The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิชา ประวัติศาสตร์ชาติไทย สค12024 ประถม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วิชา ประวัติศาสตร์ชาติไทย สค12024 ประถม

วิชา ประวัติศาสตร์ชาติไทย สค12024 ประถม

1

ชดุ วิชา
ประวัตศิ าสตร์ชาติไทย

รหสั รายวชิ า สค12024
รายวชิ าเลอื กบงั คับ ระดบั ประถมศกึ ษา

ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน
พทุ ธศักราช 2551

สานักงานส่งเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั
สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร
กระทรวงศึกษาธิการ

2

คานา

ชุดวิชา ประวัติศาสตร์ชาติไทย รหัสรายวิชา สค12024 รายวิชาเลือกบังคับ
ระดับประถมศึกษา ตามหลกั สูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551
ชดุ วิชาน้ีประกอบดว้ ยเน้อื หาความรู้ เกยี่ วกับความภูมิใจ ในความเป็นชาติไทย พระมหากษัตริย์ไทย
และบรรพบุรุษในสมัยสุโขทัย มรดกทางวัฒนธรรมสุโขทัย และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
สมัยสโุ ขทัย และชดุ วิชาน้ีมวี ตั ถุประสงคเ์ พอื่ ให้ผเู้ รียน กศน. มคี วามรู้ ความเข้าใจ และตระหนัก
ถึงความเป็นมาของชาติไทยในดินแดนที่ประเทศไทยท่ีดารงอยู่อย่างต่อเน่ืองมาเป็นเวลา
ยาวนานตราบจนปัจจุบัน ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยและบรรพบุรุษในสมัยต่าง ๆ ท่ีช่วยลงหลัก
ปักฐาน ปกปักรกั ษาถิน่ ท่อี ย่แู ละสร้างสรรคอ์ ารยธรรมอันดีสืบทอดแก่ชนรุ่นหลงั

สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอขอบคุณ
ผู้เช่ยี วชาญเน้ือหา ท่ใี หก้ ารสนบั สนุนองค์ความรู้ประกอบการนาเสนอเนื้อหา รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง
ในการจัดทาชุดวิชา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดวิชานี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน กศน. และนาไปสู่
การปฏิบตั ิอยา่ งเหน็ คณุ คา่ ตอ่ ไป

สานกั งาน กศน.
พฤษภาคม 2561

3

คาแนะนาการใชช้ ุดวิชา
ประวัติศาสตรช์ าตไิ ทย

ชุดวิชา ประวัติศาสตร์ชาติไทย รหัสรายวิชา สค12024 ใช้สาหรับผู้เรียน
หลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน พุทธศักราช 2551 ระดบั ประถมศึกษา
แบ่งออกเป็น 2 สว่ นคือ

ส่วนท่ี 1 โครงสร้างของชุดวิชา แบบทดสอบก่อนเรียน โครงสร้างของหน่วยการ
เรยี นรู้ เน้ือหาสาระ กิจกรรม เรียงลาดับตามหน่วยการเรยี นรู้ และแบบทดสอบหลังเรยี น

ส่วนท่ี 2 เฉลยแบบทดสอบและกิจกรรม ประกอบด้วย เฉลยแบบทดสอบ
ก่อนเรียนและหลงั เรียน เฉลยกจิ กรรม เรียงลาดับตามหน่วยการเรียนรู้

วิธกี ารใชช้ ุดวิชา
ใหผ้ ูเ้ รียนดาเนินการตามขนั้ ตอนดงั นี้
1. ศึกษารายละเอียดโครงสร้างชุดวิชาโดยละเอียดเพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนต้อง

เรยี นรเู้ นื้อหาเร่ืองใดบ้างในรายวชิ าน้ี
2. วางแผนเพอ่ื กาหนดระยะเวลาและจัดเวลาใหผ้ ู้เรียนมีความพรอ้ มท่จี ะศึกษา

ชุดวิชา เพื่อให้สามารถศึกษารายละเอียดของเนื้อหาได้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ พร้อมทา
กจิ กรรมตามที่กาหนดใหท้ ันกอ่ นสอบปลายภาค

3. ทาแบบทดสอบก่อนเรียนของชุดวิชาตามที่กาหนดเพื่อทราบพื้นฐานความรู้
เดิมของผู้เรียน โดยให้ทาลงในสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ และตรวจสอบคาตอบจากเฉลย
แบบทดสอบท้ายเลม่

4. ศึกษาเนื้อหาชุดวิชาในแต่ละหน่วยการเรียนรู้อย่างละเอียดให้เข้าใจ
ท้ังในชดุ วิชาและสื่อประกอบ (ถา้ ม)ี และทากิจกรรมทกี่ าหนดไว้ใหค้ รบถว้ น

5. เมอื่ ทากิจกรรมแลว้ เสร็จแตล่ ะกิจกรรม ผู้เรยี นสามารถตรวจสอบคาตอบได้
จากแนวตอบ/เฉลยท้ายเลม่ หากผู้เรยี นยงั ทากิจกรรมไม่ถูกต้องให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนเนื้อหา
สาระในเรอ่ื งนั้นซา้ จนกว่าจะเข้าใจ

6. เม่ือศึกษาเนื้อหาสาระครบทุกหน่วยการเรียนรู้แล้ว ให้ผู้เรียนทาแบบทดสอบ
หลังเรียนและตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายเล่มว่าผู้เรียนสามารถทาแบบทดสอบได้ถูกต้อง

4

ทุกข้อหรือไม่ หากข้อใดยังไม่ถูกต้องให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนเน้ือหาสาระในเร่ืองน้ัน ให้เข้าใจ
อีกคร้ังหนึ่ง ผู้เรียนควรทาแบบทดสอบหลังเรียนให้ได้คะแนนมากกว่าแบบทดสอบก่อนเรียนและ
ควรได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของแบบทดสอบทั้งหมด (หรือ 24 ข้อ จาก 30 ข้อ)
เพือ่ ให้ม่ันใจวา่ จะสามารถสอบปลายภาคผ่าน

7. หากผเู้ รยี นไดท้ าการศึกษาเน้ือหาและทากจิ กรรมแลว้ ยงั ไม่เขา้ ใจ ผ้เู รียน
สามารถสอบถามและขอคาแนะนาไดจ้ ากครหู รอื แหล่งคน้ คว้าเพิ่มเติมอนื่ ๆ

หมายเหตุ : การทาแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียนและกิจกรรมท้ายเรื่อง ให้ทาและบันทึก
ลงในสมุดบนั ทึกกิจกรรมการเรียนรปู้ ระกอบชดุ วชิ า

การศกึ ษาค้นคว้าเพ่ิมเติม
ผู้เรียนอาจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เผยแพร่ความรู้

ในเรอ่ื งทเี่ ก่ยี วข้องและศึกษาจากผรู้ ู้

การวดั ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน
ผู้เรยี นตอ้ งวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดงั น้ี
1. ระหว่างภาค วัดผลจากการทากิจกรรมหรืองานท่ีได้รับมอบหมายระหว่าง

เรียนรายบุคคล
2. ปลายภาค วัดผลจากการทาขอ้ สอบวัดผลสัมฤทธป์ิ ลายภาค

5

โครงสรา้ งชุดวิชา
ประวัตศิ าสตรช์ าติไทย
สาระการพฒั นาสงั คม

มาตรฐานการเรียนร้รู ะดับ
มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักเก่ียวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์

การเมือง การปกครองในท้องถ่ิน ประเทศ นามาปรับใช้ในการดาเนินชีวิตและการประกอบ
อาชีพ เพ่ือความมั่นคงของชาติ

ตวั ชว้ี ดั
1. อธิบายความหมาย ความเป็นมา และความสาคัญของสถาบันหลักของชาติ
2. บอกความเปน็ มาของชาติไทย
3. อธิบายเสรีภาพในการนับถอื ศาสนาของไทย
4. บอกและยกตวั อย่าง บุญคุณของพระมหากษัตริยไ์ ทยตั้งแต่สมยั สุโขทัย อยุธยา

ธนบุรี และรัตนโกสินทร์
5. บอกชื่อพระมหากษตั รยิ ์ไทยในสมัยสโุ ขทยั
6. บอกพระราชประวตั ิและพระราชกรณียกิจทส่ี าคัญของพระมหากษตั รยิ ไ์ ทย

ในสมยั สุโขทัย
6.1 พ่อขุนศรอี นิ ทราทติ ย์
6.2 พอ่ ขนุ รามคาแหงมหาราช
6.3 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)

7. บอกวรี กรรมของบรรพบรุ ุษสมัยสุโขทยั
8. บอกและยกตัวอย่างวฒั นธรรมสมัยสุโขทยั ได้อยา่ งนอ้ ย 3 เรื่อง
9. บอกแนวทางในการสืบสานวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย
10. แสดงความคิดเห็นในการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมสมยั สุโขทยั สกู่ ารปฏบิ ตั ิได้
อยา่ งน้อย 1 เรอ่ื ง
11. อธบิ ายวิธีการบรหิ ารจดั การน้าสมัยสุโขทยั
12. ยกตวั อยา่ งการประยกุ ตใ์ ช้ การอยกู่ บั น้าในสมัยโบราณกบั ชวี ิตประจาวัน

6

สาระสาคญั
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลักของชาติไทย เราต้องศึกษาถึงความ

เป็นมา พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตฺริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และ
รัตนโกสินทร์ ชุดวิชาในระดับประถมศึกษาเน้นเนื้อหาสมัยสุโขทัย ให้ผู้เรียนศึกษาเกี่ยวกับ
พระมหากษัตริย์ พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจที่สาคัญของพระมหากษัตริย์ไทย
วีรกรรมของบรรพบุรุษ มรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ ดนตรี สถาปัตยกรรม
ประติมากรรม เสรีภาพในการนับถือศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการสานึกและสืบสานมรดก
ทางวฒั นธรรม รวมท้ังการบริหารจดั การนา้ ในสมยั สุโขทัย

ขอบข่ายเนอ้ื หา
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 ความภูมใิ จในความเปน็ ชาติไทย
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 2 พระมหากษตั รยิ ์ไทยและบรรพบรุ ุษในสมัยสโุ ขทยั
หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 3 มรดกทางวัฒนธรรมสมยั สุโขทัย
หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 4 เหตุการณ์ทางประวตั ศิ าสตรส์ มัยสโุ ขทัย

สอ่ื ประกอบการเรียนรู้
1. ชุดวชิ าประวตั ิศาสตรช์ าตไิ ทย รหัสรายวชิ า สค12024
2. สมดุ บนั ทกึ กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชดุ วิชา
3. ส่ือเสริมการเรียนรอู้ ื่น ๆ

จานวนหนว่ ยกติ
2 หน่วยกติ (80 ชัว่ โมง)

กิจกรรมเรียนรู้
1. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน และตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายเล่ม
2. ศกึ ษาเนอื้ หาสาระในหนว่ ยการเรยี นรู้ทุกหนว่ ย
3. ทากจิ กรรมตามท่กี าหนด และตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายเล่ม
4. ทาแบบทดสอบหลังเรียน และตรวจสอบคาตอบจากเฉลยท้ายเลม่

7

การประเมินผล
1. ทาแบบทดสอบกอ่ นเรียน – หลังเรียน
2. ทากจิ กรรมในแต่ละหนว่ ยการเรียนรู้

3. เขา้ รับการทดสอบปลายภาค

8

สารบญั

หน้า

คานา 1
คาแนะนาการใช้ชุดวิชา
โครงสรา้ งชดุ วชิ า 3
สารบัญ 12
หนว่ ยการเรียนรูท้ ่ี 1 ความภมู ใิ จในความเป็นชาติไทย 17

เรื่องที่ 1 ความหมาย ความเปน็ มา และความสาคญั ของสถาบันหลกั 20
ของชาติ 32
34
เรอ่ื งท่ี 2 ความเป็นมาของชาตไิ ทย
เรอ่ื งที่ 3 เสรภี าพในการนับถอื ศาสนาของไทย 37
เรอ่ื งท่ี 4 บญุ คุณของพระมหากษัตริย์ไทยตง้ั แตส่ มัยสุโขทัย อยุธยา ธนบรุ ี 42
43
และรตั นโกสินทร์ 45
หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 2 พระมหากษตั ริยไ์ ทยและบรรพบรุ ุษในสมยั สโุ ขทยั 60
62
เร่อื งท่ี 1 พระมหากษัตรยิ ์ไทยในสมัยสโุ ขทัย 63
เรอื่ งที่ 2 พระราชประวตั แิ ละพระราชกรณียกจิ ทส่ี าคัญของพระมหากษตั ริย์ 68
71
สมัยสโุ ขทยั 74
เรื่องที่ 3 วรี กรรมของบรรพบุรษุ สมัยสโุ ขทยั

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 3 มรดกทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทยั
เรื่องที่ 1 มรดกทางวฒั นธรรมสมยั สุโขทยั
เรื่องท่ี 2 แนวทางในการสบื สานมรดกทางวฒั นธรรมสมยั สโุ ขทยั

หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 4 เหตกุ ารณท์ างประวัติศาสตร์สมยั สุโขทยั
เร่ืองท่ี 1 ความเป็นมาของประวัตศิ าสตร์การบรหิ ารจดั การน้า
เรื่องที่ 2 การอยู่กับน้าสมัยโบราณ

บรรณานุกรม
คณะผจู้ ดั ทา

1

หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 1
ความภูมใิ จในความเปน็ ชาติไทย

สาระสาคัญ
การศึกษาประวตั ิศาสตร์ จะช่วยให้มนุษย์เกิดสานึกในการค้นคว้าสืบค้นข้อมูลท่ี

เช่ือมโยงอดีตและปัจจุบัน ก่อให้เกิดความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกในชาตินิยม ตลอดจน
ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมท่ีบรรพบุรุษสั่งสมไว้ ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการ
เรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสาหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์
จะทาให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา การศึกษาประวัติศาสตร์
ก่อให้เกิดองค์ความรู้ท่ีหลากหลาย ซึ่งสามารถนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ท้ังในปัจจุบันและ
อนาคต นามาเป็นบทเรียนเพ่ือทบทวนแก้ปัญหาในอนาคต โดยเฉพาะเร่ืองความรัก
ความสามัคคีที่ต้องมีจุดรวม คือ ความรักต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซ่ึงเป็น
ศูนย์รวมใจให้คนในชาติมีความจงรักภักดี เม่ือเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์แล้วจะทาให้คนไทย
รักกัน ตอบโจทย์เร่ืองความมั่นคงของประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เกิดสันติสุข
และท้ายสดุ คือใหค้ นไทยเปน็ มติ รกบั คนทว่ั โลก ใชค้ วามเป็นไทยทเ่ี ป็นมิตรกับประเทศท่ีมีปัญหา
สร้างความเข้าใจกันรักกัน ไม่สร้างความแตกแยกของคนในชาติ ประวัติศาสตร์ของชาติไทย
ยอ่ มทาให้เกดิ ความภาคภูมใิ จในบรรพบุรุษของเรา

การเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย ทาให้ได้รู้ถึงความเสียสละเลือดเนื้อ
การกอบกู้บ้านเมืองของบรรพชน ทาให้รู้ถึงชาติภูมิ วิถีชีวิต บรรพชนของตนเอง ที่จะทาให้เกิด
ความรกั ความภาคภูมิใจในบ้านเมืองท่ีพระมหากษัตริย์ได้สร้างบ้านสร้างเมืองมาด้วยชีวิต และ
สร้างสมวัฒนธรรมอันดีงามสืบทอดกันมาสู่ลูกหลาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี
และสมยั รัตนโกสินทร์ จนถงึ ในสังคมปัจจบุ ัน

ตัวช้ีวดั
1. อธบิ ายความหมาย ความเปน็ มา และความสาคญั ของสถาบนั หลักของชาติ
2. บอกความเปน็ มาของชาติไทย
3. อธบิ ายเสรภี าพในการนับถือศาสนาของไทย

2

4. บอกและยกตัวอย่างบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทยตง้ั แต่สมยั สุโขทัย อยธุ ยา
ธนบุรี และรตั นโกสนิ ทร์

ขอบขา่ ยเน้อื หา
เรื่องท่ี 1 ความหมาย ความเปน็ มา และความสาคญั ของสถาบันหลกั ของชาติ
เรื่องท่ี 2 ความเป็นมาของชาตไิ ทย
เรอ่ื งท่ี 3 เสรภี าพในการนบั ถือศาสนาของไทย
เรอื่ งท่ี 4 บุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทยต้ังแต่สมัยสโุ ขทัย อยุธยา ธนบรุ ี และ
รตั นโกสนิ ทร์
1) สมยั สโุ ขทยั
2) สมยั อยธุ ยา
3) สมยั ธนบรุ ี
4) สมัยรัตนโกสนิ ทร์

เวลาทีใ่ ชใ้ นการศึกษา 30 ช่วั โมง

ส่ือการเรยี นรู้
1. ชดุ วิชาประวตั ิศาสตร์ชาติไทย รหัสรายวิชา สค12024
2. สมุดบันทึกกจิ กรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวชิ า

3

เรอื่ งท่ี 1 ความหมาย ความเป็นมา และความสาคญั ของสถาบนั หลักของชาติ
ปัจจุบันสังคมไทยมีการเปล่ียนแปลงจากอดีตถึงปัจจุบัน นับแต่ชนชาติไทย

ได้ต้ังถ่ินฐานม่ันคงในผืนแผ่นดินไทย บรรพบุรุษของเราได้ร่วมกันรักษาเอกราชและอธิปไตย
การเรียนรเู้ กย่ี วกบั ประวัติศาสตรจ์ ะทาให้เกิดความรักความภมู ิใจในชาติบ้านเมืองของตน ให้เรา
ร้ถู งึ ความเสยี สละของบรรพบุรุษท่ีได้สร้างบ้านเมืองมา รักษาชาติบ้านเมืองไว้ด้วยชีวิต สร้างสม
วัฒนธรรมอันดีงามมาสู่รุ่นลูกหลาน จึงก่อให้เกิดความภูมิใจ รักและหวงแหน อนุรักษ์และ
สบื สานส่ิงที่ดีงามไปยังลกู หลานของเราตอ่ ไป

ตวั อย่างตานาน พนื้ บา้ น พ้นื เมือง ที่นามาจัดพิมพ์เผยแพร่
(ที่มาภาพ : หนังสือ “ประวัตศิ าสตรช์ าตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

วัดพระศรีรตั นศาสดาราม
(ทม่ี าภาพ : หนังสือ “ประวัติศาสตร์ชาตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

4

ความหมายของชาติ
พจนานกุ รม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของชาติไว้ว่า
กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเร่ืองเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของ
ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองของรัฐบาลเดียวกัน
นอกจากน้ี ยังหมายถึง แผ่นดินท่ีมีประชาชนยึดครอง มีอาณาเขตที่แน่นอน มีการปกครอง
เป็นสัดส่วน มีผู้นาเป็นผู้ปกครองประเทศและประชาชนทั้งมวล ด้วยกฎหมายที่ประชาชน
ในชาติกาหนดขึ้น เช่น ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจาชาติ มีวัฒนธรรม และจารีตประเพณี
เป็นเอกลกั ษณป์ ระจาชาติของตนเอง สืบทอดจากบรรพบุรุษเป็นเวลายาวนาน ผู้ที่มีความรักชาติ
จะช่วยกันปกป้องรกั ษาชาตไิ ม่ให้ศตั รูมารุกรานหรอื ทาลาย เพื่อให้ลูกหลานไดอ้ ยูอ่ าศยั ตอ่ ไป

ภาพเขียนประกอบโคลงภาพพระราชพงศาวดารเรอื่ ง สงครามยุทธหัตถีระหว่าง
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกบั มหาอุปราชแห่งกรงุ หงสาวดี
เขียนขึน้ ในรัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หัว

(ที่มาภาพ : https://thaienews.blogspot.com/2016/01/blog-post_90.html)

ความหมายของศาสนา

ศาสนา ตามความหมายของพจนานุกรม

ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง ลัทธิ

ความเช่ือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกาเนิดและ

ความสิ้นสุดของโลก อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการ

หน่ึง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปใน คนเชือ้ สายจนี ในไทย

ฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมท้ังลัทธิ พิธีท่ีกระทา
(ท่ีมาภาพ : หนงั สอื “ประวัติศาสตร์ชาตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

5

ตามความเหน็ หรอื ตามคาส่ังสอนในความเช่อื ถือนั้น ๆ
นอกจากน้ี ศาสนา หมายถึง คาสอนของพระศาสดาแต่ละพระองค์ ศาสนา

ทุกศาสนามีไว้เพื่อให้มนุษย์ละชั่วประพฤติดี ผู้ท่ีนับถือศาสนาจะเป็นผู้นาคาสอนของแต่ละ
ศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจาวัน ละความชั่ว ทาความดีและทาจิตใจให้สะอาด
ปราศจากความเศร้าหมอง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ส่วนผู้ที่ไม่นาคาสอนของ
ศาสนาไปประพฤติปฏิบัติจะเปน็ ผู้ทมี่ ีกเิ ลส ปล่อยใหค้ วามโลภ ความโกรธ ความหลงมาครอบงา
จิตใจ

สงั คมอสิ ลาม

(ทม่ี าภาพ : หนังสือ “ประวตั ศิ าสตรช์ าตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

ความหมายของพระมหากษัตริย์
ตามความหมายของพจนานกุ รม ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถงึ
ราชา พระเจา้ แผ่นดนิ คนในวรรณะที่ 2 แหง่ สงั คมฮินดู ซ่ึงมี 4 วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์
วรรณะกษตั ริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร
พระมหากษัตริย์ หมายถึง พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นประมุขของประเทศ มีหน้าท่ี
ปกครองประชาชนพลเมืองในประเทศน้ัน ให้อยู่ดีมีสุขตามกฎหมาย ตามครรลองธรรม จารีต
ประเพณวี ฒั นธรรมของชาตนิ ้ัน ๆ

6

สมเดจ็ พระมหากษตั รยิ าธิราชเจ้าในพระบรมราชจกั รวี งศ์
(ท่ีมาภาพ : หนังสือ “ประวัตศิ าสตรช์ าตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

ความสาคญั ของสถาบนั หลกั ของชาติ ศาสนา และพระมหากษตั รยิ ์
การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์เป็นส่ิงจาเป็นที่บุคคลนั้นต้องทราบและมีความ
เข้าใจประวัติความเป็นมาหรือวิวัฒนาการของสังคมของตนเองในเร่ืองเหตุการณ์หรือ
ปรากฎการณท์ เี่ ก่ียวขอ้ งกับพฤตกิ รรมของมนุษยชาติในอดีต อันจะเป็นบทเรียนหรือแนวทางใน
การแก้ปญั หาทเี่ กดิ ขน้ึ ในปัจจุบันและเตรียมพรอ้ มสาหรบั อนาคต
การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ทาให้เราทราบว่าแผ่นดินไทยที่เราอาศัย
อยนู่ ้นั เป็นแผ่นดินที่ประเสริฐที่สุดท่ีมีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์รวมดวงใจ
ของคนในชาติ
คุณค่าความสาคญั ของชาติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระองค์ได้ให้
คาจากัดความของชาติไว้ว่า “การที่จะเป็นชาติได้ ต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่ิง ได้แก่ คนและ
แผ่นดิน ถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเป็นชาติไม่ได้ เช่น ถ้าแผ่นดินใดไม่มีคนอาศัยอยู่ จะจัดว่าเป็น
ท่ีรกร้าง แต่หากมีแต่คนไม่มีผืนแผ่นดินจะเรียกว่าผู้อพยพหรือชนกลุ่มน้อยที่มาอาศัยแผ่นดิน
ผอู้ นื่ กบั ชนตา่ งเผา่ หรอื เช้อื ชาตอิ ่ืนท่มี ีจานวนมากกวา่ ”

7

ความสาคัญของสถาบนั ชาติ
1. เปน็ ทอ่ี ยู่อาศัยของผคู้ นในชาตนิ ัน้ ๆ
2. มีประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ศิลปะแขนงต่าง ๆ
ท่แี สดงถงึ ความเปน็ ตัวตนและความเป็นไทย
3. มีภาษา มีขนบธรรมเนียม อันเป็นเอกลักษณ์รวมถึงวิถีชีวิตท่ีแสดงถึง
ความเปน็ ชาติ
4. มีประวัติศาสตร์ อารยธรรม มีบันทึกเร่ืองราวความเป็นมาของคนในชาติ
จากอดีตถึงปจั จบุ นั ที่แสดงถงึ ความเป็นชาติ
5. คนในชาติมีความภาคภูมิใจ ประพฤติตนอยู่ในจารีตอันดีงาม และมีความสุข
สงบเกดิ ข้นึ ในชาติบา้ นเมือง

ความสาคัญของสถาบันศาสนา
ศาสนาเป็นสถาบันท่ีสาคัญของคนในชาติ ไม่ว่าศาสนาใด ล้วนแต่มีลักษณะร่วม
ที่สาคัญ คือ สอนให้คนเป็นคนดี มีศีลธรรมประจาใจ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อีกทั้ง
ยงั เปน็ ทยี่ ึดเหน่ียวทางจติ ใจ และมีหลักในการดาเนินชวี ติ ท่ีถูกต้อง และปลอดภัย ดังน้ัน ศาสนา
จึงเป็นเร่ืองทเี่ กย่ี วข้องกบั ชีวติ ของมนุษย์ ความสาคัญของศาสนา ได้แก่
1. ศาสนามีคาสั่งสอนใหม้ นุษยป์ ระพฤตปิ ฏบิ ตั ิในทางที่ถกู ตอ้ ง เปน็ ประโยชน์ต่อ
ตนเอง สังคม และประเทศชาติ
2. ศาสนาเป็นที่เกิดแห่งศีลธรรม จรรยา และขนบธรรมเนียมประเพณีท่ีดีงาม
เป็นเครื่องประกอบให้เกิดความสามัคคี มีเอกลักษณ์ อารยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงามเป็น
ของตนเอง
3. ศาสนาเป็นเครื่องบาบัดทุกข์ และบารุงสุขให้แก่มนุษย์ ทั้งทางร่างกายและ
จติ ใจ ทาใหม้ ีความสงบสขุ ในชีวิต
4. ศาสนาช่วยให้ชีวิตครอบครัวอบอุ่น เป็นพลังให้มนุษย์สามารถเผชิญชีวิต
ดว้ ยความกลา้ หาญ
5. ศาสนาชว่ ยยกระดบั จิตใจให้เปน็ ผู้ควรแกก่ ารเคารพนับถือ ชว่ ยสรา้ งจติ สานึก
ในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ในสังคม

8

6. ศาสนาช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีต่อกัน ช่วยขจัดช่องว่างทางสังคม สร้าง
ความไว้วางใจซึ่งกันและกันให้เกิดขึ้น เป็นรากฐานแห่งความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนา
ชุมชน และสร้างความสงบสุข ความมน่ั คงใหแ้ ก่ชุมชน

7. ศาสนาช่วยใหค้ นในชาตมิ คี วามสามคั คีปรองดอง ความสุขสงบและสนั ติสุข
ของชวี ิต คือ หมดทุกข์โดยสนิ้ เชงิ ได้

8. ศาสนาเป็นมรดกล้าค่าของมนุษยชาติ เป็นความหวังและวิถีทางสุดท้าย
ในการอย่รู อดของมวลมนุษยชาติ

พระธาตหุ รภิ ญุ ชัย จงั หวดั ลาพนู ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
(ทีม่ าภาพ : หนงั สอื “ประวัติศาสตรช์ าตไิ ทย”
(ท่ีมาภาพ : http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=12546)
กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

ศาสนาครสิ ต์
(ที่มาภาพ : https://sites.google.com/site/christianityjubb/home)

9

ประโยชนข์ องศาสนา
เมื่อมนุษย์ได้นาหลักศาสนาไปประพฤติปฏิบัติในวิถีชีวิตของตนอย่างสม่าเสมอ
แลว้ ย่อมก่อใหเ้ กิดประโยชนต์ ่อตนเอง และผู้อนื่ ดังนี้
1. ชว่ ยทาใหค้ นมจี ิตใจสงู มหี ลกั คดิ วเิ คราะห์กอ่ นตดั สินใจทาเรือ่ งทด่ี แี ละไมด่ ี
2. ชว่ ยใหค้ นมีที่ยึดเหนยี่ ว มีท่ีพ่งึ ทางใจ อันนาไปสูค่ ณุ ธรรมจริยธรรม ช่วยให้มี
หลักในการดาเนนิ ชีวติ ใหม้ คี วามอดทนและความหวัง เกิดเสถยี รภาพและความสงบสขุ ในสงั คม
3. ช่วยให้คนมีจติ ใจสะอาด ไมก่ ล้าทาความชวั่ ทง้ั ในท่ลี บั และทแ่ี จง้
4. ช่วยให้มนุษย์ที่ประพฤติตาม พ้นจากความทุกข์ ความเดือดร้อน และช่วยให้
ประสบความสงบสุขทางจิตใจอย่างเปน็ ลาดับขนั้ ตอนจนบรรลเุ ป้าประสงค์สูงสุดของชวี ิต
5. ช่วยให้มนุษย์มีความสามัคคี ช่วยเหลือเก้ือกูลกัน ทาให้อยู่ร่วมกันเป็น
หมคู่ ณะได้อยา่ งมคี วามสขุ

ความสาคัญของพระมหากษัตรยิ ไ์ ทย
ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศตลอดมา โดยเริ่มมี
บันทึกในประวัติศาสตร์มาต้ังแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์
จวบจนปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ของไทยได้ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ดังนั้น
พระมหากษัตริย์จึงมีความสาคญั ดังนี้
1. ได้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติด้วยความกล้าหาญ และเสียสละ ให้เกิดการ
รวมชาติเป็นปึกแผ่นมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช สมเด็จพระพุทธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราช
2. เป็นสถาบันท่ีเคารพสักการะของปวงชนชาวไทยทุกคนท่ีผู้ใดหรือใครจะมา
ลว่ งเกนิ พระราชอานาจไม่ได้
3. ทรงปกครองประเทศชาติบา้ นเมอื งดว้ ยหลักธรรม มีทศพิธราชธรรมปกครอง
ประชาชนให้มีความสุข ทานบุ ารุงบา้ นเมือง ศาสนา และสงั คมมาจนถงึ ปัจจุบนั
4. เป็นศูนย์รวมของความรักความสามัคคี รวมน้าใจของคนไทยทั้งชาติให้เป็น
น้าหนึง่ ใจเดียวกนั ประพฤตติ นเป็นคนดี มคี วามจงรักภกั ดตี อ่ พระมหากษัตรยิ ์
5. เปน็ ผู้แทนของประเทศในการเจริญสัมพนั ธไมตรีกบั ตา่ งประเทศ
6. เป็นผู้อนุรักษ์ สืบทอดพระราชพิธีสาคัญของประเทศไทยให้ถูกต้องตาม
แบบแผนราชประเพณี และมีการบนั ทึกไวเ้ ป็นแบบแผนมาจนถงึ ปัจจุบนั

10

7. ทรงส่งเสรมิ งานศิลปวฒั นธรรม ประเพณขี องชาติ
8. ทรงเปิดความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก วางรากฐานในการยอมรับ
ศิลปวัฒนธรรมแบบตะวันตก และปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าแบบอารยประเทศ
ใหช้ าวต่างชาติเห็นว่าไทยเป็นประเทศท่ที ันสมัย
9. เป็นผนู้ าในการปฏริ ปู ด้านการเมืองการปกครอง ดา้ นเศรษฐกิจ การคลัง
ด้านสังคม โดยเฉพาะการเลิกทาส เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร ทรงปฏิรูปการศึกษา
และส่งเสรมิ ให้ราษฎรมโี อกาสเข้ารับการศึกษาอยา่ งทั่วถึง
10. สร้างความปรองดองของคนในชาตยิ ามท่ีบ้านเมืองเกดิ วิกฤตการณ์และไมม่ ี
ผใู้ ดสามารถแก้ปัญหาได้
11. พระราชทานแนวพระราชดาริเพ่อื แก้ไขปัญหาสาคัญของชาติ เช่น
พระราชดารเิ รือ่ งเศรษฐกิจพอเพยี ง เป็นแนวทางในการดาเนนิ ชีวิตและปฏิบัตติ น

คุณค่าของความเป็นชาติไทย
ประเทศไทยมปี ระวตั ิศาสตร์อนั ยาวนาน การตงั้ ถิ่นฐานชุมชนของชนชาติในสมัย
สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ มีการสู้รบ กอบกู้อิสรภาพ การทานุบารุงศาสนา
การเจริญสัมพันธไมตรี การค้าขายกับต่างประเทศ ก่อให้เกิดอารยธรรมประเพณีต่าง ๆ ขึ้น
แล้วสืบทอดผ่านช่วงเวลาและยุคสมัยดังกล่าว โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นาในการปกครอง
สถาบนั พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมใจ บารุงศาสนา สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และ
ยังเป็นแบบอย่างท่ีดีงามเพื่อมุ่งสร้างความเจริญ พัฒนาประชาราษฎร์ให้อยู่ดีมีสุข ยังความ
ภาคภมู ิใจในความเปน็ ชาติและคณุ ค่าของความเป็นชาตไิ ทย ดงั น้ี
1. มภี าษาไทยเป็นภาษาของตนเอง ทงั้ ภาษาเขยี นและภาษาพูด
2. มวี ัฒนธรรมประเพณีแตล่ ะภูมิภาคท่งี ดงามและโดดเดน่
3. มีแหล่งท่องเทย่ี วที่มชี อื่ เสยี ง เพ่ือต้อนรบั นกั ท่องเทยี่ วท่ัวโลก
4. ตาแหน่งที่ต้ังของประเทศไทย มีการคมนาคมทางบก ทางน้า และ
ทางอากาศทาให้ไดเ้ ปรียบในดา้ นการคา้ และตดิ ต่อธุรกจิ กบั ต่างประเทศ
5. มปี ระวตั ศิ าสตร์ มอี ารยธรรม มีขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรม
อนั งดงาม
6. ประเทศไทยไม่เคยเปน็ เมืองขน้ึ ของประเทศใด
7. มีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศดว้ ยทศพธิ ราชธรรม

11

นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีความน่าภาคภูมิใจท่ีนับเป็นประเทศเดียวในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท่ีรอดพ้นวิกฤตในสมัยการล่าเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ไม่ต้องตกเป็น
เมืองข้ึนของชาติมหาอานาจ แม้ว่าต้องผ่านเหตุการณ์ความสูญเสียไปบ้าง แต่ก็สามารถรักษา
เอกราชของชาติไว้ได้ ความเป็นประเทศไทยจึงเป็นบทเรียนท่ีทรงคุณค่า ซ่ึงคนไทยทุกคนควร
ศึกษาและทราบถึงความเป็นมาของตน เพ่ือเข้าใจในสิ่งดี ๆ ของตนท่ีแม้แต่ชาวต่างชาติ
ส่วนใหญ่ยังยอมรับในส่ิงท่ีดี อันเป็นมรดกของคนไทย เราจึงควรเรียนรู้และช่วยกันสืบสาน
หรือนาเร่ืองเหล่านั้นบอกเลา่ และสบื สานให้คนรุ่นหลงั สบื ไป

หม้อสามขา
พบทแ่ี หล่งโบราณคดีบา้ นเกา่ จงั หวัดกาญจนบรุ ี

ภาชนะเขียนสวี ัฒนธรรมบ้านเชยี ง

ใบเสมาสลักภาพพมิ พาพิลาป หลมุ ขดุ ค้นทว่ี ดั โพธศิ์ รใี นจังหวดั อุดรธานี
พบที่เมอื งฟา้ แดดสงยาง จงั หวดั กาฬสนิ ธุ์
(ทม่ี าภาพ : หนงั สอื “ประวัตศิ าสตร์ชาตไิ ทย”
กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

กิจกรรมทา้ ยเรอ่ื งท่ี 1 ความหมาย ความเป็นมา และความสาคัญของสถาบนั หลักของชาติ
(ให้ผเู้ รียนทากจิ กรรมท้ายเรอ่ื งท่ี 1 ในสมดุ บนั ทึกกิจกรรมการเรยี นรู้ประกอบขดุ วิชา)

12

เรือ่ งที่ 2 ความเปน็ มาของชาติไทย
ดินแดนท่ีเป็นประเทศไทยในปัจจบุ ันมีร่องรอยของการอยู่อาศัยมาอยา่ งยาวนาน

และมีพัฒนาการเป็นบ้านเมืองมาจนทุกวันนี้ ผู้คนที่อยู่อาศัยมีหลายเชื้อชาติ มีท้ังผู้ที่อยู่สืบต่อ
กันมาในดินแดนแผ่นดินไทยและผู้ที่อพยพโยกย้ายเข้ามาลงหลักปักฐาน ด้วยแผ่นดินน้ีให้ชีวิต
และความสุขแก่ตนและครอบครัวนับตั้งแต่อดีตที่เรายังไม่มีตัวหนังสือ เราพบร่องรอยจาก
หลักฐานการใช้ชีวิตของผู้คนยุคนั้นที่เรียกว่า “หลักฐานทางโบราณคดี” จนถึงสมัยที่มีตัวหนังสือ
ทาให้ทราบเรื่องราวได้อย่างชัดเจนข้ึน การอพยพโยกย้ายเพ่ือมาต้ังถ่ินฐานนี้เป็นไปตามธรรมชาติ
ของมนุษย์ที่แสวงหาสถานท่ีท่ีดี และเหมาะสมในการดารงชีพ อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติเด่น
ประการหน่ึงของสังคมไทยคือ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติของคนที่อาจมีความแตกต่างกันทาง
เชื้อชาติ ประเพณี ความเช่ือ ศาสนา และอื่น ๆ ทุกคนจะหลอมรวมกันเป็นไทย และอยู่รวมกัน
ได้เป็นอย่างดี แต่กว่าจะรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยได้ สังคมไทยก็ผ่านประสบการณ์ในการ
หล่อหลอมมาอย่างยากลาบาก ด้วยคุณูปการของบรรพบุรุษในการสร้างสรรค์ ฝ่าฟันความขัดแย้ง
ภายใน และการป้องกันภยั จากภายนอก สังคมไทยเป็นสังคมท่มี รี ากฐานแหง่ อารยธรรมมาอย่าง
ยาวนาน เราทราบได้จากการศกึ ษาประวตั ศิ าสตร์

(ทม่ี าภาพ : หนงั สือ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย” กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

13

ภูมศิ าสตร์ท่ตี ้ังของประเทศไทย
ประเทศไทยต้ังอยีู่ก่ึงกลางแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านตะวันออก
เปิดสู่ทะเลจีนใต้ ด้านตะวันตกออกสู่มหาสมุทรอินเดีย จึงอยู่ท่ามกลางเส้นทางสัญจรสาคัญ
ดนิ แดนนี้เปน็ ศูนย์กลางการคา้ และจุดแวะพักการเดินทางโดยเรือระหว่างอินเดียกับจีนมาต้ังแต่
สมัยโบราณ ดังปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรทั้งของชาวโรมัน และชาวอินเดีย กล่าวถึง
การเดินทางมาสู่ดินแดนแถบนีข้ องพอ่ คา้ จากทิศตะวันตกมาต้ังแต่สมัยต้นพุทธกาล และในเวลา
ต่อมา จดหมายเหตุจีนได้กล่าวถึงเมืองต่าง ๆ ท่ีเช่ือว่า ส่วนหน่ึงตั้งอยู่บริเวณภาคใต้ของ
ประเทศไทยในปัจจุบัน ช่วงเวลานี้มักเรียกกันว่า สมัยแรกเร่ิมประวัติศาสตร์ หรือเม่ือราว
2,000 ปที ่ผี า่ นมา
การตดิ ต่อเช่นน้ี ทาใหเ้ กิดการแพรห่ ลายของอารยธรรมจากดินแดนห่างไกลมาสู่
ดินแดนโบราณในประเทศไทย รวมท้ังเกิดชุมชนใหม่ ๆ ข้ึน เพ่ือจุดประสงค์ในการค้าขายตาม
จดุ แวะผ่านของพอ่ ค้าชาวตา่ งประเทศเหลา่ น้ี สง่ ผลให้ชุมชนพัฒนาเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่
จากทาเลท่ีต้ังดังกล่าว ผู้คนในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันจึงติดต่อค้าขาย
แลกเปล่ยี น และรบั อารยธรรมของชาติต่าง ๆ ที่เดินทางเข้ามาเป็นเวลาช้านาน รวมทั้งผู้คนต่าง
ภูมิภาคอพยพเคลื่อนย้าย เข้ามาตั้งรกราก ณ ดินแดนแห่งนี้ นับต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สืบเนื่องมาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น จนกระท่ังสุโขทัย และอยุธยาถือกาเนิดข้ึน ในช่วง
พุทธศตวรรษท่ี 18 และ 19 จนถึงปัจจุบันตามลาดับ ความหลากหลายเหล่านี้ ผสมผสานกัน
เป็นบูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรม กลายเป็นสังคมและวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ไทย” หรือ
“สยาม” ดงั ทเ่ี ปน็ ในปจั จบุ ัน
สังคมและวัฒนธรรมของผู้คนในดินแดนประเทศไทยน้ัน มีพัฒนาการท่ีสืบเนื่อง
กันมา มีการผสมผสานของผคู้ นหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาวพื้นเมืองด้ังเดิม ชาวอินเดีย ชาวจีน
และชาวตะวันตกที่ได้อพยพเคล่ือนย้ายเข้ามาต้ังถ่ินฐาน ณ ดินแดนประเทศไทยในแต่ละ
ช่วงเวลาอันยาวนานนับพัน ๆ ปี แต่ท่ีสาคัญคือ ผู้คนในดินแดนไทยได้ส่งผ่านสิ่งท่ีเรียกว่า
“ภูมิปัญญา” จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ผ่านมาหลายชั่วคน นับตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัตศิ าสตร์สู่สมยั ประวัติศาสตรต์ อนต้น จนหลอมรวมเป็น “คนไทย” ในปจั จุบัน

14

แผนทเ่ี สน้ ทางการคา้ ทางทะเลและเมืองท่าโบราณในอนิ เดยี เอเชยี ตะวันออกเฉยี งใตแ้ ละจีน
(ทีม่ าภาพ : หนงั สอื “ประวตั ิศาสตร์ชาตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

ความเปน็ มาของผคู้ นบนแผ่นดินไทย
หากถามว่าคนไทยในปัจจุบันคือใคร มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร มาจากไหน
คงเป็นเร่ืองยากท่ีจะอธิบายให้ถูกต้องชัดเจนได้ เน่ืองจากทาเลที่ต้ังและสภาพภูมิศาสตร์ของ
ดินแดนประเทศไทย ทาให้ดินแดนแห่งน้ีมีผู้อยู่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม และมีคนอพยพเคลื่อนย้าย
เข้ามาตั้งถิ่นฐานยาวนานนับพันปี ผู้ท่ีได้ช่ือว่า “คนไทย” ในปัจจุบันเป็นกลุ่มคนที่มีความ
หลากหลายทางเชือ้ ชาตผิ สมผสานมายาวนาน บ้างกม็ เี ชอ้ื ชาตมิ อญ ลาว เขมร อินเดีย เปอร์เซีย
จนี บา้ งก็มเี ช้ือชาตทิ างตะวันตก เช่น องั กฤษ โปรตุเกส และอืน่ ๆ
การผสมผสานระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ นั้น ไม่ได้เกิดข้ึนในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด
เท่านั้น แต่เกิดข้ึนตลอดเวลา เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสืบเน่ืองมาในสมัย
ประวัติศาสตรจ์ นถงึ ปจั จบุ ัน
อย่างไรก็ดี ส่ิงหน่ึงที่แสดงถึงอัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของคนไทย คือ
“ภาษาไทย” คนไทยก็คือคนท่ีใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจาวัน
จากการศึกษาของนักวชิ าการพบขอ้ มูลทีน่ ่าสนใจว่า นอกจากคนไทยในประเทศไทยแล้ว ยังพบ
กลุ่มคนไท หรือไต ต้ังถ่ินฐานกระจายตัวอยู่เป็นวงกว้างในเอเซีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ท้ังในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลกวางสี
ในประเทศจีน และในประเทศเวียดนาม ซ่ึงรู้จักในชื่อต่าง ๆ กันในแต่ละท้องถ่ิน เช่น ไทล้ือ
ไทใหญ่ ไทน้อย ไทเขนิ ไทอัสสมั ไทอาหม ผไู้ ท ไทดา ไทขาว ไทยวน เปน็ ตน้

15

ส่วน “คนไทย” ที่อยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน เป็นกลุ่มชนท่ีเกิดจากการ
ผสมผสานของชนชาตไิ ท-ไต กับบรรดาชนเผา่ อน่ื ๆ หรือชนชาตอิ ่ืนที่เป็นชนพน้ื เมอื งเดิมอยู่แล้ว
และพวกทเ่ี คลือ่ นยา้ ยเข้ามาใหม่ การอพยพเคล่อื นยา้ ยของคนไทนั้น เป็นไปในลักษณะค่อยเป็น
ค่อยไปหลายระลอก คนไทยในดินแดนประเทศไทยน้ัน เม่ือดูจากภาษาไทยท่ีใช้อาจกล่าวได้ว่า
มีการอพยพเคลื่อนย้ายครั้งใหญ่เข้ามาตั้งถ่ินฐานในบริเวณประเทศไทย เม่ือประมาณ
พุทธศตวรรษท่ี 18 ส่วนผู้คนท่ีอาศัยในดินแดนประเทศไทยก่อนหน้านี้ ในสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ หรือสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษท่ี 11 – 16 ไม่อาจรู้ได้แน่ชัดว่าเป็นคน
เช้ือชาติใด

กาเนดิ รฐั ไทย

ในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 19 เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญของบ้านเมืองในดินแดน

ประเทศไทยอันสืบเน่ืองมาจากความขัดแย้งระหว่างสองอาณาจักรใหญ่คือ อาณาจักรกัมพูชา

และอาณาจักรจามปา ซ่ึงอยู่ในเขตเวียดนามภาคกลาง ซ่ึงมีมาต้ังแต่พุทธศตวรรษท่ี 16 ส่งผล

ให้เกิดการรวมกลุ่มของบ้านเมืองที่เป็นพันธมิตรกันขึ้นใหม่ แคว้นท่ีมีกาลังเข้มแข็งกว่าได้ขยาย

อาณาเขตมายังบริเวณที่มีการขัดแย้งกัน และประการสุดท้ายคือ เป็นครั้งแรกที่ได้พบ “จารึก

อักษร และภาษาไทย ” ซ่ึงเป็น

ห ลั ก ฐ า น ยื น ยั น อ ย่ า ง แ น่ ชั ด ว่ า

กลุ่มคนไทยได้ก่อต้ังบ้านเมืองขึ้น

บ ริ เ ว ณ ดิ น แ ด น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ใ น

ปัจ จุบั น ก ลุ่ มค นไ ท ยนี้ น่ าจ ะ มี

ค ว า ม สั ม พั น ธ์ กั บ ก ลุ่ ม ค น ไ ท ย ใ น

ปราสาทสตอ๊ กก๊อกธม จังหวดั สระแกว้ มณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน
(ท่มี าภาพ : หนงั สือ “ประวตั ศิ าสตร์ชาตไิ ทย” ซึ่ ง อ พ ย พ เ ค ล่ื อ น ย้ า ย ล ง ม า แ ล ะ ไ ด้
ผสมผสาน กั บ ค น พื้ น เ มื อ ง เ ดิ ม
กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

ดงั ปรากฏร่องรอยในตานานปรมั ปรา

ของล้านนา

16

บ้านเมืองของกลุ่มคนไทยที่เกิดข้ึนใหม่ได้แก่ “ล้านนา” และ “สุโขทัย”

ในภาคเหนือ ส่วนในภาคกลางมีกลุ่มบ้านเมืองท่ีพัฒนาขึ้นมาจากบ้านเมืองเดิม ได้แก่ “อโยธยา”

มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้ หรือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน “สุพรรณภูมิ” มีศูนย์กลางอยู่ท่ีเมือง

สพุ รรณภูมิ หรือเมืองสพุ รรณบรุ ใี นปัจจบุ ัน ส่วนในภาคใต้ท่ีสาคญั ได้แก่ “นครศรธี รรมราช”

ตอ่ มาในตอนปลายพทุ ธศตวรรษที่ 19 “อโยธยา” กับ “สพุ รรณบรุ ี” ได้รวมกัน

เป็น “อยุธยา” คร้ันถึงพุทธศตวรรษที่ 20 อยุธยาได้ผนวก “สุโขทัย” ไว้ในฐานะหัวเมืองหน่ึง

ในพระราชอาณาเขต ส่วน “ล้านนา”

ยังคงดารงเป็นบ้านเมืองสืบมากว่า

5 0 0 ปี บ า ง ช่ ว ง เ ป็ น หั ว เ มื อ ง

ประเทศราชของไทย จนถึงรัชสมัย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

จึงได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ ปราสาทเมืองต่า จงั หวัดบรุ ีรมั ย์
พ ร ะ ร า ช อ า ณ า จั ก ร ส ย า ม อ ย่ า ง (ท่มี าภาพ : หนังสอื “ประวตั ิศาสตร์ชาตไิ ทย”
แท้จริง
กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

ปราสาทหนิ พิมาย จงั หวัดนครราชสมี า
(ทีม่ าภาพ : หนงั สอื “ประวัตศิ าสตร์ชาตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

กิจกรรมทา้ ยเรอ่ื งที่ 2 ความเป็นมาของชาติไทย
(ให้ผ้เู รียนทากจิ กรรมทา้ ยเรือ่ งที่ 2 ในสมุดบนั ทึกกจิ กรรมการเรยี นรปู้ ระกอบชุดวิชา)

17

เร่ืองท่ี 3 เสรีภาพในการนับถือศาสนาของไทย

ศาสนาเป็นส่ิงท่ีสาคัญมากในการเป็นชาติเป็นประเทศ เพราะไม่ว่าศาสนาใด
ก็ตาม ลว้ นแต่มลี กั ษณะสาคญั คือ สอนคนให้เป็นคนดี มีศีลธรรมประจาใจ อยู่ในสังคมได้อย่าง
สันติสุข และเป็นท่ียึดเหน่ียวทางจิตใจ มีหลักในการดาเนินชีวิตที่ถูกต้อง เม่ือศาสนิกชนเป็น
คนดีแล้ว สังคมย่อมปราศจากความเดือดร้อน ส่ิงสาคัญ คือ ในประเทศไทยมีศาสนาเป็น
เคร่ืองส่งเสริมความม่ันคงในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดมั่นและดาเนิน
นโยบายในการปกครองประเทศด้วยหลักทศพธิ ราชธรรม 10 ประการ ทรงนาหลักธรรมมาใช้ใน
การทรงงาน และใช้เป็นแนวทางในการแกไ้ ขปัญหาบ้านเมอื ง

ประเทศไทยได้บัญญัติเก่ียวกับการรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาไว้ใน
รัฐธรรมนูญไทยฉบับแรก เมื่อวันท่ี 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติเก่ียวกับการรับรอง
เสรีภาพในการนับถือศาสนาไว้ในมาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย
พุทธศกั ราช 2475 หมวด 2 ว่าด้วยสิทธแิ ละหนา้ ทข่ี องชนชาวสยาม ความว่า

“บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ และย่อมมี
เสรภี าพในการปฏบิ ตั ิพธิ กี รรมตามความนับถือของตน เม่ือไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศลี ธรรมของประชาชน”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติหลักการ
เกี่ยวกับสิทธแิ ละเสรภี าพในการนับถือศาสนาของชาวไทยไว้ในมาตรา 38 ความว่า “บุคคลย่อม
มเี สรภี าพบรบิ ูรณ์ในการนบั ถือศาสนา นิกายของศาสนาหรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมี
เสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อของตนเมื่อไม่เป็น
ปฏิปักษ์ต่อหน้าท่ีของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐ
กระทาการใด ๆ อันเป็นการริดรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมิควรได้เพราะเหตุท่ีถือ
ศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติ
พิธกี รรมตามความเชื่อถอื แตกตา่ งจากบุคคลอ่นื ”

จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติหลักการ
เก่ยี วกบั สทิ ธแิ ละเสรีภาพในการนับถือศาสนาของชาวไทยไว้ในมาตรา 31 ความว่า “บุคคลย่อม
มีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรม

18

ตามหลกั ศาสนาของตน แต่ตอ้ งไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าท่ีของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อ

ความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขดั ต่อความสงบเรยี บร้อยหรอื ศีลธรรมอันดขี องประชาชน”

เสรีภาพการนับถือศาสนาใน

ประเทศตา่ ง ๆ ไม่ว่าจะมีการปกครองรูปแบบใด

ก็ให้ความสาคัญแก่เสรีภาพในการนับถือศาสนา

ของประชาชน โดยยดึ หลักการพนื้ ฐานดงั ตอ่ ไปนี้

1. เสรีภาพในการนับถือศาสนา

เปน็ สทิ ธิตามธรรมชาติ จะลว่ งละเมดิ มิได้ และ

เปน็ สทิ ธขิ องมนุษยท์ กุ คน ต้องใหก้ ารรับรองและ

คมุ้ ครอง วัดพระศรสี รรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา
2. เสรีภาพในการนับถือศาสนา (ทม่ี าภาพ : หนังสอื “ประวัตศิ าสตรช์ าตไิ ทย”

ไมม่ ีใครจะใช้เสรีภาพอยู่เหนือผู้อ่ืน ทุกคนมีสิทธิ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

และหน้าที่เทา่ เทยี มกัน รฐั จะต้องทาหนา้ ทร่ี ักษาผลประโยชนข์ องสงั คมโดยรวม

เนื่องจากเร่ืองสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นส่ิงที่ มีความสาคัญ

ต่อสังคม การจัดระเบียบความเรียบร้อยของประชาชน และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จึงเป็น

สิ่งสาคัญที่รัฐจะช่วยให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างศาสนาต่าง ๆ หากไม่ได้รับความสนใจจาก

ภาครัฐแล้ว ปัญหาดังกล่าวอาจทาให้เกิดข้อขัดแย้งระหวา่ งศาสนาขน้ึ ได้

พระมหากษัตรยิ ก์ ับการให้เสรีภาพทางศาสนา
ตลอดสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์
พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ร่วมมือกันทานุบารุงพระพุทธศาสนา
ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นลาดับมา ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงเป็นพุทธมามกะ แต่แทบทุก
พระองค์ก็มิได้ทรงกีดกันศาสนาอื่นเลย ทรงมีน้าพระทัยกว้างขวาง อุปถัมภ์ศาสนาอ่ืน
ในฐานะท่ีทรงเปน็ องคอ์ ัครศาสนูปถัมภกตามสมควร ดังเช่น
ในสมัยสมเดจ็ พระนารายณ์ มีการนาความเจริญมาใหก้ รงุ ศรีอยธุ ยา พระองค์ได้
พระราชทานที่ดินให้สร้างวัดทางคริสตศาสนา ในปี พ.ศ. 2224 และได้จัดคณะทูตเดินทางไป
ฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และเม่ือปี พ.ศ. 2228 เชอวาเลียร์
เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าคณะทูต ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ทูลขอให้ทรงเข้ารีต
แตพ่ ระองคท์ รงปฏเิ สธดว้ ยพระปรีชาสามารถว่า “การท่ีผู้ใดจะนับถือศาสนาใดน้ัน ย่อมแล้วแต่

19

พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป ถ้าคริสตศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว แลเห็นว่า
พระองค์สมควรท่ีจะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้วไซร้ สักวันหน่ึงพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีต
จนได้”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมขี ันติธรรมทางศาสนาอย่างยิ่ง ถงึ กบั
ให้มิชชนั นารีอเมริกันเขา้ ไปเผยแผ่คริสตศาสนาในวัดบวรนิเวศวิหารได้ พระองค์ทรงประกาศให้
เสรภี าพแกร่ าษฎรในการนับถอื ศาสนา พระราชทานพระบรมราชานเุ คราะห์แก่ผู้ที่นับถือศาสนา
อิสลามและศาสนาอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามลัทธิธรรมเนียมของตนได้โดยเสรี และทรงอุปถัมภ์บารุง
ท้ังพระญวน พระจีนที่นับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มิได้ทรงรังเกียจเดียดฉันท์แต่ประการใด
และเปน็ ประเพณีปฏิบัติสืบต่อมา

พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างมัสยิด
อิสลาม และพระราชทานท่ีดินติดต่อกับมัสยิดน้ัน เพื่อเป็นที่สร้างโรงเรียนสาหรับผู้ที่นับถือ
ศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์แก่นักสอนคริสตศาสนา
ทั้งนิกายโปรเตสแตนต์และคาทอลิก เพ่ือสร้างและบารุงอุดหนุนการจัดต้ังโรงเรียนและ
พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์ของสภาคริสตจักรริมถนนสาทร พระราชทานเงินอุดหนุนแก่
โรงพยาบาลของคณะมิชชนั นารีหลายแหง่

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ราษฎร
เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์องค์ก่อน ๆ หนังสือพิมพ์ดีทรอย์ในสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึง
การศาสนาในเมืองไทยตอนหนึ่งว่า “ในประเทศสยามมีการให้เสรีภาพทางศาสนาอย่างแท้จริง
นักสอนศาสนาชาวต่างประเทศได้รับความคุ้มครองและได้รับความปลอดภัยอย่างเต็มท่ี
ทั่วท้ังพระราชอาณาจักร” การให้เสรีภาพทางศาสนาของไทยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบาย
ทางการเมอื งของนักล่าอาณานคิ มเป็นอยา่ งมากในสมัยนัน้

กจิ กรรมทา้ ยเรื่องที่ 3 เสรภี าพในการนบั ถือศาสนาของไทย
(ให้ผเู้ รียนทากิจกรรมท้ายเรอื่ งที่ 3 ในสมดุ บนั ทึกกจิ กรรมการเรียนรู้ประกอบชดุ วิชา)

20

เร่ืองท่ี 4 บญุ คณุ ของพระมหากษัตรยิ ไ์ ทยต้งั แตส่ มัยสุโขทยั อยุธยา ธนบุรี และรตั นโกสินทร์

4.1 สมัยสโุ ขทยั
อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ท่ีมีหลักฐานตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนาถม
และเร่ิมชัดเจนมากขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว พ.ศ. 1781 – 1822)
แต่ความเป็นจริงแล้วประชาคมสุโขทัยน่าจะมีประวัติศาสตร์มาก่อนหน้านี้มาก แต่เราไม่พบ
หลักฐานที่ยืนยันความเป็นอิสระได้ ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วงหรือสุโขทัย)
ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัย มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์ สืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับ
อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพ่อขุนรามคาแหงมหาราช
(พ.ศ. 1822 – 1841) อานาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงสมัยของพระองค์มั่นคงมาก ได้ทรง
แผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทกุ สาขา ดงั ปรากฏในศลิ าจารึกหลักท่ี 1
ซึ่งเจริญท้ังด้านประวัติศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง
การเศรษฐกิจ การสังคม ปรชั ญาพระพทุ ธศาสนา การประดิษฐอ์ กั ษรไทย และอื่น ๆ
บุญคณุ ของพระมหากษตั รยิ ์
ดา้ นการเมืองการปกครอง
1. มีการสถาปนาอาณาจกั รสุโขทัย ด้วยการทาสงครามสรู้ บกบั ขอมด้วย
ความเสียสละเลือดเนื้อเพ่ือสรา้ งบ้านเมอื ง
2. มกี ารปกครองแบบพอ่ ปกครองลกู โดยใหผ้ ู้ท่ีเดอื ดร้อนไปส่ันกระด่งิ
หนา้ ประตเู มอื ง ซง่ึ เปน็ การนาทศพิธราชธรรมมาใช้ในการปกครองบ้านเมอื ง
3. มกี ารขยายอาณาเขตการปกครอง โดยการเผยแผ่ศาสนาไปตามแคว้นต่าง ๆ

21

ดา้ นศาสนาและการศกึ ษา

1. มีการนิมนต์พระภิกษุสงฆ์จาก

นครศรีธรรมราช มาแสดงธรรมให้ประชาราษฎร์ในวันพระ

2. มกี ารอญั เชญิ พระไตรปิฎกมาจากเมือง

นครศรีธรรมราช และนาพุทธศาสนาเปน็ ศาสนาประจา

บา้ นเมอื ง

3. จัดทาศิลาจารึก เพอื่ บันทึกเร่อื งราวที่

เกดิ ข้นึ ในสมยั นั้น ๆ ศิลาจารกึ หลักท่ี 1
4. ประดษิ ฐ์อกั ษรไทยที่เรียกว่า “ลายสือไทย” จารึกพอ่ ขุนรามคาแหงมหาราช
(ที่มาภาพ : หนังสือ “ประวตั ิศาสตร์ชาตไิ ทย”
ทาใหม้ ภี าษาไทยใชจ้ นถงึ ปัจจุบนั กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)
5. มีการแตง่ หนังสือ “ไตรภมู ิพระรว่ ง”

ซง่ึ เปน็ วรรณกรรมเล่มแรกของไทย

ดา้ นเศรษฐกจิ และการคา้

1. สร้างทานบกักเก็บน้าที่เรียกว่า “สรีดภงส์” เพ่ือการบริหารจัดการน้าในการ

ป้องกันน้าท่วม และการกักเก็บน้าใช้เพื่อการเกษตร ทาให้เศรษฐกิจด้านการเกษตร

มคี วามอดุ มสมบรู ณ์

2. มีการส่งเสริมการค้าขายด้วยการไม่เก็บภาษีท่ีเรียกว่า “จกอบ” ทาให้

การค้าขายเจรญิ รงุ่ เรอื งซึง่ แสดงถงึ ความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักรสโุ ขทยั

3. มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เช่น จีน ลังกา มอญ เพื่อทาการค้า

และมีการนาสินค้าจากจีนมาขายและสง่ สินคา้ ไปขายทีจ่ ีน

สรดี ภงส์ หรือทานบพระรว่ ง
(ทีม่ าภาพ : หนงั สอื “ประวตั ศิ าสตรช์ าตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

22

4.2 สมยั อยุธยา

กรุงศรีอยุธยา สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา คือ สมเด็จ

พระรามาธิบดีท่ี 1 หรือเรียกกันว่า พระเจ้าอู่ทอง กรุงศรีอยุธยา ต้ังอยู่ในบริเวณท่ีมีแม่น้า

3 สายล้อมรอบคือ แม่น้าเจ้าพระยา แม่น้าป่าสัก และแม่น้าลพบุรี เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมทั้งใน

ด้านความมนั่ คง และเป็นเมอื งท่ีเหมาะแก่

การติดต่อค้าขาย กรุงศรีอยุธยาเป็น

อาณาจักรท่ีมีความสาคัญมาก มีความ

เ จ ริ ญ รุ่ ง เ รื อ ง สื บ ต่ อ กั น ม า เ ป็ น เ ว ล า

417 ปี

ในช่วงสถาปนากรุงศรีอยุธยา สมเด็จ

ปากนา้ บางกะจะ พระรามาธิบดีที่ 1 พระเจ้าอู่ทอง ซ่ึงเป็น
(ที่มาภาพ : หนงั สือ “ประวัตศิ าสตร์ชาตไิ ทย” กษัตริย์พระองค์แรก ได้สถาปนากรุงศรี

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม) อยุธยาเป็นราชธานี และมีพระมหากษัตริย์

ปกครองมากท่ีสุดในประวัติศาสตร์ถึง 33 พระองค์ ซ่ึงพระมหากษัตริย์ลาดับต่อ ๆ มาทรงสืบสาน

พระราชกจิ ดังน้ี

1. ด้านการรวบรวมความเป็นปึกแผ่นของประเทศชาติ สมเดจ็ พระนเรศวร

มหาราช (พระสรรเพชญ์ท่ี 2) ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่า และ

ได้ทาสงครามกับศัตรู ทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นม่ันคง ขยายดินแดน

ไดอ้ ยา่ งกว้างขวาง และในสมยั สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไดท้ รงผนวกสุโขทยั เขา้ กับอยุธยา

พระราชานสุ าวรยี ์ สมเดจ็ พระสรุ โิ ยทยั บริเวณท่งุ มะขามหยอ่ ง
อาเภอพระนครศรีอยธุ ยา จงั หวดั พระนครศรอี ยุธยา

(ทมี่ าภาพ : หนงั สอื “ประวตั ศิ าสตรช์ าตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

23

2. ด้านการเมืองการปกครอง ในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้จัดระเบียบการปกครอง
ท่เี รยี กวา่ จตสุ ดมภ์ เป็นเสมือนเสาหลักในการค้าจุนความมั่นคงแก่บ้านเมือง คือ ตาแหน่งเวียง
วัง คลงั นา และจดั ความสาคัญของหวั เมือง แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน คือเมืองท่ีอยู่ใกล้เมืองหลวง
เป็นเมืองช้ันจัตวา เช่น ธนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร นครนายก เป็นต้น หัวเมืองช้ันนอก คือหัว
เมืองท่ีอยู่ไกลออกไป เป็นชั้นเอก โท ตรี ตามขนาดและความสาคัญเมืองประเทศราช คือ
เมอื งขึน้ ของอยุธยา เช่น ทวาย ตะนาวศรี เมอื งเหล่านีต้ อ้ งสง่ บรรณาการให้อยธุ ยา

3. การติดต่อสัมพนั ธ์กบั ชาติตะวันตก มีชาวต่างชาตเิ ข้ามาติดต่อคา้ ขาย ไดแ้ ก่
ชาวโปรตุเกส ฮอลันดา ฝรง่ั เศส อังกฤษ เป็นตน้ ซ่ึงในการติดต่อยังได้รับวิทยาการสมัยใหม่ด้วย
เชน่ การก่อสรา้ ง อาวุธยทุ โธปกรณ์ วทิ ยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ เปน็ ตน้

พระบรมราชานุสาวรยี ส์ มเดจ็ พระนเรศวรมหาราช
ทรงหล่ังทกั ษิโณทกประกาศอิสรภาพ มหาวทิ ยาลยั นเรศวร จงั หวดั พษิ ณุโลก
(ทีม่ าภาพ : หนังสือ “ประวัตศิ าสตร์ชาตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

24

4.3 สมยั ธนบุรี

กรุงธนบุรี ได้สถาปนาขึ้นเม่ือปี พ.ศ.

2310 ก่ อนเสีย ก รุงศรี อยุธยา ประ มา ณ

3 เดือน โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ซึ่ ง เ ป็ น ท ห า ร ค น ส า คั ญ ข อ ง ก รุ ง ศ รี อ ยุ ธ ย า

ได้รวบรวมกาลังคนประมาณ 1,000 คน ตีฝ่า

คา่ ยโพธ์สิ ามต้น วงล้อมกาลังของพม่าออกไป รวบรวมกาลังพล
(ที่มาภาพ : หนงั สือ “ประวัตศิ าสตร์ชาตไิ ทย” อยู่ที่เมืองระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด และตั้ง
ม่ันรวมกาลังพล เสบียงอาหารท่ีเมืองจันทบุรี
กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

เมอื่ กรงุ ศรอี ยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว จึงนากาลังไป

ตีค่ายพม่าท่ีค่ายโพธ์ิสามต้น ซ่ึงมีสุกี้พระนายกองรักษาค่ายอยู่ สามารถตีค่ายพม่าแตก และยึด

อานาจคืนจากพม่าได้สาเร็จ เม่ือวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 ใช้เวลาเพียง 7 เดือน ในการ

กอบกู้อสิ รภาพกลบั คืนมาได้ แล้วจงึ ปราบดาเปน็ พระมหากษัตริย์

พระบรมราชานสุ าวรีย์ สมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราช
(ท่ีมาภาพ : หนังสอื “ประวัตศิ าสตร์ชาตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

เนื่องจากเมืองหลวงอยุธยาถูกทาลายเสียหายมาก ยากแก่การบูรณะ สมเด็จพระเจ้า
ตากสินมหาราช จึงได้สถาปนาให้กรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงใหม่ พระราชกรณียกิจสาคัญของ
พระองค์ มดี งั นี้

1. การทาศึกสงครามปอ้ งกนั พระราชอาณาจักร และขยายอานาจไปทาง
ตะวันออกของประเทศ คือ ลาว กัมพูชา และเวียดนามบางส่วน ตลอดระยะเวลาได้แสดง
พระปรีชาสามารถในการรบ โดยมีทหารคนสาคญั เปน็ กาลงั ในการสู้รบ ได้แก่ พระยาพิชัยดาบหัก

25

ท่ีมีความกล้าหาญในการรบจนดาบหัก เมื่อครั้งป้องกันเมืองพิชัย ในปี พ.ศ. 2316 สมเด็จ

เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จ

พระบวรเจ้ามหาสุรสิงหนาท นบั เป็นสมยั แหง่ การทาสงครามอยา่ งแทจ้ ริง

2. สร้างพระราชวังกรุงธนบุรี ให้เป็น

พระราชวงั หลวง เปน็ สถานท่ปี ระทับและว่าราชการ

ปรับปรงุ ป้อมวไิ ชยเยนทร์ และเปลยี่ นชื่อใหมเ่ ปน็

ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตาแหน่งที่ต้ังของพระราชวัง

เปน็ จุดสาคญั ทางยทุ ธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์

พระราชวงั เดิม สมยั ธนบรุ ี ได้ในระยะไกล และใกล้เส้นทางคมนาคมการเดินทัพ
ท่ีสาคัญซึง่ ปัจจบุ นั เปน็ ท่ตี ั้งของกองทัพเรอื
(ท่มี าภาพ : หนงั สอื “ประวัติศาสตรช์ าตไิ ทย”
กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

3. ด้านการปกครอง หลังจากกรงุ ศรีอยธุ ยาแตก กฎหมายบา้ นเมอื งกระจาย

สูญหายไปมาก จึงสืบเสาะ ค้นหา รวบรวม ชาระกฎหมายให้เหมาะสมแก่กาลสมัย ฉบับใด

ไม่เหมาะสมก็โปรดให้แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก เพื่อให้ราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น

ออกพระราชกาหนดสกั เลก พ.ศ. 2316 เพอื่ สะดวกในการควบคมุ กาลังคน

4. ดา้ นเศรษฐกิจ จากการเสียกรุงศรอี ยุธยาครง้ั ท่ี 2 สง่ ผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ

อย่างร้ายแรง พระองค์จึงงดเก็บส่วยอากร 3 ปี เมื่อเข้ารัชกาลใหม่ ทรงทานุบารุงการค้าขาย

ทางเรืออยา่ งเตม็ ที่ ส่งเสริมการนาสินค้าพื้นเมืองไปขายที่ประเทศจีน และทรงพยายามผูกไมตรี

กบั ประเทศจนี เพื่อประโยชน์ในด้านความมัน่ คงของชาติ และประโยชน์ในด้านการค้า

5. ด้านศาสนา ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวัตรปฏิบตั ขิ องพระสงฆใ์ นปี พ.ศ. 2316

ถือเป็นกฎหมายพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย และบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ เช่น

วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร โปรดเกล้าให้เขียนภาพ

“สมุดภาพไตรภูมิ” เป็นสมุดภาพขนาดใหญ่ของไทย เขียนด้วยสีลงในสมุดท้ัง 2 ด้าน โดยฝีมือ

ช่างเขยี น 4 คน ปัจจบุ นั เก็บรกั ษาไว้ ณ หอสมุดแหง่ ชาติ

26

สมุดไตรภมู พิ ระร่วง
(ท่มี าภาพ : หนงั สอื “ประวัติศาสตร์ชาตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

4.4 สมยั รัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงทาการปราบดาภิเษก
ขน้ึ เปน็ พระมหากษตั รยิ ์ไทยแห่งพระบรมราชจักรวี งศ์ เมื่อวนั ท่ี 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระองค์
ได้ทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นทางตะวันออกของแม่น้าเจ้าพระยา ด้วยเห็นว่ากรุงธนบุรีมีพื้นท่ี
คับแคบ ไม่สามารถขยายเมืองได้ เมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า “กรุงเทพมหานคร” พระมหากษัตริย์
ในราชวงศ์จกั รีได้ปกครองกรงุ รตั นโกสนิ ทร์สืบต่อมาจนถงึ ปัจจบุ นั มที ัง้ หมด 10 พระองค์ ซ่ึงทุก
พระองค์ไดม้ พี ระมหากรุณาธคิ ุณทานุบารงุ บา้ นเมอื งให้มีความเจริญกา้ วหน้าในด้านตา่ ง ๆ ดงั นี้

พระบรมรปู พระมหากษัตริยไ์ ทย สมยั รตั นโกสินทร์ทปี่ ราสาทพระเทพบิดร
(ทีม่ าภาพ : หนังสอื “ประวตั ิศาสตรช์ าตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

27

พระบรมมหาราชวงั
(ท่มี าภาพ : หนังสอื “ประวัตศิ าสตรช์ าตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

1. ดา้ นการเมืองการปกครอง ในต้นสมัยกรุงรตั นโกสินทร์ การปกครองของไทย
ยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอานาจสูงสุดในการ
ปกครองประเทศ ทรงไว้ซ่ึงอาญาสิทธิ์เหนือผู้อ่ืนทั้งปวงในอาณาจักร แต่พระราชกรณียกิจของ
พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปประเทศให้มีความเป็นสากล
ยิ่งข้ึน คือ การรวบรวมอานาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบการปกครองเดิม ต้ังเป็นกระทรวง
ต่าง ๆ ยกเลกิ ระบบไพร่ และเลกิ ทาส ทาให้ชนช้ันกลางและชนชนั้ ลา่ งไดร้ ับสิทธิเสรีภาพมากข้ึน
มีการรับวิทยาการต่าง ๆ ซ่ึงส่วนใหญ่นารูปแบบมาจากตะวันตก จึงนับได้ว่าเริ่มเข้าสู่สมัยใหม่
จนสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 7 เกิดการปฏิวัติการปกครองมาเป็น
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมาย
สงู สดุ ของประเทศ ซึง่ รัฐธรรมนญู ใหส้ ทิ ธแิ ละเสรีภาพแก่ทุกคนเท่าเทียมกัน สามารถเล่ือนฐานะ
ทางสังคม สามัญชนมีบทบาทในการปกครองบริหารประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร-
มหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลท่ี 9 ได้แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์
นักพัฒนาประชาธิปไตยท่ีมุ่งก่อให้เกิดประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ผ่านโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดาริ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนา
แบบย่งั ยนื ซ่งึ เหมาะสมและสอดรับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศไทย

2. ดา้ นเศรษฐกจิ ประเทศไทยได้มีพฒั นาการทางเศรษฐกิจมาต้งั แตร่ ัตนโกสินทร์
ตอนต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้ประมวลองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สาคัญได้ 3 ประการ คือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า ท่ีมาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ ระบบเงินตรา
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าให้จัดตั้ง

28

ธนาคารข้ึนเป็นคร้ังแรก ชื่อว่าสยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด มีการตั้ง
โรงกษาปณ์ข้ึนเป็นครั้งแรก เพื่อทาหน้าที่ผลิตธนบัตร ทาให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวทางการค้า
ต่อมาสงครามโลกระหว่างปี พ.ศ. 2472 – 2475 ทาให้เศรษฐกิจตกต่าท่ัวโลก ราคาข้าว
ซ่ึงเป็นสินค้าส่งออกตกต่า สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลน มีราคาแพง การเงินแผ่นดิน
เริ่มขาดดุล จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลท่ี 9
ได้พระราชทานแนวพระราชดาริเพ่ือแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ ให้เป็นแนวทางการดาเนินชีวิต
และปฏิบัติตนต้ังแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็น
หลกั ทรงเตือนสติ และชแี้ นะแนวทางการดารงชีวติ ในชว่ งท่ปี ระเทศไทยเกดิ วิกฤตทางเศรษฐกิจ
ซึ่งสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้อัญเชิญแนวพระราชดาริ
เศรษฐกิจพอเพียง บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 –
2549) และฉบับท่ี 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) แนวพระราชดาริเร่ืองเศรษฐกิจพอเพียงยังคงเป็น
แนวทางปฏิบัติจนกระท่ังปจั จุบนั

ถนนเจริญกรุง สรา้ งเมอื่ พ.ศ. 2404 – 2405 ถนนบารงุ เมือง สร้างเมือ่ พ.ศ. 2406

(ทีม่ าภาพ : หนงั สือ “ประวัติศาสตรช์ าตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

3. ด้านการศึกษา ระบบการศึกษาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะคล้ายสมัย
กรุงศรีอยุธยา คือ มีวัดและวังเป็นสถาบันทางการศึกษา ถ้าจะเข้าศึกษาท่ีวัดต้องบวชเรียน
โดยมีพระสงฆ์และราชบัณฑิตสอนวชิ าสามัญ มีการเรียนช่างต่าง ๆ ในครัวเรือนและวงศ์ตระกูล
เช่น ช่างทอง ช่างหล่อ สาหรับหญิงจะศึกษาในครัวเรือน ส่วนในวัง เรียนวิชาเย็บปักถักร้อย
การบ้านการเรอื น แต่ไมน่ ิยมใหผ้ ู้หญิงเรยี นมากนกั

29

ต่ อ ม า ใ น รั ช ส มั ย พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ให้ความสาคัญกับการพัฒนา

คุณภาพชีวิตของราษฎรโดยทรงปฏิรูปการศึกษา และ

ส่ ง เ ส ริ ม ใ ห้ ร าษ ฎ ร มี โ อ ก า ส เข้ า รั บ ก า ร ศึ ก ษ า อ ย่ า ง ท่ั ว ถึ ง

ทรงจัดต้ังโรงเรียนหลวงแห่งแรกในพระบรมมหาราชวัง

และขยายทั่วประเทศ มีโรงเรียนเกิดขึ้นจานวนมาก

ทั้งโรงเรียนหลวง โรงเรียนสาหรับสตรี โรงเรียนฝึกหัดครู

โรงเรยี นนายรอ้ ยทหารบก โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียน หมอบรัดเล ผ้นู าการพิมพแ์ ละวิชาการ
กฎหมาย เป็นต้น นับเป็นการจัดระบบการศึกษาของ แพทยส์ มัยโบราณเขา้ มาเผยแพร่
ประเทศคร้ังแรกซ่งึ พฒั นาจนถึงปจั จบุ ันโดยพระมหากษัตริย์ ในสังคมไทยเป็นคนแรก

ทกุ พระองค์ ได้ใหค้ วามสาคญั กับการศกึ ษาเพ่ือพัฒนาบคุ คล (ที่มาภาพ : หนงั สอื “ประวตั ิศาสตร์ชาตไิ ทย”
กรมศิลปากร กระทรวงวฒั นธรรม)
เป็นอย่างมาก เช่น การออกกฎหมายภาคบังคับให้คนไทย

ทุกคน ต้องเข้ารับการศึกษาและส่งเสริมให้เรียนต่อในระดับที่สูงข้ึน เปิดโอกาสให้ประชาชน

เขา้ ถึงการศกึ ษาได้ในหลายรูปแบบ

4. ด้านศิลปวฒั นธรรม ขนบธรรมเนยี มประเพณี การทานบุ ารงุ ด้านศลิ ปะ

วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีในสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงให้

ความสนพระทยั เป็นอยา่ งมาก

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดให้ร้ือฟื้นพระราชพิธีสาคัญครั้งกรุงศรีอยุธยา

มาจดั ทาให้ถูกต้องตามแบบแผน และมีการบนั ทกึ ไว้ เชน่ พระราชพธิ ีบรมราชาภิเษก พระราชพิธี

พชื มงคล พระราชพธิ ีถอื น้าพิพฒั น์สตั ยา เป็นตน้

ในรัชสมยั รัชกาลที่ 2 เป็นช่วงที่บ้านเมืองค่อนข้างสงบสุข สมัยนี้ศิลปวัฒนธรรม

ของชาตริ ุง่ เรอื งเปน็ อยา่ งมาก โดยเฉพาะทางวรรณคดีถือวา่ เป็นยคุ ทอง พระองค์ได้ทรงพระราช

นิพนธ์งานวรรณกรรมและบทละครต่าง ๆ เช่น เสภาเร่ืองขุนช้างขุนแผน (บางตอน) บทละคร

เรื่องอิเหนา ซ่ึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นยอดแห่งบทละครรา มีกวีท่ีมี

ชื่อเสียง เชน่ สนุ ทรภู่ หรอื พระศรีสนุ ทรโวหาร

30

รชั สมยั รชั กาลท่ี 3 ทรงปฏิสังขรณ์ วัดวาอาราม

และพระพุทธรูป มีการเปล่ียนแปลง ด้านศิลปกรรม

เช่น การสร้างหลังคาโบสถ์ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์

และการนิยมประดับกระเบื้องเคลือบชามจีน อันเป็น

ลักษณะผสมผสานแบบจีน เช่น วัดราชโอรสาราม

นอกจากน้ี ยังทรงเกรงว่าต่อไปวิทยาการต่าง ๆ ของ

ไทยจะสูญหายไป จึงโปรดให้คัดเลือกและจารึกตารา

วิชาการต่าง ๆ รวมถึงตารายา ต่าง ๆ ไว้ในแผ่นศิลาอ่อน ตาราแพทย์แผนไทยทีจ่ ารึก

ประดับบนเสา ผนังศาลาราย รวมถึงรูปฤาษีดัดตน เม่ือ ท่วี ดั พระเชตุพนวมิ ลมงั คลาราม
ครั้งปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นับเป็น (ท่ีมาภาพ : หนังสอื “ประวตั ศิ าสตรช์ าตไิ ทย”
การสงวนรกั ษาวิทยาการตา่ ง ๆ ของไทยไดเ้ ป็นอย่างดี
กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม)

รัชสมัยรัชกาลท่ี 4 หลังจากได้มีการจัดต้ังคณะสงฆ์นิกายใหม่ คือธรรมยุติกนิกาย

ทรงวางระเบียบแบบแผนของพระนิกายใหม่ทพ่ี ระองคท์ รงต้ังขนึ้ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างวัด

และสรา้ งพระพุทธรูปทีม่ ีลักษณะใกลเ้ คียงมนุษย์มากขน้ึ เช่น พระสัมพุทธพรรณี พระนิรันตราย

พระพุทธอังคีรส รวมถึงพระสยามเทวาธิราช ด้วยมีพระราชดาริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์

ท่ีจะต้องเสียอิสรภาพหลายคร้ัง แต่มีเหตุให้รอดพ้นภยันตรายได้เสมอมา คงจะมีเทพยดา

ศกั ด์สิ ิทธ์ิคอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรท่จี ะทารูปเทพยดาองค์น้ันขึน้ สกั การะบชู า

รัชสมัยรัชกาลท่ี 9 พระองค์ทรงตระหนักถึงความสาคัญและคุณค่าของ

ศลิ ปวฒั นธรรมอันดีของไทย ทรงมีพระราชดาริให้ฟื้นฟูพระราชพิธีต่าง ๆ ท่ีถูกยกเลิกเมื่อมีการ

เปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เช่น พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีแรกนาขวัญ

ทรงห่วงใยปัญหาการใช้ภาษาไทย อันเป็นผลมาจากคนไทยส่วนมากขาดสานึกในคุณค่าของ

ภาษาประจาชาติ จนคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี

เปน็ “วนั ภาษาไทยแหง่ ชาติ”

5. ด้านการติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ การดาเนินงานด้าน

การต่างประเทศ โดยเฉพาะในรัชกาลท่ี 4 และ 5 ในยคุ อาณานคิ มของชาวตะวันตก พระองค์ได้

ตระหนักถึงความเป็นมหาอานาจของชาติตะวันตก การต่อต้านโดยใช้กาลังจึงเป็นไปไม่ได้

จงึ ตอ้ งใชว้ ธิ กี ารอืน่ แทน ซึง่ พอสรุปได้ 3 ประการ คอื

1) การผอ่ นหนกั เปน็ เบา โดยการยอมทาสนธิสัญญาเสียเปรียบ คือ สนธิสัญญา

เบาริง กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 4 แม้ทรงทราบดีว่าเสียเปรียบ แต่ก็พยายามให้

31

เสียเปรียบน้อยท่ีสุด และยอมเสียดินแดน โดยการเสียสละดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาดินแดน
สว่ นใหญข่ องชาตเิ อาไว้ ซง่ึ เสยี ใหแ้ ก่ชาติตะวนั ตก 2 ชาติ คอื ฝร่งั เศส และอังกฤษ

2) การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย ให้เจริญก้าวหน้าเพื่อป้องกันภัยคุกคาม
ของประเทศมหาอานาจตะวันตก เช่น ปรับปรุงกฎหมายให้ราษฎรมีโอกาสถวายฎีการ้องทุกข์
ออกหนังสือแถลงข่าวของทางราชการ เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลท่ี 5 โดยจัดให้มีการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางโดยยกเลิก
จตสุ ดมภ์ (เวียง วัง คลงั นา) และใชก้ ารบริหารงานแบบกระทรวง

3) การผกู มิตรกับประเทศมหาอานาจในยุโรป

คณะผ้เู จรจาฝา่ ยสยามกับราชฑตู ปรัสเซีย พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจา้ อย่หู วั เสดจ็ ออกให้

(ประเทศเยอรมนี) เมอสเิ ยอร์ เดอ มงตญิ ญี ราชทตู ฝรั่งเศส เฝา้ ทที่ อ้ งพระโรง

ในการทาสนธสิ ญั า เม่อื วันท่ี 7 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. พระทีน่ ่งั อนันตสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ. 2406

(ท่มี 2า4ภ0า5พ : หนงั สอื “ประวตั ิศาสตร์ชาตไิ ทย” กรมศลิ ปากร กระทรวงวัฒนธรรม)

กจิ กรรมทา้ ยเร่ืองที่ 4 บญุ คุณของพระมหากษตั ริย์ไทยต้ังแตส่ มยั สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี
และรัตนโกสนิ ทร์

(ใหผ้ ู้เรยี นทากิจกรรมทา้ ยเร่ืองที่ 4 ในสมดุ บันทึกกจิ กรรมการเรยี นรู้ประกอบชดุ วิชา)

32

หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 2
พระมหากษตั ริย์ไทยและบรรพบุรษุ ในสมัยสุโขทัย

สาระสาคญั
บรรพบุรุษของไทยในทุกยุคทุกสมัย ได้ร่วมกันรักษาเอกราชและอธิปไตยของ

ประเทศให้มีความสมบูรณ์มั่นคง ส่งผ่านเจตนารมณ์ให้มีความเป็นชาติจวบจนทุกวันนี้
ซึ่งองค์ประกอบท่ีสาคัญที่ทาให้ดารงความเป็นชาติ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ท่ีทรงปกปัก
รักษาแผ่นดินมาต้ังแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา มีการก่อต้ังบ้านเมือง รวบรวมไพร่พล โดยมี
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ในราชวงศ์พระร่วง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็น
ปฐมกษัตรยิ ์ และยงั มพี ระมหากษตั รยิ ์สืบสนั ตติวงศ์ อีก 8 พระองค์ อันได้แก่ พ่อขุนรามคาแหง
พระมหาธรรมราชาท่ี 1 (พญาลิไท) ซึ่งแต่ละพระองค์ในยุคน้ัน ๆ มีความเสียสละ กอบกู้บ้านเมือง
ทานบุ ารงุ บา้ นเมืองให้มีความเจริญ เพอ่ื ความสุขของประชาราษฎร์ สร้างสัมพันธไมตรีกับแคว้น
ต่าง ๆ มีการศึกษาประวัติศาสตร์ที่จะนาไปสู่การสร้างจิตสานึกในการรักชาติ ศาสนา และ
สถาบนั พระมหากษตั ริย์ ซึ่งดารงไวใ้ นการเปน็ ประเทศ

ตวั ช้วี ัด

1. บอกชื่อพระมหากษตั ริยไ์ ทยในสมัยสุโขทัย
2. บอกพระราชประวัตแิ ละพระราชกรณยี กจิ ทีส่ าคัญของพระมหากษัตริย์ไทย

ในสมยั สโุ ขทัย
2.1 พ่อขนุ ศรีอนิ ทราทิตย์
2.2 พอ่ ขนุ รามคาแหงมหาราช
2.3 พระมหาธรรมราชาท่ี 1 (พญาลไิ ท)
3. บอกวรี กรรมของบรรพบุรุษสมยั สโุ ขทัย

ขอบขา่ ยเนื้อหา
เรอ่ื งที่ 1 พระมหากษัตรยิ ไ์ ทยในสมัยสุโขทัย
เร่อื งท่ี 2 พระราชประวตั แิ ละพระราชกรณียกิจท่สี าคัญของพระมหากษัตริย์
สมัยสโุ ขทัย

33

2.1 พ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์
2.2 พ่อขุนรามคาแหงมหาราช
2.3 พระมหาธรรมราชาท่ี 1 (พญาลิไท)
เรอื่ งที่ 3 วีรกรรมของบรรพบุรษุ สมัยสโุ ขทยั
พอ่ ขนุ ผาเมอื ง

เวลาท่ีใช้ในการศกึ ษา 10 ชว่ั โมง

ส่ือการเรียนรู้
1. ชุดวิชาประวัตศิ าสตรช์ าตไิ ทย รหัสรายวชิ า สค12024
2. สมดุ บันทึกกจิ กรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา

34

เรอื่ งที่ 1 พระมหากษตั ริยไ์ ทยในสมัยสโุ ขทยั
พระมหากษัตริยไ์ ทยแห่งอาณาจักรสุโขทยั ทุกพระองคเ์ ป็นกษตั รยิ ร์ าชวงศ์

พระรว่ ง มีจานวน 9 พระองค์ ดังนี้

ลาดบั ท่ี พระนาม ปีทข่ี ึ้นครองราชย์ ปีท่สี นิ้ สุดรชั สมัย
1 พอ่ ขุนศรีอินทราทิตย์ พ.ศ. 1792 ไม่ปรากฏ
2 พ่อขนุ บานเมอื ง ไม่ปรากฏ พ.ศ. 1822
3 พ่อขุนรามคาแหงมหาราช พ.ศ. 1822 พ.ศ. 1841
4 พญาเลอไท พ.ศ. 1841 พ.ศ. 1866
5 พญาง่วั นาถม พ.ศ. 1866 พ.ศ. 1890
6 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) พ.ศ. 1890 พ.ศ. 1911
7 พระมหาธรรมราชาท่ี 2 พ.ศ. 1911 พ.ศ. 1942
8 พระมหาธรรมราชาที่ 3 พ.ศ. 1942 พ.ศ. 1962
(พญาไสลือไทย)
9 พระมหาธรรมราชาที่ 4 พ.ศ. 1962 พ.ศ. 1981
(พญาบานเมอื งองค์ที่ 2)

1. พ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์ เป็นผ้กู อ่ ตัง้ ตน้ ราชวงศพ์ ระร่วง ท่ปี ลดแอกอานาจ
จากอาณาจักรขอม และได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยข้ึนในปี พ.ศ. 1792 พ่อขุนศรอี นิ ทราทติ ย์
มีเช้ือสายที่มาอย่างไรไม่เป็นที่ปรากฎชัด ในประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารต่าง ๆ มักกล่าวถึง
แต่เพียงว่าพระองค์เป็นเจ้าเมืองบางยางมาก่อน และเป็นพระสหายกับพ่อขุนผาเมือง
เจ้าเมอื งราด

2. พ่อขุนบานเมือง พระราชกรณียกิจไม่ค่อยปรากฏ ทราบจากการตีความ
ในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ว่าเป็นสมัยรวบรวมเมืองของชาวไทยเข้ามารวมกับสุโขทัย
โดยพระอนุชา คือ พ่อขุนรามคาแหงเป็นกาลังสาคัญ แต่ยังมิได้ขยายอาณาเขตไปยังดินแดนของ
ชนชาติอื่น ช่วงรัชกาลนี้สั้นมาก จึงมิได้ฟื้นฟูทางด้านศาสนา ประชาชนนับถือลัทธิผีสางเทวดา
กบั พุทธศาสนานิกายมหายานแบบขอมท่ีครองเมอื งลพบุรี

35

3. พอ่ ขุนรามคาแหงมหาราช ขนึ้ ครองราชย์ เป็นยุคท่สี โุ ขทยั เจรญิ รงุ่ เรอื งมาก
ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม โดยเฉพาะการประดิษฐ์อักษรไทย
ในปี พ.ศ. 1826 ดัดแปลงมาจากอักษรขอม เป็นการแสวงหาวิธีการท่ีจะทาให้ได้มา
ซึ่งเอกลักษณ์ของชาวไทย เพื่อให้แตกต่างไปจากขอม ซึ่งมีอิทธิพลครอบงาขณะนั้น รวมทั้ง
รูปแบบสถาปัตยกรรม ขนบประเพณี และการปกครอง โดยเฉพาะการขยายพระราชอาณาเขต
ออกไปกว้างขวาง ทรงใช้พระราโชบายในการรวมเมืองต่าง ๆ และใช้รูปแบบการปกครอง
แบบพ่อปกครองลูก แบบกระจายอานาจ และแบบทค่ี ลา้ ยกบั ประชาธปิ ไตย

4. พญาเลอไท เป็นโอรสของพ่อขนุ รามคาแหงท่ีเปน็ อุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย
และส่งไปเปน็ ทตู เพอ่ื เจริญสมั พนั ธไมตรีกับจนี เมือ่ พระองคก์ ลับจากภารกิจทจ่ี ีน ขนึ้ เปน็ กษัตริย์
ตามสิทธ์ิในการสืบทอดตาแหน่ง และเมื่อล่วงมาถึงสมัยนี้ วัฒนธรรมต่าง ๆ ได้เปล่ียนไปมาก
โดยเฉพาะระบบการปกครองแบบใกล้ชิดประชาชน แบบพ่อกับลูกท่ีเคยวางไว้ในสมัย
พอ่ ขนุ รามคาแหง เรม่ิ หยอ่ นยานลง พญาเลอไทจงึ ไม่สามารถสานต่อความรงุ่ เรืองของสุโขทัยได้

5. พญาง่ัวนาถม เป็นโอรสของพ่อขุนบานเมือง ข้ึนครองราชย์ เม่ือปี
พ.ศ. 1882 ได้แต่งตง้ั พญาลไิ ท ซง่ึ เปน็ โอรสของพญาเลอไทไปเป็นอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย
พญางว่ั นาถมไม่มีความสามารถในการปกครองเมือง เนื่องจากเมอื งตา่ ง ๆ ไดถ้ อนตัวออกไปจาก
สุโขทัยเป็นจานวนมาก อานาจทางการเมืองและเศรษฐกิจเสื่อมลงเมื่อพญางั่วนาถมสวรรคต
ใน พ.ศ. 1890

6. พระมหาธรรมราชาท่ี 1 (พญาลิไท) เป็นกษัตริย์ท่ีทรงพระปรีชาสามารถมาก
ทรงมีนโยบายในการรักษาเสถียรภาพบ้านเมืองโดยใช้ศาสนาเป็นส่ือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง
พระพุทธรปู สาคัญขน้ึ 4 องค์ คอื พระพทุ ธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ
และทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง พระองค์เสด็จออกผนวชเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
ในสงคราม พระมหาธรรมราชาที่ 1 ย้ายไปประทับท่ีเมืองสองแคว เพ่ือป้องกันเขตแดนของ
สโุ ขทยั แก่พระเจ้าฟ้างุ้ม พระเจ้าอู่ทอง และย้ายเมืองสองแคว (พิษณุโลก) มาต้ังที่ริมฝ่ังแม่น้าน่าน
เหนือตัวเมืองเดิมขึ้นมาประมาณ 10 กิโลเมตร เพราะชัยภูมิเหมาะสม ประทับอยู่ที่เมืองสองแคว
7 ปี คือ ต้ังแต่ พ.ศ. 1905 ถึง พ.ศ. 1912 และไดส้ วรรคต ณ ทแ่ี หง่ น้นั

7. พระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นโอรสของพญาลิไท ทรงเป็นกษัตริย์ทีใ่ ฝใ่ นการ
ทานบุ ารุงพระพทุ ธศาสนา แตใ่ นช่วงน้ีอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราช
ที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) กษัตริย์อยุธยาในเวลาน้ัน พยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ไว้ในอานาจ
ได้นาทัพมาตีสุโขทัยหลายคร้ัง เร่ิมต้ังแต่ พ.ศ. 1914 จนถึง พ.ศ. 1921 พระมหาธรรมราชาท่ี 2

36

ไม่สามารถต้านทานทัพอยุธยาได้ พระองค์จึงขอยุติศึกโดยยอมอ่อนน้อมต่ออยุธยา และเป็น
รัฐบรรณาการของอยุธยาตั้งแต่ปีนั้น จึงนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของสุโขทัยในช่วงท่ีมี
เอกราชโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 1931 พระมหาธรรมราชาที่ 2 พยายามปลดแอกอานาจจาก
อยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี 1 ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชาท่ี 2 คิดจะแข็งเมือง
จึงนาทัพมาตีแตร่ ะหวา่ งทางพระองค์เกิดล้มปว่ ยและไดส้ วรรคตลง สงครามระหว่างอาณาจักร
สุโขทัยและอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาจึงไม่เกิดข้ึน การปกครองบ้านเมืองสมัยนี้เป็น
ความพยายาม รักษาสถานภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด จนปี พ.ศ. 1943 พระมหาธรรมราชาท่ี 2
ไดส้ วรรคต พญาไสลอื ไทพระราชโอรสขึ้นครองราชยส์ มบัตติ ่อมา

8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (พญาไสลอื ไท) ข้นึ เปน็ กษตั รยิ ส์ โุ ขทัยตอ่ จาก
พระมหาธรรมราชาท่ี 2 ในสมัยของพระองค์ สุโขทัยได้กลายเป็นรัฐกันชนให้ระหว่างอาณาจักร
อยุธยากับล้านนา ซ่ึงต่างฝ่ายต่างพยายามจะขยายอานาจออกไปให้กว้างขวางขึ้น ซ่ึงสุโขทัย
ก็เล่นบทรัฐกันชนได้ดีในช่วงเวลาหน่ึง แต่พระราชกรณียกิจไม่ปรากฎหลักฐานมากนัก แต่ทรง
สนพระทัยทางด้านศาสนา ในปี พ.ศ. 1962 พระองคไ์ ดเ้ สด็จสวรรคต

9. พระมหาธรรมราชาท่ี 4 (พญาบานเมืององคท์ ี่ 2) ทรงเปน็ พระราชโอรส
ของพระมหาธรรมราชาท่ี 3 หรืออีกพระนามหนึ่ง คือ บรมปาล ก่อนขึ้นครองราชย์ได้ทา
สงครามแย่งชิงราชสมบัติกับพญารามคาแหง พระอนุชา กษัตริย์อยุธยาในช่วงเวลานั้นคือ
พระอินทราชา ได้เสด็จยกกองทัพมาที่เมืองพระบาง ทั้งสองพี่น้องเกรงพระบารมี ได้ออกมา
อ่อนน้อมและยินยอมให้พระอินทราชาเข้ามาแทรกแซง ในการไกล่เกลี่ยครั้งน้ัน ได้ทรงอภิเษก
ให้พญาบานเมืองขึ้นเป็นกษัตริย์เน่ืองจากเป็นเชษฐา ปกครองเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นเมืองหลวง
ของอาณาจักรสุโขทัย ส่วนพญารามนั้นให้เป็นอุปราชปกครองเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย
ซ่ึงเป็นเมอื งหลวงรอง

เม่ือระงับการจลาจลเรียบร้อย พระอินทราชาทรงสู่ขอพระราชธิดาของ
พญาไสลือไท ใหอ้ ภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยา โอรสของพระองค์ นับเป็นพระราโชบายในการ
ปกครองหัวเมืองทางเหนือท่ีแยบยลของพระอินทราชา ซึ่งต่อมาภายหลังท่ีพระโอรสประสูติ
เจ้าสามพระยาได้ส่งพระโอรสซ่ึงมีเชื้อสายพระร่วงข้ึนไปครองกรุงสุโขทัย พญาบานเมือง
ปกครองอาณาจักรอยู่ 19 ปี จึงได้สวรรคตลงในปี พ.ศ. 1981 นับเป็นกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
ท่ีปกครองอาณาจักรสโุ ขทยั เปน็ องคส์ ดุ ท้าย
กจิ กรรมทา้ ยเร่ืองท่ี 1 พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยสโุ ขทยั
(ใหผ้ ู้เรียนทากจิ กรรมท้ายเรื่องที่ 1 ในสมุดบนั ทกึ กจิ กรรมการเรียนรู้ประกอบชดุ วชิ า)

37

เร่ืองท่ี 2 พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจท่ีสาคัญของพระมหากษัตริย์สมัยสโุ ขทยั

จากหลักศิลาจารึกสุโขทัย หลักท่ี 2 เป็นท่ีมาของประวัติศาสตร์สุโขทัย

โดยกล่าวว่า ดินแดนสุโขทัยและศรีสัชนาลัยนั้นมีชุมชนต้ังอยู่เป็นหลักแหล่ง เป็นนครรัฐ

มีท่ีตั้งศูนย์อานาจการปกครองท่ีถาวร ศูนย์อานาจการปกครองท่ีเชลียงและสุโขทัย ตั้งอยู่

บรเิ วณใกล้วดั พระพายหลวงเมอื งเกา่ สุโขทัย ส่วนที่ศรีสัชนาลัย น่าจะอยู่บริเวณวัดพระศรีรัตน-

มหาธาตุ (วัดพระปรางค์) ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายคนมีมติว่า มีผู้นากลุ่มมวลชนที่

พูดภาษาไทยที่เป็นผนู้ ากลุ่มชนท่ีสุโขทัยราวพทุ ธศตวรรษที่ 18 เปน็ กษตั ริยท์ มี่ ีอานาจแพร่หลาย

ออกไปจนเป็นทยี่ อมรบั ซึง่ มพี ระมหากษัตรยิ ์ที่มีพระราชกรณยี กิจที่สาคญั ดังนี้

2.1 พ่อขุนศรอี ินทราทิตย์

เป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง เดิมช่ือว่าพ่อขุนบางกลางหาว

เป็นพระสหายสนิทของพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ได้นากลุ่มคนไทยยึดเมืองสุโขทัย

จากขอมสบาดโขลญลาพง (พ.ศ. 1762 – 1781)

พ่อขุนศรอี นิ ทราทิตย์ ทรงจัดการปกครองบา้ นเมือง ดังนี้

1) การจดั การทางสังคมวัฒนธรรม คนสโุ ขทัยยอมรบั ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี

บางอย่างจากอาณาจักรขอม ท้ังลัทธิศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เม่ือเป็น

อาณาจักรแล้ว รบั ลทั ธศิ าสนาพุทธหนิ ยาน และพระพทุ ธสิหงิ คม์ าแผ่ขยายให้ท่วั ราชอาณาจักร

2) การแผอ่ าณาเขต และการสร้างบ้านแปลงเมอื ง

นับตั้งแต่เร่ิมอาณาจักรใหม่ของสุโขทัย ตามหลักศิลาจารึก หลักท่ี 1 กล่าวไว้ว่า

มีการรบราแย่งชิงผู้คน และอานาจกัน ในสมัยน้ัน มีการขยายอาณาเขตโดยรวมเมืองต่าง ๆ

มาเข้ากับเมอื งสโุ ขทัย ในสมยั ขนุ สามชน เจ้าเมืองฉอด ชนชาวไทยกลุ่มหนึ่งยกทัพมาตีเมืองตาก

ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัย พ่อขุนรามคาแหงพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทา

ยุทธหัตถีจนรบชนะ โดยมีหลักฐานน่าเช่ือถือว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเริ่มสร้างกาแพงเมือง

สุโขทัย ริมแม่น้าลาพัน ปัจจุบันคือ ตาบลเมืองเก่า อาเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจาก

ลานา้ ยม 12 กโิ ลเมตร

อาณาจกั รสโุ ขทยั

ทศิ เหนอื จรดเมืองแพร่

ทศิ ใต้ จรดเมืองนครสวรรค์

ทิศตะวันตก จรดเมืองตาก

ทศิ ตะวันออก จรดเมอื งเพชรบรู ณ์

38

2.2 พอ่ ขนุ รามคาแหงมหาราช
พอ่ ขนุ รามคาแหงมหาราช เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระนาม
เดิมว่า ขุนรามราช เม่ือมีพระชนมายุได้ 19 ปี ได้ช่วยพระราชบิดาออกสู้รบในการสงคราม
กับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด จนรบชนะ จึงได้พระนามว่า “พระรามคาแหง” เสด็จข้ึน
ครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์พระร่วง ในปี พ.ศ. 1822 ในรัชสมัยของพระองค์
บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง จนประชาชนได้รับความสุขที่เรียกว่า
“ไพร่ฟา้ หนา้ ใส”
ในสมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราช มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก (ราชาธิปไตย)
พระองค์ใช้พระราชอานาจด้วยความเป็นธรรม และให้เสรีภาพแก่ประชาชน แต่ก็ทรงสอดส่อง
ความเป็นอยู่ของราษฎร ใครทุกข์ร้อนก็สามารถร้องทุกข์ได้ โดยได้โปรดให้แขวนกระด่ิงไว้ท่ี
ประตูพระราชวัง ดงั หลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ท่ีว่า “…ในปากประตูมีกระดิ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้า
หนา้ ปก กลางบ้านกลางเมือง มีถอ้ ยมีความ เจ็บท้องขอ้ งใจ มักจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่น
กระด่ิงอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคาแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเม่ือถาม สวนความแก่มันด้วยซ่ือ
ไพร่ในเมอื งสุโขทัยน้ีจงึ ชม”

พระราชกรณยี กจิ ดา้ นการเมอื งการปกครอง
1. ทรงทาสงครามขยายอาณาเขตออกไปอยา่ งกว้างขวาง
ทศิ เหนือ อาณาเขตถงึ เมอื งหลวงพระบาง เมืองแพร่ เมืองนา่ น เมืองปัว
ทศิ ใต้ อาณาเขตถงึ ฝัง่ ทะเลสดุ เขตมลายู โดยมเี มืองต่าง ๆ คอื

เมืองคณฑี เมอื งพระบาง เมอื งแพรก เมืองสพุ รรณบรุ ี (อทู่ อง)
เมอื งราชบุรี เมืองเพชรบรุ ี และเมืองนครศรธี รรมราช
ทศิ ตะวันออก อาณาเขตถึงเมอื งเวยี งจันทน์ และเมอื งเวยี งคา
ทิศตะวันตก อาณาเขตถึงเมืองฉอด และเมืองหงสาวดี
2. ทรงโปรดให้สร้างพระแท่นศิลาขึ้น เรียกว่า “พระแท่นมนังศิลาบาตร” ตั้งไว้
กลางดงตาล เพ่ือให้พระภิกษุสงฆ์แสดงธรรมในวันธรรมสวนะ และทรงใช้ประทับว่าราชการ
และอบรมส่งั สอนประชาราษฎร์ในวันธรรมดา
พระแท่นท่ีถูกท้ิงร้างอยู่หลายร้อยปี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้า
เจา้ อยู่หวั เมื่อวันท่ี 17 มกราคม ปี พ.ศ. 2376 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวช
ได้เสด็จธุดงค์ไปนมัสการเจดีย์สถานต่าง ๆ แล้วตรัสส่ังให้ชะลอพระแท่นมนังศิลาบาตรไปก่อ

39

เปน็ แท่นไวท้ ่ีวัดราชาธริ าช ซ่งึ ต่อมาพระองค์ทรงลาผนวช จึงโปรดใหช้ ะลอไปไว้ท่ีวัดพระศรีรัตน
ศาสดารามในปัจจุบัน

3. ทรงโปรดให้สร้างทานบกักเก็บน้าที่เรียกว่า “สรีดภงส์” โดยก่อสร้างทานบ
เพื่อเก็บกักน้า โดยมีลารางระบายน้าส่งเข้าตัวเมือง เพ่ือเก็บกักน้าไว้ในสระน้าใหญ่และเล็ก
หลายสระ โดยเฉพาะสระน้าตามวัดวาอารามต่าง ๆ ซง่ึ มสี ระใหญ่หรอื ตระพงั แทบทุกวดั

4. ทรงสง่ เสริมการค้าขายดว้ ยการไม่เก็บภาษี ที่เรียกว่า “จกอบ” (อ่านว่า จัก –
กอบ) จากหลกั ศิลาจารกึ หลกั ท่ี 1 ท่ีวา่ "..เมื่อชั่วพ่อขุนรามคาแหง เมืองสุโขทัยน้ีดี ในน้ามีปลา
ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ ลูท่างเพ่ือนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง
ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทอง ค้า…" จากข้อความน้ีแสดงถึงความอุดม
สมบูรณข์ องอาณาจกั รสโุ ขทัยในด้านการเกษตร ด้านการค้า

5. ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เรียกว่า “ลายสือไทย” ทรงประดิษฐ์อักษรไทยไว้ใน
ศิลาจารึก เมื่อปี พ.ศ. 1826 ซ่ึงแต่ก่อนน้ัน ชนชาติไทยเอาแบบของอักษรคฤณภ์ของอินเดีย
มาใช้ ต่อมาได้รับอิทธิพลมาจากอักษรมอญและขอม จึงประดิษฐ์ลายสือไทยข้ึน เพ่ือกาจัด
อิทธิพลวฒั นธรรมของขอม และสร้างสรรค์ลกั ษณะเอกลักษณ์ความเป็นภาษาไทยให้โดดเด่นข้นึ

6. ทรงเลื่อมใสและส่งเสริมพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ และ
ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์เป็นศาสนาประจาบ้านเมือง ทรงโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์
ลังกาวงศ์ท่ีรอบรู้พระไตรปิฏกมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ต้ังเป็นสังฆราช เพ่ือส่ังสอนความรู้
ทางธรรมแก่ประชาชนสุโขทัย ดังจารึกที่ว่า “คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน
พ่อขุนรามคาแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ท้ังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน
ทัง้ หลาย ท้งั ผ้ชู ายผหู้ ญิง ฝูงทว่ ยมศี รัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศลี เมื่อพรรษาทุกคน เม่ือออก
พรรษากรานกฐิน เดือนหน่ึงจึงแล้ว เม่ือกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้
มหี มอนนั่งหมอนนอน บรพิ ารกฐิน โอยทานแล่ปี แล้ญิบลา้ นไปสูดญัติกฐิน เถงิ อรัญญิกพูน้ ...”

7. ทรงโปรดให้จารึกเรื่องราวที่เกิดข้ึนในสมัยของพระองค์ในศิลาจารึกสุโขทัย
หลักที่ 1 ระบถุ ึงอาณาเขตของบ้านเมือง ไดแ้ ก่ “...มีเมืองกวา้ งช้างหลาย ปราบเบ้ืองตะวันออก
รอดสรลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝ่ังของเถิงเวียงจันทน์ เวียงคาเป็นที่แล้วเบ้ืองหัวนอน
รอดคนทีพระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝ่ังทะเลเป็นที่แล้วเบ้ือง
ตะวนั ตกรอดเมอื งฉอด เมอื งหงสาวดี สมุทรหาเป็น แดนเบ้ืองตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองมาน
เมืองนา่ น เมอื งพลวั พ้นฝง่ั ของเมืองชวา...”

40

8. ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศในด้านการเมือง ศาสนา และการค้า
ดังน้ี

ลังกา มีความสัมพันธ์ในเร่ืองศาสนา โดยรับเอาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
แบบลังกาวงศ์มาถือปฏิบัติ หลังจากได้ส่งทูตไปพร้อมกับทูตของนครศรีธรรมราช เพ่ือขอ
พระศรหี ลปฏมิ าหรอื พระพทุ ธสหิ งิ คจ์ ากลงั กามาสักการะบชู าท่กี รงุ สุโขทัย

มอญ ในสมัยพ่อขุนรามคาแหงน้ี มีพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) กษัตริย์มอญได้เข้า
มาสวามิภกั ด์ิ และยอมเป็นประเทศราช

จีน ในสมัยพ่อขุนรามคาแห่งมหาราชนั้น ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้ากุบไลข่าน
หรอื หงวนสีโจว๊ ฮ่องเต้ ไดส้ ่งทตู ไปจนี เพ่อื เจรญิ สมั พันธไมตรกี ับจีน ถงึ 2 ครั้ง และได้ทาถ้วยชาม
ที่เรียกว่า “เครื่องสังคโลก” จาหน่ายในสุโขทัย โดยตั้งเตาทาท่ีเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย
เตาที่ทาเครื่องสังคโลก เรียกว่า “เตาทุเรียง” นับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมท่ีสาคัญในสมัยกรุง
สุโขทัย และสินค้าที่ซื้อมาขายจากจีน ได้แก่ ผ้าไหมแพรพรรณ เครื่องถ้วยชาม นอกจากนี้ยังมี
การหลอ่ ปั้นพระพทุ ธรูป เทวรูป การทาเคร่ืองทอง เครื่องเงิน เปน็ ตน้

2.3 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)
เป็นพระโอรสของพญาเลอไทย ในสมัยพญางั่วนาถม ได้ข้ึนครองราชย์ เมื่อปี
พ.ศ. 1882 ได้แตง่ ตง้ั พญาลไิ ทไปปกครองเมืองศรสี ชั นาลยั ซ่ึงเป็นเมืองอุปราช ในปี พ.ศ. 1890
เกิดการจลาจลสู้รบแย่งชิงราชสมบัติ พญาลิไทยกทัพจากเมืองศรีสัชนาลัยมายังเมืองสุโขทัย
ปราบดาภเิ ษกข้นึ เป็นกษัตริยท์ รงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์นับเป็นกษัตริย์ที่
มีพระปรีชาสามารถอย่างมากเช่นเดียวกับพ่อขุนรามคาแหง พระอัยกา แต่เหตุการณ์บ้านเมือง
ไม่เปิดโอกาสให้พระองค์สามารถจะขยับขยายอานาจให้อาณาจักรสุโขทัยกลับมาแผ่ไพศาล
ดังเช่นสมัยของพระอัยกาได้อีก พระองค์จึงเลือกสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนา
นิกายเถรวาท ลทั ธิลังกาวงศ์ แบบนครพัน (ใกลเ้ มอื งเมาะตะมะ) ไปยังดินแดนต่าง ๆ

พระราชกรณียกิจทสี่ าคญั มดี งั น้ี
1. ขยายอาณาเขต ทรงขยายอาณาเขตออกไปเกือบถึงคร่ึงหน่ึง
ของสมยั พ่อขุนรามคาแหงไว้ ดังนี้
ทศิ เหนอื อาณาเขตถึง เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองปัว เมอื งหลวงพระบาง
ทิศใต้ อาณาเขตถึง เมอื งชากังราว เมอื งนครชมุ เมืองบางพาน

เมืองพระบาง และเมืองปากยม

41

ทิศตะวนั ออก อาณาเขตถงึ เมอื งราด เมืองสรวงสองแคว เมืองลุมบาจาย
และเมอื งสะค้า

ทศิ ตะวันตก อาณาเขตถึง เมอื งเชียงทอง
2. การปกครอง ทรงนาหลักทศพิธราชธรรมมาเป็นหลกั ในการปกครองประชาชน
การเรยี กพระนามของกษตั ริย์สุโขทยั จึงเปล่ียนเป็นมหาธรรมราชา
3. การทานุบารงุ ศาสนา ทรงออกผนวช 1 พรรษา ระหวา่ งครองราชยแ์ ละ
อาราธนาพระสังฆราชจากเมืองนครพันของมอญมาเป็นอุปัชฌาย์ ทรงส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่
ในล้านนา ล้านช้าง น่าน อยุธยา และทรงสร้างพระพุทธรูปทองคาหนักท่ีสุดในโลก ปัจจุบันอยู่
วดั ไตรมติ รวทิ ยาราม
4. การสร้างวรรณกรรม ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี
ไดพ้ ระราชนิพนธเ์ รื่องไตรภมู พิ ระร่วง ใน พ.ศ. 1888 เป็นวรรณกรรมเล่มแรกของไทย
5. ส่งเสริมเศรษฐกิจ ทรงให้สร้างทานบกั้นน้า ต้ังแต่เมืองพิษณุโลกถึง
เมืองสโุ ขทัย เพ่ือนาน้าไปใชใ้ นการเพาะปลกู
6. การปรับปรงุ การเขียนหนังสอื ไทย ทรงปรบั ปรุงการเขียนสระจากทว่ี างสระ
ไว้แนวเดยี วกับพยญั ชนะตามแบบพ่อขุนรามคาแหงมหาราช มาเป็นวางสระไว้ข้างหน้า ข้างหลัง
ขา้ งบน และขา้ งลา่ งพยญั ชนะ ลักษณะเดียวกับที่ใชอ้ ยูใ่ นปจั จุบนั

กจิ กรรมทา้ ยเรอ่ื งที่ 2 พระราชประวัตแิ ละพระราชกรณียกจิ ทีส่ าคัญของพระมหากษัตรยิ ์
สมัยสุโขทัย

(ให้ผู้เรียนทากจิ กรรมทา้ ยเร่อื งท่ี 2 ในสมุดบันทึกกจิ กรรมการเรยี นรู้ประกอบชดุ วิชา)


Click to View FlipBook Version