นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรีคนที่27
จัดทำโดย
นางสาวมาริษา เเก้วจันทร์ เลขที่ 77
นางสาวรุจาภา เผ่าวงศากุล เลขที่ 81
นางสาวศรารัตน์ โมกขะสมิต เลขที่ 95
ประวัติ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.
2507 ที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
อภิสิทธิ์เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
จังหวัดนครนายก ระหว่างปี พ.ศ. 2530–2531 ได้รับการแต่งตั้งยศร้อยตรี
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ในปี พ.ศ. 2548 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็น
กรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า ต้นปี พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ได้รับปริญญา
นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้
ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร รัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ต้นปี พ.ศ. 2554 ได้
รับปริญญาปรัชญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัย
รามคำแหง ในปี พ.ศ. 2552 ระหว่างเกิดความไม่สงบทางการเมืองใน
ประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่กลุ่มผู้ชุมนุม
พยายามสังหาร ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นที่
ยอมรับว่าเป็นความพยายามฆ่านายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีซึ่งมีผู้
ต้องหาจำนวน 20 ราย
บทบาททางการเมือง
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ต่อจากบัญญัติบรรทัดฐาน ตั้งแต่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากที่พรรค
ประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 และอภิสิทธิ์ได้ลาออก
จาตำแหน่งภายหลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทย ในการ
เลือกตั้ง พ.ศ. 2554 แต่ก็ได้รับเลือกกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีก
ครั้งในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน
อภิสิทธิ์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี
ติดอันดับ 5 จาก อันดับ 7ของผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ที่ดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าพรรคนานที่สุด
ผลงานที่สำคัญทางการเมือง
การจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับแรกของไทยและยังมีผลงานผลัก
ดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก เช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร
กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน
การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อ
การตรวจสอบ เช่น ปปช., ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการ
คุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การ
เสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมาย
องค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และ
การผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วย
ระบบสัญญาจ้างเพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ
ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม