The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ครูภูมิปัญญา จังหวัดกาฬสินธุ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prpidthong1, 2022-01-19 04:04:23

ครูภูมิปัญญา จังหวัดกาฬสินธุ์

ครูภูมิปัญญา จังหวัดกาฬสินธุ์

Keywords: ครูภูมิปัญญา จังหวัดกาฬสินธุ์

ครูภูมิปัญญา หนองเลงิ เปอื ย จงั หวดั กาฬสนิ ธ์ุ

ท่ีปรกึ ษา : นายการัณย์ ศภุ กิจวิเลขการ
: ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชยี งใหม่

บรรณาธกิ าร : นางสาวหทัยรัตน ์ พ่วงเชย
นายสรุ จติ ร นามนอ้ ย

ผเู้ รยี บเรยี ง : นางจารุวรรณ แกว้ มหานลิ เอน็ ไรท์

พสิ จู นอ์ ักษร : นางสาวไพเราะ บุญสขุ

ประสานงาน : นายประหยัด ห่อทรพั ย์
: นางสาวรัตตย ิ า โพธแ ์ิ กว้

พิมพ์ครั้งท ี่ 1 : ธันวาคม 2563

จา� นวนพิมพ ์ : 500 เลม่

จดั พิมพโ์ ดย : ฝา่ ยจัดการความรู้
สถาบนั สง่ เสริมและพฒั นากจิ กรรมปดิ ทองหลงั พระสบื สานแนวพระราชดา� ร ิ
อาคารสยามทาวเวอร์ ช้ัน 26 เลขท ่ี 989 ถนนพระราม 1 ปทมุ วัน
กรงุ เทพฯ 10330 โทรศัพท์ 02-6115000 โทรสาร 02-6581413
เว็บไซต ์ www.pidthong.org
Facebook : มลู นิธปิ ิดทองหลงั พระสืบสานแนวพระราชด�าริ

ขอบคุณ : ผถู้ ่ายทอดความร้ใู นพื้นทโ่ี ครงการพฒั นาแกม้ ลิงหนองเลงิ เปือย
อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ จงั หวัดกาฬสินธุ์
: เจา้ หน้าที ่ และ อาสาสมัครพฒั นาหมบู่ า้ น (อสพ.) โครงการพฒั นาแก้มลิง
หนองเลงิ เปือย อนั เน่ืองมาจากพระราชดา� ร ิ จังหวดั กาฬสนิ ธ์ุ

พิมพ์ท่ี : บริษทั บญุ ศริ ิการพิมพ์ จ�ากดั
โทร. 02-9416650 - 1

จากเส้นทางชีวิตในช่วงที่
รว่ มเรยี นรู้ไปกบั ปดิ ทองหลังพระฯ พบวา่
ทกุ คนมลี กั ษณะเดน่ ทีเ่ ป็นทนุ เดิมคลา้ ยๆ กนั
เชน่ ชอบทดลองทำ� สง่ิ ใหมๆ่ ใฝร่ ู้ เปดิ หู เปดิ ตา เปดิ ใจ
อยากแลกเปลย่ี นกบั คนอ่ืน เม่อื สำ� เร็จแลว้ กอ็ ยาก
จะบอกตอ่ และไมท่ อ้ ไมถ่ อย เมอื่ เจอกบั ปญั หา

ควรได้รับการยกย่องให้
เปน็ ครภู มู ิปัญญาปดิ ทองหลังพระฯ

หนคอรูภงมูเลปิ ัญิงเญปาือย

จังหวดั กาฬสินธุ์

เกริ่นน�ำ

หนองเลิงเปอื ย เปน็ แก้มลิงธรรมชาตขิ นาดใหญ่กว่า 800 ไร่ ท่รี บั น�้ำจาก
ล�ำน�้ำปาว ซึ่งประสบปัญหาน้�ำท่วมและน้�ำแล้งมาตลอดทุกปี ในหลวงรัชกาล
ที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการดังกล่าวไว้เป็นโครงการอันเน่ือง
มาจากพระราชด�ำรเิ มื่อปี 2554 และในปี 2556 มูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสาน
แนวพระราชด�ำริ ร่วมกับ 7 หน่วยงานภาคีด�ำเนินการขุดลอกหนองเลิงเปือย
ภายใต้โครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ
เพื่อเพ่ิมพนื้ ท่ีกักเก็บน�้ำ และส่งเสริมให้ราษฎรท�ำเกษตรทฤษฎีใหม่โดยน�ำน�้ำ
ไปใชป้ ระโยชน์อยา่ งมีประสิทธิภาพ

ราษฎรที่อยู่โดยรอบหนองเลิงเปอื ย มีจ�ำนวนถึง 53 หมู่บ้าน ครอบคลมุ
4 ต�ำบล ใน 2 อ�ำเภอ คือ อ�ำเภอร่องค�ำ และกมลาไสย ได้รับประโยชน์จาก
โครงการฯ ในรูปแบบและช่วงเวลาแตกต่างกันตามสภาพปัญหาและความ
ต้องการของชุมชนแต่ละแหง่ เพราะมูลนิธปิ ิดทองหลงั พระฯ ซึง่ ต่อไปในเอกสาร
ฉบบั น้จี ะเรียกว่า โครงการปิดทองหลังพระฯ (ตามท่ีเกษตรกรในพื้นทเ่ี รยี ก) ได้
เขา้ ไปทำ� กระบวนการ “เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พฒั นา” โดยสำ� รวจขอ้ มลู ทกุ มติ ิ ประชาคม
กับราษฎรเพือ่ รับรู้ปัญหา และร่วมขับเคล่ือนกับราษฎรที่มีความพร้อม ท�ำให้
หลังจากขุดลอกหนองเลิงเปือยเสร็จส้ินในปี 2558 จงึ มีราษฎรที่หัวไวใจสู้ เข้า
รว่ มเรยี นรกู้ บั โครงการฯ ในการนำ� ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง และทฤษฎใี หม่
ไปประยกุ ตใ์ ชจ้ รงิ ในพ้นื ท่ีการเกษตรของตนเอง

2 ครภู มู ปิ ัญญา หนองเลงิ เปอื ย จงั หวดั กาฬสนิ ธุ์

ผ่านมากว่า 5 ปี มีเกษตรกรจ�ำนวนไม่น้อย ที่ปรับเปลี่ยนทัศนคติและ
พฤติกรรมทางการเกษตร น�ำแนวคิดและแนวปฏิบัติของโครงการพัฒนา
แก้มลิงหนองเลิงเปือยฯ ไปท�ำจรงิ เกิดประสบการณ์ความรู้จากการปฏิบัติ
จริงท่ีท�ำให้ชีวิตเปลี่ยน ดังเช่นกรณีตัวอย่างของเกษตรกร 10 รายท่ีหยิบยก
มาน�ำเสนอในเอกสารฉบับน้ี จากเส้นทางชีวิตในช่วงที่ร่วมเรยี นรู้ไปกับปิดทอง
หลังพระฯ พบวา่ ทกุ คนมีลักษณะเดน่ ท่ีเปน็ ทุนเดมิ คล้ายๆ กนั เชน่ ชอบทดลอง
ท�ำสิง่ ใหม่ๆ ใฝร่ ู้ เปิดหู เปดิ ตา เปิดใจ อยากแลกเปล่ียนกบั คนอ่ืน เมอื่ ส�ำเร็จแล้ว
ก็อยากจะบอกต่อ และไม่ท้อไม่ถอยเม่ือเจอกับปัญหา ลักษณะส�ำคัญดังกล่าว
ควรได้รบั การยกย่องให้เป็นครภู ูมปิ ัญญาปิดทองหลงั พระฯ

ส่งิ ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นคือ พวกเขาได้ท�ำงานสานสัมพันธ์กับหลายหน่วยงาน
ทเ่ี ขา้ มาพรอ้ มกบั โครงการปดิ ทองหลงั พระฯ ไดเ้ พ่อื นรว่ มทางทเ่ี ปน็ กลั ยาณมติ ร
พร้อมที่จะแบ่งปันความรู้ ได้ท�ำมากกว่าหนึ่งอาชีพเพอ่ื ลดความเสี่ยงจาก
ความผันผวนของตลาดและดินฟ้าอากาศ ท�ำให้มีรายได้ตลอดท้งั ปี ได้ใกล้ชิด
ธรรมชาติจากการลดการใช้สารเคมี สง่ิ เหล่าน้ีชใ้ี ห้เห็นว่า การมีความรู้ท�ำให้
พวกเขามที างเลือกมากขน้ึ เสยี่ งนอ้ ยลง นค่ี ือปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงท่ี
จับต้องได้ ท่ีปดิ ทองหลงั พระฯ น�ำมาให้ และหวงั ว่าพวกเขาจะเปน็ ครูผูถ้ า่ ยทอด
ส่เู กษตรกรรายอืน่ ๆ ในชุมชนต่อไป

ฝา่ ยจดั การความรู้
สถาบันส่งเสริมและพฒั นากิจกรรมปิดทองหลงั พระสืบสานแนวพระราชด�ำริ

ธนั วาคม 2563

3ครูภูมิปัญญา หนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสนิ ธุ์

สารบัญ 06
12
เรอื งศลิ ป์ ยบุ ลมาตย ์ 20
ผู้น�ำการปลกู พืชผสมผสาน 26
ไพรวัลย์ ทวีโชติ 32
จากนกั การเมืองทอ้ งถ่นิ ...สผู่ นู้ �ำเกษตรพอเพยี ง
วนั เพญ็ โคตะเพช็ ร
คนเพาะเหด็
ณฎั ฐา ศริ ารกั ษ ์
ชวี ติ ชีวาและสารชวี ภณั ฑข์ องแม่ตรี
ยุวดี ผลาปรีย์ และ ดวงสุวรรณ หนูจติ ร
จ้งิ หรดี กบั สุขภาวะของผู้สงู วัย

4 ครภู ูมปิ ญั ญา หนองเลงิ เปือย จังหวดั กาฬสินธุ์

อภิญญา โพธกิ์ ง่ิ 38
มือใหม่วงการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 44
ทองจนั ทร์ นาชยั สิทธ ์ิ 50
นกั ปลกู ผกั ผู้ท่ไี ม่เชอ่ื ใครง่ายๆ 56
ทองสขุ สายโรจน์ 62
ผกั พนื้ บา้ น ทางเลอื กทางรอดของพ่อทองสขุ
เชดิ ชยั นาเรียงรตั น์
ใชธ้ รรมนำ� เกษตรกรรมธรรมชาติ
ดิรกุ วงพิเดช
คนชอบปลูกไผ่

5ครภู ูมิปัญญา หนองเลงิ เปือย จังหวดั กาฬสนิ ธ์ุ

เรืองศลิ ป์ ยุบลมาตย์

ผู้น�ำการปลูกพืชผสมผสาน

การเลอื กหนทางของหน่วยกล้าตาย

ในอดตี หนองเลิงเปือยมคี วามตื้นเขนิ น�ำ้ ไม่
เพียงพอต่อการท�ำเกษตร และในหนา้ ฝนก็ประสบ
กับปัญหาน้�ำหลากท่วมพ้ืนที่การเกษตร โครงการ
ปิดทองหลังพระฯ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และ
ผู้น�ำชุมชนโดยรอบ จึงด�ำเนินการขุดลอกหนอง
เลิงเปือย ซ่ึงในขั้นตอนการขุด ได้น�ำดินท่ีขุด

6 ครภู ูมปิ ญั ญา หนองเลงิ เปือย จังหวัดกาฬสินธุ์

“ครอบครวั พ่อน่ีจากแตก่ อ่ นตื่นมาต้องใช้เงนิ
แต่ปัจจบุ นั ตืน่ มากไ็ ด้เงิน มผี ักไปขาย

น่ีแหละเกิดจากท่วี ่า เปลยี่ นความคิดชีวติ กเ็ ร่ิมเปล่ียน”

จากหนองไปถมในพ้ืนที่ลุ่มต่�ำบริเวณโดยรอบ แม้ว่าจะท�ำพื้นที่โดยรอบมีระดับ
สูงข้ึน น�้ำไม่ท่วม แต่ก็ท�ำให้ท่ีดินบางส่วนท่ีถูกถมด้วยดินก้นหนองกลายเป็นดิน
ไร้คุณภาพ ท�ำนาและปลูกพืชชนิดอื่นๆไม่ค่อยได้ผล ที่นาของพ่อเรืองศิลป์จ�ำนวน
35 ไร่ คอื หนึ่งในท่ีดินบางสว่ นเหลา่ นนั้
ในปี 2557 โครงการปดิ ทองหลงั พระฯ นำ� นกั วชิ าการมาสอบถามวา่ มเี กษตรกร
คนไหนที่สนใจจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการ เพื่อน�ำกลับมาประยุกต์ใช้ในการ
พลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ในพ้ืนที่ของตนเองบ้าง มีเกษตรกรสนใจท้ังสิ้น 12 คน
และพ่อเรืองศิลป์คือหนึ่งในเกษตรกรเหล่านั้น พ่อเรืองศิลป์เล่าว่า เกษตรกรที่
สนใจทั้งหมดเป็นคนกล้าได้กล้าเสีย เมื่อเห็นโอกาสเข้าก็เลยไม่กลัวความล้มเหลว
“หน่วยกลา้ ตาย” พอ่ เรอื งศิลป์ใหค้ �ำนยิ ามเกษตรกรกลมุ่ แรกแบบน้ี
หลังตกปากรับค�ำกับโครงการปิดทองหลังพระฯ ทุกคนได้เข้าไปฝึกอบรมท่ี
วัดป่านาค�ำ บ้านโคกกลาง ต�ำบลจุมจัง อ�ำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อ
ปรับเปล่ียนความคิดและนิสัยของตัวเอง สิ่งที่พ่อจ�ำได้ไม่ลืมจากการอบรมครั้งน้ัน

7ครภู มู ิปญั ญา หนองเลงิ เปือย จงั หวัดกาฬสนิ ธุ์

คือความรู้เรื่อง ‘การท�ำเกษตรแบบหลุม
พอเพยี ง’ ทพ่ี อ่ ไมเ่ คยไดย้ นิ ทไ่ี หนมากอ่ น
เพื่อนเกษตรคนอื่นๆ ได้ยินก็งง บางคน
ถึงกับถอดใจ “แมน่ บน่ ้อมาเท่ยี วน”ี้

หลังวิทยากรบรรยายให้ความรู้
พ่อเรืองศิลป์จึงได้รู้ว่าเกษตรหลุม
พอเพียงก็คือเทคนิคการปลูกพืชทุก เรืองศิลป์ได้เลือกแบบหลัง เพราะเห็น
อย่างในหลุมเดียว ขนาดหลุม กว้าง 2 ว่าในจ�ำนวนพื้นท่ีนาทั้งหมดของตัวเอง
เมตร ยาว 2 เมตรลึก 50 เซนติเมตร มีพื้นที่ส่วนหน่ึงจ�ำนวน 1 ไร่ 2 งาน มี
(2 x 2 x 50) โดยพืชท่ีปลูก มีกล้วย ความเหมาะสมที่ส�ำคัญ การท�ำเกษตร
คือแม่หลัก ปลูกพืชอายุส้ันรอบๆ แล้ว แบบผสมผสานสามารถเลอื กทำ� ในแบบ
ปลกู ไมเ้ ศรษฐกจิ ทง้ั สม่ี มุ เมอ่ื ถงึ หนา้ แลง้ แผนของตัวเอง อยากปลูกอะไรก็น�ำมา
กล้วยจะเป็นตัวอุ้มน้�ำไว้ให้กับต้นพืช ปลูกได้ ต่างกับเกษตรหน่ึงไร่หนึ่งแสน
ชนิดอ่นื ได้ ท่ีต้องท�ำตามต้นแบบที่วางไว้ นอกจาก
เหตุผลดังกล่าวแล้ว พ่อเรืองศิลป์ก็ท�ำ
ในการเข้าร่วมอบรมคร้ังน้ัน การเกษตรแบบโบราณอยู่แต่เดิม หาก
วิทยากรให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมแต่ละคน น�ำองค์ความรู้ที่มีมาประกอบใช้กับ
เลือกว่าอยากท�ำการเกษตรแบบไหน องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการอบรม เช่น
ระหว่างท�ำเกษตรหนึ่งไร่หนึ่งแสน กับ ความรู้เร่ืองสารชีวภัณฑ์ในการก�ำจัด
การท�ำเกษตรแบบผสมผสานพ่อ ศัตรูพืช ความรู้เรื่องเกษตรแบบหลุม

8 ครูภมู ิปญั ญา หนองเลิงเปือย จงั หวัดกาฬสินธ์ุ

พอเพียง ความร้เู ร่ืองดิน นำ้� ฯลฯ พ่อคิด เจอ หากจะมีก็เป็นเรื่องการแก้ปัญหา
วา่ น่าจะสามารถทำ� ไดจ้ รงิ มากกวา่ คณุ ภาพดนิ ทมี่ มี ากอ่ นหนา้ เพราะตอ้ งใช้
เวลานานในการฟื้นฟู ตามทกี่ รมพฒั นา
ขอ้ ดี-ข้อดอ้ ยของทางท่เี ลอื ก ที่ดินได้เข้ามาแนะน�ำ ทั้งโรยปูนขาว
ท�ำปุ๋ยพืชสด ปลูกปอเทือง และต้องหา
หลังลงมือท�ำการเกษตรแบบ ซื้อดินนาจากท่ีอื่นมาถมอีกรอบ เพ่ือให้
ผสมผสาน พ่อเรอื งศิลปพ์ บว่า ข้อดีของ ดินมคี วามอดุ มสมบรู ณ์เรว็ ขน้ึ
การเกษตรแบบนี้คือ ได้พืชผักหลาย ปจั จุบัน นอกจากพ่อเรอื งศิลป์กับ
อย่าง ตอนหลังแปลงเกษตรของพ่อ ภรรยาจะเปน็ แรงงานหลกั ในการทำ� การ
เรืองศิลป์เป็นสถานที่ศึกษาดูงานของ เกษตรผสมผสานในพ้ืนที่ดินผืนนี้แล้ว
องค์กรต่างๆ หลายแห่ง การมีพืชผัก ลูกๆ ยังมาช่วยดูแลงานในสวน และ
หลากชนิดดังกล่าวก็ยิ่งเป็นผลดี เพราะ คอยให้ก�ำลังใจอยู่เสมอ
สามารถยกเป็นตัวอย่างให้ผู้มาศึกษา
ไดเ้ หน็ จรงิ ๆ “เขาถามหาพชื ผกั แบบไหน คนปิดทองหลงั พระ
พ่อกม็ หี มด” พ่อเรอื งศิลปบ์ อก
ขณะทจ่ี ดุ ออ่ นของการเกษตรแบบ พ่อเรืองศิลป์เล่าว่า โครงการปิด
ผสมผสาน พ่อเรืองศิลป์เล่าว่าไม่ค่อย ทองหลังพระฯ มีบทบาทส�ำคัญในการ
เป็นพ่ีเลี้ยงและคอยช่วยเหลือประสาน
งานต่างๆ ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการหาก
เกษตรกรต้องการองค์ความรู้เรื่องอะไร
โครงการก็จะประสานผู้รู้เรื่องน้ันๆ ให้

9ครภู ูมปิ ญั ญา หนองเลิงเปอื ย จังหวดั กาฬสินธ์ุ

สิ่งท่ีพ่อเรืองศิลป์ประทับใจมากคือ เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กล้าพูด ไม่กล้าน�ำเสนอ
คณะทำ� งานไดล้ งพน้ื ทเ่ี ขา้ มาแลกเปลยี่ น ขอ้ มลู ตา่ งๆ ปจั จบุ นั สามารถเปน็ วทิ ยากร
ความคิด ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาชุมชน บรรยายความรู้ให้คนอ่ืน และรู้จักการ
กับชาวบ้านจริงๆ การช่วยเหลือในการ เข้าหาคนอื่นมากขึ้น กลายเป็นตัวแทน
แก้ไขปัญหาจึงถูกจุด นอกจากน้ีแล้ว ชาวบ้านในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ
บางเร่ืองที่ไม่เก่ียวกับการช่วยเหลือด้าน ในท่ีประชุม กล้าคิด กล้าแสดงออก พ่อ
การเกษตร หากเห็นว่าชาวบ้านก�ำลัง เรืองศลิ ป์บอกวา่ การแสดงความคิดเห็น
ประสบปัญหา เจ้าหน้าท่ีก็ไม่น่ิงดูดาย ไม่ต้องกลัวว่าจะผิด มีอะไรท่ีต้องการ
ท่ีจะยื่นมือเข้าช่วยเหลือ เช่น เม่ือพบ พูด อธิบาย ก็ให้พูดให้จบในที่ประชุม
ว่าเกษตรกรประสบปัญหาเร่ืองหลังคา จะได้ไม่ต้องมานั่งบ่นอยู่คนเดียวใน
บ้าน ปิดทองก็สนับสนุนไพหญ้ามาให้ ตอนหลัง พ่อเรืองศิลป์เล่าว่า การเป็น
มงุ หลังคาเป็นตน้ วทิ ยากรออกไปใหค้ วามรแู้ กค่ นภายนอก
ท�ำให้ได้ความรู้เพิ่มข้ึน เนื่องจากเราก็ได้
พ่อเรืองศลิ ป์คนใหม่ ฟังคนอ่ืนร่วมดว้ ย สามารถเก็บเกี่ยวองค์
จากเดมิ ทที่ ำ� นาอยา่ งเดยี วปจั จบุ นั ความรู้มาปรบั ปรุงในพ้ืนที่ตวั เองได้
พ่อเรืองศิลป์หันมายึดหลักเศรษฐกิจ
พอเพยี งตามแนวพระราชดำ� รขิ องรชั กาล
ท่ี 9 ใช้เป็นอาชีพและแนวทางในการ
ด�ำเนินชีวิต พ่อเรืองศิลป์คนเก่า กลัว

10 ครูภมู ิปญั ญา หนองเลิงเปือย จังหวดั กาฬสินธ์ุ

ก้าวต่อไป “ท�ำงานกันเป็นกลุ่มเป็นเรื่องยาก
เพราะต้องเอาใจจากหลายๆ คนมารวม
ปัจจุบัน แม้พ่อเรืองศิลป์คิดว่า เป็นใจเดียว ส่ิงส�ำคัญคือต้องรับฟังซ่ึง
เกษตรผสมผสานของตัวเองเร่ิมจะ กันและกัน เราท�ำงานร่วมกันมาหลายปี
ประสบความส�ำเร็จข้ันหน่ึงแล้ว แต่อีก ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจปัญหาในการท�ำการ
ทางหนงึ่ พอ่ เรอื งศลิ ปก์ เ็ ลอื กทจี่ ะปลกู ไผ่ เกษตรกันมาหลากหลาย เราต่างก็มี
เผอ่ื ไวส้ ว่ นหนงึ่ ดว้ ย เพราะเหน็ วา่ เปน็ พชื ประสบการณ์จากการลงมือท�ำกันมา
ที่ทนต่อน�้ำท่วม หากวันไหนเกิดโชคร้าย นาน ส่ิงเหล่านี้ คงจะชว่ ยให้อนาคตของ
นำ�้ ทว่ มสวนผสมผสานขนึ้ มาผลติ ผลจาก แต่ละคนไปได้ต่อ ส่วนอนาคตของกลุ่ม
ไผ่จะไดช้ ่วยคำ�้ พยงุ ชีวติ เอาไว้ได้ หากเมื่อมีปัญหาอะไรแล้วพูดคุยกัน
“เราต้องสร้างทางเลือกที่หลาก เคารพในกฎระเบียบในกลุ่มของกลุ่ม ก็
หลายเอาไว้ เกดิ อะไรขนึ้ มา จะไดไ้ มต่ อ้ ง ไมต่ อ้ งกลวั ว่ามันจะล่ม”
ลม้ ลกุ คลุกคลาน” พอ่ เรอื งศลิ ปก์ ลา่ ว สุดท้ายพ่อเรืองศิลป์ อยากให้ทุก
ส�ำหรับอนาคตของกลุ่มเกษตรกร คนลองปรับเปล่ียนความคิด จากที่เคย
ท่ีได้รับความช่วยเหลือมาจากโครงการ ท�ำอะไรในแบบเดิมๆ ลองท�ำอะไรใหม่ๆ
มาดว้ ยกนั พอ่ เรอื งศลิ ป์ ประเมนิ วา่ ตอนน้ี ดูบ้าง “เปล่ียนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน”
สมาชิกส่วนใหญ่สามารถเดินหน้าต่อไป พ่อเรืองศิลป์สรปุ
เองได้ เพราะหลายปีที่ร่วมงานกันมา
คงท�ำให้เกิดประสบการณ์ท่ีสามารถ เรืองศลิ ป์ ยบุ ลมาตย์ อายุ 68 ปี
ท�ำให้ก้าวกันไปข้างหนา้ ไดอ้ ยา่ งม่ันคง หมทู่ ี่ 1 บ้านโพนงาม ต.โพนงาม
อ.ร่องคำ� จ.กาฬสินธ์ุ

11ครภู ูมปิ ญั ญา หนองเลงิ เปือย จงั หวัดกาฬสินธุ์

ไพรวัลย์ ทวีโชติ

จากนักการเมอื งทอ้ งถ่นิ ...
สผู่ ูน้ �ำเกษตรพอเพียง

12 ครูภูมิปญั ญา หนองเลงิ เปอื ย จังหวดั กาฬสนิ ธ์ุ

“ความสขุ คอื การให้
การไดท้ �ำงานและเหน็ คนอ่นื มคี วามสุข

แม่ก็มคี วามสขุ ”

ทางท่ตี ้องเลอื ก บทบาทการเป็นสมาชิกองค์การบริหาร
ส่วนต�ำบลของแม่เตี้ยใกล้หมดวาระ
ไพรวัลย์ ทวีโชติ หรือแม่เต้ีย เธอจึงหยุดร่วมท�ำงานกับปิดทองเพ่ือ
อดีตเคยเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วน เตรยี มตวั ในการหาเสยี งสมคั รลงเลอื กตง้ั
ตำ� บลสามคั คคี วบคกู่ บั การทำ� นา ทำ� สวน ต่อ แต่วันหนึ่ง หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา
ในปี 2555 นายกองค์การบริหารส่วน ดิศกลุ ประธานกรรมการสถาบันสง่ เสริม
ต�ำบลสามัคคีได้แจ้งในที่ประชุมสภา และพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ
ว่าจะมีทหารมาด�ำเนินโครงการขุดลอก หรือที่หลายคนเรียกวา่ “คณุ ชาย” ได้พูด
หนองเลงิ เปือย กับเธอว่า “ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนเธอก็
ต่อมาวันที่ 17 เดือนสิงหาคม สามารถช่วยชุมชนไดเ้ หมอื นกนั ”
ปี 2556 โครงการปิดทองหลังพระฯ ตอนนั้น ใจหน่ึงของเธอเองยัง
เข้ามาประชาคมที่หมู่บ้านของเธอเป็น อยากชว่ ยโครงการปดิ ทองหลังพระฯ ต่อ
คร้ังแรก มีการสอบถามความต้องการ
และความคิดเห็นของชาวบ้าน วันนั้น
เธอแนะน�ำตัวเองและท�ำความเข้าใจ
ค�ำชีแ้ จงเกย่ี วกับโครงการ
เดอื นธันวาคม ปี 2556 เร่ิมมกี าร
ขดุ ลอกหนองเลงิ เปอื ย แมเ่ ตย้ี รบั ผดิ ชอบ
เร่ืองอาหารให้กับเจ้าหน้าท่ีและหน่วย
งานทหาร และชว่ ยประสานงานกบั หนว่ ย
งานภายนอกที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการ
และเข้ามาติดต่อในพ้ืนที่ ปีเดียวกันนั้น

13ครภู มู ปิ ัญญา หนองเลิงเปือย จงั หวดั กาฬสินธุ์

เพราะเห็นว่าเจ้าหน้าที่หลายคนยังไม่
รู้จักความต้องการของคนในชุมชนดี
เท่าท่ีควร เมื่อได้ยินค�ำพูดของคุณชาย
เธอจึงล้มเลิกท่ีจะลงสมัครสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบลและตัดสินใจอยู่
ชว่ ยงานโครงการตอ่ โดยคร้ังน้แี ม่เต้ียจะไดร้ ับคา่ ตอบแทนด้วย
“อยกู่ ับปดิ ทองมนั ผูกพนั และแมก่ ็อยากชว่ ยคนในชมุ ชนจรงิ ๆ” แม่เตีย้ บอก
นอกจากท�ำนา ท�ำสวน เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบล และช่วยงาน
ปิดทองแล้ว ในช่วงปีน้ัน บทบาทอีกอย่างหน่ึงของแม่เตี้ยคือการเป็นดีเจสถานีวิทยุ
ชุมชน คลนื่ 105.75 MHz จดั รายการทกุ ๆวันเสาร์ ชว่ ง 09:00-11:00 น. คลน่ื วิทยุ
ที่เธอจัดรายการครอบคลุมพื้นท่ีหลายอ�ำเภอ จึงเป็นช่องทางที่ดีท่ีท�ำให้เธอสามารถ
ใช้เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์การท�ำงานและความรู้ที่ปิดทองน�ำเข้ามาส่งเสริม
เกษตรกรในพื้นท่ีบทบาทของเธอจึงค่อยๆ ปรากฏความโดดเด่นและได้รับการ
ยอมรับอย่างกว้างขวางจากทุกฝ่าย ท้ังจากเกษตรกร หน่วยงานรัฐ และโครงการ
ปิดทองหลังพระฯ

14 ครภู ูมปิ ญั ญา หนองเลงิ เปือย จังหวดั กาฬสินธุ์

บทบาทของแมเ่ ตยี้ กบั เสน้ ทาง รวบรวมผักจากสมาชิกไปขายให้กับ
อกี ยาวไกล หมอ พยาบาลและคนไข้ที่โรงพยาบาล
ท้ังโรงพยาบาลประจ�ำอ�ำเภอร่องค�ำ
งานที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของ โรงพยาบาลในเมืองกาฬสินธุ์ และ
โครงการปดิ ทองหลงั พระฯ ในพนื้ ทหี่ นอง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัย
เลิงเปือยคือ “สหกรณ์การเกษตร ขอนแกน่
แกม้ ลงิ หนองเลงิ เปอื ย” สหกรณด์ งั กลา่ ว เธอบอกว่า สินค้าของสหกรณ์มี
มีบทบาทหน้าที่ในการหาตลาดและ จุดเด่นที่ส�ำคัญคือเป็นผักอินทรีย์ ท�ำให้
รวบรวมผลผลิตของสมาชิกส่งจ�ำหน่าย พืชผักของสหกรณ์เป็นที่นิยม มีเท่าไหร่
ตอนนี้ ตลาดหลักของสหกรณ์มีอยู่สาม ก็สามารถจ�ำหน่ายได้หมด แต่กระนั้น
แหลง่ ดว้ ยกนั คอื หา้ งบก๊ิ ซ ี แมค็ โคร และ กต็ าม แมเ่ ตย้ี บอกวา่ เสน้ ทางการทำ� งาน
โรงพยาบาล ของสหกรณย์ งั อกี ยาวไกล ชอ่ งทางตลาด
ในสหกรณ์ นอกจากจะเป็นหน่ึง ท่ีเกิดขึ้นเป็นแค่ความส�ำเร็จเบ้ืองต้น
ในคณะกรรมการมีหน้าท่ีตรวจเช็ค เท่านั้น สหกรณ์ยังต้องพัฒนาอีกหลาย
คุณภาพสินค้าแล้ว แม่เตี้ยยังท�ำหน้าท่ี อย่าง เช่น การสร้างความเข้าใจเร่ือง
ระบบสหกรณ์ให้กับสมาชิก การบริหาร
จัดการแบ่งผลประโยชน์ และการรักษา
คณุ ภาพของพชื ผล เธออธิบายวา่ ทุกวนั
นี้สมาชิกบางส่วนยังไม่ค่อยเข้าใจและ
ไม่ยอมรับหลักเกณฑ์การคัดคุณภาพ
ของผลผลิตของตนอย่างทั่วถึง เพราะ
บางที เวลาคัดแยกสินค้าพืชผลให้อยู่
ในระดับเกรดรองหรือไม่ผ่านการคัด
คุณภาพ สมาชิกก็จะเกิดความไม่พอใจ
ซึ่งปัญหาท่ีเกิดขึ้นน้ีต้องใช้เวลาในการ
แนะน�ำท�ำความเขา้ ใจ
นอกจากน้ี ปัญหาความไม่เข้าใจ
ในทิศทางตลาด และการขาดความรู้ว่า
สมาชิกคนไหนมีความช�ำนาญในการ

15ครูภูมิปญั ญา หนองเลิงเปอื ย จังหวัดกาฬสินธ์ุ

ปลูกพืชอะไรของคณะกรรรมการสหกรณ์ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งท่ีต้องแก้ไขและ
พัฒนาต่อไป เพราะถ้าสามารถท�ำได้ คณะกรรมการสหกรณ์ก็จะมีแนวทางในการ
ส่งเสริมสนับสนุนสมาชิกได้ถูกทาง ยิ่งถ้าโครงการปิดทองหลังพระฯ ถอนตัวไป
สหกรณ์ต้องยืนบนขาของตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ ความเข้าใจในเร่ืองดังกล่าวของ
คณะกรรมการจะเปน็ พ้ืนฐานทดี่ ที ่ีจะทำ� ให้สหกรณ์ยั่งยืน

ผเู้ ชือ่ มระหว่างปดิ ทองหลังพระฯ และชุมชน

การเข้าถึงความต้องการ และตระหนักถึงวิธีคิด วิถีปฏิบัติของชุมชนนั้น
แม่เตี้ยเห็นว่าจ�ำเป็นต้องมีผู้ช่วยในการเชื่อมโยง ระหว่างเจ้าหน้าที่จากภายนอก
กับผู้ท่ีรู้จักชุมชนเป็นอย่างดี แม่เต้ียบอกว่า ท่ีผ่านมาเธอมีบทบาทส�ำคัญตรงน้ี
โดยอธิบายว่า ผู้ท่ีอยู่ในชุมชนด้วยกันจะสามารถพูดคุยเข้าใจความต้องการของคน
ในชมุ ชนมากกวา่ เจา้ หนา้ ทจ่ี ากภายนอก ทอ่ี าจจะมคี วามรู้ มหี ลกั วชิ าการ แตไ่ มเ่ ขา้ ใจ
มิติชมุ ชนด้านต่างๆ
“จะใหค้ นในชมุ ชนมารว่ มมอื ดว้ ยนน้ั ตอ้ งทำ� ความเขา้ ใจ ตอ้ งสรา้ งการยอมรบั
กอ่ น จงึ จะขบั เคลอ่ื นได้ บทบาทนตี้ อ้ งหาคนในชมุ ชนนนั่ แหละมาเปน็ ผชู้ ว่ ย” เธอกลา่ ว


16 ครภู มู ิปัญญา หนองเลงิ เปือย จังหวดั กาฬสนิ ธ์ุ

ท�ำทุกอย่าง มีโครงการตัวไหนมาก็จะ
ร่วมท�ำ แต่แม่เห็นว่าเขาเก่งเรื่องการ
เพาะเหด็ กวา่ คนอน่ื คนเราจะเกง่ ทกุ อยา่ ง
เกง่ ทกุ เรอ่ื งเปน็ ไปไมไ่ ด้ กเ็ ลยสง่ เสรมิ เขา
เรอ่ื งการเพาะเหด็ ” ทกุ วนั นแี้ มว่ นั เพญ็ จงึ
เอาดดี ้านเพาะเหด็ ตลอดมา และถือเปน็
หน่ึงในสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบความ
ส�ำเรจ็ อยา่ งน่าช่นื ชม

อปุ สรรคและการเปลยี่ นแปลง
ที่เกดิ ขน้ึ กับชมุ ชน

ส�ำหรับแม่เต้ีย เธอบอกว่าตัวเอง แม่เตี้ยบอกว่า ธรรมชาติของ
มีเทคนิคการเข้าถึงชุมชนโดยการเข้าไป ชาวบ้านจะไม่ชอบการบังคับหรือส่ัง
พดู คยุ กบั ชุมชนเหมือนพ่ีนอ้ ง อะไรที่เป็นวิชาการเกินไปชาวบ้านจะ
“ค่อยๆชักชวนให้วิเคราะห์ตัวเอง ต่อต้านไว้ก่อน เพราฉะน้ัน ในการท�ำ
ก่อน ว่าสามารถพ่ึงตัวเองได้ในระดับ งานร่วมกับชุมชน จะต้องค่อยๆ ชี้แนะ
ไหน ท�ำอะไรเองได้บ้าง หลังจากนั้นก็ แนวทางเพื่อให้เขาคิดวิเคราะห์ด้วย
ค่อยแนะน�ำว่าจะยกระดับคุณภาพ ตวั เองกอ่ น แลว้ คอ่ ยๆ เขา้ สวู่ ธิ กี ารปฏบิ ตั ิ
ชีวิตภายในครอบครัวได้อย่างไร ที่ใช้ กระนั้นก็ตาม แม้จะปฏิบัติการ
ต้นทุนท่ีตัวเองมีและสอดคล้องกับวิถี ดังกล่าวแล้วก็ใช่จะท�ำให้ชาวบ้านเข้า
เดิมของเขาให้มากท่ีสุด จะปลูกผัก จะ ร่วมทั้งหมด เพราะยังมีปัจจัยอีกหลาย
เลี้ยงปลา เล้ียงกบ ก็ว่าไป แต่จะต้อง อย่างที่เป็นตัวแปร อย่างที่ชุมชนของ
ท�ำให้เขารู้สึกว่าไม่เป็นภาระ” แม่เต้ีย แม่เตี้ย เธอบอกว่าชาวบ้านจ�ำนวนไม่
อธิบาย น้อยยังไม่ลองท�ำตามวิธีที่แนะน�ำ เนื่อง
แม่เตี้ยยกตัวอย่างคนในชุมชนที่ มาจากพวกเขาไม่กล้าเสี่ยงท่ีจะลงทุน
เธอเข้าไปแนะน�ำแล้วสร้างความภูมิใจ กลัวขาดทุน เช่น การเล้ียงจิ้งหรีด แม่
ใหก้ บั ตนเองเปน็ อยา่ งมาก คอื แมว่ นั เพญ็ เต้ียเคยแนะน�ำให้ใช้ฟักทองเป็นอาหาร
แห่งบ้านหนองเตา่ “เดิมทเี ขาจะเข้าร่วม จิ้งหรีด เพราะจะท�ำให้จิ้งหรีดโตเร็ว

17ครูภมู ิปญั ญา หนองเลงิ เปือย จงั หวดั กาฬสินธ์ุ

แข็งแรง และยังมีรสชาติที่ดีกว่าการเลี้ยงแบบเดิม ท้ังตลาดก็ยังต้องการมาก
แต่ผ้เู ลย้ี งบางคนไมย่ อมทำ� ตาม เพราะไมอ่ ยากแบกรบั ต้นทนุ ท่เี พิ่มข้นึ บ้าง
“การเปลี่ยนแนวคิดคนนย้ี ากมาก” เธอบอก
ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดข้ึนกับชุมชนนั้น แม่เตี้ยมองว่า ทุกวันนี้
สมาชิกสหกรณ์มีรายได้เพ่ิมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กลุ่มปลูกผักก็สามารถต่อรอง
กับตลาดมากข้ึนเธอบอกว่า ตอนนี้มีครัวเรือนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเริ่มสนใจท่ี
จะเข้าร่วมมากขึ้น และเกษตรกรจ�ำนวนไม่น้อย เร่ิมลดการใช้สารเคมีในการท�ำการ
เกษตร เพราะเร่ิมหนั มาสนใจเรอื่ งสุขภาพ
“ปดิ ทองมาใหค้ วามรเู้ รอื่ งเกษตรไรส้ ารเคมี วา่ นอกจากจะทำ� ใหจ้ ำ� หนา่ ยไดใ้ น
ราคาที่สูงกว่าปกติแล้ว จะส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย ตอนนี้เรื่องน้ีก็เลยเร่ิมแพร่หลาย
เปน็ ท่ยี อมรบั มากข้นึ ” แมเ่ ตี้ยกล่าว

ความภูมิใจของแมเ่ ตีย้

เม่ือเปรียบเทียบระหว่างความสุขท่ีได้รับจากการช่วยชุมชน ในบทบาทการ
เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบลกับการเป็นคณะกรรมการสหกรณ์การเกษตร
แก้มลิงหนองเลิงเปือย แม่เตี้ยบอกว่า ตอนเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบล
ส่วนใหญ่เป็นการช่วยแก้ปัญหาบรรเทาทุกข์ท่ีเก่ียวกับระบบสาธารณูปโภค เช่น
ถนน ไฟฟ้า น�้ำประปา เป็นการแก้ปัญหาท่ีหมดไปเป็นครั้งๆไป แต่การมาเป็น
ส่วนหน่ึงของปิดทองหลังพระฯ น้ันท�ำให้เธอได้มีโอกาสช่วยเหลือชาวบ้านในการ
ปรับเปล่ียนความคดิ และพฒั นาทกั ษะการทำ� อาชพี เกษตร ที่จะทำ� ใหช้ ีวิตครอบครวั
ของเขาดขี ึ้นในระยะยาว
ทุกวันนี้ แม่เตี้ยได้รับเงินจากลูกสาวส่งให้ใช้จ่ายทุกๆเดือน ซ่ึงเป็นจ�ำนวนท่ี
มากกว่ารายได้ท่ีเธอหาได้เอง ไม่ว่าจะเป็นเงินค่าตอบแทนจากโครงการปิดทอง
หลังพระฯ และเงินจากการขายไก่ไข่ที่เธอเล้ียงเอาไว้ภายใต้การสนับสนุนจาก
ปิดทอง หากคิดเป็นร้อยละ เธอบอกว่ารายได้ในเดือนหนึ่งๆของเธอ 60 เปอร์เซ็นต์
มาจากลูกสาว 30 เปอร์เซ็นต์มาจากการขายไข่ไก่ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์คือ
รายได้จากค่าตอบแทนจากโครงการปิดทองหลังพระฯ ซึ่งเป็นเงินไม่มาก แต่เม่ือ
เทียบกับความสุขท่ีได้รับเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะส่ิงที่ปิดทองให้ มีคุณค่า

18 ครภู มู ิปัญญา หนองเลงิ เปือย จงั หวัดกาฬสินธุ์

มากกว่าเงินมากมาย นั่นคือความรู้และการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ทั้งจาก
เจ้าหนา้ ที่ปิดทองและชาวบา้ น
ในบางวนั ของการทำ� งาน แมเ่ ตย้ี บอกวา่ มบี า้ งทเี่ ธอหมดกำ� ลงั ใจ ไมว่ า่ จะเปน็
ตอนท�ำงานกลุ่มแล้วผลที่ออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือตอนที่บุคลากรในส�ำนักงาน
ไม่เข้าใจกัน กระน้ันเธอก็พยายามค้นหาความสุขในการท�ำงานให้ได้ เธอบอกตัว
เองเสมอว่า “ท�ำการเกษตรน้ันนอกจากจะเพื่อสร้างรายได้แล้วยังต้องเป็นการเพิ่ม
ความสขุ ให้กบั ตวั เองดว้ ย”

ความสุขอยตู่ รงไหน ต้องให้ชดั

หลายคนมองว่า ความต้องการของ
ชาวบ้านน้ันไม่มีที่สิ้นสุด ช่วยเหลือยังไง
กไ็ มจ่ บสนิ้ แตจ่ ากประสบการณก์ ารทำ� งาน
ท่ีผ่านมา แม่เต้ียเห็นว่าไม่ได้เป็นแบบน้ัน
ท้ังหมด ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล เธอบอกว่า
“เราต้องช้ีให้เขาเห็นให้ได้ว่า ท�ำถึงจุดไหน
แล้วจะมีความสุข อาจไม่ต้องมีเงินฝาก
เยอะ ขอแค่ให้มีพอกินพอใช้ในยามจ�ำเป็น
ความสุขไม่ได้อยู่ที่เงิน แต่ความสุขอยู่ที่ ข้าว
ปลา อาหาร ถ้าเขาเข้าใจแบบน้ีส่ิงที่หลายคน
มองกไ็ มจ่ รงิ ” เธอวา่
ในอนาคต เธอวาดฝนั ไวว้ า่ อยากใหช้ าวบา้ น
เหน็ ความสำ� คญั ของโครงการมากกวา่ น้ี แล้วลงมอื
ช่วยกันจริงจัง ในการท�ำงานกลุ่มต่างๆ ก็จะต้อง
ร่วมมือกันให้เข้มแข็ง คอยช่วยเหลือซ่ึงกัน
และกันให้มากขึ้น หากท�ำเช่นน้ีได้ ก็จะ
สามารถเดินหน้าได้ด้วยตัวเองอย่างจริงๆ ไพรวลั ย์ ทวโี ชติ อายุ 60 ปี
สกั วนั หน่งึ หมทู่ ่ี 1 บา้ นโนนสามัคคี ต.สามคั คี
อ.รอ่ งคำ� จ.กาฬสินธุ์

19ครภู ูมิปญั ญา หนองเลงิ เปือย จังหวัดกาฬสินธ์ุ

วัันเพ็ญ็ โคตะเพ็็ชร

คนเพาะเห็ด

เมือ่ ชา่ งตดั เยบ็ กลบั บา้ น

แม่วันเพ็ญเป็นช่างตัดเย็บเส้ืออยู่ในเมืองกรุงต้ังแต่ยังเป็นสาวรุ่น เธอเร่ิมต้น
อาชีพในโรงงานผลิตเสื้อผ้าตั้งแต่อายุ 13 ปี วนเวียนอยู่ในวงการตัดเย็บเสื้อผ้ามา
ค่อนชีวิต ไม่เคยคิดฝนั วา่ วนั หนึ่งจะเปน็ เกษตรกร
เธอเล่าว่า ตัวเองมีความหลงใหลเรื่องการเย็บผ้ามาก ถึงขนาดลงทุนไป
เรียนด้านการออกแบบเส้ือผ้าเป็นอาชีพ เม่ือเธอกับสามีตัดสินใจกลับมาอยู่บ้าน
และยังคงยึดอาชีพเย็บผ้า หมวก หมอน และสินค้าพื้นเมือง สร้างรายได้ให้กับ

20 ครภู ูมิปัญญา หนองเลงิ เปอื ย จังหวดั กาฬสินธ์ุ

“ท�ำทุกอยา่ งตอ้ งมอี ุปสรรคกันทุกคน
แต่เราตอ้ งมีใจท่ีสู้ ใจรักและมีความขยนั อดทน

เราถงึ จะเดินไปได้”

แม่วันเพ็ญไม่เคยเพาะ
เหด็ มาก่อน เพยี งเคยเห็นเพ่ือน
บ้านในหมู่บ้านที่เธอเคยอาศัย
อยู่กับพ่อแม่ตอนเด็กเขาเพาะ
เห็ดฟางขาย คิดว่าน่าจะท�ำได้
จึงเริ่มเพาะเห็ดคร้ังแรกในชีวิต
เมื่อปี 2553 โดยได้เงินจาก
ขายสร้อยทองที่เป็นสมบัติท่ีมี
ตดิ ตัวอยู่ในตอนนัน้ มาลงทุน
“ได้ทุ่มเงินไป 30,000
บาท ได้เชื้อเห็ดมาจ�ำนวน
5,000 ก้อน ก็เอามาลองท�ำ
แบบบ้าๆ บอ เพราะตอนน้ัน
ยังไม่มีองค์ความรู้เร่ืองเห็ด
อะไรเลย” เธอเล่าแกมหัวเราะ
ต่อความกล้าเสย่ี งของตัวเอง
ครอบครัว โดยมีสามีท�ำหน้าท่ีส่งขายตามผู้รับ ชว่ งปสี องปแี รกเธอทมุ่ เท
ซื้อต่างๆ ท้ังในและต่างจังหวัด เธอบอกว่า การ แรงกายแรงใจให้กับการเพาะ
ตัดเย็บผลิตสินค้าพ้ืนเมืองน้ันใช้เงินลงทุนสูงมาก เห็ดอย่างสุดตัว เธอบอกว่า
จึงมองหาอาชีพเสริมอย่างอ่ืนเป็นรายได้เสริม เคยท�ำจนถึงขั้นไม่ได้พัก “ท�ำ
ให้ครอบครัว จึงเร่ิมหันมาสนใจการปลูกผักและ จนลืมเวลา เลยวันเลยคืน”
เพาะเห็ดขาย ไปกเ็ คยมี

21ครภู ูมปิ ัญญา หนองเลงิ เปอื ย จงั หวดั กาฬสินธุ์

เริม่ จากการฝกึ อบรมในครง้ั นนั้

เม่ือปี 2556 แม่วันเพ็ญ
ได้เข้าร่วมการประชาคมท่ีวัดป่า
หนองเต่า ซ่ึงเป็นการประชาคม
รว่ มกนั ระหวา่ งบา้ นโคกสแี ละบา้ น
หนองเต่า เรื่องการขุดลอกหนอง
เลิงเปือย วันน้ันเจ้าหน้าที่บอกใน
ท่ีประชุมว่า “ไม่ใช่แค่ขุดไปแล้ว
เหมือนหน่วยงานอ่ืนที่ขุดเสร็จ
แล้วก็ทิ้งไปแต่เป็นขุดที่ เม่ือมีน้�ำ
แลว้ จะเรม่ิ มอี าชพี ใหท้ กุ คนอยไู่ ด”้
เธอไดย้ นิ เชน่ นนั้ กเ็ รมิ่ สนใจ ทง้ั เหน็ เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนความคิดวิธีแบบเดิม
ว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการ มาคิดใหม่ท�ำใหม่ ทักษะท่ีได้กลับมาจากการ
พระราชด�ำริ กเ็ ลยรสู้ กึ วา่ “เป็นบุญ อบรมในตอนนั้นคือ การท�ำบัญชีครัวเรือน
ของเราทไ่ี ด้เขา้ รว่ ม” เธอบอก ซึ่งตนได้น�ำมาประยุกต์ใช้ในการท�ำรายรับ
แมว่ นั เพ็ญบอกว่า ตอนนั้น รายจ่ายในครอบครัวของเธอมาตลอด

เธอยนิ ดแี ละตน่ื เตน้ ทจ่ี ะไดเ้ ขา้ รว่ ม การเรียนร้จู ากการลงมอื ทำ�
การฝึกอบรมอาชีพเกษตรกรรม
ต า ม ห ลั ก เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง วันเพ็ญบอกว่าส่ิงส�ำคัญในการดูแล
เน่ืองจากเป็นช่วงที่เธอหันมาท�ำ เห็ดให้ออกดอกตามท่ีต้องการคืออากาศและ
เกษตรอยู่พอดี แม้ใจหน่ึง จะรู้สึก อุณหภูมิในโรงเพาะ เห็ดต้องการอุณหภูมิท่ี
กังวลกับเส้นทางในอาชีพใหม่ของ เหมาะกับการออกดอก บางคนอบเช้ืออย่าง
ตนอยู่บ้าง “ก็ลองดู เข้าไป ไม่ได้ เดียวโดยไม่ควบคุมอุณหภูมิและอากาศ เห็ด
หวังอะไรมาก แค่จะเข้าไปเอา ก็จะเหี่ยว วัสดุคลุมและมุงโรงเพาะเห็ดหลาย
ความรู้เพอื่ มาตอ่ ยอดของตัวเอง” คนใช้พลาสติกหรือแสลน แต่ส�ำหรับเธอเลือก
หลังจากวันประชาคมท่ีวัด ทจี่ ะใชฟ้ างขา้ วและหญา้ คา เพราะเวลาอากาศ
ประมาณ 1 เดือนเธอจึงมีโอกาส ร้อนเกินไปก็สามารถเปิดน�้ำใส่ฟางข้าวและ
เข้าอบรมท่ีวัดป่านาค�ำ เพื่อปรับ หญา้ ใหเ้ กบ็ ความชื้นเอาไว้ได ้

22 ครภู มู ิปัญญา หนองเลิงเปอื ย จงั หวดั กาฬสินธ์ุ

“เห็ดลม เวลาจะปิดอบเพื่อให้ดอกเห็ดแตกหน้าใหม่ข้ึน
มา ต้องเอาหญ้าคากับฟางข้าวออก แต่เห็ดนางฟ้ากับเห็ดขอน
ขาว ไมต่ อ้ งเอาหญ้าคากับฟางขา้ วออก” เธออธบิ าย
ความรู้และเทคนิคต่างๆ เหล่าน้ี เกิดจากการทดลอง
ด้วยตัวเอง บางส่วนได้จากการเข้าอบรมและการศึกษาผ่าน
YouTube เธอเอาใจใสใ่ นเทคนคิ การผลิต จนเห็ดของเธอได้รบั
ความนยิ มจากลกู ค้า ลูกค้าบอกเธอวา่ เห็ดของเธอจะออ่ น นุม่
ไม่เหมน็ รา และไมแ่ ข็งไม่เหนยี วเหมอื นของเจา้ อนื่ ๆ
“เรามีความสุขที่ได้เห็นผลงานของตัวเอง วันท้ังวันจึง
ขลุกอยู่แต่ในโรงเพาะเห็ด เราชอบดูเวลาท่ีเห็ดออกดอกเยอะๆ

เห็นกอ้ น มนั สวยจนแทบไม่อยากเก็บขาย”
มาถึงปัจจุบันวันเพ็ญยังส่งต่อความ
รู้เรื่องการเพาะเห็ดของเธอ ด้วยการเป็น
วิทยากรให้กับหน่วยงานอีกด้วย “เราไม่หวง
เรื่องวิชาความรู้เลย จะสอนให้ทุกอย่าง ไม่
ว่าอะไรก็สอน อยู่ที่คุณจะปฏิบัติตามไหม”
เธอว่า แล้วตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า “คน
ส่วนใหญ่จะให้ความสนใจและมีความ
กระตอื รอื รน้ ในระยะแรก แตเ่ มอื่ เวลาผา่ นไป
กล็ ะท้งิ ไมส่ นใจอีกต่อไป แบบน้กี ไ็ ม่รอด”

กว่าจะมาถงึ วนั นี้

แม้ปัจจุบันการงานของแม่วันเพ็ญ
จะไปไดอ้ ย่างมีอนาคต แต่ท่ผี า่ นมาเส้นทาง
ของเธอไม่ได้ราบร่ืนตลอด ต้องอดทนกับ
ความเหนื่อยยากหลายๆคร้ัง อย่างปีก่อน
ที่จะเข้าร่วมโครงการกับปิดทอง เธอเล่าว่า
ดอกเห็ดไม่ออกเลย เพราะอากาศหนาวจัด

23ครูภูมิปัญญา หนองเลิงเปือย จงั หวัดกาฬสนิ ธุ์

เ ธ อ ต ้ อ ง อ ด ท น กั บ ส่ิ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น
พยายามคิดว่ามันเป็นเรื่องของ
ธรรมชาตทิ เ่ี หนอื การควบคมุ สงิ่ เดยี ว
ท่ีท�ำได้คือต้องไม่ยอมแพ้ พลาด
ครง้ั นี้ กส็ ามารถลุกขึ้นสู้ครั้งใหมไ่ ด้
แม่วันเพ็ญเล่าว่า ตอนที่เธอ
เข้าอบรมเร่ืองการเพาะเห็ด มีผู้ร่วม
ฝึกอบรมด้วยกัน 6 คน แต่ปัจจุบัน
ไม่มีคนท�ำจริงจังเช่นเธอเหลือสักคน ส่วนใหญ่มีภารกิจอย่างอ่ืน ท�ำให้ไม่มีเวลา
บางคนไม่ได้ลองแม้แต่การเริ่มต้น อ้างว่าไม่มีเวลาบ้าง กังวลเรื่องตลาดบ้าง แต่
ส�ำหรับเธอเห็นว่าการตลาดไม่ใช่ปัญหา เพราะเห็ดเป็นอาหารและทุกคนทานได้
อยา่ งไรเสียมนั กข็ ายได ้
“ทุกคนมักจะนึกว่า ท�ำมาก็ขายไม่ได้ ไม่รู้จะท�ำท�ำไม แต่เรากลับคิดว่า นึก
เอาแบบนน้ั ไมไ่ ดห้ รอก เรายงั ไมม่ สี นิ คา้ เราจะไปหาตลาดไดย้ งั ไง” แมว่ นั เพญ็ กลา่ ว
และว่า “เรามักมีความคิดสวนทางกับคนอื่น คือคนอื่นเขามักจะคิดว่า สินค้ามีไม่
ตอ้ งเยอะ ถา้ ยังไมม่ ตี ลาด แตส่ ำ� หรบั เราคิดวา่ ผลิตออกมาเยอะๆเลย เดี๋ยวมันกจ็ ะ
มที ไี่ ปเอง อยู่ทว่ี า่ เราจะทำ� ตอ่ เน่ืองหรอื เปล่า”

เมอ่ื ร้จู กั ประยุกต์ใช้ อะไรๆกม็ ีประโยชน์

ส่ิงที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากร่วมงานปิดทอง แม่วันเพ็ญบอก
ว่า ตนเองมีความรู้ด้านการเกษตรมากขึ้น ได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
ได้อย่างคล่องแคล่วขึ้น ท้ังๆที่สมัยก่อนไม่กล้า นอกจากน้ัน เธอยังได้ความรู้เร่ือง
บัญชี เรื่องการยกระดับสินค้าให้ดูมีมาตรฐานข้ึน เช่น การขอโลโก้ให้กับกลุ่มผัก
หนองเลิงเปือย
แม้ว่าในส่วนของการเพาะเห็ดของเธอจะใช้ความรู้ชุดเดิมท่ีศึกษาเรียนรู้
ด้วยตัวเองต้ังแต่ปี 2553 แต่ทักษะต่างๆที่ได้จากร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของปิดทอง
ในภายหลัง ก็เป็นสิ่งท่ีดี ที่สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเรื่องการเพาะ
และการตลาดของเหด็ ได้

24 ครูภมู ปิ ญั ญา หนองเลงิ เปือย จงั หวัดกาฬสนิ ธุ์

“จากแต่ก่อนเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ เด๋ียวนี้มีความมั่นใจมากข้ึน เรารู้แล้ว
ว่าตอ้ งทำ� ในทศิ ทางไหน มีปัญหาตอ้ งปรกึ ษาใคร” เธอบอก
แม้ทุกวันน้ี รายได้หลักของครอบครัวของแม่วันเพ็ญจะมาจากการค้าขาย
ของสามี แต่รายได้เสริมจากการเพาะเห็ดของเธอก็ช่วยแบ่งเบาภาระ และสร้าง
ความภูมิใจให้กับเธอและครอบครัวได้ไม่น้อย เธอบอกว่า ทุกวันนี้มีรายได้จากการ
ขายเห็ดได้ประมาณ 13,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นรายได้ที่มาจากการเพาะเห็ด
3 ชนดิ ได้แก่ เหด็ ลม เห็ดขอนขาวและเห็ดนางฟา้ และยงั มีรายได้เสริมจากการขาย
ผักประมาณ 2,000-3,000 บาทต่อเดือนอีกด้วย

พรอ้ มสนับสนุนหากคณุ อยากท�ำจรงิ

ในอนาคต แม่วันเพ็ญอยากให้มีกลุ่มเพาะเห็ดเกิดขึ้นในหมู่บ้านของเธอ
เธอเห็นว่าการเพาะเห็ดง่ายกว่าการปลูกผักมาก ทางห้างสรรพสินค้าก็เคยมาเสนอ
ให้ท�ำส่ง แต่ต้องมีปริมาณเพียงพอ หากสามารถรวมกลุ่มกันผลิตได้เพียงพอ ก็จะ
สามารถสรา้ งรายได้เพ่มิ ขนึ้ อยา่ งแนน่ อน
ปัจจุบันแม่วันเพ็ญเพาะเห็ดขายคนเดียว ไม่มีกลุ่ม ไม่มีเครือข่าย แม้แม่ค้า
จะมารับซ้ือถึงท่ี แต่ก็ไม่มีใครสนใจร่วมท�ำด้วย ทั้งน้ีก็เพราะไม่กล้า คิดเอาเองว่า
เมื่อท�ำกันเป็นกลุ่ม ต้องท�ำขนาดใหญ่ ต้องลงทุนเยอะ เธอบอกว่า จริงๆแล้วไม่ใช่
ในการรวมกันเป็นกลุ่ม สมาชิกแต่ละคนสามารถแยกกันท�ำได้ ไม่ต้องหางบ
ประมาณลงทนุ กอ้ นใหญม่ าทำ� รว่ มกนั สว่ นการบรหิ ารสว่ นกลางของกลมุ่ “ใครมกี ำ� ลงั
ท�ำเท่าไหนก็ทำ� เท่าน้นั ”
“การรวมกลุ่มกัน มันจะดีกว่าในแง่การต่อรองราคาในการขาย เพียงแต่เรา
ท�ำการผลิตใหม้ ีคณุ ภาพเปน็ เบือ้ งต้นกพ็ อ” เธอวา่
แต่การรวมกลุ่มที่แม่วันเพ็ญหวัง เธอบอกว่าต้องมีความสนใจจริงๆ จึงจะ
ประสบความส�ำเร็จได้ หากมีเงินทุนอยู่บ้าง ทุกอย่างก็ไม่ยาก เพราะเทคนิคความรู้
ในการเพาะเห็ดเธอยนิ ดีทจี่ ะถา่ ยทอดให้ “ถา้ คุณแค่อยากได้ เราไม่ให้ แต่ถ้าอยาก
ท�ำ เราจะให”้ แม่วนั เพญ็ บอก

วนั เพญ็ โคตะเพช็ ร อายุ 45 ปี
หมู่ 3 บา้ นหนองเต่า ต.โพนงาม อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

25ครภู ูมปิ ัญญา หนองเลิงเปือย จังหวดั กาฬสินธ์ุ

ณัฎฐา ศิรารกั ษ์

ชวี ติ ชีวาและสารชีวภัณฑ์ของแมต่ รี

26 ครูภูมิปัญญา หนองเลิงเปือย จงั หวดั กาฬสนิ ธ์ุ

“ในหลวง ร.9 พระองค์ทา่ น
ทำ� ใหเ้ ราเห็นเป็นตัวอยา่ ง
แต่ทำ� ไมเราไม่ทำ� ตามในแบบทา่ นบ้าง”

กอ่ นจะร้จู ักปดิ ทองฯ

แมต่ รี ณัฎฐา ศริ ารกั ษ์ เตบิ โต
มาในครอบครัวเกษตรกรรม ท�ำนา
ปลูกผัก และปลูกมัน พ่อแม่ปลูกฝัง
ให้เธอท�ำมาหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง
มาต้ังแต่เด็ก จนส่ิงดังกล่าวกลายมา
เป็นรากฐานชีวิตของเธอในปัจจุบัน
“ตอนเด็ก เราไม่ค่อยได้เล่นเหมือนกับ
คนอน่ื ๆ เพราะตอ้ งชว่ ยแมข่ ายของ เรา
เห็นแม่เข็นรถไปขายผักตามบ้านโน้น
บ้านนี้ กิโลละ 1 สลึงมาต้ังแต่ยังเด็ก
พอเราโตพอทจ่ี ะชว่ ยได้ พอ่ แมก่ ใ็ หเ้ รา
ไปช่วย เราได้ความอดทนมาจากตรงน้ัน ย่ิงช่วงหน่ึงของชีวิต เราต้องออกจากบ้าน
ไปอยู่กับครอบครัวอ่ืน เราก็ยิ่งต้องอดทน และฝึกคิดอ่านอะไรด้วยตัวเองให้เป็น
ไม่รู้ว่าเพราะตรงน้ีหรือเปล่า ท่ีท�ำให้เราคิดว่าตัวเองมีความคิดความอ่านท่ีก้าวไกล
ล�้ำหนา้ และอยากรูอ้ ยากทำ� อย่างไม่ส้นิ สดุ ” เธอเล่า
ปัจจุบันครอบครัวแม่ตรีประกอบอาชีพหลายอย่าง ที่บ้านสามีเปิดเป็น
อซู่ ่อมรถ ขณะทตี่ ัวเธอเองก็ท�ำนาข้าว นาบวั และปลูกดอกดาวเรอื ง

เส้นทางชีวภณั ฑ์

แม่ตรีเริ่มรู้จักกับโครงการปิดทองหลังพระฯ เมื่อปี 2558 เธอย้อนให้ฟังถึง
การเข้าอบรมคร้งั แรกกับโครงการปิดทองหลงั พระฯ วา่ งานนั้นมีผวู้ ่าราชการจงั หวัด

27ครภู ูมปิ ญั ญา หนองเลิงเปอื ย จังหวดั กาฬสินธุ์

มาร่วมด้วย เป็นการอบรมเรื่องการ
ปลูกผัก ซึ่งตรงกับความต้องการใน
ขณะนน้ั พอดี เนอ่ื งจากแปลงผกั ของเธอกำ� ลงั เจอกบั ปญั หาหมดั ผกั ระบาดอยา่ งหนกั
พยายามหาวธิ กี ำ� จดั หลายๆ วธิ กี ย็ งั ไมห่ มดไปจากแปลง จนมโี อกาสเขา้ อบรมในครง้ั
น้นั ปญั หาของเธอก็คลค่ี ลาย
“อาจารย์หลิวให้ความรู้เร่ืองการใช้ไส้เดือนฝอยพร้อมสาธิตการขยายพันธุ์
เมอ่ื เรานำ� มาใชใ้ นแปลงผัก มันก็ท�ำให้หมัดลดลงจรงิ ๆ”
“ไดย้ นิ เรอ่ื งไสเ้ ดอื นฝอย เราเขา้ ใจวา่ มนั ไสเ้ ดอื นดนิ ธรรมดา แตจ่ รงิ ๆแลว้ ไมใ่ ช่
มันคนละชนิดกัน ตอนแรกเราก็สงสัยว่ามันจะช่วยยังไง แต่พอฟังอาจารย์หลิวเราก็
คอ่ ย ๆ รู้ และลองเอาไปทดลองใชใ้ นแปลง ปรากฏว่าไดผ้ ล ต้ังแต่นั้นมาเราก็สนใจ
การเกษตรแนวนี้มาตลอด”  
ปี 2561 แม่ตรีได้เข้าร่วมการฝึกอบรมที่โครงการปิดทองหลังพระฯ ร่วมมือ
กับศูนย์วิจัยยางอีกคร้ัง ครั้งน้ันท�ำให้เธอได้ขยับขยายพรมแดนความรู้มาสู่เรื่อง
“สารชีวภัณฑ์” เธอว่า สารชีวภัณฑ์คือความมหัศจรรย์ท่ีสุดที่เธอมีโอกาสได้เรียนรู้
เพราะเมื่อน�ำมาทดลองใช้กับพืชผักที่ปลูก สามารถแก้ปัญหาในแปลงผักได้เกือบ
ทกุ เร่ือง 

28 ครูภมู ปิ ญั ญา หนองเลิงเปือย จงั หวัดกาฬสนิ ธ์ุ

นับตั้งแต่นั้นมา เธอจึงเข้าร่วม
อบรมเร่ืองสารชีวภัณฑ์กับศูนย์วิจัยฯ
ทุกๆ 3-4 เดือน จนปัจจุบันเธอได้รับ
ตู้ปลอดเช้ือ หม้อนึ่งหัวเช้ือ และกล้อง
สอ่ งเชอ้ื ก่อนน�ำไปเผยแพร่และชกั ชวน
ใหเ้ กษตรกรคนอนื่ ๆ มารว่ มดว้ ยช่วยกัน
ทำ� ชว่ ยกนั ใช้
แม่ตรีเล่าด้วยความภูมิใจว่า
ทุกวันนี้เธอมีความรู้เร่ืองสารชีวภัณฑ์
เพิ่มข้ึนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเร่ือง
เรอื่ งปยุ๋ พี จี พี อาร ์ เชอื้ ราไตรโคเดอรม์ า่
และเชื้อไวรัส เอ็น พี วี เธออธิบายว่า
สารชีวภัณฑ์ ก็คือการใช้สิ่งที่มีชีวิตที่
ก�ำจัดส่ิงที่มีชีวิตด้วยกัน “ในธรรมชาติ
มันมีจุลินทรีย์ท้ังตัวดี ตัวร้าย เวลาเรา
ท�ำสารชวี ภณั ฑ์ กค็ อื เราผลติ สารตัวดีเอาไวใ้ ชใ้ นแปลงพชื ผัก เพ่ือใหม้ ันก�ำจดั ตวั รา้ ย
ทเ่ี ปน็ ศตั รูพชื คือเราใชธ้ รรมชาติก�ำจดั ธรรมชาติน่นั แหละ” เธอวา่  
เธอยังบอกอีกว่า วิธีดังกล่าวจะช่วยลดการใช้สารเคมีในการท�ำการเกษตร
ลงอย่างมาก เม่ือไม่ใช้สารเคมีก็ไม่สุ่มเส่ียงต่อโรคภัย สุขภาพก็ดี ส่ิงแวดล้อมก็ดี
“มนั อาจไดผ้ ลไมเ่ รว็ เหมอื นใชส้ ารเคมกี ำ� จดั แมลง ตอ้ งใชเ้ วลา แตเ่ มอ่ื คดิ ถงึ ผลไดผ้ ล
เสยี ระยะยาวแล้ว มนั จะท�ำให้เราย่งั ยนื กวา่ ” เธออธบิ ายอย่างผเู้ ข้าใจ 
จริงๆ แล้วสารชีวภัณฑ์ไม่ได้เป็นเร่ืองใหม่แต่อย่างใด แม่ตรีบอกว่า ค�ำว่า
“ชีวภัณฑ์” เป็นแค่การบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ ในธรรมชาติมีสารต่างๆ อยู่แล้ว อย่าง
สมัยก่อนชาวบ้านใช้เศษใบไม้หรือมูลสัตว์กองๆ เอาไว้ให้ย่อยสลายแล้วน�ำมาใส่
พืชผัก ชาวบ้านไมร่ ูว้ า่ ตัวที่ทำ� ใหใ้ บไมย้ อ่ ยสลายคืออะไร ร้แู ต่ว่ารดๆ น้�ำไปเดี๋ยวมัน
ก็เปื่อย แต่ความรู้สมัยใหม่ศึกษาพบว่ามันคือแบคทีเรีย ก็ผลิตแบคทีเรียชนิดดีขึ้น
โดยการใช้กากน�้ำตาลกับอีเอ็ม แล้วราดบนกองใบไม้ให้มันย่อยเร็วข้ึน แทนท่ีจะใช้
น้�ำอย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อน “แบคทีเรียมันก็มีอยู่ในธรรมชาติเพียงแค่ปัจุจบันเรา
เพิม่ ตัวช่วยใหย้ อ่ ยสลายเรว็ ขึ้น” แม่ตรีสรุป

29ครูภูมปิ ัญญา หนองเลงิ เปือย จังหวดั กาฬสินธุ์

ความเปลย่ี นแปลง

นอกจากองค์ความรู้เร่ืองสารชีวภัณฑ์ ท่ีแม่ตรีถือว่าเป็นความรู้สุดยอดที่ได้
เรียนรู้แล้ว เธอเล่าว่า เมื่อครั้งที่โครงการปิดทองหลังพระฯ พาไปอบรมที่จังหวัด
ขอนแก่น เธอประทับใจตารางการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งหรือเธอจ�ำได้ว่าตาราง
SWOT อีกด้วย การฝึกอบรมในครั้งน้ันสนุกมาก ท�ำให้เธอได้หันมาตั้งค�ำถามกับ
ตัวเองอย่างจริงจัง เธอบอกว่า “การรู้จักตัวเองส�ำคัญมาก เพราะมันจะท�ำให้เรา
พิจารณาอยา่ งถถ่ี ว้ น เวลาจะทำ� อะไร” 
ปัจจุบัน แม่ตรีมีรายได้เสริมจากการท�ำเกษตรเพ่ิมขึ้น แต่เธอยืนยันว่า
เป้าหมายส�ำคัญไม่ใช่แค่เงินเท่านั้น แต่คือความสุขท่ีเธอได้รับมากกว่า ทุกวันนี้เธอ
ท�ำการเกษตรอย่างเบิกบาน ไม่ต้องเครียดเหมือนงานในอู่ซ่อมรถ แม้งานเกษตร
จะต้องอยู่กลางแดดตากลม แต่เธอก็สามารถบริหารจัดการกับอุปสรรคจากลมฟ้า
อากาศเหล่าน้ันได้ เช่น ชว่ งแดดจัดแม่ตรกี ็จะหันไปท�ำไม้กวาดขายแทน

ความสุขของนกั ทดลอง

แม่ตรีสนุกกับการเป็นนักทดลอง เธอบอกว่า ทุกครั้งท่ีท�ำแล้วได้ผลเธอจะ
มีความสุขเป็นอย่างมาก ย่ิงเมื่อได้น�ำความรู้ไปกระจายให้คนรอบข้าง เธอก็ย่ิงมี
ความสขุ “ถา้ มคี นไมช่ อบในสง่ิ ทเี่ ราแนะนำ� เรากไ็ มม่ สี ทิ ธทิ ไ่ี ปโกรธเขา ไมเ่ ชน่ นนั้ เรา
เองจะเปน็ ทุกข์” แม่ตรีบอก
นอกจากสนุกกับการทดลองแล้ว แม่ตรียังยึดเอาในหลวงรัชกาลที่  9 เป็น
แบบอย่างในการด�ำเนินชีวิตอีกด้วย เธอบอกว่า“พระองค์ท่านเป็นตัวอย่างให้เรา
เห็นด้วยการปฎบิ ตั ิ” เมอื่ เหน็ ใครๆ ละโมบโลภมาก ไมร่ ูจ้ ักการเออ้ื เฟื้อเผื่อปนั ใชช้ ีวติ
เกนิ ความพอดี เธอจงึ มกั เกดิ คำ� ถามขน้ึ ในใจเสมอ “ทำ� ไมพวกเขาไมท่ ำ� อยา่ งพระองค์

30 ครูภมู ปิ ญั ญา หนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสนิ ธุ์

บ้าง ทุกสิ่งท่ีพระองคท์ รงปฏบิ ตั ใิ หเ้ หน็ ล้วนแตจ่ ะท�ำให้ชวี ิตดีขึ้น” เธอสงสัย
ทุกวันนี้ แม่ตรีมีความสุขในส่ิงที่เธอลงมือท�ำเป็นอย่างมาก ทุกครั้งท่ีมอง
ย้อนกลับไปในวันแรกที่มีโอกาสร่วมงานกับปิดทอง เธอจะเห็นรอยก้าวของตัวเอง
ที่ค่อยๆ พัฒนาการข้ึนทีละนิด โดยมีปิดทองคอยเป็นท่ีปรึกษาและประคับประคอง
อยู่ข้างๆ เธอคิดวา่ ในอนาคต หากโครงการปดิ ทองหลงั พระฯ จะถอนตัวไป เธอก็จะ
สามารถต่อยอดความรทู้ ้ังหมดทไี่ ดท้ ง้ั หมดให้ขยับขยายตอ่ ไปได้อย่างแน่นอน

กลุม่ คนเลก็ ๆ ทย่ี ิง่ ใหญ่

สมาชกิ ผลติ สารชวี ภัณฑ์ จดั ต้ังกลุ่มเมอื่ วนั ที่ 4 กรกฎาคม ปี 2562 มีสมาชิก
ท้ังหมด 17 คน ทุกคนอยากเลิกใช้สารเคมี จึงรวมกลุ่มกันอย่างแข็งขัน ตอนน้ีกลุ่ม
มสี ารชวี ภณั ฑแ์ ละขยายไสเ้ ดอื นฝอยออกจำ� หนา่ ยใหก้ บั ผสู้ นใจ โดยรายไดจ้ ะนำ� เขา้
กองทนุ เพ่ือใช้หมุนเวียนในการลงทนุ ใหม่  
แม่ตรีบอกว่าการผลิตสารชีวภัณฑ์ในกลุ่มของเธอ ไม่ได้เน้นเรื่องเงินเป็น
หลัก แต่ที่ต้ังข้ึนมาก็เพ่ือต้องการให้สารชีวภัณฑ์แพร่หลายออกไปกว้างขวาง
กวา่ น้ี เธอเล่าว่า “ปัจจบุ นั ในชมุ ชนมีปัญหาเร่ืองศตั รพู ืชผกั ระบาดเยอะมาก หากคน
ในชมุ ชนมคี วามรเู้ รอ่ื งเกยี่ วกบั สารชวี ภณั ฑม์ ากขน้ึ และลองนำ� ไปใช้ ทางกลมุ่ ของเรา
กย็ นิ ดีทีจ่ ะช่วยเหลอื อยา่ งเต็มท”่ี
“แม้เราจะเป็นแค่คนเล็กๆ แต่ถ้าอะไรพอจะช่วยได้เราก็ช่วย จริงๆ ถ้า
หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนอย่างถูกต้องและจริงจัง เราคิดว่า อะไรก็ตามท่ีเป็น
ปัญหาอยู่ขณะน้ี จะดีขึ้นแน่นอน แต่ท่ีผ่านๆ มาเวลาจะช่วยเหลืออะไร นอกจากไม่
จรงิ จงั ตอ่ เนื่องแลว้ ยังไมค่ อ่ ยทัว่ ถึงอีกด้วย คนท่ีได้ความช่วยเหลือกลบั ไมเ่ ดอื ดรอ้ น
อะไร ขณะคนท่ีเดือดร้อนจริงๆ กลบั ไม่ไดร้ บั การชว่ ยเหลอื ใดๆ” แมต่ รกี ลา่ ว
“ปลกู ไมไ้ วก้ นั ลมบงั แดด ปลกู ผกั ปลกู มนั ไวก้ นิ วกิ ฤตจิ ากภายนอกกท็ ำ� อะไร
เราไมไ่ ด้” แม่ตรีบอก 

ณัฎฐา ศริ ารกั ษ์ อายุ 42 ปี
หม่ทู ่ี 10 บา้ นนาเรยี ง ต.สามัคคี อ.ร่องคำ� จ.กาฬสินธ์ุ

31ครูภูมปิ ญั ญา หนองเลิงเปอื ย จงั หวดั กาฬสนิ ธุ์

ยุวดี ผลาปรีย์ และ ดวงสวุ รรณ หนจู ติ ร

จิ้งหรีด กบั สุขภาวะของผ้สู งู วยั

สองพน่ี อ้ งแหง่ บา้ นเหล่าออ้ ย

ที่บ้านเหล่าอ้อย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีสองพ่ีน้องคนขยัน แม่ยุวดีและแม่
ดวงสุวรรณ หญิงวัยเก๋าผสู้ ร้างรายได้จากแมลงตัวเล็กๆ จิ้งหรีด
ปี 2558 โครงการปิดทองเข้าไปในบ้านเหล่าอ้อย ผู้ใหญ่บ้านประกาศในท่ี
ประชมุ ว่า ใครสนใจเข้ารว่ มสร้างอาชีพกับโครงการปิดทองหลงั พระฯบ้าง ด้วยหัวใจ
ทย่ี งั เปิดกวา้ งพร้อมเรยี นร้เู สมอ สองพ่ีน้องไมล่ ังเลที่จะยกมอื เข้ารว่ ม เพราะมนั่ ใจวา่
จะสร้างรายได้จากพ้ืนฐานการเกษตรที่ตัวเองมี

32 ครภู ูมิปญั ญา หนองเลิงเปือย จงั หวัดกาฬสินธุ์

“แมว่ ่ามนั ข้ึนอยทู่ ่ใี จ๋ “แต่กอ่ นลกู ส่งเงินมาไหใ้ ช้
ตอ้ งใสใ่ จ๋ ถา่ เฮา้ บ่ใสใ่ จ๋กับมัน พอเดีย๋ วน้ีได้ขายจ้ิงหรดี

มันกไ็ ปบร่ อด” สง่ ใหล้ กู ”

ยวุ ดี ผลาปรยี ์ ดวงสุวรรณ หนูจติ ร

มีในธรรมชาติมาเล้ียงในบ่อดิน
ที่ขุดไว้ ให้โต แล้วขาย ซึ่งได้ผล
ไม่ดี รายได้ไม่แน่นอน ขึ้นกับว่า
มีจิ้งหรีดให้จับหรือไม่ อีกทั้งไม่
ไดจ้ ดั การอยา่ งจริงจงั
เม่ือโครงการปิดทองหลัง
พระฯ มีแนวทางสนับสนุนที่
ชัดเจน โดยให้ความรู้และให้
กู้ยืมอุปกรณ์การเล้ียงจิ้งหรีด
ครบชุด ในราคา 2,500 บาท
ต่อคอก ผ่อนจ่ายเป็นรายเดือน
เดือนละ 600 บาท ทั้งสอง
ยินดีเป็นอย่างมาก เพราะคิดว่า
สามารถผอ่ นชำ� ระไดไ้ หวแนน่ อน

เรมิ่ แรก โครงการปดิ ทองหลงั พระฯ ใหก้ าร เรมิ่ เรยี นรู้ เปดิ หู เปดิ ตา
สนับสนุนในการขุดสระ เพ่ือจะได้มีน�้ำท�ำการ เปิดใจ

เกษตร เวลาตอ่ มา เรมิ่ มแี นวทางสรา้ งอาชพี ใหมๆ่ แม่ยุวดีกับแม่ดวงสุวรรณ
เขา้ มา เชน่ แนะนำ� การเลีย้ งสตั ว์ เชน่ หม ู ไก ่ เปด็ มีครอบครัวและท่ีท�ำกินท่ีอยู่ใกล้
และจิ้งหรีด แม่ยุวดีกับแม่ดวงสุวรรณเลือกเลี้ยง ชิดกัน ท�ำอะไรก็มักท�ำด้วยกัน
จิ้งหรีดทันที เพราะก่อนหน้านี้เคยเล้ียงแล้วแต่ ไปไหนไปกัน ทั้งสองได้เข้าร่วม
เป็นการเล้ยี งตามธรรมชาติ คอื ไปหาจบั จ้ิงหรดี ท่ี โครงการปดิ ทองหลงั พระฯดว้ ยกนั

33ครภู ูมิปญั ญา หนองเลงิ เปือย จงั หวัดกาฬสนิ ธุ์

ความรู้ใหม่ที่แม่ยุวดีกับ
แมด่ วงสวุ รรณนำ� มาใชป้ ระโยชน์
ในคอกจง้ิ หรดี ของตน คอื เทคนคิ
การใหอ้ าหารทไี่ ดจ้ ากพอ่ ประมลู
ผู้มีประสบการณ์เลี้ยงจิ้งหรีด
เล้ียงจิ้งหรีดเหมือนกัน ได้พัฒนาศักยภาพและ อย่างหาตัวจับยากแห่งอ�ำเภอ
อาชีพจากโครงการไปพร้อมกันด้วย แม่ยุวดี ยางตลาด พ่อประมูลแนะน�ำ
เล่าว่าเธอเริ่มด้วยการทดลองเรียนรู้หนึ่งคอก เทคนิคการเล้ียงจ้ิงหรีดหลาย
ครั้งแรกขายได้เงิน 3,500 บาท เธอดีใจมาก อย่าง ส่ิงหนึ่งท่ีแม่ยุวดีจ�ำได้
เพราะตอนที่เลี้ยงวิธีธรรมชาติไม่เคยได้เงินเท่านี้ ข้ึนใจคือการให้อาหารจ้ิงหรีด
“โอ๊ย ดีใจหลายๆ แค่คอกเดียวกะได้เงินต้ัง โดยระยะ 20-25 วันแรก เป็น
สามพันห้า” เธอเลา่ ด้วยความตน่ื เตน้ ช่วงที่จ้ิงหรีดก�ำลังเติบโตเป็น
การเลย้ี งจงิ้ หรดี คอกครง้ั แรก สรา้ งกำ� ลงั ใจ จ้ิงหรีดสาว จ้ิงหรีดจะกินเก่ง
ใหแ้ มย่ วุ ดมี ากจนตอ้ งเพมิ่ คอกจงิ้ หรดี อกี สองคอก อย่าใหก้ ินผกั เยอะเกนิ ไป เพราะ
นอกจากนี้แม่ยุวดีและแม่ดวงสุวรรณยังได้เข้า จะทำ� ใหไ้ ดร้ บั ฮอรโ์ มนสงู จงิ้ หรดี
ร่วมอบรมที่จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับเกษตรกรคน จะกลายเป็นตัวผู้แทนท่ีจะเป็น
อน่ื ๆ ทมี่ าจากหลายจังหวัดเป็นเวลา 3 วนั หัวขอ้ ตัวเมีย แต่ต้องเน้นให้กินหัว
การอบรมในครง้ั นนั้ คอื “การประกอบสมั มาอาชพี ” อาหารและหยวกกลว้ ย หรอื ตอน
ทั้งสองได้ความรู้จากการอบรมมากขึ้น เพราะ จะนำ� ออกขาย อยา่ ใหจ้ ง้ิ หรดี กนิ
นอกจากวิทยากรบรรยายให้ฟังแล้ว ยังมีโอกาส ผกั เพราะจะท�ำให้มรี สชาติขม
พูดคุยแลกเปล่ียนกับผู้ที่มีความรู้ในอาชีพต่างๆ ความรู้เหล่าน้ีแต่ก่อน
อกี ด้วย แม่ยุวดีและแม่ดวงสุวรรณเคย

34 ครภู มู ิปญั ญา หนองเลิงเปอื ย จงั หวดั กาฬสนิ ธ์ุ

ได้ยินมาบ้าง แต่ก็ไม่เคยใส่ใจแต่พอพ่อประมูลให้รายละเอียดก็ท�ำให้แน่ใจใน
วิธีการและน�ำมาปฏิบัติ นอกจากเทคนิคความรู้ในการเลี้ยงแล้ว ในการอบรมครั้ง
ดังกล่าว แม่ยุวดีและแม่ดวงสุวรรณยังได้ความรู้เร่ืองช่องทางการตลาด รู้จัก
เครือข่ายแปรรปู จง้ิ หรีดจากพ่อประมูลอีกดว้ ย

การปฏบิ ัตจิ รงิ คือการพัฒนาตนเองตลอดเวลา

แม่ยุวดีและแมด่ วงสุวรรณไดน้ �ำความรวู้ ิธกี ารใหมๆ่ มาปรบั ใชใ้ นคอกจ้งิ หรีด
ของตนเองจนเห็นผลเป็นที่พอใจ เมื่อมีประสบการณ์เพียงพอและมีความรู้เทคนิค
วิธีต่างๆ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และมีช่องทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
จงึ ได้ขยายกิจการ โดยการซื้อคอกจิ้งหรดี จากพอ่ ประมลู มาเพมิ่ 10 คอก ทั้งสองคน
เรียนรู้ว่าพ่อประมูลท�ำการเกษตรหลายอย่าง นอกจากเล้ียงจ้ิงหรีด 30 คอกแล้ว
ยังเพาะเห็ดและเลี้ยงวัว จึงไม่สามารถดูแลคอกจิ้งหรีดได้เต็มท่ี ตนจึงแบ่งซ้ือมา
เพราะประเมินก�ำลังตนเองแล้วว่าสามารถจัดการได้ นับแต่นั้น จ้ิงหรีดสิบกว่าคอก
จึงได้สร้างอาชีพที่ม่ันคง สร้างรายได้ให้ครอบครัว สร้างคุณค่าและมีสุขภาวะให้
กับทั้งสองคนจนปัจจุบัน

ขยายผล ขยายเครอื ข่ายและความรู้

กิจการเล้ียงจ้ิงหรีดของแม่ยุวดีเติบโตและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แม่ยุวดีขึ้น
เรื่อยๆ เธอสามารถก�ำหนดรายได้จากการเลี้ยงจิ้งหรีดด้วยการวางแผนงบประมาณ
และดึงลกู สาวมาเป็นแรงงานและชว่ ยเรื่องการตลาด เพราะร่�ำเรยี นมาทางนี้โดยตรง
ทุกวันนี้กิจการของแม่ยุวดีเป็นที่กล่าวถึงในระดับจังหวัดหลายครั้งทาง
อ�ำเภอร่องค�ำได้เชิญให้เธอไปเป็นวิทยากรแก่ชาวบ้านต่างหมู่บ้านต่างอ�ำเภอบ้าง
หรือแม้แต่ในอ�ำเภอเดียวกันนอกจากนี้ฟาร์มจิ้งหรีดของเธอยังกลายมาเป็นแหล่ง
เรียนรู้มีชีวิตเป็นสถานท่ีศึกษาดูงานให้ผู้ที่สนใจเพาะเล้ียงจ้ิงหรีด ผลของการเปิด
สถานที่ให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ ท�ำให้ยุวดีได้ลูกค้าเพ่ิมจนมีรายได้จากการขาย
จ้ิงหรีดท้ังปลีกและเหมายกคอก เดือนละประมาณ 17,00-20,000 บาท
หากหกั ตน้ ทนุ คา่ หวั อาหารทีต่ กอยู่ประมาณเดอื นละ 5,000 บาท เทา่ กับว่าทุกเดือน
เธอจะมรี ายได้เข้าเข้าประมาณ 12,000-15,000 บาท

35ครภู มู ิปญั ญา หนองเลิงเปือย จงั หวัดกาฬสนิ ธุ์

ก้าวขา้ มอปุ สรรคด้วยการฝันถงึ ความส�ำเร็จ

ข้ันตอนการเลี้ยงจิ้งหรีด เริ่มจากการน�ำไข่จิ้งหรีดมาเพาะเล้ียง เม่ืออายุได้
1 สปั ดาห์ ไข่จะเร่มิ แตกเป็นตัวเล็กๆ สีด�ำคล้ายตัวหมัด จากนัน้ กเ็ รมิ่ ใหอ้ าหารและ
นำ้� ไปเร่อื ยๆ จนกระท่งั เมื่อมอี ายุ 35 วัน จ้งิ หรดี จะโตจนพรอ้ มขายได้
แม่ยุวดีเล่าว่า เมื่อปี 2560 เคยเกิดเหตุการณ์ที่ท�ำให้เกือบต้องล้มเลิกการ
เล้ียงจ้ิงหรีด ครั้งนั้นแม่ยุวดีเห็นจ้ิงหรีดชอบกินผักมากกว่าหัวอาหาร จึงให้ผักเป็น
อาหารอย่างเต็มที่ เพื่อจะได้ประหยัดต้นทุน แต่แล้วก็พบว่าจิ้งหรีดถ่ายเป็นน�้ำ มี
กรดแก๊สในบ่อเลี้ยง จนจ้ิงหรีดตายหมด จึงรู้สึกท้อกับสิ่งท่ีเกิดข้ึน คิดจะหยุดเล้ียง
แตก่ ็ฉุกคิดขนึ้ ไดว้ ่า ตวั เองเพิง่ เริ่มท�ำ ยงั ไมพ่ บความส�ำเรจ็ จะถอยไมไ่ ด้ กวา่ จะหอม
หวานของความสำ� เร็จ เปน็ ธรรมดาท่จี ะพบขมบ้าง ส่งิ ทเ่ี กิดข้นึ ถือเปน็ ประสบการณ์
“ยงั บ่สำ� เร็จ แมก่ ็เลยบ่ทนั ถอย” แมย่ ุวดบี อก เมือ่ ฮึดส้อู กี คร้ัง แมย่ วุ ดีคอ่ ยๆ
แลกเปล่ียนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์จริง แล้วน�ำเทคนิคการเลี้ยงต่างๆ มาปรับใช้
กระทง่ั สามารถเลยี้ งจง้ิ หรดี ไดอ้ ยา่ งชำ� นาญ แมย่ วุ ดชี อบและหลงใหลการเลย้ี งจง้ิ หรดี
เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่ิงดังกล่าวเป็นปัจจัยส�ำคัญท่ีท�ำให้เธอสามารถเผชิญอุปสรรค
และกา้ วขา้ มมันมาได ้
นอกจากจากความรักความชอบเป็นทุนเดิมแล้ว เหตุผลท่ีแม่ยุวดีเลือกที่จะ
เล้ียงจิ้งหรีดอีกประการหนึ่งคือ การท่ีได้ท�ำงานในร่ม ไม่ต้องตากแดดร้อนๆ ไม่ต้อง
ใช้แรงงานจ�ำนวนมาก ไม่ต้องกร�ำงานหนัก ไม่ต้องเส่ียงเป็นลมเป็นแล้ง เป็นงานที่
เหมาะกับคนในวัยน้ี ทั้งยังสามารถสร้างรายได้ได้เร็ว โดยไม่ต้องวิ่งเร่ขาย มีแม่ค้า
มารับซื้อถึงทบี่ า้ น

จง้ิ หรดี ใหอ้ ะไร

การเลี้ยงจ้ิงหรีดตอ้ งอดทน คอ่ ยๆ ท�ำ จึงจะค่อยๆ
ประสบความส�ำเร็จ แม่ยุวดีบอกว่า หากโลภมากหรือเลี้ยง
เกนิ กำ� ลงั ตวั เอง จะไมม่ ที างประสบความสำ� เรจ็ แตถ่ า้ คอ่ ยๆทำ� ความสำ� เรจ็ จะตามเอง
ตอนน้ีลูกๆ ของแม่ยุวดีต่างยอมรับในสิ่งที่เธอท�ำ ไม่นานมานี้ลูกชายของเธอจึงเริ่ม
ลงมือเล้ียงจิ้งหรีดด้วย การได้รับการยอมรับจากครอบครัวและชุมชน ท�ำให้ผู้สูงวัย
เช่นเธอมีความสขุ และมคี วามภาคภมู ิใจในตัวเอง

36 ครูภมู ิปัญญา หนองเลิงเปอื ย จงั หวดั กาฬสนิ ธ์ุ

ท่ีเป็นเช่นน้ีได้ก็เธอท้ังสองเปิดใจ
เข้าร่วมโครงการปิดทองหลังพระฯ จนได้
รับค�ำช้ีแนะแนวทางและช่วยเหลือช่อง
ทางการตลาด ตลอดจนให้ทุนตั้งต้นแก่
เกษตรกรผสู้ งู อายไุ ดเ้ รม่ิ อาชพี ในวยั อาวโุ ส
สิ่งทีท่ ง้ั สองชอบท่ีสดุ ในการได้ร่วมงานกับ
การได้เข้าร่วมกับโครงการปิด เจ้าหน้าท่ีของโครงการคือ “การช่วยเหลือ
ทองหลังพระฯ ท�ำให้แม่ยุวดีมีอาชีพ กันเสมือนพ่ีน้อง” แม่ดวงสุวรรณบอกว่า
ท่ีสร้างรายได้ม่ันคงในการจุนเจือ เวลามีปัญหาอะไรก็สามารถสอบถาม
ครอบครัว นอกจากนย้ี ังท�ำให้ผสู้ ูงวยั ได้ หรือขอความช่วยเหลือได้จากเจ้าหน้าที่
ใชเ้ วลาในการมีสมาธกิ ับงาน ไดพ้ บปะ ปิดทองได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
พูดคุยกับผู้คน ได้สุขภาพกายและ ขณะท่ีแม่ยุวดีบอกว่า “เผ่ินเฮ็ดน�ำคือเฮา
สุขภาพจิตท่ีดี ปกติคนในวัยเกษียณ เป็นพี่เป็นน้องกัน แมก่ เ็ ลยมักหลาย”
ต่างก็ต้องท�ำเกษตรร่วมกับสมาชิกใน
ครอบครัวทั้งน้ัน แต่มีเพียงไม่ก่ีคนที่
สามารถสร้างอาชีพด้วยล�ำแข้งตนเอง ยวุ ดี ผลาปรยี ์ อายุ 64 ปี
ดแู ลกจิ การตนเองอยา่ งภาคภมู ใิ จ หนงึ่ ดวงสุวรรณ หนูจิตร อายุ 67 ปี
ในน้ันคือ แม่ยุวดีกับแม่ดวงสุวรรณผู้ หมู่ที่ 9 บา้ นเหล่าออ้ ย
เป็นพ่ีสาวของเธอ ต.เหลา่ ออ้ ย อ.ร่องค�ำ จ.กาฬสนิ ธุ์

37ครูภูมิปัญญา หนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสนิ ธุ์

อภญิ ญา โพธิ์ก่งิ

มือใหม่วงการข้าวโพดเล้ยี งสัตว์

38 ครภู ูมิปัญญา หนองเลิงเปือย จังหวัดกาฬสินธ์ุ

“ถงึ เราจะไม่รำ�่ รวย
แตเ่ รากย็ งั ดกี วา่ คนทีไ่ มท่ ำ� อะไรเลย”

ช่างกอ่ สร้าง วิกฤตขิ องชีวิต และทางเลือกใหม่

แม่อภิญญาเดิมเป็นคนนครสวรรค์ เติบโตจากครอบครัวเกษตรกร แต่เม่ือ
โตขึ้นไม่ได้มีอาชีพเกษตรกรเหมือนครอบครัว เพราะเมื่อพบกับพ่อมณีผู้เป็นสามี
ท้ังสองคนกลับยึดอาชีพช่างก่อสร้างในการเลี้ยงครอบครัว เธอเล่าว่าตัวเองท�ำงาน
ก่อสรา้ งอย่างขยนั ขนั แข็งและตั้งใจมาก งานไมเ่ สร็จไม่เลิก ลกู ค้าส่ังงานแลว้ ไม่ตอ้ ง
กงั วล ทุกอย่างจะเสรจ็ สมบรู ณต์ ามทีบ่ อก
ท้ังสองสร้างรายได้เล้ียงดูครอบครัวด้วยอาชีพก่อสร้างมาอย่างดี แต่แล้ว
อยู่ๆ ก็ต้องหยุดเพราะแม่อภิญญาได้รับอุบัติเหตุหนักจากการถูกรถกระบะไหลทับ
ตัว จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด หลังเหตุการณ์เลวร้ายคร้ังนั้น เธอไม่สามารถท�ำงาน
หนักได้อีก สามีก็ต้องหยุดงานมาดูแลในช่วงป่วยและพักฟื้น กระท่ังต้องหยุดงาน
กอ่ สร้างในท่ีสุด เพราะพ่อมณจี ะท�ำคนเดียวก็ไมไ่ ด้ ไมม่ คี นช่วย
เม่ือไม่สามารถท�ำงานได้อย่างเดิม ท้ังสองจึงหันมาให้ความสนใจอาชีพ
เกษตรกรรม แม้จะไม่เคยท�ำ แต่เคยอยู่ในครอบครัวเกษตรกร เคยเห็น เคยรับรู้มา
ต้ังแต่เดก็ ๆ
“ทำ� อะไรไม่เปน็ หรอก แตเ่ ราเคยเหน็ พ่อแม่ท�ำ ก็อยากท�ำ และต้งั ใจวา่ จะทำ�
ให้มันดีทีส่ ุด คอ่ ยๆเรยี นรูเ้ อา” แมอ่ ภญิ ญาบอก

เชา่ ทีด่ นิ เพือ่ เข้าโครงการ

เมื่อปี 2557 โครงการปิดทองได้สนับสนุนให้ชาวบ้านในหมู่บ้านนาเรียง
จังหวัดกาฬสินธุ์ปลูกมะเขือเทศ แต่ตอนนั้น แม้แม่อภิญญาจะสนใจอย่างมาก
แต่ดว้ ยความทีไ่ มม่ ีทีด่ นิ ทำ� การเกษตรของเธอจึงพลาดการเขา้ รว่ มอยา่ งน่าเสียดาย

39ครูภูมิปญั ญา หนองเลิงเปอื ย จงั หวดั กาฬสนิ ธ์ุ

กระนั้น ด้วยความต้ังใจจะเข้าร่วมโครงการอย่างจริงจัง เธอจึงหาที่ดินเช่า
จ�ำนวน 1 ไร่ เพื่อเธอจะได้รับโอกาสน้ัน และในปี 2558 เธอก็ได้ร่วมโครงการ
ปลูกมะเขือเทศกับปิดทองอยา่ งท่ีหวงั
ปแี รก เธอไดร้ บั คา่ ตอบแทนจากผลผลติ หกั คา่ ใชจ้ า่ ยแลว้ จำ� นวน 12,600 บาท
ซ่ึงถือว่าคุ้มค่าเหน่ือย เธอเล่าว่า แปลงมะเขือเทศของเธอได้รับการดูแลเอาใจใส่
เปน็ อย่างดี จงึ ทำ� ให้ได้รับผลตอบแทนเชน่ นน้ั ขณะเพื่อนบางรายท่ีเขา้ รว่ มโครงการ
ดว้ ยกนั แต่กข็ าดทนุ

จากก้าวเล็กๆ สูท่ างเดนิ ทีใ่ หญ่ขึ้น

ต่อมาโครงการปิดทองหลังพระฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด�ำเนิน
โครงการประกันรายได้ให้เกษตรกรท่ีเข้าร่วม โดยจ่ายค่าผลผลิตให้ล่วงหน้า เพ่ือ
สนับสนุนเป็นทุนต้ังต้นและกระตุ้นให้เกษตรกรท�ำการปลูกพืชหลังฤดูการท�ำนา
ด้วยโครงการดังกล่าว ท�ำให้แม่อภิญญามีเงินมาลงทุนเบ้ืองต้น 5,000 บาท
โครงการประกันรายได้ มีพืชหลายอย่างให้เกษตรกรเลือกปลูก แม่อภิญญาเลือก
ปลูกถั่วลิสง ในพ้ืนท่ี 2 งาน ปลูกพริก 2 งาน และผักอ่ืนๆ อีก 2 งาน นอกจากนี้
ยังปลกู มะเขือเทศร่วมกับบริษทั ไทซุนอกี จ�ำนวน 3 ไร่
การลงทนุ ลงแรงทัง้ หมด ได้ผลผลิตท่ีได้กส็ รา้ งความพึงพอใจใหแ้ ม่อภิญญา
เป็นอย่างมาก เธอสามารถสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว และมีเงินพอเหลือเก็บ
หลงั จากนน้ั แม่อภญิ ญากับสามี ประเมนิ ก�ำลงั ของตนเอง พบว่ายงั มีก�ำลังมากพอที่
จะท�ำเกษตรขนาดใหญ่ขนึ้ กวา่ เดิมได้ จึงได้เริ่มปลูกพืชในแปลงใหญข่ ้ึนในปี 2560
โดยพืชที่เลือกปลูกคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และนี่เป็นการท�ำการเกษตรขนาดใหญ่
คร้งั แรกในชวี ิตของทั้งสอง
แม้พ้ืนท่ีแปลงจะไกลจากแหล่งน�้ำ แต่ด้วยความต้ังใจมุ่งม่ัน ต้ังใจแรงกล้า
และพร้อมที่จะเสี่ยง ทั้งสองจึงลงมือด้วยกันอย่างไม่ลังเล “เราเช่ือว่าเราท�ำได้
เราไม่กลัว เห็นคนอนื่ ปลกู แมฝ้ ักจะใหญ่ พนั ธุจ์ ะดี แต่ขน้ึ ไม่สม่�ำเสมอ เราคิดว่าน่า
จะทำ� ไดด้ กี ว่านี้ เลยอยากลอง” เธอบอก
แมอ่ ภญิ ญาและสามเี รม่ิ วางแผนการปลกู ขา้ วโพดอยา่ งรอบคอบ ทงั้ วางแผน
เรื่องน้�ำ ศึกษาเส้นทางน้�ำธรรมชาติ ขอค�ำแนะน�ำความรู้จากปิดทอง ค้นคว้าหา

40 ครูภูมิปญั ญา หนองเลงิ เปือย จงั หวัดกาฬสนิ ธุ์

ความรู้ด้วยตนเอง สังเกตผลการปลูกข้าวโพด
จากแปลงของคนอื่น หลังจากนั้นก็ตัดสินใจ
เช่าท่ีดินจ�ำนวน 3 ไร่ ลงมือตามแผนการ โดย
มีโครงการปิดทองหลังพระฯ สนับสนุนเร่ือง
เมลด็ พนั ธแุ์ ละใหค้ �ำแนะน�ำอย่างสม�่ำเสมอ

แมแ้ ต่ต้นเดยี วกต็ อ้ งเอาใจใส่

แมอ่ ภญิ ญาบอกวา่ หลกั สำ� คญั ของการ จะมีขนาดใหญ่ เข้าร่องแปลง
ดูแลข้าวโพดเล้ียงสัตว์คือ การหม่ันตรวจตรา ไม่ได้ แต่ด้วยความท่ีสามีของ
ดูแล ก�ำจัดวัชพืชและแมลง เพราะหากปล่อย เธอเป็นช่าง จึงได้ดัดแปลงท�ำ
ไว้ไม่นาน แมลงและวัชพืชจะขยายเร็วมาก ผานไถพิเศษข้ึนมา เพื่อใช้ในการ
นอกจากน้นั กค็ อื อยา่ ให้มนี �ำ้ ท่วมขังในแปลง พรวนหญ้าและกลบดินเวลาใส่
“พืชชนิดนี้บ่ต้องการน้�ำเยอะ ต้องการ ปยุ๋ เป็นการทนุ่ แรง ทนุ่ เวลา ทค่ี ้มุ
แคค่ วามช้ืนก็พอ ส่วนการดูแลความช้ืนในฝักก็ ส�ำหรับขั้นตอนการปลูกอ่ืนๆ เธอ
ส�ำคัญ ถา้ มากเกิน จะเกดิ เชอื้ รา” พ่อมณีเสรมิ กับสามีกท็ ำ� เหมอื นคนอนื่ ๆ
ปัญหาเรื่องต้นข้าวโพดเติบโตไม่
สม�่ำเสมอ เป็นปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูก
ข้าวโพดเล้ียงสัตว์มักพบบ่อยๆ และแก้ยาก
เพราะการปลูกข้าวโพดเล้ียงสัตว์ต้องใช้พื้นท่ี
มาก ดูแลจึงให้ท่ัวถึงได้ยาก แต่ปัญหาดัง
กล่าว กลับไม่เกิดในแปลงของแม่อภิญญากับ
พอ่ มณี เพราะทงั้ สองจะใสใ่ จรายละเอยี ด ทมุ่ เท
เวลาดแู ลตน้ ขา้ วโพดทกุ ๆ ตน้ ใหง้ อกงามเทา่ กนั
หากเห็นว่าต้นไหนโตไม่ทันต้นอื่นๆ แม้แต่ต้น
เดยี วกจ็ ะรบี กำ� จดั วชั พชื และใหป้ ยุ๋ เพม่ิ เปน็ พเิ ศษ
นอกจากการดูแลอย่างเอาใจใส่แล้ว
ทางด้านเทคนิคการใช้เครื่องมือก็ต้องใช้ให้
เหมาะสม แม่อภิญญาก็เลา่ ว่า ผานรถไถ ปกติ

41ครูภูมิปญั ญา หนองเลิงเปือย จงั หวดั กาฬสนิ ธุ์

ผลตอบแทนคือบทเรียน

ผลผลติ ข้าวโพดจากการปลูกคร้งั แรกในพืน้ ท่ีหา่ งไกลแหลง่ น�้ำ จำ� นวน 3 ไร่
หลังหักคา่ ใชจ้ า่ ยแลว้ ท้ังสองได้ก�ำไรประมาณ 20,000 บาท โดยในตอนเก็บเกี่ยวใช้
วิธีการเดนิ หักฝักดว้ ยแรงงานทงั้ สองเอง
ปีต่อมาสองสามีภรรยาขยายพื้นที่ปลูกเป็น 7 ไร่ ผลผลิตได้เยอะข้ึนมาก
แต่กลับขายไม่ได้ เพราะใช้รถเกี่ยว เมลด็ ข้าวโพดแตก มคี วามชนื้ เกิดเช้อื รา ทำ� ให้
ทางโครงการไม่รับซื้อในราคาเต็ม ได้แต่ซื้อในราคาช่วยเหลือกิโลกรัมละ 3 บาท
ซึ่งเปน็ ราคาต้นทนุ
ความลม้ เหลวดังกล่าว ไมท่ �ำใหแ้ มอ่ ภิญญาและสามีลม้ เลกิ ปที สี่ ามท้ังสอง
จงึ ลงทนุ ปลกู อีกคร้งั คราวนีเ้ พิ่มพน้ื ท่ีเปน็ 10 ไร่
บทเรียนจากการใช้รถเก็บเก่ียวในปีท่ีสอง ท�ำให้ในการปลูกคร้ังใหม่ ทั้งสอง
หันมาใช้วิธีหักฝักตามเดิม แต่ด้วยปริมาณที่พ้ืนที่มาก การใช้แรงงานคนในการ
เก็บเก่ียวเสร็จจึงใช้เวลานาน ท�ำให้ข้าวโพดเสียความช้ืนมาก ฝักแห้ง น�้ำหนักลด
ตอนขายจึงได้เพียง 50,000 บาท ไม่เป็นไปตามท่ีคาดการณ์ไว้ แต่เมื่อหักต้นทุน
ประมาณ 35,000 บาท กพ็ อเหลือสว่ นต่างอยูบ่ า้ ง แตห่ ากเทียบกับสดั สว่ นพน้ื ท่แี ละ
แรงงานท่ีลงไปถอื วา่ ไมค่ ุ้มคา่ เหน่อื ย
แต่กระนั้น เหนือไปจากผลตอบแทนก�ำไรหรือขาดทุน ทั้งสองสามีภรรยาได้
เรียนรู้การท�ำเกษตรด้วยสองมือตนเองนั้น จะส่ังสมความรู้น้ีไว้ในตัวจนเกิดเป็นองค์
ความรทู้ พ่ี รอ้ มจะเรม่ิ ตน้ ใหมแ่ ละปอ้ งกนั ขอ้ ผดิ พลาดใหม้ ากขน้ึ ซงึ่ แมอ่ ภญิ ญาถอื วา่
มาไดถ้ งึ วนั นก้ี น็ บั วา่ พเิ ศษแลว้ เพราะทง้ั ตวั เองและสามไี มไ่ ดม้ อี าชพี เกษตรกรมากอ่ น

เพราะตน้ ทุนน้อยกวา่ คนอ่นื

พ่อมณีบอกว่าก่อนพบกับภรรยา เดิมตนเป็นคนไม่ค่อยขยัน แต่ภรรยาขยัน
มาก จึงท�ำให้ตนต้องขยันตามไปด้วย เม่ือก่อนท�ำงานช่างเสร็จก็ได้พัก แต่การเป็น
เกษตรกรการพักคือการได้อยกู่ บั พืชผกั ในแปลง ไดน้ ่งั พักนอนพกั เล่นๆ บ้างในแปลง
กม็ ีความสุขแล้ว
“งานเกษตรท�ำให้เวลาของเราแทบทั้งหมด หมดไปกับการเฝ้าดูพืชผัก ช่วง
เวลานัน้ เหมอื นกับการไดพ้ ักผอ่ นไปในตวั ” พอ่ มณกี ล่าว

42 ครูภมู ิปัญญา หนองเลงิ เปือย จงั หวดั กาฬสนิ ธุ์

“เมอื่ กอ่ น ตอนทำ� งานเปน็ ชา่ งกอ่ สรา้ ง เวลาจะไดเ้ งนิ แตล่ ะที เราตอ้ งเบกิ เปน็
งวดๆ ซ่ึงบางทีก็นานมาก แต่การทำ� เกษตร ถา้ เราขยัน แม้แตก่ ารปลูกผกั ขายเลก็ ๆ
นอ้ ยๆ กท็ ำ� ใหเ้ รามรี ายไดท้ กุ วนั ตอนนอ้ี ยากไดอ้ ะไรกส็ ามารถซอื้ ได”้ แมอ่ ภญิ ญาเสรมิ
ความขยนั ขนั แขง็ ของทง้ั สอง เป็นท่ปี ระจกั ษข์ องชาวบา้ นนาเรยี งเปน็ อยา่ งดี
ชาวบ้านบางคนถึงกับบอกว่า “ไปทำ� งานมแี ตค่ นวา่ ผที ำ� ไทบา้ นบเ่ หน็ ตอนกลางวนั
จกั เทอื่ เหน็ แตต่ อนกลางคนื ” พ่อมณบี อก
“ตอนท่ีท�ำก่อสร้างก็หนัก แต่งานไม่เคยหมด เรารู้ว่าจะมีรายได้แน่ๆ ท�ำไป
เรื่อยๆ เป็นงานเหนื่อยแต่ก็พอได้พักบ้าง แต่หลังจากอุบัติเหตุคร้ังน้ัน ทุกอย่างลบ
หายหมด เราต้องตั้งต้นใหม่ทุกอย่าง ทั้งทรัพย์สิน วิชาความรู้ เวลาเราเห็นคนอื่นมี
รายได้ดี ผลผลิตดี แต่เราขาดทุน เรากย็ งิ่ ตอ้ งสู้ อย่ายอมแพ้ เอาคนที่ประสบความ
ส�ำเร็จมาเป็นตัวอย่าง เราอาจจะไม่มีต้นทุนเหมือนเขา เราจึงต้องพยายามให้มาก”
แม่อภญิ ญาอธบิ ายถึงสาเหตทุ ่ีท�ำใหเ้ ธอกบั สามตี ้องขยนั กวา่ คนอนื่ ๆ
ผลจากการทุ่มเทแรงงานเหน็ดเหน่ือยหลายปี ปัจจุบันแม่อภิญญาและพ่อ
มณเี ปน็ เจา้ ของทนี่ า 2 ไร่ ทสี่ วน 1 ไรส่ ำ� หรบั ปลกู ฝรง่ั แมท้ งั้ 3 ไร่ ยงั ผอ่ นคา่ ทด่ี นิ ไมห่ มด
แต่ผลตอบแทนดงั กล่าวกพ็ สิ จู น์ให้เหน็ ถึงความขยันของทง้ั สองคนวา่ ไมส่ ูญเปล่า
“เราไมม่ ีทรพั ยส์ มบัตอิ ะไร ยืมเขา เราก็ต้องใชห้ น้เี ขา” แม่อภญิ ญาบอก

ท่ที างในอนาคต

ในอนาคต ทั้งสองคนวางแผนจะลดพื้นทปี่ ลูกข้าวโพดใหเ้ หลอื เพียง 3 - 4 ไร่
เท่าท่จี ะสามารถจัดการเร่ืองน้�ำได้
หลังๆ มามีคนปลูกข้าวนาปรังกันเยอะ ท�ำให้ท้ังสองเห็นว่าคงหาพื้นท่ีเช่า
ในการปลูกท่ีเหมาะสมได้ยากข้ึน เพราะหากปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแปลงนาใกล้
นาปรงั จะทำ� ใหค้ วบคุมปรมิ าณน�้ำยาก
นอกจากนี้ ท้ังสองบอกว่า ก็ต้องดูคนอ่ืนๆในชุมชนด้วยว่า ยังมีใครปลูก
ข้าวโพดเล้ียงสัตว์ต่อบ้าง เพราะถ้าไม่มีคนอ่ืนปลูกต่อ จะด้วยเหตุผลว่าปลูกไปก็
ขาดทนุ หรอื อะไรกต็ าม ผลผลติ ก็จะน้อย ไม่มีบรษิ ทั เขา้ มารับซ้ือ
อภญิ ญา โพธก์ิ ง่ิ อายุ 50 ปี - มณี ขนั ประมาณ อายุ 52 ปี (สาม)ี
หมู่ 10 บ้านนาเรียง ต.สามัคคี อ.ร่องค�ำ จ.กาฬสินธุ์

43ครูภูมิปญั ญา หนองเลิงเปอื ย จังหวัดกาฬสนิ ธ์ุ

“กอ่ นสิเฮ็ดหยงั ลงไปกต็ ้องทำ�
ความเขา้ ใจกับเจ้าของเสียก่อน

คอ่ ยลงมอื เฮด็ ”

44 ครูภูมิปญั ญา หนองเลิงเปอื ย จังหวัดกาฬสนิ ธุ์

ทองจนั ทร์ นาชยั สิทธ์ิ

นักปลูกผัก ผทู้ ่ีไมเ่ ชื่อใครงา่ ยๆ

เส้นทางแกนนำ�

แม่ทองจนั ทร์ นาชัยสทิ ธิ์ อายุ 52 ปี เป็นหนึ่งใน
แกนนำ� กลมุ่ วสิ าหกจิ ปลกู ผกั ปลอดภยั บา้ นธนบรุ ี ปจั จบุ นั
กลุ่มท่ีเธอสังกัด มีสมาชิกทั้งส้ิน 70 คน แปลงผักรวม
108 แปลง พน้ื ท่ี 8 ไร่ กลมุ่ วสิ าหกจิ ปลกู ผกั ปลอดภยั บา้ น
ธนบุรี เกดิ ข้ึนเม่อื ปลาย ปี พ.ศ. 2560 โดยการสนับสนนุ
งบประมาณจ�ำนวน 200,000 บาท ในการสร้างโรงเรอื น
จำ� นวน 40 หลงั จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตอนงบประมาณลงมา ก�ำนันเรียกประชุมแจ้ง
วัตถุประสงค์ของโครงการและขอความคิดเห็นจากชาว
บ้านในชุมชน โดยบอกว่าจะขอใช้พ้ืนที่ราชพัสดุซึ่งเคย
เป็นโรงเรียนมาก่อน เป็นพื้นที่ในการด�ำเนินโครงการ
แปลงปลูกผักชุมชน ในท่ีประชุมคร้ังน้ัน แม่ทองจันทร์
แสดงความสนใจและยกมือสมัครเข้าร่วมโครงการอย่าง
ไม่รีรอ ก�ำนันจึงมอบหมายให้เธอช่วยหาสมาชิกกลุ่ม
อยา่ งน้อยๆ จ�ำนวน 10 คนในการเรมิ่ ต้น หลงั หาสมาชกิ
ครบ โครงการก็คอ่ ยๆ เดนิ หน้าพัฒนาข้ึนเรอื่ ยๆ

กลายเป็นครเู มือ่ รูจ้ ักปดิ ทองฯ

ตอนที่มีเจ้าหน้าที่โครงการปิดทองหลังพระฯ มา
สอบถามความต้องการของชาวบ้านในด้านการท�ำการ
เกษตร แม่ทองจันทร์เล่าว่า “วันน้ันเจ้าหน้าที่มากันสาม
คน เขามาถามว่าแม่ๆ แม่อยากได้หยังครับ อยากมีน้�ำ

45ครภู มู ิปญั ญา หนองเลงิ เปอื ย จังหวดั กาฬสินธุ์

อยากปลูกผัก ปลูกหยังคือหมู่เพิ่น ระยะแรกเป็นไปอย่างมีความหวัง เธอคิดว่า
ตอนแรกแม่ก็บ่ฮู้หรอกว่าเป็น ตอนเก็บเก่ียวผลผลิตคงสร้างผลตอบแทน
เจ้าหน้าท่ีปิดทอง แต่หลังจากนั้น สมน�้ำสมเน้ือกับทุนและหยาดเหง่ือแรงงาน
ก็มาอยู่เร่ือยๆ สุดท้ายแม่ก็เลยได้ ท่ลี งไป
ร่ วมงานกนั ” “ตน้ มะเขอื เทศกำ� ลงั งามตน้ โตสมบรู ณ์
หลังเข้าร่วมโครงการ แม่ ก�ำลังออกผลดก จึงลงทุนซ้ือไม้ไผ่มาท�ำค้าง
ทองจันทร์ก็มีโอกาสเข้าอบรมด้าน มะเขือเทศประมาณ 1,000-2,000 บาท”
การท�ำเกษตร ท�ำให้เกิดความรู้ เธอเล่า แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดก็
ความเข้าใจการท�ำการเกษตร เกดิ ขน้ึ เมอ่ื มะเขอื เทศทกี่ ำ� ลงั จะไดเ้ กบ็ ผลผลติ
ปลอดสารพิษมากขึ้น ตอ่ มาก�ำนัน ต้องเปือ่ ยเน่าไปต่อหนา้ ตอ่ ตา
เห็นว่าแม่ทองจันทร์ได้ผ่านการ “ตอนนั้นฝนมาเร็วกว่าทุกปี ท้ังๆท่ี
ฝึกอบรมกับปิดทองมาแล้ว จึงขอ เป็นปลายเดอื นเมษา แต่อยดู่ ีๆ มันก็ตกลงมา
ให้ช่วยสอนช่วยฝึกสมาชิกในกลุ่ม แบบไมล่ มื หูลมื ตา ต้ังแต่ 4 ทมุ่ ถึงตี 2 จนน�้ำ
ปลูกผกั ปลอดภัยดว้ ย ทว่ มแปลงท้ังหมด” แมเ้ มือ่ น�ำ้ แหง้ เจ้าหนา้ ที่
“บไ่ ดพ้ าเผน่ิ เฮด็ ยาก เพราะ ปิดทองฯ จะช่วยหาฮอร์โมนมาฉีดพ่นเพ่ือให้
พ้ืนฐานหมู่บ้านเฮา เพ่ินก็ปลูกผัก
กันอยู่แล้ว บางคนเก่งกว่าแม่อีก”
แม่ทองจันทร์เล่า “เร่ืองเทคนิค
การปลูก แม่จึงบ่ต้องสอนมาก
แต่หันไปเน้นย�้ำเรื่องการงดใช้
สารเคมมี ากว่า”

ระหว่างทางท่ีล้มลุกคลุก
คลาน

ในการปลูกผักของแม่
ทองจันทร์ เธอจับมือกับน้องสาว
อีก 3 คน ใช้พ้ืนท่ีนาของหลาน
ปลูกมะเขือเทศ การปลูกและดูแล

46 ครูภมู ิปัญญา หนองเลงิ เปือย จงั หวดั กาฬสินธุ์

มะเขอื เทศฟน้ื แตก่ ช็ ว่ ยไมไ่ ดม้ ากนกั “มนั คอ่ ยๆ จึงขาดทนุ อย่างหนกั
เน่าเปื่อยไปต่อหน้าต่อตาแม่ จนแม่ท้อเป็น แตค่ รัง้ นี้ แทนท่จี ะท้อถอย
อยา่ งมาก” แม่ทองจนั ทร์เล่า เ ธ อ ก ลั บ ฮึ ด สู ้ ข้ึ น ม า ก ก ว ่ า เ ดิ ม
หลังจากเหตุการณ์นั้นไม่นาน อาสา “แม่คิดว่าแบบนี้นะ ไม่ได้ปีนี้
พัฒนาของปิดทองหลังพระฯ ก็ชักชวนให้เธอ ปีหน้าก็ต้องได้ แต่ถ้าหยุดความ
มาปลูกพืชหลังนา แม่ทองจันทร์ฮึดสู้อีกคร้ัง รู้ประสบการณ์ที่มีก็สูญเปล่า แม่
จึงหันมาลองปลูกพริกในพื้นท่ี 1 งาน การ ก็เลยต้องสู้ให้ถึงท่ีสุด” เธอยืนยัน
เร่ิมต้นครั้งใหม่ท�ำให้เธอมีก�ำลังใจข้ึน เพราะ ต่อมาเธอจึงลงมือปลูกผักอีกครั้ง
ผลผลิตออกมาดี และขายได้ราคาท่ีน่าพอใจ ครั้งนี้ เธอได้เมล็ดพันธุ์ฟรีจาก
กิโลกรัมละ 50-60 บาท เม่ือเห็นว่าไปได้ โครงการปิดทองหลังพระฯ มา 4
เธอเร่ิมปลูกข้าวโพดหวานร่วมกับการปลูก ชนิด คือ คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง
พริกอีกทางหน่ึง ระยะแรกผลตอบแทนก็เป็น และโหรพา พืชทั้ง 4 ชนิด เธอไม่
ทน่ี า่ พอใจเชน่ กนั แตต่ อ่ มาตอ้ งเจอปญั หา หนู ชำ� นาญในการปลกู เจา้ หนา้ ทช่ี ว่ ย
กระแต มากดั กนิ ทำ� ใหข้ า้ วโพดมตี ำ� หนิ ขายไม่ สอนวิธีการเพาะเมล็ด วิธปี ลกู และ
ได้ ประกอบกบั เป็นชว่ งที่ราคาพริกตกต่�ำ เธอ วิธีการดูแลให้ พร้อมกับมอบถาด
เพราะกล้าและวัสดุปลูกอ่ืนๆให้
ด้วย แม่ทองจนั ทร์ จงึ เร่มิ เรียนรู้วิธี
การเพาะเมล็ดในถาดเพาะ จนพบ
ว่าวิธีเพาะเมล็ดในถาดเพาะน้ัน
ประหยดั เมลด็ พนั ธ์ุ เวลานำ� ไปปลกู
ในแปลง ตน้ จะโตเร็วและสวยกว่า
การน�ำเมล็ดหว่านปลูกในแปลง
เลย แต่กระน้ัน แม่ทองจันทร์คิด
วา่ วธิ ดี งั กลา่ วยงุ่ ยากไป เธอจงึ แอบ
หว่านเมล็ดแบบท่ีเคยท�ำควบคู่ไป
ด้วย เธอยอมรับว่าวิธีหว่านท�ำให้
ต้นไม่สวยขึ้นไม่สม่�ำเสมอก็จริง
แตม่ อี ยู่ครงั้ หนง่ึ พบวา่ วธิ หี วา่ นได้
ผลผลิตดีกว่า เธอสันนิษฐานว่า

47ครภู มู ิปญั ญา หนองเลิงเปอื ย จังหวัดกาฬสนิ ธ์ุ

อาจเป็นเพราะสภาพอากาศและความช้ืนเอ้ืออ�ำนวยด้วย “แม่ว่าอาจเป็นเพราะ
สภาพอากาศ ถ้าอากาศร้อนปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น อากาศเย็นผักก็จะโตเร็ว” เธอให้
ความเห็น

ความทา้ ทายทเี่ ขา้ มาไม่เคยหยุด

แม่ทองจันทร์เล่าว่า ปัญหาที่ทุกคนต้องเจอในการปลูกผักปลอดสารพิษคือ
ผักไม่สวยเจริญเติบโตไม่ดีเท่าการใช้สารเคมี แต่เธอก็เห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็น
เรอ่ื งปกติของการปลูกผกั ดว้ ยกรรมวิธีแบบน้ี ทผ่ี า่ นมา ปิดทองไดใ้ หข้ ้อแนะนำ� และ
ความรู้ต่างๆ กับเธอและกลุ่มมาตลอด เพ่ือจะได้ผลผลิตท่ีดีมีคุณภาพข้ึน ทั้งยัง
ประสานให้หน่วยงานพัฒนาที่ดินก็เข้ามาช่วยแนะนำ� วิธีปรับปรุงดิน สอนการท�ำปุ๋ย
บ�ำรุงดิน ประสานให้หน่วยอารักขาพืชจังหวัด เข้ามาอบรมท�ำสารชีวภัณฑ์ อย่าง
สมำ�่ เสมอทำ� ใหเ้ ธอและสมาชิกกลมุ่ รจู้ ักวิธีการรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้
นอกจากนี้แล้ว ปัญหาระบบการสูบน้�ำจากบึงเขา้ พ้นื ท่ีแปลงผกั กเ็ ป็นปัญหา
หนึ่งท่ีเจอบ่อยๆ แม่ทองจันทร์เล่าว่าเครื่องสูบน้�ำเสียเดือนละ 2 - 3 ครั้งเพราะมีให้
ใชน้ ้อย “เครอ่ื งสบู นำ้� ของเราเหลืออยู่เครอื่ งเดียว ท�ำให้มนั ไมท่ นั ตอ่ การใชน้ ้�ำ นำ� ไป
ซ่อม กลับมาใช้สักพักก็พังอีก วนเวียนอยู่แบบน้ี” เธอเล่าอย่างท้อใจ อย่างไรก็ดี
แม่ทองจนั ทร์คดิ ว่า ความเหน่อื ยล้าและท้อใจเกี่ยวกับเร่ืองระบบน้�ำกำ� ลงั จะหมดไป
เพราะอีกไม่นานเธอและเพ่ือนๆ ในกลุ่มจะได้รับการสนับสนุนระบบการสูบน�้ำ
โดยพลังงานโซล่าเซลล์ “อยากทดลองใช้ดู เห็นทีวีโฆษณาว่าใช้ระบบน้ีดี ไม่ต้อง
ใช้ไฟฟ้า ตอนนี้เราได้รับการอนุมัติจากปิดทองแล้ว รอแต่ช่างเข้ามาติดตั้ง” เธอเล่า
ด้วยความตน่ื เต้น

48 ครภู ูมิปัญญา หนองเลงิ เปือย จังหวดั กาฬสนิ ธุ์


Click to View FlipBook Version