The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pannawit Khrurin, 2024-01-29 05:10:44

แผนการจัดการเรียนรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Keywords: แผนการจัดการเรียนรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5,แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 นายปัณณวิชญ์ ครูรินทร์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โรงเรียนเทศบาล ๓ บ้านเหล่า สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี


การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เวลา 20 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 1.1 วิสัยทัศน์ (หลักสูตร/โรงเรียน) สถานศึกษาดีมีคุณธรรม นำเทคโนโลยีสู่การเรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นสากล ชุมชนมีส่วนร่วมจัด การศึกษา พัฒนาภูมิทัศน์และแหล่งเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1.2 จุดมุ่งหมาย (หลักสูตร) หลักสูตรโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า พุทธศักราช 2562 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตาม หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในประชาคมโลก ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้ มีทักษะและคุณลักษณะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย มีความสามารถในการพึ่งตนเอง และปรับตัวต่อเป็น 3. มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิตสามารถผลิตงาน ได้อย่างสร้างสรรค์ 4. มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 5. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิต สาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม 2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า พุทธศักราช 2562 มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหา ความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้ วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่าง สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อ การตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม


3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การ ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมี ทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า พุทธศักราช 2562 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองประเทศไทย 4.0 และโลกศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 4. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ (วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี) มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดสาระการเรียนรู้ 4 สาระ ได้แก่ สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ และสาระที่ 4 เทคโนโลยี รวมทั้งยังมีสาระเพิ่มเติมอีก 4 สาระ ได้แก่ สาระชีววิทยา สาระเคมี สาระฟิสิกส์ และสาระโลก ดารา ศาสตร์ และอวกาศ องค์ประกอบของหลักสูตร ทั้งในด้านของเนื้อหา การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการ เรียนรู้นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นให้มีความ ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ได้กำหนดตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางที่ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนเป็นพื้นฐาน เพื่อให้สามารถ


นำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตหรือศึกษาต่อได้ โดยจัดเรียงลำดับความยากง่ายของเนื้อหาในแต่ละชั้นให้มีการ เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความคิด ทั้ง ความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญทั้งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แก้ปัญหาอย่าง เป็นระบบ ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นี้ ได้ปรับปรุงเพื่อให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกัน ภายในสาระการเรียนรู้เดียวกัน และระหว่างสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตลอดจนการ เชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ด้วย นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงเพื่อให้มีความทันสมัยต่อการ เปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่าง ๆ ทัดเทียมกับนานาชาติ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางวิทยาศาสตร์ สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.1เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา งานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่าง เหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.4 1. วิเคราะห์แนวคิดหลักของ เทคโนโลยี ความสัมพันธ์กับศาสตร์ อื่นโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ รวมทั้ง ประเมินผล กระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม • ระบบทางเทคโนโลยี เป็นกลุ่มของส่วนต่างๆ ตั้งแต่สองส่วน ขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ โดยในการทำงานของระบบทางเทคโนโลยีจะ ประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และ ผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยี สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์ กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 - ว 2.3 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.1 - ว 1.3 สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.1 - ว 4.2 วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม - สาระชีววิทยา - สาระเคมี - สาระฟิสิกส์ - สาระโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์


เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็น แนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี อาจมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการทำงาน ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยระบบทางเทคโนโลยีอาจมีระบบย่อย หลายระบบ (sub-systems) ที่ทำงานสัมพันธ์กันอยู่ และหาก ระบบย่อยใดทำงานผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำงานของระบบ อื่นด้วย • เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจากหลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม 2. ระบุปัญหาหรือความต้องการที่มี ผลกระทบต่อสังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีความซับซ้อน เพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการ แก้ปัญหา โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ด้านทรัพย์สินทางปัญญา • ปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อสังคม เช่น ปัญหา ด้านการเกษตร อาหาร พลังงาน การขนส่ง สุขภาพและ การแพทย์ การบริการ ซึ่งแต่ละด้านอาจมีได้หลากหลายปัญหา • การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโดยอาจใช้เทคนิคหรือวิธีการ วิเคราะห์ที่หลากหลาย ช่วยให้เข้าใจเงื่อนไขและกรอบของ ปัญหาได้ชัดเจน จากนั้นดำเนินการสืบค้น รวบรวมข้อมูล ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การออกแบบ แนวทางการแก้ปัญหา ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.4 3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดย วิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจ เลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไข และทรัพยากรที่มีอยู่ นำเสนอ แนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ ด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอน การทำงานและ ดำเนินการแก้ปัญหา • การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น โดยคำนึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา เงื่อนไขและทรัพยากร เช่น งบประมาณ เวลา ข้อมูลและสารสนเทศ วัสดุ เครื่องมือและ อุปกรณ์ ช่วยให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม • การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาทำได้หลากหลายวิธี เช่น การร่างภาพ การเขียนแผนภาพ การเขียนผังงาน • ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและนำเสนอ มีหลากหลาย ชนิดจึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน • การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงานก่อน ดำเนินการแก้ปัญหาจะช่วยให้การทำงานสำเร็จได้ตาม เป้าหมาย และลดข้อผิดพลาดของการทำงานที่อาจเกิดขึ้น 4. ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์ และให้เหตุผลของปัญหาหรือ ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบ เงื่อนไข หาแนวทางการปรับปรุง แก้ไข และนำเสนอผลการแก้ปัญหา • การทดสอบและประเมินผลเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือ วิธีการว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ภายใต้กรอบ ของปัญหา เพื่อหำข้อบกพร่อง และดำเนินการปรับปรุง โดย อาจทดสอบซ้ำเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ


พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาต่อ ยอด • การนำเสนอผลงานเป็นการถ่ายทอดแนวคิดเพื่อให้ผู้อื่น เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานและชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทำแผ่นนำเสนอผลงาน การ จัดนิทรรศการ การนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ หรือการนำเสนอ ต่อภาคธุรกิจเพื่อการพัฒนาต่อยอดสู่งานอาชีพ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ม.4 5. ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีที่ ซับซ้อนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา งาน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และ ปลอดภัย • วัสดุแต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน เช่น ไม้สังเคราะห์ โลหะ จึงต้องมีการวิเคราะห์สมบัติ เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ ลักษณะของงาน • การสร้างชิ้นงานอาจใช้ความรู้ เรื่องกลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เช่น LDR sensor เฟือง รอก คาน วงจร สำเร็จรูป • อุปกรณ์และเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน หรือพัฒนาวิธีการ มีหลายประเภท ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม และ ปลอดภัย รวมทั้งรู้จักเก็บรักษา เป้าหมายของวิทยาศาสตร์ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองมากที่สุด เพื่อให้ได้ทั้ง กระบวนการและความรู้จากวิธีการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ การทดลอง แล้วนำผลที่ได้ มาจัดระบบเป็น หลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จึงมีเป้าหมายที่สำคัญ ดังนี้ 1. เพื่อให้เข้าใจหลักการ ทฤษฎีและกฎที่เป็นพื้นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์ 2. เพื่อให้เข้าใจขอบเขตของธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์และข้อจำกัดในการศึกษาวิชา วิทยาศาสตร์ 3. เพื่อให้มีทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางเทคโนโลยี 4. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมวลมนุษย์และ สภาพแวดล้อมในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน 5. เพื่อนำความรู้ความเข้าใจ ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และการดำรงชีวิต 6. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหา และการจัดการ ทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ 7. เพื่อให้เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์


เรียนรู้อะไรในวิทยาศาสตร์(เทคโนโลยี) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับ กระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้และ แก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริง อย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น โดยกำหนดสาระสำคัญ ดังนี้ การออกแบบและเทคโนโลยี เรียนรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึง ผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม วิทยาการคำนวณ เรียนรู้เกี่ยวกับ การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็น ระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาที่ พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้(สาระที่ 4 เทคโนโลยี) มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่าง มีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึง ผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและ เป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม คุณภาพผู้เรียน (จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) 1. เข้าใจการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์กลไกการรักษาดุลยภาพของมนุษย์ ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ของมนุษย์และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน การใช้ประโยชน์จากสารต่าง ๆ ที่พืชสร้างขึ้น การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วิวัฒนาการที่ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ความสำคัญและผลของเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอต่อมนุษย์สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม 2. เข้าใจความหลากหลายของไบโอมในเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของโลก การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบ นิเวศ ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม 3. เข้าใจชนิดของอนุภาคสำคัญที่เป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอะตอม สมบัติบางประการของธาตุ การ จัดเรียงธาตุในตารางธาตุ ชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคและสมบัติต่าง ๆ ของสารที่มีความสัมพันธ์กับแรง ยึดเหนี่ยว พันธะเคมีโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์การเกิดปฏิกิริยาเคมีปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา เคมีและการเขียนสมการเคมี


4. เข้าใจปริมาณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ ความสัมพันธ์ระหว่างแรง มวลและความเร่งผลของความเร่งที่มี ต่อการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็ก ความสัมพันธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กและ กระแสไฟฟ้า และแรงภายในนิวเคลียส 5. เข้าใจพลังงานนิวเคลียร์ความสัมพันธ์ระหว่างมวลและพลังงาน การเปลี่ยนพลังงานทดแทนเป็น พลังงานไฟฟ้า เทคโนโลยีด้านพลังงาน การสะท้อน การหักเห การเลี้ยวเบนและการรวมคลื่น การได้ยิน ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง สีกับการมองเห็นสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและประโยชน์ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 6. เข้าใจการแบ่งชั้นและสมบัติของโครงสร้างโลก สาเหตุ และรูปแบบการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีที่ สัมพันธ์กับการเกิดลักษณะธรณีสัณฐาน สาเหตุกระบวนการเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิผลกระทบ แนวทางการเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย 7. เข้าใจผลของแรงเนื่องจากความแตกต่างของความกดอากาศ แรงคอริออลิส ที่มีต่อการหมุนเวียนของ อากาศ การหมุนเวียนของอากาศตามเขตละติจูด และผลที่มีต่อภูมิอากาศความสัมพันธ์ของการหมุนเวียนของ อากาศ และการหมุนเวียนของกระแสน้ำผิวหน้าในมหาสมุทรและผลต่อลักษณะลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิตและ สิ่งแวดล้อม ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และแนวปฏิบัติเพื่อลดกิจกรรมของมนุษย์ที่ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกรวมทั้งการแปลความหมายสัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศที่สำคัญจากแผนที่ อากาศ และข้อมูลสารสนเทศ 8. เข้าใจการกำเนิดและการเปลี่ยนแปลงพลังงาน สสาร ขนาด อุณหภูมิของเอกภพ หลักฐานที่สนับสนุน ทฤษฎีบิกแบง ประเภทของกาแล็กซีโครงสร้างและองค์ประกอบของกาแล็กซีทางช้างเผือก กระบวนการเกิดและ การสร้างพลังงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความส่องสว่างของดาวฤกษ์และความสัมพันธ์ระหว่างความส่องสว่างกับโชติ มาตรของดาวฤกษ์ความสัมพันธ์ระหว่างสีอุณหภูมิผิว และสเปกตรัมของดาวฤกษ์วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง สมบัติบางประการของดาวฤกษ์กระบวนการเกิดระบบสุริยะ การแบ่งเขตบริวารของดวงอาทิตย์ลักษณะของดาว เคราะห์ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต การเกิดลมสุริยะ พายุสุริยะและผลที่มีต่อโลก รวมทั้งการสำรวจอวกาศและ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ 9. ระบุปัญหา ตั้งคำถามที่จะสำรวจตรวจสอบ โดยมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ สืบค้นข้อมูลจากหลายแหล่ง ตั้งสมมติฐานที่เป็นไปได้หลายแนวทาง ตัดสินใจเลือกตรวจสอบสมมติฐานที่เป็นไปได้ 10. ตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหาที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ ที่แสดงให้ เห็นถึงการใช้ความคิดระดับสูงที่สามารถสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้สร้าง สมมติฐานที่มีทฤษฎีรองรับหรือคาดการณ์สิ่งที่จะพบ เพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ ออกแบบวิธีการสำรวจ ตรวจสอบตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ได้อย่างเหมาะสมมีหลักฐานเชิงประจักษ์ เลือกวัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งวิธีการใน การสำรวจตรวจสอบอย่างถูกต้องทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และบันทึกผลการสำรวจตรวจสอบอย่างเป็นระบบ 11. วิเคราะห์แปลความหมายข้อมูล และประเมินความสอดคล้องของข้อสรุป เพื่อตรวจสอบกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงวิธีการสำรวจตรวจสอบ จัดกระทำข้อมูลและนำเสนอข้อมูลด้วย เทคนิควิธีที่เหมาะสม สื่อสารแนวคิด ความรู้จากผลการสำรวจตรวจสอบโดยการพูด เขียน จัดแสดงหรือใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจโดยมีหลักฐานอ้างอิงหรือมีทฤษฎีรองรับ


12. แสดงถึงความสนใจ มุ่งมั่น รับผิดชอบ รอบคอบ และซื่อสัตย์ ในการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เครื่องมือ และวิธีการที่ให้ได้ผลถูกต้อง เชื่อถือได้มีเหตุผลและยอมรับได้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ 13. แสดงถึงความพอใจและเห็นคุณค่าในการค้นพบความรู้พบคำตอบ หรือแก้ปัญหาได้ทำงานร่วมกับ ผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์แสดงความคิดเห็นโดยมีข้อมูลอ้างอิงและเหตุผลประกอบเกี่ยวกับผลของการพัฒนาและการ ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 14. เข้าใจความสัมพันธ์ของความรู้วิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และการ พัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลให้มีการคิดค้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าผลของเทคโนโลยีต่อชีวิต สังคม และ สิ่งแวดล้อม 15. ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ แสดงความชื่น ชม ภูมิใจ ยกย่อง อ้างอิงผลงาน ชิ้นงานที่เป็นผลมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานหรือสร้างชิ้นงานตามความสนใจ 16. แสดงความซาบซึ้ง ห่วงใย มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างรู้คุณค่า เสนอตัวเองร่วมมือปฏิบัติกับชุมชนในการป้องกัน ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ท้องถิ่น 17. วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยีได้แก่ ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะ ทรัพยากรเพื่อออกแบบสร้างหรือพัฒนาผลงาน สำหรับแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคม โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและนำเสนอผลงาน เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย รวมทั้งคำนึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา 18. ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อรวบรวม ข้อมูลในชีวิตจริงจากแหล่งต่าง ๆ และความรู้จากศาสตร์อื่น มาประยุกต์ใช้สร้างความรู้ใหม่ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต อาชีพ สังคมวัฒนธรรม และใช้อย่างปลอดภัย มีจริยธรรม


คำอธิบายรายวิชา เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เวลา 20 ชั่วโมง ศึกษาแนวคิดหลักของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา เทคโนโลยี ศึกษาการระบุปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อสังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีความซับซ้อนเพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงความถูกต้องด้าน ทรัพย์สินทางปัญญา ศึกษาการออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่ จำเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่ หลากหลาย โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทำงานและดำเนินการแก้ปัญหา การ ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไข หาแนวทาง การปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาต่อยอด ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไกไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และ ปลอดภัย โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning) และการเรียนรู้แบบ ใช้โครงงานเป็นฐาน (Project – based Learning) เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะการคิด เผชิญ สถานการณ์การแก้ปัญหาวางแผนการเรียนรู้ และนำเสนอผ่านการทำกิจกรรมโครงงาน เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา นำไปสู่การสร้างต้นแบบ ตลอดจน สามารถนำกระบวนการเทคโนโลยี สร้างเทคโนโลยี วิธีการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิต รวมทั้งคำนึงถึง ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนนำความรู้ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ สังคม และการดำรงชีวิต จนสามารถพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการ จัดการทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ และเป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ตัวชี้วัด ว. 5.1 ม.5/1 ม.5/2 ม.5/3 ม.5/4 ม.5/5 รวม 5 ตัวชี้วัด


โครงสร้างรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ม.4 ลำดับ ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการ เรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา (ชม.) 1. ระบบทางเทคโนโลยี ว 4.1 ม.5/1 เทคโนโลยีมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน เรียกว่า ระบบเทคโนโลยีประกอบไปด้วยตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (outcome) หรือผลลัพธ์ (output) ทรัพยากรทางเทคโนโลยี (resources) ปัจจัยที่ขัดขวาง (constraints) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจากหลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม 5 2. กระบวนการเชิง วิศวกรรม ว 4.1 ม.5/2 ว 4.1 ม.5/3 ว 4.1 ม.5/4 ว 4.1 ม.5/5 กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม เป็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีที่เป็นระบบ เน้นการทำซ้ำ เพื่อหาทางออกที่ตอบโจทย์ ความต้องการของมนุษย์ประกอบไปด้วยตัวป้อน (input) คือการ ระบุปัญหา หรือความต้องการ กระบวนการ (process) คือการระดม ความคิดและหาวิธีแก้ปัญหา ผลลัพธ์ (output) คือได้เทคโนโลยีที่ สร้างสรรค์ออกมาเพื่อแก้ปัญหา และผลสะท้อน (feedback) คือการนำ ผลตอบรับจากการทดสอบมาปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาเพิ่มเติม การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานนั้นจำเป็นจะต้องศึกษา หรือ พิจารณาจากสมบัติของวัสดุนั้นให้ตรงกับงานที่ได้ออกแบบ เพื่อการ ประหยัดเวลาและการลงทุน 5 3 ผลงานออกแบบและ เทคโนโลยี ว 4.1 ม.5/2 ว 4.1 ม.5/3 ว 4.1 ม.5/4 ว 4.1 ม.5/5 กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม เป็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีที่เป็นระบบ เน้นการทำซ้ำ เพื่อหาทางออกที่ตอบโจทย์ ความต้องการของมนุษย์ประกอบไปด้วยตัวป้อน (input) คือการ ระบุปัญหา หรือความต้องการ กระบวนการ (process) คือการระดม ความคิดและหาวิธีแก้ปัญหา ผลลัพธ์ (output) คือได้เทคโนโลยีที่ สร้างสรรค์ออกมาเพื่อแก้ปัญหา และผลสะท้อน (feedback) คือการนำ ผลตอบรับจากการทดสอบมาปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาเพิ่มเติม การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานนั้นจำเป็นจะต้องศึกษา หรือ พิจารณาจากสมบัติของวัสดุนั้นให้ตรงกับงานที่ได้ออกแบบ เพื่อการ ประหยัดเวลาและการลงทุน 10


Pedagogy สื่อการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ม.4 ผู้จัดทำได้ ออกแบบการสอน (Instructional Design) อันเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคการสอนที่เปี่ยมด้วย ประสิทธิภาพและมีความหลากหลายให้กับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด รวมถึงสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่หลักสูตรกำหนดไว้ โดยครูสามารถ นำไปใช้จัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในรายวิชานี้ ได้นำรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้ (5Es Instructional Model) และรูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) มาใช้ในการออกแบบการ สอน ดังนี้ รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) ด้วยจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิด เป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ และมีความสามารถใน การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ผู้จัดทำจึงได้เลือกใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) ซึ่งเป็นขั้นตอนการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการคิดและการ ลงมือทำ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อการพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 วิธีสอน (Teaching Method) ผู้จัดทำเลือกใช้วิธีสอนที่หลากหลาย เช่น การทดลอง การสาธิต การอภิปรายกลุ่มย่อย เป็นต้น เพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) ให้เกิดประสิทธิภาพมาก ที่สุด ซึ่งจะเน้นใช้วิธีสอนโดยใช้การทดลองมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวิธีสอนที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ จากประสบการณ์ตรงโดย การคิดและการลงมือทำด้วยตนเอง อันจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดทักษะทาง วิทยาศาสตร์ที่คงทน


เทคนิคการสอน (Teaching Technique) ผู้จัดทำเลือกใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลายและเหมาะสมกับเรื่องที่เรียน เพื่อส่งเสริมวิธีสอนให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้คำถาม การเล่นเกม เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นต้น ซึ่งเทคนิคการสอนต่างๆ จะช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขในขณะที่เรียนและสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Base Learning ; PBL) ด้วยจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาวิธี คิด ฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ ผู้จัดทำจึงเลือกใช้ รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็น ฐาน (Problem-Base Learning ; PBL) ซึ่งเป็นขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน โดยการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการคิด แก้ปัญหา คิดวิเคราะห์คิด สร้างสรรค์คิดอย่างมีวิจารณญาณ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูลบันทึกและการอภิปรายการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงาน ที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก ซึ่ง สอดคล้อง กับธรรมชาติวิชาของวิชาวิทยาการคำนวณ วิธีสอน (Teaching Method) การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Base Learning ; PBL) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ในสิ่งที่ผู้เรียน ต้องการเรียนรู้โดยเริ่มมาจากปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ หรือพบในชีวิตประจำวันที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ บทเรียน ซึ่งครูจะต้องมี การจัดแผนการเรียนรู้ตามความสนใจของผู้เรียนอย่างเหมาะสม เน้นที่กระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เรียนในกลุ่ม การปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบ หรือสร้างความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิม


เทคนิคการสอน (Teaching Technique) ผู้จัดทำเลือกใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต โดย ปัญหาที่ นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เป็นปัญหาที่ครูเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดจากสถานการณ์ แนวโน้มใน ชีวิตประจำวัน ข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งเทคนิคการสอนต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและ เป็นระบบ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย


โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ วิธีสอน/วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้1. ระบบทางเทคโนโลยี แผนที่ 1 ความสัมพันธ์ของ วิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์กับ เทคโนโลยี แบบสืบเสาะหาความรู้5(5Es Instructional Modแผนที่ 2 การเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยีและ ระบบ ทางเทคโนโลยี แบบสืบเสาะหาความรู้5(5Es Instructional Mod2. กระบวนการเชิงวิศวกรรม แผนที่ 1 ทำความเข้าใจ กระบวนการเชิง วิศวกรรม แบบสืบเสาะหาความรู้5(5Es Instructional Mod


าศาสตร์เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ม.5 เวลา 20 ชั่วโมง รู้ ทักษะที่ได้ การประเมิน เวลา (ชั่วโมง) Es del) - ทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ - ทักษะการสังเกต - ทักษะการนำความรู้ไปใช้ - ตรวจการปฏิบัติกิจกรรม Design Activity - ตรวจใบงานที่ 1.1 เรื่อง ผลกระทบจากการใช้ เทคโนโลยี 2 Es del) - ทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ - ทักษะการสังเกต - ทักษะการนำความรู้ไปใช้ - ตรวจแผนผังความคิดการ ทำงานของระบบเทคโนโลยี - ตรวจการปฏิบัติกิจกรรม Design Activity - ตรวจการปฏิบัติกิจกรรม Unit Question - ตรวจการปฏิบัติกิจกรรม Design Activity - ตรวจแบบฝึกหัด เรื่อง การ ทำงานของระบบทาง เทคโนโลยี 3 Es del) - ทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ - ทักษะการสังเกต - ทักษะการนำความรู้ไปใช้ - ทักษะการสื่อสาร - สังเกตการอภิปรายเกี่ยวกับ กระบวนการเชิงวิศวกรรม - ตรวจแผนผังความคิด เกี่ยวกับกระบวนการเชิง วิศวกรรม 2


หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ วิธีสอน/วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แผนที่ 2 การแก้ปัญหาโดย ใช้กระบวนการเชิง วิศวกรรม แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning) 3. ผลงานออกแบบและ เทคโนโลยี แผนที่ 1 ศึกษากรณีตัวอย่าง ระบบที่จอดรถ อัจฉริยะ และ กลไกการบำบัด ผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมอง แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning) แผนที่ 2 พัฒนาโครงงาน แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project – based Learn


รู้ ทักษะที่ได้ การประเมิน เวลา (ชั่วโมง) - ตรวจใบงานที่ 2.1 เรื่อง ทำ ความเข้าใจกระบวนการเชิง วิศวกรรม - ทักษะการแก้ปัญหา - ทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ - ทักษะการสังเกต - ทักษะการนำความรู้ไปใช้ - ทักษะการสื่อสาร - ตรวจการเลือกข้อมูลหรือ ปัญหาที่ผู้เรียนคัดเลือกมา - ตรวจใบงานที่ 2.2 เรื่อง การ แก้ไขปัญหาโดยใช้ กระบวนการเชิงวิศวกรรม - ตรวจการปฏิบัติกิจกรรม Unit Question 3 - ทักษะการแก้ปัญหา - ทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ - ทักษะการสังเกต - ทักษะการนำความรู้ไปใช้ - ทักษะการสื่อสาร - สังเกตการอภิปรายเกี่ยวกับ ความรู้ที่ได้จากกรณีศึกษา - ตรวจการสรุปความรู้ที่ได้จาก กรณีศึกษา - ตรวจใบงานที่ 2.1 เรื่อง ทำ ความเข้าใจกระบวนการเชิง วิศวกรรม 4 ning) - ทักษะการแก้ปัญหา - ทักษะการคิดอย่างมี วิจารณญาณ - ทักษะการสังเกต - ทักษะการนำความรู้ไปใช้ - ทักษะการสื่อสาร - สังเกตพฤติกรรมการทำ โครงงานร่วมกันของผู้เรียน - ตรวจสอบผลงานจาก โครงงานที่ผู้เรียนพัฒนา 6


ตารางวิเคราะห์หลักสูตรและเนื้อหา กลุ่มสเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) มหน่วยการเรียนรู้ เนื้อหา ผลการเรียนรู้ เวลาเรียน น้ำหนักคะระหว่างเรียน กลางภาค/ปี1. ระบบทาง เทคโนโลยี 1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับ ศาสตร์อื่น 2. ระบบทางเทคโนโลยี 3. ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ว 4.1 ม.4/1 5 10 -


สาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.4 รหัสวิชา ว30106 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ะแนน น้ำหนักคะแนน รวม ภาระงาน วิธีวัดผล เครื่องมือ K S A P ปลายภาค/ปี ความรู้ ทักษะ เจตคติ กระบวนการ - 5 2 1 5 13 - แบบทดสอบ ก่อนเรียน - ใบงานที่ 1.1 - ตรวจ แบบทดสอบ ก่อนเรียน - ตรวจใบงานที่ 1.1 - ประเมินการ นำเสนอผลงาน - สังเกตพฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - สังเกตความมี วินัย รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ และ มุ่งมั่นในการทำงาน - แบบทดสอบ ก่อนเรียน - ใบงานที่ 1.1 - ผลงานที่ นำเสนอ - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์


ตารางวิเคราะห์หลักสูตรและเนื้อหา กลุ่มสเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) มหน่วยการเรียนรู้ เนื้อหา ผลการเรียนรู้ เวลาเรียน น้ำหนักคะระหว่างเรียน กลางภาค/ปี2. กระบวนการเชิง วิศวกรรม 1. กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม การแก้ไขปัญหาการเลือกใช้วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ และความรู้ที่ เกี่ยวข้อง ว 4.1 ม.4/2 ว 4.1 ม.4/3 ว 4.1 ม.4/4 ว 4.1 ม.4/5 5 20 20


สาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.4 รหัสวิชา ว30106 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ะแนน น้ำหนักคะแนน รวม ภาระงาน วิธีวัดผล เครื่องมือ K S A P ปลายภาค/ปี ความรู้ ทักษะ เจตคติ กระบวนการ - 5 3 1 5 14 - แบบทดสอบ หลังเรียน - ใบงานที่ 1.2 - ตรวจ แบบทดสอบ หลังเรียน - ตรวจใบงานที่ 1.2 - ประเมินการ นำเสนอผลงาน - สังเกตพฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - สังเกตความมี วินัย รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ และ มุ่งมั่นในการทำงาน - แบบทดสอบ หลังเรียน - ใบงานที่ 1.2 - ผลงานที่ นำเสนอ - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์


ตารางวิเคราะห์หลักสูตรและเนื้อหา กลุ่มสเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) มหน่วยการเรียนรู้ เนื้อหา ผลการเรียนรู้ เวลาเรียน น้ำหนักคะระหว่างเรียน กลางภาค/ปี3. ผลงานออกแบบและ เทคโนโลยี 1. กรณีศึกษาผลงานการออกแบบและ เทคโนโลยี ว 4.2 ม.4/1 10 20 - รวม 1 20 50 20


สาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.4 รหัสวิชา ว30106 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ะแนน น้ำหนักคะแนน รวม ภาระงาน วิธีวัดผล เครื่องมือ K S A P ปลายภาค/ปี ความรู้ ทักษะ เจตคติ กระบวนการ 30 5 5 3 10 23 - แบบทดสอบ หลังเรียน - รายงานการ พัฒนาโครงงาน - โปสเตอร์การ พัฒนาโครงงาน - แผ่นพับการ พัฒนาโครงงาน - ใบงานที่ 3.1 - ตรวจ แบบทดสอบ หลังเรียน - เล่มรายงาน - โปสเตอร์ - ตรวจใบงานที่ 3.1 - ประเมินการ นำเสนอผลงาน - สังเกตพฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - สังเกตความมี วินัย รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ และ มุ่งมั่นในการทำงาน - แบบทดสอบ หลังเรียน - เล่มรายงาน - โปสเตอร์ - แผ่นพับ - ใบงานที่ 2.5 - ผลงานที่ นำเสนอ - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงาน รายบุคคล - แบบสังเกต พฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 30 15 10 5 20 100


แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ระบบทางเทคโนโลยี เวลา 5 ชั่วโมง แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี เวลา 1 ชั่วโมง สอนวันที่ ............................ เดือน ........................................................................... พ.ศ. .............................. 1. มาตรฐานการเรียนรู้ ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหา หรือ พัฒนางาน อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึง ผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม 2. ตัวชี้วัด ว 4.1 ม.5/1 วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อ เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี 3. สาระสำคัญ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1). ระบบทางเทคโนโลยี เป็นกลุ่มของส่วนต่างๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยในการทำงานของระบบเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูล ย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยระบบทางเทคโนโลยีอาจมีระบบย่อย หลายระบบ (sub-systems) ที่ทำงานสัมพันธ์กันอยู่ และหากระบบย่อยใดทำงานผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำงาน ของระบบอื่นด้วย 2). เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจาก หลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น พิจารณาตามหลักสูตรของสถานศึกษา 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ ด้านความรู้(K) 1. อธิบายความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยีได้ 2. บอกความหมายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยีได้ ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) 1. นำความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. วิเคราะห์สาเหตุ หรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆได้


ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) เห็นคุณประโยชน์ของการเรียนวิชาการออกแบบและเทคโนโลยีและตระหนักในคุณค่าของความรู้ ทางเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 5. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เทคโนโลยี เป็นองค์ประกอบของหลายส่วนที่ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกัน ส่วนระบบทางเทคโนโลยี เป็น กลุ่มของส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยใน การทำงานของระบบเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการ ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยระบบทางเทคโนโลยีอาจมีระบบย่อยหลายระบบ (sub-systems) ที่ทำงานสัมพันธ์ กันอยู่ และหากระบบย่อยใดทำงานผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำงานของระบบอื่นด้วย 6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ 3) ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 1. มีวินัย รับผิดชอบ 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีการสอน/เทคนิคการสอน/กระบวนการสอนที่หลากหลาย) แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ 5Es (5Es Instructional Model) 7.1 ขั้นนำ : กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1) .ครูพูดคุยซักถามนักเรียนเกี่ยวกับ เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งให้นักเรียนช่วยกัน ค้นหา วัตถุหรือสิ่งของที่เกิดจากเทคโนโลยี จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาซักถามเกี่ยวกับ เทคโนโลยีในการสร้างวัตถุที่ช่วยตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน 2). ครูสุ่มนักเรียน 3-4 คน ยกตัวอย่าง สิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่เกิดจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมทั้งบอกว่าองค์ประกอบของแต่ละส่วนของระบบเทคโนโลยี และการออกแบบการทำงานเป็น อย่างไร 3). นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน


4). ครูเปิดคลิปเกี่ยวกับ “การประกอบชั้นส่วนจักรยาน” พร้อมทั้งถามคำถามกระตุ้นความคิดว่า จักรยานเป็นเทคโนโลยีหรือไม่ ต้องใช้ความรู้ศาสตร์ใดบ้างจึงมีคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานและ ความต้องการ แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม (แนวตอบ : จักรยานเป็นเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยมาประกอบกัน ต้องใช้ความรู้ พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ การเคลื่อนที่ ความยืดหยุ่น และคณิตศาสตร์ช่วยสร้างอุปกรณ์ที่มีความ ทนทาน เป็นต้น ) 5). นักเรียนร่วมกันสรุปความคิด พร้อมทั้งมีครูช่วยอธิบายเสริม เกี่ยวกับเทคโนโลยี เป็น องค์ประกอบของหลายส่วน ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกัน โดยองค์รวมของสรรพสิ่งที่มีการสร้าง ความสัมพันธ์ต่อกันเพื่อเป้าหมายคือระบบทางเทคโนโลยี 7.2 ขั้นสอน : สำรวจค้นหา (Explore) 1). ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 – 4 คน สืบค้นข้อมูลจากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี) ม.4 หน้า 3 พร้อมทั้งสืบค้นคลิปเกี่ยวกับทุ่นลอยส่งสัญญาณผิว ทะเล แล้วให้สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาจากคลิปตัวอย่างที่แต่ละกลุ่มเลือกมา โดยศึกษาความสัมพันธ์ ของวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี 2). นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายข้อมูลที่สืบค้นได้ภายในกลุ่ม แล้วร่วมกันสรุปลงใน กระดาษ A4 แล้วนำมาส่งครูเพื่อให้ครูตรวจสอบความถูกต้อง 3). ครูตั้งคำถาม แล้วสุ่มตัวแทนแต่ละกลุ่มตอบคำถาม ดังนี้ ทุ่นลอยส่งสัญญาณผิวทะเล สร้างขึ้นเพื่ออะไร (แนวตอบ : ช่วยแก้ปัญหาและสนองความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์) หลักการในการสร้าง ทุ่นลอยส่งสัญญาณผิวทะเล (แนวตอบ :มนุษย์เรียนรู้ภัยพิบัติ ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์และหาทางป้องกันภัยสึนามิ จาก ปรากฏการณ์ธรรมชาติ มนุษย์จึงคิดค้นเครื่องมือที่ใช้เตือนภัยโดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี มาประดิษฐ์อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีขึ้น) ยกตัวอย่างอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีอื่นๆ ในชีวิตประจำวันที่ช่วยแก้ปัญหาภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ (แนวตอบ : อุปกรณ์เตือนการเกิดแผ่นดินไหว อุปกรณ์ส่งสัญญาณอุทกภัย เป็นต้น) 4. นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน การออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 2) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี 3) PowerPoint เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี


8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1) ห้องเรียน 2) ห้องสมุด 3) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ 4) Google Classroom 9. การวัดผลและประเมินผล รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน 9.1 การประเมินระหว่าง การจัดกิจกรรม 1) ความสัมพันธ์ ของวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี - ตรวจใบงานที่ 1.1 - ใบงานที่ 1.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 2) การนำเสนอผลงาน - ประเมินการนำเสนอ ผลงาน - ผลงานที่นำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 3) พฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 5) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน - แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 9.2 การประเมินหลังเรียน - แบบทดสอบหลัง เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง 1) ความสัมพันธ์ของ วิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี ตรวจแบบทดสอบ หลังเรียน แบบทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์


แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ระบบทางเทคโนโลยี เวลา 5 ชั่วโมง แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี เวลา 1 ชั่วโมง สอนวันที่ ............................ เดือน ........................................................................... พ.ศ. .............................. 1. มาตรฐานการเรียนรู้ ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหา หรือ พัฒนางาน อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึง ผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม 2. ตัวชี้วัด ว 4.1 ม.5/1 วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อ เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี 3. สาระสำคัญ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1). ระบบทางเทคโนโลยี เป็นกลุ่มของส่วนต่างๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยในการทำงานของระบบเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูล ย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยระบบทางเทคโนโลยีอาจมีระบบย่อย หลายระบบ (sub-systems) ที่ทำงานสัมพันธ์กันอยู่ และหากระบบย่อยใดทำงานผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำงาน ของระบบอื่นด้วย 2). เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจาก หลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น พิจารณาตามหลักสูตรของสถานศึกษา 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ ด้านความรู้(K) 1. อธิบายความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยีได้ 2. บอกความหมายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยีได้ ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) 1. นำความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. วิเคราะห์สาเหตุ หรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆได้


ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) เห็นคุณประโยชน์ของการเรียนวิชาการออกแบบและเทคโนโลยีและตระหนักในคุณค่าของความรู้ ทางเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 5. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เทคโนโลยี เป็นองค์ประกอบของหลายส่วนที่ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกัน ส่วนระบบทางเทคโนโลยี เป็น กลุ่มของส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยใน การทำงานของระบบเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการ ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยระบบทางเทคโนโลยีอาจมีระบบย่อยหลายระบบ (sub-systems) ที่ทำงานสัมพันธ์ กันอยู่ และหากระบบย่อยใดทำงานผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำงานของระบบอื่นด้วย 6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ 3) ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 1. มีวินัย รับผิดชอบ 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีการสอน/เทคนิคการสอน/กระบวนการสอนที่หลากหลาย) แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ 5Es (5Es Instructional Model) ขั้นสอน(ต่อ) : สำรวจค้นหา (Explore) 1). ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 – 4 คน ร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคลิปภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ พร้อมทั้งสืบค้นอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น (โดยแต่ละกลุ่ม ห้ามซ้ำกัน) แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับข้อมูลที่สืบค้นได้ภายในกลุ่ม 2). นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปวิธีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการแก้ปัญหาภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ 3). ครูตั้งคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ ดังนี้ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ช่วยทำให้เข้าใจธรรมชาติได้อย่างไร (แนวตอบ : 1. ใช้ฐานความรู้เดิมต่อยอดไปสู่ความรู้ใหม่ 2. มนุษย์ประสานพลังความคิดของตนเองเพื่อสร้างสองศาสตร์นี้


3. ใช้ประสานเชื่อมโยงธรรมชาติกับธรรมชาติเพื่อเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง) ความรู้จากศาสตร์ใดบ้าง ทำให้เกิดเทคโนโลยี (แนวตอบ : วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น) เทคโนโลยีที่สร้างส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร (แนวตอบ : การแสวงหาความรู้ อำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เป็นต้น) 4). ครูตั้งคำถามให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบว่า นักเรียนรู้หรือไม่ว่า การสร้างอุปกรณ์ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ มีอะไรบ้าง อย่างไร (แนวตอบ : 1. วิทยาศาสตร์ โดยใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์มาช่วยออกแบบการสร้างอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี 2. คณิตศาสตร์ โดยใช้ประกอบในการสร้างแบบจำลอง 3. วิศวกรรมศาสตร์ สร้างเทคโนโลยีจากธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ 4. มนุษย์ศาสตร์ ช่วยวิเคราะห์ความต้องการ สื่อสารความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ และเสนอ แนวทางแก้ปัญหา 5. สังคมศาสตร์ ทำให้มนุษย์ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้เทคโนโลยีให้ เหมาะสม มองเห็นผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม) 5). ครูให้นักเรียนรวมกลุ่มเดิม ศึกษาค้นคว้าคลิปตัวอย่างที่กลุ่มตัวเองสนใจ อภิปรายร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุป แล้วจัดทำเป็น PowerPoint พร้อมทั้งอธิบายตามประเด็นที่กำหนดให้ ดังนี้ อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่สนใจ หลักการทำงานของอุปกรณ์นั้น ความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีกับศาสตร์ใดบ้าง อย่างไร 6). นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอความรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ ขณะที่นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอให้ครูคอยแนะนำและเสริมข้อมูลที่ถูกต้องให้นักเรียน 7). ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างเทคโนโลยี ดังนี้ วิศวกรเป็นผู้สร้างเทคโนโลยี โดยใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแทนปรากฏการณ์ธรรมชาติและหลักการวิทยาศาสตร์ จากนั้นเขียน ออกมาเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ วิศวกรจะใช้ความรู้พัฒนาหลักการขึ้นมาก่อน และใช้คามรู้มาใช้ แก้ปัญหา และข้อสรุป 8). นักเรียนทำกิจกรรม Design Activity จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยี(การ ออกแบบและเทคโนโลยี) ม.4 หน้า 6 เสร็จแล้วนำส่งครูตรวจสอบความถูกต้อง 7.3 ขั้นสรุป : ขยายความเข้าใจ (Elaborate) 1). ครูเปิด PowerPoint เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี ให้ นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุป ตามประเด็น ดังนี้ ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี ความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ


2). ครูให้นักเรียนสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาใน PowerPoint ที่ยังไม่เข้าใจ แล้วให้ความรู้ เพิ่มเติมในส่วนนั้น 3). ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับ เทคโนโลยี เมื่อทำเสร็จแล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ 7.3 ขั้นสรุป : ตรวจสอบผล (Evaluate) 1). ครูตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน 2). ครูตรวจและประเมินผลใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับ เทคโนโลยี 3). ครูตรวจและประเมินผล PowerPoint เรื่อง ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ 4). ครูประเมินผล โดยสังเกตการตอบคำถาม การร่วมกันทำผลงาน และการนำเสนอผลงาน 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน การออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 2) ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี 3) PowerPoint เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1) ห้องเรียน 2) ห้องสมุด 3) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ 4) Google Classroom 9. การวัดผลและประเมินผล รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน 9.1 การประเมินระหว่าง การจัดกิจกรรม 1) ความสัมพันธ์ ของวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี - ตรวจใบงานที่ 1.1 - ใบงานที่ 1.1 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 2) การนำเสนอผลงาน - ประเมินการนำเสนอ ผลงาน - ผลงานที่นำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 3) พฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 5) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ - แบบประเมิน คุณลักษณะ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์


และมุ่งมั่นในการทำงาน อันพึงประสงค์ 9.2 การประเมินหลังเรียน - แบบทดสอบหลัง เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง 1) ความสัมพันธ์ของ วิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี ตรวจแบบทดสอบ หลังเรียน แบบทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์


ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี คำชี้แจง : เติมข้อความหรือความหมายของคำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง 1. เทคโนโลยี คือ 2. วิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยี คือ 3. ผู้สร้างเทคโนโลยี คือ วิศวกร เป็นผู้ที่ 4. เนื่องจากปัญหาการจราจรติดขัดยาวเวลาเทศกาลวันหยุด ซึ่งสามารถแก้ปัญหาด้วยการสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ วิ่งสู่ต่างจังหวัด จงบอกถึงความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ พร้อมทั้งอธิบาย การสร้างรถไฟความเร็วสูง ความสัมพันธ์เทคโนโลยี กับศาสตร์อื่นๆ เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีกับคณิตศาสตร์ เทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์ เทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์


ใบงานที่ 1.1 เฉลย เรื่อง ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี คำชี้แจง : เติมข้อความหรือความหมายของคำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง 1. เทคโนโลยี คือ องค์ประกอบของหลายส่วน ที่ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกัน ............................................................. 2. วิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มา ประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงเปรียบเสมือนความรู้ ส่วนเทคโนโลยีเป็นการนำความรู้มาใช้ให้เกิดเป็นผลผลิตที่เป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้ .............................................................. 3. ผู้สร้างเทคโนโลยี คือ วิศวกร เป็นผู้ที่ ใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแทนปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและ หลักการทางวิทยาศาสตร์........................................................................................................................................... 4. เนื่องจากปัญหาการจราจรติดขัดยาวเวลาเทศกาลวันหยุด ซึ่งสามารถแก้ปัญหาด้วยการสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ วิ่งสู่ต่างจังหวัด จงบอกถึงความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ พร้อมทั้งอธิบาย การสร้างรถไฟความเร็วสูง ความสัมพันธ์เทคโนโลยี กับศาสตร์อื่นๆ เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ เป็นการน าความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ มนุษย์ เรียนรู้ปัญหาด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ และปรากฏการณ์ธรรมชาติ..................... เทคโนโลยีกับคณิตศาสตร์ เป็นการใช้คณิตศาสตร์มาใช้อธิบายความรู้ ที่ได้ออกมาเป็นรูปแบบของกฎและทฤษฎี และเขียนแบบจ าลองทางคณิตศาสตร์ เทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์ วิเคราะห์ความต้องการ สื่อสารและเสนอ แนวทางแก้ปัญหาในการสร้างรถไฟ อาศัย ทักษะการพูด การอ่าน และการเขียน เทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์ เป็นการตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ ต่อสังคมโดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม ศึกษาผลกระทบการใช้เทคโนโลยีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ค่านิยม และวัฒนธรรม


แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ระบบทางเทคโนโลยี เวลา 5 ชั่วโมง แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและระบบทางเทคโนโลยี เวลา 1 ชั่วโมง สอนวันที่ ............................ เดือน ........................................................................... พ.ศ. .............................. 1. มาตรฐานการเรียนรู้ ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหา หรือ พัฒนางาน อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึง ผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม 2. ตัวชี้วัด ว 4.1 ม.5/1 วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อ เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี 3. สาระสำคัญ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1). ระบบทางเทคโนโลยี เป็นกลุ่มของส่วนต่างๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยในการทำงานของระบบเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูล ย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยระบบทางเทคโนโลยีอาจมีระบบย่อย หลายระบบ (sub-systems) ที่ทำงานสัมพันธ์กันอยู่ และหากระบบย่อยใดทำงานผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำงาน ของระบบอื่นด้วย 2). เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจาก หลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น พิจารณาตามหลักสูตรของสถานศึกษา 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ ด้านความรู้(K) 1. อธิบายความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยีได้ 2. บอกความหมายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับเทคโนโลยีได้ ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) 1. นำความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น ๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. วิเคราะห์สาเหตุ หรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆได้


ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) เห็นคุณประโยชน์ของการเรียนวิชาการออกแบบและเทคโนโลยีและตระหนักในคุณค่าของความรู้ ทางเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 5. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด เทคโนโลยี เป็นองค์ประกอบของหลายส่วนที่ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกัน ส่วนระบบทางเทคโนโลยี เป็น กลุ่มของส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยใน การทำงานของระบบเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการ ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยระบบทางเทคโนโลยีอาจมีระบบย่อยหลายระบบ (sub-systems) ที่ทำงานสัมพันธ์ กันอยู่ และหากระบบย่อยใดทำงานผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำงานของระบบอื่นด้วย 6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ 3) ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 1. มีวินัย รับผิดชอบ 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีการสอน/เทคนิคการสอน/กระบวนการสอนที่หลากหลาย) แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ 5Es (5Es Instructional Model) 7.1 ขั้นนำ : กระตุ้นความสนใจ (Engage) 1) ครูเปิดคลิปการใช้โดรน (เครื่องบินติดกล้อง) ให้นักเรียนดู แล้วสอบถามนักเรียนว่า “สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้คืออะไร และมีประโยชน์กับนักเรียนหรือไม่ อย่างไร” แล้วครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจว่า สิ่งประดิษฐ์ คือ การรวมกันของเทคโนโลยี ยิ่งรวมได้มากสิ่งนั้นยิ่งซับซ้อน ทำงานได้หลายอย่างและแม่นยำ จากนั้น เปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมกันสนทนาซักถามเกี่ยวกับคลิปการใช้โดรน 2) ครูสุ่มนักเรียน 3 – 4 คน ยกตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ที่มีระบบการทำงานทางเทคโนโลยีที่ หลากหลาย พร้อมทั้งบอกว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยตอบสนองความต้องการในการชีวิตประจำวัน อย่างไร 7.2 ขั้นสอน : สำรวจค้นหา (Explore) 1). ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 – 4 คน แล้วให้สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาและสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับความหมายของระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน


2). นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายข้อมูลที่สืบค้นได้ภายในกลุ่ม แล้วร่วมกันสรุปลงในกระดาษ A4 แล้วนำมาส่งครูเพื่อให้ครูตรวจสอบความถูกต้อง 3). ครูตั้งคำถาม แล้วสุ่มตัวแทนแต่ละกลุ่มตอบคำถาม ดังนี้ ระบบทางเทคโนโลยี คืออะไร (แนวตอบ : ระบบ หมายถึง การอยู่ร่วมกันขององค์ประกอบต่างๆ ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อ บรรลุภารกิจหรือเป้าหมาย ) องค์ประกอบของระบบเป็นอย่างไร (แนวตอบ : ระบบจะประกอบด้วยระบบย่อย ซึ่งทำงานด้วยตัวเอง มีอิสระ โดยการทำงาน ทั้งหมดถูกออกแบบเพื่อให้ระบบใหญ่บรรลุเป้าหมาย) 4. นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับความหมายของระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 8.1 สื่อการเรียนรู้ 1) หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน การออกแบบและเทคโนโลยี ม.4 2) ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี 3) PowerPoint เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 8.2 แหล่งการเรียนรู้ 1) ห้องเรียน 2) ห้องสมุด 3) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ 4) Google Classroom 9. การวัดผลและประเมินผล รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน 9.1 การประเมินระหว่าง การจัดกิจกรรม 1) ผลกระทบจาก การใช้เทคโนโลยี - ตรวจใบงานที่ 1.2 - ใบงานที่ 1.2 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 2) การนำเสนอผลงาน - ประเมินการนำเสนอ ผลงาน - ผลงานที่นำเสนอ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 3) พฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 4) พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ 5) คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ - สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ - แบบประเมิน คุณลักษณะ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์


และมุ่งมั่นในการทำงาน อันพึงประสงค์ 9.2 การประเมินหลังเรียน - แบบทดสอบหลัง เรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง 1). ระบบทาง เทคโนโลยี ตรวจแบบทดสอบ หลังเรียน แบบทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์


Click to View FlipBook Version