ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ Factors affecting the formation of Lingam found in the Phanom Rung Historical Park คณะผู้วิจัย นายณัชพล โสชมภู รหัสนักศึกษา 613050148-5 นายธนพัฒน์ บุญศรี รหัสนักศึกษา 613050150-8 นางสาวธรรมิตาว์ จันทร์หวร รหัสนักศึกษา 613050151-6 นายธราธร ทิพม้อม รหัสนักศึกษา 613050152-4 นายสหสวรรษ ขันธ์พัฒน์ รหัสนักศึกษา 613050173-6 นางสาวสุพิชชา วุฒิเสน รหัสนักศึกษา 613050178-6 นายหัตธชัย ประเสริฐสุข รหัสนักศึกษา 613050179-4 นางสาวณิกัญรดา พรหมศิริ รหัสนักศึกษา 613050417-4 นางสาวศศิธร วรรณคีรี รหัสนักศึกษา 613050422-1 นางสาวปณิตา ประภาการ รหัสนักศึกษา 613050481-5 อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.อังคณา ตุงคะสมิต อาจารย์ ดร.คุณากร สายลวดค า อาจารย์ นุชนาฎ เนสุสินธุ์ รายงานวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ED194001 ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ในโรงเรียน (HISTORY PRACTICUM IN SCHOOL) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2564
ก นายณัชพล โสชมภู, นายธนพัฒน์ บุญศรี, นางสาวธรรมิตาว์ จันทร์หวร, นายธราธร ทิพม้อม, น ายสหสวรรษ ขันธ์พัฒน์, น างส าวสุพิชชา วุฒิเสน, น ายหัตธชัย ประเสริฐสุข, นางสาวณิกัญรดา พรหมศิริ, นางสาวศศิธร วรรณคีรี และนางสาวปณิตา ประภาการ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์. อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.อังคณา ตุงคะสมิต อาจารย์ ดร.คุณากร สายลวดค า และ อาจารย์ นุชนาฎ เนสุสินธุ์ ปีที่วิจัย 2564 บทคัดย่อ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่มีความเกี่ยวข้อง จากเอกสาร ต ารา หนังสือวารสาร บทความ งานวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ณ ปราสาทหิน พนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์โดยอาศัยเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่มีการเข้ามา ของลัทธิไศวนิกายน ามาซึ่งการสร้างปราสาทหินและการบูชาศิวลึงค์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ที่จัดเป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองในการบูชาองค์พระศิวลึงค์ โดยหลักฐานการสร้างศิวลึงค์ที่พบได้ในปราสาท หินพนมรุ้งนั้นมีองค์ศิวลึงค์ที่จัดแสดงเป็นองค์จ าลอง ซึ่งศิวลึงค์เป็นองค์ประธานซึ่งเป็นตัวแทนของ พระศิวะ มีการครอบองค์ศิวลึงค์ด้วยทองค าอีกชั้นหนึ่งและมีลักษณะไม่เหมือนในสมัยก่อนเมือง พระนคร โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ประกอบไปด้วย ด้านศาสนา ถือเป็นสิ่งที่เด่นชัดที่สุด จากคติความเชื่อของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไศวะนิกาย เป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพ องค์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ด้านอ านาจจะใช้ศิวลึงค์เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในฐานะตัวแทนองค์พระศิวะ มีความเชื่อในพลังอ านาจเหนือธรรมชาติในการเสริมสร้างแรงศรัทธาในการบูชาศิวลึงค์ ด้านความเชื่อ การสร้างศิวลึงค์เพื่อบูชาเชื่อว่าจะท าให้เกิดความเจริญงอกงามในชีวิตและเกิดความอุดมสมบูรณ์ใน พื้นที่ และในด้านการเกษตร ตามรูปลักษณ์ของศิวลึงค์นั้นมีรูปร่างคล้ายกับอวัยวะเพศชาย ถือว่าเป็น สัญลักษณ์แห่งการก่อก าเนิด โดยในสังคมไทยสมัยก่อนมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรมดังนั้นปัจจัยที่ ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์จะน ามาซึ่งความอุดมสมบูรณ์มาสู่พื้นที่บริเวณเพาะปลูก
ข กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยฉบับนี้ ส าเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดีด้วยความกรุณาและการให้ค าปรึกษาในการ ท าวิจัยจากรองศาสตราจารย์ ดร.อังคณา ตุงคะสมิต อาจารย์ ดร.คุณากร สายลวดค า และอาจารย์ นุชนาฎ เนสุสินธุ์ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยในครั้งนี้ ที่กรุณาให้ค าปรึกษา ค าแนะน า ตลอดจนตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ รวมถึงแนวทางในการท าวิจัยด้วยความเอาใจใส่อยู่สม่ าเสมอ ทั้งยังเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ให้มีความอดทนและมุ่งมั่นในการท างานมาโดยตลอด ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.อังคณา ตุงคะสมิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑา ชุ่มสุคนธ์ และอาจารย์ ดร.ณัชพล มีแก้ว ที่กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบและ พิจารณาเครื่องมือ ให้ค าปรึกษาและค าแนะน าที่เป็นประโยชน์จึงท าให้เครื่องมือของการด าเนินการ วิจัยมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ ขอขอบคุณกลุ่มเป้าหมายที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลประกอบการจัดท าวิจัยในครั้งนี้ และท าให้การวิจัยในครั้งนี้ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณบิดา มารดาที่คอยสนับสนุนและให้ก าลังใจมาโดยตลอด ขอบคุณนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2564 ที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุน มาโดยตลอด และขอบคุณคณะผู้วิจัยที่ช่วยกันด าเนินการวิจัยแก้ปัญหา ให้ก าลังใจ จนสามารถ ด าเนินการวิจัยจนส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี สุดท้ายนี้ผู้วิจัยขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องและที่ไม่ได้กล่าวนาม ที่มีส่วน ช่วยเหลือจนสามารถด าเนินการวิจัยจนส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี คณะผู้วิจัยขอระลึกถึง และขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ คณะผู้วิจัย
ค สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง จ สารบัญรูปภาพ ฉ บทที่ 1 บทน า 1. ที่มาและความส าคัญ 1 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 3. นิยามศัพท์เฉพาะ 2 4. ขอบเขตของการวิจัย 3 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 6. กรอบแนวคิดในการท าวิจัย 3 บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. ลักษณะทั่วไปของประเทศไทย 7 2. องค์ความรู้ทั่วไป 11 3. แผนนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง 25 4. บริบทพื้นที่วิจัย และเรื่องที่วิจัย 28 5. กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 30 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 43 บทที่ 3 วิธีการด าเนินการวิจัย 1. กลุ่มเป้าหมาย 49 2. ระยะเวลาในการด าเนินงานวิจัย 50 3. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 50
ง สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 3 วิธีการด าเนินการวิจัย (ต่อ) 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 51 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 52 6. การน าเสนอข้อมูล 52 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ 53 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ 56 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ 1. สรุปและอภิปรายผล 63 2. ข้อเสนอแนะ 65 บรรณานุกรม 66 ภาคผนวก ภาคผนวก ก รายนามผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มผู้รู้ ผู้เกี่ยวข้อง และหนังสือราชการ 71 ภาคผนวก ข แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 79 ภาคผนวก ค ภาพการด าเนินงานวิจัย 81 ประวัติคณะผู้วิจัย 84
จ สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 ตารางการด าเนินงาน 50
ฉ สารบัญรูปภาพ หน้า ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการท าวิจัย 5 ภาพที่ 2 แผนที่ประเทศไทย 7 ภาพที่ 3 แนวคิดการบูชาศิวลึงค์ไศวนิกาย 54 ภาพที่ 4 ศิวลึงค์ที่พบในปราสาทหินพนมรุ้ง 55 ภาพที่ 5 “ปลัดขิก” เครื่องรางของขลังตามความเชื่อของไทย 57 ภาพที่ 6 ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ประจ าปี 2561 59 ภาพที่ 7 การเก็บข้อมูลจาการสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร แสนมี (กลุ่มผู้รู้) 82 ภาพที่ 8 การเก็บข้อมูลจาการสัมภาษณ์คุณพลอยไพริน ปุราพะกา (กลุ่มผู้รู้) ผ่านโปรแกรม Zoom 82 ภาพที่ 9 การเก็บข้อมูลจาการสัมภาษณ์นายสุทธินันท์ พรหมชัย (ผู้เกี่ยวข้อง) ผ่านโปรแกรม Zoom 83 ภาพที่ 10 รายงานความคืบหน้าของการด าเนินงานวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษา 83
1 บทที่ 1 บทน า 1. ความเป็นมาและความส าคัญของการวิจัย ปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง ในเขตอ าเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นปราสาทหินเก่าแก่ที่สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพูเป็นส่วนใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขา ไฟเก่าที่ดับสนิทไปแล้ว ซึ่งบริเวณนี้ในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ท าผู้คนต่างเข้ามาตั้งถิ่น ฐานจนขยายมาเป็นชุมชนใหญ่ ค าว่า “พนมรุ้ง” มาจากภาษาเขมร แปลว่า “ภูเขาใหญ่” และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ท าให้สันนิษฐานว่าประสาทพนมรุ้งถูกสร้างขึ้นในราวพุทธ ศตวรรษที่ 15 - 17 เปรียบเสมือนเป็นที่ประทับของพระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย (Eye trip, 2564) ซึ่งเทวสถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นศูนย์กลางของชุมชนโดยรอบอย่าง แท้จริง ข้อความในจารึกพนมรุ้งบางหลักแม้จะมีเนื้อความขาดหายแต่ก็ให้ภาพรวมได้ว่าเทวสถานบน เขาพนมรุ้ง เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ คือ ศิวลึงค์ มีอาณาเขตกว้างขวาง มีที่ดินซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน (พระเจ้าวรมันที่ 5) และข้าราชการระดับต่าง ๆ ถวายหรือซื้อถวายให้กับเทวสถานพร้อมกับมีพระราช โองการให้ปักหลักเขตที่ดินขึ้นกับเทวสถานพนมรุ้งพร้อมกับการสร้างเมือง สร้างอาศรมให้กับโยคี และนักพรตด้วย นับได้ว่าศิวลึงค์มีความส าคัญในการเป็นตัวแทนของพระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดใน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ปราสาทพนมรุ้ง, ม.ป.ป.) คติการนับถือศิวลึงค์เป็นความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในพื้นที่ของ ประเทศไทยในปัจจุบันมีการถือคติความเชื่อเกี่ยวกับศิวลึงค์มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10-12 โดยได้รับ อิทธิพลจากอินเดียทางตอนใต้ เนื่องจากในอินเดียทางตอนเหนือนั้นไม่ปรากฏการสร้างศิวลึงค์ ที่เด่นชัด โดยศิวลึงค์ถือเป็นบูชาวัตถุหรือสัญลักษณ์แทนพระอิศวรตามคติความเชื่อของ พราหมณ์-ฮินดู (จตุรวิทย์, 2551) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการสร้างศิวลึงค์ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย อาจเกิดจากปัจจัยด้าน ศาสนา ซึ่งการสร้างศิวลึงค์นับว่าเป็นการบูชาพระศิวะ เพราะศิวลึงค์เป็นตัวแทนของพระศิวะ ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู (บ ารุง ค าเอก, 2558) โดยมีการค้นพบศิวลึงค์ที่มีอายุประมาณพุทธ ศตวรรษที่ 12 ที่แหล่งโบราณคดีท่าศาลา, เขาพลีเมือง, สถานีรถไฟหนองหวาย และบ้านนายพริ้งอาจ หาญ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการเข้ามาของพ่อค้าและนักบวชชาวอินเดียในแดนสุวรรณภูมิและ ภาคใต้ของไทย (สุขกมล วงศ์สวรรค์, ม.ป.ป.) อีกทั้งยังมีการค้นพบศิวลึงค์ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 เป็นศิวลึงค์หินทรายสีชมพู ที่อ าเภอโป่งน้ าร้อน จังหวัดจันทบุรี (ไทยรัฐออนไลน์, 2560) ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการค้นพบศิวลึงค์ ในปราสาทหินพนมรุ้งที่สร้างขึ้นระหว่างพุทธ
2 ศตวรรษที่ 15-18 ที่มีความโดดเด่น และน่าสนใจแตกต่างจากภาคอื่น เนื่องจากเป็นศิวลึงค์ที่ถูกค้นพบ ในตัวปราสาทหิน อีกทั้งยังถูกสร้างขึ้น โดยผสมผสานรูปแบบศิลปะของเขมรโบราณ ทั้งยังมีพิธีกรรม บูชาในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งมาจนถึงปัจจุบัน (Sanook, 2561) จากความเป็นมาและความส าคัญดังกล่าวข้างต้น และการศึกษาเอกสารรวมทั้งงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง ท าให้ค้นพบว่ายังขาดการศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ที่ค้นพบในปราสาทหิน พนมรุ้ง อีกทั้งช่วงเวลาในการสร้างที่แน่นอน และไม่มีผู้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาประวัติความเป็นมา และปัจจัยที่ส่งผล ต่อการสร้างศิวลึงค์ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแสวงหาค าอธิบายหรือข้อค้นพบใหม่ ๆ ที่จะอุดช่องว่างของความรับรู้เปิดมุมมองใหม่ หรือสร้างข้อถกเถียงทางวิชาการซึ่งจะท าให้คนไทย เข้าใจมุมมอง ของความเชื่อและความแตกต่าง ของการนับถือและการเคารพบูชาเพื่อเข้าใจความ แตกต่าง ทางความคิดในสังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural education) มากยิ่งขึ้น 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. ศึกษาประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ 3. นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ศิวลึงค์ หมายถึง รูปเคารพตัวแทนองค์พระศิวะในรูปแบบของอวัยวะเพศชาย ณ ที่นี้ หมายถึง ศิวลึงค์ที่พบได้ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ 2. ปัจจัย หมายถึง เหตุอันเป็นทางให้เกิดผลซึ่งการกระท าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ณ ที่นี้ กล่าวถึง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ เช่น ปัจจัยด้านความเชื่อ ปัจจัยด้านศาสนา ปัจจัยด้านเกษตรกรรม ปัจจัยด้านอ านาจ เป็นต้น 3. ปราสาทหินพนมรุ้ง หมายถึง โบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง หรือเรียกอีกชื่อว่า อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ในเขตอ าเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวลัย ของพระศิวะ ประดิษฐานรูปเคารพมากมาย
3 4. ขอบเขตของการวิจัย 4.1 ขอบเขตเนื้อหา การศึกษาในครั้งนี้มุ่งศึกษาประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผล ต่อการสร้างศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยท าการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งข้อมูลที่ได้ จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากเอกสารทางวิชาการ บทความ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ต ารา และหนังสือจากห้องสมุด และฐานข้อมูลออนไลน์ ที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ณ ปราสาทหิน พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ 4.2 ขอบเขตพื้นที่ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ 5. ประโยชน์ที่ได้รับ การวิจัยในครั้งนี้ท าให้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้าง ศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งยังเป็นแนวทางในการศึกษาประวัติศาสตร์ รวมถึง เป็นแหล่งข้อมูลให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับศิวลึงค์ในประเทศไทย นอกจากนี้องค์กรและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง สามารถน าผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาได้ 6. กรอบแนวคิดในการท าวิจัย การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยน ากรอบแนวคิดในการวิจัยเข้ามาเป็น กรอบส าคัญ ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อเก็บ ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย โดยเริ่มจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของของของศิวลึงค์ตามการค้นพบ ในประเทศไทย โดย อาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อรวบรวม พิจารณา ไตร่ตรองตรวจสอบ ตีความ สังเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อทราบถึงประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ที่พบในประเทศไทย จากนั้นศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ในปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเพื่อทราบถึงมุมมองของความเชื่อ
4 และความแตกต่างของการนับถือและการเคารพบูชาเพื่อเข้าใจความคิดในสังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural education) โดยผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ คือ ท าให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงประวัติความเป็นมา ของศิวลึงค์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์และเป็น แนวทางในการศึกษาประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการทางประวัติศาสตร์ พร้อมทั้งเป็นแหล่งข้อมูล ให้แก่บุคคล และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ในปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้น าไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป ดังกรอบแนวคิดด้านล่างนี้
5 ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการท าวิจัย ด้านศาสนา (Religious) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบด้านศาสนาที่ผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ด้านอ านาจ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบด้านอ านาจที่ผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ด้านความเชื่อ (Faith) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบด้านศาสนาที่ผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ด้านการเกษตร (Agriculture) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบด้านการเกษตรที่ผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ศิวลึงค์ ปราสาทหินพนมรุ้ง ประวัติความเป็นมา วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง ตรวจสอบ ตีความ สังเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ทฤษฎีสัญญะวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงสัญญะด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
6 บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ และปัจจัย ที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคณะผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาเป็นกรอบแนวทางในการศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ลักษณะทั่วไปของประเทศไทย 1.1 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย 1.2 ข้อมูลทั่วไปของประเทศไทย 1.3 ประวัติความเป็นมาของประเทศไทยโดยสังเขป 2. องค์ความรู้ทั่วไป 2.1 ลักษณะโดยทั่วไปของจังหวัดบุรีรัมย์ 2.2 ปราสาทหิน 2.3 ประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ 2.4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ 3. แผนนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง 3.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) 3.2 แผนย่อยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ5 ประเด็น การท่องเที่ยว (พ.ศ. 2561-2580) 3.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564) 4. บริบทพื้นที่วิจัย และเรื่องที่วิจัย 5. กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 5.1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5.2 ทฤษฎีสัญญะวิทยา 5.3 ทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6.1 ปราสาทหินพนมรุ้ง 6.2 ประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ 6.3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์
7 1. ลักษณะทั่วไปของประเทศไทย 1.1 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย ภาพที่ 2 แผนที่ประเทศไทย ที่มา : https://shorturl.asia/oQNqm ส านักข่าวกรองแห่งชาติ (2564) กล่าวถึง ลักษณะทั่วไปของประเทศไทย ดังนี้ ชื่อทางการ: ราชอาณาจักรไทย เมืองหลวง: กรุงเทพมหานคร ที่ตั้ง: อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเส้นละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือกับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นลองจิจูดที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออกกับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 513,120 ตร.กม. (คิดเป็น 0.34% ของพื้นที่โลก) หรือประมาณ 320 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทางบก 510,890 ตร.กม. และพื้นที่ทางทะเล 2,230 ตร.กม. มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 51 ของโลก เป็นอันดับที่ 12 ในเอเชีย และอันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจาก อินโดนีเซียและเมียนมา ระยะทางจากจุดเหนือสุดถึงใต้สุด 1,640 กม. ความกว้างจากจุดตะวันตกสุด ไปจุดตะวันออกสุด 780 กม. พรมแดนทางบก 5,673 กม. พรมแดนทางทะเล 3,219 กม. อาณาเขต: ทิศเหนือ ติดกับเมียนมาและลาว จุดเหนือสุดอยู่ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ทิศตะวันออก ติดกับลาวและกัมพูชา จุดตะวันออกสุดอยู่ที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ทิศใต้ ติดกับมาเลเซีย จุดใต้สุดอยู่ที่ อ.เบตง จ.ยะลา
8 ทิศตะวันตก ติดกับเมียนมา จุดตะวันตกสุดอยู่ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ติดกับทะเลอันดามัน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ติดกับอ่าวไทย ภูมิประเทศ: อยู่ในเขตโซนร้อน ประกอบไปด้วย 77 จังหวัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค ดังนี้ 1. ภาคเหนือ มีภูมิปร ะเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูง เป็นภูเขาและหุบเข า รวม 17 จังหวัด มียอดเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นต้นก าเนิดของแม่น้ าสายส าคัญหลายสาย ยอดเขา สูงสุด คือ ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ สูง 2,565 เมตร จากระดับน้ าทะเล 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่สูงหรือที่ราบสูง รวม 20 จังหวัด 3. ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และเป็นแหล่งเพาะปลูกส าคัญ ขณะที่ทิศใต้ ของภาคกลางติดกับอ่าวไทย รวม 25 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ 4. ภาคใต้ มีพื้นที่เป็นทิวเขาสูงสลับที่ราบลุ่มและมีชายหาดทะเลทั้งฝั่งตะวันออก (อ่าวไทย) และฝั่งตะวันตก (ทะเลอันดามัน) รวม 14 จังหวัด ภูมิอากาศ: แบบร้อนชื้นแบ่งเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน (ก.พ.-พ.ค. ร้อนที่สุดช่วง เม.ย) ฤดูฝนหรือช่วงฤดูมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ (กลาง พ.ค.-ต.ค.) มีฝนตกและเมฆมาก โดยเฉพาะบริเวณ ชายฝั่งและเทือกเขา ด้านที่รับลม ฤดูหนาวหรือช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (กลาง ต.ค.-ก.พ.) อากาศแห้ง หนาวเย็น และท้องฟ้าค่อนข้างโปร่ง ยกเว้นฝั่งตะวันออกของภาคใต้จะมีเมฆมาก จากข้อมูลดังกล่ าวสรุปได้ ว่า ปร ะเทศไทยมีชื่อท างก าร ว่า ราชอ าณ าจัก รไทย มีกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศ มีพื้นที่ทั้งหมด 513,120 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ติด ทะเล 2 ฝั่ง และมีอาณาเขตติดกับประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ภูมิประเทศตั้งอยู่ใน โซนร้อน ประกอบด้วย 77 จังหวัด โดยแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค มีสภาพภูมิอาการแบบร้อนชื้น แบ่งเป็น 3 ฤดู ประกอบไปด้วย ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว 1.2 ข้อมูลทั่วไปของประเทศไทย ประชากร ประมาณ 66.19 ล้านคน อัตราการเพิ่มของประชากร -0.6% อัตราการเกิด (ต่อประชากรพันคน) 10.7 (ปี 2563 ประมาณการ) อัตราการตาย (ต่อประชากรพันคน) 8.3 (ปี 2563 ประมาณการ) อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (จ านวนปีเฉลี่ยที่คาดว่าบุคคลที่เกิดมาแล้วจะมี ชีวิตต่อไปอีกกี่ปี) (ปี 2563 ประมาณการ) ชาย 72.4 ปี และหญิง 78.9 ปี (ส านักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน, 2564) ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีกฎหมาย สูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ โดยเขตการปกครองแบ่งเป็น 1. การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางตาม หลักการรวมอ านาจ (Centralization) ทั้งการตัดสินใจ ก าหนดนโยบาย วางแผนจัดสรรงบประมาณ ควบคุมตรวจสอบ และบริหารราชการในกิจการส าคัญให้หน่วยงานต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหาร
9 ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มีหน้าที่รับผิดชอบ 4 ส่วน คือ ส านักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม รวมถึงส่วนราชการระดับกรมที่เป็นอิสระ และองค์กรส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองตามกฎหมาย 2. การปกครองส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 76 จังหวัด และการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 มีผลบังคับใช้เมื่อ 6 เมษายน พ.ศ.2560 ประกอบด้วย 279 มาตรา 16 หมวด และบทเฉพาะกาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 65 เพื่อเกิดการปฏิบัติให้บรรลุวิสัยทัศน์ "ประเทศไทยมีความมั่นคงมั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง" ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคง ด้านการสร้าง ความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาคุณส่งและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ จากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 66.19 ล้านคน โดยมี เพศหญิงที่มีการคาดการณ์อายุขัยเฉลี่ยมากกว่าเพศชาย อีกทั้งมีการปกครองโดยใช้ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีกฎหมายสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 อีกทั้งมีการด าเนินการโดยยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรก ของประเทศไทย คือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) 1.3 ประวัติความเป็นมาของประเทศไทยโดยสังเขป กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (2558) กล่าวว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 เกิดความ เปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญของบ้านเมืองในดินแดนประเทศไทย อันสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่าง สองอาณาจักรใหญ่ คือ อาณาจักรกัมพูชาและอาณาจักรจามปา ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของบ้านเมือง ที่เป็นพันธมิตรกันใหม่ขึ้น แคว้นที่มีก าลังเข้มแข็งกว่าได้ขยายอาณาเขตมายังบริเวณที่มีความขัดแย้ง กันและได้ค้นพบจารึกอักษร และภาษาไทย ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่ากลุ่มคนไทยได้มาก่อตั้งบ้านเมือง ขึ้นในดินแดนนี้ โดยในการศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 4 สมัย คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.3.1 สมัยสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-20 ในช่วงแรกมีความ ยิ่งใหญ่รุ่งเรืองและเจริญในทุก ๆ ด้าน สมกับเป็นอู่อารยธรรมที่ส าคัญของไทย โดยเฉพาะสมัยพ่อขุน รามค าแหงมหาราช ทรงขยายอาราเขตไปอย่างกว้างขวางและเจริญสัมพันธไมตรีกับดินแดนอื่น ๆ ทั้งมีการนับถือศาสนาและความเชื่ออื่น คือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในช่วงต้นนั้นมีระบบการปกครอง
10 แบบบิดาปกครองบุตร โดยมีพ่อขุนเป็นผู้ดูแลทุกข์สุขของประชาชน โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็น กษัตริย์พระองค์แรก กรุงสุโขทัยเป็นราชธานียาวนานถึง 200 ปี แต่ภายหลังเสถียรภาพทางด้าน อ านาจของสุโขทัยอ่อนแอลง ก็ถูกผนวกเข้ากับอยุธยาอย่างเบ็ดเสร็จในสมัยสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถ 1.3.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา สถาปน าขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1893 โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่มีแม่น า 3 สายล้อมรอบ คือ แม่น้ าเจ้าพระยา แม่น้ าป่าสัก และแม่น้ าลพบุรีเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมต่อความมั่นคงและติดต่อค้าขาย ท าให้เป็น อาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ โดยกรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความส าคัญ มาก มีความรุ่งเรืองสืบเนื่องเป็นราชธานียาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองรวม 33 พระองค์ 1.3.3 สมัยกรุงธนบุรี ครั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้กรุงศรีอยุธยามาจากพม่าได้แล้ว ทรงเลือกตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ธนบุรีเนื่องมาจากทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกเผาเสียหายไปอย่างมากและ พระองค์ทรงมุ่งจะขยายอ านาจไปทางด้านตะวันออกของประเทศ คือ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม บางส่วน ภายหลังเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมจักรีวงศ์ พระราชกรณียกิจ ส าคัญของพระองค์ คือ การท าศึกสงครามป้องกันพระราชอาณาจักรและขยายไปทางลาวและกัมพูชา ตลอดระยะเวลา 15 ปีในรัชกาลของพระองค์ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการรบเป็นอย่างยิ่งใน การท าศึกสงคราม 1.3.4 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชวงศ์จักรีที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้าตาก สินมหาราชมาจนถึงปัจจุบัน โดยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรง ท าการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ไทยแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระองค์ได้ทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นทางตะวันออกของแม่น้ าเจ้าพระยา ด้วยเห็นว่ากรุง ธนบุรีมีพื้นที่คับแคบ ไม่สามารถขยายเมืองได้ เมืองหลวงใหม่นี้มีชื่อว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถา น อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนค าว่า บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ ดังนั้นจึงเรียกสมัยนี้ว่า สมัยรัตนโกสินทร์ จากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ยุคประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเริ่มนับมาตั้งแต่สมัย อาณาจักรสุโขทัย อันเนื่องมาจากการพบหลักฐานการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพ่อขุน รามค าแหง และในช่วงยุคสมัยสุโขทัยได้มีความเจริญและขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางจนถึง
11 ช่วงเสื่อมอ านาจ และถูกผนวกเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกับอยุธยา และรวบรวมดินแดนจนเป็นปึกแผ่น และได้พัฒนามาเป็นช่วงสมัยกรุงธนบุรี มาเป็นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน 2. องค์ความรู้ทั่วไป 2.1 ข้อมูลโดยทั่วไปของจังหวัดบุรีรัมย์ บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่ส าหรับคนใน ท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนส าหรับคนต่างถิ่นเมือง ปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมี ประกอบด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนัก โบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยทราวดี และ ที่ส าคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มาก คือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจ านวนมากกว่า 60 แห่งรวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่ส าคัญ คือ เตาเผา ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมรซึ่งก าหนดอายุได้ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 อยู่ทั่วไปหลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้วหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็น เมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา ปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัด บุรีรัมย์จนถึงปัจจุบันชื่อเมืองบุรีรัมย์ไม่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา และธนบุรี เฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอ าเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เมืองนางรองเมืองพุทไธสง และ เมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319 สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรีกรมการเมืองนครราชสีมา มีใบบอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็นกบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจ าปาศักดิ์ จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังด ารงค าแหน่ง เจ้าพระยาจักรีเป็น แม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิต และสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมืองจ าปาศักดิ์ เมืองโขง และเมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิตเจ้าโอ เจ้าอิน อุปฮาดเมืองจ าปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียง ให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง ตะลุบ สุรินทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขต ขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง) ให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งต่อมาได้ เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะ เป็นบุรีรัมย์ด้วยปรากฎว่า ได้มีการ แต่งตั้งพระส าแดงฤทธิรงค์เป็นพระนครภักดีศรีนครา ผู้ส าเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมือง นครราชสีมาใน พ.ศ. 2411 เมืองบุรีรัมย์และเมืองนางรองผลัดกันมีความส าคัญเรื่อยมา พ.ศ. 2433
12 เมืองบุรีรัมย์โอนขึ้นไปขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีหนองคายเป็นศูนย์กลาง และเมืองบุรีรัมย์มีเมือง ในสังกัด 1 แห่ง คือ เมืองนางรอง ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440 - 2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับ มณฑลนครราชสีมาเรียกว่า "บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรองรัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อมณฑลลาวเฉียงเป็น มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเขมรเป็น มณฑลตะวันออกและในคราวนี้ เปลี่ยนชื่อบริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง" มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราต าแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์" และเปลี่ยนตราต าแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่ วันที่ 3 สิงหาคมพ.ศ.2444 เป็นต้นมา พ.ศ.2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อ าเภอ คือเมืองนครราชสีมา 10 อ าเภอ เมืองชัยภูมิ 3 อ าเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อ าเภอ คือ นางรอง พุทไธสง ประโคนชัย และ รัตนบุรี ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด และอ าเภอเมือง บุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น "จังหวัดบุรีรัมย์" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 2.2 ปราสาทหิน ปราสาทหิน คือ สถาปัตยกรรมเขมรโบราณ ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย มีการ ประยุกต์ พัฒนาจนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะตัว โดยปราสาทมีความส าคัญต่อผู้คนในแต่ละยุคแต่ละสมัย ที่แตกต่างกัน จากเดิมที่เคยเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นพื้นที่สักการะ ปัจจุบันถูกแปรเปลี่ยนไปสู่การเป็น พื้นที่ท่องเที่ยวรองรับนักท่องเที่ยว จากปราสาทหินที่เป็นภาพตัวแทนของสวรรค์ที่สถิตของเทพเจ้าสู่ การเป็นภาพตัวแทนศิลปวัฒนธรรมเขมรโบราณในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จนน าไปสู่การน าเอาอัตลักษณ์ ของปราสาทเป็นการสร้างสรรค์เป็นสินค้าประเภทของที่ระลึก โดยใช้แนวคิดเรื่องพื้นที่ (Place/Space) ของเลอเฟบว์ (Lefebrve, 1991) และสัญวิทยา ของแฟร์ดิน็องด์ เดอ โซซูร์ (Saussure, Ferdinand de, 1959) ปราสาทหินเป็นสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม จากความรู้ ภูมิปัญญาของชนชาว เขมรโบราณ เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์อารยธรรมเขมรโบราณในแถบสุวรรณภูมิ และเป็นมรดกแก่ชนในยุคต่อ ๆ มา (ศักดิ์ชัย สิงห์สาย, 2548: 59-64) ค าว่า ปราสาทมาจากรากศัพท์ ภาษาสันสกฤต หมายถึง อาคารที่มีส่วนกลางเป็นห้องเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ หรือ เรือนธาตุ และมี หลังคาเป็นชั้นซ้อนกันหลายชั้นเรียกว่า เรือนชั้น หลังคาแต่ละชั้นเป็นการย่อส่วนของปราสาท โดยน ามาซ้อนกันในรูปของสัญลักษณ์ แทนความหมายของเรือนฐานันดรสูง อันเป็นที่สถิตของเหล่า เทพเทวดา ดังนั้น ปราสาท จึงหมายถึง อาคารที่เป็นศาสนสถาน เพื่อประดิษฐานรูปเคารพ หรือสิ่งอัน
13 เป็นที่เคารพของชนหมู่มากในยุคสมัยนั้น เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ปราสาทเป็น ศาสนสถานสร้างด้วยวัสดุที่มั่นคงแข็งแรงประเภทอิฐหรือหิน (ศักดิ์ชัย สิงห์สาย, 2548: 65) ปราสาทขอม หรือ ปราสาทเขมร หมายถึง อาคาร ทรงปราสาทที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมขอม หรือเขมรโบราณ เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในการประกอบ พิธีกรรม ทางศาสนา ทั้งในศาสนาฮินดู และพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ส่วนค าว่า ปราสาทขอม ในประเทศไทย หมายถึง อาคารทรงปราสาทในวัฒนธรรมขอม ที่พบในดินแดนไทยในปัจจุบัน ซึ่งดินแดนเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม รวมทั้งบางส่วนได้มีการรับอิทธิพลทาง ศาสนา และงานศิลปกรรมขอมมาสร้างอาคารทรงปราสาทที่ใช้เป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมขอมนั้น มีที่มาจากอินเดีย คนอินเดียได้สร้างปราสาทขึ้น เพื่อประดิษฐานรูปเคารพทางศาสนา เรียกว่า เทวาลัย โดยสร้างเป็นอาคารที่มีหลังคาซ้อนชั้นขึ้นไปหลายชั้น แต่ละชั้นมีการเพื่อเป็นเครื่องมือใน การศึกษาอธิบายประดับอาคารจ าลอง สามารถแยกออกเป็น 2 สายวัฒนธรรม ได้แก่ อินเดีย ภาคเหนือ เรียกว่า ท รงศิขร คือ ป ราสาทที่มีหลังค ารูปโค้งสูง ส่วนในอินเดียภาคใต้ เรียกว่า ทรงวิมาน คือ ปราสาทที่มีหลังคาซ้อนเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมักประดับอาคาร จ าลองจาก รูปแบบของปราสาทขอม ในระยะแรกเชื่อกันว่า ได้รับอิทธิพลของทรงศิขร จากอินเดียภาคเหนือ ส่วน ทรงวิมานนั้น ส่งอิทธิพลมายังศิลปะชวา ต่อมาภายหลังช่างขอมได้น าเอารูปแบบทั้ง 2 สายวัฒนธรรม มาผสมผสานกัน จนกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเองขึ้น การสร้างอาคารทรงปราสาทมาจากคติ ความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่า เทพเจ้าทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุ ถือว่าเป็นแกนกลางของ จักรวาล อยู่บนสวรรค์ การสร้างปราสาทจึงเปรียบเสมือนการจ าลองเขาพระสุเมรุมายังโลกมนุษย์ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และมีการสร้างรูปเคารพของเทพเจ้าขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ภายใน โดยตัวปราสาทมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้แทนความหมายของเขาพระสุเมรุ เช่น มีปราสาทประธานตรง กลาง มีปราสาทบริวารล้อมรอบ ถัดออกมามีสระน้ า และก าแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การที่ท าหลังคา ปราสาทเป็นเรือนซ้อนชั้นก็หมายถึง สวรรค์หรือวิมานของเทพเทวดานั่นเอง ด้วยเหตุที่เป็นการจ าลอง จักรวาลมาไว้บนโลกมนุษย์ และเป็นที่สถิตของเทพเจ้า จึงต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ ตามที่ก าหนดไว้ใน คัมภีร์ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ตัวปราสาทจึงมีขนาดใหญ่ และใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน (ศักดิ์ชัย สิงห์สาย, 2548: 64-96) ด้วยเหตุที่ปราสาทขอมคือ ศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้น ตัวปราสาท และเขตศาสนสถานจึงถือว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และใช้ในความหมายที่เป็น ศูนย์กลางของเมืองหรือชุมชน ปราสาทเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ และใช้ท าพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งในศาสนาฮินดูจะมีพราหมณ์เป็นผู้ท าพิธีเช่น การสรงน้ ารูปเคารพที่อยู่ภายในห้องครรภคฤหะ น้ าที่สรงแล้วจะไหลออกมาทางท่อน้ าเรียกว่า ท่อโสมสูตร ซึ่งต่อออกมาภายนอกตัวปราสาท เพื่อที่ ชาวบ้านจะได้น าน้ าศักดิ์สิทธิ์นี้ไปใช้ นอกเหนือจากปราสาทที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนแล้ว การสร้าง สระน้ าและบาราย (สระน้ าขนาดใหญ่) เป็นส่วนหนึ่งของปราสาท เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ า ส าหรับชุมชน
14 ในการอุปโภคบริโภค ดังนั้น การสร้างปราสาทจึงเป็นภาระส าคัญของพระมหากษัตริย์ ที่เมื่อขึ้น ครองราชย์แล้ว ต้องสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่บรรพบุรุษหรือให้แก่พระองค์เอง และสร้างบารายให้แก่ ประชาชน การสร้างปราสาทที่มีขนาดใหญ่จึงแสดงให้เห็นถึงบุญบารมี และพระราชอ านาจของ กษัตริย์แต่ละพระองค์ด้วย โดยทั่วไปศาสนสถานในศิลปะขอม จะสร้างขึ้น เนื่องในศาสนาฮินดูเป็น ส่วนใหญ่ มีเพียงบางแห่งหรือบางสมัยเท่านั้น ที่สร้างขึ้น เนื่องในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน เช่น ปราสาทที่สร้างขึ้นในศิลปะแบบบายนทั้งหมด เพราะในขณะนั้นมีการเปลี่ยนมานับถือ พระพุทธศาสนานิกายมหายานแล้ว วิธีสังเกตว่าศาสนสถานแห่งนั้น ๆ สร้างขึ้น ปราสาทในศิลปวัฒนธรรมเขมรนั้นเดิมทีเคยเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่สักการะ ประกอบพิธีกรรมของคนเขมรในอดีต แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปร่องรอยแห่งอารยธรรมได้เสื่อมลงตาม กาลเวลา ปราสาทจึงได้เปลี่ยนแปลงสถานะของตนเองจากพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประทับของเหล่าเทพเจ้า กลับกลายเป็น พื้นที่ท่องเที่ยว พื้นที่สร้างรายได้โดยมีคนเป็นตัวแปรส าคัญและกระแสของโลกเป็นเหตุ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปราสาทในพื้นที่จังหวัด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ก็เช่นกัน (ยุกติ มุกดาวิจิตร, 2555: 76) กล่าวไว้ว่า ช่วงต้นทศวรรษที่ 2500 รัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มีนโนยาบสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศไทย น าไปสู่การขยายตัว ทางด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างกว้างขวาง รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้เร่งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมให้เป็น ส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวพร้อมกับการน าเสนอภาพความเป็นไทย ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวในฐานะที่ เป็นตราสินค้าเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจากปรากฏการณ์การท่องเที่ยวในกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้เกิด กระแสความคิดเรื่องอัตลักษณ์ท้องถิ่น ท าให้เกิดการน าเอาสิ่งที่เป็นลักษณะโดดเด่นของท้องถิ่นมา ประกอบสร้างเป็นภาพตัวแทนวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ ปราสาทหินก็เช่นกันจากเดิมที่ปราสาทหิน ซึ่งมีสถานะเป็นเทวสถาน มีความหมายถึงการเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตของเทพเจ้าในศาสนา พราหมณ์ ทั้งลัทธิไศวนิกายและลัทธิไวษณพนิกาย และแม้กระทั้งเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน ได้ถูกแปรเปลี่ยนมาเป็นสิ่งแทนศิลปวัฒนธรรมเขมรถิ่นไทย แปรเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่แห่ง การท่องเที่ยว พื้นที่แห่งการสร้างรายได้ของผู้ประกอบการและคนในพื้นที่ เช่น ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ าจังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทสระก าแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวโดยสรุป ปราสาทหินเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปวัฒนธรรมเขมรโบราณ โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็น เทวสถาน สถานที่ประทับของเหล่าเทพในศาสนาฮินดู เป็นการจ าลองภาพ จากคติความเชื่อสู่การประกอบสร้างเทวสถาน ใช้ในการประกอบพิธีกรรมบวงสรวงขอพรต่อเทพเจ้า จะพบว่าในปราสาทปรางค์ประธานแต่ละด้านจะประดิษฐานสิ่งแทนเทพเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในแต่ละลัทธิ เช่น ศิวลึงค์สิ่งแทนพระศิวะ และยังเป็นสิ่งแทนให้ทราบว่าเทวสถานแห่งนี้สร้างขึ้นในลัทธิ ไศวนิกาย ซึ่งมีพระศิวะเป็นใหญ่ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าผู้ครองเมืองซึ่งเป็นผู้น าทั้งการเมืองการปกครอง
15 และการศาสนา มีการเปลี่ยนแปลงจากศาสนาฮินดูสู่การนับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน ปราสาทก็ ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงนั้นเช่นกัน จากที่เคยเป็นเทวสถานก็เปลี่ยนแปลงความหมายมาเป็น พื้นที่สักการะ พื้นที่พิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และเมื่อเขมรโบราณเสื่อมอ านาจลงการเปลี่ยนแปลง อีกครั้งจึงเกิดขึ้น 2.3 ประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ 2.3.1 ความหมายของศิวลึงค์ ค าว่า “ศิวลึงค์” เป็นค าสมาสระหว่างค าว่า ศิวะ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง พระศิวะมหาเทพ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์–ฮินดู นิกายไศวนิกาย กับค าว่า ลึงค์ ที่หมายถึง องคชาตหรืออวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย ดังนั้นเมื่อน าค าทั้งสองมาสมาสเข้า ด้วยกันจึง มีความหมายตามตัวอักษรว่า อวัยวะสืบพันธุ์ของพระศิวะหรือองคชาติของพระศิวะ แต่ความหมายในทางปรัชญาของศาสนาพราหมณ์–ฮินดู ไม่ได้แปลตรงตามตัวอักษร หากแต่แปล ความว่า ศิวลึงค์เป็นเครื่องหมายแห่งพลังศักดิ์สิทธิ์มากกว่าเครื่องหมายทางเพศ ศิวลึงค์มักจะปรากฏ อยู่คู่กับโยนี (Yoni) เสมอ โดยโยนีนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนอวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แทนพระอุมาอัครมเหสีของพระศิวะ อันเป็น เครื่องบ่งบอกถึงพลังสร้างสรรค์ของสตรีเพศ การที่ศิว ลึงค์กับโยนีอยู่รวมกัน แสดงถึงความเป็นสองในหนึ่งเดียวที่แยกออกจากกันไม่ได้ระหว่างบุรุษกับสตรี และเครื่องหมายที่เป็นองค์แทนของพระศิวะนี้ ชาวไศวะนิกายใช้รูปของ ศิวลึงค์ เป็นสัญลักษณ์ส าคัญ โดยให้เหตุผลว่า นี่คือสัญลักษณ์แห่งพระผู้สร้าง การให้ก าเนิด และการด ารงอยู่ของสรรพชีวิต เป็นตัวแทนแห่งความบริบูรณ์ของแผ่นดินและพืชพรรณธัญญาหาร ซึ่งคติการนับถือนี้นับว่ามีมานาน นับพันปีและได้แพร่เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากการเข้ามาติดต่อค้าขายของอินเดีย ส าหรับ ประเทศไทยได้รับอิทธิพลผ่านทางวัฒนธรรมขอมและหัวเมืองฝ่ายใต้ด้านมลายู 2.3.2 ความเป็นมาของศิวลึงค์ ประวัติความเป็นมาของศิวลึงค์ถือก าเนิดที่มาของศิวลึงค์ยังเป็นเรื่อง ซับซ้อน ไม่สามารถก าหนดแน่ชัดลงไปได้ว่าเริ่มมาแต่เมื่อใด ในประเทศอินเดียมีหลักฐานว่ามีการนับ ถือศิวลึงค์มาตั้งแต่ดึกด าบรรพ์แล้ว ดังปรากฏจากหลักฐานต่าง ๆ ดังนี้ หลักฐานทางโบราณคดีมีร่องรอยเรื่องราวของศิวลึงค์ที่ได้มีมาแล้วตั้งแต่ สมัยหินใหม่ เนื่องจากการส ารวจยุคต้นที่ต าบลบันดู ราชา ดาบี (Pandu Bajar Dbibi) ในแคว้น เบงกอลตะวันตก พบรูปปั้นดินเผาเป็นรูปอวัยวะเพศชาย แนวคิดเรื่องการนับถือลึงค์นี้อาจจะได้มา จากสัญลักษณ์ของเสาหินตั้ง เพราะพบหลักฐานว่าพวกออสตราลอยรุ่นแรกเป็นพวกที่เรียกหินที่ตั้งอยู่ บนพื้นดินว่า “ลึงค์” ซึ่งหมายถึง การขุดหรือการไถ และจากการส ารวจขุดค้นอารยธรรมลุ่มแม่น้ า สินธุได้พบลึงค์ดินเผาที่ต าบลเซอโกโตดา แคว้นคุชราช ในยุคประวัติศาสตร์การนับถือลึงค์ได้เชื่อมโยง
16 กับการนับถือเทพศิวะคือต้นก าเนิดของพระศิวะซึ่งปรากฏในวรรณกรรมพระเวท ดังนั้นลึงค์จึง กลายเป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศิวลึงค์ ในประเทศไทยนั้นเริ่มแรกไม่ได้มีความคุ้นเคยกับค าว่า ศิวลึงค์ มากนัก แต่จะคุ้นเคยกับเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่ามีพลังอ านาจสูงสุดในด้านโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยมที่ รู้จักกันในนาม "ปลัดขิก" ซึ่งมีหลักฐานยืนยันว่าได้แบบอย่างมาจาก ศิวลึงค์ ของอินเดียตามคติทาง ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ของลัทธิไศวนิกาย การก าเนิดของศิวลึงค์มีมุขปาฐะและคัมภีร์หลายเล่มที่ กล่าวถึงการก าเนิดของศิวลึงค์ซึ่งมีเนื้อหาเหตุการณ์เหมือนกันบ้าง คล้ายคลึงกันบ้างหรือแตกต่างกัน ก็มี เช่น บางคัมภีร์กล่าวว่า ศิวลึงค์เกิดจากความต้องการของพระศิวะที่ประสงค์ประทานศิวลึงค์ให้ เป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ บางคัมภีร์ว่าเกิดจากความโกรธ ความละอายจากการประพฤติผิดของ พระองค์เอง ดังนั้นการถือก าเนิดศิวลึงค์ตลอดจนถือว่ามีการนับถือศิวลึงค์นั้นมี 2 รูปแบบ คือ ในรูปของศิวลึงค์กับในรูปบุรุษ โดยใช้เอกสารทางวรรณคดีที่อ้างถึงการนับถือศิวลึงค์ ดังนี้ มหากาพย์มหาภารตะ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงศิวลึงค์ว่า เจ้าชายอรชุน แห่งวงศ์ปาณฑป ได้ท าพิธีบูชาขอพรจากพระศิวะให้ประทานลูกธนูศักดิ์สิทธิ์ เพื่อน าไปต่อสู้กับ อสูรร้าย ต่อมาพระศิวะจึงแปลงกายมาเป็นนายพรานปรากฏต่อหน้าอรชุน ขณะเดียวกันกับอสูรศัตรู ของอรชุนได้แปลงกายเป็นหมูป่าเข้าท าร้ายอรชุน ทั้งนายพรานและอรชุนต่างก็ยิงธนูไปฆ่าหมูป่า พร้อมกัน เมื่ออสูรจ าแลงตายลง อรชุนกับนายพรานต่างโต้เถียงและต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงสิทธิ์ในการฆ่า หมูป่า แต่อรชุนไม่สามารถท าอันตรายนายพรานนั้นได้ จึงมีความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากอรชุนนับถือศิวลึงค์ดังนั้นจากพลังศิวลึงค์จึงบันดาลให้อรชุนรู้ว่านายพราน คือ พระศิวะ จ าแลงกายมา เมื่ออรชุนรับรู้จึงก้มลงกราบเพื่อขอขมาที่ได้ล่วงเกินพระศิวะพึงพอใจต่อการขอขมา และรู้ว่าอรชุนมีความศรัทธานับถือบูชาศิวลึงค์ จึงอภัยให้และได้มอบลูกธนูวิเศษให้แก่อรชุนตามความ ตั้งใจ คัมภีร์พราหมณ์ปุราณะ กล่าวไว้ว่า บนวิมานเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับ ขององค์ศิวะมหาเทพ กับพระอุมาอัครมเหสี วันหนึ่งพระศิวะทรงพระเกษมส าราญอยู่กับพระนางอุมา และได้ดื่มน้ าจัณฑ์จนเมามายจนคุมสติไม่ได้ มีการเสพกามอย่างสุขส าราญอยู่ที่ท้องพระโรง บังเอิญพระพรหม พระวิษณุและเทพทั้งมวลพากันเข้าเฝ้าพระศิวะโดยไม้ได้แจ้งล่วงหน้า เมื่อเทพ เหล่านั้นเห็นพฤติกรรมอันไม่สมควร เป็นการอนาจารน่าอับอายเป็นอย่างยิ่ง จึงพากันรังเกียจเดียดฉัน ต าหนิติเตียนอย่างรุนแรง และเสื่อมศรัทธา หมดสิ้นความนับถือย าเกรงในองค์มหาเทพ เมื่อพระศิวะ สร่างจากความมึนเมาจ าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพียงเลือนลาง จึงเรียกมหาดเล็กมาสอบถาม เมื่อทราบ ความเป็นไปในเหตุการณ์ครั้งนั้น รู้สึกอับอายเป็นอย่างมากจึงกลั้นใจตาย แต่ก่อนขาดใจตายได้
17 ประกาศว่า อวัยวะเพศของพระองค์นี้ ต่อไปจะเป็นเสมือนตัวแทนของพระองค์ที่มนุษย์และเทพทั้ง ปวงจะต้องกราบไหว้บูชา ถ้าต้องการความสุขและความส าเร็จในชีวิต จากค าประกาศดังกล่าวจึงเป็น มูลเหตุให้ชาวพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกายต้องเคารพบูชาศิวลึงค์สืบมาจากปัจจุบัน คัมภีร์ไศวปุราณะ หรือศิวปุราณะ กล่าวไว้ว่า ครั้งหนึ่งพระพรหม และพระวิษณุเกิดความขัดแย้งถกเถียงกันว่าใครยิ่งใหญ่กว่ากันและใครเป็นผู้สร้างจักรวาล แต่ก็หาข้อ ยุติไม่ได้ ขณะที่ถกเถียงกันอยู่นั้นเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์มีวัตถุทรงกระบอกคล้ายเสาขนาดมหึมา ผุดขึ้นมาจากใต้พื้นโลกมีเปลวเพลิงร้อนแรงพวยพุ่งออกมาโดยรอบเสานั้น ยอดเสาพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าจน มองไม่เห็นปลายยอดพระวิษณุกับพระพรหมต่างสงสัยว่าสิ่งนั้นคืออะไร มีจุดเริ่มต้นและจุดจบอยู่ที่ใด จึงยุติความขัดแย้งหันมาปรองดองและหารือกันก่อนที่จะส ารวจว่าเสาเพลิงต้นนั้นคืออะไร มีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดลง ณ ที่ใด จากนั้นเทพทั้งสองจึงตกลงให้พระวิษณุแปลงกายเป็นหมูป่า ขุดลงไปดูโคน เสาไฟว่าอยู่ลึกเพียงใด ส่วนพระพรหมนั้นบางต าราบอกว่า พระพรหมเหาะขึ้นไป บางต าราว่าแปลง กายเป็นหงส์ เพื่อบินขึ้นไปดูจุดสิ้นสุดของเสาเพลิงนั้นสูงเพียงใด และสิ้นสุดลง ณ ที่ใดเช่นกัน เทพทั้ง สององค์ต่างเพียงพยายามจนถอดใจ แต่ในระหว่างทางได้พบกับดอกปาริชาต (ดอกเกตกี) ดอกหนึ่ง ร่วงหล่นลงมา จึงถามดอกปาริชาตว่าร่วงลงมาจากที่ใด ดอกปาริชาต ได้ตอบว่าตนร่วงหล่นลงมาจาก เครื่องประดับเศียรของพระศิวะ ซึ่งใช้เวลานานหลายกัลป์กว่าจะตกลงมาถึงที่พระพรหมประทับอยู่ ขณะนี้ เมื่อพระพรหมกลับลงมายังพื้นดิน ได้กล่าวเท็จกับพระวิษณุว่าตนได้ค้นพบจุดสิ้นสุดของเสา เพลิงนั้นแล้ว ทันใดนั้นเองเสาเพลิงก็ระเบิดเกิดเสียงกัมปนาท พื้นแผ่นดินสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงฝุ่น ตลบคละคลุ้ง แทบมองไม่เห็นสิ่งใด ครั้งเมื่อฝุ่นละอองจางลง ก็ปรากฏร่างของพระศิวะขึ้นที่กลางเสา เพลิง และทรงประกาศด้วยเสียงอันทรงพลังดุจดังเสียงพระยาราชสีห์ว่านี่คือ อ านาจขององค์ ศิวมหาเทพ ซึ่งเป็นพลังที่ไม่อาจวัดได้ ไม่มีจุดตั้งต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด และจะด ารงอยู่เป็นนิรันดร์ เพื่อเป็นแกนของโลกทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง จากปรากฏการณ์ดังกล่าวพระวิษณุและพระพรหมจึง ยอมรับในพลังอ านาจของพระศิวะ ในคัมภีร์บางเล่มกล่าวต่อไปว่าพระศิวะทรงพิโรธพระพรหม จึงลงโทษพระพรหมด้วยการตัดเศียรที่ห้าซึ่งอยู่ยอดบนสุด ท าให้พระพรหมซึ่งเดิมมีห้าเศียรเหลือเพียง สี่เศียรมาจนถึงปัจจุบัน ภาคนี้ของพระศิวะมีชื่อเรียกว่า ลึงคอุทภวมูรติซึ่งเป็นภาคที่แสดงถึง การก่อก าเนิดของศิวลึงค์ และนอกจากนั้นยังมีคัมภีร์เรื่อง สกันทปุราณะ กันณัปปะ วามนปุราณะ ลิงคปุราณะ และกุรมาปุราณะ ที่มีการกล่าวถึงศิวลึงค์นี้รูปแบบต่าง ๆ ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนั้นถือเป็นต้นก าเนิดของความเป็นมาของศิวลึงค์ โดยสามารถสรุปได้ว่า จากเหตุการณ์ที่แตกต่างกันตามประวัติของแต่ละเรื่องนั้น พระศิวะ คือ บ่อเกิด ของวัตถุเคารพหรือศิวลึงค์นี้
18 2.4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ 2.4.1 ด้านศาสนา ผาสุก อินทราวุธ (2524) ศาสนาภควตาได้กลายเป็นลัทธิไวษณพนิกายของ ศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นศาสนาแรกที่ได้น าเอาคติการบูชารูปเคารพมาให้ประชาชนวรรณะสูงผู้ เคร่งครัดในศาสนาได้บูชาลัทธินี้เชื่อว่า พระเจ้าจะปรากฏกายลงมาให้เห็นในแบบต่าง ๆ กัน และเพื่อ เป็นการสะดวกในการสักการบูชาจึงนิยมท ารูปแทน (Representative) ขึ้นมาซึ่งมีทั้งเป็นรูปวาด และรูปสลัก ในช่วงก่อนคริสตกาล ดินแดนตั้งแต่มถุราลงไปถึงอินเดียตอนใต้พบรูปเคารพไม่มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะรูปเคารพ สร้างด้วยวัตถุที่ไม่ถาวรจึงสูญสลายไป ในยุคต้นคริสตกาลพบรูปเคารพที่ สลักบนเหรียญและที่ประทับตราส่วนใหญ่อยู่ในสมัยพระเจ้ากนิษกะ(Kuvishka) แห่งราชวงศ์กุษาณะ เป็นรูปพระวิษณุ มี 4 กร ถือจักร สังข์ คทา และรูปวงแหวน (แทนดอกบัว) และศิวลึงค์ จตุรวิทย์ (2551) ได้กล่าวว่า “ศิวลึงค์” หรือ “ลิงคะ” หรือ “ลิงคัม” ในภาษาสันสกฤตเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของ “พระศิวะ” ตามคติความเชื่อของผู้นับถือศาสนา พราหมณ์ ฮินดู ไศวะนิกาย ที่เป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพองค์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดามหาเทพ ทั้งสาม หรือ “ตรีมูรติ” ซึ่งประกอบด้วย พระศิวะ พระพรหม และพระนารายณ์ ซึ่งต่อมา “ศิวลึงค์” ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ในประเทศไทยเรานั้นไม่ค่อยคุ้นเคยกับชื่อ ศิวลึงค์มากนัก แต่จะคุ้นเคยกับเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่ามีพลังอ านาจสูงสุดในด้านโชคลาภ เสน่ห์ เมตตามหานิยมที่รู้จักกันในนาม “ปลัดขิก” ซึ่งมีหลักฐานยืนยันว่าได้แบบอย่างมาจาก ศิวลึงค์ ของอินเดียตามคติทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ก าเนิดของศิวลึงค์ มีมุขปาฐะและคัมภีร์ หลายเล่ม ที่กล่าวถึง ก าเนิดของศิวลึงค์ซึ่งก็มีเนื้อหาเหตุการณ์เหมือนกันบ้าง คล้ายคลึงกันบ้างหรือ แตกต่างกันก็มี เช่น บางคัมภีร์ กล่าวว่า ศิวลึงค์เกิดจากความต้องการของพระศิวะที่ประสงค์ประทาน ศิวลึงค์ให้เป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ บางคัมภีร์ว่าเกิดจากความโกรธ ความละอายจากการประพฤติ ผิดของพระองค์เอง บ ารุง ค าเอก (2558) ได้กล่าวว่า ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น พูดถึงความ เป็นมาของศาสนา พราหมณ์-ฮินดูการอุปถัมภ์ฟื้นฟู บทบาทของพราหมณ์ราชส านัก ศิลปะ ประติมากรรมและจิตรกรรมพระราชพิธี และวรรณกรรมซึ่งได้รับอิทธิพลพราหมณ์ และได้วิเคราะห์ ถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในด้านต่าง ๆ เช่น อิทธิพลทางด้านประติมากรรม เช่น การหล่อ เทวรูปเพื่อพระราชพิธีและพระพุทธรูปปางใหม่ที่ได้สร้างขึ้นในสมัยนี้ เช่น พระพุทธรูปปางปราบ มหิศร แสดงถึงการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรม และ ประติมากรรมที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์ใน สถานที่พุทธศาสนา และที่ส าคัญการวิเคราะห์ถึงพระศิวะลึงค์คู่ในโบสถ์พราหมณ์ ที่ไม่ปรากฏใน อินเดียเหนือ แสดงว่า ได้รับจากอินเดียใต้อย่างชัดเจน ในโบสถ์พระอิศวรที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในกรุงเทพฯ พบว่าประดิษฐานศิวลึงค์อยู่ด้านหลังเทวรูป 2 องค์ ซึ่งโดยปกติแล้วในเทวสถานของ
19 ไศวนิกายทางภาคเหนือของอินเดียมักจะประดิษฐานศิวลึงค์เพียงองค์เดียวอาจเป็นเพราะพราหมณ์ ผู้ก่อตั้งเทวสถานโบสถ์พราหมณ์แห่งนี้สืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์อินเดียใต้จึง สืบเนื่องความนิยม ในการบูชาศิวลึงค์หลายองค์มาจากเทวสถานในอินเดียภาคใต้เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่าต าแหน่ง ในการประดิษฐานนั้นประดิษฐานไว้เบื้องหลังและไม่เปิดเผยให้เข้าบูชาเท่าไรนักอาจเนื่องด้วยไม่ต้อง พระราชนิยม ของพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับศิวลึงค์ก็เป็นได้ จากการสัมภาษณ์ Dr. R. Nagaswami, aformer Director of Archaeology in Tamil Nadu, เมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ได้ความ ว่า ประเพณีการสร้างเทวาลัย ก่อนสร้างจะน าศิวลึงค์น้อย เรียกว่า “พาลลึงค์” มาตั้งก่อน เมื่อสร้าง เสร็จแล้วจึงน าลึงค์ประธานมาวางแทน แล้วน าองค์น้อยไปทิ้งแม่น้ านาคสวามี มีความคิดว่า เป็นไปได้ว่าต่อมาภายหลังองค์แรกไม่ได้ถูกน าไปทิ้งจึงถูกวางไว้ทั้งสององค์ พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์ (2564) ศิวลึงค์นี้ถือเป็นสิ่งเคารพอย่างหนึ่งของผู้ที่ นับถือศาสนาพราหมณ์ในอินเดีย วัตถุเคารพนี้คือสัญลักษณ์ที่ส าคัญอย่างหนึ่งของพระศิวะหรืออิศวร ซึ่งเป็นเทพเคารพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ศิวลึงค์หรืออวัยวะเพศชายนี้ คือต้นก าเนิดของชีวิตและ ความอุดมสมบูรณ์ชีวิตทุกชีวิตในโลกด ารงอยู่ได้เนื่องมาจากผลของการร่วมกันระหว่างสาระส าคัญ ของเพศชายและหญิง อนึ่งอ านาจในการสร้างสรรค์และสืบต่อของอวัยวะเพศนี้ เป็นปัจจัยส าคัญที่มี ต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผ่นดิน และพืชพันธุ์ธัญญาหารในโลกอีกด้วย ลัทธิบูชาศิวลึงค์นี้เกิดขึ้น ในอินเดียเมื่อ 5,000 ปีมาแล้ว หรือ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เกิดขึ้นครั้งแรกที่บริเวณลุ่มแม่น้ าสินธุ ในแคว้นปัญจาบของอินเดีย จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในบริเวณเมืองโบราณโมเฮนโจดาโร และฮารัปปา ในแคว้นปัญจาบตะวันตก และทางเหนือของเมืองการจี เมื่อ ค.ศ. 1922 และ ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2465 และพ.ศ. 2467) ได้พิสูจน์เรื่องราวเกี่ยวกับลัทธิความเชื่อถือของคนในสมัยนั้น หลักฐานเหล่านี้มีที่ประทับตราท าเป็นรูปผู้ชายที่ศีรษะมีเขาสัตว์ และมีสัตว์อยู่ล้อมรอบ สืบพงศ์ ธรรมชาติ และ ชัยวัฒน์ สีแก้ว (2562) ได้กล่าวว่า ศิวลึงค์เป็นรูป เคารพแทนองค์พระศิวะ ท าเป็นรูปอวัยวะเพศชายถือเป็นสัญลักษณ์พระศิวะที่พราหมณ์ลัทธิไศว นิกายนับถือในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชตอนเหนือ (อ าเภอสิชล อ าเภอขนอม) ได้พบศิวลึงค์ซึ่งท า ด้วยหินเป็นจ านวนมาก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นชุมชนพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายที่ นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเจ้าอยู่มาก ศิวลึงค์องค์ที่โดดเด่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ ศิวลึงค์ทองค าขนาดเล็กซึ่งพบที่ถ้ าเขาพลีเมืองต าบลสิชล อ าเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช อายุประมาณ 1360 ปีปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราชตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2557 เป็นต้นมา ความเชื่อเรื่องศิวลึงค์เป็นความเชื่อของชาวอินเดียใต้ที่นับถือพระศิวะเป็น เจ้า ชื่อพระศิวะ ที่ผูกพันกับสิ่งแวดล้อมและสัมพันธ์กับพระองค์ เช่นกับภูเขา และกับความตาย ดังนั้น จึงมีชื่อที่ผูกอยู่กับสิ่งนั้น เช่น ศิวาลัย (ที่อยู่ของพระศิวะ) ศีรษะ (ผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขา) ภูเตศวร (พระผู้
20 เป็นใหญ่แห่งความตาย) เป็นต้น มีนิทานบอกเล่าสาเหตุของการนับถือศิวลึงค์ว่าเช้าวันหนึ่งเทวดา ทั้งหลายพร้อมที่จะขึ้นไปเฝ้าพระศิวะแล้ว แต่พระศิวะยังนอนแก้ผ้าอยู่กับพระอุมา จนรู้สึกแปลกใจ ว่าท าไมไม่มีใครมา พอมองไปรอบ ๆ ต้องตกพระทัยอย่างยิ่งที่ได้เห็นเทวดาทั้งหลายทอดพระเนตร พ ร ะ อง ค์ อ ยู่ ด้ ว ย ค ว า ม ล ะ อ า ย พ ร ะ ทั ย พ ร ะ ศิ ว ะ จึง ต รั ส ขึ้ น ด้ ว ย ค ว า ม เ ดื อ ด ด า ล ว่ า “ต่อนี้สืบไปเบื้องหน้าให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจงนับถือลึงค์ของข้าแทนข้า” ตั้งแต่นั้นเทวดาและ มนุษย์ก็นับถือศิวลึงค์หรืออวัยวะเพศชายของพระศิวะแทนองค์พระศิวะ 2.4.2 ด้านอ านาจ นงคราญ สุขสม (2560) ได้กล่าวว่า กล่าวถึงการอุบัติขึ้นของลึงค์เพื่อเป็น เสาหลักแห่งจักรวาล (Pillar of Cosmic) แสดงถึงพลังอ านาจอันยิ่งใหญ่ที่สุดของพระศิวะที่เหนือกว่า พระพรหม และพระวิษณุด้วยการปรากฏเป็นรูปลึงค์ การสร้างรูปเคารพของพระศิวะจึงมักสร้าง เป็นศิวลึงค์มากกว่าพระศิวะในรูปบุคคล ศิวลึงค์มีทั้งแบบเสมือนจริง และแบบประเพณีนิยมซึ่ง แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่เป็นสี่เหลี่ยมเรียกว่า พรหมภาค ส่วนแปดเหลี่ยมเรียกว่า วิษณุภาค และส่วน บนสุดเป็นรูปทรงกระบอก หัวกลม เรียกว่า รุทรภาคหรือบูชาภาค ซึ่งหมายถึงพระศิวะ บางครั้งศิว ลึงค์ก็มีหน้าพระศิวะโผล่ออกมาบริเวณรุทรภาค เรียกว่า “มุขลึงค์” ในการบูชาศิวลึงค์จะจัดวางอยู่บน ฐานโยนี (Yoni) ซึ่งหมายถึงอวัยวะเพศหญิงแทนความหมายของพระอุมาเทวี พระชายาของพระศิวะ ที่ฐานโยนีจะมีรางน้ าส าหรับรองรับน้ าสรงศิวลึงค์ในการประกอบพิธีกรรม สมมาตร์ ผลเกิด (2561) ได้กล่าวว่า โยคีในประเทศอินเดียนั้นเป็นสาวก ของพระศิวะที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในเทพองค์นี้อย่างสูงยิ่งและโยคีเหล่านี้เชื่อว่าครั้งหนึ่งพระศิวะ เคยบ าเพ็ญพรตเป็นฤๅษีและเชื่อว่าศิวลึงค์นั้นเกิดจาก อ านาจของพระศิวะ ผู้ใดมีศิวลึงค์หรือเคารพ บูชาศิวลึงค์อยู่เป็นประจ าพระองค์จะทรงคุ้มครอง ป้องกันภยันตรายทั้งปวงและจะดลบันดาล ให้มีโชค ลาภวาสนาแก่ผู้นั้นตลอดไป ศิวลึงค์มีอ านาจที่จะบันดาลทุกสิ่งอย่างนานัปการให้แก่ผู้บูชา และมีพลังเหนือธรรมชาติ ศิวลึงค์หรือ ศิวลิงคัม ที่เกิดเองตามธรรมชาตินั้น โยคีแต่โบราณกล่าวว่า มันเกิดจากอ านาจของพระเป็นเจ้าบันดาล ผู้ได้มีไว้ย่อมถือว่าเป็นบุญลาภวาสนาของผู้นั้น อ านาจของศิวลึงค์หรือลิงคัมตามธรรมชาติมีอ านาจนานัปประการ มีพลังเหนือธรรมชาติ ตามต านานในเรื่อง รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เล่าไว้ตอนหนึ่งว่า อสูรชื่อ ตรีบุร า เที่ยวเกะกะระรานชาวบ้าน จนเดือดร้อนไปทั้งสามโลก พระเป็นเจ้ามีบัญชาให้พระนารายณ์ ก าจัดเสีย แต่พระนารายณ์ก็ไม่สามารถท าอันตรายใด ๆ ได้ เพราะอสูรตรีบุร าทูลศิวลึงค์ไว้เหนือศีรษะ ของตน พระนารายณ์จึงใช้กลลวงไปชิงเอาศิวลึงค์มาจากอสูรเสียก่อน จากนั้นจึงสังหารได้อ านาจ ของศิวลึงค์ตามกล่าวมานี้ ย่อมมีอ านาจในการพิทักษ์รักษาชีวิต มิให้ต้องด้วยสรรพาวุธทั้งหลายและ ปราศจากอันตรายทั้งปวง ศิวลึงค์จึงเป็นเครื่องหมายแห่งอ านาจและความส าเร็จในหลากหลาย
21 หน่วยงานและหลากหลายธุรกิจ มีการน าเอาสัญลักษณ์ศิวลึงค์มาเป็นสัญลักษณ์ทางการค้า หรือตรา แห่งเกียรติยศ อ านาจของศิวลึงค์ที่ถูกซ่อนไว้นี้แสดงถึงความเชื่อของนักบริหารธุรกิจ ที่เชื่อว่าศิวลึงค์ จะสามารถสร้างความเจริญให้แก่องค์กรของตนได้ หรือเชื่อในอ านาจของศิวลึงค์ที่จะปกป้องคุ้มครอง และท าให้หน่วยงานของตนเป็นที่เกรงขาม มีอ านาจเหนือหน่วยงานอื่นและบุคคลทั้งหลายโดยทั่วไป มีอ านาจเหนือกว่าคู่แข่งทางธุรกิจของตน และน ามาซึ่งผลก าไรอันมหาศาล น ามาซึ่งความส าเร็จอย่าง สูงสุดของธุรกิจการงาน เนื่องจากการบูชาศิวะลึงค์นั้น ส าหรับผู้นับถือศาสนาฮินดูย่อมเชื่อว่า เป็นการ บูชาพระศิวะพระเป็นเจ้าของพวกเขา ดังนั้นการได้กราบไหว้ศิวลึงค์นั้น เขาเชื่อว่าเป็นการได้บุญอย่าง ยิ่ง ในขณะเดียวกันเชื่อว่า อ านาจจากพระศิวะสามารถต่ออายุผู้ที่ใกล้สิ้นใจ สามารถรักษาอาการไข้ที่ เป็นมานาน สามารถบันดาลให้พ้นจากความยากจน ทั้งสามารถป้องกันภูติผีปีศาจ ไสยศาสตร์มนต์ด า ทุกชนิดและแม้เมื่อสิ้นใจไปแล้วก็ย่อมไปอยู่กับพระศิวะ ย่อมไม่ตกลงสู่อบายภูมิ การบูชาศิวลึงค์ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า แค่แตะศิวลึงค์บาปทั้งหลายจะถูกถ่าย ถอน การตั้งไว้ในบ้านหรือที่ท างานจะน าความมั่งคั่งและสุขสมบูรณ์แก่ผู้บูชาไม่ขาด ซึ่งอาหาร เสื้อผ้า หรือ เงินทอง น าความสงบสุขแก่ผู้บูชา จะเพิ่มพูนปัญญาบารมี ท าให้มีความจดจ าได้ดีส าหรับ การศึกษา ผู้ถูกคุณไสยจะขับไล่มนต์ด าได้ ทางศาสนาฮินดูได้จ าแนกความส าคัญและวัตถุประสงค์ของ การบูชาศิวลึงค์ที่จะได้รับ ดังนี้ 1. ศิวลึงค์สร้างจากดินปากแม่น้ าจะท าให้มีทรัพย์และที่ดินมากมาย 2. ศิวลึงค์ที่สร้างจากหินสีด าให้ผลทางการเจริญภาวนา 3. ศิวลึงค์ที่สร้างจากปรอท ในทางพิธีกรรมหรือพระเวท มักให้พรอย่าง ล้ าลึก เหมาะกับเทวสถานหรือผู้ปรารถนาความคุ้มครองจากพระศิวะ 4. ศิวลึงค์ที่สร้างจากทองค า ให้ผลด้านความร่ ารวย ในเรื่องรามเกียรติ์ ทศกัณฐ์เป็นผู้บูชาพระศิวะด้วยศิวลึงค์ทองค าจนพระศิวะโปรดปราน และให้พรอันมหาศาลให้เป็น เจ้ากรุงลงกาและเป็นผู้ที่ไม่ตาย 5. ศิวลึงค์ที่ท าจากมูลโค ให้ผลกับผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยจะหายจากโรคร้าย 2.4.3 ด้านความเชื่อ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ (2560) กล่าวว่า การนับถือเครื่องเพศ และใช้เป็น สัญลักษณ์ในแง่ของการให้ก าเนิด ความอุดมสมบูรณ์ หรือเรื่องของก าเนิดโลก และจักรวาล จึงเป็นสิ่ง ที่พบเห็นได้เป็นสากลในหลากหลายวัฒนธรรมทีเดียว อุษาคเนย์เองก็เป็นหนึ่งในนั้น เราใช้เครื่องเพศ ชายเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร หรือเงินทอง ความเชื่อท านองนี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน เราจึงยังเห็นพ่อค้าแม่ขายน าปลัดขิกตีใส่ส้มต า เสื้อผ้า หรือ สินค้าอื่น ๆ พร้อมค าว่า เฮง ๆ ด้วยหวังจะอุดมสมบูรณ์ด้วยเงินทอง การเข้ามาของศิวลึงค์พร้อม ๆ กับศาสนาพราหมณ์จึงอาจจะไม่ใช่ของแปลกใหม่นัก นอกจากปกรณัมที่ต่างกันออกไปเท่านั้น
22 แต่เทพปกรณ์เกี่ยวกับศิวลึงค์ก็ไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อ แต่ดั้งเดิมได้ทั้งหมด แน่นอนว่า “ลึงค์” ตามธรรมชาติ คือหินที่ตั้งโดดขึ้นมาเป็นทรงคล้ายเครื่องเพศชายของดั้งเดิมที่ชาวอุษาคเนย์นับถือมา ก่อนในศาสนาผี ถูกจับบวชพราหมณ์กลายเป็น “ศิวลึงค์” เสียหลายแห่ง วัดภูในลาว ปราสาท ตาเมือนธม ที่สุรินทร์ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการปักปันเขตแดน นั่นก็ใช่ แต่ความเชื่อเรื่องศิวลึงค์ก็ไม่ สามารถสวมทับความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องเพศชาย ที่เหลือค าให้เราใช้ในปัจจุบันว่า ปลัดขิก ได้ทั้งหมด ปลัดขิก จึงเป็นร่องรอยความเชื่อพื้นเมืองอุษาคเนย์ ที่เหลือรอดจากการถูกจับบวชเข้าไปทั้งในศาสนา พุทธและศาสนาพราหมณ์ สมมาตร์ ผลเกิด (2561) กล่าวว่า ชาวฮินดูแท้จะหลอมรวมศรัทธามุ่งเน้นไปที่องค์ ศิวะมหาเทพมากว่าองค์ประกอบอย่างอื่น แต่ในประเทศไทยเรานั้นแม้ว่าจะมีการนับถือปลัดขิก ซึ่งมี รากฐานมาจากศิวลึงค์ อันเป็น ตัวแทนของพระศิวะ แต่การนับถือปลัดขิกนั้นมิได้มุ่งหวังว่าจะได้รับ ความคุ้มครองหรือความมีโชค ลาภจากการบันดาลขององค์พระศิวะ แต่จะให้ความส าคัญไปที่ตัว เกจิอาจารย์ที่ท าการปลุกเสก พฤติกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเชื่อในแต่ละท้องถิ่นที่ แตกต่างกัน เพราะใน ประเทศไทยศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถูกหล่อหลอมรวมเข้ากับพระพุทธศาสนา ดังนั้นเครื่องรางของ ขลังจากพราหมณ์-ฮินดูแทนที่จะสื่อไปถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า ต้นสังกัดแท้ๆ กลับ ถูกโอนไปที่ เกจิอาจารย์แทน ในวัฒนธรรมฮินดูการกราบไหว้บูชาศิวลึงค์เป็นเรื่องปกติที่กระท าสืบต่อ กันมานาน นับพันปีแล้ว เพราะถือว่าศิวลึงค์เป็นตัวแทนของพระศิวะ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สามารถ บันดาลโชคลาภ ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เลื่อมใสศรัทธา มีดวงตาจ านวนมหาศาลมากกว่า 1,000 ตา ที่ล้อมรอบ องค์ศิวลึงค์ เพื่อสอดส่องคุ้มครองศาสนิกชนได้เด่นชัดทุกทิศทางอย่างไม่คลาดสายตา ชาวฮินดูมีความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงส์ของการบูชาศิวลึงค์มีผลมากมาย เช่น การบูชาศิวลึงค์ที่ท าจากทองค าจะท าให้มีฐานะมั่งคั่ง ร่ ารวย ถ้าบูชาศิวลึงค์ด้วยข้าวสุกหรือข้าวสาร จะท าให้มีอาหารสมบูรณ์ ถ้าบูชาศิวลึงค์ด้วยดินจาริมแม่น้ าจะท าให้เป็นราชาที่ดิน ถ้าบูชาศิวลึงค์ด้วย มูลโคจะไร้โรคภัยไข้เจ็บ ถ้าบูชาศิวลึงค์ด้วยเนยเหลวจะไร้โรคภัย รื่นเริงมีแต่ความสุข ถ้าบูชาศิวลึงค์ ด้วยดอกไม้จันทน์ จะมีผิวพรรณงดงาม ถ้าบูชาศิวลึงค์ด้วยดอกไม้จะไร้โรคภัยอายุยืน เป็นต้น พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์ (2564) กล่าวว่า วัตถุเคารพนี้คือ สัญลักษณ์ที่ส าคัญ อย่างหนึ่งของพระศิวะหรืออิศวรซึ่งเป็นเทพเคารพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ศิวลึงค์หรืออวัยวะเพศ ชายนี้ คือ ต้นก าเนิดของชีวิตและความอุดมสมบูรณ์ ชีวิตทุกชีวิตในโลกด ารงอยู่ได้เนื่องมาจากผลของ การร่วมกันระหว่างสาระส าคัญของเพศชายและหญิงอนึ่งอ านาจในกาสร้างสรรค์และสืบต่อของ อวัยวะเพศนี้ เป็นปัจจัยส าคัญที่มีต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผ่นดิน และพืชพันธุ์ธัญญาหารในโลก อีกด้วย ลัทธิบูชาศิวลึงค์นี้เกิดขึ้นในอินเดียเมื่อ 5,000 ปีมาแล้ว หรือ 3,500 ปีก่อน คริสต์ศักราช เกิดขึ้นครั้งแรกที่บริเวณลุ่มแม่น้ าสินธุในแคว้นปัญจาบของอินเดียจากหลักฐานทาง
23 โบราณคดีที่พบในบริเวณเมืองโบราณโมเฮนโจดาโร และฮารัปปา ในแคว้นปัญจาบตะวันตก และทาง เหนือของเมืองการจี เมื่อ ค.ศ. 1922 และ 1924 (พ.ศ. 2465 และ 2467) ได้พิสูจน์เรื่องราวเกี่ยวกับ ลัทธิความเชื่อถือของคนในสมัยนั้น หลักฐานเหล่านี้มีที่ประทับตราท าเป็นรูปผู้ชายที่ศีรษะมีเขาสัตว์ และมีสัตว์อยู่ล้อมรอบ พิธีกรรมบูชาศิวลึงค์ในอินเดีย เป็นไปในรูปของการบูชาประจ าวันบ้าง หรือ บูชาในกรณีวันส าคัญเทศกาลนักขัตฤกษ์ทางศาสนาเช่น เทศกาลมหาศิวาราตรี ในเทศกาลนี้ชาว อินเดียจะท าพิธีกันใหญ่โตเอิกเกริก ส่วนพิธีกรรมบูชาศิวลึงค์โบราณของอินเดียอื่น ๆ ก็มีพิธีหนึ่งชื่อ Saturnalia หรือพิธีพืชมงคลเขาท ากันเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินที่ใช้ในการเพาะปลูก พิธีนี้ เริ่มต้นด้วยการบูชาศิวลึงค์เพื่อความเป็นศิริมงคล และโชคดีนั่นเอง “ศิวลึงค์” หรือ “ลิงคะ” หรือ “ลิงคัม” ในภาษาสันสกฤต เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของ “พระศิวะ” ตามคติความเชื่อของผู้นับถือ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ไศวะนิกายที่เป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพองค์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดา มหาเทพทั้งสาม หรือ “ตรีมูรติ” ซึ่งประกอบด้วย พระศิวะ พระพรหม และพระนารายณ์ ซึ่งต่อมา “ศิวลึงค์” ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ การบูชาก็คือ เอาน้ าหรือน้ านม ราดรด ส่วนบนของหินทรงกระบอกให้น้ าไหลไปสู่ที่ฐานหินกลม ซึ่งมีร่องน้ าอยู่น้ าจะไหลลงเบื้องล่าง และเอาข้าวตอกใบมะตูม ดอกไม้ ขนม โปรยลงบนหินแท่ง พลางก้มลงกราบ หรือเอาศีรษะโขกหิน เป็นการแสดงคารวะสูงสุด อีกพิธีหนึ่งของอินเดีย บูชาศิวลึงค์เช่นกัน เรียกว่าพิธี Kartikai เขาท ากันใน โบสถ์บนยอดเขาในเมือง Arunachala ซึ่งโบสถ์นี้สร้างขึ้นเพื่อร าลึกถึงเหตุการณ์การเกิดขึ้นของพระ ศิวะในรูปของอวัยวะเพศชายเป็นครั้งแรกพิธีนี้ท ากันทุกปีระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายน หรือต้น เดือนธันวาคม 2.4.4 ด้านการเกษตร ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ (2560) กล่าวว่า ก่อนที่เราจะยอมรับนับถือเอา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ที่เข้ามาในอุษาคเนย์พร้อมๆ กับพระพุทธศาสนา) ในช่วงราว พ.ศ. 1000 เป็นต้นมา เราก็มีการนับถือบูชาเครื่องเพศชาย ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือของขลัง มาก่อนอยู่แล้ว ไม่ ต่างอะไรกับอีกหลาย ๆ สังคมวัฒนธรรมทั่วทั้งโลก ในลัทธิความเชื่อ หรือศาสนาแบบดั้งเดิมของวัฒนธรรมทั้งหลาย มักให้ ความส าคัญกับเครื่องเพศ ทั้งชายและหญิง ในฐานะสัญลักษณ์ของการก่อก าเนิด และความอุดม สมบูรณ์ โดยเฉพาะ ในสังคมเกษตรกรรมฉากของท้องฟ้าที่มีฝนตกพร าลงบนท้องทุ่งเขียวขจี ไม่ว่า พืชผลที่อยู่ในท้องทุ่งนั้นจะเป็น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ หรือพืชพันธุ์ ธัญญาหารชนิดไหน ย่อมท าให้เจ้าของท้องทุ่งยิ้มกริ่มมากกว่าจะร้องไห้ เพราะนั่นท าให้สามารถ คาดหวังได้ถึงผลผลิตที่จะผลิดอกออกผลตามมาในสังคมที่รู้จักการเกษตรกรรมแล้ว จึงมักจะสร้าง บุคลาธิษฐานของ “ท้องฟ้า” ในรูปของ “ผู้ชาย” ที่หลั่ง “ฝน” คือ “เชื้อแห่งชีวิต” ลงมายังพื้น
24 “แผ่นดิน” ที่มักแสดงแทนด้วยรูป “ผู้หญิง” เชื้อแห่งชีวิตเมื่อตกต้องสู่พื้นดินย่อมก่อก าเนิดให้มี “ชีวิต” คือ “ผลผลิต” เหมือนการสังวาสกันของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เครื่องเพศ ทั้งชายและหญิงจึงเป็น สัญลักษณ์ของการก่อก าเนิด และความอุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่เรื่องอุจาดหยาบคายตามอย่างความคิดใน สมัยหลัง แต่ในบรรดาศาสนาสากลยุคใหม่ (เช่น พุทธ คริสต์ อิสลาม เป็นต้น) มีเพียงศาสนาพราหมณ์ เท่านั้น ที่ประสบผลส าเร็จในการน าเอารูปเครื่องเพศในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ตามอย่างลัทธิศาสนา ดั้งเดิม เข้ามาผนวกเข้ากับระบบสัญลักษณ์ในศาสนายุคใหม่ของตนเอง ซ้ ายังไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์ ชั้นรอง แต่กลับพัฒนาเข้ามาเป็นสัญลักษณ์ส าคัญของศาสนา ด้วยการผนวกเข้าเป็นตัวแทนขององค์ พระอิศวร (หรือที่เรียกอีกอย่างว่า พระศิวะ) ที่เรียกว่า “ศิวลึงค์” การผนวกเครื่องเพศชาย เข้าเป็นสัญลักษณ์ของพระอิศวรมีทั้งการพรรณนาคุณลักษณะของพระองค์ให้มี “เครื่องเพศที่ตั้งตรง อยู่เสมอ” ที่มีศัพท์เรียกเป็นการเฉพาะว่า “อูรธวลึงค์” MGR online รายงานว่า วันที่10 มิถุนายน พ.ศ.2564 นายช านาญ แก่น ทองแดง ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ต.โยธะกา อ.บางน้ าเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เผยถึงการจัดท าศิวลึงค์ขอฝนที่ ชาวบ้านในพื้นที่ ม.2 ม.6 และ ม.9 ใน ต.โยธะกา ได้ช่วยกันปั้นและน าไปตั้งไว้กลางถนนบริเวณประตู ระบายน้ าคลอง 20 ขวางกั้นคลองบางไทร ซึ่งเป็นทางตัน และไม่มีรถสัญจร ว่าเป็นไปตามความเชื่อ ของชาวบ้านในพื้นที่ที่กระท าสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน โดยเชื่อว่าหากน าดินเหนียวแดงมาปั้น ปลัดขิก หรือศิวลึงค์ เพื่อขอฝนจะท าให้มีฝนตก และถือเป็นประเพณีที่กระท าสืบต่อกันมาเป็นประจ า แต่จะเน้นหนักไปในปีที่มีฝนน้อย หรือฝนไม่ตกตรงตามฤดูกาลจนเกิดปัญหาภัยแล้งเพราะชาวบ้าน ต้องการน้ าท านา ขณะที่ศิวลึงค์ที่ปั้นในครั้งนี้มีขนาดฐานกว้าง 1.75 เมตร สูง 1.93 เมตร และระหว่าง การปั้นชาวบ้านยังได้ร่วมกันประกอบพิธีจุดธูป 16 ดอก เพื่อบูชาเจ้าที่เจ้าทาง และภาวนาร้องขอต่อ เทวดา 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน รวมทั้งขอองค์อินทร์ทั้งหลายช่วยดลบันดาลให้ฝนตกโปรยปรายลงสู่พื้นที่ และหากมีฝนตกลงมาตามที่ขอ ดินเหนียวที่ชาวบ้านน ามาปั้นก็จะถูกน้ าฝนชะละลายลงสู่ผืนดินตาม ธรรมชาติหลังจากที่ชาวบ้านได้ช่วยกันปั้นศิวลึงค์ขอฝน ท าให้เริ่มมีฝนตกโปรยปรายในพื้นที่ตั้งแต่ ช่วงเช้าวานนี้ และยังมีฝนตกหนักลงมาอีกครั้งในช่วงบ่ายจนท าให้ผืนนาในพื้นที่เริ่มมีน้ าขัง จึงยิ่งเพิ่ม ความเชื่อมั่นให้ชาวบ้านในเรื่องดังกล่าว แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละบุคคล โดยชาวบ้านรายหนึ่งบอกว่า ถือเป็นสัญญาณดีตามหลักโบราณที่ว่าหากมีเมฆฝนทับตะวันเกิดขึ้นใน พื้นที่เช่นเดียวกับการที่มีฝนตกหนักเมื่อวานนี้ จะท าให้มีฝนตกลงมาห่าใหญ่สมกับความต้องการของ ชาวบ้าน ที่ส าคัญการร่วมใจปั้นศิวลึงค์ของคนในพื้นที่ยังแสดงออกถึงความสามัคคีกันในชุมชนอีกด้วย การที่พระอิศวรและพระอุมาทรงเกี่ยวข้องกับภูเขา อาจท าให้เกิดกิจพิธี บูชายัญลักษณะเช่นนี้ซึ่งแสดง อยู่ในศิวลึงค์ ดังที่นายมุสกล่าวว่า “กลายมาจากแผ่นหินหยาบ ๆ ที่ใช้ ในกิจพิธีเกี่ยวกับการเพาะปลูก” ศิวลึงค์ หรือองค์ก าเนิดของเพศชายซึ่งเป็นเครื่องหมายของความ อุดมสมบูรณ์นี้ แสดงถึงอ านาจในการสร้างสรรค์ของ พระอิศวร ศิวลึงค์นี้แทรกลงไปในพื้นดินซึ่งแสดง
25 โดยฐานคือโยนี (ได้แก่ ฐานสี่เหลี่ยม) แต่นอกไปจากศิวลึงค์ที่ มนุษย์สร้างขึ้นแล้ว ยังมีศิวลึงค์ ธรรมชาติได้แก่ แท่งหินซึ่งตั้งอยู่เหนือพื้นดินหรือยอดภูเขาศิวลึงค์ธรรมชาติ เหล่านี้แทรกลงไปใน พื้นดินได้เองด้วยอ านาจแห่งการสร้างสรรค์ที่มีอยู่ (กมเลศวร ภัตตตาจารย์, 2516 : 12-13) จากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ศิวลึงค์นั้นถูกสร้างขึ้นมาเนื่องมาจากปัจจัย หลายด้าน อันได้แก่ ปัจจัยด้านศาสนา ด้านอ านาจ ด้านความเชื่อ และด้านเกษตรกรรม ซึ่งปัจจัยในแต่ละด้านนั้นล้วนแล้วแต่มาจากความเชื่อและความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการที่พึ่งและ อยู่รอดในสังคม 3. แผนนโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง 3.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวได้รับการก าหนดเป็นนโยบายส าคัญของรัฐ ในฐานะ แหล่งรายได้ที่น าเงินตราต่างประเทศเข้าไทยเป็นล าดับ 3 รองจากการส่งออกยางและข้าว (ภราเดช พยัฆวิเชียร, 2549: 4) โดยในส่วนของโบราณสถาน มีแนวทางการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติ ศาสตร์ในฐานะชื่อชั้นความส าคัญของสถานที่ที่จะได้การดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ดังกรณีของปราสาท พนมรุ้ง หลังจากได้รับการเสนอเป็นโครงการจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ได้มีการขยาย ขอบเขตการบูรณะส่วนประกอบของปราสาทพนม จากเฉพาะปรางค์ประธานตามแผนงานเดิม ไปยังส่วนประกอบทุกส่วน และมีเป้าหมายในการยกระดับปราสาทพนมรุ้งให้มีชื่อเสียง มีนักท่องเที่ยว จ านวนมากขึ้นมาเที่ยวชม (สมบูรณ์บุณยเวทย์, 2541:76-77) ท าให้มีการริเริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริม การท่องเที่ยวปราสาทพนมรุ้งด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะฝ่ายปกครอง จังหวัด บุรีรัมย์ กิจกรรมดังกล่าวถูกจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2530 ในนาม “ประเพณีขึ้นเขา พนมรุ้ง” ประกอบด้วยกิจกรรมชมอาทิตย์ส่อง 15 ช่องประตูการเดิน-วิ่งขึ้นสู่ปราสาทพนมรุ้งชิงถ้วย รัฐมนตรีประจ าส านักนายกรัฐมนตรี 3.2 แผนย่อยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 5 ประเด็น การท่องเที่ยว (พ.ศ. 2561-2580) การสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรม ผนวกกับจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่ตอบสนองพฤติกรรมความ ต้องการนักท่องเที่ยว และสร้างทางเลือกของประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว
26 แนวทางการพัฒนา 1. สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการบนฐานของทุนทาง วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ได้แก่ แหล่งอุทยานประวัติศาสตร์ เมืองมรดกโลกโบราณสถาน เมืองเก่า ย่านการค้า วิถีชีวิตลุ่มน้ า สินค้าชุมชน อาหารไทย และแพทย์ แผนไทย เพื่อน ามาสร้างสรรค์คุณค่าและมูลค่าผ่านองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการ ออกแบบเพื่อสร้างสรรค์เป็นสินค้า รวมถึงการพัฒนากิจกรรมและบริการรูปแบบใหม่ ๆ ให้กับ นักท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยววิถีพุทธ การท่องเที่ยวกลุ่มมุสลิม เป็นต้น 2. พัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อน ามา พัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ การส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และ การออกแบบ การสร้างนวัตกรรม การส่งเสริมการลงทุน การสร้างเครือข่ายวิสาหกิจการท่องเที่ยว การสื่อสารและการคมนาคม การพัฒนาระบบฐานข้อมูล การส่งเสริมการตลาด และการสร้างเรื่องราว เพื่อบอกเล่านักท่องเที่ยว เป็นต้น 3. เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว เพื่อให้มีทักษะและองค์ความรู้ในธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยว ทั้งด้านการ ออกแบบ การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยี การบริหารจัดการธุรกิจและการตลาด เพื่อสร้างความแตกต่าง และความโดดเด่นของสินค้าและบริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดท่องเที่ยว 3.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560- 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความสมดุลให้กับการท่องเที่ยวไทย ผ่านการตลาดเฉพาะ กลุ่ม การส่งเสริมวิถีไทยและการสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว 1. เสริมสร้างภาพลักษณ์คุณภาพและความปลอดภัยให้กับประเทศไทย โดยการพัฒนาภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มุ่งเน้นการสื่อสารคุณค่าและภาพลักษณ์ ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม (Preferred Destination) ที่มีคุณภาพสูงต่อนักท่องเที่ยว การท าการตลาดเป้าหมาย และสร้างการรับรู้แก่นักท่องเที่ยวผ่านช่องทางต่าง ๆ ด้านมาตรการรักษา ความปลอดภัยและมาตรการป้องกันของประเทศไทย ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย และสิ่งที่ควร กระท าในกรณีฉุกเฉิน เพื่อช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัย รวมถึงการส่งเสริมการบังคับใช้และให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่นักท่องเที่ยวและ สาธารณชน
27 2. ส่งเสริมการตลาดเฉพาะกลุ่มเพื่อดึงดูดการเดินทางท่องเที่ยว และกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่มต่าง ๆ โดยการส่งเสริมการตลาดแบบเฉพาะกลุ่มส าหรับ นักท่องเที่ยวทั่วไป กลุ่มตลาดระดับกลาง-บน (มีรายได้ส่วนบุคคลสูงกว่า 20,000 เหรียญสหรัฐต่อปี) ในพื้นที่ตลาดที่มีศักยภาพและการท าการตลาดแบบเฉพาะกลุ่มส าหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจ พิเศษ เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมและนิเวศ 3. ส่งเสริมเอกลักษณ์ของประเทศไทยและของแต่ละท้องถิ่น ด้วยการ สื่อสารเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้เป็นที่เข้าใจในเวทีโลก อาทิ การสร้างคุณค่าความเป็นไทยในสินค้า และบริการต่าง ๆ ผ่านสัญลักษณ์ “Thainess” บนสินค้าและบริการที่คงอัตลักษณ์ความเป็นไทย การสื่อสารเอกลักษณ์ความเป็นไทยผ่านสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางสื่อต่าง ๆ เช่น รายการ โทรทัศน์ การจัดแสดง Roadshow เป็นต้น และการส่งเสริมเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคและจังหวัด โดยการพัฒนาแบรนด์และสื่อสาร ความแตกต่างของภาค และจังหวัดต่าง ๆ ในรูปแบบการเล่าเรื่อง (Storytelling) การสื่อสารเรื่องราวอย่างสร้างสรรค์ผ่านช่องทางการตลาดที่เป็นที่นิยมใน กลุ่มเป้าหมาย 4. ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศและการท่องเที่ยวที่สมดุลเชิงพื้นที่ และเวลาโดยการสร้างการรับรู้สินค้า บริการ และแหล่งท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวนอก ฤดูกาล อาทิการจัดกิจกรรม เทศกาล และงานประเพณีประจ าถิ่นในแต่ละเดือน การสร้างความนิยม ของจังหวัดท่องเที่ยวรอง เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขาแพ็กเกจการ ท่องเที่ยวร่วมกับภาคเอกชน เป็นต้น และการส่งเสริม “ไทยเที่ยวไทย” ได้แก่ การสร้างค่านิยมการ เดินทางท่องเที่ยวในประเทศให้แก่คนไทยทุกคนในทุกเพศทุกวัย การส่งเสริมการตลาดแบบมี เป้าหมายเฉพาะ เช่นกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มสุภาพสตรี รวมถึงการสนับสนุน มาตรการทางการเงินเพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายช่วงการท่องเที่ยว อาทิ มาตรการการลดหย่อนทางภาษี 5. ส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและการใช้เทคโนโลยีในการ ท าการตลาด ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนในการท าการตลาด ได้แก่ การร่วมมือกับ ชุมชนในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ให้สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนและ สอดคล้องแบรนด์จังหวัด การส่งเสริมการตลาดร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการตลาด เช่น การสนับสนุนการพัฒนาและต่อยอดแอปพลิเคชันที่ ส่งเสริมการท าการตลาด เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานที่รับผิดชอบการตลาดดิจิทัล ทั้งในด้านการดูแล บริหาร และวิเคราะห์สถิติ ข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวไทย กล่าวโดยสรุป ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาภาคการท่องเที่ยวของไทยมีการขยายตัว อย่างต่อเนื่อง ทั้งในมิติของจ านวนนักท่องเที่ยว รายได้จากการท่องเที่ยว การจัดอันดับความนิยม และมูลค่าทางเศรษฐกิจจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ด้วยไทยมีจุดแข็งหลายประการ อาทิ
28 ท าเลที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความหลากหลายของทรัพยากร ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เช่นเดียวกันกับจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีความโดดเด่นใน แง่ของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ผู้มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับการสนับสนุนการท่องเที่ยว ย่อมมีการระดมทุนทางทุนทรัพย์ และความคิด เพื่อพัฒนาสถานท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมนี้ ให้เป็น ที่สนใจ และกลายเป็นที่นิยม ส่งผลดีต่อรัฐวิสาหกิจขนาดย่อม ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชนได้ในระยะยาว 4. บริบทพื้นที่วิจัย และเรื่องที่วิจัย ไปด้วยกันท่องเที่ยว รวมทุกเรื่องราวเที่ยว (2561) กล่าวว่า อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ในเขตอ าเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ ประมาณ 77 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้งยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร จากพื้นราบ ค าว่า พนมรุ้ง มาจากภาษาเขมร ค าว่า วน รุง แปลว่า ภูเขาใหญ่ สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทย ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ส าคัญและถือเป็นสัญลักษณ์ที่ส าคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับ ของพระศิวะ พระองค์ที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส ดังนั้นการที่ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นบนยอดเขา พนมรุ้ง จึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือ ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดี เขาพนมรุ้งจึง เปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ องค์ประกอบและแผนผังของ ปราสาทพนมรุ้งได้รับ การออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความส าคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาท ประธาน ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกด้านขวาของบันได ทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกัน ในปัจจุบันว่าพลับพลาเปลื้องเครื่องซึ่งเป็นที่พัก จัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบ พิธีกรรมใน บริเวณศาสนสถาน ปราสาทประธานประกอบด้วยตัวปราสาทประธานซึ่งตั้งอยู่ตรงศูนย์กลาง ของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือ ห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธาน ตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุนก่อด้วยหินทรายสีชมพู มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อ ด้านหน้าท าเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธาน นี้เชื่อว่าสร้างโดย นเรนทราทิตย์ซึ่งเป็นผู้น าปกครอง ชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ภายใน เรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่ส าคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ซึ่งแทนองค์พระศิวะ เป็นที่น่าเสียดายว่าประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ ท่อโสมสูตร คือร่องน้ ามนต์ที่ใช้รับน้ าสรงจากการสักการะศิวลึงค์เท่านั้น ทางเดินด้าน
29 ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธานมีปราสาทอิฐสององค์และ ปรางค์น้อย จากหลักฐานทาง ด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่าปราสาททั้งสามหลังได้ สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานราวพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16 ตามล าดับ ส่วนทางด้านหน้าของ ปราสาทประธาน คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารสองหลังก่อด้วย ศิลาแลง เรียกว่า บรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐ ซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ ประธาน และที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกันกับพลับพลาที่สร้าง ด้วยศิลาแลงข้างทางเดิน ที่เรียกว่า รงช้างเผือก สันติ ภัยหลบลี้ (2564) ปราสาทพนมรุ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งในแลนด์มาร์คทางศาสนาที่ส าคัญ ของอาณาจักรอังกอร์ (Angkor) บนพื้นแผ่นดินประเทศไทยในทางภูมิศาสตร์ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่ ต าบลตาเป็ก อ าเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตัวปราสาทตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็น ภูเขา ลูกโดดมีความสูงประมาณ 250 เมตร จากพื้นที่โดยรอบ ในทางธรณีวิทยา เขาพนมรุ้งเกิดจาก การประทุของภูเขาไฟใน ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) ซึ่งด้วยความเป็นภูเขาไฟยุคใหม่ (ในทางธรณีวิทยา หรือธรณีกาล) ภูเขาไฟพนมรุ้งจึงยังหลงเหลือสภาพของ ปากปล่องภูเขาไฟ (crater) ให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันก็ใช้เป็นอ่างกักเก็บน้ าส าหรับของชุมชนในละแวกนั้น โดยมีตัว ปราสาทหินพนมรุ้งที่ตั้งอยู่ตรงขอบของปากปล่องภูเขาไฟ ปัจจุบันเส้นทางการเดินทางเพื่อที่จะขึ้น ไปสู่เขาพนมรุ้ง สามารถขึ้นได้ 2 เส้นทาง โดยยานพาหนะ ได้แก่ 1. เส้นทางขึ้นทางฝั่งตะวันตกเฉียง เหนือของภูเขา จากต าบลตาเป๊ก อ าเภอเฉลิมพระเกียรติ และ 2. เส้นทางขึ้นทางทิศตะวันออก จากต าบลจรเข้มาก อ าเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งในแนวเส้นทางหลัง คือ ขึ้นทางสระน้ า ขนาดใหญ่ ทางตะวันออกของเชิงเขา หรือในทางโบราณคดี เรียกว่า บาราย โดยลักษณะของเส้นทาง การขึ้นของทั้งสองฝั่งในปัจจุบัน คือ เป็นถนนลาดยางที่คดโค้งไปมา เพื่อสอดรับกับการขับขี่ ยานพาหนะอย่างรถยนต์และจักรยานยนต์ อย่างไรก็ตามในอดีตการขึ้นเขาพนมรุ้งคงไม่ได้ใช้ ยานพาหนะอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน คาดว่าน่าจะเป็นการเดินเท้าเพื่อขึ้นไปบนเขา โดยสรุปแล้ว ปราสาทหินพนมรุ้งตั้งอยู่ในอ าเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภูเขา ลูกโดด มีความสูงประมาณ 250 เมตร เขาพนมรุ้งเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ ซึ่งเป็นภูเขาไฟยุคใหม่ หรือธรณีกาล ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ าส าหรับ ชุมชน โดยในอดีตสามารถขึ้นเขาพนมรุ้งได้ สองเส้นทาง ได้แก่เส้นทางทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขา และเส้นทางทิศตะวันออก ของภูเขา โดยการเดินทางสัญจรโดยการเดินเท้า องค์ประกอบที่ส าคัญรอบตัวปราสาท คือ ปราสาทประธาน พลับพลา ห้องครรภคฤหะ และศิวลึงค์ส าหรับท าพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู
30 5. กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 5.1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5.1.1 ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ การอธิบายความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์นั้น พบว่ามีนัก ประวัติศาสตร์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กล่าวถึงความหมายของ วิธีการทางประวัติศาสตร์ไว้ดังนี้ Gottschalk (1964 อ้างถึงในชัยรัตน์ โตศิลา, 2555) ได้ให้ความหมายของ วิธีการทางประวัติศาสตร์ไว้ว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นขบวนการตรวจสอบอย่างวิเคราะห์ วิพากษ์ในหลักฐาน การบันทึกและสิ่งที่หลงเหลือมาจากอดีต แต่เมื่อมีการรวบรวมหลักฐาน คัดสรร โดยอาศัยจินตนาการเกี่ยวกับอดีตและน ามาประกอบเป็นรูปร่างของอดีตขึ้นมาใหม่จากเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ที่น ามาศึกษานั้น แล้วอดีต จะถูกบันทึกเป็นการเรียนประวัติศาสตร์ วินัย พงศ์ศรีเพียร (2543 อ้างถึงในชัยรัตน์ โตศิลา, 2555) ได้ให้ความหมาย ของวิธีการทางประวัติศาสตร์ไว้ว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง วิธีวิจัยเอกสารและหลักฐาน ประกอบอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ ข้อมูลที่ รวบรวมมาอย่างเป็นระบบการตั้งข้อสมมติฐานเชิงวิทยาศาสตร์และการตีความหลักฐานด้วยภววิสัย ราชบัณฑิตยสถาน (2551 อ้างถึงในชัยรัตน์โตศิลา, 2555) อธิบายว่า ประวัติศาสตร์ หมายถึง การด าเนินการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โดยเน้นที่ กระบวนการสืบสอบ สืบค้นหาข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วแปลความ ตีความข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์วิจารณ์ ส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2551 อ้างถึงในชัยรัตน์โตศิลา, 2555) อธิบายว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการแสวงหาข้อเท็จจริงทาง ประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดจากวิธีวิจัยเอกสารและหลักฐานประกอบอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ ทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลและการวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ จากการศึกษาการให้ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังที่กล่าวไปข้างต้น คณะผู้วิจัยสามารถสรุปได้ ว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง การรวบรวม พิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจาก หลักฐานแล้วน ามาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์ส าคัญ ที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใด จึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้น ได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่ส าคัญของ การศึกษาประวัติศาสตร์
31 5.1.2 ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์นั้น พบว่ามีนักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กล่าวถึงขั้นตอนของวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ไว้ดังนี้ นาฏวิภา ชลิตานนท์ (2524) กล่าวว่าวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการ ได้มาของข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ 1. การสะสมข้อมูล 2. การคัดเลือกข้อมูล 3. ประเมินความส าคัญของข้อมูล 4. แจกแจงข้อเท็จจริงที่ได้มาจากข้อมูลว่าข้อเท็จจริงเหล่านั้น สัมพันธ์กันอย่างไร 5. การตีความ 6. การเรียบเรียง วีณา เอี่ยมประไพ (2535) ได้เสนอเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ว่ามี ขั้นตอนประกอบไปด้วย ดังนี้ 1. การก าหนดปัญหา คือ การตั้งประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์ เป็นการเปลี่ยนแปลงหัวข้อเรื่องจึงมีการตั้งค าถามเกี่ยวกับ “ใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร และท าไม” 2. การค้นคว้ารวบรวมหลักฐาน คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ ใช้ในการไต่สวนพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต เพื่อแสวงหาความจริงในอดีต ซึ่งประกอบไปด้วยสิ่งที่ มนุษย์สร้างขึ้น เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เอกสาร ค าบอกเล่า เป็นต้น 3. การวิพากษ์หลักฐาน คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมาย ที่แสดงออกในหลักฐานเพื่อประเมินว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นลักษณะของการ วิพากษ์ภายนอก (External Criticism) โดยตรวจสอบว่าหลักฐานนั้นเป็นหลักฐานที่แท้จริง หรือไม่มี ที่มาจากแหล่งใด 4. การวิพากษ์ข้อมูล คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมาย ที่แสดงออกในหลักฐานเพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด จึงเป็นลักษณะของการวิพากษ์ภายใน (Internal Criticism) โดยมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลในตัวหลักฐาน ซึ่งถือว่าเป็นการประเมินหลักฐานที่เป็น ลายลักษณ์อักษรว่าข้อมูลในเอกสารมีความคลาดเคลื่อน หรือมีอคติของผู้บันทึกแฝงมากน้อยเพียงใด 5. การตีความหลักฐาน คือ การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่า ผู้สร้างหลักฐานเจตนาที่แท้จริงอย่างไร ในการตีความนักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมาย
32 จากส านวนโวหารทัศนคติ ความเชื่อของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้น เพื่อให้ทราบว่าความหมายที่ แท้จริงที่แฝงอยู่คืออะไร 6. การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ คือ การสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลที่รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ให้เป็นเรื่องเป็นราวมีความสัมพันธ์ในข้อมูลที่มีความเป็นเหตุ เป็นผล 7. การเรียบเรียง คือ การถ่ายทอดข้อเท็จจริงที่ได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ตามระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ข้างต้นให้ผู้อื่นได้รับรู้ ซึ่งจ าเป็นต้องอาศัยศิลปะและทักษะ ทางด้านภาษาเป็นส าคัญ การน าเสนออาจกระท าโดยการเรียงตามล าดับเวลา กรมวิชาการ (2546) ได้แบ่งวิธีการทางประวัติศาสตร์ออกมาได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การก าหนดเป้าหมายหรือประเด็นค าถามที่ต้องการแสวงหา ค าตอบ (ศึกษาอะไร ช่วงเวลาไหน สมัยใดและเพราะเหตุใด) 2. การค้นหาและรวบรวมหลักฐานประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่ง ได้แก่ วัตถุโบราณร่องรอยถิ่นที่อยู่อาศัยหรือการด าเนิน ชีวิต 3. การวิเคราะห์หลักฐาน (การตรวจสอบหลักฐาน การประเมิน ความน่าเชื่อถือการประเมินคุณค่าของหลักฐาน) และการตีความอย่างเป็นเหตุเป็นผลมีความเป็นกลาง และปราศจากอคติ 4. การสรุปข้อเท็จจริง เพื่อตอบค าถามด้วยการเลือกสรร ข้อเท็จจริงจากหลักฐานอย่างเคร่งครัดโดยไม่ใช่ค่านิยมไปตัดสินพฤติกรรมของคนในอดีตโดยพยายาม เข้าใจความคิดของคนในยุคนั้นหรือน าตัวเข้าไปอยู่ในยุคสมัยที่ตนศึกษา 5. การน าเสนอเรื่องที่ศึกษาและอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผล โดยใช้ภาษา ที่เข้าใจง่ายมีความต่อเนื่องและน่าสนใจตลอดจนมีการอ้างอิงข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้งาน ทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าและมีความหมาย จากการศึกษาขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ตามแนวคิดของนัก ประวัติศาสตร์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้างต้น คณะผู้วิจัยได้อ้างอิง วิธีการทางประวัติศาสตร์ตามแนวคิดของกรมวิชาการดังนี้ 1. การก าหนดเป้าหมายหรือประเด็นค าถามที่ต้องการ 2. การค้นหาและรวบรวมหลักฐานประเภทต่าง ๆ 3. การวิเคราะห์หลักฐาน 4. การสรุปข้อเท็จจริง
33 5. การน าเสนอเรื่องที่ศึกษา 5.2 ทฤษฎีสัญญะวิทยา 5.2.1 ความหมายของสัญญะวิทยา กาญจนา แก้วเทพ (2541 อ้างถึงในกมลพรรณ อาการส, 2560) อธิบายว่า สัญญะ (Sign) หมายถึง สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มี ความหมาย (meaning) แทนของจริงตัวจริง (object) ในตัวบท (text) และในบริบท (context) หนึ่ง ๆ วิชชุ เวชชาชีวะ (2541 อ้างถึงในกมลพรรณ อาการส, 2560) ค าว่า สัญญะ วิทยา (Semiology) มาจากค าภาษากรีก Semeion ซึ่งแปลว่า สัญญะ (Sign) ซึ่งหมายถึงการสร้าง ความหมายจากการตีความผ่านข้อความ รูปภาพ ภาพ เสียง กลิ่น รส การกระท าและวัตถุสิ่งเหล่านั้น สามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์เป็นผู้สร้างและให้ความหมายกับมัน โดยที่สิ่งเหล่านั้นจะเป็นอะไรก็ ได้แต่มีความสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคลกับสิ่งของ เช่น แหวน สิ่งของที่ขายทั่วไปและไม่มีความหมาย จนกว่าแหวนจะสวมที่นิ้วของเจ้าสาวในวันวิวาห์จึงถือก าเนิดขึ้น ส าหรับเจ้าบ่าวและเจ้าสาวแหวน ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งของอีกต่อไป แต่กลายเป็นสิ่งที่มีความหมายไปแล้ว แทนความรักของทั้งสองจะเห็น ได้ว่าแหวนได้เปลี่ยนสถานะเป็นสัญลักษณ์ ลักษณะทางกายภาพยังคงเหมือนเดิม การแสดงออก ทางสีหน้า เช่น นักกีฬา มวยปล้ า การแสดงความเจ็บปวดจากการถูกต่อยด้วยสีหน้า น้ าเสียง และท่าทาง โดยเอามือแตะพื้นท าให้ผู้ชมเข้าใจทันทีว่าท่าทางเหล่านั้นหมายถึงอะไร สัญญะที่เกิดขึ้น จึงเป็นผลมาจากแผนงาน สังคมและวัฒนธรรม ที่ก าหนดให้มีความหมายเหมือนกัน หากน าสัญญะ ไปใช้ในสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกัน ก็จะส่งผลในความหมายที่ต่างกันทันทีที่สังคมและวัฒนธรรม เปลี่ยนไป ความหมายของสัญญะก็จะเปลี่ยนไปด้วย O'Sullivan (1983 อ้างถึงใน วีรภัทร วิไลศิลปดีเลิศ, 2555) ได้จ ากัดความ ไว้ว่าสัญญะวิทยา เป็นการศึกษาในเรื่องของ สัญญะ (Sign) รหัส (Codes) และวัฒนธรรม ซึ่งเกี่ยวกับ การแสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ส าคัญของสัญญะ และการที่สัญญะนั้นถูกน ามาใช้ในสังคม โดยสัญญะนี้ มีลักษณะที่ส าคัญ 3 ประการ คือ จะต้องมีลักษณะทางกายภาพ, จะต้องมีความหมายถึง บางสิ่ง บางอย่างนอกเหนือจากตัวของมันเอง และจะต้องถูกน ามาใช้และรับรู้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องว่าเป็นสัญญะ Perce (1931 อ้างถึงใน วีรภัทร วิไลศิลปดีเลิศ, 2555) ได้ให้ความหมายที่ ง่ายที่สุดและเข้าใจ ได้โดยง่ายที่สุดก็คือ “สัญญะ คือ สิ่งที่มีความหมายมากกว่าตัวของมันเอง” ( Sign is something which stands to somebody for something in some respect) ตัวอย่างเช่น รูปผู้หญิง ผู้ชายที่ติดอยู่หน้าห้องนั้น ไม่ได้หมายความว่ารูปนั้นคือผู้หญิงหรือผู้ชายเท่านั้น แต่มีความหมายว่า ห้องน้ าส าหรับผู้หญิง ห้องน้ าส าหรับผู้ชาย
34 Saussure (1857 อ้างถึงในวีรภัทร วิไลศิลปดีเลิศ, 2555) ได้ให้ความหมาย เอาไว้ว่า สัญญะเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยอายาตนะ (ประสาทรับสัมผัสทั้ง 5) และเป็นสิ่งที่คนกลุ่มหนึ่งตก ลงใช้สิ่งนั้นเป็นเครื่องหมาย (Mark) ถึงอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ได้ปรากฏในสัญญะนั้น จากการศึกษาความหมายของค าว่า “สัญญะวิทยา” จากการให้ความหมาย โดยนักวิชาการข้างต้น คณะผู้จัดท าสามารถสรุปความหมายได้ว่า สัญญะวิทยา คือ การศึกษาเกี่ยว สัญลักษณ์หรือตัวแทนสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผู้ที่รับสาร สามารถตีความความและเกิดความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันได้ 5.2.2 แนวคิดเกี่ยวสัญญะวิทยา กาญจนา แก้วเทพ (2553 อ้างถึงในกมลพรรณ อาการส, 2560) อธิบายว่า การศึกษาทางสัญญะวิทยามุ่งให้ความสนใจไปที่ ตัวสารและการตีความหมายของผู้รับสารเป็นส าคัญ โดยไม่ได้มองว่าวัตถุนั้นคืออะไร แต่จะมองที่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับวัตถุเท่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์ (Relation) ของสัญญะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. สัญญะ (Sign) คือ สัญญะประเภทต่าง ๆ เช่น ภาษา รูปภาพ เสียง อาหาร รูปร่าง เสื้อผ้า ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะมีวิธีการสืบทอดความหมาย (Meaning) และ มีความสัมพันธ์กับผู้ใช้ สัญญะเนื่องจากสัญญะเหล่านี้เกิดจากการประกอบสร้าง ( Construct) ความหมายของผู้คนในสังคม 2. รหัส (Code) คือ สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ทางวัฒนธรรม รหัสจะท าให้คนในสังคมเข้าใจการด ารงอยู่ทางสังคมของตนเอง เช่น การยกมือไหว้ ของคนไทย หมายถึง การสวัสดีและการทักทาย ในขณะที่คนเกาหลีโค้งค านับเพื่อหมายถึง การสวัสดี เช่นเดียวกัน จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าแต่ละสังคมหรือวัฒนธรรมจะมีการเข้ารหัสที่แตกต่างกัน แม้จะ มีความหมายเดียวกัน 3. วัฒนธรรม (Culture) คือ สิ่งที่ก าหนดสัญญะและรหัส เนื่องจาก ทั้งสององค์ประกอบ ถูกสร้างและถูกใช้งานภายใต้บริบททางวัฒนธรรม หากบริบทนั้นถูกเปลี่ยนแปลง ไป สัญญะและรหัส จะถูกเปลี่ยนแปลงความหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ในเชิงสัญญะจึง ต้องมีความเข้าใจในบริบททางสังคมหรือวัฒนธรรมนั้น ๆ แนวคิดทฤษฎีสัญญะวิทยาได้รับการศึกษาและพัฒนาอย่างจริงจังในช่วงต้น ของศตวรรษ และมีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสัญญะของนักวิชาการที่ได้รับความนิยม คือ
35 ชาร์ลส์ แซนเดอร์ส เพียร์ (Charles Sanders Peirce) เฟอร์ดินานด์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) และโรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดสัญญะวิทยาของชาร์ลส์ แซนเดอร์ส เพียร์ (Charles Sanders Peirce) กาญจนา แก้วเทพ (2553 อ้างถึงในกมลพรรณ อาการส, 2560) อธิบายไว้ว่า ชาร์ลส์ แซนเดอร์ส เพียร์ (Charles Sanders Perce, 1839-1914) เป็นนักปรัชญาสังคมชาวอเมริกัน ได้ศึกษาเกี่ยวกับสัญญะวิทยาโดยให้ความสนใจที่ องค์ประกอบ 2 ส่วน คือ รูปลักษณ์ทางสัญญะ (Signifier) และความหมายของสัญญะ (Signified) เช่น การยกมือไหว้ คือ รูปลักษณ์ทางสัญญะและมี ความหมายทางสัญญะ คือ การแสดงความเคารพ จึงท าให้เพียร์สน าระยะห่างระหว่างองค์ประกอบทั้ง สองส่วนนี้มาแบ่งประเภทของสัญญะออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. ไอคอน (Icon) คือ สัญญะที่มีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับวัตถุที่มี อยู่จริง เช่น รูปปั้นและรูปวาด เมื่อบุคคลได้เห็นภาพนั้นจะสามารถเข้าใจถึงสัญญะเหล่านั้นได้ทันที 2. อินเด็กซ์ (Index) คือ สัญญะที่มีความเกี่ยวพันกับวัตถุที่มีอยู่จริงโดยตรง เช่น รอยเท้าของสัตว์ คือ Index การเดินผ่านของสัตว์ ซึ่งการตีความของ Index นั้นจะเชื่อมโยงหา ความสัมพันธ์ ในเชิงเหตุและผลระหว่าง Index กับ Object 3. ซิมโบล (Symbol) คือ สัญญะที่ไม่มีความเกี่ยวพันกับวัตถุที่มีอยู่จริง แต่เป็น ความเกี่ยวพันที่เกิดจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ตีความ เช่น คนไทยตกลงกันว่าตัว “กา” เป็นสัญญะที่บ่งบอกถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง โดยที่รูปตัวอักษร “กา” นั้น ไม่มีความคล้ายคลึงเหมือนไอคอน และไม่มีการเชื่อมโยงเหตุผลระหว่างสัญญะกับสัตว์ชนิดนั้นเหมือนอินเด็กซ์ ดังนั้นการตีความหมาย หรือ ความสามารถในการเข้าใจสัญญะนั้นจึงจ าเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ของผู้ใช้สัญญะนั้นเพียงอย่าง เดียว นอกจากนี้ การศึกษาสัญญะวิทยาตามแนวคิดของเพียร์ยังศึกษาถึงการเกิดขึ้น ของสัญญะที่จะต้องประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้ใชสัญญะ (Users/ Interpretant) ลักษณะทางกายภาพ (Sign) และวัตถุ (Object/ External reality) 2. แนวคิดสัญญะวิทยาของเฟอร์ดินานด์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) กาญจนา แก้วเทพ (2553 อ้างถึงในกมลพรรณ อาการส, 2560) ได้กล่าวไว้ว่า เฟอร์ดินานด์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure, 1857) เป็นนักภาษาศาสตร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ศึกษาบทบาทของสัญญะที่มีต่อสังคม การเกิดขึ้นของการศึกษาสัญศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กับการ พัฒนาปรัชญาโครงสร้างนิยม (Structuralism) จากโครงสร้างนิยมเป็นวิธีการวิเคราะห์เพื่อศึกษา
36 โครงสร้างที่ซ่อนอยู่ในเบื้องหลังเปลือกนอก (Appearance) ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน สังคม โซซูร์ ได้ศึกษาตั้งแต่ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนใน บริบทต่าง ๆ ไปจนถึงการเขียนหรือการบอกเล่า เรื่องราวต่าง ๆ การท าความเข้าใจของผู้คน ปรากฏการณ์ใดนั้นจะต้องผ่านโครงสร้างทางภาษาหรือมี ความเข้าใจในภาษาเป็นอย่างดี แนวคิด โซซูร์จึงให้ความสนใจไปที่การเปรียบเทียบเชิงโครงสร้าง กับสัญญะตัวอื่น ๆ สัญญะจะไม่มีความหมายใดจนกว่าการเปรียบเทียบจะเกิดขึ้น โซซูร์ได้แบ่งสัญญะ ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น ลักษณ์ทางสัญญะ (Signifier) และส่วนที่เป็นความหมายของสัญญะ (Signified) การน าสัญญะทั้งซึ่งสองส่วนมาใช้ร่วมกันจะท าให้เกิดความหมายต่อวัตถุที่มีอยู่ในโลกของ ความเป็นจริง 3. แนวคิดสัญญะวิทยาของไรลองด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) นพพร ประชากุล (2544 อ้างถึงในเหมือนฝัน มานตรี, 2556) กล่าว่า จากการศึกษา แนวคิดทฤษฎีสัญญะวิทยาของนักวิชาการทั้ง 2 ท่าน ท าให้ให้ลองด์ บาร์ดส์ (Roland Barthes, 1915-1980) นักวิชาการชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับสัญวิทยา โดยมุ่งความสนใจไปที่การให้ ความหมายโดยนัยของผู้ตีความ (สัญวิทยาแห่งวัฒนธรรม) ซึ่งบาร์ตส์ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมทุนนิยมอุตสาหกรรมฝรั่งเศสสมัยกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยวิเคราะห์ตั้งแต่เครื่องอุปโภคบริโภคในชีวิตประจ าวันไปจนถึงเรื่องราว ในสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น โฆษณาผงซักฟอก ภาพถ่ายดารา เครื่องส าอาง และรถยนต์ซีตรอง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1957 บทความ ทั้งหมดจึงถูกน ามารวบรวมพิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือชื่อ Mythologies (มายาคติ) โดยบาร์ตส์ได้อธิบายถึง มายาคติว่าเป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์และมีตรรกะภายใน (Internal logic) ของตัวมันเอง ได้แก่ ตรรกะการสื่อความหมายที่ต้องศึกษาด้วยศาสตร์ที่ขยายออกมาจากภาษาศาสตร์เรียกว่า สัญญะวิทยา ซึ่งประกอบขึ้นด้วยสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ตัวอย่างใน กรณีศึกษาของภาษา คือ ถ้อยค าเป็นสัญญะที่มีรูปสัญญะเป็นเสียงหรือตัวเขียนและมีความหมายของสัญญะ คือ แนวคิดที่ ผู้คนในสังคมเข้าใจจากถ้อยค าเหล่านั้น เช่น สัญญาณจราจรจะใช้เครื่องหมาย แผ่นป้าย และดวงไฟ เป็นรูปของสัญญะ เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะเข้าใจถึงพฤติกรรมที่จะต้องกระท า 4. ความหมาย 2 ชั้นของสัญญะ (Two orders of signification) เกษม เพ็ญภินันท์ (2550 อ้างถึงในเหมือนฝัน มานตรี, 2556) กล่าวว่า ความหมาย 2 ชั้นของสัญญะ ได้แก่ ความหมายโดยอรรถและความหมายโดยนัย ซึ่งแนวคิดนี้ ถูกพัฒนาโดย เฟ อ ร์ ดิ น า น ด์ เ ด อ โ ซ ซู ร์ (Ferdinand de Saussure, 1857-1 9 7 4 ) นั ก ภ าษ า ศ าส ต ร์ ชาวสวิตเซอร์แลนด์และโรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes, 1915-1980) ได้ต่อยอดเสนอแนวคิด
37 ดังกล่าวว่า ไม่มีการใช้สัญญะครั้งไหนที่จะมีความหมายโดยอรรถเพียงชั้นเดียว (ความหมายโดยอรรถ หมายถึง ความหมายโดยตรงที่เข้าใจกันตามตัวอักษรเป็นความหมายที่เข้าใจตรงกันเป็น ส่วนใหญ่และ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป) แม้แต่การให้ความหมายในพจนานุกรมยังมีการเลือกใช้ ถ้อยค ามาบรรยาย เช่น Longman ให้ค านิยาม กรุงเทพ ว่าเป็นเมืองที่มีโสเภณีมาก ซึ่งถ้อยค าที่น ามาใช้อธิบาย ความหมายต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความหมายโดยนัย (หมายถึง ความหมายแฝงที่ถูกประกอบ สร้างอย่างตรงกันข้ามกับความหมายโดยอรรถบ่งบอกถึงจุดยืน ความนึกคิด และอารมณ์ความรู้สึก ของผู้ใช้สัญญะอยู่เสมอ) ต่อมาบาร์ตส์ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องความหมายโดยนัย โดยหลังจากที่ ความหมายโดยนัยตัวแรกถูกสร้างขึ้นมาความหมายนั้นจะกลายเป็นรูปสัญญะหรือตัวหมาย (Signifier) แล้วสร้างความหมายโดยนัย ตัวที่ 2 และต่อไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสายโซ่แห่ง ความหมาย (Chain of meaning) บาร์ตส์ เรียก ความหมายโดยนัย ระดับชั้นแรกว่า First order และเรียกความหมาย โดยนัย ระดับที่สองว่า Second order ซึ่งในความหมายโดยนัยระดับที่ 2 นี้ถูกบาร์ตส์เรียกว่า มายาคติ (Myth) ความหมายโดยนัยระดับชั้นแรก (First order) เป็นการตีความ เนื่องมาจาก ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล และความหมายโดยนัยระดับที่สอง (Second order) หรือ มายาคติ (Myth) จะเชื่อมโยงกับความหมายของสัญญะเพื่อให้บุคคลเข้าใจต่อสัญญะนั้น ๆ ว่า มีมายา คติอะไร ด ารงอยู่ ซึ่งแนวคิดของบาร์ตส์ไม่ใช่การตีความหมายที่มาจากประสบการณ์ แต่เป็นการตีความที่ถูกใส่ ความหมายตามสังคมที่บุคคลอาศัยอยู่ ซึ่งบาร์ตส์ได้ให้ค านิยามของมายาคติไว้ว่าเป็นวิธีคิดของแต่ละ สังคม หรือวัฒนธรรมที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นวิธีการสรุปแนวคิด (Conceptualization) หรือ วิธีการท าความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และในสังคมสมัยใหม่ก็ยังคง มีมายาคติต่าง ๆ อยู่มากมาย ดังนั้น แนวคิดของบาร์ตส์จึงชี้ให้เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ ในสังคมจะถูก ก าหนดให้มีสัญญะ โดยมีระบบของวัฒนธรรมในแต่ละสังคมเป็นตัวก าหนดความหมายของสัญญะเหล่านั้น เช่น ดอก กุหลาบถูกน ามาเชื่อมโยงกับความรักท าให้ดอกกุหลาบ กลายเป็นสัญลักษณ์ของ ความรักและเมื่อ กล่าวถึงดอกกุหลาบจึงไม่ได้มีแค่ความหมายรูปลักษณ์ สัญญะที่หมายถึงดอกไม้ เท่านั้น แต่ยังแฝง มายาคติไว้ในฐานะที่เป็นสื่อทางความรัก เป็นต้น ดังนั้น บาร์ดส์จึงเสนอแนวคิดว่า ค าแรก คือ รูปลักษณ์ทางสัญญะ (Signifier) ควรเรียกว่า Form ค าที่สอง คือ ความหมายของสัญญะ (Signified) ควรเรียกว่า Content และค าที่สามควรเรียกว่า มายาคติ คุณสมบัติของมายาคติ (Myth) จึงมีคุณสมบัติที่ส าคัญ 2 ประการ คือ ลักษณะที่เป็น การเคลื่อนไหวของมายาคติ โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
38 ของคนบางกลุ่มหรือตอบสนองต่อความต้องการทางวัฒนธรรม และอีกประการหนึ่ง คือ มายาคติ ต่อต้าน เป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กับมายาคติ ซึ่งจะปรากฏในวัฒนธรรมย่อยอยู่เสมอ เช่น ทุกคนรับรู้ว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ หากแต่ในเวลาเดียวกันก็เกิด มายาคติ ต่อต้านขึ้นมาว่าความก้าวหน้าเหล่านั้นอาจท าลายระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ ดังนั้นใน ความคิดของนักสัญวิทยาจึงมองว่าแทบจะไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะมีแต่ประโยชน์ทางการใช้งานเพียง อย่างเดียวแต่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความหมายในความหมายหนึ่งอยู่เสมอ จากการศึกษาความหมายของค าว่า “แนวคิดเกี่ยวสัญญะวิทยา” จากการแนวคิด ของนักวิชาการข้างต้น ซึ่งงานวิจัยนี้คณะผู้จัดท าจะใช้แนวคิดของชาร์ลส์ แซนเดอร์ส เพียร์ (Charles Sanders Peirce) เฟอร์ดินานด์ เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) ไรลองด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) และความหมาย 2 ชั้นของสัญญะ (Two orders of signification) ในการอภิปรายเกี่ยวกับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ในปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจน เนื่องจากแนวคิดของนักวิชาการที่คณะผู้จัดท าได้ศึกษานี้มีความโดดเด่นและแนวคิดที่ แตกต่างกัน 5.2.3 องค์ประกอบของสัญญะ ตามแนวคิดของ De Saussure เรื่องของสัญญะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ องค์ประกอบ 3 ส่วน (กาญจนา แก้วเทพ, 2552) ดังนี้ 1. ของจริง (Reference) คือ สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของจริง ๆ เห็นชัด อย่างตรงไปตรงมา เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ขวด เป็นต้น 2. ตัวหมาย (Signifier) คือ ในแต่ละวัฒนธรรมจะสร้างสัญญะ ขึ้นมาแทน สิ่งที่เป็นของ จริง เช่น ในบริบทของสังคมไทยจะสร้างสัญญะที่เขียนเป็นตัวอักษรว่า “โต๊ะ” สังคมอังกฤษเขียนว่า “Table” และสังคมอื่น ๆ ก็จะมีวิธีสร้างสัญญะที่แตกต่างกันออกไป อาจจะเป็น “เสียง (Sound) คือ การพูดค าว่า “โต๊ะ” 3. ตั ว ห ม า ย ถึง (Signified) คื อ ก า ร เ รี ย น รู้ สั ญ ญ ะ นั้ น ๆ ผ่านสภาพแวดล้อมการใช้ ชีวิต หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เช่น เมื่อมีการเรียนรู้และสามารถอ่าน ออกได้ เมื่อเห็นสัญญะ “โต๊ะ/Table” ในระบบสมองหรือความคิดของเรา เมื่ออ่านออกก็จะไป ประมวลผลเกิดภาพใน จิตนาการของ “โต๊ะ
39 ในการศึกษาเรื่องระบบสัญญะนั้น De Saussure สนใจศึกษาแต่เฉพาะ ความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบที่ 2 และ 3 เท่านั้น ซึ่งคุณลักษณะที่ส าคัญของความสัมพันธ์ ระหว่าง “ตัว หมาย” และ “ตัวหมายถึง” มี 3 ลักษณะ (กาญจนา แก้วเทพ, 2552) ดังนี้ 1. Arbitrary เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันโดยไม่ได้มีกฎเกณฑ์ ใด ๆ เช่น ค าว่า “โต๊ะ” ไม่ได้มีกฎเกณฑ์หรือลักษณะใด ๆ ที่คล้ายคลึงกับรูปร่างของโต๊ะเลย เช่น เกี่ยวกับสัญญะ “Table” 2. Unnatural เป็นความเกี่ยวข้องที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งต้องเกิดจากการเรียนรู้เอง 3. Unmotivated เป็นความหม ายที่ถูกสร้างขึ้น โดยมิได้มี ความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับผู้สร้างความหมาย กล่าวคือ ไม่ได้มีความเกี่ยวพันใด ๆ กับผู้ใช้สัญญะ จากองค์ประกอบทั้ง 2 ส่วนนี้ Peirce จึงได้น าเอาระยะห่างระหว่าง Signifier และ Signified มาจัดประเภทของ Sign ได้เป็น 3 แบบ ดังนี้ 1. ภาพเหมือน (Icon) หมายถึง เป็นเครื่องหมาย หรือสัญญะที่มี ความสัมพันธ์กัน โดยตรงระหว่างตัวหมาย (Signifier) กับตัวหมายถึง (Signified) เช่น ภาพถ่ายหรือ ภาพยนตร์ เพราะ เป็นสิ่งที่ดูเหมือนกับสิ่งที่มันอ้างถึง 2. ดรรชนี (Index) หมายถึง เป็นเครื่องหมาย หรือสัญญะที่มี ความสัมพันธ์กันแบบเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่าง ตัวหมาย (Signifier) กับตัวหมายถึง (Signified) ซึ่งสามารถสื่อถึงความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น รอยเท้าของสัตว์เราจะสามารถรู้ได้ว่าเป็นของสัตว์ ชนิดใด เป็นต้น 3. สัญลักษณ์ (Symbol) หมายถึง เป็นเครื่องหมาย หรือสัญญะที่ มีความสัมพันธ์กัน ระหว่างตัวหมาย (Signifier) กับตัวหมายถึง (Signified) โดยเป็นการก าหนด ความหมายนั้นขึ้นมาเอง เพื่อสื่อถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ต้องผ่านการก าหนดตกลงร่วมกัน และเรียนรู้ เพื่อที่จะสามารถเข้าใจถึงความหมายที่ก าหนดขึ้นมาได้ สัญญะ (Sign) ทั้ง 3 นี้ไม่ได้ถูกแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง สัญญะหนึ่ง สามารถประกอบไป ด้วยรูปแบบต่าง ๆ กัน ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งภาพเหมือน (Icon) ดัชนี (Index) และ สัญลักษณ์ (Symbol) รวมกันอยู่ก็เป็นได้ เช่น ไม้กางเขน สามารถเป็นได้ทั้งภาพเหมือน และในขณะเดียวกันถือเป็นดัชนีชี้ให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ ที่ศาสนิกชนให้ความนับถือ (อาภาพรรณ สายยศ, 2548)
40 จากการศึกษาความหมายของค าว่า “องค์ประกอบของสัญญะ” จากการแนวคิด ของนักวิชาการดังที่กล่าวไปข้างต้น คณะผู้วิจัยยึดตามแนวคิดของ De Saussure ที่แบ่งองค์ประกอบ ของสัญญะเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ของจริง (Reference) ตัวหมาย (Signifier) และตัวหมายถึง (Signified) ในการอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างศิวลึงค์ ที่พบได้ในปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ 5.3 ทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม 5.3.1 ความหมายของการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม สมศักดิ์ ศรีสันติสุข (2528 อ้างอิงในเหมือนฝัน มานตรี, 2556) ได้ให้ ความหมายของการแพร่กระจายคือ การยอมรับสิ่งใหม่จากสังคมและสังคมภายนอก เรียกได้ว่า เป็นการแพร่กระจายจากสังคมหนึ่งไปสู่สังคมหนึ่ง พิศวง ธรรมพันธา (2532 อ้างอิงในเหมือนฝัน มานตรี, 2556) กล่าวถึง ทฤษฎีการก าเนิดวัฒนธรรมลักษณะการ แพร่กระจายว่า เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงความเหมือนกันทาง วัฒนธรรมของสังคมที่ต่างกัน ไม่ว่าจะ เป็นการแบ่งช่วงวัยของมนุษย์ที่แบ่งออกเป็น 3 วัย เหมือน ๆ กัน คือ วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา นอกจากนี้ความเหมือนกันทางวัฒนธรรมยังเกิดผล ของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ท าให้ชเกิดการ แพร่กระจายวัฒนธรรมและการผสมผสาน วัฒนธรรม สุพัตรา สุภาพ (2536 อ้างอิงในเหมือนฝัน มานตรี, 2556) การแพร่กระจาย ทางวัฒนธรรมเป็นการกระจายตัวจากชน กลุ่มหนึ่งไปยังชนอีกกลุ่มหนึ่ง การเผยแพร่แบบนี้เกิดขึ้นได้ ทั้งภายในสังคมเดียวกันหรือในระหว่างสังคมก็ได้ จากการศึกษาความหมายของค าว่า “การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม” จากแนวคิด ของนักวิชาการดังที่กล่าวไปข้างต้น คณะผู้วิจัยสามารถสรุปความหมายได้ คือ การเผยแพร่ของ วัฒนธรรมให้ขยายหรือรับรู้ในวงที่กว้างขึ้น มีผู้คนรับเอาวัฒนธรรมมายิ่งขึ้น โดยการเผยแพร่นี้เกิดขึ้น ได้ทั้งภายในสังคมเดียวกันหรือในระหว่างสังคมก็ได้ 5.3.2 กลุ่มทฤษฎีเกี่ยวกับการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมมีจุดก าเนิดอยู่ในช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับทฤษฎีวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมก าลังได้รับความนิยม ทฤษฎี การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 3 ส านักใหญ่ ๆ ได้แก่ 1. กลุ่มนักมานุษยวิทยาอังกฤษ
41 ทฤษฎีในกลุ่มนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ โดยการน าของริเวอรส์ (W.H.E. Rivers) สมิท (G. Elliot Smith) และเพอร์รี่ (William J. Perry) นักมานุษยวิทยากลุ่มนี้เสนอ ว่า วัฒนธรรม การกระจายตัวออกไปจากศูนย์กลางซึ่งมีอยู่เพียงแห่งเดียวและก าเนิดขึ้นที่ประเทศ อียิปต์ซึ่งในสมัยก่อนผู้คนมีความเป็นอยู่ที่กระจัดกระจาย และยังคงไม่มีการรวมศูนย์กลางเกิดขึ้น แต่ เมื่อเกิดการคิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ อย่างหม้อดิน ตะกร้า เสื่อ บ้าน รวมถึงมีความรู้ทางด้าน เกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การผลิตหัตกรรม การทอผ้าเกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้คนอยู่รวมกลุ่มกันมากขึ้น วัฒนธรรม ศิลปะวิทยาการจากอียิปต์ถูกแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยผ่านทางกลุ่มคนที่ มีการติดต่อ การค้ากับอียิปต์ วัฒนธรรมจากศูนย์กลางจึงแพร่กระจายออกไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก นักทฤษฎี กลุ่มนี้ปฏิเสธ ความเชื่อในเรื่องความเป็นไปได้ที่จะมีการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งเดียวกันในสังคม ที่อยู่ ไกลกัน แต่เชื่อว่ามีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (อมรา พงศาพิชญ์, 2534 อ้างอิงในเหมือน ฝัน มานตรี, 2556) 2. กลุ่มนักมานุษยวิทยาเยอรมัน ทฤษฎีในกลุ่มนักมานุษยวิทยาชาวเยอรมันและออสเตรีย ได้แก่ ฟริตซ์ เกรบ (Fritz Gracb) และวิลเฮล์ม ชมิดท์ (Wilhelm Schmidt) นักมานุษยวิทยากลุ่มนี้เสนอว่า ศูนย์กลาง วัฒนธรรมไม่ได้มีเพียงแห่งเดียวแต่กลับมีอยู่หลายจุดด้วยกัน และแต่ละจุดจะแพร่กระจาย วัฒนธรรมของตนออกไปสู่ดินแดนใกล้เคียงที่อยู่รอบ ๆ เป็นวงกลม เรียกว่า Culture Circle หรือ Kulturkreis ซึ่งการแพร่วัฒนธรรมจะซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ส าหรับสังคมที่มีความเจริญน้อยชั้นของการ แพร่กระจายวัฒนธรรมน้อย แต่สังคมที่มีความเจริญมากก็จะมีชั้นของการแพร่กระจายวัฒนธรรมอยู่ หลายชั้น (ยศ สันตสมบัติ, 2556) 3. กลุ่มนักมานุษยวิทยาอเมริกัน มานุษยวิทยาชาวอเมริกา ซึ่งทฤษฎีการแพร่กระจายเป็นที่ แพร่หลายในสหรัฐอเมริกา โดย ฟรานส์ โบแอส (Franz Bons) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เชื่อว่าการ กระจายทางวัฒนธรรม เกิดจากจุดศูนย์กลางของสังคมหนึ่งและขยายวงกว้างออกไปยังชุมชนสังคมอื่น วัฒนธรรมที่แผ่ขยายออกไปยังชุมชนอื่น อาจเป็นวัฒนธรรมย่อยส่วนใดส่วนหนึ่ง ในลักษณะของ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม (อมรา พงศาพิชญ์, 2534 อ้างอิงในเหมือนฝัน มานตรี, 2556) นอกจากนี้ โครเบอร์ (Alfred Kroeber) และ วิลเลอร์ (Clark Wisler) ซึ่งเป็น ศิษย์ของฟรานส์ โบแอส (Franz Boas) ก็เชื่อเช่นเดียวกันว่า วัฒนธรรมจะ แพร่กระจายจากศูนย์กลางไปตามพื้นที่ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เหมือนกันและยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน
42 ส าหรับทฤษฎีการแพร่กระจายของวัฒนธรรมจะไม่ใช่ในลักษณะของวงกลม (Culture Circle) แต่จะ เป็นในลักษณะของการแพร่กระจายไปตามลักษณะภูมิศาสตร์ ที่อยู่ในเขตเดียวกับศูนย์กลางทาง วัฒนธรรม การที่วัฒนธรรมจะแพร่กระจายออกไป เนื่องมาจากคนย้ายถิ่นและน าเอาวัฒนธรรมเก่าติด ตัวไปด้วยหรือเกิดจากการที่คนจากท้องถิ่นอื่นยืมวัฒนธรรมไปใช้กับสังคมของเขา ทฤษฎีการแพร่กระจายของทั้ง 3 ส านักนั้น จะเสนอความเห็นที่แตกต่างกัน ในเรื่องจุดศูนย์กลางของวัฒนธรรมที่จะแพร่กระจายออกไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก ทฤษฎีของนัก มานุษยวิทยา ชาวอังกฤษและชาวเยอรมัน มักจะถูกโจมตีจากนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกาอยู่เสมอ (ยศ สันตสมบัติ, 2556) จากการศึกษากลุ่มทฤษฎีเกี่ยวกับการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม จากทั้งจากกลุ่ม นักมานุษยวิทยาอังกฤษ กลุ่มนักมานุษยวิทยาเยอรมัน และกลุ่มนักมานุษยวิทยาอเมริกัน คณะผู้วิจัย สังเกตว่ากลุ่มนักมานุษยวิทยาอังกฤษ กลุ่มนักมานุษยวิทยาเยอรมันมีความเห็นที่คล้างคลึงกันใน ประเด็นชการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม โดยเชื่อว่าวัฒนธรรมกระจายออกจากศูนย์กลางออกไปสู่ ดินแดนใกล้เคียงที่อยู่รอบ ๆ เป็นวงกลมหรือเป็นชั้น ในขณะที่กลุ่มนักมานุษยวิทยาอเมริกันเชื่อว่า การกระจายเป็นในลักษณะชของการแพร่กระจายไปตามลักษณะภูมิศาสตร์ โดยเสนอว่าการที่ วัฒนธรรมจะแพร่กระจายออกไป เนื่องมาจากคนย้ายถิ่นและน าเอาวัฒนธรรมเก่าติดตัวไปด้วย 5.3.3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม สุชีพ กรรณสูต (2552 อ้างอิงในเหมือนฝัน มานตรี, 2556) กล่าวไว้ว่า การแพร่กระจายของวัฒนธรรมจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังต่อไปนี้ 1. หลักภูมิศาสตร์ จ าเป็นที่จะต้องไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ เช่น ไม่มีภูเขา ป่าทึบ เป็นต้น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคที่มีต่อผู้คนที่มีวัฒนธรรมติดตัว 2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การติดต่อค้าขาย หรือการท่องเที่ยวของ ผู้คนชเป็นส่วนส าคัญที่ท าให้ การแพร่กระจายทางวัฒนธรรมไปสู่สังคมหนึ่งๆ ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ที่ดีจะมีโอกาสในการน า วัฒนธรรมที่ติดตัวตนออกไปเจอกับวัฒนธรรมอื่น ๆ และเกิดการแพร่กระจาย หรือรับเอาวัฒนธรรม อื่นเข้ามาได้ง่าย 3. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ การไปศึกษายังสถานที่ที่มีวัฒนธรรม แตกต่าง จากของเดิมที่ตนมี หรือ การน าความรู้ไปเผยแพร่ยังถิ่นอื่น ๆ การโยกย้ายที่อยู่ ซึ่งอาจจะมา จาก ความแล้งแค้น สงคราม ภัยพิบัติ เป็นการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมเช่นกัน