The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วงจรชีวิตของผีเสื้อ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Maneerat Charoen, 2022-08-20 05:26:21

วงจรชีวิตของผีเสื้อ

วงจรชีวิตของผีเสื้อ

สิงหาคม 2565 | ฉบับที่ 3

Butterfly Life Cycle

วงจรชีวิตของผีเสื้อ

คณะผู้จัดทำ


นางสาวช่อผกา ผกาหวน 620113116040

นางสาวบริญพฤกษ์ จัยสำคัญ 620113116044

นางสาวมณีรัตน์ เจริญรัมย์ 620113116049

นางสาวรุ่งนภา อิสสัยยะ 620113116050

นางสาววาสนา ยีรัมย์ 620113116052




เสนอ



ผศ.ดร.เทพพร โลมารักษ์

ผศ.ดร.วรวัฒน์ พรหมเด่น

สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำนำ

แบบเรียนเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายเกี่ยวกับ วิชาการสอนวิทยาศาสตร์
ชีวภาพ รหัสวิชา 1163206 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นบทเรียนในการจัดการการสอนใน
รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา เนื้อหาประกอบไปด้วย ต้นกำเนิดผีเสื้อ
ลักษณะทางกายภาพของผีเสื้อ การเลี้ยงหนอนผีเสื้อ กิจกรรมที่1วัฏจักรชีวิต
ของผีเสื้อ

คณะผู้จัดทำหวังเป็ นอย่างยิ่งว่าจะเป็ นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและนำไป
ประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

ต้นกำเนิดผีเสื้อ ………………………………………………1
ลักษณะทางกายภาพของผีเสื้อ……………………………3
ประโยชน์และโทษของผีเสื้อ………………………………..4
วงจรชีวิตของผีเสื้อ……………………………………..……5
การเลี้ยงหนอนผีเสื้อ……………………………………….10
กิจกรรมที่1 วัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ………………………..11

ต้นกำเนิดผีเสื้อ 1

นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ผีเสื้ออาจมีต้นกำเนิดแต่ยุคครีเทเชียส ซึ่งยุติเมื่อกว่า
66 ล้านปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในตระกูลผีเสื้อมีน้อยมากจึง
ทำให้การคะเนเกี่ยวกับต้นกำเนิดผีเสื้อเป็นไปได้ยาก โดยซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ดัง
กล่าวที่มีอายุมากที่สุด คือ ซากนิรนามของสัตว์สคิปเพอร์ อายุราวสมัยพาเลโอซีน
พบที่เมืองเฟอร์

ราชอาณาจักรเดนมาร์กและซากดึกดำบรรพ์ประเภทอำพันแห่งโดมินิกัน ของผีเสื้อ
เมทัลมาร์ก อายุ 45 ล้านปี ปัจจุบัน ผีเสื้อกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิประเทศหนาวเย็น
และแห้งแล้ง มีการประมาณว่า ขณะนี้ มีผีเสื้อในมหาวงศ์
พาพิลิโอโนอิเดีย กว่า 17,500 ชนิด และ มหาวงศ์เลพิดอปเทรา กว่า 180,000 ชนิด

ปัจจุบันมีการจำแนกผีเสื้อออกเป็น 3 วงศ์ คือ
1. เฮดิโลอิเดีย 2. เฮสเพอริโออิเดีย และ 3. พาพิลิโอโนอิเดีย

ชนิดของผีเสื้อในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 5 วงศ์

วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae) วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae) วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae)
พบไม่น้อยกว่า 64 ชนิด พบไม่น้อยกว่า 58 ชนิด พบไม่น้อยกว่า 367 ชนิด



วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Lycaenidae) วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae)
พบไม่น้อยกว่า 369 ชนิด พบไม่น้อยกว่า 273 ชนิด

ต้นกำเนิดผีเสื้อ 2

ผีเสื้อ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ:แมงก่ำเบ้อ) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะ
ดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐาน เข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน
ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก

ผีเสื้อมีการเจริญเติบโตแบบโฮโลเมตาโบลัส คือการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูป
ร่างแบบสมบูรณ์

แบ่งเป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และ ตัวเต็มวัย
การเจริญเติบโตในแต่ละขั้นตอน ผีเสื้อจะมีรูปร่างที่ไม่เหมือนกันเลย

วงจรชีวิตของผีเสื้อ

การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยปรากฏเป็นจตุ
วัฏจักร ดังนี้ คือ

1.ระยะไข่ (Egg Stage)
2.ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)
3.ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)
4.ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)

มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าผีเสื้อมีวงจรชีวิตสั้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผีเสื้อบางพันธุ์อาจ
มีอายุเพียงหนึ่งสัปดาห์ในขณะที่บางพันธุ์มีอายุยืนถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานในระยะ
บุ้งในขณะที่แมลงชนิดอื่นอาจหยุดการเจริญเติบโตได้ในระยะไข่หรือระยะดักแด้แล้วจึงดำเนินชีวิตต่อ
ไปในฤดูหนาว

butterfly Anatomy 3

ลักษณะทางกายภาพของผีเสื้อ

ผีเสื้อ ประกอบด้วยลำตัวที่ไม่มีโครงกระดูกภายใน เช่น เดียวกับแมลงอื่น ๆ
แต่มีเปลือกนอกแข็งเป็นสารจำพวกไคติน ห่อหุ้มร่างกาย ภายในเปลือกแข็ง
เป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อ ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ลำตัวของผีเสื้อ แบ่งออกเป็น
3 ส่วนคือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ทั้ง 3 ส่วนประกอบด้วยวงแหวน
หลาย ๆ วงเรียงต่อกัน เชื่อมยึดด้วยเยื่อบาง ๆ เพื่อให้การเคลื่อนไหวได้สะดวก
วงแหวนที่เชื่อมต่อกันเป็นลำตัวของผีเสื้อมีทั้งหมด 14 ปล้อง แบ่งออกเป็นส่วน
หัว 1 ปล้อง ส่วนอก 3 ปล้อง และส่วนท้อง 10 ปล้อง

ประโยชน์และโทษของผีเสื้อ 4

ประโยชน์

ผีเสื้อ เป็นแมลงสำคัญที่ช่วยในการผสมเกสร ผีเสื้อ เป็นสัตว์ที่สร้างความสวยงามให้กับธรรมชาติ
ของดอกไม้โดยดอกไม้ก็ตอบแทนผีเสื้อด้วยการ

ให้น้ำหวานเป็ นอาหาร

ปีกที่มีสีสันสวยงามของผีเสื้อ สามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับ
ซึ่งเป็ นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย

โทษ

การกัดกินใบของหนอนผีเสื้อได้แก่ หนอนกระทู้ ศัตรูในโรงเก็บ เช่น หนอนผีเสื้อข้าวเปลือก หนอนผีเสื้อข้าวสาร
หนอนกัดกินใบซึ่งพบในวงศ์ของผีเสื้อเป็ นส่วนมาก หนอนผีเสื้อผ้า กินขนสัตว์ หนัง ขนนก เสื้อผ้า

หนอนเจาะลำต้นและกิ่งก้านส่วนมากของหนอนเจาะลำต้น
เป็นพวกนอคทูอิด (noctuid) และไพราริด (pyrarid)

butterfly life cycle 5

วงจรชีวิตของผีเสื้อ

ระยะไข่ (Egg Stage)

หลังจากที่ผีเสื้อตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์แล้วสักระยะหนึ่ง มันจะบินหาต้น
พืชที่เป็นอาหารของตัวหนอนเพื่อวางไข่ โดยมันจะแตะปลายท้องในท่าที่จะวางไข่
สัมผัสกับใบพืช และรู้ด้วยสัญชาตญาณพิเศษทันทีว่าใช้ใบพืชที่เป็นอาหารของ
ตัวหนอนหรือไม่ ถ้าไม่ใช่มันก็จะบินหาต่อไป แต่ถ้าใช่มันจะยื่นส่วนท้องออกเล็ก
น้อยแล้วค่อยๆ วางไข่ ขณะที่วางไข่ผีเสื้อจะขับสารเหนียวๆ ออกมาด้วยเพื่อให้ไข่
ยึดติดกับใบไม้

ผีเสื้อส่วนใหญ่วางไข่ไว้ใต้ใบ แต่ก็มีบางชนิดที่วางไข่ไว้บนใบ สำหรับผีเสื้อที่
ตัวหนอนกินใบหญ้าเป็นอาหารมันจะใช้วิธีบินเรี่ย ๆ ต้นหญ้า แล้วปล่อยไข่ลงมา
โดยที่มันไม่ต้องเกาะบนใบหญ้าเลย ผีเสื้อประเภทนี้จะวางไข่ครั้งละมาก ๆ เพราะ
ต้องเผื่อไข่บางส่วนที่ขาดหายไป ผีเสื้อกลางคืนมักจะวางไข่เป็นกลุ่มและสลัดขน
จากลำตัวของมันปกคลุมไข่ไว้

ผีเสื้อส่วนใหญ่วางไข่ไว้ใต้ใบ

วงจรชีวิตของผีเสื้อ 6

butterfly life cycle

ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)

หลังจากที่ผีเสื้อตัวเมียวางไข่แล้ว 2-3 วัน ก็เริ่มปรากฏตัวหนอนเล็กๆ ขึ้น
ภายในไข่ ประมาณ 5-10 วันนับจากที่เริ่มวางไข่ ตัวหนอนที่อยู่ภายในก็โตเต็มที่
มันจะใช้ปากเจาะเปลือกไข่ให้แตกและดันตัวออกมา

จากนั้นจึงเริ่มกินเปลือกไข่ของตัวเองเป็ นอาหารมื้อแรกทันทีที่โผล่ออกมาดู
โลก นักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าเปลือกไข่อาจมีสารอาหารที่จำเป็น
ต่อการเจริญเติบโตของหนอน หลังจากที่ตัวหนอนกัดกินเปลือกไข่จนหมดก็จะ
เริ่มกินใบพืชเป็ นอาหารต่อไปหนอนลอกคราบ

หนอนเติบโตโดยการลอกคราบประมาณ 4-5 ครั้ง ขณะที่ผีเสื้อกลางวันลอก
คราบครั้งสุดท้าย ผนังชั้นในเมื่อสัมผัสกับอากาศภายนอกจะแข็งตัว กลายเป็น
เปลือกแข็งหุ้มตัวมันไว้เป็นดักแด้ ส่วนหนอนผีเสื้อกลางคืนนั้นเมื่อมันลอกคราบ
จนเติบโตเต็มที่แล้วจะขับใยเหนียวๆ ออกมาทางรู spinneret เพื่อทำเป็นรังไหม
หุ้มตัวใช้เวลาในการสร้างรังไหมหุ้มตัวประมาณ 12-13 ชั่วโมง แล้วจึงเข้าสู่ระยะ
ดักแด้ต่อไป

วงจรชีวิตของผีเสื้อ 7

butterfly life cycle

ตัวแก้วตัวบุ้ง
หนอนผีเสื้อมีชื่อเรียกอีกหลายอย่าง เช่น ตัวแก้วหรือหนอนแก้ว ตัวเขียวหวาน

ตัวบุ้ง ตัวร่าน หนอนผีเสื้อกลางคืนบางชนิดมีขนที่มีพิษรุนแรง
เมื่อสัมผัสกับผิวหนังทำให้เกิดผื่นคัน หรือเกิดอาการแสบได้มีรูปร่างหลายแบบ

หนอนกินเพลี้ย
หนอนผีเสื้อบางชนิดไม่กินใบพืชเป็นอาหาร เช่น หนอนผีเสื้อดักแด้หัวลิง

(Spalgis epeus) กินพวกเพลี้ยเกล็ด หนอนผีเสื้อหนอนกินเพลี้ย (Miletus
chinensis) กินเพลี้ยอ่อน หนอนของผีเสื้อมอท (Liphyra brassolis) อาศัยอยู่ใน
รังของมดแดงกินตัวอ่อนของมดแดง หนอนผีเสื้อพวกนี้จึงช่วยกำจัดศัตรูพืชบาง
ส่วนให้เกษตรกรได้อย่างดี

หนอนศัตรูพืช
ตัวหนอนของผีเสื้อที่สร้างความเสียหายให้แก่พืชไร่มีหลายชนิดด้วยกัน

เช่น หนอนผีเสื้อหนอนบังใบกินชมพู่เป็นอาหาร หนอนผีเสื้อชอนใบชอบกินใบ
ละมุด หนอนผีเสื้อหนอนกอชอบเจาะต้นข้าวโพด หนอนผีเสื้อหนอนมะนาวชอบ
กัดกินใบส้มชนิดต่างๆ หนอนผีเสื้อหนอนคืบชอบกัดกินใบเงาะ เป็นต้น

วิธีต่อสู้ศัตรู
รูปร่างของหนอนผีเสื้อแตกต่างไปตามวงค์ของผีเสื้อระยะที่เป็ นตัวหนอน

เป็นระยะที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการถูกนกและสัตว์อื่นๆ จับกินหนอนผีเสื้อบางชนิด
จึงพรางตัวให้กลมกลืนกับใบไม้ที่เกาะอยู่ บางชนิดมีต่อมกลิ่นอยู่ด้านหลังของส่วน
หัว สามารถปล่อยกลิ่นฉุนรุนแรง ทำให้ศัตรูไม่กล้าเข้าใกล้ บางชนิดก็สามารถ
ขยายส่วนหน้าของลำตัวให้พองโตได้เพื่อข่มขู่ศัตรู

วงจรชีวิตของผีเสื้อ 8

butterfly life cycle

ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)

ระยะที่เป็นดักแด้ ผีเสื้อจะไม่กินอาหารใด ๆ เป็นเวลานานราว 7-10 วัน
เป็นช่วงที่อันตรายมากอีกระยะหนึ่งเพราะมันจะต้องอยู่นิ่ง ๆ ตลอดเวลา
แต่ดักแด้ก็มีวิธีการพรางตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เช่น มีสี
เขียวเหมือนใบไม้ มีสีน้ำตาลคล้ายใบไม้แห้ง บางก็มีรูปร่างเหมือนกิ่งไม้ เป็นต้น
รูปร่างของดักแด้

รูปร่างของดักแด้

ผีเสื้อแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป การวางหรือการเกาะของดักแด้ต่างๆ
พอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ

แบบห้อยเอาหัวลงแขวนไว้กับกิ่งไม้ เช่นดักแด้ของผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอน
ใบรัก ดักแด้ของผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่
แบบเกาะอยู่กับกิ่งไม้โดยการพันใยเกี่ยวไว้รอบลำตัว เช่นดักแด้ของผีเสื้อใน
วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง ดักแด้ของผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ
แบบวางราบตามพื้นหรืออยู่ในใบไม้ที่ม้วนกันเป็ นหลอดเช่นดักแด้ของผีเสื้อ
ในวงศ์ผีเสื้อบินเร็ว ดักแด้ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อสีตาล

วงจรชีวิตของผีเสื้อ 9

butterfly life cycle

ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)

เมื่อตัวหนอนภายในดักแด้เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนโตเต็มที่มีอวัยวะ
เหมือนผีเสื้อตัวเต็มวัยทุกประการแล้ว มันจะใช้ขาดันเปลือกดักแด้ให้ปริออกทาง
ด้านหลังของส่วนอกแล้วขยับตัวออกมาจากเปลือกจากนั้นจึงค่อยๆ คลานออกไป
เกาะพักให้ปีกที่ยังยับยู่ยี่ห้อยลงทางด้านล่าง

ในช่วงนี้ผีเสื้อจะขับถ่ายของเสีย(mecomium) ภายในร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่าง
เป็นดักแด้ทิ้งจากนั้นผีเสื้อจะทำให้ปีกที่ยับยู่ยี่คลี่ออกและแข็งแรงขึ้น โดยหายใจ
เอาอากาศเข้าไปในตัวให้มากที่สุด ทั้งทางรูจมูกทางปากแรงดันของอากาศและ
การหดตัวของกล้ามเนื้อจะช่วยอัดให้เลือดไหลเวียนไปตามเส้นปีก ช่วงนี้ใช้เวลา
ประมาณ 20 นาที หลังจากนั้นมันยังต้องเกาะพักผึ่งปีกที่หมาดอยู่ต่อไปอีก
ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ปีกจึงจะแห้งสนิท แล้วในที่สุดก็จะออกบินเป็นผีเสื้อตัวเต็ม
วัยสมบูรณ์พร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไป

มาเลี้ยงหนอนผีเสื้อกัน 10

กิจกรรมเลี้ยงหนอนเพื่อศึกษาวงจรชีวิตของผีเสื้อ Butterfly Life Cycle
เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการศึกษาวงจรชีวิตของผีเสื้อ ส่งเสริมให้ผู้เรียน
มีความรับผิดชอบและอดทน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและประสบการณ์ใหม่ๆแก่ผู้เรียน

วิธีการหาหนอนผีเสื้อ
1.หาไข่หนอนผีเสื้อ หรือ ตัวหนอนผีเสื้อ เช่น หนอนผีเสื้อใบมะนาว หนอนผีเสื้อใบรัก
เป็ นต้น
2.นำไข่หนอนผีเสื้อ หรือ ตัวหนอนผีเสื้อ มาใส่ในภาชนะเลี้ยง โดยอาจเป็นกล่อง
พลาสติกใสเจาะรูหรือใส่ตะแกรงระบายอากาศ ซึ่งอาหารที่นำมาใช้เลี้ยงหนอนผีเสื้อ
แต่ละชนิดก็จะกินพืชอาหารที่แตกต่างกันออกไป เช่น หนอนผีเสื้อมะนาวจะกินใบ
มะนาว หนอนผีเสื้อใบรักธรรมดา กินใบรัก หนอนผีเสื้อปีกไข่ใหญ่ กินใบเบญจรงค์ 5
สี หนอนผีเสื้อใบกุ่มเส้นดำ กิบใบเสี้ยนม่วงหรือผักเสี้ยนขน เป็นต้น
3.เมื่อเป็นดักแด้ หนอนจะหยุดกินอาหาร ในภาชนะเลี้ยงควรมีบริเวณให้ดักแด้จับ
4. หลังจากเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ดักแด้จะกลายเป็ นผีเสื้อแสนสวยเต็มตัว

ภาชนะเลี้ยงเจาะรูเพื่อ ดักแด้จะขึ้นไปเกาะบนตาข่าย ผีเสื้อใบกุ่มเส้นดำ
ให้อากาศถ่ายเท

ใส่อาหารเลี้ยงแก่หนอน ดักแด้ที่ไม่ได้ขึ้นเกาะบนตาข่าย ผีเสื้อใบกุ่มเส้นดำ

ใบกิจกรรมที่ 1
วัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ

คำชี้แจง : ให้นักเรียนระบายสีและนำคำที่กำหนดให้เติมคำในช่องว่างให้ถูกต้อง

ผีเสื้อ / ดักแด้ / ไข่ / หนอน

ผีเสื้อ / หนอน /ดักแด้/วางไข่ /สร้างใย/สืบพั นธุ์ /ลอกคราบ /ผีเสื้อ

____เมื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยจะ_____ มีลูก โดยการ_____เมื่อไข่ของ
ผีเสื้อฟักออกมาจะเป็น_____หนอนจะ_____หลายครั้ง จนมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
จากนั้นหนอนจะ_____มาห่อหุ้มตัวเองให้อยู่กับที่ กลายเป็น_____ดักแด้จะ

ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงรูปร่างและกลายเป็น เพื่อเตรียมที่จะสืบพันธุ์ต่อไป

เอกอ้างอิง

รูปร่างและกายวิภาคของผีเสื้อ.[ออนไลน์].แหล่งที่มา :
http://science.sut.ac.th/gradbio/stupresent/2549/gr2/new_page_2.htm
[ สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565 ]

ผีเสื้อ(แมลง).[ออนไลน์].แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ผีเสื้อ_(แมลง).
[สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565 ]


Click to View FlipBook Version