The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา65-มัธยมวัดสิงห์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 0909, 2023-06-10 02:00:01

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา65-มัธยมวัดสิงห์

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา65-มัธยมวัดสิงห์

โรงเรียนมัธยมวัดสิงหไดจัดทำเอกสารรายงาน ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปการศึกษา 2565 โดยมีวัตถุประสงคเพื่อ รายงานและเผยแพรผลการพัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประกอบดวย รายงานผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานการศึกษาของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 มาตรฐาน ประกอบดวย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผูเรียน มาตรฐาน ที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสำคัญ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตลอดปการศึกษา 2565 โรงเรียนไดวางแผนพัฒนาการศึกษาโดยศึกษาขอมูล จากการประเมินตนเองในปการศึกษาที่ผานมา นโยบาย ดานการศึกษาของรัฐบาลและขอเสนอแนะจากการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบสาม นอกจากนี้โรงเรียนไดดำเนินการ บริหารจัดการในดานอื่น ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ นักเรียน ตลอดจนการปลูกฝง คุณธรรม จริยธรรม คานิยม ที่ดีงาม การสืบสานประเพณี วัฒนธรรมไทย ความรัก และ ความภาคภูมิใจในสถาบัน การประเมินตนเองตลอดปการศึกษา 2565 ตาม มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห 3 มาตรฐาน ปรากฏผลภาพรวมอยูในเกณฑคุณภาพระดับยอดเยี่ยม รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาฉบับนี้ เปนการ รวบรวมสารสนเทศที่จำเปนสำหรับการบริหารจัดการ หวัง เปนอยางยิ่งวาเอกสารฉบับนี้จะเปนประโยชนเพื่อใชในการ วางแผนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตอไป (นายเทพพร อาจเวทย) ผูอำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดสิงห - ก -


ในรอบปี 2565 โรงเรียนมัยมวัดสิงห์ได้ดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มีกระบวนการ ประเมินตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มีผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้ มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพผู้เรียน 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ (GPA) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะที่สำคัญ ของผู้เรียนตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา โดยครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศที่ 2 มีกระบวนการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณให้ สูงขึ้น ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีและเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับการเรียนรู้ของ นักเรียนได้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน จัดกิจกรรมต่าง ๆ ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะของนักเรียน ทำให้นักเรียนได้รับ รางวัลในการแข่งขันมากมาย มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากชุมชนและผู้ปกครอง 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนมีการดำเนินการจัดกิจกรรมที่ส่งผลให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ตามหลักสูตร โดยนักเรียนได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ในการจัดทำโครงงานคุณธรรมทุกห้องเรียน และสอดแทรกในการเรียน การสอนทุก ๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่เข้มแข็ง มีกระบวนการในการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียน ให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และมีค่านิยมที่ดีงาม นักเรียนมีสุขภาพกายที่แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ เนื่องด้วยโรงเรียนมี กิจกรรมที่ส่งเสริมทั้งทางด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ และกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็น อย่างดี เช่น โรงเรียน วัด โรงพยาบาล หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผู้บริหารจัดการบริหารโรงเรียนโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ และการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยแต่งตั้งคณะทำงานตามโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียน จัดทำ แผนปฏิบัติการประจำปีที่มีมาตรฐานคุณภาพ มุ่งเน้นการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการ PDCA ส่งผลให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ จัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน สนับสนุนส่งเสริมให้ครูทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ จัดทำแผนงานโครงการที่เกี่ยวกับการจัด สภาพแวดล้อม มีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมทางด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยต่อ ผู้เรียน สนับสนุนให้จัดกิจกรรมสร้างเสริมเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความ ร่วมมือกันระหว่างชุมชน วัด และโรงเรียน มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียนของตนเอง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติจริงทั้งในและนอกสถานศึกษา ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การ ประเมินผล โรงเรียนมีการพัฒนาและปรับปรุงด้านกายภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ห้องเรียนมี สื่อเทคโนโลยี เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ , สมาร์ทบอร์ด เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โรงเรียนมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครู เพื่อพัฒนาความสามารถของครู ให้ครูจัดการเรียนการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป 1. ส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่าง ๆ 2. จัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อช่วยพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ 3. พัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอรเน็ตให้มีความเสถียรและเร็วขึ้น เพื่อการใช้งานที่คล่องตัวรองรับ เทคโนโลยีใหม่ 4. ส่งเสริมโครงการ/กิจกรรมที่เน้นพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างต่อเนื่องและเกิดผลในรูปธรรม ที่ชัดเจน - ข -


นักเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมโครงงานบูรณาการ “อักษรเบรลล์ รหัสลับจาก Dot matrix” เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาการสร้างอักษรเบรลล์โดยใช้โปรแกรม ทำให้เห็นถึง คุณภาพของผู้เรียน ว่าผู้เรียนมีคุณภาพสามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมจนเกิดประโยชน์แก่ บุคคลที่บกพร่องทางการมองเห็น แต่ทางโรงเรียนควรวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ที่เกิดมาจากหลักสูตรสถานศึกษาอันเกิดมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือผลที่เกิดจาก โครงการ ซึ่งในแต่ละส่วนควรวิเคราะห์ตัวชี้วัดหัวข้อต่าง ๆ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ว่าตรงตาม ตัวชี้วัดใด ด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารมีผลลัพธ์ที่ชัดเจนจากผลรางวัลของนักเรียนที่เข้า ร่วมการแข่งขันศิลปหัตกรรมซึ่งเป็นการทำให้สังคมภายนอกทราบผลถึงศักยภาพของผู้เรียนว่าทาง โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์มีการวางแผนและจัดการบริหารที่ดี โรงเรียนมีการจัดกลุ่มเก่งกลุ่มอ่อน เพื่อให้ตอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา หากทางโรงเรียนต้องการให้เกิด ความสมบูรณ์แบบในงานประกันคุณภาพ ทางโรงเรียนควรนำเสนอว่ามีวิธีการจัดการหรือแก้ไข นักเรียนกลุ่มอ่อนอย่างไร เพื่อจะทำให้งานประกันคุณภาพของโรงเรียนสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น - ค -


- ง -


เลขที่ 35 ก หมู่ที่ 3 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10150 โทรศัพท์0-2415-0683 / 0-2415-1681 โทรสาร 0-2415-3291 ต่อ 200 สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอน : ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เนื้อที่ : 37 ไร่ 100 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ : แขวงบางขุนเทียน แขวงจอมทอง แขวงบางบอน แขวง แสมดำ แขวงท่าข้าม และแขวงบางหว้า 1.1 ที่ตั้ง สถานศึกษา : โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ -2 -


พ.ศ. 2496 - โรงเรียนจัดตั้งขึ้นตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ สังกัดกรมวิสามัญศึกษาชื่อโรงเรียน วัดสิงห์ (ว.ส.) เริ่มเปิดทำการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2496 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 45 คน ครู 4 คน มีนายหงิม เกบไว้ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ พ.ศ. 2498 - ได้รับอนุมัติให้จัดการเรียนการ สอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 – 8 แผนกวิทยาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ พ.ศ. 2514 - กรมวิสามัญศึกษา ยุบเลิก เปลี่ยนเป็นสังกัดกรมสามัญศึกษา - กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็นโรงเรียนสิงหราชพิทยาคม (ส.พ.) พ.ศ. 2517 - โรงเรียนจัดการเรียนการสอน เป็น 2 รอบ ในรอบเช้า และรอบบ่าย พ.ศ. 2518 - ได้รับการประกาศให้เป็น โรงเรียนชั้นพิเศษตามการดำรงตำแหน่งของนางวรณี ศิริ บุญ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2522 - ยกเลิกการจัดการเรียนการสอน 2 รอบ และจัดการเรียนการสอนเต็มวันตามปกติ พ.ศ. 2538 - กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งหนึ่งเป็น“โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์” (ม.ว.ส.) พ.ศ. 2542 - ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นของ กรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2546 - ได้รับอนุมัติให้จัดการเรียนการ สอนหลักสูตรทางเลือก Mini English Program ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน - เดือนกรกฎาคม โรงเรียนเปลี่ยนสังกัดจากกรม สามัญศึกษาเป็นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 3 พ.ศ. 2547 - ได้รับอนุมัติให้ปรับการเรียน การสอนหลักสูตรทางเลือก Mini English Program เป็น English Program พ.ศ. 2548 - นักเรียนหลักสูตร English Program จบการศึกษาระดับช่วงชั้นที่ 3 เป็นรุ่นแรก พ.ศ. 2550 - ได้รับอนุมัติให้จัดการเรียนการ สอนหลักสูตรส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Gifted Education Program) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน พ.ศ. 2551 - นักเรียนหลักสูตร English Program จบการศึกษาระดับช่วงชั้นที่ 4 เป็นรุ่นแรก 1.2 ประวัติโรงเรียนโดยย่อ -3 -


พ.ศ. 2552 - นักเรียนหลักสูตรส่งเสริมความ เป็นเลิศทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ ( Gifted Education Program) จบ การศึกษาระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 เป็นรุ่นแรก พ.ศ. 2553 - โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็น โ ร ง เ ร ี ย นม า ตร ฐา นสา ก ล (World Class Standard School) และเปลี่ยนสังกัด จากสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เป็น สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 พ.ศ. 2556 - โรงเรียนได้รับการประเมิน สถานศึกษาป้องกันยาเสพติด ระดับยอดเยี่ยม จากศูนย์ อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด - โรงเรียนได้รับการยกย่องเป็นสถานศึกษาที่ ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาประสบ ผลสำเร็จด้านการยกระดับคุณภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ระดับดี จากสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน - โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษา แบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี 2556 จากกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2557 - โรงเรียนได้รับการยกย่องเป็น สถานศึกษาดีเด่นด้านการสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติ ธรรม - โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ สาม จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) ในระดับคุณภาพ ดี พ.ศ. 2559 - โรงเรียนได้รับโล่เกียรติยศเป็น โรงเรียนที่จัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษาปี การศึกษา 2558 ได้มีคุณภาพและมาตรฐาน ระดับดีเยี่ยม - โรงเรียนได้รับโล่เกียรติยศเป็นโรงเรียนที่มีระบบ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับดีเยี่ยม พ.ศ. 2560 - โรงเรียนได้รับการยกย่องเป็น สถานศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาประสบผลสำเร็จด้านการยกระดับคุณภาพกลุ่ม สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับดีเด่น จากสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 - โรงเรียนได้รับรางวัล MOE AWARDS ปีการศึกษา 2559 ผลงานระดับดีเด่น ประเภท สถานศึกษา สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน สถานศึกษา ( ณ วันที่ 28 กันยายน 2561) พ.ศ. 2562 - โรงเรียนได้รับรางวัล ศูนย์การ เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้าน การศึกษา ปีการศึกษา 2561 (ณ วันที่ 28 กันยายน 2562) จากกระทรวงศึกษาธิการ - โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ได้รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับทอง โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดภัยยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2560 ( ณ วันที่ 16 กันยายน 2562) พ.ศ. 2563 - โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียน ดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ส่งเสริม สนับสนุนการเรียน การสอนดนตรีไทยให้บังเกิดเป็นรูปธรรม พ.ศ. 2565 - โรงเรียนได้รับการประเมิน ข้อมูล Big Data บนเว็บไซต์ของสถานศึกษา ในด้านการ เปิดเผยข้อมูล (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระดับ A -4 -


ความหมายของตราสัญลักษณ์ สิงห์ เป็นสัญลักษณ์ของความสง่างาม น่าเกรงขาม ทรงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์และ คุณธรรม คบเพลิง เป็นประทีปส่องแสงนำทางสู่ความ รุ่งเรืองและความสำเร็จ อักษรย่อ ม.ว.ส. เอกลักษณ์ บรรยากาศดี กิจกรรมเด่น เป็นศูนย์รวมชุมชน อัตลักษณ์ ใฝ่หาความรู้ เชิดชูสถาบัน ยึดมั่นคุณธรรม สีประจำโรงเรียน ชมพู หมายถึง ความคิดลึกซึ้ง สร้างสรรค์ เขียว หมายถึง ความเจริญงอกงาม พระประจำโรงเรียน พระพุทธสิงหราช ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ตราสัญลักษณ์ ประจ าโรงเรียน -5 -


-6 -


-7 -


-8 -


-9 -


1.3.3 ข้อมูลครูและบุคลากร 1. วิทยฐานะ ครูและ บุคลากร ครู คศ. 5 ครู คศ. 4 ครู คศ. 3 ครู คศ. 2 ครู คศ. 1 ครู ผู้ช่วย พนักงาน ราชการ ครู อัตรา จ้าง ครู ต่างชาติ ลูกจ้าง ประจำ ลูกจ้าง ชั่วคราว รวม ปีการศึกษา 2565 - - 22 41 76 7 2 3 17 - 35 203 หมายเหตุ รวมครูที่ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการโรงเรียนตามโครงสร้างการบริหารงานของสถานศึกษา 2. วุฒิการศึกษา (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2566 ) กลุ่มสาระฯ จำนวนตามระดับการศึกษา (คน) ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม ผู้อำนวยการ - - - 1 - 1 - - - 1 รองผู้อำนวยการ - - - 1 3 4 - - - 4 ภาษาไทย 1 10 11 1 2 3 - - - 14 คณิตศาสตร์ 5 7 12 4 6 10 - - - 22 วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี 10 13 23 5 8 13 - - - 36 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3 8 11 2 5 7 - - - 18 สุขศึกษาและพลศึกษา 3 2 5 1 1 2 - - - 7 ศิลปะ 3 3 6 1 2 3 - - - 9 การงานอาชีพ 2 5 7 - 2 2 - - - 9 ภาษาต่างประเทศ 4 9 13 2 11 13 - - - 26 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน - 5 5 1 1 2 - - - 7 รวม 31 62 93 19 41 60 - - - 153 แผนภูมิแสดงวุฒิการศึกษาของครูและบุคลากรของสถานศึกษา -10 -


0 5 10 15 20 25 18.64 20.68 19.7 17.61 23.43 21.11 16.78 19.19 16.29 3) กลุ่มสาระการเรียนรู้ และภาระงานสอน และจำนวนชั่วโมงของการเข้าร่วมกิจกรรม PLC (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565) กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน (คน) ภาระงานสอนเฉลี่ยของครู 1 คน ในแต่ละกลุ่มสาระฯ (ชม./สัปดาห์) จำนวนชั่วโมงเฉลี่ย การ เข้าร่วมกิจกรรม PLC ของครู 1. ภาษาไทย 14 18.64 1 ชั่วโมง 40 นาที 2. คณิตศาสตร์ 22 20.68 1 ชั่วโมง 40 นาที 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 36 19.70 1 ชั่วโมง 40 นาที 4. สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม 18 17.61 1 ชั่วโมง 40 นาที 5. สุขศึกษาและพลศึกษา 7 23.43 1 ชั่วโมง 40 นาที 6. ศิลปะ 9 21.11 1 ชั่วโมง 40 นาที 7. การงานอาชีพ 9 16.78 1 ชั่วโมง 40 นาที 8. ภาษาต่างประเทศ 26 19.19 1 ชั่วโมง 40 นาที 9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 7 16.29 1 ชั่วโมง 40 นาที รวม 148 19.27 1 ชั่วโมง 40 นาที แผนภูมิแสดงเปรียบเทียบภาระงานสอนเฉลี่ยของครู 1 คน ในแต่ละกลุ่มสาระฯ (ชม./สัปดาห์) -11 -


237 258 277 213 226 212 261 267 264 266 273 275 0 50 100 150 200 250 300 มัธยมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 2 มัธยมศึกษาปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 5 มัธยมศึกษาปีที่ 6 เพศชาย เพศหญิง 1.4 ข้อมูลนักเรียน ( ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2565) 1.) จำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน ระดับชั้น เพศ รวม จำนวน ห้องเรียน จำนวนนักเรียน ชาย หญิง เฉลี่ยต่อห้อง มัธยมศึกษาปีที่1 237 261 498 16 31.13 มัธยมศึกษาปีที่2 258 267 525 16 32.81 มัธยมศึกษาปีที่3 277 264 541 16 33.81 รวม 772 792 1,564 48 32.58 มัธยมศึกษาปีที่4 213 266 479 14 34.21 มัธยมศึกษาปีที่5 226 273 499 14 35.64 มัธยมศึกษาปีที่6 212 275 487 14 34.79 รวม 651 814 1,465 42 34.88 รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,423 1,606 3,029 90 33.66 แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2565 -12 -


2,900 3,000 3,100 3,200 3,300 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 ปีการศึกษา 2565 3,264 3,239 3,029 2.) จำแนกตามปีการศึกษา 3 ปี ย้อนหลัง ระดับชั้น ปีการศึกษา 2563 2564 2565 ม. 1 566 533 498 ม. 2 632 554 525 ม. 3 586 627 541 ม. 4 501 512 479 ม. 5 521 495 499 ม. 6 458 518 487 รวม 3,264 3,239 3,029 แผนภูมิแสดงจำนวนนักเรียนจำแนกตามปีการศึกษา 3 ปี ย้อนหลัง 3) สรุปข้อมูลสำคัญของสถานศึกษา ประเภท จำนวน หมายเหตุ 3.1 ระดับมัธยมศึกษา อัตราส่วนครู ต่อ ผู้เรียน 1 : 21 อัตราส่วนผู้เรียน ต่อ ห้อง 1 : 34 จำนวนครู ครบชั้น ครบชั้น 3.2 ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 92.05 นักเรียนที่ยังไม่จบคือมีผล มัธยมศึกษาปีที่ 6 97.54 0, ร, มส. และลาออก 3.3 จำนวนวันที่สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนจริงใน ปีการศึกษา 2564 ระดับมัธยมศึกษา 210 -13 -


1.5 ข้อมูลอาคารสถานที่ โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ มีอาคารสถานที่ ดังนี้ ➢ อาคารเรียน จำนวน 8 หลัง (อาคารเรียน 1 - อาคารเรียน 8) ➢ เรือนพยาบาลเทียนฉ่ำ จำนวน 1 หลัง ➢ อาคารธารณานุเคราะห์ จำนวน 1 หลัง (อาคารประชาสัมพันธ์) ➢ สนามฟุตบอล จำนวน 1 สนาม ➢ สนามวอลเลย์บอล จำนวน 2 สนาม ➢ สนามบาสเกตบอล จำนวน 3 สนาม ➢ สนามตะกร้อ จำนวน 4 สนาม ➢ สนามแบดมินตัน จำนวน 5 สนาม ➢ สนามเทนนิส จำนวน 2 สนาม ➢ สนามเปตอง จำนวน 4 สนาม ➢ โรงอาหาร จำนวน 1 หลัง ➢ หอประชุม จำนวน 1 หลัง ➢ อาคารอเนกประสงค์ จำนวน 3 หลัง ➢ ศาลาทรงไทยเรือนพิมพ์รำลึก จำนวน 1 หลัง ➢ ศูนย์เสมารักษ์ จำนวน 1 หลัง ➢ ห้องทูบีนัมเบอร์วัน จำนวน 1 หลัง ➢ ห้องธนาคารโรงเรียน จำนวน 1 หลัง ➢ สระน้ำ จำนวน 1 สระ ➢ ห้องสุขานักเรียน จำนวน 5 หลัง ➢ เครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง จำนวน 12 เครื่อง 1.6 ข้อมูลงบประมาณ งบประมาณ (รับ - จ่าย) รายรับ จำนวน/บาท รายจ่าย จำนวน/บาท เงินงบประมาณ 21,592,476.91 งบดำเนินการ/เงินเดือน - ค่าจ้าง 15,166,590.00 เงินนอกงบประมาณ 45,890,425.03 งบพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา 21,397,884.50 เงินอื่นๆ (ระบุ) 756,937.44 งบอื่นๆ (ระบุ) 2,092,111.53 รวมรายรับ 68,239,839.38 รวมรายจ่าย 38,656,586.03 สรุป งบดำเนินการ/เงินเดือน เงินค่าจ้าง คิดเป็นร้อยละ 22.23 ของรายรับ งบพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 31.36 ของรายรับ -14 -


1.7 ข้อมูลสภาพชุมชน 1.) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียน สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียน มีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ สถานประกอบกิจการ ร้านค้าทั้ง ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีประชากรแขวงบางขุนเทียนและเขตบางบอน ประมาณ 286,051 คน (แหล่งข้อมูล สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ) บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัดสิงห์ ศาล ธนบุรี ไปรษณีย์บางขุนเทียน สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน สรรพากรเขตพื้นที่ 27 สำนักงานอัยการสูงสุด (อาคารธนบุรี) สถานีรถไฟวัดสิงห์ โรงเรียนดวงวิภา โรงเรียนวัดกำแพง อาชีพหลักของประชากรในชุมชน คือ อาชีพ รับจ้างเป็นส่วนใหญ่และมีอาชีพอื่นๆ เช่น ประกอบธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย รับราชการ เป็นต้น ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานแห่เทียนเข้าพรรษา ลอยกระทง สงกรานต์ งานประจำปีวัดสิงห์ 2.) สถานภาพโดยรวมของผู้ปกครอง ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และรองลงมาคือจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีพหลัก คือ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย รับราชการ ประกอบธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอื่นๆ มีบางคนไม่ได้ประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 95.45 ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2.55 ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2.00 ฐานะทาง เศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปี 175,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 4 คน และแนวโน้ม ความต้องการของผู้ปกครอง และชุมชน คือ อยากให้โรงเรียนเพิ่มกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนนำไปต่อยอดในการ ดำรงชีวิตประจำวันได้ ลดเนื้อหาวิชาที่ไม่จำเป็นลง เน้นระเบียบวินัยต่อนักเรียนให้มากยิ่งขึ้น ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการอยู่ร่วมกันในคนหมู่มาก รักษามาตรฐานในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (COVID – 19) อย่าง ระมัดระวังแบบนี้ต่อไปเพื่อนักเรียนและบุคลากรจะได้ห่างไกลจากโรค 3.) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์อยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด (อาคารธนบุรี) ศาลธนบุรี ไปรษณีย์บางขุนเทียน สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และวัดสิงห์ ซึ่งโรงเรียนได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่ง จากวัดสิงห์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครองและครูฯ สมาคมศิษย์เก่าฯ มูลนิธฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 หน่วยงานราชการใกล้เคียง และชุมชน ด้าน ข้อจำกัดของโรงเรียน เนื่องด้วยสถานะทางเศรษฐกิจและระดับการศึกษาของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ทำให้แรงสนับสนุนในการร่วมบริจาคสมทบทุนในการสร้างอาคารเรียน หรืออุปกรณ์การเรียนในห้องเรียน หรือสร้าง ห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนและผู้มารับบริการเป็นไปอย่างจำกัด และทำให้ไม่พร้อมที่จะใช้ในการ เรียนและให้บริการได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควรหรือเสร็จล่าช้ากว่ากำหนด -15 -


1.8 โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ จัดสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับหลักสูตรสถานศึกษาจัดตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551/หลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนได้จัดสัดส่วนสาระการ เรียนรู้และเวลาเรียน ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ โครงสร้างเวลาเรียนของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ปีการศึกษา 2565 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับชั้น เวลาเรียน (คิดเป็นชั่วโมงต่อปี) รวม ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพล ศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพ ภาษาต่างประเทศ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายวิชาเพิ่มเติม 1. ห้องเรียนปกติ ม.1 120 120 160 160 80 80 40 120 120 360 1,240 ม.2 120 120 160 160 80 80 40 120 120 440 1,240 ม.3 120 120 160 160 80 80 40 120 120 280 1,240 รวม 360 360 480 480 240 240 120 360 360 1,080 3,720 2. ห้องเรียน GEP ม.1 120 120 160 160 80 80 40 120 120 480 1,480 ม.2 120 120 160 160 80 80 40 120 120 560 1,560 ม.3 120 120 160 160 80 80 40 120 120 400 1,400 รวม 360 360 480 480 240 240 120 360 360 1,440 4,440 3. ห้องเรียน EP ม.1 120 120 160 160 80 80 40 120 120 480 1,480 ม.2 120 120 160 160 80 80 40 120 120 480 1,480 ม.3 120 120 160 160 80 80 40 120 120 360 1,360 รวม 360 360 480 480 240 240 120 360 360 1320 4,320 - จำนวนชั่วโมงที่จัดให้นักเรียน เรียนทั้งปี เท่ากับ 1,387 ชั่วโมง - แผนการเรียนรู้/จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ คือ ความเป็นเลิศทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ -16 -


ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับชั้น เวลาเรียน (คิดเป็นชั่วโมงต่อปี) รวม ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพ ภาษาต่างประเทศ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายวิชาเพิ่มเติม 1. ห้องเรียนปกติ (แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์) ม.4 80 80 40 120 40 40 40 80 120 800 1440 ม.5 80 80 40 120 40 40 - 80 120 840 1440 ม.6 80 80 240 80 40 40 40 80 120 680 1480 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 2320 4360 2. ห้องเรียนปกติ (แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (วิศวะ/คอม)) ม.4 80 80 40 120 40 40 40 80 120 880 1520 ม.5 80 80 40 120 40 40 - 80 120 920 1520 ม.6 80 80 240 80 40 40 40 80 120 760 1560 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 2560 4600 3. ห้องเรียนปกติ (แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ – คณิตศาสตร์) ม.4 80 80 160 120 40 40 40 80 120 520 1280 ม.5 80 80 120 120 40 40 - 80 120 640 1320 ม.6 80 80 40 80 40 40 40 80 120 720 1320 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 1880 3920 4. ห้องเรียนปกติ (แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ – ภาษาฝรั่งเศส) ม.4 80 80 160 120 40 40 40 80 120 600 1360 ม.5 80 80 120 120 40 40 - 80 120 680 1360 ม.6 80 80 40 80 40 40 40 80 120 840 1440 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 2120 4160 5. ห้องเรียนปกติ (แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ – ภาษาจีน) ม.4 80 80 160 120 40 40 40 80 120 600 1360 ม.5 80 80 120 120 40 40 - 80 120 680 1360 ม.6 80 80 40 80 40 40 40 80 120 840 1440 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 2120 4160 6. ห้องเรียนปกติ (แผนการเรียน ภาษาอังกฤษ – ภาษาญี่ปุ่น) ม.4 80 80 160 120 40 40 40 80 120 600 1360 ม.5 80 80 120 120 40 40 - 80 120 680 1360 ม.6 80 80 40 80 40 40 40 80 120 760 1360 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 2040 4080 7. ห้องเรียนปกติ (แผนการเรียน ศิลปะ/ศิลปกรรม – หัตถกรรม) ม.4 80 80 160 120 40 40 40 80 120 440 1200 ม.5 80 80 120 120 40 40 - 80 120 520 1200 ม.6 80 80 40 80 40 40 40 80 120 600 1200 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 1560 3600 -17 -


8. ห้องเรียนปกติ (แผนการเรียน ภาษาไทย – สังคมศึกษา) ม.4 80 80 160 120 40 40 40 80 120 480 1240 ม.5 80 80 120 120 40 40 - 80 120 600 1280 ม.6 80 80 40 80 40 40 40 80 120 640 1240 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 1720 3760 9. ห้องเรียนปกติ (แผนการเรียน ธุรกิจ) ม.4 - - - - - - - - - - - ม.5 - - - - - - - - - - - ม.6 80 80 40 80 40 40 40 80 120 720 1320 รวม 10. ห้องเรียน GEP ม.4 80 80 40 120 40 40 40 80 120 1000 1640 ม.5 80 80 40 120 40 40 - 80 120 1000 1600 ม.6 80 80 240 80 40 40 40 80 120 760 1560 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 2760 4800 11. ห้องเรียน EP (science) ม.4 80 80 40 120 40 40 40 80 120 840 1480 ม.5 80 80 40 120 40 40 - 80 120 840 1440 ม.6 80 80 240 80 40 40 40 80 120 720 1520 รวม 240 240 320 320 120 120 80 240 360 2400 4440 12. ห้องเรียน EP (non – science) ม.4 80 80 160 120 40 40 40 80 120 600 1360 ม.5 80 80 120 120 40 40 - 80 120 600 1280 ม.6 80 80 40 80 40 40 40 80 120 720 1320 รวม 240 240 320 280 120 120 80 240 360 2280 4280 - จำนวนชั่วโมงที่จัดให้นักเรียน เรียนทั้งปีเท่ากับ 1,396 ชั่วโมง - แผนการเรียนรู้/จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ คือ ความเป็นเลิศทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ -18 -


1.9 แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.9.1 ห้องสมุด มีขนาด 495 ตารางเมตร (คิดเป็นประมาณ 5.5 ห้องเรียน) - จำนวนหนังสือ 50,674 เล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 726 เล่ม - จำนวนนักเรียนที่ใช้ห้องสมุดออนไลน์E-Library เฉลี่ย 1,504 ต่อเดือน 1.9.2 ห้องปฏิบัติการ 1.9.2.1 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 ห้อง - ห้องปฏิบัติการเคมี จำนวน 1 ห้อง - ห้องปฏิบัติการชีววิทยา จำนวน 1 ห้อง - ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ จำนวน 1 ห้อง - ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กายภาพ จำนวน 2 ห้อง - ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ม.ต้น จำนวน 3 ห้อง - ห้องเก็บสาร จำนวน 1 ห้อง 1.9.2.2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 6 ห้อง 1.9.2.3 ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ จำนวน 4 ห้อง - ห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้อง - ห้องปฏิบัติการภาษาจีน จำนวน 1 ห้อง - ห้องปฏิบัติการภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 ห้อง - ห้องปฏิบัติการภาษาฝรั่งเศส จำนวน 1 ห้อง 1.9.2.4 ห้องปฏิบัติการอื่นๆ - ห้องสมุดประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 2 ห้อง - ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 2 ห้อง - ห้องศูนย์การเรียนรู้สังคมศึกษา จำนวน 4 ห้อง - ห้องศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 2 ห้อง - ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง - ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จำนวน 4 ห้อง - ห้องศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา จำนวน 2 ห้อง - ห้องปฏิบัติการดนตรีไทย จำนวน 3 ห้อง - ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ จำนวน 1 ห้อง - ห้องปฏิบัติการดนตรีสากล จำนวน 3 ห้อง - ห้องปฏิบัติการศิลปะ จำนวน 3 ห้อง - ห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรม จำนวน 3 ห้อง - ห้องปฏิบัติการคหกรรม จำนวน 2 ห้อง - ห้องปฏิบัติการเกษตรกรรม จำนวน 1 ห้อง - ห้องศูนย์การเรียนรู้แนะแนว จำนวน 1 ห้อง - ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 1 ห้อง -19 -


1.9.3 คอมพิวเตอร์ จำนวน 574 เครื่อง 1.9.3.1 ใช้เพื่อการเรียนการสอน จำนวน 453 เครื่อง - ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ICT1 จำนวน 46 เครื่อง - ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ICT2 จำนวน 46 เครื่อง - ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ COM1 จำนวน 46 เครื่อง - ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ COM2 จำนวน 46 เครื่อง - ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GEP จำนวน 41 เครื่อง - ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ICT EP จำนวน 36 เครื่อง - ประจำห้องเรียน จำนวน 192 เครื่อง 1.9.3.2 ใช้เพื่อบริหารจัดการ จำนวน 121 เครื่อง - สำนักงานผู้อำนวยการ จำนวน 5 เครื่อง - กลุ่มบริหารวิชาการ จำนวน 15 เครื่อง - กลุ่มบริหารงานบุคคล จำนวน 15 เครื่อง - กลุ่มบริหารงบประมาณ จำนวน 19 เครื่อง - กลุ่มบริหารทั่วไป จำนวน 9 เครื่อง - สำนักงาน GEP จำนวน 20 เครื่อง - สำนักงาน EP จำนวน 4 เครื่อง - สนับสนุนการสอน จำนวน 10 เครื่อง - กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 24 เครื่อง 1.9.4 แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอก 1.9.4.1 แหล่งเรียนรู้ภายใน ลำดับ ชื่อแหล่งเรียนรู้ สถิติการใช้ (จำนวนครั้ง/ปี) 1 ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ตลอดปีการศึกษา 2 ห้องปฏิบัติการดนตรีไทย ตลอดปีการศึกษา 3 ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ ตลอดปีการศึกษา 4 ห้องปฏิบัติการดนตรีสากล ตลอดปีการศึกษา 5 ห้องปฏิบัติการศิลปะ ตลอดปีการศึกษา 6 ห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรม ตลอดปีการศึกษา 7 ห้องปฏิบัติการคหกรรม ตลอดปีการศึกษา 8 ห้องปฏิบัติการเกษตรกรรม ตลอดปีการศึกษา 9 ห้องศูนย์การเรียนรู้แนะแนว ตลอดปีการศึกษา 10 ห้องศูนย์กาเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา ตลอดปีการศึกษา 11 ห้องศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตลอดปีการศึกษา 12 ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย ตลอดปีการศึกษา 13 ห้องศูนย์การเรียนรู้สังคมศึกษา ตลอดปีการศึกษา -20 -


ลำดับ ชื่อแหล่งเรียนรู้ สถิติการใช้ (จำนวนครั้ง/ปี) 14 ห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตลอดปีการศึกษา 15 ศูนย์เพาะเลี้ยงถังเช่าสีทอง ตลอดปีการศึกษา 16 ศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ตลอดปีการศึกษา 17 ศูนย์การเรียนรู้เศษรฐกิจพอเพียง (เรือนพิมพ์รำลึก) ตลอดปีการศึกษา 1.9.4.2 แหล่งเรียนรู้ภายนอก ลำดับ ชื่อแหล่งเรียนรู้ สถิติการใช้ (จำนวนครั้ง/ปี) 1 โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ ่จ.สมุทรสงคราม 1 2 ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ 2 3 ทัศนศึกษาซาฟารีเวิลด์ 1 4 สนามกอล์ฟ ค่ายกำแพงเพชร อัครโยธิน จังหวัดสมุทรสาคร 1 5 ทัศนศึกษาวัดถ้ำเสือ จังหวัดกาญจนบุรี 1 6 ทัศนศึกษาสะพานข้ามแม่น้ำแคว 1 7 ทัศนศึกษาเมืองมัลลิกา 1 8 ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน 1 9 ทัศนศึกษา คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 1 10 สถาบัน Starch Education Singapore 1 11 สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช 1 12 ทัศนศึกษา พระนครศรีอยุธยา ค่ายเยาวชนนักประวัติศาสตร์ 1 13 ค่ายนาคาแคมป์ อ.ศาลายา จ.นครปฐม 1 14 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก 1 15 เขาชนไก่ 1 16 ค่ายลูกเสือไพรพนา จ.นครนายก 1 17 วัดปทุมคงคา 1 18 วัดสิงห์ 15 19 โรงเรียนวัดราชโอรส 2 20 ค่ายเจียระไนเพชรภาษา ณ โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ 1 21 ค่ายสานสัมพันธ์น้องพี่ รักษ์สิ่งแวดล้อม 1 22 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลองห้า จังหวัดประทุมธานี 1 23 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทย์ศาตร มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ 1 24 ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 1 25 ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ 1 26 Space Imperium พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และอวกาศ จังหวัดชลบุรี 1 27 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. 1 28 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1 29 วิทยาลัยศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 1 -21 -


ลำดับ ชื่อแหล่งเรียนรู้ สถิติการใช้ (จำนวนครั้ง/ปี) 30 สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ 1 31 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 1 32 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 1 33 วัดระฆังโฆสิตาราม 1 34 วัดอรุณราชวราราม 1 35 หาดจอมพล จังหวัดเพชรบุรี 1 36 สถาบัน Vatel มหาวิทยาลัยศิลปกร 1 37 สวนศรีนครเขื่อนขันธ์และตลาดบางน้ำผึ้ง 1 38 สถานเอกอัครราชทูตสวิสเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย 1 39 สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ 1 40 วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 6 41 ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต 1 42 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 3 43 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6 44 รอยอล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน 1 45 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี 1 46 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง 4 47 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 5 48 หอศิลป์รัตนกันทร หอศิลป์แห่งวัดถ้ำแก้ว จ.เพชรบุรี 2 49 สถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวัง 1 50 อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ 1 51 โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี 2 -22 -


1.9.5 ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิที่สถานศึกษาเชิญมาให้ความรู้ ที่ ผู้ให้ความรู้ หน่วยงาน ให้ความรู้เรื่อง ระดับชั้น สถิติการ ให้ความรู้ (ครั้ง/ปี) 1 ทนายสุวิทย์สุนทรกิจเสนีย์ ประธานสภาทนายความ จังหวัดธนบุรี กฎหมายน่ารู้สู่ ประชาชน ม.4/10 , ม. 5/10 ม.6/9 1 2 ทนายสมชาย จิรสัตย์สุนทร ประธานสภาทนายความ จังหวัดธนบุรี กฎหมายน่ารู้สู่ ประชาชน ม.4/10 , ม. 5/10 ม.6/9 1 3 ทนายพีระพงษ์เครือรัตน์ ประธานสภาทนายความ จังหวัดธนบุรี กฎหมายน่ารู้สู่ ประชาชน ม.4/10 , ม. 5/10 ม.6/9 1 4 ทนายณัฐพล ปัญญาสูง ประธานสภาทนายความ จังหวัดธนบุรี กฎหมายน่ารู้สู่ ประชาชน ม.4/10 , ม. 5/10 ม.6/9 1 5 ทนายเอกพงษ์ ศิริมหากุล ประธานสภาทนายความ จังหวัดธนบุรี กฎหมายน่ารู้สู่ ประชาชน ม.4/10 , ม. 5/10 ม.6/9 1 6 พระครูพิศิษฎ์สรคุณ (อนนท์ ปัญญาคโม) วัดปทุมคงคาราช วรวิหาร พระพุทธศาสนา ม.1 ม.1 20 7 พระมหารณพงศ์กิตติวุฑโฒ วัดปทุมคงคาราช วรวิหาร พระพุทธศาสนา ม.2 ม.2 20 8 พระมหาเสรีชน นริสสโร วัดปทุมคงคาราช วรวิหาร พระพุทธศาสนา ม.3 ม.3 20 -23 -


1.10 ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา 1.10.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสถานศึกษา - ระดับสถานศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้งหมดโดยเฉลี่ย 3.23 - ระดับชั้นเรียน ระดับ ชั้นเรียน จำนวน นักเรียน (คน) จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ จำนวนนักเรียนที่ได้ ระดับ 3ขึ้นไป ร้อยละนักเรียนที่ได้ ระดับ 3ขึ้นไป 0 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 498 5 25 19 28 40 61 71 246 378 75.90 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 525 13 31 21 30 43 57 60 263 380 72.38 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 541 11 32 25 37 43 66 67 255 388 71.72 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 479 3 15 15 27 40 65 73 240 378 78.91 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 499 9 21 18 29 37 63 65 254 382 76.55 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 487 5 14 12 20 26 47 58 304 409 83.98 รวมจำนวนนักเรียนม.1- 6 3,029 46 138 110 171 229 359 394 1,562 2,315 76.43 - ระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกระดับ ชั้น ม.1 – ม.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน (คน) จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับ 3ขึ้นไป ร้อยละนักเรียนที่ได้ระดับ 3ขึ้นไป 0 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ภาษาไทย 3,029 78 234 136 206 251 453 498 1,164 2,115 69.83 คณิตศาสตร์ 3,029 95 371 222 274 360 452 401 817 1,670 55.13 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3,029 49 148 129 198 259 384 423 1,401 2,208 72.90 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3,029 49 117 87 134 166 305 444 1,719 2,468 81.48 สุขศึกษาและพลศึกษา 3,029 24 56 62 122 117 180 212 2,242 2,634 86.96 ศิลปะ 3,029 45 109 45 106 166 253 219 2,084 2,556 84.38 การงานอาชีพ 3,029 26 46 57 71 132 263 266 2,160 2,689 88.78 ภาษาต่างประเทศ 3,029 28 87 116 191 293 451 473 1,365 2,289 75.57 หมายเหตุข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งสองตารางจำนวนนักเรียนที่ขาดไปคือจำนวนนักเรียนที่ติด ร และ มส -24 -


0 50 100 ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ 61.35 32.55 34.242.2565.67 31.27 35.35 39.0865.48 33.12 40.57 46.08 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 ปีการศึกษา 2565 0 20 40 60 ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ 46.87 28.432.72 36.66 33.79 54.05 26.7234.3541.53 30.87 49.75 27.78 33.24 36.39 38.77 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 ปีการศึกษา 2565 1.10.2 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 1) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 – 2565 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ระดับชั้น ม.3 ม.6 ปีการศึกษา 2563 2564 2565 2563 2564 2565 ภาษาไทย 61.35 65.67 65.48 46.87 54.05 49.75 คณิตศาสตร์ 32.55 31.27 33.12 28.40 26.72 27.78 วิทยาศาสตร์ 34.20 35.35 40.57 32.72 34.35 33.24 สังคมศึกษาฯ ไม่มีการจัดสอบรายวิชานี้ 36.66 41.53 36.39 ภาษาอังกฤษ 42.25 39.08 46.08 33.79 30.87 38.77 แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา 2563 – 2565 แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษา 2563 – 2565 -25 -


2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 ระดับ / รายวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียน 65.48 33.12 40.57 46.08 คะแนนเฉลี่ย ระดับ สพม. กท 1 61.26 30.99 37.73 44.00 คะแนนเฉลี่ย ระดับจังหวัด 61.26 30.99 37.73 44.00 คะแนนเฉลี่ย สังกัด สพฐ. ทั้งหมด 53.91 24.66 33.67 31.75 คะแนนเฉลี่ย ระดับประเทศ 52.95 24.39 33.32 32.05 หมายเหตุ เนื่องจากในปีการศึกษา 2565 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้ารับการทดสอบ O – Net โดยความสมัครใจสอบ จึงไม่ใช่สถิติจำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งระดับชั้น 3) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ระดับ / รายวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียน 49.75 27.78 33.24 36.39 38.77 คะแนนเฉลี่ย ระดับ สพม. กท 1 56.77 40.55 36.06 41.08 37.14 คะแนนเฉลี่ย ระดับจังหวัด 52.46 33.01 32.65 38.62 33.72 คะแนนเฉลี่ย สังกัด สพฐ. ทั้งหมด 45.79 22.39 28.78 33.62 23.59 คะแนนเฉลี่ย ระดับประเทศ 44.09 21.61 28.08 33.00 23.44 -26 -


95.26 93.97 87.79 93.74 91.24 82.24 4.7 5.98 10.94 5.95 8.34 17.53 0 20 40 60 80 100 120 มัธยมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 2 มัธยมศึกษาปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 5 มัธยมศึกษาปีที่ 6 ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน 1.10.3 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปีการศึกษา 2565 ระดับชั้น จำนวนนักเรียนทั้งหมด จำนวน (ร้อยละของนักเรียนตามระดับคุณภาพ) ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน มัธยมศึกษาปีที่ 1 498 95.26 4.70 0.05 0.00 มัธยมศึกษาปีที่ 2 525 93.97 5.98 0.03 0.02 มัธยมศึกษาปีที่ 3 541 87.79 10.94 0.86 0.41 มัธยมศึกษาปีที่ 4 479 93.74 5.95 0.28 0.03 มัธยมศึกษาปีที่ 5 499 91.24 8.34 0.36 0.06 มัธยมศึกษาปีที่ 6 487 82.24 17.53 0.14 0.09 รวม 3,029 2,748 270 9 3 เฉลี่ยร้อยละ 100 90.71 8.91 0.29 0.10 แผนภูมิแสดงผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปีการศึกษา 2565 -27 -


92.11 83.39 80.36 92.93 97.72 7.49 15.95 18.95 6.6 1.88 0 20 40 60 80 100 120 ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน 1.10.4 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ด้าน ปีการศึกษา 2565 ด้าน จำนวนนักเรียน ทั้งหมด จำนวน (ร้อยละของนักเรียนตามระดับ คุณภาพ) ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน 1) ความสามารถในการสื่อสาร 3,029 92.11 7.49 0.40 0 2) ความสามารถในการคิด 3,029 83.39 15.95 0.66 0 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 3,029 80.36 18.95 0.69 0 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 3,029 92.93 6.60 0.46 0 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 3,029 97.72 1.88 0.40 0 รวม 3,029 2,828 189 12 0 เฉลี่ยร้อยละ 100 93.36 6.24 0.40 0.00 แผนภูมิ แสดงผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ด้าน ปีการศึกษา 2565 -28 -


100 99.24 97.23 99.58 97.8 97.95 0 0.76 2.77 0.42 2.2 2.05 95 96 97 98 99 100 101 มัธยมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 2 มัธยมศึกษาปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 5 มัธยมศึกษาปีที่ 6 ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน 1.10.5 ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ปีการศึกษา 2565 ระดับชั้น จำนวนนักเรียนทั้งหมด จำนวน (ร้อยละของนักเรียนตามระดับคุณภาพ) ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน มัธยมศึกษาปีที่ 1 498 100.00 0.00 0.00 0.00 มัธยมศึกษาปีที่ 2 525 99.24 0.00 0.00 0.76 มัธยมศึกษาปีที่ 3 541 97.23 0.00 0.00 2.77 มัธยมศึกษาปีที่ 4 479 99.58 0.00 0.00 0.42 มัธยมศึกษาปีที่ 5 499 97.80 0.00 0.00 2.20 มัธยมศึกษาปีที่ 6 487 97.95 0.00 0.00 2.05 รวม 3,029 2,988 0 0 41 เฉลี่ยร้อยละ 100 98.65 0 0 1.35 แผนภูมิ แสดงผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ปีการศึกษา 2565 -29 -


99.4 100 99.82 99.79 99.8 99.79 0.6 0.18 0.21 0.2 0.21 99 99.2 99.4 99.6 99.8 100 100.2 มัธยมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 2 มัธยมศึกษาปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 5 มัธยมศึกษาปีที่ 6 ผ่าน ไม่ผ่าน 1.10.6 ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 ระดับชั้น จำนวนนักเรียนทั้งหมด จำนวน (ร้อยละของนักเรียน) ผ่าน ไม่ผ่าน มัธยมศึกษาปีที่ 1 498 99.40 0.60 มัธยมศึกษาปีที่ 2 525 100.00 0.00 มัธยมศึกษาปีที่ 3 541 99.82 0.18 มัธยมศึกษาปีที่ 4 479 99.79 0.21 มัธยมศึกษาปีที่ 5 499 99.80 0.20 มัธยมศึกษาปีที่ 6 487 99.79 0.21 รวม 3,029 3,022 7 เฉลี่ยร้อยละ 100 99.77 0.23 แผนภูมิ แสดงผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 -30 -


1.11 ผลการประเมินคุณภาพภายนอก 1.11.1 ผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ของสถานศึกษา สถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม จาก สมศ. เมื่อวันที่ 6 ถึง 8 เดือน มกราคม พ.ศ. 2557 สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม ดังตารางต่อไปนี้ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษา) น้ำหนัก (คะแนน) คะแนน ที่ได้ ระดับ คุณภาพ มาตรฐานที่ 1 ผลการจัดการศึกษา กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี 10.00 9.66 ดีมาก ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 10.00 9.79 ดีมาก ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 10.00 9.26 ดีมาก ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น 10.00 9.06 ดีมาก ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 20.00 10.57 พอใช้ กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา 5.00 5.00 ดีมาก ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็น เอกลักษณ์ของสถานศึกษา 5.00 5.00 ดีมาก กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของ สถานศึกษา 5.00 5.00 ดีมาก มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการศึกษา กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนา สถานศึกษา 5.00 5.00 ดีมาก กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับ แนวทางการปฏิรูปการศึกษา 5.00 5.00 ดีมาก มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ 10.00 9.00 ดีมาก มาตรฐานที่ 4 ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษา และต้นสังกัด 5.00 5.00 ดีมาก ผลรวมคะแนนทั้งหมด 100.00 87.34 ดี -31 -


ข้อเสนอแนะจากผลการประเมินคุณภาพภายนอก 1) จุดเด่น 1. ด้านผลการจัดการศึกษา 1) ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากได้รับการส่งเสริมให้มีทักษะ ความรู้และ ความเข้าใจในการดูแลตนเองให้มีสุขภาพกายที่ดี ปลอดจากปัญหาทางเพศและสิ่งเสพติด รวมทั้งการได้เข้าร่วม กิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์ตามความถนัด ความสนใจอย่างเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยการเข้า ร่วมโครงการและกิจกรรมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการสุขภาพดีมีสุข โครงการอาชีวอนามัยปลอดภัย ปลอดโรค โครงการโรคอ้วนมหันตภัย โครงการสิงห์เซย์โน โครงการ LOVE SAY PLAY โครงการกีฬาระหว่างคณะ สี กิจกรรมแอโรบิคตอนเช้าหน้าเสาธง โครงการกีฬา/นันทนาการสู่มาตรฐานสากลและความเป็นเลิศ โครงการดนตรี/ ศิลปะเพื่อสุนทรียะและความเป็นเลิศ 2) ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ เนื่องจากได้รับการปลูกฝังขัด เกลาจิตใจให้เป็นคนดีจากการจัดกิจกรรม /โครงการที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องของสถานศึกษาและความร่วมมือจาก ชุมชน ผู้ปกครองในการช่วยดูแลพฤติกรรมของนักเรียนเป็นประจำ เช่น โครงการลูกสิงห์ดีมีคุณธรรมและค่านิยมที่พึง ประสงค์ โครงการบูรณาการคุณธรรม บ้าน วัด โรงเรียนและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการค่ายพุทธบุตร กิจกรรมการเรียนธรรมศึกษา รวมทั้งการจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพของสถานศึกษา 3) ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับการส่งเสริมให้มีนิสัย รักการ อ่าน รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สามารถนำทักษะความรู้ และประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ แหล่งเรียนรู้มาใช้ ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมจากการจัดกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องของสถานศึกษา เช่น โครงการ โลกกว้างสร้างนิสัยใฝ่เรียนรู้ โครงการสิงห์รักการอ่าน โครงการจินดามณี ส่งผลให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ ต่าง ๆ รู้จักประมวลประสบการณ์เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้และนำเสนอได้อย่างเป็นรูปธรรม 4) ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็นเนื่องจากได้รับการพัฒนาทักษะการคิดในทุกขั้นตอนของกิจกรรม การเรียนการสอน รู้จักการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน และมีความสามัคคีในการทำงาน รวมทั้งได้รับการส่งเสริม ให้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการและพื้นฐาน ความรู้ของผู้เรียน โดยการเข้า ร่วมกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการสิงห์รักการอ่าน โครงการโลกกว้างสร้างนิสัยใฝ่เรียนรู้สู่ สากล การเรียนรู้จากโครงงาน การสืบค้นความรู้ด้วยตนเองในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมการประกวดแข่งขัน ทักษะวิชาการและทักษะวิชาชีพ กิจกรรมกีฬาสี กิจกรรมการเข้าค่ายวิชาการ กิจกรรม ทัศนศึกษา กิจกรรมเข้าค่าย พักแรม 5) สถานศึกษาได้กำหนดปรัชญาและวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียน คือ “ใฝ่หา ความรู้ เชิดชูสถาบัน ยึดมั่นคุณธรรม” ดำเนินโครงการและกิจกรรม ได้แก่ โครงการสิงห์รักการอ่าน กิจกรรมบันทึก รักการอ่าน โครงการโลกกว้างสร้างนิสัยใฝ่เรียนรู้สู่สากล เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ ก่อให้เกิด นิสัยใฝ่เรียนรู้ รักการศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอ โครงการค่ายพุทธบุตร เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีค่านิยมที่ดีงามตามแบบแผน วัฒนธรรมและประเพณีไทย กิจกรรมสวดมนต์ประจำสัปดาห์ นำผู้เรียนเข้าอบรมฝึกสมาธิที่วัดสิงห์ทุกวันอังคาร ผู้เรียนได้รับการอบรมบ่มเพาะให้มีค่านิยมในวัฒนธรรมประเพณี และมีจิตใจที่ดีงาม ได้รับการพัฒนาให้มีลักษณะ -32 -


นิสัยใฝ่เรียนรู้ รักการศึกษาค้นคว้า มีความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ รักและเชิดชูสถาบัน ผลการดำเนินงาน โครงการเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรภายนอกให้ความศรัทธาเชื่อมั่นในการพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษา 6) สถานศึกษากำหนดจุดเน้น จุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา คือ “บรรยากาศดี กิจกรรมเด่น เป็นศูนย์รวมชุมชน” ดำเนินกิจกรรม/โครงการเพื่อส่งเสริม ได้แก่ โครงการกีฬา ขุนเทียนสัมพันธ์ โครงการโรงเรียนเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง โครงการต้นกล้าปลูกปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการ ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬาและนันทนาการ โครงการ “รักวนารวมใจ สานสายใยรักสิ่งแวดล้อม” รวมทั้งการ ให้บริการด้านอาคารสถานที่แก่ชุมชน ผลการดำเนินงานมีความเข้มแข็งต่อเนื่องเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ทำให้ สถานศึกษามีจุดเน้นและจุดเด่นตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับจากองค์กรภายนอกเข้ามาศึกษาดูงานและร่วมพัฒนา อย่างต่อเนื่อง 7) สถานศึกษามีผลการดำเนินโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา ได้แก่ โครงการรักวนารวมใจ สานสายใยรักสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมผู้เรียนที่ไม่สนใจการเรียน ขาดจิต สาธารณะและขาดความรับผิดชอบ โครงการลูกสิงห์ปลอดสารเสพติด เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงต่อการติดบุหรี่ เหล้าและยาเสพติด โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านศิลปะ (ทัศนศิลป์-ดนตรีไทยและสากล นาฏศิลป์ ) เพื่อ แก้ปัญหาผู้เรียนที่ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะ ความสามารถและสุนทรียภาพทางศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ โดยมีครู ผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรม ส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านพฤติกรรมที่ดีขึ้น เป็นที่พึงพอใจและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน สถานศึกษาใกล้เคียงเข้ามาศึกษาดูงานและร่วมกันพัฒนา 2. ด้านการบริหารจัดการศึกษา 1) สถานศึกษามีการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก ผู้บริหารมีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ เป็นผู้นำทางวิชาการ และจัดโครงสร้างการบริหารที่ดี ใช้ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและมีความ หลากหลายในอาชีพ พร้อมให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาเป็นอย่างดี 2) สถานศึกษามีผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับ แนวทางการปฏิรูปการศึกษา ทั้งด้านผู้เรียน ครู และการบริหารจัดการ เนื่องจากได้นำข้อเสนอแนะของการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบสองไปวางแผนพัฒนาและบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาตามแผนปฏิบัติการประจำปีอย่าง ต่อเนื่อง 3. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษามีการพัฒนาประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่าง เป็นระบบ เนื่องจากผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะครูมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน พัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา มีการจัดกิจกรรม/โครงการในการพัฒนาครู การประเมิน แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบ และข้อทดสอบ รวมทั้งการนำผลการประเมินที่ได้มา พัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง -33 -


4. ด้านการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล เนื่องจากมีการกำหนดและ ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษา วางแผนดำเนินการ และกำหนดเป้าหมายตามมาตรฐาน มีระบบการบริหารตามวงจร คุณภาพ (PDCA) อย่างต่อเนื่อง 2) จุดที่ควรพัฒนา 1. ด้านผลการจัดการศึกษา ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยีอยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศอยู่ในระดับคุณภาพต้องปรับปรุง เนื่องจากผู้เรียนยังไม่สามารถนำหลักการความรู้มาเชื่อมโยงกับ สถานการณ์หรือสิ่งที่อยู่รอบตัวเองได้ ผู้เรียนขาดทักษะ ความสามารถในการจับประเด็นใจความสำคัญของเนื้อหา และการวิเคราะห์รายละเอียด รวมทั้งครูยังไม่ได้นำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาแนวทางพัฒนาตามลำดับความสำคัญ ทำให้มีผลต่อการ ทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 2. ด้านการบริหารจัดการศึกษา ไม่มี 3. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่มี 4. ด้านการประกันคุณภาพภายใน ไม่มี 3) ข้อเสนอแนะ 1. ด้านผลการจัดการศึกษา 1) ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีอยู่แล้ว แต่ควรได้รับการดูแลด้านสุขภาพร่างกาย อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงและสมรรถภาพทางกายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยขอความร่วมมือ กับผู้ปกครองช่วยดูแลการปรับพฤติกรรมทางโภชนาการเมื่ออยู่ที่บ้านซึ่งควรดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2) ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ดีอยู่แล้ว แต่ควรได้รับการส่งเสริม และพัฒนาด้านจิตอาสาทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการให้และเห็นคุณค่าของการ เสียสละ โดยควรดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 3) ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องดีอยู่แล้ว แต่สถานศึกษาควรพัฒนาห้องสมุด ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความสมบูรณ์ทันสมัย มีระบบการให้บริการที่รวดเร็ว สร้างบรรยากาศภายในให้ปลอดโปร่ง มี แสงสว่างเพียงพอ และควรจัดให้อยู่ในสถานที่ ที่เป็นศูนย์กลางสะดวกต่อผู้เรียนในการไปใช้บริการ ซึ่งควร ดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 4) ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็นดีอยู่แล้ว แต่ควรได้รับการส่งเสริมด้านทักษะการคิดให้เป็นระบบ มากขึ้น ฝึกการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การใช้แผนผังความคิด และการสรุปเนื้อหาจากเรื่องที่อ่าน การใช้สถานการณ์ จำลองรูปแบบต่าง ๆ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐานด้วยตัวเอง รวมทั้งการพัฒนาแบบประเมินผู้เรียนด้าน ความสามารถในการคิดและความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม โดยให้ผู้เรียนได้เขียนเพิ่มเติม เพื่อสะท้อนความ คิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ตามรายการที่ประเมินด้วย ซึ่งควรดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง -34 -


5) ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ โดยการนำข้อมูล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อ หาแนวทางในการพัฒนาตามลำดับความสำคัญ การวิเคราะห์ข้อสอบ O-NET ตามมาตรฐาน สาระ และตัวชี้วัดสู่ การสอดแทรกในวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยค่อย ๆ เติมเต็มทุกระดับชั้น เพื่อเป็น การขจัดความถี่หรือความแน่นในเนื้อหาสาระที่ไม่ต้องมาติวเข้มในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใน การจัดทำข้อสอบส่วนกลางที่สอดคล้องกับมาตรฐาน สาระและตัวชี้วัด ควรเป็นข้อสอบแบบคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อการนำไปใช้ โดยการสร้างแบบทดสอบที่ใช้รูปแบบ วิธีตอบหลากหลายวิธี ทั้งนี้จะต้องนำไปใช้และวิเคราะห์ ข้อสอบให้ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน รวมทั้งการจัดกิจกรรมการสอนเสริมด้วยเทคนิควิธีการที่ หลากหลายเพื่อกระตุ้นความสนใจใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม โดยครูผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนในการสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและ การเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) 6) สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษาดีอยู่แล้ว ควรพัฒนาให้ต่อเนื่อง โดยการจัดระบบให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้า มาร่วมกิจกรรม ทั้งด้านการแสดงความคิดเห็น การจัดกิจกรรม และการติดตามประเมินผล รวมถึงการวางแผน พัฒนาปรับปรุงการดำเนินโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปีที่เกี่ยวข้องให้ประสบผลสำเร็จมากขึ้นทุกปี มีการ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลการดำเนินงานสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการยอมรับจากชุมชนมากขึ้น 7) สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของ สถานศึกษาดีอยู่แล้ว ควรพัฒนาให้ต่อเนื่อง โดยการเรียนเชิญชุมชนและหน่วยงานภายนอกให้มีส่วนร่วมในการ กำหนดจุดเน้น จุดเด่นของสถานศึกษา และร่วมกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีการดำเนินโครงการสอดคล้องกับ จุดเน้น จุดเด่นดังกล่าว ซึ่งจุดเน้น จุดเด่นของสถานศึกษาควรพิจารณาภายใต้บริบท ศักยภาพและความพร้อมในการ ดำเนินการของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้จุดเน้น จุดเด่นและแผนปฏิบัติการข้างต้น ควรผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลกระทบที่ดีต่อชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินโครงการเหล่านี้ไปยังชุมชน สาธารณชน และองค์กรภายนอกใน ลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการเข้าร่วมแข่งขัน สร้างการยอมรับจากองค์กรภายนอกในระดับท้องถิ่น จังหวัด และประเทศมากขึ้น 8) สถานศึกษามีผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา โดย ดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียนดีอยู่แล้ว จึงควรขอความร่วมมือจากหน่วยงานต้นสังกัด ชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอต่อไป หรือเพิ่มเติม โครงการพิเศษในการแก้ปัญหาด้านอื่นของสถานศึกษาหรือของชุมชน อันก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำกิจกรรมของ บุคลากร นักเรียน และชุมชน -35 -


2. ด้านการบริหารจัดการศึกษา 1) สถานศึกษามีประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษาดีอยู่แล้ว ควรพัฒนาให้ต่อเนื่อง โดยการจัดระบบการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหมวดหมู่และเชื่อมโยงกับความเป็นเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม 2) สถานศึกษามีผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้อง กับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาดีอยู่แล้ว ควรพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่อง โดยสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์กับ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา 3. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษามีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญดีอยู่แล้ว แต่ ครูควรศึกษาเทคนิครูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ ทั้งนี้จำนวนผู้เรียนที่มากย่อม มีผลต่อการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งบางครั้งอาจดูแล ช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้ไม่ทั่วถึง รวมทั้งการนำข้อมูลจากการสรุปผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ได้ วิเคราะห์ประเมินผลมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอโดย ควรดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 4. ด้านการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัดดีอยู่ แล้ว ควรพัฒนาให้ต่อเนื่อง โดยการจัดระบบการบริหารเชิงคุณภาพที่ชัดเจน ในด้านการติดตามประเมินผล และการ นำผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจ พัฒนาปรับปรุง กำหนดวิธีการประเมินผลที่หลากหลาย และมีเครื่องมือในการ ประเมินผลที่ชัดเจน จัดระบบข้อมูลสารสนเทศของผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงาน 4 ด้าน ให้สะดวกต่อ การนำไปใช้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ควรให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในผลการประเมินคุณภาพ ของสถานศึกษาเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 1.11.2 ผลการประเมินคุณภาพภายนอก : ผลการประเมิน SAR ภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 สถานศึกษาได้รับการรับรองจากคณะผู้ประเมิน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564 สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอก : ผลการประเมิน SAR ภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 ดังตารางต่อไปนี้ มาตรฐานที่ ระดับคุณภาพ 1. คุณภาพของผู้เรียน ดี 2. กระบวนการบริหารและการจัดการ ดี 3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดี -36 -


ข้อเสนอแนะในการเขียน SAR ให้ได้ผลการประเมินระดับสูงขึ้น มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน สถานศึกษาควรระบุข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมใน SAR เพื่อให้มีความชัดเจนในรายละเอียด ดังนี้ ข้อมูล เป้าหมายในการพัฒนาตามมาตรฐานคุณภาพของผู้เรียน ด้านศักยภาพ สมรรถนะ และคุณลักษณะตามเป้าหมายของ หลักสูตรทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายที่กำหนด ข้อมูลตัวอย่าง โครงการกิจกรรมที่มีรายละเอียด และสรุปผลโครงการ ข้อมูลการนำผลการสรุปโครงการหรือบันทึกหลังการจัดการ เรียนรู้ไปส่งเสริมความสามารถของผู้เรียน ข้อมูลการรายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนให้ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องได้ รับทราบ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ สถานศึกษาควรระบุข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมใน SAR เพื่อให้มีความชัดเจนในรายละเอียด ดังนี้ข้อมูล การนำแผนไปปฏิบัติ การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล ตามแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รายละเอียดการดำเนินการโครงการและกิจกรรม ข้อมูลประเมินผลการดำเนินการ การกำหนดค่าเป้าหมายตาม มาตรฐานการศึกษา และโครงการและกิจกรรม ข้อมูลสรุปผลการดำเนินการเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายตาม มาตรฐานการศึกษาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ข้อมูลร้อยละของ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการว่ามีกลุ่มใดบ้าง มีส่วนร่วมอย่างไร เรื่องอะไร และมีความพึงพอใจ ร้อยละเท่าไร เพื่อการพัฒนาในปีต่อไป ข้อมูลการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ผลงานของสถานศึกษาผ่านสื่อในรูปแบบ ใดบ้าง เช่น ทางเว็บไซต์ หรือเฟซบุคของโรงเรียน เป็นต้น มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาควรระบุข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมใน SAR เพื่อให้มีความชัดเจนในรายละเอียด ดังนี้ข้อมูล จำนวนหรือร้อยละของครูที่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกรายวิชาทุกชั้นปีที่สอน ข้อมูลตัวอย่างแผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โครงการและกิจกรรมที่แสดงรายละเอียดกระบวนการดำเนินงาน ข้อมูล กระบวนการกำกับติดตาม การนำแผนการจัดการเรียนรู้ โครงการ กิจกรรม ในการนำไปพัฒนาผู้เรียน ข้อมูลการนำ สรุปผลการโครงการและกิจกรรม บันทึกผลหลังสอนไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ข้อมูลที่ได้จากการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอย่างไร ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในการเขียน SAR ในปีการศึกษาต่อไป สถานศึกษาควรระบุหรือเพิ่มเติมข้อมูลเหล่านี้ไว้ด้วย ดังนี้ ข้อมูล ทั่วไปของสถานศึกษา จำนวนบุคลากรอื่น ๆ ข้อมูลสำคัญของสถานศึกษา อัตราส่วน ครู ต่อ ผู้เรียน จำนวนครูครบชั้น เรียนหรือไม่ครบชั้น ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนวันที่สถานศึกษา จัดการเรียนการสอนจริง ในปีการศึกษาที่ประเมิน และข้อมูลผลการดำเนินงานตามที่สถานศึกษากำหนดไว้ใน นิยาม/ จุดเน้น ของแต่ละมาตรฐาน ย้อนหลัง 3 ปีการศึกษาว่ามีผลการพัฒนาที่สูงขึ้นหรือไม่ อย่างไร หากสูงเท่าเดิมหรือเพิ่ม สูงขึ้น สถานศึกษามีแผนหรือวิธีการ กระบวนการในการดำเนินงานเรื่องนี้อย่างไร -37 -


-38 -


-39 -


-40 -


-41 -


1.13 สถานศึกษาประเมินความพร้อมด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา รายการ แนวการพิจารณา ระดับ ความพร้อม 1. ด้านกายภาพ 1) การจัดห้องเรียนต่อ ระดับชั้น มีการจัดห้องเรียน ครบตามระดับชั้นที่เปิดสอน 3 มาก มีการจัดห้องเรียน แบบคละชั้น 2ระดับชั้น 2 ปานกลาง มีการจัดห้องเรียน แบบคละชั้นมากกว่า 2ระดับชั้น 1 น้อย 2) ห้องปฏิบัติการ/ห้อง พิเศษ / แหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียน มีห้องปฏิบัติการ/ห้องพิเศษ/แหล่งเรียนรู้เพียงพอและพร้อมใช้งาน 3 มาก มีห้องปฏิบัติการ/ห้องพิเศษ/แหล่งเรียนรู้เพียงพอแต่ไม่พร้อม ใช้งาน หรือมีไม่เพียงพอแต่พร้อมใช้งาน 2 ปานกลาง มีห้องปฏิบัติการ/ห้องพิเศษ/แหล่งเรียนรู้ไม่เพียงพอ และไม่พร้อม ใช้งาน 1 น้อย 3) สื่อเทคโนโลยี ประกอบ การเรียนการสอน มีสื่อเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และครบทุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ 3 มาก มีสื่อเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย แต่ไม่ครบทุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ 2 ปานกลาง มีสื่อเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนรู้ไม่หลากหลาย และไม่ครบทุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 น้อย 2. ด้านบุคลากร 1) ผู้บริหารสถานศึกษา มีผู้อำนวยการสถานศึกษา 3 มาก มีผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา 2 ปานกลาง ไม่มีผู้อำนวยการ/ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 น้อย 2) จำนวนครู มีจำนวนครูครบทุกระดับชั้น และทุกรายวิชา 3 มาก มีจำนวนครูครบทุกระดับชั้นแต่ไม่ครบทุกรายวิชา หรือมีครูไม่ครบ ทุกระดับชั้นแต่ครบทุกรายวิชา 2 ปานกลาง มีจำนวนครูไม่ครบทุกระดับชั้น และไม่ครบทุกรายวิชา 1 น้อย 3) จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยการ พัฒนาตนเองของครู ระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน ทั้งหมดใน ปีการศึกษาที่ผ่านมา มีชั่วโมงเฉลี่ยตั้งแต่ 20 ชั่วโมงขึ้นไป 3 มาก ชั่วโมงเฉลี่ยระหว่าง 10 - 19 ชั่วโมง 2 ปานกลาง มีชั่วโมงเฉลี่ยน้อยกว่า 10 ชั่วโมง 1 น้อย 4) จำนวนชั่วโมงเฉลี่ย การเข้าร่วมกิจกรรม PLC ของครูระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งหมดในปีการศึกษา ที่ผ่านมา มีชั่วโมงเฉลี่ยตั้งแต่ 50 ชั่วโมงขึ้นไป 3 มาก มีชั่วโมงเฉลี่ยระหว่าง 25 - 49 ชั่วโมง 2 ปานกลาง มีชั่วโมงเฉลี่ยน้อยกว่า 25 ชั่วโมง 1 น้อย 5) บุคลากรสนับสนุน มีบุคลากรสนับสนุนงานวิชาการ และธุรการ 3 มาก มีบุคลากรสนับสนุนงานวิชาการ หรือธุรการ 2 ปานกลาง ไม่มีบุคลากรสนับสนุน 1 น้อย มีการประชุม/อบรม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการประกันคุณภาพฯ 3 มาก -42 -


6) การให้ความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับการ ประกันคุณภาพ การศึกษาในปี การศึกษาที่ผ่านมา กับครูทุกคน มีการประชุม/อบรม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการประกันคุณภาพฯ กับครูที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา 2 ปานกลาง ไม่มีการประชุม/อบรม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการประกัน คุณภาพฯ 1 น้อย 3. ด้านการสนับสนุนจากภายนอก 1) การมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองร้อยละ 80ขึ้นไป เข้าร่วมประชุมหรือกิจกรรมของ สถานศึกษา 3 มาก ผู้ปกครองร้อยละ 50 - 79 เข้าร่วมประชุมหรือกิจกรรมของ สถานศึกษา 2 ปานกลาง ผู้ปกครองน้อยกว่าร้อยละ 50 เข้าร่วมประชุมหรือกิจกรรมของ สถานศึกษา 1 น้อย 2) การมีส่วนร่วมของคณะ กรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการสถานศึกษาเข้าร่วมประชุมกับสถานศึกษา อย่าง น้อย 4 ครั้งต่อปี 3 มาก คณะกรรมการสถานศึกษาเข้าร่วมประชุมกับสถานศึกษา 2-3 ครั้ง ต่อปี 2 ปานกลาง คณะกรรมการสถานศึกษาเข้าร่วมประชุมกับสถานศึกษา น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี 1 น้อย 3) การสนับสนุนจาก หน่วยงาน /องค์กรที่ เกี่ยวข้อง ได้รับการสนับสนุนเพียงพอ และส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษา 3 มาก ได้รับการสนับสนุนเพียงพอ แต่ไม่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษา หรือ ได้รับการสนับสนุนไม่เพียงพอ แต่ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษา 2 ปานกลาง ได้รับการสนับสนุนไม่เพียงพอ และไม่ส่งผลต่อการพัฒนา สถานศึกษา 1 น้อย สรุประดับความพร้อม สถานศึกษามีความพร้อมอยู่ในระดับมาก 9 รายการ สถานศึกษามีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง 3 รายการ สถานศึกษามีความพร้อมอยู่ในระดับน้อย 0 รายการ -43 -


-44 -


Click to View FlipBook Version