๑.คำนาม
คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่
สภาพ อาการ ลักษณะ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต
ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม เช่นคำว่า คน ปลา ตะกร้า ไก่
ประเทศไทย จังหวัดพิจิตร การออกกำลังกาย การศึกษา
ความดี ความงาม กอไผ่ กรรมกร ฝูง ตัว เป็นต้น
หน้าที่ของคำนาม มีดังนี้คือ
๑. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
- ประกอบชอบอ่านหนังสือ
- ตำรวจจับผู้ร้าย
๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ เช่น
- วารีอ่านจดหมาย
- พ่อตีสุนัข
๒.คำสรรพนาม
คำสรรพนาม หมายถึง คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว
เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่นคำว่า ฉัน เรา ดิฉัน
กระผม กู คุณ ท่าน ใต้เท้า เขา มัน สิ่งใด ผู้ใด นี่ นั่น อะไร
ใคร บ้าง เป็นต้น หน้าที่ของคำสรรพนาม มีดังนี้คีอ
๑. เป็นประธานของประโยค เช่น
- "เขา"ไปโรงเรียน
- "ใคร"ทำดินสอตกอยู่บนพื้น
๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
(ผู้ถูกกระทำ) เช่น
- ครูจะตี"เธอ"ถ้าเธอไม่ทำการบ้าน
- คุณช่วยเอา"นี่"ไปเก็บได้ไหม
๓.คำกริยา
คือ คำที่แสดงอาการของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น บิน นอน
เห็น ชอบ ตัด เหมือนหัวเราะ คล้าย อาจ ต้อง เป็น วิ่ง
คำกริยาจะทำหน้าที่เป็นตัวแสดงอาการ หรือการกระทำของ
ประธานในประโยค เช่น
เก่งวิ่งเร็วมาก พ่อหัวเราะเจ้าโต้ง
กั้งเหมือนกุ้ง เยี่ยวบินเร็วมาก
อาเป็นไข้หวัด เเม่ครัวปรุงอาหาร
๔.คำวิเศษณ์
คือ คำที่ใช้ประกอบคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วย
กันเองให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น สูง เตี้ย ดี ชั่ว กลม แดง
เหม็น หอม นุ่ม เร็วน้อย
4.1 ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น ไข่สดอยู่ในตะกร้า คนแก่กินหมาก
4.2 ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น เขานั่นแหละเป็นคนวาดรูป
เราทั้งหมดช่วยกันทำอาหาร
4.3 ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น ฉันกินขนมเก่ง พ่อตื่นเช้า
4.4 ทำหนาที่ขยายคำวิเศษณ์ เช่น เธอวิ่งเร็วมาก เขาพูดเสียงดัง
จริงๆ
๕.คำบุพบท
คำที่นำหน้าคำนาม คำสรรนาม หรือคำกริยา เพื่อเชื่อมคำข้างหน้า
และขยายคำข้างหน้านั้นๆ เพื่อบอกสถานที่ เวลาเเสดงอาการ
หรือเเสดงความเป็นเจ้าของ เช่น
ใน ใกล้ บน แก่ แด่ เพื่อ ด้วย กับ สำหรับ ของ แห่ง เพราะ ใต้
คำบุพบททำหน้าที่นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา เพื่อขยายคำๆ
นั้น ดังนี้
5.1 ทำหน้าที่นำหน้าคำนาม เช่น หวังเต๊ะ เป็นศิลปิน
แห่งชาติ เก้าอี้วางอยู่ใกล้ประตู
5.2 ทำหน้าที่นำหน้าคำสรรพนาม เช่น คุณย่าหวังดีต่อเธอ ชุดสีฟ้าอยู่ที่
เขา
5.3 ทำหน้าที่นำหน้าคำกริยา เช่น ตะกร้าสำหรับใส่ของ ขนมที่แจกอยู่
ทางนั้น
๖.คำสันธาน
คำที่ใช้เชื่อมคำ หรือประโยคเข้าด้วยกัน เช่น และ พอ...ก็ เเต่ ถึง...ก็
เพราะว่า ถ้า หรือ มิฉะนั้น อนึ่ง ส่วน ราวกับ อย่างไรก็ตาม
คำสันธาน มีหน้าที่เชื่อคำกับคำ และประโยคกับประโยค ดังนี้
6.1 เชื่อมคำกับคำ เช่น ลูกกับเเม่ พี่และน้อง
6.2 เชื่อมประโยคกับประโยค เช่น ฉันชอบดื่มนมแต่น้อง
ชอบดื่มน้ำหวาน คุณพ่อและคุณเเม่ไปทำงาน
๗.คำอุทาน
เป็นคำที่แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด หรือผู้เขียนให้
มีความหมายหนักเเน่นยิ่งขึ้น ซึ่งคำอุทานที่บอกอารมณ์ หรือ
ความรู้สึกโดยตรง จะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับข้าง
หลัง เช่น
โธ่! โอ๊ย! ว้าย! อ้อ! อุ๊ย! อ้าว! เอ๊ะ! ว้าว!
๑. คุณครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนออกเป็น ๔ กลุ่ม
กลุ่มละ ๖ คน และแจกตารางบิงโกกลุ่มละ ๑ แผ่น
๒. ครูสุ่มหยิบคำศัพท์ที่เป็นชนิดของคำในกล่อง
๓. คุณครูหยิบไปเรื่อยๆจนกว่ากลุ่มไหนบิงโกครบ ๓ รอบ
เป็นผู้ชนะ
๔. หลังจากนั้นให้นักเรียนศึกษาชนิดของคำแต่ละชนิด
๕. เมื่อนักเรียนศึกษาเข้าใจแล้ว ให้นักเรียนแต่งประโยค
จากชนิดของคำ กลุ่มละ ๑-๒ ประโยค
๖. ครูและนักเรียนสรุปร่วมกัน