The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือที่รวบรวมเรื่องราวของโขน และโครงการต่าง ๆ ของโขนเยาวชนชายแดนใต้
ขนาด 21x24cm
จัดทำโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี กระทรวงวัฒนธรรม | @ PrinceSukri

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by AKATSUKI S@RU Studios, 2021-09-20 02:16:25

Khon | โขน เยาวชนชายแดนใต้ ประจำปี ๒๕๕๘-๒๕๖๔

หนังสือที่รวบรวมเรื่องราวของโขน และโครงการต่าง ๆ ของโขนเยาวชนชายแดนใต้
ขนาด 21x24cm
จัดทำโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี กระทรวงวัฒนธรรม | @ PrinceSukri

Keywords: PrinceSukri,สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี, กระทรวงวัฒนธรรม,Khon,โขน,เยาวชนชายแดนใต้

ประจเํายปา ว๒ช๕น๕ช๘าย-๒แด๕น๖ใ๔ต

กระทรวงวัฒนธรรม

สํานักงานวัฒนธรรมจงั หวัดปต ตานี



ประเจยำ� าปวี ช๒น๕ช๕า๘ย-แ๒ด๕น๖ใ๔ต้

กระทรวงวัฒนธรรม
ส�ำ นกั งานวฒั นธรรมจังหวัดปัตตานี

บทสรปุ ผู้บริหาร

ตามท่ี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ทรงห่วงใยศิลปวัฒนธรรมไทยในทุกดา้ น โดยเฉพาะการแสดงโขน มีพระราชด�ำรัสว่า “ทุกวันน้ี
ประชาชนชาวไทย ไม่ใคร่มีโอกาสได้ชมโขน เนื่องจากการจัดแสดงโขนในแต่ละคร้ังไม่ใช่
เรอ่ื งงา่ ย” เพอ่ื เปน็ การสนองพระราชด�ำรดิ งั กลา่ ว กระทรวงวฒั นธรรมและคณะกรรมาธกิ ารศาสนา
คณุ ธรรม จรยิ ธรรม ศลิ ปะ และวฒั นธรรม ไดป้ ระสานความรว่ มมอื ด�ำเนนิ การโครงการโขนเยาวชน
ชายแดนใต้มาตัง้ แตป่ ี พ.ศ. ๒๕๕๘ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมได้สนับสนุนงบประมาณ
และมอบหมายให้ส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ร่วมกับวิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง ในสังกัด
สถาบนั บณั ฑติ พัฒนศลิ ป์ กระทรวงวฒั นธรรม เปน็ ผ้ดู �ำเนนิ การถ่ายทอดฝกึ ซ้อมและจดั การแสดง
โขนให้กับเยาวชน ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา
เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้ใส่ใจและรู้จักรักษ์โขน อันเป็นศิลปะการแสดงช้ันสูงของประเทศไทย
รวมทัง้ เสริมสร้างความรัก ความสามัคคี และสมานฉันท์ ของคนในชาติ ซ่ึงส�ำนักงานวัฒนธรรม
จังหวัดปัตตานีได้ด�ำเนินการอย่างต่อเน่ืองมาเป็นปีท่ี ๗ และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
คณุ อนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชกิ วุฒสิ ภา ไดร้ ับเปน็ ที่ปรึกษาและใหก้ ารสนบั สนนุ การด�ำเนินงาน
อีกท้ังโครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงโขน
ซ่ึงเป็นคณะท�ำงานจัดแสดงโขน มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ
พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง มาให้ความรู้ ฝึกซ้อมและจัดการแสดงผลงาน
กิจกรรมที่ด�ำเนินการมีดังนี้ ๑) ประชาสัมพันธ์และคัดเลือกนักแสดง ๒) เขา้ คา่ ยฝกึ ซอ้ มโขน
โดยจดั การอบรมให้ความรู้และฝึกปฏบิ ัติโขนเบ้อื งต้น ๓) จัดแสดงผลงานโขนเยาวชนชายแดนใต้
โดยจัดแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พันปีหลวง ในห้วงเดือนสิงหาคม จัดแสดง จ�ำนวน ๒ รอบ คือ รอบเช้า และรอบบ่าย
ณ หอประชุมชูเกียรติ ส�ำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
อ�ำเภอเมอื งปตั ตานี จังหวดั ปตั ตานี
2

จากการด�ำเนินการตลอดระยะเวลา ๗ ปี มีเยาวชนท่ีผ่าน
การคดั เลอื กเขา้ รว่ มการแสดงโขนพระราชทาน และไดร้ บั ทนุ เขา้ ศกึ ษาตอ่
ณ วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง ในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กระทรวงวัฒนธรรม โครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้ นับเป็น
อกี โครงการหนง่ึ ทก่ี ระทรวงวฒั นธรรม ในฐานะหนว่ ยงานหลกั ทรี่ บั ผดิ ชอบ
งานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ได้น�ำมิติทางวัฒนธรรม
มาขับเคลื่อนการด�ำเนินงานในพื้นท่ีจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ตามเจตนารมณ์และนโยบาย
ของรฐั บาลในการทจ่ี ะพัฒนาคนและสังคมสร้างคน
ให้เป็นคนดีมีคุณธรรม ภูมิใจในความเป็นไทย
ตลอดจนสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดแก่พ้ืนที่
โดยผ่านเยาวชนสูป่ ระชาชนในพ้ืนที่
ข้อเสนอแนะในการน�ำผลการด�ำเนนิ งานไปใช้
ครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา และหน่วยงานทุกภาคส่วน
ที่มีความเก่ียวข้องในด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เร่ิมต้ังแต่
ครอบครวั ชมุ ชน สถานศกึ ษา หนว่ ยงานภาครฐั เอกชน ควรเข้ามา
มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังมุ่งเน้น
การด�ำเนินงานร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมเพื่อผลักดันให้เกิด
จติ สํานกึ ดา้ นการอนรุ กั ษโ์ ขนซงึ่ เปน็ นาฏกรรมชน้ั สงู ของไทย
อยา่ งถาวรและยั่งยืน

ทศกัณฐ์ (นางศศเิ พญ็ ละม้ายพันธ)ุ์
วฒั นธรรมจังหวัดปตั ตานี

3

หนมุ าน

4

คำ�นำ�

กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดปัตตานี โดยส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี จัดท�ำ
รายงานผลการด�ำเนินงานโครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจ�ำปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๔ ภายใต้
โครงการเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง จังหวัดปัตตานี ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
ตามแผนงานบรู ณาการขบั เคลอ่ื นการแกไ้ ขปญั หาจงั หวดั ชายแดนภาคใต้ มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ ใหเ้ ยาวชน
ในพ้ืนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมช้ันสูงอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และจะได้
มโี อกาสน�ำมติ ทิ างวฒั นธรรมในการสรา้ งความสมานฉนั ทโ์ ดยผา่ นเยาวชนสปู่ ระชาชนในพน้ื ท่ี ตลอดจน
ไดม้ ีโอกาสรว่ มกนั สบื สานงานศิลป์ให้อยูค่ ูแ่ ผน่ ดนิ ไทย
รายงานผลการด�ำเนนิ งาน “โครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ� ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๔”
จัดท�ำขึ้นเพ่ือเป็นการรวบรวมประวัติความเป็นมาและการเรียนรู้เกี่ยวกับการแสดงโขนของเยาวชน
ชายแดนใต้ ซ่ึงได้ด�ำเนินการมาอย่างต่อเน่ืองต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และในปี พ.ศ. ๒๕๖๔
เปน็ ปที ี่ ๗ ของการด�ำเนนิ งาน การด�ำเนนิ งานโครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้ ไดด้ �ำเนนิ การเรยี บรอ้ ย
บรรลวุ ตั ถปุ ระสงคท์ กุ ประการ ขอขอบคณุ คณุ อนศุ าสน์ สวุ รรณมงคล สมาชกิ วฒุ สิ ภา ทป่ี รกึ ษาโครงการ
โขนเยาวชนชายแดนใต้ คณะอาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง และวิทยาลัยนาฏศิลป ในสังกัด
สถาบนั บันฑติ พัฒนศลิ ป์ กระทรวงวฒั นธรรม และคณะผู้ทรงคุณวฒุ แิ ละผู้เช่ียวชาญดา้ นการแสดงโขน
ซง่ึ เปน็ คณะท�ำงานจดั แสดงโขน มลู นธิ สิ ง่ เสรมิ ศลิ ปาชพี ในสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ์ิ พระบรมราชนิ นี าถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้ด�ำเนินการถ่ายทอดฝึกซ้อมและจัดการแสดงผลงานให้แก่เยาวชน
โครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้ ตลอดจนผู้ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนทุกภาคส่วนไว้ ณ โอกาสน้ี
สำ� นักงานวฒั นธรรมจังหวัดปัตตานี

5

สารบญั

๒ ๙ ๒๕

บทสรุปผูบ้ รหิ าร สว่ นที่ ๑ สว่ นท่ี ๒

๒๗ โขนเยาวชนชายแดนใต้ ความรู้กอ่ นดูโขน

ความเป็นมาของโขน ๑๖

๒๙ กวา่ จะเป็นโขน ตอน...

เรือ่ งยอ่ รามเกยี รต์ิ ๒๘

การจ�ำแนกประเภทโขน

6

๖๐ ๖๑

หัวโขน หรอื ศีรษะโขน เพลงที่ใช้ประกอบ
การเเสดงโขน
๓๓
๖๒
รจู้ กั ตวั ละครโขน
การพากย์ - เจรจา

๖๕ ๖๓

โขนเยาวชนชายแดนใต้ สว่ นท่ี ๓
ประจำ� ปี ๒๕๕๘
ผลการด�ำเนินงานโครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้

๖๙

โขนเยาวชนชายแดนใต้
ประจำ� ปี ๒๕๕๙

๗๘

โขนเยาวชนชายแดนใต้
ประจ�ำปี ๒๕๖๐

7

๘๖ ๙๕

โขนเยาวชนชายแดนใต้ โขนเยาวชนชายแดนใต้
ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ประจำ� ปี ๒๕๖๒

๑๐๕ ๑๑๓
ภาคผนวก
โขนเยาวชนชายแดนใต้
ประจ�ำปี ๒๕๖๓ ๑๓๔

๑๐๘ บรรณานกุ รม

โขนเยาวชนชายแดนใต้ ๑๑๔
ประจ�ำปี ๒๕๖๔
รายช่ือนักเรยี นและนกั แสดงโขนเยาวชนชายแดนใต้
8 ประจ�ำปี ๒๕๕๙-๒๕๖๔

โขนเยสาวว่ ชนนทชาี่ ย๑แดนใต้

9

นางสดี า

10

ปเยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

โขนเยาวชนชายแดนใต้

ด้วยพระมหากรุณาในสมเด็จพระนางเจา้ สริ กิ ิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนพี ันปหี ลวง ทมี่ พี ระราชเสาวนยี ์
ใหม้ กี ารจดั แสดงโขน เพอื่ เปน็ การฟน้ื ฟงู านฝมี อื ชา่ งหลากหลายสาขา การแตง่ หนา้ แบบโบราณ รวมถงึ เผยแพรศ่ ลิ ปวฒั นธรรม
ประจ�ำชาติท่แี สดงถงึ เอกลกั ษณ์ไทย “โขน” เปน็ การแสดงที่สอดแทรกคณุ ธรรมและเปน็ ศาสตรแ์ ขนงหนงึ่ ทบี่ ง่ บอก ถึงความ
เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยที่สร้างสรรค์ข้ึนมาจากระบบของสังคมไทยอย่างมีแบบแผนบนพ้ืนฐานของความเป็นไทย
อยา่ งชดั เจน อกี ทง้ั ยงั เปน็ ตน้ แบบของวธิ กี ารทจ่ี ะรวมงานดา้ นศลิ ปะหลายชนดิ เขา้ ดว้ ยกนั อยา่ งมเี อกภาพท�ำใหโ้ ขนเปน็ ศลิ ปะ
การแสดงช้ันสูงที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์และความเป็นเอกราชทางด้านวัฒนธรรมของชาติจนได้รับความชื่นชมจาก
คนไทยและคนต่างชาติ อย่างตอ่ เนื่อง

ประวัติความเป็นมาของกลุ่มเยาวชนโขนปัตตานี กลมุ่ เยาวชนโขนปตั ตานี แสดงในงานมหกรรมศลิ ปวฒั นธรรม
“กลุ่มเยาวชนโขนปัตตานี” เป็นกลุ่มของนักเรียน ท่ีมี ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครนิ ทร์ วิทยาเขตปตั ตานี
ความสนใจและได้รับโอกาสในการฝึกซ้อมโขน ซ่ึงถือเป็น อ�ำเภอเมืองปัตตานี จงั หวดั ปตั ตานี
นาฏศิลป์ช้นั สูง จดุ เรม่ิ ตน้ มาจากคุณครสู มวฒุ ิ กลุ พทุ ธสาร
ครูประจ�ำโรงเรียนบ้านสะบารังในขณะนั้น (ปี ๒๕๕๒)
ได้น�ำคณะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๕ และนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มาแสดงโขนในงานสังสรรค์
สโมสรโรตาร่ี ณ หอ้ งจะบังตกิ อ โรงแรม ซ.ี เอส.ปัตตานี
และคุณอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ได้ร่วมชมการแสดงของ
คณะนกั เรยี น ความประทบั ใจในการแสดงของคณะนกั เรยี น
ท�ำให้เกิดความสนใจและติดตามผลงานของคณะนักเรียน
กลุ่มน้ี และเม่ือพบว่าคณะนักเรียนท่ีแสดงโขนมีใจรัก
ในการแสดง แตย่ งั ขาดโอกาสและเวทใี นการแสดงทตี่ อ่ เนอื่ ง
คุณอนุศาสน์ สุวรรณมงคล จึงเริ่มให้การสนับสนุน
คณะนักเรียนที่แสดงโขนด้วยการจัดต้ังกลุ่มเยาวชนโขน
ปัตตานีและจัดเวทีให้มีการแสดงต่อเน่ืองทุกปีนับต้ังแต่
ปี ๒๕๕๒ เป็นต้นมา

11

ปเยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

การแสดงโขนของกลุ่มเยาวชนโขนปัตตานี ณ หอประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วทิ ยาเขตหาดใหญ่
อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ หอประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มเยาวชนโขนปัตตานีได้รับโอกาสร่วมแสดงหน้าพระท่ีนั่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ยังความปลาบปล้มื ปิติแกค่ ณะนักแสดงและผฝู้ กึ สอนทุกคน
ปัจจุบันกลุ่มเยาวชนโขนปัตตานีเป็นการรวมตัวกันของเยาวชนท่ีมีใจรักและสนใจการแสดงโขนในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ จากหลากหลายสถาบันการศึกษา ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
โดยมคี ณะอาจารยจ์ ากวทิ ยาลยั นาฏศลิ ปพทั ลงุ เปน็ ครผู ฝู้ กึ ซอ้ มหลกั และมอบโอกาสในการพฒั นาฝมี อื การแสดงอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ เปน็ ต้นมา กระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบหมายใหส้ �ำนักงานวฒั นธรรมจังหวดั ปตั ตานี
ประสานการด�ำเนนิ งานกบั วทิ ยาลยั นาฏศลิ ปพทั ลงุ ซงึ่ เปน็ สถานศกึ ษา ในสงั กดั สถาบนั บณั ฑติ พฒั นศลิ ป์ กระทรวงวฒั นธรรม
เปน็ ผดู้ �ำเนนิ การถา่ ยทอดฝกึ ซอ้ มและจดั การแสดงผลงานโขนใหก้ บั เยาวชนในจงั หวดั ปตั ตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส
และจังหวัดสงขลา โดยคุณอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ได้รับเป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุนการด�ำเนินงาน
นับเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ท่ีมีพระราชประสงค์ที่จะให้การแสดงโขนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมท่ียังคงอยู่และแพร่หลายในทกุ พ้นื ที่ตลอดไป
12

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

นอกจากน้ีกลุ่มเยาวชนโขน
ชายแดนใต้ ได้รับโอกาสในการเข้าชม
การแสดงโขนพระราชทาน ณ หอประชมุ
ใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร เป็นประจ�ำทุกปี
ค ณ ะ นั ก เ รี ย น ที่ ฝ ึ ก ซ ้ อ ม โ ข น ไ ด ้ ช ม
การแสดงในเวทีเต็มรูปแบบ เป็นแรง
ผลักดันให้คณะนักเรียนเหล่าน้ีกลับมา
ฝึกซ้อมและพัฒนาฝีมือการแสดงให้ดี
ย่ิงข้ึน โดยคุณอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
สมาชกิ วฒุ สิ ภา และส�ำนกั งานวฒั นธรรม
จังหวัดปัตตานี เป็นผู้ดูแลและอ�ำนวย
ความสะดวกในการน�ำคณะนักเรียนไปชมการแสดงโขนพระราชทาน ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
กรงุ เทพมหานคร
ในการฝึกซ้อมและแสดงผลงานโขนเยาวชนชายแดนใต้ รับเกียรติการฝึกซ้อมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงโขน
ซงึ่ เป็นคณะท�ำงานจดั แสดงโขน มลู นธิ ิสง่ เสรมิ ศลิ ปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พันปีหลวง ผ้ทู รงคณุ วุฒแิ ละผ้เู ช่ยี วชาญด้านโขนจากวิทยาลยั นาฏศลิ ป ในสงั กัดสถาบันบณั ฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
อาทิ

นางรัจนา พวงประยงค์ ดร.อนชุ า ทีรคานนท์
ศิลปนิ แห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ผ้อู ำ� นวยการสถาบันไทยคดศี กึ ษา
(นาฏศิลป์ไทย-ละคร) พ.ศ. ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผชู้ ว่ ยผ้อู ำ� นวยการผลิต โขนพระราชทาน

13

เปยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

อาจารย์ประเมษฐ์ บุญยะชัย (ดา้ นขวา)
ศิลปนิ แห่งชาติ สาขาศลิ ปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน)
พ.ศ. ๒๕๖๓

ผศ.ดร.ธีรภัทร์ ทองนิ่ม (ด้านขวา) อาจารย์ว่าท่ีรอ้ ยตรี ดร.เกิดศิริ นกนอ้ ย (ดา้ นซ้าย)
วทิ ยาลัยนาฏศลิ ป สถาบนั บัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ผชู้ ว่ ยผู้ก�ำกับการแสดงและผู้ก�ำกบั เวที โขนพระราชทาน

อาจารย์สุธีร์ ชุ่มช่ืน (ด้านขวา) อาจารย์ไชยอนันต์ สนั ตพิ งษ์ (ด้านขวา)
วิทยาลยั นาฏศิลป สถาบันบณั ฑิตพฒั นศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม วทิ ยาลยั นาฏศลิ ปอา่ งทอง สถาบนั บณั ฑติ พฒั นศลิ ป์ กระทรวงวฒั นธรรม

14

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

วิทยากรหลกั ในการถา่ ยทอดการแสดงโขน รวมทง้ั
เปน็ ผฝู้ กึ หดั ฝกึ ซอ้ ม และจดั แสดงผลงานโขนเยาวชนชายแดนใต้
จากวิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง และครู อาจารย์ ผู้สนับสนุน
การฝึกซ้อม และจัดแสดงผลงาน จากสถานศึกษาในจังหวัด
ปตั ตานี และนราธิวาส
โครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้ ซง่ึ ส�ำนักงานวฒั นธรรมจังหวัดปัตตานี ได้ด�ำเนนิ การอยา่ งต่อเน่อื งมาเป็นปที ่ี ๗
เปน็ การบูรณาการการท�ำงานของทกุ ภาคสว่ น ท้งั ภาครฐั และภาคเอกชน ในการทจ่ี ะม่งุ เนน้ ให้เยาวชนในพนื้ ทีจ่ งั หวัดชายแดน
ภาคใต้ ไดเ้ รยี นรู้ ศลิ ปวฒั นธรรมชนั้ สงู อนั เปน็ เอกลกั ษณข์ องชาติ และจะไดม้ โี อกาสน�ำมติ ทิ างวฒั นธรรมสร้างความสมานฉันท์
โดยผ่านเยาวชนสู่ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนได้มีโอกาสร่วมกันสืบสานงานศิลป์ให้อยู่คู่แผ่นดินไทย และนับเป็นอีก
โครงการหน่ึงท่ีกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ได้น�ำมิติ
ทางวัฒนธรรมมาขับเคลื่อนการด�ำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้ใส่ใจและรู้จัก
รักศิลปวัฒนธรรมไทย รวมท้งั เสริมสร้างความสามัคคแี ละสมานฉันทข์ องคนในชาติ

การแสดงโขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ� ปี ๒๕๖๒

15

ปเยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

กว่าจะเป็นโขน ตอน... และไมส่ ามารถมาเขา้ รว่ มโครงการได้ ในการคดั เลอื กนกั แสดง
ครผู ฝู้ กึ ซอ้ มจะท�ำการคดั เลอื กผแู้ สดงทจี่ ะฝกึ หดั เปน็ ตวั โขน
กวา่ จะเปน็ โขนตอนตา่ ง ๆ ในการแสดงผลงานของ ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวลิง
เยาวชนโขนชายแดนใตใ้ นแตล่ ะปี คณะท�ำงานโครงการโขน ซึ่งตัวโขนแต่ละจ�ำพวกน้ี ผู้ฝึกหัดจะต้องมีลักษณะรูปร่าง
เยาวชนชายแดนใต้ อาทิ ส�ำนกั งานวฒั นธรรมจงั หวดั ปตั ตานี เฉพาะเหมาะสมกบั ตวั ละคร ตวั พระ คดั เลอื กผทู้ มี่ หี นา้ ตาสวย
วทิ ยาลัยนาฏศิลปพัทลุง คณะครอู าจารย์ และคุณอนศุ าสน์ จมูกสัน ล�ำคอโปร่งระหง ช่วงแขนและขาสมส่วน ตัวนาง
สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ซ่ึงเป็นที่ปรึกษาโครงการ ลักษณะเดียวกับตัวพระ สิ่งส�ำคัญอยู่ที่เลือกคนท่ีมีใบหน้า
โขนเยาวชนชายแดนใต้นับตั้งแต่เริ่มกลุ่มโขนปัตตานี งามและดูที่มีกิริยาท่าทางแช่มช้อยนิ่มนวลอย่างกิริยาหญิง
ได้มีการวางแผนการด�ำเนินงาน และมีกระบวนการ ตวั ยกั ษ์ เลือกจากผทู้ ีม่ รี ปู ร่างคลา้ ยตวั พระ แต่ไม่ต้องเลอื ก
ในการด�ำเนนิ การดังนี้ หน้าตา เลือกเอาผู้ที่มีร่างใหญ่ ท่าทางแข็งแรง ตัวลิง
เลอื กจากผ้ทู ี่มีรูปรา่ งป้อม ๆ ท่าทางหลุกหลกิ คลอ่ งแคลว่
ประชาสัมพนั ธ์และคัดเลือกนกั แสดง
การฝกึ หัดโขน
ส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ด�ำเนินการ
ประชาสมั พนั ธไ์ ปยงั สถานศกึ ษาในจงั หวดั ปตั ตานี จงั หวดั ยะลา การฝึกหัดโขน ผู้ฝึกหัดโขนทุกคนจะต้องนุ่ง
จังหวดั นราธวิ าส และจงั หวัดสงขลา เพ่อื เชิญชวนนกั เรยี น โจงกระเบนสีแดงสวมเส้ือขาว เนื่องจากเป็นกฎระเบียบ
นักศกึ ษา ทม่ี ีความสนใจหรอื มีพน้ื ฐานดา้ นนาฏศิลปเ์ ข้ารว่ ม ข้อบังคับท่ีได้รับอิทธิพลมาจากการฝึกหัดนาฏศิลป์ภายใน
โครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้ ซงึ่ จะมนี ักเรยี น นกั ศึกษา วังสวนกุหลาบ โดยอาจารย์ลมุล ยมะคุป ข้าหลวง
ส่วนหน่ึงที่เป็นโขนรุ่นพ่ี เข้าร่วมในโครงการเพื่อช่วยคุณครู ในวังสวนกุหลาบเป็นผู้ก�ำหนดข้ึนเม่ือปี พ.ศ. ๒๔๗๗
ผู้ฝึกซ้อมและเป็นพ่ีเลี้ยงให้กับน้อง ๆ และส่วนหน่ึงเป็น เนอ่ื งจากมรี าคาไมแ่ พง และสามารถควบคมุ ผฝู้ กึ หดั ใหเ้ ปน็
นักเรียนท่ีไม่เคยผ่านการฝึกโขนมาก่อน ในการคัดเลือก หมวดหมู่ได้อย่างง่าย เม่ือคัดเลือกผู้แสดงได้แล้วจะเร่ิม
นักแสดงจึงค�ำนึงถึงตอนที่จะใช้แสดงในแต่ละปีเป็นหลัก ฝึกหัดโขนขน้ั พื้นฐาน ดังน้ี
โครงการโขนเยาวชนชายแดนใต้ ไดด้ �ำเนนิ การอยา่ งตอ่ เนอื่ ง - การนง่ั เปน็ การหดั โดยนงั่ พบั เพยี บ เอวและไหล่
ต้ังแต่ปี ๒๕๕๘ ท�ำให้มีการปรับเปล่ียนหมุนเวียนและ ตึงแลดูสง่างาม มีการดัดปลายน้ิวและช่วงแขนให้งอนงาม
รับนักเรยี นเข้าร่วมโครงการเป็นประจ�ำทกุ ๆ ปี เนอ่ื งจาก ตวั พระ ตวั ยกั ษแ์ ละตวั ลงิ จะหดั นงั่ พบั เพยี บและแบะเขา่ ออก
นักเรียนในโครงการที่จบการศึกษาจากสถานศึกษา ต่างจากตัวนางที่หัดนั่งพับเพียบ หนีบหน้าขาซ้อนทับกัน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ย้ายไปศึกษาต่อในจังหวัดอ่ืน ลดหลั่นกันไป รวมท้ังมีการดัดร่างกาย แขนขาในกิริยา
ท่าทางต่าง ๆ เช่น ดัดแขนและข้อมือ ดัดหลัง การเดิน
การยา่ งก้าวและการยกเทา้ เป็นต้น

16

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

การสาธติ ฝึกหัดโขนประกอบการบรรยายใหค้ วามรู้กอ่ นดูโขน ในการแสดงโขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ�ปี ๒๕๖๒

- การฝกึ รำ� และทอ่ งจำ� จงั หวะ ภายหลงั จากผแู้ สดงฝกึ หดั ขน้ั พนื้ ฐานแลว้ จะเปน็ การฝกึ หดั ใหท้ อ่ งจงั หวะและฝกึ ร�ำ
หน้าทับประกอบเพลงช้าและเพลงเร็ว ฝึกให้ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง หัดร�ำแม่บทและแม่ท่า ร�ำตีบทหรือร�ำ
ตามบท ร�ำหน้าพาทย์ ร�ำอาวุธและร�ำเบ็ดเตล็ด ซ่ึงถือเป็นส่ิงส�ำคัญในการหัดให้ผู้แสดงฝึกหัดใช้โสตประสาทของตนเอง
ใหเ้ รยี นรจู้ กั จงั หวะไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ งและมคี วามงดงามตามแบบฉบบั ของภาษานาฏศลิ ป์ นอกจากนนั้ ยงั มกี ารฝกึ ทา่ ร�ำตวั ยกั ษแ์ ละ
ตัวลงิ อกี ด้วย โดยเฉพาะการฝึกแม่ทา่ ของตัวลิง มกี ารฝึกดว้ ยกันทั้งหมด ๗ แมท่ า่ และตวั ยกั ษ์ ๖ แมท่ ่า ซงึ่ แมท่ ่าดงั กล่าว
เปน็ แมท่ ่าส�ำคัญทต่ี วั ลงิ และตวั ยกั ษ์จะใช้ตอนออกกราวนอก หรอื ใชใ้ นการแสดงในโอกาสต่าง ๆ นอกจากแมท่ า่ ทส่ี �ำคัญแลว้
ตัวลงิ จะฝกึ ทา่ มองในท่าเสยี้ ว ท่าควา้ ทา่ ขู่ ทา่ หย่อง ทา่ เกา ซง่ึ แยกออกเป็นท่าเกาตา่ ง ๆ อกี เป็นจ�ำนวนมากเช่น เกาคาง
เกาหวั เข่า เกาเอว จบั หมัด ดมแมลง เป็นตน้ ตัวยักษ์จะฝกึ ท่ารบหนงึ่ หรือท่าจับ ท่ารบสองหรอื เรียกกนั ในวงการนาฏศลิ ปว์ า่
“สามทีไขว”้ ทา่ หกกัด ท่าหกฉกี -หกฉีกตอ่ เนือ่ ง และท่าขนึ้ ลอยหรือท่าลอยระหวา่ งตวั ลิงและตัวพระ

การแสดงโขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ�ปี ๒๕๖๒

17

เปยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

การฝกึ หดั เบื้องตน้

การฝกึ หดั เบอ้ื งตน้ หมายถงึ ทา่ ปฏบิ ตั เิ บอื้ งตน้ ของผทู้ จี่ ะฝกึ หดั โขนทกุ ประเภท เพอื่ เตรยี มรา่ งกายใหเ้ กดิ ความพรอ้ ม
ในการฝึกหัดขั้นต่อไป ในการปฏิบัติการฝึกหัดเบ้ืองต้นนั้นมีแบบแผนและวิธีฝึกหัดอันเป็นศิลปะท่ีประณีตและมีหลักวิชา
โดยเฉพาะท้ังในเรื่องของจังหวะ การเคลื่อนไหวอวัยวะ และการสร้างร่างกายให้แข็งแรง การฝึกหัดเบ้ืองต้นเริ่มมีมาตั้งแต่
การฝกึ หดั โขนและละครหลวง ซงึ่ มหี ลกั การฝกึ หัดคลา้ ยคลึงกัน จะแตกตา่ งกนั ท่ีวธิ ฝี กึ หดั ลลี าท่าทางท่แี บง่ เปน็ ฝา่ ยพระ
นาง ยักษ์ และลิง ในการฝกึ หัดโขนเบ้ืองตน้ มวี ิธีการปฏบิ ตั ิการฝกึ หัดเบอื้ งต้น ประกอบด้วย ตบเขา่ ถองสะเอว เต้นเสา
ถีบเหลยี่ ม ฉกี ขาและหกคะเมน

๑) ตบเขา่ ๒) ถองสะเอว
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนเริ่มรู้จักจังหวะของดนตรี เปน็ การฝกึ ใหผ้ เู้ รยี นเรมิ่ รวู้ ธิ ยี กั เยอื้ งล�ำตวั ยกั คอ
การแยกประสาทและเคยชนิ ไปตงั้ แตเ่ รม่ิ ฝกึ หดั จะแบง่ ออกเปน็ ยกั ไหลแ่ ละใบหนา้ ไดค้ ลอ่ งแคลว่ เพอ่ื อวยั วะรา่ งกายตอนบน
๒ ลักษณะ คือ แบบปิดจงั หวะ และแบบเปดิ จงั หวะ โดยจะ จะไดอ้ อ่ นไหวไดต้ ามตอ้ งการ
ให้ผู้เรียนฟงั จากการเคาะจังหวะของครผู ฝู้ ึกซ้อม

การฝกึ หดั เบอ้ื งต้นลำ�ดับที่ ๑ ทา่ ตบเข่า สาธิตการถองสะเอว ประกอบการบรรยายใหค้ วามรกู้ ่อนดูโขน
โขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ�ปี ๒๕๕๙ ในการแสดงโขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ�ปี ๒๕๖๒

18

ปเยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

๓) เตน้ เสา
เป็นการฝึกส่วนเท้าและขาของผู้เรียน ให้รู้จักใช้อวัยวะท่อนล่างให้คงท่ี นอกจากซ้อมก�ำลังให้อยู่ตัวเพื่อมิให้
เหน็ดเหนื่อยเม่ือแสดงจริง ยังเป็นการช่วยฝึกหัดให้ผู้เรียนกระทืบฝ่าเท้าทุกส่วนลงกับพื้นโดยพร้อมและมีน�้ำหนักเท่ากัน
และฝึกการเต้นให้สม�่ำเสมอกัน

สาธิตการเต้นเสา ประกอบการบรรยายให้ความรู้ก่อนดูโขน ในการแสดงโขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ�ปี ๒๕๖๒

๔) ถีบเหล่ยี ม ๖) หกคะเมน
เป็นการดัดสัดส่วนขา บังคับและควบคุมอวัยวะ ใชส้ �ำหรบั นักเรียนทฝี่ กึ หัดเป็นตวั ลิง เปน็ การฝกึ
ร่างกายให้อยู่ในท่าท่ีต้องการ ส�ำหรับผู้ที่ฝึกหัด ตัวยักษ์ การใช้อวัยวะร่างกายให้มีความเคลื่อนไหวพลิกแพลง
และตัวลงิ ต้องยอ่ ให้ได้เหล่ียมตรง ส่วนผ้ทู ่ฝี กึ หดั เป็นพระ ไดค้ ลอ่ งแคลว่ วอ่ งไว ซง่ึ มที า่ ฝกึ หดั ทเี่ ปน็ พน้ื ฐานทม่ี ชี อ่ื เรยี ก
จะยอ่ โดยตงั้ สน้ เทา้ กรอมเขา้ หากนั นดิ หนอ่ ย เมอ่ื ถบี เหลย่ี ม ดังนี้ หกคะเมนไปข้างหลัง เรียกว่า “ตีลังกาหกม้วน”
เสร็จเรียบร้อยแล้วครูจะให้ผู้เรียนสลัดแข้งสลัดขา หกคะเมนไปข้างหน้า เรียกวา่ “อันธพา” หกคะเมนหมุนไป
ของตนเองเพอ่ื บรรเทาความเจ็บปวด ด้านข้าง เรยี กวา่ “พาสุริน”

๕) ฉีกขา หลงั จากผเู้ รยี นไดฝ้ กึ หดั โขนเบอื้ งตน้ แลว้ กจ็ ะแยก
ใช้ส�ำหรับนักเรียนที่ฝึกหัดเป็นตัวลิงโดยเฉพาะ ฝกึ ทา่ ร�ำเบอื้ งตน้ ของตวั ละคร ไดแ้ ก่ ตวั โขนพระ และละครนาง
วิธีฉีกขาจะช่วยให้สามารถใช้ล�ำขาได้ตามต้องการ จะตอ่ ทา่ ร�ำเพลงชา้ และเพลงเรว็ ตวั ยกั ษแ์ ละตวั ลงิ จะฝกึ หดั
เม่ือจ�ำเป็นต้องมีการหกคะเมนตีลังกาในท่าโลดโผน แม่ท่า ออกกราว ร�ำหน้าพาทย์ ร�ำตีบทหรือร�ำตามบท
ก็สามารถท�ำได้โดยไม่ต้องกังวลเร่ืองการเจ็บปวดของ ฝึกหัดทา่ รบ การขึ้นลอย เปน็ ตน้
กลา้ มเนอ้ื


19

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔ ฉากประกอบการแสดงผลงาน
โขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ�ปี ๒๕๖๒
การคัดเลือกตวั ผู้แสดงโขน

ผู้ทีเ่ รยี น ตวั พระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตวั ลงิ นนั้
เมอ่ื ฝกึ หดั ไปแลว้ ครกู จ็ ะสงั เกตพจิ ารณาทา่ ทหี นว่ ยกา้ นของ
ผเู้ รยี น แลว้ คดั เลอื กอกี ชน้ั หนงึ่ เชน่ ผฝู้ กึ หดั ตวั พระ กค็ ดั ให้
เปน็ พระใหญ่ หรอื พระนอ้ ย ผูฝ้ ึกหดั ตัวนางก็คัดเป็นนางเอก
นางรอง หรอื นางก�ำนลั ผฝู้ กึ หดั ตวั ยกั ษ์ กค็ ดั ใหเ้ ปน็ ยกั ษใ์ หญ่
ยักษน์ ้อย ยกั ษ์ตา่ งเมอื ง หรือเสนายกั ษ์ ส่วนผู้ฝึกหดั ตวั ลิง
ก็จะคดั ให้เปน็ พญาวานร สบิ แปดมงกุฎ หรอื เขนลิง เปน็ ต้น
โดยจะมีการเลือกตัวผู้แสดงตามบทโขนที่จะแสดง อาทิ
ในปี ๒๕๕๘ การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรต์ิ ตอน
“ศึกพรหมาศ” หลังจากคัดเลือกผู้เรียนตามตัวละครแล้ว
จะด�ำเนนิ การฝึกปฏบิ ตั โิ ขนโดยแยกตามตัวละครน้นั ๆ

การจัดท�ำฉากและอปุ กรณ์ประกอบฉาก

ฉากเป็นสิ่งท่ีท�ำให้บทแสดงมีความสวยงาม
น่าสนใจ และท�ำให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงได้ง่ายข้ึน ซึ่งใน
การสร้างสรรค์ฉาก จะมีการน�ำศิลปะด้านสถาปัตยกรรม
จติ กรรมหรอื ประตมิ ากรรมมามสี ว่ นเกยี่ วขอ้ งในการสรา้ งฉาก
ท�ำให้ฉากมีความโดดเด่น สมบูรณ์ สวยงาม มีกระบวนการ
ในการจัดท�ำฉาก ดังนี้ ๑) ก�ำหนดจ�ำนวนฉากท่ีต้องใช้
ประกอบการแสดง ๒) ร่างภาพ โดยสร้างภาพต้นแบบ
๓) การลงมอื สรา้ งและการลงสฉี าก ๔) การประกอบฉากจรงิ
๕) การแสดงจริง ๖) การรอ้ื ถอนและเก็บรักษา เมอื่ สนิ้ สุด
การแสดง ในการจัดท�ำฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก
จะมกี ารเปลยี่ นฉากตามเนอื้ เรอื่ งของการแสดง การเปลยี่ น
ฉากต้องท�ำอย่างรวดเร็ว และมีการใช้ควันและระบบแสง
(Lighting) โดยการปรับแสงให้มืดและสว่างในช่วง
การแสดงท่ีต้องการช่วยเสริมให้ตัวละครดูสวยงามและ
ชว่ ยสรา้ งอารมณ์ร่วมระหวา่ งการเเสดง
20

ปเยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

เคร่ืองแตง่ กายนกั แสดง

โขน การแสดงนาฏกรรมทเี่ ปน็ แหลง่ รวมศลิ ปะหลายแขนง โดยมเี ครอ่ื งแตง่ กายเปน็ สว่ นประกอบทสี่ �ำคญั อยา่ งหนง่ึ
ทท่ี �ำให้การแสดงมีความวจิ ติ รอลังการ กอ่ ใหเ้ กิดความตื่นตา ประทับใจ อกี ท้ังยงั เป็นเคร่อื งแสดงฐานะ แสดงลักษณะ ท�ำให้
ผู้ชมเห็นคุณลักษณะของตัวละครในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรต์ิได้เด่นชัดขึ้น เครื่องแต่งกายนักแสดงผู้จัดจะเตรียม
เครอ่ื งแต่งกายใหเ้ หมาะสมกบั เนอ้ื เรอ่ื งในแตล่ ะตอน ในการแตง่ กายผูแ้ สดงโขน มขี ั้นตอนการแต่งกายยนื เครอ่ื งผแู้ สดงโขน
ไมว่ ่าจะเปน็ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยกั ษ์ และตวั ลงิ มขี ัน้ ตอนส�ำคญั ๒ ขน้ั ตอน คอื
๑) การเตรียมความพร้อมของผู้แต่ง ผู้แต่งตัวผู้แสดงจะต้องเตรียมอุปกรณ์การแต่งกายยืนเคร่ืองโขนให้พร้อม
และครบทุกช้ินส่วน อีกท้ังต้องเตรียมอุปกรณ์การแต่งกายยืนเคร่ืองโขน ได้แก่ ด้ายเย็บผ้า เข็มเย็บผ้า มีด กรรไกร
และผ้ารัดเอว ท�ำด้วยผ้าดบิ ใหพ้ รอ้ ม
๒) การเตรียมความพร้อมส�ำหรับผู้แสดง ก่อนการแต่งกายผู้แสดงต้องท�ำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย เพราะเม่ือ
แตง่ เครอ่ื งโขนแลว้ จะไมส่ ะดวกในการเขา้ หอ้ งนำ�้ สง่ิ ทผ่ี แู้ สดงจะตอ้ งเตรยี มพรอ้ มมากอ่ น คอื ตอ้ งสวมเสอื้ ตวั ใน และกางเกง
ขาส้นั ช่วยป้องกนั ไมใ่ หเ้ กดิ อาการระคายเคอื งผวิ ทตี่ ้องสัมผัสกบั เคร่ืองแตง่ กายโขน

การแต่งกายนกั แสดงในการแสดงผลงานโขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ�ปี ๒๕๖๒

21

ปเยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

การฝกึ ซ้อม

การฝึกซ้อมโขนให้กับเยาวชน เยาวชนที่เข้าร่วม
การฝึกซ้อมเป็นเยาวชนจากสถานศึกษาระดับประถม มัธยม
และอุดมศึกษา ในพื้นท่ีจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัด
นราธิวาส และจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่เยาวชนเหล่าน้ี
ไม่มีพ้ืนฐานในการแสดงโขนมาก่อน แต่มีความสนใจที่จะเป็น
นักแสดงโขน การฝึกซ้อมจึงมีความจ�ำเป็นที่ต้องจัดการฝึก
ปฏบิ ตั อิ ยา่ งเขม้ ขน้ โดยไดร้ บั การฝกึ ซอ้ มจากคณะอาจารยจ์ าก
วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง ซ่ึงเป็นสถานศึกษาในสังกัดสถาบัน
บณั ฑติ พฒั นศลิ ป์ กระทรวงวฒั นธรรม เปน็ ผดู้ �ำเนนิ การถา่ ยทอด
ฝกึ ซอ้ มและจดั การแสดงโขนใหก้ บั เยาวชน โดยจะแยกฝกึ ซอ้ ม
เป็นกลมุ่ ตามเนอื้ เรอื่ งทจ่ี ะแสดงในปีนนั้ ๆ อาทิ ฝ่ายพลับพลา
ฝา่ ยลงกา ฝ่ายเทวดา พระ และนาง เปน็ ต้น
22

ปเยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

การแยกฝึกซอ้ มเปน็ กล่มุ โขนเยาวชนชายแดนใต้ ประจำ�ปี ๒๕๕๙

23

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

การแสดงผลงานโขนเยาวชนชายแดนใต้

การแสดงผลงานโขนเยาวชนชายแดนใต้ จัดขึ้นเพ่ือเป็นการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จัดการแสดงในห้วงเดือนสิงหาคม โดยจัดแสดง จ�ำนวน ๒ รอบ รอบเช้า
ในเวลา ๐๙.๓๐ น. และรอบบา่ ยเวลา ๑๓.๓๐ น. ณ หอประชมุ ชเู กยี รติ ส�ำนกั งานอธกิ ารบดี มหาวทิ ยาลยั สงขลานครนิ ทร์
วิทยาเขตปัตตานี อ�ำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ทั้งนี้ส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ได้จัดการแสดงโขน
เยาวชนชายแดนใตม้ าแลว้ จ�ำนวน ๕ ครง้ั ดังน้ี
ประจ�ำปี ๒๕๕๘ ตอน “ศกึ พรหมาศ”
จัดแสดง วนั ที่ ๑๘ สงิ หาคม ๒๕๕๘
ประจ�ำปี ๒๕๕๙ ตอน “นางลอย”
จดั แสดง วันท่ี ๗ กนั ยายน ๒๕๕๙
ประจ�ำปี ๒๕๖๐ ตอน “ท้าวมาลีวราชว่าความ”
จัดแสดง วันท่ี ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ตอน “สามอสรุ าค่ังแค้น อบุ ายแผนทศพกั ตร์ หริรกั ษไ์ ดพ้ ล ผจญอรินทร์พ่าย”
จัดแสดง วันท่ี ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑
ประจ�ำปี ๒๕๖๒ ตอน “อสุรนิ ทรส์ ้ินชวี า พระรามาครองเมอื ง”
จัดแสดง วันที่ ๑๐ กนั ยายน ๒๕๖๒
24

ควสามว่ รนกู้ ท่อน่ี ด๒ูโขน

25

26 พระราม

ปเยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

ความรกู้ อ่ นดูโขน

ความเปน็ มาของโขน

โขน เป็นมหรสพประจ�ำชาติท่ีมีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงท่ีมีระเบียบแบบแผนซึ่งบรรพชนไทยได้
สรา้ งสรรคแ์ ละสบื ทอดมาจนปจั จบุ นั องคป์ ระกอบตา่ ง ๆ ในการแสดงโขน ตง้ั แตก่ ารฝกึ หดั จนถงึ การออกแสดงลว้ นเกย่ี วเนอื่ ง
ด้วยขนบจารีตประเพณี พิธีกรรมอันลึกซ้ึงและศักด์ิสิทธิ์ โขนเป็นมหรสพหลวงที่แสดงในพระราชพิธีส�ำคัญมาแต่ครั้ง
กรุงศรีอยุธยา การแสดงโขนนับเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ พระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณ
ทีพ่ ระมหากษตั รยิ ์ทรงอปุ ถัมภม์ หรสพโขน ถือเปน็ ปจั จยั ส�ำคัญท่ที �ำให้นาฏศิลปแ์ ขนงน้ีรุ่งเรืองและยั่งยนื สืบมาถงึ ทกุ วันนี้
การแสดงโขน สนั นษิ ฐานว่านา่ จะเกดิ จากศลิ ปะหลายแขนง ทงั้ ระบ�ำ ร�ำ เต้น หนัง เลน่ ดึกด�ำบรรพ์ ดังน้ี
ระบ�ำ ร�ำ เป็นศิลปะการแสดงท่าทางซึ่งส่ือถึงภาวะทางอารมณ์ของมนุษย์ ทั้งแสดงเด่ียวและแสดงเป็นหมู่
เน้นความสวยงามเรียกว่า ระบ�ำ ส่วนการร�ำเป็นเร่ืองราวเรียกว่า ละคร เต้น เป็นศิลปะการยกขาข้ึนลงให้เป็นจังหวะ
ถอื เปน็ หลกั ของการแสดงโขน กระบกี่ ระบอง คอื ศลิ ปะการฝกึ อาวธุ เพอื่ ปอ้ งกนั ตวั หรอื ไวต้ อ่ สกู้ บั ขา้ ศกึ ศลิ ปะการเตน้ และกระบ่ี
กระบองท�ำใหก้ ารแสดงโขนมีลกั ษณะเขม้ แข็งและสงา่ งาม
หนงั หรอื หนังใหญ่ เปน็ มหรสพโบราณซึ่งมีมาตั้งแตส่ มยั กรงุ ศรีอยธุ ยา มขี นบจารีตและพธิ ีกรรมหลายอยา่ งทใี่ กล้
เคียงกับโขน เช่น เล่นเรื่อง “รามเกียรต์ิ” มีวงปี่พาทย์เคร่ืองห้าบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดง มีคนพากย์และ
บทพากยเ์ จรจา บทพากยจ์ ะตอ้ งแตง่ เปน็ “ค�ำฉนั ท”์ และ “กาพย”์ เชน่ เดยี วกบั บทพากยโ์ ขน โขนไดน้ �ำขนบการพากย์ เจรจา
เพลงหนา้ พาทย์มาจากการเล่นหนัง รวมถงึ ท่าเตน้ บางอยา่ งมาจากคนเชิดหนงั
การเล่นดึกด�ำบรรพ์ หรือ ชักนาคดึกด�ำบรรพ์ คือการเล่นแสดงต�ำนานการกวนน้�ำอมฤตหรือกวนเกษียรสมุทร
ปรากฏหลักฐานในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่กล่าวถึงพระราชพิธีอินทราภิเษกว่ามีการเล่นดึกด�ำบรรพ์
โดยให้ผู้เล่นแต่งกายเป็นสุครีพ พาลี ท้าวมหาชมพู วานรบริวาร อสูร เทวดา เป็นต้น สมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ
ทรงสันนิษฐานว่า กรมโขนน่าจะเกิดข้ึนจากการเล่นชักนาคดึกด�ำบรรพ์ในพระราชพิธีอินทราภิเษกน้ีเอง โดยน�ำมหาดเล็ก
มาฝกึ หดั โขนเพอ่ื แสดงต�ำนานโบราณเชน่ เดยี วกบั ต�ำนานกวนเกษยี รสมทุ ร การฝกึ หดั โขนนนั้ ท�ำใหช้ ายหนมุ่ คลอ่ งแคลว่ วอ่ งไว
ในกระบวนรบ ซง่ึ เปน็ ประโยชน์ในการต่อส้ขู า้ ศึก โขนได้รับอิทธิพลการแต่งตัวบางอย่างมาจากการเล่นดึกด�ำบรรพ์
กระบี่กระบอง คือศิลปะการฝึกอาวุธเพ่ือป้องกันตัวหรือไว้ต่อสู้กับข้าศึก เป็นวิชาที่ต้องฝึกหัดเพ่ือให้ใช้อาวุธ
ได้อย่างคล่องแคล่ว โขน ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการต่อสู้และศิลปะการร�ำเพลงอาวุธท่าการต่อสู้ ของการเล่นกระบี่
กระบอง มาใช้ในการแสดงโขนในกระบวนการตรวจพลของตัวละครในเรื่องตลอดจนการรบกันระหวา่ งยักษ์กับมนุษย์ หรือ
ลิงในการแสดงโขน

27

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

ผู้แสดงโขนแต่โบราณเป็นชายล้วน ท้ังพระ นาง ยักษ์ และลิง นักแสดงจะต้องสวม “หน้าโขน” หรือ “หัวโขน”
ยกเวน้ ผแู้ สดงเปน็ ตวั นาง เรอ่ื งทแ่ี สดงเกยี่ วขอ้ งกบั พระผเู้ ปน็ เจา้ เปน็ เรอื่ งศกั ดสิ์ ทิ ธิ์ ดงั้ นน้ั ผสู้ วมบทบาทตา่ ง ๆ จงึ ตอ้ งแสดง
ด้วยความเคารพ

การจำ� แนกประเภทโขน ต่อมามีการเจาะผ้าดิบ ๒ ข้างจอเป็นช่องประตูออก
แลว้ ท�ำซมุ้ ทั้ง ๒ ด้าน ด้านซา้ ยเปน็ ภาพกรุงลงกา ด้านขวา
โขนจ�ำแนกออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ เขียนเป็นฝ่ายพลับพลา มีรูปเมขลารามสูรเหาะล่อแก้ว
โขนกลางแปลง โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว โขนหน้าจอ และมีพระจันทร์พระอาทิตย์อยู่ข้างบน โขนหน้าจอเป็น
โขนโรงในและโขนฉาก ววิ ฒั นาการอยา่ งหนง่ึ ของนาฏศลิ ปโ์ ขนทแ่ี สดงถงึ การประสม
โขนกลางแปลง คือการเลน่ โขนบนพน้ื ดินบรเิ วณ ประสานกลมกลืนกับการเล่นหนัง มีเพียงบทพากย์เจรจา
ลานกว้างหรือกลางสนาม ตกแต่งภูมิทัศน์และธรรมชาติ ไมม่ บี ทร้อง
โดยรอบขนึ้ เปน็ ฉาก ไมต่ อ้ งปลกู สรา้ งโรง มกี ารพากยเ์ จรจา โขนโรงใน ต้องปลูกสร้างโรงหรือมีเวทีส�ำหรับ
การแสดงโขนกลางแปลงโดยสว่ นใหญจ่ ะเนน้ แสดงการตอ่ สู้ การแสดง เปน็ การประสมประสานโขนและละครในเขา้ ดว้ ยกนั
และรบกนั เปน็ พื้น มีการพากย์การเจรจาอย่างโขน และมีคนร้องต้นเสียง
โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว เป็นการเลน่ บนโรง กบั ลูกคู่อย่างละครใน แสดงบนโรงและมฉี ากหลังเป็นม่าน
ไมม่ เี ตียงส�ำหรับนง่ั แตจ่ ะท�ำราวไม้ไผพ่ าดตามยาวของโรง อยา่ งละครใน
ส�ำหรบั เปน็ ทต่ี งั้ โขนนงั่ ตรงหนา้ ฉาก มชี อ่ งวา่ งใหผ้ แู้ สดงเดนิ โขนฉาก เปน็ การแสดงบนโรงหรอื เวที มกี ารสรา้ ง
ไดร้ อบราว เมอื่ ตวั โขนแสดงบทบาทของตนแลว้ ตอ้ งกลบั ไป ฉากประกอบการแสดงข้ึนบนเวทีจัดฉากให้เปล่ียนไปตาม
น่ังประจ�ำท่ีบนราว เสมือนเป็นที่น่ังประจ�ำต�ำแหน่ง มีแต่ ท้องเรอ่ื งท่แี สดง แต่วธิ แี สดงเป็นแบบโขนโรงใน วิธแี สดง
การพากย์เจรจา ไม่มีบทขบั ร้อง แบง่ เปน็ ฉาก ๆ ท�ำนองเดยี วกับละครดกึ ด�ำบรรพ์
โขนหน้าจอ “จอ” ในที่น้ีหมายถึงจอผ้าขาว
มีระบายรอบ ท�ำด้วยผ้าดิบ ส�ำหรับใช้ในการเล่นหนังใหญ่

ลกั ษณะทโ่ี ขนไดร้ บั อทิ ธิพลจากละครใน ระยะตอ่ มาคือ ผ้แู สดงตัวพระและตวั นางเปดิ หน้ากาก โดยสวมมงกุฎและ
ชฎาอย่างละครใน แต่โขนก็ยงั คงรักษาแบบแผนเดิมไว้ คือผแู้ สดงไม่พดู เองร้องเอง ยงั คงให้คนรอ้ ง คนพากยเ์ จรจาเปน็ ผทู้ �ำ
หนา้ ทพ่ี ดู และรอ้ งแทนจนถงึ ปจั จบุ นั เวน้ แตต่ วั ประกอบทเ่ี รยี กวา่ “ตวั ตลก” จะมอี สิ ระในการแสดงสามารถพดู ด�ำเนนิ เรอ่ื งได้
ดว้ ยตวั เอง ลักษณะพเิ ศษอีกประการหนึง่ ของการแสดงโขน คือ เร่อื งทใ่ี ชใ้ นการแสดงโขนมีเพยี งเรือ่ งเดียว “รามเกียรติ์”

28

เปยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

เรอ่ื งย่อ รามเกียรติ์

รามเกียรต์ิ แปลวา่ เกยี รตขิ องพระราม ชาวอินเดยี เช่อื กนั มาแตโ่ บราณว่า พระรามคอื ปางหนงึ่ ของพระนารายณ์
อวตาร เร่อื งพระรามเป็นนทิ านเก่าแก่ทีเ่ ลา่ สืบกนั มาแตส่ มัยกอ่ นพทุ ธกาล เปน็ ที่รจู้ ักแพร่หลายในอินเดยี ตอ่ มาฤาษวี าลมกิ ิ
น�ำมาแตง่ เปน็ มหากาพยร์ ามายณะ ซึง่ ต่อมาไดร้ บั ความนยิ มแพร่ไปยงั ดนิ แดนเอเซยี ตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตา่ ง ๆ เชน่
อินโดนเี ซีย มาเลเซีย พมา่ ลาว กมั พูชา และไทย ตา่ งรับรเู้ ร่อื งราวของพระรามและน�ำไปสร้างสรรค์วรรณกรรมของแต่ละ
ทอ้ งถนิ่ ซงึ่ ยอ่ มปรบั เปลยี่ นเนอ้ื หาและบคุ ลกิ ภาพของตวั ละคร ทง้ั โครงเรอื่ งใหส้ อดคลอ้ งกลมกลนื กบั คตคิ วามเชอื่ วถิ ชี วี ติ และ
ค่านยิ มของแต่ละสังคม เรือ่ งรามเกยี รต์ิในแตล่ ะทอ้ งถนิ่ จึงมีเน้ือหาแตกตา่ งไปจากรามายณะฉบบั ของวาลมกิ ิ

พระลักษมณ์ - พระราม ทศกัณฐ์
29

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

นนทุก เป็นยักษ์ตนหน่ึงอยู่บนสวรรค์มีหน้าท่ี
ล้างเท้าเทวดาท่ีมาเฝ้าพระอิศวร นนทุก ถูกเทวดาแกล้ง
จงึ ไปทลู ขอนว้ิ เพชรจากพระอศิ วร เมอื่ ไดร้ บั แลว้ กใ็ ชน้ วิ้ เพชร
ช้ีเทวดาล้มตายเป็นจ�ำนวนมาก พระนารายณ์จึงแปลงเป็น
นางเทพอปั สรมาปราบนนทุก ก่อนนนทุกตาย พระนารายณ์
สาปให้ไปเกิดเป็นยักษ์สิบหน้ายี่สิบมือ นนทุกจึงมาเกิดเป็น
ทศกัณฐ์ และพระนารายณ์อวตารมาเกิดเป็นพระราม
พระโอรสของทา้ วทศรถแห่งกรุงศรอี ยุธยา

ทศกัณฐ์ - นางสดี า จากน้ันกล่าวถึงก�ำเนิดพ่ีน้องของทศกัณฐ์ เช่น
กมุ ภกรรณ พเิ ภก วานรพงค์ เชน่ พาลี สคุ รพี หนุมาน และ
การน�ำเรื่องพระรามมาประพันธ์เป็นวรรณคดีไทย อยธุ ยาพงค์ เชน่ พระราม พระพรต พระลกั ษมณ์ พระสตั รดุ
รู้จักกันดีในช่ือว่า “รามเกียรติ์” มีหลักฐานตั้งแต่สมัย ส่วนนางสีดาเป็นพระลักษมีแบ่งภาคลงมาเกิดเป็นลูกของ
กรุงศรีอยุธยา และมีจ�ำนวนมากถึง ๑๐ ส�ำนวน อาทิ ทศกัณฐ์และนางมณโฑ โหรท�ำนายว่านางสีดาเป็นกาลกิณี
ค�ำพากยร์ ามเกียรติ์ บทละครเรอ่ื งรามเกยี รติส์ �ำนวนต่าง ๆ ทศกณั ฐจ์ ึงน�ำนางสดี าใสผ่ อบลอยน้ำ� ท้าวชนกพบเขา้ จึงน�ำ
โคลงเรื่องรามเกียรต์ิ รามเกียรต์ิบทร้องและบทพากย์ ไปเลย้ี งเปน็ ลกู นางสดี าเจรญิ วยั จนสมควรมคี คู่ รอง ทา้ วชนก
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงจัดพิธีเลือกคู่ พระรามเป็นผู้ยกศรมหาธนูโมลี
เป็นต้น รามเกียรต์ิบางส�ำนวนเลือกแต่งเฉพาะตอน ในพิธีเลอื กคู่ส�ำเรจ็ พระรามจงึ ไดอ้ ภเิ ษกกบั นางสดี า
บางส�ำนวนด�ำเนนิ เรอ่ื งตงั้ แตต่ น้ จนจบบรบิ รู ณ์ เชน่ บทละคร ต่อมา ท้าวทศรถจะมอบราชสมบัติให้พระราม
รามเกยี รต์ิ พระราชนพิ นธใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ แต่นางไกยเกษีทวงสัญญากับท้าวทศรถว่าจะให้พระพรต
จฬุ าโลกมหาราช เนอ้ื หาโดยยอ่ ดงั น้ี โอรสทเ่ี กดิ จากนางไดร้ าชสมบตั ิ พระรามจงึ ตอ้ งออกเดนิ ปา่
ยักษ์ตนหน่ึงช่ือ หิรันตยักษ์ บ�ำเพ็ญตบะขอพร เปน็ เวลา ๑๔ ปี โดยมนี างสีดาและพระลักษมณต์ ิดตามไป
พระอิศวรอยู่บนยอดเขาจักรวาล เม่ือได้รับพรแล้วก็ก�ำเริบ ระหวา่ งการเดนิ ปา่ นางส�ำมนกั ขาผเู้ ปน็ นอ้ งสาวของทศกณั ฐ์
ม้วนแผ่นดิน พระนารายณ์จึงอวตารเป็นวราหะ (หมู) เห็นพระรามก็เกิดความเสน่หา นางยุยงให้ทศกัณฐ์ไปลัก
ลงมาปราบ ต่อมาพระอิศวรมีพระบัญชาให้พระอินทร์ นางสีดามาเป็นบาทบริจาริกา ทศกัณฐ์ให้มารีศแปลงเป็น
สร้างกรุงศรีอยุธยาสืบวงศ์นารายณ์ และท้าวสหบดีพรหม กวางทองไปลวงนางสีดา นางสีดาเห็นกวางทองก็ประสงค์
สรา้ งกรุงลงกาเพอื่ สืบวงศพ์ รหม จะได้จึงอ้อนวอนให้พระรามไปตามกวาง เม่ือพระรามออก
ตามกวาง นางสดี าเกรงวา่ พระรามจะมภี ยั จงึ ใหพ้ ระลกั ษมณ์
ตามไปช่วย ทศกัณฐ์สบโอกาสลักนางไปไว้ในสวนขวัญ
กรุงลงกา

30

ปเยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

เมื่อพระราม พระลักษมณ์สังหารกวางแปลงแล้ว เบญกาย - หนุมาน
กลบั มาไมพ่ บนางสดี ากอ็ อกตามหา ไดท้ ราบขา่ วจากพญานก พระราม
สดายวุ า่ ทศกณั ฐล์ กั นางไปไวท้ ก่ี รงุ ลงกา พระราม พระลกั ษมณ์
ไดห้ นมุ าน สคุ รพี และพลวานรมาเปน็ ก�ำลงั เตรยี มเคลอื่ นทพั
ไปท�ำสงครามยังกรุงลงกา คร้ังนั้นทศกัณฐ์ฝันร้าย พิเภก
ท�ำนายฝนั ใหค้ นื นางสดี าแกพ่ ระราม ทศกณั ฐก์ รว้ิ จงึ ขบั พิเภก
ออกจากเมือง พิเภกหนีไปสวามิภักดิ์เป็นโหรประจ�ำทัพ
พระราม
ฝ่ายทศกัณฐ์ใช้อุบายให้นางเบญกายแปลงเป็น
สีดาตายลอยน�้ำเพ่ือลวงพระราม แต่หนุมานพิสูจณ์
โดยการเผา เบญกายทนไม่ได้จึงเหาะหนี หนุมานตามไป
จับมาได้ พระรามให้หนุมานน�ำนางเบญกายกลับกรุงลงกา
จากน้ัน พระรามจึงให้ไพร่พลลิงจองถนนข้ามมหาสมุทร
ไปช่วยนางสีดาท่ีกรุงลงกา ทศกัณฐ์ให้ไมยราพขึ้นมาสะกด
ทพั จบั พระรามไปยังเมืองบาดาล หนมุ านตามไปฆา่ ไมยราพ
และพาพระรามกลับคืนสู่พลับพลา ทศกัณฐ์ให้กุมภกรรณ
ออกรบคร้ังที่ ๑ กับสุครีพ ครั้งที่ ๒ รบกับพระลักษมณ์
ศกึ ครั้งที่ ๓ กุมภกรรณตั้งพธิ ที ดน�้ำ หวงั จะให้ไพร่พลวานร
ตอ้ งอดน�้ำ พระรามให้หนุมานไปท�ำลายพิธีจนส�ำเรจ็ คร้ังนี้
กุมภกรรณต้องศรพรหมาสตร์ของพระรามถึงแก่ความตาย
ท�ำใหท้ ศกณั ฐเ์ สยี ใจและโกรธแค้นมาก
อินทรชิตผู้เป็นโอรสของทศกัณฐ์อาสาออกรบ
ศกึ อนิ ทรชติ รบอยหู่ ลายครง้ั เชน่ ศกึ พรหมาสตร์ ศกึ นาคบาศ
จนกระทั่งพระลักษมณ์แผลงศรพรหมาสตร์ต้องอินทรชิต
จนถงึ แกค่ วามตาย

พระราม พระลักษมณ์ออกรบกับทศกัณฐ์และญาติพ่ีน้องเผ่าพงศ์ของทศกัณฐ์อีกหลายคร้ัง จนท่ีสุดทศกัณฐ์ส้ินชีวิต
ด้วยศรพระราม พระรามใหพ้ เิ ภกครองกรุงลงกา ปูนบ�ำเหน็จศึกและยกพลคืนนครกรงุ ศรีอยธุ ยา

31

ปเยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

เน้ือเรื่องรามเกียรต์ิ ที่ใช้น�ำมาแสดงนาฏกรรมโขนเป็นการท�ำสงครามระหว่างมนุษย์ (หมายถึงพระราม)
ซงึ่ มไี พรพ่ ลทหารเปน็ วานร (ลงิ ) กบั ฝา่ ยยกั ษ์ (หมายถงึ ทศกณั ฐ)์ เพอื่ ชว่ งชงิ ผหู้ ญงิ อนั เปน็ ทรี่ กั (นางสดี า) ตวั แสดงทสี่ �ำคญั ๆ
จ�ำแนกออกเปน็ ๔ ประเภท คอื พระ นาง ยกั ษ์ ลงิ เปน็ ตวั แสดงทสี่ �ำคญั ในการด�ำเนนิ เรอื่ ง ซง่ึ จะเตม็ ไปดว้ ยอทิ ธฤิ ทธป์ิ าฏหิ ารยิ ์
เวทมนตรค์ าถา ฤทธานภุ าพของอาวธุ ท่ีมคี วามวเิ ศษ การเหาะเหนิ เดินอากาศและแทรกน้ำ� ด�ำดินของตัวแสดง เพ่ือสร้างให้
เรื่องราวเกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น พิสดาร แบ่งผู้แสดงเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายพลับพลา และลงกา กองทัพฝ่ายพระราม
ซ่ึงเป็นพงศ์นารายณ์อวตารกับพงศ์วานร เรียกว่า ฝ่ายพลับพลา กองทัพฝ่ายทศกัณฐ์และพวกพ้องยักษ์ ซ่ึงเป็นพงศ์อสูร
กรุงลงกา เรียกว่า ฝ่ายกรุงลงกา บุคคลต่าง ๆ ทั้งฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์ล้วนมีวงศ์ญาติและประวัติความเป็นมา
ตลอดจนความเกี่ยวข้องสมั พันธก์ ันมาแตอ่ ดตี
32

เปยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

ร้จู ักตวั ละครโขน

พระราม

(โอรสทา้ วทศรถ องคท์ ี่ ๑ และเปน็ กษตั ริย์กรุงศรอี ยธุ ยา องค์ที่ ๔)
• สีเขียวนวล มี ๑ หน้า ๒ มือ (เวลาส�ำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเปน็
๔ มอื ทรงเทพ อาวุธ คือ ตรี จักร สังข์ คทา) แตป่ กตจิ ะมีอาวธุ ประจ�ำตวั คือ
พระแสงศรหรอื ธนู มีลกู ศร ๓ เล่ม ชอื่ พระพรหมาสตร์ ประลัยวาต และอัคนวิ าต
• ทรงมงกุฎยอดชัย หรือมหามงกฎุ (ตอนทรงออกผนวช ทรงใส่ชฎาฤษ)ี
พระราม คอื พระนารายณอ์ วตารลงมาเกดิ เพอื่ ปราบ
ทศกณั ฐ์ เปน็ โอรสทา้ วทศรถกบั นางเกาสรุ ยิ า มมี เหสี ชอื่ สดี า
พระโอรส ชอื่ พระมงกฎุ เมอื่ รบั สตั ยท์ า้ วทศรถผเู้ ปน็ พระบดิ า
ออกเดินปา่ ๑๔ ปี พร้อมนางสดี า และพระลักษมณน์ ้องชาย
ต่างมารดา จนทศกัณฐ์มาลอบลักพานางสีดาไปไว้ยังกรุงลงกา
จึงได้ยกไพร่พลวานรไปท�ำศึกสังหารทศกัณฐ์ตาย รับนางสีดา
กลบั คนื ยงั กรงุ ศรอี ยธุ ยาตอ่ มาเกดิ มเี รอ่ื งเขา้ ใจกนั ผดิ พระอศิ วร
จึงทรงไกล่เกล่ียให้ท้ังสองพระองค์คืนดีกัน แล้วทรงจัดงาน
อภเิ ษกใหเ้ ปน็ คร้งั ที่สอง

33

ปเยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

พระพรต

(โอรสทา้ วทศรถ องคท์ ่ี ๒ และเปน็ พระอนชุ า องค์ท่ี ๑ ของพระราม)
• สีแดงชาด มี ๑ หน้า ๑ มอื
• ทรงชฎามนุษย์ หรอื มงกฎุ ยอดชัย
• อาวธุ ประจ�ำตัว คือ พระแสงศร หรอื ธนู

พระพรต อวตารมาจาก จกั ร เทพอาวธุ พระนารายณ์ มาเกดิ เปน็
โอรสองคท์ ี่ ๒ ของท้าวทศรถกับนางไกยเกษี เมอ่ื พระรามออกเดินปา่
เพอื่ ใหพ้ ระพรตขึน้ เปน็ กษตั รยิ ์ครองกรุงศรอี ยธุ ยา ตามค�ำที่
นางไกยเกษี ผ้เู ปน็ แม่ขอแก่ทา้ วทศรถตามสัตยส์ ญั ญาแต่
พระพรตไม่ยอม รอพระรามอยจู่ นครบ ๑๔ ปี ถา้ ไม่กลับมา
จะกระโจนเข้ากองไฟฆา่ ตวั ตาย เมอ่ื พระรามเสรจ็ ศกึ
เมืองลงกากลับมาครองบา้ นเมือง เกดิ ศึกเมอื งมลวิ นั
และศึกเมืองไกยเกษ พระรามใชใ้ ห้ไปปราบ
พรอ้ มกบั พระสัตรุด จนมชี ยั ชนะ
หลังเสร็จศกึ ไดค้ รองเมืองไกยเกษ

34

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

พระลักษมณ์

(โอรสทา้ วทศรถ องค์ที่ ๓ และเปน็ พระอนชุ า องค์ที่ ๒
ของพระราม)
• สีทอง มี ๑ หน้า ๒ มือ – อาวุธประจ�ำตัว คือ
พระแสงศร หรอื ธนู และพระขรรค์
• ทรงมงกุฎยอดชัย หรือมหามงกุฎ (ตอนทรงออก
ผนวช ใสช่ ฎาฤษี)
พระลกั ษมณ์ คอื บลั ลงั กน์ าคของพระนารายณ์ อวตาร
ลงมาเกิดเป็นโอรสองค์ที่ ๑ ของท้าวทศรถกับนางสมุทรชา
มีน้องร่วมครรภ์มารดา ช่ือพระสัตรุด และเป็นพระอนุชา
ต่างมารดาองค์ท่ี ๒ ของพระราม เม่ือพระรามออกเดินป่า
ได้ขอตามเสด็จไปด้วยเพ่ือคอยดูแล จนได้ท�ำศึกกับทศกัณฐ์
ถูกอาวุธวิเศษของยักษ์เกือบตายหลายหน แต่แก้ไขได้ทุกคร้ัง
เมื่อเสร็จศึกสังหารทศกัณฐ์ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์
ครองเมืองโรมคลั แตห่ นมุ านทลู ขอพระรามใหอ้ ยู่กรงุ ศรีอยธุ ยา
เพอื่ คอยชว่ ยเหลือพระราม

35

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

พระสตั รุด

(โอรสทา้ วทศรถ องคท์ ่ี ๔ และเป็นพระอนชุ า องค์ท่ี ๓
ของพระราม)
• สมี ่วงออ่ น มี ๑ หน้า ๒ มอื
• ทรงชฎามนุษย์ หรอื มงกุฎยอดชยั
• อาวุธประจ�ำตัว คือ พระแสงศร หรอื ธนู
พระสัตรุด อวตารมาจาก คทา เทพอาวุธ พระนารายณ์
มาเกิดเป็นโอรสองค์ที่ ๒ ของท้าวทศรถกับนางสมุทรชา
มีพ่ีร่วมครรภ์มารดา ชื่อพระลักษมณ์ และเป็นพระอนุชา
องค์ท่ี ๓ ของพระราม เม่ือเกิดศึกท้าวจักรวรรดิ
เจ้าเมืองมลิวันและศึกคนธรรพ์นุราช ตีเมืองไกยเกษ
พระรามใช้ให้ไปปราบพร้อมกับพระพรต ถูกอาวุธวิเศษ
ของยักษ์เกือบตายหลายคร้ัง แต่แก้ไขได้ จนเสร็จศึกมีชัยชนะ
ได้กลบั ไปครองเมอื งไกยเกษร่วมกบั พระพรต

36

เปยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

นางสีดา

(มเหสพี ระราม)
• มนี วลจนั ทร์ หรือสีขาวผอ่ ง มี ๑ หน้า ๒ มือ
• ทรงมงกุฎนาง
• มีโอรส ชื่อ พระมงกุฎ
นางสดี า คอื พระลกั ษมี เทพชายาพระนารายณ์
อวตารลงมาเกดิ เปน็ คพู่ ระราม เปน็ ธดิ าของทศกณั ฐก์ บั นางมณโฑ
เกิดจากการที่นางมณโฑได้กินข้าวทพิ ยค์ รึ่งป้ันท่ีนางกากนาสูรน�ำมาให้
แต่เม่ือก�ำเนิดออกมาร้องว่า “ผลาญราพณ”์ ถึง ๓ ครงั้ พเิ ภก และ
ปุโรหิตโหราจารย์ท�ำนายว่าเป็นกาลกิณี ทศกัณฐ์จึงให้น�ำไปใส่ผอบ
ลอยนำ�้ พระฤษชี นกมาพบเกบ็ ไปเลย้ี ง โดยใสผ่ อบฝงั ไวใ้ ตด้ นิ จนเมอ่ื ครบ
๑๖ ปี พระฤษีชนกเบือ่ หน่ายบ�ำเพญ็ ภาวนาใครจ่ ะกลบั ไปครองเมอื ง
มถิ ลิ า จงึ ไถนางขน้ึ มา ตง้ั ชอื่ วา่ สดี า แปลวา่ รอยไถ ตอ่ มานางไดเ้ ปน็
มเหสขี องพระราม เม่อื พระรามออกเดินปา่ ไดข้ อตดิ ตามมาปรนนิบัติ
จนถกู ทศกัณฐ์ลกั พาตวั ไปกรงุ ลงกา พระรามจึงยกไพรพ่ ลวานรตามไป
ท�ำสงครามสงั หารทศกณั ฐต์ าย แลว้ รบั นางสดี ากลบั คนื ไปกรงุ ศรอี ยธุ ยา

37

ปเยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

ตวั ละครโขนฝ่ายยกั ษ์

มาลวี ราช หรอื ทา้ วมาลวี ัคคพรหม

• สขี าว
• มี ๔ หน้า ๘ มือ
• ทรงมงกฎุ ยอดชัย
• อาวธุ ประจ�ำตวั คือ พระขรรค์
มาลีวราช เปน็ พีแ่ ห่งทา้ วจตพุ กั ตร์ รว่ มพงศ์พรหม
กบั ท้าวสหมลิวัน เปน็ อัยกาของทศกณั ฐ์ ไดเ้ ปน็ เจา้ แก่หมู่เทพ
คนธรรพใ์ นเขายอดฟ้า เม่อื เห็นพระอิศวรประทานคทาเพชร
แกอ่ สรุ พรหมและพรทไี่ มแ่ พฤ้ ทธผิ์ ใู้ ด กต็ กใจเพราะอสรุ พรหมเปน็ อนั ธพาล
จะท�ำลายโลกเสีย จึงทูลความเห็นแก่พระอิศวร พระอิศวรจึงให้พร
แกท่ ้าวมาลวี ัคคพรหม ผู้ตงั้ อย่ใู นความยุติธรรม ว่าใหเ้ ป็นผมู้ ีวาจาสทิ ธ์ิ
คือแช่งผู้ใดผู้น้ัน ย่อมวินาศตามค�ำสาป และได้ให้ช่ือใหม่ว่ามาลีวราช
ฝ่ายทศกณั ฐเ์ มอ่ื ญาตสิ นทิ มิตรสหายล้มตายในสนามรบหมดแลว้ จงึ ได้เชญิ
ท้าวมาลีวราชไปท่ลี งกา เพ่อื ใหต้ นเองเป็นโจทก์กลา่ วโทษพระรามวา่
พระรามแยง่ ชงิ นางสดี าไป จงึ เกดิ การสรู้ บ ทา้ วมาลวี ราชจงึ ประกาศ
ประชุมเทวดาแลว้ เชญิ พระรามไปแกค้ ดี พระรามก็เลา่ ความจริง
ครั้งต้งั แต่ยกศร จึงไดน้ างสดี ามาเป็นภรรยา ท้าวมาลีวราช
จงึ เชิญนางสีดามาสอบคดี นางสดี าใหป้ ากค�ำเหมือนพระราม
เหลา่ เทวดากร็ บั รองเปน็ พยานวา่ ค�ำของพระรามและนางสีดา
เป็นความจริง สดุ ท้ายทา้ วมาลีวราชจึงพิพากษาให้ทศกณั ฐส์ ง่ นางสีดา
คืนพระราม แต่ทศกัณฐไ์ มย่ อม ทา้ วมาลวี ราชจึงสาปแชง่ ทศกัณฐ์วา่ ให้ตาย
ดว้ ยอาวุธของพระราม

38

ปเยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

ทศกณั ฐ์ ทศกณั ฐ์ พญายกั ษ์ โอรสองคท์ ่ี ๑ ของทา้ วลสั เตยี น
กบั นางรชั ฎา อดตี ชาติ คอื อสรู เทพบตุ รนนทุก ที่ผกู พยาบาท
(กษัตรยิ ก์ รุงลงกา องค์ที่ ๓) พระนารายณก์ ลบั ชาตมิ าเกดิ เปน็ พญายกั ษ์ มฤี ทธอ์ิ �ำนาจมาก
• สเี ขียว (หวั โขนท�ำเป็นหน้าทอง อีกแบบหน่งึ ) นิสัยเกเร เจ้าชู้ มีมเหสี พระสนม และชายาท่ใี หก้ �ำเนดิ
• มี ๑๐ หน้า ๒๐ มือ – ทรงมงกุฎชัย ๓ ชนั้ โอรส ๑,๐๑๕ องค์ เปน็ ผทู้ �ำให้ ญาติ พี่ น้อง เผ่าพงศ์ยักษ์
• อาวุธประจ�ำตวั คือ ศร พระขรรค์ จักร หอก พบกับความพินาศ เพราะไปลอบลักนางสีดามเหสพี ระราม
ตรี คทาธร งา้ ว พะเนิน (คอ้ นใหญ)่ โตมรและเกาทัณฑ์ ซงึ่ พระนารายณอ์ วตารมาเกดิ มาไวย้ งั กรงุ ลงกา พระรามจงึ ยก
ไพร่พลวานรตามมาท�ำสงคราม และแผลงศรสังหารทศกัณฐ์
ถึงแก่ความตาย

39

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

กมุ ภกรรน

• สีเขียว
• มี ๑ หน้า ๒ มอื (ศีรษะโขนจะท�ำเปน็ ๔ หนา้ เพอื่ ให้
แตกตา่ งจากเสนายักษ์)
• ศีรษะโลน้
• อาวุธประจ�ำตวั คือ หอกโมกศักด์ิ
กุมภกรรน เป็นน้องคนที่สองต่อจากทศกัณฐ์ ได้รับ
ต�ำแหน่งเปน็ อุปราชเมอื งลงกา มหี อกโมกศักดเิ์ ป็นอาวธุ วิเศษ
เป็นผู้ชอบความยุติธรรม เม่ือทศกัณฐ์ให้ไปรบกับพระราม
ไดก้ ลา่ วทดั ทานหลายครง้ั และแนะน�ำใหส้ ง่ นางสดี าคนื
ทศกณั ฐโ์ กรธเกอื บจะตดั พน่ี อ้ ง จงึ จ�ำใจตอ้ งออกรบ ออกรบ
กับกองทัพพระรามหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้
เมื่อเจอพิเภกในสนามรบพิเภกก็บอกว่าอย่าต่อสู้กับ
พระนารายณ์เลย กุมภกรรณไม่เช่ือว่าพระรามคือนารายณ์
อวตาร แต่สุดท้ายเม่ือโดนศรพระรามแล้วก็เห็นพระราม
เป็นพระนารายณ์ก็เสียใจแล้วทูลขอขมาและทูลขอฝาก
ภิเภก กส็ ิ้นใจ
40

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

ขร

• สเี ขียว
• มี ๑ หน้า ๒ มือ
• ทรงมงกุฎจีบ
• อาวุธประจ�ำตวั คือ ศร
ขร พญายักษ์ เป็นน้องชายร่วมครรภ์มารดา
ของทศกัณฐ์ ครองเมืองโรมคัล มีมเหสีช่ือรัชฎาสูร
มีบตุ รช่ือมังกรกัณฐ์และแสงอาทิตย์ ยกทพั รบกบั
พระรามด้วยโกรธแค้นที่นางสัมนักขาน้องสาว
ถูกตัดตีน ตัดมือ หูขาด จมูกขาด ในท่ีสุดตาย
ดว้ ยศรพระราม

41

ปเยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

ทูษณ์

• สมี ว่ งแก่
• มี ๑ หนา้ ๒ มือ
• ทรงมงกฎุ กระหนก
• อาวุธประจ�ำตวั คือ ศร และ หอก
ทษู ณ์ พญายกั ษ์ เปน็ น้องชายร่วมครรภม์ ารดาของ
ทศกัณฐ์ ครองเมืองจารึก ยกทัพรบกับพระราม หลังจาก
ทราบข่าววา่ พญาขรพีช่ ายถูกพระรามฆ่าตาย ในที่สุดตนเอง
ก็ตายด้วยศรพระราม

42

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

ตรีเศยี ร

• สีขาว
• มี ๓ หน้า ๖ มือ
• ทรงมงกฎุ ยอดน�้ำเตา้ ๓ ยอด
• อาวธุ ประจ�ำตวั คอื ศร
ตรีเศียร พญายักษ์ เป็นน้องชายร่วมครรภ์
มารดาของทศกัณฐ์ ครองเมืองมัชวารี ยกทัพรบ
กับพระราม ด้วยโกรธแค้นท่ีพญาขรและพญาทูษณ์
ถูกพระรามฆ่าตาย ในที่สุดตนเองก็ตายด้วยศร
พระราม

43

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

พเิ ภก

(กษตั รยิ ์กรุงลงกา องค์ที่ ๔)
• สเี ขียว
• มี ๑ หนา้ ๒ มือ
• ทรงมงกฎุ นำ้� เต้ากลม
• อาวุธประจ�ำตัว คือ คทา (กระบอง)
พิเภก พญายักษ์โอรสองค์ที่ ๓ ของท้าวลัสเตียน
กับนางรัชฎา เป็นน้องชายองค์ท่ี ๒ ของทศกัณฐ์ พระอิศวร
ทรงบญั ชาใหท้ า้ วเวสสญุ าณเทพบตุ ร จตุ ลิ งมาเกดิ เพอื่ เปน็ ไสศ้ กึ
ใหก้ องทัพพระราม มคี วามรู้ในคัมภีรไ์ ตรเพท และโหราศาสตร ์
มมี เหสชี อ่ื ตรชี ฎา บตุ รสาวชอ่ื เบญกาย ภายหลงั เสรจ็ ศกึ ลงกา
พระรามอภิเษกให้เป็นกษัตริยค์ รองกรงุ ลงกา ชอื่ ทา้ วทศคริ วี งศ์
และยกนางมณโฑพีส่ ะใภ้ ให้เป็นมเหสีอีกองคห์ นึง่

44

ปเยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

อินทรชติ

• สีเขียว
• มี ๑ หน้า ๒ มอื
• ทรงมงกฎุ ยอดบดั
• อาวุธประจ�ำตวั คอื ศร
อินทรชิต เป็นลูกของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมช่ือ
รณพักตร์มีนิสัยดุร้าย ได้เรียนมนต์ช่ือมหากาลอัคคี จนได้รบั
ประทานศร พรหมาสตร์ จากพระอศิ วร และบอกเวทแปลงตัว
เป็นพระอินทร์ พระพรหม ประทานศรนาคบาศ พระนารายณป์ ระทาน
ศรวษิ ณปุ าณมั ครงั้ หนง่ึ สามารถรบชนะพระอนิ ทร์ ทศกณั ฐจ์ งึ ตงั้ ชอ่ื ใหม่
วา่ อนิ ทรชติ เมอื่ มศี กึ ตดิ ลงกากมุ ภกรรณออกรบจนตายแลว้ อนิ ทรชติ
ก็ได้เป็น จอมทพั ในการท�ำสงคราม แตส่ ุดท้ายก็ตอ้ งตายด้วยศร
พระลกั ษมณ์ที่เนินเขาจกั รวาล

45

ปเยราะวจชำ�นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

มารีศ

• สีขาว
• มี ๑ หน้า ๒ มือ
• สวมมงกฎุ ๓ กลบี
• อาวุธประจ�ำตัว คือ คทา หรือ กระบอง
มารศี รากษส (ยกั ษ์) แห่งกรุงลงกา ลกู นางกากนาสรู
มีพ่ีชายชื่อ สวาหุ เปน็ ญาตขิ องทศกัณฐม์ ีศกั ดเิ์ ป็นน้า มเี มยี ชอื่
นางเจษฎา ถูกทศกัณฐ์บังคับใหแ้ ปลงรา่ งเปน็ กวางทอง เดนิ ไป
ลอ่ ลวงให้นางสีดาหลงรักใคร่ จนพระรามต้องออกตามจับ
เขา้ ไปในปา่ ลึก พระรามเห็นผิดสงั เกต แผลงศรไปถูกรา่ ง
กลายเปน็ ยกั ษ์ กอ่ นตายมารีศได้ตะโกนรอ้ งเปน็ เสยี งพระราม
ใหน้ างสดี าไดย้ ิน จะได้ใชพ้ ระลกั ษมณ์ออกไปจากอาศรมเพื่อตาม
ไปช่วยพระราม เพือ่ ให้ทศกัณฐ์ลกั พาตวั นางสีดาไปกรงุ ลงกา

46

ปเยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

มงั กรกณั ฐ์

• สเี ขยี ว
• มี ๑ หนา้ ๒ มือ
• ทรงมงกฎุ เศยี รนาค
• อาวุธประจ�ำตวั คือ ศร
มังกรกัณฐ์ พญายักษ์ลูกพญาขรกับ
นางรัชฎาสูร ชาติเดิมคือทรพี ครองกรุงโรมคัล
ตอ่ จากพญาขร เป็นพ่ีของแสงอาทิตย์ หน้าสีเขียว
คราวอนิ ทรชติ ไปท�ำพธิ ชี บุ ศรนาคบาศ ทศกณั ฐข์ อชว่ ย
ใหม้ ังกรกัณฐ์ ออกไปรบขดั ตาทัพไวก้ ่อน แต่สดุ ทา้ ยก็
ต้องตายดว้ ยศรของพระรามกลางสนามรบ

47

เปยราะวจช�ำ นปชี า๒ย๕แ๕ด๘น-ใ๒ต้๕๖๔

แสงอาทิตย์

• สีแดงชาด
• มี ๑ หนา้ ๒ มอื
• ทรงมงกฎุ กระหนก
• อาวุธประจ�ำตวั คือ ศร และแวน่ วิเศษ
แสงอาทิตย์ พญายักษ์เป็นโอรสคนที่ ๒
ของพญาขรกับนางรชั ฎาสูร เปน็ น้องชายของ
มงั กรกัณฐ์ มอี าวุธเปน็ แว่นวเิ ศษ ซึ่งฉายส่องไป
ทไ่ี หนจะบังเกดิ ไฟไหม้ ฝากไวท้ ที่ า้ วธาดาพรหม
องคตแปลงกายเปน็ พจิ ติ รไพรี พเี่ ลยี้ งของแสงอาทติ ย์
ลวงเอาแวน่ วิเศษจากท้าวธาดาพรหม แสงอาทติ ย์
ตายด้วยศรพระรามในสนามรบ

48


Click to View FlipBook Version