การเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเล่านิทานพื้นบ้าน ทอฝัน คำพลงาม1 จันทราพร หว้านเครือ2 , กัลยกร ภักดี3 ____________________________________ บทคัดย่อ จากการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของเด็ก ปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล ปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 เทศบาล 8 จำนวน 16 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัย คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย นิทานพื้นบ้าน ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที่แบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การเล่านิทานพื้นบ้าน มีความสามารถด้านการพูด หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ คำสำคัญ : การจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน,ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย _____________________________________________ 1 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2 ครู โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 เทศบาล 8 สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี 3 อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความเป็นมาและความสำคัญ เด็กปฐมวัยนับเป็นทรัพยากรของสังคม ที่มีคุณค่ายิ่ง เพราะเด็กในวัยนี้ต้องเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ ในอนาคตและจะต้องสืบทอด วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของ ท้องถิ่นเป็นเอกลักษณ์ความโดดเด่นซึ่งความ เป็นท้องถิ่นและความเป็นชาติไทยให้คงดำรง ไว้ตลอดไป จึงควรให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน ทั้งด้านการอบรมเลี้ยงดูการเอาใจใส่ ความ รัก ความอบอุ่น และจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้าน สติปัญญา (กรมว ิช าการ, 2546: 18) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
มีแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยยึดหลักการและแนวคิดในการอบรมเลี้ยง ดูให้การศึกษา คำนึงถึงความสนใจและความ ต้องการของเด็กทุกคนเพื่อให้เด็กพัฒนาทั้ง ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา อย่างสมดุล อบรมเลี้ยงดูให้การศึกษา หลากหลายกิจกรรม บูรณาการผ่านการเล่น และกิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงผ่าน ประสาทสัมผัสทั้งห้า เหมาะสมกับวัยและ ความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้เด็กแต่ละ คนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข เป็นคนดีและ คนเก่งของสังคม (กรมวิชาการ, 2546ก:8 ) การพูดเป็นรูปแบบหนึ่งของภาษา ที่ มนุษย์ใช้เพื่อสื่อดวามหมาย แสดงความคิด ความรู้สึกทัศนคติ ความสามารถทาง สติปัญญา และการปรับตัวเข้ากับสังคม การ พูดจึงเป็นวิธีสื่อความหมายที่มนุษย์ใช้มาก ที่สุด และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ใน การสื่อความหมายอีกด้วย ภาษาพูดเป็น พื้นฐานในการเรียนรู้ภาษาอ่านและภาษา เขียน และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนในลาขา วิชาต่างๆ (ตันสนีย์ ฉัตรคุปต์. 2543: 35 อ้าง ถึงใน ณัฐวดีศิลากรณ์. 2556: 1) ดังนั้นการ พูดจึงเป็นความสามารถทางภาษาที่สำคัญ ที่ ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย เด็กที่พูดได้เร็ว จะได้รับประโยชน์ด้านการสื่อสารมากกว่าเด็ก ที่พูดช้า การพูดเป็นเครื่องมือช่วยในการ ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่น ๆ ความสามารถ ด้านการพูดในเด็กก่อนวัยเรียน จึงเป็นเสมือน กุญแจเปิดทางไปสู่ความเจริญงอกงามทาง สติปัญญา การพัฒนาชีวิตทางสังคม และการช่วยเหลือ ตนเอง การที่ครูมีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับสำดับขั้นของความสามารถทาง ภาษา จะช่วยให้ครูสามารถส่งเสริมทักษะ ทางภาษา ให้แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม นิทานเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมี ความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย การฟังนิทาน เป็นสิ่งที่ทุกคนชอบและยังเป็นการ ตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติของ เด็ก ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กโดยใช้ นิทานเป็นสื่อ และยังช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ทางภาษาตามแนวการสอนโดยรว ม (Whole Language. อ้างถึงใน นิศารัตน์ ประสานศักดิ์. 2555: 23) นิทานช่วยให้เด็ก ปรับตัวและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ได้ การเลือกนิทานที่หมาะสมกับวัยของเด็ก จะช่วยให้เด็กปรับตัวและเตรียมตัวให้พร้อม กับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน นิทานพื้นบ้านของไทยถ่ายทอดโดย มุข ปาฐะ มีลักษณะที่เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำ ธรรมดาเป็นภาษาร้อยแก้วไม่ใช่ร้อยกรอง เล่ากันด้วยปากสืบกันมาเป็นเวลาช้านาน แต่ต่อมาในระยะหลังเมื่อการเขียนเจริญขึ้น ก็อาจเขียนขึ้นตามเค้าเดิม ที่เคยเล่าด้วย ปากเปล่า ไม่ปรากฎว่าผู้เล่าดั้งเดิมนั้นเป็น ใครอ้างแต่ว่าเป็นของเก่า ฟังมาจากผู้เล่าซึ่ง เป็นบุคคลสำคัญยิ่งในอดีตอีกต่อหนึ่ง ผิดกับ นิยายสมัยใหม่ที่ทราบตัวผู้แต่ง (ประคอง นิมมานเหมินท์. 2543: 6; อ้างอิงจาก กุหลาบ มัลลิกะมาส. 2515)
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะ ศึกษาการจัดกิจกรรมนิทานพื้นบ้าน ที่มีผลต่อ ความสามารถในด้านการพูดของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ในการส่งเสริมความสามารถในด้านการพูด ของเด็กปฐมวัย ได้นำแนวทางไปใช้เป็นเกิด ประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยต่อไป 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย - หญิง ที่มีอายุ ระหว่าง 5 - 6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้น อนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 16 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความสามารถด้านการ พูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการ จัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ ด้านการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับ การจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน สมมติฐานของการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ เล่านิทานพื้นบ้าน มีความสามารถด้านการพูด หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัด กิจกรรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็น เด็กนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุ 5 - 6 ปี กำลัง ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนไทยรัฐ วิทยา 72 (เทศบาล 8) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดกิจกรรมการเล่า นิทานพื้นบ้าน จำนวน 24 แผน แผนละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3 แผน รวม 8 สัปดาห์ 2. แบบทดสอบวัดความสามารถด้าน การพูดของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านรู้คำศัพท์ ด้านพูดเป็น ประโยคและด้านพูดเป็นเรื่องราว การดำเนินการจัดกิจกรรม 1. ทำการทดสอบเด็กกลุ่ม ตัวอย่างด้วยแบบวัดความสามารถด้าน พูดของเด็กปฐมวัยเป็นการสอบก่อน การทดลอง 2. สร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในห้องเรียน เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ 3. ดําเนินการทดลองโดยใช้ การเล่านิทานพื้นบ้าน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์
ตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน ระยะการจัดกิจกรรม N X S.D. ก่อนการจัดกิจกรรม 16 27.75 3.15 หลังจัดกิจกรรม 16 75.94 6.63 จากตารางที่ 4 พบว่า คะแนนความสามารถใน ด้านการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนได้รับการจัดจด กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 27.75 และหลังได้รับการกิจกรรมการร เ เล่านิทานพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 75.94 ตามลำดับ ตอนที่ 2 เปรียบเทียบคะแนนความ สามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน พื้นบ้าน 4. หลังจากทดลองทำการทดสอบวัด ความสามารถด้านการพูดด้วยแบบวัด ความสามารถการด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ฉบับเดียวกับก่อนการทดลอง 5. นำข้อมูลที่ได้จากแบบทดสอบในข้อที่ 1 และข้อที่ 4 มาตรวจให้คะแนน แล้วนําข้อมูล ที่ได้ไปวิเคราะด้วยวิธีการทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ผลของการเปรียบเทียบ ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน ตอนที่ 2 ผลของการเปรียบเทียบ ความสามารถด้านการพูดของเด็ก ปฐมวัยระหว่างก่อนและหลังการจัด กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน
ตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนและ หลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน ผู้เรียน คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน คนที่ 1 24 68 คนที่ 2 25 70 คนที่ 3 25 70 คนที่ 4 25 71 คนที่ 5 25 74 คนที่ 6 27 69 คนที่ 7 30 82 คนที่ 8 31 87 คนที่ 9 33 87 คนที่ 10 34 87 คนที่ 11 28 79 คนที่ 12 25 74 คนที่ 13 30 78 คนที่ 14 25 74 คนที่ 15 29 73 คนที่ 16 28 72 ค่าเฉลี่ย (X) 27.75 75.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 3.15 6.63 จากตารางที่ 5 พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการ จัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านมีคะแนน ความสามารถด้านการพูดหลังการจัดกิจกรรม สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ก่อนการจัด กิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 27.75 และ หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 75.94 คะแนนส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานก่อนการจัดกิจกรรมเท่ากับ 3.15 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 6.63 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผลการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ เล่านิทานพื้นบ้าน มีความสามารถในด้านการ พูดของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรม สูงกว่า ก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 อภิปรายผล ความสามารถทางด้านการพูดของเด็ก ปฐมวัย พบว่าความสามารถด้านการพูดของ เด็กปฐมวัยโดยรวมสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก การใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านเป็นการ จัดประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็ก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางภาษา เปิดโอกาส ให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระจากการได้ฟัง นิทานพื้นบ้าน ทําให้จําง่าย เข้าใจความหมาย ของคําและยังได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน อีกด้วย นับเป็นการเพิ่มเติมประสบการณ์การ เรียนรู้ทางภาษาให้กับเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551: 146) ได้กล่าวว่า การฟังของเด็กเป็นการรับรู้ เรื่องราวด้วยประสาทสัมผัสทางหูที่เด็กสะสม และนําไปสร้างเสริมพัฒนาการทางภาษา มากกว่าการใช้เพื่อพัฒนาปัญญา เด็กจะเก็บ คําพูด จังหวะเรื่องราวจากสิ่งที่ฟังมาสานต่อ เป็นคําศัพท์เป็นประโยคที่ถ่ายทอดไปสู่การพูด ถ้าเรื่องราวที่เด็กได้ฟังมีความชัดเจนง่ายต่อการ เข้าใจเด็กจะได้คําศัพท์และมีความสามารถ เพิ่มขึ้น จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน พื้นบ้าน มีพัฒนาการความสามารถด้าน การพูดโดยรวมสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า การ จัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านเป็นอีก กิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด ด้านการพูดได้เป็นอย่างดี ครูจึงมีบทบาท สําคัญในการช่วยกระตุ้น คอยชี้แนะ ชมเชยให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระใน ด้านการพูด โดยจัดสภาพแวดล้อมใน ห้องเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ตาม ความสนใจของเด็กจะช่วยส่งผลให้การ เรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ขณะเล่านิทาน หากเด็กไม่เข้าใจข้อความบางตอนหรือ ศัพท์บางคำเด็กก็อาจจะถามหรือให้เล่าซ้ำ พฤติกรรมเช่นนี้ จะทำเด็กเป็นคนที่กล้า ถาม กล้าแสดงออกทำให้เด็กเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้นไปทำให้เด็กมีความฉลาด ทางปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ กิจกรรมการเล่านิทานครั้งนี้มุ่งเน้นการ พัฒนาความสามารถด้านการพูดเมื่อเด็ก ได้ฟังนิทาน การเปรียบเทียบความสามารถด้าน การพูดของเด็กอนุบาลชั้นที่ 3 ที่ได้รับจาก การจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนการ ทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ.05 ทั้งนี้ สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
ดังนั้นกิจกรรมเล่านิทานพื้นบ้าน โดยใช้ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างไม่ เคร่งเครียด เด็กสามารถพูดสร้างประโยคจาก สิ่งที่เห็นในภาพได้จากประสบการณ์เดิมและ ประสบการณ์ใหม่ ในสิ่งที่ชอบด้วยคําพูดของ เด็กเอง ซึ่งจะช่วยส่งผลให้เด็กพูดเป็นประโยค สมบูรณ์ได้ต่อไปอีก ข้อเสนอแนะ 1 ควรศึกษาทำความเข้าใจขั้นตอนการจัด กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน ก่อนการนำไปใช้ เพื่อเป็นการนำไปใช้เสริมสร้างในความสามารถ ด้านการพูดของเด็กปฐมวัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 2. อาจมีการพัฒนากิจกรรมการเล่านิทาน พื้นบ้านโดยเสริมกิจกรรมอื่น ๆ เช่น กิจกรรม บทบาทสมมติให้เด็กได้ปฏิบัติเล่นบทบาท สมมติตามนิทานพื้นบ้านที่ฟัง จะเป็นการ เชื่อมโยงทักษะการพูดและการใช้ภาษาไปสู่ ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะทางด้านร่างกายและยัง เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานอีกด้วย 1. ความสามารถด้านการพูดในด้านการ พูดคําศัพท์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม เล่านิทานพื้นบ้าน ปรากฏว่าหลังการ ทดลองเด็กมีพัฒนาการด้านการพูดเข้าใจ ความหมาย สูงกว่าก่อนการทดลองทั้งนี้ อาจเป็นเพราะเด็กมีโอกาสพูดคุย ซักถาม และแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระใน คําศัพท์เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจาก การพูดจึงทําให้เกิดการเรียนรู้และการ พัฒนาความสามารถทางด้านภาษา 2. ความสามารถด้านการพูดเป็น ประโยคและพูดเป็นเรื่องราว ก่อนและ หลังการจัดกิจกรรมเล่า นิทานพื้นบ้าน ป ร า ก ฏ ว ่ า ห ล ั ง ก า ร ท ด ล อ ง เ ด ็ ก มี ความสามารถด้านการพูดเป็นประโยคสูง กว่าก่อนการทดลอง ทั้งนี้อาจจะเป็น เพราะว่าเด็กสามารถคิดคําและรู้จักใช้คํา วลีจากประโยคที่เคยได้ยินมาจึงทําให้เด็ก มีพัฒนาการด้านการพูดเป็นประโยคและ พูดเป็นเรื่องราวสูงขึ้น
เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการ. (2540). คู่มือหลักสูตรก่อนประถมศึกษาพุทธศักราช 2540 (อายุ 3 - 5 ปี). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2541). การเล่านิทาน. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 18(4), 10-9. . . (2548). การเลือกนิทานสอนเด็ก. การศึกษาปฐมวัย 9 (1): 30-37. เกริก ยุ้นพันธ์. (2538). การเล่านิทาน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. . (2539). การเล่านิทาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสัน. . (2543). การเล่านิทาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. ขวัญนุช บุญยู่ฮง. (2546). การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยการเล่า"นิทานคณิต". ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. จุฬารัตน์ อินนุพัฒน์. (2543). พัฒนาการทางการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประลบการณ์ การเล่นมุมบล็อก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). 'กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ณัฐวดี ศิลากรณ์. (2556). ความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่า นิทานประกอบหุ่น. ปริญญานิพนธกศ.ม. (การศึกษา ปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ตันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2542). สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา. ตรียว นิยมธรรม; และ ประภัสสร นิยมธรรม. (2541). พัฒนาการทางภาษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาฒิวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. นงเยาว์ คลิกคลาย. (2543). ความสามารถด้านการฟังและพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้เพลงประกอบ. กรุงเทพฯ: ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษา ปฐมวัย) บัณฑิตวิทยายมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เนื้อน้อง สนับบุญ. (2541). ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การเล่านิทาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.