The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by viewjiranan11, 2022-07-14 13:11:32

B6DE8CC4-26EF-4985-82B9-C8E801DB4D23

B6DE8CC4-26EF-4985-82B9-C8E801DB4D23

บุคคลสำคัญ




สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์

พระนามเดิม จุ้ย

หนังสือ E-Book เล่มนี้เป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชา ศ32101
โ ร ง เ รีย น สิ ริน ธ ร ร า ช วิท ย า ลั ย



คำนำ

E-Book เล่มนี้จักทำขึนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ศ32101
เพื่ อให้ได้ศึกษาความรู้เรื่ องประวัติของบุคคลสำคัญต่อวงการนาฏศิลป์ ไทย
และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่ อเป็ นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า E-Book เล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน
ที่กำลังค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องนี้ หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อผิดพลาดประการใด
ผู้จัดทำขอน้ อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้

นางสาวจีรนันท์ สังขประเสริฐ
14 กรกฎาคม 2565

สารบัญ ข

เรื่อง หน้า

คำนำ ก
สารบัญ ข
ข้อมูลส่วนตัว 1
ครอบครัว 2
ประวัติ 3-4
พระอิสริยยศ 5
ศิลปินผู้ถ่ายทอดท่ารำ 5

1

ข้อมูลส่วนตัว

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์



ราชวงศ์ จักรี

พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพ
ระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระราชมารดา สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

พระร
าชสมภพ 29 มีนาคม พ.ศ
. 23
16
สวรรคต
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 (44 พรรษา)

2

ครอบครัว

พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระมารดา
คู่สมรส สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
บุตร
เจ้าจอมมารดาสำลี ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
หลาน
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช,
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกสร,
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวร,
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ,
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์,
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุด, เพิ่มเติม

พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา, หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
จุฬาโลกมหาราช

3

ประวัติ

สมเด็จเจ้าฟ้าจุ้ย ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนเสนานุรักษ์ใน พ.ศ.2335
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุร
สิงหนาทสวรรคตในปี พ.ศ.2350 และสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขเสด็จ
ทิวงคตแล้ว เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระเชษฐาของพระองค์ได้อุปราชาพิเษก
เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จเจ้าฟ้าจุ้ยได้รับแต่งตั้งเป็น พระบัณฑูรน้อย
ช่วยราชการพระเชษฐา

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตในปี
พ.ศ. 2352 กรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้รับราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระบรม
ราชาธิราชรามาธิบดี (ภายหลังได้รับเฉลิมพระนามเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัย) จึงโปรดเกล้าฯ ให้อุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์เป็นกรมพระราชวัง
บวรสถานมงคล ตำแหน่งพระมหาอุปราชสืบแทนในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2352 ไป
ประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทน
พระบรมเชษฐาหลายประการ อาทิ ทรงจะตรวจข้อราชการจากเสนาบดีกรม กองต่างๆก็
ที่จะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ พระที่นั่งอม
รินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมานก่อนทุกครั้ง

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนารักษ์เป็นแม่ทัพหลวงไปรบกับพม่า และ
จัดการกับหัวเมืองทางใต้ เมื่อ พ.ศ.2352 ต่อมาใน พ.ศ.2357 ทรงเป็นแม่กองตั้ง
เมืองใหม่ เป็นเมืองด่านหน้าทางทะเล พระราชทานชื่อว่า นครเขื่อนขันธ์ นอกจากนั้น
ยังคงปฏิสันขรณ์วัดเก่าสองวัด คือ วัดลิงขบ พระราชทานชื่อว่าวัดบวรมงคล เเละวัด
เสาประโคน พระราชทานชื่อว่าวัดดุสิตาราม และทรงสร้างวัดใหม่ชื่อว่าวัด ทรงธรรม

4

ประวัติ

กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงอภิเษกกับพระราชธิดาในสมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 ขณะพระ
ชนมายุ 44 พรรษา ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศร์ ในหมู่พระวิมาน พระราชวัง
บวรสถานมงคล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อมพระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพประดิษฐานพระบรมศพ
ไว้ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนาม
หลวง ในวันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2361 หลังจากงานพระบรมศพแล้ว
พระบรมอัฐิถูกอัญเชิญไปประดิษฐานพระบุษบกทรงปราสาทเคียงข้างพระบรม
อัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศและถูก
อัญเชิญมาประดิษฐานอีกครั้งที่หอพระนาคในพระบรมมหาราชวัง และพระบรม
อัฐิบางส่วนถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่ท้ายจระนำวัดชนะสงคราม หลังจากนั้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นกรม
พระราชวังบวรสถานมงคลอีกเลยตลอดรัชกาล ตำแหน่งวังหน้าจึงว่างลงนับ
แต่บัดนั้น

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระนามใหม่ว่ากรม
พระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามจาก “กรมพระราชวังบวร” เป็น “สมเด็จ
พระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์”

5

พระอิสริยยศ

จุ้ย
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์

ศิลปินผู้ถ่ายทอดท่ารำยุคนี้

จุ้ย (หนุมาน) อดีตละครในสมัยสมเด็จกรม
พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ
ปุก (แกนหลง) ต่อมาถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๓
ภู่ (อิเหนา) ภายหลังเป็นถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดาใน
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
มี (บุษบา) ภายหลังเป็นถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดาใน
สมเด็จพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
พลับ (จินตะหรา) ภายหลังเป็นถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดาใน
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์


Click to View FlipBook Version