The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตาบลสันติสุข มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดยะลา

โดย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนยะลา กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sonchai.thz, 2021-12-28 04:16:45

รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตาบลสันติสุข มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดยะลา

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตาบลสันติสุข มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดยะลา

โดย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนยะลา กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

Keywords: งานวิจัย

รายงานการวิจัยฉบบั สมบูรณ์
รูปแบบการขบั เคลื่อนยทุ ธศาสตร์การพฒั นาชุมชนตาบลสนั ตสิ ุข

มัน่ คง ม่ังคัง่ ยง่ั ยืน ในพ้ืนทจี่ งั หวัดยะลา
Strategy Driving Model for Community Development
in Peaceful, Stable, Prosperious, and Sustainable Societies in Yala Province

โดย
ศูนย์ศึกษาและพฒั นาชมุ ชนยะลา

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564



รายงานการวิจัยฉบบั สมบูรณ์
รูปแบบการขบั เคลื่อนยทุ ธศาสตร์การพฒั นาชุมชนตาบลสนั ตสิ ุข

มัน่ คง ม่ังคัง่ ยง่ั ยืน ในพ้ืนทจี่ งั หวัดยะลา
Strategy Driving Model for Community Development
in Peaceful, Stable, Prosperious, and Sustainable Societies in Yala Province

โดย
ศูนย์ศึกษาและพฒั นาชมุ ชนยะลา

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564



กติ ติกรรมประกาศ

รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตาบลสันติสุข มั่นคง
ม่ังคั่ง ย่ังยืน ในพื้นท่ีจังหวัดยะลา เสร็จสมบูรณ์ไปได้ โดยได้รับความกรุณาจากนายอานวย ศรีระแก้ว
ผชู้ ว่ ยเลขาธกิ ารศนู ย์อานวยการบรหิ ารจงั หวดั ชายแดนภาคใต้ (กรมการพัฒนาชุมชน) นายปัญญา น่วมประวัติ
ผู้อานวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนยะลา และนายอัสมัน แวกามา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ชานาญการ กลุ่มงานสังคมจิตวิทยาเพ่ือความม่ันคง กองส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเพ่ือความ
มน่ั คง ศนู ย์อานวยการบริหารจังหวดั ชายแดนภาคใต้ ที่กรุณาให้โอกาสในการทางานวิจัย สนับสนุนและ
ใหข้ อ้ เสนอแนะทเี่ ปน็ ประโยชนต์ ่อการวิจัย ขอขอบพระคุณเปน็ อย่างสงู ไว้ ณ ทน่ี ี้

ขอขอบพระคุณ นายเสรี จิตรเวช พัฒนาการจังหวัดยะลา สานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา
สานักงานพัฒนาชุมชอาเภอท้ัง 8 อาเภอในจังหวัดยะลา ส่วนราชการท่ีมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพ้ืนท่ี
ตาบล ผู้ปกครองท้องท่ีในตาบล องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ผู้นาศาสนา และภาคประชาชน ท้ัง 8
อาเภอในจังหวดั ยะลา ผู้ใหข้ อ้ มลู ในการวิจยั ครั้งนี้ และคณะวิจยั ศนู ยศ์ กึ ษาและพัฒนาชุมชนยะลา

ประการสาคัญคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ อาจารย์ประจาหลักสูตร
นิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่เป็นกาลังใจ และให้คาปรึกษาในทุกขั้นตอนของการดาเนินการวิจัย
ให้แลว้ เสร็จด้วยดี

ศูนยศ์ ึกษาและพฒั นาชมุ ชนยะลา
กนั ยายน 2564



หัวข้อวจิ ัย รปู แบบการขบั เคล่ือนยุทธศาสตรก์ ารพัฒนาชมุ ชนตาบลสันติสขุ
มัน่ คง มั่งคั่ง ย่งั ยืน ในพ้นื ที่จังหวัดยะลา
คณะทางาน ศนู ยศ์ ึกษาและพฒั นาชุมชนยะลา สถาบันการพฒั นาชมุ ชน
กรมการพัฒนาชมุ ชน
ปีงบประมาณ 2564
ระยะเวลาดาเนินการ พฤษภาคม – กันยายน 2564

บทคัดยอ่

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) เพ่ือวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ตาบลสันติสุข
ม่ันคง ม่ังคั่ง ย่ังยืน ในพ้ืนที่จังหวัดยะลา 2) เพื่อศึกษากระบวนการและผลการดาเนินงานตาม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ตาบลสันติสุข ม่ันคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นท่ีจังหวัดยะลา 3) เพื่อเสนอ
รูปแบบการขบั เคล่อื นยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นาชุมชนตาบลสนั ตสิ ขุ ม่นั คง มั่งคัง่ ย่งั ยืน ในพ้ืนที่จังหวัดยะลา
การวิจยั เรอื่ งนเี้ ปน็ การวิจัยเชงิ คณุ ภาพ ผู้ให้ข้อมลู หลกั คอื ตวั แทนสว่ นราชการ ท่ีมีเจ้าหน้าท่ีปฏิบัติงาน
ในพ้ืนทต่ี าบล ผปู้ กครองท้องทีใ่ นตาบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นาศาสนา และภาคประชาชน ใช้
วิธีการเลือกแบบเจาะจง เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ก่ึงโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่ม
โดยวิธีการสมั ภาษณเ์ ชิงลกึ การสนทนากลมุ่ และวเิ คราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ตาบลสันติสุข ม่ันคง มั่งค่ัง ยั่งยืน ในพื้นที่
จังหวัดยะลาท่ีเข้มแข็งเกิดจากผู้นาชุมชนท่ีมีศักยภาพ 2) กระบวนการและผลการดาเนินงานตาม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ตาบลสันติสุข ม่ันคง ม่ังค่ัง ยั่งยืน ในพ้ืนที่จังหวัดยะลา พบว่า
2.1) กระบวนการมี 5 ด้าน 2.2) ผลการดาเนินงานเกิดจากการส่งเสริมการพัฒนาตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง และ3) รูปแบบการขับเคล่ือนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตาบลสันติสุข ม่ันคง
ม่ังคั่งย่ังยืน ในพื้นที่จังหวัดยะลา มี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบ Start 3 ป. และรูปแบบ 5 ด้าน+ 6 กลยุทธ์
ทง้ั นก้ี ารขบั เคลอื่ นยทุ ธศาสตร์ควรมาจากปัญหาทแ่ี ท้จริงของประชาชน

คำสำคญั : รูปแบบ, ยุทธศาสตร์การพฒั นาชมุ ชน, ตาบลสันตสิ ขุ , มั่นคง ม่ังคั่ง ย่ังยืน, จังหวดั ยะลา



Research Title: Strategy Driving Model for Community Development in Peaceful,
Stable, Prosperious, and Sustainable Societies in Yala Province
Working Group: Yala Community Development and Leanrinig Center, Community
Development Institute, The Community Development Department
Fiscal Year: 2021
Duration: May – September 2021

Abstract

This study comes with the objectives of 1) analyzing the strategy of community
development towards peaceful, stable, prosperous, and sustainable societies in Yala
Province, 2) investigating the process and the results of the community development
strategy, and 3) introducing a strategy development for such a community
development. This research is developed as a qualitative research with the key
informants purposively selected among government agency representatives working in
the field of the sub-district areas, local administrators, religious leaders, and the public.
Besides, the research applies a semi-structured interview, focus group with in-depth,
and descriptive analysis. The results of the research are as follows: 1) community
development strategies are generated by strong potential community leaders, 2)
process and performance based on community development strategies can be seen
from five aspects, and applied to the performance outcome in the lens of Sufficiency
Economy, and 3) two models of driving strategy for community development are
inclusive of Start 3 Por, and 5 Dimensions + 6 Strategies model. All in all, the true
issues should be responding to the public interests.

Keywords: Model, Community Development Strategy, Santisuk Sub-district, Stability-
Prosperity-Sustainability, Yala Province



สารบญั

หนา้

กติ ตกิ รรมประกาศ ก

บทคัดย่อภาษาไทย ข

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ค

สารบัญ ง

สารบญั ตาราง ฉ

สารบญั ภาพ ช

บทท่ี

บทท่ี 1 บทนา 01

1.1 ความเป็นมาและความสาคญั ของปญั หา 01

1.2 วัตถุประสงค์การวิจยั 06

1.3 ปญั หาทต่ี อ้ งการทราบ 6

1.4 ขอบเขตการวิจยั 06

1.5 ประโยชนท์ ค่ี าดวา่ จะไดร้ ับ 07

1.6 นิยามศัพทเ์ ฉพาะทีใ่ ช้ในการวจิ ยั 07

บทที่ 2 แนวคดิ ทฤษฎี และงานวิจัยทเี่ กี่ยวขอ้ ง 09

2.1 แนวคดิ เกีย่ วกบั ยทุ ธศาสตร์ 09

2.2 แนวคดิ เกย่ี วกับการมสี ่วนร่วมของประชาชน 28

2.3 แนวคิดเก่ยี วกับการขบั เคลือ่ นกระบวนการแผนตาบล/ชมุ ชน 46

2.4 แนวทางเกยี่ วกับแผนตาบล มัน่ คง มงั่ คั่ง ยัง่ ยืน

ในพน้ื ทจี่ ังหวดั ขายแตนภาคใต้ 62

2.5 แนวทางการขบั เคลอ่ื นสภาสันตสิ ุขตาบลในพ้ืนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 67

2.6 ระเบยี บกระทรวงมหาดไทยวา่ ด้วยการจดั ทาแผนและประสานแผนพฒั นา

พนื้ ทใ่ี นระดับอาเภอและตาบล พ.ศ. 2562 74

2.7 แนวทางปฏิบัติในการดาเนินการตามระเบยี บกระทรวงมหาดไทย

วา่ ด้วยการจดั ทาแผนและประสานแผนพฒั นาพ้ืนท่ีในระดับอาเภอและตาบล

พ.ศ. 2562 (ฉบบั ปรบั ปรุง ประจาปงี บประมาณ พ.ศ. 2564) 82

2.8 งานวิจัยที่เกีย่ วขอ้ ง 87

2.9 กรอบแนวคิดการวิจัย 91

บทที่ 3 ระเบยี บวิธีวจิ ยั 92

3.1 ข้นั ตอนดาเนินการวจิ ยั 92

3.2 ประชากรและผู้ให้ข้อมูลหลกั 95

3.3 เครอื่ งมือที่ใช้ในการวจิ ยั 101

3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 103

สารบญั (ตอ่ ) จ

3.5 การวเิ คราะห์ข้อมลู หน้า
3.6 สรปุ ภาพรวมขนั้ ตอนการวจิ ัย 103
บทที่ 4 ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู 104
4.1 องค์ความรทู้ ผ่ี ่านการวเิ คราะห์จากยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน 105

ตาบลสันติสุข ม่นั คง ม่ังคง่ั ยั่งยนื ในพนื้ ทจี่ ังหวดั ยะลา 105
4.2 กระบวนการและผลการดาเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาชมุ ชน
128
ตาบลสันติสขุ ม่นั คง มัง่ ค่ัง ยั่งยืน ในพน้ื ทจ่ี ังหวัดยะลา
4.3 รูปแบบการขับเคลือ่ นยุทธศาสตรก์ ารพัฒนาชมุ ชนตาบลสนั ตสิ ขุ 134
138
มัน่ คง มง่ั คั่งย่งั ยนื ในพ้ืนที่จังหวัดยะลา 138
บทที่ 5 สรุป อภปิ รายผลการวจิ ัย และข้อเสนอแนะ 141
145
5.1 สรุปผลการวจิ ยั 146
5.2 อภิปรายผลการวจิ ัย 151
5.3 ขอ้ เสนอแนะ 152
บรรณานุกรม 162
ภาคผนวก 166
ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการวจิ ัย 168
ภาคผนวก ข หนงั สือขอความอนเุ คราะห์ในการเกบ็ ขอ้ มูลวิจยั 172
ภาคผนวก ค หนงั สอื ขอความอนเุ คราะหบ์ ุคลากรร่วมเปน็ ท่ีปรกึ ษาวจิ ัย
ภาคผนวก ง ภาพประกอบ
ภาคผนวก จ คณะผจู้ ัดทารายงานการวจิ ัยฉบบั สมบรู ณ์



สารบัญตาราง

ตารางท่ี หน้า
3.1 แสดงขน้ั ตอน วิธีการ เครอื่ งมือ ผ้ใู ห้ขอ้ มลู หลัก และผลท่ีได้รบั จากการดาเนนิ การวิจัย 93
3.2 แสดงรายช่ือ ตาแหนง่ และเหตผุ ลท่ีคดั เลอื ก ตาบลบุดี อาเภอเมอื งยะลา 96
3.3 แสดงรายชือ่ ตาแหนง่ และเหตผุ ลทค่ี ัดเลือก ตาบลบือมัง อาเภอรามนั 96
3.4 แสดงรายช่ือ ตาแหน่ง และเหตุผลทคี่ ัดเลอื ก ตาบลปโุ รง อาเภอกรงปินงั 97
3.5 แสดงรายชื่อ ตาแหน่ง และเหตผุ ลท่คี ดั เลือก ตาบลละแอ อาเภอยะหา 97
3.6 แสดงรายชื่อ ตาแหนง่ และเหตผุ ลที่คัดเลือก ตาบลบาละ อาเภอกาบัง 98
3.7 แสดงรายช่อื ตาแหนง่ และเหตผุ ลที่คดั เลือก ตาบลเขอ่ื นบางลาง อาเภอบันนงั สตา 98
3.8 แสดงรายช่อื ตาแหน่ง และเหตุผลทีค่ ดั เลือก ตาบลแม่หวาด อาเภอธารโต 99
3.9 แสดงรายชือ่ ตาแหนง่ และเหตุผลทค่ี ดั เลอื ก ตาบลยะรม อาเภอเบตง 99
3.10 แสดงรายชอ่ื ตาแหนง่ และเหตุผลทีค่ ดั เลอื ก 100

สารบญั ภาพ ช

ภาพที่ หนา้
2.1 ขัน้ ตอนการบรู ณาการแผนชมุ ชนระดบั ตาบล 57
2.2 การเชอื่ มโยงแผนพัฒนาพนื้ ท่ี 66
2.3 แสดงกลมุ่ ภารกิจของสภาสนั ติสขุ ตาบล 71
2.4 องคป์ ระกอบ โครงสร้างและกลุม่ ภารกิจของสภาสนั ตสิ ุข 74
2.5 แสดงกรอบแนวคดิ การวจิ ยั 91
4.1 รปู แบบ Start 3 ป. 135
4.2 รปู แบบ 5 ดา้ น+ 6 กลยทุ ธ์ 137

1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ควำมเปน็ มำและควำมสำคัญของปญั หำ

สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรุนแรงและเกิดความไม่สงบมาอย่าง
ต่อเนื่องโดยมีลักษณะปัญหาท่ีมีความซับซ้อนละเอียดอ่อนและเช่ือมโยงกันหลายมิติ ท้ังนี้ปัจจัยหลักท่ี
ถูกนามาเป็นเง่ือนไขของปัญหา คือ ชาติพันธ์ุ ศาสนา วัฒนธรรม และ ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์
เฉพาะของพื้นท่ี รวมท้ังประชาชนมีความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการกาหนดวิถีชีวิตเพื่อดารงอยู่ใน
สังคมไทยภายใต้ความเข้าใจ และการยอมรับบนพื้นฐานของความเป็นอัตลักษณ์ดังกล่าว อนึ่ง การใช้
ความรุนแรงท่ีเกิดขึ้นมาอย่างต่อเน่ือง เป็นผลมาจากคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอุดมการณ์แตกต่างจากรัฐ มี
ความรู้สึกคับแค้นใจและรสู้ ึกไม่ไดร้ ับความเป็นธรรมจากการดาเนินงานของภาครัฐ จึงนามาเป็นเง่ือนไข
ขยายผล และต่อสดู้ ้วยการใช้ความรุนแรง สง่ ผลทาใหเ้ กิดบรรยากาศความกลัว ความไมไ่ ว้วางใจระหว่าง
รัฐกบั ประชาชนและประชาชนกับประชาชน รวมท้ังยังส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อการสูญเสีย
ชีวติ และทรัพยส์ ิน ของประชาชนในพน้ื ท่ี นอกจากน้ี ความไม่เข้าใจและ ไม่เห็นคุณค่าความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริงของคนบางกลุ่ม ยังคงถูกใช้เป็นเงื่อนไขสร้างความชอบธรรมในการก่อเหตุ
รุนแรง ส่งผลให้ ประชาชนมีความหวาดระแวงและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่
รัฐบางคน ในขณะท่ีการพัฒนาพ้ืนที่ทั้งในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต สังคมและ
การศกึ ษา ไม่สอดคลอ้ งกบั อัตลักษณ์ของพน้ื ท่ี รวมถึงการบริหารจัดการของภาครัฐ ที่ขาดเอกภาพ และ
การบูรณาการการทางานร่วมกันอย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงและความไม่สงบ
ดังกล่าว

การแก้ปัญหาของความไม่สงบนั้น ท่ัวโลกต่างก็ให้ความสาคัญและพยายามค้นหาวิธีท่ีดี
ท่ีสุดสาหรับการจัดการกับความไม่สงบเหล่าน้ี ในส่วนของการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นนั้นทาง
รัฐบาลหลาย ๆ ชุดท่ีมีโอกาสเข้ามาบริหารประเทศพยายามที่จะใช้นโยบายต่าง ๆ เข้าไปใช้ ซึ่งใน
ปจั จบุ นั คณะรัฐบาลไดม้ ีนโยบายการบรหิ ารและพัฒนาจงั หวัดชายแดนภาคใต้ และรักษาแนวทางที่ได้รับ
การยอมรับจากทุกฝ่ายอย่างต่อเน่ือง คือ การที่จะแก้ไขปัญหาโดยยึดหลักยุทธศาสตร์พระราชทาน
“เขา้ ใจ เขา้ ถึง พฒั นา” และ “ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่
รัฐลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ และกาหนดให้มีกระบวนการพูดคุยเพ่ือสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย
จัดให้เป็นวาระแห่งชาติ ตลอดจนให้ทุกภาคส่วนได้ส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
และใหค้ วามสาคัญกับสังคมพหวุ ฒั นธรรม ท้งั นว้ี ิธีการท่สี ามารถสร้างความเขา้ ใจ และลดความไม่สงบลง
ได้ โดยอาจจะถือได้วา่ เปน็ การแกป้ ญั หาที่ต้นเหตุ นั่นคอื เครอื ข่าย ซง่ึ เครอื ขา่ ยนั้นหมายถึง “เครือข่าย”
ในปัจจบุ นั มีความหมายประการหน่ึง คือ ขบวนการทางสงั คม อนั เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคล กลุ่ม องค์กร สถาบัน โดยมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และความต้องการบางอย่างร่วมกัน ร่วมกัน
ดาเนินกจิ กรรมบางอย่าง โดยที่สมาชิกของเครือข่ายยังคงความเป็นเอกเทศไม่ข้ึนต่อกันอีกประการหนึ่ง
หมายถึง วัฒนธรรมองค์กร เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่ทาให้มีการจัดความสัมพันธ์ภายในองค์กรหน่ึง
ระหว่างคนในองค์กร และระหว่างองค์กรนั้นกับองค์กรอื่น ๆ ที่เก่ียวข้องโดยการเปลี่ยนจากการจัดการ
แบบลาดับช้ัน (hierarchical) มาเป็นการสร้างเครือข่าย (networking) การสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นใน

2

พน้ื ท่จี ังหวดั ชายแดนภาคใต้ จะตอ้ งอาศยั ความรว่ มมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ท้ังภาครัฐ ภาคเอกชน และ
ภาคประชาชน เนื่องจากการแก้ปัญหาไม่สามารถท่ีแก้ไขให้มีความสงบอย่างต่อเน่ืองได้ จากการที่มี
ผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามที่ได้รับ
ผลกระทบ1

ปัญหาใจกลางของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาความขัดแย้งทาง
การเมืองระหว่างรัฐไทย กับ กลุ่มขบวนการต่อสู้ที่ปาตานี (ปาตานี คือดินแดนที่ครอบคลุมพ้ืนท่ีจังหวัด
ปัตตานี ยะลา นราธวิ าสและอีก 4 อาเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ เทพา จะนะ สะบ้าย้อย และนาทวีใน
ปัจจุบัน ทัง้ น้ี มีการสันนิษฐานในหมูน่ กั วิชาการประสวัตศิ าสตร์บางส่วนวา่ อาจจะครอบคลุมบริเวณพื้นที่
มากกว่านี้ อ้างอิงจากภาคผนวกของรายงานผลการศึกษาคณะกรรมมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา
ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้สภาผู้แทนราษฎร 2552) ท่ีมีกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต
(BRN Co-ordinate) เป็นกลุ่มหลัก ซ่ึงใช้ความรุนแรงก่อความไม่สงบในพ้ืนท่ีโดยอ้างถึงกระบวนการณ์
แบง่ แยกดนิ แดน เนอื่ งจากรู้สกึ ไม่พอใจต่อการยึดครอง ปาตานีของรัฐสยามในอดีต ตลอดจนมีความขับ
ขอ้ งใจตอ่ นโยบายและการปฎิบตั ิงานของเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนที่ทาให้รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม อัน
เป็นการรับรู้สะสมมาตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับผลกระทบ
ท่ามกลางบรรยากาศของความไม่ไว้เน้ือเชื่อใจระหว่างรัฐกับประชาชน รวมทั้งประชาชนกับประชาชน
ด้วยกันเอง จากการที่ได้พูดคุยกับแกนนาทางความคิดของกลุ่มกระบวนการกลุ่มก็ทาให้ได้รับรู้ว่า
“ภายในกลุ่มขบวนการเองก็มีความคิดเห็นท่ีแตกต่างกันทั้งในแง่ของเป้าหมายและวิธีการ” กล่าวคือ มี
ทั้งอุดมการณ์ที่จะแบ่งแยกดินแดนและความต้องการท่ีจะให้มีการกระจายอานาจสู่ท้องถ่ินอย่างเต็ม
รปู แบบ และมีทัง้ ทีม่ ่งุ ใช้ความรุนแรงและที่ต้องการจะใช้สันติวิธีผ่านการพูดคุยกับฝ่ายรัฐ โดยต้องการที่
จะให้รัฐบาลจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันเฉพาะซ่ึงได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายเพ่ือแก้ไขปัญหาจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ และเร่งรัดให้เกิดหน่วยงานที่รับผิดชอบการพูดคุยสันติภาพ (Peace Talk) ในการหา
ทางออกรว่ มกนั อย่างยง่ั ยนื โดยต้ังอยู่บนพ้ืนฐานของความโปร่งใสและจรงิ ใจ2

ท้ังน้ีจะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วหากมีการทาความเข้าใจระหว่างกันกับกลุ่มขบวนการ
ทางออกท่ีเป็นไปได้น้ันอาจจะไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดน หากแต่เป็นการอยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินไทย
ภายใต้สภาพแวดล้อม ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชาว
มลายู ปาตานี การใช้ความรนุ แรงของทั้งสองกลมุ่ นี้ อาจจะมที งั้ ทเ่ี ปน็ อิสระจากกันโดย ไม่ข้ึนอยู่ในสาย
บังคับบัญชาของกันและกัน และท่ีมีความเชื่อมโยงหนุนเสริมกันในลักษณะของแนวร่วมที่ให้การ
สนับสนุนการก่อความไม่สงบ ซ่ึงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยมีประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นท่ีท่ีไม่ได้เข้าข้าง
ฝ่ายใดฝา่ ยหน่งึ เป็นเหยื่อ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้ง ซึ่งแท้จริงแล้ว สิ่งที่ประชาชน
เหล่านี้ต้องการ มีความเป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนท่ีกินอ่ิมนอนหลับ สามารถปฎิบัติศาสนกิจได้อย่างเต็มที่
และอยู่ในสังคมไทยได้อย่างมีเกียรติ มีศักด์ิศรีเท่าน้ัน นอกจากกลุ่มขบวนการต่อสู้ท่ีปาตานี และกลุ่ม
ต่อต้านอานาจรัฐซ่ึงก่อให้เกิดสถานการณ์ความไม่สงบในพ้ืนท่ีแล้ว ยังมีกองกาลังไม่ทราบฝ่ายและกลุ่ม
บุคคล ท่ีแสวงประโยชนจ์ ากสถานการณ์ทเี่ กย่ี วขอ้ งกับความรนุ แรงในพื้นท่ีดว้ ย

1 คณะกรรมการอิสระเพอ่ื ความสมานฉนั ท์แห่งชาติ (กอส.), เอาชนะความรนุ แรงดว้ ยพลงั สมานฉนั ท์
,(กรงุ เทพมหานคร : คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันทแ์ หง่ ชาติ, 2548), หนา้ 5.

2 ศนู ยอ์ านวยการบรหิ ารจงั หวดั ชายแดนภาคใต,้ โครงการเสริมสร้างความเขม้ แข็งให้กบั หมบู่ ้าน ชุมชนและตาบล
จงั หวัดชายแดนภาคใต้ ภายใตแ้ ผนตาบลม่ันคง ม่งั คั่ง ยง่ั ยืน , 2563)

3

โดยกองกาลังไม่ทราบฝ่ายน้ีคือ กองกาลังท่ีสร้างความรุนแรงในพื้นที่แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็น
กองกาลังของรัฐ ของกลุ่มต่อต้านรัฐหรือฝ่ายใด ซึ่งกองกาลังนี้ก็ทาให้เกิดความสับสนในพื้นท่ี
เป็นอย่างมาก ทาให้ประชาชนรู้สึกไม่ปลอดภัย และนามาซึ่งความหวาดระแวงระหว่างรัฐกับ
ประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเองมากข้ึนอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้เกิดการบูรณาการการทางานร่วมกันระหว่าง
กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กับศูนย์อานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และจับ
มือร่วมกับสานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอ ให้ความสาคัญกับการบริหารจัดการที่มีช่องว่างในการ
จัดการด้านการบริหารในตาบลที่มีหลายส่วน จัดตั้งเป็น “สภาสันติสุขตาบล” โดยมี
องค์ประกอบ 5 ภาคส่วน ได้แก่ 1) ภาคส่วนราชการที่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ตาบล ปลัด
ตาบล พัฒนากรตาบล เกษตรตาบล 2) ผู้ปกครองท้องที่ในตาบล 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) ผู้นาศาสนาทุกศาสนา และ5) เครือข่ายภาคประชาชน ซึ่งคณะทางานฯ ในแต่ละพื้นที่จะมี
เจ้าหน้าที่ปกครองและเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฎิบัติหน้าที่ในตาบล ที่รับผิดชอบเพื่อประสาน
ประสานดาเนินงานขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน และมีบทบาทหน้าที่ในการลงพื้นที่ติดตามรับฟัง
ข้อเสนอแนะ ปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ ของพี่น้องประชาชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ให้เกิดพื้นที่สันติสุข มีความรู้ ความเข้าใจในการขับเคลื่อน ภายใต้แผนงานโครงการตาบล
“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน
หมู่บ้านและตาบลแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่ง
เป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรมนุษย์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนใน
ชุมชน

ในโครงการตาบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นโครงการที่รัฐบาลต้องการให้ทุกตาบล
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีการพัฒนาผ่านคนในตาบล โดยพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิด
ประโยชน์แก่คนในชุมชนโดยรวม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความรัก ความสามัคคี และ
ความสงบสุขจากโครงการที่ดาเนินการ โดยมี ศอ.บต. เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนโครงการ
อย่างไรก็ดี โครงการตาบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นโครงการที่มีเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
เท่านั้น จัดขึ้นเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านสภาสันติสุข ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก
นายอาเภอ ประกอบด้วย 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคส่วนราชการที่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่
ตาบล ผู้ปกครองท้องที่ในตาบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นาศา สนาทุกศาสนา และภาค
ประชาชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเชื่อมโยงเศรษฐกิจในระดับตาบลและระดับจังหวัดเพื่อ
พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานระดับตาบล ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสภาสันติสุข ให้มีบทบาทและมี
ส่วนร่วมภายใต้สภาสันติสุขตาบล ในการขับเคลื่อนแผนงานตาบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามกรอบ
การพัฒนาประเทศระยะยาว (ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579)

การขับเคลื่อนแผนงานตาบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมีสภาสันติสุขตาบลเป็น
กลไกสาคัญในการกากับ เร่งรัดและติดตามการปฏิบัติงาน พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ปฏิบัติงานระดับตาบล ควรมี
ความเข้าใจและมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา พยายามสร้างการรับรู้และความ
เข้าใจในบริบทของการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่ตาบล
หมู่บ้าน โดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหา คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน สภา

4

สันติสุข จึงเป็นองค์กรหนึ่งในการรวบรวมผู้นาในท้องที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไข
ปัญหาในระดับตาบลที่ถูกต้อง เป็นสภาที่รวบรวมผู้นาในพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานขับเคลื่อนจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ซึ่งผู้นาทั้ง 5 กลุ่ม มีความหลากหลาย จึงคาดหวังและมีความเชื่อว่า สภาสันติ
สุขตาบลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นแบบอย่างองค์กรพัฒนา การขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาตาบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อประโยชน์
สุขของพี่น้องประช าชนที่มีประสิทธิภ าพและคุณภา พ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ โดยมี
“แผนพัฒนาตาบล” เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ให้แผนพัฒนาในระดับพื้นที่มาจากปัญหา
และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ในการขับเคลื่อนการสร้างความเข้มแข็งให้กับ
ประชาชนหมู่บ้านและตาบล ผ่านกลไก “สภาสันติสุขตาบล” ซึ่งเป็นกลไกสาคัญตามที่กอง
อานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) และจะเป็นการ
สนับสนุนระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทาแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ใน
ระดับอาเภอและตาบล พ.ศ. 2562 ซึ่งกาหนดให้มีการบูรณาการแผนพัฒนาตั้งแต่ระดับตาบล
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตาบล แผนพัฒนา
ท้องถิ่น แผนพัฒนาอาเภอและแผนพัฒนาของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น เป็นต้น รวมทั้ง
องค์กรภาคเอกชนและประชาชนที่ดาเนินการในพื้นที่ให้บูรณาการให้เกิดความเชื่อมโยงและ
สอดคล้องกันในทุกระดับให้เป็นแผนเดียว (One Plan) เพื่อพัฒนาให้ตาบลเป็นแกนหลัก ข้อต่อ
การทางานที่สาคัญในการเชื่อมโยงการทางานในระดับหมู่บ้านและตาบลให้เป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน ตลอดจน สามารถเชื่อมโยงการทางานในระดับหมู่บ้านและตาบลให้เป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน ตลอดจน สามารถเชื่อมโยงแผนงาน โครงการ กิจกรรมของทุกส่วนราชการท่ี
ดาเนินการในระดับตาบลได้ในระยะต่อไป

เพื่อให้การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สอดคล้อง
กับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวมไปถึง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และสาระสาคัญของ
แผนงานตาบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่มุ่งเน้นให้ทุกตาบลมีความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพื้นที่ปลอดเหตุ ประชาชนปลอดภัย ผ่านการบูรณาการ
ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไ ขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย ศอ.บต. พิจารณาแล้วเห็นว่าจาเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรี
พิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคง ผ่าน “โครงการตาบล
มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของ ศอ.บต. โดยสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาและเสริมสร้างความ
เข้มแข็งของประชาชน หมู่บ้าน และตาบลให้กับสภาสันติสุขตาบลดาเนินงานตามโครงการตาบล
มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ผ่านกลไก “สภาสันติสุขตาบล” โดยบูรณาการกับแผนพัฒนาตาบลตาม
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทาแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอาเภอ
และตาบล พ.ศ. 2562 (One Plan)3

3 ศูนยอ์ านวยการบรหิ ารจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการเสริมสร้างความเข้มแขง็ ใหก้ บั หม่บู ้าน ชมุ ชนและตาบล จังหวดั
ชายแดนภาคใต้ ภายใตแ้ ผนตาบลม่นั คง มั่งค่งั ยั่งยืน , 2563)

5

แผนพัฒนาหมู่บ้าน จัดทาโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ตามพระราชบัญญัติ
ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีสาานักงานพัฒนาชุมชนอาาเภอ
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้การสนับสนุน แผนชุมชนระดับตาบล จัดทาโดยศูนย์
ประสานงานองค์การชุมชนระดับตาาบล (ศอช.ต.) ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย
การดาาเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน พ.ศ. 2551 โดยมีสานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอ
เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทาแผน ทั้งนี้กรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะหน่วยงานหลักในการ
ส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน โดยใช้กระบวนการแผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการ
เรียนรู้ของคนในชุมชน การแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
แผนชุมชนได้รับการนาไปใช้ประโยชน์จากส่วนท้องถิ่น ต้องเป็นแผนชุมชนที่ได้รับการรับรอง
มาตรฐานแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ภาคีการพัฒนา
ผู้นาชุมชน และผู้อาศัยในชุมชนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการแผนชุมชนอย่างชัดเจน 4
ซึ่งกระบวนการจัดทาแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน โดยเริ่มจากการกระตุ้นจิตสานึก และความรับผิดชอบของ
ประชาชน/ชุมชน ให้มีจิตสาธารณะ และร่วมกันคิด ร่วมกันจัดหา ร่วมกันเรียนรู้/วิเคราะห์
เพื่อให้รู้และเข้าใจตน โดยใช้กระบวนการชุมชน คือ การสารวจข้อมูลปัญหาและศักยภาพของ
ชุมชน การวิเคราะห์สาเหตุ/แนวทางแก้ไข แล้วกาหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาตนเอง/
หมู่บ้านและชุมชน ออกมาเป็นกิจกรรม/โครงการที่จะแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการ
การพัฒนา ในลักษณะจากชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็ง
และพ่ึงตนเองอย่างย่ังยืนของชุมชน

จากการศึกษาภาพรวมความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ไขปัญหาใน
การพัฒนาโดยใช้โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน ชุมชนและตาบล จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ภายใต้แผนตาบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมี “สภาสันติสุข” เป็นกลไกการ
ขับเคลื่อนงานในระดับตาบล และใช้แผนพัฒนาตาบล (One Plan) เป็นทิศทางในการพัฒนา
งานในระดับพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็นบทบาทหลักของ “พัฒนากร” ในฐานะเป็น
เลขานุการในการจัดทาแผนตาบล (One Plan) สู่ ตาบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน คณะวิจัยศูนย์ศึกษา
และพัฒนาชุมชนยะลา จึงเล็งเห็นความสาคัญของการวิจัย ในหัวข้อ “รูปแบบการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตาบลสันติสุข มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดยะลา ” เพื่อ
วางแผน สนับสนุนแนวทางในการขับเคลื่อนงานของพัฒนากร กรมการพัฒนาชุมช น
กระทรวงมหาดไทย ต่อไป

4 กรมการพัฒนาชมุ ชน, การขบั เคลื่อนกระบวนการแผนชมุ ชน (สานักเสริมสรา้ งความเขม้ แข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ,
2553)

6

1.2 วตั ถุประสงคก์ ำรวิจัย

1.2.1 เพื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ตาบลสันติสุข มั่นคง มั่งค่ัง ย่ังยืน ใน
พื้นท่ีจังหวัดยะลา

1.2.2 เพ่ือศึกษากระบวนการและผลการดาเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
ตาบลสนั ติสุข มน่ั คง ม่ังคั่ง ยง่ั ยนื ในพืน้ ที่จงั หวัดยะลา

1.2.3 เพ่ือเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตาบลสันติสุข มั่นคง
มั่งคั่ง ย่งั ยนื ในพื้นทจี่ งั หวดั ยะลา

1.3 ปญั หำทต่ี ้องกำรทรำบ

1.3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ตาบลสันติสุข ม่ันคง ม่ังค่ัง ย่ังยืน ในพ้ืนท่ีจังหวัดยะลา เป็น
อย่างไร

1.3.2 กระบวนการและผลการดาเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ตาบลสันติสุข
มั่นคง มัง่ ค่ัง ยงั่ ยืน ในพืน้ ทจี่ งั หวัดยะลา เปน็ อย่างไร

1.3.3 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ควรมีตาบลสันติสุข มั่นคง มั่งคั่ง
ยั่งยืน ในพ้ืนท่ี จงั หวดั ยะลารปู แบบใด

1.4 ขอบเขตกำรวิจัย

1.4.1 ขอบเขตดำ้ นเนือ้ หำ
ในการวิจัยคร้ังน้ี ผู้วิจัยได้กาหนดขอบเขตด้านเนื้อหาโดยการทบทวนเอกสาร ตารา

ผลงานวิจยั ท่ีเกยี่ วข้อง โดยศกึ ษาเฉพาะหมวดประเดน็ ทเ่ี กย่ี วข้อง ดังนี้
หมวดที่ 1 แนวคดิ เก่ียวกับยทุ ธศาสตร์
หมวดที่ 2 แนวคดิ เก่ยี วกบั การมสี ่วนร่วม
หมวดที่ 3 แนวคิดเกย่ี วกับหลกั ธรรมมาภบิ าลดา้ นการมีสว่ นร่วมของประชาชน
หมวดที่ 4 แนวคดิ เกี่ยวกบั การจดั ทาแผนตาบล
หมวดท่ี 5 แนวคิดเกย่ี วกับสภาสนั ติสุขตาบล
หมวดที่ 6 แนวคดิ เกี่ยวกับแผนตาบล มัน่ คง มั่งคัง่ ยงั่ ยืน
หมวดที่ 7 การขบั เคลอื่ นสภาสนั ตสิ ขุ ตาบลในพนื้ ทจี่ งั หวัดชายแดนภาคใต้
หมวดที่ 8 งานวจิ ยั ท่เี กีย่ วข้อง

1.4.2 ขอบเขตด้ำนผู้ให้ข้อมลู สำคญั
ผู้ให้ข้อมูลสาคัญด้านการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยคัดเลือกแบบ

เจาะจง จานวน 80 คน โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกจากผู้ทีมีส่วนเก่ียวข้องในการขับเคลื่อนตาบลสันติสุข
ในพื้นทจี่ ังหวดั ยะลา โดยมี สภาสนั ตสิ ุขตาบลในพ้นื ท่ี โดยแบ่งออกเป็นดงั ตอ่ ไปน้ี

1) ภาคสว่ นราชการ ท่มี ีเจ้าหน้าทปี่ ฏิบัติงานในพ้ืนท่ตี าบล เชน่ ปลดั อาเภอ
พฒั นาการอาเภอ พัฒนากรตาบล สาธารณสุข เกษตร ปลดั องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถ่ินในพืน้ ที่

2) ผูป้ กครองทอ้ งท่ใี นตาบล ไดแ้ ก่ กานัน ผใู้ หญบ่ า้ น ทกุ หมบู่ า้ น

7

3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้บริห ารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(นายก อบต. นายกเทศมนตรี) สมาชิกเทศบาล สมาชิกองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิน่

4) ผูน้ าศาสนา หรือ องคก์ รศาสนาในพนื้ ท่ีตาบล
5) ภาคประชาชน เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในตาบล เช่น ตัวแทน
กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มออมทรัพย์ อาสาสมัครต่างๆ ในพน้ื ที่ เชน่ อสม. ผ้แู ทนเกษตร ฯลฯ
1.4.3 ขอบเขตดำ้ นพนื้ ที่
ดาเนินการวจิ ัยในพืน้ ที่จงั หวัดยะลา ท้งั หมด 8 อาเภอ ไดแ้ ก่ อาเภอเมืองยะลา อาเภอรามัน
อาเภอกรงปนิ งั อาเภอยะหา อาเภอกาบัง อาเภอบนั นงั สตา อาเภอธารโต และอาเภอเบตง โดยคัดเลือก
เป้าหมายตาบลที่ขับเคลื่อนตาบลสันติสุขในพื้นที่จังหวัดยะลา จานวน 57 ตาบล โดยเจาะจง
กลุ่มเปา้ หมาย 1 อาเภอๆ ละ 1 สภาสันตสิ ุขตาบล จานวน 8 อาเภอ 8 สภาสันติสขุ ตาบล
1.4.4 ขอบเขตด้ำนระยะเวลำ
ดาเนนิ การระหวา่ งเดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน 2564

1.5 ประโยชนท์ ี่คำดว่ำจะได้รับ

1.6.1 ได้ทศิ ทางการขบั เคลื่อนยทุ ธศาสตร์การพัฒนาตาบล มั่นคง มัง่ คงั่ ย่งั ยืน ในพ้ืนทีจ่ ังหวัดยะลา
1.6.2 ได้รูปแบบการขับเคล่ือนยุทธศาสตร์การพัฒนาตาบล ม่ันคง มั่งคั่ง ย่ังยืน ในพ้ืนท่ีจังหวัด
ยะลาในบรบิ ทความหลากหลายทางวัฒนธรรม
1.6.3 ได้แนวทางในการสนับสนุนบทบาทของพัฒนากรเพ่ือการขับเคล่ือนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ตาบล มนั่ คง ม่ังค่งั ย่ังยืน ในพน้ื ท่ีจังหวัดยะลา

1.6 นยิ ำมศพั ท์เฉพำะท่ีใชใ้ นกำรวิจัย

ยุทธศำสตร์กำรพัฒนำชุมชน หมายถึง แนวปฏิบัติด้านการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตาม
เป้าหมายเพอื่ ความมั่นคง ม่ังคั่ง ย่ังยืน ผา่ นวธิ ีการ โครงการ กระบวนการในการสร้างเสริมความเข้มแข็ง
และกระบวนการเรียนรู้ ท่ีส่งเสริมสนับสนุนให้สามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนของตนเอง
โดยการมสี ว่ นรว่ มของสภาสนั ติสขุ ของจังหวัดยะลา

สภำสนั ตสิ ขุ หมายถงึ ผปู้ กครองท้องที่ ผูน้ าศาสนา องคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ิน ส่วนราชการ และ
ภาคประชาสงั คมของแตล่ ะตาบล ในพ้ืนที่ 8 อาเภอของจังหวัดยะลา

กระบวนกำร หมายถึง การศึกษาชุมชน การวิเคราะห์ปัญหาชุมชน การจัดลาดับปัญและความ
ต้องการของชุมชน การวางแผนและโครงการเพื่อการพัฒนาชุมชน การดาเนินงาน การประเมินผลงาน
การทบทวนเพ่อื แกไ้ ขปญั หาและอุปสรรค

ผลกำรดำเนินงำน หมายถึง การดาเนินงานด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ โดยมีสานักงานพัฒนาชุมชน
อาเภอทั้ง 8 อาเภอในพ้ืนที่จังหวัดยะลาเป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมการพัฒนาตาม
หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การพัฒนาและส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพ การผลิตและการตลาด
เพื่อเสริมสร้างรายได้ลดรายจ่าย มีเงินออม 3) สนับสนุนการรวมกลุ่ม การจัดต้ังกลุ่มอาชีพ ส่งเสริม
การเกษตรแบบผสมผสาน 4) การพฒั นาแหล่งกระจายสินค้า การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร
การพฒั นาและต่อยอดงานฝีมือ 5) พฒั นาแหล่งทอ่ งเทย่ี ว และ 6) สนับสนนุ การเลยี้ งสตั วเ์ พ่ือการบริโภค

8

รูปแบบ หมายถึง วิธกี ารสร้างความม่นั คง ม่ังคงั่ ย่ังยืนของตาบลสันติสุขในพ้ืนที่จงั หวัดยะลา
โครงกำรตำบลสันติสุข มั่นคง ม่ังค่ัง ยั่งยืน หมายถึง โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ
หมบู่ ้าน ชุมชน และตาบล จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้แผนพัฒนาตาบลม่ันคง ม่ังคั่ง ย่ังยืน โดยศูนย์
อานวยการบรหิ ารจขงั หวัดชายแดนภาคใตเ้ ปน็ เจ้าภาพหลกั
แผนพฒั นำตำบล หมายถึง แผนพฒั นาตาบลที่คณะกรรมการบรหิ ารตาบลแบบบูรณาการได้จัดทาขึ้น
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดั ทาแผนและประสานแผนพัฒนาพ้ืนท่ีในระดับอาเภอและ
ตาบล พ.ศ. 2562 (One Plan)
จังหวัดยะลำ หมายถึง จังหวัดหน่ึงในพื้นท่ีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ซ่ึงได้รับ
ผลกระทบจากสถานการณค์ วามไมส่ งบ ตงั้ แต่ พ.ศ. 2547 จนถงึ ปัจจบุ ัน

9

บทท่ี 2

แนวคิด ทฤษฎี และงานวจิ ยั ท่เี กยี่ วขอ้ ง

การศึกษาวิจัยเร่ือง “รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนตาบลสันติสุข
ม่ันคง มั่งคั่ง ย่ังยืน ในพื้นที่จังหวัดยะลา” คณะผู้วิจัยได้กาหนดขอบเขตของแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ และ
งานวิจัยที่เก่ยี วข้อง โดยมรี ายละเอยี ดดังนี้

2.1 แนวคิดเก่ยี วกับยทุ ธศาสตร์
2.2 แนวคดิ เก่ยี วกับการมสี ่วนร่วมของประชาชน
2.3 แนวคดิ เก่ยี วกบั การขับเคลอื่ นกระบวนการแผนตาบล/ชมุ ชน
2.4 แนวทางเกยี่ วกบั แผนตาบล มนั่ คง มั่งคงั่ ย่ังยนื ในพน้ื ทีจ่ งั หวัดขายแตนภาคใต้
2.5 แนวทางการขบั เคลอ่ื นสภาสันตสิ ุขตาบลในพ้นื ทจ่ี ังหวัดชายแดนภาคใต้
2.6 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทาแผนและประสานแผนพัฒนาพ้ืนท่ีใน
ระดับอาเภอและตาบล พ.ศ. 2562
2.7 แนวทางปฏิบัติในการดาเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทา
แผนและประสานแผนพัฒนาพื้นท่ีในระดับอาเภอและตาบล พ.ศ. 2562 (ฉบับปรับปรุง ประจาปี
งบประมาณ พ.ศ. 2564)
2.8 งานวิจยั ทเี่ ก่ยี วขอ้ ง
2.9 กรอบแนวคดิ การวิจัย

2.1. แนวคิดเกีย่ วกับยทุ ธศาสตร์

2.1.1 ความหมายของยุทธศาสตร์
คาว่า ยุทธศาสตร์ (Strategy) เป็นคาศัพท์พื้นฐานในการพัฒนาองค์กร มาจาก

“Strategos” ในภาษากรีกซ่ึงเกิดจากคาว่า “Stratos” ซ่ึงหมายถึง “Army”หรือ“กองทัพ”ผสมกับคา
ว่า “Agein” ซ่ึงหมาย“Lead” หรือ “นาหน้า” จึงทาให้มีความหมายถึง “leading the total
organization” หรอื การนาทางให้องค์กรโดยรวม” ซึ่งมีนัยทั้งเชิงจุดมุ่งหมายและวิธีการว่าต้องการทา
“อะไร” ให้สาเรจ็ และทา “อยา่ งไร”5

ความหมายคาว่า ยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ (Strategy) มาจาก ภาษากรีกว่า
Strategos ซ่ึงเป็นการรวมคา ๒ คาเข้าด้วยกันคือ คาว่า Stratos ที่แปลว่า กองทัพ และคาว่า Ago ท่ี
เป็นคากริยา ซ่ึงแปลว่า นา (Lead) รวมแปลได้ว่าความชานาญของนายพล ดังน้ันคาน้ีจึงหมายถึง
วธิ กี ารทนี่ ายพลทหารเตรียมการเพอื่ การตอ่ สู้ ในการสงคราม6 ท้ังนี้ สวุ ชิ ยั ศุภรานนท์7

5Greenley, Gordon E, StategicManamement, (United Kingdom : Prentice-Hall, 1989), p.159.
6 Maassen, P. A. M. & Van Vaght, F. A, “Strategic Planning” in therncyclopedia of Higher Education Vol.2
:AnalyticalPerspectives.pp. 1483-1494, (Oxford : Pergamon Press, 1992), p.968
7สวุ ชิ ัย ศภุ รานนท,์ ยทุ ธศาสตร์การแขง่ ขัน, (กรงุ เทพมหานคร : บริษัท ซี เอด็ ยูเคชน่ั จากดั , 2549), หนา้ 13.

10

ได้ให้ความหมายท่ีสอดคล้องกันว่า คาว่า ยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ (Strategy) เกิดจากคาว่า Stratos
หมายถึง Army (กองทัพ) กับคาว่า Agein หมายถึง Lead (การนา) แปลโดยความหมายว่า Leading
the Total Organization ถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า8 การนาองค์การโดยรวม โดยทั่วไปแล้ว กล
ยุทธ์ จะหมายถึง แผนงาน แนวทางหรือวิธี การท่ี จะนาองค์การไปสู่ผลท่ี สอดคล้องกับภารกิจและ
จดุ มงุ่ หมายรวมขององค์การในต้นศตวรรษท่ี 19 มี การใชค้ าว่า “ยุทธศาสตร์” ในความหมายว่า การใช้
ทรัพยากรหรือภารกิจการสงครามของนายทหารระดับสูง กล่าวคือ เป็นการเตรียมการเพื่อทาสงคราม
โดยใช้แผนท่ี (การวางแผนการสงคราม) หรือหมายถึงการใช้การรบเพื่อให้ได้ชัยชนะในการรณรงค์ทาง
ทหาร เม่ือถึงปลายศตวรรษท่ี 19 จนถึงศตวรรษท่ี 20 คาว่ายุทธศาสตร์ กลับไม่มีความหมายท่ีแน่ชัด
จนไม่สามารถกาหนดความหมายให้เป็นทีย่ อมรับโดยท่ัวไปได้ และท่ีสาคัญกว่านั้นคือ มีการใช้คานี้อย่าง
กว้างขวาง จนขาดความหมายที่แจ่มชัดในตัวเอง ปัจจุบันพจนานุกรมศัพท์ทหารของสานักงานคณะ
เสนาธิการร่วมของสหรัฐอเมริกาให้ความหมายของคาว่า “ยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ หมายถึง ศาสตร์
และศิลปะของการพัฒนาและการใช้ กาลังทั้งทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางจิตวิทยาและทางทหาร
ตามความจาเป็น ท้ังในยามสนั ติ และยามสงครามเพือ่ ทจี่ ะก่อใหเ้ กดิ การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อนโยบาย
ของชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายท่ีจะเพิ่มพูนความเป็นไปได้ท่ีจะได้รับชัยชนะและผลสืบเน่ืองในทางเป็น
ประโยชน์ จากชัยชนะ และเพ่อื ลดโอกาสของการพ่ายแพ้”9

ในขณะท่ีวงการธุรกิจ คาว่า Strategy เป็นคาศัพท์พื้นฐานในการพัฒนาองค์กร ซ่ึง
ภาษาไทยไม่ได้ใช้คาว่ายุทธศาสตร์ แต่ใช้คาว่า กลยุทธ์ แทน หมายถึง วิธีการท่ีจะทาให้เกิดผลสาเร็จ
ตามวตั ถุประสงค1์ 0 หรือหมายถงึ การวางแผนงานส่กู ารปฏิบตั ิ เพื่อบรรลุเปา้ หมาย ภายใต้การวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมท่ีเหมาะสมหรือวิเคราะห์ เชิงกลยุทธ์ ที่เรียกว่า SWOT Analysis ประกอบด้วยการ
วิเคราะห์ จุดอ่อนจุดแข็งโอกาสและภัยคุกคามในกรอบระยะเวลาที่ต้องการทั้งน้ีเพื่อประกอบการวาง
แผนการในการใช้วิธีการและทรัพยากรเพ่ือให้บรรลุ เป้าหมายสูงสุด ซ่ึงความหมายที่ง่ายที่สุด คือ
แผนการปฏิบัติที่รวบรวมความพยายามท้ังหลายเพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ในยุคปัจจุบันน้ีอาจจะกล่าวได้
ว่า Strategy คือ ขบวนการตัดสินใจอันซับซ้อนซ่ึงเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ (Objectives) หรือจุดหมาย
สุดท้าย (Ends) เข้ากับวิธีหรือหนทาง (Ways) และวิธี การหรือเครื่องมือ(Means) ในอันท่ีจะให้บรรลุ
วัตถปุ ระสงคน์ นั้

ยุทธศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อานาจทางการเมือง เศรษฐกิจ
จิตวทิ ยา และกาลังรบทางทหารตามความจาเปน็ ท้งั ในยามสงบและยามสงคราม11

ยุทธศาสตร์ หมายถึง แผนงานที่มีความพร้อมสมบูรณ์ ครบถ้วนทุกด้าน และประสาน
สอดคล้องเข้ากันได้ อันจะช่วยให้องค์การมีข้อได้เปรียบที่จะเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่ง
ยุทธศาสตร์จะถกู กาหนดข้นึ เพือ่ ประกนั วา่ วัตถุประสงค์ของกจิ การจะบรรลผุ ลสาเรจ็ แนน่ อน12

8Morison, J. L., Renfro, W.L. & Boucher, Wayne I, Future Research and the strategic planning process:
Implementations for Higher Education, (Washington : ASHE, 1987), p. 165.

9สุรชาติ บารุงสขุ , “ยุทธศาสตร์ คืออะไร” มตชิ นสุดสัปดาห,์ (12 สงิ หาคม 2554), หน้า 2.
10ศรวี งค์ สมุ ิตร, ความสมั พนั ธ์ทางเศรษฐกิจระหวา่ งประเทศ, (กรงุ เทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย,
2542), หนา้ 78.
11ราชบัณฑติ ยสถาน, พจนานุกรมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2542,(กรุงเทพมหานคร : นานมบี คุ ส พับลเิ คสชั่น, 2546),
หน้า 667.
12ธงชยั สนั ตวิ งษ์, การวางแผนเชงิ กลยุทธ์, (กรงุ เทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานชิ , 2547), หน้า 24.

11

“ยทุ ธศาสตร์” หรือ “Strategy” ในภาษาอังกฤษซ่ึงได้มีผู้รู้แปลเป็นไทยว่า “กลยุทธ์”
หรือ “ยุทธศาสตร์” หมายถึง การมุ่งเน้นหรือทุ่มเททรัพยากรไปในเรื่องใดแล้วสามารถนาพา หมู่คณะ
ไปสู่ความสาเร็จหรอื วัตถุประสงค์ทีต่ ้ังไว้13

ยุทธศาสตร์ หมายถึง รูปแบบหรือแผนการที่รวมเอาเป้าหมายหลักนโยบายหลัก และ
ลาดบั ข้นั ตอนการปฏบิ ัติ งานของทั้งองค์การเอาไว้ด้วยกัน14

2.1.2 ความสาคญั ของยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์จะเป็นตัวเช่ือมโยงสู่แผนปฏิบัติการของแผนกต่างๆ ในองค์การผู้บริหาร

ระดับสูงจะต้องให้แผนกต่างๆ ได้รับรู้และทราบว่าองค์การต้องการจะไปในทิศทางใดจากน้ันจึงพัฒนา
จุดหมายยุทธศาสตร์และแผนงานให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์น้ันในองค์การที่มีการจัดการดี
ผบู้ ริหารของแผนกทกุ ระดบั จะสรา้ งความสมั พันธ์ระหว่างแผนของแผนกกับแผนยทุ ธศาสตร์ขององค์การ
ดังน้ันแผนทุกแผนในระดับล่างจะเกิดข้ึนจากแผนยุทธศาสตร์และขณะเดียวกันผลการดาเนินงานของ
แผนระดับล่างจะส่งผลสาเร็จต่อแผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร์เป็นพ้ืนฐานทุกข้ันตอนในกระบวนการวางแผนเป็นโครงร่างหลักหรือ
วธิ ีการโดยรวมท่ีองค์การตอ้ งดาเนนิ การเพ่ือให้ไดแ้ นวทางดาเนินงานใหบ้ รรลุวัตถปุ ระสงค์ลักษณะสาคัญ
ของแผนยุทธ์ศาสตร์พัฒนามาจากความคิดในการวางแผนระยะยาว (Long-range Planning) ซึ่งมี
ความสาคัญ ดังนี้15

1) ช่วยปรับหน่วยงานหรือองค์กรให้มีสภาพเหมาะสมกับความซับซ้อนของ
สภาพแวดล้อมภายนอกองคก์ ร

2) เปน็ แนวทางการดาเนินงานสาหรบั ความไม่แนน่ อนของอนาคต
3) แผนจะเปลย่ี นแปลงไปตามสภาวการณ์
4) ไม่มแี ผนยุทธศาสตร์ใดท่เี หมาะสมและใชไ้ ด้ทุกสภาวการณ์
ความสาคัญของแผนยทุ ธศาสตรอ์ กี ประการหนงึ่ มดี ังน้ี16
1) แผนยุทธศาสตร์เป็นการกาหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่ช่วยให้องค์การ
สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์เปล่ียนแปลงไปท้ังน้ีเพราะการกา หนดแผน
ยุทธศาสตร์นั้นให้ความสาคัญกับการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมท้ังสภาพแวดล้อมภายในและ
สภาพแวดล้อมภายนอกองคก์ าร
2) แผนยุทธศาสตร์เป็นการกาหนดรูปแบบของการปฏิบัติท่ีช่วยให้หน่วยงาน
ในภาครัฐกิจตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนที่มีส่วนเอื้ออา นวยความสา เร็จและความล้มเหลว ต่อ
เป้าประสงคข์ ององคก์ าร

13บญุ เกียรติ ชวี ะตระกูลกจิ , การจัดการเชิงยุทธศาสตรส์ าหรับ CEO, พมิ พค์ รงั้ ที่ 3, กรุงเทพมหานคร : สุขุมและบุตร,
2547), หนา้ 35

14บญุ เลศิ เยน็ คงคาและคณะ, การจัดการเชิงกล, พิมพค์ รง้ั ที่ 5, (กรงุ เทพมหานคร: BK การพิมพ,์ 2549), หน้า 98.
15ชูชีพ พทุ ธประเสริฐ, การพัฒนาองคก์ รเทคนคิ การบรหิ ารเพือ่ การศกึ ษา (เอกสารการสอน), หน้า 192.
16วฒั นา วงศ์เกียรติรัตน์ และคณะ, การวางแผนกลยุทธ:์ ศลิ ปะการกาหนดแผนองคก์ ารสู่ความเปน็ เลศิ , (กรุงเทพมหานคร:
สถาบนั เพิ่มผลผลิตแหง่ ชาติ , 2548),หนา้ 79

12

3) แผนยุทธศาสตร์เป็นการกาหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริมการ
จัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management, NPM) ท่ีให้ความสาคัญการปรับปรุงการ
ดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐกิจทั้งระบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยในประเทศไทยเรียกว่า
การปฏิรูประบบราชการอีกท้ังหน่วยงานภาครัฐกิจยังต้องดาเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการ
บ้านเมืองทด่ี ีหรือ ธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นกระแสหลกั ในการบริหารรฐั กิจปจั จุบัน

4) แผนยุทธศาสตร์เป็นการกาหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่มีส่วนช่วย
ยกระดบั ระบบการจดั ทางบประมาณแบบมุ่งเนน้ ผลงาน (Performance-based Budgeting)

5) แผนยุทธศาสตร์เป็นการกาหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่มีส่วนช่วยในการ
สร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการซึ่งเป็นการพินิจพิเคราะห์วางแผนและนาเสนอทางเลือกในการบริหาร
จัดการแบบใหม่ๆที่หลุดพ้นจากกรอบพันธนาการทางความคิดอันเกี่ยวข้องกับระเบียบปฏิบัติราชการที่
ลา้ สมัยและไม่เป็นไปเพอ่ื ประโยชน์สงู สดุ ของประชาชน

6) แผนยุทธศาสตร์เป็นการกาหนดรูปแบบของการปฏิบัติที่มีส่วนช่วย
สนับสนุนหลักการประชาธิปไตยในแง่ของการมีส่วนร่วม (Participation)และการกระจายอานาจ
(Decentralization)

สรุปความได้ว่า ยุทธศาสตร์ เป็นตัวที่กาหนดทิศทางหรือแนวทางปฏิบัติตาม พันธกิจ
และภารกิจ (Mission) ให้สัมฤทธิผลตามวิสัยทัศน์ (Vision) และเป้าประสงค์ขององค์การ (Corporate
Goal) ยุทธศาสตร์ท่ีดีน้ันจะต้องถูกกาหนดขึ้นตามวิสัยทัศน์ขององค์การอันเป็นผลผลิตทางความคิด
รว่ มกนั ของสมาชิกในองค์การท่ีได้ทางานร่วมกันหรือจะทางานร่วมกันโดยวิสัยทัศน์น้ีเป็นความเห็นพ้อง
ต้องกันว่าเป็นจุดหมายปลายทางที่องค์การประสงค์จะไปให้ถึงและวิสัยทัศน์น้ีมีการแปลงออกมาเป็น
วตั ถปุ ระสงค์ (Objective) ที่เปน็ รูปธรรมและสามารถวดั ได้

2.1.3 กระบวนการเชงิ ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์เป็นทิศทางหรือแนวทางปฏิบัติตาม พันธกิจและภารกิจ (Mission) ให้

สมั ฤทธิผลตามวิสัยทัศน์ (Vision) และเปา้ ประสงค์ขององค์การ (Corporate Goal) แผนยุทธศาสตร์ท่ีดี
นั้นจะต้องถูกกาหนดขึ้นตามวิสัยทัศน์ขององค์การอันเป็นผลผลิตทางความคิดร่วมกันของสมาชิกใน
องค์การท่ีได้ทางานร่วมกันหรือจะทางานร่วมกันโดยวิสัยทัศน์นี้เป็นความเห็นพ้องต้องกันว่าเป็น
จุดหมายปลายทางท่ีองค์การประสงค์จะไปให้ถึงและวิสัยทัศน์น้ีมีการแปลงออกมาเป็นวัตถุประสงค์
(Objective) ที่เป็นรูปธรรมและสามารถวัดได้ท้ังน้ีองค์การสามารถใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการ
ประเมินผลงานประจาปีงบประมาณยิ่งไปกว่าน้ันองค์การยังสามารถใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการ
จัดทาแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพ่ือการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจาปีได้อีกด้วยสาหรับ
กระบวนการจดั ทาแผนยทุ ธศาสตร์นั้นมขี น้ั ตอน ดงั นี้17

1) การวเิ คราะห์สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ซงึ่ ประกอบดว้ ย
1.1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment)
1.2) การวิเคราะหส์ ภาพแวดลอ้ มภายนอก (External Environment)

17สานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สานกั งานปลัดกระทรวงการคลงั , คมู่ อื การจัดทาแผนยุทธศาสตร์

13

2) การจดั วางทิศทางขององค์การซึง่ ประกอบดว้ ย
2.1) การกาหนดวสิ ัยทัศน์ (Vision)
2.2) การกาหนดภารกจิ (Mission)
2.3) การกาหนดเป้าประสงค์ขององค์การ (Corporate Goal)
2.4) การกาหนดวัตถุประสงค์ (Objectives)
2.5) การกาหนดดชั นชี ้วี ัดผลงานระดับองค์การ (Organization’s Key

Performance Indicators, KPIs)
2.6) การกาหนดยทุ ธศาสตร์ (Strategy)

3) การจัดทาแผนยุทธศาสตร์เป็นการดาเนินการเพื่อทาให้ยุทธศาสตร์ท่ีได้ถูกกาหนด
ขนึ้ มีความเปน็ รูปธรรมปฏิบตั ไิ ดจ้ ริงอนั จะนาไปสู่การบรรลวุ สิ ยั ทศั นภ์ ารกิจและเป้าประสงค์ขององค์การ
โดยการจดั ทาแผนยทุ ธศาสตร์นน้ั ประกอบดว้ ย

3.1) การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคามขององค์การหรือท่ีมัก
นิยมเรียกกันว่า SWOT Analysis อันประกอบไปด้วยการวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) การวิเคราะห์
จุดอ่อน (Weakness) การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และการวิเคราะห์ภัยคุกคาม (Threats)
ขององค์การ

3.2) การกาหนดประเดน็ ยุทธศาสตร์
3.3) การกาหนดวตั ถปุ ระสงค์ (Objective) ในแต่ละประเด็นยทุ ธศาสตร์
พรอ้ มทั้งหน่วยงานท่ีรับผดิ ชอบและหน่วยงานสนับสนุน
3.4) การกาหนดดชั นชี ว้ี ัดผลงานระดับองค์การและระดับหนว่ ยงาน (Strategic
Plan’s KPIs)
3.5) กาหนดยทุ ธวธิ ี (Tactics) หรือแผนงานในการปฏบิ ัติ
3.6) การกาหนดเป้าหมาย (Targets) ของแตล่ ะกจิ กรรม (Activities) พร้อม
กบั ดชั นชี ี้วัดผลงานระดับแผนปฏบิ ตั ิการ (Action Plan’s KPIs)
ขนั้ ตอนการประเมินผลยุทธศาสตร์ โดยแตล่ ะขน้ั ตอนมีรายละเอียด ดังนี้18
1) ขัน้ การกาหนดยุทธศาสตร์ (Strategic Formulation) จะเก่ียวข้องกับการ
กาหนดพันธกิจ (mission statement) การพิจารณาถึงโอกาสและข้อจากัดที่มาจากสภาพแวดล้อม
ภายนอกการพิจารณาถงึ จดุ แขง็ จดุ อ่อนขององค์การ การกาหนดวัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์การ การ
พจิ ารณาประเมนิ ทางเลือกกลยุทธ์ต่างๆ และการตัดสินใจเลือกกลยุทธท์ ีจ่ ะนามาใชใ้ นการดาเนินงาน
2) ขั้นการนายุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ (Strategic implementation) จะ
เกี่ยวข้องกับการกาหนดวัตถุประสงค์ของแผนประจาปี การกาหนดนโยบาย การจูงใจบุคลากรท่ี
รบั ผิดชอบ การจัดสรรทรัพยากรให้แก่การดาเนนิ กลยุทธต์ ่าง ๆ การสร้างวัฒนธรรมการทางานแบบใหม่
ทเี่ น้นการทาตามกลยุทธ์การกาหนดโครง
สร้างองค์การท่ีมีประสิทธิผล การจัดเตรียมงบประมาณ รวมถึงการพัฒนาและการใช้ระบบการจัดการ
ขอ้ มลู

18David Fred R., Strategic management, 6ed,p.11

14

3) ขั้นการประเมินผลยุทธศาสตร์ (Strategic Evaluation) จะเกี่ยวข้องกับ
การประเมินสภาพแวดล้อมที่เปล่ียนแปลงไป การทบทวนกลยุทธ์ท่ีถูกนาไปใช้ การประเมินระดับ
ความสาเรจ็ ของกลยุทธ์และแผน รวมถึงการปรบั ปรุงแกไ้ ข

กล่าวโดยสรุป การจัดการเชิงยุทธศาสตร์เป็นศาสตร์และศิลป์ในการ
ดาเนินการซ่ึงอาจมีความสลับซับซ้อนและยากต่อความเข้าใจผู้บริหารจาเป็นต้องใช้การคิดอย่างเป็น
ระบบในการกาหนดกรอบของความเป็นองค์การเพ่ือให้เกิดความเข้าใจในส่วนต่างๆของการจัดการเชิง
ยุทธศาสตร์และสามารถมองเห็นภาพทั้งองค์การในมุมมองท่ีเหมาะสมซ่ึงจะช่วยให้ผู้บริหารหลีกเล่ียง
การให้ความสนใจในประเด็นปลีกย่อยท่ีไม่จาเป็นจะเห็นได้ว่าการจัดการเชิงยุทธศาสตร์จะประกอบไป
ด้วยขั้นตอนพ้ืนฐาน 3 ข้ันตอนคือ 1) การกาหนดยุทธศาสตร์ (Strategic Formulation) 2) การนา
ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) 3) การประเมินและควบคุมยุทธศาสตร์
(Strategic Evaluation and Control)

2.1.4 ยทุ ธศาสตรท่ีเกี่ยวของ
1) ยทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580)
รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.256019 กาหนดให้มยี ทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปี

(พ.ศ.2561 - 2580)20 ซ่ึงเปน็ ยทุ ธศาสตร์การพฒั นาประเทศระยะยาว มีเป้าหมายการพัฒนา คือ
“ประเทศชาติ ม่นั คง ประชาชน มีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สงั คมเปน็ ธรรม ฐาน
ทรัพยากรธรรมชาตยิ งั่ ยืน” ได้กาหนดจดุ เน้น ทสี่ าคัญ ดังนี้

1.1) วสิ ัยทศั น์ “ประเทศไทยมคี วามม่ันคง มัง่ คัง่ ยั่งยนื เปน็ ประเทศพัฒนา
แลว้ ดว้ ยการพฒั นา ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง”

1.2) ประเด็นยทุ ธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์ ไดแ้ ก่
1.2.1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความม่ันคง มีเป้าหมายการพัฒนา

ที่สาคัญ คือประเทศชาตมิ นั่ คง ประชาชนมีความสุข เน้นการบรหิ ารจดั การสภาวะแวดล้อมของประเทศ
ให้มีความม่ันคง ปลอดภัย เอกราชอธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ต้ังแต่ระดับชาติ
สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพฒั นาคน เคร่ืองมอื เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อม
สามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านมั่นคงท่ีมีอยู่ในปัจจุบัน และท่ีอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไข
ปญั หาแบบบูรณาการท้งั กบั ส่วนราชการภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศ
เพ่ือนบ้านและมิตรประเทศท่ัวโลกบนพ้ืนฐานของหลักธรรมาภิบาล สาหรับเป้าหมายที่สาคัญต่อการ
แก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นท่ีจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือประชาชนในพื้นท่ีมีความปลอดภัยทั้งใน
ชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม รวมทั้งได้รับการพัฒนาอย่างเท่า
เทียมกัน โดยมีกลไกการแก้ปัญหาที่มีเอกภาพ บูรณาการความเชื่อมโยงระหว่างประเด็น เชิง
ยุทธศาสตร์และเชิงพื้นที่ แผนการดาเนินงาน การลงมือปฏิบัติ ตลอดถึงการติดตามประเมินและ
รายงานผลอย่างสอดคล้องต่อเนื่องกันทุกระดับ ส่งเสริมและอานวยความยุติธรรม

19เลม่ 134 ตอนที่ 40 ก. ราชกจิ จานเุ บกษา. 6 เมษายน 2560. รฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชวั่ คราว) พุทธศักราช
2557 แกไ้ ขเพิม่ เติม (ฉบบั ที่ 1)

20คณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สานักงาน. “ยทุ ธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580”. 2561.

15

สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในพื้นท่ีอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการขจัดเง่ือนไข
ความขัดแย้งและความไม่เป็นธรรมให้ได้ อย่างจริงจังและถาวร ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมให้เข้มแข็ง
พร้อมเสริมสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเห็นต่างตามแนวสันติวิธีผ่านกลไกต่างๆ รวมไปถึงการพูดคุยกัน
อย่างเปน็ มติ รผลักดันให้มีการยึดถือคาสอนท่ีถูกต้องของศาสนามาเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิตพร้อม
ดูแลและปอ้ งกนั มใิ ห้มกี ารบิดเบอื นคาสอนของศาสนาไปใน ทางท่ีไม่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ภาคประชาสังคม
ร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาพื้นที่อย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง และสอดคล้องกับความต้องการของทุกกลุ่ม
ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน ตามยุทธศาสตร์พระราชทาน“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” หลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชา รวมทั้งสร้างเสริมโอกาสในการเข้าถึงการบริการต่างๆ ของรัฐ
ให้ทัดเทียมกับภมู ภิ าคอนื่ ๆ

1.2.2) ยทุ ธศาสตรช์ าตดิ ้านการสร้างความสามารถในการแขง่ ขนั
มเี ป้าหมายการพฒั นาทม่ี งุ่ เนน้ การยกระดับศกั ยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3
ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปท่ีรากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม
ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติท่ีหลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิง
เปรยี บเทยี บของประเทศในดา้ นอนื่ ๆ น ามาประยุกตผ์ สมผสานกบั เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอด
รับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (2) “ปรับปัจจุบัน” เพ่ือปูทางสู่อนาคต ผ่านการ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่างๆท้ังโครงข่ายคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและ
บรกิ ารอนาคต และ (3) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต”ด้านการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนา
คนรนุ่ ใหม่ รวมถงึ ปรับรูปแบบธรุ กจิ เพื่อตอบสนองตอ่ ความตอ้ งการของตลาด ผสมผสานกบั ยุทธศาสตร์
ที่รองรบั อนาคตบนพ้ืนฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบันพร้อมท้ังการส่งเสริมและสนับสนุนจาก
ภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ขยายโอกาสทางการค้าและการ
ลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง
และลดความเหล่ือมลา้ ของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกนั

1.2.3) ยุทธศาสตร์ชาตดิ า้ นการพฒั นาและเสริมสร้างศักยภาพ
ทรพั ยากรมนุษย์ มีเปา้ หมายการพัฒนาท่สี าคญั เพอื่ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง
และมคี ุณภาพ โดยคนไทยมคี วามพรอ้ มทั้งกาย ใจ สติปัญญา มพี ัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะท่ีดี
ในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษา
ศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดท่ีถูกต้อง มีทักษะที่จ าเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะ
สอื่ สารภาษาองั กฤษและภาษาที่ 3 และอนุรกั ษภ์ าษาท้องถ่ิน มีนิสัยรกั การเรยี นรู้และพัฒนาตนเองอย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยท่ีมีทักษะสูงเป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่
และอนื่ ๆ โดยมสี ัมมาชีพตามความถนดั ของตนเอง

1.2.4) ยทุ ธศาสตรช์ าติดา้ นการสรา้ งโอกาสและความเสมอภาค
ทางสังคม มีเป้าหมายการพัฒนาที่ให้ความสาคัญต่อการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่างๆ ท้ังภาคเอกชน
ประชาสงั คม ชุมชนท้องถ่นิ มาร่วมขับเคลื่อน โดยสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วม
ทาเพื่อส่วนรวม การกระจายอานาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับ
ท้องถ่ิน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของ
ประชากรไทยทงั้ ในมติ ิสุขภาพเศรษฐกจิ สงั คม และสภาพแวดลอ้ มใหเ้ ปน็ ประชากรท่ีมีคุณภาพ สามารถ

16

พึ่งตนเองและทาประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึง
บรกิ ารและสวสั ดกิ ารทมี่ คี ุณภาพอยา่ งเป็นธรรมและท่วั ถงึ

1.2.5) ยทุ ธศาสตร์ชาตดิ ้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวติ ที่
เป็นมิตรกบั ส่ิงแวดลอ้ ม มเี ปา้ หมายการพฒั นาทสี่ าคัญเพื่อนาไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืน
ในทุกมิติ ท้ังมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือ
ระหว่างกนั ท้ังภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นท่ีเป็นตัวต้ังในการกาหนดกลยุทธ์และ
แผนงาน และการให้ทุกฝ่ายท่ีเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากท่ีสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
โดยเป็นการดาเนินการบนพ้ืนฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และ
คุณภาพชีวิต โดยให้ความสาคัญกับการสร้างสมดุล ทั้ง 3 ด้าน อันจะนาไปสู่ความย่ังยืนเพื่อคนรุ่น
ตอ่ ไปอย่างแทจ้ ริง

1.2.6) ยทุ ธศาสตรช์ าติด้านการปรบั สมดลุ และพฒั นาระบบการ
บริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สาคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐท่ียึดหลัก “ภาครัฐของ
ประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ
แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรฐั ทที่ าหนา้ ที่ในการกากับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจท่ีมีการ
แข่งขัน มีขีดสมรรถนะสูง ยึดธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทางานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์
สว่ นรวม มีความทันสมยั และพร้อมที่ปรับตัวใหท้ นั ต่อการเปล่ียนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการนานวัตกรรม เทคโนโลยีขนาดใหญ่ ระบบการทางานท่ีเป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่าง
คุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากลรวมทั้ง มีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิด
โอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก
รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยม ความซ่ือสัตย์สุจริต ความ
มัธยัสถ์ และสร้างจิตสานึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากน้ัน
กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าท่ีจาเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และ
นาไปสู่การลดความเหลื่อมล้าและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหาร
ทม่ี ปี ระสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลอื กปฏบิ ัติ และการอานวยความยุติธรรมตามหลกั นิติธรรม

1.3 เป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย
1.3.1) ความอยู่ดีมสี ุขของคนไทยและสังคมไทย
1.3.2) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการ

กระจายรายได้
1.3.3) การพฒั นาทรพั ยากรมนุษย์ของประเทศ
1.3.4) ความเทา่ เทยี มและความเสมอภาคของสังคม
1.3.5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสงิ่ แวดลอ้ มและความ

ยง่ั ยนื ของทรพั ยากรธรรมชาติ
1.3.6) ประสทิ ธิภาพการบริหารจดั การ และการเขา้ ถึงการให้บรกิ าร

ของภาครัฐ

17

ดงั นัน้ ยทุ ธศาสตร์ชาติ เป็นเปา้ หมายในการพฒั นาประเทศอย่างยัง่ ยนื ตามหลกั ธรรมา
ภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทาแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน อันจะก่อให้เกิดเป็นพลัง
ผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ตามระยะเวลาท่ีกาหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-
2580) อันเป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซ่ึงต้อง
นาไปสู่การปฏิบัติเพ่ือให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความม่ันคง ม่ังค่ัง ยั่งยืน เป็น
ประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการพัฒนาประเทศ
ในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติจะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ
ส่ิงแวดล้อม โดยประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ด้านความม่ันคง 2. ด้านการสร้างความสามารถ
ในการแข่งขัน 3. ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4. ด้านการสร้างโอกาสและ
ความเสมอภาคทางสังคม 5. ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 6. ด้าน
การปรบั สมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจดั การภาครัฐ

2) แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)21
กาหนดขึ้นจากยุทธศาสตร์ 6 ดา้ น ภายใตย้ ุทธศาสตรช์ าติ 20 ปี เป็นแผน

ปฏบิ ัตกิ ารระยะกลางทเ่ี ก่ยี วข้อง เชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในการช่วยเสริมให้ประเทศ
พัฒนาไปทีละขั้นที่มุ่งสู่วิสัยทัศน์ของประเทศและเป้าหมายการพัฒนาท่ีย่ังยืน ( Sustainable
Development Goals : SDGs) ภายในปี 2573 ด้วยการน้อมนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็น
แนวทางการพัฒนาประเทศ ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ด้วยกลไกประชารัฐที่
เป็นการรวมพลังขับเคลื่อนงานจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาค
ประชาชน และภาคประชาสังคม มาร่วมกันพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง เพื่อวางรากฐานที่แข็งแกร่ง
สาหรับการพัฒนาในระยะยาว ก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศท่ีมีรายได้สูงและ
เสริมสร้างสังคมไทยให้มีความมั่นคง ม่ังคั่ง และย่ังยืน โดยให้ความสาคัญกับการยกระดับรายได้และ
สรา้ งโอกาสในการประกอบอาชพี กระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้า ในสังคมมุ่งสู่สังคมที่เสมอภาคและ
เป็นธรรม การเพ่ิมศักยภาพและขีดความสามารถของชุมชน และร่วมกาหนดแนวทางการพัฒนาชุมชน
ท้องถ่ินบนหลักการพ่ึงพาตนเอง และเน้นนานโยบายสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธ์ิอย่างจริงจังภายใต้
กรอบและทิศทางทีช่ ัดเจนมากย่ิงขน้ึ 22

ยทุ ธศาสตร์การพัฒนาในแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาตฉิ บับที่ 12
ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหล่ือมล้าในสังคม ยุทธศาสตร์ท่ี 3 การสร้างความ
เขม้ แข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันไดอ้ ย่างย่ังยนื ยุทธศาสตร์ท่ี 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมเพื่อ
การพฒั นาอย่างย่งั ยนื ยุทธศาสตร์ท่ี 5 การเสริมสร้างความม่ันคงแห่งชาติเพ่ือการพัฒนาประเทศสู่ความ
ม่งั คัง่ และยั่งยนื

21 สานกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560 - 2564).กรุงเทพฯ.2560

22 ศูนยป์ ระสานการปฏบิ ตั ทิ ่ี 5 กองอานวยการรกั ษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ พ.ศ. 2563 – 2565 หนา้ 8

18

ยุทธศาสตร์ท่ี 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลใน
สังคมไทย ยุทธศาสตร์ท่ี 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์ที่ 8 การ
พัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภาค เมือง และพ้ืนท่ี
เศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ที่ 10 ความร่วมมือระหว่างประเทศเพ่ือการพัฒนา สาหรับการแก้ไขปัญหา
และพัฒนาพ้ืนท่ีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดาเนินงานในยุทธศาสตร์ที่ 5 มีเป้าหมายสาคัญ คือ ประชาชน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีโอกาสในการศึกษาและการประกอบ
อาชีพท่ีสร้างรายได้เพิ่มข้ึน รวมทั้งการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมท่ีเข้มแข็ง ท้ังน้ี ได้จัดทาแผนพัฒนา
ภาคใต้ชายแดน เพอ่ื รองรับขึ้นเปน็ การเฉพาะ ดังน้ี

2.1) แนวคดิ และทิศทางการพฒั นา
ภาคใตช้ ายแดนพง่ึ พงิ ภาคเกษตร โดยมีพชื เศรษฐกจิ ยางพารา ปาลม์

น้ามัน และไม้ผล ซึ่งยังใช้รูปแบบการผลิตแบบด้ังเดิม และมีการแปรรูปขั้นต้นเพื่อการส่งออก ทาให้
ได้รบั ผลกระทบจากความ ผนั ผวนของราคา นอกจากนี้ภาพลักษณ์ความไมป่ ลอดภยั จากเหตุการณ์ความ
ไม่สงบ สง่ ผลต่อภาวะการค้า และการลงทนุ อยา่ งไรกด็ ี ภาคใตช้ ายแดนเป็นแหล่งทาการประมงท่ีสาคัญ
ของประเทศ เน่ืองจากมีทรัพยากร ที่อุดมสมบูรณ์และมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม รวมทั้งมีพ้ืนที่
อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และเมืองชายแดน มีจุดท่ีตั้งที่ได้เปรียบในการเชื่อมโยงการพัฒนาระหว่าง
พื้นท่ีภาคใต้และมาเลเซีย รวมทั้งสิงคโปร์ ประกอบกับปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างดาเนินโครงการเมือง
ต้นแบบ “สามเหลี่ยมม่ันคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร อาเภอหนองจิก การ
พัฒนาการค้าและการท่องเท่ียว อาเภอสุไหงโก-ลก และอาเภอเบตง เพ่ือสร้างงาน และรายได้ให้กับ
ประชาชน ควบคไู่ ปกับการสรา้ งความเข้มแข็งให้กับชมุ ชน

2.2) เปา้ หมายเชงิ ยุทธศาสตร์ : เปน็ แหล่งผลิตภาคเกษตรและอตุ สาหกรรม
เกษตรแปรรูปท่ีสาคัญของประเทศ และเป็นเมืองชายแดนเชื่อมโยงการค้าและการท่องเท่ียวกับพื้นที่
ภาคใต้ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซยี และสงิ คโปร์

2.3) วัตถปุ ระสงค์
2.31) เพ่ือพัฒนายกระดับการผลิตและการแปรรูปเพื่อสร้าง

มูลค่าเพิ่มให้กบั สนิ ค้าเกษตรหลักของภาค
2.3.2) เพื่อพัฒนาเมืองชายแดน (สุไหงโก-ลก และเบตง) ให้เป็น

ศนู ย์กลางการคา้ การทอ่ งเท่ยี วของภาค
2.3.3) เพ่ือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านรายได้ การศึกษา

และสาธารณสุข
2.4) เปา้ หมาย และตัวช้วี ัด
2.4.1) มลู คา่ ผลิตภัณฑม์ วลรวมภาคใตช้ ายแดนเพิ่มข้นึ
2.4.2) มูลคา่ การคา้ ชายแดนเพ่ิมข้นึ
2.4.3) รายได้จากการท่องเท่ียวเพิม่ ขน้ึ
2.4.4) อัตราการตายมารดาและทารกลดลง
2.5 ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์การพฒั นา
2.5.1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและ

อุตสาหกรรมแปรรูป

19

การเกษตร เพ่ือสร้างความมั่นคงให้กับภาคการเกษตร โดยพัฒนศักยภาพการผลิตภาคเกษตร และ
ยกระดับอุตสาหกรรมประมง การเพาะเลี้ยงกุ้งและสัตว์น้าชายฝ่ังเพื่อการส่งออกและเป็นมิตรต่อ
สิง่ แวดลอ้ ม

2.5.2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาเมืองสุไหงโก-ลก และเมืองเบตง
ให้เป็นเมืองการคา้ และ เมืองท่องเท่ียวชายแดน โดยพัฒนาส่ิงอานวยความสะดวกบริเวณด่านชายแดน
ให้เพียงพอและได้มาตรฐานรวมทั้งพ้ืนที่เศรษฐกิจบริเวณชายแดน, พัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้มีความ
เช่อื มโยงและมีมาตรฐานท้งั ทางบก และทางอากาศ, พฒั นาแหล่งท่องเทยี่ วทางธรรมชาติและวัฒนธรรม,
พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจต่อเนื่อง การท่องเที่ยวในเมืองท่องเที่ยวชายแดน, พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจ
การคา้ ชายแดน และเร่งรัดการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส เพื่อรองรับการค้าการลงทุนทั้ง
ในและต่างประเทศ

2.5.3) ยุทธศาสตร์ท่ี 3 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดย
พัฒนาและทักษะฝีมือแรงงาน พัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของ
ประชาชนทุกวัย ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และสร้างความเข้มแข็งของสังคมพหุ
วฒั นธรรม

สรปุ ไดว้ ่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 12 พ.ศ.2560 – 2564
ได้น้อมนาหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานาทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเน่ือง
จากแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับท่ี 9-11 เพ่ือเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถ
ยืดหยัดอยู่ได้อย่างม่ันคงเกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การ
พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยงั่ ยนื

3) แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2560 - 2564 23
วิสัยทัศน์ (Vision) “ประชาชนมีรากฐานการดารงชีวิตและพัฒนาสู่

อนาคตได้อย่างมั่นคงและสมดลุ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง”
พันธกิจ (Mission)
1. รกั ษาความสงบเรยี บรอย ความปลอดภยั และความมน่ั คงภายใน
2. เสริมสร างความเข มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก
3 . ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร พั ฒ น า เ มื อ ง แ ล ะ โ ค ร ง ส ร า ง พื้ น ฐ า น
4. ส่งเสรมิ และสนับสนนุ การบริหารราชการในระดบั พืน้ ท่ี
เปา้ หมาย (Goal)
1. ชมุ ชนเขม้ แขง็
2. ชุมชนมคี วามปลอดภยั
3. สังคมมีความสงบเรียบร้อย
4. หน่วยงานภาครฐั มีการบรหิ ารจดั การที่ดี และองค์กรปกครองส่วน

ทอ้ งถน่ิ เข้มแข็ง
5. พืน้ ทีภ่ ูมิภาคและพื้นที่เศรษฐกจิ มีขีดความสามารถในการแขง่ ขัน

23 สานักนโยบายและแผน สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย แผนยทุ ธศาสตรกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2560 – 2564

20

ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ (Strategic Issue)
1. การเสริมสรา้ งสงั คมเข้มแข็งและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เป้าประสงค์ ดังนี้

1.1 หมู่บา้ น/ชุมชนมคี วามเข้มแข็ง ประชาชนพ่ึงตนเองได้
เศรษฐกิจฐานรากได้รบั การพัฒนา

1.1.1 สง่ เสรมิ การสร้างสัมมาชพี ชมุ ชน
1.1.2 สรา้ งและพฒั นาผนู้ าสมั มาชีพ
1.1.3 พัฒนาระบบสารสนเทศเพ่ือการพัฒนาคุณภาพชวี ิต
1.1.4 เพ่ิมมลู คา่ ผลติ ภณั ฑช์ ุมชนและภูมิปญั ญาท้องถ่ินเพ่ือ
เพ่มิ มูลคา่ อยา่ งเป็นระบบครบวงจร โดยเชือ่ มโยงกับการทอ่ งเที่ยวในพืน้ ท่ี
1.1.5 สนับสนนุ การกระจายผลิตภัณฑ์ชมุ ชนเพื่อพัฒนา
เศรษฐกิจฐานราก
1.1.6 พฒั นาระบบบรหิ ารจัดการกองทนุ ชมุ ชนตามหลักธรร
มาภิบาล เพ่ือขบั เคล่อื นเศรษฐกจิ ฐานราก
1.1.7 สง่ เสรมิ การพฒั นาเศรษฐกิจฐานราก โดยอาศัยการมี
สว่ นรว่ มของทุกภาคส่วน
1.2 ผูด้ ้อยโอกาสไดร้ ับโอกาสเข้าถงึ บริการทางสงั คมเพ่ิมข้นึ
1.2.1 กระจายการถือครองและการใช้ประโยชนท์ ด่ี ินอยา่ ง
เปน็ ธรรม
1.2.2 สร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมโดยคานึงถึงเร่ือง
อารยะสถาปัตย์ท่ีเอ้ือตอ่ การดารงชวี ิตของเด็ก ผู้สูงวัย ผู้พิการและทุพพลภาพ
1.2.3 จัดบรกิ ารสาธารณะขององคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อผู้ด้อยโอกาส
1.2.4 สง่ เสรมิ การเข้าถงึ กระบวนการยุติธรรมของประชาชน
ทม่ี ีฐานะยากจนในระดบั พื้นท่ี
1.2.5 พัฒนาระบบไฟฟา้ ประปา เพ่ือชว่ ยเหลือผู้ด้อย
โอกาสทางสงั คม
2. การเพ่ิมศกั ยภาพการพฒั นาสภาพแวดล้อมสู่อนาคต เป้าประสงค์ ดังนี้
2.1 ทรพั ยากรธรรมชาตไิ ดร้ บั การจดั การอยา่ งเหมาะสม
ส่งิ แวดล้อมมีคุณภาพ
2.1.1 พัฒนาระบบการบรหิ ารจดั การทีด่ นิ ใหเ้ กดิ ความ
ค้มุ ค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพฒั นาประเทศ
2.1.2 ส่งเสรมิ การดแู ลท่ีสาธารณประโยชนใ์ หเ้ กดิ ประโยชน์สงู สุด
2.1.3 ปรบั ปรุงแผนทแ่ี นวเขตทด่ี ินของรัฐแบบบรู ณาการ(OneMap)
2.1.4 บรหิ ารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างมปี ระสิทธภิ าพ
2.1.5 บริหารจดั การน้าเสยี อย่างเปน็ ระบบ
2.1.6 ปรับปรงุ แหลง่ น้าสาธารณะและสิง่ แวดลอ้ มในพน้ื ที่
โดยอาศยั การมสี ว่ นรว่ มของประชาชน

21

2.1.7 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการอนรุ กั ษ์
ฟน้ื ฟู และป้องกันการทาลายทรพั ยากรธรรมชาติ

2.2 ประชาชนมศี กั ยภาพรบั มือภยั พบิ ตั ิ สง่ ผลใหค้ วามสูญเสยี ในชีวิต
และทรัพย์สินลดลง

2.2.1 บรู ณาการจัดการความเส่ียงจากสาธารณภยั ระหว่าง
หน่วยงานและเครือข่ายต่าง ๆ ด้วยการเตรียมพร้อมของชาติ ต้ังแต่ในภาวะปกติ โดยมีการประสาน
สอดคล้อง บรู ณาการ และสง่ เสริมกนั อยา่ งมเี อกภาพ

2.2.2 เสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและชุมชนในการ
จดั การความเสยี่ งจากสาธารณภัย

2.2.3 เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและการจัดการ
ความเส่ียงจากสาธารณภัยให้กับประชาชน

2.2.4 วางผังเมืองและโครงสร้างพื้นฐานเพ่ือบริหารจัดการ
พื้นที่เส่ียงจากภยั พิบัติ รวมทง้ั การแกไ้ ขปัญหาน้าทง้ั ระบบ

2.2.5 พัฒนาระบบและโครงสร้างพ้ืนฐานด้านจัดการความ
เสย่ี งจากภัยพบิ ัติ เพอ่ื ความต่อเนอื่ งของการพฒั นา

2.2.6 กาหนดมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาคารและ
เคร่อื งเล่น

3. การเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและความม่ันคงภายใน เป้าประสงค์ดังนี้
3.1 ประชาชนในชาติมีความหวงแหน ธารงรกั ษาไวซ้ ่งึ สถาบนั

หลักของชาติ และเกดิ ความสมานฉนั ทข์ นึ้ ในสังคม
3.1.1 ปกป้องและเชดิ ชสู ถาบันหลกั ของชาติ
3.1.2 ขยายผลโครงการอนั เนื่องมาจากพระราชดาริเพ่ือ

เสริมสร้างการพฒั นาพื้นที่
3.1.3 สง่ เสรมิ การพฒั นาพื้นที่ตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง
3.1.4 เสริมสร้างวถิ ีชวี ิตตามระบอบประชาธิปไตยอนั มี

พระมหากษตั รยิ ท์ รงเป็นประมุข
3.1.5 สง่ เสรมิ การมสี ว่ นรว่ มของประชาชนในการสรา้ ง

ความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานความแตกตา่ งทางความคิด
3.2 สังคมมีความสงบเรียบร้อย ม่ันคง และ มีความพร้อมรับมือ

ภัยคุกคามในรปู แบบต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ
3.2.1 สร้างภูมิคุ้มกันและสนับสนุนการป้องกันภัยคุกคาม

ความมนั่ คงในรปู แบบตา่ ง ๆ ทงั้ จากภายในและภายนอกประเทศ
3.2.2 เสริมสร้างความร่วมมือในการบริหารจัดการความ

ม่ันคงตามแนวชายแดน
3.2.3 แก้ไขปัญหาและสร้างโอกาสการพัฒนาในพื้นที่

จงั หวัดชายแดนภาคใต้

22

3.2.4 เพิ่มขีดสมรรถนะเครือข่ายมวลชนขององค์กรให้
พรอ้ มรบั มอื กบั การเปลี่ยนแปลงด้านความมน่ั คง

3.2.5 เสริมสร้างศักยภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การปอ้ งกันตนเอง

3.2.6 ส่งเสริมการสรา้ งนวัตกรรมของจังหวัดและอาเภอเพ่ือ
พฒั นามาตรฐานการรกั ษาความสงบเรียบร้อยและความมน่ั คงเชงิ พน้ื ทที่ เ่ี ป็นสากลและทันสมยั

3.2.7 พัฒนาระบบการเตรียมความพร้อม การเผชิญเหตุ
การบัญชาการเหตุการณ์ และการบริหารความต่อเน่ือง เมื่อเกิดเหตุท่ีส่งผลกระทบต่อสาธารณะขนาด
ใหญร่ ะดับชาติ

3.2.8 สร้างความสัมพันธ์และความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา
ตามกรอบความร่วมมือกบั ประเทศเพื่อนบ้าน ภมู ิภาค และนานาประเทศ

3.3 ระบบข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และถูกนาไปใช้ในการ
พฒั นาประเทศ

3.3.1 ส่งเสริมการนาเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการปรับปรุง
ระบบขอ้ มลู บคุ คลและขอ้ มลู เพ่ือการพฒั นา

3.3.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง (One Info) โดย
เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์/เทคโนโลยีดิจิทัล เพ่ือนาไปใช้ในการพัฒนา
ประเทศ

3.3.3 พัฒนาคลังข้อมูลสาหรับใช้ในการตัดสินใจของ
ผบู้ ริหาร และการรบั มือกบั สถานการณ์ความม่นั คงภายใน

4. การวางรากฐานการพฒั นาองคก์ รอย่างสมดุล เปา้ ประสงค์ ดงั นี้
4.1 องคก์ รมีการบริหารจัดการทด่ี ี และองค์กรปกครองส่วน

ท้องถนิ่ มคี วามเขม้ แข็ง
4.1.1 ปรับโครงสร้างและกลไกการด าเนินงานให้สนับสนุน

การบรหิ ารราชการจงั หวดั แบบบูรณาการ
4.1.2 เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการ

ประชาชนในรปู แบบดิจิทัล (Digital Service) และบริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
4.1.3 เพ่มิ ชอ่ งทางการเข้าถึงบรกิ ารภาครฐั และปรับปรุงการ

อานวยความเปน็ ธรรมโดยเพิม่ บทบาทการแกไ้ ขปัญหาแทนการส่งต่อปญั หา
4.1.4 ป้องกันการทุจริตโดยส่งเสริมให้ประชาชนและภาคี

การพัฒนามสี ่วนรว่ มในการดาเนินงาน
4.1.5 พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร โดยยึดหลักธรร

มาภบิ าล และเน้นการมสี ว่ นร่วมของทุกภาคส่วน
4.1.6 ปรับปรุงกฎหมาย/ระเบียบในความรับผิดชอบให้มี

ความชดั เจน เป็นปัจจุบนั และเอ้อื ต่อการปฏิบัตงิ านขององคก์ ร
4.1.7 พัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์และระบบการ

สือ่ สารสองทางทีม่ ีความรวดเรว็ และเชอื่ ถอื ได้

23

4.1.8 ขับเคลื่อนการสร้างอัตลักษณ์การดาเนินงาน (V-
HAPPY) ให้เปน็ รปู ธรรม

4.1.9 พัฒนาขีดความสามารถบุคลากรให้เป็นผู้นาการ
เปลี่ยนแปลง สรา้ งอตั ลกั ษณบ์ ุคลากร (PITHAK) และจัดสรรอตั รากาลงั ใหเ้ หมาะสมกับภารกิจและพ้ืนท่ี

4.1.10 เพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินงานและการบริหาร
จัดการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคานึงถึงการสร้างแรงจูงใจ และการสร้างความ
เท่าเทียมในพ้นื ที่

5. การพัฒนาภูมภิ าค เมอื ง และพน้ื ทเ่ี ศรษฐกจิ เปา้ ประสงค์ ดังน้ี
5.1 พื้นที่ภูมิภาคมีขีดความสามารถในการแข่งขัน เมืองมีการ

พฒั นาอยา่ งเป็นมาตรฐานสรู่ ะดับสากล
5.1.1 พัฒนาผังเมืองท่ีมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการมีส่วน

ร่วมของทกุ ภาคสว่ น
5.1.2 พัฒนาระบบเมอื งศูนย์กลางความเจรญิ เพื่อมงุ่ ไปสู่

ความเป็นเมืองนา่ อยู่
5.1.3 พฒั นาโครงสร้างพน้ื ฐานรองรบั การพัฒนาของ

ภูมิภาคและเมือง
5.1.4 ส่งเสริมการมีส่วนรว่ มของทุกภาคส่วนในการพฒั นา

เศรษฐกิจระดบั ภมู ิภาคและเมือง
5.2 พ้ืนที่เศรษฐกิจเฉพาะเป้าหมายมีขีดความสามารถในการ

แขง่ ขันสอดคล้องกับศักยภาพของพนื้ ท่ี
5.2.1 พัฒนาเมือง โครงสร้างพ้ืนฐาน และสภาพแวดล้อม

เพ่ือเพ่ิมศกั ยภาพการพฒั นาเศรษฐกิจของพื้นทีเ่ ฉพาะในรปู แบบตา่ ง ๆ
5.2.2 พัฒนาระบบการอานวยความสะดวกทางการคา้ การ

ลงทุน
5.3 องค์กรมแี ผนงาน/โครงการทีต่ อบสนองความตอ้ งการของ

ประชาชน
5.3.1 พัฒนารูปแบบการจดั ทาแผนพัฒนาระดบั พ้ืนที่ใหเ้ ช่อื มโยงกัน

ในทุกระดบั รวมทั้งบูรณาการการจดั ทางบประมาณเข้าไวด้ ว้ ยกัน (One Plan)
5.3.2 เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการ

วางแผนพฒั นาเศรษฐกจิ ในพน้ื ที่

จากข้างต้นแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2560 – 2564
มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองหมู่บ้าน ตาบลโดยใช้กาลังประจาถิ่นที่ได้รับการพัฒนา
ศกั ยภาพอย่างเพยี งพอและต่อเนื่อง ปลูกจิตสานึกและส่งเสริมให้เกิดแนวร่วมเยาวชนรักชาติ ผ่านกลไก
ของสถาบนั การศกึ ษา การกฬี า และอ่ืน ๆ ทาให้เกิดข้อตกลงหรือกฎกติกาของหมู่บ้านชุมชนในลักษณะ
ของการให้สัญญาท่ีมีผลทางจิตวิญญาณ ที่ส่งผลให้หมู่บ้านชุมชนปลอดจากยาเสพติด และธุรกิจผิด
กฎหมาย ยกระดับศกั ยภาพของคณะกรรมการบรหิ ารหม่บู า้ นให้สามารถขับเคล่ือนความเจริญให้เกิดข้ึน

24

ภายในหม่บู ้าน สร้างระบบประชาสงั คมใหเ้ กดิ ขน้ึ ในระดับหมู่บา้ นชุมชน ท่ีเป็นการกดดันผู้มีอิทธิพลและ
ผู้กระทาผิดกฎหมาย เปิดศูนยฝ์ า่ ยพลเรือนที่เอื้อตอ่ การเข้ามอบตัว แสดงตน และการเข้าสู่กระบวนการ
ยุติธรรมให้กับกลุ่มผู้ต้องหาคดีความมั่นคง เสริมสร้างกาลังประจาถ่ินให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมให้ผู้นา
ท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินมีความรู้ สามารถช้ีแจงอธิบายกับประชนท่ีได้รับผลกระทบให้เข้าใจ
รวมถึงมีการจัดตั้งศูนย์จัดการเบ็ดเสร็จเพ่ือเยียวยาผู้ท่ีได้รับผลกระทบเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และ
ช่วยเหลือดูแลผู้ท่ีไม่สามารถเข้าถึงระบบการเยียวยาได้ สร้างเวทีหรือช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐกับ
ประชาชนทุกภาคส่วนท่ีประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมีระบบการ
ตอบสนองต่อความคิดเห็นเหล่านั้นเพื่อยืนยันให้เห็นถึงความรับรู้ของรัฐ และจัดทาแผนชุมชน แผน
ตาบล แผนอาเภอ แผนจังหวัด และแผนกลุ่มจังหวัด รองรับแผนแม่บทบทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติท่ีมี
การบูรณาการทางานในเชิงพื้นท่ี โดยคานึงถึงความสมดุลท้ังด้านความม่ันคงและด้านการพัฒนา ใน
ลักษณะแผนเดยี ว (One Plan)

4) ยุทธศาสตรกรมการพัฒนาชมุ ชน พ.ศ. 2560 – 256424
วิสัยทัศน์ เศรษฐกิจฐานรากม่ันคง และชุมชนพง่ึ ตนเองได้ ภายในปี 2565
พนั ธกจิ
1. พฒั นาระบบกลไกการมีสว่ นร่วมและการเรียนร้กู ารพึง่ ตนเอง
2. พฒั นาการบริหารจดั การชมุ ชนใหพ้ ่งึ ตนเองได้
3. สร้างระบบกลไกและกิจกรรมทางเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงตาม

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. พัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง และบุคลากรมีอุดมการณ์ใน

งานพฒั นาชมุ ชนและเช่ียวชาญการทางานเชงิ บูรณาการ
ประเด็นยทุ ธศาสตร : 1 สรางสรรคชุมชนใหพ่งึ ตนเองได
เปาประสงคยุทธศาสตร : ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการและพัฒนาตนเอง

เป็นหมบู านเศรษฐกจิ พอเพียงตนแบบ
กลยุทธ : 1.1 สรางและพฒั นาผูนาสมั มาชีพ
กลยุทธ : 1.2 พัฒนาเครื่องมอื เสริมสรางสัมมาชีพชมุ ชน
กลยุทธ : 1.3 สงเสริมชุมชนและภาคีรวมพัฒนาเศรษฐกิจ

ฐานราก
กลยทุ ธ : 1.4 พฒั นาการบริหารจัดการชุมชน
กลยุทธ : 1.5 บรหิ ารจดั การขอมูลสารสนเทศและเทคโนโลยเี พือ่ การ

พฒั นาชุมชน

24 กองแผนงาน แผนยุทธศาสตร์ กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560 - 2564, (กรุงเทพมหานคร,2559)

25

ประเดน็ ยุทธศาสตร : 2 สงเสริมเศรษฐกจิ ฐานรากใหขยายตวั
เปาประสงคยุทธศาสตร : ภูมิปญญาทองถ่ินเพิ่มคุณคาและมูลคาให

กับชุมชน เสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศอยางเขมแข็งและย่งั ยนื
กลยุทธ : 2.1 เพมิ่ ศกั ยภาพผูผลติ ผูประกอบการ
กลยุทธ : 2.2 พัฒนาผลิตภัณฑชุมชนดวยองคความรูและ

นวัตกรรม
กลยทุ ธ : 2.3 สงเสริมชองทางการตลาด

ประเดน็ ยทุ ธศาสตร : 3 เสริมสรางทุนชุมชนใหมีประสิทธภิ าพและมธี รรมาภิบาล
เปาประสงคยุทธศาสตร : ชมุ ชนสามารถจัดการทนุ ชุมชนเพ่ือเปนฐาน

ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คม
กลยทุ ธ : พัฒนาระบบบรหิ ารจัดการและการเขาถงึ แหลงทุนชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร : 4 เสรมิ สรางองคกรใหมขี ีดสมรรถนะสูง
เปาประสงคยุทธศาสตร : องคกรมีสมรรถนะสูงในการบริหารการ

พฒั นาชุมชน
กลยุทธ : 4.1 เสริมสรางศักยภาพองคกรเพ่ือยกระดับงาน

พฒั นาชุมชน
กลยุทธ : 4.2 พฒั นาบุคลากรใหมคี ุณภาพ
กลยุทธ : 4.3 ยกระดับภาพลักษณองคกร

จึงสรุปได้ว่า จากวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560 - 2564
“เศรษฐกิจฐานรากม่ันคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2565” กรมการพัฒนาชุมชนได้มุ่งขับเคลื่อน
ไปสูก่ ารปฏิบัติใหเ้ กิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ซ่ึงได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ทาให้มีความ
งา่ ย ท้าทาย และเป็นไปได้ในการปฏิบตั ใิ ห้สอดคลอ้ งกบั ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย นโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์
กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2560 – 2564 สถานการณ์สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อให้บุคลากรทุกคน
ใชเ้ ปน็ กรอบทศิ ทางการปฏิบัติงาน โดยสามารถกาหนดรูปแบบ นาไปประยุกต์ สู่การปฏิบัติงานได้
ตามความเหมาะสม และกรมการพัฒนาชุมชนได้กาหนดให้ปี 2560 ขับเคล่ือนวาระกรมการพัฒนา
ชุมชน (Agenda) เพื่อมุ่งม่ันว่ากรมการพัฒนาชุมชน พร้อมขับเคล่ือน สัมมา ชีพชุมชนเข้มแข็งภายใต้
หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อก้าวไปสู่ “เศรษฐกิจครัวเรือนมีความม่ันคง ประชาชนใช้ชีวิตอยู่
ในชมุ ชน อย่างมีความสุข”

5) แผนพฒั นากลุ่มจังหวัดภาคใตช้ ายแดน พ.ศ. 2562 – 256525
แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ฉบับทบทวน (พ.ศ. 2562 -

2565) วิสัยทัศน์ “เกษตรก้าวหน้า การค้าชายแดน การท่องเที่ยวเช่ือมโยงสู่อาเซียนบนพื้นฐาน
ความเข้มแขง็ ของชุมชน” เพ่ือให้บรรลุวิสัยทศั น์ในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนมุ่งเน้นใน
การพฒั นา เพ่ือใหบ้ รรลเุ ป้าประสงค์ 4 ประเด็น

25 กลมุ่ งานบรหิ ารยทุ ธศาสตร์กลุ่มจงั หวดั ภาคใตช้ ายแดน. (2562). แผนพัฒนากลุม่ จังหวดั ภาคใต้ชายแดน พ.ศ. 2562 – 2565
(ฉบับทบทวน). ยะลา : สานักงานจังหวดั ยะลา.

26

ประกอบด้วย เกษตรก้าวหน้า ภาคการเกษตรมีบทบาทสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัด
โดยอาศัยพืชเศรษฐกิจหลักที่สาคัญอาทิยางพารา ปาล์มน้ามัน มะพร้าว ประมงชายฝ่ัง ปศุสัตว์ และไม้
ผล เป็นต้น ซึง่ ในปี 2565 กล่มุ จงั หวัดจะเป็นแหลง่ ผลติ ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปท่ีสาคัญ โดย
การส่งเสริมและวิจัย เพ่ือคิดค้นนวัตกรรม พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตการและการแปรรูปให้เป็น
ผลิตภัณฑ์ท่ีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจท่ีย่ังยืนให้กับกลุ่มจังหวัด
ภาคใต้ชายแดน การค้าชายแดน หลังปี 2565 มูลค่าการค้าชายแดน ของกลุ่มจังห วัดจะขยายตัว โดย
อาศัยศักยภาพของจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นท่ีต้ังของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ด่าน
ชายแดน ไทย - มาเลเซีย เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจเมืองชายแดน โดยพัฒนาให้มีความพร้อมด้าน
โครงสร้างพ้ืนฐาน สิ่งอานวยความสะดวกท่ีสามารถรองรับการขนส่งและการค้าทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อดึงดูดนักลงทุน ให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้และการขยายตัวทาง
เศรษฐกจิ ในกลมุ่ จงั หวดั การทอ่ งเท่ยี ว หลังปี 2565 กลมุ่ จงั หวดั ภาคใต้ชายแดนมีโครงสร้างพ้ืนฐานและ
ส่ิงอานวยความสะดวก ด้านการท่องเท่ียวท่ีเพียงพอและได้มาตรฐาน มีเส้นทางการท่องเที่ยวท่ี
เช่ือมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศ และอาเซียนการบริกานักท่องเที่ยวท่ีได้มาตรฐานสากล การ
บริหารจัดการการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม มีระบบการตลาดและประชาสัมพันธ์ท่ีทันสมัย
ความเข้มแข็งของชุมชน อัตลักษณ์ท่ีสาคัญประการหนึ่งของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน คือ การเป็น
สังคมพหุวัฒนธรรมท่ีมีความหลากหลายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ดังนั้น การสร้าง
ความเข้มแข็งของชุมชนจึงมุ่งเน้นท่ีการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของคนในชุมชน ท้ังในด้านทักษะฝีมือ
แรงงาน การยกระดับคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสุขภาวะ
ของคนทุกวัย การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ตลอดจนการสร้างความเข้าใจ และการ
ยอมรบั เพื่อใหเ้ กิดการอยูร่ ว่ มกนั อยา่ งสันติสุขภายใต้สังคมพหวุ ฒั นธรรม

ดังนั้นแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน มีจุดยืนในการพัฒนา
(Positioning) ได้แก่ 1. สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร 2. ส่งเสริมการค้าและการลงทุนในเขตพื้นท่ี
เศรษฐกิจเป็นเมืองชายแดนเมืองต้นแบบ 3. ส่งเสริมการท่องเท่ียวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม
4. ชุมชนเข้มแข็งบนพื้นฐานสังคมพหวุ ฒั นธรรม

6) แผนพัฒนาจงั หวดั ยะลา พ.ศ. 2561 – 256526
เปา้ หมายการพัฒนาจังหวัดยะลา : คุณภาพชีวิตม่ันคง เกษตรม่ังคั่ง
ทอ่ งเทีย่ วยั่งยืน
คุณภาพชวี ติ ม่ันคง หมายถึง ประชาชนมีคณุ ภาพชีวิตท่ีดี มีสุขภาวะ

ทีด่ ี มีขีดความสามารถ ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นพลเมืองไทย พลเมืองอาเซียน
และพลเมืองโลก สังคมมีความสันติสุข ชุมชนสามารถบริหารจัดการความสงบเรียบร้อยของชุมชนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมท่ีเข้มแข็ง ประชาชนมีความเป็นอยู่เรียบง่าย ยึดหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานดาเนินชีวิต จังหวัดยะลา มีความอุดมสมบูรณ์ของ
ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ประชาชนได้รับการพัฒนาอย่างท่ัวถึงเป็นธรรมสามารถพ่ึงพา
ตนเองได้ เข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานได้ ภาครัฐมีสมรรถนะสูง การพัฒนาจังหวัดยึดหลักยุทธศาสตร์
พระราชทาน เข้าใจ เขา้ ถึง และพฒั นา มรี ายไดแ้ ละอาชพี ทม่ี ัน่ คง

26สานักงานจังหวดั ยะลา. (2561). แผนพฒั นาจงั หวดั ยะลา พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบบั ทบทวน. ยะลา : ศาลากลางจงั หวดั ยะลา.

27

เกษตรมั่งคั่ง หมายถึง สถาบันการเกษตรเข้มแข็ง เกษตรกรมีความ
เป็นมืออาชีพท่ีมีศักยภาพในการจัดการผลผลิตให้มีคุณภาพ มีเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร
ผลผลิตหลกั ทางการเกษตรของจงั หวัดมคี ณุ ภาพ มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ภายใตแ้ บรนดข์ องจังหวัดจากฐาน
ของเกษตรสามารถสร้างมูลค่าให้กับจังหวัดและรายได้ให้กับเกษตรกร ผลผลิตการเกษตรพรีเมี่ยมของ
จังหวัดมมี ูลค่าและแขง่ ขนั ไดเ้ ปน็ ศูนย์กลางผลผลิตด้านไม้ผล ปศุสัตว์ท่ีมีคุณภาพ จังหวัดยะลาเป็นพ้ืนท่ี
ทม่ี ีความมน่ั คงทางอาหาร เปน็ เมอื งอาหารปลอดภัย

ท่องเท่ียวย่ังยืน หมายถึง อุตสาหกรรมการท่องเท่ียวของจังหวัด
เติบโตอยา่ งตอ่ เนอื่ ง เนน้ การสร้างคณุ ค่า และมูลค่าจากความหลากหลายทางชีวภาพและพหุวัฒนธรรม
การเชอ่ื มโยงการพัฒนาการท่องเท่ียวจากฐานของชุมชน ด้วยนวัตวิถี ชุมชนมีความพร้อมในการบริหาร
จัดการการท่องเที่ยวของพ้ืนท่ีให้มีความเข้มแข็งการท่องเที่ยวของชุมชนสร้างงาน อาชีพ หนุนเสริม
เศรษฐกิจของชุมชน แหล่งท่องเท่ียวหลักของจังหวัดได้รับการบริหารจัดการให้มีมาตรฐานการจัดการ
ท่องเที่ยวในระดับชั้นนา เป็นการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม และมีธรรมาภิบาลในการจัดการ
การท่องเที่ยวชายแดนเติบโตอย่างต่อเน่ือง จังหวัดยะลาเป็นต้นแบบในระดับประเทศในการพัฒนาการ
ท่องเทย่ี วเชงิ นิเวศและพหวุ ัฒนธรรม จังหวัดประสบความสาเรจ็ ในการยกระดบั อาเภอเบตงให้เป็นเมือง
ท่องเทยี่ วในระดับนานาชาติ

จังหวัดยะลามีภาพลักษณ์ในการเป็นเมืองที่มีผังเมืองที่มีความสวยงามและ
เป็นระเบียบมีความสะอาดท่ีสุดเมืองหน่ึงของประเทศไทย มีสถานท่ีท่องเท่ียวที่มีความหลากหลายและ
สวยงามโดยเฉพาะอาเภอ เบตงจนมีคาขวัญว่า “ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน” ประชาชนมีการ
ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร โดยการ ทาสวนยาง และสวนผลไม้ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือ
ศาสนาอิสลาม มีประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ของตนเองแต่ก็มีวิถีชีวิตร่วมกันอย่างสันติสุขใน
ความหลากหลายข องพหุวัฒนธรรม แต่จากสถานการณ์ความไม่สงบท่ีเกิดข้ึนตั้งแต่ปี 2547 จนถึง
ปจั จุบัน แนวโน้มของความรุนแรงอยใู่ นระดบั ท่ีค่อนขา้ งลดลง แตย่ ังส่ง ผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของประชาชนและภาพลักษณ์ของจังหวัด ซ่ึงถือเป็นจุดอ่อน และอุปสรรคสาคัญ ในการพัฒนา
จังหวดั

ดังนั้น จังหวัดยะลา จึงได้กาหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยะลาคือ
“คุณภาพชีวิต มั่นคง เกษตรมั่งคั่ง ท่องเที่ยวยั่งยืน” หมายถึง การพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้
และสร้างความสุข สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม สามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ
โดยนายะลามุ่งไปสู่เมืองท่องเที่ยวที่น่าอยู่ มีอาชีพที่ม่ันคง มีสุขภาพดี มีคุณธรรม มีความปลอดภัยใน
ชีวิตและทรัพย์สิน มีการดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ร่วมกันด้วยความรัก
ความสามัคคี ยึดหลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ภายใต้ความหลากหลายของวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของ
พน้ื ที่ นาไปสยู่ ะลาเมอื งแห่งความสุข : Yala city of happiness

28

2.2 แนวคดิ เกี่ยวกบั การมีส่วนรว่ ม

2.2.1 ความหมายของการมีสว่ นรว่ ม
การมีส่วนรว่ มของประชาชน (Participation) ถือได้ว่าเป็นขั้นตอน และกระบวนการที่

สาคญั ทพ่ี ลังสง่ ผลใหก้ ารดาเนินโครงการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐประสบผลสาเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
และได้รับการยอมรับจากประชาชน รวมถึงประชาชนมีความสานึกร่วมในการเป็นเจ้าของโครงการด้วย
ซง่ึ กระบวนการมีสว่ นรว่ มของประชาชนทเี่ ขา้ มา ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ แก้ไขปัญหาร่วมกันพัฒนานั้น ได้
มีนกั วชิ าการ ได้ใหน้ ยิ ามความหมายของการมสี ว่ นร่วมเปน็ จานวนมาก ดังน้ี

การมีส่วนร่วมของประชาชน คือ กระบวนการซ่ึงประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มี
โอกาสแสดงทัศนะ และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงการ
นาความคิดเห็นไปประกอบการพิจารณากาหนดนโยบายและตัดสินใจของภาครัฐ การมีส่วนร่วมของ
ประชาชน เป็นการสื่อสารสองทาง คืออย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการซึ่งประกอบด้วย การแบ่ง
สรรข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม ท้ังน้ีเพราะ
การมีสว่ นร่วมของประชาชน27

เป็นการเพ่ิมคุณภาพของการตัดสินใจ การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา เป็นการ
สร้างฉันทามติ และทาให้ง่ายต่อการนาไปปฏิบัติอีกทั้งหลีกเล่ียงการเผชิญหน้าใน กรณีท่ีร้ายแรงที่สุด
ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม และช่วยให้ทราบความห่วงกังวลของประชาชนและ
คา่ นยิ มของสาธารณชน รวมทัง้ เป็นการพฒั นาความเชียวชาญและความคิดสรา้ งสรรคข์ องสาธารณชน

ความหมายของการมีสว่ นรว่ มของประชาชน28 มีกระบวนการดังน้ี
1) กระบวนการซ่ึงประชาชน หรือผู้ทีมีส่วนได้เสียท่ีเก่ียวข้องมีโอกาสเข้าร่วม

ในกระบวนการหรือข้ันตอนต่างๆของการบริหาร ตั้งแต่การรับรู้ข้อมูลการปฏิบัติงาน การร่วมแสดง
ทัศนะแสดงความคิดเห็น การร่วมเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชนและท้องถ่ิน การร่วมคิดแนว
ทางแกไ้ ขปัญหา การร่วมในกระบวน
การตัดสนิ ใจ การรว่ มในการดาเนนิ การ และการร่วมติดตามประเมินผล รวมทั้งการร่วมรับผลประโยชน์
จาการพฒั นา

2) กระบวนการสานสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อสร้าง
ความเข้าใจร่วมและเพื่อให้การพัฒนานโยบายและบริการสาธารณะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของ
ประชาชนและสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้นโดยเน้นท่ีกระบวนการที่เปิดโอกาสให้
ประชาชนเขา้ มามสี ว่ นเกี่ยวข้องในการตัดสินใจของรัฐ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นวิธีการ
ท่ีภาครัฐ ภาคประชาสังคม และผู้ท่ีเก่ียวข้อง มีโอกาสเรียนรู้ทาความเข้าใจประเด็นนโยบายสาธารณะ
ร่วมกันปรึกษาหารือร่วมกันเพ่ือแสวงหาทางเลือกท่ีดีที่สุด ทุกฝ่ายยอมรับมากท่ีสุดและมีผลกระทบเชิง
ลบน้อยท่ีสุด

27ถวลิ วดี บุรกี ุล, การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎแี ละกระบวนการ, (กรงุ เทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2548), 5.
28สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, “แผนยุทธศาสตรก์ ารพฒั นาระบบราชการพ.ศ.2551 2555”
http://opdc.go.th//special.php?spc_id=2&content_id=2549 (สบื ค้นเมอ่ื วนั ที่ 7 กรกฎาคม 2559)

29

3) กระบวนการที่ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าร่วมใน
การหาวิธีแก้ไขปัญหาท่ียุ่งยากซับซ้อน ร่วมกันหาทางออกสาหรับการแก้ปัญหาต่างๆ ในทางสันติเป็นท่ี
ยอมรับหรือเป็นฉนั ทามตขิ องประชาสงั คม และมสี ่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ โดยนาความเห็นและ
ข้อเสนอแนะของประชาชนและผู้ท่ีเก่ียวข้องทุกภาคส่วนมาเป็นองค์ประกอบสาคัญในการตัดสินใจและ
กาหนดแนวทางหรือนโยบายสาธารณะที่ภาครัฐจะดาเนินการ

การมีส่วนร่วมของประชาชน29 เปล่ียนแปลงไปตามบริบททางสังคมและการเมือง ใน
อดีตการมีส่วนร่วมของประชาชนมักหมายถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ปัจจุบันสังคมให้
ความสาคัญกับประชาธิปไตยทางตรง ส่งผลให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชนมีขอบเขต
กว้างขึ้น การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation)หมายถึง การท่ีองค์กรปกครองส่วน
ท้องถ่ินเปิดให้ประชาชนเข้าไปร่วมในการกาหนดกฎเกณฑ์นโยบาย กระบวนการบริหารและตัดสินใจ
ของท้องถ่ินเพือ่ ผลประโยชน์ ของประชาชนโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง ท้ังนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการท่ี
ประชาชนจะต้องมอี ิสระทางความคดิ โดยหลักการการมีสว่ นร่วมของประชาชนจะต้องมีลักษณะการเข้า
ร่วมอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นจนถึงส้ินสุด ไม่ใช่เป็นการจัดเวทีการมีส่วนร่วมคร้ังเดียว ซ่ึงมีขั้นตอน
ดงั ต่อไปนี้

1) การเกิดจิตสานึกในตนเองและถือเป็นภาระหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็น
ส่วนหน่ึงของสงั คมหรอื ชุมชนทีต่ นอยู่

2) ร่วมกันคิดเรื่อสาเหตุปัญหาของชุมชน และลาดับความสาคัญของ
ปัญหากาหนดเป้าหมายและควรลาดับความสาคัญกบั ปญั หาก่อนหลัง

3) ร่วมมือวางแผนการดาเนินงานในการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ และ
แบ่งงานกนั ทา ในเรือ่ งกาหนดงบประมาณ การจัดหางบประมาณ และมอบหมายให้มผี ดู้ แู ลรักษา

4) ให้ประชาชนเข้าร่วมดาเนินกิจกรรมด้วยความเต็มใจ ด้วยความรู้
ความสามารถของตนเอง

5) ร่วมติดตาและประเมินผล ในการตรวจสอบปัญหาอุปสรรคและร่วมกัน
ในการหาทางแก้ไขปัญหา ตลอดเวลาที่ทางานร่วมกันกับประชาชน เพื่อให้งานหรือภารกิจสามารถ
สาเรจ็ ลลุ ว่ งตามเปา้ หมาย

6) ร่วมรับผลประโยชน์ ประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชนแล้ว
ยอ่ มท่ีจะได้รับ

7) เริม่ ตัง้ แต่การมีจิตสานึกในตนเองและถือเป็นภาระหน้าท่ีของตนในฐานะท่ี
เป็นส่วนหน่ึงของสังคมหรือชมุ ชนที่ตนอยู่

8) ร่วมกันคิดถึงสาเหตุของปัญหาชุมชน ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร และลาดับ
ความสาคัญของปัญหา พร้อมกาหนดเปา้ หมาย และดาเนนิ การแก้ไขกับปญั หากอ่ นหลงั

9) ร่วมวางแผนในการดาเนินกิจกรรม การแบ่งงานกันทา กากาหนด
งบประมาณจะจดั หาแหล่งงบประมาณ และมอบหมายผ้ดู ูแลรกั ษา

10) ประชาชนจะต้องเข้าร่วมดาเนินกิจกรรมด้วยความเต็มใจ ด้วยกาลัง
ความรู้ ความสามารถของประชาชนเอง

29อรทัย ก๊กผล, คู่คดิ คูม่ อื การมีส่วนรว่ มของประชาชน สาหรับนกั บรหิ ารท้องถนิ่ ,(กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์ารพิมพ์, 2552), 17-19.

30

11) รว่ มตดิ ตามประเมนิ ผล ในการตรวจสอบถงึ ปัญหาอุปสรรคและร่วมกันใน
การหาแนวทางแก้ไขปัญหาตลอดเวลาท่ีทางานร่วมกันประชาชน เพ่ือให้งานหรือภารกิจสามารถสาเร็จ
ลุล่วงตามเป้าหมาย

12) ประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชนสมควรท่ีจะได้รับ
ผลประโยชน์ร่วมกันซ่ึงอาจไม่จาเป็นจะต้องอยู่ในรูปของเงิน วัตถุส่ิงของ แต่อาจเป็นความสบายใจ
ความพงึ พอใจในสภาพของความเป็นอยทู่ ่ดี ีข้ึนกไ็ ด้

ความหมายของการมีส่วนร่วมการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทางานน้ัน
จาเป็นอย่างย่ิงที่จะต้องคานึงถึงเง่ือนไขหรือหลักการสาคัญ 3 ประการ คือการมีส่วนร่วมต้องเกิดจาก
ความเต็มใจและความตั้งใจทีจ่ ะเข้าร่วม เพราะจะทาให้เกิดความร้สู ึกเปน็ ส่วนหน่ึงของชุมชนในการแก้ไข
ปัญหาตัดสินใจในเร่ืองนั้นๆกระบวนการมีส่วนร่วมนั้นต้องต้ังอยู่บนพ้ืนฐานของความเสมอภาค และขีด
ความสามารถของแต่ละบุคคลท่ีจะเข้ามามีส่วนร่วมการมีส่วนร่วมต้องต้ังอยู่บนพ้ืนฐานของเสรีภาพ
อสิ รภาพท่ีจะตัดสินใจวา่ จะเลือกหรอื จดั ให้มีการมสี ว่ นรว่ มหรอื ไม่ ข้อสาคัญคือ การมีส่วนร่วมนั้นต้องไม่
เกิดจากการบังคับหรือขู่เข็ญจากผู้ท่ีเหนือกว่าเม่ือพิจารณาจากความหมายที่องค์การระหว่างประเทศ
บุคคลผู้มีบทบาททางด้านการพัฒนาสังคมท้ังในและต่างประเทศ รวมทั้งนักวิชาการท้ังในและ
ต่างประเทศทไ่ี ดก้ ล่าวถงึ ลกั ษณะของการมีสว่ นร่วมหรือได้ให้ความหมายหรือได้ให้นิยามคาว่าการมีส่วน
รว่ มไวห้ ลากหลายข้างตน้ แล้วเห็นว่าการมสี ว่ นร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนน้ันข้ันแรก
จะต้องเกิดขึน้ จากจติ สานึกของประชาชนในชุมชนทจี่ ะร่วมมือร่วมใจกนั อยา่ งเต็มใจเต็มกาลังตามความรู้
ความสามารถของตนเองในการเข้าแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ชุมชน โดยร่วมกันวางแผน จัดรูปแบบ
วางเป้าหมายรวมถึงการจัดหางบประมาณในการแก้ไขปัญหาของชุมชนตนเองตลอดจนร่วมรับ
ผลประโยชนท์ ี่ไดเ้ ข้าไปมสี ว่ นร่วมกิจกรรมของชมุ ชน

2.2.2 รปู แบบของการมีสว่ นร่วมของประชาชน
รปู แบบของการมีสว่ นรว่ มของประชาชน30 มีรูปแบบดังน้ี
1) การมีส่วนร่วมแบบเป็นไปเอง เป็นไปโดยการอาสาสมัครหรือการรวมตัว

กนั ข้นึ เองเพ่อื แกไ้ ขปญั หาในกลุ่มของตนเองโดยไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก โดยมีรูปแบบที่
เป็นเปา้ หมาย

2) การมีส่วนร่วมแบบชักนา เป็นการเข้าร่วมโดยต้องการความเห็นชอบหรือ
การสนับสนนุ จากรัฐบาล ซ่ึงเปน็ รปู แบบโดยทั่วไปในประเทศที่กาลังพฒั นา

3) การมีส่วนรว่ มแบบบงั คบั ซ่งึ เปน็ ผูม้ สี ่วนร่วมภายใตก้ ารดาเนินนโยบายของ
รัฐบาลภายใต้การดาเนินงานโดยเจ้าหน้าท่ีของรัฐหรือการบังคับโดยตรง รูปแบบน้ีเป็นรูปแบบที่
ผ้ดู าเนินการได้รับผลทนั ทีแตไ่ ม่ไดร้ ับผลระยะยาวและมผี ลเสีย คอื ไมไ่ ด้รับการสนับสนนุ จากประชาชน

รูปแบบการมีส่วนรว่ มของประชาชนไว้ 3 ดา้ น31 ดังน้ี

30 United Nation, Popular Participation In Decision Making For Development, (New York: United Notwess
Publication,1998) , อ้างถึงในสิริพัฒน์ ลาภจติ ร,“ปัจจัยทส่ี ง่ ผลต่อการตัดสนิ ใจมสี ว่ นร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารงาน
องคก์ ารบริหารสว่ นตาบลอาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี,” (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบณั ฑิต
สาขาวชิ ารัฐประศาสนศาสตร์ ภาควิชารฐั ประศาสนศาสตร์ คณะรฐั ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ,2550), 31.

31 ถวลิ วดี บรุ ีกลุ , การมีสว่ นรว่ ม แนวคิด ทฤษฎแี ละกระบวนการ, 4.

31

1) ต้องมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน การให้ประชาชนเข้าร่วมใน
กิจกรรมหน่ึงๆ จะต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเป็นไปเพื่ออะไร ผู้เข้าร่วมจะได้ตัดสินใจ
ถกู ว่าควรเข้ารว่ มหรอื ไม่

2) ต้องมีกิจกรรมเป้าหมาย การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมต้องระบุ
ลักษณะของกิจกรรมว่ามีรูปแบบและลักษณะอย่างไร เพื่อที่ประชาชนจะได้ตัดสินใจว่าควรจะเข้าร่วม
หรือไม่

3) ต้องมีบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายการให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมจะต้องระบุ
กลุ่มเป้าหมายอย่างไรก็ตามโดยท่ัวไปกลุ่มบุคคลเป้าหมายมักถูกจากัดโดยกิจกรรม และวัตถุประสงค์
ของการมสี ่วนร่วมอยูแ่ ลว้ โดยพืน้ ฐาน

เม่ือพิจารณาจากรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนข้างต้นแล้วเห็นว่าการมี
ส่วนร่วมของประชาชนนนั้ แบง่ ออกเป็น สรปุ ไดด้ ังน้ี

1. การทป่ี ระชาชนเขา้ ไปมีส่วนรว่ มโดยความสมัครใจและร่วมเข้าไปแก้ปัญหา
ด้วยตวั เอง

2. การเข้าไปมีส่วนร่วมโดยมีบุคคลอื่นมาชักจูงและบังคับแล้วจึงจะเข้าไปมี
ส่วนร่วม ไมว่ า่ จะเปน็ การเข้าไปมสี ว่ นรว่ มโดยตรงหรอื ผ่านองคก์ รผ้แู ทนหรือกรรมการกลุ่มหรือชมุ ชน

2.2.3 เงอื่ นไขของการมสี ่วนร่วม
การที่ประชาชนจะเข้าไปมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมหรือไม่เข้าร่วมนั้น มีเง่ือนไขหลาย

ประการท่ีมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วม ซ่ึงอาจเป็นไปด้วยความสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือ
ผลักดนั ให้เขา้ ไปมสี ว่ นร่วม ดังน้นั เงือ่ นไขในการเข้ามามีสว่ นร่วมของประชาชนจงึ มีอยูห่ ลายประการ

บริบทหรือเงื่อนไขแวดล้อมของการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย32 1) ลักษณะของ
โครงการ โดยพิจารณาจากความสลับซับซ้อนของเทคโนโลยี ทรัพยากรท่ีต้องการ ลักษณะประโยชน์ที่
จะได้รับ ความเชื่อมโยงของโครงการ ความยืดหยุ่นของโครงการการเข้าถึงการบริหารจัดการโครงการ
และการครอบคลุมเนื้อหาการบริหารงานโครงการ 2) ภาพแวดล้อมของงานหรือกิจกรรมตาม
โครงการในปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม
วัฒนธรรม และด้านประวตั ิศาสตร์

เงื่อนไขเบ้ืองต้นของการมีส่วนร่วมไว้ 5 ประการ33 คือ 1) รัฐบาลจะต้องมีการยอมรับใน
แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อนในเบื้องต้น และได้บรรจุหลักการนี้ไว้ในแผนหรือนโยบายในระดับ
ต่างๆ 2) ประชาชนต้องมีพ้ืนฐานองค์กรประชาชนที่สามารถเป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรองกับกลุ่ม
ผลประโยชน์และบุคคลอื่นๆได้ 3) ประชาชนต้องมีอิสระในความคิดริเร่ิมและในการตัดสินใจในระดับท้องถิ่น
เพื่อกาหนดกิจกรรมของตนเอง 4) ชุมชนต้องมีการไหลเวียนของข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ โดยเฉพาะ
หลักการและปรัชญาของการพัฒนา เทคนิค วิธีการในการจัดสรรทรัพยากร และความรู้ทางการบริหาร และ
5) ชมุ ชนจะตอ้ งได้รับการสนับสนุนทางด้านสิ่งของและความคดิ เทคนคิ ทีจ่ าเป็นโดยเฉพาะในระยะแรก

32 Cohen. J., M. and Uphoff, N. T., Rural development participation:Concept and measures for project
design, implementation and evaluation (New York: Cornell University, 1977)

33 United Nation, Popaler Participation In Decision Making For Development,อ้างถึงในสิริพัฒน์ ลาภจิตร,“ปัจจัยท่ีส่งผลต่อ
การตัดสนิ ใจมีสว่ นร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารงานองค์การบริหารสว่ นตาบลอาเภอวารินชาราบ จงั หวดั อุบลราชธานี”, 35.

32

เงื่อนไขขั้นพ้ืนฐานของประชาชนในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนามี 3 ประการ34
คอื 1) ตอ้ งมีอสิ รภาพ หมายถงึ มอี ิสระท่จี ะเข้าร่วมหรือไมเ่ ขา้ รว่ มก็ได้ การเข้าร่วมต้องเป็นไปโดยความ
สมคั รใจ การถกู บงั คบั ให้ร่วมไม่ว่าจะในรูปแบบใด ไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วม 2) ต้องมีความเสมอภาค
ประชาชนเข้ารว่ มในกิจกรรมใดจะต้องมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ 3) ต้องมีความสามารถ
ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายจะต้องมีความสามารถพอที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมนั้น แม้กิจกรรม
บางอยา่ งจะมกี ารกาหนดผูเ้ ข้ารว่ มทมี่ ีเสรภี าพและความเสมอภาค แต่กิจกรรมที่กาหนดไว้มีความซับซ้อน
เกนิ ความสามารถของกล่มุ เป้าหมาย การมสี ่วนร่วมย่อมเกิดขึน้ ไม่ได้

เงือ่ นไขบางประการที่จะทาให้ประชาชนไมเ่ ข้ามามีส่วนรว่ มทางการเมืองเท่าท่ีควรด้วย
เหตผุ ลดังตอ่ ไปน้ี35 1) ทศั นะของประชาชนท่มี ีตอ่ การเมือง คิดว่าการเมืองเป็นเร่ืองไกลตัว ไม่ตอบสนอง
ความต้องการของคนในท้องถ่ิน มองการเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง ไม่ใช่เร่ืองของประชาชน 2)
ความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อท้องถ่ินและความเป็นท้องถิ่นกล่าวคือ คนไทยขาด Civic Culture ขาด
ความรู้สึกผูกพันกับท้องถ่ิน ไม่สนใจติดตามตรวจสอบหรือกากับดูแล ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินทา
หนา้ ทต่ี อบสนองความต้องการและพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวหน้า 3) วิถีชีวิตของประชาชนในแต่ละท้องถ่ิน
คือ ชาวบ้านจะมีความประนปี ระนอมสูงเพราะมีความสัมพันธ์ในเครือญาติ และมีความเกรงใจ ประกอบ
กับชาวบ้านมีการพดู คยุ กันเมือ่ เกิดปัญหา 4) วัฒนธรรมการยึดตัวบุคคล เป็นผลมาจากสังคมเป็นระบบ
อุปถัมภ์ ประชาชน ขาดความรทู้ ่ีแท้จริง ทาใหถ้ ูกชน้ี าและขาดอสิ ระในการตดั สินใจ

เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขของการมีส่วนร่วมแล้ว ที่ได้กล่าวถึงเงื่อนไขของการมี
ส่วนร่วมไว้หลากหลายข้างต้นแล้วเห็นว่าเง่ือนไขของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมต่างๆ ของ
ประชาชนนั้นจะต้องเกิดจากความพร้อม ความเต็มใจ ความรู้สึกผูกพันกับท้องถ่ิน วิถีชีวิต วัฒนธรรม
และความกระตอื รือร้นของประชาชนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมเพ่ือแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ
ชุมชนตนเอง

2.2.4 ข้ันตอนของการมสี ่วนร่วมของประชาชน
ข้ันตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกันเข้ามาแก้ไขปัญหาของชุมชน36 มี

ดังน้ี 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีการกาหนดความต้องการและจัดลาดับความสาคัญ 2) การมี
สว่ นรว่ มในการดาเนนิ งาน 3) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และ 4) การมีส่วนร่วมในการติดตาม
และประเมินผลงาน

ข้ันตอนของการมีส่วนร่วมในการดาเนินงานเร่ืองให้บรรลุวัตถุประสงค์ และนโยบาย
การพัฒนาที่กาหนดไว้ 7 ประการ 37 คือ 1) ร่วมทาการศึกษาค้นคว้าปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่
เกิดขึ้นในองค์การ 2) ร่วมคิดหรือสร้างรูปแบบวิธีการพัฒนาเพื่อแก้ไขและลดปัญหาขององค์การ หรือ
เพ่ือสร้างสรรค์ส่ิงใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การ หรือสนองความต้องการขององค์การ 3) ร่วมวาง
นโยบายหรอื แผนงานหรอื โครงการ หรือกจิ กรรมเพ่ือขจัดหรอื แก้ไขและสนองความตอ้ งการขององค์การ

34 ถวิลวดี บุรีกุล, การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ, 3.
35 วฒุ ิสาร ตันไชย, การกระจายอานาจและการปกครองท้องถน่ิ , (กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส,2545), 105-112
36 ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์, กระบวนการเสริมสรา้ งความเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสงั คม,(ขอนแก่น: โครงการจดั ต้งั มลู นิธิ
เสริมสร้างชุมชนเข็มแข็ง ชมรมนักวิชาการสาธารณสุขภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื , 2543), 149-163.
37 ไพรตั น์ เตชะรนิ ทร์, ทบทวนการพฒั นาชนบทไทย, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพด์ แี อนด์เอส,2525), 7

33

4) ร่วมตัดสินใจการใช้ทรัพยากรที่มีจากัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม5) ร่วมจัดหรือปรับปรุงระบบ
บริหารงานพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 6) ร่วมการลงทุนโครงการของชุมชน ตามขีด
ความสามารถของตนเองและของหน่วยงาน 7) ร่วมปฏิบัติตามนโยบายแผนงาน โครงการและกิจกรรม
ให้บรรลุเป้าหมายท่ีวางไว้ร่วมควบคุม ติดตามประเมินผล และรว่ มบารงุ รกั ษาโครงการและกิจกรรมท่ีทา
ไว้ ท้ังภาครัฐและเอกชนใหเ้ กดิ ประโยชนไ์ ด้ตลอดไป

ขัน้ ตอนในการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชนออกเป็น 4
ข้ันตอน38 คือ 1) การค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหา ตลอดจนแนวทางแก้ไข 2) การตัดสินใจเลือก
แนวทางและวางแผนพัฒนาแก้ไขปัญหา 3) การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนา และ 4) การ
ประเมินผลงานกิจกรรมการพฒั นา

เมื่อพิจารณาแล้ว สามารถสรุปได้ว่าขั้นตอนการมีส่วนร่วมนั้นเริ่มตั้งแต่การเข้า
มาร่วมคิดค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นกับชมุ ชนของตนเอง วเิ คราะหส์ ภาพปญั หาร่วมกัน หาวิธีการ
แก้ไขปัญหา เข้าร่วมแก้ไขปัญหาตามโครงการที่กาหนดไว้ และติดตามประเมินผลงานท่ีเกิดข้ึน แล้ว
นามาปรับปรงุ แกไ้ ขใหด้ ขี ึน้

2.2.5 กระบวนการของการมสี ว่ นรว่ ม
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน39 ในการดาเนินกิจกรรมไว้ 4 ขั้นตอนดังนี้ 1)

การวางแผนประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาจัดอันดับความสาคัญตั้งเป้าหมาย
กาหนดการใช้ทรัพยากรกาหนดวิธีติดตามประเมินผลและประการท่ีสาคัญคือต้องตัดสินใจด้วยตนเอง
2) การดาเนนิ งานประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินการบริหารการใช้ทรัพยากร และมีความ
รับผิดชอบในการควบคุมจัดสรรทางการเงิน 3) การใช้ประโยชน์ ประชาชนต้องนาเอากิจกรรมมาใช้ให้
เกิดประโยชน์มากท่ีสุด ซ่ึงเป็นการเพิ่มระดับของการพึ่งตนเองและการควบคุมทางสังคม และ 4) การ
ได้รับประโยชน์ประชาชนต้องได้รับการแจกจ่ายผลประโยชน์จากชุมชนในพ้ืนฐานที่เท่าเทีย มกันซ่ึงเป็น
ผลประโยชน์สว่ นตัวสังคมหรอื ในรปู วตั ถกุ ็ได้

กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเง่ือนไขแห่งความสาเร็จปัจจัยแห่ง
ความสาเร็จที่ควรยึดถือไว้ในการออกแบบและบริหารจัดการโครงการการมีส่วนร่วมของประชาชน
ประกอบไปดว้ ย 4S คือ40

1) Starting Early กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้อง
ดาเนินการก่อนการตัดสินใจ ที่ผ่านมาความล้มเหลวของการมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดจากภาครัฐ
เริ่มกระบวนการมีส่วนร่วมล่าช้า หลังมีการตัดสินใจเรียบร้อยแล้วหรือมีข้อผูกมัดอื่นๆ จนเปลี่ยนแปลง
ไม่ได้ หรือหลังจากเกิดความขัดแย้งข้ึน อย่างไรก็ตาม การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อนการ
ตัดสินใจมิให้หมายความว่าก่อนการตัดสินใจไม่กี่วัน หรือไม่ก่ีสัปดาห์ มิติเวลาเป็นปัจจัยหนึ่งท่ีสะท้อน
ความจริงใจของหน่วยงานภาครัฐในกระบวนการมีส่วนร่วม ควรให้มีเวลาเพียงพอในการรับฟังความ
คดิ เห็นอย่างกวา้ งขวาง เพอื่ ใหก้ ารตัดสนิ ใจสะทอ้ นความคิดเห็นของชุมชน

38 อคนิ ระพีพัฒน,์ การมีส่วนรว่ มของประชาชนในการพัฒนา, (กรงุ เทพฯ : ศูนยก์ ารศึกษานโยบายสาธารณสขุ , 2547), 320.
39 WHO and UNICEF, Report of the international conference on primary health care, (New York:
N.P.Press,1978), 41.
40 อรทยั กก๊ ผล, การบริหารปกครองสาธารณะ: การบรหิ ารรฐั กจิ ในศตวรรษท่ี 21,พมิ พค์ รงั้ 2, (ปทมุ ธานี: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสติ , 2556), 98-100.

34

นอกจากนี้ ในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต้ังแต่ต้น มี
ประโยชน์ช่วยให้ประชาชนมีเวลาคิดถึงทางเลือกหรือแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชนที่เหมาะสมมากขึ้น
และเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการ การบริหารการมีส่วนร่วมควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมต้ังแต่
เริม่ ตน้ เพือ่ ตระหนกั ถงึ ปัญหาความจาเป็นของโครงการ ในขั้นของการหาข้อมูลพื้นฐาน เช่น กรณีการ
ทาโครงการโรงไฟฟ้า หรือที่ทิ้งขยะ ควรต้องปรึกษาหารือถึงความจาเป็นของการมีโรงไฟฟ้าหรือที่
ทิง้ ขยะหรือไมก่ อ่ นจะถามว่าต้ังทีน่ ไ่ี ด้หรือไม่

2) Stakeholders ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายไม่ว่า
โดยตรงหรอื ทางออ้ ม ถอื ว่าเปน็ ผมู้ ีสว่ นไดส้ ่วนเสยี ควรมโี อกาสเขา้ สกู่ ระบวนการมีส่วนร่วม สาหรับกลุ่ม
ทไี่ ดร้ ับผลกระทบโดยตรงอาจต้องได้รับฟังข้อมูลหรือปรึกษาหารือเป็นกลุ่มต้นๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ต้องให้ความสาคัญในการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระวังไม่ให้เกิดการผิดกลุ่มเป้าหมาย ต้องตระหนักว่า
ประชาชนแต่ละกลุ่มได้รับผลกระทบจากประเด็นการตัดสินใจไม่เท่ากัน บ่อยครั้งท่ีเรามักคิดว่า
ประชาชนเป็นคนกลุ่มเดยี วกัน ในความจรงิ ผู้ทไี่ ด้รบั ผลกระทบมีหลากหลายกลุ่ม การบริหารจัดการการ
มีส่วนร่วมต้องม่ันใจว่ากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท่ีสาคัญทุกกลุ่มได้โอกาสเข้ามามีส่วนร่วมและแต่ละกลุ่ม
อาจมีรูปแบบการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน เพ่ืออานวยให้กลุ่มผู้ท่ีมีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม เช่น
กาหนดเวลาการรบั ฟังความคิดเห็นทีช่ าวบ้านมารว่ มได้ หรอื การใช้ภาษาทอ้ งถ่ินรวมท้ังการอานวยความ
สะดวกให้ชาวบ้านในการเดินทางไปร่วม การพยายามเข้าหากลุ่มท่ีด้อยโอกาสในสังคม เช่น คนยากจน
ผู้หญิง คนชรา และเด็ก

3) Sincerity การมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดอ่อน และ
ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานท่ีรับผิดชอบในการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมและประชาชนถือว่ามี
ความสาคญั ในการบรหิ ารการมสี ว่ นร่วมใหป้ ระสบผลสาเรจ็ หนว่ ยงานของรัฐท่ีเป็นเจ้าของโครงการหรือ
มีอานาจอนุมัติต้องจัดกระบวนการอย่างจริงจัง เปิดเผย ซื่อสัตย์ ปราศจากอคติ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
มีการส่ือสารสองทางตลอดเวลา โดยเฉพาะให้ข้อมูลท่ีถูกต้องเพียงพอ ตอบสนองต่อความสงสัยของผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสีย รวมท้ังแจ้งความก้าวหน้าหรือเปลี่ยนแปลงของโครงการอย่างต่อเน่ืองอธิบาย
กระบวนการได้อย่างชัดเจน ลดปัญหาข้อสงสัยที่อาจก่อให้เกิดข่าวลือให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน
ระยะเร่ิมต้น ขณะเดียวกันต้ังใจรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นและนาไปเป็นข้อมูลสาหรับการ
ตัดสินใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นพื้นฐานของความน่าเช่ือถือและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อันนามาสู่
ความร่วมมือ ความเขา้ ใจ และการสือ่ สารท่ีดขี ึน้

4) Suitability การเลอื กเทคนิคหรือรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนต้อง
พิจารณาจากประเภทและขนาดของโครงการ โดยคานึงถึงความเหมาะสม ความหลากหลายและ
ลักษณะท่ีแตกต่างกันของพื้นที่ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดจนความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม
สังคม และค่านิยม ระดับความสนใจของชุมชนในประเด็นหรือโครงการความสามารถหรือความพร้อม
รวมท้ังข้อจากัดของหน่วยงานท่ีรับผิดชอบในการจัดกระบวนการมีส่วนร่วม เช่น ด้านระยะเวลา
บุคลากรและงบประมาณ ความสาเร็จของการมีส่วนร่วมอยู่ที่ความสามารถในการวิเคราะห์
สถานการณ์และเลือกกระบวนการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมท่ีสร้างสรรค์ต้องประกอบด้วย
กระบวนการยอ่ ยหลายรปู แบบ ท้งั ท่ีเป็นทางการและไม่เป็นทางการ นอกจากน้ันยังต้องตระหนักว่าการ
ให้ข้อมูลขา่ วสารและข้อเทจ็ จริงเปน็ องค์ประกอบทขี่ าดไม่ได้ของการปรกึ ษาหารือท่มี ีประสทิ ธผิ ล

35

สรุปได้ว่า กระบว นก ารมีส่ว นร่ว มของปร ะช าช นไม่มีวิธีที่ดีที่สุด
จาเป็นต้องปรับตามสถานการณ์ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปรหลากหลาย เช่น ประเด็นสาธารณะที่ต้อง
นาสกู่ ระบวนการมสี ว่ นร่วมเทคนิคการมสี ่วนรว่ มของประชาชน รวมทงั้ กลมุ่ เปา้ หมายหรอื ผมู้ สี ่วนได้ส่วน
เสียท่ีควรเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วม รวมท้ังปทัสถาน วัฒนาธรรมชุมและบริบททางเศรษฐกิจ สังคม
การเมอื งมผี ลต่อกระบวนการมสี ว่ นรว่ มของประชาชนทง้ั สนิ้

2.2.6 แนวทางการจดั การการมีสว่ นรว่ มของประชาชน
แนวทางมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น 3 ด้าน41 คือ ด้านประชาชน (Public) ด้าน

การมีส่วนร่วม (Participation) และดา้ นภาครฐั โดยการมีส่วนร่วม (Participation) มีวัตถุประสงค์หลัก
เพ่อื ใหป้ ระชาชนท่เี ป็นบุคคลหรือคณะบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในข้ันตอนในการดาเนินการพัฒนาในด้าน
ต่างๆ ทาประโยชน์ช่วยสนับสนุนในเรื่องต่างๆ หรือกิจกรรมต่างๆตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจร่วม
ดาเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมประเมินผล เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดและยอมรับกันทุก
ฝา่ ย ต่อไปน้ี

1) การรับรู้ (Perception)
ต้องสร้างจิตสานึกให้ประชาชนและภาครัฐ การยอมรับ และ

ตระหนักถึงการรับรู้ในสิทธิหน้าท่ีการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่าย โดยเจ้าหน้าท่ีของรัฐจะต้องสร้าง
สานึกใหม่ว่ากิจการท่ีตนรับผิดชอบไม่ใช่รัฐกิจหรือกิจการของรัฐท่ีตนเท่าน้ันมีสิทธิตัดสินใจ แต่เป็น
ประชาชนทจี่ ะมสี ว่ นร่วมในการคดิ รว่ มกระทา หรือตรวจสอบ ถา้ เจา้ หน้าทข่ี องรฐั ไม่ปรับทัศนคติให้ได้ก็
จะต้องเผชิญกับข้อขัดแย้งกบั ประชาชนท่ีจะเกิดข้ึน ส่วนภาคประชาชน ควรจะตระหนักถึงการรับรู้และ
ยอมรับในสิทธแิ ละหนา้ ทีต่ ลอดจนการมสี ่วนรว่ มน้นั ตอ้ งเขา้ ใจว่าตนและ
ผู้อ่ืนตา่ งก็มีสทิ ธิหน้าท่ีและสว่ นรว่ มเสมอ

2) ทัศนคติ (Attitude)
ต้องปรับทศั นคตแิ ละสร้างความเข้าใจของบุคลากรท้ังสองฝ่าย คือทั้ง

ภาครฐั และภาคประชาชน ให้มที ศั นคติท่ดี ตี อ่ การมสี ่วนรว่ มของประชาชน ภาครัฐต้องส่งเสริมการมีส่วน
ร่วมของประชาชนหลายด้าน เพ่ือการได้ข้อมูล ทั้งท่ีเป็นข้อเท็จจริงและความคิดที่แตกต่างหลายด้าน
ด้านเจ้าหน้าท่ีภาครัฐผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมต้องมีทัศนคติท่ีดีต่อกระบวนการมีส่วนร่วมที่มี
การปรบั ปรุงบทบาทและคา่ นิยมและตอ่ การมสี ่วนร่วมของประชาชน และเจ้าหน้าท่ีภาครัฐต้องอดทนใน
การทางานกับประชาชน เพราะต้องใช้ระยะเวลายาวนานอย่างต่อเนื่องในการมีส่วนร่วม และมีความ
จริงใจกับประชาชน และประชาชนเองก็ต้องทาความเข้าใจความสาคัญของการมีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน
โดยมีทัศนคติที่ดีต่อเจ้าหน้าท่ีในกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่
และประชาชน และเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมการมีส่วนร่วมบรรลุ
เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เม่ือท้ังสองฝ่ายมีทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการมีส่วนร่วมแล้วความ
รว่ มมอื ระหวา่ งประชาชนและเจา้ หน้าทภ่ี าครฐั กจ็ ะพฒั นาอยา่ งก้าวหน้าตอ่ ไป

41 สมลกั ษณา ไชยเสริฐ พ.ต.อ.หญงิ ,“การพัฒนารปู แบบการมสี ่วนรว่ มของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบและตดิ ตาม
การบรหิ ารงานตารวจสถานีตารวจนครบาล,” (บัณฑิตวทิ ยาลัยมหาวิทยาลยั ราชภัฎสวนดุสติ , 2549), 142-149.

36

3) การเป็นตวั แทน (Representation)
การคัดเลือกและการสรรหาตัวแทนจะต้องคานึงถึงประชาชนทุก

กลุ่ม ทุกฝ่ายเพ่ือให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ท่ีหลากหลายทุกกลุ่มน้ันมีตัวแทนเข้าไปร่วมในการประสาน
ผลประโยชนใ์ ห้เกดิ ความเป็นธรรม โดยคานึงถึงคุณสมบัติของตัวแทนท่ีต้องการด้วย โดยพิจารณาจาก
คุณสมบัติ เช่น ทักษะความสามารถที่เกื้อหนุนกัน ความสอดคล้องของเทคโนโลยี วัตถุประสงค์
ค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กร การตอบสนองซึ่งกันและกัน ความรับผิดชอบ ความมั่นคงด้านการเงิน
ความสามารถในการสร้างความเชื่อม่ัน และกลุ่มท่ีเป็นตัวแทนต้องได้รับความน่าเชื่อถือจากลุ่มหลาย
กลุ่มหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และสมาชิกที่เป็นตัวแทนต้องมีความรู้สึกที่จะต้องอาศัยซ่ึง
กันและกันซ่ึงเปน็ ทต่ี อ้ งตระหนักถงึ อกี ปัจจยั หนึง่ ดว้ ยเช่นกนั

4) ความเชื่อมนั่ และไวว้ างใจ (Trust)
การมีส่วนร่วมต้องสร้างให้สมาชิกมีความจริงใจและเข้าใจในการเข้า

ร่วม และผลตอบรับที่ตามมาคือไว้วางใจและความเชื่อมั่นในองค์กร โดยการสร้างความเชื่อมั่นและ
ไว้วางใจกันต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน กาหนดให้เป็นเป็นวัฒนธรรมและรูปธรรมขององค์กร ซึ่งการ
สรา้ งความความไวว้ างใจกนั เชอ่ื ถอื ศรัทธา เปน็ สงิ่ สาคัญที่จะทาให้กระบวนการมีส่วนร่วมล้มเหลวหรือ
ประสบความสาเร็จ การสร้างความเช่ือถือและไว้วางใจอาจทาได้จากการดาเนินกิจกรรม แลกเปลี่ยน
ข้อมูลข่าวสาร นาเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ในการดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการ
ติดต่อระหว่างสมาชิกอย่างสม่าเสมอบ่อยครั้ง และทาอย่างต้ังใจทั้งท่ีเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ภายในองค์กรซึ่งเป็นสิ่งท่ีจะทาให้เกิดความเชื่อม่ันและความไว้วางใจของการร่วมมือซ่ึงกันและกันเพื่อ
สรา้ งความสาเร็จ

5. การแลกเปล่ยี นข้อมูลข่าวสาร (Information-sharing)
สร้างกลไกเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากการมี

ส่ว น ร่ว ม เ ป็น กระบวนการที่ทาให้ข้อมูลข่าวสารท้ังด้านท่ีเป็นข้อเท็จจริงและด้านที่เป็นความคิด
ความร้สู กึ ความคาดหวัง ได้ถูกแสดงออกมาอย่างหลากหลายลุ่มลึกและสมบูรณ์ครบถ้วนมากข้ึน ซึ่งจะ
ทาให้การวินิจฉัยปัญหาและการเสนอทางเลือกในการแก้ไขปัญหามีหลากหลาย และตรงกับความ
ต้องการมากขึ้น ผลที่ตามมาคือทาให้การตัดสินใจในการกาหนดนโยบายและการวางแผนดาเนินไปได้
อย่างรอบรู้รอบคอบและรอบด้านย่ิงขึ้น โดยการท่ีประชาชนจะมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพน้ัน
จาเปน็ ท่ีจะต้องมีความรู้ และมีข้อมูลข่าวสารเพียงพอในนโยบายท่ีตนต้องการมีส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร
เหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นของหน่วยงานท่ีเป็นผู้ริเร่ิมนโยบายบางส่วนเกิดจากการศึกษาของ
นักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชน ดังนั้นประชาชนที่สนใจการมีส่วนร่วมกับนโยบายใดอาจไปขอ
ความร่วมมือและข้อมูลจากบคุ คลและองค์กรเหล่าน้ัน

6. ฉันทามติ (Consensus)
การมีส่วนร่วมเป็นการสร้างฉันทามติ โดยการให้ประชาชนและผู้

ที่เกี่ยวข้องทุกภาคสว่ นเข้ารว่ ม ในการหาวิธีแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนร่วมกันหาทางออกสาหรับการ
แกไ้ ขปญั หาตา่ งๆ ในทางสนั ติ เปน็ ทย่ี อมรบั หรือเปน็ ฉนั ทามตขิ องประชาสังคมซึ่งทุกคนยินยอมเห็นพ้อง
ต้องกันในทุกๆ ข้ันตอนของกระบวนการมีส่วนร่วม โดยเสาหลักของการมีส่วนร่วมที่ดีก็คือการท่ี
ประชาชนสามารถท่ีจะร่วมมือกัน ลดความขัดแย้ง สร้างข้อตกลงที่ม่ันคงยืนยาว การยอมรับระหว่าง

37

กลุ่ม และหาข้อสรุปร่วมกันได้ทุกฝ่าย แม้ว่าอาจจะมีความเห็นท่ีแตกต่างกันก็ตามก็ต้องสามารถที่จะ
ปรับความเห็นท่ตี า่ งกนั โดยการเจรจาหาขอ้ ยตุ ิทท่ี ุกฝ่ายยอมรับกันได้อย่างสันติวธิ เี พื่อนา
ไปสขู่ ้อสรุปทเ่ี หน็ พ้องหรอื ฉนั ทามติรว่ มกนั ได้ทุกฝ่าย

7. การมปี ฏิสัมพันธ์ (Interaction)
องค์กรกลางมสี ่วนรว่ มตอ้ งสรา้ งใหเ้ กิดการมีปฏิสัมพันธร์ ะหว่างกันใน

องค์กร คือจะตอ้ งจัดกจิ กรรมท่ที าใหม้ กี ารพบปะ พูดคุย แลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็นของกัน
และกันเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two Ways Communication) ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ท่ีดี
ระหว่างกันซึ่งจะนาไปสู่การลดอคติที่มีต่อกันและเกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างผู้ที่เข้าร่วม สิ่งเหล่าน้ี
นับว่าเป็นกลไกที่จะช่วยป้องกันความขัดแย้งท่ีอาจจะเกิดข้ึนหรือกรณีท่ีมีความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้วก็จะ
เป็นกลไกทช่ี ว่ ยบรรเทาความขดั แย้งใหล้ ดระดบั ความรุนแรงลงได้ซ่ึงการมปี ฏิสมั พนั ธใ์ นกระบวนการการ
มีส่วนร่วมของประชาชนก็เพื่อท่ีจะให้เกิดการตัดสินใจที่ดีข้ึนและรับการสนับสนุนจากสาธารณชน ซ่ึง
เป้าหมายของกระบวนการมสี ว่ นร่วมของประชาชนก็คือการให้ข้อมูลต่อสาธารณชน และให้สาธารณชน
แสดงความคิดเห็นต่อโครงการที่นาเสนอหรือนโยบายรัฐ รวมท้ังมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพ่ือหาทาง
ออกทดี่ ที ่สี ดุ ตลอดจนสร้างความสมั พนั ธท์ ด่ี สี าหรับทุกๆคน

8. ความประสงค์หรือความมงุ่ หมาย (Purpose)
ต้องกาหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการมีส่วนร่วมไว้อย่าง

ชัดเจนว่าเป็นไปเพื่อจุดประสงค์อะไร ผู้เข้าร่วมจะได้ตัดสินใจว่าสมควรจะเข้าร่วมหรือไม่ การมี
จุดมุ่งหมายที่ต้องการให้สมาชิกผู้เข้ารว่ มได้เขา้ ใจตรงกันอยา่ งชัดเจนไปในทศิ ทางเดียวกัน ซึ่งจะสะท้อน
ให้เห็นความเข้มแข็งขององค์กรอย่างเป็นเอกภาพทางความคิดเห็นและเอกภาพในการดาเนินกิจกรรม
นอกจากนก้ี ารมีสว่ นรว่ มต้องระบลุ กั ษณะของกจิ กรรมว่าต้องมีกิจกรรมเป้าหมายในการให้ประชาชนเข้า
มีส่วนร่วม มีลักษณะและรูปแบบอย่างไร เพ่ือท่ีประชาชนจะได้ตัดสินใจในการเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วม
ต้องระบุวา่ ในกิจกรรมแต่ละอยา่ ง มีก่ีขน้ั ตอนรวมทง้ั ข้นั ตอนของกิจกรรมจะ
ตอ้ งใหป้ ระชาชนสามารถเข้าร่วมในขั้นตอนไหนบ้าง

9. การประเมินผล (Appraisal)
เนื่องจากการประเมินผลเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการมีส่วน

ร่วมต้องมีระบบการประมวลผล และถือเป็นเครื่องมือสาคัญอย่างหน่ึงในการบริหารทรัพยากรบุคคล
ของผู้บริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดองค์กรท่ีมีการประเมินผลการปฏิบัติงานท่ีเป็นธรรม โปร่งใสและ
ปราศจากทัศนคติส่วนตัวออกได้มากที่สุดถือว่าองค์กรนั้นใช้เคร่ืองมือนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ประเมินผลการปฏบิ ัตงิ านของบุคลากรในองค์กรย่อมส่งผลถึงประสิทธิ
ผลและประสิทธิภาพขององค์กรได้เหมือนกัน ซึ่งผลของการประเมินผลก็จะกลายเป็นปัจจัยนาเข้าใน
กระบวนการมีส่วนร่วมในข้ันตอนการวางแผน เพ่ือนาปัญหาอุปสรรคท่ีเกิดข้ึนในทางปฏิบัติมาปรับปรุง
แก้ไขและพัฒนาผลการดาเนินงานให้มีประสิทธิภาพย่ิงข้ึน ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
ประเมินผลงาน (Performance Appraisal) จึงต้องเริ่มตั้งแต่การเข้าร่วมควบคุม ร่วมบารุงรักษาโครง
การ่วมติดตาม ร่วมประเมินผล และกิจกรรมท่ีจัดทาไว้ทั้งโดยเอกชนและรัฐบาลให้ใช้ประโยชน์ได้
ตลอดไป

38

10. ความโปร่งใส (Transparency)
เนื่องจากการมีส่วนร่วมนั้นเป็นกระบวนการที่ทาให้ประชาชนมี

โอกาสตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจสาหรับการตัดสินใจของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐซึ่งจะก่อให้เกิด
ความโปร่งใสในการดาเนินการ ปรับปรุงกลไกการทางานขององค์การมีส่วนร่วมให้มีความโปร่งใส ลด
การทุจริตและข้อผิดพลาดของนโยบาย แผน โครงการลงได้ ซ่ึงความโปร่งใสเป็นองค์ประกอบหน่ึงของ
การบริหารกิจการบา้ นเมืองทด่ี ี โดยการสร้างความไว้วางใจซ่ึงกันและกันของคนในองค์กร ประกอบด้วย
ความไวว้ างใจ การเปิดเผยขอ้ มูล การเข้าถงึ ขอ้ มูล และกระบวนการตรวจสอบ

11. ความเป็นอิสระ (Independence)
องค์กรการมีส่วนร่วมจะต้องมีการยอมรับความคิดเห็นของกัน และ

กันมีอิสระทางความคดิ ความเป็นประชาธิปไตยโดยการให้เกียรติ สมาชิกทุกคนในองค์กร การที่สมาชิก
มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นและตัดสินใจจะเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกันซึ่ง
เง่ือนไขและหลักการที่สาคัญของการมีส่วนร่วมประการหน่ึงคือ ความสมัครใจหรือความเป็นอิสระท่ีจะ
เข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมการบังคับไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการคุกคามการระดมและการว่าจ้างไม่ถือว่า
เป็นการมีสว่ นรว่ ม

12. กา้ วไปข้างหนา้ อย่างต่อเนอ่ื ง (Onward-doing)
เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนทาให้เกิดประสบการณ์

การเรียนรู้ใหม่ความคดิ ใหมท่ ท่ี ้าทายอย่างต่อเนือ่ ง ดังนนั้ องคก์ รการมสี ว่ นร่วมตอ้ งเปดิ โอกาสประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเน่ือง ภาครัฐจะต้องเตรียมประชาชนให้มีความพร้อมและเห็นประโยชน์ของ
การมีส่วนร่วมด้วยการให้ความรู้ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่ก้าวไปข้างหน้าอย่าง
ต่อเนื่อง โดยความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกจะเป็นตัวกาหนดท่ีสาคัญที่จะทาให้การมีส่วนร่วมของ
ประชาชนเป็นไปอย่างต่อเน่ืองสม่าเสมอในการสร้างความเข้าใจในบทบาทของการมีส่วนร่วมภาค
ประชาชน รวมทง้ั มีการพดู คุยแลกเปล่ียนความคิดเห็นซ่ึงกันและกันอย่างต่อเน่ือง เป็นปัจจัยสาคัญที่จะ
บ่งบอกถึงความเข้มแข็งของการมีส่วนร่วม ทาให้เกิดความม่ันใจได้ว่าการเปล่ียนแปลงจะเป็นไปในการ
ก่อให้เกดิ ประโยชน์สูงสดุ ต่อชุมชนและสังคม

13. เครอื ข่าย (Network)
การท่ีจะต้องมาทาความเข้าใจกัน ส่งเสริมให้มีการผนึกกาลังร่วมกัน

ของท้ังภาครัฐและภาคประชาชนในลักษณะเครือข่ายคือ มาผนึกกาลังกันเป็นหน่ึงเดียวท่ีสาคัญต้อง
เปน็ ไปเพ่ือสรา้ งผลประโยชน์ในเชงิ การทางานรว่ มในรูปกจิ กรรม โครงการ แผนงานท่ีจะต้องอาศัยความ
ร่วมมือกันต้องผนึกกาลังขอความร่วมมือ หรือการทากิจกรรมร่วมมือกันต้องอาศัยหลายองค์กรซ่ึง
เครือข่ายความร่วมมือกนั ของสมาชกิ ผูบ้ ริหาร และบุคคลในชุมชนเป็นหลักจากวิธีการคิด โดยเครือข่าย
ความร่วมมือนั้นจาเป็นต้องให้มีตัวแทนของประชาชนมาพบปะพูดคุยเพื่อก่อตัวและกล่าวถึง
วัตถุประสงค์ร่วมกัน เพราะฉะนั้น เครือข่ายการมีส่วนร่วมจึงเป็นกระบวนการเชื่อมโยงสมาชิกในกลุ่ม
หรือเชอ่ื มโยงองคก์ รการมีส่วนรว่ มกบั สมาชิก ประชาชนและกลุ่ม/องค์กรต่างๆในชุมชนเข้าด้วยกัน โดย
มีรูปแบบการมีส่วนร่วมความสัมพันธ์ในแนวราบขององค์การการมีส่วนร่วมกับชุมชนให้เป็น
กระบวนการส่งเสริมสนับสนุนประชาชนสามารถพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายการมีส่วน
ร่วมในการทางานของคนในชุมชนเพ่ือร่วมแก้ไขปัญหาส่วนรวมของคนและในชุมชนซ่ึงการดาเนินงาน
ของเครือข่ายจะนาไปสู่การพัฒนาการมสี ว่ นร่วมที่ยัง่ ยืนต่อไป

39

ดังน้ันจึงสรุปได้ว่าแนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น จะต้องเริ่มต้น
ด้วยการสร้างสานึกเพ่ือให้ภาครัฐและประชาชนรับรู้ปัญหาประกอบกับการสร้างความเข้าใจและปรับ
ทัศนคติ ให้มีทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน หลังจากนั้นสรรหาตัวแทนของแต่ละกลุ่มเพ่ือ
จะได้ประสานประโยชน์ให้ลงตัว แล้วสร้างให้สมาชิกมีความเข้าใจและมีความจริงใจในการเข้าร่วม
สามารถทาการแลกเปลีย่ นขอ้ มูลข่าวสารกนั ได้ แล้วสร้างฉันทามติร่วมกัน แต่ภายในองค์กรจะต้องสร้าง
ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในองค์กร การทากิจกรรมใดๆ จะต้องกาหนดความประสงค์หรือความมุ่ง
หมาย

ในการมสี ว่ นร่วมให้ชัดเจน และตอ้ งมรี ะบบประเมินผลจากกระบวนการของการมีส่วน
รว่ มทงั้ หมดปรบั ปรงุ กลไกการทางานใหเ้ กิดความโปร่งใส มีความเป็นประชาธิปไตยยอมรับความคิดเห็น
ของกนั และกันที่สาคญั ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเขา้ มามสี ่วนร่วมอย่างสม่าเสมอและต่อเนื่อง และเม่ือ
ทางานภายในองค์กรประสบผลสาเร็จแล้วก็จะต้องมองหาพันธมิตรสร้างเครือข่ายเพ่ือผนึกกาลังร่วมกัน
ทางานร่วมกัน แลกเปลย่ี นข้อมลู รว่ มกัน

2.2.7 ระดับการมสี ่วนรว่ มของประชาชน
การแบ่งระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้หลายระดับ โดยเร่ิมตั้งแต่ระดับการแจ้ง

ให้ประชาชนทราบการดาเนินโครงการหลังจากที่ผู้บริหารได้ตัดสินใจให้ดาเนินการแล้ว จึงจะจัดให้มี
ประชาชนเข้ามามสี ่วนร่วมในการดาเนนิ งานเชน่ การใหป้ ระชาชนมาร่วมในการปลูกป่า เก็บขยะ ซึ่งการ
มสี ่วนรว่ มในระดบั นปี้ ระชาชนอาจไมไ่ ดร้ ว่ มคิดเลยกไ็ ด้ แต่เขา้ มาร่วมในข้นั ตอนการดาเนินโครงการ เป็น
ตน้

ดังน้นั เพอ่ื ทาใหเ้ กิดความชดั เจนและสามารถพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนได้ใน
อนาคต การเข้าใจในเรื่องระดับการมสี ่วนรว่ มเป็นเร่ือง จงึ ได้เสนอตวั แบบการมีส่วนร่วม ดังน้ี

ในการแบ่งระดับการมีส่วนร่วม แบบช้ันบันไดของ Armstein ของประชาชน
คือ ตัวแบบชั้นบันไดการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Ladder of izen Participation) ซ่ึงเป็นตัวแบบที่
ได้รับความนิยมอยา่ งตอ่ เน่อื ง ไดแ้ บ่งบนั ไดการมีส่วนร่วมของประชาชนออกเปน็ 8 ชนั้ ประกอบด้วย 42

1) ขั้นการควบคมุ (Manipulation)
2) ขน้ั การรักษา (Therapy)
3) ขั้นการให้ข้อมลู (Informing)
4) ขั้นการรบั ฟงั ความคิดเหน็ (Consultation)
5) ข้ันการปรึกษาหารือ (Placation)
6) ข้ันการเป็นหุ้นส่วน (Partnership)
7) ขั้นมอบหมายอานาจ (Delegated Power)
8) ขนั้ อานาจพลเมือง (Citizen Control)

42 อรทยั ก๊กผล, คู่คดิ คู่มือการมีสว่ นร่วมของประชาชน สาหรับนกั บรหิ ารทอ้ งถ่นิ , 19-26.

40

โดยระดับข้ันบันไดที่สูงขึ้นสะท้อนอานาจของประชาชนท่ีมากขึ้น สาหรับ Armstein
น้ันขั้นบันไดท่ี 1 และ 2 ถือว่ายังไม่เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเลย หรือที่เรียกว่า
nonparticipation ส่วนขั้นที่ 3 ถึงขั้นท่ี 5 เรียกว่า Tokenism หมายถึง ประชาชนมีโอกาสในการให้
ข้อมูลความคิดเห็นแต่ยังไม่มีอานาจในการตัดสินใจ ข้ัน 6, 7 และ 8 ถือว่าประชาชนมีอานาจในการ
ตัดสินใจหรือเรียกว่า Citizen Power จากตัวแบบนี้สะท้อนให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมในระดับเป็นภาคี
หุน้ สว่ น (partnership) จงึ จะเป็นจุดเริม่ ของบทบาทและอานาจของประชาชนอย่างแทจ้ ริง

ตัวแบบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนของ IAP2
ตัวแบบการมีส่วนร่วมที่เสนอโดยสมาคมนานาชาติด้านการมีส่วนร่วม

ของประชาชน (International Association of Public Participation) ได้แบ่งระดับการมีส่วนร่วม
ของประชาชนออกเปน็ 5 ขนั้ ซ่งึ เป็นตามหลักการเดียวกับของ Arnstein คือ ยิ่งสูงข้ึนย่ิงสะท้อนอานาจ
และอทิ ธิพลของประชาชนในการบรหิ ารหรอื ตัดสนิ ใจมากขึ้นด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน แบ่งเป็น
5 ระดับคอื

1) การมีส่วนร่วมในระดับเสริมอานาจให้ประชาชน (Empower)
เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับที่สูงสุด เพราะให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเอง องค์กร
ปกครองส่วนท้องถ่ินจะดาเนินการตามผลของการตัดสินใจนั้น รูปแบบการมีส่วนร่วมในข้ันน้ีท่ีรู้จักกันดี
คือ การลงประชามติหรือสภาเมือง การมีส่วนร่วมในรูปแบบนี้สะท้อนความยินยอมพร้อมใจขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถ่ินในการยอมรับอานาจการตัดสินใจของประชาชนหรือชุมชน อย่างไรก็ตาม การมี
ส่วนร่วมในระดับน้ี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมกระบวนการเสริมความสามารถของประชาชนให้
สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง อาทิเช่น ข้อมูลที่ครอบคลุมเพียงพอ การเสริมสร้างทักษะให้ประชาชน
วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจหาทางแก้ปัญหาที่มีคุณภาพการใช้การมีส่วนร่วมในระดับนี้สะท้อนให้เห็น
ถงึ อานาจของประชาชนในระดับสูง

2) การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ (Collaboration)
เป็นการให้บทบาทของประชาชนในระดับสงู โดยประชาชนและองคก์ รปกครองสว่ นท้องถิน่ จะทางาน
รว่ มกนั ในกระบวนการของการตัดสนิ ใจฉะนั้น ความคิดเห็นของประชาชนจะสะทอ้ นออกมาในการ
ตดั สนิ ใจค่อนข้างสงู รปู แบบการมีสว่ นรว่ มในขั้นนี้ เชน่ คณะกรรมการรว่ มภาครฐั และเอกชน และคณะ
ทปี่ รกึ ษาฝ่ายประชาชน ผลการตดั สนิ ใจท่อี อกมาเปน็ ผลการตดั สินใจร่วมกนั เชอ่ื ว่านา่ จะนาไปสกู่ าร
เสรมิ สรา้ งความสมานฉันท์ในสังคม เพราะประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนเขา้ ไปมีส่วนในองค์กร
ตัดสนิ ใจดว้ ยไม่ใช่เพยี งให้ความคิดเหน็ ต่อองคก์ รตัดสนิ ใจ

3) การมีส่วนร่วมในระดับเข้ามามีบทบาท (Involve) เป็นลักษณะ
การเปิดโอกาสใหป้ ระชาชนมีสว่ นรว่ มทางานตลอดกระบวนการตัดสินใจ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และขอ้ มูลระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินกับประชาชนอย่างจริงจังและมีจุดมุ่งหมายชัดเจน ข้อมูล
ความคิดเห็นของประชาชนจะสะท้อนออกมาในทางเลือกต่างๆระดับการมีส่วนร่วมของป ระชาชนข้ันน้ี
ใกล้เคยี งกบั การมีสว่ นรว่ มในระดับการร่วมมือ เพียงแต่รูปแบบการมีส่วนร่วมแบบร่วมมือมีลักษณะเป็น
กจิ กรรมถาวรมากกวา่ การมีส่วนร่วมในขัน้ น้ี นอกจากนน้ั การมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นน้ีอานาจการ
ตัดสินใจสุดท้ายยังเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เร่ิมต้นและมีการ
แลกเปล่ียนความคิดเห็นกันอย่างเข้มข้น ตัวอย่างเทคนิคการมีส่วนร่วมที่ใช้มาก อาทิ เช่น การประชุม
เชิงปฏบิ ัติการการตงั้ คณะทางานภาคประชาชน


Click to View FlipBook Version