The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นายนพดล บุญภา-รร.ป่าซาง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by noppadol15, 2022-09-05 20:32:49

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

นายนพดล บุญภา-รร.ป่าซาง

รายงานวิธีการปฏบิ ัตทิ ่ีเปน็ เลศิ (Best Practice)
โครงการขบั เคลือ่ นการจดั การเรียนรู้ดว้ ยเทคโนโลยีดจิ ิทลั
ประเภทครูผใู้ ชเ้ ทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center

เร่ือง
ผลการจดั การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) รว่ มกับแนวทางการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้
แบบหอ้ งเรยี นกลบั ดา้ น (Flipped Classroom) โดยใช้ส่ือระบบเทคโนโลยี OBEC Content
Center เร่ือง การสืบพนั ธข์ุ องพืชดอก ท่มี ตี ่อผลการเรียนรขู้ องนักเรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 5

โรงเรยี นป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพนู

นายนพดล บญุ ภา
ตำแหน่ง ครู

กลมุ่ สาระการเรียนร้วู ทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี
โรงเรียนป่าซาง อำเภอปา่ ซาง จงั หวดั ลำพนู
สำนกั งานเขตพ้ืนทีก่ ารศึกษามธั ยมศึกษาลำปาง ลำพูน

คำนำ

รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้สื่อระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center เรื่อง
การสืบพันธุ์ของพืชดอก ที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าซาง อำเภอป่าซาง
จังหวัดลำพูน ฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลงานนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตาม
โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ประเภทครูผู้ใช้เทคโนโลยีระบบ OBEC Content
Center ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน โดยรายงานฉบับนี้ประกอบด้วยความ
เป็นมาและความสำคัญ แนวคิดหลังของการปฏิบัติที่เลิศ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอนการดำเนินงาน ผล
การดำเนินงาน บทเรียนที่ได้รับ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และการเผยแพร่ ซึ่งรายงานฉบับนี้สามารถเป็นแนว
ทางการจัดการเรียนการสอนแก่ครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนตามความเหมาะสมของบริบท
เนื้อหาและระดบั ชน้ั ของผเู้ รยี นได้

นพดล บญุ ภา

สารบัญ

ความเปน็ มาและความสำคญั หน้า
แนวคิดหลังของการปฏบิ ัติที่เลศิ 1
วตั ถปุ ระสงค์ 2
เป้าหมาย 5
ข้นั ตอนการดำเนนิ งาน 5
ผลการดำเนนิ งาน 6
บทเรียนท่ีได้รบั 7
ปัจจยั แห่งความสำเร็จ 9
การเผยแพร่ 10
บรรณานุกรม 10
ภาคผนวก 10
11

1

รายงานผลการปฏบิ ัตทิ ีเ่ ปน็ เลศิ (Best Practice)
โครงการขบั เคลื่อนการจดั การเรยี นรู้ดว้ ยเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั

ช่ือผลงาน ผลการจดั การเรียนรแู้ บบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใชส้ ่ือระบบเทคโนโลยี OBEC Content
Center เรอ่ื ง การสืบพันธ์ขุ องพืชดอก ที่มตี ่อผลการเรยี นรู้ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที ่ี 5
โรงเรียนปา่ ซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

ผูเ้ สนอผลงาน นายนพดล บญุ ภา
ตำแหนง่ ครู
สถานศึกษา โรงเรยี นป่าซาง อำเภอป่าซาง จงั หวัดลำพนู
ความเป็นมาและความสำคัญ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายปฏิรูป
การศกึ ษาฉบับแรก มุ่งพฒั นาคนไทยทุกคนให้มีความเป็นมนุษยท์ ่ีสมบูรณใ์ นทุกดา้ นอย่างสมดุลเป็นคนดเี ป็นคนเก่ง
และมีความสุข เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อันจะนำไปสู่การพัฒนา
ประเทศชาติให้มั่งคั่งมนั่ คงอยา่ งยั่งยืนต่อไป (กระทรวงศึกษาธกิ าร, 2553)

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับ
กระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้และ
แก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
อยา่ งหลากหลาย เหมาะสมกับระดับช้นั

จากการสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวชิ าชีววิทยา หน่วยท่ี 1 เร่ือง โครงสร้างและหน้าที่ของพืช
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนป่าซาง ที่ผ่าน
มาผู้เรียนยังขาดทักษะในการเรียนรู้ร่วมกัน การวางแผนการทำงานเป็นทีมในการค้นหาคำตอบร่วมกัน ทักษะการ
แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ซ่งึ นักเรยี นจะรอรบั ความรจู้ ากครูเท่าน้ัน การทำงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์และการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ความรู้ใน
การสร้างสรรค์ชิ้นงาน ขาดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ และขาดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงส่งผลให้มี
คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด 75 ทั้งนี้ สาเหตุอาจเกิดจากกระบวนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ของครูที่ไม่ตอบสนองต่อ Learning Style ท่ีแตกต่างของนักเรียน เนื้อหาที่เรียนรู้มีจำนวนและไม่
น่าสนใจ ตลอดจนสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่สามารถดึงดูดความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียนได้
จากปัญหาขา้ งต้นความสอดคล้องกับการศึกษาของ สกุ ันดา พรหมนลิ (2563) และทศพล สุวรรณพุฒ (2562) กล่าว
โดยสรุป ปัญหาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา คือ นักเรียนขาดความกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน
ขาดทกั ษะการคิดวเิ คราะห์ เนอ่ื งจากเน้ือหาวิชาชีววิทยามีจำนวนมาก หลากหลาย ผ้เู รยี นจะคอ่ ยรับความรู้จากการ
อธิบายของผู้สอนเท่านั้น ขาดแรงบันดาลใจในการเรียน ไม่สามารถเชื่อมโยงกฎ ทฤษฎี หรือหลักการทาง
วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องไปอธิบายข้อสรุปของตนเอง และไม่สามารถหาหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เหมาะสม
มาสนบั สนุนความคิดเห็นหรือข้อสรปุ ของตนเองได้

ครูจึงสืบค้นวิธีการ เทคนิคและรูปแบบการจัดกิจกรรมรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติรายวิชาชีววิทยา ซ่ึง
พบวา่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขนั้ ตอน เปน็ การพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง
เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกสังเกต ฝึกถามตอบ
ฝึกการสื่อสาร ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ ฝึกนำเสนอ ฝึกวิเคราะห์วิจารณ์ ฝึกสร้างองค์ความรู้ โดยมีครูเป็นผู้กำกับ

2

ควบคุม ดำเนินการ ให้คำปรึกษา ชี้แนะ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ เป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนคิด อยากรู้อยากเห็น
และสืบเสาะหาความรู้จากการถามคำถามและพยายามค้นหาคำตอบหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองผ่าน
กระบวนการคิดและปฏบิ ตั ิใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเคร่ืองมือ รวมทงั้ ครรู ่วมแลกเปล่ียนเรียนรู้กับผู้เรียน
และสรา้ งบรรยากาศการสืบเสาะหาความรู้ท่ีเอื้อให้ผู้เรียนคิดอย่างอิสระ (สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี. 2546)

ทั้งนี้ การจะออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำให้ห้องเรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning
(ร่างกาย , อารมณ์ , สังคม , สตปิ ญั ญา) เพื่อกอ่ ให้เกิดการจัดกจิ กรรมเพ่ือสร้างทักษะต่างๆ เวลาในการเรียนจะต้อง
มีมากเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ ซึ่งเป็นไปได้ยากในห้องเรียนปกติ แต่หากเราทำการย้าย
เนื้อหาที่นักเรียนต้องนั่งจดและฟังตามที่ครูสอนหน้าช้ันเรียนเพื่อปรับพื้นฐานความรู้ให้พร้อมก่อนทำกิจกรรมน้ัน
เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบให้นำการเรียนในลักษณะนี้ไปอยู่ในรูปแบบการอัดวิดีโอแล้วอัพโหลดลงบนอินเตอร์เน็ต
เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษามาก่อนเรียนในชั้นเรียนได้จากที่บ้าน ทำให้ลดเวลาในบรรยายโดยครูผู้สอนเพียง
คนเดียวในชั้นเรียน จึงเป็นการสอนท่ีสลับกิจกรรมการเรียนในห้องเรียนไปที่บ้าน แล้วนำการบ้านหรืองานต่างๆ
มาทำในห้องเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า ห้องเรียนกลับด้าน หรือห้องเรียนกลับทาง
(Flipped Classroom) ซึ่งสอดคล้องกับ อภิญญารักษ์ วงษ์ทิพย์ (2562) พบว่า หลังเรียนชีววิทยา เรื่อง
การสังเคราะห์ด้วยแสง ดว้ ยการจดั การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรยี นรู้แบบร่วมมือ พบวา่ นักเรียน
มีผลการเรียนรู้หลงั เรยี นสงู กว่าก่อนเรียน

อีกทั้งธรรมชาติวิชาชีววิทยา ซึ่งมีเนื้อหาจำนวนมากและต้องใช้เวลาในเรียนรู้ จากการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ในหน่วยที่ผ่านมาบ่อยครั้งไม่สามารถที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้จบภายในชั่วโมงได้ ครูจึงสืบค้นสื่อ
ประกอบการสอนที่น่าสนใจและสามารถดึงดูดความสนใจจากนักเรียนได้ มีเนื้อที่กระชับ ตรงตามวัตถุประสงค์
การเรยี นรู้ และตอบสนอง Learning Style ของผู้เรียนได้ พบว่า ระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center ซ่ึงเป็น
คลังสื่อประกอบการสอนท่ีมีหลากหลายรูปแบบ ประกอบกับมีเรื่องเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก ซึ่งนำเสนอใน
รูปแบบ E-book คลิปเนื้อหา รูปภาพ คลังข้อสอบ ฯลฯ และมีความสะดวกในการเข้าใช้ผ่าน application ครูจึง
เลือกใช้สื่อในระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยที่ 2 การสืบพันธุ์ของ
พืชดอกและการเจริญเติบโต เรื่อง การสบื พนั ธุข์ องพืชดอก

จากปัญหาและการค้นคว้าแนวทางการพัฒนาที่กล่าวมาข้างต้น ครูจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาผล
การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวทาง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีในระบบ OBEC
Content Center มาใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือเพื่อ
ปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่คิดเป็น ทำเป็น แกป้ ญั หาได้หรือคิดแบบวิทยาศาสตร์มีทักษะการคิดวเิ คราะห์สามารถ
จำแนกแจกแจงองค์ประกอบ การจัดลำดับข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูล เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้โดย
เชื่อมโยงความรู้เดิมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำ ความรู้ได้นาน และสามารถนำไปใช้ใน
ชวี ิตจรงิ ได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งทักษะการคิดวิเคราะห์ยังเป็นพืน้ ฐานของการคิดอ่ืน ๆ เชน่ คดิ สังเคราะห์ คิดอย่าง
มีวิจารณญาณคิดสร้างสรรคต์ ลอดจนรักการเรยี นร้ตู ลอดชวี ิต ซึ่งจะสง่ ผลให้ผลการเรียนรู้สูงขนึ้

แนวคิดหลกั ของการปฏบิ ตั ิท่เี ปน็ เลศิ (Best Practice)
1. รูปแบบการจดั การเรียนรแู้ บบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขน้ั ตอน ซ่ึงมีขั้นตอน
ดังน้ี

3

1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่กระตุ้น ยั่วยุ ให้ผู้เรียน
เกิดความสงสัย ใคร่รู้อยากรู้อยากเห็นแล้วเกิดปัญหาหรือประเด็นที่จะศึกษา ซึ่งผู้เรียนจะต้องสำรวจตรวจสอบ
ตอ่ ไปดว้ ยตวั ของผ้เู รียนเอง

2) ขน้ั สำรวจและค้นหา (Exploration) เปน็ การจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ใหผ้ ู้เรียนมีประสบการณ์
ร่วมกันเป็นกลุ่มในการสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการวางแผนกำ หนดการสำรวจตรวจสอบ และลงมือปฏิบัติในการ
สำรวจตรวจสอบปัญหาหรือประเด็นที่ผู้เรียนสนใจใคร่รู้ ครูมีหน้าที่ส่งเสริม กระตุ้น ให้คำปรึกษาชี้แนะ ช่วยเหลือ
และอำนวยความสะดวกให้ผูเ้ รียนดำเนินการสำรวจตรวจสอบเป็นไปด้วยดี

3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เป็นการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้สร้าง
องค์ความรู้ใหม่ร่วมกันทั้งชั้นเรียนโดยนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากการสำรวจ ตรวจสอบ พร้อมทั้งวิเคราะห์อธิบาย
และเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายซักถามแลกเปลยี่ นเรียนรู้หรือโต้แย้งในองค์ความรู้ใหมท่ ี่ได้สร้างสรรค์ มีการอ้างอิง
หลกั ฐาน ทฤษฎี หลกั การกฎเกณฑห์ รือองค์ความรูเ้ ดิม

4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) จัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้เพิ่มเติมหรือเติมเต็มองค์
ความรู้ใหม่ให้กว้างขวางสมบูรณ์ กระจ่างและลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยการอธิบายยกตัวอย่าง อภิปรายซักถามแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่องค์ความรู้องค์ความรู้ใหม่อย่างเป็นระบบละเอียดสมบูรณ์ นำไปประยุกต์ใช้
ในเรือ่ งอน่ื ๆ หรือในชีวิตประจำวนั หรือผเู้ รียนอาจจะเกิดปัญหาสงสยั ใครร่ ู้นำ ไปสู่การศึกษาค้นคว้า

5) ขั้นประเมินผล (Evaluation) เป็นการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้ประเมิน
กระบวนการสำรวจตรวจสอบและผลการสำรวจตรวจสอบหรือองค์ความรู้ใหม่ของตนเองและของเพื่อนร่วมชั้นเรียน
โดยการวิเคราะห์วิจารณ์อภิปรายซักถามแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกันในเชิงเปรียบเทียบประเมินจุดดีหรือ
จดุ ดอ้ ย ปรบั ปรงุ หรอื ทบทวนใหม่ โดยข้ันตอนการประเมนิ ผล (Evaluation) ควรมกี ารประเมินผลเป็นระยะในทุกๆ
ลำดับขั้นตอนที่กล่าวมาเพื่อให้ทราบว่าการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และไม่มีความเข้าใจผิดใดเกิดข้ึน
ในระหว่างการเรียนรู้นั้น ในการประเมินผลอาจใช้คำชี้แจง (rubric), แบบตรวจประเมิน (checklist), การสอบถาม
(interview), การสังเกต (observation) หรือเครื่องมือการประเมินผลอื่นๆ หากผู้ประเมินมีความสนใจในเรื่องใด
เปน็ พเิ ศษก็อาจสอบถามผู้เรียนเป็นการเพ่ิมเติมและอาจนำวงจรการเรยี นรู้มาใช้เพื่อต่อยอดเรื่องที่ให้ความสนใจนั้น
(ปยิ นนั ท์ สวสั ดิศ์ ฤงฆาร, 2563)

2. แนวคดิ หอ้ งเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
อกั ษรเจริญทัศน์ (มปป.) กลา่ ววา่ การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ท่ีเน้นนักเรียน
เป็นศูนยก์ ลาง มแี นวการศึกษาทีน่ ่าสนใจและนักวชิ าการหลายท่านนำรูปแบบนี้มาใช้ในการเรียนการสอน มรี ูปแบบ
ที่ผสมผสานการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการสอนในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ทำให้คุณครูมีเวลา
พูดคุยและเอาใจใส่นักเรียนมากขึ้น แทนที่ในการใช้เวลาไปกับการสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว ห้องเรียนกลับด้าน
มีรปู แบบท่ีใกลเ้ คียงกับการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงท่ผี ่านมาซ่ึงมขี ้อสงั เกตทน่ี ่าสนใจคือ

1) นกั เรยี นเรียนรู้และค้นคว้าด้วยตนเองผ่านวิดีโอการสอนแบบออนไลน์จากที่บ้าน สามารถพูดคุยกับ
นกั เรียนคนอ่นื หรอื ถามคำถามคุณครูผ่านระบบออนไลน์

2) เปลี่ยนบ้านเป็นห้องเรียนกิจกรรม นักเรียนและคุณครูมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน พูดคุย แสดงความ
คิดเห็น ทำงานกลุ่ม สอบถาม ทำกิจกรรมร่วมกัน ฯลฯ โดยคุณครูมีหน้าที่กำกับดูแลนักเรียน ตอบคำถาม และ
ทำใหบ้ ทสนทนาหรือกิจกรรมตา่ ง ๆ เปน็ ไปในทศิ ทางทวี่ างแผนไว้

6 ขนั้ ตอนการสอนของห้องเรยี นกลับดา้ น (Flipped Classroom)
กอ่ นเรมิ่ การสอน

4

ขั้นที่ 1 ครูออกแบบแผนการสอน กำหนดวัตถุประสงค์การสอน การเลือกใช้สื่อการสอน กิจกรรมเสริม
ที่เหมาะสมกบั วยั ผู้เรียน กับห้องเรยี น และบริบทของโรงเรยี น

ขั้นท่ี 2 เตรยี มวดิ โี อการสอน ครูอาจบันทึกการสอนของตัวเอง หรือใช้บริการจากวิดโี อการสอนท่ีมีเน้ือหา
ของบทเรยี นครบตามตวั ชี้วัด

ขั้นที่ 3 ครูแชร์วิดีโอการสอน ส่งให้กับนักเรียน และอธิบายว่าเนื้อหาในวิดีโอจะนำมาพูดคุยกันใน
ห้องเรยี น (ในขั้นตอนนี้ครูอาจสร้างกิจกรรม หรือแจกแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ลองทำก่อนการสอน
ในห้องเรยี น)

ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยน เพื่อสนับสนุนการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ครูเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ร่วมพูดคุย
แลกเปลย่ี น และซกั ถาม จากเนอ้ื หาที่ได้ศึกษามาแล้วในวิดีโอเพ่ือใหเ้ กดิ ทักษะการคิดวเิ คราะห์ และการสื่อสาร

ขั้นที่ 5 แบ่งกลุ่ม เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้ ครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันทำงาน
ในหัวข้อท่ีครูมอบหมาย หรือช่วยกันเลือกหัวข้อในการทำงานเพื่อให้เกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ และการทำงาน
ร่วมกัน (ในระหว่างนี้ครูสามารถสังเกตเพื่อประเมินนักเรียนในระหว่างการนำเสนอ ครูอาจมอบหมายเป็น
แบบฝึกหดั หรอื ใบงาน)

ขั้นที่ 6 รวมกลุ่มกันอีกครั้ง เพื่อนำเสนอผลงานกลุ่ม เปิดเวทีให้เพื่อน ๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และ
ซักถาม

หลังจบการสอน
ครูทบทวนการเรียนการสอน แผนการสอนที่ออกแบบไว้ วิดีโอ และสื่อฯ ที่อยู่ในแผน ได้ผลสัมฤทธิ์
หรอื ไม่ อยา่ งไร และเป็นการวัดและประเมินการสอนของครดู ้วยเช่นกนั
- ทบทวน แผนการสอนที่ออกแบบไป รวมถึงสื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมการสอนว่าได้ผลสัมฤทธ์ิ
หรอื ไม่ นกั เรยี นมีความเขา้ ใจมากนอ้ ยอยา่ งไร
- ปรับแก้ หากนักเรียนหลายตนยังมีขอ้ สงสยั ครคู วรปรับแกเ้ พือ่ ใหผ้ เู้ รียนมคี วามเขา้ ใจมากยิง่
- ทำซ้ำ หากการเรียนการสอนในวันนั้นได้ผลดี ครูควรทำซ้ำ และเสริมกิจกรรมที่ท้าทายเพื่อให้
นกั เรียนได้ใช้ทักษะทส่ี ูงขึ้น
หลังจากนี้ห้องเรียนของคุณครูจะเปลี่ยนไป บทบาทของครูจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะ
เทคโนโลยจี ะเขา้ มามีสว่ นชว่ ยให้ครูมเี วลาในการวางแผนและออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อฯ
ทเี่ หมาะสมกับสถานการณ์ การวัดและการประเมินผลในรูปแบบที่เปล่ียนไป พรอ้ มทง้ั นกั เรียนเข้าถึงเนื้อหาได้
ง่าย จึงทำใหก้ ารสร้างปฏิสมั พันธข์ องผ้เู รยี นกับครู และเพ่อื นรว่ มช้ันจะมีประสทิ ธิภาพมากยง่ิ ข้ึน
3. OBEC Content Center หมายถึง ชุดโปรแกรมและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ครบวงจรที่ครอบคลุม
ประเภทเนื้อหามากที่สุด และรองรับการใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ ประกอบด้วย 5 ส่วน (โรงเรียนสารคามพิทยาคม,
มปป.)

Authoring Tool (AT): สร้างและอัปโหลดเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเนื้อหา
อเิ ล็กทรอนิกส์ในรูปแบบไฟล์ ePub และอปั โหลดไฟล์ ePub เขา้ สรู่ ะบบ สามารถแทรก ตาราง ภาพ เสยี ง วีดิทัศน์
วัตถุ 3 มิติ แกลลอรี่พร้อมทั้งเชื่อมโยงเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์จาก Content Center ได้ ซึ่งโปรแกรมจะติดตั้งพร้อม
โปรแกรม ePub Reader สำหรบั ใชใ้ นการเปิดอา่ นไฟล์ ePub เพ่อื ใชใ้ นการเรยี นการสอน หรอื งานอน่ื ๆ ได้

Content Verification System (CVS): ตรวจสอบเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบที่ใช้ใน
การตรวจสอบและกลั่นกรองเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ตามหมวดหมู่เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ กลุ่มสาระ
การเรยี นรู้ ระดับชน้ั และระบบทศนิยมดิวอ้ี ก่อนท่ีจะเผยแพรผ่ ่าน Content Center

5

Content Center (CC): ใช้งานเน้ือหาอิเล็กทรอนิกส์แอปพลเิ คชันสำหรับเขา้ ถึงและใช้งานเน้ือหา
อิเล็ทรอนิกส์ใน 8 ประเภทเนื้อหา ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แอปพลิเคชั่น วีดิทัศน์ เสียง ภาพ
ข้อสอบ เทมเพลต และแฟลชมัลติมีเดีย รองรับการค้นหาและการกรองเนื้อหาตามหมวดหมู่เนื้อหา
อเิ ลก็ ทรอนกิ สท์ ง้ั 3 หมวดหมู่ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชน้ั และระบบทศนิยมดิวอ้ี

Content Management System (CMS): บรหิ ารจัดการเนื้อหาอิเล็กทรอนิกสร์ ะบบท่ีใช้ในการบริหาร
จัดการเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ บัญชีผู้ใช้ สิทธิการใช้งาน แดชบอร์ด รายงานต่าง ๆ จำนวนและสถานะของอุปกรณ์
และคอมพวิ เตอรท์ ่ีใช้งานผ่านชดุ โปรแกรมและระบบคลงั เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ OBEC Content Center

Local Content Server (LCS): ให้บริการเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ระบบที่ติดตั้งและให้บริการเนื้อหา
อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายภายใน (LAN) โรงเรียน/หน่วยงาน สามารถอัปเดตเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ
เพ่ิมเติมจากระบบสว่ นกลางได้ และผู้ใช้งานสามารถใช้ Content Center (CC) เพื่อเขา้ ถงึ เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน
ระบบ Local Content Server (LCS

4. ผลการเรียนรู้ หมายถึง คะแนนที่ได้จากการเปรียบเทียบระหว่างการทดสอบก่อนเรียนและหลัง
เรียนของผู้เรียนซึ่งได้จากการทำแบบทดสอบท่ีผู้สอนสร้างขึ้นในระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center
โดยทดสอบหลังจากท่ผี ู้เรยี นเรียนครบตามหน่วยการเรยี นรู้ เร่อื ง การสบื พนั ธุ์ของพืชดอก ทกี่ ำหนดไว้
วัตถุประสงค์

1. เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียน
กลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ส่ือเทคโนโลยใี นระบบ OBEC Content Center โดยผู้เรียนมีคะแนน
เฉล่ยี ไม่นอ้ ยกวา่ ร้อยละ 75 และมีจำนวนผู้เรียนท่ีผา่ นเกณฑ์รอ้ ยละ 75 ขึ้นไป

2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
ร่วมกับแนวทางการจดั กิจกรรมการเรียนร้แู บบห้องเรยี นกลบั ด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้สอ่ื เทคโนโลยี
ในระบบ OBEC Content Center
เปา้ หมาย

เชิงปริมาณ
ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีในระบบ
OBEC Content Center โดยผเู้ รียนมคี ะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกวา่ ร้อยละ 75 และมีจำนวนผูเ้ รยี นทผี่ า่ นเกณฑ์ร้อยละ
75 ข้นึ ไป
เชงิ คุณภาพ
ผู้เรียนร้อยละ 75 ขึ้นไป มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
รว่ มกับแนวทางการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใชส้ ่ือเทคโนโลยีใน
ระบบ OBEC Content Center

6

ขนั้ ตอนการดำเนนิ งาน

1. การออกแบบผลงาน

ใช้แนวคิดของวงจรคุณภาพ PDCA เป็น

แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อ

พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนช้ัน

มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้

แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวทางการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน

(Flipped Classroom) โดยใช้สื่อเทคโนโลยใี นระบบ

OBEC Content Center ประกอบด้วยขั้นตอนการ

พัฒนา 4 ขั้นตอน ดงั นี้ ภาพที่ 1 : วงจร PDCA

ขั้นตอนที่ 1 (P : Plan) : วางแผน โดยศึกษาวิเคราะห์ นโยบายของโรงเรียนป่าซางการจัดกิจกรรม

การเรยี นการสอน การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน การสรา้ งส่ือ/นวตั กรรม และแบบวดั ประเมินผล

ขั้นตอนท่ี 2 (D : Do) : ลงมือปฏิบัติ โดยสำรวจสภาพข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อ

การจัดการเรียนรู้ใหเ้ ต็มตามศักยภาพ และใช้กระบวนการ Active Learning ในการจัดกิจกรรมการเรียนการ

สอนดว้ ยรปู แบบการจดั การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกบั แนวทางการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้แบบ

ห้องเรียนกลับดา้ น (Flipped Classroom) โดยใช้ส่อื เทคโนโลยใี นระบบ OBEC Content Center

ขั้นตอนที่ 3 (C : Check) : ประเมิน โดยจัดให้มีการประเมินตามสภาพจริงและวัดความรู้จากแบบทดสอบ

ก่อนเรียนและหลังเรียนเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก เพื่อให้ทราบว่าต้องปรับปรุงแก้ไข

อยา่ งไร

ขั้นตอนที่ 4 (A : Act) : ปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ การนำข้อสังเกตจาก

การประเมินตามสภาพจริง และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมา

วิเคราะห์ ปรบั ปรุงแกไ้ ขเพื่อใหเ้ กิดการพัฒนาท่ดี ีข้ึนตามวงจรคุณภาพ PDCA

2. กระบวนการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้

การจดั กจิ กรมการเรยี นรู้ใชร้ ูปแบบการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้แบบ

สืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ

ห้องเรยี นกลบั ดา้ น (Flipped Classroom) โดยมีขัน้ ตอนดงั น้ี

1) ครูชี้แจงจุดผลการเรียนรู้ ประสงค์การเรียนรู้ และรูปแบบการ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวทางการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรยี นกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้ ภาพที่ 2 : ระบบสมาชิกของนักเรยี น
ส่อื เทคโนโลยีในระบบ OBEC Content Center แก่ผู้เรยี นและใหน้ ักเรยี น

สมัครเปน็ สมาชกิ ระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center (ภาพที่ 2)

2) ครูให้นักเรียนประเมินความรู้เดิมของตนเองด้วยการทดสอบก่อนเรียนด้วยระบบเทคโนโลยี OBEC

Content Center เรื่อง การสืบพนั ธขุ์ องพืชดอก

3) ครูนัดหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าความรู้ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ด้วยระบบเทคโนโลยี

OBEC Content Center เช่น clip โครงสร้างดอก

7

4) นักเรียนศึกษาและค้นควา้ ความรู้เก่ียวกับเรือ่ ง การสืบพันธุข์ องพชื

ดอก ด้วยระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center ด้วยตนเองก่อนเข้าเรียน

ในชวั่ โมงถัดไป (ภาพท่ี 4)

5) ครูจดั กจิ กรรมการรตู้ ามแผนการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้แบบสืบ

เสาะหาความรู้ (5E) จำนวน 11 ชว่ั โมง โดยนกั เรยี นวางแผน ปฏิบัติกิจกรรม

กลมุ่ กิจกรรมเดย่ี ว เพื่อศกึ ษาคน้ ควา้ เก่ยี วกับเร่ือง การสบื พันธุ์ของพืชดอก

ด้วยการลงมือปฏิบัติการทดลอง การแลกเปล่ียนความคิด การวิพากษ์ช้นิ งาน

การประเมนิ ชิ้นงาน และสะท้อนคดิ สิง่ ท่ีได้จากการเรียนรู้ ร่วมกันในช้ันเรยี น ภาพท่ี 3 : qr-code clip
และในกลุ่มไลน์ Biology 5/1-1-2565 (ภาพท่ี 6, ภาพท่ี 7) โครงสร้างของดอก

6) ครูให้นกั เรยี นประเมินความรดู้ ว้ ยการทดสอบหลังเรยี น ดว้ ยระบบ

เทคโนโลยี OBEC Content Center เรอื่ ง การสืบพนั ธุ์ของพืชดอก

ซึ่งการจดั กิจกรรมการเรยี นร้ตู ามแผนฯ จำนวน 11 ช่ัวโมง เรมิ่ จากข้อ 1) และ 2) ต่อ จากนน้ั กิจกรรม

การเรียนรู้ในชวั่ โมงถัดไปจะปฏบิ ัติเป็นวงจรการเรียนรู้ ข้อ 3) 4) และ 5) สลับกนั ไปจนครบ 11 ชวั่ โมง ซึ่งเป็น

การจัดกิจกรรมการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped

Classroom) และดำเนินการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ในชั่วโมง

สดุ ทา้ ย คอื ข้อ 6)

ภาพท่ี 5 : นักเรียน เรยี นรู้เนอ้ื หา ภาพที่ 6 : นักเรยี นปฏบิ ตั กิ จิ กรรม ภาพท่ี 7 : การประเมนิ ระหว่างเรียน
จากท่ีบ้านก่อนเข้าเรียนทุกช่วั โมง
ดว้ ยกระบวนการกลมุ่ และเดี่ยว ด้วยวิธีการท่ีหลากหลาย

ผลการดำเนินงาน
ความสำเรจ็ ของการดำเนินงานที่เกดิ จากการนำไปใช้กับนักเรยี น
จากการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)

ร่วมกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรูแ้ บบห้องเรียนกลบั ด้าน (Flipped Classroom) โดยใชส้ ่อื เทคโนโลยี
ในระบบ OBEC Content Center วิชาชีววิทยา รหัส ว32243 หน่วยการเรียนที่ 3 การสืบพันธุ์ของพืชดอก
และการเจริญเติบโต เรื่อง การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปี
การศกึ ษา 2565 โรงเรยี นป่าซาง สังกดั สำนักงานเขตพ้ืนท่กี ารศกึ ษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพนู ปรากฏผล ดงั นี้

เมื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนพบว่า การจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาชีววิทยา 3 รหัส ว32243 หน่วยการ
เรียนรู้ที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3-1 เรื่อง การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก ของนักเรียนระดับ
มัธยมศกึ ษาปีท่ี 5 โรงเรยี นป่าซาง อำเภอปา่ ซาง จังหวดั ลำพนู ผลปรากฏดังน้ี

8

ตารางท่ี 1 : ผลการเรียนรู้ เร่ือง การสบื พันธ์ขุ องพชื ดอก ของนักเรียนท่ีดว้ ยรูปแบบการจัดการเรยี นรู้
แบบสบื เสาะหาความรู้ (5E) รว่ มกบั แนวทางการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้แบบหอ้ งเรยี นกลับด้าน
(Flipped Classroom) โดยใช้สอ่ื ระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center

ผลการเรียนรู้ การประเมิน ผลการประเมิน หลังเรยี น
เรื่อง คะแนนเฉล่ีย กอ่ นเรยี น 16.88
ร้อยละเฉล่ีย 84.38
การสบื พันธข์ุ องพชื ดอก 9.69
48.44

สรุปว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จำนวน 32 ราย

ทำแบบทดสอบก่อนเรียนผ่านคลังข้อสอบ OBEC Content Center เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ได้คะแนน

เฉลี่ย 9.69 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 48.44 และเมื่อเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้

แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped

Classroom) โดยใช้สื่อระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก แล้วทำ

แบบทดสอบหลังเรียนผ่านคลังข้อสอบ OBEC Content Center เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ผลปรากฏว่า

นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้คะแนนเฉลี่ย 16.88 คิดเป็น

รอ้ ยละ 84.38

ความสำเรจ็ ของการดำเนนิ งานท่ีเกิดจากการนำไปใชก้ บั สถานศกึ ษา

รปู แบบการเรยี นรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) และแนวทางการจัดการเรยี นรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน

(Flipped Classroom) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณภาพ

ผูเ้ รยี น เม่อื นำมาประยุกตร์ ่วมกันระบบส่ือเทคโนโลยี OBEC Content Center ซงึ่ เปน็ คลงั สอื่ ประกอบการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น E-book , clip , ข้อสอบ , Application ฯลฯ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ของ

ผ้เู รียนสงู ขึ้น และผู้เรยี นเกิดทกั ษะกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะทกั ษะการสืบคน้ ข้อมลู การใชส้ อ่ื ทห่ี ลาหลาย

ในการศึกษาค้นคว้าได้มากขึ้น ซึ่งผลของวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศนี้สามารถเป็นแนวทางการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ให้แก่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนป่าซาง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ และ

สมรรถนะให้แก่ผูเ้ รยี นตอ่ ไป

ความสำเรจ็ ของการดำเนินงานท่เี กดิ จากการนำไปใชก้ ับชุมชน

วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศนี้เกิดขึ้นจากการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

(5E) รว่ มกบั แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรยี นกลบั ด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้เทคโนโลยีระบบ

OBEC Content Center ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากสื่อในระบบดังกล่าว จากที่บ้านของตนเอง และต้อง

ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ทัง้ ที่บ้านและที่โรงเรียน โดยเฉพาะการเลือกสื่อการเรียนรู้ ในเรื่อง การสืบพันธุข์ อง

พืชดอก ในครั้งนี้ ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมโดยการออกสำรวจบ้าน/ชุมชนของตนเอง แล้วเลือกพืช/ดอก

ในการนำมาเรียนรู้ท่ีโรงเรียน (Flip classroom) ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวจะเกิดการสือ่ ระหว่างผู้เรียน/

ผ้ปู กครอง คนในชุมชน ดงั นนั้ การจดั กิจกรรมการเรยี นรใู้ นคร้ังนี้จึงประสบความสำเร็จได้เพราะครไู ดอ้ อกแบบ

และวางแผนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหวา่ งผลการเรียนรู้ เนื้อหา โรงเรียน และชุมชน ได้อย่างเหมาะสม ส่งผล

ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ได้ดี เกิดความรู้สึกในการเรียนรู้ที่ดี ไม่เครียด เพราะได้เลือกใช้สื่อธรรมชาติ

(รอบตัว) จดั สรรเวลาในการศกึ ษาค้นคว้าไดด้ ว้ ยตนเองกอ่ นเข้าเรียนในชัว่ โมงถดั ไป

9

ประโยชน์ทีไ่ ด้รับจากผลงาน มดี งั น้ี
1. นักเรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะในการเรียนรู้สามารถสืบค้นและเรียนรู้ได้ผ่านสื่อจากระบบ
เทคโนโลยี OBEC Content Center ดว้ ยแอพลเิ คชันได้สะดวก อีกทัง้ ในระบบยังสามารถเก็บส่ือที่กำลังศึกษา
ไว้ในบัญชขี องตนเองได้ ทำให้สามารถเข้าใชไ้ ด้ง่าย เช่น คลปิ การสอน หนงั สือ E-book ข้อสอบ ซึง่ นักเรยี นเข้า
ใช้และเลือกใช้เป็นจำนวนมาก สามารถใช้ทบทวนความรู้และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
ตามความต้องการของนักเรียน (Anywhere, Anytime, Anything) และตอบสนอง Learning style ท่ี
แตกต่างกนั ของนกั เรยี นได้เปน็ อยา่ งดี
2. ครูได้ช่องทางในการสร้าง เผยแพร่ และเลือกใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนได้หลากหลายจาก
ระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center สะดวกและประหยัดเวลาในการออกแบบและวางแผนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งในระบบสามารถเลือกสื่อและนำเข้าสู่บัญชีสมาชิกทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้ เช่น E-
book (หนงั สืออเิ ลก็ ทรอนิกส์) ข้อสอบ คลิปเน้ือหาตา่ งๆ เปน็ ตน้
3. ครไู ดแ้ ผนการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ดว้ ยรปู แบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
(5E) ร่วมกับแนวทางการจัดกิจกรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้สื่อจาก
ระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center ในการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ ทักษะ และเจตคติ ในรายวิชา
ชีววิทยา กลมุ่ สาระการเรยี นรวู้ ิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้นักเรยี นเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่าง Active เกิด
การเชอ่ื มโยงความรสู้ ู่การสรา้ งช้นิ งานได้อยา่ งเหมาะสม
บทเรยี นท่ไี ด้รบั
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบ
ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) สิ่งสำคัญคือครูต้องวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
กับบริบทของโรงเรียน/ชุมชน/นักเรียน เลือกใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ในระบบเทคโนโลยี OBEC Content
Center ให้เหมาะสมกับนักเรียนซึ่งจะทำให้นักเรียนมีโอกาสได้เลือกหยิบจับได้สะดวก ใช้ง่าย และตรงตาม
วัตถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้ วางแผนการจดั กิจกรรมให้นักเรียนเป็นผู้ปฏิบตั ิค้นควา้ ความรู้ด้วยตนเองก่อนเข้าเรียน
ซ่ึงการใช้แนวทาง Flip classroom เป็นแนวทางที่สง่ เสริมให้นักเรียนเกิดนิสัยใฝ่เรียนรู้ได้ดี แต่สิ่งสำคัญคือครู
ต้องกำชับ อำนวยความสะดวก ระบุสื่อการเรียนรู้หลักให้กับนักเรียนอย่างชัดเจน กำหนดเวลาการเรียนรู้ท่ี
แน่นอน และตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่จะดำเนินกิจกรรมในชั่วโมงถัดไป และประเด็นสุดท้ายคือ
การเชื่อมโยงเนื้อหาระหวา่ งเน้ือหาในระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center ชั่วโมงต่อชัว่ โมง ชวั่ โมงถัดไป
และการประยุกตใ์ ชค้ วามรู้ ครูตอ้ งพยายามกระตนุ้ ให้นักเรยี นเกดิ การสะท้อนคิดสิ่งที่ไดจ้ ากการเรียนรู้ภายหลัง
ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้วเสร็จ เพื่อให้นักเรียนได้ใคร่ครวญ และเลือกความรู้ที่จำเป็นหรือสำคัญสำหรับ
ตนเอง (ซึ่งนักเรียนแตกตา่ งกัน) สำหรับการพัฒนาต่อไป เปิดโอกาสให้นักเรยี นไดพ้ ูดคยุ แลกเปลีย่ นภายในชนั้
เรียนอย่างเหมาะสม เป็นตน้
ปัจจยั แหง่ ความสำเร็จ
สิง่ ท่ชี ่วยให้งานประสบความสำเร็จ
1. ผ้บู รหิ ารใหค้ วามสำคัญและนิเทศติดตามการจัดการเรยี นการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง
2. การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนร่วมแลกเปลี่ยนรูปแบบ
การจดั กิจกรรมการเรยี นรู้
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบ OBEC Content Center ได้เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะ
การเรยี นรู้ของนกั เรยี น เร่ือง การสืบพนั ธ์ุของพชื ดอก
4. ความพร้อมของอุปกรณเ์ ทคโนโลยีสารสนเทศในการเรยี นรู้ของนักเรียน

10

5. ครูมีความพร้อมและความตั้งใจ นำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนาปรับปรุงระบบการทำงาน
อย่างต่อเนื่อง และครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกในการเรียน และเกิด
ความต่อเนื่องในการเรยี นรู้
การเผยแพร่

การเผยแพร่ผลงาน ได้แก่ เว็บไซต์นวัตกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน,
กลุ่มไลน์นวัตกรรม โรงเรยี นป่าซาง, กลมุ่ ไลน์ครวู ิทยาศาสตร์ลำพูน, OBEC Content center และเว็บไซต์ ครูบ้าน
นอกดอทคอม
บรรณานกุ รม
กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551. พมิ พ์ครง้ั ที่ 3.

กรงุ เทพฯ. โรงพิมพช์ มุ นุม สหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทย จำกดั .
ทศพล สุวรรณพุฒ. (2562). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีทางดี
เอ็นเอ

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการ
โตแ้ ย้ง.

ปรญิ ญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวทิ ยาศาสตร์ศกึ ษา บัณฑติ วทิ ยาลยั มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปิยนนั ท์ สวัสดิศ์ ฤงฆาร. (2563). 5E Instructional Model. ออนไลน์. สบื ค้นเมือ่ 27 กรกฎาคม 2565.

แหลง่ ท่มี า https://drpiyanan.com/2020/07/29/5e-instructional-model/
โรงเรียนสารคามพิทยาคม. (มปป.). สพฐ.เปดิ ตัว OBEC Content Center ตวั ชว่ ยนักเรียนเรียนออนไลนอ์ ยู่ท่บี ้าน.

ออนไลน์. สืบคน้ เม่อื 15 กรกฎาคม 2565. แหลง่ ทีม่ าhttps://www.spk.ac.th/home/news/obecccenter/
สกุ นั ดา พรหมนิล. (2563). การพฒั นากิจกรรมการเรียนร้วู ชิ าชวี วทิ ยา เรอ่ื ง การสังเคราะหด์ ้วยแสงโดยใช้

รูปแบบวฏั จักรการสบื เสาะหาความรู้ (5E) รว่ มกับการเรียนรู้แบบร่วมมอื สำหรบั นกั เรยี น
ช้นั มัธยมศกึ ษาปที ่ี 5. ปริญญาครศุ าสตรมหาบณั ฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บณั ฑิตวทิ ยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน. (2560). ตวั ชี้วดั และสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุม่ สาระ
การเรยี นร้วู ทิ ยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พื้นฐาน
พทุ ธศกั ราช 2551. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พช์ มุ นุมสหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อภญิ ญารกั ษ์ วงษท์ ิพย์. (2562). การพฒั นาผลการเรยี นรู้และทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใชก้ ารจัดการเรยี นรู้
แบบห้องเรียนกลับด้านรว่ มกับการเรยี นรู้แบบร่วมมือ ในรายวิชาชีววทิ ยา เรอ่ื ง การสังเคราะห์
ด้วยแสงของนักเรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีที่ 5. ปรญิ ญาศิลปศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาวชิ าการสอน
วิทยาศาสตร์ วทิ ยาลัยครสู รุ ิยเทพ บณั ฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลัยรังสติ .
อักษรเจริญทัศน.์ (มปป.) . สรา้ งนกั คิด ในห้องเรยี นกลบั ดา้ น Flipped Classroom. ออนไลน.์ สืบคน้ เม่ือ
20 กรกฎาคม 2565. แหลง่ ที่มา https://www.aksorn.com/flipped-classroom-1

11

ภาคผนวก

12

แผนการจัดการเรยี นรู้
รหัส ว32243 วิชา ชีววิทยา 3 กลุม่ สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชัน้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 5 ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2565
หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 3 เร่อื ง การสบื พันธ์ขุ องพชื ดอกและการเจริญเตบิ โต
แผนท่ี 3-1 เร่ือง การสืบพันธขุ์ องพืชดอก เวลา 11 ชั่วโมง
รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกบั แนวทางการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้
ห้องเรียนกลับดา้ น (Flipped Classroom) โดยใช้สอื่ ระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center

ผลการเรยี นรู้
อธิบาย และเปรียบเทียบกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียของพืชดอก และอธิบาย

การปฏสิ นธขิ องพชื ดอก
จุดประสงคก์ ารเรียนรู้

1. อธบิ ายกระบวนการสร้างเซลลส์ บื พันธแ์ุ ละการปฏิสนธขิ องพืชดอกได้ (K)
2. เปรียบเทยี บกระบวนการสร้างเซลลส์ บื พนั ธ์ุเพศผู้และเพศเมียของพชื ดอกได้ (P)
3. รับผดิ ชอบตอ่ หนา้ ทแี่ ละงานที่ไดร้ บั มอบหมาย (A)
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
การสืบพันธุ์เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้พืชสามารถดำรงพันธุ์ได้ โดยพืชดอกจะมีดอกเป็นอวัยวะ
สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งดอกไม้แต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ซึ่งดอกจะมี
โครงสรา้ งหลักสำคญั 4 สว่ นทต่ี ดิ อยู่บนฐานดอก ไดแ้ ก่ กลบี เลี้ยง กลบี ดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมยี
สาระการเรยี นรู้
ด้านความรู้ (Knowledge)
พืชดอกสร้างไมโครสปอร์และเมกะสปอร์ ซง่ึ อาจสรา้ งในดอกเดียวกนั หรือตา่ งดอกหรือตา่ งต้นกัน
การสร้างไมโครสปอรข์ องพืชดอกเกิดข้นึ โดยไมโครสปอร์มาเทอร์เซลลแ์ บ่งเซลลแ์ บบไมโอซิสได้ไมโคร-
สปอร์ โดยไมโครสปอร์นี้แบง่ เซลล์แบบไมโทซิสได้ 2 เซลล์ คือ ทิวบ์เซลล์และเจเนอเรทิฟเซลล์ เมื่อมีการถ่าย
เรณูไปตกบนยอดเกสรเพศเมีย ทวิ บเ์ ซลลจ์ ะงอกหลอดเรณู และเจเนอเรทิฟเซลล์แบ่งไมโทซิสได้เซลล์สืบพันธุ์
เพศผู้ 2 เซลล์
การสรา้ งเมกะสปอร์เกดิ ขึน้ ภายในออวลุ ในรังไข่ โดยเซลล์ท่ีเรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอรเ์ ซลล์แบ่งไมโอ
ซสิ ไดเ้ มกะสปอร์ ซง่ึ ในพชื ส่วนใหญ่จะเจรญิ พัฒนาต่อไปได้เพยี ง 1 เซลล์ ที่เหลอื อีก 3 เซลล์จะฝ่อ เมกะสปอร์
จะแบ่งไมโทซิส 3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส ที่ประกอบด้วย 7 เซลล์โดยมี 1 เซลล์ ที่ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธ์ุ
เรยี กเซลลไ์ ข่ ส่วนอกี 1 เซลลม์ ี 2 นวิ เคลยี สเรียกโพลาร์นวิ คลีไอ
การปฏิสนธขิ องพืชดอกเป็นการปฏิสนธคิ ู่ โดยคู่หน่งึ เป็นการรวมกันของสเปิร์มเซลล์หนึ่งกับเซลล์ไข่ได้
เป็นไซโกต ซึ่งจะเจริญและพัฒนาไปเป็นเอ็มบริโอ และอีกคู่หนึ่งเป็นการรวมกันของสเปิร์มอีกเซลล์หนึ่งกับโพ
ลาร์นิวคลไี อได้เปน็ เอนโดสเปิรม์ นวิ เคลียส ซึ่งจะเจรญิ และพัฒนาต่อไปเปน็ เอนโดสเปิรม์
ด้านทักษะกระบวนการ (Process)
อธิบายและปรียบเทียบกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียของพืชดอกและอธิบายการ
ปฏสิ นธิของพืชดอก
ดา้ นคณุ ลักษณะอนั พงึ ประสงคต์ ามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน พทุ ธศักราช 2551
 มงุ่ มั่นในการทำงาน

13

 มวี นิ ัย

 ใฝ่เรยี นรู้

ด้านสมรรถนะสำคญั ของผู้เรยี น

 ความสามารถในการคดิ 1) ทักษะการระบุ 2) ทักษะการสงั เกต
4) ทกั ษะการจำแนกประเภท
3) ทกั ษะการเปรียบเทยี บ

ภาระ/ชิน้ งาน/ร่องรอย/หลักฐานการเรียนรู้

1. ใบงาน เร่อื ง ประเภทของดอก

2. ใบงาน เร่ือง การสรา้ งเซลล์สบื พันธ์ขุ องพืชดอก

3. ใบงาน เรือ่ ง การปฏสิ นธิของพืชดอก

4. ชิน้ งาน เรื่อง การสร้างเซลลส์ บื พันธ์ขุ องพชื ดอก

5. ผังมโนทศั น์ เรือ่ ง การถ่ายเรณู

6. ช้นิ งาน เรื่อง ดอกสรา้ งสรรคง์ านศิลป์

การวดั และประเมินผล

รายการวัด วธิ ีการ เครือ่ งมอื เกณฑก์ ารประเมนิ

ประเมินระหว่างการจดั

กิจกรรมการเรียนรู้

1) กิจกรรมนำสกู่ ารเรียน - สงั เกตจากการตอบคำถามและ - แบบสังเกตพฤตกิ รรม - รอ้ ยละ 60 ผา่ น

- การตอบคำถาม แสดงความคดิ เหน็ รายบุคคล เกณฑ์

2) การสร้างเซลลส์ ืบพนั ธ์ุ - ตรวจใบงาน เร่อื ง ประเภท - ใบงาน เรอื่ ง ประเภท - ระดับคณุ ภาพ 2

ของพชื ดอก ของดอก ของดอก ผา่ นเกณฑ์

- ตรวจใบงาน เรอื่ ง การสรา้ ง - ใบงาน เรอื่ ง การสร้าง

เซลล์สืบพนั ธข์ุ องพืชดอก เซลล์สืบพนั ธุข์ องพชื ดอก

- ตรวจใบงาน เร่อื ง - ใบงาน เร่ือง การปฏสิ นธิ

การปฏสิ นธิของพชื ดอก พืชดอก

- ประเมนิ ชนิ้ งาน เรอื่ ง การ - แบบประเมินช้ินงาน

สร้างเซลลส์ บื พนั ธข์ุ องพืชดอก

- ประเมินผงั มโนทัศน์ เร่ือง - ผงั มโนทัศน์ เรอ่ื ง

การถา่ ยเรณู การถ่ายเรณู

- ประเมนิ ช้นิ งาน เร่ือง ดอก - ช้นิ งาน เร่ือง ดอก

สรา้ งสรรค์งานศิลป์ สร้างสรรคง์ านศลิ ป์

3) พฤตกิ รรมการทำงาน - สงั เกตพฤติกรรม - แบบสงั เกตพฤตกิ รรม - ระดบั คณุ ภาพ 2

รายบุคคล การทำงานรายบุคคล การทำงานรายบุคคล ผ่านเกณฑ์

4) พฤติกรรมการทำงานกล่มุ - สังเกตพฤติกรรม - แบบสงั เกตพฤติกรรม - ระดับคุณภาพ 2

การทำงานรายบุคคล การทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์

5) คณุ ลกั ษณะอันพงึ - สงั เกตความมวี นิ ยั ใฝ่เรยี นรู้ - แบบประเมนิ คุณลกั ษณะ - ระดับคุณภาพ 2

ประสงค์ และมงุ่ มัน่ ในการทำงาน อันพึงประสงค์ ผา่ นเกณฑ์

14

การจดั กจิ กรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 1-2 (120 นาที)

กระตุ้นความสนใจ (Engage)

1. ครูชี้แจงเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนช้ัน

มธั ยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจดั การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) รว่ มกบั เทคโนโลยีระบบ OBEC

Content Center และให้นักเรยี นสมัครสมาชิก OBEC Content Center

2. ครูแจ้งผลการเรียนรูแ้ ละจุดประสงค์การเรยี นร้ใู ห้นกั เรียนทราบ

3. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจากคลังข้อสอบ OBEC Content

Center เรื่อง การสบื พันธ์ขุ องพืชดอก ก่อนเรมิ่ บทเรียน

4. ครกู ระตุ้นความสนใจของนักเรยี นโดยนำกจิ กรรมมาใหน้ ักเรยี นมีส่วนร่วมใน

ห้องเรียน โดยเริ่มเข้าสู่บทเรียนครูถามคำถามเพื่อทบทวนความรู้เดิม โดยมีแนวคำถาม แบบทดสอบกอ่ นเรยี น เรอ่ื ง
ดงั น้ี การสบื พันธขุ์ องพืชดอก

- พชื สืบพนั ธ์ุได้อย่างไร

แนวตอบ: พืชใช้อวัยวะที่เรียกว่า ดอก ในการสืบพันธุ์ โดยมีส่วนประกอบของ

ดอกทีม่ ีสว่ นสำคัญในการสืบพันธุ์ คือ เกสรเพศผ้แู ละเกสรเพศเมยี ซ่ึงอาจอยู่ภายในดอก

เดียวกันหรือคนละดอก

5. นักเรียนสืบค้นและศึกษาขอ้ มูลเกี่ยวกบั โครงสร้างและประเภทของดอก จาก

สอ่ื เทคโนโลยี OBEC Content Center เรือ่ ง การสืบพันธุ์ของพชื ดอก E-book

6. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 4
กลมุ่ จากนั้นครูใหน้ ักเรียนออกสำรวจและเลือกดอกไมบ้ ริเวณรอบโรงเรยี น จำนวนกลุ่ม การสบื พันธข์ุ องพชื ดอก

ละ 4 ชนดิ

7. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกนั สำรวจและเขียนสว่ นประกอบของดอกไม้ท่ีได้จาก

การสำรวจ แลว้ บนั ทกึ และเขยี นสว่ นประกอบของดอกไม้ลงในใบงาน

8. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบของดอกหน้าชั้น

เรยี น แล้วให้นกั เรยี นทง้ั ชั้นรว่ มกันวเิ คราะหว์ ่าตวั แทนกลุม่ เขียนคำตอบถกู ต้องหรือไม่

9. ครูนัดหมายให้นักเรียนทบทวนเนื้อหา และศึกษาเนื้อหาเพิ่มจากสื่อ Clip VDO
เทคโนโลยี OBEC Content Center เรอ่ื ง โครงสรา้ งของดอก (Structure of Flower) โครงสรา้ งของดอก
วิทยาศาสตร์ ม.4-6 (ชีววิทยา) ก่อนเข้าเรียนในชั่วโมงถัดไป และให้นักเรียนปฏิบัติ

กิจกรรมที่บ้านถ่ายภาพ มุมเจ๋งกับความรู้สึกที่บ้านของฉัน (ทั้งนี้ ครูแจ้งรายละเอียดและลิงค์การเข้าศึกษา

คน้ ควา้ ในกลุ่มไลน์ Biology 5/1-1-2565 อีกครั้ง)

10. นักเรยี นสะทอ้ นคิดสิ่งท่ีไดจ้ ากการเรียนรู้ , ทกั ษะท่ีฉนั ได้ใช้ในวันนี้ , จะดีกวา่ นถ้ี า้

ชว่ั โมงที่ 3 (60 นาที)
สำรวจคน้ หา (Explore)

1. ครนู ำเข้าสู่บทเรียนด้วยกจิ กรรมเตรยี มความพร้อม “ถา้ เปรียบเทียบดอกกับความรสู้ ึก ความรสู้ กึ ของ
นักเรยี นเปรยี บเสมอื นดอกไม้ชนดิ ใด” โดยครูถามนกั เรยี นทีละคนสลับชายหญงิ จนครบทกุ คน

2. จากนนั้ ครูให้นักเรยี นวาดรูปและสรปุ องคป์ ระกอบของดอกลงในสมุดบนั ทึก

15

3. นักเรียนวิเคราะห์ว่าดอกไม้ที่ครูนำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นดอก

สมบรู ณ์เพศหรอื ไม่ จากน้ันครเู ขียนคำถามบนกระดาน โดยมแี นวคำถามดังนี้

- ดอกครบสว่ นคืออะไร

แนวตอบ: ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน คือ เกสรเพศผู้ (Stamen)

เกสรเพศเมีย (Pistil) กลีบดอก (Petal) กลีบเลีย้ ง (Sepal) Clip VDO

- ดอกไมค่ รบส่วนคอื อะไร โครงสรา้ งของดอก

แนวตอบ: ดอกทีม่ ีส่วนประกอบไมค่ รบทง้ั 4 ส่วน

- ดอกไม่สมบรู ณเ์ พศ (Imperfect flower) คืออะไร

แนวตอบ: ดอกที่มีเพียงเกสรเพศผู้ (Stamen) หรือเกสรเพศเมยี (Pistil) อยา่ งใดอยา่ งหน่ึง

- ดอกสมบรู ณเ์ พศ (Perfect flower) คืออะไร

แนวตอบ: ดอกทม่ี ีทงั้ เกสรเพศผู้ (Stamen) และ เกสรเพศเมีย (Pistil)

4. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับดอกเดี่ยวและดอกช่อจากแหล่งการเรียนรู้ ส่ือ

เทคโนโลยี OBEC Content Center เรื่อง โครงสร้างของดอก (Structure of Flower)

วิทยาศาสตร์ ม.4-6 (ชวี วิทยา) เพ่มิ เติม Login: Liveworksheets
ใบงานประเภทของดอก
5. ครแู จกใบงาน เร่อื ง ประเภทของดอก แลว้ นกั เรียนศกึ ษาคำชีแ้ จงแล้วลงมือ
ทำใบงาน

ตรวจสอบผล (Evaluate)

6. ครูสงั เกตพฤติกรรมการทำงานกลุม่ โดยใชแ้ บบสังเกตพฤตกิ รรมการทำงานกลมุ่

7. ครูและนักเรยี นรว่ มกนั ตรวจใบงาน เร่ือง ประเภทของดอก

8. ครนู ดั หมายกจิ กรรมบูรณาการกจิ กรรมวนั แหเ่ ทียนเขา้ พรรษา โดยให้นำดอกไม้มาร่วมตกแต่งเทียน

แหพ่ รรษา และกจิ กรรมถา่ ยภาพ “สำรวจดอกรอบบา้ นฉนั ”

9. นกั เรยี นสะท้อนคิดส่ิงทไ่ี ดจ้ ากการเรยี นรู้ , สง่ิ ท่ฉี ันอยากเรียนรูเ้ พ่ิมเตมิ

ช่ัวโมงที่ 4-5 (120 นาที) Padlet
อธิบายความรู้ (Explain) สำรวจดอกรอบบ้านฉัน

1. ครูให้นักเรียนแชร์ภาพถ่ายการ สำรวจดอกรอบบ้านฉัน ผ่าน Padlet พร้อม Canva
บอกช่อื ดอกไม้ ดอกแห่เทียนพรรษา

2. นักเรียนแต่ละคนทบทวนความรู้เดิมโดยให้นักเรียนบอกประเภทของดอกที่
แชร์ แก่เพ่อื นๆ ในช้ันเรียน

3. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลจากการทำใบงาน โดยมีแนวโน้มการ
อภิปรายผลว่า “พืชดอกมีอวัยวะ คือ ดอก (Flower) ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช
ดอก โดยดอกมีทั้งดอกเดี่ยว (Solitary flower) และดอกช่อ (Inflorescence flower)
ดอกบางชนิดมีรังไข่ (Ovary) อยู่เหนือวงกลีบ (Perianth) บางชนิดมีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ
ซึ่งเกสรเพศผู้ (Stamen) ทำหน้าสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และเกสรเพศเมีย (Pistil) ทำ
หนา้ ทส่ี รา้ งเซลลส์ ืบพันธเุ์ พศเมีย นอกจากนีย้ งั มกี ลบี เลยี้ ง (Sepal) ทำหนา้ ท่หี อ่ หุ้ม และ
ป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนของดอกที่อยู่ภายใน และกลีบดอกที่มีสีสันสวยงามทำหน้าท่ี
ล่อแมลงให้มาชว่ ยผสมเกสร หากจำแนกองค์ประกอบของดอกสามารถแบ่งได้เปน็ ดอก

16

ครบส่วน (Complete flower) ดอกไม่ครบส่วน (Incomplete flower) ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower)
ดอกไม่สมบรู ณเ์ พศ (Imperfect flower)”

4. ครูชี้แจงกิจกรรมบูรณาการ “กิจกรรมวันแห่เทยี นเข้าพรรษา” ให้นักเรียนบอกประเภทของดอกท่ี
ใช้ในการตกแต่งเทียนแห่พรรษา นำเสนอผ่านโปรแกรม Canva พร้อมสะท้อนคิดสิ่งที่ได้จากการปฏิบัติ
กจิ กรรมครงั้ นี้

ช่ัวโมงท่ี 6 (เวลา 60 นาที)
สำรวจความรู้ (Explore)

1. นกั เรยี นแบ่งกล่มุ กลุ่มละ 5-6 คน ทำกจิ กรรม เร่อื ง โครงสรา้ งของดอก
2. สมาชิกภายในกลุ่มแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบ โดยสมาชิกในกลุ่มมีบทบาทและหน้าที่ของตนเอง
ดังน้ี

- สมาชิกคนท่ี 1 : ทำหนา้ ท่ีเตรยี มวัสดุอุปกรณ์กจิ กรรมการจำแนกองคป์ ระกอบของดอก
- สมาชิกคนท่ี 2 : ทำหนา้ ท่อี ่านวธิ กี ารทำกิจกรรม และนำมาอธบิ ายให้สมาชกิ ภายในกลุ่มฟัง
- สมาชิกคนที่ 3 และ 4 : ทำหน้าท่ีบันทกึ ผลการทำกจิ กรรม
- สมาชกิ คนท่ี 5 และ 6 : ทำหนา้ ทีน่ ำเสนอผลทไ่ี ดจ้ ากการทำกจิ กรรม
3. ในระหว่างการทำกิจกรรมให้สมาชิกภายในกลุ่มตั้งคำถามขั้นตอนการทดลองที่ตนเองสงสัย แล้ว
ใหส้ มาชิกร่วมกนั สบื คน้ จากแหล่งขอ้ มูลเพอ่ื ตอบคำถาม
อธบิ ายความรู้ (Explain)
4. นักเรียนตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลจากการทำกิจกรรม และอธิบายข้อสงสัยที่สมาชิก
ภายในกลุ่มต้ังคำถาม และนำเสนอผลจากการสบื คน้ คำตอบ
5. ครูพิจารณาผลจากการทำกิจกรรมและผลจากการสืบค้นข้อสงสัยในขั้นตอนการทำกิจกรรมของ
นักเรยี น แล้วเสริมและเพิม่ เตมิ ขอ้ มูล หากขอ้ มูลท่ีนกั เรยี นออกมานำเสนอยังไม่สมบูรณ์
6. นักเรียนและครูรว่ มกนั อภปิ รายผลจากการทำกจิ กรรม
7. ครถู ามคำถามทา้ ยกิจกรรม โดยนักเรยี นและครรู ่วมกนั เฉลยคำถามทา้ ยกจิ กรรม ดงั นี้
- ดอกชนิดใดเป็นดอกสมบูรณ์ (Complete flower) และดอกชนิดใดเป็นดอกไม่สมบูรณ์
(Incomplete flower)
แนวตอบ: ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) ได้แก่ กล้วยไม้ ทานตะวัน มะเขือ พุทธรักษา
กุหลาบ ส่วนดอกไม่สมบรู ณ์ (Incomplete flower) ไดแ้ ก่ ฟกั ทอง มะละกอ ตำลึง)
- ดอกชนดิ ใดมที ัง้ เกสรเพศผู้ (Stamen) และเกสรเพศเมีย (Pistil)
แนวตอบ: กลว้ ยไม้ ทานตะวนั มะเขอื พุทธรกั ษา กหุ ลาบ
- ดอกชนิดใดบา้ งมีเพยี ง 1 ดอก บนกา้ นดอกและดอกชนิดใดมีดอกมากกว่า 1 ดอกบนกา้ นดอก
แนวตอบ: ดอกที่มีเพียง 1 ดอก บนกา้ นดอก คือ มะเขือ ส่วนดอกที่มีดอกมากกวา่ 1 ดอกบน กา้ น
ดอก คอื กล้วยไม้ ทานตะวนั พทุ ธรกั ษา
- ดอกชนิดใดมีรงั ไข่ (Ovary) เหนอื วงกลีบ (Perianth) และดอกชนิดใดมรี งั ไข่ใต้วงกลบี
แนวตอบ: ดอกที่มีรังไข่ (Ovary) เหนือวงกลีบ (Perianth) ได้แก่ เข็ม มะเขือ มะละกอ ส่วน ดอก
ท่มี ีรงั ไขใ่ ต้วงกลีบ ไดแ้ ก่ กล้วย ตำลึง พทุ ธรกั ษา
- ดอกชนิดใดที่รังไข่ (Ovary) มีเพียงออวุล (Ovule) เดียว และดอกชนิดใดที่มีรังไข่ออวุลจำนวน
มาก

17

แนวตอบ: ดอกที่มีรังไข่เพียงออวุลเดียว (Ovule) ได้แก่ เข็ม มะเขือ มะลิ มะละกอ ส่วนดอกที่รัง

ไข่มี ออวลุ จำนวนมาก ได้แก่ กลว้ ย ตำลึง พุทธรกั ษา

ตรวจสอบผล (Evaluate)

8. ครูสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุม่ โดยใช้แบบสังเกตพฤตกิ รรมการทำงานกล่มุ

9. ครูประเมินปฏบิ ตั ิการ เรื่อง การจำแนกองคป์ ระกอบของดอก โดยใชแ้ บบ

ประเมินชน้ิ งาน

10. ครนู ดั หมายให้นักเรียนศึกษาและค้นคว้าข้อมลู เรอื่ ง โครงสร้างของดอก

และการสร้างสปอร์ จากคลิปสื่อเทคโนโลยี OBEC Content Center ก่อนเข้าเรียนใน

ชวั่ โมงถัดไป Clip VDO
โครงสรา้ งของดอกและ
11. ครนู ดั หมายนกั เรยี นใหน้ ำดอกไม้ทไ่ี ดจ้ ากการสำรวจรอบบรเิ วณบา้ น
ของนักเรียนมาปฏบิ ตั ิกิจกรรมในชั่วโมงถัดไป การสร้างสปอร์

12. นกั เรียนสะท้อนคิดสิง่ ทไ่ี ด้จากการเรยี นรู้, ทกั ษะท่ีฉันไดใ้ ช้ในวนั นี้, จะ

ดกี ว่านถ้ี ้า

ชว่ั โมงที่ 7-8 (เวลา 120 นาท)ี

สำรวจความรู้ (Explore)

1. นักเรยี นแบ่งกลมุ่ ออกเปน็ 2 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมหี น้าท่ี ดังน้ี

- กลุ่มที่ 1 ศึกษาการสร้างเซลลส์ ืบพันธ์เุ พศผู้

- กลุ่มที่ 2 ศกึ ษาการสรา้ งเซลล์สืบพนั ธ์เุ พศเมยี

2. สมาชิกในกลุ่มที่ 1 จับคู่กับสมาชิกในกลุ่มที่ 2 จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคู่แลกเปลี่ยนข้อมูล

จากนน้ั ทำใบงาน เรอ่ื ง การสร้างเซลลส์ ืบพันธข์ุ องพืชดอก

3. นกั เรยี นวางแผนและปฏบิ ัติกิจกรรมกลุ่ม เร่ือง สำรวจลกั ษณะละอองเรณู

กลุม่ ละ 4-5 ชนดิ ถ่ายรปู และแชร์ผลการสำรวจในกลมุ่ ไลน์ Biology 5/1-1-2565

อธิบายความรู้ (Explain)

4. ครูสมุ่ นักเรยี น 3-4 คู่ ออกมานำเสนอใบงานหนา้ ชน้ั เรียน

5. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลจากการทำใบงานให้ได้ใจความว่า Login: Liveworksheets
ใบงานการสร้างเซลล์
“ดอกทำหน้าที่ในการ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ภายในอับเรณูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกสร สืบพันธขุ์ องพชื ดอก
เพศผมู้ ไี มโครสปอรม์ าเทอรเ์ ซลลท์ ่แี บง่ เซลล์แบบไมโทซสิ ได้ 4 ไมโครสปอรแ์ ตล่ ะไมโครส

ปอร์จะแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้ 2 นิวเคลียส คือ เจอเนอเรทีพนิวเคลียสกับทิวบ์

นิวเคลียส ส่วนภายในรังไข่มีออวุล ซึ่งภายในมีเมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ เมื่อแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้เมกะ

สปอรจ์ ำนวน 4 เซลล์ ซึง่ ในจำนวน 4 เซลล์จะสลายไป 3 เซลล์ เหลือเพียง 1 เซลล์ แล้วเกิดการแบง่ เซลล์แบบ

ไมโทซิส 3 ครั้ง ได้ 7 เซลล์ 8 นิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วยแอนติโพแดลจำนวน 3 เซลล์ ซินเนอร์จิดจำนวน 2

เซลล์ เอนโดสเปริ ม์ จำนวน 1 เซลล์ (2 นวิ เคลียส) และเซลลไ์ ข่ 1 เซลล์”

6. หลงั จากจบการอภปิ ราย ครูถามนกั เรยี นเพือ่ นำเข้าส่บู ทเรียนถัดไป โดยมแี นวคำถาม ดังน้ี

- กระบวนการผสมเกสรของพชื เกดิ ขน้ึ ไดอ้ ยา่ งไร

แนวตอบ: เกิดขึ้นจากเรณู (Pollen) ที่แตกออกจากอับเรณู (Anther) ไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย

(Pistil)

- การถา่ ยเรณู (Pollen) ของพืชดอกมีกี่แบบ อย่างไร

18

แนวตอบ: 2 แบบ คอื การถ่ายเรณูในดอกเดียวกนั หรือต้นเดยี วกัน และการถ่ายเรณขู ้ามตน้

- การปฏสิ นธคิ อื อะไร

แนวตอบ: การบวนการทีส่ เปริ ์ม (Sperm) เข้าไปผสมกบั เซลลไ์ ข่ท่อี ยภู่ ายในรังไข่

7. ครูยกตัวอย่างดอกไม้ ได้แก่ ดอกชบา ดอกฟักทอง ดอกมะละกอ แล้วให้นักเรียนได้ศึกษาและ

อธิบายรว่ มกนั เกี่ยวกบั รูปแบบการถา่ ยเรณู

- ดอกชบา 1 ดอก: อาจเกิดการถา่ ยเรณูภายในดอกเดยี วกัน

- ดอกฟักทองเพศผู้ และดอกฟักทองเพศเมีย: เกิดการถ่ายเรณูข้ามดอก

ภายในตน้ เดียวกัน

- ต้นมะละกอ ซึ่งเป็นต้นแยกเพศที่มีเฉพาะดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย

เทา่ น้ัน: เกิดการถ่ายเรณู ขา้ มดอกและข้ามตน้ Padlet

8. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม “ดอกสร้างสรรค์งานศิลป์” หลังจากนั้นแชร์ ดอกสรา้ งสรรค์งานศลิ ป์

ผลงานความคิดสร้างสรรคผ์ ่าน Padlet

ตรวจสอบผล (Evaluate)

9. ครูสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใชแ้ บบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกล่มุ

10. ครูสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียน โดยใชแ้ บบสังเกตพฤตกิ รรมการทำงาน

11. ครูและนกั เรียนประเมนิ ชิ้นงานความคิดสร้างสรรค์ ดอกสร้างสรรคง์ านศลิ ป์ โดยใช้แบบประเมิน

ช้ินงานผา่ นการโหวตออนไลน์ใน Padlet และให้ข้อเสนอแนะ

12. ครูและนกั เรียนรว่ มกันตรวจใบงาน เรื่อง การสร้างเซลล์สืบพันธขุ์ องพืชดอก

13. ครูนัดหมายให้นักเรียนศึกษาและค้นคว้าข้อมูล เรื่อง การปฏิสนธิในพืชดอก จากคลิปสื่อ

เทคโนโลยี OBEC Content Center ก่อนเขา้ เรยี นในช่วั โมงถัดไป

14. นักเรียนสะท้อนคิดสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้, ทักษะที่ฉันได้ใช้ในวันน้ี, ฉันจะนำความรู้นี้ไป

ประยกุ ตใ์ ช้

ชว่ั โมงท่ี 9 (เวลา 60 นาที) Clip VDO
สำรวจคน้ หา (Explore) การปฏิสนธิในพืชดอก

1. ครูเปิดคลิป OBEC Content Center เรื่อง การปฏิสนธิในพืชดอก Login: Liveworksheets
วทิ ยาศาสตร์ ม.4-6 (ชวี วทิ ยา) เพือ่ ใหน้ ักเรียนได้ทบทวนความรูอ้ กี ครัง้ ใบงาน การปฏสิ นธิของ

2. หลังจากนักเรียนดูคลิปจบ ครูเขียนข้อความบนกระดาน แล้วให้นกั เรยี น พืชดอก
เรียงลำดับหมายเลข ตามขั้นตอนการปฏิสนธิของพืชดอกให้ถูกต้อง โดยให้นักเรียน
ลอกคำถามและเรียงลำดับหมายเลขลงในสมุดบันทึกของตนเอง โดยมีแนวคำถาม
ดงั นี้

1) สเปริ ์มไปผสมกบั โพลาร์นวิ คลไี อและเซลล์ไข่
2) เรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมยี
3) เจเนอเรทฟี เซลล์แบ่งเซลล์แบบไมโทซสิ ได้สเปริ ์ม 2 เซลล์
4) ทิวบ์นิวเคลียสแบง่ เซลลง์ อกหลอดเรณไู ปตามกา้ นเกสรเพศเมีย
3. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ทำใบงาน เรื่อง การปฏิสนธิของพืช
ดอก

19

4. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการงอกหลอดเรณู แล้วให้นักเรียนสรุปลงใน

สมุดบนั ทกึ ของตนเอง

5. นกั เรียนจับคู่ แลกเปลีย่ นข้อมลู และข้อสรปุ ทไ่ี ดจ้ ากการศึกษาใบงาน

อธบิ ายความรู้ (Explain)

6. นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยขั้นตอนการปฏิสนธิของพืชดอก โดยครูอธิบาย

คำตอบว่า เมื่อเรณูตก ลงบนยอดเกสรเพศเมีย เรณู ทิวบ์เซลล์จะแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส

เพื่องอกหลอดเรณูไปตามก้านเกสรเพศเมียแทงเข้า ไปในรังไข่ จากนั้นเจเนอเรทีฟเซลล์จะ

แบ่งเซลล์ ได้ 2 นิวเคลยี ส ไดจ้ ำนวนสเปิรม์ 2 เซลล์ เขา้ ไปผสมกบั โพลารน์ ิวคลีไอและเซลล์

ได้ โดยสเปริ ม์ ทผ่ี สมกับโพลาร์นวิ คลีไอจะเจริญเปน็ เอนโดสเปริ ์ม ส่วนสเปิร์มท่ีผสมกับเซลล์

ไขจ่ ะเจรญิ เป็นไซโกต ดงั น้นั หมายเลขควรเรยี งจาก 2) 4) 3) 1) Clip VDO

ตรวจสอบผล (Evaluate) การงอกของหลอดเรณู

7. ครูสงั เกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใชแ้ บบสงั เกตพฤติกรรมการทำงานกล่มุ

8. ครูสุ่มตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอใบงาน เรื่อง การปฏิสนธิของพืชดอก และให้สมาชิกในชั้นเรียน

รว่ มเสนอแนะ/สอบถาม/วพิ ากษ์

9. ครสู มุ่ ตัวแทน 1 คู่ นำเสนอข้อสรปุ ทีไ่ ดจ้ ากการศกึ ษาการงอกหลอดเรณู

10. ครแู ละนกั เรยี นรว่ มกนั ตรวจใบงาน เรื่อง การปฏสิ นธขิ องพืชดอก

11. ครนู ัดแนะนกั เรยี นทำกจิ กรรมถ่ายภาพ “มมุ เจง๋ กบั ความรูส้ ึกท่ีบ้านของฉนั ”

12. นักเรียนสะท้อนคิดสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้, ฉันจะนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้..., สิ่งที่ฉันสงสัย/อยากรู้

เพม่ิ

ช่ัวโมงท่ี 10-11 (เวลา 120 นาท)ี Padlet
ขยายความเข้าใจ (Expand) มุมเจ๋งกบั ความรู้สกึ ฉนั

1. ครูใหน้ ักเรยี นแสดงมีมความรู้สึกของตนเองพร้อมภาพถ่ายมมุ เจ๋งกับความรสู้ กึ Login: Liveworksheets
ทบ่ี า้ นของฉนั ผา่ น Padlet ใบงาน การปฏิสนธขิ อง

2. นักเรยี นทบทวนความรู้เดิมของตนเอง เร่ือง การสืบพันธข์ุ องพชื ดอก จากสอื่ พชื ดอก
ระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center

3. นักเรียนทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ใน Live worksheets เรื่อง การสืบพันธุ์ของ
พืชดอก

4. นักเรียนทำผังสรุปกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก พร้อมนำเสนอ
ในรูปแบบท่นี ่าสนใจ

5. นกั เรยี นทำผังมโนทศั น์ เรอ่ื ง การถา่ ยเรณู พร้อมตกแต่งใหส้ วยงาม
ตรวจสอบผล (Evaluate)

1. ครูตรวจแบบฝึกหัดในแบบฝึกหัดชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ใน
Live worksheets

2. ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินชิ้นงานผังสรุปกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
ของพชื ดอก โดยใชแ้ บบประเมนิ ชิน้ งาน

20

3. ครปู ระเมนิ ผงั มโนทัศน์ เรือ่ ง การถา่ ยเรณู โดยใช้แบบประเมินชิ้นงาน
4. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนจากคลังข้อสอบ OBEC Content
Center เรือ่ ง การสบื พันธุ์ของพชื ดอก

ส่ือ/แหลง่ การเรยี นรู้ แบบทดสอบกอ่ นเรียน เร่อื ง
สือ่ การเรียนรู้ การสืบพนั ธข์ุ องพืชดอก
1) หนงั สือเรยี นชวี วทิ ยา ม.5 เลม่ 1 หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 การสืบพันธ์ุของพชื

ดอก

2) สื่อเทคโนโลยี OBEC Content center

-หนังสอื อเิ ลกทรอนกิ ส์ เร่อื ง การสบื พันธุ์ของพชื ดอก

https://app.contentcenter.obec.go.th/#/detail/book/77172

-ข้อสอบ เร่ือง การสบื พนั ธขุ์ องพืชดอก

https://app.contentcenter.obec.go.th/#/detail/test/77181

-คลิป เรอ่ื ง โครงสรา้ งของดอก (Structure of Flower) วทิ ยาศาสตร์ ม.4-6 (ชีววิทยา)

https://app.contentcenter.obec.go.th/#/detail/vdo/7004 (20 นาท)ี

-คลปิ เรือ่ ง เรื่อง โครงสร้างของดอกและการสรา้ งสปอร์

https://app.contentcenter.obec.go.th/#/detail/vdo/26436 (40 นาที)

-คลปิ เร่ือง การปฏสิ นธใิ นพืชดอก วิทยาศาสตร์ ม.4-6 (ชีววิทยา)

https://app.contentcenter.obec.go.th/#/detail/vdo/7128 (7 นาท)ี

-คลิป เร่ือง การงอกของหลอดเรณู วทิ ยาศาสตร์ ม.4-6 (ชีวะ)

https://app.contentcenter.obec.go.th/#/detail/vdo/7116 (6 นาที)

-คลปิ เรอ่ื ง การเกิดและโครงสร้างผล วิทยาศาสตร์ ม.4-6 (ชวี วทิ ยา)

https://app.contentcenter.obec.go.th/#/detail/vdo/7020 (18 นาท)ี

3) ใบงาน เร่อื ง ประเภทของดอก

4) ใบงาน เรื่อง การสร้างเซลล์สืบพันธข์ุ องพชื ดอก

5) ใบงาน เรือ่ ง การปฏิสนธขิ องพืชดอก

6) วสั ดุอุปกรณ์กจิ กรรมโครงสรา้ งของดอก

แหล่งการเรยี นรู้

1) ห้องปฏิบตั ิการชวี วทิ ยา

2) อนิ เทอรเ์ น็ต

3) สอื่ OBEC Content Center

21

ใบงาน เรอื่ ง ประเภทของดอก

ตอนท่ี 1 จำแนกดอกตามส่วนประกอบของดอก

คำชแ้ี จง : ให้นกั เรยี นพิจารณาดอกไม้ท่ีกำหนดให้ แลว้ ทำเคร่ืองหมาย ✓ ลงในตาราง

ชอื่ ดอกไม้ ประเภทของดอก

ดอกสมบูรณเ์ พศ ดอกไมส่ มบรู ณเ์ พศ ดอกครบสว่ น ดอกไมค่ รบส่วน

มะเขือ

บานเย็น

อินทผาลมั

ข้าวโพด

มะละกอ

กล้วยไม้

ตอนที่ 2 จำแนกดอกตามจำนวนดอกที่อยบู่ นกา้ น

คำชแ้ี จง : ให้นกั เรยี นพิจารณาดอกไม้ทกี่ ำหนดให้ แลว้ ทำเครอ่ื งหมาย ✓ ลงในตาราง

ชอ่ื ดอกไม้ ประเภทของดอก

ดอกเดย่ี ว ดอกช่อ

ดอกการะเวก

ดอกฝรงั่

ดอกผกากรอง

ดอกหางนกยูง

ดอกมะเขือ

22

ตอนที่ 3 จำแนกดอกตามตำแหน่งของรังไข่เทยี บกบั ตำแหนง่ ของวงกลีบ

คำชแี้ จง : ใหน้ ักเรยี นพิจารณาดอกไม้ท่กี ำหนดให้ แล้วทำเครื่องหมาย ✓ ลงในตาราง

ช่อื ดอกไม้ ประเภทของดอก

ดอกท่ีมีรงั ไข่อยู่เหนอื วงกลีบ ดอกที่มีรงั ไขอ่ ยูใ่ ต้วงกลีบ

ย่ีหุบ

ทับทิม

พริก

ถว่ั

แตงกวา

23

ใบงาน เรื่อง การสร้างเซลล์สบื พนั ธขุ์ องพชื ดอก

ตอนที่ 1

คำชี้แจง : จงเตมิ คำลงในตารางกระบวนการสรา้ งเซลลส์ บื พันธุ์

ลักษณะท่ีพิจารณา การสร้าง การสรา้ ง

male gametophyte female gametophyte

แหลง่ สรา้ งเซลลส์ บื พนั ธุ์ …............................... รังไข่

เซลลเ์ ริม่ ต้น (mother cell) ................................... เมกะสปอร์มาเทอรเ์ ซลล์

เซลลท์ ไ่ี ด้จาก meiosis ของเซลลแ์ ม่ ไมโครสปอร์ ...................................
จำนวน 4 เซลล์

เซลล์ทไี่ ด้จากการแบ่งเซลล์แบบ mitosis ................................... ...................................

ตอนที่ 2
คำชแ้ี จง : จงเขียนแผนภาพกระบวนการสร้างเซลลส์ ืบพันธุ์เพศผ้แู ละการสรา้ งเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
1. การสร้างเรณู (pollen grain) ของพชื ดอก

ตอบ

2. การสรา้ งถงุ เอม็ บริโอ ของพชื ดอก
ตอบ

24

ใบงาน เรื่อง การปฏิสนธขิ องพืชดอก

ตอนที่ 1
คำชีแ้ จง : ให้นกั เรยี นศึกษาจากแหลง่ การเรยี นรู้เพิ่มเติมจากส่อื อนิ เทอร์เน็ต หนงั สือเรยี นชวี วิทยา ม.5 เลม่ 1
แล้วตอบคำถามต่อไปนี้
1. การปฏิสนธิของพชื ดอกเกดิ ขึ้นเมอื่ ใด

ตอบ
2. พิจารณาภาพทกี่ าหนดให้ A B C และ D คอื อะไร ตามลาดบั

ถุงเอม็ บรโิ อ

A

B

C

D

ตอบ
3. สเปิรม์ ของพืชเกิดจากจากเซลลใ์ ด

ตอบ
4. หลังจากเกิดการปฏิสนธิ บรเิ วณหมายเลข 1 และ 2 จะพัฒนาเป็นอะไร ตามลำดับ

1

2

ตอบ
ตอนที่ 2

25

คำชแ้ี จง : ให้นกั เรียนวาดแผนผังกระบวนการสร้างเซลลส์ ืบพนั ธุ์ของพืชดอกจนกระทั่งเกิดกระบวนการ
ปฏสิ นธิ พรอ้ มตกแตง่ ใหส้ วยงาม

26

แบบประเมนิ ช้นิ งาน

คำชแ้ี จง : ใหผ้ ู้สอนประเมนิ ชนิ้ งานตามรายการท่ีกำหนดแล้วขดี ✓ ลงในชอ่ งทตี่ รงกบั ระดบั คะแนน

ลำดบั ท่ี รายการประเมิน ระดบั คะแนน
32
4 1

1 ความถูกต้องของช้ินงาน

2 การจดั รปู แบบช้นิ งาน

3 ความตรงต่อเวลา

รวม

ลงช่ือ ................................................... ผูป้ ระเมิน
................./................/................

รายการประเมิน เกณฑ์การประเมินชนิ้ งาน

ระดบั คะแนน

4 3 21

1. ความถูกตอ้ งของ ชิ้นงานมีความถูกต้อง ชิ้นงานมีความถูกต้อง ชิ้นงานมีความถูกต้อง ชิน้ งานไม่ถูกตอ้ ง และ

ชิน้ งาน ครบทกุ หวั ข้อ ครบทุกหัวข้อเป็นส่วน ครบทุกหัวข้อเพียง ไม่ครบตามหัวข้อท่ี

2. การจัดรปู แบบ ใหญ่ บางส่วน กำหนด
ชิ้นงาน
ชิ้นงานมีระเบียบ มี ชิ้นงานมีระเบียบ และมี ชิ้นงานมีระเบียบ และมี ชิ้นงานไม่มีระเบียบ
3.ความตรงต่อเวลา
ความคิดสรา้ งสรรค์ และ ความน่าสนใจเป็นส่วน ความน่าสนใจเพียง ไมม่ คี วามน่าสนใจ

มคี วามน่าสนใจ ใหญ่ บางส่วน

ส่งแบบช้นิ งานภายใน ส่งแบบชิน้ งานชา้ กว่า สง่ แบบชน้ิ งานช้ากว่า สง่ แบบช้ินงานชา้ กว่า
เวลาทกี่ ำหนด เวลาทีก่ ำหนด 1 วนั เวลาที่กำหนด 2 วัน เวลาทีก่ ำหนด 3 วัน
ข้ึนไป

เกณฑก์ ารตัดสนิ คณุ ภาพ

ชว่ งคะแนน ระดับคุณภาพ

10-12 ดมี าก

7-9 ดี

4-6 พอใช้

0-3 ปรบั ปรุง

27

แบบประเมนิ การปฏิบัติการ

คำช้แี จง : ให้ผ้สู อนประเมนิ การปฏิบตั ิการของนักเรยี นตามรายการท่ีกำหนดแลว้ ขดี ✓ลงในช่องทต่ี รงกับระดบั คะแนน

ลำดบั ที่ รายการประเมิน ระดบั คะแนน
4321
1 การปฏบิ ตั ิการทดลอง
2 ความคลอ่ งแคลว่ ขณะปฏบิ ตั กิ าร รวม
3 การนำเสนอ

ลงชือ่ ................................................... ผปู้ ระเมนิ
................./................../..................

เกณฑก์ ารประเมนิ การปฏบิ ัติการ

ประเดน็ ทีป่ ระเมิน ระดับคะแนน

4 3 21

1. การปฏิบัติการ ท ำ ต า ม ท ด ล อ ง ต า ม ทำตามทดลองตามขั้นตอน ต้องให้ความช่วยเหลือ ต ้ อ ง ใ ห ้ ค ว า ม

ทดลอง ขั้นตอนและใช้อุปกรณ์ และใช้อุปกรณ์ได้อย่าง บ้างในการทำการทดลอง ชว่ ยเหลอื อยา่ งมากใน

ได้อยา่ งถูกตอ้ ง ถูกต้อง แต่อาจต้องได้รับ และการใชอ้ ุปกรณ์ การทำการทดลอง

คำแนะนำบ้าง และการใช้อปุ กรณ์

2. ความคล่องแคล่ว มีความคล่องแคล่วใน มีความคล่องแคล่วในการ ขาดความคล่องแคล่ว ทำการทดลองเสรจ็ ไม่

ขณะปฏิบัติการ การทำการทดลองโดยไม่ ทำการทดลองแต่ต้องได้รับ ใ น ข ณ ะ ก า ร ท ำ ก า ร ท ั น เ ว ล า แ ล ะ ท ำ

ต้องได้รับคำชี้แนะ และ คำแนะนำบ้าง และทำการ ทดลองจึงทำการทดลอง อปุ กรณ์เสยี หาย

ท ำ ก า ร ท ด ล อ ง เ ส ร็ จ ทดลองเสรจ็ ทันเวลา เสรจ็ ไมท่ นั เวลา

ทนั เวลา

3. การบันทึก สรุป บันทกึ และสรุปผลการ บันทึกและสรุปผลการ ต้องให้คำแนะนำในการ ต ้ อ ง ใ ห ้ ค ว า ม

และการนำเสนอ ทดลองได้ถกู ตอ้ ง รดั กุม ทดลองได้ถูกต้อง แต่การ บันทกึ สรปุ และนำเสนอ ช่วยเหลืออยา่ งมากใน

ผลการทดลอง นำเสนอผลการทดลอง นำเสนอผลการทดลองยงั ไม่ ผลการทดลอง การบันทึกสรุป และ

เป็นขน้ั ตอนชดั เจน เป็นขัน้ ตอน นำเสนอผลการ

ทดลอง

เกณฑก์ ารตดั สินคณุ ภาพ

ชว่ งคะแนน ระดับคุณภาพ

11-12 ดมี าก

9-10 ดี

6-8 พอใช้

ต่ำกวา่ 6 ปรบั ปรุง

28

แบบประเมนิ ผลงานแผนผงั มโนทัศน์ (ความคิดรวบยอด)

คำชี้แจง : ให้ผ้สู อนประเมินผลงาน/ชิ้นงานของนักเรยี นตามรายการที่กำหนด แล้วขดี ✓ลงในช่องท่ีตรงกับ

ระดับคะแนน

ลำดับท่ี รายการประเมิน ระดับคณุ ภาพ

4 3 21

1 ความสอดคลอ้ งกับจุดประสงคท์ กี่ ำหนด

2 ความถกู ต้องของเนอ้ื หา

3 ความคดิ สรา้ งสรรค์

4 ความตรงตอ่ เวลา

รวม

ลงช่ือ ................................................... ผู้ประเมนิ
............../................./................

เกณฑ์การประเมนิ ผงั มโนทัศน์

ประเด็นทปี่ ระเมิน 4 ระดบั คะแนน 1
32
1. ความสอดคลอ้ ง ผงั มโนทัศน์สอดคลอ้ งกบั ผังมโนทัศน์ไมส่ อดคล้องกับ
กบั จดุ ประสงค์ จดุ ประสงค์ทกุ ประเดน็ ผังมโนทัศน์สอดคล้องกบั ผังมโนทัศน์สอดคล้องกบั จดุ ประสงค์
จุดประสงคเ์ ป็นส่วนใหญ่ จดุ ประสงค์บางประเด็น
2. ความถูกตอ้ งของ
เน้ือหา เนอื้ หาสาระของผงั มโน เน้ือหาสาระของผงั มโนทัศน์ เนอื้ หาสาระของผังมโน เน้อื หาสาระของผังมโนทัศน์

ทศั น์ถกู ตอ้ งครบถ้วน ถูกตอ้ งเป็นสว่ นใหญ่ ทศั นถ์ ูกต้องบางประเด็น ไม่ถูกตอ้ งเป็นส่วนใหญ่

3. ความคดิ ผงั มโนทัศน์แสดงถึง ผงั มโนทัศนแ์ สดงถงึ ความคิด ผงั มโนทัศน์มคี วาม ผังมโนทัศน์ไม่มีความ
สรา้ งสรรค์ ความคดิ สร้างสรรค์ เป็น น่าสนใจ
ระบบ สรา้ งสรรค์ แต่ยังไมเ่ ป็น น่าสนใจ แตย่ ังไม่เป็น
4. ความตรงตอ่ เวลา ส่งช้นิ งานชา้ กวา่ เวลาท่ี
สง่ ชน้ิ งานภายในเวลาที่ ระบบ ระบบ กำหนด 3 วันข้ึนไป
กำหนด
สง่ ชิ้นงานชา้ กว่าเวลาที่ ส่งช้นิ งานช้ากว่าเวลาท่ี

กำหนด 1 วัน กำหนด 2 วัน

เกณฑก์ ารตัดสนิ คุณภาพ

ชว่ งคะแนน ระดบั คุณภาพ

14-16 ดีมาก

11-13 ดี

8-10 พอใช้

ตำ่ กวา่ 8 ปรับปรุง

29

แบบสังเกตพฤตกิ รรมการทำงานรายบุคคล

คำช้แี จง : ใหผ้ ูส้ อนสังเกตพฤติกรรมของนกั เรียนในระหวา่ งเรยี นและนอกเวลาเรียน แล้วขดี ✓ลงในช่องที่

ตรงกับระดับคะแนน

ลำดบั ท่ี รายการประเมนิ ระดับคะแนน

3 21

1 การแสดงความคดิ เห็น  

2 การยอมรับฟงั ความคดิ เหน็ ของผอู้ ืน่  

3 การทำงานตามหนา้ ท่ีทีไ่ ด้รับมอบหมาย  

4 ความมีนำ้ ใจ  

5 การตรงต่อเวลา  

รวม

ลงชอ่ื ................................................... ผปู้ ระเมนิ
............/.................../................

เกณฑก์ ารให้คะแนน ให้ 3 คะแนน
ปฏบิ ัตหิ รอื แสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัตหิ รือแสดงพฤติกรรมบ่อยคร้ัง ให้ 1 คะแนน
ปฏิบัตหิ รือแสดงพฤติกรรมบางครง้ั

เกณฑก์ ารตดั สนิ คุณภาพ

ชว่ งคะแนน ระดับคุณภาพ

14–15 ดีมาก

11–13 ดี

8–10 พอใช้

ตำ่ กว่า 8 ปรับปรุง

30

แบบสังเกตพฤตกิ รรมการทำงานกลุ่ม

คำชีแ้ จง : ใหผ้ สู้ อนสงั เกตพฤตกิ รรมของนกั เรยี นในระหวา่ งเรยี นและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ✓ลงในช่องท่ี

ตรงกบั ระดับคะแนน

ลำดับที่ ช่อื –สกลุ การแสดง การยอมรบั การทำงาน ความมี การมี รวม

ของนกั เรยี น ความ ฟังคนอื่น ตามทไ่ี ดร้ บั น้ำใจ ส่วนรว่ มใน 15

คิดเห็น มอบหมาย การ คะแนน

ปรับปรุง

ผลงานกลมุ่

321321321321321

เกณฑ์การให้คะแนน ลงชื่อ ................................................... ผปู้ ระเมิน
ปฏบิ ตั หิ รือแสดงพฤตกิ รรมอย่างสม่ำเสมอ ............./.................../...............
ปฏิบตั หิ รอื แสดงพฤตกิ รรมบ่อยคร้งั
ปฏบิ ัติหรือแสดงพฤติกรรมบางคร้งั ให้ 3 คะแนน
ให้ 2 คะแนน
ให้ 1 คะแนน

เกณฑ์การตดั สนิ คุณภาพ

ช่วงคะแนน ระดับคณุ ภาพ

14–15 ดีมาก

11–13 ดี

8–10 พอใช้

ตำ่ กวา่ 8 ปรับปรุง

31

แบบประเมนิ คุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์

คำชีแ้ จง : ใหผ้ ู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนกั เรียนในระหว่างเรยี นและนอกเวลาเรียน แล้วขดี ✓ลงในชอ่ งท่ี

ตรงกบั ระดับคะแนน

คุณลักษณะ รายการประเมนิ ระดับคะแนน

อนั พึงประสงคด์ ้าน 321

1. มวี นิ ัย รับผิดชอบ 1.1 ปฏิบัติตามขอ้ ตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคบั ของช้ันเรยี น

มีความตรงตอ่ เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมตา่ ง ๆ

2. ใฝเ่ รยี นรู้ 2.1 รจู้ ักใชเ้ วลาวา่ งใหเ้ ป็นประโยชน์ และนำไปปฏิบัตไิ ด้

2.2 รู้จักจัดสรรเวลาใหเ้ หมาะสม

2.3 กล้าคิด กล้าทำ กล้าตดั สนิ ใจ วิพากษแ์ ละมสี ่วนรว่ ม

2.4 ตัง้ ใจเรียน

3. มุง่ ม่นั ในการทำงาน 3.1 มคี วามตั้งใจและพยายามในการทำงานที่ได้รบั มอบหมาย

3.2 มีความอดทนและไมท่ อ้ แทต้ ่ออปุ สรรคเพ่ือใหง้ านสำเร็จ

ลงชอื่ .................................................. ผูป้ ระเมิน
............/.................../................

เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การตดั สนิ คุณภาพ
พฤติกรรมที่ปฏบิ ัตชิ ดั เจนและสมำ่ เสมอ
พฤติกรรมท่ปี ฏิบัตชิ ัดเจนและบ่อยคร้งั ให้ 3 คะแนน ชว่ งคะแนน ระดับคณุ ภาพ
พฤติกรรมท่ปี ฏิบัติบางคร้งั ให้ 2 คะแนน
ให้ 1 คะแนน 51-60 ดีมาก

41-50 ดี

30-40 พอใช้

ตำ่ กวา่ 30 ปรบั ปรงุ

32

การใช้สอ่ื ระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center
แผนการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้รปู แบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
รว่ มกบั แนวทางการจัดกจิ กรรมการเรยี นรูแ้ บบหอ้ งเรียนกลับดา้ น (Flipped Classroom)

โดยใชส้ ่อื ระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center
หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 3 เร่อื ง การสบื พันธุ์ของพืชดอกและการเจรญิ เตบิ โต

แผนท่ี 3-1 เรอื่ ง การสืบพนั ธข์ุ องพืชดอก เวลา 11 ช่ัวโมง

ช่วั โมงที่ ส่ือประกอบการสอน การเขา้ ถงึ ตัวอยา่ ง

1-2 ขอ้ สอบแบบประเมนิ ความรู้
วิชาชีววิทยา เรือ่ ง การ
สบื พันธ์ุของพชื ดอก

e-book การสบื พันธ์ขุ องพชื
ดอก

3 คลปิ โครงสรา้ งของดอก

4-5 คลปิ โครงสรา้ งดอกและการ
สรา้ งสปอร์

6 คลปิ การงอกของหลอดเรณู

7-8 คลปิ การปฏิสนธใิ นพืชดอก

33

ชวั่ โมงท่ี สื่อประกอบการสอน การเขา้ ถงึ ตวั อย่าง

9 คลิป การเกดิ และโครงสร้าง
ผล

10-11 ข้อสอบแบบประเมินความรู้
วิชาชีววิทยา เร่อื ง การ
สบื พนั ธุ์ของพืชดอก

34

ตัวอย่าง
แบบทดสอบกอ่ น-หลงั เรยี น ซง่ึ ผเู้ รียนทดสอบในระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center

35

36

37

บนั ทึกหลังการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้

1. สรปุ ผลการเรยี นการสอน

1) นักเรยี น จำนวน คน

ผ่านจุดประสงค์การเรยี นรู้ จำนวน คน คดิ เป็นร้อยละ

ไมผ่ า่ นจดุ ประสงค์การเรียนรู้ จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ

ได้แก่

- ............................................................................................................................. .......

นักเรยี นมคี วามสามารถพิเศษ ไดแ้ ก่

- ....................................................................................................................................

2) นกั เรียนมีความร้คู วามเขา้ ใจ (K)

3) นกั เรยี นมีความรเู้ กิดทักษะ (P)

5) นกั เรียนมีคุณลักษณะอนั พึงประสงคต์ ามหลักสตู รฯ

2. ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข

3. ขอ้ เสนอแนะ

ลงช่ือ
(นายนพดล บญุ ภา)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ

38

ความเหน็ ของหัวหน้าสถานศึกษา/ผทู้ ไ่ี ดร้ บั มอบหมาย
ไดท้ ำการตรวจแผนการจัดการเรยี นรู้ของ นายนพดล บุญภา แล้วมีความคดิ เหน็ ดังนี้
1. เป็นแผนการจดั การเรยี นรู้ที่
 ดีมาก
 ดี
 พอใช้
 ควรปรบั ปรุง
2. การจดั กจิ กรรมไดน้ ำเอากระบวนการเรยี นรู้
 เน้นผู้เรียนเปน็ สำคญั มาใชใ้ นการสอนได้อยา่ งเหมาะสม
 ยังไมเ่ น้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรบั ปรงุ พัฒนาต่อไป
3. เป็นแผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี
 นำไปใชไ้ ด้จรงิ
 ควรปรบั ปรุงกอ่ นนำไปใข้
4. ข้อเสนอแนะอนื่ ๆ

……………………………………...............................……………………………………............................................................
……………………………………...............................……………………………………............................................................
……………………………………...............................……………………………………............................................................
……………………………………...............................……………………………………............................................................
……………………………………...............................……………………………………............................................................
……………………………………...............................……………………………………............................................................

ลงชื่อ
(นายอรรถพงษ์ เฟื่องฟู)

ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นปา่ ซาง

39

กระบวนการจัดกจิ กรรมการเรียนรตู้ ามแผนการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้แบบสบื เสาะหาความรู้ (5E)
ร่วมกบั แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรยี นกลบั ด้าน (Flipped Classroom)
โดยใชส้ ื่อระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center เรือ่ ง การสืบพันธุ์ของพืชดอก

ชัว่ โมงท่ี 1-2 ภาพประกอบ ตวั อยา่ งผลการเรยี นรู้

กิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบกอ่ นเรยี น เร่อื ง
การสืบพนั ธข์ุ องพชื ดอก
ครูชแ้ี จงเกย่ี วกบั การจัด E-book
กจิ กรรมการเรยี นรูเ้ พื่อพัฒนา การสืบพันธข์ุ องพชื ดอก
ผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นของ
นักเรียนช้ันมธั ยมศกึ ษาปีที่ 5
โดยใชร้ ูปแบบการจัดการเรยี นรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
ร่วมกับระบบเทคโนโลยี OBEC
Content Center และให้
นกั เรยี นสมัครสมาชิก OBEC
Content Center และแจง้ ผล
การเรยี นรู้และจุดประสงค์การ
เรียนรู้ให้นักเรยี นทราบ และให้
นักเรยี นทำแบบทดสอบกอ่ น
เรยี นจากคลงั ข้อสอบ OBEC
Content Center เรอ่ื ง การ
สบื พันธุข์ องพชื ดอก ก่อนเรม่ิ
บทเรียน

นักเรยี นศกึ ษาข้อมลู เกี่ยวกบั
โครงสรา้ งและประเภทของดอก
จากสอ่ื เทคโนโลยี OBEC
Content Center e-book
เรอ่ื ง การสบื พนั ธุข์ องพืชดอก
และปฏิบตั ิกจิ กรรมกลมุ่ เพ่ือ
ศกึ ษาโครงสร้างและ
องคป์ ระกอบของดอก

ชั่วโมงที่ 3 ภาพประกอบขน้ั ตอนการเรยี นรู้ 40
กิจกรรมการเรยี นรู้ ตัวอยา่ งชิ้นงาน/ภาระงาน

นกั เรียนทกุ คนศึกษาความรดู้ ้วย
ตนเองจากท่ีบ้าน (Flipped
classroom) ก่อนเข้าเรยี น

Clip VDO
โครงสร้างของดอก

นักเรยี นสบื คน้ ข้อมูลเก่ยี วกบั
ดอกเด่ียวและดอกชอ่ จากแหลง่
การเรียนรู้ ส่ือเทคโนโลยี OBEC
Content Center เรอ่ื ง
โครงสร้างของดอก (Structure
of Flower) และปฏิบัติการ
ศึกษาองค์ประกอบของดอก แชร์
ผลงานในกลมุ่ ไลน์ ประเมินผล
ร่วมกัน และทำใบงาน เร่อื ง
องค์ประกอบของดอก ใน
Liveworksheet

ชัว่ โมงที่ 4-5 ภาพประกอบข้ันตอนการเรียนรู้ 41
กิจกรรมการเรียนรู้ ตวั อย่างช้นิ งาน/ภาระงาน

นกั เรยี นแชร์ภาพถ่ายจากการ
สำรวจดอกในบ้านของตนเอง
ผา่ น Padlet

Padlet
สำรวจดอกรอบบ้านฉัน

นกั เรียนปฏิบตั ิกจิ กรรมบรู ณา
การ “กจิ กรรมวันแหเ่ ทียน
เข้าพรรษา” พร้อมทง้ั จำแนก
ประเภทของดอกท่ีใชใ้ นการ
ตกแตง่ เทียนแห่พรรษา นำเสนอ
ผา่ นโปรแกรม Canva พร้อม
สะทอ้ นคดิ ส่งิ ท่ีได้จากการปฏิบัติ
กจิ กรรมครั้งน้ี แชรผ์ ลงานใน
กลมุ่ ไลน์ ประเมนิ ผลรว่ มกัน

Canva
ดอกแห่เทยี นพรรษา

ช่ัวโมงที่ 6 ภาพประกอบขัน้ ตอนการเรียนรู้ 42
กจิ กรรมการเรยี นรู้ ตัวอยา่ งชิ้นงาน/ภาระงาน

นักเรียนทกุ คนศึกษาความรดู้ ้วย
ตนเองจากที่บ้าน (Flipped
classroom) กอ่ นเขา้ เรยี น

Clip VDO
โครงสรา้ งของดอก

นักเรียนปฏิบัตกิ จิ กรรมกลุ่ม
เรื่อง การศึกษาโครงสร้างของ
ดอก เพือ่ จำแนกองคป์ ระกอบ
ของดอก

ชว่ั โมงท่ี 7-8 ภาพประกอบขน้ั ตอนการเรยี นรู้ 43
ตัวอยา่ งชิ้นงาน/ภาระงาน
กจิ กรรมการเรียนรู้
นกั เรียนทุกคนศึกษาความรู้ด้วย
ตนเองจากทบ่ี า้ น (Flipped
classroom) ก่อนเข้าเรยี น

Clip VDO
โครงสรา้ งของดอกและ

การสรา้ งสปอร์

นกั เรียนวางแผนและปฏิบัติ
กจิ กรรมกลุ่ม เรือ่ ง สำรวจ
ลักษณะละอองเรณู กลมุ่ ละ 5
ชนิด เพ่ือจำแนกลกั ษณะของ
ละอองเรณใู นพชื แตล่ ะชนดิ
ถา่ ยรูปและแชร์ผลการสำรวจใน
กลุ่มไลน์ Biology 5/1-1-2565
นกั เรียนปฏิบัติกจิ กรรม “ดอก
สรา้ งสรรคง์ านศิลป”์ หลงั จาก
นน้ั แชร์ผลงานความคิด
สรา้ งสรรค์ผ่าน Padlet

44

ช่ัวโมงที่ 9 ภาพประกอบขน้ั ตอนการเรยี นรู้ ตัวอยา่ งช้นิ งาน/ภาระงาน
กิจกรรมการเรยี นรู้ ประเมินการนำเสนองาน

นกั เรียนทุกคนศึกษาความรู้ด้วย
ตนเองจากที่บา้ น (Flipped
classroom) ก่อนเข้าเรยี น

Clip VDO ประเมินปฏิบัติการ (นอกเวลา)
การปฏิสนธิในพืชดอก

กจิ กรรมกลมุ่ สบื คน้ และนำเสนอ
เรอ่ื ง การปฏิสนธขิ องพชื ดอก
และใหส้ มาชิกในชั้นเรียนรว่ ม
เสนอแนะ/สอบถาม/วิพากษ์
และประเมินปฏบิ ตั ิการสบื พันธุ์
ของพืชดอก

ชวั่ โมงท่ี 10-11 45
กิจกรรมการเรยี นรู้ ภาพประกอบข้นั ตอนการเรยี นรู้

นกั เรยี นทบทวนการเรียนรู้

E-book Clip VDO
การสบื พนั ธข์ุ องพืชดอก โครงสร้างของดอก

Clip VDO Clip VDO
โครงสร้างของดอกและ การปฏิสนธใิ นพชื ดอก

การสร้างสปอร์

Clip VDO แบบทดสอบหลงั เรยี น เรอ่ื ง
การงอกของหลอดเรณู การสบื พันธขุ์ องพืชดอก

นกั เรยี นทำแบบฝึกหัดชีววิทยา ใน Live worksheets เร่ือง การ
สบื พันธุข์ องพชื ดอก
นักเรยี นทำผงั สรปุ กระบวนการสรา้ งเซลลส์ ืบพนั ธ์ุของพชื ดอก
พรอ้ มนำเสนอในรปู แบบทน่ี ่าสนใจ
นักเรียนทำผังมโนทัศน์ เรื่อง การถา่ ยเรณู พรอ้ มตกแต่งให้สวยงาม
นกั เรียนทำแบบทดสอบหลงั เรียน เรอื่ ง การสืบพนั ธ์ของพืชดอก

46

ประมวลภาพนกั เรียนศกึ ษาเนื้อหาด้วยตนเองจากท่ีบา้ นก่อนเรียนด้วยส่ือ
จากระบบเทคโนโลยี OBEC Content Center เกี่ยวกบั เรื่อง การสืบพันธข์ุ องพชื ดอก


Click to View FlipBook Version