทะเบียนประวัติ นักเรียน และต้องพกบัตรประจำตัวนักเรียนติดตัวเสมอ การทำ บัตรประจำตัวนักเรียน ให้ติดต่อที่ กลุ่มบริหารงานบุคคล ข้อ 16 การแจ้งของหายและเก็บของได้ ให้นักเรียนที่ทำของหรือเงินหาย แจ้งที่กลุ่ม บริหารงานบุคคลโดยทันที เพื่อประกาศหาผู้เก็บได้ และติดตามฟังประกาศรับของคืน การ ขอรับของคืนให้แสดงหลักฐานบัตรประจำตัว ประกอบการขอรับคืน และเมื่อนักเรียน เก็บของได้ ให้รีบนำส่งที่กลุ่มบริหารงานบุคคลทันทีเพื่อประกาศหาเจ้าของมารับ ข้อ 17 นักเรียนที่มีความประสงค์ขอใบรับรองความประพฤติ ให้ขอแบบคำ รับรอง ความประพฤติที่กลุ่มบริหารงานบุคคลและให้ครูที่ปรึกษาและหัวหน้าระดับชั้นรับรอง ความประพฤติ เพื่อนำ เสนอผู้อำ นวยการโรงเรียนลงนามรับรองความประพฤติ ข้อ 18 นักเรียนทุกคนมีหน้าที่รักษาความสะอาดในห้องเรียนและบริเวณโรงเรียน ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านตนเอง ต้องไม่ขีดเขียนม้านั่ง โต๊ะ ประตู หน้าต่าง ฝาผนัง รั้วกำแพง หรือทำ ให้อาคารสกปรก ชำ รุดเสียหายใด ๆ ผู้ปกครองต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นในการทำความสะอาดห้องเรียนประจำวัน นักเรียนต้องดำ เนินการตามวัน เวลาที่ ครูที่ปรึกษากำ หนดไว้เป็นเวรรับผิดชอบ


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 123 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ข้อ 19 โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงเวลาทำการเรียน การสอน และการปฏิบัติกิจกรรมใด ๆ ภายในโรงเรียน หากถูกทางโรงเรียนเรียกเก็บจะ เชิญผู้ปกครองมาขอรับคืนภายใน 7 วัน ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567 (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำ นวยการ โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”


124 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยคะแนนความประพฤติ พ.ศ. 2567 เพื่อให้การควบคุมความประพฤตินักเรียน เป็นไปได้อย่างได้ผล มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถให้นักเรียนแข่งขันด้านการทำความดี อันจะก่อให้เกิดการส่งเสริมชื่อเสียง และเกียรติยศแห่งโรงเรียนให้ดีขึ้น โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” จึงได้วางระเบียบว่าด้วยคะแนน ความประพฤติของนักเรียน พ.ศ. 2567 ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยคะแนนความประพฤติของนักเรียน พ.ศ. 2567 ข้อ 2 กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นใดที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด 1 คะแนนนักเรียน ข้อ 3 ในแต่ละปีการศึกษา นักเรียนแต่ละคนจะมีคะแนนความประพฤติคนละ 100 คะแนน ข้อ 4 เมื่อนักเรียนคนใดถูกตัดคะแนนความประพฤติ ทางโรงเรียนจะดำ เนินการดังนี้ 4.1 ในการกระทำความผิดครั้งแรกกรณีที่เป็นความผิดไม่ร้ายแรง ให้ว่ากล่าว ตักเตือน ถ้ากระทำความผิดซํ้าให้ดำ เนินการตัดคะแนนตามระเบียบ และบันทึกพฤติกรรม 4.2 ตัดคะแนนความประพฤติ ครั้งที่ 4 หรือตั้งแต่ 20 คะแนนขึ้นไป ให้ดำ เนินการ ว่ากล่าวตักเตือน เชิญผู้ปกครองมารับทราบ เพื่อช่วยเหลือในการแก้ปัญหา 4.3 ตัดคะแนนความประพฤติ 40 คะแนน เชิญผู้ปกครองพบเพื่อรับทราบ และทำสัญญาทัณฑ์บน


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 125 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 4.4 ตัดคะแนนความประพฤติ 41-49 คะแนน เชิญผู้ปกครองพบเพื่อรับทราบ และทำกิจกรรมเพื่อปรับพฤติกรรม 4.5 ตัดคะแนนความประพฤติ 50 คะแนนขึ้นไป เชิญผู้ปกครองพบและนักเรียน ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม หมวด 2 อำ นาจในการตัดคะแนน ข้อ 5 ครูในโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” มีอำ นาจในการตัด คะแนนความประพฤติของนักเรียน ดังนี้ 5.1 ผู้บริหาร และรองผู้อำ นวยการ ตัดคะแนนความประพฤติได้ตามระเบียบ 5.2 หัวหน้าระดับชั้น ตัดคะแนนความประพฤติ ในกรณีความผิดร้ายแรง ตั้งแต่ 30 คะแนน 5.3 ครูที่ปรึกษา ครูประจำ วิชา ครูที่พบเห็นการกระทำความผิด ตัดคะแนน ตามระเบียบความประพฤติได้ไม่เกินครั้งละ 20 คะแนน หากเป็นกรณีความผิดร้ายแรง ให้หัวหน้าระดับชั้นร่วมพิจารณา ข้อ 6 ในกรณีที่นักเรียนประพฤติผิดและต้องถูกลงโทษตัดคะแนน ความประพฤติ เกินอำ นาจของผู้ซึ่งตัดคะแนน ให้บันทึกรายงานเสนอต่อผู้มีอำ นาจสูงกว่าเป็นผู้ตัดคะแนน ข้อ 7 ครูที่ปรึกษา ทำสรุปรายงานการตัดคะแนนความประพฤติของนักเรียนเป็น รายเดือนเสนอต่อหัวหน้าระดับ เพื่อเสนอรองผู้อำ นวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานบุคคล เพื่อดำ เนินการต่อไป ข้อ 8 การขอตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนแต่ละครั้ง ให้ดูจากเอกสารต่อท้าย ระเบียบเป็นหลัก


126 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 หมวด 3 การให้คะแนนความดี ข้อ 9 นักเรียนคนใดที่กระทำความดี เช่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือกิจกรรม โรงเรียน ช่วยงานสาธารณประโยชน์โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ฯลฯ ซึ่ง เป็นการกระทำ ที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นตัวอย่างของนักเรียนอื่นให้ครูที่พบเห็นได้นำ เรื่องเสนอต่อรองผู้อำ นวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานบุคคล เพื่อแสดงต่อคณะกรรมการ กลุ่มบริหารงานบุคคล ข้อ 10 เมื่อคณะกรรมการกลุ่มบริหารงานบุคคล ได้ประชุมพิจารณาเห็นสมควร เพิ่มคะแนนความประพฤติ ให้บันทึกเสนอผู้อำ นวยการโรงเรียน เพื่อขอเพิ่มคะแนนเป็น รายบุคคล ข้อ 11 การให้คะแนนความประพฤติถือเกณฑ์ ดังนี้ 11.1 ดีเยี่ยม เพิ่มได้ครั้งละ 30 คะแนน 11.2 ดีมาก เพิ่มได้ครั้งละ 20 คะแนน 11.3 ดี เพิ่มได้ครั้งละ 10 คะแนน หมวด 4 การให้รางวัล ข้อ 12 นักเรียนได้รับคะแนนความดีในแต่ละปีการศึกษา จะได้รับรางวัลตามเกณฑ์ ต่อไปนี้ 12.1 ได้รับคะแนนถึง 100 คะแนน จะได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ ระดับดีเยี่ยม 12.2 ได้รับคะแนนถึง 80 คะแนน จะได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ ระดับดีมาก 12.3 ได้รับคะแนนถึง 70 คะแนน จะได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ ระดับดี


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 127 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ข้อ 13 นักเรียนที่ได้รับเกียรติบัตรจะต้องมีคะแนนความประพฤติไม่ตํ่ากว่า 70 คะแนน ข้อ 14 ให้รองผู้อำ นวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานบุคคล เป็นผู้รักษาการให้เป็น ตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567 (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำ นวยการโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”


128 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 บัญชีต่อท้าย ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยคะแนนความประพฤตินักเรียน พ.ศ. 2565 การให้คะแนนความดี เพื่อเป็นกำลังใจและแรงจูงใจให้นักเรียนได้มีความภูมิใจในการกระทำความดี ว่าผู้ที่ ทำความดีก็สมควรได้รับการยกย่องชมเชย การเพิ่มคะแนนความประพฤตินักเรียน ที่กระทำ ความดี พิจารณาตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. ได้คะแนน 10 คะแนน 1.1 ช่วยรักษาความสะอาดของโรงเรียน นอกจากการทำ เวรประจำวันของตน 1.2 เก็บเงินหรือของตกได้ ราคาไม่เกิน 100 บาท และนำ ไปแจ้งกลุ่มบริหารงาน บุคคลเพื่อประกาศหาเจ้าของต่อไป 1.3 ช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนที่ด้อยกว่าตน เช่น ให้หนังสือ หรือเสื้อผ้าชุดนักเรียน 1.4 ช่วยระงับกันการทะเลาะวิวาทของนักเรียน 1.5 ทำความดีอื่นใดที่เทียบกับข้อ 1.1-1.4 2. ได้คะแนน 20 คะแนน 2.1 ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียนด้วยความเต็มใจ เช่น เป็นตัวแทนโรงเรียน เข้าประกวดแข่งขัน 2.2 เก็บเงินหรือสิ่งของได้ มีราคาตั้งแต่ 101-500 บาท และนำ ไปแจ้ง กลุ่มบริหาร งานบุคคลเพื่อประกาศหาเจ้าของต่อไป 2.3 แจ้งชื่อผู้กระทำความผิดหรือความเสียหายให้กับทางโรงเรียนหรือส่วนรวม ให้ครูทราบ 2.4 ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน 3. ได้คะแนน 30 คะแนน และได้รับเกียรติบัตรของโรงเรียน 3.1 นำ ชื่อเสียงมาสู่โรงเรียน ทำ ให้บุคคลภายนอกรู้จักโรงเรียนมากขึ้น เช่น เป็นนักกีฬาระดับเขตพื้นที่การศึกษา เข้าประกวดแข่งขันได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่ การศึกษาขึ้นไป


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 129 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 3.2 เก็บเงินหรือสิ่งของได้มีราคาตั้งแต่ 501 บาทขึ้นไปและนำ ไปแจ้ง กลุ่มบริหาร งานบุคคลเพื่อประกาศหาเจ้าของต่อไป 3.3 ทำความดีอื่นใดที่เทียบกับข้อ 3.1-3.2 หมวด 1 การแต่งกาย 1.1 ทรงผมผิดระเบียบหรือไว้หนวดเคราแก้ไขได้โดยเร็ว 5 ให้โอกาสแก้ไขได้ไม่เกิน 1 วัน 1.2 ทรงผมผิดระเบียบหรือไว้หนวดเคราแก้ไขไม่ได้โดยเร็ว 10 เชิญผู้ปกครองมารับทราบ รายงาน ตัวเป็นประจำ 1.3 ตกแต่งทรงผม คิ้ว (ย้อม โกน ดัด กัดสีผม ซอยผม 10 แก้ไขตามกรณี เชิญผู้ปกครอง สไลด์ผม ใส่เจล พ่นสเปรย์) มารับทราบรายงานตัวเป็นประจำ 1.4 เสื้อ กางเกง กระโปรง ถุงเท้า รองเท้าไม่ปัก บ.ม.ว. 5 ให้โอกาสแก้ไขได้ไม่เกิน 1 วัน ไม่ปักระดับชั้นไม่เป็นปัจจุบัน (แห่งละ) 1.5 นําเสื้อผู้อื่นมาใส่ 15 โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 1.6 นำ เสื้อตนเองไปให้ผู้อื่นใส่ เพื่อทำการในทางมิชอบ 20 เชิญผู้ปกครองมารับทราบ 1.7 ปล่อยชายเสื้อออกนอกกางเกง กระโปรง 5 แก้ไขในทันที 1.8 สวมรองเท้าแตะ 5 1.9 เหยียบส้นรองเท้า 5 แก้ไขในทันที 1.10 ไว้เล็บยาว ทาเล็บ ต่อเล็บ ทำลวดลายบนเล็บ 5 แก้ไขในทันที 1.11 สวมชุดพลศึกษาในวันไม่มีการเรียนพลศึกษา/ 5 ไม่สวมชุดพลศึกษาในวันที่มีการเรียนพลศึกษา 1.12 ใส่เครื่องประดับมีค่า หรือมีสิ่งของมีค่าที่ไม่เหมาะกับ 5 การเป็นนักเรียน 1.13 เจาะอวัยวะต่าง ๆ เพื่อใส่เครื่องประดับ การสักลาย 10 เชิญผู้ปกครองมารับทราบแก้ไข เขียนสีตามอวัยวะต่าง ๆ ตามกรณี หมวด 2 การเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมของ โรงเรียน 2.1 มาโรงเรียนสาย (หลังเคารพธงชาติ / หลัง 08.15 น.) 5 มาสาย 4 ครั้ง เชิญผู้ปกครอง มาพบ 2.2 หนีเข้าแถวหนีโรงเรียน/หนีเรียน/หนีประชุม ไม่เข้าร่วม 10 กิจกรรมที่โรงเรียนจัด 2.3 ไม่มีกระเป๋า ไม่มีสมุด-แบบเรียน หรืออุปกรณ์การเรียน 5 2.4 ใช้กระเป๋านักเรียนผิดระเบียบ 5 การตัดคะแนนความประพฤติของนักเรียน ตัด รายการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คะแนน/ หมายเหตุ ครั้ง


130 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ตัด รายการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คะแนน/ หมายเหตุ ครั้ง 2.5 ไม่ไปรายงานตัวตามที่ครูสั่ง ฝ่าฝืนคำสั่งครูที่ชอบ 5 ด้วยระเบียบ 2.6 ทุจริตในการสอบตามมติที่ประชุมกลุ่มบริหารวิชาการ 30 เชิญผู้ปกครองพิจารณาให้รับโทษ ขั้นสูง หมวด 3 พฤติกรรมทางเพศและพฤติกรรมก้าวร้าว 3.1 กลั่นแกล้ง ล้อเลียนผู้อื่น 10 3.2 กล่าวคำ หยาบ ส่อเสียด ด่าทอ เหน็บแนม ใช้วาจา 10 ไม่สุภาพ 3.3 ข่มขู่ อาฆาต 15 3.4 กรรโชกทรัพย์ 20 3.5 มีพฤติกรรมในทางชู้สาว 20 3.6 กระทำอนาจาร 20 3.7 มีสื่อลามกในครอบครองหรือเผยแพร่ 10 3.8 ก้าวร้าวต่อครู/ผู้อื่น บุพการี ทั้งกิริยาท่าทาง/วาจา/ 15 ลายลักษณ์อักษร 3.9 ทะเลาะวิวาท ก่อเหตุ หรือยุยงให้เกิดเหตุ ทะเลาะ 30 วิวาทภายในโรงเรียน ทะเลาะวิวาทกับบุคคลภายนอก หรือทะเลาะวิวาทนอกสถานศึกษาทุกกรณี 3.10 พกอาวุธ หรือเจตนาใช้วัสดุอื่นเป็นอาวุธ 30 3.11 ทำ ร้ายร่างกายผู้อื่นหรือทำ ร้ายร่างกายผู้อื่นจนเกิด 30 บาดแผล 3.12 จับกลุ่มมั่วสุม มีพฤติกรรมเป็นอันธพาล กระทำตน 30 เป็นผู้มีอิทธิพล หมวด 4 อบายมุขและความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน 4.1 สูบบุหรี่หรือมีบุหรี่ในครอบครองทุกประเภท 20 เชิญผู้ปกครองมาพบ และ/หรือ ดำ เนินการตามกฎหมาย 4.2 ดื่มหรือมีสุราหรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ 20 เชิญผู้ปกครองมาพบพิจารณาให้ รับโทษขั้นสูง 4.3 มีหรือเสพสิ่งเสพติด ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ 30 เชิญผู้ปกครองมาพบ และ/หรือ เข้ารับการบำ บัดรักษา ต้องมี ใบรับรองแพทย์จากสถาบัน การแพทย์ของรัฐ พิจารณาให้ รับโทษขั้นสูง เชิญผู้ปกครองพิจารณา ให้รับโทษขั้นสูง


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 131 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ตัด รายการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คะแนน/ หมายเหตุ ครั้ง 4.4 มีสิ่งเสพติดไว้เพื่อการจำ หน่ายจ่ายแจก 100 เชิญผู้ปกครองมาพบพิจารณา ให้รับโทษขั้นสูง ถูกดำ เนินการ ตามกฎหมาย ให้ออก 4.5 เล่นการพนันทุกชนิดที่มีการเดิมพันเป็นเงินในโรงเรียน 20 เชิญผู้ปกครองมาพบพิจารณา ให้รับโทษขั้นสูง 4.6 ลักทรัพย์สินของโรงเรียนและผู้อื่น 30 เชิญผู้ปกครองมาพบ ชดใช้ ความเสียหาย พิจารณาให้รับโทษ ตามความเหมาะสมและ ดำ เนินการตามกฎหมาย 4.7 ทำลายทรัพย์สินภายในโรงเรียน 30 เชิญผู้ปกครองมาพบ ชดใช้ ความเสียหาย พิจารณาให้รับโทษ ขั้นสูง 4.8 ความอาญาแผ่นดินจนถูกดำ เนินคดีตามกฎหมาย 100 พิจารณาผลเสียหายแห่งกรณี เว้นแต่ความผิดนั้นเป็นลหุโทษหรือโดยความประมาท หมวด 5 ความผิดเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ 5.1 โพสต์สื่อโซเชียลไม่เหมาะสม 10 ให้ลบโพสต์ทันทีและแจ้งให้ ผู้ปกครองทราบ 5.2 โพสต์สื่อโซเชียลอันเป็นเหตุให้โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียง 20 ให้ลบโพสต์ทันทีและเชิญ หรือสื่อสารว่าเป็นนักเรียนในโรงเรียนบางมดวิทยา ผู้ปกครองมารับทราบ 5.3 ข่มขู่ คุกคาม ยุยง ปลุกปั่นในสื่อโซเชียล 15 ติดตาม สอบสวน และให้ลบโพสต์ ทันทีและแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ 5.4 เจตนาข่มขู่ คุกคาม ยุยง ปลุกปั่นจนทำ ให้เกิด 20 ให้ลบโพสต์ทันทีและเชิญ ความรุนแรง ผ่านสื่อโซเชียล ผู้ปกครองมาพบและพิจารณา ให้รับโทษขั้นสูง หมายเหตุ 1. พิจารณารับโทษขั้นสูง หมายถึง การทำ ทัณฑ์บน และทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. สำ หรับการพิจารณาลงโทษตัดคะแนนในความผิดที่มิได้ระบุให้เปรียบเทียบ กับโทษในสถานต่าง ๆ โดยดู ความหนักเบาของความผิด 3. ในกรณีที่นักเรียนกระทำ ความผิดซํ้าซ้อน ไม่หลาบจำ ต้องเพิ่มโทษจากที่กำ หนด หรือเข้าที่ประชุม คณะกรรมการกลุ่มบริหารงานบุคคลเพื่อพิจารณาดำ เนินการ 4. หากนักเรียนคนใดถูกตัดคะแนนความประพฤติถึง 50 คะแนน ทางโรงเรียนจะคัดกรองนักเรียน เข้ารับ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งผู้ปกครอง ต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุน เพื่อให้นักเรียนผ่านการประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์


132 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยการแต่งกายนักเรียน พ.ศ. 2567 เพื่อให้การปกครองนักเรียนและการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดำ เนินการไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2527 จึงกำ หนดระเบียบ การแต่งกายนักเรียนไว้ ดังนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ว่าด้วยการแต่งกายนักเรียน พ.ศ. 2567 ข้อ 2 ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบข้อบังคับ หรือสิ่งอื่นใดในส่วนที่กำ หนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือ ซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด 1 เครื่องแบบนักเรียนปกติ ข้อ 4 เครื่องแบบนักเรียนชาย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย (1) เสื้อ ใช้เสื้อเชิ้ตคอพับผ้าขาวเกลี้ยง ไม่บางไม่นิ่มจนเกินไป ผ่าอกตลอด ขนาด ของเสื้อพอดีตัวไม่ใหญ่หรือคับจนเกินไป ไม่มีกระดุมที่ปลายปก สาบกว้าง 4 ซม. กระดุม กลมสีขาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม. แขนเสื้อยาวไม่เกินข้อศอกมีกระเป๋าติด ระดับราวนมด้านซ้าย 1 กระเป๋า ขนาดกว้าง 8 - 12 ซม. ด้านหลังเสื้อไม่มีจีบสวมเสื้อให้ สอดชายเสื้อไว้ในกางเกงให้มองเห็นเข็มขัดโดยรอบ การปักอักษรย่อ - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้ปักอักษรย่อ บ.ม.ว. ตามแบบพิมพ์ของโรงเรียน เหนืออกเสื้อด้านขวาด้วยไหมสีนํ้าเงิน ส่วนอกเสื้อด้านซ้ายเหนือกระเป๋าใช้ไหมสีนํ้าเงินปัก


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 133 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ชื่อ-นามสกุล ลักษณะตัวหนังสือธรรมดาสูงประมาณ 0.5-1 ซม. และเหนือชื่อ-สกุลเล็กน้อย ให้ปักเครื่องหมายบอกระดับชั้น โดยปักจุดกลมขนาด 0.5-1 ซม. และเหนือชื่อ-สกุล เล็กน้อย ให้ปักเครื่องหมายบอกระดับชั้น โดยปักจุดกลมขนาด 0.5 ซม. (มัธยมศึกษาปีที่ 1 ปัก 1 จุด, มัธยมศึกษาปีที่ 2 ปัก 2 จุด, มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัก 3 จุด) - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ปักอักษรย่อ บ.ม.ว. ตามแบบพิมพ์ของ โรงเรียนเหนืออกเสื้อด้านขวาด้วยไหมสีนํ้าเงิน เหนืออักษรย่อ บ.ม.ว. ติดเข็มเครื่องหมาย ประจำ โรงเรียน ส่วนอกเสื้อด้านซ้ายเหนือกระเป๋าใช้ไหมสีนํ้าเงินปักชื่อ-นามสกุล ลักษณะ ตัวหนังสือธรรมดาสูงประมาณ 0.5-1 ซม. และที่ปลายปกเสื้อด้านซ้าย ให้ปักเครื่องหมาย บอกระดับชั้น โดยปักจุดกลมขนาด 0.5 ซม. (มัธยมศึกษาปีที่ 4 ปัก 1 จุด, มัธยมศึกษา ปีที่ 5 ปัก 2 จุด, มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัก 3 จุด) (2) กางเกง แบบกางเกงใช้ผ้าโทเรสีกากี ไม่มีกระเป๋าหลัง มีจีบหน้า 2 จีบมี กระเป๋าข้าง 2 กระเป๋า ปากกระเป๋าต้องไม่เฉียง ขอบขาส่วนล่างอยู่เหนือสะบ้าหัวเข่า 5 ซม. ขาจริงกว้าง 8-12 ซม. ปลายขาพับเข้าด้านในกว้าง 2-4 ซม. กระเป๋าไม่ติดซิปหรือกระดุม หูกางเกงจำ นวน 5 หู กว้างไม่เกิน 1 ซม. ให้สามารถสอดเข็มขัดได้ การตัดเย็บให้ใช้ตะเข็บเดี่ยว ความยาวของเป้ากางเกง มีขนาดพอสมควรไม่ตึงจนเกินไป เวลาสวมให้ขอบเอวกางเกง อยู่ระดับสะดือและทับชายเสื้อไว้ให้เรียบร้อย (3) เข็มขัด ใช้เข็มขัดหนังสีนํ้าตาลไม่มีลวดลาย กว้าง 4 ซม. หัวทองเหลือง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมนชนิดหัวกลัด ความยาวรอบเอวและสอดปลายเข็มขัดให้เลย หูกางเกงด้านซ้ายหูที่ 1 ได้ ให้คาดทับกางเกง (4) รองเท้า ใช้รองเท้าแบบหุ้มส้นเป็นผ้าใบสีนํ้าตาล ชนิดผูก ไม่มีลวดลาย ห้ามใช้สีนํ้าตาลไหม้ เชือกผูกเป็นสีเดียวกันกับรองเท้า การสวมใส่ไม่เหยียบส้นรองเท้า (5) ถุงเท้า ใช้ถุงเท้าสีนํ้าตาล เมื่อดึงความยาวประมาณครึ่งน่อง ไม่มีลวดลาย ไม่พับปลาย ไม่ม้วน ไม่ใส่ซ้อนหลายคู่ ไม่ใช้ถุงเท้าสีนํ้าตาลไหม้ ห้ามใช้ถุงเท้าสั้น ข้อ 5 เครื่องแบบนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (1) เสื้อ ใช้ผ้าขาวเกลี้ยงไม่บาง ไม่นิ่มเกินไป ใช้ผ้าโทเรสาบตลบเข้าด้านใน มีขนาดใหญ่พอประมาณ โดยเมื่อแบะออกแล้วไม่เห็นตะเข็บด้านใน ปกเสื้อขนาด 5-10 ซม. ใช้ผ้า 2 ชิ้น เป็นแบบตะเข็บเข้าถํ้า ปกด้านหลังเป็นแบบกลาสีวัดจากตัวลงไปไม่เกิน 12 ซม. ความยาวของแขนให้อยู่เหนือศอกประมาณ 3 ซม. ปลายแขนจีบเล็กน้อยประกอบด้วยผ้า 2 ชั้น กว้าง 3 ซม. ขนาดของตัวเสื้อตั้งแต่ใต้แขนถึงขอบล่างกว้างกว่าสะโพกจริงประมาณ


134 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 10 ซม. ไม่รัดเอว มีกระเป๋าที่ชายเสื้อด้านขวาพอเหมาะกับตัวเสื้อ ผูกคอซองสีกรมท่าให้ ระยะตํ่ากว่าลำคอด้านหน้า ประมาณ 3-5 นิ้ว เสมอสาบของคอปกเสื้อ ความยาวของตัวเสื้อ เท่ากับระดับข้อมือเมื่อยื่นเหยียดแขนตรง เวลาสวมให้ปล่อยชายเสื้อไว้นอกกระโปรง และ สวมเสื้อซับสีขาวไม่มีลวดลายทับเสื้อชั้นในอีกชั้น การปักอักษรย่อ : ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้ปักอักษรย่อ บ.ม.ว. ตามแบบ พิมพ์ของโรงเรียน เหนืออกเสื้อด้านขวาด้วยไหมสีนํ้าเงินเข้ม ส่วนอกเสื้อด้านซ้ายใช้ไหม สีนํ้าเงินปักชื่อ-นามสกุล ลักษณะตัวหนังสือธรรมดาสูงประมาณ 0.5-1 ซม. และเหนือ ชื่อ-สกุลเล็กน้อย ให้ปักเครื่องหมายบอกระดับชั้น โดยปักจุดกลมขนาด 0.5 ซม. (มัธยมศึกษา ปีที่ 1 ปัก 1 จุด, มัธยมศึกษาปีที่ 2 ปัก 2 จุด, มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัก 3 จุด) (2) คอซอง ให้สาบคอซองกว้าง 2.5 ซม. ปลายคอซองยาว 7 ซม. เมื่อผูกเสร็จ ให้ระยะระหว่างปลายทั้งสองด้านยาวประมาณ 12 ซม. (3) กระโปรง ใช้ผ้าสีกรมท่า ไม่มีลวดลาย ด้านหน้าและด้านหลังพับเป็นจีบข้างละ 3 จีบ จีบลึกอย่างน้อย 2.5 ซม. หันจีบออกด้านนอก เย็บพับจากด้านบนของกระโปรงลงมา 12 ซม. เว้นระยะความกว้าง ตรงกลาง 9-10 ซม. กระโปรงยาวคลุมเข่าตํ่ากว่ากลางสะบ้า 8-10 ซม. สอยพับขอบชายกระโปรงด้านล่างกว้าง 3-5 ซม. ความกว้างชายกระโปรง อย่างน้อย 56 นิ้ว ขอบเอวกระโปรงกว้าง 3 ซม. (4) รองเท้า ใช้รองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ ไม่มีลวดลายหรือสีอื่นปน มีสายรัด หลังเท้า ส้นสูงไม่เกิน 3 ซม. (5) ถุงเท้า ให้ใช้ถุงเท้าสีขาว เนื้อเรียบ ลอนเล็ก หรือถุงเท้าพื้นดำ ไม่มีลวดลาย ยาวครึ่งน่อง ไม่หนาหรือบางเกินไป เมื่อใส่ให้พับขอบ 2 ครั้งเป็นแถบกว้างอยู่เหนือตาตุ่ม ประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 2 นิ้ว ไม่ม้วนห้ามใช้ถุงเท้าสั้นเมื่อสวมใส่ให้พับลงเป็นแถบกว้าง อยู่เหนือตาตุ่ม ประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 2 นิ้ว ข้อ 6 เครื่องแบบนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (1) เสื้อ ใช้เสื้อคอเชิ้ตขาวเกลี้ยงไม่บาง ใช้ผ้าโทเร ไม่นิ่มเกินไป มีสาบตลบเข้า ด้านในกว้าง 3 ซม. มีกระดุมกลมสีขาวขนาด 1 ซม. 4-5 เม็ด ความยาวของแขนเสื้อ เหนือศอก 3 ซม. ต้นแขนและปลายแขนจีบเล็กน้อยปลายแขนประกอบด้วยผ้าสองชั้น กว้าง 3 ซม. ขนาดความกว้างของชายเสื้อ ใหญ่กว่าสะโพกจริง 10 ซม. เวลาสวมใส่ให้สอด ชายเสื้อไว้ในกระโปรง ให้มองเห็นหัวเข็มขัดและเข็มขัดโดยรอบ และสวมเสื้อซับสีขาวเรียบ ไม่มีลวดลายทับเสื้อชั้นในอีกชั้น


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 135 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 การปักอักษรย่อ : ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ปักอักษรย่อ บ.ม.ว. ตามแบบพิมพ์ ของโรงเรียนเหนืออกเสื้อด้านขวาด้วยไหมสีนํ้าเงิน เหนืออักษรย่อ บ.ม.ว. ติดเข็มเครื่องหมาย ประจำ โรงเรียน ส่วนอกเสื้อด้านซ้ายใช้ไหมสีนํ้าเงินเข้มปักชื่อ-นามสกุล ลักษณะตัวหนังสือ ธรรมดาสูงประมาณ 0.5-1 ซม. และที่ปลายปกเสื้อด้านซ้าย ให้ปักเครื่องหมายบอกระดับชั้น โดยปักจุดกลมขนาด 0.5 ซม (มัธยมศึกษาปีที่ 4 ปัก 1 จุด, มัธยมศึกษาบีที่ 5 ปัก 2 จุด, มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัก 3 จุด) (2) กระโปรง ใช้เช่นเดียวกับนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามข้อ (3) (3) เข็มขัด ใช้หนังสีดำขนาดกว้าง 3-4 ซม. หัวสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นชนิดหัวเหล็ก มีปลอกสีดำกว้าง 1.5 ชม. สำ หรับสอดปลายเข็มขัด ไม่มีลวดลาย (4) รองเท้าและถุงเท้า ให้ใช้เช่นเดียวกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามข้อ (4), (5) หมวด 2 เครื่องแบบพลศึกษา ข้อ 7 ให้นักเรียนทั้งชายและหญิงทุกระดับชั้นใช้เครื่องแบบดังนี้ (1) เสื้อ ให้ใช้เสื้อปกโปโล ที่กระเป๋าเสื้อปักตราสัญลักษณ์ประจำ โรงเรียนปัก ชื่อ-นามสกุลเหนือกระเป๋า ขนาดความสูงของตัวอักษร 0.5-1 ซม. พร้อมกับปักจุดบอก ระดับชั้นสำ หรับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลายปักที่ปลายปกเสื้อด้านซ้าย ขนาด 0.5 ซม. ด้วยไหมหรือด้ายสีนํ้าเงินเข้ม ตามที่โรงเรียนกำ หนด และห้ามดัดแปลง ให้ผิดไปจากนี้ (2) กางเกง ให้นักเรียนทุกคนใช้กางเกงยืด (กางเกงวอร์ม) สีกรมท่าหรือสีที่ โรงเรียนกำ หนดให้ใช้ ห้ามตัดขากางเกงเหนือตาตุ่ม (3) รองเท้าและถุงเท้า นักเรียนชายสวมรองเท้าผ้าใบสีนํ้าตาล ถุงเท้าสีนํ้าตาล สีเดียวกันกับรองเท้า ส่วนนักเรียนหญิง สวมรองเท้าผ้าสีขาวพื้นยางธรรมดาไม่มีลวดลาย หรือสีอื่นปน ไม่มีเส้นขอบสี มีเชือกผูกเรียบร้อย เชือกผูกเป็นสีเดียวกันกับรองเท้าใช้ถุงเท้า เช่นเดียวกับเครื่องแบบนักเรียน และไม่เหยียบส้นรองเท้า


136 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 (4) การสวมเครื่องแบบพลศึกษาทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ให้ปล่อยชาย เสื้อออกด้านนอก กางเกงวอร์ม สวมรองเท้าผ้าใบและสวมถุงเท้าทุกครั้ง (5) นักเรียนสวมเครื่องแบบพลศึกษาในวันที่มีการเรียนการสอนพลศึกษาหรือ ตามที่โรงเรียนกำ หนดเท่านั้น หมวด 3 เครื่องแบบกิจกรรมบังคับ ข้อ 8 เครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ กางเกง ใช้สีกากีขาสั้น แบบเดียวกับเครื่องแบบนักเรียน เสื้อ ใช้เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีกากี มีอินทรธนูที่บำ กระเป๋าหน้าอกสองใบมีฝาปิด ลักษณะทั่วไปเหมือนแบบนักเรียน ต้นแขนขวาติดป้ายชื่อโรงเรียน หมวก ใช้หมวกเบเรต์ทรงอ่อนสีแดงเลือดหมู ประดับเครื่องหมายลูกเสือที่ หน้าหมวก เข็มขัด ทำด้วยหนังสีนํ้าตาลไม่มีลวดลาย หัวเข็มขัดเป็นเครื่องหมายลูกเสือ ถุงเท้า ใช้ถุงเท้ายาวสีกากี พร้อมพู่แดงเลือดหมูทั้งสองข้าง รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีนํ้าตาลตามแบบรองเท้านักเรียน ผ้าผูกคอ ใช้ผ้าผูกคอสีเหลืองมีเครื่องหมายตามที่กองลูกเสือกำ หนด ป้ายชื่อ ปักด้วยสีเหลืองบนผ้าสีแดงเลือดหมู ตัวอักษรกว้างประมาณ 1 ซม. เย็บติด ที่อกเสื้อด้านขวาเหนือกระเป๋าพองาม ข้อ 9 เครื่องแบบเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เสื้อ ใช้เสื้อคอพับสีเขียวแก่แขนเสื้อเหนือศอกผ่าอก ตลอดอกเสื้อทำ เป็น สาบเสื้อกว้าง 3.5 ซม. มีกระดุมเหนือเข็มขัด 4 เม็ด อกเสื้อมีกระเป๋า ข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบกึ่งกลางตามแนวดิ่งฝารูปมนเจาะกึ่งกลาง 1 รัง อินทรธนู ปลายมน สีแดงเลือดหมูมีเครื่องหมายเนตรนารีทำ ด้วยโลหะสีทอง ปีกหมวกด้านหลังพับขึ้น ผ้าผูกคอ รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐานยาว 100 ซม. ด้านตั้งยาวด้านละ 75 ซม. สีเหลืองมีเครื่องหมาย ที่กองลูกเสือกำ หนด


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 137 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 กระโปรง สีเขียวแก่ ยาวคลุมเข่าลงไป 7 ซม. ด้านหน้าและด้านหลังพับจีบออก ด้านข้าง ข้างละ 1 จีบ เข็มขัด ใช้เข็มขัดหนังสีดำกว้างยาวไม่เกิน 3 ซม. หัวเข็มขัด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำด้วยโลหะทองมีลายดุนรูปเครื่องหมายเนตรนารี ถุงเท้า ตามแบบถุงเท้านักเรียน รองเท้า ตามแบบรองเท้านักเรียน ข้อ 10 เครื่องแบบสมาชิกยุวกาชาด (1) หมวก ทำด้วยสีกรมท่าแบบมีแก็ปข้างหน้า ตลบปีกหลังและด้านข้างขึ้นทั้ง สองข้าง ประดับเครื่องหมายยุวกาซาด (2) เสื้อ ใช้เสื้อคอพับสีฟ้าอมเทา ผ่าอกตลอดทำ เป็นสาบ มีกระเป๋าสองข้างแบบ ปิดฝากระเป๋า ด้วยกระดุมสีเดียวกับเสื้อ ตรงกลางกระเป๋า พับจีบเป็นแถบกว้างเท่ากับ สาบเสื้อ ตรงบ่าทั้งสองข้างมีอินทรธนูอกเสื้อด้านขวา ติดเข็มเครื่องหมายยุวกาชาด ต้น แขนขวาติดแถบป้ายชื่อโรงเรียน ชายเสื้ออยู่ในกระโปรง (3) ผ้าผูกคอ สีกรมท่ารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก มุมผ้าผูกคอ ด้านหลังติด เครื่องหมายยุวกาชาด (4) กระโปรง ผ้าและสีชนิดเดียวกับเสื้อ เป็นแบบ 4 ตะเข็บเข้ารูปปลายกระโปรง บานพอสมควร (5) เข็มขัด ใช้หนังสีดำ มีหัวชนิดหัวเกี่ยว ทำด้วยโลหะสีเงิน มีเครื่องหมาย ยุวกาชาด (6) รองเท้า หนังสีดำแบบเดียวกับเครื่องแบบนักเรียน ข้อ 11 เครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหารให้เป็นไปตามแบบที่โรงเรียนรักษาดินแดน กำ หนด ข้อ 12 ห้ามนักเรียนสวมใส่เครื่องประดับของมีค่ามาโรงเรียน ข้อ 13 ห้ามนักเรียนเสริมสวย ตกแต่งร่างกาย หรือใช้เครื่องสำอางใด ๆ ข้อ 14 ห้ามเจาะหู ลิ้น หรืออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ข้อ 15 ห้ามสักลวดลายลงในที่ทุกส่วนของร่างกาย ข้อ 16 กระเป๋านักเรียน นักเรียนทุกคนต้องใช้กระเป๋านักเรียนตามที่โรงเรียนกำ หนด คือ กระเป๋าเป้ของโรงเรียน ห้ามเขียนข้อความใด ๆ ที่กระเป๋า ส่วนกระเป๋าถือ (ของโรงเรียน)


138 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ไว้ใส่อุปกรณ์อื่น ๆ ที่นำ มาโรงเรียน ไม่อนุญาตให้ใช้กระเป๋าหิ้วเพียงใบเดียว ต้องถือคู่กับ กระเป๋านักเรียนเท่านั้น ข้อ 17 ห้ามนักเรียนใช้เครื่องประดับใด ๆ ตกแต่งเครื่องแบบนักเรียนและห้ามใส่ เครื่องประดับมาโรงเรียน ยกเว้นนาฬิกาที่มีลายสุภาพและสร้อยคอสำ หรับแขวนพระ ซึ่ง ต้องมีความยาวพอเก็บใส่เสื้อได้มิดชิด ข้อ 18 ห้ามใส่ต่างหู กรณีเจาะหูห้ามเจาะเกินข้างละ 1 รู และให้ใส่ก้านพลาสติกใส เท่านั้น (เฉพาะนักเรียนหญิง/นักเรียนชายห้ามเจาะ) ไม่ระเบิดหูไม่เจาะลิ้นและอวัยวะ ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ข้อ 19 ห้ามสักตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ข้อ 20 ให้รองผู้อำ นวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานบุคคล รักษาการให้เป็นไปตาม ระเบียบนี้


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 139 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ประกาศโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” เรื่อง ระเบียบว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศระเบียบว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2566 เพื่อให้เกิดความ ชัดเจนในการดำ เนินการของสถานศึกษา มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และการ ปฏิบัติตนของนักเรียนเป็นไปด้วยความถูกต้อง รวมทั้งเป็นการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ รวมทั้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบที่โรงเรียน กำ หนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการ ภาคี 4 ฝ่าย ให้ยึดถือตามหลักความเหมาะสมในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของนักเรียน อาศัยความตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 จึงกำ หนดระเบียบว่าด้วยการไว้ทรงผม ของนักเรียนดังนี้ (1) นักเรียนชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1) ให้ตัดผมแบบรองทรงสูง ด้านหน้าต้องเห็นคิ้ว ทรงผมต้องเหมาะสมกับสภาพ นักเรียนและมีความเรียบร้อย 2) ไม่ตัดผม ย้อมสีผม ไม่ใส่นํ้ามัน เจล หรืออื่นใด 3) ไม่ไว้หนวด จอน หรือเครา 4) ไม่กันผมและตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือลวดลาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถไว้ผมสั้นหรือผมยาวได้ - กรณีไว้ผมสั้น 1) ให้ตัดผมแบบรองทรงสูง ด้านหน้าต้องเห็นคิ้ว ทรงผมต้องเหมาะสมกับสภาพ นักเรียนและมีความเรียบร้อย 2) ไม่ดัดผม ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม ไม่ใส่นํ้ามัน เจล หรืออื่นใด 3) ไม่ไว้หนวด จอน หรือเครา 4) ไม่กันผมและตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือลวดลาย


140 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 - กรณีไว้ผมยาว 1) ให้ตัดผมแบบรองทรงตํ่า ผมด้านข้างและด้านหลัง ต้องยาวไม่เลยตีนผม ผมด้านหน้าต้องเห็นคิ้ว ทรงผมต้องเหมาะสมกับสภาพนักเรียนและมีความเรียบร้อย 2) ไม่ดัดผมและย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม 3) ไม่ไว้หนวด จอน หรือเครา 4) ไม่ใส่นํ้ามัน เจล หรืออื่นใด 5) ไม่กันผมและตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือลวดลาย (2) นักเรียนหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถไว้ผมสั้นหรือผมยาวได้ - กรณีไว้ผมสั้น 1) ให้ตัดเสมอกันโดยรอบ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีความยาวไม่เกินปกเสื้อ 2) ให้ติดกิ๊บสีดำ ไม่มีลวดลาย ไม่ไว้ผมปรกหน้า (หน้าม้า) ทรงผมต้องเหมาะสม กับสภาพนักเรียนและมีความเรียบร้อย 3) ไม่ดัดผมและย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม 4) ไม่ใส่นํ้ามัน เจล หรืออื่นใด 5) ไม่กันผมและตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือลวดลาย 6) ไม่ตกแต่งผมด้วยเครื่องประดับใด ๆ 7) ไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งแปลกปลอมเพื่อการเสริมสวย - กรณีไว้ผมยาว 1) ให้ผมยาวเสมอกันทั้งด้านข้างและด้านหลัง ความยาวเกินบ่าได้แต่ต้องไม่เกิน กึ่งกลางของข้อศอกและไม่ไว้ผมปรกหน้า (หน้าม้า) 2) มัดผมอยู่ระดับกลางศีรษะโดยใช้ยางรัดผมสีดำ ไม่มีลวดลาย ผูกมัดรวบผม ให้เรียบร้อยหรือถักเปีย ทรงผมต้องเหมาะสมกับสภาพนักเรียนและมีความเรียบร้อย 3) ผูกโบว์ของโรงเรียนเท่านั้น สีตามระดับชั้นที่กำ หนด (ม.1 สีขาว, ม.2 สีนํ้าเงิน, ม.3 สีนํ้าตาล) ไม่ใช้โบว์สำ เร็จรูป 4) ไม่ตัดซอย หรือสไลด์ผม ไม่ต่อผมและไม่ตกแต่งด้วยเครื่องประดับใด ๆ 5) ไม่ดัดผมและย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม 6) ไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งแปลกปลอมเพื่อการเสริมสวย


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 141 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถไว้ผมสั้นหรือผมยาวได้ - กรณีไว้ผมสั้น 1) ให้ตัดเสมอกันโดยรอบ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีความยาวไม่เกินปกเสื้อ 2) ให้ติดกิ๊บสีดำ ไม่มีลวดลาย ไม่ไว้ผมปรกหน้า (หน้าม้า) ไม่ตกแต่งผมด้วยเครื่อง ประดับใด ๆ ทรงผมต้องเหมาะสมกับสภาพนักเรียน และมีความเรียบร้อย 3) ไม่ดัดผมและย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม 4) ไม่ตัดซอย หรือสไลด์ผม ไม่ต่อผม 5) ไม่ใส่นํ้ามัน เจล หรืออื่นใด 6) ไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งแปลกปลอมเพื่อการเสริมสวย - กรณีไว้ผมยาว 1) ให้ผมยาวเสมอกันทั้งด้านข้างและด้านหลัง ความยาวเกินบ่าได้แต่ต้องไม่เกิน ปลายของข้อศอก ไม่ไว้ผมปรกหน้า (หน้าม้า) 2) มัดผมอยู่ระดับกลางศีรษะโดยใช้ยางรัดผมสีดำ ไม่มีลวดลาย ผูกมัดรวบผม ให้เรียบร้อยหรือถักเปีย ไม่ตกแต่งด้วยเครื่องประดับใด ๆ ทรงผมต้องเหมาะสมกับสภาพ นักเรียนและมีความเรียบร้อย 3) ผูกโบว์ของโรงเรียนเท่านั้น สีตามระดับชั้นที่กำ หนด (ม.4 สีขาว, ม.5 สีนํ้าเงิน, ม.6 สีนํ้าตาล) ไม่ใช้โบว์สำ เร็จรูป 4) ไม่ดัดผมและย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม 5) ไม่ตัดซอย หรือสไลด์ผม ไม่ต่อผม 6) ไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งแปลกปลอมเพื่อการเสริมสวย (3) สำ หรับนักเรียนที่มีเหตุผลความจำ เป็นในการไว้ทรงผม ให้ผู้อำ นวยการโรงเรียนเป็นผู้มีอำ นาจในการพิจารณาอนุญาต (4) นักเรียนเพศทางเลือก - กรณีเพศทางเลือกชายวิถีหญิง 1) ให้ความยาวผมไม่เกินปกเสื้อ ไม่ไว้ผมปรกหน้า (หน้าม้า) 2) มัดผมอยู่ระดับกลางศีรษะโดยใช้ยางรัดผมสีดำ ไม่มีลวดลาย ผูกมัดรวบผมให้ เรียบร้อย และไม่ถักเปีย ไม่ตกแต่งด้วยเครื่องประดับใด ๆ ทรงผมต้องเหมาะสมกับสภาพ นักเรียนและมีความเรียบร้อย 3) ผูกโบว์ของโรงเรียนเท่านั้น สีตามระดับชั้นที่กำ หนด (ม.1 สีขาว, ม.2 สีนํ้าเงิน, ม.3 สีนํ้าตาล, ม.4 สีขาว, ม.5 สีนํ้าเงิน, ม.6 สีนํ้าตาล) ไม่ใช้โบว์สำ เร็จรูป


142 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 4) ไม่ดัดผมและย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม 5) ไม่ตัดซอย หรือสไลด์ผม ไม่ต่อผม 6) ไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งแปลกปลอมเพื่อการเสริมสวย - กรณีเพศทางเลือกหญิงวิถีชาย 1) ความยาวผมด้านข้างจะต้องเปิดติ่งหู โดยมีความยาวอยู่ในระดับ 3 ใน 4 ส่วน ของใบหูและไม่ไถด้านข้าง 2) ความยาวผมด้านหลังยาวไม่เกินปกคอเสื้อ 3) ผมด้านหน้าไม่ปิดบังคิ้ว ไม่ไว้ผมปรกหน้า (หน้าม้า) 4) ไม่ตัดผมและย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม 5) ไม่ใส่นํ้ามัน เจล หรืออื่นใด 6) ไม่ตกแต่งด้วยเครื่องประดับใด ๆ 7) ไม่ใช้เครื่องสำอางหรือสิ่งแปลกปลอมเพื่อการเสริมสวย (5) การไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำ เนิด นักเรียนต้องปฏิบัติตามข้อกำ หนดดังนี้ 1) ให้ผู้ปกครองและนักเรียนยื่นใบคำขออนุญาตที่ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล 2) ผู้ปกครองและนักเรียนร่วมทำข้อตกลงกับคณะกรรมการเพื่อขออนุญาตต่อ ผู้อำ นวยการสถานศึกษา 3) เพศทางเลือกชายวิถีหญิง และเพศทางเลือกหญิงวิถีชาย เมื่อผ่านการพิจารณา แล้วให้ถือปฏิบัติตนตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด (6) หากไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวข้างต้นและผ่านการเตือนแล้วยังไม่แก้ไข จะดำ เนินการตามระเบียบและขั้นตอนของโรงเรียน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำ นวยการโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 143 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 กลุ่มบริหาร งบประมาณ โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 143


144 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ผู้ช่วยรองผู้อำ นวยการ คนที่ 1 นางกาญจนา ไชยวงษ์ 1. งานบริหารการเงิน นายถวัลย์ เลิศคมวัฒน์ 2. งานบริหารบัญชี นางสาวกันต์ชนิสร จงศรีวัฒนพร 3. งานบริหารพัสดุและสินทรัพย์ นางกาญจนา ไชยวงษ์ 4. งานระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา นางสาวนัศรีน อารยสมัย 5. งานประสานงานคณะกรรมการงานการเงิน และบัญชีสมาคมฯ นายธนพจน์ นิเวศไวกูณฐ์ 6. งานตรวจสอบภายใน นางสาวสุพัฒรา อนันตวราศิลป์ 7. งานสำ นักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ นางสาวชมพูนุท อารักษ์ 8. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย แผนภูมิโครงสร้างกลุ่มบริหารงบประมาณ โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้อำ นวยการโรงเรียน นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก รองผู้อำ นวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ นางสาวศิโรรัตน์ ชัยศิริ ผู้ช่วยรองผู้อำ นวยการ คนที่ 2 นางสาวนวพร แก้วเบี้ย 1. งานวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษา นางสาวณัฐลียา สมบูรณ์ 2. งานจัดตั้งเสนอและจัดสรรงบประมาณ นางสาวชมพูนุท อารักษ์ 3. งานนโยบายและแผนงาน นางสาวนวพร แก้วเปี้ย 4. งานตรวจสอบ ติดตามและประเมินผล และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำ เนินการ นางสาวภัคจิรา บวรธรรมรัตน์ 5. งานจัดระบบควบคุมภายในหน่วยงาน นางสาวอุมาพร พลอยจิ๋ว 6. งานประกันคุณภาพการศึกษา นางสาวประภาลักษณ์ เพียมะ 7. งานพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ นายบริบูรณ์ พรหมสว่าง 8. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย สมาคมผู้ปกครองและครูฯ สมาคมศิษย์เก่า มูลนิธิบางมดวิทยาฯ ชมรมเพื่อนครูบางมดวิทยา วัดสีสุก ชุมชน เครือข่ายผู้ปกครอง


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 145 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 กลุ่มบริหารงบประมาณ งานบริหารงบประมาณ แนวทางการดำ เนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ 2467 วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาค และ เป็นธรรมในรายการพื้นฐาน ได้แก่ ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบ นักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้นักเรียนทุกคน มีความพร้อมที่จะ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน โดยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ รายการที่ 1 ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าจัดการเรียนการสอน หมายถึง เงินงบประมาณ งบเงินอุดหนุน ประเภทเงิน อุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายการที่ 2 ค่าหนังสือเรียน โรงเรียนจะดำ เนินการจัดซื้อหนังสือเรียนทุกระดับชั้น เพื่อจัดสรรให้นักเรียนมี หนังสือใช้เรียนครบทุกคนตามงบประมาณค่าหนังสือเรียนที่ได้รับงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้ มูลค่าหนังสือต่อชุด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 808 บาท/คน/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 921 บาท/คน/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 996 บาฟ/คน/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 1,384 บาท/คน/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 1,326 บาท/คน/ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 1,164 บาท/คน/ปี


146 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 รายการที่ 3 ค่าอุปกรณ์การเรียน เรียนตามความต้องการให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละระดับชั้น โดยส่งผลต่อ คุณภาพโรงเรียนจะจ่ายเงินสดให้กับนักเรียน และ/หรือผู้ปกครอง เพื่อซื้ออุปกรณ์ การเรียนตามความต้องการให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละระดับชั้น โดยส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ สีเทียน สีนํ้า กระดาษ สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด กระเป๋านักเรียน อินเตอร์เน็ตซิมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนเป็นต้น ในอัตรา ดังนี้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 520 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 260 บาท/คน) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 520 บาท/คน/ปี (ภาคเรียนละ 260 บาท/คน) * ทั้งนี้โรงเรียนจะติดตามใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการจัดหาอุปกรณ์การเรียน จากนักเรียน หรือผู้ปกครอง และโรงเรียนจะดูแลให้นักเรียนมีอุปกรณ์การเรียนจริง หาก พบว่านักเรียนไม่มีอุปกรณ์การเรียน โดยนักเรียนหรือผู้ปกครองนำ เงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น ที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้ปกครองจะต้องคืนเงินให้กับทางราชการ รายการที่ 4 ค่าเครื่องแบบนักเรียน โรงเรียนจะจ่ายเงินสดให้กับนักเรียน และ/หรือผู้ปกครอง เพื่อซื้อเครื่องแบบ นักเรียน ประกอบด้วย เสื้อ กางเกง กระโปรง ได้ตามความต้องการ โดยดำ เนินการให้ทัน ก่อนเปิดภาคเรียน กรณีนักเรียนมีเครื่องแบบนักเรียนเพียงพอแล้ว นักเรียน และ/หรือผู้ปกครอง สามารถนำ เงินที่ได้รับไปจัดซื้อเข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า ชุดลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และชุดกีฬาที่จำ เป็นได้ ในอัตรา ดังนี้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 500 บาท/คน/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 550 บาท/คน/ปี * ทั้งนี้ โรงเรียนจะติดตามใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการจัดหาเครื่องแบบ นักเรียน จากนักเรียนหรือผู้ปกครอง และโรงเรียนจะดูแลให้นักเรียนมีเครื่องแบบนักเรียน หากพบว่านักเรียนไม่มีเครื่องแบบนักเรียน โดยนักเรียนหรือผู้ปกครองนำ เงินไปใช้จ่าย อย่างอื่นที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผู้ปกครองจะต้องคืนเงินให้กับทางราชการ


โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” 147 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 หมายเหตุ 1. รายการที่ 3 และ 4 ให้ลงลายมือชื่อรับเงินค่าอุปกรณ์การเรียน และ ค่าเครื่องแบบนักเรียน โดยเตรียมสำ เนาบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อยืนยันความ ถูกต้อง 2. เมื่อได้รับเงินไปแล้ว จะต้องนำ เงินดังกล่าวไปซื้ออุปกรณ์การเรียน และ เครื่องแบบนักเรียนให้ครบตามจำ นวนเงินที่ได้รับ และเมื่อซื้อครบแล้วให้ขอใบเสร็จ รับเงินจากร้านค้า โดยใบเสร็จรับเงินจะต้องระบุ ชื่อ-นามสุกล และโรงเรียนของนักเรียน อย่างชัดเจน รายการที่ 5 ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 1. งบประมาณค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 950 บาท/คน/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1,026 บาท/คน/ปี 2. แนวทางการดำ เนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมให้ ครอบคลุมโดยวางแผนดำ เนินการในแผนปฏิบัติการประจำ ปีของสถานศึกษา ซึ่งมี กิจกรรมหลักในการดำ เนินงานดังนี้ 2.1 กิจกรรมวิชาการ 2.2 กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด/ผู้บำ เพ็ญ ประโยชน์ 2.3 กิจกรรมทัศนศึกษา 2.4 กิจกรรมบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) 2.5 กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนทางไกล กรณีเกิดโรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติซํ้า หรือเกิดสถานการณ์ที่สถานศึกษาไม่สามารถจัดการเรียนการสอน ตามปกติได้


148 คู่มือนักเรียน และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2 5 6 7 ค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการสถานศึกษาให้เรียกเก็บจากนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเสริมสร้างสวัสดิการนักเรียน 2


Click to View FlipBook Version