The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา65-มัธยมวัดสิงห์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 0909, 2023-06-10 02:00:01

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา65-มัธยมวัดสิงห์

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา65-มัธยมวัดสิงห์

ส่วนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปี 1. การบริหารจัดการของสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่ม บริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารทั่วไป ผู้บริหารยึดหลักการบริหารงานโดยใช้กลยุทธ์ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ วัดสิงห์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ สมาคมผู้ปกครอง และครูฯ สมาคมศิษย์เก่า ผู้ปกครองเครือข่าย ผู้ปกครองและชุมชน มีการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ/ กิจกรรม ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ แผนภาพที่ 1 การดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA นอกจากนี้ฝ่ายบริหารยังใช้รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ที่เรียกว่า “MWSModel” M = Motivation คือ ครูและบุคลากรเกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากการได้รับโอกาสและแรง เสริมจากฝ่ายบริหาร ซึ่งมอบหมายงานให้ทำตรงตามความถนัด ความรู้ความสามารถของตน มีการกระจาย อำนาจอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงาน มีความสุขกับการทำงาน ทุ่มเท อุทิศตนอย่างเต็มกำลัง ความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเรียนการสอน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาของโรงเรียน ผลงานจึงปรากฏเป็นที่ประจักษ์ และสามารถขยายผลได้ การดำเนินงาน โครงการ กิจกรรม ได้รับการจูงใจให้ ใช้ระบบวงจรคุณภาพ เดมมิ่ง (PDCA) ในทุกภาคส่วน -45 -


W= Wisdom คือ ความรู้ ปัญญา ประสบการณ์ ของครูและบุคลากรแต่ละคน ซึ่งเป็นเสมือนภูมิปัญญาที่ ถ่ายทอด หรือเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยไม่หวงแหน ไม่ถูกจำกัดด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ ส่งผลให้โรงเรียนมัธยมวัด สิงห์เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ภาพบรรยากาศการทำงานไม่ว่าจะเป็นงานประจำ หรือกิจกรรมพิเศษจึงมีความกลมเกลียว เกิดความร่วมมืออันดีต่อกัน มีความร่วมมือจากศิษย์เก่าเข้ามาให้ ความรู้กับรุ่นน้องทางด้านวิชาการโดยการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร S = Skill คือ ครูและบุคลากร มีทักษะ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ เนื่องจากผลการปฏิบัติงานที่ประสบ ความสำเร็จทำให้ได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายบริหารให้รับผิดชอบงานนั้นโดยทุกคนมีโอกาสได้ต่อยอดความคิด สร้างสรรค์จนเกิดทักษะความชำนาญ แผนภาพที่ 2 การดำเนินงานตามกระบวนการ “MWSModel” -46 -


แผนภาพที่3 โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนในปีการศึกษา 2565 -47 -


2. วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ของสถานศึกษา วิสัยทัศน์(Vision) ผู้เรียนมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม อัตลักษณ์ (Identities) ใฝ่หาความรู้ เชิดชสูถาบัน ยึดมั่นคุณธรรม เอกลักษณ์ (Missions) บรรยากาศดี กิจกรรมเด่น เป็นศูนย์รวมชุมชน พันธกิจ(Missions) 1. พัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนให้มีศักยภาพ สมรรถนะ และคุณลักษณะตามเป้าหมายของหลักสูตร 2. พัฒนาหลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพ 3. พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนครูให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ 4. ส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม หลักธรรมาภิบาล และระบบประกัน คุณภาพการศึกษา เป้าหมาย 1. ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีศักยภาพตามอัตลักษณ์ และมีทักษะในการ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. สัมฤทธิ์ผลของการจัดการศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานสากล 3. ครูมุ่งพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และเป็นครูมืออาชีพ 4. องค์กรทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่1 พัฒนาผู้เรียนให้มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการสูง กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์และส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนตามความถนัด กลยุทธ์ที่3 พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลยุทธ์ที่4 เสริมสร้างให้ครูมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและเป็นครูมืออาชีพ กลยุทธ์ที่5 เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล และการประกัน คุณภาพการศึกษา -48 -


3. โครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา/กลยุทธ์ ชื่อโครงการ มาตรฐานที่1 คุณภาพผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 1 1. โครงการอ่านดู รู้ ฉลาดสามารถพัฒนาตน 2. โครงการคิดได้ สังเคราะห์เป็น เน้นสร้างสรรค์ 3. โครงการปลูกฝังนิสัยรักการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต 4. โครงการนักคิด นักวิทยาศาสตร์GEP 5. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่คุณภาพและมาตรฐาน EP กลยุทธ์ที่ 2 1. โครงการสร้างเสริมคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ “ใฝ่หาความรู้” 2. โครงการสร้างเสริมคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ “ยึดมั่นคุณธรรม” 3. โครงการลูกสิงห์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมดำรงไทย 4. โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 5. โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ กลยุทธ์ที่ 4 1. โครงการเสริมสร้างและพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพ กลยุทธ์ที่ 5 1. โครงการชีวอนามัยปลอดภัยปลอดโรค 2. โครงการสานสัมพันธ์บ้าน – โรงเรียน 3. โครงการสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ 4. โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 5. งานเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา EP 6. งานเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา GEP มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลยุทธ์ที่ 3 1. โครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ 2. โครงการสร้างเสริมความเป็นเลิศทางด้านศิลปะ/ดนตรี/นาฏศิลป์ 3. โครงการสร้างเสริมความเป็นเลิศทางด้านสุขภาพ/กีฬา/ นันทนาการ 4. โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5. โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ -49 -


-50 -


ส่วนที่3 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน 1. กระบวนการพัฒนา สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/ กิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น งานหลักสูตรมีการ ประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ เพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบใน การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ว่า “การจัดการ ศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มี ความสุข ดังนั้นสถานศึกษาจึงมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิด คํานวณรวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิด อย่างมีวิจารณญาณมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมี ความรู้ทักษะพื้นฐานเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ขั้นตอนการวางแผน (P = Plan) 1. ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษา แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ และงาน/โครงการ/กิจกรรมของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์เพื่อเตรียมการ ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบงานต่างๆ ศึกษา ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามเกณฑ์ของแต่ละช่วงชั้น 3. ร่วมกันคิดหาวิธีการส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่าง ต่อเนื่องโดยศึกษาจากโครงการต่าง ๆ และกิจกรรมของโรงเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมา 4. แต่งตั้งคณะกรรมการ วางแผนการจัดทำโครงการ/กิจกรรม/งานที่ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนมี คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด 5. เสนอและจัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น ทั้งทางด้านการพัฒนาทักษะการคิดคำนวณและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การพัฒนานักเรียนที่อ่าน ไม่ออกเขียนไม่คล่อง การพัฒนาทักษะทางด้านภาษาการ เป็นต้น รวมถึงการวางแผนจัดตั้งชมรม ชุมนุม กลุ่ม สาระการเรียนรู้ต่าง ๆ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 6. สร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เพื่อเก็บ ข้อมูลด้านการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา -51 -


ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติและพัฒนา (D = DO และ Development) 1. ครูพัฒนาหลักสูตร ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด จัดทำ คำอธิบายรายวิชา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ Active Learning มีองค์ประกอบครบถ้วน ตามรูปแบบที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการต้นสังกัดกำหนดสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สอดคล้องกับธรรมชาติ ของสาระการเรียนรู้และผู้เรียน 2. สร้างและพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยนำมาใช้ สอดคล้องกับผู้เรียน ออกแบบเครื่องวัดผลและประเมินผลและนำผลการประเมินมาปรับปรุง รวมทั้งการจัดทำ สารสนเทศของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3. ปรับปรุงพัฒนาห้องเรียนและจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง ภายในและนอกห้องเรียน โดยจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ซ่อมครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์กระดานไวท์บอร์ด เครื่อง ฉายภาพสามมิติ เครื่องโปรเจคเตอร์เครื่องขยายเสียง และติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต 4. ดำเนินการจัดโครงการ / กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในทุกมิติ ทั้งทางวิชาการ คุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ซึ่งได้จัดโครงการ/กิจกรรม ที่พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ดังนี้ - กิจกรรมการพัฒนานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่คล่อง จินดามณี - กิจกรรมพัฒนานักเรียนด้านคณิตศาสตร์ - กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ - กิจกรรมค่ายโครงงานคณิตศาสตร์ - กิจกรรมการพัฒนานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่คล่อง Reading for Effective Writing - กิจกรรม Wonderful Language - กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ English for Everyday - กิจกรรมการแสดงละครสั้นภาษาอังกฤษ Skit - กิจกรรมการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ TOEICS - กิจกรรมการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาฝรั่งเศส Delf A1, A2 - กิจกรรมการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน HSK - กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขันวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น JLPT - กิจกรรมสอบไม่ตกยกระดับตนเอง Stop Failing and Speed Test - โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - กิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาการแข่งขันทักษะภายในภาษาอังกฤษ Story Telling, Crossword, Singing Contest, Impromptu Speech, ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น - โครงการค่ายบูรณาการพัฒนาภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ฟร๊องเซ่แค้มป์ ภาษาจีน และ ภาษาญี่ปุ่น - โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการตามศักยภาพของนักเรียน - การจัดติว TGAT/TPAT และการติว A-Level สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 5. จัดตั้งกิจกรรมชมรมและกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี วิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ได้แก่ - ชมรมมหัศจรรย์ทางภาษาอังกฤษ Wonderful Language Club - ชมรมผู้นำการใช้ภาษาอังกฤษ Enthusiastic Club -52 -


- ชมรมผู้นำการใช้ภาษาฝรั่งเศส French Club - ชมรมผู้นำการใช้ภาษาจีนจีดจ๊าด - ชมรมจินดามณี - ชมรมคณิตคิดเร็ว - ชมรม Toys story - ชมรมเห็ดถั่งเช่าสีทอง 6. นำนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประสานกับหน่วยงานภายใน และภายนอกโรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัด กิจกรรม ขั้นตอนการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล (C = Check) 1. ดำเนินการตามโครงการ /กิจกรรมที่กลุ่มสาระฯ รับผิดชอบตามปฏิทินการปฏิบัติงานของโรงเรียน ตามวันเวลาที่กำหนด เก็บข้อมูล/ร่องรอยหลักฐาน แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้โรงเรียนทราบ 2. ดำเนินการเก็บข้อมูลผลการเรียนทุกรายวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (GPA) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน การ สื่อสาร และการคิดคํานวณ 3. ตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินการตามโครงการ / กิจกรรม ตามปฏิทินการปฏิบัติงานของ โรงเรียน เพื่อทราบความก้าวหน้าของการดำเนินการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่อง เพื่อพัฒนางานให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นในปีการศึกษาต่อไป 4. ประเมินผลการวัดความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณตามเกณฑ์ ของแต่ละระดับชั้น โดยสรุปจากผลประเมินคุณภาพความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิด คำนวณของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น 5. ผู้จัดกิจกรรมมีการประเมินผลกิจกรรมของตนเอง สะท้อนหน้าที่การทำงาน ประโยชน์จากการเข้า ร่วมกิจกรรมตลอดจนการสะท้อนถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงาน การแก้ปัญหาและการยอมรับ ผลที่เกิดขึ้น ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา (A = Act) 1. ศึกษารายงานผลการประเมินโครงการ/กิจกรรม เพื่อนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล หาจุดเด่น จุดด้อย ของการดำเนินการทำโครงการ/กิจกรรม 2. ปรับปรุง พัฒนา แก้ไข ให้เป็นไปตามมาตรฐานในระดับที่สูงขึ้น นำข้อเสนอแนะจากผลการ ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม/งาน ไปปรับปรุงพัฒนางานเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถรอบด้าน มี คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามที่สถานศึกษากำหนด โดยการนิเทศแบบมีส่วน ร่วม แบบกัลยามิตร และแบบมีประสิทธิภาพ 3. จัดการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง จัดการสอนซ่อมเสริมให้นักเรียนที่สอบไม่ผ่าน ติด 0 ร มส. โดยหา กิจกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนานักเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้แก่ นักเรียน -53 -


4. จัดทำข้อตกลงระหว่างครูในกลุ่มสาระ MOU เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น 5. สรุปผลประเมินการวัดความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณตาม เกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น และรายงานผลการประเมินต่องานประกันคุณภาพโรงเรียนเพื่อปรับปรุงการพัฒนา คุณภาพผู้เรียนในปีต่อไป 2. ผลการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ประเด็นพิจารณา 1 มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ -54 -


ผลการประเมินความสามารถในการเขียนภาษาต่างประเทศเหมาะสมตามระดับชั้น ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-6 ได้ระดับคุณภาพอยู่ที่ 3.91 ซึ่งไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายระดับ 4 ดีเลิศ จากการรวบรวมข้อมูล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิเคราะห์ผลการประเมินความสามารถ ในการเขียนภาษาต่างประเทศ พบว่าการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางการเขียนยังไม่หลากหลาย เท่าที่ควร และเนื่องด้วยสถานการณ์โควิดในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา นักเรียนมีคลังคำศัพท์ ความรู้ในหลักโครงสร้าง ทางภาษาที่น้อยหรือไม่มีความคงทนในการจดจำ รวมไปถึงความเข้าใจการนำไปใช้ ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่ แต่ละระดับชั้นต้องมีในระดับพื้นฐาน ดังนั้นด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงส่งผลให้นักเรียนใช้ภาษาต่างประเทศในการ เขียนได้ไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยแนวทางในการพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการเขียน ภาษาต่างประเทศ จะดำเนินการจัดตั้งกิจกรรมชมรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาต่างประเทศให้ผู้เรียนอย่าง -55 -


หลากหลายโดยเฉพาะทักษะทางเขียนทั้งทางตรงและทางอ้อม จัดกิจกรรมการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษใน แต่ละระดับชั้นทุกปีการศึกษาและทุกชั้นปีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจัดกิจกรรมการเรียนเสริมนอกเวลาเรียน เพื่อให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางภาษาด้วยวิธีที่หลากหลายและสม่ำเสมอ ยกระดับความสามารถใน การเขียนภาษาต่างประเทศในแต่ละระดับชั้น เพื่อกำหนดมาตรฐานและแนวทางพัฒนาผู้เรียนร่วมกันให้พัฒนา ต่อยอดในระดับชั้นอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตามลำดับ จากผลการประเมินความสามารถในด้านการคิดคำนวณเหมาะสมตามระดับชั้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ได้ระดับคุณภาพอยู่ที่ 3.38 ซึ่งไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายระดับ 4 ดีเลิศ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการดำเนินการออกแบบ เครื่องมือในการวัดผลการประเมินของแต่ละระดับชั้นที่มีความแตกต่างกันพอสมควรมีระดับของการวัดผลความยาก ง่ายที่สร้างความแปรปรวนของข้อมูลให้เกิดขึ้นดังนั้นสำหรับแนวทางแก้ปัญหาทางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จึงจำเป็นต้องดูปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความสามารถในด้านการคิดคำนวณให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละ ระดับและมีการออกแบบเครื่องมือสำหรับใช้การวัดและประเมินผลอย่างเหมาะสมสำหรับการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ ในปีการศึกษาถัดไป -56 -


ประเด็นพิจารณา 2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา ประเด็นพิจารณา 3 ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม -57 -


ประเด็นพิจารณา 4 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประเด็นพิจารณา 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ประเด็นพิจารณา 6 มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติต่องานอาชีพ -58 -


ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ประเด็นพิจารณา 1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน “ใฝ่หาความรู้ เชิดชูสถาบัน ยึดมั่นคุณธรรม” ประเด็นพิจารณา 2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย -59 -


ประเด็นพิจารณา 3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ประเด็นพิจารณา 4 สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม -60 -


3. จุดเด่น 1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ (GPA) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนตามค่า เป้าหมายของสถานศึกษา 2. ครูจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศที่ 2 ตามกิจกรรมและ โครงการต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์และเสริมสร้างโอกาส มีเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกในการใช้ ภาษา 3. ครูมีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้กับผู้เรียน มีการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย สำเร็จตามวัตถุประสงค์ วัน เวลาที่ตั้งไว้ตามปฏิทินปฏิบัติงานของโรงเรียน มีกระบวนการวิเคราะห์ และวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้วนำผลมาพัฒนาปรับปรุงให้สูงขึ้น 4. ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ มีการดำเนินการ ติดตามและตรวจสอบผลการ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ 5. เป็นที่ยอมรับและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากชุมชนและผู้ปกครอง 6. นักเรียนได้รับรางวัลต่างๆ ในการเข้าร่วมการแข่งขันมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ 7. โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์สนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีและเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ ซ่อมบำรุง รวมทั้งห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนได้ เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน โดยอัตราส่วนในการใช้คอมพิวเตอร์ต่อครั้ง คือ นักเรียนหนึ่งคนต่อคอมพิวเตอร์ หนึ่งเครื่อง จึงทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะและเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม 8. โรงเรียนมีการดำเนินการจัดกิจกรรมที่ส่งผลให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตาม หลักสูตร โดยนักเรียนได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ในการจัดทำโครงงานคุณธรรมทุกห้องเรียน และ สอดแทรกในการเรียนการสอนทุกๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้ 9. โรงเรียนได้มีการจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ ความแตกต่างทางภาษาและเปรียบเทียบวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมประเทศทางตะวันตกและตะวันออกได้ อย่างชัดเจน โดยผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมและนิทรรศการให้ความรู้ 10. โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่เข้มแข็ง มีกระบวนการในการส่งเสริมและปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และมีค่านิยมที่ดีงาม นักเรียนมีสุขภาพกายที่ แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ เนื่องด้วยโรงเรียนมีกิจกรรมที่ส่งเสริมทั้งทางด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ และ กิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานในชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ เป็นอย่างดี เช่น โรงเรียน วัด โรงพยาบาล หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ -61 -


4. จุดที่ควรพัฒนา 1. ควรส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อสร้างความสนใจในการเรียนรู้ และสืบค้นทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online เช่น จัดทำแหล่งเรียนรู้ผ่านช่องทาง YouTube , Facebook , Google Site การติด เครื่องปรับอากาศ การติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกอาคารเรียน 2. ลดผลการเรียนของนักเรียนที่ติด 0 ร มส ในแต่ละภาคเรียน 3. พัฒนาผลการการเรียนรู้ของนักเรียนที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ 4. สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมให้มีระเบียบวินัย และการมีความ รับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่นให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น 5. สถานศึกษาควรส่งเสริมกิจกรรมที่ปลูกฝังค่านิยมในการมีจิตสาธารณะ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมี จิตสำนึกที่ดี และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม 6. สถานศึกษาควรส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนเองให้มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าและมีจิตสำนึกรักและภาคภูมิใจ สามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล และร่วมกัน อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่สืบต่อไป 5. นวัตกรรม /การปฏิบัติที่เป็นเลิศ การปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ที่ส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียน คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างหลากหลายของคุณครูภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และขยายผลไปยังกลุ่มสาระ การเรียนรู้อื่นๆ เช่น การจัดอบรม/สัมมนาการใช้สื่อ นวัตกรรมในการเรียนการสอน , การจัดอบรม/สัมมนา การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เป็นต้น โดยคุณครูเป็นผู้ดำเนินการจัดการอบรม/สัมมนาและเป็นวิทยากรใน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทำให้ครูสามารถนำความรู้ที่ได้จากการ แลกเปลี่ยนไปสอนนักเรียนได้ทันที -62 -


6. แหล่งข้อมูล หลักฐาน 6.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ประเด็นพิจารณา หลักฐานและร่องรอย Google Sites ประเด็นพิจารณา 1 มีความสามารถในการอ่านการ เขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ ประเด็นพิจารณา 2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ แก้ปัญหา ประเด็นพิจารณา 3 ความสามารถในการสร้าง นวัตกรรม ประเด็นพิจารณา 4 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ประเด็นพิจารณา 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตาม หลักสูตรสถานศึกษา ประเด็นพิจารณา 6 มีความรู้ทักษะพื้นฐานและเจตคติ ต่องานอาชีพ 6.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ประเด็นพิจารณา หลักฐานและร่องรอย Google Sites ประเด็นพิจารณา 1 การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน “ใฝ่หาความรู้ เชิดชู สถาบันยึดมั่นคุณธรรม” ประเด็นพิจารณา 2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความ เป็นไทย ประเด็นพิจารณา 3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบน ความแตกต่างและหลากหลาย ประเด็นพิจารณา 4 สุขภาวะทางร่างกาย และจิต สังคม 7. แผนการพัฒนา / แนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการในปีการศึกษาต่อไป ส่งเสริมโครงการ/กิจกรรมที่เน้นพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างต่อเนื่องและเกิดผลในรูปธรรม ที่ชัดเจน เช่น ความมีระเบียบวินัย การใช้ถ้อยคำสุภาพ ภาวะผู้นำ ฯลฯ -63 -


มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 1. กระบวนการพัฒนา ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ได้บริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนด้วยการใช้หลักความเป็นผู้นำใน การบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน และการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการวาง แผนการดำเนินการตามแผนและการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลอย่างเป็นระบบ สามารถบริหารจัดการ สถานศึกษาได้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการจัดการศึกษา / มาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา โดยใช้หลักการพัฒนาด้วยวงจรคุณภาพ PDCA มาใช้ในการปรับปรุงการบริหาร เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนและทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ดังขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนการวางแผน (P = Plan) 1. ผู้บริหารศึกษาระเบียบกฎหมาย กฎกระทรวง และนโยบายของทางราชการ เกี่ยวกับการ บริหารงาน ทั้ง 4 ด้าน คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหาร ทั่วไป เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาชาติโดยนำ หลักการกระจายอำนาจ และการบริหารแบบมีส่วนร่วม มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กร เช่น กำหนด โครงสร้างการบริหารงาน กำหนดผู้รับผิดชอบงาน และมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ครอบคลุมภารกิจ ครบถ้วนทั้งด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป พร้อมทั้งเกิดความร่วมมือ การประสานงานทั้งภายในและภายนอก 2. ผู้บริหารกำหนดทิศทางในการพัฒนาโรงเรียน ตามวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ และพันธกิจโดยมีการ ประชุม ปรึกษาหารือ รับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ เพื่อให้การจัดการศึกษามีควา ม สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และบังเกิดประสิทธิผล 3. ผู้บริหารเตรียมการประชุม/วางแผน และวิเคราะห์งานในหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกับคณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนความพร้อมในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อ มอบหมายงานให้เหมาะสมกับตัวบุคคล 4. ผู้บริหารศึกษาและวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การ ปรับปรุงแก้ไขพัฒนา โดยวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนา สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกันกับครูและบุคลากรทางการ ศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ตลอดจนองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมผู้ปกครองและครูฯ สมาคมศิษย์เก่า กรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง เป็นต้น 5. ผู้บริหารกำหนดให้ผู้ปฏิบัตินำกระบวนการ PDCA มาใช้ในการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมต่างๆ ตลอดจนการทำงานประจำ โดยผู้บริหารสร้างความเข้าใจในทางปฏิบัติ และส่งเสริมให้บุคลากรใช้กระบวนการ PDCA ในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนอย่างเป็นปกติวิสัย 6. ผู้บริหารได้ดำเนินการวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านทุก กลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ กิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน โครงการ English Program และโครงการ Gifted Education Program ได้จัดทำแผนพัฒนาผู้เรียน -64 -


ด้วยโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ผ่านกลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารทั่วไป โดยกลุ่มบริหารงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ 7. ผู้บริหารมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้งทั้งการศึกษาอบรม การไปศึกษาดูงาน ทำให้มีภูมิ ความรู้อย่างถ่องแท้และนำข้อมูลมาเผยแพร่ขยายผลให้ครูและบุคลากรในโรงเรียน เพื่อสร้างแนวคิดเชิงบวก เติมเต็มประสบการณ์ และเสริมสร้างความรู้ให้ครูนำไปประยุกต์ใช้จึงเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นเสมือน ศูนย์กลางขององค์กร 8. ผู้บริหารศึกษาโครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ กำหนดเป้าประสงค์โดยวางแผน การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนามาตรฐานข้อมูล การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากร พัฒนาการเรียนรู้และศักยภาพของบุคลากรให้มีทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถใช้เทคโนโลยี สารสนเทศสร้างสรรค์ผลงาน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากร ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติและพัฒนา (D = DO และ Development) 1. แต่งตั้งคณะทำงานตามโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียนโดยกำหนดผู้ที่จะรับผิดชอบในการ ปฏิบัติงานและการควบคุมงานแต่ละส่วนตามความรู้ความสามารถ 2. ประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานก่อนที่จะมีการมอบหมายงานให้ รับผิดชอบไปปฏิบัติได้รับรู้เนื้อหาในงานอย่างท่องแท้ 3. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรให้สอดคล้องกับ เป้าหมายของสถานศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีมาตรฐานคุณภาพ มุ่งเน้นการดำเนินงาน โดยใช้ กระบวนการ PDCA ซึ่งเกิดจากการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด และได้ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อนนำไปปฏิบัติ 4. ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการการประเมินและสรุปผลการประเมินตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ติดตามผลการดำเนินงานตาม มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้คุณภาพของสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐานที่กำหนดไว้เร็วขึ้น 5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ จัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ และกิจกรรม ต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและด้าน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม 6. จัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งด้านการสร้างเสริม จรรยาบรรณวิชาชีพคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ โดยสนับสนุนส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม ศึกษาต่อ ทำผลงานทางวิชาการ รวมทั้งการให้ขวัญกำลังใจ ให้การยกย่องเชิดชูต่อสาธารณะ และจัดพิธีมอบรางวัล 7. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างมีความสุข เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายตามแผนที่ได้วางไว้ เช่น เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ ผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะตาม ว.PA เป็นต้น -65 -


8. สนับสนุนให้จัดงบประมาณและจัดทำแผนงานโครงการที่เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวย ความสะดวกที่นำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ได้ในทุกด้านของผู้เรียน มีอาคารเรียน มีห้องเรียนที่เพียงพอ มีแหล่ง เรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีการบริการด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ มีห้องปฏิบัติการ มี ห้องสมุด มีสนามกีฬากลางแจ้ง มีสนามกีฬาในร่ม ส่งเสริมทางด้านสุขอนามัยและมีความปลอดภัยต่อผู้เรียน 9. สนับสนุนให้จัดกิจกรรมสร้างเสริมเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกันระหว่างชุมชน วัด และโรงเรียน โดยการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม เผยแพร่ความรู้ด้าน ดนตรีไทยสู่ภายนอก ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพแก่ชุมชน และ นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ความรู้จากโรงเรียนไปสู่ชุมชนภายนอก ขั้นตอนการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล (C = Check) 1. กำกับ ติดตามผลการดำเนินการปฏิบัติงาน โครงการ/กิจกรรม ของแต่ละฝ่ายงาน จากบันทึก ข้อความ หรือรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผ่านกลุ่มบริหารงานเพื่อเสนอต่อผู้บริหารโรงเรียน 2. ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา จากผลการรายงาน หลังจากได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่ปฏิบัติงานของสถานศึกษาไปได้ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อตรวจสอบ ความก้าวหน้าของตัวชี้วัดและมาตรฐานคุณภาพการศึกษา และแก้ไขสิ่งที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพ การศึกษา 3. ติดตาม ตรวจสอบ แก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานตามโครงการ/กิจกรรม ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน การปฏิบัติงาน เพื่อนำข้อบกพร่องไปวางแผนในการจัดทำโครงการ/กิจกรรมครั้งต่อไป 4. ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การปรับปรุง ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการให้มีสื่อและอุปกรณ์เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน จากการทำบันทึกข้อมูล การขอใช้ห้องประชุม หอประชุม การขอใช้สนาม การขอใช้ห้องโสตและสถานที่ต่างๆ ในโรงเรียน 5. ประเมินการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ เช่นกิจกรรมอาสาและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อ ช่วยเหลือสังคม กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น 6. ประเมินความสำเร็จตามแผนในภาพรวมและระดับยุทธศาสตร์ติดตามการวัดและประเมินผล ตามเป้าประสงค์ที่ได้กำหนดไว้จากข้อมูลสารสนเทศ ที่ส่งผ่านกลุ่มบริหารงานเพื่อเสนอต่อผู้บริหารโรงเรียน 7. กำกับและติดตามการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้าน การศึกษา และการขยายฐานการเรียนรู้เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งส่งเสริม สนับสนุน การเป็น วิทยากรในด้านต่างๆ รวมถึงปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่องค์กรภายนอก โดยการประเมินทักษะของ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และผลงานของนักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปกครอง ที่เข้าร่วมกิจกรรมแบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา (A = Act) 1. งานระดับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่ รับผิดชอบ และนําผลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาในปีการศึกษาถัดไป 2. งานระดับกลุ่มบริหาร ประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่รับผิดชอบและ นําผลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาในปีการศึกษาถัดไป -66 -


3. งานระดับโรงเรียนวิเคราะห์หาผลการดําเนินงานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มบริหาร นำผล การประเมินคุณภาพภายในมาสรุปเชื่อมโยงเปรียบเทียบกับเป้าหมายของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อ กําหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีในปีการศึกษาถัดไป 2. ผลการดำเนินงาน การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในปีการศึกษา 2565 ปรากฏผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ตามตัวบ่งชี้ ดังนี้ ประเด็นพิจารณา 1 มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน ดังนี้ เป้าประสงค์ (Goals) 1. ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีศักยภาพตามอัตลักษณ์ และมี ทักษะ ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. สัมฤทธิผลของการจัดการศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานสากล 3. ครูมุ่งพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และเป็นครูมืออาชีพ 4. องค์กรทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ วิสัยทัศน์ (Vision) ผู้เรียนมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม อัตลักษณ์ (Identities) ใฝ่หาความรู้ เชิดชูสถาบัน ยึดมั่นคุณธรรม เอกลักษณ์ (Missions) บรรยากาศดี กิจกรรมเด่น เป็นศูนย์รวมชุมชน พันธกิจ (Missions) 1. พัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนให้มีศักยภาพ สมรรถนะ และคุณลักษณะตามเป้าหมายของ หลักสูตร 2. พัฒนาหลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการจัดการ เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 3. พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนครูให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ 4. ส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม หลักธรรมาภิบาล และระบบ ประกันคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการโรงเรียนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการกระจาย อำนาจ และการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการจัดทำแผนภูมิโครงสร้างการบริหารงานในภาพรวมของโรงเรียน ในแต่ละกลุ่มบริหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้และกลุ่มงาน มีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ตรงกับ ความรู้ความสามารถของครูและบุคลากร ทำให้การดำเนินงานทุกด้านของโรงเรียนมีความชัดเจนในการ ปฏิบัติงาน โดยยึดแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนเป็นแนวทางในการดำเนินงาน/โครงการ/ -67 -


กิจกรรม ส่งผลให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์และพันธกิจที่ โรงเรียนกำหนดขึ้น จากการที่ผู้บริหารมีภาวะผู้นำสูง มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนางาน พัฒนาผู้เรียนอยู่เสมอ ประกอบกับการใช้กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม และมุ่งผลสัมฤทธิ์ จึงก่อให้เกิดความร่วมมือจาก บุคลากรภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน ส่งผลต่อการได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนทั้งด้านทุนทรัพย์ และการร่วมคิดร่วมทำในการจัดกิจกรรมต่างๆ หรือการพัฒนาอาคารสถานที่สภาพแวดล้อม เช่น ได้รับเงิน บริจาคเพื่อเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปีผลการพัฒนาคุณภาพ และแผนปฏิบัติการประจำปีที่ มีมาตรฐานคุณภาพมุ่งเน้นการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการ PDCA ซึ่งเกิดจากการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด และได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อนนำไปปฏิบัติ และเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมแล้ว ได้มีการสรุปผลการ ประเมินโครงการ/กิจกรรมทุกภาคเรียน ประเด็นพิจารณา 2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์สามารถบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยใช้ กระบวนการ PDCA มีการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อกำหนดค่าเป้าหมายในการจัดการศึกษาตามมาตรฐาน การศึกษาของโรงเรียน มีการจัดทำคู่มือ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ครูและบุคลากรในการปฏิบัติงาน ต่างๆ มีการประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษา มีการนำผลการประเมินมาจัดทำ เป็นข้อมูลสารสนเทศ มีการตรวจสอบทบทวน และประเมินคุณภาพภายใน เพื่อจัดทำรายงานผลการประเมิน คุณภาพภายในสถานศึกษาหรือเล่ม SAR ประจำปี 2565 โรงเรียนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เน้นการสร้างความเข้าใจ และให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับคณะครูและบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจน เป็น ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการจัดประชุมเพื่อวางแผนงาน กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมาย ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้กระบวนการประกันคุณภาพในการทำงานเป็นปกติวิสัย ก่อให้เกิดความ ราบรื่นในการดำเนินงานต่างๆ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ มีโอกาสได้ปฏิบัติบทบาทหน้าที่อย่าง สมบูรณ์ ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนในการแก้ไขปัญหาและร่วมพัฒนาผู้เรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้ง สามารถให้ข้อเสนอแนะผ่านการประชุมผู้ปกครองเครือข่าย ทำให้โรงเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด และมีการ รายงานผลความสำเร็จของการบริหารจัดการสถานศึกษาทุกปี ประเด็นพิจารณา 3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ได้มีการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเป็นโรงเรียนที่มี หลักสูตรหลากหลายให้ผู้ปกครองได้เลือกนำบุตรหลานเข้ามาศึกษา จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ 1. หลักสูตร English Program ที่เน้นการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ -68 -


2. หลักสูตร Gifted Education Program ที่เน้นการเรียนการสอนวิชา วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ 3. หลักสูตรห้องเรียนปกติมีทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ซึ่งในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายนั้น มีแผนการเรียนให้นักเรียนเลือกเรียนได้ตามความถนัด เช่น แผนการเรียนวิทย์- คณิต แผนการเรียนคณิต-อังกฤษ แผนการเรียนภาษาฝรั่งเศส แผนการเรียนภาษาจีน แผนการ เรียนภาษาญี่ปุ่น แผนการเรียนศิลปะ แผนการเรียนไทย-สังคม และแผนการเรียนธุรกิจ ครูโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์มีศักยภาพสูงในการจัดการเรียนการสอน และสามารถจัดทำโครงการ/ กิจกรรม เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนทุกคนได้อย่างครบถ้วนรอบด้าน ทั้งด้านวิชาการและความเป็นเลิศ ทางด้านกีฬา ดนตรีศิลปะ ซึ่งผู้เรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ จากการประกวดแข่งขันในระดับ โรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ ระดับภาค และระดับชาติหลากหลายรายการ โดยในปีการศึกษานี้โรงเรียนส่ง นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 70 ได้เหรียญรางวัลรวม 152 เหรียญ และส่งแข่งขันต่อในระดับชาติ ได้เหรียญรางวัลรวม 29 เหรียญ สร้างความพึงพอใจและเป็น ทางเลือกให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง มากขึ้น นอกจากนี้โรงเรียนยังถูกจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนที่มีการ แข่งขันสูง จากการที่โรงเรียนจัดหลักสูตรสถานศึกษาได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน จัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีแหล่งเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตลอดจนจัดระบบการ ดูแลช่วยเหลือผู้เรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการพัฒนางานด้านวิชาการ โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศและนำไปสู่การแก้ไข พัฒนา เช่น ผลการทดสอบระดับชาติที่ สูงขึ้นทุกระดับ การวางแผนปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้เกิดความเหมาะสมกับการเรียนรู้ของ นักเรียน นอกจากนี้ยังสนับสนุนส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ส่งครูเข้ารับการอบรม สัมมนา จัดการอบรมให้ความรู้ภายในโรงเรียน จัดกิจกรรมทัศนศึกษา ดูงาน ตลอดจนสนับสนุนการทำผลงาน ทางวิชาการ ส่งผลให้ครูมีศักยภาพสูง สามารถจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประเด็นพิจารณา 4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักการ บริหารแบบมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการโดยใช้มาตรฐานการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่ง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และเห็นความสำคัญของครูและบุคลากร จึงส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ครูและบุคคลากร ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นครูมืออาชีพ โดยส่งเสริมครูให้เข้ารับ การอบรม เพื่อเก็บชั่วโมงสะสมผลงาน ซึ่งครูทุกคนผ่านการอบรม 100 % นอกจากนั้นโรงเรียนยังจัดอบรม เชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว.17 ว.21 ว.9/2564 (ว.PA) สนับสนุนให้ครูทุกคนยื่นเอกสารขอรับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ มีการสนับสนุน ส่งเสริมให้โรงเรียนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหรือการจัดการความรู้(Knowledge Management) ใน การพัฒนาคุณภาพ/ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจนได้นวัตกรรมหรือการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของกลุ่มบริหาร/กลุ่มสาระการเรียนรู้รวมทั้งดูแลเอาใจใส่อย่างทั่วถึง ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามี ขวัญและกำลังใจดีมาก เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน และมีความสมัครสมาน สามัคคี จึงไม่มีความ -69 -


ขัดแย้งในหมู่บุคลากร ส่งผลให้เกิดสภาวะการร่วมมือร่วมใจในการทำงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม หรือกิจกรรมพิเศษโรงเรียนที่จัดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทุกคนในการยื่นประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว.17 , ว.21 และ ว.9/2564 (ว.PA) ซึ่งในปี 2565 มีครูที่ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะ ➢ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 4 คน ได้แก่ นางสาวจารุวรรณ ยิ่งยงค์ นางสาววงเดือน อุปชัย นางสาวปราณีวัลย์ สายบุดดี นายธวัชชัย นิลประดับ ➢ ครูวิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 1 คน ได้แก่ นายเอกภพ สร้อยฟ้า ประเด็นพิจารณา 5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อ ต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่กว้างขวางเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีบรรยากาศที่ร่มรื่น สามารถจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ เนื่องจากมีอาคารสถานที่ สิ่งอำนวย ความสะดวกและสื่อเทคโนโลยีอย่างพอเพียง มีห้องปฏิบัติการและสนามกีฬาเพื่อให้บริการนักเรียนอย่าง เพียงพอ ทั้งด้านวิชาการ สุขภาพอนามัย ศิลปะ ดนตรี กีฬา นันทนาการ เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้ นักเรียน มีสุขภาพจิตดีมีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น และรักการมา โรงเรียน นอกจากนี้โรงเรียนมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดีมีการพ่นฆ่าเชื้อ มีการจัดซื้อตู้วัดอุณหภูมิซึ่ง เป็นเครื่องมือคัดกรองที่มีคุณภาพ มีการปรับปรุงอาคารเรียน ห้องเรียน โดมสนามกีฬา อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้ง มีพื้นที่กว้างในการให้นักเรียนเว้นระยะห่างได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่เชื้อโควิด-19 นักเรียน ทุกคนได้รับ การพัฒนาอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการเรียน ความประพฤติ รวมทั้งการแก้ไขสภาพปัญหา ทำให้ประสบ ความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนหรือการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ส่งผลให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ประเด็นพิจารณา 6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์จัดระบบการจัดหา การพัฒนาและการบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ใน การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา ซึ่งพิจารณาจากสถานศึกษามี การจัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการ รวมไปถึงจัดให้มีจุด เครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้บริการ -70 -


ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาผ่านเว็บไซต์ โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์และระบบ ต่างๆ เช่น นักเรียน ครูและบุคลากรมีเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้การปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ ❖ ให้บริการข้อมูลและประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ และ Line Official โรงเรียน มัธยมวัดสิงห์ @mwsschool เพจโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ และอื่นๆ ❖ มีจุดเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ❖ จัดทำระบบสารบรรณออนไลน์ เพื่อลดการใช้กระดาษ และขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับการส่งเอกสาร ภายในโรงเรียน ให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ❖ เปิดบริการห้องสมุดดิจิตอล MWS E-Library ประเด็นพิจารณา 7 จัดกิจกรรมสร้างเสริมเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชน ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์จัดกิจกรรมสร้างเสริมเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริม ความสัมพันธ์และความร่วมมือกันระหว่างชุมชน วัด และโรงเรียน โดยการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม เผยแพร่ ความรู้ด้านดนตรีไทยสู่ภายนอก ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย และนอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ความรู้ จากโรงเรียนไปสู่ชุมชนภายนอก เช่น ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 5 ฐานการเรียนรู้ได้แก่ ฐานการเรียนรู้วงโยธวาทิต , ฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ดถังเช่าสีทอง , ฐานการเรียนรู้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช , ฐานการเรียนรู้อาเซียนศึกษา และฐานการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม เป็นวิทยากร ดนตรีไทยในกิจกรรมสานสุข สืบวัฒนธรรม นำวิถีใหม่ เยาวชนคนสร้างสรรค์ เป็นวิทยากรโครงการอบรม พัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ชุมชน(อาชีพดีพร้อม) โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(ดีพร้อม) ร่วมกับกลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีซึ่งได้มีการขยายผลความรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับ ของชุมชน มีความสัมพันธ์ที่ดี และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดกิจกรรมทกุครั้ง 3. จุดเด่น 1. บรรยากาศดีโรงเรียนได้ปรับปรุงและพัฒนาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ภายในบริเวณ โรงเรียน ให้มีบรรยากาศสวยงาม ร่มรื่น เรียบร้อย และปลอดภัย เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของ นักเรียน ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีความสุขเมื่ออยู่ในโรงเรียน ส่งผลให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนของ ครูมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. กิจกรรมเด่น โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก ทั้งด้านกีฬา และศิลปะ/ดนตรี/ นาฏศิลป์ ทำให้นักเรียนสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง ส่งผลให้โรงเรียน เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากชุมชน และหน่วยงานภายนอกต่างๆ โดยเฉพาะการแข่งขันศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 70 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนได้เหรียญรางวัลรวม 152 เหรียญ และระดับชาติ ได้เหรียญ รางวัลรวม 29 เหรียญ 3. เป็นศูนย์รวมของชุมชน โรงเรียนได้ร่วมมือกับชุมชน และหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจัดกิจกรรมร่วมกัน โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชน มีความสัมพันธ์ที่ดี และได้รับความร่วมมือเป็น อย่างดี ในการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนทุกครั้ง -71 -


4. โรงเรียนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเน้นการสร้าง ความเข้าใจและให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับคณะครูและบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5. การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน เน้นการมีส่วนร่วม ดำเนินการในรูปแบบของ คณะกรรมการ สร้างวัฒนธรรมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกระดับ 6. โรงเรียนมีการจัดทำระบบการประเมินในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Google Sites เพื่อลดการใช้ กระดาษและมีข้อมูลพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา 7. ระบบสารสนเทศของโรงเรียนจัดทำข้อมูลเป็นปัจจุบัน มีข้อมูลที่ทันสมัยพร้อมต่อการนำไปใช้งาน 8. มีการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างสม่ำเสมอ และนำเทคโนโลยีที่เป็น ระบบติดตามแผนและงบประมาณ มาใช้ในการรายงานผลการจัดโครงการ/กิจกรรม 9. โรงเรียนมีการวางแผนและดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านทุก กลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการ English Program และ โครงการ Gifted Education Program ดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรม มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างหลากหลาย เช่น การทำโครงงาน ศึกษาแหล่งเรียนรู้ การประกวดแข่งขัน การอบรม เป็นต้น ทำให้ นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้ตามความสนใจและตามศักยภาพของตนเอง 10. โรงเรียนมีเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้การปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ ให้บริการข้อมูลและ ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์และ Line Official โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์@mwsschool เพจโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ และอื่นๆ มีจุดเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเปิดบริการห้องสมุดดิจิตอล MWS E-Library 11. โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตามเกณฑ์ ว17 , ว21 และ ว.9/256 (ว.PA) โดยจัดอบรมสัมมนาให้ครูและบุคลากรในโรงเรียน และมีการติดตามผลอย่าง ต่อเนื่องเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 12. โรงเรียนมีศูนย์การเรียนรู้ที่หลากหลาย มีห้องปฏิบัติการที่เพียงพอทั้งสื่อและอุปกรณ์เทคโนโลยี และ มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ร่มรื่น เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน 4. จุดที่ควรพัฒนา 1. โรงเรียนควรจัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อช่วยพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวม ทั้งจัดการเรียนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ 2. โรงเรียนควรสร้างความตระหนัก การรับรู้ และการเห็นคุณค่าของการนำระบบการประกัน คุณภาพ มาใช้ควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น 3. โรงเรียนควรจัดทำโครงการพัฒนาครูสู่การทำผลงานวิชาการอย่างมีคุณภาพอย่างเป็นระบบ โดย ประสานความร่วมมือกับนักวิชาการ หรือนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย มาเป็นที่ปรึกษาให้กับครูในการจัดทำ ผลงานทางวิชาการ 4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ 5. พัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอรเน็ตให้มีความเสถียรและเร็วขึ้น เพื่อการใช้งานที่คล่องตัวรองรับ เทคโนโลยีใหม่ 6. จากการรวบรวมแบบสังเกตพฤติกรรมและแบบประเมินความพึงพอใจ สรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วม กิจกรรมต้องการให้มีการเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ ความสะดวกด้านเวลา นอกจากนี้ยังควรเพิ่มเติมวัสดุ- -72 -


อุปกรณ์ให้เพียงพอกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ควรจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่องเพื่อผลที่ยั่งยืน และเกิดประสิทธิภาพ 5. นวัตกรรม /การปฏิบัติที่เป็นเลิศ การปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ในด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ได้ใช้รูปแบบ การบริหาร “MWSModel” กล่าวคือ M = Motivation คือ ครูและบุคลากรเกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจากการได้รับโอกาสและแรงเสริมจากฝ่ายบริหาร ซึ่งมอบหมายงานให้ทำตรงตามความถนัด ความรู้ ความสามารถของตน มีการกระจายอำนาจอย่างเป็นระบบ W= Wisdom คือ ความรู้ ปัญญา ประสบการณ์ ของครูและบุคลากรแต่ละคน ซึ่งเป็นเสมือนภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดหรือเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยไม่หวงแหน ไม่ ถูกจำกัดด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ ส่งผลให้โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เกิดความสามัคคีในหมู่ คณะ S = Skill คือ ครูและบุคลากร มีทักษะ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ เนื่องจากผลการปฏิบัติงานที่ ประสบความสำเร็จทำให้ได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายบริหารให้รับผิดชอบงานนั้นโดยทุกคนมีโอกาสได้ต่อยอด ความคิดสร้างสรรค์จนเกิดทักษะความชำนาญ 6. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ประเด็นพิจารณา หลักฐานและร่องรอยGoogle Sites ประเด็นพิจารณา 1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน ประเด็นพิจารณา 2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพ สถานศึกษา ประเด็นพิจารณา 3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้น คุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและ ทุกกลุ่มเป้าหมาย ประเด็นพิจารณา 4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความ เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ประเด็นพิจารณา 5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ประเด็นพิจารณา 6 จัดเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ประเด็นพิจารณา 7 จัดกิจกรรมสร้างเสริมเครือข่าย การเรียนรู้สู่ชุมชน 7. แผนการพัฒนา / แนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการในปีการศึกษาต่อไป การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตาม แนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA มาใช้ในการบริหาร จัดการ -73 -


มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1. กระบวนการพัฒนา ขั้นตอนการวางแผน (P = Plan) 1. จัดประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการ เพื่อปรึกษาและวางแผน การจัดหาบุคคลที่มีการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิดปฏิบัติจริงและกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตของ แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และกลุ่มงาน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด 2. ศึกษาแนวทาง รูปแบบของมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา เพื่อหา วิธีส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง โดย ศึกษาคู่มือและรายละเอียดประเด็นในการพิจารณาการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการ/กิจกรรมต่างๆ รวมถึงการนำ เทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการรู้ และการนิเทศการจัดการเรียนรู้ 4. ร่วมกันหาวิธีการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถ นำความรู้ประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยศึกษาจากแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม สาระการเรียนรู้ โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ 5. กำหนดบทบาทของคณะกรรมการแต่ละคน โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อติดตามหาร่องรอย หลักฐานการปฏิบัติงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกลุ่มงานต่างๆ รวมทั้งประสานงานกับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อชี้แจงกระบวนการในการการนิเทศการจัดการเรียนรู้ และกำหนดขอบเขตเวลาในการนิเทศ ขั้นการลงมือปฏิบัติและพัฒนา (D : Do and Development) 1. พิจารณาและวิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือจัดกิจกรรมของครูแต่ละกลุ่มสาระการ เรียนรู้และนำมาเปรียบเทียบตามเกณฑ์ที่คาดหวัง เพื่อพิจารณาว่ากระบวนการการจัดการเรียนรู้หรือกิจกรรม ใด ที่ผ่านตามเกณฑ์ที่คาดหวัง 2. กำหนดโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ลงในแผนปฏิบัติการของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้ พัฒนาสื่อการเรียนการสอน พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เข้าไปสืบค้น รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ใน การจัดการเรียนการสอน 3. คณะกรรมการบริหารวิชาการ นำข้อกำหนดในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผู้เรียน ที่หลากหลายมาร่วมกันกำหนดชิ้นงานบูรณาการที่เหมาะสม ประเมินตามสภาพจริง โดยกำหนดให้มีการวัด และประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ และนำผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาตาม ศักยภาพ -74 -


4. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ นำนโยบายและข้อกำหนดจากการประชุมวิชาการแจ้งให้ครูผู้สอน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้นำไปปฏิบัติรวมถึงดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้แบบ การจับคู่นิเทศ 5. ครูผู้สอนศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และนำผลการศึกษามาพัฒนาผู้เรียน 6. สนับสนุนให้มีการจัดสอนซ่อมเสริมให้แก่ผู้เรียนที่มีปัญหาทางการเรียน รวมทั้งส่งเสริมให้ครูผู้สอน มีการพัฒนาผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ขั้นการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล (C : Check) 1. ติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูกับการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้แหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่หลากหลายตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ การจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ โดยการสอบถาม สัมภาษณ์ การสังเกต พฤติกรรมในการมีส่วนรวมของผู้เรียน ประเมินผลการวัดความสามารถเกี่ยวกับกระบวนการคิดและ ความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงของนักเรียนในแต่ละรายวิชาและกิจกรรม 3. ติดตามผล และประสานงานกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อรวบรวมร่องรอย หลักฐานจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ตามหัวข้อที่กำหนด เพื่อรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามกระบวนการจัดการ เรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ และนำมาประมวลผลและเผยแพร่ตามระดับคุณภาพของผู้เรียนใน แต่ละระดับชั้น รวมถึงส่งแบบวัดและประเมินผลมายังงานกำกับ ติดตามและนิเทศการศึกษา งานวิชาการและ รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ขั้นการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา (A : Act) 1. การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ การใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่างๆ การจัดการเรียนรู้ และข้อมูลการ สะท้อนกลับจากการนิเทศการจัดการเรียนรู้สามารถนำมาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม สาระการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อวางแผนและพัฒนา สำหรับการดำเนินการในปีการศึกษาต่อไป 2. มีการกำหนดระยะเวลาในการติดตาม ตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุง เพื่อให้การทำงานเกิดกลไกและ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3. วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่รวบรวม เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับระดับคุณภาพการประเมินและหา ข้อมูล/หลักฐานอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องและครบถ้วนตามระดับคุณภาพการประเมิน 4. สรุปผลการติดตาม ตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงพัฒนา และรายงานผลต่องานประกันคุณภาพ โรงเรียน เพื่อจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองต่อไป -75 -


2. ผลการดำเนินงาน ผลการประเมินจากประเด็นพิจารณาตามมาตรฐานกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ มีดังต่อไปนี้ ประเด็นพิจารณา 1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ครูผู้สอนมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดและการปฏิบัติได้จริง มีการนำความรู้ไป ปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 1. ครูผู้สอนได้ศึกษา วิเคราะห์หลักสูตรตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ และ นําไปจัดทํารายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อสร้างองค์ความรู้ ใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา 2. ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ธรรมชาติของผู้เรียน บริบท ของสถานศึกษาและท้องถิ่นที่มีองค์ประกอบครบถ้วนและนําไปปฏิบัติได้จริง 3. ครูมีการจัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการคิด ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการ เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาอย่างหลากหลาย มีกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงและนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ 4. ครูมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการปฏิบัติที่สร้างสรรค์อย่าง หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และผู้เรียน 5. ครูมีบันทึกหลังการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และนําผลมาปรับประยุกต์แผนการ จัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น 6. ครูมีการประเมินผลการใช้หลักสูตร กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และนําผลการ ประเมินมาปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น 7. ครูมีนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และมีการเผยแพร่นวัตกรรมที่ใช้ในการ จัดการเรียนรู้ 8. ครูเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นํา เป็นพี่เลี้ยง และเป็นที่ปรึกษาด้านหลักสูตร ด้านการออกแบบหน่วย การเรียนรู้และด้านการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ ประเด็นพิจารณา 2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ผู้เรียนได้ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนทศที่ทันสมัย มีห้องปฏิบัติการที่เพียงพอเอื้อต่อการเรียนรู้และมี แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้โดยแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ดังนี้ 1. คอมพิวเตอร์ จำนวน 574 เครื่อง ▪ ใช้เพื่อการเรียนการสอน จำนวน 453 เครื่อง ▪ ใช้เพื่อการบริหารจัดการ จำนวน 121 เครื่อง 2. ห้องปฏิบัติการ จำนวน 52 ห้อง ▪ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 ห้อง -76 -


▪ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 6 ห้อง ▪ ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ จำนวน 4 ห้อง ▪ ห้องปฏิบัติการอื่นๆ ของแต่ละกลุ่มสาระฯ จำนวน 36 ห้อง 3. แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด ▪ จำนวนหนังสือในห้องสมุดมีทั้งหมด 50,674 เล่ม ▪ จำนวนหนังสือในห้องสมุดดิจิทัล E-library มีทั้งหมด 726 เล่ม ▪ การสืบค้นหนังสือและการยืม - คืน ใช้ระบบห้องสมุดดิจิตอล ▪ การสืบค้นหนังสือและการยืม - คืนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book ใช้ระบบห้องสมุดดิจิทัล E-library mws.vlcloud.net/ ▪ จำนวนนักเรียนที่ยืม - คืนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book ในปีการศึกษาที่รายงานเฉลี่ย 1,504 เล่มต่อเดือน 4. แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ▪ กลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม ใช้ในการจัดการเรียนรู้ตลอดปีการศึกษา ประเด็นพิจารณา 3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ได้มีการดำเนินการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางด้าน กายภาพของชั้นเรียน ด้านบรรยากาศด้านการเรียนการสอน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน และ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมส่วนกลาง เพื่อส่งเสริมศักยภาพของ ครู ในการจัดการบริหารชั้นเรียนเชิงบวก และกิจกรรมที่ส่งเสริมนักเรียนให้มีการพัฒนาทั้งในด้าน ความรู้คุณธรรม จริยธรรม ความรักและความสามัคคีโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ด้านกายภาพของชั้นเรียน โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ได้มีการจัดทำแหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เช่น ศูนย์การเรียนรู้ตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงและนำมาประยุกต์ให้กับการเรียนการสอน เช่น วิชาภาษาไทย และภาษาจีน เพื่อส่งเสริมให้การ จัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนานักเรียนได้เต็มศักยภาพ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และเพื่อเอื้อต่อการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อไป อีกทั้งโรงเรียนได้มีการจัดสรรงบประมาณตามแผนการดำเนินงาน ปรับปรุงและพัฒนาห้องเรียนต่างๆ เช่นโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มีการปรับปรุงห้องศูนย์ต่างๆ เพื่อใช้ในการพัฒนา ความสามารถในด้านการเรียนของนักเรียน และอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับรายวิชา และกิจกรรม ต่าง ๆ 2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการชั้น เรียนเชิงบวก เช่น มีการดำเนินกิจกรรมกระบวนการกลุ่มในการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม กิจกรรมโฮมรูม เพื่อ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรักสามัคคีต่อกัน มีความสนุกสนานในการเรียนรู้ ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครู และนักเรียน นักเรียนและนักเรียน อีกทั้งยังมีการนำนักเรียนไปทัศนศึกษาเรียนรู้นอกโรงเรียน ทำให้นักเรียนได้ -77 -


สัมผัสถึงบรรยากาศการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ หล่อหลอมให้นักเรียนมี พฤติกรรมไปในทางบวก โดยมีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะ การเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม (Learning & Innovation Skills) ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและรายวิชา ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่เน้นการสร้างความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดเชิงวิพากษ์และแก้ไขปัญหา การสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนฝึกการคิดและวิเคราะห์ในเชิง วิทยาศาสตร์และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง จากงานที่นักเรียนสร้างขึ้นและยังส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน ในการเรียนรู้ก็มีการแบ่งกลุ่ม มีเกมส์การศึกษา ทำให้นักเรียนมี ความสนุกสนาน มีความสุข และช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี 3. ด้านการจัดกิจกรรมและโครงการเสริม โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ที่ส่งเสริมให้ครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรักและสามัคคี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ที่ ส่งผลถึงการบริหารจัดการชั้นเรียนให้ความเรียบร้อย สนุกสนาน และเชิงบวกโดยกิจกรรม อาทิเช่น กิจกรรม วันเด็กแห่งชาติ โดยกิจกรรมนี้ส่งผลให้นักเรียนกับนักเรียนและนักเรียนกับครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยผ่าน กิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งครูเตรียมอาหารให้นักเรียน กิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน และที่สำคัญคือ กิจกรรม กีฬาสีของโรงเรียน ที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะสังคม การกระชับมิตรระหว่างเพื่อน การเข้าร่วมกีฬาสีจะ ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกมีส่วนร่วม และมีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ ซึ่งอาจกลายเป็นเพื่อนแท้กันไปตลอดชีวิต เลยก็ว่าได้ การมีส่วนร่วมในกีฬาสียังช่วยให้นักเรียนมีเพื่อนมากยิ่งขึ้น และสนิทกับเพื่อนมากกว่าเดิม และทำ ให้รู้จักการเสียสละเป็นอย่างดี เพราะนักเรียนจะต้องแบ่งเวลาเรียนมาทำกิจกรรม ทั้งการฝึกซ้อมก่อนแข่งขัน ซึ่งจะต้องอาศัยการเสียสละเวลาส่วนตนทั้งสิ้น และทักษะที่สำคัญในยุคนี้คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม กีฬาสี ถ้าไม่มีการทำงานร่วมกัน ทีมก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ การเล่นกีฬาเป็นทีมทำให้นักเรียนรับฟังความ คิดเห็นเพื่อนคนอื่น และทำงานร่วมกับคนอื่นได้การสื่อสารจึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ทีมประสบ ความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่เป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนที่จะก้าวสู่วัยผู้ใหญ่และการทำงานในอนาคต 4. รายวิชาแนะแนว รายวิชาแนะแนวเป็นวิชาหลักที่สำคัญในการทำให้การเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเรียนรู้ในรายวิชา ต่างๆ และการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกประสบผลสำเร็จ เพราะจะช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจ ตนเองอย่างถ่องแท้ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี รู้จักเลือกและตัดสินใจได้อย่างฉลาดและ เหมาะสม แก้ปัญหาต่างๆ ที่ตนประสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนการชีวิตในอนาคตของตนเอง และนำ ตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ทั้งยังช่วยให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดความเจริญงอกงามทุกด้าน อีกทั้งกิจกรรมแนะแนว ได้มีการพัฒนาการฝึกซ้อมนักเรียนที่มีปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้ ให้เข้าร่วม กิจกรรมการประกวดต่างๆ และเข้าร่วมการแข่งขันงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและ เทคโนโลยีของนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา จนถึงระดับชาติ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน และฝึกให้นักเรียนเป็นคนมีน้ำใจ การพัฒนาศักยภาพของตนเอง การให้กำลังใจ การรู้จักช่วยเหลือตนเองใน ชีวิตประจำวัน และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่ม ความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและนักเรียนอีกด้วย -78 -


ประเด็นพิจารณา 4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม ครูผู้สอนได้ข้อมูลการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล การจัดทำแผนการประเมินผลรายวิชา จัดกิจกรรม การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการวัดและประเมินผลโดยให้ ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลงาน ภาระงาน/ชิ้นงาน ร่วมกับครูผู้สอน มีการวัดและ ประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน มีกิจกรรมซ่อมเสริมในส่วนเนื้อหาที่บกพร่องให้ผ่านเกณฑ์มีการทำ รายงานการพัฒนาผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนมีการวัดและประเมินผลหลัง เรียน ดำเนินการตัดสินผลการเรียนรู้ตามหลักเกณฑ์การวัดและประเมินผล รายงานผลการเรียนความก้าวหน้า ในการเรียนให้กับผู้เรียนและผู้ปกครอง ประเด็นพิจารณา 5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ผลการประเมิน : ระดับคุณภาพยอดเยี่ยม โรงเรียนดำเนินการจัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญและปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ปรัชญา วิสัยทัศน์ที่กำหนด โดยให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้แบบการจับคู่นิเทศ ซึ่งการนิเทศภายในสถานศึกษามีความสำคัญและจำเป็นอย่าง ยิ่งต่อการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทุก ฝ่ายในสถานศึกษาจะต้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการพัฒนางานทุกด้านในสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาได้ ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษาให้เกิดผลในทางการปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น 3. จุดเด่น 1. แผนการจัดการเรียนรู้ของครูเป็นแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มุ่งเน้นให้ครูได้มี การวางแผนอย่างเป็นระบบ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้อย่าง สร้างสรรค์เน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับ รายวิชา เพื่อเกิดเป็นสมรรถนะของผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์และสามารถเผยแพร่ได้ 2. ครูผู้สอนมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่หลากหลาย และแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในโรงเรียนและ นอกโรงเรียน ห้องเรียนมีสื่อเทคโนโลยีเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์, สมาร์ทบอร์ด ในการจัดการเรียนการสอนตาม ห้องเรียนต่างๆ เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ มากยิ่งขึ้น อีกทั้งนักเรียนยังสามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนของตนเอง มีส่วน ร่วมในการทำกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง 3. โรงเรียนมีการพัฒนาและปรับปรุงด้านกายภาพของห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอย่างเต็มกำลัง 4. ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีการทำกิจกรรมการ เรียนรู้เป็นกลุ่ม ฝึกการทำงานเป็นทีม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรักสามัคคีกัน -79 -


5. โรงเรียนมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครู เพื่อพัฒนาความสามารถของครู ให้ครูจัดการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าใจหลักจิตวิทยาในการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก 6. โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่วนกลาง เพื่อเสริมความรัก ความเข้าใจกันระหว่างครูและนักเรียน และ ความสามัคคีกันระหว่างนักเรียนและนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ 7. ครูและนักเรียนร่วมกันจัดมุมความรู้และบอร์ดให้ความรู้ในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมการ จัดการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมความรักสามัคคีระหว่างกันอีกด้วย 8. ครูผู้สอนใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย โดยเน้นจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วย ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและได้ลงมือปฏิบัติจริง ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผล ครูผู้สอนมีการสอนซ่อม เสริมผู้เรียน รวมทั้งส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการพัฒนาผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน 9. สถานศึกษามีการสนับสนุนให้ครูได้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อ นำไปพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน 4. จุดที่ควรพัฒนา 1. คุณครูที่ยังไม่สามารถนำกระบวนการของ "การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ" มาประยุกต์ใช้กับ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนอย่างเต็มที่ เนื่องจากกระบวนการพัฒนาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจำเป็นที่ครู ต้องมีส่วนร่วม แต่อาจไม่ตอบสนองความต้องการของครูและรายวิชาที่ต้องใช้กับผู้เรียนได้จริง ๆ ครูจึงควรใช้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ที่มีในสถานศึกษามาช่วยดำเนินการเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนา วิชาชีพ ให้ตอบสนองความต้องการ และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อ ผู้เรียน 2. อุปกรณ์ สายต่ออุปกรณ์ต่างๆ ในห้องเรียนที่มีการชำรุดเสียหายบางส่วน โรงเรียนควรดำเนิน จัดการซ่อมอย่างรวดเร็วและต้องตรวจเช็คอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรองรับการใช้สื่อเทคโนโลยีในการ จัดการเรียนการสอนของครูได้ 3. ส่งเสริมและพัฒนาครู ในด้านการจัดการชั้นเรียนเชิงบวกในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น เน้นให้ครูให้ ความสำคัญในด้านการใช้จิตวิทยาในการจัดการเรียนรู้ และการจัดอบรมในด้านนี้อย่างต่อเนื่องให้กับครูใน โรงเรียน และมีการส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรม 4. ส่งเสริมและให้กำลังใจครูที่ดำเนินการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน นักเรียนและนักเรียน ในทุกรายวิชาอย่าง เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน 5. จัดทำระบบการประเมินการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์โรงเรียน ที่สามารถให้ผู้เรียน ครูผู้สอนและผู้ปกครองเข้ามีส่วนรวมการประเมินได้ 6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนทุกคนใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และนำ เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 7. สถานศึกษาควรจัดให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันและความต้องการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์วางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบบต่อไป -80 -


5. นวัตกรรม /การปฏิบัติที่เป็นเลิศ การปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ คือ คุณครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้น กระบวน การคิด การมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยี มีการ สนับสนุนอุปกรณ์ IT ในทุกห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่างๆมีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพียงพอต่อความ ต้องการ 6. แหล่งข้อมูล หลักฐาน ประเด็นพิจารณา หลักฐานและร่องรอยGoogle Sites ประเด็นพิจารณา 1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ ประเด็นพิจารณา 2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และ แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ประเด็นพิจารณา 3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิง บวก ประเด็นพิจารณา 4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่าง เป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ประเด็นพิจารณา 5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการ เรียนรู้ 7. แผนการพัฒนา / แนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการในปีการศึกษาต่อไป การพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมต่อหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-based Curriculum) เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง -81 -


สรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 เมื่อวันที่21 มีนาคม 2566 มาตรฐาน ที่ ชื่อมาตรฐาน / ประเด็นการพิจารณา ระดับคุณภาพ ค่าเป้าหมาย ผลการประเมิน ระดับ คุณภาพ แปลผล ระดับ คุณภาพ แปลผล 1 คุณภาพของผู้เรียน 4 ดีเลิศ 4 ดีเลิศ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 5 ยอดเยี่ยม 5 ยอดเยี่ยม 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ 5 ยอดเยี่ยม 5 ยอดเยี่ยม สรุปผลในภาพรวม 5 ยอดเยี่ยม 5 ยอดเยี่ยม -82 -


-83 -


ส่วนที่ 4 สรุปผล แนวทางการพัฒนาและความต้องการช่วยเหลือ 4.1 สรุปผลในภาพรวม จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ จัดการพัฒนา คุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน และจากผลการประเมินสรุปว่ามี คุณภาพอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ทั้งนี้ เพราะมาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับ ดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ทั้งนี้เป็นเพราะโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาระ การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษ และ ภาษาต่างประเทศที่ 2 มีกระบวนการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน การ เขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณให้สูงขึ้น มีผลงาน ชิ้นงาน โครงการหรือกิจกรรมที่เกิดจากความคิดและการ ลงมือปฏิบัติของผู้เรียน จึงเป็นผลให้คุณภาพผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ แต่สำหรับบางตัวบ่งชี้ที่ ค่าเฉลี่ยยังไม่ถึงเป้า ก็จำเป็นต้องนำมาปรับกระบวนการที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลที่จะมีแนวโน้มในการพัฒนาขึ้น สำหรับปีการศึกษาถัดไป ใช้ระบบการบริหารและการจัดการที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพผู้เรียนในรอบ ด้าน ทุกกลุ่มเป้าหมายและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างได้ เช่น นวัตกรรมการ บริหารด้านงานสารบรรณออนไลน์ Student Messenger พัฒนาแพลตฟอร์มเว็บไซต์โรงเรียน เป็นต้น ให้เป็น การใช้ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อสนับสนุนการบริหาร การจัดการ และการจัดการเรียนการ สอน จนทำให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ครูสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์สารสนเทศต่าง ๆ ของระบบ ที่ได้ออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์สร้าง ความน่าเชื่อถือ และความทันสมัยให้เกิดในระบบบริหารจัดการสถานศึกษา ผู้บริหารจัดการบริหารโรงเรียน โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ และการบริหารแบบมีส่วนร่วม ใช้กระบวนการ PDCA ส่งผลให้โรงเรียน ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดขึ้น สนับสนุนให้ จัดกิจกรรมสร้างเสริมเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกัน ระหว่างชุมชน วัด และโรงเรียน สามารถสะท้อนถึงผลการปฏิบัติที่ยอดเยี่ยมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียนของตนเอง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงทั้งในและนอกสถานศึกษา ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ มีส่วนร่วมในการ กำหนดเกณฑ์การประเมินผล โรงเรียนมีการพัฒนาและปรับปรุงด้านกายภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรม การจัดการเรียนรู้ ห้องเรียนมีสื่อเทคโนโลยี เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ , สมาร์ทบอร์ด เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถ จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครู เพื่อพัฒนาความสามารถ ของครู ให้ครูจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังผลการประเมิน ระดับยอดเยี่ยม ในกระบวนการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ -84 -


ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาที่จำแนกตามมาตรฐานของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 มาตรฐาน ที่ จำนวน ประเด็น พิจารณา จำนวนประเด็นพิจารณาแยกตามผลการประเมิน คุณภาพต่าง ๆของมาตรฐาน ระดับคุณภาพ ยอด เยี่ยม ดีเลิศ ดี ปาน กลาง กำลัง พัฒนา ค่า เป้าหมาย ผลการ ประเมิน 1 10 8 2 - - - ดีเลิศ ดีเลิศ 2 7 7 - - - - ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม 3 5 5 - - - - ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม ผลการประเมินในภาพรวม ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม 4.2 แนวทางการพัฒนาคุณภาพในปีการศึกษาต่อไป 1. ส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่าง ๆ 2. จัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อช่วยพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ 3. พัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอรเน็ตให้มีความเสถียรและเร็วขึ้น เพื่อการใช้งานที่คล่องตัวรองรับ เทคโนโลยีใหม่ 4. ส่งเสริมโครงการ/กิจกรรมที่เน้นพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างต่อเนื่องและเกิดผลใน รูปธรรมที่ชัดเจน 4.3 ความต้องการและการช่วยเหลือ โรงเรียนต้องการงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ใน การจัดซื้อ/ปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์สำหรับห้องเรียนในอาคารเรียนต่าง ๆ -85 -


-86 -


คำสั่งคณะกรรมการประกันและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน/คณะกรรมการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน/คณะกรรมการ -87 -


แก้ปัญหาการอ่านเขียนภาษาอังกฤษไม่คล่อง ค่ายเจียระไนภาษาไทย วันภาษาฝรั่งเศส ค่ายโครงงานคณิตศาสตร์ Impromptu Speech แข่งขันภาษาญี่ปุ่นระดับเขต ภาพกิจกรรมมาตรฐานที่ 1 -88 -


อบรมสัมมนาพัฒนาครูและบุคลากร ศึกษาดูงานต่างประเทศ ณ ประเทศลาว การประชุมวางแผนงานประกันคุณภาพ ตรวจสุขภาพประจำปีให้กับนักเรียน พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โลกเสมือนจริงสู่ห้องเรียนเสมือนจริง ศึกษาดูงานโรงเรียนชลราษฎร์อำรุง ภาพกิจกรรมมาตรฐานที่ 2 -89 -


การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active learning วิชาคณิตศาสตร์ การอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจัดการเรียนรู้ในวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ การให้คำปรึกษานักเรียน พิธีมอบทุนการศึกษา การจัดการเรียนรู้ในวิชาพลศึกษา ภาพกิจกรรมมาตรฐานที่ 3 -90 -


นายณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประกันคุณภาพ การศึกษาของสพม.กท. เขต 1 นางสาวนภาพร วงศ์พุทธา รองผู้อำนวยการโรงเรียน มัธยมวัดหนองแขม ดร. ชวาลี สกุลเอี่ยมไพบูลย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนดวงวิภา รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถานศึกษา -91 -


ภาพบรรยากาศในการตรวจสอบ ทบทวน ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 -92 -


กำหนดการวันประเมินตรวจสอบทบทวนและประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา วันที่ 21 มีนาคม 2566 ณ หอประชุมชมพูพันทิพย์ -93 -


คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ➢ ผู้แทนพระสงฆ์ ➢ ผู้แทนผู้ปกครอง ➢ ผู้แทนครู ➢ ผู้แทนองค์กรชุมชน ➢ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ➢ ผู้แทนศิษย์เก่า ➢ ผู้ทรงคุณวุฒิ ➢ ผู้บริหารสถานศึกษา (เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยตำแหน่ง) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. นายสมบัติ เชาวปรีชา นางสาวชวาลี สกุลเอี่ยมไพบูลย์ นายวัลลภ จุ้ยใจงาม นายณรงค์ศักดิ์ ม่วงศิริ นายชำนาญ มีลาภ นายกลม กำลังหาญ นายธวัชชัย ทองสิมา นายโกศล หกสุวรรณ นางสาวคนึงนิตย์ สุนทวนิค นายสำราญ คงโครัตน์ นายจิรกุล กวีกิจประการ นายอัครวัฒน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พระวิโรจน์ ถิรสุทโธ พระสราวุฒิ วิสุทโธ นายเทพพร อาจเวทย์ ประธานกรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) กรรมการ (ผู้แทนผู้ปกครอง) กรรมการ (ผู้แทนครู) กรรมการ (ผู้แทนศิษย์เก่า) กรรมการ (ผู้แทนองค์กรชุมชน) กรรมการ (ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) กรรมการ (ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์) กรรมการ (ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์) กรรมการและเลขานุการ (ผู้อำนวยการโรงเรียน) รายชื่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ -94 -


Click to View FlipBook Version