The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ทำไมเยาวชนบางคนจึงก่ออาชญากรรมอุกอาจ
เหตุใดโสเภณีเม็กซิโกถึงยอมให้ลูกค้าไม่ใส่ถุงบาง
ทำไมคนเราจึงกล้าเสี่ยงเล่นพนัน
เหตุใดการเหยียดสีผิวยังคงมีอยู่แม้ในปัจจุบัน
แม้อาจเข้าใจยาก ทุกการกระทำของมนุษย์ย่อมมีเหตุผล
หากคุณเข้าใจเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
เชิญดำดิ่งลงไปในความซับซ้อนของมนุษย์ ด้วยแว่นเศรษฐศาสตร์อ่านง่าย ที่จะทำให้พฤติกรรมอันน่าฉงนเหล่านี้ดูมีเหตุมีผลอย่างไม่น่าเชื่อ
ผลงานชิ้นเอกของ ทิม ฮาร์ฟอร์ด นักเศรษฐศาสตร์มือฉมัง เจ้าของคอลัมน์ใน Financial Times และพอดแคสต์ที่มีคนติดงอมแงมหลายล้านคน และผู้เขียนเบสต์เซลเลอร์อย่าง The Undercover Economist, Adapt และ The Data Detective

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Saltread, 2024-03-11 02:27:09

ทดลองอ่าน เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต (The Logic of Life)

ทำไมเยาวชนบางคนจึงก่ออาชญากรรมอุกอาจ
เหตุใดโสเภณีเม็กซิโกถึงยอมให้ลูกค้าไม่ใส่ถุงบาง
ทำไมคนเราจึงกล้าเสี่ยงเล่นพนัน
เหตุใดการเหยียดสีผิวยังคงมีอยู่แม้ในปัจจุบัน
แม้อาจเข้าใจยาก ทุกการกระทำของมนุษย์ย่อมมีเหตุผล
หากคุณเข้าใจเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
เชิญดำดิ่งลงไปในความซับซ้อนของมนุษย์ ด้วยแว่นเศรษฐศาสตร์อ่านง่าย ที่จะทำให้พฤติกรรมอันน่าฉงนเหล่านี้ดูมีเหตุมีผลอย่างไม่น่าเชื่อ
ผลงานชิ้นเอกของ ทิม ฮาร์ฟอร์ด นักเศรษฐศาสตร์มือฉมัง เจ้าของคอลัมน์ใน Financial Times และพอดแคสต์ที่มีคนติดงอมแงมหลายล้านคน และผู้เขียนเบสต์เซลเลอร์อย่าง The Undercover Economist, Adapt และ The Data Detective

Keywords: เศรษฐศาสตร์

TIM HARFORD เขียน สฤณี อาชวานันทกุล แปล เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต The Logic of Life


เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต สฤณี อาชวานันทกุล THE LOGIC OF LIFE TIM HARFORD พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ openworlds, พฤษภาคม 2556 ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ Salt, กุมภาพันธ์ 2567 ราคา 390 บาท ISBN 978-616-8266-44-1 คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ โตมร ศุขปรีชา ทีปกร วุฒิพิทยามงคล สฤณี อาชวานันทกุล สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ แอลสิทธิ์ เวอร์การา สุธรรม ธรรมรงค์วิทย์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ศุภกิจ อิศดิศัย บรรณาธิการเล่ม ปัญญลักษณ์ มณีงาม ไพค์ ออกแบบปก รัชชานนท์ บุ้งศรีทอง รูปเล่ม สุปราณี อภัยแสน พิสูจน์อักษร นินนารา จัดท�ำโดย บริษัท ซอลท์ พับลิชชิ่ง จ�ำกัด เลขที่ 63/168 ห้อง 534 ซอยวิภาวดี 16 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 E-mail: [email protected] Facebook: www.facebook.com/saltread Twitter: www.twitter.com/SaltRead Website: https://salt.co.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED อาคารอินเตอร์ลิงค์ ทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2826 8000 โทรสาร 0 2826 8999 Website: https://www.se-ed.com/


ส�ำหรับหน่วยงานรัฐ องค์กร สถาบันการศึกษา หรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือเป็นจ�ำนวนมาก สามารถสั่งซื้อได้ในราคาลดพิเศษ ติดต่อสั่งซื้อได้ที่หมายเลข 099 342 0558 หรือ E-mail: [email protected] ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ฮาร์ฟอร์ด, ทิม. เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต.-- กรุงเทพฯ : ซอลท์, 2567. 344 หน้า. 1. เศรษฐศาสตร์. I. สฤณี อาชวานันทกุล, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 330 ISBN 978-616-8266-44-1 THE LOGIC OF LIFE by Tim Harford Copyright © Tim Harford, 2008 This edition arranged with Felicity Bryan Associates Ltd. through Andrew Nurnberg Associates International Limited Thai language translation copyright © 2024 by Salt Publishing Co., Ltd. ALL RIGHTS RESERVED.


แด่ เอเดรียน และ แอฟริกา ผู้จะได้นั่งรถเข็นเป็นคนถัดไป


บทนำ 1 แนะนำตรรกะของชีวิต 15 2 ลาสเวกัส 55 3 คนประเมินการหย่าร้างตํ่าไปหรือเปล่า 97 4 เหตุผลที่นายของคุณได้ค่าตอบแทนมากเกินไป 133 5 ในละแวกบ้าน 163 6 อันตรายของการเหยียดผิวที่มีเหตุมีผล 191 7 โลกแห่งการกระจุกตัว 217 8 การปฏิวัติที่มีเหตุมีผล 251 9 หนึ่งล้านปีของตรรกะ 277 กิตติกรรมประกาศ 307 บันทึกท้ายเล่ม 310 เกี่ยวกับผู้เขียน 338 เกี่ยวกับผู้แปล 339 รู้จักกับ SALT 340 สารบัญ


บทน�ำ เมื่อเช้านี้ผมจับลูกสาววัย 2 ขวบคาดเข็มขัดใส่รถเข็นพาไปที่ชมรมศิลปะ สำหรับเด็กเล็กในศูนย์ชุมชนแถวบ้านเรา ย่านแฮ็กนีย์ที่เราอยู่นั้น ดูไม่ค่อยมีระเบียบเท่าไรนัก นักวางผังเมืองอาจจะเลิกคิ้วถ้าเห็นลานของ ช่างซ่อมรถที่เต็มไปด้วยรถพังๆ สุดปลายบ้านมีระเบียงที่เรียงต่อกันเป็น แถวยาว นักสังคมวิทยาอาจจะชี้ให้คุณดูร้านรับแทงพนันและอาบอบนวด หรือกองอาเจียนที่แห้งเกรอะกรังในรางนาํ้นอกบาร์ในชุมชนเรา นักเขียน นิยายอาจจะอ้อยอิ่งอย่างครุ่นคิดหน้าดอกไม้เฉาๆ กองหนึ่งที่ถูกฟอกขาว และแห้งกรอบในแดดจ้าของเดือนมิถุนายน ผู้คนวางพิงดอกไม้กองนี้ อย่างเศร้าสร้อยบนกำแพงของไนต์คลับแสนอื้อฉาวเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ชายหนุ่มคนหนึ่งที่เพิ่งถูกยิงตายเมื่อไม่นานมานี้ แต่ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์คุณอาจคิดว่าผมมัวแต่คิดเรื่องอื่นอยู่ อย่างเรื่องตลาดหุ้นหรือตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ แต่ถ้าคุณคิดอย่างนั้นจริงๆ คุณก็เข้าใจผิดแล้ว ผมสังเกตเห็นนักพนันและโสเภณีนักดื่มและอันธพาล ผมแค่มองเห็นพวกเขาในมุมที่แตกต่างออกไป นักเศรษฐศาสตร์มองหา ตรรกะที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังชีวิตเสมอ ชีวิตที่ประกอบด้วยการตัดสินใจบน เหตุผลจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนที่คนมองไม่เห็น บางครั้งการตัดสินใจที่มีเหตุ มีผลเหล่านี้ก็ทำให้ชีวิตดีขึ้น บางครั้งมันก็ทำให้แย่ลง แต่ถ้าเราอยากจะ เข้าใจโลกของเราหรือวิธีเปลี่ยนแปลงโลก การทำความเข้าใจการตัดสินใจ ที่มีเหตุมีผลที่ประกอบกันเป็นชีวิตของเรานั้น ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี การไปให้ถึงจุดหมายของเราแปลว่าลูกและผมต้องข้ามถนนที่มี การจราจรหนาแน่น เรื่องนี้ยากกว่าที่ควรจะเป็นไปมากเพราะไฟจราจร


10 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ที่กำกับการจราจรตรงสามแยกให้วิ่งได้อย่างราบรื่นนั้นไม่ได้ให้เวลาเรา มากพอที่จะข้ามได้และก็ไม่มีไฟสัญญาณสำหรับคนเดินถนนด้วย ผมรีบ จํ้าอ้าวไปที่เกาะกลางถนน หมุนรถเข็นลูกเพื่อลากมันจากด้านหลัง เดิน ไปหยุดหน้ารถเมล์สองชั้น มองข้ามเลนที่สองออกไปเพื่อหาโอกาสวิ่งข้าม ถนนไปฝั่งโน้น การข้ามถนนที่อันตรายเช่นนี้เป็นผลจากความล้มเหลวทางการเมือง ในย่านสโตกนิววิงตันอันอู้ฟู่ที่อยู่ห่างออกไปเพียง 1 ไมล์มีทางม้าลายที่ เพิ่งทาสีเสร็จหมาดๆ ถึง 3 แห่งบนถนนสายหลักถึงแม้ว่าการข้ามถนน สายนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ทั้ง 2 ย่านอยู่ภายใต้รัฐบาลท้องถิ่นเดียวกัน แล้ว อะไรทำให้มันแตกต่างกันล่ะ ถ้าผมไม่พยายามหาแรงจูงใจที่เป็นเหตุ เป็นผลภายใต้พื้นผิว ผมก็อาจจะบ่นอุบอิบว่าเขตที่มีคนรวยผิวขาวอยู่เยอะ สามารถใช้เส้นสายหาเพื่อนในรัฐบาลได้อย่างง่ายดาย หรือถ้าผมมีอคติ ทางการเมืองอีกแบบ ผมก็อาจจะบ่นว่าคนจนไร้ความสามารถและโง่เขลา แต่มุมมองทั้งสองนี้ตื้นเขินเหมือนกับ “ปัญญาสาธารณะ” ส่วนใหญ่ ของวันนี้วิธีคิดของนักเศรษฐศาสตร์เสนอคำตอบที่อยู่ลึกกว่านั้น คนที่ อยู่บนถนนเชิร์ชในย่านสโตกนิววิงตันโดยทั่วไปเป็นเจ้าของบ้านที่ตัวเอง อยู่และวางแผนที่จะอยู่ในละแวกนั้นไปอีกนาน ดังนั้นจึงได้ประโยชน์มาก จากการปรับปรุงละแวกนั้น อิทธิพลทางการเมืองในสโตกนิววิงตันแข็งแรง กว่าเพียงเพราะคนที่อยู่ในย่านนั้นมีแรงจูงใจมากกว่าที่จะมีส่วนร่วมทาง การเมือง ในทางกลับกัน ย่านที่ผมอยู่มักจะมีคนย้ายเข้าย้ายออกตลอด เวลา ดังนั้นสำหรับหลายๆ คนที่นี่ การเรียกร้องให้รัฐสร้างทางม้าลาย จะเป็นการเสียเวลากับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อทั้ง เจ้าของบ้านเช่าที่ไม่ได้อยู่เองและต่อผู้เช่าที่ไม่ได้ตั้งใจจะอยู่นาน นี่เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของคำตอบที่ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างในหัวผม อย่างเกียจคร้านขณะที่เข็นรถลูกผ่านร้านหัวมุมถนนและร้านทำเล็บ แต่ส่วนเสี้ยวนี้ก็ช่วยนักปฏิรูปได้มากกว่าการนั่งก่นด่าความอยุติธรรม


บทนำ� 11 ของชีวิตเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าจะให้คุณเชื่อแบบนี้จริงๆ ผมหวังว่าคุณ จะอยากเห็นการคิดเอาเองน้อยลงและใช้พยานหลักฐานมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์พันธุ์ใหม่กำลังรวบรวมพยานหลักฐานทำนองนี้ กันอยู่ ตลอดจนปอกเปลือกความซับซ้อนและเผยโฉมความจริงอัน น่าประหลาดใจ เพื่อนบ้านของผมและผมสนใจแค่ไหนกับการใช้ชีวิต อยู่กับทางข้ามแยกที่อันตราย การยิงกันในไนต์คลับ และบาร์ที่นักเลง ชอบหาเรื่องกัน เราหาคำตอบจากเพื่อนบ้านไม่ได้เพราะพวกเขาจะกล่าว เกินจริง (อย่างมีเหตุมีผล) แต่ต้องไปถามนายหน้าขายบ้านแทน นัก เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ใช้หลักการที่ดูง่ายอย่างเหลือเชื่อนี้และได้ผลลัพธ์ อันน่าทึ่ง ยกตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับการ ล่วงละเมิดทางเพศกับแผนที่ราคาบ้านในละแวกเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ พบว่าเมื่อคนใคร่เด็กย้ายเข้ามาอยู่ บ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับเขาก็ราคาตกลง แต่ตกลงเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ ราคาบ้านเป็นเครื่องมือที่นักเศรษฐศาสตร์ใช้ค้นหาความจริงได้ เหมือนกับฮีโร่ในหนังสายลับที่พ่นสเปรย์ละอองฝอยให้มองเห็นเครือข่าย เลเซอร์รักษาความปลอดภัยที่ซ่อนอยู่ ฮีโร่ในหนังใช้สเปรย์ก็จริง แต่ สิ่งสำคัญจริงๆ สำหรับเขาคือเลเซอร์ในทำนองเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับราคา แต่สิ่งที่เขาสนใจจริงๆ คือสิ่งที่เราตัดสินใจทำ และคุณค่าที่เรามองว่าสำคัญ คุณค่าเหล่านั้นมักจะถูกปิดบังอำพราง คุณ จะยอมรับกับทางการหรือเปล่าว่าความโกรธแค้นของคุณที่เห็นคนใคร่ เด็กย้ายเข้ามาอยู่ตรงหัวมุมถนนนั้นจะบรรเทาเบาบางลงถ้าคุณได้ผ่อนบ้าน ถูกลง ข้อเท็จจริงที่ว่าคนบางคน อาทินักศึกษาหรือคู่ครองที่ไม่มีลูกจะ ทำการแลกเปลี่ยนแบบนี้จริงๆ เป็นปัจจัยพื้นฐานของแนวความคิดว่าด้วย ความมีเหตุมีผล (rationality) ที่ผมจะสำรวจในหนังสือเล่มนี้เราไม่ค่อย เห็นใครอภิปรายเรื่องการแลกเปลี่ยนทำนองนี้โดยเฉพาะในวงสนทนาของ


12 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต สุภาพชน การตัดสินใจแลกเปลี่ยนนั้นอาจเกิดขึ้นโดยที่คนทำไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ตราบใดที่มันเกิดขึ้น กรอบความคิดที่ว่าคนตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล ก็ช่วยให้เราเข้าใจโลก ข้อเสนอของหนังสือเล่มนี้คือ ประการแรก พฤติกรรมที่มีเหตุมีผล นั้นแพร่หลายกว่าที่คุณคาดคิดและเกิดขึ้นในพื้นที่ที่อยู่เหนือความ คาดคิดมากที่สุด รวมทั้งในหัวของวัยรุ่นที่หมกมุ่นเรื่องเซ็กซ์มากเกินไป และประการที่สอง ศรัทธาของนักเศรษฐศาสตร์ในความมีเหตุมีผล (ผม คิดว่า “ศรัทธา” คือคำที่ถูกต้อง) นั้นนำมาซึ่งความเข้าใจที่แท้จริง อันที่จริง ผมเชื่อว่าถ้าคุณไม่เข้าใจการตัดสินใจแบบมีเหตุมีผลที่เป็นพื้นฐานของ พฤติกรรมของเราหลายเรื่อง คุณก็ไม่อาจเข้าใจโลกที่เราอาศัยอยู่ได้เลย คนติดยาเสพติดและนักจี้ปล้นวัยรุ่นอาจมีเหตุมีผล ชานเมืองที่ ขยายออกไปรอบนอกและความเสื่อมโทรมของใจกลางเมืองมีเหตุมีผลแน่ๆ แล้วการประชุมที่ไร้ที่สิ้นสุดในออฟฟิศและความอยุติธรรมอันร้ายกาจใน ชีวิตคนทำงานล่ะ มีเหตุมีผลเหมือนกัน “ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุมีผล” ผลิตภาพถ่ายเอกซเรย์ของชีวิตมนุษย์เมื่ออยู่ในมือของนักเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีนี้ก็เหมือนกับเอกซเรย์ตรงที่มันไม่ได้บอกเราทุกอย่าง และภาพที่ เห็นก็ไม่จำเป็นต้องสวยงามด้วย แต่มันบอกอะไรบางอย่างที่สำคัญและ เป็นบางอย่างที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน เมื่อถึงจุดหมาย ลูกสาวของผมก็บิดตัวออกจากรถเข็นของเธอ วิ่งไปจุ่มมือในสีโปสเตอร์สีฟ้าใส ผมนั่งตรงมุมห้อง ครุ่นคิดถึงเหตุผลที่ สมเหตุสมผลที่ในบรรดาพ่อแม่ 31 คนที่พาลูกมาที่นี่ มีเพียง 2 คนที่เป็น พ่อ เราจะพูดถึงเหตุผลเหล่านั้นในบทที่ 3 ลูกสาวผมขัดจังหวะการใช้ ความคิดของผมโดยรบเร้าว่าอยากกินขนม เราก็เลยแบ่งขนมปังบิสกิต ยี่ห้อการิบัลดิกัน แล้วผมก็จูงมือเธอขณะที่เธอปีนบันไดและสไลด์ลงมา จากกระดานลื่นหลายรอบ ผมช่วยเธอกระเด้งกระดอนบนเตียงผ้าใบ เสร็จ แล้วเราก็แปะรูปจรวดและนักบินอวกาศที่เรืองแสงในความมืดลงบน


บทนำ� 13 จานกระดาษก่อนที่จะโรยผงระยิบระยับสีนํ้าเงินกลบ ไม่นานเจ้าตัวเล็ก ก็หันหน้ามาทางผม ยื่นจมูกจิ๋วๆ ให้ผมจูบแบบเอสกิโม มันเป็นช่วงเวลา ครึ่งชั่วโมงที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีอะไรที่ไร้เหตุผลเกี่ยวกับความรัก ว่ากันตามจริงแล้ว ถ้าเรา ไม่มีความเร่าร้อนและหลักการต่างๆ แรงจูงใจที่เราจะตัดสินใจเรื่องอะไร ก็ตามอย่างมีเหตุมีผลจะมาจากไหนกันล่ะ ดังนั้นโลกที่เศรษฐศาสตร์ อธิบายได้จึงไม่ใช่โลกที่ปราศจากความรัก ความเกลียด หรืออารมณ์อื่นๆ แต่เป็นโลกที่เราคาดหวังให้คนทั่วไปตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล และเป็นโลก ที่การตัดสินใจเหล่านั้นเสนอคำอธิบายความลับหลายประการของชีวิตได้ อย่างน่าทึ่ง นี่คือโลกที่ผมอยากจะแสดงให้คุณเห็น


สตูดิโอฮาร์โป ชิคาโก “ผู้ปกครองทั้งหลาย เตรียมตัวเตรียมใจให้ดี” นี่คือประโยคเปิดที่โอปราห์ วินฟรีย์แนะนำข่าวที่น่าตกตะลึงเรื่องออรัลเซ็กซ์ระบาดในหมู่วัยรุ่นแก่ ผู้ชมชาวอเมริกัน ส่วนเคทลิน ฟลานาแกน เขียนในนิตยสาร Atlantic ว่า “บรรดาแม่ๆ ในกลุ่มของฉันเชื่อ พวกเธอแน่ใจ รู้ว่ามันคือความจริง ว่าทั่วทั้งเมือง ในโรงเรียนที่ดีที่สุด ในครอบครัวที่ดีที่สุด ในถิ่นที่ร่มรื่น ที่สุด เด็กผู้หญิงอายุสิบสองสิบสามกำลังมีเซ็กซ์ทางปากกับเด็กผู้ชาย จำนวนมากที่สุดเท่าที่พวกเธอจะทำได้” ฟลานาแกนพูดติดตลก แต่เธอ ไม่ได้กำลังหัวเราะจริงๆ หรอก เธอเชื่อมั่นว่าแม่ๆ พวกนั้นควรจะกลัว และว่ากันตามจริงแล้ว “การระบาดของโรคอมนกเขา” ในอเมริกาก็เป็น ที่กล่าวถึงแล้วทุกแห่ง ตั้งแต่ในสารคดีของสถานีพีบีเอสไปจนถึงบท บรรณาธิการในหนังสือพิมพ์New York Times บางครั้งก็ด้วยความ หวาดกลัวแบบงุนงงแกมถาํ้มองเล็กน้อย บ้างก็พยายามยืนยันอย่างใจเย็น ว่าโรคระบาดนี้เป็นเพียงเรื่องแต่งเท่านั้น 1 แนะนำตรรกะของชีวิต เศรษฐศาสตร์ของเซ็กซ์ อาชญากรรม  และมินนีเมาส์


16 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ที่เรียกว่าโรคระบาดนี้มักจะถูกอธิบายอย่าง เกินเลยไปบ้าง แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องแต่งแน่ๆ งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ของ นักวิจัยแห่งศูนย์การแพทย์จอนส์ฮอปกินส์เบย์วิว ในเมืองบอลทิมอร์ พบว่าระหว่างปี1994-2004 คนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 12 ถึง 24 ปี มีแนวโน้มที่จะรายงานว่าพวกเขาเพิ่งมีออรัลเซ็กซ์เมื่อไม่นานมานี้ สูงกว่าเดิม 2 เท่า (อัตราส่วนนี้ในหมู่เด็กชายเพิ่มจาก 16 เปอร์เซ็นต์เป็น 32 เปอร์เซ็นต์ส่วนในกลุ่มเด็กสาวเพิ่มจาก 14 เปอร์เซ็นต์เป็น 38 เปอร์เซ็นต์) หลักฐานแวดล้อมจากผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าตัวเลขที่แท้จริงอาจ สูงกว่านี้อีก ผมไปขอความรู้จากศาสตราจารย์โจนาทาน เซนิลแมน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคติดต่อทางเพศที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์เขาบอก ว่าในปี1990 ผู้หญิงประมาณครึ่งหนึ่งและผู้ชายประมาณหนึ่งในสี่ของคน ที่ไปหาเขาที่คลินิก (ทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่) บอกว่ามีออรัลเซ็กซ์กับคู่นอน บ้างเป็นบางครั้ง เขาเชื่อว่าตอนนี้ออรัลเซ็กซ์แพร่หลายกว่าตอนนั้นมาก “อัตราส่วนน่าจะอยู่ที่ 75-80 เปอร์เซ็นต์” และในขณะที่การ “อมนกเขา” คือสิ่งที่ทำให้คนแตกตื่นอย่างที่ควรจะเป็น ตอนนี้เด็กหญิงและเด็กชาย ก็มีออรัลเซ็กซ์ในสัดส่วนที่ทัดเทียมกันมากกว่าในปี1990 “โรคระบาด” อาจเป็นศัพท์ที่รุนแรงเกินไป แต่ออรัลเซ็กซ์ตอนนี้ก็เป็นแฟชั่นอย่าง แน่นอน คำถามที่ดูเหมือนจะมีน้อยคนถามคือ “ทำไม” ศีลธรรมของเด็กๆ เสื่อมลงจริงๆ หรือว่าพวกเขาเพียงแค่กำลังทำตัวฉลาด การอมนกเขา ที่มีเหตุมีผลนั้นเกิดขึ้นไม่ได้เลยหรือ ผมจะอธิบายว่า “ความมีเหตุมีผล” แปลว่าอะไรอย่างละเอียดต่อไป ในบทนี้หลังจากที่เรารับมือกับวัยรุ่นบ้ากามพวกนี้แล้ว แต่ความคิด พื้นฐานของคำคำนี้ไม่ซับซ้อนเลย นั่นคือคนที่มีเหตุมีผลตอบสนองต่อ การแลกเปลี่ยนและแรงจูงใจ เมื่อต้นทุนหรือประโยชน์ของอะไรสักอย่าง เปลี่ยนไป คนก็เปลี่ยนพฤติกรรมตาม คนที่มีเหตุมีผลคิดถึงอนาคตพอๆ


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 17 กับที่คิดถึงปัจจุบันเวลาที่พวกเขาพยายามคาดเดาผลพวงของการกระทำ ในโลกอันไม่แน่นอน ซึ่งบางครั้งก็คิดอย่างไม่รู้ตัวด้วย เมื่อมีนิยามของ “ความมีเหตุมีผล” ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เราก็ถาม ได้ว่าต้นทุน ประโยชน์และผลพวงที่น่าจะเกิดขึ้นของการอมนกเขาคือ อะไร โอเค บางทีประโยชน์อาจจะชัดเจนเกินกว่าที่จะอธิบาย โดยเฉพาะ ประโยชน์สำหรับคนที่ได้รับมัน แต่ก็น่าจะชัดเจนด้วยว่าต้นทุนของสิ่งที่ ใกล้เคียงกับออรัลเซ็กซ์ที่สุดก็เพิ่มขึ้นเหมือนกัน กล่าวคือเซ็กซ์ธรรมดามี ต้นทุนสูงกว่าที่มันเคยมีเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ เชื้อเอชไอวีนั้นติดต่อกันได้ทางเซ็กซ์ธรรมดาง่ายกว่าทางออรัลเซ็กซ์ วัยรุ่นหลายคนรู้ข้อเท็จจริงข้อนี้ดีหนึ่งในงานวิจัยเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียน สรุปว่าวัยรุ่นอเมริกันมีแนวโน้มที่จะได้รับการสอนเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี/ โรคเอดส์สูงกว่าวิธีป้องกันการตั้งครรภ์นอกจากนี้วัยรุ่นยังรู้เรื่องโรคติดต่อ ทางเพศอื่นๆ เช่น หนองใน ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็นหมัน ได้ถ้าติดต่อทางเซ็กซ์ธรรมดา แต่ถ้าติดต่อทางออรัลเซ็กซ์จะมีอาการที่ อ่อนกว่านั้นมาก เช่น เจ็บคอ ดังนั้นโดยสรุป ออรัลเซ็กซ์จึงมีต้นทุน ตํ่ากว่าเซ็กซ์ธรรมดามาก ถ้าวัยรุ่นหญิงคิดถึงต้นทุนและประโยชน์เหล่านี้จริงๆ ก่อนที่จะอม นกเขาให้แฟนผู้ชาย นี่ก็เป็นเหตุผลตรงไปตรงมาที่อธิบายว่าทำไมออรัล เซ็กซ์ถึงได้รับความนิยมสูงขึ้น เนื่องจากเซ็กซ์ธรรมดามีความเสี่ยงสูงกว่า เมื่อก่อน และในเมื่อวัยรุ่นไม่น่าจะอยากเลิกมีเซ็กซ์ที่เหลือก็เป็น เศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานเท่านั้น เมื่อโค้กขึ้นราคา คนที่มีเหตุมีผลก็หันไป ดื่มเป๊ปซี่มากขึ้น เมื่อราคาห้องพักในเมืองสูงขึ้น คนที่มีเหตุมีผลก็ย้ายออก ไปอยู่ชานเมือง และเมื่อราคาของเซ็กซ์ปกติสูงขึ้น วัยรุ่นที่มีเหตุมีผลก็มี ออรัลเซ็กซ์กันมากกว่าเดิม แน่นอนว่าหลักฐานที่เรามีบ่งชี้ว่าวัยรุ่นกำลังหันไปหาพฤติกรรม ทางเพศที่มีความเสี่ยงน้อยลง รายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค


18 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต แห่งสหรัฐอเมริกาชี้ว่า ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 วัยรุ่นหญิงพรหมจารีมี จำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 15 เปอร์เซ็นต์แน่นอนว่ามีวัยรุ่นหลายล้านคนที่ยัง ไม่เลิกคิดเรื่องเซ็กซ์แต่ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 พวกเขาหันไปใช้วิธี คุมกำเนิดที่จะป้องกันพวกเขาจากโรคติดต่อทางเพศด้วย อัตราการใช้ ยาคุมกำเนิดลดลงกว่าหนึ่งในห้าเท่า แต่อัตราการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้น กว่าหนึ่งในสามเท่า บางทีโอปราห์อาจไม่ต้องวิตกขนาดนั้น ออรัลเซ็กซ์ไม่ใช่เครื่อง บ่งชี้ว่าวัยรุ่นสำส่อนมากกว่าเดิม อันที่จริงมันเป็นสัญญาณที่ชี้ว่าวัยรุ่น กำลังทำตัวอย่างรับผิดชอบมากขึ้นด้วยการเลือกมีเซ็กซ์ในแบบที่มีความ เสี่ยงน้อยกว่า ด้วยความกระตือรือร้นและมีเหตุมีผล ทั้งหมดนี้อาจเป็นเรื่องน่ารักหรือน่าหวาดผวาแล้วแต่รสนิยมของ คุณ แต่มันก็เป็นคำอธิบายที่ฟังดูง่ายเกินไป ก่อนที่จะอ้างว่าออรัลเซ็กซ์ ได้รับความนิยมมากกว่าเพราะวัยรุ่นที่มีเหตุมีผลรู้ดีว่าเซ็กซ์ธรรมดานั้น มีความเสี่ยงสูงกว่า นักเศรษฐศาสตร์ตัวจริงจะต้องตั้งสมมุติฐานที่รัดกุม กว่านี้และหาข้อมูลสนับสนุนที่จริงจังกว่านี้ นักเศรษฐศาสตร์ตัวจริงคนนั้นอาจเป็นทอมัส สตรัตแมนน์ผู้ระบุ ความมีเหตุมีผลของเซ็กซ์ในวัยรุ่นอย่างค่อนข้างแม่นยำ ด้วยงานวิจัยที่ เขาศึกษาร่วมกับอาจารย์กฎหมายชื่อโจนาทาน คลิก วัยรุ่นที่มีเหตุมีผล จะมีเซ็กซ์ความเสี่ยงสูงน้อยลงถ้าเซ็กซ์ความเสี่ยงสูงนั้นมีต้นทุนสูงขึ้น ดังนั้นคำถามคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัยรุ่นทำอย่างนั้นจริงๆ หรือเปล่า  ซึ่งแปลว่าเราต้องหาแหล่งที่มาของต้นทุนส่วนเพิ่มที่วัดได้อย่างชัดเจน อะไรสักอย่างที่วัดเป็นตัวเลขได้มากกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของการศึกษา เกี่ยวกับโรคเอดส์ รัฐธรรมนูญอเมริกันช่วยเราได้ตามสมควร เพราะกำหนดโครงสร้าง ที่ยอมให้แต่ละรัฐออกกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งของวัยรุ่นได้บางรัฐ ยอมให้วัยรุ่นทำแท้งได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบหรือให้ผู้ปกครอง


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 19 อนุญาตก่อน บางรัฐก็ไม่ให้กฎหมายเหล่านี้เป็นฟืนชั้นดีที่สุมไฟแห่ง การถกเถียงทางการเมือง แต่ก็เป็นพื้นที่ให้นักวิจัยทำการทดลองด้วย เนื่องจากกฎหมายแจ้งการทำแท้งทำให้วัยรุ่นทำแท้งได้ยากกว่าผู้ใหญ่ กฎหมายนี้จึงน่าจะทำให้วัยรุ่นอยากมีเซ็กซ์ที่ความเสี่ยงสูงน้อยกว่าผู้ใหญ่ ถ้าพวกวัยรุ่นนั้นมีเหตุมีผลจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเห็นว่ากฎหมายแจ้งการทำแท้งเพิ่มต้นทุนของ การตั้งครรภ์อย่างน้อยก็สำหรับวัยรุ่นที่อยากยุติการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ โดยไม่ต้องบอกพ่อแม่ถ้าพวกเขาเลือกได้ถ้าวัยรุ่นมองไปข้างหน้าและคิด แบบนี้ได้พวกเขาก็ควรจะหาวิธีป้องกันการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ ซึ่งวิธี เหล่านั้นก็น่าจะรวมถึงการใช้ถุงยางอนามัยมากขึ้นหรือไม่ก็ไม่มีเซ็กซ์กัน เลย นอกจากจะทำออรัลเซ็กซ์ เซ็กซ์ไม่ใช่กิจกรรมที่คนวางแผนกันอย่างละเอียดล่วงหน้า ดังนั้น การมองการณ์ไกลในระดับนั้นอาจฟังดูเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แต่คลิกและ สตรัตแมนน์พบหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ากฎหมายแจ้งการทำแท้งลดความ อยากมีเซ็กซ์ที่มีความเสี่ยงสูงของวัยรุ่นลงจริงๆ พวกเขาวิเคราะห์สถิติ จากคลินิกสุขภาพทางเพศและพบว่าเมื่อไรและที่ไหนก็ตามที่มีการออก กฎหมายแจ้งการทำแท้ง อัตราการเกิดโรคหนองในก็เริ่มลดลงในกลุ่ม ประชากรวัยรุ่นเทียบกับประชากรผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่นอกเหนือ ขอบเขตของกฎหมายนี้เหตุผลชุดเดียวที่น่าจะอธิบายสถิตินี้ได้คือ กฎหมายแจ้งการทำแท้งเพิ่มความเสี่ยงของเซ็กซ์แบบไม่ป้องกันอย่างมาก และวัยรุ่นก็ตอบสนองต่อความเสี่ยงที่สูงขึ้นนั้นอย่างมีเหตุมีผล ด้วยเหตุนี้เซ็กซ์จึงมีต้นทุน ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเอดส์ประกอบ กับเพศศึกษาที่สอนเรื่องนี้อย่างเข้มข้นน่าจะส่งเสริมให้วัยรุ่นเปลี่ยนไป ใช้ทางเลือกที่มีต้นทุนตํ่ากว่า นั่นคือออรัลเซ็กซ์ความเสี่ยงที่วัยรุ่นสาว ที่ไม่ระวังตัวหรือโชคร้ายจะต้องไปบอกพ่อหรือแม่ว่าพวกเธอท้องโดย ไม่ตั้งใจก็เหมือนกัน


20 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต นักเศรษฐศาสตร์หนุ่มชื่อแอนดรูว์ฟรานซิส ไปไกลกว่านั้นอีก เขาตั้งคำถามว่าถ้าออรัลเซ็กซ์เป็น “สินค้าทดแทน” ของเซ็กซ์ธรรมดา  ก็น่าจะเป็นไปได้มิใช่หรือที่เซ็กซ์ระหว่างหญิง-ชายจะเป็นสินค้าทดแทน เซ็กซ์ของคนรักร่วมเพศได้อัตราการเกิดโรคเอดส์ที่สูงขึ้นทำให้การ มีเซ็กซ์กับผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าสมัยก่อน ทำให้รักร่วมเพศเป็น เรื่องอันตรายขึ้นสำหรับผู้ชายและรักระหว่างเพศอันตรายขึ้นสำหรับ ผู้หญิง ถ้าคนมองว่าต้นทุนของเพศวิถีแบบใดแบบหนึ่งสูงขึ้นกว่าเดิม เรา ก็น่าจะคาดว่าคนที่มีเหตุมีผลจะตอบสนองต่อเรื่องนี้มิใช่หรือ ฟรานซิสพบความเป็นไปได้ระหว่างที่งมแบบสำรวจจากต้น ทศวรรษ 1990 ที่ถามคนเกือบ 3,500 คนด้วยคำถามส่วนตัวเกี่ยวกับ พฤติกรรมทางเพศและประวัติการมีเพศสัมพันธ์แบบสำรวจนั้นถามด้วย ว่าพวกเขารู้จักใครที่เป็นโรคเอดส์หรือไม่ ฟรานซิสพุ่งความสนใจไปยัง ผู้ตอบแบบสำรวจที่มีญาติเป็นโรคเอดส์เพราะคุณเลือกเพื่อนได้แต่เลือก ญาติไม่ได้ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหรือมีประโยชน์อันใดถ้าจะพบว่าผู้ชาย ที่เป็นเกย์รู้จักคนที่เป็นโรคเอดส์มากกว่าผู้ชายที่ไม่เป็นเกย์ ฟรานซิสพบว่าทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่มีญาติเป็นเอดส์นั้นมีแนวโน้ม ที่จะมีเซ็กซ์กับผู้ชายน้อยกว่า และมีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะบอกว่าพวกเขา รู้สึกดึงดูดทางเพศกับผู้ชาย ตอนแรกการค้นพบข้อนี้ดูเหมือนจะไม่มี เหตุผลเท่าไรนักเพราะญาติผู้โชคร้ายมีแนวโน้มสูงว่าจะเป็นเกย์ชาย แต่ ทฤษฎีพันธุกรรมชี้ว่าคนที่มีญาติเป็นเกย์มีแนวโน้มว่าจะเป็นเกย์มากกว่า  ไม่ใช่น้อยกว่า แล้วฟรานซิสก็ระลึกได้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น “พระเจ้าช่วย! พวกเขากลัวเป็นเอดส์!” เขาเล่าให้สตีเฟน ดับเนอร์และสตีเวน เลวิตต์ ฟังในบทความในนิตยสาร New York Times Magazine ความเข้าใจข้อนี้อธิบายได้ทุกอย่าง คนที่มีญาติเป็นเอดส์น่าจะ ตระหนักในความเลวร้ายของโรคนี้มากกว่าคนที่ไม่มีญาติเป็นโรคเอดส์ โดยเฉพาะในต้นทศวรรษ 1990 ตอนที่ยังไม่ค่อยมีวิธีดูแลรักษาผู้ป่วย


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 21 โรคเอดส์และโรคนี้ก็คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากภายใน 2 ปีแล้วไงต่อล่ะ ผู้ชายที่มีญาติเป็นเอดส์มีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะบอกว่าพวกเขาชอบความ คิดเกี่ยวกับการมีเซ็กซ์กับชายด้วยกัน ในทำนองเดียวกัน ผู้หญิงที่มีญาติ เป็นเอดส์ก็ดูจะไม่ค่อยชอบความคิดนี้เท่าไร เพราะพวกเขามีแนวโน้มที่ จะตอบว่าเป็นเลสเบี้ยนหรือไบเซ็กชวลสูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีญาติเป็นเอดส์ ทั้งชายและหญิงที่ตระหนักดีในอันตรายของโรคเอดส์ล้วนทำตัวออกห่าง จากวิธีที่เห็นได้ชัดเจนว่าอาจทำให้ติดโรคนี้ ฟรานซิสพบข้อเท็จจริงที่น่าแปลกใจอีก 2 ข้อในข้อมูลที่เขาใช้ สนับสนุนคำอธิบายเรื่องนี้เมื่อคนที่มีญาติเป็นเอดส์หลีกเลี่ยงการมีเซ็กซ์ กับผู้ชาย ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ก่อนหน้านั้น [หมายถึงก่อนจะรู้ว่าญาติ เป็นโรคเอดส์—ผู้แปล] ของพวกเขาไม่ได้สะท้อนพฤติกรรมนี้เลย ในอดีต พวกเขามีแนวโน้มที่จะมีเซ็กซ์กับผู้ชาย แต่เมื่อตระหนักถึงความเสี่ยงแล้ว ก็หยุด ยิ่งไปกว่านั้นคนที่มีญาติเป็นเอดส์มีแนวโน้มที่จะมีออรัลเซ็กซ์ สูงกว่าและมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคซิฟิลิสตํ่ากว่า ซึ่งบ่งชี้ว่าประสบการณ์ ที่ได้ใกล้ชิดกับโรคเอดส์ของพวกเขาช่วยกระตุ้นให้มีเซ็กซ์อย่างปลอดภัย มากขึ้น ข้อเท็จจริงที่แปลกที่สุดคือ ไม่มีผู้ชายคนไหนในแบบสำรวจในกลุ่ม ที่มีญาติเป็นเอดส์เรียกตัวเองว่าเกย์หรือบอกว่าสนใจจะมีเซ็กซ์กับผู้ชาย แต่พวกเขากลับมีแนวโน้มที่จะมีเซ็กซ์ทางทวารหนักกับผู้หญิงสูงกว่า ผู้ชายอีกกลุ่มที่บอกว่าตัวเองชอบเพศตรงข้าม บางทีแค่บางทีชายที่ อยากมีเซ็กซ์กับผู้ชายด้วยกันอาจจะตัดสินใจว่าการร่วมเพศทางทวาร หนักกับผู้หญิงเป็นทางเลือกที่ดูมีเหตุมีผลและปลอดภัยกว่า ที่คุณเพิ่งอ่านไปนั้นคือบทแนะนำเศรษฐศาสตร์ของออรัลเซ็กซ์ การทำแท้งก่อนวัยอันควร เอดส์และรักร่วมเพศ คำถามที่น่าถาม ณ จุดนี้คือ นักเศรษฐศาสตร์มายุ่งอะไรกับเรื่องพรรค์นี้


22 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต นักเศรษฐศาสตร์พันธุ์ใหม่กำลังค้นพบอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับเซ็กซ์อาชญากรรม การพนัน สงคราม การแต่งงาน สลัม การเหยียดผิว การเมือง และ ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในรอบ 1 ล้านปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ เหล่านี้กำลังใช้สมมุติฐานเรื่องพฤติกรรมที่มีเหตุมีผลของคนเราเป็นวิธี มุ่งเน้นไปที่อะไรบางอย่างที่สำคัญเกี่ยวกับประเด็นอันซับซ้อนและซ่อน เงื่อนเหล่านี้กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่าสาขาจิตวิทยา ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา และวิธีอื่นๆ ที่เราอาจใช้ในการทำความเข้าใจกับโลกนั้น ไร้ความหมาย แต่ในเมื่อเราไม่สามารถประยุกต์ใช้สาขาเหล่านี้พร้อมกัน ได้ทั้งหมด เราก็ต้องแปลงโจทย์ให้ง่ายขึ้น นักเศรษฐศาสตร์หวังว่าวิธีทำ โลกให้ง่ายกว่าความเป็นจริงจะส่งมอบความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากกว่าที่จะ ทำลายมัน แต่คุณจะเชื่อพวกเขาทำไมและทำไมคุณถึงควรจะฟังสิ่งที่ผม จะพูดเกี่ยวกับพวกเขา คำตอบข้อแรกคือเพราะมันอาจเป็นประโยชน์สมมุติฐานที่ว่า คนเรามีเหตุมีผลนั้นนำเราไปสู่ทฤษฎีที่ชัดเจนและทดสอบได้เกี่ยวกับวิธี ที่โลกทำงาน มันอาจช่วยให้เราปอกเปลือกชั้นที่สลับซับซ้อนของปัญหา ที่ดูเหมือนจะไม่มีทางแก้เช่น ความเสื่อมโทรมในตัวเมืองชั้นใน และนำ เราไปสู่หนทางแก้ไขที่เป็นไปได้ถ้าบางพื้นที่มีอัตราการก่ออาชญากรรม สูง ทฤษฎีการเลือกที่มีเหตุมีผลก็บอกเราว่าอาชญากรต้องมีกำไรดี ในบริเวณนั้น เราจึงต้องหาวิธีเพิ่มต้นทุนหรือลดประโยชน์จากการก่อ อาชญากรรมลง ถ้าวัยรุ่นในเมืองไม่มีคุณวุฒิเพียงพอ ทฤษฎีการเลือก ที่มีเหตุมีผลก็บอกว่าพวกเขาต้องเชื่อว่าการได้รับคุณวุฒินั้นมีประโยชน์ น้อยกว่าต้นทุนที่ต้องเสียไป เราจึงต้องหาว่าพวกเขาคิดถูกหรือเปล่าและ ดูว่าเราจะเปลี่ยนแรงจูงใจของพวกเขาได้ไหม ฯลฯ มุมมองโลกที่ย่อส่วน ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจนั้นอาจจะช่วยเราได้แม้ในกรณีที่มันถูกย่อ จนง่ายเกินไป เพราะความง่ายช่วยให้คุณมองเห็นนัยที่คาดไม่ถึงของ ความคิดของคุณได้อย่างง่ายดายกว่าเดิม ค้นพบความไม่สอดคล้องลงรอย


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 23 ในมุมมองต่อโลกของคุณ และทดสอบความคิดของคุณกับพยานหลักฐาน ในโลกใบจริง แน่นอน การผลิตทฤษฎีที่ชัดเจนและทดสอบได้คงไม่มีประโยชน์ เท่าไรถ้าทฤษฎีเหล่านั้นผิดตลอด แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ศรัทธาของ นักเศรษฐศาสตร์ต่อความมีเหตุมีผลของมนุษย์มักค่อนข้างจะถูกต้อง ผม ไม่ได้กำลังอ้างว่าผู้คนมีเหตุมีผลทุกเวลาและทุกที่นะครับ เพราะเดี๋ยว เราจะเห็นกรณีที่มันไม่เป็นเช่นนั้น แต่ผมหวังว่าจะโน้มน้าวคุณผู้อ่านให้ เชื่อว่าคนมีเหตุมีผลเพียงพอที่จะทำให้สมมุติฐานเรื่องการเลือกอย่างมีเหตุ มีผลนั้นเป็นสมมุติฐานที่มีประโยชน์มาก อีกสักครู่ในบทเดียวกันนี้ผมจะ แจกแจงว่ามันมีประโยชน์สำหรับอะไร ทฤษฎีการเลือกที่มีเหตุมีผลไม่ได้เป็นแค่ทฤษฎีที่มีประโยชน์ เท่านั้น แต่มันยังสนุกด้วย เศรษฐศาสตร์ใหม่เกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ เซ็กซ์และอาชญากรรม การเหยียดผิวและการเมืองในสำนักงาน นำเสนอ มุมมองที่ไม่คาดคิด ตรงข้ามกับสัญชาตญาณของเราและละเมิดปัญญา สาธารณะอย่างน่าตื่นเต้น นักเศรษฐศาสตร์ผู้อยู่เบื้องหลังความคิด นอกคอกเหล่านี้ก็มักจะเป็นคนที่น่าสนใจด้วย เราจะพบกับพวกเขาได้ ตลอดหนังสือเล่มนี้ ในส่วนที่เหลือของบทนี้ผมตั้งใจจะขยายความแนวคิดเรื่องความ มีเหตุมีผลด้วยการยกตัวอย่างอีกบางกรณีตั้งแต่การสะสมไพ่นักกีฬา ไปจนถึงโสเภณีในเม็กซิโก แต่ก่อนที่ผมจะไปถึงตรงนั้น ตอนนี้คือเวลา ที่ผมจะอธิบายว่าผมหมายถึงอะไรและไม่ได้หมายถึงอะไรเวลาพูดถึง พฤติกรรมที่มีเหตุมีผล และเหตุใดแนวคิดนี้จึงมักจะเป็นประเด็นร้อนที่คน โต้แย้งกันมาก ก่อนอื่นขอเตือนความจำเกี่ยวกับนิยามของความมีเหตุมีผลที่ผม อธิบายไปแล้วก่อนหน้านี้คนที่มีเหตุมีผลตอบสนองต่อแรงจูงใจ กล่าวคือ เมื่อการกระทำใดๆ มีต้นทุนสูงขึ้น พวกเขาก็มีแนวโน้มจะทำสิ่งนั้นน้อยลง


24 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต เมื่อการกระทำนั้นง่ายกว่าเดิม ถูกกว่าเดิม หรือมีประโยชน์กว่าเดิม พวกเขาก็มีแนวโน้มจะทำสิ่งนั้นมากขึ้น ในการชั่งนํ้าหนักระหว่าง ทางเลือกต่างๆ คนที่มีเหตุมีผลจะคำนึงถึงข้อจำกัดโดยรวมที่พวกเขา ต้องเผชิญด้วย กล่าวคือไม่ได้คิดแค่ต้นทุนหรือประโยชน์ของทางเลือก แต่ละทาง แต่คิดถึงงบประมาณรวมที่ตัวเองมีด้วย และพวกเขาก็จะคำนึง ถึงผลลัพธ์ในอนาคตของทางเลือกแต่ละทางในปัจจุบัน นิยามของผมมี เพียงเท่านี้(จริงอยู่ที่บางทีนักเศรษฐศาสตร์ก็ใช้คำว่า มีเหตุมีผล ในเชิง ที่ครอบคลุมความหมายมากกว่านี้แต่ความแตกต่างทางเทคนิคเหล่านั้น ไม่สำคัญต่อเป้าหมายของเราในที่นี้) นิยามนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่ประเด็นร้อนเวลาผมวาดมันเป็นภาพ ขาวดำแบบง่ายๆ มันเป็นเรื่องที่ชัดเจนมากและต้องเป็นจริงอย่างแน่นอน ถ้ารถโตโยต้าแพงขึ้น คุณก็จะซื้อรถฮอนด้าแทน (คนตอบสนองต่อ แรงจูงใจ) ถ้าคุณมีรายได้มากขึ้น คุณก็ไปถอยเฟอร์รารี่ (คนคำนึงถึง งบประมาณ) คุณรู้ดีว่าวันหนึ่งจะต้องชำระคืนเงินที่กู้มาซื้อเฟอร์รารี่คันนั้น (คนตระหนักถึงผลลัพธ์ในอนาคต) เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่แทบจะดาษดื่น ธรรมดามาก แต่ถ้ามันธรรมดาจริงๆ เหตุใดนักเศรษฐศาสตร์บางคนที่เรา จะรู้จักในหนังสือเล่มนี้ถึงได้กระพือพายุคำประณามหลายลูกโดยใช้เหตุผล ที่ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานเหล่านี้ ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนระลึกได้ว่านักเศรษฐศาสตร์ ไม่ได้จำกัดขอบเขตวิธีวิเคราะห์ของพวกเขากับแค่ธุรกรรมทางการเงิน ที่ตรงไปตรงมาอย่างการซื้อรถยนต์ต้นทุนไม่ใช่เรื่องของเงินเพียง อย่างเดียว ต้นทุนของเซ็กซ์รวมถึงความเสี่ยงที่จะเป็นเอดส์และความ เสี่ยงที่จะตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ ถ้าต้นทุนนี้สูงขึ้น คุณก็น่าจะเลือกมีเซ็กซ์ แบบที่ปลอดภัยกว่าเดิม “งบประมาณ” ไม่ได้หมายถึงเงินสดในบัญชี ธนาคารของคุณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเวลา พลังงาน พรสวรรค์และความ ตั้งใจของคุณ และทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้กำหนดแค่ยี่ห้อและรุ่นของรถที่คุณ


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 25 เลือกใช้แต่กำหนดว่าคุณจะมีคู่ครองแบบไหนด้วย คุณคำนึงถึงต้นทุน ของการติดบุหรี่ในอนาคตพอๆ กับยอดเงินกู้ที่จะต้องชำระคืน เวลาที่ผม ยกข้อเสนอทำนองนี้คือเวลาที่คุณอาจจะหยุดรู้สึกว่าคำกล่าวที่ว่า “คน มีเหตุมีผล” ที่ผมพูดนั้นไม่ใช่เรื่องธรรมดาดาดๆ แต่อาจจะอันตรายนิดๆ ด้วยซํ้า ถ้าคุณเคยอ่านข้อครหาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มาก่อน คุณอาจจะเริ่มรู้สึก กลัวว่าคุณกำลังอ่านหนังสือเกี่ยวกับตัวละครผู้มีชื่อเสียงในแง่ลบชื่อ โฮโม  เอโคโนมิคัส หรือ “สัตว์เศรษฐกิจ” เขาเป็นตัวแทนของคนที่มักจะถูกมอง ว่าเป็นสมมุติฐานที่นักเศรษฐศาสตร์ตั้งขึ้นมาเกี่ยวกับผู้คน สัตว์เศรษฐกิจ ไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์อย่างความรัก มิตรภาพ นาํ้ใจ หรือ แม้แต่ความอิจฉา ความเกลียดชัง หรือความโกรธ เขารู้จักแค่ความ เห็นแก่ตัวและความโลภเท่านั้น เขารู้จักความรู้สึกนึกคิดของตัวเองดี ไม่เคยตัดสินใจผิดพลาด และมีเจตจำนงไร้ขีดจำกัด เขาสามารถคำนวณ สมการทางการเงินที่ซับซ้อนมากๆ ได้เร็วปานสายฟ้าแลบและไม่มีวันพลาด สัตว์เศรษฐกิจคือคนประเภทที่สามารถบีบคอยายแท้ๆ ของตัวเองเพื่อ แย่งเงิน 1 ปอนด์ได้แน่นอนว่านั่นอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการเสียเวลา ของเขาไม่ได้มีต้นทุนมากกว่า 1 ปอนด์ สัตว์เศรษฐกิจมีความโลภระดับผู้บริหารบริษัทเอ็นรอน ใช้ตรรกะ หลักแหลมไร้ความรู้สึกระดับมิสเตอร์สป็อกแห่งทีวีซีรีส์ชื่อดังเรื่อง Star Trek และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์เท่ากับเก้าอี้นวม ไม่มีใครเชิญเขา ไปงานปาร์ตี้และผมก็ไม่ได้เชิญเขามาในหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน เพราะ เวลาผมพูดถึง “คนมีเหตุมีผล” ขอให้คุณเชื่อเถอะว่าผมไม่ได้หมายถึงสัตว์ เศรษฐกิจ ที่ทางของสัตว์ประหลาดพันธุ์นี้ในเศรษฐศาสตร์มีประวัติศาสตร์ แห่งการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนอันยาวนาน ปีเตอร์ดรักเกอร์เขียนเรื่อง The End of Economy Man ตั้งแต่ปี1939 และข้อวิพากษ์หลายประการ


26 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ก็ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อประยุกต์สมมุติฐานข้อนี้ไปใช้ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ มหภาคและทฤษฎีการเงิน เป็นเรื่องจริงที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนตั้งสมมุติ- ฐานที่ไม่สะท้อนโลกแห่งความจริงว่า คนธรรมดาคำนึงถึงปฏิสัมพันธ์อัน สลับซับซ้อนระหว่างตัวแปรอย่างอัตราเงินเฟ้อกับประมาณการค่าใช้จ่าย ของภาครัฐในการตัดสินใจว่าจะไปเรียกร้องให้นายขึ้นเงินเดือนให้หรือจะ ไปซื้อตู้เย็นใหม่ดีหรือเปล่า โชคดีสำหรับทั้งคุณและผมที่นั่นไม่ใช่เนื้อหา ของหนังสือเล่มนี้ แต่เนื่องจากสัตว์เศรษฐกิจเป็นสมมุติฐานหลักที่อยู่เบื้องหลัง ข้อวิพากษ์ของนักเศรษฐศาสตร์หลายเรื่อง และอยู่เบื้องหลังทฤษฎีการ เลือกอย่างมีเหตุมีผลด้วย ผมจึงต้องอธิบายก่อนว่าภาพคนอย่างหยาบนี้ แตกต่างจากความหมายเวลาผมพูดถึง “คนมีเหตุมีผล” อย่างไรบ้าง ข้อแรก ผมไม่คิดว่าคนทุกคนคิดถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวหรือ หมกมุ่นกับเงินเพียงอย่างเดียว อารมณ์ความรู้สึกธรรมดาก็เป็นแรงจูงใจ ของคนด้วย เช่น ความกลัวว่าจะเป็นเอดส์หรือถูกพ่อแม่ดุด่าดังที่เรา ได้เห็นแล้ว หรือความรักโรแมนติกหรือการเหยียดผิวดังที่เราจะเห็นต่อไป แรงจูงใจเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องของเงินและอาจไม่ใช่เรื่องเห็นแก่ตัวเสมอไป แต่การตอบสนองของเราต่อแรงจูงใจนั้นเป็นสิ่งที่มีเหตุมีผล พฤติกรรม ของวัยรุ่นทุกคนเตือนสติคุณได้ว่าเรื่องของหัวใจต้องใช้การวางแผน การ คำนวณ และกลยุทธ์ไม่น้อยไปกว่าเรื่องของกระเป๋าสตางค์ดังนั้น จริงอยู่ ที่คุณคลั่งไคล้เจ้าหนุ่มคนนั้นเอามากๆ แต่ถ้าคุณไม่คลั่งเขา คุณก็คง ไม่วางแผนหามุกฉลาดๆ ทั้งหลายที่จะมัดใจเขาหรอก ข้อสอง ผมไม่คิดว่าเราใช้สมองคิดคำนวณอย่างรู้ตัวตลอดเวลา เหมือนกับมิสเตอร์สป็อก เราคำนวณประโยชน์และต้นทุนอย่างซับซ้อน เวลาเราประพฤติตนอย่างมีเหตุมีผล แต่เรามักจะทำแบบนั้นโดยไม่รู้ตัว เหมือนกับเวลามีใครโยนลูกบอลให้เรารับ เราไม่รับรู้ว่าสมองของเรา แก้สมการเชิงอนุพันธ์อย่างไรเพื่อหาจุดที่ลูกบอลจะตก คนเราส่วนใหญ่


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 27 แก้สมการที่เกี่ยวกับการรับลูกบอลไม่เป็นถ้าคุณเอาปากกากับกระดาษมา ให้เขียน แต่แล้วสมองของเราก็แก้สมการเหล่านั้นในจิตใต้สำนึกของเรา  การคำนวณที่อยู่เบื้องหลังการวิเคราะห์ประโยชน์และต้นทุนอย่างมีเหตุ มีผลก็เหมือนกัน สัตว์เศรษฐกิจอาจคำนวณตัวเลขดอกเบี้ยรายเดือนที่เขา จะสูญเสียถ้าถอนเงินฝากบางส่วนออกไปซื้อตู้เย็นทันทีหรืออาจประเมิน ความเสี่ยงของการมีเซ็กซ์ที่ไม่ป้องกัน คนธรรมดาๆ ที่อยู่ในหนังสือ เล่มนี้ไม่ได้ทำอย่างนั้น แต่พวกเขาก็ไม่ได้ละเลยต้นทุนแบบนี้ทั้งหมดหรือ ทำตัวเหมือนเดิมเมื่อต้นทุนเปลี่ยนไป ข้อสาม ผมไม่คิดว่าเราทุกคนหยั่งรู้เหตุการณ์ทุกอย่างหรือควบคุม ตัวเองได้อย่างสมบูรณ์แบบ สัตว์เศรษฐกิจไม่เคยรู้สึกเสียดายเวลาสั่ง ของหวาน เพราะเขาได้ชั่งนํ้าหนักอย่างเที่ยงตรงแล้วระหว่างรสอร่อย ของลิ้นที่อยู่เพียงชั่วคราวกับผลกระทบที่น่าจะเกิดต่อรอบเอวของตัวเอง แต่ในโลกแห่งความจริง ความสามารถของเราในการคำนวณ การคาดการณ์ ล่วงหน้า และการมองเห็นทางออกจากกับดักการรับรู้นั้นมีขีดจำกัดอย่าง ชัดเจน เช่นเดียวกับเจตจำนงของเรา เพราะเราตั้งปณิธานแล้วเราก็ละเมิด มัน ผมจะสำรวจความเปราะบางเหล่านี้ในบทต่อไป แต่ผมก็ยืนกรานว่า เรามักจะแขวนป้าย “ไร้เหตุผล” ให้กับพฤติกรรมมนุษย์อย่างรวดเร็ว เกินไป ลองนึกถึงกรณีของหวาน คุณรู้ว่ามันไม่ดีสำหรับคุณแต่มีรสชาติ อร่อย ถ้าคุณเข้าถึงการรักษาพยาบาลชั้นสูงได้ข้อเท็จจริงที่ว่าของหวาน ไม่ดีสำหรับคุณก็น่ากังวลน้อยลง งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่ทำอย่าง ละเอียดถี่ถ้วนบางชิ้นบอกว่าทุกวันนี้เราอ้วนขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะเราตระหนัก อย่างมีเหตุมีผลว่าเราอ้วนได้อย่างปลอดภัยกว่าในสมัยก่อน และการ ออกกำลังกายก็เป็นเรื่องยากเย็นกว่าแต่ก่อนเช่นกัน ในทางกลับกัน ตอนนี้เรารู้เรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการ สูบบุหรี่มากขึ้น และความก้าวหน้าทางการแพทย์ก็ไม่ได้ลดความเสี่ยง เหล่านี้ลงเท่าไรนัก ผลที่เกิดขึ้นคืออัตราการสูบบุหรี่ลดลงฮวบฮาบจาก


28 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ในอดีต บางทีทัศนคติของเราต่อบุหรี่และของหวานอาจมีเหตุมีผลมากกว่า ในตอนแรกที่เรามองอย่างผิวเผิน  แต่ท้ายที่สุดแล้ว ประเด็นที่ว่าเรามีเหตุ มีผลแค่ไหนคือคำถามที่จะต้องตอบด้วยงานวิจัย ไม่ใช่ด้วยการนั่งคิด ทฤษฎีอยู่บนเก้าอี้ตลอดหนังสือเล่มนี้ผมจะหยิบยกหลักฐานเกี่ยวกับ ความสามารถของเราในการคาดการณ์อนาคตและใช้เหตุผลกับอดีต ผม จะพบหลักฐานของความผิดพลาด แต่ก็จะพบหลักฐานของการใช้เหตุผล อย่างจัดเจนต่อโลกในกลุ่มคนที่ดูไร้เดียงสาเช่นกัน ข้อสี่ ผมไม่เถียงว่ามนุษย์เรามีนิสัยและจุดอ่อนที่ไร้เหตุผลมากมาย ต่างจากสัตว์เศรษฐกิจผู้ไม่เคยผิดพลาด [ในจินตภาพของนักเศรษฐศาสตร์ —ผู้แปล] ลองคิดถึงพฤติกรรมที่ดูเหมือนแอนดรูว์ฟรานซิส จะค้นพบ ก็ได้เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่จะพบหลักฐานว่ารสนิยมทางเพศของคนนั้น ตอบสนองต่อแรงจูงใจ แต่นั่นคือพฤติกรรมที่มีเหตุมีผลชนิดที่แปลกและ เฉพาะทาง เพราะการมีญาติเป็นเอดส์ไม่ได้เพิ่มแนวโน้มที่คนคนนั้นจะ เป็นเอดส์ไปด้วย กล่าวคือต้นทุนและประโยชน์ของเซ็กซ์แบบไม่ป้องกัน ยังเหมือนเดิม มีแต่มุมมองต่อต้นทุนและประโยชน์เท่านั้นที่เปลี่ยนไป เมื่อชายเกย์มีปฏิกิริยาต่อความทุกข์ของญาติที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ด้วยการ เปลี่ยนไปมีเซ็กซ์กับผู้หญิง ก็แปลว่าปฏิกิริยาของเขา “โอเวอร์” เกินไป หรือไม่อย่างนั้นปฏิกิริยาในอดีตก่อนที่เขาจะรับรู้ประสบการณ์การป่วย เป็นโรคนี้อย่างใกล้ชิดก็ถือว่าเป็นการประเมินความเสี่ยงที่ตํ่าเกินไป ปฏิกิริยาของเขาทางใดทางหนึ่งคือความผิดพลาด นี่ไม่ใช่ตัวอย่างของ ความมีเหตุมีผลที่สมบูรณ์แบบแน่ๆ นั่นแปลว่าทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุมีผลนั้นไร้ประโยชน์พอๆ กับ ทฤษฎีที่ว่าโลกแบนหรือเปล่า ไม่ใช่หรอก มันเหมือนกับทฤษฎีที่ว่าโลก เป็นทรงกลมสมบูรณ์แบบมากกว่า โลกนี้ไม่ได้เป็นทรงกลมสมบูรณ์แบบ เพราะใครก็ตามที่เคยปีนเขาเอเวอเรสต์จะบอกคุณได้แต่มันก็เกือบจะเป็น ทรงกลม และการสมมุติว่าโลกเป็นทรงกลมเพื่อให้เข้าใจง่ายก็เพียงพอ


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 29 ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์หลายเรื่อง ผมยืนยันไปแล้วว่ามนุษย์เรานั้นฉลาด แต่ผมก็ยอมรับด้วยว่าเราทำ ผิดพลาดเหมือนกัน งานในห้องทดลองของนักจิตวิทยาและ “นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” ผลิตข้อพิสูจน์เรื่องนี้มากมาย หนึ่งในตัวอย่างที่โด่งดัง ที่สุดคือการค้นพบของแดเนียล คาห์เนมาน และเอมอส ทเวอร์สกี การทดลองของพวกเขาชี้ให้เห็นว่าทางเลือกที่คนตัดสินใจเลือกขึ้นอยู่ กับกรอบที่นำเสนอทางเลือกเหล่านั้น (แม้จะเป็นนักจิตวิทยา คาห์เนมาน ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี2002 ถ้าทเวอร์สกีไม่ล่วงลับ ไปก่อนหน้านั้นไม่กี่ปีเขาก็จะเป็นผู้รับรางวัลร่วมเช่นกัน) คาห์เนมานและทเวอร์สกีเสนอทางเลือกต่อไปนี้ให้กับคนกลุ่มหนึ่ง ที่พวกเขาทำการทดลองด้วย: ลองจินตนาการว่าสหรัฐอเมริกากำลังเตรียมตัวรับมือกับโรค ประหลาดจากทวีปเอเชียที่คาดว่าจะคร่าชีวิตคน 600 คน มีผู้เสนอวิธีแก้ไข 2 แนวทาง สมมุติว่าผลลัพธ์ของทั้ง 2 แนวทางนี้สามารถคำนวณออกมาได้อย่างเที่ยงตรงตาม หลักวิทยาศาสตร์ดังต่อไปนี้: ถ้าเลือกแนวทาง ก. จะมีผู้รอดชีวิต 200 คน ถ้าเลือกแนวทาง ข. จะมีโอกาส 1/3 ที่จะมีผู้รอด ชีวิต 600 คน และโอกาส 2/3 ที่จะไม่มีใครรอด ชีวิตเลย คุณจะเลือกแนวทางใดระหว่าง ก. กับ ข. นักวิจัยทั้งสองเกริ่นแบบเดียวกันกับผู้เข้าร่วมการทดลองกลุ่ม ที่สอง แล้วก็เสนอทางเลือกต่อไปนี้:


30 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ถ้าเลือกแนวทาง ค. จะมีผู้เสียชีวิต 400 คน ถ้าเลือกแนวทาง ง. จะมีโอกาส 1/3 ที่จะไม่มีใคร เสียชีวิต และโอกาส 2/3 ที่จะมีผู้เสียชีวิต 600 คน คุณจะเลือกแนวทางใดระหว่าง ค. กับ ง. จริงๆ แล้วทางเลือกระหว่าง ก. กับ ข. เหมือนกันกับทางเลือกระหว่าง ค. กับ ง. เรามองเห็นข้อเท็จจริงนี้ได้ไม่ยากถ้าเอา 2 แนวทางในแต่ละชุดมา วางคู่กัน แต่แล้วประเด็นที่ว่าคนจะเลือกแนวทางใดนั้นขึ้นอยู่กับว่ามันถูก อธิบายอย่างไร คนส่วนใหญ่ในการทดลองอยากช่วยชีวิตคนหนึ่งในสาม จากโรคร้ายได้อย่างแน่นอน (แนวทาง ก.) แทนที่จะเสี่ยงเพื่อช่วยชีวิต ทุกคน (แนวทาง ข.) แต่พอเปลี่ยนวิธีการนำเสนอ สิ่งที่คนตัดสินใจก็ เปลี่ยนไปด้วย กล่าวคือคนส่วนใหญ่จะยอมรับความเสี่ยงสองในสามที่คน ทุกคนจะตาย (แนวทาง ง.) แทนที่จะยอมรับความแน่นอนว่าคนสอง ในสามจากจำนวนทั้งหมดจะตาย (แนวทาง ค.) ชัดเจนว่าการตัดสินใจ กลับข้างแบบนี้เป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลเพราะต้นทุนและประโยชน์ของ แนวทางทั้งสองในแต่ละชุดไม่ได้เปลี่ยนไป เปลี่ยนแต่การตัดสินใจของคน เท่านั้น คาห์เนมาน ทเวอร์สกีและคนอื่นๆ ได้ผลิตตัวอย่างอีกมากมาย ในห้องทดลองที่พิสูจน์อย่างชัดเจนว่าพฤติกรรมของคนในสถานการณ์ เหล่านั้นไร้เหตุผล ซึ่งบทพิสูจน์มักจะปรากฏเมื่อนักทดลองแสดงให้เห็น ว่ากลุ่มคนในห้องทดลองนั้นตัดสินใจอย่างไม่สอดคล้องกัน การค้นพบเหล่านี้บอกอะไรเราบ้าง ผมคิดว่าเราควรมองมันด้วย ความนับถือและความระมัดระวัง หนังสือเล่มนี้จะอ้างถึงการทดลองใน ห้องทดลองบ่อยครั้ง แต่เราไม่สามารถลากเส้นต่อจุดผลการทดลองไปสู่ โลกจริงได้จนกว่าเราจะมั่นใจว่าเงื่อนไขของการทดลองซึ่งเป็นสิ่งที่ถูก กำหนดได้ง่ายนั้นคล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่เราพบเจอในชีวิตจริง นี่เป็น


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 31 เรื่องที่ไม่แน่นอนเท่าไรนัก ดังที่จอห์น ลิสต์ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ ชาวอเมริกันค้นพบ ลิสต์วิเคราะห์การค้นพบในห้องทดลองเกี่ยวกับความ ไร้เหตุผลบางกรณีอย่างละเอียด และพบว่าพฤติกรรมที่มีเหตุมีผลนั้นอยู่ ไม่ลึกลงไปจากผิวหน้าเท่าไรนัก อุบายของเขาคือพยายามทำการทดลองให้ใกล้เคียงกับชีวิตจริง มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมา ตอนที่เขายังเด็ก ครอบครัวของลิสต์มีฐานะไม่ค่อยดีเขาจึงต้องตัดหญ้าและโกยหิมะแลก กับค่าจ้าง 1 ดอลลาร์ตรงโน้นตรงนี้ซึ่งเขาเก็บหอมรอมริบเอาไปซื้อ ไพ่สะสมรูปนักกีฬา เขาส่งเสียตัวเองจนจบปริญญาด้วยการแลกไพ่ใน คอลเล็กชันของตัวเองกับคนอื่น และเก็บเกี่ยวความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า คนมีพฤติกรรมอย่างไรเวลาได้รับข้อเสนอทางการค้า “ผมเป็นพ่อค้าไพ่ นักกีฬาประมาณ 5 หรือ 10 ปีจนจบปริญญาโท” ลิสต์หวนนึกถึงความหลัง “เมื่อมองย้อนกลับไป จริงๆ แล้วผมทำการทดลองภาคสนามตลอดเวลา โดยไม่รู้ตัว สุดท้ายผมก็ระลึกได้ว่าสามารถใช้ไพ่นักกีฬาเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิจัยของผมได้” ระหว่างที่เขาสอนวิชาบริหารธุรกิจระดับปริญญาโทให้กับผู้บริหาร ระดับกลางของบริษัทดิสนีย์ลิสต์ได้ยินมาว่ามีงานแลกเข็มกลัดขนาดใหญ่ ที่เอ็ปคอตเซ็นเตอร์ในวอลต์ดิสนีย์เวิลด์เขาหว่านล้อมนักศึกษาให้ขาย เข็มกลัดมิกกีเมาส์กับมินนีเมาส์ให้เขาในราคาเลหลัง เข็มกลัดบางแบบ ทำขึ้นฉลองวันวาเลนไทน์หรือวันนักบุญแพทริก เสร็จแล้วลิสต์ก็ไปออก ร้านที่ดูธรรมดาๆ ที่เอ็ปคอตเซ็นเตอร์เหมือนกับที่เขาเคยทำสมัยที่ยัง สะสมไพ่นักกีฬาตอนเรียนปริญญาโท นี่เป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะนำการ ทดลองทางเศรษฐศาสตร์ออกจากห้องทดลองไปสู่ “ภาคสนาม” ในโลก แห่งความจริง ลิสต์พยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมไร้เหตุผลเรื่องหนึ่งที่ นักเศรษฐศาสตร์คนอื่นค้นพบในห้องทดลอง นั่นคือการค้นพบที่ว่าผู้คน


32 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ให้มูลค่ากับสิ่งของต่างๆ มากกว่าเดิมอย่างกะทันหันเพียงเพราะว่าได้ ครอบครองเป็นเจ้าของมัน พวกเขาจะไม่แลกมันกับอย่างอื่นกระทั่งใน กรณีที่ตรรกะเสนอว่าควรทำอย่างนั้น นักเศรษฐศาสตร์เรียกปรากฏการณ์ นี้ว่า “ผลจากความเป็นเจ้าของ” คุณอาจพบพฤติกรรมนี้ในตัวเองเหมือนกัน ลองคิดว่าคุณเป็น เจ้าของขวดเหล้าองุ่นที่มูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่คุณจะไม่มีวันออกไปซื้อ เหล้ามูลค่า 40 ปอนด์เท่ากับขวดนี้มา ถึงแม้ว่าคุณจะขายมันบนเว็บไซต์ อีเบย์ในราคานี้ได้ก็ตาม เหล้าองุ่นขวดนี้เป็นของคุณ และถึงแม้ว่าคุณจะ ไม่สนใจซื้อมันในราคา 40 ปอนด์คุณเองก็ไม่ยินดีที่จะขายมันในราคานี้ เช่นเดียวกัน นี่ไม่ใช่พฤติกรรมที่มีเหตุมีผล เพราะถ้าคุณมีเหตุมีผล คุณ จะอยากได้เหล้าองุ่นมากกว่าหรืออยากได้เงินมากกว่า ไม่ใช่อยากได้ทั้ง สองอย่าง แต่แล้วการทดลองในห้องแล็บก็แสดงให้เห็นซํ้าแล้วซํ้าเล่าว่า ผู้คนทำพลาดในเรื่องเช่นนี้ จอห์น ลิสต์ไม่โต้แย้งผลการทดลอง แต่เขาก็ไม่เชื่อมันทั้งหมด เช่นกัน การทดลองในห้องแล็บอาจเป็นเรื่องแปลก คนที่อยู่ในห้องทดลอง ได้รับสินค้าแปลกๆ ในบริบทแปลกๆ แล้วก็ถูกขอให้ตัดสินใจแบบแปลกๆ (“โอเค เราเพิ่งให้ถ้วยกาแฟแต่งบ้านกับคุณไป คุณอยากจะแลกมันกับ ช็อกโกแลต 1 แท่งไหม”) ลิสต์คิดว่าสถานการณ์ที่สมจริงขึ้นน่าจะทำให้ ปฏิกิริยาของคนมีเหตุมีผลมากกว่า นั่นคือสาเหตุที่ศาสตราจารย์ลิสต์ไปออกร้านในงานแลกของที่ เต็มไปด้วยคนหลายพันคนที่มาซื้อ ขาย และแลกเข็มกลัด เขาขอให้คน กรอกแบบสอบถามที่ร้านแลกกับเข็มกลัดที่ระลึก เมื่อคนกรอกเสร็จแล้ว เขาก็ยื่นข้อเสนอว่าอยากเก็บเข็มกลัดของเขาที่ได้รับจากการกรอก แบบสอบถามอันนั้นหรืออยากจะแลกเป็นอันอื่น คนจำนวนครึ่งหนึ่งได้รับ เข็มกลัดที่ระลึกวันวาเลนไทน์และได้รับการเสนอให้แลกเป็นเข็มกลัด ที่ระลึกวันนักบุญแพทริกที่มีมูลค่าพอๆ กัน คนอีกครึ่งหนึ่งได้รับเข็มกลัด


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 33 วันนักบุญแพทริกและได้รับข้อเสนอให้แลกเป็นเข็มกลัดวันวาเลนไทน์ เนื่องจากผู้กรอกแบบสอบถามแต่ละคนมีโอกาส 50-50 ที่จะได้ เข็มกลัดที่อยากได้ก็เท่ากับว่าแต่ละคนมีแนวโน้ม 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะ อยากแลกถ้าเขาหรือเธอมีเหตุมีผล อย่างไรก็ตาม เราอาจหวังให้ผลจาก ความเป็นเจ้าของทำให้คนอยากแลกน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้คนเก็บ เข็มกลัดที่ได้เอาไว้แทนที่จะแลก ความยึดติดที่ไร้เหตุผลนั้นคือสิ่งที่จอห์น ลิสต์ค้นพบจากนักสะสมที่อ่อนด้อยประสบการณ์ในกลุ่มนี้มีคนน้อยกว่า หนึ่งในห้าที่ยอมรับข้อเสนอของเขา แต่ลิสต์ก็ค้นพบด้วยว่านักสะสมที่แก่ประสบการณ์มีแนวโน้มที่จะ แลกเข็มกลัดสูงกว่านักสะสมมือใหม่ นักสะสมมากประสบการณ์(ใคร ก็ตามที่แลกเปลี่ยนของสะสมมากกว่า 4 ครั้งต่อเดือน) ยอมรับข้อเสนอ ของศาสตราจารย์ลิสต์ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีเหตุ มีผล นักสะสมมากประสบการณ์ไม่ได้แลกเข็มกลัดเพียงเพราะพวกเขา มองว่ามันจะทำเงินให้เขา คำตอบบนแบบสอบถามของพวกเขาชี้ว่า นักสะสมเหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งใจจะเก็บเข็มกลัดที่ได้รับเป็นส่วนหนึ่งของ คอลเล็กชันตัวเอง แต่แล้วพวกเขาก็ใช้เหตุผลชั่งใจดูว่าอยากได้เข็มกลัด วันวาเลนไทน์หรือเข็มกลัดนักบุญแพทริกมากกว่า นั่นคือใช้เหตุผลในทาง ที่ไม่เกี่ยวกับว่าเข็มกลัดอะไรอยู่ในมือเขา ณ เวลานั้น ลิสต์ตอกยํ้าประเด็นนี้ด้วยการขนของที่ระลึกจากเกมเบสบอลไป ขายในงานไพ่นักกีฬาและพบผลลัพธ์เดียวกัน นั่นคือความผิดพลาดของ นักสะสมมือใหม่และความมีเหตุมีผลของนักสะสมรุ่นเก๋า ผลจากความเป็น เจ้าของเป็นปรากฏการณ์ที่ไร้เหตุผลและเกิดขึ้นจริง แต่มันไม่ได้มีอิทธิพล ต่อคนที่มีประสบการณ์สูงในสถานการณ์จริง อีกคราวหนึ่ง ลิสต์ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของการทดลองทรงอิทธิพล อีกเรื่องหนึ่งที่ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นความไร้เหตุผลอีกประเภทหนึ่ง เขา ใช้เทคนิคเหมือนเดิม นั่นคือพยายามเอาการทดลองในห้องแล็บมาทำซํ้า


34 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น การทดลองดั้งเดิมแบ่งผู้รับการ ทดลองออกเป็น “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” นักวิจัยถามนายจ้างว่ายินดีจะ จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเท่าไร แล้วก็ถามลูกจ้างว่าจะทำงานหนักเพียงใด ถ้าได้ค่าจ้างเท่านั้น นักวิจัยค้นพบว่านายจ้างมีแนวโน้มที่จะเสนอค่าจ้าง สูงกว่าที่จำเป็นเพื่อดึงดูดลูกจ้างสำหรับงานแต่ละตำแหน่ง และในทาง กลับกัน ลูกจ้างก็รู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณและยินดีทำงานหนักกว่าเกณฑ์ ขั้นตํ่าที่จำเป็น บทสรุปก็คือการเสนอเพิ่มค่าจ้างแบบไม่คาดฝันจะทำให้ ลูกจ้างทำงานหนักกว่าเดิม นี่เป็นเรื่องที่ดูไร้เหตุผล เพราะนายจ้างที่มีเหตุมีผลไม่มีแรงจูงใจ ใดๆ ที่จะเสนอค่าแรงสูงกว่าอัตราตลาด และลูกจ้างที่มีเหตุมีผลก็ไม่มี แรงจูงใจใดๆ ที่จะทำงานหนักกว่าที่จำเป็นแม้ในกรณีที่พวกเขาได้เจ้านาย ที่ใจดีอย่างไร้เหตุผล (ตรงนี้ผมสรุปให้เป็นเรื่องที่ง่ายเกินไป อันที่จริง มีโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่จำลองการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลที่สรุปว่า  ทั้งค่าจ้างที่สูงขึ้นและการทำงานหนักขึ้นล้วนมีเหตุมีผลถ้าเป็นปฏิกิริยา ต่ออัตราเลิกจ้างและข้อมูลไม่สมบูรณ์แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่การทดลองนี้ ทดสอบ) ลิสต์ตระหนักว่าการทดลองในห้องแล็บไม่ใช่สถานการณ์ที่สมจริง เพียงพอสำหรับการแสดงความไร้เหตุผลในประเด็นนี้“ค่าจ้าง” กำลัง ถูกเสนอแลกกับ “งาน” แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ คือคนที่เข้าร่วมการทดลอง ติ๊กเครื่องหมายในช่องบนแบบสอบถามเพื่อแลกกับค่าตอบแทนเล็กน้อย ที่ขึ้นอยู่กับคำตอบ มันเป็นแค่ “เกมสมมุติ” ในห้องแล็บเท่านั้นเอง ลิสต์และยูริกนีซีเพื่อนร่วมงานของเขา ขยายผลการทดลองเทียม นี้ไปสู่ชีวิตจริง พวกเขาลงโฆษณาจ้างคนให้ไปทำงานจริงๆ เช่น งาน บันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรืองานเคาะประตูบ้านขอรับบริจาคเงิน เพื่อการกุศล พวกเขาจ่ายค่าจ้างลูกจ้างบางคนเท่ากับที่ลงโฆษณาไว้และ จ่ายบางคนด้วยค่าจ้างสูงชนิดไม่คาดฝัน คนที่ได้ค่าจ้างสูงทำงานหนัก กว่าปกติดังที่งานวิจัยในห้องแล็บพยากรณ์ไว้แต่ในสถานการณ์จริง


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 35 ความรู้สึกซาบซึ้งอิ่มเอมใจนั้นอยู่ไม่นาน แค่ 90 นาทีสำหรับคนบันทึก ข้อมูล และตั้งแต่เช้าถึงเวลาพักเที่ยงสำหรับคนเคาะประตูในวันแรกของ การทำงานเท่านั้น เราหลายคนอยากมีชีวิตในโลกอันอบอุ่นที่เต็มไปด้วย ของขวัญและของตอบแทนที่ไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะดีหรือเลวอย่างไร เมื่อเรา มีเวลาได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ของเกมแล้ว โลกแห่งความมีเหตุมีผลที่เด็ดขาด กว่าคือโลกที่เราอาศัยอยู่ จอห์น ลิสต์ค้นพบสิ่งที่ซ่อนอยู่ต่อหน้าต่อตาเรา นั่นคือไม่ว่าจะมี ประโยชน์เพียงใด การทดลองในห้องแล็บก็ได้สร้างอคติต่อพฤติกรรม ไร้เหตุผล เนื่องจากนักวิจัยเอาคนธรรมดาไปไว้ในสถานการณ์ที่ไม่สมจริง ลิสต์แสดงให้เห็นว่า ในทางกลับกันถ้าคุณขอให้คนธรรมดาตัดสินใจเรื่อง ที่พวกเขาตัดสินใจในชีวิตประจำวัน คุณก็มักจะเห็นพฤติกรรมที่มีเหตุมีผล ผมไม่อยากดูแคลนพฤติกรรมแปลกๆ ที่นักจิตวิทยาค้นพบในห้อง แล็บ คนเราพลาดกันได้ไม่ใช่แค่ในห้องแล็บด้วย บางทีเราจำเป็นจะต้อง ตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เช่น จะเอาเงินเท่าไรไป ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีหรือจะระวังตัวแค่ไหนดีเมื่อมีโรคติดต่อ ทางเพศโรคใหม่แพร่ระบาดจนเป็นข่าวหน้าหนึ่ง เราสับสนเกี่ยวกับประเด็น เหล่านี้จนตัดสินใจพลาดได้ แต่ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ใน พื้นที่สบายใจของตัวเอง เป็นเรื่องธรรมดาที่ธุรกรรมซื้อขายเข็มกลัด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างคนที่ซื้อขายเข็มกลัดบ่อยๆ ในทำนองคล้ายกัน การช็อปปิ้งส่วนใหญ่ก็กระทำโดยนักช็อปที่มีประสบการณ์สูง และงาน ส่วนใหญ่ก็ทำโดยคนทำงานที่มีประสบการณ์สูง แม้ว่าคนเราจะพลาดกัน ได้แนวโน้มที่จะพลาดนั้นก็น้อยลงเวลาทำในสิ่งที่คุ้นเคย และในเมื่อเรา ทุกคนทำในสิ่งที่คุ้นเคยตลอดเวลา นี่จึงเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่สนับสนุนว่า ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุมีผลนั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ในการทำความ เข้าใจโลก การตั้งสมมุติฐานว่ามนุษย์ไร้ความสามารถที่จะชั่งนํ้าหนัก


36 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ระหว่างคุณกับโทษของการตัดสินใจที่อยู่ตรงหน้านั้นเป็นสมมุติฐานที่ช่วย อะไรเราไม่ค่อยได้ในทางกลับกัน เราจะเห็นในช่วงต่อไปว่าผู้ที่ตัดสินใจ อย่างมีเหตุมีผลนั้นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นมนุษย์เสียด้วยซํ้า สถานีวิทยาลัย เท็กซัส ปี 1990 หากมองอย่างผิวเผิน หนูทดลอง 6 ตัวที่สวาปามรูตเบียร์และนํ้าโทนิก เข้าไปนั้นกำลังไขปัญหาเรื่องหนึ่งในตำราที่โด่งดังแต่ไม่ค่อยสำคัญอะไร นัก ที่สำคัญกว่าคือพวกมันกำลังแสดงให้เห็นความมีเหตุมีผลทาง เศรษฐศาสตร์ในที่ที่คนไม่เคยคิดฝันมาก่อน นั่นคือในสมองจิ๋วๆ ของหนู นั่นเอง หนูที่มีเหตุมีผลได้รับการช่วยเหลือจากเรย์มอนด์บัตตาลิโอ และ จอห์น คาเกล ผู้เริ่มถามคำถามตอนต้นทศวรรษ 1970 ว่าสัตว์มีสติปัญญา แค่ไหนกันแน่ (การค้นหาความมีเหตุมีผลในที่แปลกๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับคาเกลและบัตตาลิโอ งานชิ้นแรกๆ ของพวกเขาแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยในโรงพยาบาลโรคจิตสามารถทำงานแลก “บัตรที่ใช้ต่างเงิน” และ จับจ่ายมันได้อย่างมีเหตุมีผล) พวกเขาใช้เครื่องมือของจิตวิทยาการ ทดลองที่ได้รับการยอมรับแต่ถามคำถามใหม่ๆ เช่น “หนูสามารถวางแผน คำนวณและตัดสินใจเกี่ยวกับค่าจ้าง ราคา และงบประมาณได้หรือไม่” คาเกลและบัตตาลิโอแยกหนูแต่ละตัวไปใส่ในกล่องทดลองที่มีขนาด เท่ากับตะกร้าปิกนิก ข้างในมีตู้ขายสินค้าเล็กๆ ติดคันโยกที่เทเครื่องดื่ม ออกมาได้หลายชนิด หนูเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าเอาเครื่องดื่มออกมาได้ด้วย การเหยียบคันโยก และหลังจากผ่านไป 1 หรือ 2 สัปดาห์ก็จะคุ้นเคยว่า คันโยกแต่ละอันผลิตอะไรออกมาบ้าง หลังจากนั้นนักวิจัยก็เปลี่ยน “ราคา” หรือ “รายได้” เพื่อดูว่าหนู จะมีปฏิกิริยาอย่างไร พวกเขาเปลี่ยนราคาโดยเปรียบเทียบด้วยการตั้ง


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 37 เครื่องใหม่ให้ผลิตเครื่องดื่มน้อยลงต่อการกดคันโยก 1 ครั้ง แต่ไม่ปรับ คันโยกอีกอันหนึ่ง เสร็จแล้วก็ตั้งรายได้ด้วยการจำกัดจำนวนครั้งที่จะกด คันโยกได้ในแต่ละช่วงการทดลอง ถ้าคุณรู้สึกเห็นใจหนูที่น่าสงสาร ขอให้เชื่อเถอะครับว่านักเศรษฐศาสตร์คือนักทดลองที่ดีที่สุดแล้ว แทนที่จะผ่าท้องหนูหรือทดสอบยาพิษ กับมัน คาเกลกับบัตตาลิโอให้พวกมันดื่มรูตเบียร์ไม่อั้น และขอให้สัตวแพทย์ คนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของเรย์บัตตาลิโอ มาตรวจสุขภาพให้พวกมันอย่าง สมํ่าเสมอ หลังจากที่ทำให้พวกเขาเองและนักเศรษฐศาสตร์ที่เคยกังขาอีก หลายคนที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ มั่นใจว่าการทดลองนี้มีความหมาย บัตตาลิโอ, คาเกล และคาร์ล โคกุต เพื่อนร่วมงานของพวกเขา ก็ตัดสินใจ ว่าจะลองไขปมปัญหาลึกลับที่มีอายุกว่า 100 ปีพวกเขาให้หนูเลือก เครื่องดื่ม 2 ชนิด แต่ละชนิดมีคันโยกของตัวเอง เครื่องดื่มชนิดแรกคือ รูตเบียร์ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของหนูทดลองมาแล้วหลายรุ่น ชนิดที่สอง คือนํ้าโทนิก ซึ่งก็คือนํ้าเปล่าที่ใส่ควินินลงไป หนูไม่ชอบรสชาติขมของ นํ้าโทนิก แต่นักวิจัยตั้งให้เครื่องเสิร์ฟนํ้าโทนิกมากกว่ารูตเบียร์[ต่อการ กดคันโยก 1 ครั้ง—ผู้แปล] ลองคิดว่าคุณเป็นหนูทดลองดูสักครู่ คุณกระหายนา ํ้ รูตเบียร์อร่อย มากแต่มันแพง ดังนั้นคุณก็เลยประนีประนอม ยอมดื่มนํ้าโทนิก รสชาติแย่เพื่อดับกระหาย แต่ก็เพลิดเพลินกับการดื่มรูตเบียร์เป็น ครั้งคราวด้วย คุณไม่กดคันโยกอย่างสะเปะสะปะ เอาละ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าควินินในนาํ้โทนิกขึ้นราคาเล็กน้อย นั่นคือ เมื่อการกดคันโยกเทมันออกมาในปริมาณที่น้อยลงกว่าเดิม นักจิตวิทยา การทดลองจะมองว่าคำตอบเรื่องนี้ง่ายมาก คุณกำลังได้นํ้าโทนิกน้อยลง จากการกดแต่ละครั้ง ดังนั้นคุณก็ควรจะกดมันน้อยลง การตัดสินใจแบบนี้ อาจฟังดูดีแต่นักเศรษฐศาสตร์สามารถยืนยันและหนูสามารถรู้ด้วย


38 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต สัญชาตญาณว่ามันไร้เหตุผล ในฐานะหนูที่ฉลาด คุณจะดื่มนํ้าผสมควินินมากขึ้นเมื่อมันแพง กว่าเดิมตราบใดที่ปริมาณนํ้าในแต่ละครั้งยังมากกว่ารูตเบียร์นั่นเป็น เพราะคุณคำนึงถึงงบประมาณของคุณนอกเหนือจากราคาด้วย ปริมาณ การบริโภคเครื่องดื่มทั้ง 2 ชนิดรวมกันนั่นคือรูตเบียร์บวกนํ้าควินินคือ สิ่งที่ประทังชีวิตคุณ นํ้าควินินยังถูกกว่ารูตเบียร์และเนื่องจากนักวิจัย ทำให้คุณจนลงด้วยการขึ้นราคานํ้าควินิน คุณก็จำต้องดื่มนํ้ารูตเบียร์ที่มี ราคาแพงให้น้อยลงและดับความกระหายด้วยการดื่มนํ้าควินินรสชาติแย่ มากกว่าเดิมอีก เพราะมันยังถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน บัตตาลิโอ, คาเกล และโคกุตแสดงให้เห็นอย่างน่าเชื่อถือว่านี่คือ สิ่งที่หนูทำ การที่หนูดื่มนํ้าควินินมากขึ้นเมื่อมันขึ้นราคาก็เท่ากับว่าหนู เหล่านี้ได้คลายปริศนาที่สาวไปได้ถึงปี1895 ว่า “สินค้ากิฟเฟน” มีจริง หรือไม่ สินค้ากิฟเฟนคือสินค้าแบบนํ้าควินิน นั่นคือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก สำหรับคนจนเสียจนเมื่อมันขึ้นราคา อุปสงค์ก็สูงขึ้นตามไปด้วย เพราะ การขึ้นราคาทำให้คนจนลง และการที่คนจนลงก็ทำให้ต้องการสินค้าชนิด นั้นมากขึ้น สมัยที่ยังเป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์จนๆ คนหนึ่ง ผมคิดว่า มันอบที่ผมกินเป็นประจำนั้นอาจเป็นสินค้ากิฟเฟนก็ได้เพราะถ้ามันฝรั่ง ขึ้นราคา ผมก็ยิ่งไม่มีปัญญาซื้อมันอบยัดไส้ชีสหรือทูน่ามากิน และต้อง ซื้อมันฝรั่งลูกใหญ่กว่าเดิมแทน ตลอดหลายปีที่ผ่านมานักเศรษฐศาสตร์ เสนอแต่ไม่เคยพิสูจน์ว่ามันฝรั่งตอนที่เกิดทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์และ บะหมี่ในชนบทจีนเป็นสินค้ากิฟเฟน บัตตาลิโอ, คาเกล, โคกุต และบรรดา หนูทดลองได้พิสูจน์ตัวอย่างสินค้ากิฟเฟนชนิดแรกที่ไม่อาจหักล้างได้— นํ้าควินินนั่นเอง แต่ความสำคัญที่แท้จริงของการทดลองของคาเกลและบัตตาลิโอ ไม่ได้อยู่ที่การเดิมพันเกี่ยวกับสินค้ากิฟเฟนที่คนนอกมองไม่เห็นในคณะ เศรษฐศาสตร์ทั่วโลก แต่อยู่ที่การพิสูจน์ว่าหนูแสดงสติปัญญาอันน่าทึ่ง


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 39 และมีปฏิกิริยาต่อทางเลือกต่างๆ อย่างเต็มที่ รวมทั้งวิธีที่การตัดสินใจ ของพวกมันในปัจจุบันจะตีกรอบจำกัดทางเลือกในอนาคต ถ้าหนูมีโอกาส พวกมันก็มีเหตุมีผลเหมือนกัน แน่นอนว่านี่ไม่ใช่แค่เรื่องของหนูแต่คือประเด็นที่ว่าเราสามารถ ตัดสินอย่างมีเหตุมีผลได้โดยไม่ต้องคิดคำนวณอย่างมีสติผมได้เปรียบเทียบไปแล้วระหว่างการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลกับสมการเชิงอนุพันธ์ ยากมหาโหดที่อธิบายวิถีของลูกบอลในอากาศ ถ้าคุณขอให้นักเล่น คริกเก็ตแก้สมการนี้ด้วยกระดาษกับปากกา เขาก็คงทำได้ไม่ดีไปกว่า หนูทดลอง แต่ลองชี้ให้เขาเห็นลูกบอลในอากาศ แล้วนักคริกเก็ตคนนั้น ก็จะหมุนตัว วิ่งเต็มฝีเท้าไปหยุดตรงจุดที่เหมาะสมที่สุดที่จะรับลูกบอล ดูเหมือนว่าบางส่วนในตัวเขากำลังแก้สมการเชิงอนุพันธ์ได้อยู่ดี สาววัยรุ่นที่ชอบอมนกเขาก็คำนวณในจิตใต้สำนึกเหมือนกัน การทำตัวมีเหตุมีผลไม่เหมือนกันกับการมีสติปัญญาหลักแหลมแบบ ปัญญาชน แรงกดดันในวิวัฒนาการตามธรรมชาติมักจะผลิตสิ่งมีชีวิต ที่มีพฤติกรรมที่มีเหตุมีผล ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เราไม่มีวันทำ ทุกอย่างได้ถูกต้อง บางทีนักคริกเก็ตก็รับลูกบอลพลาด แต่คุณจะไม่ฉลาด นักถ้าเลือกพนันว่าเราไร้สัญชาตญาณที่จะตอบสนองต่อแรงจูงใจอย่าง มีเหตุมีผล ขนาดหนูยังทำได้เลย จริงอยู่ที่การทดลองกับหนูนั้นดีแต่ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุ มีผลจะผลิตบทวิเคราะห์ที่สำคัญจริงๆ ได้หรือเปล่า มันจะตัดผ่าน ความสับสนและช่วยเราร่างนโยบายในประเด็นสำคัญได้หรือไม่ มันทำ แบบนั้นไปเรียบร้อยแล้วในมือของนักเศรษฐศาสตร์2 คนในบรรดา นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดจากชิคาโก ดังที่เรากำลังจะได้ค้นพบ


40 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ชิคาโก ที่จอดรถของศูนย์การค้าแน่นขนัด คนขับรถผมขาวรุ่นคุณปู่เลี้ยวเข้าไป จอดในช่องที่ให้จอดแค่ 30 นาทีไม่พอเลยสำหรับการกินข้าวเที่ยงแบบ อ้อยอิ่งที่เราวางแผนไว้“เราน่าจะโอเค ผมไม่คิดว่าตำรวจแถวนี้เคร่งครัด เท่าไหร่” เขาอธิบายด้วยสำเนียงอันทุ้มนุ่มแต่เป็นเอกลักษณ์ของคน บรูกลิน [ย่านหนึ่งในมหานครนิวยอร์ก—ผู้แปล] ผมมองข้ามรถไปยังเขา และถามว่า “นี่เป็นอาชญากรรมที่มีเหตุมีผลหรือเปล่าครับ” เขาไม่ลังเล แม้แต่เสี้ยววินาทีที่จะตอบว่า “แน่นอน” แกรีเบ็กเกอร์เป็นอาชญากรที่มีเหตุมีผล นอกจากนั้นเขายัง เป็นนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลที่ส่วนหนึ่งได้รับเพราะความสำเร็จ ของทฤษฎีอาชญากรรมที่มีเหตุมีผลของเขา ความคิดนี้วาบเข้ามาในหัว เบ็กเกอร์เมื่อ 40 ปีที่แล้วสมัยที่เขาไปคุมสอบนักศึกษาปริญญาเอกสาย เขาไม่มีเวลาหาที่จอดรถฟรีจึงรีบชั่งนํ้าหนักระหว่างค่าที่จอดรถที่ต้อง เสียกับความเสี่ยงที่จะต้องถูกปรับถ้าจอดในที่ผิดกฎหมาย กว่าเขาจะไป ถึงห้องสอบ ความคิดซึ่งตอนนั้นไม่เป็นที่นิยมที่ว่าอาชญากรตอบสนอง ต่อความเสี่ยงและต้นทุนของการถูกลงโทษก็ผุดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างในหัว ของเขาแล้ว นักศึกษาผู้โชคร้ายคนนั้นถูกถามให้อภิปรายเรื่องนี้ทันที(เขา สอบผ่านและเบ็กเกอร์ก็ไม่โดนใบสั่ง) การละเมิดกฎจราจรก็เรื่องหนึ่ง การลักขโมยและกรรโชกทรัพย์ก็ อีกเรื่องหนึ่ง อาจารย์เศรษฐศาสตร์วัย 70 กว่าอาจชั่งนา้ํ หนักอย่างรอบคอบ ระหว่างประโยชน์ของการจอดรถผิดกฎหมายกับความเสี่ยงที่จะโดนจับ แต่วัยรุ่นอายุ16 ปีที่มีมีดหรือปืนจะชั่งนํ้าหนักระหว่างประโยชน์จาก การปล้นกับความเสี่ยงที่จะถูกจับเข้าคุกหรือเปล่า หลายคนคงรู้สึกว่าไม่ ยกตัวอย่างเช่น นักเขียน 3 คนกลางทศวรรษ 1990 ประกาศด้วยความ ตื่นตระหนกว่าตอนนี้อเมริกาเป็นบ้านของวัยรุ่นหัวรุนแรงที่ทวีจำนวนขึ้น เรื่อยๆ วัยรุ่นที่ “ไม่กลัวมลทินของการถูกจับ ความทุกข์จากการถูกจองจำ 


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 41 หรือเสียงห้ามของหิริโอตตัปปะ พวกเขามองไม่เห็นความสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างการทำถูก (หรือผิด) ในตอนนี้กับการได้รับรางวัล (หรือบทลงโทษ) จากการกระทำในภายภาคหน้า” ใครเป็นฝ่ายถูก แกรีเบ็กเกอร์หรือนักเขียนผู้ตื่นตระหนก นักจัด รายการวิทยุจะบอกคุณว่าเรือนจำคือที่เดียวที่อาชญากรสมควรอยู่และ การลงโทษอย่างรุนแรงคือภาษาเดียวที่พวกเขาเข้าใจ แต่ถ้าคุณลอง เจาะลึกลงไปอีกนิด คุณอาจจะพบว่าความเห็นทำนองนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บน ความเชื่อว่าอาชญากรควรถูกยับยั้ง แต่ตั้งอยู่บนแนวคิดตรงไปตรงมา เรื่องการแก้แค้นและสิ่งที่นักอาชญาวิทยาเรียกว่า “ผลจากการสูญเสีย อิสรภาพ” นั่นคือถ้าคนคนหนึ่งอยู่ในคุก เขาก็ไม่สามารถมาปล้นบ้านคุณ ได้และไม่ว่านักจัดรายการวิทยุจะเพียรพยายามหว่านล้อมเพียงใด หลาย คนที่ชอบใช้ความคิดก็ไม่เชื่อว่าเรือนจำยับยั้งการก่ออาชญากรรมได้จริงๆ ถึงแม้คุณอาจจะเชื่อว่าบทลงโทษแรงๆ สามารถยับยั้งคนที่อาจเป็น อาชญากรได้จริงๆ แล้วบทลงโทษนั้นควรจะต้องรุนแรงแค่ไหนถึงจะหยุด เขาได้เราควรจะสร้างคุกเพิ่มและยืดระยะเวลาต้องโทษไหม หรือว่าระบบ ปัจจุบันก็เข้มงวดเกินพอแล้ว เหล่านี้เป็นคำถามที่ตอบยาก แต่สตีเวน เลวิตต์เพื่อนร่วมงาน รุ่นน้องของแกรีเบ็กเกอร์ที่ชิคาโกและเป็น 1 ใน 2 ผู้ประพันธ์หนังสือ เรื่อง เศรษฐพิลึก (Freakonomics) มีคำตอบ เลวิตต์ตระหนักว่ามีหลักฐาน ที่สามารถใช้ทดสอบสมมุติฐานของเบ็กเกอร์ที่ว่าอาชญากรมีเหตุมีผล คุณ แค่ต้องรู้ว่าจะไปหาหลักฐานนั้นจากไหน ความลับเรื่องนี้ไม่ต่างจากเรื่อง กฎหมายแจ้งการทำแท้งที่คลินิกที่คลิกและสตรัตแมนน์ศึกษาหลังจากนั้น นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐในอเมริกาทุกรัฐมีระบบจัดการกับผู้เยาว์แยก ต่างหากจากผู้ใหญ่ รัฐที่แตกต่างกันมี“อายุที่บรรลุนิติภาวะ” แตกต่างกัน นั่นคืออายุที่กฎหมายมองว่าแก่เกินกว่าที่ผู้ต้องหาจะต้องขึ้นศาลเด็ก นอกจากนี้ระดับความรุนแรงของบทลงโทษในแต่ละรัฐก็แตกต่างกัน ระบบ


42 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ผู้เยาว์ในแต่ละรัฐปรานีกว่าระบบผู้ใหญ่แต่ในระดับที่ไม่เท่ากัน ตลอดช่วง ทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 ระบบผู้เยาว์ผ่อนปรนลงเมื่อเทียบ กับระบบผู้ใหญ่ทั่วทั้งอเมริกา เมื่อดูประกอบกันทั้งหมด ข้อมูลเหล่านี้เพียงพอให้เรามองเห็นว่า อาชญากรรุ่นเยาว์มีปฏิกิริยาต่อความเสี่ยงที่จะต้องติดคุกหรือไม่ ในรัฐที่ อาชญากรอายุ17 ปีต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่ เลวิตต์เปรียบเทียบความแตกต่าง ของพฤติกรรมระหว่างวัยรุ่นอายุ 16 ปีกับวัยรุ่นอายุ 17 ปีในรัฐที่ อาชญากรขึ้นศาลผู้ใหญ่ตอนอายุ 19 ปีเขาเปรียบเทียบพฤติกรรม ระหว่างวัยรุ่นอายุ18 ปีกับวัยรุ่นอายุ19 ปีและพบว่าในรัฐที่ศาลผู้ใหญ่ มีบทลงโทษที่รุนแรงกว่าศาลเด็กมาก พฤติกรรมของวัยรุ่น 2 กลุ่มมีความ แตกต่างกันสูงมาก กล่าวคืออัตราการก่ออาชญากรรมตกลงอย่างฮวบฮาบ เมื่อวัยรุ่นบรรลุนิติภาวะ [คือวัยที่จะต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่—ผู้แปล] แต่ในรัฐ ที่ศาลเด็กมีบทลงโทษค่อนข้างรุนแรงอยู่แล้ว การหดตัวของอัตราอาชญากรรมก็ไม่เกิดขึ้นเพราะวัยรุ่นกลัวระบอบยุติธรรมอยู่แล้ว และขณะที่ ระบอบยุติธรรมของผู้เยาว์ทั่วทั้งสหรัฐฯ ค่อนข้างเพิ่มความผ่อนปรน ระหว่างปี1978-1993 อาชญากรรมรุนแรงที่วัยรุ่นก่อก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับอาชญากรรมรุนแรงที่ผู้ใหญ่เป็นคนก่อ วิธีวิจัยของเลวิตต์กรองชุดคำอธิบายที่อาจอธิบายความแตกต่าง ในอัตราการก่ออาชญากรรมได้ออกไป ชุดคำอธิบายนี้บอกว่าบทลงโทษ ที่รุนแรงกว่าเดิมทำให้อาชญากรรมลดลงเพราะนักโทษออกจากคุกมาปล้น บ้านคุณไม่ได้นั่นคือผลจากการสูญเสียอิสรภาพ บทลงโทษที่จำคุกคน 10 ปีแทนที่จะเป็น 5 ปีส่งผลต่อการสูญเสียอิสรภาพก็จริง แต่กว่าเราจะ มองเห็นผลนี้ได้ก็ต้องให้5 ปีแรกผ่านไปก่อน เลวิตต์แสดงให้เห็นว่าวัยรุ่น เกเรตอบสนองทันทีต่อความเสี่ยงที่จะได้รับโทษหนักกว่าเดิม และเหตุผล เดียวที่อธิบายการตอบสนองทันทีดังกล่าวได้คือเรือนจำเป็นเครื่องยับยั้ง อาชญากรรมได้จริงๆ


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 43 วิธีวิจัยของเลวิตต์มีพลังมากเสียจนเขาสามารถประเมินได้ด้วยซาํ้ ว่าการจับคนมาขังคุกเพิ่มขึ้นจะช่วยยับยั้งอาชญากรรมได้เท่าไร เขา สามารถคำนวณประโยชน์จากการสร้างเรือนจำเพิ่มเติม และชั่งนํ้าหนัก ระหว่างประโยชน์เหล่านั้นกับต้นทุน ซึ่งมีตั้งแต่ความทุกข์ของนักโทษ ค่าใช้จ่ายในการโยกย้ายนักโทษ ไปจนถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เรือนจำ นี่เป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุมีผลที่น่าทึ่งมาก โชคร้ายที่นักการเมืองชอบคำตอบเชิงอุดมการณ์แบบง่ายๆ มากกว่า เลวิตต์อธิบายให้ผมฟังว่าเขาเป็นที่ต้องการอย่างมากหลังจาก ตีพิมพ์ผลงานในปลายทศวรรษ 1990 เพราะมันเสนอว่าหลายรัฐในสหรัฐฯ ควรสร้างเรือนจำเพิ่ม ซึ่งเป็นข่าวที่ผู้ว่าการรัฐอยากได้ยินเวลาพยายาม สร้างความชอบธรรมให้กับนโยบายที่เข้มงวด เมื่อเขาชี้ให้เห็นว่าข้อมูล ของเขาเก่าไปแล้วหลายปีและหลายรัฐก็สร้างเรือนจำเพิ่มมากมายเสีย จนถึงจุดที่สหรัฐฯ น่าจะอยู่ได้ด้วยเรือนจำน้อยลง ก็ไม่มีใครสนใจเลวิตต์ แล้ว แต่ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ออกมาจากทฤษฎีของเบ็กเกอร์และข้อมูล ของเลวิตต์นั้นเป็นข้อเสนอที่ชัดเจนและเที่ยงตรงอย่างน่าทึ่ง อาชญากรอาจเป็นคนที่เหี้ยมโหดและไร้ความสำนึกผิด แต่อาชญากร จำนวนมากไม่ใช่คนที่ไม่แยแสต่อ “ความทุกข์จากการถูกจองจำ” ไม่ว่า เรือนจำจะมีข้อเสียอื่นๆ อย่างไร มันก็ช่วยลดอาชญากรรม เพราะถ้า ระบบเรือนจำมีความน่าเกรงขามเพียงพอ ก็ไม่คุ้มที่จะก่ออาชญากรรม เลวิตต์ทวนคำพูดของวัยรุ่นอายุ16 ปีที่เพิ่งผ่านวัยบรรลุนิติภาวะในรัฐ นิวยอร์ก เขาบอกว่า “ตอนที่ยังเด็ก เขาเอาเราเข้าบ้านดัดสันดานได้แต่ ตอนนี้เราติดคุกได้ไม่มีใครอยากอยู่ในคุกหรอก” ผมยืนยันความเชื่อมั่นของผมซํ้าแล้วซํ้าเล่าว่าทฤษฎีการเลือกอย่าง มีเหตุมีผลนั้นมีประโยชน์ตอนนี้เป็นเวลาที่ผมจะแจกแจงว่ามันมีประโยชน์ อย่างไร ลองนึกย้อนไปถึงข้อสรุปของเลวิตต์ที่ว่าขนาดวัยรุ่นยังมีปฏิกิริยา


44 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ต่อความเสี่ยงที่จะได้รับโทษหนักกว่าเดิมด้วยการก่ออาชญากรรมน้อยลง นั่นหมายความว่าวัยรุ่นเกเรแต่ละคนจะก่ออาชญากรรมความเสี่ยงสูง น้อยลงนิดหน่อย และทำแต่อาชญากรรมเฉพาะเวลาที่เขามั่นใจว่าจะ ไม่ถูกจับหรือเปล่า นั่นคือคำตอบถ้าเราตีความทฤษฎีอาชญากรรมที่มีเหตุ มีผลของแกรีเบ็กเกอร์อย่างเคร่งครัด หรือมันหมายความว่าวัยรุ่น บางคนจะกลัวจนเลิกก่ออาชญากรรมไปเลยหรือเกือบจะทั้งหมดใน ขณะที่คนอื่นไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ทั้งสิ้น ในเมื่อเราเห็นแต่อัตราการเกิด อาชญากรรมที่เป็นตัวเลขรวม เราจึงไม่มีวันรู้ได้อย่างน้อยก็จากข้อมูล ของเลวิตต์ ความคลุมเครือนี้สำคัญในบางสถานการณ์และไม่สำคัญใน สถานการณ์อื่น ถ้าผมเป็นนักการเมืองที่อยากรู้ว่าโทษจำคุกที่หนักกว่า เดิมจะช่วยลดอาชญากรรมได้จริงหรือไม่ ผมก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ ด้วยการไปขอคำปรึกษาจากเบ็กเกอร์กับเลวิตต์ถ้าผมเป็นผู้ปกครองที่ อยากรู้ว่าการขู่ว่าจะลงโทษหนักจะช่วยหว่านล้อมลูกสาวผมไม่ให้ขโมย ช็อกโกแลตกินหรือเปล่า ผมก็น่าจะพบคำตอบในความรู้ส่วนตัวของผม เกี่ยวกับนิสัยของลูกมากกว่าหลักฐานในรายงานการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลเป็นทฤษฎีที่ทรงพลัง แต่เฉพาะสำหรับงาน บางอย่างเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน ลองคิดถึงบทสรุปอันน่าทึ่งของคลิกกับสตรัตแมนน์ที่ว่า วัยรุ่นดูจะกลัวพ่อแม่รู้ว่าตั้งครรภ์และมองการณ์ไกลเกี่ยวกับ เรื่องนี้มากพอที่พวกเขาจะใช้วิธีป้องกัน ซึ่งถ้าไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ แบบนี้ก็จะไม่ใช้บทวิเคราะห์ทางสถิติดังกล่าวไม่ได้บอกเราว่าวัยรุ่น ทุกคนมีปฏิกิริยาต่อกฎหมายแจ้งการทำแท้งด้วยการมีเซ็กซ์อย่างระวัง ตัวมากขึ้นหรือเปล่า และเราก็ไม่รู้ว่าผลลัพธ์นี้เกิดขึ้นเพราะวัยรุ่นบางคน ระวังตัวมากกว่าเดิมมากในขณะที่คนอื่นๆ ยังเมา เหลวไหล หรือมั่วเซ็กซ์ จนไม่คิดว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาอย่างไรถ้าเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา หลักฐาน


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 45 ที่บอกว่าพฤติกรรมของวัยรุ่นโดยรวมมีเหตุมีผลนั้นไม่ได้บอกเราว่าวัยรุ่น ทุกคนมีเหตุมีผลเท่ากัน แต่มันก็ยังบอกอะไรเราบางอย่าง มันไม่ใช่ คำอธิบายทางจิตวิทยาที่อธิบายพฤติกรรมเรื่องเซ็กซ์ของวัยรุ่นได้อย่าง ครบถ้วน แต่มันก็ชี้ให้เห็นทิศทางของงานวิจัยที่มีความหมาย ถ้าไม่มี นักทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุมีผลที่มุ่งเน้นแรงจูงใจของคน ก็อาจไม่มี ใครคิดที่จะหาความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายแจ้งการทำแท้งกับเซ็กซ์ ที่ปลอดภัย สำหรับปัญหาเชิงนโยบายจำนวนมากในโลกนี้เราไม่มีเวลารอ ชุดคำอธิบายที่สมบูรณ์แบบ เราต้องหาวิธีมองโลกที่ใช้การได้ตอนนี้ไม่ว่า มันจะหยาบเพียงใดก็ตาม ก่อนที่ผมจะจบบทนี้เราลองหันกลับไปดูเรื่อง ของเซ็กซ์และปัญหาการหว่านล้อมโสเภณีให้ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อหยุดยั้ง การระบาดของโรคติดต่อทางเพศ นี่เป็นปัญหาเร่งด่วนและถ้าคุณต้องการ คำตอบเดี๋ยวนี้คุณก็ทำพลาดได้หลายเรื่องกว่าการตั้งสมมุติฐานว่าโสเภณี มีเหตุมีผล เมืองมอเรเลีย รัฐมีโชอากาน ประเทศเม็กซิโก ตอนกลางวัน สวนเดอลาสโรซาสเป็นสวนสาธารณะแสนโรแมนติกใจกลาง เมืองมอเรเลียที่ก่อตั้งในศตวรรษที่สิบหก สวนนี้เป็นจุดสงบร่มรื่นให้คน ซึ่งเหนื่อยล้ามาพักหลบแดดเม็กซิกันอันร้อนแรงใต้เงาไม้ร่มเย็นและ สถาปัตยกรรมโบราณ แต่พอตกดึกสวนนี้ก็มอบการปลดปล่อยอีก รูปแบบหนึ่ง มันเป็นจุดหิ้วโสเภณีที่ดีที่สุดในมอเรเลีย ขาประจำคนหนึ่ง บอกว่า “ไปที่นั่นตอน 4 ทุ่ม...สาวๆ ที่เจ๋งที่สุดอยู่ไม่นาน หลังจากนั้นคุณ จะเจอแต่พวกแปลงเพศเท่านั้น” ความเห็นทำนองนี้อธิบายว่าทำไมโสเภณีไม่ใช่งานในฝันของใคร เลย ผู้หญิงที่ตัดสินใจว่าจะเป็นโสเภณีรู้ดีว่าเธอจะถูกเหยียดหยามจาก


46 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต ทั้งลูกค้าและโลกภายนอก อาชีพนี้มีความเสี่ยงทางกายภาพมากมาย ด้วย บทสัมภาษณ์โสเภณีชาวเม็กซิกันกว่า 1,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ชาวเมืองมอเรเลีย ชี้ว่าโสเภณี1 ใน 6 คนเดือดร้อนจากการติดเชื้อโรค ติดต่อทางเพศ และโสเภณีแต่ละคนก็คาดการณ์ได้ว่าจะถูกลูกค้าทำร้าย ทุก 2 เดือน ในทางกลับกัน พวกเธอมีรายได้ดีกว่าทำงานอื่น เวลาทำงานของ โสเภณียาวกว่า แต่พวกเธอได้เงินมากกว่าเพื่อนที่ทำงานธรรมดาเกือบ ครึ่งหนึ่ง ยังไม่นับค่าคอมมิชชันจากเจ้าของบาร์ที่พวกเธอเชียร์แขกให้ดื่ม นี่ไม่ได้แปลว่าแรงจูงใจของโสเภณีมีแต่เงินเพียงอย่างเดียว และพวกเธอ ไม่สนใจอันตรายตลอดจนคำประณามหยามเหยียดของอาชีพนี้แต่ พวกเธอก็ไม่ได้ทำงานนี้เพราะอยากเลื่อนตำแหน่ง หลังจากเตกิล่าช็อตสุดท้ายล่วงคอเข้าไปและลูกค้ากับโสเภณีหา ที่ลับตาเพื่อปิดดีล ตรงนี้เราทุกคนล้วนมีส่วนได้เสียในการตัดสินใจของ พวกเขาว่าจะใช้ถุงยางหรือไม่ ถ้าไม่ใช้ความเสี่ยงที่เธอจะส่งต่อเชื้อ เอชไอวีหรือเชื้อโรคติดต่อทางเพศอื่นๆ ไปสู่เขาหรือจากเขาไปสู่เธอก็จะ พุ่งสูงกว่าเดิมมาก พรุ่งนี้เย็นเธอจะอยู่กับลูกค้าอีกคนหนึ่ง ส่วนเขาก็จะ กลับไปนอนกับภรรยา ไม่ว่าคุณจะสนใจโสเภณีเม็กซิกันหรือไม่ ยิ่ง พวกเธอใช้ถุงยางน้อยลงเท่าไร คุณก็ยิ่งต้องใช้มันมากขึ้นเท่านั้น ใช่ คุณมีส่วนได้เสียในเรื่องนี้การตัดสินใจว่าจะใช้ถุงยางหรือไม่นั้น มาจากการเจรจาระหว่างลูกค้ากับโสเภณีบ่อยครั้งพวกเขาจะใช้ถุงยาง งานวิจัยมากมายประเมินว่าในเม็กซิโก โสเภณีและลูกค้าใช้ถุงยางมากกว่า  50 เปอร์เซ็นต์และอาจจะมากถึง 9 ใน 10 ครั้ง นี่ดีกว่าไม่ใช้เลยแน่ๆ แต่ในเมื่อโสเภณี1 ใน 6 คนบ่นว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศ ก็เห็นได้ชัดว่า พวกเธอยังใช้ถุงยางไม่มากพอ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่องค์กรเพื่อสุขภาพและการพัฒนาหลาย องค์กรกำลังพยายามลนลานหว่านล้อมโสเภณีให้ใช้ถุงยาง ด้วยการให้


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 47 ข้อมูลมากขึ้นและให้เข้าถึงถุงยางได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งฝึกให้พวกเธอเป็น นักเจรจาต่อรอง ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยให้พวกเธอตัดสินใจอย่างถูกต้องและ ลงมือปฏิบัติให้ตลอดรอดฝั่ง ในมอเรเลีย ความพยายามเหล่านี้ประสบความสำเร็จสูงมากในการ บรรลุเป้าหมายเฉพาะหน้า โสเภณีมีข้อมูลครบถ้วน มีถุงยาง และเจรจา อย่างรู้ทัน อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะมอบอำนาจให้กับโสเภณี ไม่สามารถยับยั้งอัตราการระบาดของโรคติดต่อทางเพศได้และก็ไม่มีวัน จะทำได้ด้วย โสเภณีที่ “มีอำนาจ” ไม่ได้ใช้ถุงยางเสมอไป เพราะอะไร น่ะหรือ ก็เพราะถุงยางเป็นไพ่ที่มีประโยชน์ในการต่อรองน่ะสิ ผู้ชายที่อยากจ่ายเงินแลกเซ็กซ์มองไม่เห็นบาร์โค้ดบนตัวโสเภณี แต่ละคนที่บอกว่าพวกเธอคิดราคาเท่าไร นั่นเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องต่อรอง ตามปกติกับโสเภณีโดยตรง แมงดา แม่เล้า หรือนายหน้าอาจจะตกลงราคา กับลูกค้าไว้ล่วงหน้า แต่พอปิดไฟและใส่กลอน ก็มักจะเป็นเวลาต่อรอง ราคารอบใหม่ ราคานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ลูกค้าจะจ่ายเงิน น้อยลงสำหรับกะเทยและ “สาว” บางคนที่อายุเกิน 70 ปีลูกค้าที่ท่าทาง รวยจะถูกชาร์จเพิ่ม ถ้าอยากได้บริการเสริมก็ต้องจ่ายเพิ่มเหมือนกัน ถ้าลูกค้าตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้ถุงยาง เขาก็ต้องจ่ายเพิ่มเช่นกัน ถ้าเขายืนยันว่าจะใช้ก็ต้องจ่ายแพงขึ้นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ถ้าเขา ยืนกรานว่าจะมีเซ็กซ์แบบ “ไม่สวมหมวก” นั่นคือเซ็กซ์แบบไม่ใช้ถุงยาง ก็ต้องจ่ายเพิ่มเกือบ 25 เปอร์เซ็นต์โสเภณีใช้การประกาศรสนิยม ของลูกค้าเป็นไพ่ในการต่อรองและเธอก็จะได้เงินเพิ่มทั้ง 2 ทาง ดูเหมือน ว่าเวิร์กช็อปการเจรจาที่โครงการสุขภาพท้องถิ่นสอนพวกเธอกำลัง ก่อดอกออกผล มันอาจเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อ แต่คำอธิบายพฤติกรรมที่โสเภณี มีเซ็กซ์ไม่ปลอดภัยฟังไม่ค่อยขึ้นเท่าไรนัก ถุงยางอนามัยมีราคาถูกและ หาง่ายในมอเรเลีย เซ็กซ์ที่มีความเสี่ยงสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อมีถุงยางแต่ไม่ใช้


48 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต มีธุรกรรมเซ็กซ์ไม่ถึง 2 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ป้องกันด้วยเหตุผลดาดๆ ว่าไม่มี ถุงยางอยู่ใกล้มือ บางคนอาจจะคันปากอยากเถียงว่าโสเภณีไม่เข้าใจความเสี่ยง นี่เป็นการดูถูกพวกเขาเอามากๆ เพราะถึงแม้ว่าองค์กรสุขภาพและการ พัฒนาจะไม่ทำอะไรเลย โสเภณีก็น่าจะรู้จักความเสี่ยงของการติดเชื้อผ่าน การมีเพศสัมพันธ์มากกว่าใครก็ตามที่คิดว่าพวกเขาเป็นเหยื่อผู้โง่เขลา  อันที่จริงโสเภณีรู้ดีว่าในขณะที่ความเสี่ยงนั้นมีอยู่จริง มันก็ไม่ได้สูงมาก มีชาวเม็กซิกันเพียง 1 ใน 800 คนที่มีเชื้อเอชไอวีและกระทั่งในหมู่ โสเภณีโรคนี้ก็มีคนเป็นเพียง 1 ใน 300 คน ถ้าโสเภณีคนหนึ่งโชคร้าย พอที่จะมีเซ็กซ์แบบไม่ป้องกันกับลูกค้าที่เป็นโรคเอดส์ความเสี่ยงที่เธอจะ ติดโรคนั้นมาก็มีเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ถ้าเขาหรือเธอเป็นโรคติดเชื้อทาง เพศสัมพันธ์อยู่แล้ว และน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ถ้าไม่เป็น ไม่มีโสเภณี คนไหนอยากเป็นเอดส์แต่ความเสี่ยงที่จะเป็นจากการมีเซ็กซ์ที่ไม่ป้องกัน นั้นน้อยมาก ในขณะที่มีรายได้เพิ่มสูงกว่ากันมาก คุณจะไม่สังเกตถ้าได้ ขึ้นเงินเดือน 25 เปอร์เซ็นต์เชียวหรือ ความเสี่ยงที่โสเภณีรับไว้เมื่อพวกเธอทิ้งถุงยางไว้ในกระเป๋าสตางค์ นั้นดูจะเป็นเรื่องที่ตัดสินใจอย่างรอบคอบแล้ว เท่าที่เรามองออก โสเภณี ธรรมดาในมอเรเลียกำลังทำตัวประหนึ่งว่าเธอให้มูลค่ากับ 1 ปีที่มีสุขภาพ ดีที่ตัวเลขระหว่าง 8,000-25,000 ปอนด์หรือเท่ากับรายได้5 ปีคนที่ คำนวณตัวเลขนี้คือนักเศรษฐศาสตร์ชื่อพอล เกิร์ตเลอร์โดยอาศัยข้อมูล ด้านระบาดวิทยาของความเสี่ยงที่จะป่วยไข้ประกอบกับตัววัดขององค์การ อนามัยโลกที่เรียกว่า “การสูญเสียปีสุขภาวะ” ซึ่งถูกออกแบบมาวัดระดับ ความทุกข์ทรมานจากโรคต่างๆ บางทีคุณอาจจะคิดว่าคนที่มีเหตุมีผลจะไม่มีวันเสี่ยงชีวิตเพื่อ แลกกับเงินเพียงเท่านั้น แต่พวกเราส่วนใหญ่รู้จักคนที่ทำงานด้วยเหตุผล นั้นจริงๆ ลองดูชีวิตของสิบเอกแมททิว ครูเกอร์เป็นตัวอย่างก็ได้


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 49 เขาสมัครไปร่วมรบเป็นแนวหน้าในสงครามอิรักเป็นรอบที่สามในเดือน ธันวาคม 2005 เสี่ยงไม่เพียงแต่ชีวิตของตัวเองเท่านั้น แต่รวมถึงชีวิตคู่ ซึ่งมีปัญหาตึงเครียดมาตลอดตั้งแต่เขาไม่อยู่ เขาไม่ใช่คนบ้าแต่ยอม เสี่ยงตายเพื่อเงิน ในวัย 29 ปีและมีลูกเล็กๆ 3 คน เขาจำเป็นต้องใช้ ประกันสุขภาพที่กองทัพออกให้ สิบเอกครูเกอร์ดูเหมือนเป็นผู้กล้า แต่กระทั่งคนขี้ขลาดอย่างผม ก็จะเสี่ยงตายเพื่อเงินเหมือนกัน ถ้าผมเห็นธนบัตรใบละ 20 ปอนด์ตกอยู่ อีกฟากหนึ่งของถนนที่มีรถราขวักไขว่ ผมก็จะข้ามไปหยิบมันขึ้นมา มัน ไม่ใช่ความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่อะไรนัก แต่มันก็ยังเป็นความเสี่ยงอยู่ดี สิ่งที่โสเภณีชาวเม็กซิกันเลือกทำนั้นไม่ได้เป็นเพราะพวกเธอ ไม่ยั้งคิดหรือเบาปัญญา แต่เป็นสิ่งที่คล้ายกันอย่างน่าทึ่งกับคนทำงานใน ประเทศราํ่ รวยที่ตกลงรับงานอันตรายเพื่อแลกกับเงินเดือนที่สูงขึ้น ไม่ว่า จะเป็นคนงานก่อสร้าง คนเลื่อยไม้หรือทหาร ถ้าโสเภณีมอเรเลียกำลัง ทำตัวไร้เหตุผลในการเรียกเงินเพิ่มแลกกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น คนเลื่อยไม้ ก็กำลังทำแบบเดียวกัน เป็นไปได้มากกว่าที่ทั้งโสเภณีและคนเลื่อยไม้รู้ดี ว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ พวกเขากำลังทำงานหนักและอันตราย เพื่อแลกกับค่าตอบแทนเป็นตัวเงินสำหรับความเสี่ยงในการทำงานนั้น พวกเขาทั้งสองอาชีพมีอำนาจการต่อรองระดับหนึ่ง มีรสนิยมที่สมเหตุ สมผล และมีมุมมองที่กร้านโลกเหมือนกัน ความแตกต่างคือโสเภณี จนกว่าและพวกเธอจึงเสี่ยงชีวิตแลกกับเงินจำนวนน้อยกว่า สิ่งที่รบกวนจิตใจเราที่สุดเกี่ยวกับการตัดสินใจของโสเภณีที่จะ มีเซ็กซ์ที่มีความเสี่ยงสูงคือ การที่พวกเธอดูเหมือนจะคิดเรื่องนี้อย่าง มีเหตุมีผลจริงๆ การอบรมโสเภณีในทุกโครงการในโลกไม่น่าจะเปลี่ยน สถานการณ์นี้ได้โสเภณีไม่เหมือนกับวัยรุ่นอเมริกันตรงที่พวกเธอรู้ดีแล้ว ว่าความเสี่ยงมีอะไรบ้าง บางคนอาจมองว่าบทวิเคราะห์นี้น่ารังเกียจและไร้สาระ แต่มันเป็น


50 เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต กรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้เศรษฐศาสตร์จัดการกับปัญหาสังคม ในเมื่อ ตอนนี้เราเข้าใจแล้วว่าแรงจูงใจที่จะมีเซ็กซ์ที่ไม่ปลอดภัยคืออะไร เราก็มี โอกาสที่จะรับมือกับมันอย่างได้ผล โครงการอบรมโสเภณีที่ผ่านมา มีประโยชน์ของมัน แต่ในเมื่อโสเภณีรู้เรื่องความเสี่ยงดีแล้ว คนที่ต้อง ได้รับการอบรมไม่ใช่โสเภณีแต่เป็นลูกค้าของพวกเธอต่างหาก นี่ไม่ใช่ เรื่องง่ายเลย ในประเด็นความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากเซ็กซ์โสเภณีฉลาดกว่าลูกค้า ของพวกเธอมาก ซึ่งนั่นก็มีเหตุผล เพราะการติดเชื้อจากเซ็กซ์เป็นอันตราย ประจำวันในอาชีพของโสเภณีแต่เป็นความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยสำหรับ ลูกค้าเท่านั้น ดังนั้นลูกค้าจึงเอาเวลาไปคิดเรื่องอื่น ทั้งหมดนี้มีเหตุมีผล เหมือนกับนักสะสมเข็มกลัดในงานวิจัยของศาสตราจารย์ลิสต์นักสะสม ที่มากประสบการณ์(โสเภณี) รู้ดีว่าพวกเธอทำอะไรอยู่ นักสะสมมือใหม่ (ลูกค้า) ไม่ค่อยรู้นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราพบพฤติกรรมมีเหตุมีผลในกลุ่ม คนที่มีแรงจูงใจสูงสุดที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ในภาษาของ เศรษฐศาสตร์ลูกค้าของพวกเธอ “เบาปัญญาอย่างมีเหตุมีผล” เพราะมัน ไม่คุ้มค่าเวลาของพวกเขาที่จะรู้อะไรมากกว่านั้น (เราจะพบกับแนวคิดนี้ อีกครั้งในบทที่ 8) เป็นเรื่องยากมากที่จะเปลี่ยนสถานการณ์นี้แต่แน่นอน ว่ามันจะไม่มีวันเปลี่ยนถ้าเราไม่เปลี่ยนเป้าหมายไปยังลูกค้าของโสเภณี โดยตรง ลองไปเยือนโลกที่ดำมืดของมอเรเลียแล้วคุณจะเห็นว่าโลกที่มีเหตุ มีผลนั้นอาจไม่ใช่โลกที่สวยงามก็ได้นี่คือสิ่งที่เราจะพบหลายครั้งใน หนังสือเล่มนี้ปัจเจกชนที่มีเหตุมีผลตัดสินใจทำหลายเรื่องที่เป็นข่าวร้าย สำหรับคนอื่น อาทิเซ็กซ์ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งเป็นหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนมากๆ และเมื่อปัจเจกชนที่มีเหตุมีผลเผชิญหน้ากับทางเลือกที่แย่ทุกทาง เหมือน กับโสเภณีในมอเรเลีย พวกเขาทำได้อย่างมากเพียงเลือกทางที่แย่น้อย ที่สุด เราจะไม่มีวันแก้ปัญหาสังคมได้ถ้าเราแกล้งหลอกตัวเองว่ามันเกิด


แนะนำ�ตรรกะของชีวิต 51 จากคนบ้า คนโง่ และคนที่ไร้ศีลธรรมเท่านั้น หรือเชื่อว่าคนส่วนใหญ่เป็น แบบนี้แต่เราก็ไม่ควรยักไหล่และประกาศว่าโลกทุกวันนี้ดีที่สุดเท่าที่มัน จะดีได้แล้ว ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าผู้คนมักจะ เลือกทำในสิ่งที่ชาญฉลาด มันก็เป็นไปได้ที่เราจะเสนอทางเลือกที่ดีกว่า เดิมให้พวกเขาได้ ลองพิจารณาสิ่งที่เราคุยกันไปแล้ว พวกหนูมีเหตุมีผลเพราะพวกมัน สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีเหตุมีผล วัยรุ่นมีเหตุมีผลเพราะเมื่อ เซ็กซ์มีความเสี่ยงสูงกว่าเดิม พวกเขาก็เปลี่ยนไปมีเซ็กซ์ที่ปลอดภัย กว่าเดิม อันธพาลวัยรุ่นมีเหตุมีผลเพราะพวกเขาก่ออาชญากรรมน้อยลง เมื่อเผชิญกับโทษที่หนักกว่าเดิม ผมเขียนไปแล้วก่อนหน้านี้ว่าคนที่มีเหตุ มีผลตอบสนองต่อการแลกเปลี่ยนและแรงจูงใจ และผมก็หวังว่าตอนนี้ นัยของไอเดียนี้จะแจ่มชัดกว่าเดิม คนที่มีเหตุมีผลมองความเสี่ยงของ การถูกจับขังคุกว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาในการก่ออาชญากรรม และ มองความเสี่ยงที่จะเป็นเอดส์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาของเซ็กซ์ที่ไม่ ป้องกัน ผมขอยํ้าอีกทีว่าคนที่มีเหตุมีผลตอบสนองต่อแรงจูงใจ คิดถึง ผลพวงของการกระทำ และมีเหตุจูงใจที่เปี่ยมสติปัญญา ตอนนี้หลายเรื่องน่าจะชัดเจนขึ้น ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์มักจะ รวมกำไรหรือรายได้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการกระทำ ของเรา แต่เป้าหมายของคนที่มีเหตุมีผลไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปตัวเงิน เสมอไป หนูไม่สนใจเรื่องเงินๆ ทองๆ มันเพียงแต่ต้องการของเหลวพอที่ จะเอาชีวิตรอด และก็อยากให้นาํ้ดื่มนั้นมีรสชาติดีพฤติกรรมที่มีเหตุมีผล หมายถึงการกระทำในทางที่บรรลุเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นเงิน รถที่วิ่งเร็ว สถานภาพทางสังคม เซ็กซ์ความเติมเต็มทางจิตใจ...หรืออาจเป็นรูตเบียร์ ก็ได้ เราได้เห็นแล้วด้วยว่าความมีเหตุมีผลนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับการ


Click to View FlipBook Version