The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ในนี้มีเนื้อหาทั้งหมด15บทด้วยกัน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by huaweig0274, 2022-04-15 08:40:30

จิตวิทยา15บท

ในนี้มีเนื้อหาทั้งหมด15บทด้วยกัน

กระบวกของการเรียนรู้

กระบวนการของการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้คือ
1. มีสิ่งเร้า( Stimulus ) มาเร้าอินทรีย์ ( Organism )
2. อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส ( Sensation ) ประสาทสัมผัสทั้งห้า

ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย
3. ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้
( Perception )
4. สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไรเรียกว่าความคิดรวบยอด
( Conception )
5. พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการ

เรียนรู้ ( Learning )
6. เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้บุคคลก็จะเกิดการตอบสนอง
( Response ) พฤติกรรมนั้นๆ

ความหมายของการเรียนรู้

ความหมายของคำว่า “การเรียนรู้” มีนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้

หลายท่านในที่นี้จะสรุปพอเป็นแนวทางให้เข้าใจดังนี้คือ

การเรียนรู้ หมายถึง การที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเขา

โดยเริ่มต้นตั้งแต่การมีปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเรื่อยไป จนกระทั่งคลอดมาเป็นทารกแล้ว

อยู่รอด ซึ่งบุคคลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองอยู่รอดกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครรภ์มารดา

และเมื่อออกมาอยู่ภายนอกเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่รอดทั้งนี้ก็เพราะการเรียนรู้ทั้งสิ้น

บทที่10 การจัดการเรียนรู้

สำหรับเด็กพิเศษ

การศึกษาพิเศษ (Special Education) หมายถึงการศึกษาที่ตัดให้แก่เด็กที่มี

ความต้องการพิเศษ (children with special needs) ทางการศึกษาแตกต่างไป

จากเด็กปกติเนื่องจากมีความจากมีความผิดปกติทางร่างกาย อารมณ์พฤติกรรม หรือ

สติปัญญา ซึ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมและได้รับ

ประโยชน์จากการศึกษาอย่างเต็มที่ การจัดการศึกษาให้แก่เด็กกลุ่มนี้ จึงต้องดำเนินการ

สอนโดยครูที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ มีเทคนิควิธีการสอน ที่แตกต่างไปจากเด็ก

ปกติ การจัดเนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์การสอนและวิธี

การประเมินผลที่เหมาะสมกับสภาพและความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาให้เกิด

ศักยภาพสูงสุด และการจัดการศึกษาพิเศษนี้ อาจจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะสำหรับเด็กที่

มีความผิดปกติในระดับรุนแรง หรือจัดการศึกษาในโรงเรียนปกติในรูปแบบการเรียนร่วม

สำหรับเด็กที่มีระดับความผิดปกติไม่รุนแรงมาก

รูปแบบการจัดการศึกษา

พิเศษสำหรับเด็กพิการ

มีหลักการที่สำคัญคือการเตรียมความพร้อม การจัดการเรียนการสอน และ

จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กพิการในแต่ละระดับและแต่ละประเภท และ

บำบัดฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เด็กพิการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการ

ศึกษาจนสามารถพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยจัดแบ่งเป็น

3 ประเภท ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนในชั้นปกติตามเวลา เป็นรูปแบบการจัดการศึกษา
พิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง หรือผิดปกติน้อยมากเด็กพิการสามารถ

เข้าเรียนในชั้นเรียนปกติเช่นเดียวกับเด็กปกติได้ตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน รูป

แบบนี้เป็นรูปแบบที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด
2. รูปแบบการเรียนร่วม เป็นรูปแบบการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กที่มีความ

บกพร่อง หรือผิดปกติ แต่อยู่ในระดับที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ การ

จัดการศึกษาพิเศษในรูปแบบนี้ มุ่งให้เด็กพิการได้รับการศึกษา ในสภาวะที่มี

ข้อจำกัดน้อยที่สุดเท่าที่แต่ละคนจะรับได้
3. รูปแบบเฉพาะความพิการ เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็ก

ที่มีความพิการค่อนข้างมาก หรือพิการซ้ำซ้อนเป็นรูปแบบที่มีสภาพแวดล้อม

จำกัดมากที่สุด
แบ่งเป็น 4 ระดับได้แก่

3.1 รูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ
3.2 รูปแบบการเรียนในโรงเรียนพิเศษเฉพาะทาง
3.3 รูปแบบการฟื้นฟูในสมรรถภาพในสถาบันเฉพาะทาง
3..4 การบำบัดในโรงพยาบาลหรือบ้าน



1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น (ตาบอดสนิท) หรือพอ


เห็นแสงเลือนรางและมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการ

เห็นได้ไม่ถึงหนึ่งส่วนสองของคนสายตาปกติ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ

1.เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก แต่ไม่

สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนได้

2.เด็กสายตาเลือนลาง หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมอง

เห็นแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
การให้ความช่วยเหลือ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นครูจึงควรปฏิบัติต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการ

เห็นตามโอกาสและสถานการณ์ดังนี้
1.หากต้องการจะพูดเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเด็กที่อยู่ที่นั่นด้วย ต้องพูดกับเขา โดยตรง

ไม่ควรพูดผ่านคนอื่นเพราะคิดว่าเด็กจะไม่เข้าใจหรือรู้ได้ไม่หมด
2.ไม่ควรพูดแสดงความสงสารให้เด็กได้ยินหรือรู้สึก
3.หากครูเข้าไปในห้องที่มีเด็กอยู่ควรพูดหรือทำให้รู้ว่าครูเข้ามาแล้ว
4.การช่วยให้เด็กนั่งเก้าอี้ ให้จับมือวางที่พนักหรือที่เท้าแขนเด็กจะนั่งเองได้

การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับเด็กปกติ
ในการสอนวิชาสามัญทั่วไปเด็กปกติเรียนตามหลักสูตรในโรงเรียนนั้น ส่วนใหญ่แล้ว

เด็กมีความบกพร่องทางการเห็น สามารถเรียนรู้ได้เท่าหรือเกือบเท่าเด็กปกติ ถ้าครูใช้

สื่อและวิธีการเหมาะสมจากการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสที่เด็กมีความบกพร่องทางการ

เห็นมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศึกษา เกษตรและดนตรี

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นก็สามารถเรียนรู้ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะ

ครอบคลุมทุกเรื่องทุกเนื้อหา ในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดที่เด็กกลุ่มนี้ทำไม่ได้หรือทำได้

น้อย เช่น วิชาพละศึกษา วิชาคัดลายมือ และนาฏศิลป์ เป็นต้น
อักษรเบลส์
อักษรเบลล์ คือระบบการเขียนหนังสือสำหรับคนตาบอด ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่มของจุดนูน

เล็กๆใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่งซึ่งนำมาจัดสลับไปมาเป็นรหัสแทนอักษร

ตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน๊ตดนตรี ฯลฯ ลงบนกระดาษ โดย

การอ่านด้วยปลายนิ้วมือ วิธีการเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลท (Slate) และ

ดินสอ (Stylus) ในส่วนของการพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเล่อร์ (Brailler)

ระบบการอ่านการเขียนอักษรเบลล์สำหรับคนตาบอดนี้ได้คิดค้นและประดิษฐ์โดย หลุยส์

เบลล์ (Louis Braille)

การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มี

ปัญหาทางพฤติกรรมกับเด็กปกติ

การจัดเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม เข้าเรียนร่วมกับเด็กปกตินั้น ควรพิจารณาองค์

ประกอบสำคัญดังนี้

1.ทัศนคติของเด็กต่อการเรียนร่วม
2.ทัศนคติของครู ผู้ปกครองต่อการเรียนร่วม
3.พฤติกรรมของเด็ก ตลอดจนความรุนแรงของพฤติกรรม
4.ความสามารถของเด็กในการควบคุมตนเอง ตลอดจนทักษะทางสังคมของเด็ก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคบเพื่อน การเข้ากับคนอื่น
5.ความพร้อมของครู ที่จะรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมเข้าเรียนร่วมชั้นปกติ
6.ความร่วมมือจากผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็ก
7.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
เด็กที่เรียนร่วมได้อย่างประสบผลสำเร็จนั้น ควรเป็นเด็กที่ได้รับการปรับ

พฤติกรรมแล้ว เด็กมีพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติ หากเด็กยังมีปัญหาทาง

พฤติกรรมอยู่บ้าง ต้องได้รับบริการจากสถานศึกษาในด้านบริการแนะแนวและให้คำ

ปรึกษาหรือรับบริการจากครูเสริมวิชาการ

บทที่11 แรงจูงใจ

การจูงใจ (Motivation) คือ สิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ อันเกิดจากความ

ต้องการ (Needs) พลังกดดัน (Drives) หรือ ความปรารถนา (Desires) ที่จะ

พยายามดิ้นรนเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะเกิดมาตามธรรมชาติ

หรือจากการเรียนรู้ก็ได้ การจูงใจเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลนั้น ๆ

เอง ภายใน ได้แก่ ความรู้สึกต้องการ หรือขาดอะไรบางอย่าง จึงเป็นพลังชักจูง หรือ

กระตุ้นให้มนุษย์ประกอบกิจกรรมเพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดหรือต้องการนั้น ส่วนภายนอก

ได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่มาเร่งเร้า นำช่องทาง และมาเสริมสร้างความปรารถนาในการ

ประกอบกิจกรรมในตัวมนุษย์ ซึ่งการจูงใจนี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในหรือภายนอก แต่

เพียงอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ อาจกล่าวได้ว่า การจูงใจทำให้เกิด

พฤติกรรมซึ่งเกิดจากความต้องการของมนุษย์ ซึ่งความต้องการเป็นสิ่งเร้าภายในที่

สำคัญกับการเกิดพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีสิ่งเร้าอื่น ๆ เช่น การยอมรับของสังคม

สภาพบรรยากาศที่เป็นมิตร การบังคับขู่เข็ญ การให้รางวัลหรือกำลังใจหรือการทำให้

เกิดความพอใจ ล้วนเป็นเหตุจูงใจให้เกิดแรงจูงใจได้

ทฤษฎีแรงจูงใจ





ทฤษฎีแรงจูงใจแบ่งออกได้เป็นทฤษฎีใหญ่ ๆ คือ
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral View of Motivation)

ทฤษฎี นี้ ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในอดีต (Past Experience) ว่ามีผล

ต่อแรงจูงใจของบุคคลเป็นอย่างมาก ดังนั้นทุกพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าวิเคราะห์ดูแล้ว

จะเห็นว่าได้รับอิทธิพลที่เป็นแรงจูงใจมาจากประสบการณ์ใน อดีตเป็นส่วนมาก โดย

ประสบการณ์ในด้านดีและกลายเป็นแรงจูงใจทางบวกที่ส่งผลเร้าให้มนุษย์มีความต้อง

การแสดงพฤติกรรมในทิศทางนั้นมากยิ่งขึ้นทฤษฎีนี้เน้นความสำคัญของสิ่งเร้า

ภายนอก
(Extrinsic Motivation)

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning View of Motivation)
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจเกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้าง

เอกลักษณ์และการเลียนแบบ (Identification and Imitation) จากบุคคลที่

ตนเองชื่นชม หรือคนที่มีชื่อเสียงในสังคมจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการแสดง

พฤติกรรมของบุคคล

ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive View of Motivation)
ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้

(Perceive) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสำคัญ

มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ ทางในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้

มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล (Disequilibrium) ขึ้น เมื่อเกิดสภาพเช่นว่านี้มนุษย์

จะต้อง อาศัยขบวนการดูดซึม (Assimilation) และการปรับ (Accomodation)

ความแตกต่างของประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ให้เข้ากับประสบการณ์เดิมของตนซึ่งการจะ

ทำได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐานที่สำคัญทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูง ใจ

ภายใน(intrinsic Motivation) นอกจากนั้นทฤษฎีนี้ยังให้ความสำคัญกับเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ และการวางแผน ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับระดับของความคาดหวัง

(Level of Aspiration) โดยที่เขากล่าวว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะตั้ง ความคาดหวังของ

ตนเองให้สูงขึ้น เมื่อเขาทำงานหนึ่งสำเร็จ และตรงกัน ข้ามคือจะตั้งความคาดหวังของ

ตนเองต่ำลง เมื่อเขาทำงานหนึ่งแล้วล้มเหลว

ทฤษฎีมานุษยนิยม (Humanistic View of Motivation)
แนวความคิดนี้เป็นของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของ

มนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความ

ต้องการนั้น ทำให้เราไม่จำเป็นต้องสืบพฤติกรรมเลย ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของ

มนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน

องค์ประกอบของแรงจูงใจ



นักจิตวิทยาปัจจุบันได้ศึกษาและสรุปว่า องค์ประกอบของแรงจูงใจ มี 3 ด้านคือ
องค์ประกอบทางด้านกายภาพ (Biological Factor) ในองค์ประกอบ

ด้านนี้จะพิจารณาถึงความต้องการทางกายภาพของมนุษย์ เช่น ความ

ต้องการปัจจัย 4 เพื่อจะดำรงชีวิตอยู่ได้
องค์ประกอบทางด้านการเรียนรู้ (Learned Factor) องค์ประกอบด้านนี้

เป็นผลสืบเนื่องต่อจากองค์ประกอบข้อ 1 ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนไม่สามารถ

ได้รับการตอบสนองความต้องการในปริมาณ ชนิด และคุณภาพตามที่ตนเอง

ต้องการ และในหลาย ๆ ครั้ง สิ่งแวดล้อมเป็นตัววางเงื่อนไขในการสร้างแรง

จูงใจของมนุษย์
องค์ประกอบทางด้านความคิด (Cognitive Factor)

ประเภทของแรงจูงใจ



นักจิตวิทยาได้แบ่งลักษณะของแรงจูงใจออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
กลุ่มที่1 แรงจูงใจฉับพลัน (Aroused Motive) คือแรงจูงใจที่กระตุ้นให้มนุษย์

แสดงพฤติกรรม ออกมาทันทีทันใด แรงจูงใจสะสม (Motivational Disposition

หรือ Latent Motive) คือแรงจูงใจที่มีอยู่แต่ไม่ได้แสดงออกทันที จะค่อย ๆ เก็บ

สะสมไว้รอการแสดงออกในเวลา ใดเวลาหนึ่งต่อ
กลุ่มที่ 2 แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motive) คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจาก

สิ่งเร้าภายในตัวของบุคคลผู้นั้น

แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motive) คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งเร้า

ภายนอก

กลุ่มที่ 3 แรงจูงใจปฐมภูมิ (Primary Motive) คือแรงจูงใจอันเนื่องมาจากความ


ต้องการที่เห็นพื้นฐานทางร่างกาย เช่น ความหิวโหย, กระหายเหือ
ด แรงจูงใจทุติยภูมิ


(Secondary Motive) คือแรงจูงใจที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากแรงจูงใจขั้นปฐมภูมิ

แรงจูงใจภายในและภายนอก (Intrinsic and Extrinsic Motivation) นัก

จิตวิทยาหลายท่านไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่อธิบายพฤติกรรมด้วยแรงจูงใจ

ทางสรีระแลแรงจูงใจ ทางจิตวิทยาโดยใช้ทฤษฎีการลดแรงขับ เพราะมีความเชื่อว่า

พฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์เกิดจากแรงจูงใจภายใน

แรงจูงใจภายใน หมายถึง แรงจูงใจที่มาจากภายในตัวบุคคล และเป็นแรงขับที่

ทำให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรม
โดยไม่หวังรางวัลหรือแรงเสริมภายนอก
ความมีสมรรถภาพ (Competence) ไวท์ ได้อธิบายว่าความมีสมรรถภาพเป็นแรง

จูงใจภายใน ซึ่งหมายถึงความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ ไวท์ถือว่า มนุษย์เราต้องการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่วัยทารก
และพยายามที่จะปรับปรุงตัวอยู่เสมอความต้องการมีสมรรถภาพจึงเป็นแรงจูงใจภายใน
ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ความอยากรู้อยากเห็นเป็นแรงจูงใจภายในที่ทำให้

เกิดพฤติกรรมที่อยากค้นคว้าสำรวจสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้จากเด็กวัย 2-3 ขวบจะมี

พฤติกรรมที่ต้องการจะสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
แรงจูงใจภายนอก หมายถึง แรงจูงใจที่มาจากภายนอก เป็นต้นว่าคำชมหรือ

รางวัล
มอว์และมอว์ (MAW&MAW,1964) ได้เสนอแนะเครื่องชี้ (Indicators) ของ

ความกระตือรือร้นของเด็กจากพฤติกรรมต่อไปนี้
1.เด็กจะมีปฏิกิริยาบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งที่ใหม่ แปลกและตีกลับคือมีการ

เคลื่อนไหว หาสิ่งเหล่านั้น
2. เด็กแสดงความอยากรู้เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม
3.เด็กจะเสาะแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
4.เด็ก จะแสดงความเพียรพยายามอย่างไม่ท้อถอยในการสำรวจค้นพบสิ่งแวดล้อม

รูปแบบของแรงจูงใจ



บุคคลแต่ละคนมีรูปแบบแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ซึงนักจิตวิทยาได้แบ่งรูปแบบ แรงจูงใจ

ของมนุษย์ออกเป็นหลายรูปแบบที่สำคัญ มีดังนี้

1.แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive) หมายถึง แรงจูงใจที่เป็นแรง

ขับให้บุคคลพยายามที่จะประกอบพฤติกรรมที่จะประสบสัมฤทธิผลตามมาตรฐาน

ความเป็นเลิศ (Standard of Excellence) ที่ตนตั้งไว้ บุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่

สัมฤทธิ์จะไม่ทำงานเพราะหวังรางวัล

แต่ทำเพื่อจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะมี

ลักษณะสำคัญ ดังนี้

a.มุ่งหาความสำเร็จ (Hope of Success) และกลัวความล้มเหลว (Fear

of Failure)

b. มีความทะเยอทะยานสูง
c. ตั้งเป้าหมายสูง
d. มีความรับผิดชอบในการงานดี
e. มีความอดทนในการทำงาน
f. รู้ความสามารถที่แท้จริงของตนเอง
g. เป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีการวางแผน
h. เป็นผู้ที่ตั้งระดับความคาดหวังไว้สูง

2. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliative Motive)ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ มักจะเป็น

ผู้ที่โอบอ้อมอารี เป็นที่รักของเพื่อน มีลักษณะเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเมื่อศึกษาจากสภาพ

ครอบครัวแล้วผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์มักจะเป็นครอบครัวที่อบอุ่น บรรยากาศในบ้าน

ปราศจาก การแข่งขัน พ่อแม่ไม่มีลักษณะข่มขู่ พี่น้องมีความรักสามัคคีกันดี ผู้มีแรง

จูงใจใฝ่สัมพันธ์จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

a.เมื่อทำสิ่งใด เป้าหมายก็เพื่อได้รับการยอมรับจากกลุ่ม
b.ไม่มีความทะเยอทะยาน มีความเกรงใจสูง ไม่กล้าแสดงออก
c. ตั้งเป้าหมายต่ำ
d. หลีกเลี่ยงการโต้แย้งมักจะคล้อยตามผู้อื่น
3. จูงใจใฝ่อำนาจ (Power Motive) สำหรับผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจนั้น พบว่า ผู้

ที่มีแรงจูงใจแบบนี้ส่วนมากมักจะพัฒนามาจากความรู้สึกว่า ตนเอง "ขาด" ในบางสิ่ง

บางอย่างที่ต้องการ อาจจะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ทำให้เกิดมีความรู้สึกเป็น

"ปมด้อย" เมื่อมีปมด้วยจึงพยายามสร้าง "ปมเด่น" ขึ้นมาเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ตนเอง

ขาด ผู้มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
a.ชอบมีอำนาจเหนือผู้อื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะออกมาในลักษณะการก้าวร้าว
b. มักจะต่อต้านสังคม
c. แสวงหาชื่อเสียง
d.ชอบเสี่ยง ทั้งในด้านของการทำงาน ร่างกาย และอุปสรรคต่าง ๆ
e. ชอบเป็นผู้นำ

4. แรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว (Aggression Motive)ผู้ที่มีลักษณะแรงจูงใจแบบนี้มัก

เป็นผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดมากเกินไป บางครั้งพ่อแม่อาจจะใช้วิธีการลงโทษที่

รุนแรงเกินไป ดังนั้นเด็กจึงหาทางระบายออกกับผู้อื่น หรืออาจจะเนื่องมาจากการเลียน

แบบ บุคคลหรือจากสื่อต่าง ๆ ผู้มีแรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว จะมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

a. ถือความคิดเห็นหรือความสำคัญของตนเป็นใหญ่
b.ชอบทำร้ายผู้อื่น ทั้งการทำร้ายด้วยกายหรือวาจา
5. แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา (Dependency Motive)สาเหตุของการมีแรงจูงใจแบบนี้ก็

เพราะการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ทะนุถนอมมากเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง

ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่ พึ่งพา จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
a. ไม่มั่นใจในตนเอง
b.ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง มักจะลังเล
c. ไม่กล้าเสี่ยง
d. ต้องการความช่วยเหลือและกำลังใจจากผู้อื่น

บทที่12 การแนะแนว

ความหมายจิตวิทยาการแนะแนว
การแนะแนว (Guidance) มีความหมายว่า การชี้แนวทาง หรือการชี้ช่องทาง

เพื่อให้บุคคลแต่ละคนรู้จักตนเองอยางดี รู้ถึงความสามารถและขอบเขตแห่งความ

สามารถของตน ตลอดจนรู้โอกาสและช่องทางต่างๆที่จะใช้ความสามารถที่ตนมีอยู่


ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และสังคมที่อาศัยอยู่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ





ความสำคัญของการแนะแนว
ปัจจุบันการแนะแนวได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากขึ้น เนื่องจากการแนะแนว

มีจุดมุ่งหมายและหลักการที่สอดคล้องหรือเหมือนกันกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

คือ การช่วยให้เยาวชนของชาติเป็นผู้ที่คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น โดยเน้น

ให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนา ในทุกๆ ด้านมุ่งสนองความต้องการและ

ความสนใจของผู้เรียนการที่วิชาการแนะแนวหรือจิตวิทยาการแนะแนว เข้ามามี

บทบาทในการศึกษามากขึ้น เยาวชนเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ และจะ

เติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งต้องรับผิดชอบประเทศชาติต่อไป จึงสมควรได้รับ

การส่งเสริมพัฒนาทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์

สังคมและจิตใจ เพื่อช่วยให้เยาวชนเหล่านั้นสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีความ


ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีความสุข และเป็นบุคคลที่มี

คุณสมบัติเป็นที่พึงประสงค์ของประเทศชาติ

หลักการสำคัญของการแนะแนว

การจัดกิจกรรมแนะแนวจะต้องจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การที่จะ

ให้งานบริการแนะแนวบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงหลักการแนะแนวที่

มีการวางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม ดังนั้นการแนะแนวจึงควรยึดถือหลักการ

สำคัญของการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อ ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสามารถสรุป

ได้ดังนี้
1. การแนะแนวเป็นบริการที่ต้องมุ่งให้ความช่วยเหลือนักเรียนทุกคน เนื่องจากนักเรียน
ทุกคนย่อมต้องการความช่วยเหลือจากโรงเรียนของตน และเป็นการให้บริการด้วยความ

เสมอภาค เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน
2. การแนะแนวเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันและเป็นไป

ตาม ลำดับขั้น คือจัดอย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไป

ทุกขั้นตอนจนกระทั่งบุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือ สามารถนาตนเองได้ และช่วยตนเอง

ได้
3. การแนะแนวตั้งอยู่บนรากฐานของ การยอมรับในเอกัตบุคคล (Individual) ของ

นักเรียน รวมถึงยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual

Differences) ด้วย
4. การแนะแนว เป็นงานที่วางอยู่บนพื้นฐานกระบวนการพฤติกรรมของบุคคลและ

เกี่ยวข้องกับพัฒนาการมนุษย์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและกลวิธีต่างๆ ทั้งที่เป็น

แบบทดสอบ และไม่ใช่แบบทดสอบ เพื่อจะได้เข้าใจบุคคลแต่ละคน และเพื่อช่วยให้บุคคล

แต่ละคนเข้าใจตนเอง เพื่อจะได้สามารถควบคุมพัฒนาการส่วนตัวของนักเรียนได้

5. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้การ

ยอมรับในศักดิ์ศรีและคุณค่าของแต่ละคนยอมรับในสิทธิส่วนตัวในการตัดสินใจที่จะ

เลือกทา ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเลือกและตัดสินใจของนักเรียนควรเกิดจากการใช้

วิจารณญาณของนักเรียนเอง ไม่ใช่การบังคับ
6. การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการศึกษา ดังนั้นการแนะแนวควร

แทรก อยู่ในกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้

พัฒนาตนเองทุกด้านอย่างมีบูรณาการ (Integration)
7. การแนะแนว ที่มีประสิทธิภาพผู้ ทา หน้าที่แนะแนว (Counselor) จะต้องเป็น

ผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมทางการแนะแนวมาโดยเฉพาะ มีทั้งความรู้

(Knowledge) และทักษะ (Skills) ที่เหมาะสมและมีการจัดดำเนินการแนะแนว

อย่างมีระบบ (SystematicalGuidance)
8. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความเป็น

ประชาธิปไตยเป็นผู้ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทำงาน

ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
9. การจัดบริการแนะแนวจะได้ผลและมีประสิทธิภาพ จะต้องเกิดจากความร่วมมือ

และความสมัครใจของบุคคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน และนักเรียนผู้มารับบริการจะ

ต้องมาด้วยความเต็มใจให้ความร่วมมือด้วย

10. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเป็นผู้ที่สามารถเก็บรักษาความลับได้

เพราะถ้าเป็นผู้ที่ไม่สามารถเก็บรักษาความลับ ก็จะทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกไม่

ปลอดภัย ทา ให้ขาดความไว้วางใจและไม่ยินดีที่จะมารับความช่วยเหลือ

ประเภทของการแนะแนว

การแนะแนวสามารถจำแนกได้หลายประเภทตามลักษณะของปัญหาที่นักเรียน

ต้องการความช่วยเหลือ สามารถสรุปออกเป็น 3ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.การแนะแนวการศึกษา
2.การแนะแนวอาชีพ
3.การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม
การแนะแนวการศึกษา ( Educational Guidance) หมายถึง

กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ

เช่น แนวทางในการศึกษาต่อ การเลือกโปรแกรมการเรียน การลงทะเบียน

หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลของโรงเรียน การค้นคว้า

เขียนรายงาน การอ่านหนังสือ การเตรียมตัวสอบ การสร้างสมาธิในการเรียน

การเข้าร่วมกิจ กรรมเสริมหลักสูตร
การแนะแนวอาชีพ ( Vocational Guidance) หมายถึง กระบวนการให้

ความช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับการวางแผนและการตัดสินใจเลือกอาชีพ เพื่อ

ช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด ความ

สนใจ และสภาพร่างกายของตน ดังนั้น การแนะแนวอาชีพจึงเป็นการช่วยให้

นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้ สภาพและลักษณะของ

งาน คุณสมบัติที่จำเป็น การฝึกฝนอบรม รายได้ สวัสดิการ ความมั่นคงและ

ความก้าวหน้า สิ่งแวดล้อม ข้อดีและข้อเสีย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการแสวงหา

งาน การสมัครงาน การปรับตัวให้เข้ากับงานและการปฏิบัติตนให้มีความเจริญ

ก้าวหน้าในการทำงาน
การให้บริการแนะแนวอาชีพ จะช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบและตัดสินใจ

เลือกอาชีพได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลให้นักเรียนมีความพึงพอใจในงานของ

ตน และมีชีวิตการทา งานที่มีประสิทธิภาพ เป็นการช่วยให้ทรัพยากรมนุษย์ได้

รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง

การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม ( Personal and Social

Guidance) หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องที่นอก

เหนือจากด้านการศึกษาและอาชีพ เป็นการช่วยให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจ

ตนเองและสภาพแวดล้อม ทำให้สามารถมีชีวิตและปรับตัวได้อย่างมีความสุข

ดังนั้น การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม จึงเป็นการช่วยให้นักเรียนได้มีความ

รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพกาย และสุขภาพจิต มารยาทสังคม

การคบเพื่อนต่างเพศ และเพื่อนเพศเดียวกัน การใช้เวลาว่าง บุคลิกภาพและ

การแต่งกายอารมณ์และการควบคุมอารมณ์ มนุษยสัมพันธ์ จริยธรรม และ

ค่านิยม การใช้จ่ายเงินศาสนาและความเชื่อ ฯลฯ

ในการแบ่งประเภทงานแนะแนวนั้น เป็นการจัดประเภทตามลักษณะ

ของข้อมูลและข้อสนเทศที่ทางโรง เรียนนามา แต่การแนะแนวทั้ง 3 ประเภทมี

ความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น การช่วยเหลือนักเรียนในการวางแผน

เกี่ยวกับอาชีพ ก็มีความจา เป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการศึกษาของนักเรียน

และยังต้องศึกษาองค์ประกอบด้านส่วนตัวและสังคมของนักเรียนพร้อมกัน ดัง

นั้นในแง่การปฏิบัติจำเป็นต้องให้การแนะแนวแก่นักเรียนทั้ง 3 ด้านควบคู่ไป

พร้อมๆ กัน เพื่อช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ การแนะแนวเช่นนี้เรียกว่า“การ

แนะแนวชีวิต”

ประโยชน์ของการแนะแนว

1.ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ทา ให้สามารถปรับตัวอยู่ใน

สังคมได้เป็นอย่างดี รู้จักเลือกและตัดสินใจได้อย่างฉลาดและเหมาะสม แก้ปัญหา

ต่างๆ ที่ตนประสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนการชีวิตในอนาคตของตนเอง

และนำตนเองไปสู่เป้ าหมายที่วางไว้ ทั้งยังช่วยให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนา

ให้เกิดความเจริญงอกงามทุกด้านอย่างมีบูรณาการ

2. ช่วยให้คณะครูได้รู้จักนักเรียนของตนแต่ละคนอย่างลึกซึ้ง ทำให้ยอมรับ

นักเรียนในฐานะเป็นเอกัตบุคคล เข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันใน

ด้านต่างๆ เช่น สติปัญญา สภาพร่างกาย ความถนัด ความสนใจ ค่านิยม ทำให้

ทางโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม และ

สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และช่วยให้เกิดปัญหาของโรงเรียนที่เกิด

จากนักเรียนลดน้อยลงไปอีกด้วย

3. ช่วยให้บิดามารดาและผู้ปกครองของนักเรียนรู้จักและเข้าใจเด็กของตนดีขึ้น

ยอมรับสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับบุตรหลานของตนในฐานะที่เป็นบุคคลคนหนึ่ง
ซึ่งแตกต่างจากบุคคลอื่นๆ และให้ความร่วมมือแก่ทางโรงเรียนในการส่งเสริม

พัฒนาบุตรหลานของตน
4.ช่วยให้สังคมและประเทศชาติได้ประชากรที่มีคุณภาพ ไม่เป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหา

สังคมและช่วยเพิ่มพูนเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากเด็กได้เรียนและประกอบอาชีพ

ที่สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตน

ความมุ่งหมายของการ

แนะแนว

ความมุ่งหมายของการแนะแนวสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ความมุ่งหมายทั่ว ไป หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวโดยส่วนรวม นั่นคือ การ

แนะแนวไม่ว่าจะจัดในสถานที่ใดก็ตามย่อมมีความมุ่งหมายทั่ว ไปเหมือนกัน หรืออาจเรียก


ว่า เป็นหน้าที่ของการแนะแนวก็ได้ มี 3 ประการคือ
1.เพื่อป้องกันปัญหา (Prevention) การแนะแนวมุ่งจะป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิด

ปัญหาหรือความยุ่งยากในการดาเนินชีวิตของตนเพราะปัญหาและความยุ่งยากต่างๆ นั้น
สามารถป้องกันได้และการปล่อยให้นักเรียนเกิดปัญหาขึ้นแล้วค่อยตามแก้ไข ช่วยเหลือใน

ภายหลังนั้นทำได้ยากและต้องใช้เวลานาน ในบางกรณีอาจจะแก้ไขไม่ได้ อีกด้วย
2.เพื่อแก้ไขปัญหา (Curation) การแนะแนวมุ่งจะให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการ

แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับตน เพราะถ้าปล่อยให้นักเรียนประสบปัญหาโดยไม่ให้ความ

ช่วยเหลือแล้ว นักเรียนย่อมจะไม่สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขได้ และในบาง


ครั้งอาจจะมีการปรับตัวที่ผิดๆ ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น
3.เพื่อส่งเสริมพัฒนา (Development) การแนะแนวมุ่งจะให้การส่งเสริมนักเรียนทุก

คนให้เกิดความเจริญงอกงามมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างสมบูรณ์ เพื่อที่นักเรียน

แต่ละคนจะได้รับการส่งเสริมและแสดงความสามารถในด้านต่างๆ ของตนออกมาอย่างเต็ม

ที่โดยไม่ให้มีสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาการของนักเรียน

ความมุ่งหมายเฉพาะ หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวที่สถานศึกษาซึ่ง

จัดให้มีบริการแนะแนวเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาเป้าหมาย

หลักสูตร และสภาพสังคมของสถานศึกษานั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามความมุ่งหมาย

เฉพาะของการแนะแนวสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งก็ย่อมจะมีความคล้ายคลึงกัน

ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น
1.เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้รู้จักตนเองอย่างแท้จริง (Self-

Understanding)คือ การช่วยให้นักเรียนรู้ถึงความต้องการความคิด ความ

สามารถ ความถนัด และข้อจำกัดต่างๆ ของตน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสิน

ใจเลือกแนวทางการศึกษา อาชีพ และการดำเนินชีวิตของนักเรียน
2.เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักปรับตัว (Self-Adjustment) ให้เหมาะสมกับ

ตนเองและสภาพแวดล้อม คือ การช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีปฏิบัติตนเพื่อจะดำรง

ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและเป็นสุข
3.เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักนำตนเอง (Self-Direction) คือ การช่วยให้

นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้จักใช้สติปัญญา ความสามารถของตน แก้ไข

ปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉลาด และเหมาะสม สามารถวางแผนการชีวิตในอนาคต

และสามารถนาตนเอง ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้วิจารณญาณคาดการณ์ล่วงหน้า สิ่งที่อาจจะ

เกิดขึ้น และรู้จักหลีกเลี่ยงและป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยกะทันหัน
5.เพื่อส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน เพราะการมี

สัมพันธภาพที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานของโรงเรียนดำเนินไปอย่างราบรื่นและมี

ประสิทธิภาพ
6.เพื่อช่วยฝึกในเรื่องประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนของชาติ เพราะการฝึกให้

นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตนและมีการปฏิบัติจริง

จะช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
7.เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน อัน

จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนานักเรียนในที่สุด

บทที่13 การให้คำปรึกษา

ความหมายบริการให้คำปรึกษา (Counseling Service)
บริการให้คำปรึกษานับว่าเป็น “หัวใจของบริการแนะแนว” ซึ่งถือว่าเป็นบริการที่

สำคัญที่สุดในบริการแนะแนว การบริการแนะแนวที่จัดขึ้นในสถานศึกษาจะขาด

บริการให้คำปรึกษาเสียมิได้
บริการ ให้คำปรึกษา จึงเป็นบริการที่ทุกคนรู้จักดี บางครั้งมีผู้สับสนว่าบริการ

แนะแนวก็คือ บริการให้คำปรึกษานั่นเอง ทั้งนี้เพราะบริการแนะแนวจะจัดบริการ

ให้คำปรึกษาอย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าบริการอื่น ๆ

ความจริงแล้วการบริการให้คำปรึกษานั้นเป็นบริการหนึ่งของบริการแนะแนว
วัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา
1. เกิดแรงจูงใจที่จะให้ข้อมูล
2. เข้าใจและเห็นปัญหาของตนเอง
3. อยากแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาตนเอง
4. ดำเนินการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาตนเอง

หลักการให้คำปรึกษา



การให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือรูปแบบหนึ่ง ที่อาศัยความสัมพันธ์และการ

สื่อสารระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการ ปรึกษา เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิด

ความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา ได้ความรู้และทางเลือกในการแก้ปัญหานั้นอย่าง


เพียงพอมีสภาพอารมณ์และจิตใจ ที่พร้อมจะคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง

หลักการที่สำคัญใน

การให้คำปรึกษา



เนื่องจากการให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นทั้งผู
้ให้คำปรึกษาและ


ผู้รับคำปรึกษา ต้องมีระบบระเบียบ มีเทคนิควิธีในการเข้าใจ การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การ

ช่วยเหลือ การวางแผน การตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงในหลายด้านในตัวผู้รับคำปรึกษา ดัง

นั้นในการให้คำปรึกษาจึงจำเป็นต้องมีหลักการที่สำคัญ (สวัสดิ์ บรรเทิงสุข .2542) ดังนี้
1. การให้คำปรึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้รับคำปรึกษาต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ของตน
2. การให้คำปรึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ให้คำปรึกษาต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อความ

ชำนาญงานมาก่อน
3. การให้คำปรึกษาเป็นการช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถพิจารณาตนเองได้ดีเช่นเดียวกับ

ความสามารถในการพิจารณาสิ่งแวดล้อมของตน จนเกิดการตัดสินใจได้ในที่สุด
4. การให้คำปรึกษา ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. การให้คำปรึกษาเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลปะ (Art) เป็นทั้งงานวิชาการ และ

วิชาชีพที่ต้องอาศัยการฝึกฝนจนชำนาญมากกว่าการใช้สามัญสำนึก
6. การให้คำปรึกษา เป็นความร่วมมืออันดีสำหรับผู้ให้คำปรึกษา และผู้รับคำปรึกษา
ในอันที่จะช่วยกันค้นหาปัญหาหรือทางออกที่เหมาะสมแท้จริงทั้งนี้โดยที่ต่างฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจ

มาก่อนว่า “แท้ที่จริงแล้วความยากลำบากหรือปัญหาของสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งแตกต่างไปจาก

การสอนซึ่งผู้สอนรู้ข้อเท็จจริงมาก่อนหน้านี้แล้ว”
7. การให้คำปรึกษาเน้นถึงจรรยาบรรณ และบรรยากาศที่ปกปิดหรือความเป็นส่วนตัว เพื่อ

สนับสนุนการได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับช่วยเหลือ และรักษาผลประโยชน์ของผู้รับคำปรึกษา

เป็นสำคัญ
8. การให้คำปรึกษาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้คำปรึกษา และผู้รับคำปรึกษา

มีระดับสูงมากพอที่ผู้รับคำปรึกษาเต็มใจที่จะเปิดเผย ความรู้สึกที่แท้จริงของตน โดยไม่

ปกปิดหรือซ่อนเร้น

บทที่14 การศึกษาเป็นรายกรณี

ความหมายของการศึกษารายกรณี
การศึกษารายกรณี หมายถึง กระบวนการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลใด

บุคคลหนึ่ง หรือหลายคนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่งโดยใช้


เครื่องมือ เทคนิค หรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดของข้อมูล

แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจสภาพผู้ถูกศึกษา สาเหตุ

ของพฤติกรรมตลอดจนข้อเสนอแนะที่เป็นแนวทางการให้ความช่วยเหลือกรณี


ที่ผู้ศึกษากำลังประสบปัญหา

วัตถุประสงค์ของการศึกษารายกรณี

การศึกษารายกรณีเพื่อการแนะแนว มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญหลายประการ
(1) เพื่อทำความเข้าใจนักเรียนอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงออก
มา สาเหตุของพฤติกรรมซึ่งอาจจะมีผลมาจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งในอดีต

หรือที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2) เพื่อการวินิจฉัยในอันจะเป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือนักเรียนทั้งทางด้านการ

ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น การหาทางแก้ไขปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นและการช่วย

ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน
3) เพื่อสืบค้นหานักเรียนที่มีลักษณะพิเศษบางประการ เพื่อที่ทางโรงเรียนจะได้

ให้การส่งเสริมพัฒนาได้อย่างเหมาะสม
4) เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจตนเองในทุก ๆ ด้าน ได้อย่างชัดแจ้ง

5) เพื่อช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจนักเรียนในความปกครองของตน ได้ดีขึ้นและ

สามารถที่จะให้ความร่วมมือแก่ทางโรงเรียนแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับบุตร

หลานของตนได้ด้วยดี
6) เพื่อใช้ในการวิจัย โดยศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน

เพื่อทำนายพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งอาจเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

หรือไม่เป็นปัญหาก็ได้
7) เพื่อการติดตามผลของการใช้เครื่องมือ เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะ

เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขได้ในโอกาสต่อไป

การคัดเลือกนักเรียนเพื่อทำการ

ศึกษารายกรณี

เนื่องจากครูแนะแนวแต่ละคนต้องรับผิดชอบดูแลนักเรียนเป็นจำนวนมากจึงไม่

สามารถที่จะทำการศึกษารายกรณีแก่นักเรียนได้ครบทุกคน ดังนั้นครูจึงควร

พิจารณาจากนักเรียนที่มีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

(1) นักเรียนที่กำลังประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือพิเศษหรืออย่าง

รีบด่วน เช่น

(1.1) ปัญหาด้านการเรียน
(1.2) ปัญหาทางด้านอารมณ์
(1.3) ปัญหาทางด้านความประพฤติ บุคลิกภาพและด้านสังคม
(2) นักเรียนที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง หรือมีความสามารถพิเศษอย่างใด

อย่างหนึ่ง

บทที่15 การสร้างแรง

บันดาลใจใฝ่เรียน

องค์ประกอบสำคัญของแรงจูงใจที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม คือ ความ

ต้องการ (Needs) และ แรงขับ (Drives)

ความต้องการ หมายถึง สภาวะความขาดแคลนของอินทรีย์ โดยเฉพาะความขาดแคลน
ทางด้านกายภาพ เช่น การขาดอาหารหรือขาดน้ำ เป็นต้น

แรงขับ หมายถึง สภาวะของการถูกกระตุ้นที่มาจากความต้องการ เช่น การขาดอาหาร
ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเลือด ทำให้เกิดสภาวะแรงขับ (คือ ความหิว) ขึ้น ซึ่ง
บุคคลจะพยายามลดแรงขับโดนการกระทำพฤติกรรมบางอย่าง ในกรณีนี้คือ การหาอาหาร

มารับประทาน การที่จะเข้าใจความหายของแรงจูงใจได้ดีขึ้น ควรทำความเข้าใจคำศัพท์ทาง

จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ ดังต่อไปนี้

1.ความต้องการ (Needs)คือ สภาพอินทรีย์ขาดสมดุล ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงผลัก

ดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อกลับเข้าสู่สมดุลตามเดิม

2.แรงขับ (Drives) หมายถึง แรงผลักดันซึ่งเกิดภายในตัวบุคคล เป็นสภาพที่สืบ
เนื่องมาจากความต้องการทางกาย ทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ความต้องการและแรงขับนั้น มักเกิดคู่กันเสมอ คือ เมื่อเกิดความ

ต้องการแล้ว ความต้องการนั้นจะเป็นตัวผลักดันให้แสดงพฤติกรรม เรียกว่า แรงขับ ความ

ต้องการและแรงขับ บางครั้งอาจใช้ในความหมายเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความ

ต้องการทางกายภาพ ซึ่งบางครั้งเรียกว่าแรงขับทางกายภาพ เช่น ความต้องการทางเพศ

เป็นต้น แต่บางครั้งก็ใช้ประเด็นที่ว่า แรงขับเป็นผลเนื่องมาจากความต้องการ

3.การตื่นตัว (Arousal) เป็นสภาวะที่บุคคลพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรม นัก

จิตวิทยาค้นพบว่า การตื่นตัวในระดับกลาง จะเป็นผลดีที่สุดต่อการแสดงพฤติกรรมของ

บุคคล

4.การคาดหวัง (Expectancy) คือ การที่บุคคลทายหรือพยากรณ์ล่วงหน้าว่าจะมีอะไร

เกิดขึ้นในเวลาต่อไป การคาดหวังนี้จะเกิดในกรณีที่บุคคลมีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้นมาบ้าง

แล้ว ได้แก่ การตั้งเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมาย (Goals) เป้าหมายเป็นทิศทางหรือจุดหมาย


ปลายทางของการกระทำกิจกรรม อันเนื่องมาจาก ความต้องการหรือแรงขับ
5.สิ่งล่อใจ (Incentives) เป็นสิ่งเร้าที่ชักนำบุคคลให้ทำพฤติกรรมเพื่อไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้


สิ่งล่อใจ อาจเป็นวัตถุคำพูด สัญลักษณ์ หรือ สิ่งเร้าประเภทอื่น
การจูงใจเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ คือ ทำให้บุคคลเกิดความต้องการขึ้นมาเสียก่อน จากนั้นหาสิ่ง

ล่อใจเพื่อเป็นเป้าหมายที่จะบอกให้เขารู้ว่าถ้าแสดงพฤติกรรมไปสู่เป้าหมายแล้วจะสามารถ

สนองตอบต่อความต้องการได้ แต่ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว จะพบว่าการที่จูงใจให้บุคคล

แสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เราต้องการนั้น กลับเป็นเรื่องยากและซับซ้อนมาก

เนื่องจากความแตกต่างระหว่างบุคคล เวลา สถานการณ์ และ ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อแรงจูงใจ


ของบุคคล


ความสำคัญของการจูงใจ

ในการเรียนการสอน

ความสำคัญของการจูงใจในการเรียนการสอน มีดังนี้
1. การจูงใจสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ความตั้งใจ และมีมานะพยายามใน


การเรียนการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการทำงานต่างๆ
2. การจูงใจช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน และการทำงานตามความ


สามารถและความถนัดที่มีอยู่อย่างเต็มที่
3. การจูงใจจะช่วยกระตุ้น และชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนประพฤติตนในทางที่ดีงามและ


เหมาะสม เช่น ประพฤติปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ วินัย วัฒนธรรม และศีลธรรมอันดีงามของสังคม

เป็นต้น

4. การจูงใจจะช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบระดับความสามารถของตนสำหรับกิจกรรมต่างๆ

เช่น การสอบแข่งขันความรู้วิชาการ หรือการประกวดงานฝีมือ ทั้งยังมีโอกาสได้ทราบถึงความ

ถนัดและความสามารถของตน อันนำไปสู่การพิจารณาในการตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคตด้วย

5. การจูงใจจะช่วยปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการเรียน การทำงาน หรือ การเข้าร่วม

กิจกรรมทางสังคม

6. การจูงใจจะช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงความก้าวหน้าของตนเอง ซึ่งจะมีส่วนช่วยบุคคลให้


พยายามรักษาและเพิ่มพูนความสามารถขึ้นไปเรื่อยๆ และช่วยให้ทราบถึงข้อบกพ
ร่องต่างๆของ


ตนเอง และป้องกันไม่ให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นซ้ำอีก ตลอดจนการแก้ไข้ความผิดพลาดให้หมด

ไปด้วย


Click to View FlipBook Version