The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ป.3

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nrhsknnn, 2024-02-27 23:38:34

วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ป.3

วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ป.3

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ผู้วิจัย นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ รหัสนักศึกษา 6311011340009 รายงานการวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา รายวิชา 1014805 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566


รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ผู้วิจัย นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ รหัสนักศึกษา 6311011340009 รายงานการวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา รายวิชา 1014805 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566


ก ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ชื่อผู้วิจัย นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ รหัสนักศึกษา 6311011340009 ชื่อครูพี่เลี้ยง/อาจารย์ที่ปรึกษา : คุณครูหทัยทิพย์ นามวงษ์และผศ.ดร.ประภาวรรณ สมุทรเผ่าจินดา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา ระยะเวลา เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2566 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้กระบวนการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3/1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้ง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 22 คน 1 ห้องเรียน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 5 คน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ สื่อประสม ใบงานเรื่อง กลางวัน กลางคืน และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ โดยใช้ข้อสอบคู่ขนาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า ที (Paired samples test) เพื่อทำการเปรียบเทียบความก้าวหน้า ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมมือกับสื่อประสม เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 4.8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย คือ ร้อย ละ 70.83 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 หลังการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ .05


ข กิตติกรรมประกาศ รายงานการวิจัยฉบับนี้สำเร็จสมบูรณได้ด้วยความกรุณา และความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจากผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.ประภาวรรณ สมุทรเผ่าจินดา อาจารย์คณะครุศาสตร์ คุณครูหทัยทิพย์ นามวงษ์และคุณครู จักษวัชร คณฑา ที่กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือวิจัย รวมถึงนักเรียนโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการทดลองใช้เครื่องมือ และในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ขอขอบพระคุณทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ ท้ายสุดนี้ขอขอบคุณอาจารย์ คุณครู ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ใหคำแนะนำและอำนวยความ สะดวกทุกประการ เพื่อให้งานชิ้นนี้สำเร็จลงตามจุดมุ่งหมาย หวังเป็นอย่างยิ่งวาผลของงานวิจัยหรือเนื้อหา ส่วนหนึ่งส่วนใดในงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ตอการพัฒนาการเรียนการสอนในแขนงวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป นุรฮาซีกีน ยาลอ


ค สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมปนะกาศ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง ง บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 สมมุติฐานของการวิจัย 2 ขอบเขตของการวิจัย 3 นิยามศัพท์เฉพาะ 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4 กรอบแนวคิดในการวิจัย 4 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้อง - หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5 - ความหมายของการจัดการรเรียนรู้แบบร่วมมือ 6 - ประโยชน์ของการจัดการรเรียนรู้แบบร่วมมือ 7 - ความหมายของการจัดการรเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD 8 - ขั้นตอนของการจัดการรเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD 9 - ความหมายของสื่อประสม 10 - ประโยชน์ของสื่อประสม 10 - ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 11 - งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 12 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 14 แบบแผนการวิจัย 14 เครื่องมือที่ใช้ 15 ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ 15 การเก็บรวบรวมข้อมูล 16 การวิเคราะห์ข้อมูล 16


สารบัญ (ต่อ) หน้า สถิติที่ใช้ในการวิจัย 17 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 19 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย 23 อภิปรายผล 24 ข้อเสนอแนะ 24 บรรณานุกรม 25 ภาคผนวก ภาคผนวก ก. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต 28 ภาคผนวก ข. แบบทดสอบก่อนและหลัง และใบงาน 46 ภาคผนวก ค. แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบก่อนและหลัง 50 ภาคผนวก ง. รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 58 ภาคผนวก จ. หนังสือขอความอนุเคราะห์ 60 ภาคผนวก ฉ. ภาพการดำเนินกิจกรรม 63 ประวัติผู้วิจัย 70


ง ตารางสารบัญ ตารางสารบัญ หน้า ตารางที่ 2.1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 6 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตารางที่ 4.1 ร้อยละของพัฒนาการ จำแนกตามนักเรียนเป็นรายบุคคลและค่าเฉลี่ยรวม 19 ตารางที่ 4.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบก่อนและ 20 หลังการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม ตารางที่ 4.3 เกณฑ์การประเมินค่าแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต 20 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม ตารางที่ 4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อ 21 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน


1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ถือเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะวิทยาศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับ ทุกคน ทั้งในชีวิตประจำวัน และการทำงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้ และ ผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิต โดยการทำงานเหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ และศาสตร์อื่น ๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิดทั้ง ความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์คิดวิเคราะห์คิดวิจารณ์ และทำให้มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์ พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น ทุกคนจึง จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่ มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบกับสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์และมีคุณธรรม การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคSTAD เป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งของการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือ และเป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน โดย ที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่มคนที่เรียนเก่งกว่าช่วยคนที่อ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองเท่านั้น แต่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของ เพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่มความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่มซึ่งสลาวิน (Slavin, 1995, p.4) ได้กล่าวว่าเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียน เรียนเป็นกลุ่มเล็ก โดยทั่วไปสมาชิกกลุ่มมี 4 คนและมี ความสามารถต่างกัน ประกอบด้วยนักเรียนที่เก่ง 1 คน ปานกลาง 2-3 คน และเรียนอ่อน 1 คน นักเรียนแต่ ละคนจะต้องช่วยเหลือเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันในเรื่องการเรียน หรือการทำ กิจกรรมต่าง ๆ สมาชิกกลุ่มจะ ได้รับรางวัล ถ้ากลุ่มทำคะแนนเฉลี่ยถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยจะทำงานร่วมกันในกลุ่มอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ กล่าวคือเป็นการช่วยลดการทำงานเพื่อตนเอง แต่มีการร่วมมือในการทำงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้น เป็นการฝึก ให้นักเรียนรู้จักการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการสื่อสารในการสร้างสัมพันธ์ ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กัน มากขึ้นการจัดการเรียนการสอน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา และความคิดของนักเรียน ภริตา ตันเจริญ (2561, หน้า 68-73) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ผลการใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พบว่า นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างไฟฟ้า กำลัง ที่เรียนวิชา วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ ด้วยการใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จินตรา ญาณสมบัติ (2551, หน้า 112-113) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การ


2 เปรียบเทียบความสามารถในการคิด วิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง ระหว่างนักเรียนที่เรียนรู้โดยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับโดยกระบวนการ สืบเสาะ พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้โดยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ฉะนั้นการเลือก วิธีการสอนที่เหมาะสม หรือการเลือกประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ดีให้กับนักเรียนเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดและ แก้ปัญหาด้วยตนเอง หรือให้นักเรียนได้เสาะแสวงหา ค้นหา และสรุปสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองก็จะสามารถ พัฒนาสติปัญญาและความคิดของนักเรียนได้เป็นอย่างดี (พรทิพย์ อุดร, 2550, หน้า 1) จากที่ผู้วิจัยได้ศึกษากิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD พบว่าเป็นวิธีการสอนที่มีลักษณะเด่น ช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนหลายประการ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นและ นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน ร่วมมือกันทำงาน โดยกำหนดบทบาทหน้าที่สมาชิก ตลอดจนกฎเกณฑ์การทำงาน ร่วมกันอย่างชัดเจน สมาชิกทุกคนช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนความสำเร็จซึ่งกันและกัน คนเรียนเก่งมีหน้าที่คอย ช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อนกว่าเพื่อทำให้การทำงานของกลุ่มเข้มแข็งขึ้น ขณะเดียวกันนักเรียนทุกคนต้องพัฒนา และช่วยเหลือตนเองโดยใช้ศักยภาพให้มากที่สุด เพราะทุกคนในกลุ่มมีส่วนทำงานให้ประสบผลสำเร็จได้และ นักเรียนแต่ละคนต้องมีทักษะทางสังคมเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (จิราภรณ์ ศิริทวี, 2541, หน้า 35) จากเหตุผลข้างต้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนแบบ ร่วมมือเทคนิค STAD มาใช้ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อวิชา วิทยาศาสตร์เรื่องดวงอาทิตย์กับชีวิต ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่อื่น ๆ ต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมมือกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมมือกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สมมุติฐานของการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมมือกับสื่อประสม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน


3 ขอบเขตของการวิจัย 1) ขอบเขตเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิตชั้น ป.3 2) ขอบเขตประชากร ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 22 คน 1 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 5 คน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างมา จากการเลือกแบบเจาะจง 3) ขอบเขตตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรต้น กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต 4) ระยะเวลาในการทดลอง ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้านี้ ใช้เวลาในการดำเนินการภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 4 คาบ คาบละ 50 นาที นิยามศัพท์เฉพาะ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต หมายถึง ผลที่เกิดจาก กระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิตซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผลคะแนนทดสอบหลังการเรียนรู้ (Post-test) สูงกว่า ผลคะแนนทดสอบก่อนการเรียนรู้(Pre-test) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่มีการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 - 6 คน ที่มีความสามารถของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับ เก่ง 1 คน ปานกลาง 2-3 คน และ อ่อน 1 คน ร่วมกันเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถต่างกันทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในตนเองและสมาชิกทุกคนประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ สื่อประสม หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงและนำเสนอในรูปข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์ โดยเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เพื่อการค้นคว้าหรือศึกษาไปในเนื้อเรื่อง โดยการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน กับผู้สอน เพื่อให้สิ่งที่แสดงผลนั้นน่าดู และสามารถสื่อความเข้าใจต่างๆ ได้ง่าย


4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลการเรียนรู้ในด้านความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ และ การวิเคราะห์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม เรื่อง ดวง อาทิตย์กับชีวิต ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยทำการสร้างขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบหรือชุดข้อสอบที่ใช้วัดความสำเร็จ หรือความสามารถในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของผู้สอนว่าผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้เพียงใด ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเป็นแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงขึ้น 2) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสอนหรือผู้ที่สนใจสามารถนําแนวทางไปประยุกต์ใช้ในการสอน วิชาวิทยาศาสตร์หรือวิชาอื่น ๆ ได้ กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับ สื่อประสม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต


5 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมมือกับสื่อประสม ซึ่งจะนำเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับดังนี้ 2.1 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2.2 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2.3 ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2.4 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD 2.5 ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD 2.6 ความหมายของสื่อประสม 2.7 ประโยชน์ของสื่อประสม 2.8 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับ กระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ จริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้นโดยกำหนดสาระสำคัญ ดังนี้ วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ เรียนรู้เกี่ยวกับ องค์ประกอบของเอกภพ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ เทคโนโลยีอวกาศ ระบบโลก การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ และผล ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ


6 ตารางที่ 2.1 ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 3 1. อธิบายแบบรูปเส้นทางการ ขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2. อธิบายสาเหตุการเกิด ปรากฏการณ์การขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์ การเกิด กลางวันกลางคืนและการ กำหนดทิศ โดยใช้แบบจำลอง 3. ตระหนักถึงความสำคัญ ของดวงอาทิตย์ โดยบรรยาย ประโยชน์ของดวงอาทิตย์ต่อ สิ่งมีชีวิต - คนบนโลกมองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นทางด้านหนึ่งและตก ทางอีกด้านหนึ่งทุกวัน หมุนเวียนเป็นแบบรูปซ้ำ ๆ - โลกกลมและหมุนรอบตัวเองขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ บริเวณของโลกได้รับแสงอาทิตย์ ไม่พร้อมกัน โลกด้านที่ได้รับ แสงจากดวงอาทิตย์จะเป็นกลางวันส่วนด้านตรงข้ามที่ไม่ได้รับแสง จะเป็นกลางคืน นอกจากนี้คนบนโลกจะมองเห็นดวงอาทิตย์ ปรากฏขึ้นทางด้านหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้เป็นทิศตะวันออก และ มองเห็นดวงอาทิตย์ ตกทางอีกด้านหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้เป็นทิศ ตะวันตกและเมื่อให้ด้านขวามืออยู่ทางทิศตะวันออก ด้านซ้ายมือ อยู่ทางทิศตะวันตก ด้านหน้าจะเป็น ทิศเหนือ และด้านหลังจะ เป็นทิศใต้ - ในเวลากลางวันโลกจะได้รับพลังงานแสงและพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าใจการปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาว ปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ การ เกิดกลางวันกลางคืน การกำหนดทิศ ลักษณะของหิน การจำแนกชนิดดินและการใช้ประโยชน์ ลักษณะและ ความสำคัญของอากาศ การเกิดลม ประโยชน์และโทษของลม ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สลาวิน (Slavin, 1995) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการสอนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ สอนกับทุกวิชา และทุกระดับชั้น โดยผู้เรียนจะทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ที่คละความสามารถเพื่อ ร่วมกันศึกษาเนื้อหาที่ครูนำเสนอ ผู้เรียนในกลุ่มทุกคนมีความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม จึงทำให้ผู้เรียน ช่วยเหลือพึ่งพากันและสมาชิกในกลุ่มจะได้รับรางวัลร่วมกันเมื่อกลุ่มทำคะแนนได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทิศนา แขมมณี (2561) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการ เรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 - 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่ เป้าหมายของกลุ่ม จากความหมายของการเรียนแบบร่วมมือที่ได้กล่าวมานั้น ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่าการเรียนแบบ ร่วมมือ เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยกำหนดกลุ่มผู้เรียน 4 - 5 คนที่คละความสามารถเรียนรู้ร่วมกัน


7 สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน ช่วยเหลือกัน ยอมรับซึ่งกันและกัน มีความ รับผิดชอบต่องานที่ตนเอง ได้รับ และงานกลุ่มที่ต้องทำร่วมกัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จ และบรรลุเป้าหมายของกลุ่มร่วมกัน ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทำให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน มี เป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะทำให้มีทักษะในการทำงานกลุ่ม ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงประโยชน์ ของการเรียนแบบร่วมมือไว้ ดังนี้ จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson & Johnson, 1987) กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนแบบ ร่วมมือ ไว้ สรุปได้ 9 ประการ ดังนี้ 1. ผู้เรียนเก่งที่เข้าใจคำสอนของครู่ได้ดีจะเปลี่ยนคำสอนของครูเป็นภาษาพูดของผู้เรียน แล้วอธิบายให้เพื่อนฟังได้ และทำให้เพื่อนเข้าใจได้ดีขึ้น 2. ผู้เรียนที่ทำหน้าที่อธิบายบทเรียนให้เพื่อนฟังจะเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น 3. การสอนเพื่อนเป็นการสอนแบบตัวต่อตัวทาให้ผู้เรียน ได้รับความเอาใจใส่และมีความ สนใจมากยิ่งขึ้น 4. ผู้เรียนทุกคนต่างก็พยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะครูคิดคะแนนเฉลี่ยทั้งกลุ่ม 5. ผู้เรียนทุกคนเข้าใจดีว่าคะแนนของตน มีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ดังนั้น ทุกคนต้องพยายามปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้กลุ่มประสบความสำเร็จ 6. ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสฝึกทักษะทางสังคมมีเพื่อนร่วมกลุ่ม และเป็นการเรียนรู้วิธี การทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากเมื่อเข้าสู่ระบบการทำงานอันแท้จริง 7. ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม เพราะในการปฏิบัติงานร่วมกันนั้นก็ต้องมีการ ทบทวนกระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน หรือคะแนนของกลุ่มดีขึ้น 8. ผู้เรียนเก่งจะมีบทบาททางสังคมในชั้นมากขึ้น เขาจะรู้สึกว่าเขาไม่ได้เรียนหรือหลบ ไปท่องหนังสือเฉพาะตน เพราะเขาต้องมีหน้าที่ต่อสังคมด้วย 9. ในการตอบคำถามในห้องเรียน หากตอบผิดเพื่อนจะหัวเราะ แต่เมื่อทำงานเป็นกลุ่ม ผู้เรียน จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้าหากตอบผิดก็ถือว่าผิดทั้งกลุ่ม คนอื่น ๆ อาจจะให้ความช่วยเหลือทำให้ผู้เรียนใน กลุ่มมีความผูกพันกันมากขึ้น จากข้อมูลข้างต้นผู้วิจัยสรุปได้ว่า ประโยชน์ของการเรียนแบบ ร่วมมือต่อผู้เรียน มีทั้งในด้านการมีส่วน ร่วมในการเรียน การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน และการทำให้ผู้เรียน รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพราะการเรียนแบบ ร่วมมือในห้องเรียนเป็นการฝึกให้ผู้เรียนมีความ รับผิดชอบร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักคิด รู้จัก แก้ปัญหาซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเป็นพลเมือง ที่มีคุณภาพในการช่วยพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต


8 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD หรือ Student Teams Achievement Divisions เป็นเทคนิคหนึ่งของการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) พัฒนาขึ้นโดยสลาวิน (Slavin, 1995) ผู้อำนวยการโครงการศึกษาระดับประถมศึกษา ศูนย์วิจัยประสิทธิภาพการเรียนของ ผู้เรียนที่มีปัญหาทางด้าน วิชาการ แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮอฟกินส์ สหรัฐอเมริกา และเป็น ผู้เชี่ยวชาญการสอนคณิตศาสตร์ สลาวินได้ พัฒนาเทคนิคนี้ขึ้นเพื่อขจัดปัญหาทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นทักษะการคิดการเรียนที่เป็นระบบ เป็นทางเลือก หนึ่งสำหรับการเรียนเป็นกลุ่ม และเป็นวิธีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน ซึ่งเป็นการเรียนที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ใช้ความคิดร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิด เหตุผลซึ่งกันและกัน ได้เรียนรู้สภาพอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของคนในกลุ่ม เพื่อเป็นแนวคิดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันตามความเหมาะสมของ แต่ละบุคคลตลอดจนเพื่อจะเรียนรู้ และรับผิดชอบงานของผู้อื่นเสมือนงานของตน โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ และความสำเร็จของกลุ่ม โดยมีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้ มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบ STAD ไว้ดังนี้ สลาวิน (Slavin, 1989 อ้างถึงใน จิรากร สำเร็จ, 2551) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เป็นการเรียนแบบผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน มีความหมายจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ดังนี้ S-Student หมายถึง กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนที่แตกต่างกัน ซึ่งอยู่รวมกันใน ห้องเรียนที่มีสภาพแวดล้อมเดียวกัน T - Team หมายถึง กลุ่มผู้เรียนที่มีสมาชิกที่คละความสามารถทางการเรียน ผู้ที่มีความรู้จะต้อง อธิบายให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกที่ยังไม่เข้าใจ A - Achievement หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มจะดูได้จากการประเมินตามสภาพ ของสมาชิกในกลุ่ม และแบบทดสอบที่ผู้สอนสร้างขึ้น D-Divisions หมายถึง การแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณกลุ่มละ 4-5 คน โดยมี อัตราส่วนระหว่างผู้เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน เป็น 1 : 2 : 1 จากความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ดังกล่าวสามสามารถสรุปได้ว่า การ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มคละความสามารถ คือ สมาชิกในกลุ่มจะประกอบไปด้วยผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับสูงปานกลาง และต่ำ โดย สมาชิกแต่ละคนจะต้องพัฒนาความรู้ของตนเองในเรื่องที่ครูกำหนด เพื่อบรรลุเป้าหมายของกลุ่มทำให้เกิดการ ช่วยเหลือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ครูสอน


9 ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD สลาวิน (Slavin, 1995, pp. 2-7) ได้กล่าวสรุปว่าการสอน โดยใช้กิจกรรมกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์มีขั้นตอน หลักอยู่ 5 ขั้นคือ 1. การนำเข้าสู่บทเรียน (Class presentation) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนขั้นแรกของกิจกรรม แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์โดยจะเป็นการนำเสนอสื่อการเรียนการสอนของครูต่อ ชั้นเรียนส่วนมาก แล้วจะเป็นวิธีการสอนโดยตรงของครูโดยการบรรยายการอภิปรายรวมไปถึงการนำเสนอในด้าน โสตทัศนูปกรณ์ (Audiovisual presentation) การนำเสนอบทเรียนตามรูปแบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์จะ แตกต่างจากการเรียนการสอนโดยทั่วไปนั่นคือนักเรียนมักจะตระหนักว่าพวกตนจะต้องตั้งใจอย่างแท้จริง ระหว่างการเรียนการสอนเพราะการตั้งใจเรียนอย่างจริงจังจะช่วยทำให้คะแนนทดสอบของพวกเขาดีขึ้นและ คะแนนจากการทดสอบจะเป็นตัวตัดสินคะแนนของกลุ่ม 2. การจัดกลุ่มนักเรียน (Teams) จัดนักเรียนแต่ละกลุ่มให้ประกอบไปด้วยสมาชิก 4-5 คน โดยแบ่ง แบบคละความสามารถทางการเรียนเพศสัญชาติหรือเชื้อชาติการแบ่งกลุ่มลักษณะนี้จุดประสงค์หลักก็เพื่อการ เรียนรู้และให้นักเรียนมีความรู้สึกผูกพันซึ่งกันและกันมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มมีการนับถือตนเองและการ ยอมรับต่อกัน 3. การทดสอบ (Quizzes) หลังจากที่ครูได้เสนอบทเรียนไปแล้ว 1-2 คาบจะทำการทดสอบนักเรียน เป็นรายบุคคลโดยไม่มีโอกาสให้มีการปรึกษากันในขณะทำแบบทดสอบด้วยเหตุนี้นักเรียนแต่ละคนจึงต้องมี ความรับผิดชอบต่อตัวเองในการรับรู้จากครูและเพื่อน 4. การให้คะแนนพัฒนารายบุคคล (Individual improvement scores) แนวคิดหลักของการให้ คะแนนแบบนี้ก็เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนบรรลุวัตถุประสงค์หรือเพื่อแสดงออกซึ่งความสามารถของตนเองให้ ดีกว่าครั้งก่อนนักเรียนแต่ละคนก็สามารถทำคะแนนสูงสุดให้กลุ่มของตนได้ด้วยวิธีนี้นักเรียนแต่ละคนจะมี คะแนนพื้นฐานซึ่งคิดมาจากคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลายๆครั้ง 5. การตระหนักถึงความสำเร็จของกลุ่ม (Team recognition) การที่กลุ่มจะได้รับรางวัลก็ต่อเมื่อกลุ่ม นั้นได้รับความสำเร็จเหนือกลุ่มอื่นซึ่งจะตัดสินด้วยคะแนนที่ได้มาจากการทำแบบทดสอบของสมาชิกแต่ละคน ในกลุ่มแล้วนำมาคิดเป็นคะแนนพัฒนานำมาเฉลี่ยเป็นคะแนนกลุ่ม จากข้อมูลข้างต้นผู้วิจัยสรุปได้ว่า ขั้นตอนของการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีอยู่ 5 ประการคือ การนำเสนอบทเรียนการจัดกลุ่มการทดสอบการให้คะแนน พัฒนารายบุคคลและ การตระหนักถึงความสำเร็จของกลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยจะนำรูปแบบทั้ง 5 ประการ มาปรับปรุงให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับ ชีวิต ทั้งด้านลักษณะผู้เรียนและเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน


10 ความหมายของสื่อประสม สื่อประสมเป็นทรรศนะใหม่ของการเรียนการสอนซึ่งแต่เดิมมีแนวคิดที่สนใจสื่อเฉพาะอย่างเท่านั้น จากการศึกษาและวิจัยยิ่งทำให้พบว่าสื่อแต่ละอย่างนั้นมีประโยชน์แตกต่างกันในด้านต่าง ๆ และไม่สามารถ สนองจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้สมบูรณ์ทุกด้านดังนั้นการนำสื่อหลายอย่างมาบูรณาการเพื่อสนอง จุดมุ่งหมายของกิจกรรมการเรียนการสอนที่เรียกว่า "สื่อประสม" จึงเข้ามา มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียน การสอนมากขึ้น ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้หลักการ และทฤษฎีของ สื่อประสม ได้แก่ ชุดการสอนหรือชุดการสอน โมดูล ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น มีนักการศึกษาหลายท่านให้ความหมายของสื่อประสมไว้ ดังนี้ อิริคสัน (Erickson. 1986 : 251) กล่าวว่า สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อการสอนหลาย ๆอย่างมา สัมพันธ์กัน ซึ่งมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เร้าความสนใจในขณะที่สื่ออีกอย่าง หนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหาและอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและป้องกัน การเข้าใจความหมายผิด ริชาร์ด (Richard. 2014 : 2) กล่าวว่า สื่อประสม หมายถึง การนำเสนอข้อความ เช่น ข้อความที่เป็น คำพูดหรือข้อความที่เป็นการพิมพ์และรูปภาพ เช่น ภาพประกอบ รูปภาพภาพเคลื่อนไหวหรือวิดิโอ ซึ่งรูปแบบ ของสื่อประสมตามสารานุกรมนั้นให้คำจำกัดความของข้อความจะเป็นการนำเสนอแบบบรรยายและรูปภาพจะ เป็นการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ส่วนในตำรา ข้อความจะเป็นการนำเสนอด้วยข้อความที่เป็นการพิมพ์ และรูปภาพจะเป็นการนำเสนอด้วยภาพประกอบ จากความหมายข้างต้นผู้วิจัยสรุปได้ว่า สื่อประสมคือ หลักการใช้สื่อหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ ตัวอักษรข้อความ ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพแอนิเมชั่น และเสียงโดยใช้ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการนำเสนอควบคุมโปรแกรมมัลติมีเดียหรือแฟ้มสื่อประสมและใช้ในลักษณะ "สื่อประสมเชิงโต้ตอบ" (Interactive Multimedia) ที่ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับสื่อเพื่อใช้ ประกอบการเรียนการสอน สนับสนุนการเรียนรู้และการศึกษารายบุคคลตามความถนัดและความสนใจ ซึ่งช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน รู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ด้วยตนเอง ประโยชน์ของสื่อประสม ไชยยศ เรื่องสุวรรณ (http://vod.msu.ac.th/0503765/unit3/index.html: หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับการสอนในรูปแบบสื่อประสม, 13/01/2567) กล่าวว่าการใช้สื่อประสมในการศึกษาจะมีประโยชน์ มากมายหลายด้าน อาทิเช่น 1. ดึงดูดความสนใจ บทเรียนสื่อประสมในลักษณะสื่อหลายมิติที่ประกอบด้วยภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ และเสียง นอกเหนือไปจากเนื้อหาตัวอักษร จะดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็น อย่างดี และช่วยในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วย 2. การสืบค้น เชื่อมโยงฉับไว ด้วยสมรรถนะของการเชื่อมโยงหลายมิติทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในสิ่ง


11 ต่าง ๆ ได้กว้างขวางและหลากหลายอย่างรวดเร็วโดยไม่จำเป็นเรียนไปตามลำดับเนื้อหา 3. การโต้ตอบระหว่างสื่อและผู้เรียน บทเรียนสื่อประสมจะมีจุดเชื่อมโยงหลายมิติเพื่อให้ผู้เรียนและสื่อ มีปฏิสัมพันธ์กันได้ในลักษณะสื่อประสมเชิงโต้ตอบ 4. ให้สารสนเทศหลากหลาย ด้วยการใช้ซีดี และดีวีดี ในการให้ข้อมูลและสารสนเทศในปริมาณที่ มากมาย และหลากหลายรูปแบบเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียนที่สอน 5. ทดสอบความเข้าใจผู้เรียนบางคนอาจจะไม่กล้าถามข้อสงสัยหรือตอบคำถามในห้องเรียน การใช้สื่อ ประสมจะช่วยแก้ปัญหาในสิ่งนี้ได้โดยการใช้ในลักษณะการศึกษารายบุคคล 6. สนับสนุนความคิดรวบยอด สื่อประสมสามารถแสดงสารสนเทศเพื่อสนับสนุนความคิดรวบยอดของ ผู้ป่วย โดยการเสนอสิ่งที่ให้ตรงจะสอบย้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในบทเรียน ประหยัด จิระวรพงศ์ (http://vod.msu.ac.th/0503765/unit1/mean.html: ความหมายลักษณะ พัฒนาการของสื่อประสม 13/01/2567) กล่าวถึงคุณค่าของสื่อประสมว่า สื่อประสมที่ผ่านการทดสอบและ ปรับปรุงแล้ว จะให้คุณค่าที่น่าเชื่อถือได้หลายประการดังนี้ 1. ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาตามความสามารถและความสนใจจากสื่อหลายประเภทและได้รับ ประสบการณ์ที่มีคุณค่า 2. ช่วยลดเวลาการเรียน และการสอนทั้งผู้เรียนและผู้สอน แต่ประสิทธิภาพการเรียนไม่ลดลง 3. ช่วยเพิ่มพูนกระบวนการเรียนเพื่อรอบรู้ และลดปัญหาการสอบตก 4. ช่วยในการประเมินการสอนและการปรับปรุงการสอน จากข้อมูลข้างต้นผู้วิจัยสรุปได้ว่า การสอนโดยใช้สื่อประสมนั้น เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียน สามารถทำความเข้าใจในบทเรียนได้อย่างดี โดยครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการเลือกใช้สื่อ ประสมนอกจากนี้แล้วบทบาทของครูและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียนจะทำให้ผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรง มีความคงทนในการเรียนรู้ทำให้การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กู๊ด (Good. 1973: 7) ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า หมายถึง ผลของการสะสมความรู้ ความสามารถในการเรียนทุกด้านเข้าไว้ด้วยกัน คาร์รอล (ภพ เลาหไพบูลย์. 2537: 63; อ้างอิงจาก Caroll. 1963) ให้ความหมายของ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนว่า หมายถึง ความสำเร็จในการเรียนรู้อันเนื่องมาจากความถนัดทางการเรียนความสามารถ ส่วนตัวที่จะเข้าใจการสอนของครู ความพยายามในการเรียนและเวลาที่ใช้ในการเรียนของผู้เรียน สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2540: 71) ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า หมายถึง พฤติกรรม ที่ แสดงออกถึงความสามารถในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ จากที่ไม่เคยกระทำได้หรือกระทำได้น้อย ก่อนที่จะมี การเรียนการสอน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดได้


12 จากความหมายข้างต้นผู้วิจัยสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสำเร็จที่ ได้จากกระบวนการเรียนการสอนทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ สุธิชา อินแสน (2561) ได้ศึกษา เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการ เชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิค STAD โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการสุ่มแบบ หลายขั้นตอน ผลวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของคะแนน เต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2 = 23.60 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน, SD. = 1.62 และ t = 4,43) 2) ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการ จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น ฐานร่วมกับเทคนิค STAD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความสามารถในการเชื่อมโยงทาง คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ เทคนิค STAD สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (วั =16.80 จาก คะแนนเต็ม 20 คะแนน, S.D. = 1.98 และ t = 9.44) ภริตา ตันเจริญ (2561) ได้ศึกษา เรื่อง ผลการใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากการสุ่มแบบกลุ่ม ผลวิจัยพบว่า (1) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลังที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ ด้วยการใช้กิจกรรม การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (2) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลังที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะ ชีวิต เรื่องระบบนิเวศ ด้วยการใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลังที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ ด้วยการใช้กิจกรรม การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ หลัง เรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลังที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ ด้วยการใช้กิจกรรม การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเรื่องระบบนิเวศหลัง เรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


13 วรางคณา เจริญรักษา (2562) ได้ศึกษา เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD และแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาชีพ โดย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้ห้องเรียนเป็นการสุ่ม ผลวิจัย พบว่า ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนความพึงพอใจต่อการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ ที่ได้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง


14 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ผู้วิจัยได้มีวิธีการดำเนินการ วิจัย ดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 แบบแผนการวิจัย 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.4 ขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 3.5 เก็บรวบรวมข้อมูล 3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จำนวน 22 คน 1 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศจำนวน 5 คน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการเลือก แบบเจาะจง 3.2 แบบแผนการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre experimental Research) แบบ One-group Pretest- Posttest design ซึ่งมีรูปแบบการวิจัย ดังนี้ การเก็บรวบรวมก่อนและหลังการดำเนินการ Pretest Treatment Posttest O1 X O2


15 สัญลักษณ์ที่ใช้ในรูปแบบการวิจัย O1 แทน การทดสอบก่อนเรียน X แทน กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม O2 แทน การทดสอบหลังเรียน 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ โดยใช้ข้อสอบคู่ขนาน 3) ใบงานเรื่อง กลางวัน กลางคืน 3.4 ขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ 1) การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการสร้างและหาคุณภาพตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงปี 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม 2. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค ร่วมกับสื่อประสม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 แผน ใช้เวลาทั้งหมด 4 คาบ แต่ละ แผนการสอนประกอบด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และ วิธีการวัดและประเมินผล 3. นำเสนอแผนการสอนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิตเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของการจัดทำแผนการจัดการ เรียนรู้ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า (Ratting Scale) แล้ววิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยนำไปเทียบกับเกณฑ์ 4. นำแผนการจัดการเรียนรู้มาแก้ไข ปรับปรุง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดความ ถูกต้องและสมบูรณ์มากขึ้นโดยการปรับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้มีความชัดเจน ปรับปรุงกิจกรรมการ จัดการเรียนการสอนของแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ รวมถึงการ ปรับปรุงเกณฑ์การวัดและประเมินผล ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง 5. นำแผนการจัดการเรียนรู้มาจัดพิมพ์เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์จำนวน 4 แผน แล้วนำไปสอนจริงกับกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับ ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ 10 คะแนน โดยมีขั้นตอนการสร้างและหาประสิทธิภาพดังนี้ 1. ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงปี 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


16 2. ศึกษาหลักการและวิธีการสร้างแบบทดสอบ 3. วิเคราะห์เนื้อหาแบบทดสอบจากตามจุดประสงค์การเรียนรู้ จากแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต 4. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวนทั้งสิ้น 10 ข้อ 5. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านเพื่อพิจารณาข้อคำถามของ ข้อสอบแต่ละข้อว่าสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเพื่อหาค่า IOC โดยใช้แบบประเมินความสอดคล้อง 6. นำแบบทดสอบมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยคะแนนตามความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้สูตร คำนวณดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item - Objective Congruence: 10C) ค่าความสอดคล้องที่ใด้มีค่า ระหว่าง 0.67 - 1.00 และแก้ไขปรับปรุงแบบทสอบตามคำแนะนำในข้อที่มีค่าความสอดคล้องไม่ถึง 0.50 7. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านการคัดเลือกแล้วมาปรับปรุงและจัดพิมพ์เป็น แบบทดสอบฉบับจริง นำไปใช้เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลในการวิจัย 3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1) ทำการทดสอบก่อนเรียน นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทดสอบก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบ ความรู้พื้นฐานของนักเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ 2) ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต โดยใช้เวลา 4 คาบ 3) ทำการทดสอบหลังเรียน นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทดสอบหลังเรียนเพื่อตรวจสอบ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง ดวงอาทิตย์กับ ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ 4) นําผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการวัดโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มาวิเคราะห์ทางสถิติ 3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์จากผลคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนการเรียน และหลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม โดยนำคะแนนที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าที (Paired samples test) เพื่อทำการเปรียบเทียบความก้าวหน้า ซึ่งผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์คือ โปรแกรม IBM SPSS Statistics ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดดังนี้


17 3.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1) สูตรการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย ผลวรวมทั้งหมดของคะแนน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 2)ค่าร้อยละ ร้อยละของคะแนนพัฒนาการ = คะแนนหลังพัฒนาการ − คะแนนก่อนพัฒนา คะแนนเต็ม − คะแนนก่อนพัฒนา × 100 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เมื่อ 4) การหาค่าความเที่ยงตรง ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้อง IOC 5) การหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ก่อนเรียนและหลังเรียน เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่ใช้พิจารณาใน t-distribution


18 D แทน ความแต่ต่างของคะแนนแต่ละคู่ N แทน จำนวนคู่ของคะแนนหรือจำนวนนักเรียน ∑ แทน ผลรวมทั้งหมดของผลต่างของคะแนนก่อนและหลังการทดลอง ∑ 2 แทน ผลรวมของกำลังสองของผลต่างของคะแนนรวมก่อนและหลังการ ทดลอง


19 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้กระบวนการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แล้วนำผล มาวิเคราะห์ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ในรูปแบบของตารางประกอบการบรรยาย ดังนี้ ตอนที่ 1 ร้อยละของพัฒนาการ จำแนกตามนักเรียนเป็นรายบุคคลและค่าเฉลี่ยรวม ดังตารางที่ 4.1 ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม ดังตารางที่ ดังตารางที่ 4.2 ตอนที่ 3 เกณฑ์การประเมินค่าแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต โดยใช้กระบวนการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม ดังตารางที่ 4.3 ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียนและหลังเรียน ดังตารางที่ 4.4 ตอนที่1 ร้อยละของพัฒนาการ จำแนกตามนักเรียนเป็นรายบุคคลและค่าเฉลี่ยรวม จากตารางที่ 4.1 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.8 มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย คือ ร้อยละ 70.83 ลำดับ ชื่อ - สกุล คะแนนก่อนใช้ แผนการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมมือกับสื่อประสม (10 คะแนน) คะแนนหลังใช้ แผนการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมมือกับสื่อประสม (10 คะแนน) คะแนนที่ เพิ่มขึ้น ร้อยละของ พัฒนาการ (10 คะแนน) 1 เด็กหญิงเอ 2 8 6 75 2 เด็กหญิงบี 2 7 5 62.5 3 เด็กหญิงซี 4 7 3 50 4 เด็กหญิงดี 4 10 6 100 5 เด็กชายอี 4 8 4 66.67 รวม 16 40 24 354.17 ค่าเฉลี่ย 3.2 8 4.8 70.83


20 ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้กระบวนการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม การ ทดสอบ N คะแนนเต็ม S.D. df t P (Sig) ก่อนเรียน 5 10 3.2 1.09 4 8.23 0.00 หลังเรียน 8 1.22 จากตารางที่ 4.2 ผลการวิเคราะห์พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 ตอนที่ 3 เกณฑ์การประเมินค่าแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ค่าความสำคัญ ระดับน้ำหนักคะแนนเฉลี่ย เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.51 – 5.00 เหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3.51– 4.50 เหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง 2.51 – 3.50 เหมาะสมอยู่ในระดับน้อย 1.51 – 2.50 เหมาะสมอยู่ในระดับน้อยที่สุด 1.00 – 1.50 จากตารางที่ 4.3 พบว่า แผนการสอนที่มีประสิทธิภาพใช้ได้ กำหนดจากแผนการสอนที่ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน พิจารณาแล้วมีค่าเฉลี่ย 4.52 ระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


21 ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อน เรียนและหลังเรียน ข้อ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน IOC สรุปผล คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 2 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 3 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 4 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 5 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 6 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 7 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 8 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 9 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 10 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ ข้อ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังรียน IOC สรุปผล คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 2 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 3 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 4 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 5 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 6 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 7 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 8 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 9 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้ 10 1 1 1 3 1.00 ใช้ได้


22 จากตารางที่ 4.4 พบว่า ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและ หลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 กับวัตถุประสงค์ มีค่าคะแนนในแต่ละข้ออยู่ที่ 1 คะแนน ซึ่งมากกว่า 0.5 คะแนน เป็นค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ ดังนั้นผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแบบทดสอบกับ จุดประสงค์ที่ใช้ในการวิจัยมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้


23 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้การจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิตของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 แล้วนำผลมาวิเคราะห์ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตาม วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ดังนี้ 1. สรุปผลการวิจัย 2. อภิปรายผล 3. ข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย ในการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต โดยใช้การจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมมือกับสื่อประสม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมมือกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิต ลอออุทิศ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 4 แผน ใช้เวลาในการจัดการเรียนการสอน 4 คาบ คาบละ 50 นาทีรวม 4 ชั่วโมง 2) ใบงานเรื่อง กลางวัน กลางคืน 1 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็น ข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ โดยใช้ข้อสอบคู่ขนาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่า ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Paired samples test) เพื่อทำการเปรียบเทียบ ความก้าวหน้า ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ 3. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมมือกับสื่อประสม เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.8 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย คือ ร้อยละ 70.83 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 หลังการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ .05


24 อภิปรายผล จากผลการศึกษาวิจัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสมมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนซึ่งคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.2 และหลังเรียนเท่ากับ 8 คิดเป็นร้อยละ 70.83 ซึ่งจะเห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และเมื่อทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย คะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (Paired samples test) พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้อาจ เป็นเพราะผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนและปฏิบัติตามแผนการจัดการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ คือ เน้นให้ ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และสอดแทรกเกมเป็นกลุ่มในการทำกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น และแลกเปลี่ยนความมคิดเห็นกันและกันเพื่อให้เกิดองค์ ความรู้ใหม่ๆ อีกทั้งฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม จากผลการวิจัยของผู้วิจัยและผู้วิจัยอื่น ๆ พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้าง แรงจูงใจในการเรียนให้กับนักเรียนมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้มากกว่าเดิม จึงทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนนั่นเอง ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ 1. จากผลการวิจัย พบว่า ด้านการใช้สื่อมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาสูงสุด คือ การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นโรงเรียนและหน่วยงานต้นสังกัดควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้สอน จัดอบรมสอนให้มีทักษะในการ ใช้สื่อการสอน โดยเฉพาะการใช้สื่อทางเทคโนโลยีควรเป็นสื่อที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์ ส่งเสริมให้ผู้สอนเกิด ความตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้สื่อการสอนให้มากขึ้น 2. ในการจัดนักเรียนเข้ากลุ่ม นอกจากจะจัดโดยคละความสามารถระดับเก่ง ปานกลาง อ่อน ควรที่จะ พิจารณาการจัดนักเรียนเข้ากลุ่มในกรณีที่มีความบกพร่องด้วย ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรทำการศึกษาจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม เปรียบเทียบกับการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคอื่นๆ เช่น TGT , TAI เป็นต้น 2. ควรทำการศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD ร่วมกับสื่อประสม กับเนื้อหา คณิตศาสตร์เรื่องอื่น ๆ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นเรียนอื่น ๆ


25 บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. จินตรา ญาณสมบัติ. (2551), การเปรียบเทียบความสามารถในการวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ระหว่าง นักเรียนที่เรียนรู้โดยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับโดยกระบวนการสืบเสาะ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. จิรากร สำเร็จ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. ปริญญานิพนธ์ การวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. จิราภรณ์ ศิริทวี. (2541). เทคนิคการจัดกิจกรรมให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ (Constructivism). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ฉวีวรรณ กินาวงศ์. ไชยยศ เรื่องสุวรรณ (http://vod.msu.ac.th/0503765/unit3/index.html: หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับ การสอนในรูปแบบสื่อประสม, 13/01/2567) ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประหยัด จิระวรพงศ์ (http://vod.msu.ac.th/0503765/unit1/mean.html: ความหมายลักษณะ พัฒนาการของสื่อประสม 13/01/2567) พรทิพย์ อุดร. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถด้าน การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา. ภริตา ตันเจริญ. (2561). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ภาพ เลาหไพบูลย์. (2552), แนวการสอนวิทยาศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 8) กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.


26 วรางคณา เจริญรักษา. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD และแบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารสิรินธร ปริทรรศน์, สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สุธิชา อินเสน. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเชื่อมโยงทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ เทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. Erickson, C. W. (1986). Fundamentals of teaching with audiovisual meterials. Pennsylvania : Chander. Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw - Hill Book. Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1987). Research shows the benefits of adult cooperation. Educational leadership. 45(3), 27-30. Richard, E. Mayer. (2014). The Cambridge Handbook of Multimedia Learning. New York : Cambride University. Slavin, R. E. (1995), Cooperative Learning and Intergroup Relations. Office of Educational Research and Improvement (ED), Washington, DC.


27 ภาคผนวก


28 ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต


29 แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3 ภาคเรียนที่ 2/2566 หน่วยการเรียนรู้ที่7 เรื่อง ความสำคัญของดวงอาทิตย์ เวลา 50 นาที มาตรฐานการเรียนรู้ว 3.1 ตัวชี้วัด ป.3/1, 3/2, 3/3 ครูผู้สอน นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ 1. ผลการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของดวงอาทิตย์เนื่องจากในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต จำเป็นที่ต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ 2. สาระการเรียนรู้ / เนื้อหา ดวงอาทิตย์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยในเวลากลางวันโลกจะได้รับพลังงานแสง และพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น การตากผ้า เป็นต้น 3. เทคนิควิธีการสอน / รูปแบบการสอน - การสอนแบบอภิปราย - การทำงานเป็นทีม 4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 2. ซื่อสัตย์สุจริต 7. รักความเป็นไทย 3. มีวินัย 8. มีจิตสาธารณะ 4. ใฝ่เรียนรู้ 9. เชื่อมั่นและกล้าแสดงออก 5. อยู่อย่างพอเพียง 5. สมรรถนะ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ☑ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา ☑ 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


30 6. จุดประสงค์การเรียนรู้ ด้านความรู้ (Knowledge) - ผู้เรียนอธิบายความสำคัญของดวงอาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิตได้ ด้านทักษะ (Skill) - ผู้เรียนเขียนประโยชน์ของดวงอาทิตย์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตได้ ด้านเจตคติ (Attitude) - ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 7. กระบวนการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน 15 นาที ขั้นสอน 2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์จากรูปภาพ และใช้คำถามดังนี้


31 - ดวงอาทิตย์มีความสำคัญอย่างไรบ้างในชีวิตประจำวัน (ดวงอาทิตย์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ของสิ่งมีชีวิต โดยในเวลากลางวันโลกจะได้รับพลังงานแสงและพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น การตากผ้า เป็นต้น) - จากสถานการณ์นี้มีการใช้ประโยชน์จากดวงอาทิตย์อย่างไรบ้าง (ตามความเห็นของนักเรียน) 3) ครูเพิ่มเติมเรื่องน่ารู้ของดวงอาทิตย์(เป็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่มีแสงสว่างในตัวเองและใหญ่ที่สุดใน ระบบสุริยะ) 4) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม ประดิษฐ์ดวงอาทิตย์ โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 กลุ่ม ให้เขียนประโยชน์ของ ดวงอาทิตย์ เช่น ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่อง ความสำคัญของดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยในเวลากลางวันโลกจะได้รับพลังงาน แสงและพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เช่น การตากผ้า เป็นต้น


32 8. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ - Canva - รูปภาพสถานการณ์ - กระดาษแข็ง กระดาษสี สีชอล์ค 9. การวัดและประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัดประเมินผล เครื่องมือการวัด ประเมินผล เกณฑ์การวัด ประเมินผล ด้านความรู้ ผู้เรียนอธิบายความสำคัญของดวง อาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต การตอบคําถาม การตอบคําถาม ระหว่างบทเรียน ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ระดับ 2 ขึ้นไป ด้านทักษะ ผู้เรียนเขียนประโยชน์ของดวงอาทิตย์ ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตได้ ตรวจสอบความถูกต้องของ ชิ้นงาน ประดิษฐ์ดวงอาทิตย์ ชิ้นงานประดิษฐ์ดวง อาทิตย์ ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ระดับ 2 ขึ้นไป ด้านเจตคติ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมี ส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ระดับ 2 ขึ้นไป


33 เกณฑ์การประเมิน จุดประสงค์การเรียนรู้ เกณฑ์การวัดและประเมินผล 3 2 1 ด้านความรู้ ผู้เรียนอธิบายความสำคัญของ ดวงอาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต ผู้เรียนอธิบาย ความสำคัญของดวง อาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิตได้ ถูกต้อง ผู้เรียนอธิบาย ความสำคัญของดวง อาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต บางส่วน ผู้เรียนอธิบายความสำคัญของ ดวงอาทิตย์ต่อสิ่งมีชีวิต บางส่วน โดยมีครูหรือเพื่อน คอยช่วยเหลือ ด้านทักษะ ผู้เรียนเขียนประโยชน์ของดวง อาทิตย์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตได้ ผู้เรียนเขียนประโยชน์ ของดวงอาทิตย์ที่มีต่อ สิ่งมีชีวิตได้อย่างน้อย 3 ข้อ ผู้เรียนเขียนประโยชน์ ของดวงอาทิตย์ที่มีต่อ สิ่งมีชีวิตได้ 2 ข้อ ผู้เรียนเขียนประโยชน์ของดวง อาทิตย์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตได้ 1 ข้อ ด้านเจตคติ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ผู้เรียนมีความ กระตือรือร้นตั้งใจและมี ส่วนร่วมในการทำ กิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ผู้เรียนมีความ กระตือรือร้นตั้งใจและ มีส่วนร่วมในการทำ กิจกรรมบางครั้ง ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการทำ กิจกรรม บันทึกหลังสอน 10. ผลของการใช้วิธีสอน พร้อมข้อเสนอแนะ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 11. การบันทึกหลังการเรียนการสอนที่ควรปรับปรุง …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 12. แนวทางปรับปรุงแก้ไข …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………… …………………………………………………… (นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ) (นางสาวหทัยทิพย์ นามวงษ์) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครูประจำวิชา


34 แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3 ภาคเรียนที่ 2/2566 หน่วยการเรียนรู้ที่7 เรื่อง โลกหมุนรอบตัวเอง เวลา 50 นาที มาตรฐานการเรียนรู้ว 3.1 ตัวชี้วัด ป.3/1, 3/2, 3/3 ครูผู้สอน นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ 13. ผลการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกที่มีลักษณะคล้ายทรงกลม ซึ่งการหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้ เกิดกลางวัน กลางคืน การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ กำหนดทิศทางได้ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ 14. สาระการเรียนรู้ / เนื้อหา โลกมีลักษณะคล้ายทรงกลม หมุนรอบตัวเองในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน หมุนเวียนเป็นแบบรูปซ้ำ ๆ เป็นวัฏจักร 15. เทคนิควิธีการสอน / รูปแบบการสอน - การสอนแบบอภิปราย - การทำงานเป็นทีม 16. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 2. ซื่อสัตย์สุจริต 7. รักความเป็นไทย 3. มีวินัย 8. มีจิตสาธารณะ 4. ใฝ่เรียนรู้ 9. เชื่อมั่นและกล้าแสดงออก 5. อยู่อย่างพอเพียง 17. สมรรถนะ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ☑ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา ☑ 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


35 18. จุดประสงค์การเรียนรู้ ด้านความรู้ (Knowledge) - ผู้เรียนอธิบายสาเหตุการเกิดปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ได้ ด้านทักษะ (Skill) - ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติของปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ได้ ด้านเจตคติ (Attitude) - ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 19. กระบวนการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 5) ครูทบทวนเกี่ยวกับความสำคัญของดวงอาทิตย์ และใช้คำถาม เช่น - ดวงอาทิตย์มีความสำคัญอย่างไรกับพืช สัตว์ และมนุษย์ (มีประโยชน์ต่อพืช เช่น ช่วยในการ สร้างอาหารของพืช มีประโยชน์ต่อสัตว์เช่น ช่วยให้สัตว์อบอุ่น มีประโยชน์ต่อมนุษย์เช่น ช่วยให้ ร่างกายอบอุ่น ช่วยในการมองเห็น สิ่งต่าง ๆ เป็นต้น) ขั้นสอน 6) เปิดวิดีโอให้นักเรียนดู และใช้คำถาม เช่น - จากวิดีโอนี้เกี่ยวข้องกับโลกของเราอย่างไร (การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์) - การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เกิดจากอะไร (เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลกตามแกนเหนือ - ใต้ โดยหมุนจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก และยังสามารถกำหนดทิศทางได้) 7) ครูนำโมเดลโลกมาให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการหมุนรอบตัวเองของโลก และใช้คำถาม เช่น - การหมุนรอบตัวเองของโลกพร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใด (การขึ้นและ ตกของดวงอาทิตย์ การเกิดกลางวัน กลางคืน) 8) ให้นักเรียนทำกิจกรรม ทายทิศทาง โดยแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติของ ปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์โดยจับไข่ฉลาก และแสดงบทบาทสมมติตามหัวข้อที่ได้ ขั้นสรุป 9) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่อง การหมุนรอบตัวเองของโลก โลกมีลักษณะคล้ายทรงกลม หมุนรอบตัวเองในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งการหมุนรอบตัวเอง ของโลกทำให้เกิดกลางวัน กลางคืน การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ หมุนเวียนเป็นแบบรูปซ้ำ ๆ เป็นวัฏจักร


36 20. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ - Canva - https://youtu.be/lQaXxnO9kYo?si=VJ3meyE78eWA-JZK - โมเดลโลก - ไข่ฉลาก และกล่อง 21. การวัดและประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัดประเมินผล เครื่องมือการวัด ประเมินผล เกณฑ์การวัด ประเมินผล ด้านความรู้ ผู้เรียนอธิบายสาเหตุการเกิด ปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวง อาทิตย์ได้ การตอบคําถาม การตอบคําถาม ระหว่างบทเรียน ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ระดับ 2 ขึ้นไป ด้านทักษะ ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติของ ปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวง อาทิตย์ได้ ตรวจสอบความถูกต้องของ การแสดง วิดีโอ ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ระดับ 2 ขึ้นไป ด้านเจตคติ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมี ส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ระดับ 2 ขึ้นไป


37 เกณฑ์การประเมิน จุดประสงค์การเรียนรู้ เกณฑ์การวัดและประเมินผล 3 2 1 ด้านความรู้ ผู้เรียนอธิบายสาเหตุการเกิด ปรากฏการณ์การขึ้นและตกของ ดวงอาทิตย์ได้ ผู้เรียนอธิบายสาเหตุการ เกิดปรากฏการณ์การขึ้น และตกของดวงอาทิตย์ ได้ถูกต้อง ผู้เรียนอธิบายสาเหตุ การเกิดปรากฏการณ์ การขึ้นและตกของดวง อาทิตย์ได้บางส่วน ผู้เรียนอธิบายสาเหตุการเกิด ปรากฏการณ์การขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์ได้บางส่วน โดยมีครูหรือเพื่อนคอย ช่วยเหลือ ด้านทักษะ ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติของ ปรากฏการณ์การขึ้นและตกของ ดวงอาทิตย์ได้ ผู้เรียนแสดงบทบาท สมมติของปรากฏการณ์ การขึ้นและตกของดวง อาทิตย์ได้ถูกต้องตาม กำหนด ผู้เรียนแสดงบทบาท สมมติของ ปรากฏการณ์การขึ้น และตกของดวงอาทิตย์ ได้หมุนรอบตัวเองได้ 2 ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติ ของปรากฏการณ์การขึ้นและ ตกของดวงอาทิตย์ได้ ด้านเจตคติ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ผู้เรียนมีความ กระตือรือร้นตั้งใจและมี ส่วนร่วมในการทำ กิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ผู้เรียนมีความ กระตือรือร้นตั้งใจและ มีส่วนร่วมในการทำ กิจกรรมบางครั้ง ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการทำ กิจกรรม บันทึกหลังสอน 22. ผลของการใช้วิธีสอน พร้อมข้อเสนอแนะ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 23. การบันทึกหลังการเรียนการสอนที่ควรปรับปรุง …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 12. แนวทางปรับปรุงแก้ไข …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………… …………………………………………………… (นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ) (นางสาวหทัยทิพย์ นามวงษ์) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครูประจำวิชา


38 แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3 ภาคเรียนที่ 2/2566 หน่วยการเรียนรู้ที่7 เรื่อง กลางวันและกลางคืน เวลา 50 นาที มาตรฐานการเรียนรู้ว 3.1 ตัวชี้วัด ป.3/1, 3/2, 3/3 ครูผู้สอน นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ 24. ผลการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหมุนรอบตัวเองของโลกพร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ แสงจากดวงอาทิตย์ส่องมายังโลกในแต่ละบริเวณไม่เท่ากัน จึงเกิดกลางวันและกลางคืนขึ้น 25. สาระการเรียนรู้ / เนื้อหา การหมุนรอบตัวเองของโลกพร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ส่องมายังโลกใน แต่ละบริเวณไม่เท่ากัน จึงเกิดกลางวันและกลางคืนขึ้น 26. เทคนิควิธีการสอน / รูปแบบการสอน - การสอนแบบอภิปราย - การทำงานเป็นทีม 27. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 2. ซื่อสัตย์สุจริต 7. รักความเป็นไทย 3. มีวินัย 8. มีจิตสาธารณะ 4. ใฝ่เรียนรู้ 9. เชื่อมั่นและกล้าแสดงออก 5. อยู่อย่างพอเพียง 28. สมรรถนะ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ☑ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา ☑ 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


39 29. จุดประสงค์การเรียนรู้ ด้านความรู้ (Knowledge) - ผู้เรียนอธิบายการเกิดกลางวัน กลางคืนได้ ด้านทักษะ (Skill) - ผู้เรียนเขียนสาเหตุการเกิดกลางวัน กลางคืนได้ ด้านเจตคติ (Attitude) - ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 30. กระบวนการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 10) ครูถามคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของนักเรียน เช่น - ใน 1 วัน นักเรียนทำกิจกรรมอะไรบ้าง (เรียนหนังสือ นอน และเล่น) - กิจกรรมใดที่นักเรียนทำในเวลากลางวัน (เรียนหนังสือ เล่นกับเพื่อน ๆ) - กิจกรรมใดที่นักเรียนทำในเวลากลางคืน (ดูดาวและนอน) ขั้นสอน 11) ครูนำโมเดลกลางวัน กลางคืนมาให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับกลางวัน กลางคืน และใช้คำถาม เช่น - การเกิดกลางวัน กลางคืนมีสาเหตุมาจากอะไร (การหมุนรอบตัวเองของโลกพร้อมกับโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ส่องมายังโลกในแต่ละบริเวณไม่เท่ากัน จึงเกิดกลางวันและ กลางคืนขึ้น) - ซีกโลกด้านที่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เป็นเวลาใด (เวลากลางวัน) - ซีกโลกด้านที่ไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เป็นเวลาใด (เวลากลางคืน) - โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลาเท่าใด (1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง) - โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลาเท่าใด (ประมาณ 365 วัน) - แต่ละช่วงเวลาในเวลากลางวัน ดวงอาทิตย์อยู่ตำแหน่งเดิมหรือไม่ ลักษณะใด (ดวงอาทิตย์เปลี่ยน ตำแหน่งตลอดเวลา โดยเคลื่อนที่จากของฟ้าด้านหนึ่งไปยังขอบฟ้าอีกด้านหนึ่ง) 12) ให้นักเรียนทำกิจกรรม มาส่องโลก ครูแจกใบงานเรื่องกลางวัน กลางคืน ให้นักเรียนทุกคน ให้นักเรียน มาส่องโมเดลและสำรวจ พร้อมเขียนลงในใบงาน โดยให้ทำงานเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม


40 ขั้นสรุป 13) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่อง การหมุนรอบตัวเองของโลก การหมุนรอบตัวเองของโลกพร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ส่องมายัง โลกในแต่ละบริเวณไม่เท่ากันจึงเกิดกลางวัน กลางคืนขึ้นขึ้น โดยกลางวันเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตก ส่วนกลางคืนเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกจนกระทั่งถึงช่วง ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น 31. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ - Canva - โมเดลกลางวัน กลางคืน - ใบงานเรื่อง กลางวัน กลางคืน 32. การวัดและประเมินผล จุดประสงค์ วิธีการวัดประเมินผล เครื่องมือการวัด ประเมินผล เกณฑ์การวัด ประเมินผล ด้านความรู้ ผู้เรียนอธิบายการเกิดกลางวัน กลางคืนได้ การตอบคําถาม การตอบคําถาม ระหว่างบทเรียน ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ระดับ 2 ขึ้นไป ด้านทักษะ ผู้เรียนเขียนสาเหตุการเกิดกลางวัน กลางคืนได้ ตรวจสอบความถูกต้องของใบ งานเรื่อง กลางวัน กลางคืน ใบงานเรื่อง กลางวัน กลางคืน ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ระดับ 2 ขึ้นไป ด้านเจตคติ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมี ส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การสังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน ระดับ 2 ขึ้นไป


41 เกณฑ์การประเมิน จุดประสงค์การเรียนรู้ เกณฑ์การวัดและประเมินผล 3 2 1 ด้านความรู้ ผู้เรียนอธิบายการเกิดกลางวัน กลางคืนได้ ผู้เรียนอธิบายการเกิด กลางวัน กลางคืนได้ ถูกต้อง ผู้เรียนอธิบายการเกิด กลางวัน กลางคืนได้ บางส่วน ผู้เรียนอธิบายการเกิดกลางวัน กลางคืนได้บางส่วน โดยมีครู หรือเพื่อนคอยช่วยเหลือ ด้านทักษะ ผู้เรียนเขียนสาเหตุการเกิด กลางวัน กลางคืนได้ ผู้เรียนเขียนสาเหตุการ เกิดกลางวัน กลางคืนได้ ถูกต้องทั้งหมด 5 คำ ผู้เรียนเขียนสาเหตุการ เกิดกลางวัน กลางคืน ได้อย่างน้อย 3 ข้อ ผู้เรียนเขียนสาเหตุการเกิด กลางวัน กลางคืนได้อย่างน้อย 2 ข้อ ด้านเจตคติ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ผู้เรียนมีความ กระตือรือร้นตั้งใจและมี ส่วนร่วมในการทำ กิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ผู้เรียนมีความ กระตือรือร้นตั้งใจและ มีส่วนร่วมในการทำ กิจกรรมบางครั้ง ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการทำ กิจกรรม บันทึกหลังสอน 33. ผลของการใช้วิธีสอน พร้อมข้อเสนอแนะ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 34. การบันทึกหลังการเรียนการสอนที่ควรปรับปรุง …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 35. แนวทางปรับปรุงแก้ไข …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………… …………………………………………………… (นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ) (นางสาวหทัยทิพย์ นามวงษ์) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ครูประจำวิชา


42 แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3 ภาคเรียนที่ 2/2566 หน่วยการเรียนรู้ที่7 เรื่อง การกำหนดทิศ เวลา 50 นาที มาตรฐานการเรียนรู้ว 3.1 ตัวชี้วัด ป.3/1, 3/2, 3/3 ครูผู้สอน นางสาวนุรฮาซีกีน ยาลอ 36. ผลการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหมุนรอบตัวเองของโลกพร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ และสามารถนำมาใช้ในการกำหนดทิศได้ 37. สาระการเรียนรู้ / เนื้อหา การหมุนรอบตัวเองของโลกพร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์การขึ้นและตกของ ดวงอาทิตย์และการเกิดกลางวัน กลงคืน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการกำหนดทิศได้ 38. เทคนิควิธีการสอน / รูปแบบการสอน - การสอนแบบอภิปราย - การทำงานเป็นทีม 39. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 2. ซื่อสัตย์สุจริต 7. รักความเป็นไทย 3. มีวินัย 8. มีจิตสาธารณะ 4. ใฝ่เรียนรู้ 9. เชื่อมั่นและกล้าแสดงออก 5. อยู่อย่างพอเพียง 40. สมรรถนะ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด ☑ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา ☑ 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


43 41. จุดประสงค์การเรียนรู้ ด้านความรู้ (Knowledge) - ผู้เรียนอธิบายวิธีกำหนดทิศได้ ด้านทักษะ (Skill) - ผู้เรียนจำลองของการเกิดทิศได้ ด้านเจตคติ (Attitude) - ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม 42. กระบวนการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 14) ครูให้นักเรียนทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนรู้มาแล้ว โดยใช้คำถามต่อไปนี้ - การหมุนรอบตัวเองของโลกพร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใด (การขึ้นและ ตกของดวงอาทิตย์และการเกิดกลางวัน กลางคืน) - ปรากฏการณ์ดังกล่าวนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร (นำมาใช้ในการกำหนดทิศได้) - นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบ ขั้นสอน 15) ครูแบ่งนักเรียนกลุ่มเป็นกลุ่ม ทั้งหมด 5 กลุ่ม ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการณ์กำหนดทิศจากดวงอาทิตย์ ที่สนามเด็กเล่น โดยทำตามขั้นตอน ดังนี้ - ยื่นแขนขวาไปยังทิศที่ดวงอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้า ซึ่งเป็นทิศตะวันออก ให้เขียนตัวอักษร อ ใน กระดาษ แล้วนำไปติดไว้ที่พื้น - ยื่นแขนด้านซ้ายออกไป ซึ่งเป็นทิศที่ดวงอาทิตย์ตกกลับขอบฟ้าในตอนเย็นหรือทิศตะวันตก ให้ เขียนตัว ต ในกระดาษ แล้วนำไปติดไว้ที่พื้น - ด้านหน้าของนักเรียนจะเป็นทิศเหนือ และด้านหลังจะเป็นทิศใต้ให้เขียน น และ ต ในกระดาษ แล้วนำไปติดไว้ที่พื้น ตามลำดับ - นำเข็มทิศมาใช้ในการสังเกตทิศต่าง ๆ โดยวางเข็มทิศไว้บนมือ แล้วรอจนกว่าเข็มชี้ของเข็มทิศ หยุดนิ่ง - เปรียบเทียบว่าเข็มทิศบอกทิศได้ตรงกับทิศที่ติดไว้ที่พื้นหรือไม่ 16) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ บริเวณที่นักเรียนสังเกต และเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา


Click to View FlipBook Version