บทที่ 1 ความหมาย ลกั ษณะ และความสำคญั ของบคุ ลกิ ภาพ
นภาพร อยู่ถาวร (2564)
1. ความหมายของบคุ ลกิ ภาพ
บุคลิกภาพ มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “Personality” มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า
“Persona” แปลว่า “หน้ากาก” ซึ่งใช้สำหรับการแสดงละครสมัยกรีกโบราณ โดยตัวละครสวมหน้ากากสำหรบั
แสดงบทบาทตามลักษณะของหน้ากากน้ัน เพ่อื ใหผ้ ู้ชมได้เห็นและเข้าใจบุคลิกภาพของตัวละครแต่ละตัวได้อย่าง
ชัดเจน
ภาพ หน้ากากของตวั ละคร ซ้ายเป็นหน้ากากแบบโศกนาฏกรรม และขวาเปน็ หน้ากากแบบสขุ นาฏกรรม,
จาก http://aboyvincentmalloy.blogspot.com/2015/10/classic.html
ท้ังน้ีมีผู้ให้ความหมายของบุคลิกภาพในแนวทางท่ีแตกต่างกัน ดังน้ี
พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2553 : 211) ให้ความหมายบุคลิกภาพว่าเป็น
คำนาม หมายถึง ลักษณะนิสัยจำเพาะของบุคคล รากศัพท์ของ Personality มาจากคำว่า Persona ซึ่งเป็น
คำที่มีความหมายกว้างมากจนยากทีจ่ ะอธิบาย
อลั ล์พอรต์ (Gordon W. Allport, 1937 : 48 cited in John F. Kihlstrom, 2015 : online) รวบรวม
ความหมายของบุคลิกภาพได้ถึง 50 ความหมาย และในความหมายที่ 50 อัลล์พอร์ตได้สรุปความหมายของ
บุคลิกภาพว่าหมายถึง กระบวนการพลวัตภายในตัวบุคคลภายใต้การทำงานของระบบการทำงานของจิต ซ่ึง
กำหนดลักษณะเฉพาะในการปรับตัวของบคุ คลตอ่ สภาพแวดล้อมของเขา
ลอร่า เอ. คิง (Laura A. King, 2012 : 430) กล่าวว่า บุคลิกภาพเป็นแบบแผนที่มั่นคงของความคิด
อารมณ์ และพฤตกิ รรม ซงึ่ เปน็ วธิ ีการแสดงอออกของบคุ คลแตล่ ะคนในการปรบั เข้าหาโลก
สุรางค์ โค้วตระกูล (2548) กล่าวว่า บุคลิกภาพคือคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล
แสดงออกโดยพฤติกรรมที่บุคคลนั้นมีต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนกำลังเผชิญอยู่ และพฤติกรรมนี้จะคงเส้นคงวา
พอสมควร
นวลละออ สุภาผล (2527 : 3) สรุปความหมายของบุคลิกภาพจากคำจำกัดความต่างๆ ตามที่
นกั ทฤษฎีบุคลิกภาพกล่าวไวว้ ่ามีความหมายครอบคลุม 2 ประการ คอื ประการแรกเป็นความหมายท่ีแสดงถึง
ทักษะทางสังคมหรือความคล่องตัว เป็นความสามารถในการตอบสนองกับบุคคลต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมท่ี
แตกต่างกนั ไป ในความหมายน้บี ุคลิกภาพสามารถฝกึ ฝนได้ และประการที่สอง พิจารณาบคุ ลกิ ภาพในลักษณะ
ที่เป็นสิ่งติดตัวมาและแสดงออกหรือสร้างความรู้สึกประทับใจกับบุคคลอื่นที่เขาติดต่อด้วย ซึ่งบุคคลที่ติดต่อ
ดว้ ยนน้ั จะมคี วามเห็นต่อบุคคลนัน้ ในลักษณะต่างๆ
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา จว.454 การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัว หน้า 1
โดย นภาพร อยถู่ าวร อาจารยป์ ระจำคณะจติ วิทยา มหาวิทยาลยั เกษมบณั ฑติ (ปรับปรงุ พ.ศ. 2564)
กันยา สุวรรณแสง (2533 : 3) กล่าวว่า บุคลิกภาพเป็นเสมือนผลของการรับรู้ที่เกิดจากการรับรู้ของ
ผู้อื่นแล้วเขามีปฏิกิริยาตอบสนอง ทำให้เจ้าของบุคลิกภาพได้ตระหนักในบุคลิกภาพของตนเอง หรืออาจ
หมายถึง การรับรู้พฤติกรรมรวมทั้งหมดของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทั้งในสิ่งที่มองเห็นได้ และลักษณะของ
พฤติกรรมและสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น ความคิด ความสนใจ ซึ่งจะทำให้คนอื่นสามารถที่จะเข้าใจและแยกแยะ
ความแตกต่างของบุคคลน้ันจากคนทว่ั ไปได้
จากความหมายของบุคลิกภาพดงั ขา้ งตน้ อาจกลา่ วได้ว่าบคุ ลิกภาพมคี วามหมายครอบคลมุ ในมิตดิ ังน้ี
• นิยามศัพท์ หมายถึง หน้ากาก (Persona, from the Latin word)
• พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง แบบแผนประจำตัวที่บุคคลใชต้ อบโตก้ บั ส่ิงแวดลอ้ มทเี่ ผชญิ
• ส่งิ เร้า (Stimulus) หมายถงึ ลักษณะเฉพาะของบคุ คลทส่ี ่งผลต่อความรสู้ ึกนกึ คิดของผอู้ นื่ ซง่ึ
กระตนุ้ ให้ผอู้ ่ืนเกดิ พฤติกรรมตอบสนองตอ่ บุคคลน้นั
โดยสรปุ ความหมายได้วา่ บคุ ลิกภาพ หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของบคุ คลทมี่ ีความมนั่ คง เปน็ ผลให้
บุคคลตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อย่างมีแบบแผนทั้งในด้านการคิด อารมณ์ และพฤติกรรม อันทำห้า
บุคคลอื่นรับรู้ เข้าใจ และจำแนกแยกความแตกต่างของบุคคลนั้นกับบุคคลอื่นได้ นอกจากนี้บุคลิกภาพของ
บุคคลที่มีความแตกต่างกันยังส่งผลให้บุคคลมีการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตในสังคมแตกต่างกัน และถึงแม้ว่า
บุคลิกภาพจะมีความคงที่พอสมควร แต่วุฒิภาวะและการได้รับการขัดเกลาจากสังคม (Socialization) อาจ
สง่ ผลใหบ้ คุ คลมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปได้บ้าง
2. ลักษณะของบุคลิกภาพ
อาจกล่าวได้ว่าไม่มีบุคคลใดในโลกที่มลี ักษณะของบุคลิกภาพเหมือนกันทุกประการ แม้แต่ฝาแฝดแท้
(Identical Twins) ที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาเหมือนกันมากที่สุดและถูกเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตมา
ด้วยกัน ก็สามารถแสดงลักษณะเฉพาะตนหรือมีลักษณะบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
ฝาแฝดอิน-จัน ซึ่งเป็นแฝดสยาม (Siamese Twins) หรือฝาแฝดที่คลอดออกมาในลักษณะที่ตัวติดกันตรงผนัง
หนา้ ทอ้ ง พนั ธกุ รรมและส่ิงแวดล้อมท่ีอินและจนั ได้รับเหมือนกันแทบทุกประการ แต่อุปนิสยั และพฤติกรรมของ
ท้งั สองคนมคี วามแตกตา่ งกันอย่างชัดเจน
ภาพ ลายเสน้ วาดจากภาพถา่ ยของอนิ และจนั หลงั มรณกรรม หน้า 2
จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_7408
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา จว.454 การพฒั นาบคุ ลิกภาพและการปรับตวั
โดย นภาพร อยถู่ าวร อาจารย์ประจำคณะจิตวทิ ยา มหาวิทยาลยั เกษมบัณฑิต (ปรับปรงุ พ.ศ. 2564)
นิพัทธ์ ทองเล็ก (2559) ได้เขียนบรรยายเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์อินและจันในขณะที่ตาม
ภรรยาของเขาทั้ง 2 คน ไปโบสถ์ในเช้าวันหนึ่ง โดยนักข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะเซาท์เทิร์นเนอร์ (The
Southerner) ซง่ึ ตง้ั คำถามใหอ้ ินและจนั แสดงมุมมองเก่ียวกับศาสนา จากการตอบคำถามแสดงใหเ้ ห็นว่า อินตอบ
คำถามอย่างไม่ลังเลและมั่นใจ นอกจากน้ีขณะที่อินและจันเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา ประกอบอาชีพ
เกษตรกรเต็มตัวเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวอันใหญ่โตนั้น พวกเขามีรายได้จากไร่ยาสูบ ข้าวสาลี ข้าวโพด เลี้ยงวัว แกะ
และหมู พบว่า อินเป็นคนที่มีน้ำใจ เมตตาปรานีต่อทาส แต่จันเข้มงวดและโหดในการปฏิบัติต่อทาสทั้งปวงเวลา
ทำงาน ทั้งน้จี ากการศกึ ษาพบว่าฝาแฝดคู่อืน่ ๆ ก็มีลักษณะทแี่ ตกต่างเชน่ กัน
ความแตกต่างทางบุคลิกภาพของบุคคลนั้น หากอธิบายโดยทั่วไปจะครอบคลุมลักษณะสำคัญ
2 ประการ คือ ลักษณะภายนอกและลักษณะภายใน (กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, 2552 : 5) โดยเรียกว่า
บคุ ลกิ ภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน
1) บุคลิกภาพภายนอก (External Personality) หมายถึง ภาพลักษณ์ของบุคคลที่ผู้อื่นสังเกต
ได้โดยตรงจากการมองเห็นด้วยตาเปล่า ประกอบด้วยโครงสร้างทางสรีระ เช่น รูปร่าง มีลักษณะแตกต่างกัน
หลายประการ เชน่ อว้ น ผอม หรอื สมส่วน มคี วามสูงอยู่ในระดับใด สว่ นประกอบของร่างกายอื่น ๆ อาทิ สีผิว
มีทั้งผิวขาว ผิวเหลืองหรือผิวดำ สีของเส้นผม สีดำ สีทอง สีน้ำตาลหรือสีอืน่ ๆ ลักษณะของเส้นผมเหยียดตรง
หรอื หยกิ นัยนต์ าสดี ำ นำ้ ตาล หรอื สฟี ้า มลี ักษณะกลมโตหรือยาวรี ลกั ษณะของโครงหนา้ เป็นรูปไข่ กลม หรือ
หน้าเป็นเหลี่ยม อวัยวะต่าง ๆ บนใบหน้า เช่น ตา ปาก จมูก คิ้ว คาง ได้สัดส่วนหรือมีข้อบกพร่อง ความ
สะอาดและสุขภาพอนามยั ของบุคคลเปน็ ส่ิงที่ผู้อ่ืนสงั เกตได้โดยตรงเช่นเดียวกนั รสนยิ มในการแต่งกาย เสื้อผ้า
อาภรณ์ที่สวมใส่ ทรงผม เครื่องประดับหรือเครื่องประกอบการแต่งกายที่บุคคลใช้ เช่น นาฬิกา แหวน กำไล
สายสร้อย กระเป๋า รองเท้า หมวก เป็นต้น มีความสุภาพเรียบร้อย สวยงาม สมสมัย หรือเหมาะกับกาลเทศะ
มากน้อยเพยี งใด
นอกจากนนั้ บคุ ลิกภาพภายนอกยังหมายรวมถงึ การใชภ้ าษาในการส่ือสารและกิริยาท่าทางที่
บคุ คลน้นั แสดงออกด้วย เช่น การสนทนา บุคคลสามารถพูดได้ตรงประเดน็ สุภาพ ชดั ถอ้ ยชดั คำ หรอื พดู วกวน
ไม่สุภาพ ชอบเยาะเย้ยถากถาง พดู ไรส้ าระ พดู เพ้อเจ้อมากเกนิ ไปหรือไม่ อากัปกิริยาท่าทางท่ีแสดงออกในการ
ดำเนนิ ชวี ิตประจำวนั ไมว่ ่าจะเป็นการยนื เดิน นัง่ นอน ลว้ นเป็นพฤติกรรมภายนอกท้งั ส้ิน บคุ คลควรแสดงออก
ดว้ ยความสง่าผา่ เผย หากมีขอ้ บกพรอ่ งกค็ วรแกไ้ ขปรับปรงุ ให้เหมาะสม
2) บุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) หมายถึง ลักษณะที่อยู่ในตัวบุคคล เช่น อารมณ์
ความรู้สึก ความสนใจ อุปนิสัย สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด เป็นต้น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
ที่แสดงออก คณุ สมบตั ิดังกล่าวเหล่านีผ้ ู้อื่นอาจจะทราบหรือไม่ทราบก็ได้ เนอื่ งจากไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง
แตส่ ามารถรับรู้ได้จากการสันนษิ ฐานพฤติกรรมอ่ืนๆ ของบุคคลผนู้ นั้
สอดคล้องกับ ศรีเรือน แก้วกังวาน (2554 : 7) ที่กล่าวว่า บุคลิกภาพซึ่งคือลักษณะเฉพาะตัวของ
บุคคลในด้านต่างๆ นั้น มีลักษณะอยู่ 2 ส่วน คือส่วนภายในและส่วนภายนอก โดยส่วนภายนอกคือส่วนที่
มองเห็นชัดเจน เช่น รูปร่าง หน้าตา กิริยามารยาท การแต่งตัว วิธีพูดจา การนั่ง การยืน ฯลฯ และส่วนภายใน
คือส่วนที่มองเห็นได้ยาก แต่อาจทราบได้โดยการอนุมาน เช่น สติปัญญา ความถนัด ลักษณะอารมณ์ประจำตัว
ความใฝฝ่ ันปรารถนา ปรชั ญาชวี ติ คา่ นยิ ม ความสนใจ ฯลฯ
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา จว.454 การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรบั ตัว หนา้ 3
โดย นภาพร อยถู่ าวร อาจารยป์ ระจำคณะจิตวิทยา มหาวทิ ยาลยั เกษมบัณฑติ (ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2564)
จากลักษณะของบุคลิกภาพของบุคคลดังข้างตน้ สรุปได้ว่าบุคลกิ ภาพเป็นส่วนรวมของลักษณะที่ได้รับ
การถ่ายทอดจากพันธุกรรมและการเรียนรู้ที่บุคคลปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยครอบคลุมลักษณะ
สำคัญ 2 ประการ ซึ่งผสมผสานกัน ได้แก่ ลักษณะภายในและลักษณะภายนอก ลักษณะทั้งสองนี้เป็ น
กระบวนการท่ีมีความสัมพนั ธ์กันภายในและส่งผลหรือแสดงออกใหผ้ ู้อื่นเกิดความรู้สกึ นึกคดิ ต่อบคุ คลนัน้
1) ลักษณะภายนอก (External Personality)
หมายถึง ลักษณะที่ผู้อื่นมองเห็นหรือสังเกตเห็นได้โดยตรง หรือใช้เครื่องมือวัดที่แสดงค่าได้
โดยแบ่งเป็น ลักษณะโครงสร้างสรีระ อาทิ รูปร่าง หน้าตา ความสูง สี ขนาดและลักษณะของอวัยวะต่าง ๆ
และลักษณะของพฤติกรรมที่เกิดจากปัจจัยภายในส่งผลให้เกิดการแสดงพฤติกรรม อาทิ อากัปกิริยา อารมณ์
การใช้ภาษาในการส่ือสาร มารยาททางสังคม การแต่งกาย สขุ ภาพอนามยั
2) ลกั ษณะภายใน (Internal Personality)
หมายถึง ลักษณะที่อยู่ในตัวบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่แสดงออก เป็นส่วนท่ี
ผู้อื่นมองเห็นได้ยาก แต่อาจทราบโดยการอนุมาน หรือใช้เครื่องมือวัดต่างๆ โดยเป็นลักษณะที่ได้รับจากการ
ถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาทิ สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด ลักษณะอารมณ์ และลักษณะที่ได้รับจาก
การเรยี นรู้ อาทิ ทกั ษะ ความสนใจ ความปรารถนา ปรัชญาชีวิต ทศั นคติ คา่ นยิ ม
รูปรา่ ง บคุ ลกิ ภาพภายนอก อากัปกิริยา
หนา้ ตา [บคุ ลกิ ภาพภายใน อารมณ์
ความสูง สตปิ ญั ญา ความสามารถ ความถนดั อารมณ์ การสอ่ื สาร
สี ทกั ษะ ความสนใจ ความปรารถนา ปรชั ญาชีวิต ทัศนคติ ค่านิยม มารยาท
เสน้ ผม การแต่งกาย
ขนาด บคุ ลกิ ภาพ สขุ อนามยั
ภาพ ลักษณะของบุคลิกภาพ
3. ความสำคญั ของบคุ ลกิ ภาพ
จากความหมายและลักษณะของบุคลิกภาพดังที่กล่าวแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพมี
ความสำคัญต่อตัวบุคคลเป็นอย่างยิ่ง และคล้ายกับว่าบุคลิกภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างที่หล่อหลอมรวมกันเป็น
ตัวตนของบุคคล ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าบุคคลจะเป็นอย่างไร จะสำเร็จหรือล้มเหลว จะมีความทุกข์หรือสุข
ลว้ นขน้ึ อยกู่ บั บุคลิกภาพของผูน้ ้ัน นอกจากน้ีบุคลิกภาพของบุคคลยังสมั พันธก์ ับกลุ่มสงั คมที่บุคคลเป็นสมาชิกอยู่
ด้วยเพราะลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของบุคคลส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น กลุ่มชนที่มีลักษณะดีหรือ
ลักษณอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ เช่น มีสติปัญญาดี มีความสามารถ อารมณ์ดี รูปร่างหน้าตา สุขภาพ
ร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตดี เหล่าน้ีย่อมเป็นที่ต้องการคบค้าสมาคม และดึงดูดให้น่าสนใจอยากร่วมกลุ่มสังคม
นั้นด้วย ดังนั้นบุคลิกภาพจึงนำเป็นทรัพย์ทั้งต่อตัวบุคคลและกลุ่มสังคม สามารถนำพาบุคคลไปสู่ความสำเร็จ และ
เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า จว.454 การพฒั นาบคุ ลกิ ภาพและการปรับตวั หน้า 4
โดย นภาพร อยู่ถาวร อาจารย์ประจำคณะจติ วิทยา มหาวทิ ยาลยั เกษมบณั ฑติ (ปรับปรงุ พ.ศ. 2564)
ขับเคลื่อนทั้งบุคคลและกลุ่มสังคมไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ทั้งน้ีหากจำแนกความสำคัญของบุคลิกภาพให้ชัดเจน
สามารถจำแนกออกเปน็ ความสำคญั ในระดบั บุคคลและความสำคัญในระดับกลมุ่ สังคม
3.1 ความสำคญั ในระดบั บุคคล บคุ คลทมี่ บี ุคลิกภาพดยี อ่ มนำพาประโยชน์มาสตู่ นเอง ดังนี้
3.1.1 เปน็ ท่รี กั ใคร่ชอบพอของผอู้ ืน่
ผู้มีบุคลิกภาพดีจะปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยกิริยามารยาทเรียบร้อย เหมาะสมแก่กาลเทศะ
แต่งกายอย่างพอเหมาะชวนให้น่ามอง จึงทำให้เกิดความประทับใจเมื่อแรกพบ นำไปสู่การสานสัมพันธ์อันดี
รักใคร่ชอบพอกัน
ภาพจาก https://www.softbankthai.com/Article/Detail/701
3.1.2 สามารถพัฒนาตนเองได้เตม็ ตามศักยภาพ
ผมู้ ีบุคลกิ ภาพดจี ะทำส่ิงต่างๆ อยา่ งมน่ั อกมนั่ ใจ กล้าแสดงออกซึ่งศักยภาพที่มีในตนเองให้เป็น
ที่ประจักษ์แก่ผู้อื่น ไม่หยุดนิ่ง ใฝ่รู้ จึงมักได้รับมอบหมายงานที่มีลักษณะท้าทายความสามารถ นำไปสู่การ
พัฒนาตนเองได้อยา่ งเตม็ ศักยภาพ
ภาพจาก https://customersatisfactionevaluation.com
3.1.3 สามารถปรบั ตวั ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพ
ด้วยคุณลักษณะภายนอกอันเป็นที่นิยมชมชอบของผู้อื่น ประกอบกับคุณลักษณะภายในที่มี
ความสามารถในการคิด มีพื้นฐานทางอารมณ์ดี และมีทักษะความสามารถต่าง ๆ ดังนั้นผู้มีบุคลิกภาพดีจึง
สามารถทำความเข้าใจเก่ยี วกบั สภาพการณ์ตา่ ง ๆ ท่ีเกิดขึน้ และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ โดยไม่ยึดม่ันถือม่ัน
ใจกว้าง ยอมรับสภาพความเป็นจริงที่อาจไม่เป็นไปตามความมุ่งหวัง ส่งผลให้มีความสามารถรับมือ เผชิญกับ
ความเปลย่ี นแปลงได้ ฝา่ ฝนั ปญั หาหรอื อุปสรรค และปรับตัวอยู่ในสภาวะต่าง ๆ ได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา จว.454 การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรบั ตวั หนา้ 5
โดย นภาพร อย่ถู าวร อาจารย์ประจำคณะจิตวทิ ยา มหาวทิ ยาลยั เกษมบัณฑิต (ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2564)
ภาพจาก https://www.dmc.tv/page_print.php?p=top_of_week
3.1.4 มสี ขุ ภาพจิตดี
ผู้มีบุคลิกภาพดีจะสามารถทำความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล
ทั้งสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขและความทุกข์ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ใจ
จึงสามารถรับมือและเผชิญกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ปัญหายุติลงโดยเร็ว ไม่คั่งค้างสะสม
เรือ้ รัง จนนำไปสปู่ ัญหาทางสขุ ภาพจิต
ภาพจาก https://www.freepik.com/premium-photo
3.2 ความสำคัญของบคุ ลิกภาพในระดบั กล่มุ สงั คม
การมีบคุ ลกิ ภาพดีเปรียบเหมือนบคุ คลมีขุมทรัพย์มหาศาลเช่นไร กลุ่มสงั คมทีม่ บี ุคลคลบคุ ลิกภาพดีอยู่
รวมกันในสังคมนั้น ก็นับวา่ มขี ุมทรัพยม์ ากเท่าทวีคูณดว้ ยเชน่ กนั โดยขออธบิ ายดังน้ี
3.2.1 สร้างความเชอ่ื มนั่ ศรทั ธาต่อกลมุ่ สงั คม
กลุ่มสังคมที่มีสมาชิกกลุ่มเป็นผู้มีบุคลิกภาพดี อันประกอบด้วยลักษณะภายนอกที่เหมาะสม
เช่น รูปร่างสมส่วน ผิวพรรณผุดผ่อง แต่งกายถูกกาลเทศะ แสดงกิริยาอาการต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล ย่อม
เป็นทต่ี อ้ งตาตอ้ งใจแกผ่ ู้พบเหน็ และเม่อื ประกอบกบั ลกั ษณะภายในท่ดี ี เช่น เฉลียวฉลาด มอี ารมณ์แจ่มใสแล้ว
ย่อมสร้างความประทับใจและความนิยมชมชอบในตัวบุคคลและแผ่ขยายไปยังกลุ่มสังคมที่บุคคลนั้นสังกัดอยู่
เอกสารประกอบการสอน รายวิชา จว.454 การพฒั นาบุคลิกภาพและการปรบั ตัว หน้า 6
โดย นภาพร อยถู่ าวร อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลยั เกษมบณั ฑิต (ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2564)
โดยผู้มีบุคลิกภาพที่ดีจะถูกยกเป็นตัวแบบพฤติกรรม อันก่อให้เกิดภาพลักษณ์ของกลุ่มสังคม ซึ่งจูงใจให้
บคุ คลภายนอกเกดิ ความเชื่อม่ันศรัทธาตอ่ กล่มุ สงั คม อยากพบปะสงั สรรค์ หรือเขา้ รว่ มกลมุ่ ด้วย
ภาพ องค์ทะไลลามะ, จาก https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/100181.html
3.2.2 สร้างความสำเร็จต่อองค์การอยา่ งต่อเนือ่ ง ยัง่ ยนื
ผู้มีบุคลิกภาพดีจะมีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงาน เข้าใจพันธกิจขององค์การ มีเป้าหมายในการ
ปฏิบัติงานและเป้าหมายในชีวิตของตนเอง จึงรู้จักสร้างคุณค่าให้กับตนเองและองค์การ เมื่ออยู่รวมกลุ่มกับ
สมาชิกในองค์การ ย่อมเป็นบุคคลที่ช่วยให้กลุ่มนั้นจัดระบบ มีระเบียบแบบแผนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ใช้ความสามารถของตนในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและ
องค์การ อีกทั้งมุ่งผลสัมฤทธิข์ องงานและสัมพันธภาพไปพร้อมกนั จึงเป็นทรัพยากรบุคคลท่ีนำพาองค์การไปสู่
ความสำเรจ็ ได้อยา่ งตอ่ เนื่องและต่อยอดความสำเรจ็ ได้อยา่ งยงั่ ยืน
ภาพจาก http://www.wisdommaxcenter.com
เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า จว.454 การพฒั นาบุคลกิ ภาพและการปรบั ตวั หน้า 7
โดย นภาพร อยู่ถาวร อาจารย์ประจำคณะจิตวทิ ยา มหาวทิ ยาลยั เกษมบณั ฑิต (ปรบั ปรุง พ.ศ. 2564)