The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by edu.itech65, 2022-07-14 10:48:32

การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

การจดั การ

ธรุ กจิ ขนาดยอ ม

Small Business Management

การเริ่มตน ธรุ กิจและการเขียนแผนธรุ กิจ
การวิเคราะหและการวางแผนการตลาด
การวางแผนเชิงกลยทุ ธ
การบริหารการผลติ และการจัดการวัสดุ
การบริหารทรัพยากรมนษุ ย
การจัดการทางบญั ชแี ละการวเิ คราะหงบการเงนิ
การตดั สินใจทางการเงนิ
กรณีศึกษา

ดร. ฉัตยาพร เสมอใจ

ธรุ กกาิจรขจนัดากดายรอ ม

Small Business Management

ดร. ฉัตยาพร เสมอใจ

•• ในกรณีที่ตองการซื้อเปนจ�ำนวนมาก เพอื่ ใชในการสอน การฝกอบรม การสงเสริมการขาย หรือเปน
ของขวัญพิเศษ เปนตน กรุณาติดตอสอบถามราคาพิเศษไดท่ี ฝายขาย บริษัท ซีเอ็ดยูเคช่ัน จ�ำกัด
(มหาชน) เลขท่ี 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท
0-2739-8222 โทรสาร 0-2739-8356-9

•• หากมีค�ำแนะน�ำหรือติชม สามารถติดตอไดท่ี comment@se–ed.com

การจดั การธรุ กิจขนาดย่อม

โดย ดร. ฉัตยาพร เสมอใจ

ราคา 250 บาท

สงวนลิขสิทธิใ์ นประเทศไทยตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2558 โดย ดร. ฉัตยาพร เสมอใจ

หามคัดลอก ลอกเลียน ดดั แปลง ทำ� ซ�้ำ จัดพิมพ์ หรอื กระทำ� อน่ื ใด โดยวิธีการใดๆ ในรปู แบบใดๆ
ไม่วา่ ส่วนหนึง่ ส่วนใดของหนงั สือเล่มนี้ เพ่อื เผยแพร่ในสอื่ ทุกประเภท หรือเพ่ือวัตถปุ ระสงค์ใดๆ
นอกจากจะไดรบั อนญุ าต
4 1 2 - 4 0 9 - 4 9 6
0 8 5 5 6 4 4 3 2 1 0 9 8

ขอ มลู ทางบรรณานุกรมของหอสมุดแหงชาติ

ฉตั ยาพร เสมอใจ.
การจดั การธรุ กิจขนาดยอ่ ม. -- กรงุ เทพฯ : ซเี อ็ดยเู คชน่ั , 2558.
496 หนา.
1. ธรุ กิจขนาดย่อม -- การจดั การ.
I. ชื่อเร่อื ง.
658.022

ISBN : 978-616-08-2238-6
จัดพิมพและจดั จำ� หนา ยโดย

เลขท่ี 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท 0-2739-8000

พิมพท ่ี บริษัท ว.ี พริ้นท์ (1991) จ�ำกัด
เลขที่ 23/71-72 หมูท่ ่ี 1 ซอยเทียนทะเล 10 ถนนบางขุนเทียน–ชายทะเล แขวงแสมดำ� เขตบางขนุ เทยี น กรงุ เทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0–2451–3010
นายวชิ ยั กาญจนพฒั นา ผพู ิมพผูโฆษณา พ.ศ. 2558

กิตติกรรมประกาศ

“ แด่...ครอบครัว
พ่อและแม่ผู้มอบความรักท่ีไม่มีเง่ือนไข
การสนับสนุนที่ไม่เคยส้ินสุด และเชื่อมั่นในตัวลูกเสมอ
พี่ชายผู้มอบความรักและก�ำลังใจให้น้องตลอดมา
”ดร. ฉัตยาพร เสมอใจ

4 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

“ ”อินเดียนแดงขอฝนส�ำเร็จทุกคร้ัง

เพราะเขาไม่เคยหยุดขอจนกว่าฝนจะตก

จากภาพยนตรเ์ ร่อื งหน่งึ

ค�ำน�ำ

ธุรกิจท่ีมีชอ่ื เสียงอย่างห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือธุรกิจที่
ประสบความส�ำเร็จระดับนานาชาติอย่าง เดลล์คอมพิวเตอร์ ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ หรือ
ไก่ทอดเคเอฟซี ล้วนเป็นธุรกิจท่ีเติบโตมาจากการเป็นธุรกิจขนาดย่อมทั้งสิ้น ธุรกิจขนาดย่อม
เปน็ กลมุ่ ธรุ กจิ ทส่ี รา้ งรายไดส้ ว่ นใหญ่ใหแ้ กป่ ระเทศ และเปน็ กงจกั รสำ� คญั ในการผลกั ดนั เศรษฐกจิ
ของประเทศ ธุรกิจขนาดย่อมจึงได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ในหลาย
รูปแบบ ทั้งจดั การฝึกอบรม จดั สรรแหลง่ เงนิ ทนุ สนบั สนุนการส่งออก จัดหาตลาด ลดอตั รา
ภาษี ฯลฯ

ในช่วง 10 ปีกว่าที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบระลอกคลน่ื ปัญหาเป็นระยะๆ ตั้งแต่
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จากวกิ ฤตการณต์ ม้ ยำ� กงุ้ (Tom Yum Kung Crisis) ใน
ช่วงปี 2540 ท่ีส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง ผู้คนหลายหมนื่ ต้องตกงาน หลังจากความ
พยายามในการฟื้นตัวได้ระยะหน่ึง ดูเหมือนเศรษฐกิจเร่ิมเติบโตไปในทิศทางที่ดี ก็เกิดภาวะ
เศรษฐกิจถดถอยในประเทศสหรัฐอเมริกา จากปัญหาซับไพรม (Subprime) ท่ีมีต้นตอสาเหตุ
มาจากหนดี้ ้อยคุณภาพ จงึ สง่ ผลใหป้ ระเทศไทยประสบกับระลอกคล่ืนปัญหาในด้านการสง่ ออก
แต่น่ันไม่เท่ากับระลอกคลน่ื ปัญหาจากความไม่สงบทางการเมือง ท่ีส่งผลต่อการสร้างรายได้
เข้าประเทศท่ีหดหายไปอย่างน่ากลัว และยังถูกซ�้ำเติมด้วยสถานการณ์น้�ำท่วมเมืองหลวงและ
จังหวดั ใกลเ้ คยี งอยา่ งรนุ แรง

ความพยายามในการฟน้ื ตวั จากสถานการณต์ า่ งๆ ครงั้ แลว้ ครงั้ เลา่ ตอ้ งอาศยั ปจั จยั หลาย
ประการ ต้ังแต่ความช่วยเหลือจากภาครัฐ ทักษะและประสบการณ์ของผู้ประกอบการ ความ
เข้าใจต่อสถานการณ์ปัจจุบัน การรู้จักตลาดอย่างลึกซึ้ง และการวางแผนการแข่งขันภายใต้
สภาวะการแขง่ ขันทรี่ นุ แรง ดังน้นั การลองผิดลองถูกดว้ ยตนเองแบบเดมิ ๆ กลายเปน็ การสรา้ ง
ความเส่ียงโดยใชเ่ หตุ

6 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

ธุรกิจขนาดย่อมท่ีจะก่อร่างสร้างตัว อยู่รอด ประสบความส�ำเร็จ และเจริญเติบโตได้
อย่างยงั่ ยืน ตอ้ งมีพน้ื ฐานท่ีมั่นคง มีการปรับตวั ท่ดี ี และสามารถก้าวไปในแตล่ ะกา้ วอย่างหนัก
แน่น โดยการน�ำของผู้ประกอบการ จึงจ�ำเป็นอย่างย่ิงที่ผู้ประกอบการต้องพัฒนาทักษะด้าน
การจดั การธรุ กจิ อยา่ งครบถว้ น ทงั้ การผลติ การจดั การ การตลาด การเงิน การบัญชี และการ
บริหารทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาถึงการจัดการธุรกิจจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถด�ำเนิน
การไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ และสามารถแข่งขนั ในตลาดระดบั ประเทศและนานาชาติไดด้ ยี ิง่ ขน้ึ

หนังสือ “การจัดการธุรกิจขนาดย่อม (Small Business Management)” เล่มน้ี
พัฒนาขึ้นมาจากการจัดเตรียมเอกสารส�ำหรับการฝึกอบรมในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ
ของหลายหน่วยงาน และใช้ในการสอนนักศึกษาในวิชาการจัดการธุรกิจขนาดย่อม โดยอาศัย
ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ผู้บริหาร ท่ีปรึกษา และเป็นนักวิชาการด้านการบริหารธุรกิจ
ของผเู้ ขยี น จงึ หวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ หนงั สอื เลม่ นจ้ี ะเปน็ คมู่ อื ทเ่ี ขา้ ใจงา่ ย และสามารถนำ� ไปปฏบิ ตั ิ
ไดจ้ ริงสำ� หรบั ผู้สนใจทวั่ ไป

ดร. ฉตั ยาพร เสมอใจ

สารบัญ

บทน�ำ .................... 9

ส่วนที่ 1 ภาพรวมของธรุ กิจ ............... 17

บทที่ 1 ธรุ กิจขนาดกลางและขนาดย่อม ................... 19
บทที่ 2 การเปน็ ผูป้ ระกอบการ ................... 41

สว่ นที่ 2 การเริม่ ตน้ ธุรกิจ ............... 68

บทท่ี 3 การเรม่ิ ตน้ ธุรกิจขนาดย่อม ................... 69
บทท่ี 4 รปู แบบของการประกอบธุรกจิ ................... 91
บทท่ี 5 การเลอื กวธิ กี ารดำ� เนนิ ธรุ กจิ ................... 109

ส่วนท่ี 3 การวางแผนธุรกจิ ............... 135

บทท่ี 6 แผนธุรกจิ ................... 137
บทที่ 7 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ................... 163
บทท่ี 8 การจดั โครงสร้างองคก์ ร ................... 189
บทที่ 9 การจดั การทรัพยากรมนุษย์ ................... 203

8 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

ส่วนท่ี 4 การวางแผนการตลาด ............... 222

บทที่ 10 การวเิ คราะห์และการวางแผนการตลาด ................... 223
บทท่ี 11 กลยุทธผ์ ลิตภณั ฑ์ ................... 253
บทท่ี 12 กลยทุ ธก์ ารตั้งราคา ................... 277
บทท่ี 13 กลยทุ ธก์ ารจดั จ�ำหนา่ ย ................... 297
บทท่ี 14 กลยทุ ธก์ ารสง่ เสรมิ การตลาด ................... 317

สว่ นท่ี 5 การวางแผนการผลิต ............... 339

บทท่ี 15 การเลอื กท�ำเลทตี่ ้งั ................... 341
บทท่ี 16 การวางแผนผงั ................... 357
บทที่ 17 การจัดการการผลติ ................... 371
บทที่ 18 การจดั การวัสดุ ................... 395

ส่วนท่ี 6 การวางแผนการเงิน ............... 420

บทท่ี 19 การจัดการระบบบัญชี ................... 421
บทท่ี 20 การตัดสินใจทางการเงิน ................... 451

กรณศี กึ ษา .................... 474
ภาคผนวก .................... 485
บรรณานกุ รม .................... 489

บทน�ำ

เมอ่ื กล่าวถึงธุรกิจขนาดใหญ่ท่ีประสบความส�ำเร็จในระดับประเทศและระดับโลกจน
เปน็ ทร่ี จู้ ักอย่างแพรห่ ลาย เช่น อาณาจักรซีพี ธนาคารกสิกร สตารบ์ ัค ลว้ นเป็นธรุ กิจทเ่ี ติบโต
จากการเป็นธุรกิจขนาดเลก็ ทั้งส้นิ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอยา่ งทจี่ ะท�ำใหธ้ ุรกจิ ประสบ
ความสำ� เรจ็ ทง้ั นี้ผูเ้ ร่มิ กอ่ ต้ังหรอื ผู้ท่เี ปน็ เจ้าของจ�ำเป็นตอ้ งมคี วามรู้ ทกั ษะ และความสามารถ
ในการบริหารธุรกิจในทุกหน้าท่ี หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงภาพรวมในการด�ำเนินธุรกิจ ตั้งแต่เริ่ม
ก่อตั้งจนถึงวิธีการด�ำเนินงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถน�ำไปปรับใช้ได้จริง โดยมี
ลำ� ดบั ในการน�ำเสนอดังน้ี

สว่ นท่ี 1 ภาพรวมของธรุ กิจ

อธิบายถึงภาพรวมของการด�ำเนินธุรกิจเพอ่ื ให้ผู้อ่านเข้าใจถึงที่มาและความส�ำคัญของธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดยอ่ ม เขา้ ใจถงึ ความหมายและเกณฑ์ในการแบง่ ขนาดของธรุ กจิ เลก็ กลาง
และใหญ่ ซ่งึ มเี กณฑ์แตกตา่ งกนั ไปตามประเภทของธุรกิจการผลติ การค้าส่งคา้ ปลีก และการ
บริการ ซ่ึงการเร่ิมต้นธุรกิจส่วนใหญ่ท่ีมีข้อจ�ำกัดด้านทรัพยากรต่างๆ จึงมักเร่ิมต้นที่ขนาดเล็ก
หรือทมี่ กั นิยมเรียกวา่ ขนาดยอ่ ม แล้วคอ่ ยๆ เพมิ่ ไปส่ขู นาดกลางและขนาดใหญต่ ามล�ำดับ จาก
การสมั ภาษณผ์ ปู้ ระกอบการทปี่ ระสบความสำ� เรจ็ ส่วนใหญ่จะกล่าวเป็นเสยี งเดยี วกนั ว่า 1 ลา้ น
บาทแรกได้มายากที่สุด และเมอื่ ได้แล้วจะถึงร้อยล้านก็ไม่ยากเท่าล้านบาทแรกแล้ว เนอื่ งจาก
การเรม่ิ ตน้ และการมหี วั ใจของการเปน็ ผปู้ ระกอบการเปน็ สง่ิ ทย่ี าก ในสว่ นของภาพรวมนจ้ี งึ อธบิ าย
ถึงธุรกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมและการเป็นผ้ปู ระกอบการก่อน

10 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

บทที่ 1 ธรุ กจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม

การเตบิ โตของธรุ กจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ มมคี วามโดดเดน่ และนา่ สนใจอยา่ งมาก เปน็
กำ� ลงั สำ� คญั ในการสรา้ งรายไดแ้ ละสรา้ งงานใหป้ ระเทศ หนว่ ยงานตา่ งๆ ของรฐั จงึ ใหก้ ารสนบั สนนุ
อยา่ งมาก ท้ังจดั การอบรมการเป็นผปู้ ระกอบการใหม่ การให้ค�ำปรึกษาในรายธรุ กจิ การจัดงาน
แสดงสนิ คา้ โดยใหผ้ ปู้ ระกอบการขนาดกลางและขนาดยอ่ มเขา้ รว่ มในงานเพือ่ จดั แสดงสนิ คา้ ของ
ตน อกี ทง้ั มกี ารจดั โรดโชวท์ ั้งในและต่างประเทศอยา่ งมากมาย บทนี้จะชี้ให้เหน็ ถึงภาพรวมและ
ความส�ำคัญของธรกุ ิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทที่ 2 การเป็นผปู้ ระกอบการ

การด�ำเนินธุรกิจจ�ำเป็นอย่างยิ่งท่ีต้องเริ่มท่ีการเป็นผู้ประกอบการ ในบทน้ีจะช่วยให้ผู้ที่
สนใจทำ� การตรวจสอบและเตรยี มความพรอ้ มในการเปน็ ผปู้ ระกอบการวา่ ควรมคี ณุ สมบตั อิ ยา่ งไร
บ้าง รวมถึงเข้าใจถึงปัญหา ความส�ำเร็จ และความล้มเหลวของ SMEs ไทย เพ่อื ใช้ในการ
เตรียมความพรอ้ มอกี ด้วย

ส่วนที่ 2 การเริ่มตน้ ธรุ กจิ

การประกอบธุรกิจต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน ต้ังแต่แนวคิดของผลิตภัณฑ์ที่จะ
ขาย การศึกษาตลาดทเี่ หมาะสม การเลอื กประเภทธรุ กิจทเ่ี หมาะสม รวมถึงการวางแผนในการ
ด�ำเนินงานในทกุ ข้นั ตอน ซึ่งผปู้ ระกอบการต้องตัดสินใจ ตั้งแต่การเรมิ่ ต้นธรุ กจิ รูปแบบของการ
ประกอบธุรกิจ และวิธกี ารด�ำเนนิ ธรุ กิจทเ่ี หมาะสมตอ่ ไป

บทที่ 3 การเรม่ิ ต้นธุรกิจขนาดย่อม

บทนี้จะกล่าวถึงภาพรวมของการเร่มิ ต้นธุรกจิ โดยแบง่ ออกเป็น 3 ขั้นตอนคอื ข้ันตอน
ในการค้นหาข้อมูล เร่ิมจากการค้นหาความต้องการของตลาด น�ำมาพัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์
และศึกษาข้อมูลทางการตลาด ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นการตัดสินใจเลือกธุรกิจโดยศึกษาจาก
ความเป็นไปได้ เลอื กวิธีการเร่ิมต้นธรุ กิจ ทำ� การวางแผนและก�ำหนดกลยทุ ธ์ในด้านต่างๆ และ
ขั้นสุดท้ายการปฏิบัติตามแผน ควบคุมและตรวจสอบ เพือ่ ให้ม่ันใจว่าสามารถด�ำเนินการและ
บรรลเุ ป้าหมายตามท่ีกำ� หนดไว้

บทน�ำ 11

บทที่ 4 รปู แบบของการประกอบธรุ กิจ

เปน็ การพจิ ารณาวา่ ควรจะเลอื กประกอบธรุ กจิ ในรปู แบบใด ระหวา่ งการเปน็ กจิ การเจา้ ของ
คนเดียว ห้างหุน้ สว่ น หรือบรษิ ทั ซึ่งแตล่ ะรปู แบบจะมีขอ้ ดีและขอ้ จำ� กดั ท่แี ตกต่างกัน บทน้ีจะ
ใหข้ อ้ มลู รายละเอยี ดของการประกอบธรุ กจิ แตล่ ะประเภท เพอ่ื ใหผ้ ปู้ ระกอบการไดพ้ จิ ารณาและ
ตดั สนิ ใจเลือกรูปแบบท่เี หมาะสมกับศักยภาพของตนเองมากทสี่ ดุ

บทที่ 5 การเลือกวิธกี ารด�ำเนินธุรกิจ

เมือ่ ตดั สนิ ใจในรปู แบบของการประกอบธุรกจิ ได้ จงึ เลอื กวิธีการวา่ จะเรม่ิ ตน้ ธุรกิจท่ีสรา้ ง
ธรุ กจิ ใหมด่ ว้ ยตนเอง หรอื การซอื้ กจิ การทมี่ กี ารดำ� เนนิ ธรุ กจิ อยแู่ ลว้ หรอื การซอื้ แฟรนไชส์ ซง่ึ การ
ตัดสินใจเลือกด�ำเนินธุรกิจวิธีใดต้องพิจารณาจากข้อดีและข้อจ�ำกัดของการด�ำเนินธุรกิจแต่ละ
ประเภทก่อน และเลอื กวิธที ่ีเหมาะสมกับศักยภาพของผปู้ ระกอบทีส่ ุด

สว่ นที่ 3 การวางแผนธรุ กจิ

การวางแผนธรุ กจิ เปน็ การคดิ และตดั สนิ ใจอยา่ งรอบคอบถงึ รายละเอยี ดในการดำ� เนนิ ธรุ กจิ โดย
อาศยั ขอ้ มลู ทถี่ กู ตอ้ ง ทนั สมยั และครบถว้ น จงึ จะทำ� ใหส้ ามารถวางแผนทเี่ หมาะสมกบั สถานการณ์
ปัจจุบนั ในการวางแผนธุรกิจเป็นสง่ิ จำ� เป็นท่ผี ปู้ ระกอบการต้องเข้าใจถงึ กระบวนการและวิธีการ
โดยละเอยี ด เพอื่ สามารถวางแผนได้อยา่ งเหมาะสม

บทท่ี 6 แผนธุรกิจ

การวางแผนธรุ กจิ มปี ระโยชนท์ ง้ั กบั ธรุ กจิ เองและผทู้ เ่ี กยี่ วขอ้ ง ในสว่ นของผปู้ ระกอบการ
เองไดแ้ ผนธรุ กจิ ทสี่ ามารถนำ� ไปดำ� เนนิ การไดอ้ ยา่ งราบร่นื ประสบความสำ� เรจ็ ตามทตี่ งั้ เปา้ หมาย
ไว้ ลูกค้าก็ได้สนิ คา้ และบรกิ ารตามทตี่ อ้ งการ และผู้มีสว่ นได้เสยี ต่างๆ ก็ได้รบั ผลประโยชน์ หาก
แผนนนั้ ประสบผลสำ� เรจ็ การวางแผนทีด่ ีจึงตอ้ งอาศัยความเขา้ ใจของผู้วางแผน อาศยั ข้อมลู ท่ี
ถูกต้อง และสามารถวางแผนได้อย่างละเอียดรอบคอบในทุกด้าน ในบทน้ีจึงต้องการให้เข้าใจ
ถึงภาพรวมขององค์ประกอบแผนธรุ กจิ ทง้ั หมด

บทท่ี 7 การวางแผนเชงิ กลยทุ ธ์

การวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นส่ิงจ�ำเป็นของธุรกิจ เป็นการวางแผนอย่างมีเป้าหมายและ
หลกั การ โดยการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ปจั จบุ นั เพอ่ื นำ� มาพฒั นาแผนและกลยทุ ธ์ในการดำ� เนนิ งานเพื่อ
ให้บรรลุเปา้ หมายของธรุ กิจ การวางแผนเชงิ กลยุทธม์ ีประโยชนห์ ลายประการ แตถ่ งึ กระน้นั ก็มี

12 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

บางธุรกิจที่ไม่ท�ำการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ในบทน้ีจะอธิบายถึงกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
เพอ่ื สรา้ งความเขา้ ใจและสามารถนำ� ไปประยุกต์ใช้ได้จรงิ

บทท่ี 8 การจดั โครงสร้างองค์กร

การจดั โครงสรา้ งองคก์ รจะเปน็ การแสดงถงึ อำ� นาจ หนา้ ที่ ขอบเขตความรบั ผดิ ชอบ และ
สายการบังคับบัญชาของทุกต�ำแหน่งในองค์กร โครงสร้างองค์กรมีหลากหลายรูปแบบ แต่ละ
แบบมีข้อดีและข้อจ�ำกัดท่ีแตกต่างกัน มีความเหมาะสมกับธุรกิจแต่ละประเภท องค์กรหน่ึงๆ
อาจมีการปรับเปล่ียนโครงสร้างองค์กรตามขั้นตอนการเจริญเติบโตขององค์กร ขนาดที่เติบโต
ขึ้น หน้าที่ภาระงานบางอย่างมากข้ึนในขณะท่ีบางหน้าที่อาจจะลดลง โครงสร้างก็อาจต้อง
ปรับเปล่ียนให้เหมาะสมตามลักษณะการด�ำเนินงานไปด้วย โดยบทน้ีจะอธิบายถึงประเภทของ
โครงสร้างองคก์ รรูปแบบต่างๆ

บทที่ 9 การจดั การทรัพยากรมนษุ ย์

เรือ่ งของคนเปน็ ประเดน็ ทส่ี ำ� คญั มากทสี่ ดุ ประเดน็ หนงึ่ ในการสรา้ งความสำ� เรจ็ ใหแ้ กธ่ รุ กจิ
ผู้ประกอบการควรเข้าใจเก่ียวกับหลักการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนงานทรัพยากร
มนษุ ย์ การสรรหาและการคัดเลอื กบุคลากร การพฒั นาบุคลากร คา่ ตอบแทนและผลประโยชน์
ทเ่ี หมาะสมและนา่ จงู ใจ และการปรบั เปลยี่ นตำ� แหนง่ ทงั้ เพ่อื เปน็ รางวลั การจงู ใจ และการลงโทษ

ส่วนที่ 4 การวางแผนการตลาด

เปา้ หมายหลักของการประกอบธุรกจิ คอื ก�ำไร ซ่งึ มาจากแหล่งรายไดท้ ่เี รยี กว่า “ตลาด” ในทน่ี ี่
หมายถงึ ลกู คา้ การดำ� เนนิ ธรุ กจิ ทปี่ ระสบความสำ� เรจ็ จำ� เปน็ ตอ้ งรจู้ กั ตลาดของตนเองวา่ เปน็ ใคร
ตอ้ งการอะไร จะสร้างความสนใจใหแ้ กต่ ลาดได้อย่างไร โดยเร่ิมจากการวเิ คราะห์ และวางแผน
การตลาดใหเ้ หมาะสม

บทที่ 10 การวเิ คราะห์และการวางแผนการตลาด

เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบันว่ามีคู่แข่งขันเป็นใครบ้าง มีความ
เข้มแขง็ เพยี งใด ธุรกิจจะสามารถสรา้ งความได้เปรียบทางธรุ กจิ ได้อยา่ งไร กลมุ่ เปา้ หมายทค่ี าด
วา่ จะซอื้ สนิ คา้ และบรกิ ารเปน็ ใคร กลมุ่ เปา้ หมายเหลา่ นนั้ ตอ้ งการอะไรบา้ งจากสนิ คา้ และบรกิ าร
โดยท�ำการศึกษาสว่ นตลาดและก�ำหนดกลมุ่ เป้าหมายใหถ้ กู ตอ้ งเหมาะสม และกำ� หนดตำ� แหน่ง
ผลติ ภณั ฑท์ จ่ี ะสามารถสะทอ้ นถงึ คณุ ลกั ษณะทโ่ี ดดเดน่ ของผลติ ภณั ฑท์ ต่ี รงกบั กลมุ่ เปา้ หมายได้

บทน�ำ 13

อยา่ งชดั เจน และทำ� การตรวจสอบความสามารถดา้ นการตลาดของธรุ กจิ ดว้ ยการประเมนิ ศกั ยภาพ
ของตลาด โดยกำ� หนดตวั ช้วี ดั ตา่ งๆ

บทท่ี 11 กลยทุ ธผ์ ลติ ภณั ฑ์

กลยทุ ธก์ ารตลาดประกอบดว้ ยองคป์ ระกอบส�ำคญั ทเี่ รยี กวา่ สว่ นประสมทางการตลาด ไดแ้ ก่
ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจ�ำหนา่ ย และการส่งเสริมการตลาด ซง่ึ ตอ้ งพัฒนาให้ตรงกับพฤติกรรม
และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ในบทน้ีจะอธิบายรายละเอียดที่เก่ียวข้องกับผลิตภัณฑ์
ประเภทของผลติ ภณั ฑ์ ตราผลติ ภัณฑ์ กลยทุ ธ์บรรจภุ ัณฑ์ ป้ายฉลาก และกลยทุ ธ์ผลิตภณั ฑ์

บทที่ 12 กลยุทธก์ ารตง้ั ราคา

กลยทุ ธ์ในการตง้ั ราคาทด่ี ที สี่ ดุ ถอื วา่ เปน็ เรอ่ื งทยี่ ากมาก เพราะจะตอ้ งเปน็ ราคาทผี่ บู้ รโิ ภค
รู้สึกว่าคุ้มค่ากับเงินที่จะต้องจ่าย ธุรกิจต้องได้ก�ำไรตามท่ีต้องการ และเป็นราคาท่ีแข่งขันกับ
คู่แข่งรายอืน่ ได้อีกด้วย ดังนั้นในการตั้งราคาจึงมีองค์ประกอบเข้ามาเก่ียวข้องหลายประการ
ตั้งแตต่ น้ ทุนการผลิตและการดำ� เนนิ งานทั้งหมด ศักยภาพของลูกคา้ ทจ่ี ะจา่ ยได้ และศกั ยภาพ
ของคู่แข่งขัน การเปลี่ยนแปลงของราคาย่อมมีผลกระทบต่อทุกฝ่าย จึงจ�ำเป็นอย่างย่ิงที่ต้อง
ศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับราคาอย่างรอบคอบ ดังนั้นนอกจากความหมายและปัจจัยในการ
ก�ำหนดกลยุทธร์ าคาแลว้ ในบทนี้จะอธิบายถงึ การก�ำหนดนโยบายการต้ังราคา การตงั้ ราคากบั
การกำ� หนดตำ� แหน่งผลติ ภณั ฑ์ และข้อควรระวังในการตง้ั ราคาอีกด้วย

บทที่ 13 กลยทุ ธก์ ารจดั จำ� หนา่ ย

การเขา้ ถงึ ผบู้ รโิ ภคหรอื ลกู คา้ กลมุ่ เปา้ หมายอยา่ งทว่ั ถงึ เปน็ ปจั จยั แหง่ ความสำ� เรจ็ ของธรุ กจิ
ประการหนง่ึ การเขา้ ใจถงึ การจดั จำ� หนา่ ยและชอ่ งทางการจดั จ�ำหนา่ ยจงึ เปน็ เรื่องจ�ำเปน็ นอกจาก
นีแ้ ล้วบทนจ้ี ะอธบิ ายถึงประโยชน์ของการใช้คนกลางเขา้ มาชว่ ยในการจดั จ�ำหน่าย ประเภทของ
คนกลาง ปัจจัยในการตัดสินใจเก่ียวกับคนกลาง และการวางแผนกลยุทธ์ทางการจัดจ�ำหน่าย
และการกระจายผลิตภณั ฑ์

บทที่ 14 กลยุทธ์การสง่ เสริมการตลาด

การส่งเสริมการตลาดคือ การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพือ่ ให้กลุ่ม
เป้าหมายเกิดพฤติกรรมท่ีพึงปรารถนา กล่าวคือ หากต้องการให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักผลิตภัณฑ์
หรอื องคก์ รก็ตอ้ งใชเ้ คร่อื งมอื ทเี่ รยี กวา่ การโฆษณา และการประชาสมั พนั ธ์ ถา้ ตอ้ งการให้กลุ่ม
เป้าหมายมีความเข้าใจในรายละเอียดผลิตภัณฑ์มากขึ้นก็อาจใช้พนักงานขาย ถ้าต้องการเข้า

14 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

ถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้ได้ โอกาสสัมผัสกับผลิตภัณฑ์และสามารถตัดสินใจซ้ือได้ทันทีก็ใช้
เครอ่ื งมอื การตลาดเชงิ กจิ กรรม หรอื ถา้ ตอ้ งการเขา้ ถงึ กลมุ่ เปา้ หมายโดยตรงโดยไมผ่ า่ นคนกลาง
ก็ใชก้ ารลาดทางตรง เครือ่ งมือแต่ละประเภทมขี อ้ ดขี อ้ จำ� กดั และเทคนิคการใช้ที่แตกต่างกนั ใน
บทนจ้ี ะกลา่ วถงึ รายละเอียดของเคร่อื งมอื แตล่ ะตัวเพื่อให้สามารถตดั สนิ ใจใช้ได้อยา่ งเหมาะสม
ยิ่งข้ึน

ส่วนท่ี 5 การวางแผนการผลติ

เมอ่ื เป้าหมายของธุรกิจคือ ก�ำไร การวางแผนเพอื่ เพิม่ ประสทิ ธิภาพการผลิตจงึ ถือเป็นกลยทุ ธ์ที่
สำ� คญั ของธรุ กิจกลยุทธห์ นึง่ เนื่องจากวิธีการเพิม่ กำ� ไรให้ธรุ กจิ มี 2 รูปแบบคือ (1) การเพ่มิ ยอด
ขาย เพ่อื เพม่ิ รายไดแ้ ละกำ� ไรจากประมาณการขายทเี่ พม่ิ ขนึ้ หรอื (2) การเพม่ิ ประสทิ ธภิ าพในการ
ผลติ ทจี่ ะทำ� ใหธ้ รุ กจิ มกี ำ� ไรเพมิ่ ขน้ึ จากการลดตน้ ทนุ ทเี่ กดิ จากประสทิ ธภิ าพในการดำ� เนนิ งาน ซงึ่
ตอ้ งพจิ ารณาตงั้ แตก่ ารเลอื กทำ� เลทตี่ ง้ั การวางแผนผงั การจดั การการผลติ และการจดั การวสั ดุ

บทท่ี 15 การเลอื กท�ำเลทีต่ งั้

การเลอื กทำ� เลทต่ี งั้ จะสง่ ผลกระทบตอ่ การดำ� เนนิ งานในหลายดา้ น ทงั้ ตน้ ทนุ ในการขนสง่
จากแหลง่ ผลติ หรอื แหลง่ คา้ สง่ มายงั ท�ำเลทข่ี ายสนิ คา้ หรอื ใหบ้ รกิ าร ท�ำเลหนา้ รา้ นในแหลง่ ชมุ ชน
ที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงโดยง่าย ยิ่งเป็นท�ำเลท่ีกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้สะดวกมากเพียง
ใด ท�ำเลน้ันก็มักเป็นเป็นท�ำเลท่ีแพงข้ึนตามไปด้วย ในการตัดสินใจเลือกท�ำเลจึงต้องพิจารณา
จากปัจจัยกับชนิดของธุรกิจ ดังนั้นการจะเลือกท�ำเลใดต้องพิจารณาความเหมาะสมกับแต่ละ
ธุรกจิ ในบทนีจ้ ะอธิบายทำ� เลทต่ี ง้ั ของธุรกิจค้าปลกี ธรุ กิจคา้ สง่ ธุรกิจการผลิต และธรุ กจิ บริการ

บทที่ 16 การวางแผนผงั

การวางแผนผงั ของธรุ กจิ ทด่ี จี ะสง่ ผลตอ่ ประสทิ ธภิ าพและตน้ ทนุ ในการดำ� เนนิ งาน เนื่องจาก
การไหลในกระบวนการผลิตหรอื การบรกิ ารที่มมี าตรฐาน สะดวก ไม่ติดขัด กจ็ ะทำ� ให้ไดผ้ ลิตผล
ทีด่ ีตามไปด้วย ในบทนี้จะอธบิ ายถงึ ประเภทของแผนผงั สำ� หรับธุรกิจคา้ ปลีก ธรุ กจิ ค้าส่ง ธุรกิจ
การผลติ และธรุ กจิ การบริการ การทำ� ความเขา้ ใจถึงประเภทของแผนผงั ทีเ่ หมาะสมที่แตกตา่ ง
กนั ไปจะช่วยให้สามารถตัดสินใจเกย่ี วการวางแผนผงั ท่ีเหมาะสมย่งิ ข้ึน

บทน�ำ 15

บทที่ 17 การจดั การการผลติ

หน้าท่ีด้านการจัดการการผลิตจะพิจารณาเฉพาะหน้าท่ีใดหน้าที่หนึ่งเท่าน้ันไม่ได้ แต่
ต้องเข้าใจถึงภาพรวมของการด�ำเนินงานท้ังหมด โดยมีเป้าหมายที่ประสิทธิภาพสูงสุด กล่าว
คือ ไดผ้ ลลัพธต์ ามที่ต้องการดว้ ยต้นทุนท่ตี ำ่� กวา่ ดงั น้ันในบทนจ้ี ะอธบิ ายถึงการจดั การการผลิต
กระบวนการผลิต การวางแผนการผลิต ประโยชน์ของการวางแผนการผลิต ข้ันตอนของการ
วางแผนการผลิต การควบคมุ การผลติ และการจัดการระบบการผลติ

บทที่ 18 การจดั การวสั ดุ

การผลิตจะมปี ระสิทธภิ าพหรือไม่ คณุ ภาพของผลผลติ จะเปน็ ไปตามเป้าหมายทีก่ �ำหนด
หรอื ไม่ ปัจจัยสำ� คญั สว่ นหนึง่ มาจากการจัดการวัสดุ ในบทน้ีจะอธิบายถงึ สิ่งที่ผ้บู รหิ ารต้องเข้าใจ
เก่ยี วกบั การจดั การวสั ดุ ต้งั แต่ความหมายของการจดั การวสั ดุ หนา้ ทข่ี องการจัดการวสั ดุ การ
จดั หาวตั ถดุ บิ ความสมั พนั ธก์ บั ผขู้ ายวตั ถดุ บิ วสั ดคุ งคลงั ประเภทของวสั ดคุ งคลงั การวดั ปรมิ าณ
วสั ดุคงคลงั และปริมาณการสง่ั ซอื้ ทป่ี ระหยดั

สว่ นที่ 6 การวางแผนการเงิน

โดยท่ัวไปแล้วปัจจัยที่ท�ำให้ธุรกิจขนาดย่อมไม่ประสบความส�ำเร็จอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น
กระบวนการผลติ ที่ไมม่ ปี ระสทิ ธภิ าพ ทำ� ให้ไมส่ ามารถควบคมุ คณุ ภาพและตน้ ทนุ ได้ หรอื ไมส่ ามารถ
พัฒนากลยุทธ์การตลาดที่ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายได้ จึงให้ความส�ำคัญกับการตลาดและ
การผลติ มากกวา่ หนา้ ทอี่ น่ื แตผ่ ปู้ ระกอบการสว่ นใหญอ่ าจไมต่ ระหนกั วา่ ความรแู้ ละความสามารถ
ในการจัดการด้านการเงินของธุรกิจมีส่วนส�ำคัญมากท่ีอาจท�ำให้ธุรกิจที่มีศักยภาพการผลิตและ
สร้างตลาดใหม่กลบั กลายเป็นธุรกจิ ทลี่ ้มละลายไปเลยก็ได้ จากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน
หรือมีภาระหนี้สินมากเกินไปจากการกู้เงินเพอ่ื การขยายธุรกิจท่ีเกินตัว เป็นต้น ผู้ประกอบการ
ธรุ กจิ ขนาดยอ่ มควรตระหนกั ถงึ ความเขม้ แขง็ ทางการเงนิ ของตนเอง โดยการศกึ ษารายละเอยี ด
และทำ� การวางแผนทางการเงนิ อยา่ งรอบดา้ น มกี ารจดั การระบบบญั ชที ม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพ และการ
ตดั สนิ ใจทางการเงนิ ที่รอบคอบรัดกุม

16 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

บทท่ี 19 การจัดการระบบบญั ชี

แม้ว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมอาจไม่ต้องท�ำบัญชีด้วยตนเอง แต่ควรต้องเข้าใจ
เกยี่ วกบั การจดั การระบบบญั ชี เนื่องจากเปน็ หนา้ ทก่ี ารจดั ท�ำบญั ชตี ามกฎหมายทธี่ รุ กจิ ตอ้ งปฏบิ ตั ิ
ตาม ซึ่งในบทนจี้ ะอธบิ ายถึงเครอื่ งมือทางการบัญชี งบการเงนิ การวเิ คราะหง์ บการเงนิ และงบ
ประมาณ อนั เปน็ พนื้ ฐานทชี่ ว่ ยใหผ้ ปู้ ระกอบการตดิ ตามตรวจสอบสขุ ภาพทางการเงนิ ของตนเอง
ได้ เพ่อื จะได้วางแผนในการด�ำเนินงานอยา่ งเหมาะสมกับสถานการณ์ไดต้ อ่ ไป

บทที่ 20 การตัดสนิ ใจทางการเงนิ

ในการด�ำเนินธุรกิจต้องมีการตัดสินใจอยู่เสมอว่าจะท�ำสิ่งใดหรือไม่ท�ำสิ่งใด โดยอาศัย
ตัวเลขทางการเงินเป็นเครอ่ื งมือที่ช่วยในการตัดสินใจ ตั้งแต่การเร่ิมก่อตั้งกิจการจนถึงตลอด
ระยะเวลาการดำ� เนนิ งาน โดยในบทนจ้ี ะอธบิ ายถงึ การตดั สนิ ใจทางการเงนิ ในรปู แบบตา่ งๆ ไดแ้ ก่
การตดั สนิ ใจเลอื กผลติ หรอื ซอื้ การวเิ คราะหก์ ารลงทนุ การตดั สนิ ใจซอื้ หรอื ผลติ เอง การตดั สนิ ใจ
ยกเลกิ ผลติ ภณั ฑ์ และการตัดสินใจรบั คำ� สัง่ ซอ้ื พิเศษ

1สว่ นที่

ภาพรวมของธุรกิจ



ธุรกิจขนาดกลาง 1
และขนาดย่อม

วัตถุประสงค์

บทน้ีต้องการให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในหัวข้อต่อไปน้ี
1. ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับความส�ำเร็จ
2. สาเหตุของความน่าสนใจของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
3. ความหมายและการแบ่งขนาดของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4. ประเภทของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
5. การก�ำหนดขนาดของธุรกิจ

20 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

ต ลอดชว่ งเวลาของความพยายามในการพฒั นาเศรษฐกิจไทยให้ก้าวสคู่ วามทนั สมัย และ
การเปน็ สงั คมอตุ สาหกรรม สถาบนั การศกึ ษาในแทบทกุ ระดบั ตา่ งมงุ่ เนน้ ดา้ นการพฒั นา
ทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ และทักษะส�ำหรับป้อนสู่การจ้างงานในภาคราชการและธุรกิจ
ขนาดใหญ่ โดยใช้แนวคดิ การสรา้ งผเู้ ชยี่ วชาญเฉพาะสาขา (Specialist) และผู้จัดการมืออาชีพ
(Professional Manager) ซ่ึงถือเป็นต้นแบบในความคิดของคนไทยในหลายๆ รุ่นท่ีผ่านมา
ท่ีต่างปลูกฝังและคาดหวังให้บุตรหลานของตนเติบใหญ่ข้ึนเป็นเจ้าคนนายคน ธุรกิจขนาดใหญ่
ก็ดูเหมือนจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและสถาบันทางการเงินมากกว่า แต่จากเหตุการณ์
ท่ีประเทศไทยและประเทศเพอ่ื นบ้านต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ซ่ึงเป็นช่วงเวลาท่ี
ท�ำให้ทุกคนทุกธุรกิจต่างได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้า ความรุนแรงของเหตุการณ์ดังกล่าว
เปรียบเสมือนถูกถลม่ ด้วยสนึ ามิ แตเ่ ป็นสนึ ามทิ างเศรษฐกิจ

ในขณะที่ธุรกิจธนาคาร สถาบันทางการเงิน และกิจการขนาดใหญ่หลายแห่งประสบ
ปัญหาในการด�ำเนินงาน จนต้องเผชิญกับภาวะขาดทุนและล้มละลาย จนก่อให้เกิดสภาวะล่ม
สลายทางเศรษฐกิจของประเทศ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจนั้น กลับมีกลุ่มคนหรือธุรกิจกลุ่ม
หนึง่ ท่รี อดพ้น และยงั เปน็ แรงสำ� คญั เพยี งสว่ นเดยี วทเ่ี ป็นเสมอื นหยดเลือดหลอ่ เลย้ี งชวี ิตระบบ
เศรษฐกิจที่บอบช�้ำ และผลักดันกงล้อเศรษฐกิจให้หมุนไปข้างหน้า และค่อยๆ แก้ไขปัญหาไป
อย่างช้าๆ กิจการหรือธุรกิจของคนกลุ่มนี้บางรายมียอดขายสูงถึงกว่า 200 ล้านบาท และมี
ก�ำไรเพ่ิมข้ึน 10 – 30 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 2 ปี หลังจากเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
(Recession) อีกท้ังการด�ำเนินธุรกิจของคนกลุ่มนี้ยังไม่ต้องใช้เงินทุนมาก ไม่ต้องกู้เงินจาก
ต่างชาติ และยังสามารถพัฒนาและน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ท่ีหลากหลาย มีคุณภาพ สวยงาม ใช้
ฝีมือ และเป็นท่ียอมรับในระดับสากล คนกลุ่มน้ีก็คือ เจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาด
ยอ่ ม (Small and Medium Entrepreneurs) หรอื SMEs

SMEs กบั ความส�ำเร็จ

เราอาจจะคิดว่าธุรกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Businesses) ไม่มคี วาม
ส�ำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมากนัก และธุรกิจเหล่านี้ยังขาดเสถียรภาพ จึงด�ำเนินการไปวันๆ
เท่าน้ัน ความจริงแนวคิดของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่ได้หมายความว่า กิจการน้ันๆ
จะต้องเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปตลอดชีวิต หรือตลอดช่ัวลูกช่ัวหลานของผู้ก่อต้ัง
แต่สามารถพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้นมาได้ ดังจะเห็นได้จากหลากหลายธุรกิจที่ประสบความ

21บทที่ 1 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ส�ำเร็จในระดบั โลกอย่าง เดลลค์ อมพวิ เตอร์ กเ็ ร่ิมต้นจากกจิ การเล็กๆ ของ Michael Dell เด็ก
หนมุ่ วยั เพียง 19 ปี ที่ใช้ห้องพกั ในมหาวิทยาลยั เท็กซัส ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอรท์ างไปรษณีย์
ซึ่งในช่วงแรกเขาสามารถท�ำรายได้ถึง 80,000 เหรียญสหรัฐฯ ภายในเดือนเดียว จากการ
ลงทนุ เพียง 1,000 เหรียญสหรัฐฯ และปัจจบุ นั ธุรกิจนีม้ ีมูลค่าถึง 58.2 พันล้านเหรยี ญสหรัฐฯ1

รปู ที่ 1.1 เดลล์สร้างความสะดวกใหแ้ ก่ลกู ค้า โดยสามารถสัง่ ซือ้ เดลลค์ อมพวิ เตอร์ตามแบบทีต่ อ้ งการ
ออนไลน์ได้

ทมี่ า : http://www.dell.com/

ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ท่ีโด่งดังและได้รับความนิยมไปท่ัวโลก ก็เร่ิมต้นจากการเป็นร้าน
กาแฟเล็กๆ ในเมืองซีแอตเติล สหรัฐฯ เดิมใช้ชือ่ ว่า สตาร์บัคส์คอฟฟี่ ทีแอนด์สไปซส์
ปัจจบุ ันไดเ้ ตบิ โตมกี ารขยายสาขาและแฟรนไชสก์ วา่ 6,566 รา้ น ใน 41 ประเทศทว่ั โลก รวม
ท้ังประเทศไทย2 และเป็นส่วนหนึ่งที่จุดประกายให้ร้านกาแฟในประเทศไทยได้รับความนิยม
เพม่ิ ขนึ้ อย่างมาก

1http://www.dell.com/
2http://www.starbucks.com/

22 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

รูปที่ 1.2 รปู โฆษณาแจง้ ว่ามีร้านกาแฟสตารบ์ ัคส์เปิดอยู่ใกล้ๆ คณุ

ท่มี า : http://the.honoluluadvertiser.com/specials/bestrestaurants05/advertisers/starbucks.jpg

หรือธุรกิจของครอบครัวท่ีเร่ิมจากร้านค้าเล็กๆ ขายกาแฟและของใช้เบ็ดเตล็ดย่าน
บางมดในปี พ.ศ. 2470 จนมาเปดิ ร้านค้านาม “เขง่ เซ่งหลี” แถวบางขุนเทียนทม่ี ที ้งั ร้านกาแฟ
ร้านอาหาร ร้านของใช้ ร้านตัดเสื้อ ร้านตัดผมและที่อยู่อาศัยไว้ในหนึ่งเดียวกัน และรับ
นิตยสารจากต่างประเทศ ไปจ�ำหน่ายตามห้างร้านในกรุงเทพฯ ต่อมาได้ขยับขยายสู่การเป็น
ผ้จู �ำหนา่ ยหนังสือเอง โดยเปดิ ร้านห้องแถวหนึง่ คูหาแถวสี่พระยา โดยอาศยั ทนุ เร่ิมต้น 2,000
บาทที่หยิบยืมมารวมกับเงินเก็บ เงินร่วมทุนจากเพื่อน และสร้อยทองจ�ำนวนหน่ึง ซึ่งเป็นจุด
เริ่มต้นของห้างเซ็นทรัลในปัจจุบันท่ีมีสาขาท้ังสิ้น 16 สาขา อีกทั้งมีบริษัทในเครือท่ีประสบ
ความส�ำเร็จและเป็นท่ีรู้จักของผู้คนท่ัวไป อย่างห้างสรรพสินค้าเซน ร้านหนังสือบีทูเอส
ท็อปสซ์ ูเปอร์มารเ์ กต็ ร้านสินคา้ กีฬาซเู ปอร์สปอร์ต ร้านสินคา้ สำ� นักงาน และอ่ืนๆ3

3http://www.centralretall.com/

23บทที่ 1 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือที่รู้จักอย่างแพร่หลายในนาม “ซีพี” ก่อตั้งในปี 2464 โดย
พี่น้องตระกูลเจีย ปัจจุบันเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแห่งหนึ่ง ที่มีธุรกิจผลิตภัณฑ์
เกษตร ธุรกิจค้าปลีก และการติดต่อส่ือสาร มพี นักงานกว่า 250,000 คน มยี อดขายกว่า 14
พันล้านเหรยี ญสหรัฐฯ ในปี 25494

เน่ืองด้วยความส�ำเร็จของธุรกิจต่างๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้ต้องการเป็นเจ้าของ
กิจการท้ังหลาย อีกท้ังสภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือต่อการลงทุน ส่งผลให้เกิดการลงทุนในธุรกิจรูป
แบบต่างๆ มากขึ้นอย่างต่อเน่ือง ดังจะเห็นได้ในตารางท่ี 1.1 ท่ีแสดงยอดการจดทะเบียน
นิติบุคคลของธุรกิจเพ่ิมข้ึนอย่างต่อเนื่อง ต้ังแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน และจากรายงานของ
ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่าในปี 2553 และ 2554 มีสถิติ
จ�ำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมท่ีเป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจ
การคา้ กระทรวงพาณชิ ย์ โดยในปี 2553 มจี �ำนวนทงั้ ส้ิน 582,236 ราย และในปี 2554 มี
จำ� นวน 599,389 ราย เพ่ิมข้นึ 17,156 ราย คดิ เป็นร้อยละ 2.9 สว่ นสถติ ิจำ� นวนวิสาหกจิ ขนาด
กลางและขนาดย่อมที่ไม่เป็นนิติบุคคลน้ัน ในปี 2553 มีจ�ำนวนท้ังส้ิน 2,342,676 ราย ส่วน
ในปี 2554 มจี ำ� นวน 2,053,465 ราย หรือลดลงรอ้ ยละ 12.3 โดยสาเหตหุ ลกั มาจากการยกเลิก
กิจการของวิสาหกิจไม่เป็นนิติบุคคล ประเภทท่ัวไป (ธุรกิจกิจการรายเดียว) ดังนั้นจ�ำนวน
วสิ าหกจิ ในปี 2554 มีจำ� นวนท้งั ส้นิ 2,652,854 ราย ลดลงจากปี 2553 จำ� นวน 272,058 ราย
คดิ เปน็ ร้อยละ 9.35

ในตารางท่ี 1.1 จะเห็นได้ว่าหลังฟองสบู่ทางเศรษฐกิจแตกในปี 2540 ธุรกิจต่างๆ
ไดพ้ ยายามดน้ิ รนทจ่ี ะอยรู่ อด แตไ่ มป่ ระสบความสำ� เรจ็ มนี ติ บิ คุ คลทสี่ น้ิ สภาพมากถงึ 12,465 ราย
ในปี 2541 และมากขึ้นจนถึงกว่า 20,000 ราย ต้ังแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีผู้
ตกงานมากมาย และเริ่มมีการสนบั สนุนใหเ้ ขา้ สูก่ ารเปน็ ผู้ประกอบการ จึงเร่ิมมีอตั ราการจดั ตั้ง
ธุรกจิ ใหมเ่ พม่ิ ขน้ึ เรื่อยๆ หลงั จากลดลงในปี 2540

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีปัญหาทางเศรษฐกิจตกต่�ำ มีการล้มหายตายจากของธุรกิจ
มากมาย โดยเฉพาะในช่วง 7 ปที ่ีผา่ นมา ตง้ั แต่ปี 2544 คดิ เฉลย่ี ประมาณ 5 เปอร์เซน็ ต์ตอ่ ปี
ของจ�ำนวนธุรกิจท้ังหมด แต่สถิติธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลในประเทศไทยกลับเพิ่มขึ้นอย่าง
ตอ่ เนอ่ื งมาตั้งแต่ปี 2537 คดิ เป็นเฉล่ียประมาณ 8 เปอร์เซน็ ต์ตอ่ ปีของจำ� นวนธรุ กิจทงั้ หมด

4http://www.cpthailand.com/AboutCP/tabid/216/Default.aspx
5ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2555). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ปี 2554 และปี 2555. http://www.sme.go.th/Lists/EditorInput/DispF.aspx?List=15dca7fb-bf2e-464e-97e5-
440321040570&ID=1865, เข้าถงึ เมอ่ื 5 กนั ยายน 2557.

ตารางท่ี 1.1 สถติ ิรายปี นิตบิ ุคคลทุกประเภทจดทะเบียน (จดั ตั้ง สนิ้ สภาพ และคงอย)ู่ ท่วั ราชอาณาจักร ตงั้ แตป่ ี 2455 – ธนั วาคม 2550 หนว่ ย : ราย 24 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

ปีทจี่ ดทะเบียน ยอดยกมา จัดตงั้ คืนสทู่ ะเบยี น ท่วั ประเทศ อื่นๆ คงอยู่
ส้นิ สภาพ
ทุกประเภท - 1,142 394,517
2455 - 2540 394,517 เลกิ ถอนทะเบยี นรา้ ง ล้มละลาย 52 402,416
2541 402,416 47 418,118
2542 418,118 483,708 10 59,881 26,141 2,027 88 416,590
2543 416,590 20,364 - 11,411 814 188 96 426,825
2544 426,825 25,826 - 9,689 199 189 172 434,425
2545 434,425 29,474 13 9,600 248 256 448,750
2546 448,750 32,005 12 11,874 21,066 298 309 471,566
2547 471,566 35,698 15 17,425 9,502 419 306 494,644
2548 494,644 43,996 12 22,218 10,082 534 599 521,043
2549 521,043 47,654 14 17,961 6,663 529 429 539,724
2550 (ม.ค. - ธ.ค.) 49,602 133 18,444 6,039 433 4,968,618
รวมทงั้ สน้ิ 46,894 182 17,302 7,341 456 3,496
40,750 109 16,196 2,138 250
855,971 500 212,001 5,194
95,179 5,571

หมายเหตุ : (1) จ�ำนวนนิติบคุ คลส้นิ สภาพเปน็ นติ บิ ุคคลที่ไดจ้ ดทะเบยี นจัดต้ังไว้ตง้ั แต่ พ.ศ. 2455 – ธันวาคม 2550
(2) อ่นื ๆ หมายถึงสถานะนิติบุคคล ควบ พิทกั ษ์ทรพั ย์ และแปรสภาพ

ท่ีมา : ส�ำนกั บรกิ ารขอ้ มูลธุรกิจ, กระทรวงพาณิชย์, http://www.dbd.go.th/thai/statistics/stat_m2.phtml

25บทท่ี 1 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สาเหตขุ องความนา่ สนใจใน SMEs

จากตัวอย่างความส�ำเร็จดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการลงทุนในธุรกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อมเป็นเร่ืองของความท้าทาย และผลตอบแทนท่ีจะได้รับจากความเส่ียงน้ีก็ดูเหมือนจะคุ้ม
ค่าและดูน่าจูงใจให้ผู้คนต่างหันมาให้ความสนใจมากย่ิงขึ้น โดยคาดหวังว่าการลงทุนในธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมจะเป็นหนทางสู่ความส�ำเร็จ สามารถสร้างรายได้มากเพียงพอท่ี
จะอยู่รอด และสร้างความร่�ำรวยให้กับตนเองได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอีกหลาย
ประการทีท่ �ำใหธ้ ุรกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มเปน็ ที่นา่ สนใจ ซงึ่ สามารถสรุปไดด้ งั นี้

1. สรา้ งระบบเศรษฐกจิ ใหเ้ จรญิ เตบิ โต ในหลายๆ ประเทศทพี่ ฒั นาแลว้ เชน่ สหรฐั ฯ
ญ่ีปุ่น และเยอรมนี เป็นต้น ต่างก็เล็งเห็นแล้วว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นส่วน
ส�ำคัญในการสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมให้แก่ประเทศ และก�ำหนดนโยบายภาครัฐ
ในการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างต่อเน่อื ง เช่นเดียวกันกับ
หลายๆ ประเทศ รฐั บาลไทยและหน่วยงานต่างๆ ท่ีเกย่ี วข้องต่างก็เลง็ เหน็ ใหค้ วามสนใจ และ
มุ่งเน้นให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพอื่ ให้เป็น
ปัจจยั ท่ีส�ำคัญในการผลกั ดนั ระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เคลอ่ื นตัวไปข้างหนา้

2. ธรุ กจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ มชว่ ยสรา้ งการจา้ งงานใหม่ การกอ่ ตง้ั และดำ� เนนิ
งานธุรกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม ชว่ ยสร้างงานและกอ่ ให้เกิดการจา้ งงานเพม่ิ ข้นึ ในเศรษฐ–
กิจท้ังโดยทางตรงและโดยอ้อม จากการจ้างงานโดยตรงของธุรกิจ และจากการติดต่อค้าขาย
กับกิจการอ่ืนๆ ในความเป็นจริงการสร้างงานมิได้ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น
ธรุ กจิ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเลก็ ต่างกส็ ามารถท่จี ะสร้างงาน จ้างงาน และไล่พนกั –
งานออกได้เช่นกัน แต่อย่างน้อยในสภาพแวดล้อมท่ีธุรกิจขนาดใหญ่เติบโตอย่างเต็มท่ี และ
หลายธุรกิจมีแนวโน้มที่จะลดขนาดธุรกิจลงเพ่อื ความคล่องตัว เพื่อให้ธุรกิจสามารถบริหาร
ได้ง่ายข้ึน หรือลดค่าใช้จ่ายโดยการปิดตัวหรือลดก�ำลังคน การก่อตั้งธุรกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมซึ่งมีจ�ำนวนมาก ก็จะช่วยกระจายและรองรับแรงงานท่ีต้องออกจากงานมาได้ใน
ระดบั หนง่ึ ดงั จะเหน็ ได้ในตารางที่ 1.2

26 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

ตารางที่ 1.2 ข้อมลู แรงงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2545 – 2549

ดัชนี 2545 2546 2547 2548 2549

1 จ�ำนวนประชากร (พนั คน) 62,935.90 63,460.60 64,006.20 65,082.50 65,110.40

2 แรงงานรวม (พันคน) 33,813.50 34,261.60 34,901.70 35,717.80 36,132.00

3 การจ้างงาน (พันคน) 32,104.20 33,060.90 33,841.00 34,728.80 35,257.20

4 อตั ราการการจ้างงานเพม่ิ ขึ้น (%) – 3.00 2.00 3.00 2.00

5 การว่างงาน (พนั คน) 1,123.90 822.80 754.20 739.20 663.00

6 อตั ราการจา้ งงาน (%) 94.95 96.50 96.96 97.23 97.58

7 อัตราการวา่ งงาน (%) 3.32 2.40 2.16 2.07 1.83

8 GNP ต่อหวั (บาท) 80,558.40 84,918.50 91,215.80 99,126.90 106,815.90

ท่มี า : รวบรวมจาก สำ� นกั งานสถติ แิ หง่ ชาติ กระทรวงเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร, http://service.nso.go.th/nso/nso_center/
project/table/files/S-lfs-y/2549/000/00_S-lfs-y_2549_000_000000_00100.xls และสำ� นกั งานคณะกรรมการพฒั นาการ

เศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาต,ิ สำ� นกั นายกรฐั มนตร,ี http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/indi_files/tab1-2_50.pdf

จากตารางที่ 1.2 จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะประสบกับช่วงวิกฤตในปี 2540
เป็นต้นมา และมีการปลดพนักงานออกจากหลายๆ ธุรกิจ แต่สัดส่วนอัตราการจ้างงานจาก
แรงงานกลับสูงขึ้นเรือ่ ยๆ อย่างต่อเน่อื ง และมีอัตราการว่างงานท่ีลดลงอย่างต่อเนอ่ื งเช่นกัน
ส่งผลใหม้ ีผลผลติ โดยรวมของประเทศ (GDP) และผลผลติ ตอ่ หวั (GNP) เพิม่ ขน้ึ อย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่เพียงให้โอกาสในการจ้างงานได้ดีที่สุดเท่านั้น แต่
ก่อให้เกิดการสร้างอาชีพใหม่ๆ ด้วย ซึ่ง Small Business Administration หรือ SBA ซ่ึง
เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ รายงานว่า ระหว่างปี 1988–1990 ธุรกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมได้สร้างอาชีพใหม่กว่า 3,107,000 งาน และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังให้
โอกาสแกผ่ ู้สงู อายุท่จี ากเดิมไม่มงี านท�ำด้วย โดยทธ่ี รุ กจิ ที่มีลูกจา้ งมากกวา่ 25 คน จะมจี ำ� นวน
พนกั งาน 2 ใน 3 เปน็ พนกั งานทอ่ี ายุ 65 ปหี รือมากกว่า เช่นเดยี วกับในประเทศไทยท่รี ฐั บาล
ให้การสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ท�ำให้แรงงาน
ที่ออกจากธุรกิจขนาดใหญ่มีงานท�ำและมีรายได้เล้ียงครอบครัว หรือพนักงานที่เกษียณอายุ
มีกิจกรรมท�ำ ท�ำให้ไม่เหงาและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และไม่เป็นภาระของครอบครัวและ
สังคม

27บทท่ี 1 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

3. การสนับสนุนของภาครฐั จะเหน็ วา่ ปจั จบุ ันรฐั บาลเริ่มใหค้ วามสนใจและสนับสนนุ
การประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยภาครัฐได้ด�ำเนินการผ่านหนว่ ยงานหลกั เชน่
กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ท้ังการส่งเสริม
ทางตรงหรือจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ มาปฏิบัติภารกิจเฉพาะ เช่น สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดยอ่ ม และธนาคารพัฒนาวสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ ม เปน็ ตน้ เนื่องจาก
เล็งเห็นความส�ำคัญว่า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะเป็นรากฐานท่ีส�ำคัญของระบบ
เศรษฐกิจ โดยเฉพาะการสร้างงาน สร้างรายได้ ความม่ันคง และคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน
ตลอดจนกระต้นุ การแข่งขันและนวตั กรรมทางการค้า เนื่องจากธรุ กิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม
จะมคี วามคลอ่ งตัว และยดื หยุ่นในการตอบสนองตอ่ การเปลย่ี นแปลงของสภาพแวดล้อม การ
แข่งขนั และลกู คา้ จึงส่งผลใหม้ ีผูเ้ ขา้ มาขอการสนับสนุนจากหนว่ ยงานต่างๆ ดังกล่าวมากมาย

อีกท้ังมีการออกมาตรการช่วยเหลือและสนับสนุนทางภาษี ให้แก่กิจการที่เข้าข่ายเป็น
วสิ าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการ

1. ปรับลดอตั ราภาษีเงนิ ได้นิตบิ คุ คล

2. ใหห้ ักค่าเสื่อมราคาเบ้อื งตน้ ในอตั ราพิเศษ

3. ใหส้ ทิ ธิประโยชนท์ างภาษีส�ำหรับธุรกจิ เงินรว่ มทนุ (Venture Capital)

ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้น
รษั ฎากร (ฉบบั ท่ี 471) พ.ศ. 2551 ลดหยอ่ นใหบ้ รษิ ทั หรอื หา้ งหนุ้ สว่ นนติ บิ คุ คล ทมี่ ที นุ จดทะเบยี น
ชำ� ระแลว้ ในวนั สดุ ทา้ ยของรอบระยะเวลาบญั ชไี มเ่ กนิ 5 ลา้ นบาท บงั คบั ใชต้ ง้ั แตร่ อบระยะเวลา
บญั ชที ีเ่ ร่มิ ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เปน็ ต้น6

กำ� ไรสุทธิ (บาท) อัตราภาษี (รอ้ ยละ)
1 – 150,000
ยกเวน้
150,001 – 1,000,000 15
1,000,001 – 3,000,000 25
30
3,000,001 บาทข้ึนไป

6กรมสรรพากร, http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/porkor/ret.pdf

28 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

ส�ำหรับกรณีมีทุนที่ช�ำระแล้ววันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป
ยงั คงตอ้ งเสยี ภาษเี งนิ ไดน้ ติ บิ คุ คล หารายละเอยี ดเพมิ่ เตมิ เกย่ี วกบั ความรเู้ รอื่ งภาษไี ดท้ เ่ี วบ็ ไซต์
ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th/

4. ความนิยมของสาธารณชน จากการส�ำรวจความคิดเห็นของคนในสหรัฐฯ พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่มีความสนใจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากกว่าขนาดใหญ่ และ 93
เปอร์เซ็นต์รู้จักและชอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งสอ่ื โฆษณาต่างๆ ก็เริ่มเล็งเห็น
ศักยภาพของธรุ กจิ กลุ่มน้ี และเรม่ิ มงุ่ เนน้ มาท่ีธรุ กิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขน้ึ ดว้ ยเลง็
เห็นวา่ เป็นตลาดเฉพาะส่วน (Niche Market) สำ� หรบั ธรุ กจิ สอ่ื รปู แบบหนึง่

5. ความสนใจของสถานศึกษา เริ่มมีสถานศึกษาโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาทั้ง
ในสถานศกึ ษาของรัฐและเอกชน ต่างใหค้ วามสนใจเกย่ี วกับการจัดตงั้ และการดำ� เนนิ งานธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมเพ่ิมขึ้น ซึ่งมีการบรรจุวิชาน้ีลงเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน เพ่ือ
ขยายโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จัก เรียนรู้ และฝึกหัดเก่ียวกับการก่อต้ังและการด�ำเนินธุรกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม อีกทั้งยังมีการเปิดสอนการพัฒนาอาชีพทั้งส�ำหรับนักศึกษาและผู้คน
ทั่วไปท่ีมีความสนใจจะน�ำไปประกอบอาชีพหรือเริ่มต้นธุรกิจส�ำหรับตนเองอย่างมากมาย ไม่
วา่ จะเปน็ การท�ำอาหาร การทำ� ขนม ชา่ งสี ช่างแอร์ ช่างซอ่ มรถยนต์ ฯลฯ

6. การเป็นเจ้านายตนเอง เม่ือเปรียบเทียบค่านิยมในปัจจุบันกับสมัยก่อน แต่เดิม
บุตรหลานของแต่ละครอบครัวมักจะได้รับการอวยพรและสั่งสอนให้เป็นเจ้าคนนายคน และ
มุ่งเน้นให้เข้ารับราชการ หรือท�ำงานในบริษัทใหญ่ๆ เพอ่ื สร้างความมั่นคงในด้านสวัสดิการ
และรายได้ แต่แนวโน้มคนวัยท�ำงานในปัจจุบันกลับมีความต้องการในการเป็นเจ้านายตัวเอง
สูงข้ึน แทนท่ีจะมุ่งเน้นเข้าท�ำงานในบริษัทขนาดใหญ่ ผู้คนเหล่านี้ต่างก็เร่ิมให้ความสนใจใน
การท�ำงานที่มีโอกาสในการบริหารงานเองและเป็นนายตนเองเพิ่มขึ้น ซ่ึงก็คือการเป็นเจ้าของ
ธรุ กิจขนาดกลางและขนาดย่อมของตนเอง

7. ดึงดูดผู้คนทกุ เพศทุกวยั การประกอบธุรกิจไมจ่ �ำกดั เฉพาะเพศหรือวัย หากมองไป
ในสภาพแวดล้อมอย่างทั่วถึง จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการอาจมีอายุได้ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นถึง
วัยเกษียณ เช่น เด็กมัธยมต้นคนหน่ึงมีความสนใจและมีฝีมือในการซ่อมนาฬิกา ผู้ปกครอง
ของเขาก็เลยสนับสนุนเงินลงทุนให้ เขาจะใช้เวลาช่วงพักกลางวันในแต่ละวันเปิดร้านท่ีเป็นตู้
เล็กๆ หนา้ โรงเรยี น ซึง่ สามารถสร้างรายได้ใหเ้ ปน็ คา่ เทอมและคา่ ขนมของตนเองได้ หรอื เดก็
หญิงวัย 12 ปีคนหน่ึงในประเทศญ่ีปุ่นที่มีความสนใจในคอมพิวเตอร์ ท�ำการออกแบบเว็บไซต์

29บทท่ี 1 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ของตนเอง และได้น�ำรูปภาพและรายละเอยี ดของที่ระลึกในท้องถน่ิ ของตนจัดแสดงในเวบ็ ไซต์
และเสนอขายโดยไม่ต้องซื้อสินค้ารอไว้ก่อน เมือ่ มีการสั่งซื้อจึงออกไปซื้อและส่งไปรษณีย์
ให้ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้อย่างมากมาย หรือผู้เกษียณอายุท่ีมีความชนื่ ชอบในการจัด
ตกแตง่ สวน จงึ ใช้เวลาวา่ งในการจัดต้นไม้ลงในกระถางเลก็ ๆ ขาย เป็นตน้

8. ความคดิ สรา้ งสรรคแ์ ละนวตั กรรม (Creativity and Innovation) ความยดื หยนุ่
และความรวดเร็วในการปรับตัว ท�ำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถมองหาช่องทาง
และตลาดเฉพาะส่วน (Niche Market) ของตน ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ไม่สามารถตอบสนองได้
นอกจากน้ีความคล่องตวั ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยงั ชว่ ยให้ธุรกจิ สามารถสร้างและ
พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการค้าขายในโลกของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทตี่ อ้ งใช้ความคิดสรา้ งสรรคแ์ ละความฉบั ไวในการตดั สินใจทางธุรกิจ

ส่ิงส�ำคัญประการหนึ่งท่ีผู้ประกอบการควรค�ำนึงถึงคือ ควรจะต้องมีความชอบ ความรู้
และความเชี่ยวชาญในงานที่ท�ำอย่างแท้จริง และที่ส�ำคัญ ควรจะรู้ว่าเมอ่ื ใดควรจะเร่ิม และ
เม่ือใดควรจะหยุด เพราะหากไม่สามารถบริหารเวลาของตนเองได้ เมอ่ื ธุรกิจเติบโตย่ิงขึ้น จะ
ทำ� ให้ไม่สามารถหาเวลาพักผ่อนสว่ นตวั ได้

ความคิดสร้างสรรค์ ระบบเศรษฐกิจ สรา้ งการจา้ งงาน
และนวตั กรรม การสนบั สนนุ
SMES ของภาครฐั
ความสนใจของ
ดึงดูดผูค้ น สถานศกึ ษา
ทุกเพศทุกวัย

แนวโนม้ การเป็น
เจ้านายตนเอง

ความนยิ มของสาธารณชน

รูปท่ี 1.3 สาเหตขุ องความนา่ สนใจในธรุ กิจขนาดกลางและขนาดย่อม

30 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

ความหมาย การจ�ำแนกประเภท
และการแบ่งขนาดของธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม

เราต่างมคี วามเข้าใจว่า ธรุ กจิ ขนาดยอ่ ม (Small Businesses) คอื ร้านค้าขนาดเลก็ ในท้องถนิ่
เช่น ร้านขายของช�ำในหมบู่ า้ น รา้ นขายหนังสอื พิมพห์ นา้ ป้ายรถโดยสารประจ�ำทาง รา้ นวิดโี อ
ให้เช่าประจ�ำหมู่บ้าน คลินิกเล็กๆ ปากซอย หรือร้านรับซ่อมรถจักรยาน เป็นต้น ซ่ึงเรา
สามารถมองเห็นความแตกต่างของธุรกิจเหล่านี้กับธนาคาร ห้างสรรพสินค้า หรือโรงงาน
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้อย่างชัดเจน จะเห็นได้ว่าเรามีเกณฑ์ด้านขนาดในการแบ่งว่าธุรกิจ
ใดเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจใดเป็นธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจใดเป็นธุรกิจ
ขนาดใหญ่ แต่ความจริงมีธุรกิจมากมายในระบบเศรษฐกิจท่ีไม่สามารถจัดล�ำดับ หรือจ�ำแนก
ขนาดได้อย่างชัดเจน แต่ก่อนท่ีจะจ�ำแนกขนาดของธุรกิจ เราควรท�ำความเข้าใจว่า ธุรกิจมี
หลายประเภท ซ่ึงแบ่งตามลักษณะการด�ำเนินงานซ่ึงมีความแตกต่างกัน การท�ำความเข้าใจ
กับลกั ษณะของธุรกิจ จะทำ� ให้เราสามารถจำ� แนกขนาดของแตล่ ะประเภทธุรกิจไดช้ ดั เจนยงิ่ ขน้ึ

ประเภทของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ถึงแม้ประเทศไทยจะให้อิสระแก่วิสาหกิจเอกชนในการประกอบกิจการในระดับหน่ึง
แต่ก็มิได้หมายความว่า ผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะสามารถเลือก
ประกอบธุรกิจได้ตามความต้องการของตนทั้งหมด นอกจากข้อจ�ำกัดลักษณะของแต่ละ
อุตสาหกรรมแล้ว โดยท่ัวไปการประกอบธุรกิจจะต้องศึกษาความพร้อมของทรัพยากร เช่น
เงินทุน แรงงาน เคร่ืองจักร และวัตถุดิบ ซ่ึงจะเป็นปัจจัยส�ำคัญในการสร้างข้อจ�ำกัดในการ
ลงทุน โดยอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรการด�ำเนินงานมากและซับซ้อน ก็จะมีอุปสรรคต่อ
การเร่ิมต้น ท�ำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่สามารถก่อตัว หรือเข้าแข่งขันกับธุรกิจ
ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้สะดวก อย่างไรก็ตาม เราสามารถจัดกลุ่มของธุรกิจขนาดกลางและ
ขนาดยอ่ มเป็น 4 ประเภท ตอ่ ไปนี้

1. การบรกิ าร (Services) ธรุ กิจบริการเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มทม่ี ีจำ� นวน
มาก ได้รับความนิยมในการลงทุนและเติบโตเร็วที่สุด เนอื่ งจากไม่ต้องใช้ทรัพยากรการ
ด�ำเนินงานในปริมาณมาก สามารถจัดต้ังได้ไม่ยาก ตลอดจนสามารถสร้างคุณค่าเพิ่มจาก
ธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ก่อนหน้า นอกจากนี้การบริการยังเป็นภาคอุตสาหกรรมส�ำคัญในสังคม
โลกาภวิ ัตน์ ซ่งึ จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ สังคมในภาพรวมและแรงงานทอ่ี ยู่ในภาคอตุ สาหกรรมนี้

31บทท่ี 1 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2. การค้าปลีก (Retailing) เป็นการขายผลิตภัณฑ์โดยบุคคลอ่นื ให้แก่ผู้บริโภค
(Consumer) การค้าปลีกเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมท่ีนิยมท�ำกัน เนื่องจากสะดวก
ต่อการจดั ตัง้ และผปู้ ระกอบการสามารถใช้ทรพั ยากรการด�ำเนินงานทมี่ อี ยา่ งจ�ำกดั ในการเข้า
ถงึ กลุ่มผูบ้ ริโภคท่ีตอ้ งการอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การค้าส่ง (Wholesaling) เป็นธุรกิจท่ีซ้อื ผลิตภัณฑจ์ ากผผู้ ลติ แลว้ ขายต่อใหก้ บั
ผคู้ ้าปลกี เพอ่ื ท�ำการขายให้กบั ผ้บู ริโภคต่อไป โดยผูค้ า้ สง่ จะซอ้ื ผลติ ภณั ฑ์ในปริมาณมาก แลว้
ท�ำการจัดเก็บและจัดสรรเพ่ือขายต่อให้กับผู้ค้าปลีกอีกทอดหน่ึง ถ้ามีการจัดระบบงานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ การค้าส่งก็มิได้ใช้แรงงานในปริมาณมาก และสามารถจัดการได้ด้วยคนเพียง
ไม่ก่คี น จงึ เป็นอีกธุรกิจหน่ึงที่ไดร้ บั ความนิยมจากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดยอ่ ม

4. การผลิต (Manufacturing) ถ้าเปรียบเทียบกับธุรกิจท้ัง 3 ประเภทที่กล่าวมา
การผลิตนับเป็นธุรกิจที่ยากส�ำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการแข่งขัน โดยเฉพาะ
อยา่ งยง่ิ อตุ สาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่ต้องใชเ้ งินลงทนุ ในปริมาณมหาศาล เช่น อตุ สาห–
กรรมผลติ รถยนต์ เหล็กกลา้ ปูนซเี มนต์ หรือปิโตรเคมี เปน็ ตน้ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดยอ่ มกย็ งั มโี อกาสในอตุ สาหกรรมการผลติ เชน่ การผลติ ชนิ้ สว่ นทจ่ี ะใช้ในอตุ สาหกรรม
ขนาดใหญ่ หรอื การผลิตผลติ ภัณฑท์ ม่ี คี วามชำ� นาญและต้องอาศัยเทคนิคพเิ ศษ เปน็ ต้น

การบรกิ าร

การผลิต ธุรกจิ ขนาดกลาง
และขนาดยอ่ ม

การคา้ ปลีก

การคา้ ส่ง
รปู ที่ 1.4 ประเภทของธุรกจิ ขนาดกลางและขนาดยอ่ ม

32 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม

การก�ำหนดขนาดของธรุ กิจ

ในแต่ละประเทศ แต่ละหน่วยงาน ก็มีเกณฑ์ในการแบ่งขนาดของธุรกิจที่แตกต่างกัน
ออกไป ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความและแบ่งขนาดของธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดยอ่ มวา่ เป็นธุรกิจทีม่ พี นักงานไม่เกิน 99 คน ถา้ มพี นักงาน 100 – 499
คน ถือว่าเป็นขนาดกลาง ถา้ มีพนักงานตัง้ แต่ 500 คนขน้ึ ไป ถือเป็นขนาดใหญ่ ดงั แสดงใน
ตารางที่ 1.3 ซ่ึงจากเกณฑ์การแบ่งรูปแบบน้ีถือว่าเป็นค�ำจ�ำกัดความที่ค่อนข้างมีข้อจ�ำกัด
เพราะใช้ปัจจยั เพียงตวั เดียวเปน็ เกณฑ์ในการแบง่ ขนาดธุรกิจ

ตารางท่ี 1.3 การแบง่ กลุ่มขนาดของธุรกิจตามจำ� นวนของพนกั งาน โดย SBA

จำ� นวนพนกั งาน ขนาดของธุรกิจ
ตำ�่ กว่า 20 คน เล็กมาก
20 – 99 คน เลก็
100 – 499 คน กลาง
500 คนข้ึนไป ใหญ่

เนือ่ งจากมีรูปแบบของการประกอบธุรกิจท่แี ตกตา่ งกันมาก ต้ังแตก่ ารผลติ การคา้ ขาย
จนถึงการให้บริการ ซึ่งมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน จึงเป็นการยากท่ีจะน�ำมาพิจารณา
ร่วมกนั โดยใชจ้ ำ� นวนแรงงานเพยี งอยา่ งเดยี วเท่านัน้ ทำ� ให้ Small Business Administration
หรือ SBA ซ่ึงมีหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมของเอกชน โดยได้ก�ำหนดปัจจัยในการพิจารณาขนาดของธุรกิจ
ออกเป็น 2 ปัจจัยคือ จ�ำนวนบุคลากร และ ยอดขายต่อปี เม่ือเปรียบเทียบกับธุรกิจอนื่
ในอตุ สาหกรรมเดียวกนั

ดังนั้นธุรกิจที่มีพนักงาน 1,500 คน หรือธุรกิจค้าปลีกท่ีมียอดขายต่อปีต่�ำกว่า 1 ล้าน
เหรยี ญ ธุรกจิ คา้ ส่งทม่ี ยี อดขายแต่ละปีต�่ำกว่า 5 ล้านเหรยี ญ และการคา้ ส่งบางชนิดทมี่ ยี อด
ขายต่อปีต�่ำกว่า 15 ล้านเหรียญ อาจเป็นธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม ถ้าธุรกิจเหล่าน้ันมี
ขนาดเล็กโดยเปรียบเทียบกับธุรกจิ อื่นในอุตสาหกรรม

39บทที่ 1 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

คำ� ถามท้ายบท

1. SMEs หมายถึงอะไร มีความแตกตา่ งจากธรุ กิจอน่ื ๆ อยา่ งไร? จงอธิบาย

2. เพราะเหตุใด ธรุ กิจขนาดกลางและขนาดยอ่ มจึงเป็นทน่ี า่ สนใจกบั บคุ คลท่วั ไป?

3. จงยกตัวอยา่ ง SMEs ทีท่ ่านประทบั ใจ พรอ้ มอธิบายเหตุผลของความประทับใจน้นั

4. เราสามารถจัดกลุ่มของธรุ กจิ ขนาดกลางและขนาดย่อมออกเปน็ กป่ี ระเภท อะไรบา้ ง?

5. การจัดกลุ่มประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมท่ีใช้อยู่ในปัจจุบันเหมาะสมแล้วหรือ
ไม่ เพราะเหตุใด หากต้องท�ำการจัดกลุ่มประเภทธุรกิจใหม่ ท่านเห็นว่าควรจะแบ่งเป็น
ก่กี ลุ่ม อะไรบา้ ง?

6. ประเทศไทยใช้ เกณฑ์ในการกำ� หนดขนาดของ SMEs อย่างไร? จงอธบิ ายเกณฑ์ท่ีใช้ใน
ปัจจบุ นั

7. เพราะเหตุใด เกณฑ์ในการก�ำหนดขนาดของ SMEs ของแต่ละประเทศจึงไม่เหมือนกัน
ทา่ นคิดว่าเกณฑ์ใดเป็นเกณฑท์ ี่เหมาะสมทส่ี ุด เพราะเหตุใด?

8. ภาครัฐมีการออกมาตรการช่วยเหลือและสนับสนุนทางภาษีให้แก่กิจการท่ีเข้าข่ายเป็น
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างไรบา้ ง?

9. หากทา่ นมีโอกาส จะดำ� เนินธรุ กิจ SMEs หรือไม่ เพราะเหตุใด?

10. ให้ท่านสังเกตธุรกิจ SMEs ในละแวกใกล้เคียงท่ีพักอาศัยของท่าน และวิเคราะห์ว่าเป็น
ธุรกิจประเภทใดมากที่สุด และเพราะเหตุใดจึงมีธุรกิจประเภทน้ันมากท่ีสุด หากท่าน
ก�ำลังจะด�ำเนินธุรกิจ SMEs ในละแวกนั้นเช่นกัน ท่านจะท�ำธุรกิจประเภทน้ันหรือไม่
เพราะเหตใุ ด?

การจดั การธรุ กจิ ขนาดยอ ม

Small Business Management

ธรุ กจิ ขนาดยอ มมโี อกาสในการเจรญิ เตบิ โตสงู แตก ม็ อี ตั ราความเสย่ี งตอ ความลม เหลวสงู เชน กนั
จึงจำเปน อยา งย่งิ ที่ผูประกอบการตองมีทักษะดานการบรหิ ารธุรกิจอยางรอบดาน ทั้งการผลติ
การจดั การ การตลาด การบญั ชี การเงนิ และการบรหิ ารทรพั ยากรมนษุ ย เพอ� ใหสามารถ
ดำเนินธรุ กิจไดอ ยา งมปี ระสทิ ธิภาพ แขงขนั ในตลาดระดับประเทศและนานาชาติได หนังสือ
เลมนจ้ี ะชวยใหผ ปู ระกอบการและผูท่สี นใจท่ัวไปเขา ใจถึงหลกั การและวิธีดำเนินธุรกิจ ตั้งแต
การตัดสินใจ การเริ่มตนธุรกิจ การผลิต การหาตลาด การพัฒนากลยุทธ การจัดการ
การวเิ คราะห และการตดั สนิ ใจทางการเงิน เพ�อใหสามารถบรหิ ารธุรกจิ ไดอ ยา งเปน ระบบ
และรองรับการเตบิ โตของธรุ กิจได

ดร. ฉัตยาพร เสมอใจ

สำเรจ็ การศกึ ษาบรหิ ารธรุ กิจบัณฑิต บรหิ ารธรุ กิจมหาบัณฑิต และ
บริหารธรุ กจิ ดุษฎีบัณฑิต มคี วามเชย่ี วชาญดานการจัดการและการตลาด
มปี ระสบการณท ำงานท่หี ลากหลาย ทั้งดานการขาย การตลาด และ
การจดั การ ทัง้ ในและตางประเทศ มผี ลงานเขียนท้ังหนังสือเรยี นและ
พอ็ กเกต็ บุค กวา 15 เลม ประสบการณดา นการสอนกวา 10 ป และ
เปนพิธกี รรายการดานบริหารธุรกิจ
ปจ จบุ ัน เปน อาจารยประจำหลักสตู รบรหิ ารธรุ กิจมหาบณั ฑติ วทิ ยาลัยราชพฤกษ
เปน อาจารยพ ิเศษใหแ กมหาวทิ ยาลัยทง้ั ภาครัฐและเอกชน และยงั เปนวทิ ยากร
นกั วจิ ยั และทีป่ รึกษาดา นการจัดการและการตลาดใหก ับองคก รหลายแหง

คมู อื เรยี น-สอบ/อดุ มศกึ ษา/บรหิ ารธรุ กจิ -
ธรุ กจิ ขนาดเลก็ , การลงทนุ


Click to View FlipBook Version