The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ในนี้มีเนื้อหาทั้งหมด15บทด้วยกัน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by huaweig0274, 2022-04-15 08:40:30

จิตวิทยา15บท

ในนี้มีเนื้อหาทั้งหมด15บทด้วยกัน

จิตวิทยาสำหรับครู

เสนอ

อาจารย์เขมินต์ธารากรณ์ บัวเพ็ชร
จัดทำโดย

นางสาวภัทรวดี ศิริครินทร์

ความหมายข
องจิตวิทยา

จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ

กระบวนการของจิต, กระบวนความคิด, และ พฤติกรรมของ มนุษย์


ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น

การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ,

พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมี

ความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ


ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
(เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงาน

เป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษา

ปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความ

เข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัว

บุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษา

ขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของ


พฤติกรรม

บทที่1 ทฤษฎีพัฒนาการ
(Theories of Development)

พัฒนาการความต้องการทางเพศและบุคลิกภาพ (Freud's

Psychosexual&Personality Development) ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้เสนอ
แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการของเขาไว้ว่า "พัฒนาการความต้องการทางเพศ

และบุคลิกภาพของบุคคลต้องอาศัยการพัฒนาที่ต่อเนื่องอย่างเป็นลำดับขั้นจน

กลายเป็นบุคลิกภาพที่ถาวรในที่สุด" ช่วงเวลาที่ฟรอยด์ให้ความสำคัญต่อการ


สร้างบุคลิกภาพอย่างมากจะอยู่ในช่วงระยะแรกเกิดถึงห้าปี



ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมของอีริกสัน (Erikson's Psychosocial

Theory) อีริก เอช. อีริกสัน แนวคิดของอีริกสันจะเน้นความสำคัญที่ว่า

พัฒนาการของบุคคลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทาง
จิตใจมากกว่าการตอบสนองทางร่างกาย พัฒนาการของบุคคลจะเกิดขึ้นอยู่ตลอด


เวลาตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต



ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเพียเจย์ (Piaget's Cognitive

Development Theory) ฌอง เพียเจย์ เขาได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ

พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาอย่างจริงจังและลึกซึ้ง ผลจากการทดลองของเขาพบ

ว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา และ


ปฏิสัมพันธ์นี้เองที่เป็นปัจจัยก่อให่เกิดพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาขึ้น



ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบริก์ (Kohlberg's Moral

Development) ลอเรนซ์ โคห์ลเบริก์ วิธีการศึกษาวิจัยของโคห์ลเบริก์มีความ

คล้ายคลึงกับวิธีของเพียเจย์ กล่าวคือ จะมีการสร้างสถานการณ์สมมติขึ้นมา โดย

ให้กลุ่มทดลองเป็นผู้ตอบปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์สมมตินั้น ผลจากการ

วิเคราะห์คำตอบของผู้ตอบในวัยต่างๆ ทำให้โคห์ลเบริก์สรุปเป็นทฤษฎีพัฒนาการ


ทางจริยธรรมของบุคคลเป็น 3 ระดับ

พัฒนาการ

พัฒนาการคือ การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น ร่างกาย

อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของบุคคลอย่างมีขั้นตอนและเป็น

ระเบียบแบบแผน โดยจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ เพื่อให้

บุคคลนั้นพร้อมจะแสดงความสามารถในการกระทำกิจกรรมใหม่ที่

เหมาะสมกับวัย

พัฒนาการของบุคคลในวัยต่างๆ

- วัยทารก เป็นวัยที่อยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง2ปี พัฒนาการด้านต่างๆ ในวัยนี้ถือได้ว่าเป็นพื้น

ฐานสำคัญของพัฒนาการในวัยต่อๆ ไป



- วัยเด็ก วัยนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 2-12 ปี เป็นระยะที่ร่างกายจะเจริญเติบโตช้าลงกว่าใน

วัยทารก โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นของวัย แต่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วชัดเจนอีกครั้ง
เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของวัย วัยเด็กตอนต้น อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3-5 ปี เป็นวัยที่แสดงความ

ก้าวหน้าทางด้านพัฒนาการในทุกด้าน วัยเด็กตอนกลาง อยู่ในช่วงอายุ 6-9 ปี พัฒนาการ

ด้านต่างๆ ของเด็กในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่มากนัก วัยเด็กตอนปลาย อยู่ใน


ช่วงอายุ 10-12 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของวัยเด็ก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวัยที่มีการ

เปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในทุกด้านหลายประการ



- วัยรุ่น วัยนี้จะอยู่ในช่วงอายุ 12-20 ปี นับว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญมากอีกวัยหนึ่ง อาจ

กล่าวได่ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เนื่องจากเป็นวัยที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการ

ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งกลุ่มเพื่อนจะมีบทบาท


สำคัญต่อพัฒนาการทางสังคมของวัยรุ่นในการที่จะค้นพบตัวเอง



- วัยผู้ใหญ่ วัยนี้เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไปจนตลอดชีวิต ผู้ใหญ่เป็นอีกวัยที่มีความสำคัญ
ต่อชีวิตมนุษย์ คือ นอกจากจะเป็นวัยแห่งความสมบูรณ์สูงสุดของพัฒนาการในด้านต่างๆ ทั้ง

ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ยังเป็นวัยเริ่มต้นแห่งความแห่งเสื่อมของพัฒนาการ

ทุกด้านอีกด้วย วัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 20-40 ปี เป็นวัยแห่งการทำงาน มีครอบครัวและ

ความมั่งคงให้กับตนเอง วัยกลางคน อายุ 40-60 ปี เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นความเสื่อมของ

ร่างกาย วัยชราอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัว


เป็นพิเศษทั้งด้านร่ากายและจิตใจ

บทที่2 พฤติกรรมมนุษย์
(Human Behaviour)




พฤติกรรม หมายถึง กิริยาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์หรือที่

มนุษย์ได้แสดง หรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เมื่อได้เผชิญกับสิ่งเร้า

พฤติกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว อาจจะจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. พฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้เรียกว่า เป็นปฏิกิริยาสะท้อน เช่น การสะดุ้ง

เมื่อถูกเข็มแทง การกระพริบตา เมื่อมีสิ่งมากระทบกับสายตา ฯลฯ

2. พฤติกรรมที่สามารถควบคุมและจัดระเบียบได้ เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา และ

อารมณ์ (EMOTION) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ สติปัญญาหรือารมณ์ จะเป็นตัว

ตัดสินว่า ควรจะปล่อยกิริยาใดออกไป
ถ้าสติปัญญาควบคุมการปล่อยกิริยา เราเรียกว่าเป็นการกระทำตามความคิดหรือ

ทำด้วยสมอง แต่ถ้าอารมณ์ควบคุมเรียกว่า เป็นการทำตามอารมณ์ หรือปล่อย

ตามใจ นักจิตวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่า อารมณ์มอิทธิพลหรือพลังมากกว่าสติปัญญา

ทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำให้พฤติกรรมส่วน

ใหญ่เป็นไปตามความรู้สึกและอารมณ์เป็นพื้นฐาน

รูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ แบ่งได้
เป็น 2 อย่างคือ

1. พฤติกรรมเปิดเผยหรือพฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) เป็น

พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกมา ทำให้ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้ สังเกตได้ เช่น การ


เดิน การหัวเราะ การพูด ฯลฯ



2. พฤติกรรมปกปิดหรือพฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) เป็นพฤติกรรม

ที่บุคคลแสดงแล้ว แต่ผู้อื่นไม่สามารถมองเห็นได้ สังเกตได้โดยตรงจนกว่าบุคคลนั้นจะ

เป็นผู้บอกหรือแสดงบางอย่างเพื่อให้คนอื่นรับรู้ได้ เช่น ความคิด อารมณ์ การรับรู้

ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์



นักจิตวิทยาแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีการเรียนรู้มาก่อน ได้แก่ ปฏิกิริยา


สะท้อนกลับ (REFLECT ACTION) เช่นการกระพริบตา และสัญชาตญาณ

(INSTINCT) เช่นความกลัว การเอาตัวรอดเป็นต้น

2. พฤติกรรมที่เกิดจากอิทธิพลของกลุ่ม ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดจากการ ที่บุคคล

ติดต่อสังสรรค์และมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม



การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะคือ

1. การปรับเปลี่ยนทางด้านของสรีระร่างกาย เช่น การปรับปรุงบุคลิกภาพ การแต่ง

กาย การพูด
2. การปรับเปลี่ยนทางด้านอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ให้มีความสัมพันธภาพที่ดีกับ

บุคคลอื่น ปรับอารมณ์ความรู้สึก ให้สอดคล้องกับบุคคอื่น รู้จักการยอมรับผิด
3. การปรับเปลี่ยนทางด้านสติปัญญา เช่น การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้มีความรู้ที่ทันสมัย

ทันเหตุการณ์ การมีความคิดเห็นคล้อยตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่
4. การปรับเปลี่ยนอุดมคติ หมายถึง การสามารถปรับเปลี่ยนหลักการ แนวทางบาง

ส่วนบางตอนเพื่อให้เข้ากับสังคมส่วนใหญ่ได้ โดยพิจารณาจากความจำเป็น และ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เพื่อสวัสดิภาพของ

ตนเองและของกลุ่ม

การศึกษาเกี่ยวกับการเกิด
ของพฤติกรรมมนุษย์

มนุษย์ได้พยายามที่จะศึกษาการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยตนเอง เพื่
อประโยชน์ในการที่จะทำให้


การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปด้วยดี และมีความสุข จึงทำให้เกิดมีความเชื่อหลักการและทฤษฎีต่างๆ

เกิดขึ้นอย่างมากมาย จากบรรดาผู้รู้และนักการศึกษาทั้งหลายที่พยายามหาหลักเกณฑ์มาเพื่อ

อธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งสามารถรวบรวมทัศนะต่างๆ เป็นหมวดหมู่ได้ 3 ประเภท

1. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากแรงผลักดันภายในตัวมนุษย์
แรงผลักดันที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาก็คือ ความต้องการ ซึ่งความต้องการนี้จะแบ่ง

ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความต้องการทางร่างกาย และความต้องการทางจิตใจ
1.1 ความต้องการทางด้านร่างกาย เป็นแรงผลักดันที่อยู่ในระดับพื้นฐานที่สุด แต่มีพลังอำนาจสูงสุด

เพราะเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้ชีวิตอยู่รอด มนุษย์จะต่อสู้ดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะมาบำบัด

ความต้องการทางร่างกาย ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นทั้งทางที่ดีที่ถูกต้องหรือทาง

ที่ไม่ถูกต้องก็ได้
1.2 ความต้องการทางจิตใจ เป็นแรงผลักดันที่อยู่ในระดับสูงขึ้นกว่าความต้องการทางร่างกาย แต่มี

พลังอำนาจน้อยกว่า เพราะความต้องการทางจิตใจนี้ ไม่ใช่ความต้องการที่เป็นความตายของชีวิต จะเป็น

ความต้องการที่มาช่วยสร้างเสริมให้ชีวิตมีความสุขความสบายยิ่งขึ้นเท่านั้น
มีนักจิตวิทยาหลายคนได้อธิบายถึงแรงผลักดันภายในร่างกาย
อันมีผลทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ
1. ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย ได้วิเคราะห์จิตมนุษย์ออกเป็น

องค์ประกอบ 3 ส่วนคือ อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซุปเปอร์อีโก้ (Super Ego) ส่วนทั้งสามนี้ประกอบ

เป็นโครงสร้างทางจิต (ศรีราชา เจริญพานิช, 2526 : 13)
อิด เป็นสัญชาตญาณในตัวมนุษย์ จะอยู่ในรูปของพลังงานที่คอยผลักดันให้มนุษย์แสดงพฤติกรรม

ต่างๆ พลังงานนี้มีสองส่วนคือ ส่วนหนึ่งจะผลักดันให้มีชีวิตอยู่รอด เรียกว่า สัญญาณชีวิต และอีกส่วน

หนึ่งจะผลักดันให้ชีวิตดับ เรียกว่า สัญญาณความตาย อิดเป็นส่วนของจิตที่คนเราไม่รู้สึก เป็น

จิตใต้สำนึก แรงผลักดันนี้จึงมีอยู่โดยที่คนเราไม่รู้สึกตัว เป็นแรงผลักดันไร้สำนึก อิดจะผลักดันให้จิตอีก

ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่และส่วนที่รู้ตัว ที่เรียกว่า อีโก้ กระทำในสิ่งต่างๆ ตามที่อิดต้องการ
2. อับราฮัม มาสโลว์ (Abrahum Maslow) เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)

ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มนี้ มีความเชื่อว่า มนุษย์มิใช่ทาสของแรงผลักดันต่างๆ เช่น ความหิวกระหายเท่านั้น

แต่มนุษย์ยังเกิดมาพร้อมศักยภาพของความเป็นมนุษย์ต่างๆ เช่น ความอยากรู้ ความสร้างสรรค์ และ

ความต้องการที่จะพัฒนาตนเองจนเต็มขีดความสามารถ มาสโลว์ได้เน้นให้เห็นถึงความต้องการให้แต่ละ

คน

3. ความเชื่อในพระพุทธศาสนา เชื่อว่า แรงผลักดันพฤติกรรมของมนุษย์อันเป็นผลมา

จากแรงผลักดันในตัวมนุษย์นั้น คือ ความอยากซึ่งเรียกว่า ตัณหา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3

อย่าง คือ
3.1 กามตัณหา คือ ความอยากในสิ่งที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ในรูป รส กลิ่น

เสียง และสัมผัส
3.2 ภวตัณหา คือ ความอยากจะเป็นในสิ่งต่างๆ เช่น เป็นเศรษฐีของประเทศ
3.3 วิภวตัณหา คือ ความอยากพ้นจากสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาต่างๆ
จากตัณหาทั้ง 3 อย่างนี้ จะทำให้มนุษย์เกิดความยึดมั่นในความอยากเหล่านั้น และความ

อยากก็จะเป็นตัวผลักดันให้มนุษย์กระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะสนองความ

อยากเหล่านั้น หรือเพื่อให้ความอยากเหล่านั้นบรรลุความมุ่งหวังที่ตั้งเอาไว้
2. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของสิ่งแวดล้อม
อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้ที่เริ่มประกาศความเชื่อนี้ ต่อมาความคิดเช่นนี้กลับมามี

อิทธิพลอีกในยุคของจอห์น ลอคค์ (John Locke) เบิร์คลีย์ (Berkley) และอีกหลายคน

ซึ่งเชื่อว่าประสบการณ์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่ทำให้คนเราเกิดการเรียนรู้ที่จะกระทำพฤติกรรม

เมื่อเกิดมานั้น มนุษย์มิได้มีความรู้ติดตัวมาแต่อย่างใด ล้วนแล้วแต่ต้องเรียนรู้ภายหลัง จาก

เกิดมาแล้วทั้งสิ้น ต่อเมื่อมีประสบการณ์แล้วจึงจะเรียนรู้ และจดจำประสบการณ์นั้นเอาไว้เพื่อ

เป็นแนวทางสำหรับการแสดงพฤติกรรมในอนาคตต่อไป (สิทธิโชค วรานุสันติกุล, 2528 :

2)
สกินเนอร์ (Skinner) เป็นนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเป็น

ผู้นำแนวคิดนี้ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมมนุษย์ถูกควบคุมโดยเงื่อนไขแห่งการเสริมแรง และ

เงื่อนไขแห่งการลงโทษ และด้วยเหตุนี้เองมนุษย์จึงไม่มีเสรีภาพแต่ประการใด สกินเนอร์ชี้ให้

เห็นว่าผลการกระทำของคนเรามีอยู่ 2 ประการคือ ผลการกระทำที่ทำให้พอใจ ซึ่งจะทำ

หน้าที่เป็นแรงเสริมให้แก่การกระทำนี้มีต่อไป (เงื่อนไขแห่งการเสริมแรง) และผลการกระทำที่

ทำให้ไม่พอใจ ซึ่งจะเป็นตัวการที่ทำให้คนเราหยุดพฤติกรรมหรือการกระทำอันจะนำมาซึ่งผล

การกระทำเช่นนี้ในอนาคต
พฤติกรรมที่ยังผลให้เกิดความพอใจ เช่น พฤติกรรมที่ทำแล้วได้รับคำชมเชย ได้ตำแหน่ง

ได้เงิน ได้รับการยกย่อง ฯลฯ ก็จะมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตในขณะที่

พฤติกรรมที่ยังผลให้เกิดความไม่พอใจ เช่น ทำแล้วถูกตำหนิ เสียตำแหน่ง เสียเงิน ถูก

ทำร้าย ถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม ฯลฯ ก็จะหยุดไป ดังนั้น พฤติกรมของคนเราจึงถูกควบคุม

โดยเงื่อนไขของผลการกระทำทั้ง 2 ประการ

3. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากทั้งแรงผลักดันภายในตัวของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
อัลเบิร์ต แบนดูรา (Aibert Bandura) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากในปัจจุบัน ได้ให้

ความสำคัญแก่ ลักษณะภายในตัวมนุษย์และสิ่งแวดล้อมว่า เป็นตัวก่อให้เกิดพฤติกรรม

เขาอธิบายว่าพฤติกรรมมนุษย์ องค์ประกอบภายในตัวมนุษย์และสิ่งแวดล้อมต่างก็มี

อิทธิพลต่อกันและกัน ในลักษณะที่แต่ละองค์ประกอบต้องสัมพันธ์กันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย

กัน หมายความว่า ในบางครั้งสิ่งแวดล้อมอาจจะมีส่วนในการทำให้เกิดพฤติกรรมได้

มากกว่าองค์ประกอบภายในตัวบุคคล ส่วนในเวลาอื่นองค์ประกอบภายในตัวบุคคลก็อาจจะ

มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์มากกว่าสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์

เช่นนี้อยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน เป็นกระบวนการที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและ

กัน และทั้งคู่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์




พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวจิตวิทยา



นักจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ส่วนใหญ่จะประพฤติปฏิบัติตามแบบแผนของกฏ

ระเบียบหรือวิธีการ ที่มีอยู่ในสังคม รวมทั้งวัฒนธรรมที่มีอยู่ในสังคมนั้น ๆ ซึ่งมนุษย์ย่อม

เข้าใจในสถานภาพ และบทบาทตามที่กลุ่มสังคมคาดหวังดังนั้นพฤติกรรมมนุษย์ อาจจะ

เกิดขึ้นได้ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. การติดต่อสื่อสาร (COMMUNICATION)
2. การขัดแย้ง (CONFLICT)
3. การแข่งขัน (COMPETITION)
4. การประนีประนอมผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน (ACCOMODATION)
5. การผสมผสานกลมกลืนเข้าหากัน (ASSIMILATION)
6. การร่วมมือสนับสนุนซึ่งกันและกัน (COOPERATION)

พฤติกรรมมนุษย์ตามแนว
นักสังคมวิทยา



นักสังคมวิทยา เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมหรือสภาวะ

ภายนอกทั้งปวง (ETERNAL CONDITIONS) ที่อยู่รอบตัวของมนุษย์ ทั้งสิ่งที่มี

รูปร่างและไม่มีรูปร่างตลอดจนพลังงานต่าง ๆ ที่จับต้อง รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตาม

ธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ อากาศ แสงแดด ความร้อน ความเย็น แร่

ธาตุ กระแสไฟฟ้า เครื่องมือสื่อสาร เป้นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่มี

อิทธิพลเหนือมนุษย์ทั้งในแง่ที่อำนวยให้เกิดผลดี และผลร้าย

เราอาจจะแบ่งประเภทของสิ่งแวดล้อม ออกเป็น 3 ประการใหญ่ ๆ คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมทางสังคม
3. สิ่งแวดล้อมทางครอบครัว
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมที่จะหาทางต่อสู้และ

เอาชนะทำให้เกิดวัฒนธรรม รูปแบบต่าง ๆ ขึ้น เช่น การคิดประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ การ

เพาะปลูก การสร้างถนนหนทาง การสร้างเครื่องมือสื่อสาร เป็นต้น

พฤติกรรมมนุษย์ทางวิทยาศาสตร์

การใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ จำแนกได้ดังนี้
1. ความสมบูรณ์ หรือความปกติของสมอง จะมีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมมนุษย์

ในด้านความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนด้านจิตใจ หากสมองผิดปกติย่อมมีผลให้

พฤติกรรมของบุคคลเปลี่ยนแปลงไปด้วยการผิดปกติของสมอง อาจเนื่องมาจาก

โรคหลายอย่าง เช่น ไข้มาเลเรียขึ้นสมอง สมองได้รับความกระทบกระเทือน หรือ

เนื้องอกในสมอง เป็นต้น
2. ความพิการทางร่างกาย หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
3. โรคจิตและ โรคประสาท
นอกจากนี้ยังมีส่วนของสมองที่เรียกว่า ต่อมไร้ท่อ (DUCTLESS GLAND)

ต่อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มาก อาจกล่าวโดยย่อ ๆ ถึงความ

สำคัญได้ดังนี้
1. ต่อมไทรอยด์ (THYROID GLAND) ต่อมนี้มี 2 ต่อม ติดอยู่ข้างหลอดลม

ข้างละต่อม ถ้าชำรุดสติปัญญาของคนจะเสื่อมถอย มีอาการซึมเซาเหงาหงอย ฯลฯ
2. ต่อมพาราไทรอยด์ (PARATYROID GLAND) ต่อมนี้อยู่เหนือต่อม

ไทรอยด์ ถ้าต่อมนี้มีฮอร์โมนน้อยเกินไป คนจะเป็นโรคตื่นเต้นง่าย โกรธง่าย มี

จิตใจหดหู่อยู่เสมอ
3. ต่อมพิทูอิทารี่ (PITUITARY GLAND) ต่อมนี้ฝังอยู่กลางศรีษะ ถ้าต่อม

ทำงานไม่ปกติจะเป็นคนแคระแกร็น จะขาดความเจริญทางเพศ
4. ต่อมแอดรีนาล (ADRENAL GLAND) อยู่บนไตทั้งสองข้าง ถ้าต่อมนี้มี

ฮอร์โมนมากเกินไปความเจริญทางเพศจะรวดเร็วผิดปกติ
5. ต่อมทางเพศ (SEX GLAND) ต่อมนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์หากต่อม

นี้ผิดปกติก็จะทำให้อาการทางเพศผิดปกติด้วย

ลักษณะความแตกต่างของ

พฤติกรรมมนุษย์

ความแตกต่างดังกล่าวอาจแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ดังนี้


1. ความแตกต่างทางอารมณ์ (EMOTION)
2. ความแตกต่างทางความถนัด (APTITUDE)
3. ความแตกต่างของความประพฤติ (BEHAVIOUR)
4. ความแตกต่างของความสามารถ (ABILITY)
5. ความแตกต่างของทัศนคติ (ATTITUDE)
6. ความแตกต่างของความต้องการ (NEEDS)
7. ความแตกต่างของรสนิยม (TESTS)
8. ความแตกต่างทางสังคม (SOCAIL)
9. ความแตกต่างของลักษณะนิสัย (HABIT)
ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้บุคคลมีลักษณะเฉพาะของตนเองซึ่งเรียกว่า เป็นความแตกต่าง

ระหว่างบุคคล (INDIVIDUAL DIFFERENCES) นักจิตวิทยา
ยอมรับว่า ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้แต่ฝาแฝดก็ไม่เหมือนกัน สิ่งสำคัญที่ทำให้

บุคคลแตกต่างกัน คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาพฤติกรรม

ของมนุษย์

การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญด้านต่าง ๆ
6 ประการ คือ

1. การเรียนรู้ (LEARNING)
2. ค่านิยม (VALUE)
3. บรรทัดฐานของสังคม (NORMS)
4. ทัศนคติ (ATTITUDE)
5. ความเชื่อ (BELIEF)
6. การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (SOCIAL INTERSACTION)

บทที่3 จิตวิทยาการเรียนรู้
( Psychology of learning)

จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of learning) หมายถึงจิตวิทยาที่ใช้ในการ

ถ่ายทอดความรู้ โดยการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างถาวรหรือเกิดจากการฝึกฝน ซึ่งกระบวนการเรียนรู้จะเกิดได้จากขั้นตอนหลัก 4

ขั้นตอนคือตั้งใจจะรู้ กำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้ ลงมือปฏิบัติและได้รับผลประจักษ์ สำหรับ

ทฤษฎีการเรียนรู้นั้นจะพยายามศึกษาว่ากระบวนการเรียนรู้นั้นมีลักษณะอย่างไร ในงาน


วิจัยส่วนใหญ่นั้นจะทำการศึกษาแบบพฤติกรรมนิยมแบบพุทธินิยมและแบบ self-

regulated learning โดยมีจิตวิทยาทางสื่อเป็นแนวการศึกษาใหม่ที่เพิ่มเข้ามา


เนื่องจากเทคโนโลยีมีบทบาทในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยามี 3 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ
1.1 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849-1936) นัก

สรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical
Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า
1.2 จอห์น บี วัตสัน (John B Watson คศ.1878 -1958) ทฤษฎีการ
เรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์
1.3 เบอร์รัส สกินเนอร์ (Burrhus Skinner) ทฤษฎีการเรียนรู้การวาง
เงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory)
1.4 เพียเจท์ (Jean Piaget) การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียน
เป็นผู้รับข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลมากเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น
1.5 กาเย่ (Gagne) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น

- การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจ
ในการเรียนรู้

- การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้
สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ

- การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase) เพื่อให้เกิด
ความจำระยะสั้นและระยะยาว

- ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
- ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
- การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
- การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
- การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase) ผู้
เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
1.6 ธอร์นไดค ทฤษฎีการเชื่อมโยง

2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ

2.1 เดวิค พี ออซุเบล ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

2.2 Gestalt Psychologist ทฤษฎีการใช้ความเข้าใจ

(CognitiveTheory)

2.3 โคท์เลอร์ (Kohler, 1925) การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้

(Insight Learning)

2.4 Jero Brooner ทฤษฏีการเรียนรู้แบบค้นพบ
2.5 Piaget ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ

3.1 ศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford)

ประเทศสหรัฐอเมริกา การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ

(Observational Learning หรือ Modeling)

3.2 Anthony Grasha กับ Sheryl Riechmann ทฤษฎีการ

สังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอน และสังเกตจากปฏิสัมพันธ์
ระหว่างนักเรียนกับเพื่อนร่วมห้อง

3.3 เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม
3.4 Robert Slavin และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมกันเรียนรู้
3.5 David Johnson และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้
3.6 Shlomo และ Yael Sharan ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน

เรียนรู้ในงานเฉพาะอย่าง

ยกตัวอย่างทฤษฎีการเรียนรู้

ของพาฟลอฟ



ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ( Ivan Petrovich Pavlov )
ชื่อ อีวาน เปโตรวิช พาฟลอฟ
เกิด 14 กันยายน ค.ศ.1849 ( 1849-09-14 ) รีซาน , จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี) เลนินกราด , สหภาพโซเวียต
สาขาวิชา สรีวิทยา , จิตวิทยา , แพทย์
ผลงาน การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม Transmarginal.inhibition การปรับเปลี่ยน


พฤติกรรมเกียรติประวัติ รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
พาฟลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวาง

เงื่อนไข กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมี

เงื่อนไขหรือ สถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบ
สนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียง

กระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาพลอฟ

เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียก


ว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
จุดเริ่มมาจากนักสรีระวิทยา ชาวรัสเซีย ชื่อ อิวาน พาฟลอฟ


(Ivan Pavlov) ทำการทดลองให้สุนัขหลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียง

กระดิ่ง โดยอินทรีย์ (สุนัข) เกิดการเชื่อมโยงสิ่งเร้า 2 สิ่ง คือ เสียง

กระดิ่งกับผงเนื้อ จนเกิดการตอบสนองโดยน้ำลายไหล เมื่อได้ยิน

เสียงกระดิ่ง ดังรูปต่อไปนี้

ก่อนวางเงื่อนไข

ขณะวางเงื่อนไข

หลังจากวางเงื่อนไข
ส่วนประกอบของกระบวนการวางเงื่อนไข
•สิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข UCS (Unconditional Stimulus)
•สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข CS (Conditional Stimulus)
•การตอบสนองอย่างไม่มีเงื่อนไข UCR (Unconditional Response)
•การตอบสนองอย่างมีเงื่อนไข CR (Conditional Response)





(Classical Cond
itioning Thoery )
การทดลองโดยสั่นกระดิ่งก่อนที่จะเอาอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่าง

การสั่นกระดิ่งและการให้ผงเนื้อแก่สุนัขต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ

.25 ถึง .50 วินาทีทำซ้ำควบคู่กันหลายครั้ง และในที่สุดหยุดให้อาหารเพียงแต่

สั่นกระดิ่งก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้ โดยที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่อง

มือวัดระดับการไหลของน้ำลายไว้ ปรากฏการเช่นนี้เรียกว่า พฤติกรรมของสุนัข

ถูกวางเงื่อนไข (Povlov, 1972) หรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบวาง

เงื่อนไขแบบคลาสสิค

การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning นั้นหมายถึงการเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมี
ลักษณะการเกิดตาม ลำดับขั้นดังนี้

1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด
องค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง จะต้องประกอบด้วยกระบวนการ
ของส่วนประกอบ 4อย่าง คือ
1.สิ่งเร้า เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมา
2.แรงขับ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป

3.การตอบสนองเป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาเมื่อได้รับการ กระตุ้นจาก
สิ่งเร้า

4.สิ่งเสริมแรงเป็นสิ่งมาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้
มีแรงขับเพิ่มขึ้น
กฎการเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในการทดลอง พาฟลอฟ ได้สรุปเป็นกฎ 4 ข้อคือ

1. กฎการลบพฤติกรรม
2. กฎแห่งการคืนกลับ
3. กฎความคล้ายคลึงกัน
4. การจำแนก

ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
1.การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้า หรือสิ่งเร้าเป็นตัวดึงการตอบสนองมา
2.การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ
3.ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลาย

ไหล
4.รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจำเป็นต่อการวางเงื่อนไข
5.ไม่ต้องทำอะไรกับผู้เรียน เพียงแต่คอยจนกระทั่งมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงจะเกิด

พฤติกรรม
6.เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์ ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไป

เกี่ยวข้องในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์
3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข
4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง

สรุป

ทฤษฏีการเรียนรู้เป็นรากฐานสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนควร

ศึกษาและทำความเข้าใจในหลักการและแนวทางการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้

ให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ ความต้องการ และความแตกต่างของผู้เรียน

ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎี การเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีหลายกลุ่ม

ได้แก่ กลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มพุทธินิยม กลุ่มมนุษยนิยมและกลุ่มผสมผสาน

บทที่4 ปัจจัยที่มีผลต่อ

พฤติกรรม

ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ปัจจัยทาง

จิตวิทยา ซึ่งมีปัจจัยย่อยอยู่หลายปัจจัย ปัจจัยทางจิตวิทยา จะทำหน้าที่ เป็นสื่อ

กลางในการรับรู้และตีความสิ่งเร้าก่อนที่ร่างกายจะแสดง พฤติกรรมต่าง ๆ ปัจจัย

ทางจิตวิทยาที่สำคัญ ประกอบด้วย แรงจูงใจและ การเรียนรู้
1. แรงจูงใจ
1.1 ความหมาย ประเภทและปัจจัย

แรงผลักดันจากภายในที่ทำให้ให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมตอบสนองอย่าง มีทิศทางและ เป้า

หมาย เรียกว่า แรงจูงใจ คนที่มีแรงจูงใจ ที่จะทำ พฤติกรรมหนึ่งสูงกว่า จะใช้ความ

พยายามนำ การกระทำไปสู่เป้าหมายสูงกว่า คนที่มีแรงจูงใจต่ำกว่า แรงจูงใจของมนุษย์

จำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ประเภทแรก ได้แก่ แรงจูงใจทางกาย ที่ทำให้มนุษย์แสดง

พฤติกรรมสนองความต้องการ ที่จำเป็นทางกาย เช่น หาน้ำ และอาหารมา ดื่มกิน เมื่อ

กระหายและหิว ประเภทที่สอง ได้แก่ แรงจูงใจทางจิตซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความต้องการทาง

สังคม เช่น ความต้องการความสำเร็จ เงิน คำชมอำนาจ กลุ่มและพวก เป็นต้น ปัจจัยที่

ทำให้เกิดแรงจูงใจในมนุษย์ ประกอบด้วย

1.1.1 ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความต้องการจำเป็นของชีวิต คือ อาหาร น้ำ

ความปลอดภัย
1.1.2 ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความตื่นเต้น วิตกกังวล กลัว โกรธ รัก เกลียด

และความรู้สึกอื่นใด ที่ให้คนมีพฤติกรรม ตั้งแต่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จนถึง การฆ่าผู้อื่น
1.1.3 ปัจจัยทางความคิด เป็นปัจจัยที่กำหนดให้บุคคลกระทำในเรื่องที่คิดว่า

เหมาะสมและเป็นไปได้ และตามความคาดหวังว่า ผู้อื่นจะสนองตอบ การกระทำของ

ตนอย่างไร
1.1.4 ปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้

สอดคล้องกับสังคม และเป็นที่ยอมรับ ของบุคคลในสังคมนั้นด้วย การกระทำของ

ผู้อื่นและผลกรรมที่ได้รับจึงทำให้เกิดการเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นไปกฏ

ระเบียบ และตัวแบบทางสังคม

1.2 ทฤษฎีแรงจูงใจ
นักจิตวิทยาได้พัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายถึงแรงจูงใจของมนุษย์ เพื่อตอบคำถามเกี่ยว

กับพฤติกรรมที่ปรากฏ แต่ละทฤษฎีมีจุดที่เป็น ความแนวคิด เกี่ยวกับพฤติกรรม

ของมนุษย์ที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญได้แก่ ทฤษฎีสัญชาติญาณ ทฤษฎีแรงขับ

ทฤษฎีการตื่นตัว และทฤษฎีสิ่งล่อใจ
1.2.1 ทฤษฎีสัญชาติญาน (Instinct Theory)
สัญชาติญาน เป็น พฤติกรรมที่มนุษย์ แสดงออกโดยอัตโนมัติ ตามธรรมชาติของ

ชีวิต เป็นความพร้อม ที่จะทำ พฤติกรรม ได้ในทันที เมื่อปรากฎ สิ่งเร้า เฉพาะต่อ

พฤติกรรมนั้น สัญชาติญาณ จึงมีความสำคัญต่อ ความอยู่รอด ของชีวิต ในสัตว์

บางชนิด เช่นปลากัดตัวผู้จะแสดงการก้าวร้าว พร้อมต่อสู้ ทันทีที่เห็นตัวผู้ตัวอื่น

สำหรับ ใน มนุษย์ สัญชาติญาณ อาจจะไม่แสดงออกมา อย่างชัดเจนในสัตว์ชั้นต่ำ

แต่บุคคลสามารถรู้สึกได้ เช่น ความใกล้ชิด ระหว่าง ชายหญิง ทำให้เกิด ความ

ต้องการทางเพศได้ พฤติกรรมนี้ไม่ต้องเรียนรู้ เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ตายตัว

แน่นอน ซึ่งกำหนดมา ตามธรรมชาติจาก ปัจจัยทางชีวภาพ ในปัจจุบันการศึกษา

สัญชาตญาน เป็นเพียงต้องการ ศึกษา ลักษณะ การตอบสนอง ขั้นพื้นฐาน เพื่อ

ความเข้าใจ พฤติกรรม เบื้องต้นเท่านั้น
1.2.2 ทฤษฎีแรงขับ (Drive Reduction Theory)
แรงขับ (Drive) เป็นกลไกภายในที่รักษาระบบทางสรีระ ให้คงสภาพสมดุลในเรื่อง

ต่าง ๆ ไว้ เพื่อทำให้ ร่างกายเป็น ปกติ หรืออยู่ในสภาพ โฮมิโอสแตซิส

(Homeostasis) โดยการปรับระบบให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทฤษฎีแรง

ขับอธิบายว่า เมื่อเสียสมดุลในระบบ โฮมิโอสแตซิส จะทำให้เกิดความต้องการ

(Need) ขึ้น เป็นความต้องการทางชีวภาพเพื่อรักษาความคงอยู่ของชีวิต และความ

ต้องการนี้ จะทำให้เกิด แรงขับ อีกต่อหนึ่ง
แรงขับเป็น สภาวะตื่นตัว ที่พร้อมจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้กลับคืนสู่สภาพสมดุล

เพื่อลดแรงขับนั้น (Drive Reduction) ตัวอย่างเช่น การขาดน้ำในร่างกาย จะ

ทำให้เสียสมดุลทางเคมี ในเลือด เกิดความต้องการเพิ่มน้ำ ในร่างกาย แรงขับ ที่เกิด

จากต้องการน้ำคือ ความกระหาย จูงใจให้เราดื่มน้ำหรือหาน้ำมาดื่ม หลังจากดื่มสม

ความต้องการแล้ว แรงขับก็ลดลง กล่าวได้ว่า แรงขับผลักดันให้คนเรามีพฤติกรรม

ตอบสนอง ความต้องการ เพื่อทำให้ แรงขับ ลดลงสำหรับที่ร่างกาย จะได้กลับสู่

สภาพสมดุล อีกครั้งหนึ่ง

1.2.3 ทฤษฎีการตื่นตัว (Arousal Theory)
มนุษย์ถูกจูงใจให้กระทำพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อรักษาระดับการตื่นตัวที่พอเหมาะ

(Optimal level of arousal) เมื่อมีระดับการตื่นตัวต่ำลง ก็จะถูกกระตุ้นให้เพิ่มขึ้น

และเมื่อการตื่นตัวมีระดับสูงเกินไปก็จะถูกดึงให้ลดลง เช่น เมื่อรู้สึกเบื่อคน จะแสวงหา

การกระทำที่ตื่นเต้น เมื่อตื่นเต้นเร้าใจมานานระยะหนึ่ง จะต้องการพักผ่อน เป็นต้น คน

แต่ละคนจะมีระดับการตื่นตัวที่พอเหมาะแตกต่างกัน
การตื่นตัวคือ ระดับการทำงานที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ระบบของร่างกาย สามารถวัดระดับ

การทำงานนี้ได้จากคลื่นสมอง การเต้นของหัวใจ การเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือจากสภาวะ

ของอวัยวะต่าง ๆ ขณะที่หลับสนิทระดับการตื่นตัวจะต่ำที่สุด และสูงสุดเมื่อตกใจหรือตื่น

เต้นสุดขีด การตื่นตัวเพิ่มขึ้นได้จากความหิว กระหายน้ำหรือแรงขับทางชีวภาพอื่น ๆ

หรือจากสิ่งเร้าที่เข้มข้น รุนแรง เหตุการณ์ไม่คาดหวังไว้ก่อน
1.2.4 ทฤษฎีสิ่งจูงใจ (Incentive Theory)
ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่จูงใจจะดึงดูดให้คนมุ่งไปหาสิ่งนั้น มนุษย์กระทำกิจกรรม

ต่าง ๆ เพื่อแสวงหาสิ่งที่พอใจ (Positive Incentives) เช่น รางวัล คำยกย่อง สิทธิ

พิเศษ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พอใจ (Negative Incentives) เช่น ถูกลงโทษ ถูกตำหนิ

ทำให้เจ็บกาย การที่คนมี พฤติกรรมแตกต่างกัน หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่

กับความแตกต่างในคุณค่า (Values) ของสิ่งจูงใจ ถ้าคิดว่าการกระทำอย่างใด อย่าง

หนึ่ง จะได้รับผลคุ้มค่าก็จะมีแรงจูงใจให้บุคคลกระทำอย่างนั้น

2. การเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และ การปรับพฤติกรรมของมนุษย์

ที่เกิดขึ้นจาก ประสบการณ์ หรือมี ปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการเรียนรู้

เกิดขึ้นเมื่อพฤติกรรมมี ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า กับการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้า หลัก

การเรียนรู้ ที่สำคัญได้แก่ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก การวางเงื่อนไขปฏิบัติการ และ

หลักการเรียนรู้ทางสังคม
2.1 การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของ พาฟลอฟ (Pavlov)
แนวคิดนี้เชื่อว่า มนุษย์ถูกวางเงื่อนไขเพื่อให้แสดง พฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้

ตามรูปอยู่ตลอดเวลา เงื่อนไข จะถูกวาง ในขณะที่มีสิ่งเร้าอื่น ที่มีอิทธิพลต่อการกระตุ้น

เร้าอินทรีย์อยู่ ทำให้มี พฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทั้งสอง อย่างพร้อม ๆ กัน เมื่อ

อินทรีย์เกิดการเรียนรู้ก็จะทำให้ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ถูก วางเงื่อนไขไว้ได้ นอกจากนี้

การตอบสนองต่อสิ่งเร้า ยังสามารถ แผ่ขยายไปยังสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึง

กัน ได้อีกด้วย หลักการนี้ ทำให้เข้าใจ เรื่องความรู้สึก หรือ อารมณ์ของบุคคล ที่ไม่

อาจหักห้ามได้ เมื่อเจอสิ่งเร้าบางอย่าง เช่น กลัวสิ่งที่ไม่ อันตราย รู้สึกขยะแขยงต่อสิ่งที่

น่าเกลียด เป็นเพราะ ถูกวางเงื่อนไขต่อสิ่งนั้น มาในอดีตตั้งแต่วัยเด็ก
2.2 การวางเงื่อนไขปฎิบัติการของ สกินเนอร์ (Skinner)
การวางเงื่อนไขอีกลักษณะหนึ่ง เป็นการวางเงื่อนไขที่เกิดจากแรงขับ ที่ทำให้อินทรีย์

ปฏิบัติการ เป็นการเกิด พฤติกรรม โดยวางเงื่อนไขระหว่าง พฤติกรรมการตอบสนอง

ต่อสิ่งเร้า กับ ผลกรรม (Consequence) ของ พฤติกรรม นั้น พฤติกรรมใด ที่ได้

รับ ผลกรรม เป็นที่พึงพอใจ พฤติกรรมนั้น มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ต่อสิ่งเร้า อย่าง

เดียวกัน อีกในโอกาสต่อไป ส่วนพฤติกรรมใดที่ได้รับผลกรรม ไม่เป็นที่พึงพอใจ

พฤติกรรมนั้นมี แนวโน้ม ที่จะยุติลงได้ ผลกรรมจะมีลักษณะ เป็นการเสริมแรง

พฤติกรรมมี ทั้งรางวัลและการลงโทษ การที่มนุษย์ส่วนมาก แสดงพฤติกรรม ที่ให้ผล

กรรม เป็นรางวัล

2.3 การเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็น (Insight Learning)
การหยั่งเห็น เป็น พฤติกรรม ที่เกิดขึ้นในสัตว์ชั้นสูง เนื่องจากมี ความซับซ้อนใน ด้าน
การคิด และ การแก้ปัญหา เพื่อให้เกิด ผลลัพธ์ที่ต้องการ นักจิตวิทยา ตามแนวคิดนี้

ท่านหนึ่งชื่อ โคห์เลอร์ (Kohler) ได้ทำการศึกษา กระบวนการแก้ปัญหา ของลิง ใน

การหยิบอาหารที่อยู่นอกกรง พบว่าลิงมี แบบแผนของการคิด ที่เชื่อมโยงกับ สภาพ

การณ์ที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าในขณะนั้น และเลือกที่จะทำ พฤติกรรมที่น่าจะเหมาะสมที่สุด

และเมื่อศึกษา ต่อกับ มนุษย์ก็พบผลในทำนองเดียวกัน ตามทฤษฎีนี้ การตอบสนองต่อ

สิ่งเร้าของบุคคล สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับ กระบวนการคิดของคนผู้นั้น

รูปแบบที่ ตอบสนอง แล้วได้ผลดีที่สุดจะเป็นแสดงความฉลาดของ สติปัญญาของมนุษย์
2.4 การเรียนรู้ทางสังคม
การเรียนรู้ทางสังคม เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่กล่าวว่า พฤติกรรมของคนเราส่วนใหญ่
เกิดจาก การสังเกตตัวแบบ แล้ว ลอกเลียนพฤติกรรม ของตัวแบบ เฉพาะที่ตัวแบบได้

รับการเสริมแรงเป็นรางวัล โดยที่ไม่จำเป็น ที่จะต้องทำ ตามแบบในทันที แต่อาจจะเก็บจำ

ไว้ไปคิด หรือทดสอบ ดูก่อนก็ได้ การที่ได้สังเกตตัวแบบเป็นเวลานาน เช่น ลูกจะมีพ่อแม่

เป็นตัวแบบ การเรียนรู้และจะทำตามอย่าง พ่อแม่โดยไม่รู้ตัว เพราะ การเรียนรู้ แบบนี้จะ

แฝงอยู่ใน ความคิดก่อนที่จะแสดงออกมาให้เด่นชัด พฤติกรรมของบุคคลหลายอย่าง

เกิดจาก การกระทำตามตัวแบบ ที่เขา นิยมชมชอบ เช่น เพื่อน ดาราภาพยนตร์ นักร้อง

นักกีฬา บุคคลที่มีชื่อเสียง พฤติกรรมการเรียนรู้ทางสังคม เกิดจากกระบวนการเรียนรู้

ขั้น พื้นฐาน และส่วนใหญ่เกิดจาก ปัจจัยภายนอก การเรียนรู้ทางสังคม จึงสามารถ ถูก

ปรับเปลี่ยนไปได้ ตามลักษณะของ การเสริมแรง การสังเกต ตัวแบบ พัฒนาการที่สูง

ขึ้น ระดับความคาดหวัง ค่านิยม และรูปแบบการคิด

บทที่5 ความจำของมนุษย์

ใน จิตวิทยา ความจำ ( memory ) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ

รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูล

จากโลกภายนอกมากระทบกับ ประสาทสัมผัส ต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูป
แบบของ สิ่งเร้า เชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีก

รูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่

สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง

ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้น

ที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัย

ความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ

จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืน

ความจำ คือ

การเข้ารหัส (encoding) เป็นการรับ การแปลผล และการรวบรวมข้อมูลที่ได้รับ
การเก็บ (storage) เป็นการบันทึกข้อมูลที่ได้เข้ารหัสแล้วอย่างถาวร
การค้นคืน (retrieval หรือ recollection) หรือ การระลึกถึง เป็นการระลึกถึง

ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้แล้วโดยเป็นกระบวนการตอบสนองต่อตัวช่วย (cue) เพื่อใช้ใน

พฤติกรรมหรือกิจกรรมอะไรบางอย่าง
ความจำอาศัยประสาทสัมผัส
Sensory memory (ความจำอาศัยความรู้สึก) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกที่เก็บไว้

น้อยกว่า 1 วินาทีหลังจากเกิดการรับรู้สิ่งที่มากระทบประสาทสัมผัส ความสามารถใน

การเห็นวัตถุหนึ่งแล้วจำได้ว่าเหมือนกับอะไร โดยดู (หรือจำ) ใช้เวลาเพียงไม่ถึงวินาที เป็น
ตัวอย่างของความจำอาศัยความรู้สึก เป็นความจำนอกเหนือการควบคุมทางประชานและ

เป็นการตอบสนองอัตโนมัติ แม้ว่าจะมีการแสดงให้ดูเพียงระยะสั้น ๆ ผู้ร่วมการทดลองมัก
จะรายงานว่าเหมือนจะ "เห็น" รายละเอียดมากกว่าที่จะรายงานได้จริง ๆ (เพราะกว่าจะ

บอกสิ่งที่เห็นหมด ก็ลืมไปก่อนแล้ว)
นักจิตวิทยาเชิงประชานชาวอเมริกัน ศ. จอร์จ สเปอร์ลิง ได้ทำงานทดลองชุดแรก ๆ

เพื่อตรวจสอบความจำประเภทนี้ในปี ค.ศ. 1963[2] โดยใชัรูปแบบ "partial

report paradigm" (การทดลองแบบรายงานเป็นบางส่วน) คือ มีการแสดงตารางมี

อักษร 12 ตัว จัดเป็น 3 แถว 4 คอลัมน์ให้ผู้ร่วมการทดลองดู หลังจากให้ดูเป็นระยะ

เวลาสั้น ๆ ก็จะเล่นเสียงสูง เสียงกลาง หรือเสียงต่ำเพื่อบอกผู้ร่วมการทดลองว่า ให้

รายงานอักษรแถวไหน จากการทดลองอย่างนี้ ศ. สเปอร์ลิงสามารถแสดงได้ว่า

สมรรถภาพของความจำอาศัยความรู้สึกสามารถจำได้ประมาณ 12 อักษร

ความจำอาศัยความรู้สึกมี 3 ประเภท

Iconic memory เป็นตัวเก็บข้อมูลทางตาที่เสื่อมอย่างรวดเร็ว เป็นความจำอาศัย

ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่เก็บภาพที่เกิดการรับรู้ไว้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ

Echoic memory เป็นตัวเก็บข้อมูลทางหูที่เสื่อมอย่างรวดเร็ว เป็นความจำอาศัย

ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งที่เก็บเสียงที่เกิดการรับรู้ไว้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ[3]

Haptic memory เป็นความจำอาศัยความรู้สึกที่เป็นฐานข้อมูลของสิ่งเร้าทางสัมผัส



ความจำระยะสั้น



ความจำระยะสั้น (short-term memory) เป็นความจำที่ช่วยให้ระลึกข้อมูลได้เป็น

เวลาหลายวินาทีจนถึงนาทีหนึ่งโดยไม่ต้องท่องซ้ำ ๆ ความจำนี้มีขนาดจำกัดมาก ในปี ค.ศ.

1956 เมื่อทำงานอยู่ที่เบ็ลล์แล็บ นัก จิตวิทยา เชิงประชานชาวอเมริกัน ศ. จอร์จ มิลเล่อ

ร์ทำการทดลองที่แสดงว่า ขนาดความจำระยะสั้นอยู่ที่ 7±2 ชิ้น และได้เขียนบทความตี

พิมพ์ที่มีชื่อเสียงว่า "The Magical Number Seven, Plus or Minus Two

(เลขขลังคือ 7, บวกหรือลบ 2)" แต่ว่า ขนาดประมาณปัจจุบันของความจำระยะสั้นน้อย

กว่าที่มิลเล่อร์กล่าวไว้ โดยปกติจะอยู่ที่ 4-5 ชิ้นแต่ว่า สามารถจะเพิ่มขนาดขึ้นได้ผ่าน

กระบวนการที่เรียกว่า chunking (คือรวมข้อมูลหลายชิ้นให้เป็นชิ้นเดียวกัน เช่น เบอร์

รหัส 02 หมายถึงเบอร์โทรศัพท์ในกรุงเทพฯ)
ความจำระยะสั้นเชื่อกันว่า อาศัยการเข้ารหัสโดยเสียง (acoustic code) โดยมากใน

การเก็บข้อมูล และอาศัยการเข้ารหัสโดยสิ่งที่เห็น (visual code) บ้างแต่น้อยกว่า ในปี

ค.ศ. 1964 คอนแรด [6] พบว่าผู้ร่วมการทดลองมีปัญหาในการระลึกถึงกลุ่มอักษรที่

มีเสียงคล้ายกัน (เช่น E, P, D) ความสับสนในการระลึกถึงอักษรที่มีเสียงคล้าย ๆ กัน

ไม่ใช่เพราะมีรูปร่างคล้าย ๆ กันบอกเป็นนัยว่า อักษรต่าง ๆ มีการเข้ารหัสโดยเสียง แต่

การทดลองของคอนแรดเกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสตัวเขียนหนังสือ

ความจำระยะยาว



การเก็บความจำอาศัยความรู้สึกและความจำระยะสั้นทั่ว ๆ ไปแล้วมีขนาดและระยะ

เวลาจำกัด ซึ่งก็หมายความว่า ไม่สามารถรักษาข้อมูลไว้ได้ตลอดชั่วกาลนาน โดยเปรียบ

เทียบแล้ว ความจำระยะยาวมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อบรรจุข้อมูลที่อาจไม่จำกัดเวลา (เช่น

รักษาไว้ได้จนตลอดชีวิต) ขนาดความจำระยะยาวมีขนาดใหญ่จนวัดไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น

ถ้าให้เลข 7 หลักโดยสุ่ม เราอาจจะจำได้เพียงแค่ 2-3 วินาทีก่อนที่จะลืม ซึ่งบอกเป็น

นัยว่าเก็บอยู่ในความจำระยะสั้นของเรา เปรียบเทียบกับเบอร์โทรศัพท์ที่เราอาจจะจำได้

เป็นเวลาหลาย ๆ ปีผ่านการท่องและการระลึกถึงซ้ำ ๆ ข้อมูลนี้จึงเรียกว่าเก็บอยู่ใน

ความจำระยะยาว
เปรียบเทียบความจำระยะสั้นที่เข้ารหัสข้อมูลโดยเสียง ความจำระยะยาวเข้ารหัสข้อมูล

โดยความหมาย (semantic) ในปี ค.ศ 1966 แบ็ดเดลีย์ พบว่า หลังจาก 20 นาที

ผู้ร่วมการทดลองมีปัญหาในการจำกลุ่มคำที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน (เช่นบิ๊ก ใหญ่

โต) ในระยะยาว ส่วนความจำระยะยาวอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ความจำอาศัยเหตุการณ์"

(episodic memory) "ซึ่งเป็นการพยายามเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ 'อะไร' 'เมื่อไร' และ

'ที่ไหน'เป็นความจำที่เราสามารถระลึกถึงเหตุการณ์เฉพาะต่าง ๆ เช่นงานเลี้ยงวันเกิด

หรืองานแต่งงาน

ประเภทความจำ



นักวิจัยแยกแยะระหว่าง ความจำโดยรู้จำ (recognition memory) และ ความ

จำโดยระลึก (recall memory) งานเกี่ยวกับความจำโดยรู้จำจะให้ผู้ร่วมการ

ทดลองบอกว่าเคยได้พบ สิ่งเร้า หนึ่ง ๆ เช่นรูปภาพหรือคำศัพท์ มาก่อนหรือไม่ ส่วน

งานเกี่ยวกับความจำโดยระลึกจะให้ผู้ร่วมการทดลองค้นคืนข้อมูลที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น อาจจะให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ได้เห็นมาก่อน หรือกล่าวถึง

รายการคำศัพท์ที่ได้ยินมาก่อน

การจัดประเภทโดย
ประเภทข้อมูล

"ความจำอาศัยภูมิประเทศ" (Topographic memory) เป็นความสามารถในการ

กำหนดตำแหน่งของตนในพื้นที่ ในการรู้จำและดำเนินไปตามเส้นทาง หรือในการรู้จำสถานที่

ที่คุ้นเคย[15] การหลงทางเมื่อเดินทางไปตามลำพังเป็นตัวอย่างหนึ่งข้อความล้มเหลวของ

ความจำอาศัยภูมิประเทศ
"ความจำแบบหลอดแฟลช" (Flashbulb memories) เป็นความจำอาศัยเหตุการณ์

(episodic memory) ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พิเศษและประกอบด้วยอารมณ์ความ

รู้สึกสูง ตัวอย่างเช่น การจำได้ว่าตนอยู่ที่ไหนทำอะไรอยู่เมื่อได้ยินข่าวการลอบสังหาร

ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี หรือข่าววินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544เป็น

ตัวอย่างของความจำแบบหลอดแฟลช
ในปี ค.ศ. 1976 นักจิตวิทยาจอห์น รอเบิรต์ แอนเดอร์สัน[19] ได้แบ่งความจำระยะยาว

ออกเป็นความจำเชิงประกาศ (declarative หรือ explicit memory) และความจำเชิง

กระบวนวิธี (procedural หรือ implicit memory)

ความจำล้มเหลว

Transience (ความชั่วคราว) คือความจำจะเสื่อมไปตามกาลเวลา ซึ่งเกิดขึ้นในระยะ

การเก็บความจำ คือหลังจากบันทึกความจำแล้วและก่อนที่จะได้รับการค้นคืน เป็น

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในที่เก็บทั้งความจำอาศัยความรู้สึก ความจำระยะสั้น และความจำ

ระยะยาว และมีรูปแบบเป็นการลืมข้อมูลนั้น ๆ อย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 วันแรก หรือ

2-3 ปีแรก แล้วมีการลืมแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อไปในช่วงวันและปีถัด ๆ ไป
Absentmindedness (การมีสติหลงลืม) เป็นความจำล้มเหลวเพราะขาดความใส่ใจ

ความใส่ใจมีบทบาทสำคัญในการเก็บข้อมูลไว้ในความจำระยะยาว คือ ถ้าขาดความใส่ใจ
ข้อมูลนั้นอาจจะไม่เกิดการเก็บไว้ ทำให้ไม่สามารถจำได้ในภายหลัง (เช่นลืมว่าวางของไว้

ที่ไหนเพราะไม่ได้ใส่ใจ)

วิธีที่ช่วยการท่องจำ



การท่องจำเป็นวิธีหนึ่งใน การเรียนรู้ ที่ยังให้เราสามารถระลึกถึง

ข้อมูลได้คำต่อคำ ปรากฏการณ์เว้นระยะ (spacing effect) แสดงว่า

เรามักจะจำรายการสิ่งต่าง ๆ ได้ดีกว่าถ้าท่องจำแล้วเว้นระยะ ทำซ้ำ ๆ

กันเป็นช่วงระยะเวลายาว เปรียบเทียบวิธีนี้กับการพยายามจำเนื้อความ

เป็นจำนวนมากในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ปรากฏการณ์ที่เข้าประเด็นอีก

อย่างหนึ่งก็คือ Zeigarnik effect ซึ่งแสดงว่า เราจำงานที่ยังไม่เสร็จ

หรือที่เกิดการขัดจังหวะได้ดีกว่างานที่เสร็จแล้ว ส่วนวิธี Method of

loci (การจินตนาการเส้นทางที่คุ้นเคยแล้ววางสิ่งที่ต้องการจะจำไว้ใน

ตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นจุดเด่น) เป็นการใช้ความจำทางพื้นที่เพื่อจะจำ

ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่

บทที่6 ความคิดและเชาวน์ปัญญา

ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา
แม้จะมีทฤษฎีเชาวน์ปัญญาหลายทฤษฎี แต่ในที่นี้จะเสนอ ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา ที่ได้รับ

ความนิยม และนำไปประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ พร้อมทั้งสอดคล้อง

กับเรื่องที่จะสามารถนำไปพัฒนาตนได้เป็นอย่างดี คือ ทฤษฎีพหุปัญญาของโฮวาร์ด

การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) พร้อมทั้งแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ที่

เกี่ยวข้องกับเรื่องของเชาวน์ปัญญาคือ หลักไตรสิกขา และโยนิโสมนสิการ
ทฤษฎีพหุปัญญาของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์
การ์ดเนอร์ได้เสนอว่าเชาวน์ปัญญามนุษย์มี 8 ด้าน แต่ละด้านเหล่านี้ ไม่ได้ทำงานแยก

จากกัน ทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่มีบทบาท ที่สลับซับซ้อน จะมีการผสม

ผสานการใช้สติปัญญาด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ในการปฏิบัติบทบาทของตน เชาวน์

ปัญญาทั้ง 8 ด้านประกอบด้วย

1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) บุคคลผู้มีความสามารถด้านนี้

จะไวกับความหมายของคำ เล่นคำ มีความสามารถ ใช้ภาษาได้อย่าง ถูกต้องตามหลัก

ไวยกรณ์และบางครั้งก็ออกนอกกฎเมื่อไตร่ตรองดีแล้ว เป็นผู้มีความสามารถด้าน

ภาษาในระดับสูง สามารถสื่อสารเชื่อมโยงได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ใช้ภาษาได้อย่าง

สละสลวยตลอดจนการใช้ภาษากระตุ้นอารมณ์และความรู้สึก บุคคลกลุ่มนี้ได้แก่ กวี

นักเขียน นักการเมือง นักพูด นักข่าว ทนายความ และพิธีกร
2. ปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical

Mathematical Intelligence) ผู้มีปัญญาด้านนี้สูง จะสามารถจัดเก็บ ตัวแปร

หลาย ๆ ตัวแปรและสร้างสมมุติฐานได้มากมาย สามารถประเมินและยอมรับหรือ

ปฏิเสธสมมุติฐานแต่ละข้อได้อย่างรวดเร็ว ความสามารถจะรวม ทั้งคณิตศาสตร์และ

วิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์นั้นรักที่จะค้นคว้ากับสิ่งที่เป็นนามธรรม สนุกกับการแก้

ปัญหาที่ต้องสรรหาเหตุผลมากมายมาประกอบ ส่วนนักวิทยาศาสตร์ จะได้แรงจูงใจ

จากความต้องการที่จะอธิบายทุกสิ่งให้เป็นรูปธรรม บุคคลกลุ่มนี้ได้แก่ นัก

วิทยาศาสตร์ วิศวกร นักฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ และนักวิจัย
3. ปัญญาทางด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) ปัญญาด้านนี้เป็น

ความสามารถที่จะเข้าใจโลกที่เรามองเห็นอยู่ได้อย่างถูกต้อง เป็นเรื่องที่จำเป็นในการ

เดินทางการเดินเรือ และการใช้แผ่นที่ ผู้มีความสามารถด้านนี้สูงจะสามารถนำเสนอ

ข้อมูลด้านมิติให้ออกมาเป็นภาพได้ มีความเฉียบแหลมในการดึงภาพจากความคิด

ฝันมาทำให้ปรากฎ มาสร้างเป็นชิ้นงานศิลปะ บุคคลกลุ่มนี้ได้แก่ วิศวกร ศัลยแพทย์

นักวาดแผนที่ ปฏิมากร และสถาปนิก
4. ปัญญาทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily-

Kinesthetic Intelligence) ผู้มีปัญญาด้านนี้สูงจะค้นพบความสามารถของตน

ทันทีที่เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวนั้น ๆ โดยยังไม่ทันได้รับ

การฝึกมากนัก มีความสามารถในการหยิบจับวัตถุต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น

นักประดิษฐ์และนักแสดง ร่างกายจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในอาชีพ บุคคลในกลุ่มนี้ได้แก่

นักเต้นรำ นักกีฬา และนักกายกรรม

5. ปัญญาทางด้านดนตรี (Musical Intelligence) คนทุกคนล้วนมีความสามารถ

ทางดนตรีในระดับหนึ่ง ทุกคนสามารถสนุกไปกับเสียงดนตรี ได้แก่ จังหวะ ท่วงทำนอง

ระดับเสียง ซึ่งบางคนจะมีทักษะด้านนี้มากกว่าคนอื่น สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วใน

การเล่นเครื่องดนตรี ปัญญาด้านนี้ครอบคลุมความสามารถทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับดนตรี

ผู้มีความสามารถด้านนี้สูง ได้แก่ นักประพันธ์เพลง นักร้อง นักดนตรี ผู้ควบคุมวง

ดนตรี และผู้เข้าซึ้งถึงดนตรี
6. ปัญญาทางด้านการเข้ากับผู้อื่น (Inter-Personal Intelligence) ปัญญา

ด้านนี้เป็นความสามารถที่จะมองไปที่ผู้อื่นหรือบุคคลที่อยู่ภายนอก ผู้ใหญ่ที่มีความ

ชำนาญด้านนี้จะสามารถรับรู้ความตั้งใจและความปรารถนาของผู้อื่นได้ แม้เขาจะไม่

แสดงออกให้เห็นหรือปิดบังไว้ก็ตาม จะมีความไวต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น

บุคคลในกลุ่มนี้ได้แก่ ผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางการเมือง พ่อแม่ ครู นักบำบัด และนัก

แนะแนว
7. ปัญญาทางด้านการเข้าใจตนเอง (Intra-Personal Intelligence) ปัญญา

ด้านนี้คือการเข้าใจความรู้สึกของตนเองทุกแง่ทุกมุม รู้จักระดับและขอบเขตอารมณ์ของ

ตนเอง สามารถระบุอารมณ์นั้นได้และใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของตน

ปรับปรุงการกระทำของตน ผู้มีปัญญาด้านนี้สูงจะมีความเข้าใจภายในตนเองสูง จะมีรูป

แบบการดำเนินชีวิตของตนเอง สดชื่น และมีประสิทธิภาพ บุคคลกลุ่มนี้ได้แก่ นักเขียน

นักแต่งนวนิยาย ผู้ทรงปัญญา และนักจิตวิทยา
8. ปัญญาทางด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalistic Intelligence) ปัญญา

ด้านนี้เป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อม ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้สูงจะรู้จัก

จำแนกชนิด และสายพันธุ์ของพืชและสัตว์ สามารถแยกแยะความแตกต่าง จัดหมวดหมู่

จัดประเภทของสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติของโลกได้ดีบุคคลในกลุ่มนี้ได้แก่ นักเดินทาง นัก

พฤกษศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ สัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
การ์ดเนอร์มีหลักฐานหลายอย่าง ได้แก่ งานวิจัยเกี่ยวกับสมอง พัฒนาการมนุษย์

วิวัฒนาการมนุษย์ ประกอบกับการเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ แล้วเลือกสิ่งที่

ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานหลาย ๆ ด้านโดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับความหมาย

ดั้งเดิมของ "สติปัญญา" ทำให้มีโอกาสค้นพบสติปัญญาด้านใหม่ ๆ

แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับ

เรื่องของเชาวน์ปัญญา



1. ความหมาย
ปัญญา ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ความรอบรู้ รู้ทั่ว รู้ซึ้ง หรือความรู้จักคิด

พิจารณาหาเหตุผล ภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ปัญญาประกอบด้วย
1) ปัญญาอันเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน
2) ปัญญาอันเกิดแต่การคิดพิจารณา
3) ปัญญาอันเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติแก่นแท้ของการศึกษา คือการพัฒนา

ปัญญาของตนเองให้เกิด สัมมาทิฐิ คือมีแนวความคิดที่ถูกต้อง
2. ปัจจัยเกื้อหนุน
ปัญญา เกิดจากปัจจัยเกื้อหนุน 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ "ปรโตโฆสะ" หรือปัจจัยภายนอก

ซึ่งหมายรวมถึงสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ และสภาพแวดล้อมทางด้านบุคคล

อันได้แก่ กัลยาณมิตร ปัจจัยเกื้อหนุนอีกประการหนึ่ง ได้แก่ "โยนิโสมนสิการ" หรือ

กระบวนการคิดอันแยบคาย อันเป็นปัจจัยภายใน

โยนิโมนสิการมีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ
1) การคิดอย่างเข้าถึงความจริง
2) การคิดอย่างมีลำดับขั้นตอนไม่สับสน
3) การคิดอย่างมีเหตุผล
4) การคิดอย่างมีเป้าหมาย คิดให้เกิดเหตุผล

บทที่7 ทฤษฎีการรับรู้
(Perception Theory)

การรับรู้ หมายถึง การแปลความหมายจากการสัมผัส โดยเริ่มตั้งแต่ การมีสิ่งเร้า

มา กระทบกับอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า และส่งกระแสประสาท ไปยังสมอง เพื่อการ

แปลความ
กระบวนการของการรับรู้ (Process) เป็นกระบวนการที่คาบเกี่ยวกันระหว่าง

เรื่องความเข้าใจ การคิด การรู้สึก (Sensing) ความจำ (Memory) การเรียนรู้

(Learning) การตัดสินใจ (Decision making)
Sensing -----> Memory ------> Learning -------> Decision

making

กระบวนการของการรับรู้

สิ่งเร้าไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานการณ์ มาเร้าอินทรีย์ ทำให้เกิดการ

สัมผัส (Sensation) และเมื่อเกิดการสัมผัสบุคคล จะเกิดมีอาการแปล การสัมผัสและมี

เจตนา (Conation) ที่จะแปลสัมผัสนั้น การแปลสัมผัส จะเกิดขึ้นในสมอง ทำให้เกิด

พฤติกรรมต่างๆ เช่น การที่เราได้ยินเสียงดัง ปัง ปัง ๆ สมองจะแปลเสียงดังปัง ปัง โดย

เปรียบเทียบกับเสียง ที่เคยได้ยินว่าเป็น เสียงของอะไร เสียงปืน เสียงระเบิด เสียงพลุ เสียง
ประทัด เสียงของท่อไอเสียรถ เสียงเครื่องยนต์ระเบิด หรือเสียงอะไร ในขณะเปรียบเทียบ

จิตต้องมีเจตนา ปนอยู่ ทำให้เกิดแปลความหมาย และ ต่อไปก็รู้ว่า เสียงที่ได้ยินนั่นคือ เสียง
อะไร
กระบวนการรับรู้ จะเกิดได้จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. มีสิ่งเร้า ( Stimulus ) ที่จะทำให้เกิด การรรับรู้ เช่น สถานการณ์ เหตุการณ์ สิ่ง

แวดล้อม รอบกาย ที่เป็น คน สัตว์ และสิ่งของ
2. ประสาทสัมผัส ( Sense Organs ) ที่ทำให้เกิดความรู้สึกสัมผัส เช่น ตาดู หูฟัง

จมูกได้ กลิ่น ลิ้นรู้รส และผิวหนังรู้ร้อนหนาว
3. ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าที่เราสัมผัส
4. การแปลความหมายของสิ่งที่เราสัมผัส สิ่งที่เคยพบเห็นมาแล้วย่อมจะอยู่ในความทรง

จำของสมอง เมื่อบุคคลได้รับสิ่งเร้า สมองก็จะทำหน้าที่ทบทวนกับความรู้ที่มีอยู่เดิมว่า สิ่ง

เร้านั้นคืออะไร
เมื่อมนุษย์เราถูกเร้าโดยสิ่งแวดล้อม ก็จะเกิดความรู้สึกจากการสัมผัส (Sensation) โดย

อาศัยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา ทำหน้าที่ดูคือ มองเห็น หูทำหน้าที่ฟังคือ ได้ยิน ลิ้นทำ

หน้าที่รู้รส จมูก ทำหน้าที่ดมคือได้กลิ่น ผิวหนังทำหน้าที่สัมผัสคือรู้สึกได้อย่างถูกต้อง

กระบวนการรับรู้ ก็สมบูรณ์แต่จริงๆ แล้วยังมีการสัมผัสภายในอีก 3 อย่างด้วยที่จะช่วย

ให้เรารับสัมผัสสิ่งต่างๆ

ลำดับขั้นของกระบวนการรับรู้

การรับรู้จะเกิดขึ้นได้ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการดังนี้
ขั้นที่ 1 สิ่งเร้า( Stimulus )มากระทบอวัยวะสัมผัสของอินทรีย์
ขั้นที่ 2 กระแสประสาทสัมผัสวิ่งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีศูนย์อยู่ที่สมอง

เพื่อสั่งการ ตรงนี้เกิดการรับรู้ ( Perception )
ขั้นที่ 3 สมองแปลความหมายออกมาเป็นความรู้ความเข้าใจโดยอาศัย ความรู้เดิม

ประสบการณ์เดิม ความจำ เจตคติ ความต้องการ ปทัสถาน บุคลิกภาพ เชาวน์

ปัญญา ทำให้เกิดการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง การรับรู้ ( Perception )

ตัวอย่าง

ขณะนอนอยู่ในห้องได้ยินเสียงร้องเรียกเหมียวๆๆรู้ว่าเป็นเสียงร้องของสัตว์

และรู้ต่อไปว่าเป็นเสียงของแมว เสียงเป็นเครื่องเร้า (Stimulus) เสียงแล่นมาก

ระทบหูในหูมีปลายประสาท (End organ) เป็นเครื่องรับ (Receptor)

เครื่องรับส่งกระแสความรู้สึก (Impulse) ไปทางประสาทสัมผัส (Sensory

nerve) เข้าไปสู่สมอง สมองเกิดความตื่นตัวขึ้น (ตอนนี้เป็นสัมผัส) ครั้นแล้ว

สมองทำการแยกแยะว่า เสียงนั้นเป็นเสียงคนเป็นเสียงสัตว์ เป็นเสียงของแมว

สาวเป็นเสียงแมวหนุ่ม ร้องทำไมเราเกิดอาการรับรู้ ตอนหลังนี้เป็น การรับรู้

เมื่อเรารู้ว่าเป็นเสียงของแมวเรียก ทำให้เราต้องการรู้ว่าแมวเป็นอะไร ร้องเรียก

ทำไมเราจึงลุกขึ้นไปดูแมวตาม ตำแหน่งเสียงมี่ได้ยินและขานรับ สมองก็สั่งให้

กล้ามเนื้อปากทำการเปล่งเสียงขานรับ ตอนนี้ทางจิตวิทยาเรียกว่า ปฏิกิริยา

หรือการตอบสนอง (Reaction หรือ Response) เมื่อประสาทตื่นตัวโดย

เครื่องเร้า จะเกิดมีปฏิกิริยา คือ อาการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

กลไกของการรับรู้

กลไกการรับรู้เกิดขึ้นจากทั้ง สิ่งเร้าภายนอกและภายในอินทรีย์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม

อวัยวะรับสัมผัส (Sensory organ) เป็น เครื่องรับสิ่งเร้าของมนุษย์ ส่วนที่รับความรู้สึก

ของอวัยวะรับสัมผัสอาจอยู่ลึกเข้าไปข้างใน มองจากภายนอกไม่เห็น อวัยวะรับสัมผัส แต่ละ

อย่างมีประสาทรับสัมผัส (Sensory nerve) ช่วยเชื่อมอวัยวะรับสัมผัสกับเขตแดนการ

รับสัมผัสต่าง ๆ ที่สมอง และส่งผ่านประสาทมอเตอร์ (Motor nerve) ไปสู่อวัยวะ

มอเตอร์ (Motor organ) ซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ ทำให้เกิดปฏิกิริยา

ตอบสนองของอวัยวะมอเตอร์ และจะออกมาในรูปใดขึ้นอยู่กับ การบังคับบัญชาของระบบ

ประสาท ส่วนสาเหตุที่มนุษย์เราสามารถไวต่อความรู้สึกก็เพราะ เซลประสาทของประสาทรับ

สัมผัส แบ่งแยกแตกออกเป็นกิ่งก้านแผ่ไปติดต่อกับ อวัยวะรับสัมผัส และที่อวัยวะรับสัมผัส

มีเซลรับสัมผัส ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวจึง สามารถทำให้มนุษย์รับสัมผัสได้

องค์ประกอบของการรับรู้

1.สิ่งเร้าได้แก่วัตถุ แสง เสียง กลิ่น รสต่างๆ
2.อวัยวะรับสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง ถ้าไม่สมบูรณ์จะทำให้สูญเสีย


การรับรู้ได้
3. ประสาทในการรับสัมผัสเป็นตัวกลางส่งกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสไป


ยังสมองส่วนกลาง เพื่อการแปลความต่อไป
4.ประสบการณ์เดิม การรู้จัก การจำได้ ทำให้การรับรู้ได้ดีขึ้น
5.ค่านิยม ทัศนคติ
6.ความใส่ใจ ความตั้งใจ
7.สภาพจิตใจ อารมณ์ เช่น การคาดหวัง ความดีใจ เสียใจ
8.ความสามารถทางสติปัญญา ทำให้รับรู้ได้เร็ว

การจัดระบบการรับรู้

มนุษย์เมื่อพบสิ่งเร้าไม่ได้รับรู้ตามที่สิ่งเร้าปรากฏแต่จะนำมาจัดระบบตาม

หลักดังนี้

1.หลักแห่งความคล้ายคลึง ( Principle of similarity) สิ่งเร้าใดที่มี

ความคล้ายกันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

2.หลักแห่งความใกล้ชิด (Principle of proximity ) สิ่งเร้าที่มีความ

ใกล้กันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

3.หลักแห่งความสมบูรณ์ (Principle of closure) เป็นการรับรู้สิ่งที่ไม่

สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้น

ความคงที่ในการรับรู้มี 3 ประการ ได้แก่ ความคงที่ของการรับรู้
1. การคงที่ของขนาด ( Perceptual constancy )

2.การคงที่ของรูปแบบ รูปทรง
3. การคงที่ของสีและแสงสว่าง
การรับรู้ที่ผิดพลาด แม้ว่ามนุษย์มีอวัยวะรับสัมผัสถึง 5 ประเภทแต่มนุษย์ก็ยังรับรู้

ผิดพลาดได้ เช่น ภาพลวงตา การรับฟังความบอกเล่า ทำให้เรื่องบิดเบือนไป การมี

ประสบการณ์และค่านิยมที่แตกต่างกัน ดังนั้นการรับรู้ถ้าจะให้ถูกต้อง จะต้องรับรู้โดย

ผ่าน ประสาทสัมผัสหลายทาง ผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรองให้มากขึ้น

ปัจจัยกำหนดการรับรู้

สิ่งเร้าอย่างเดียวกัน อาจจะทำให้คนสองคน สามารถรับรู้ต่างกันได้ เช่น คนหนึ่งมองว่า

คนอเมริกันน่ารัก แต่อีกคนมองว่า เป็นคนอเมริกัน เป็นชาติที่น่ารักน้อยหน่อยก็ได้ เพราะ

ในใจเขาอาจชอบคนอังกฤษก็ได้ เลยชอบชาวอเมริกันน้อยกว่า ซึ่งก็แล้วแต่มุมมองของ

แต่ละคน แล้วแต่การรับรู้ของแต่ละคน การที่มนุษย์สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ต้องอาศัย

ปัจจัยหลายอย่าง และจะรับรู้ได้ดีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ การรับรู้

เช่น ประสบการณ์ วัฒนธรรม การศึกษา เป็นต้น

ปัจจัยการรับรู้มี 2 ประเภทคือ

1. ลักษณะของผู้รับรู้

ลักษณะของผู้รับรู้ พิจารณาจากการที่บุคคลจะเลือกรับรู้สิ่งใดก่อนหรือหลัง

มากหรือน้อย อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้รับรู้ด้วยเป็นสำคัญประการ

หนึ่ง ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้รับรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน คือ ด้าน

กายภาพกับด้านจิตวิทยา

1.1 ด้านกายภาพ หมายถึง อวัยวะสัมผัส เช่น หู ตา จมูก และอวัยวะสัมผัส

อื่น ๆ ปกติหรือไม่ มีความรู้สึกรับสัมผัสสมบูรณ์เพียงใด เช่น หูตึง เป็นหวัด

ตาเอียง บอดสี สายตายาว สายตาสั้น ผิวหนังชา ตายด้าน ความชรา ถ้าผิด

ปกติหรือหย่อนสมรรถภาพ ก็ย่อมทำให้ การรับสัมผัส ผิดไป ด้อย

สมรรถภาพในการรับรู้ลงไป ความสมบูรณ์ของอวัยวะรับสัมผัส จะทำให้รับรู้

ได้ดี การรับรู้บางอย่าง
1.2 ด้านจิตวิทยา ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาของคนที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้นั้น มี

หลายประการ เช่น ความจำ อารมณ์ ความพร้อม สติปัญญา การสังเกต

พิจารณา ความสนใจ ความตั้งใจ ทักษะค่านิยม วัฒนธรรม ประสบการณ์เดิม

เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นผลจาก การเรียนรู้เดิม และ ประสบการณ์เดิม ทั้งสิ้น นัก

จิตวิทยา ถือว่า การรับรู้นั้นเป็นสิ่งที่บุคคลเลือกสรรอย่างยิ่ง (High

Selective) เริ่มตั้งแต่รับสัมผัส เลือกเอาเฉพาะที่ต้องการ และแปลความ ให้

เข้ากับตนเอง บุคคลจึงจะเลือกรับรู้สำหรับลักษณะของผู้รับรู้ทางด้านจิตวิทยา

นั้น ยังมีปัจจัยด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
2. ลักษณะของสิ่งเร้า
ลักษณะของสิ่งเร้านั้นพิจารณาจาก การที่บุคคลจะเลือกรับรู้สิ่งใด ก่อนหรือ

หลัง มากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับว่า สิ่งเร้าดึงดูด ความสนใจ ความตั้งใจ

มากน้อยเพียงใด หรือไม่ ลักษณะของสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้



บทที่8 จิตวิทยาการจัดการ

เรียนรู้ (Learning)

ความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้าง

ถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่

จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ

จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมี

ลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิด

การเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษา

พยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้อง

เพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียน

รู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียง

คำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร

นั่นเอง

นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) " การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้าง


ถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์

( Hilgard & Bower, 1981) " การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิด

จากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตาม

ธรรมชาติของมนุษย์ "

- คอนบาค ( Cronbach ) " การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มี

การเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา “

- พจนานุกรมของเวบสเตอร์ ( Webster 's Third New International

Dictionary) " การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ

นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์

การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
" การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมา

จากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง เช่น เด็ก

เล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า “ร้อน” เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่

บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก จนกว่าจะ

ได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อน

นั้นเป็นอย่างไร ต่อไป เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลาน

เข้าไปจับกาน้ำนั้น เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว เช่นนี้กล่าวได้ว่า

ประสบการณ์ ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับ

สถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมี

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ

ความหมายของ

จิตวิทยาการเรียนรู้

จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2

คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์

จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการ

พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย


นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์



การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝน

หรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่

ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจาก


วุฒิภาวะ

ความสำคัญของจิตวิทยา

การเรียนการสอน

- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
- ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
- ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์
ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ

หลักการสำคัญ

1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2. มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการ

เรียนการสอน
3. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

ประโยชน์ของจิตวิทยา

๑เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
๒. มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา
๓. จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น
๔. การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา
๕. จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องการสืบพยาน
๖. จิตวิทยาเป็นหัวใจของการโฆษณาประชาสัมพันธ์

แนวคิด

๑. จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ มีบทบาทต่อการ

จัดการเรียนการสอน
๒. การจูงใจส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียนมากขึ้น
๓. บุคคลจะปรับตัวเมื่อเกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล คับข้องใจ หรือเครียด

แต่ละคนมี
กลวิธานในการปรับตัวต่างๆ กันไป
๔. พฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ทางจิตใจได้
๕. บุคคลจะมีความรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่างๆ กันไป การที่ครูสามารถสร้าง

และพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อการเรียนของนักเรียนจะส่งผลดีต่อการเรียนการสอน

บทที่9 การเรียนรู้สำหรับเด็กปกติ

การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความ

พึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการ

สังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์

สัตว์และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนว


โน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve)



การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วน

บุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและ

อาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วน

หนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา

(educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และ

ศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียน

รู้(habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical


conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมาก

ขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา [1][2] การเรียน

รู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้


Click to View FlipBook Version