The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น
สกร.อำเภอยี่งอ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by lahanyingo123, 2024-01-22 00:19:57

ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น สกร.อำเภอยี่งอ

ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น
สกร.อำเภอยี่งอ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น สกร.อำเภอยี่งอ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอยี่งอ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนราธิวาส


ภูมิปัญญาท้องถิ่น สานตะกร้า ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอยี่งอ ชื่อ – สกุล นางเจ๊ะซง เจ๊ะอูมา สถานที่ตั้ง/ที่อยู่ 78 หมู่ที่ 6 ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เบอร์โทรศัพท์ 084-8585011 ภูมิปัญญาท้องถิ่น สานตะกร้า เป็นหัตถกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ โดย เฉพาะงานจักสานหวาย หรือเครื่องจักสานไม้ไผ่ ซึ่งเป็นงานจักสานที่ทำกันแพร่หลายนั้น เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของ คนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย งานจักสานเป็นหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมไทยแทบทุกเพศทุกวัย แม้ เมื่อพ้นจาก วัยเด็กแล้ว การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวชนบทก็เกี่ยวข้องอยู่กับงานจักสานอย่างหลีกไม่พ้น เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่เป็นงานจักสานหรือเครื่องจักสานแทบทั้งสิ้นตั้งแต่ภาชนะ เครื่องใช้ในครัวเรือน ประเภทกระบุง ตะกร้า เครื่องปูนั่งรองนอน จนถึงเครื่องมือจับและขังสัตว์น้ำ เช่น ลอบ ไซ อีจู้ ตะข้อง กระชังก็ล้วนแต่เป็นงานจักสานทั้งสิ้น งานจักสาน ก็เช่นเดียวกับหัตถกรรมประเภทอื่น ๆ ของมนุษย์ที่ ได้รับการพัฒนาสืบต่อกันเรื่อยมาและ การพัฒนานั้นจะเป็นไปเพื่อให้สามารถใช้สอยให้ได้ดีที่สุดก่อนแล้วจึงพัฒนา ด้านความงาม ดังนั้น ประโยชน์ ในการใช้สอย จึงเป็นจุดประสงค์สำคัญในการสร้างหัตถกรรมพื้นบ้าน รวมทั้งงาน จักสานด้วย งานจักสานพื้นบ้านอาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้สอยได้ดังนี้งานจักสานที่ทำ เพื่อใช้เป็นภาชนะเครื่องใช้ในครัวเรือน งานจักสานที่ใช้เป็นเครื่องดักและจับสัตว์งานจักสานที่เกี่ยวเนื่องกับ ความ เชื่อขนบประเพณีและวัฒนธรรม การทำงานจักสานของไทยในอดีตนั้น ทำเพื่อใช้สอยในครัวเรือนก่อน ต่อเมื่อ เหลือใช้แล้ว จึงนำไปแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้ได้ปัจจัยในการดำรงชีพชนิดอื่นที่ตนไม่สามารถผลิตได้ นอกจากงานจัก สานที่ทำขึ้นใช้สอยในครัวเรือน และใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพแล้วยังมีงานจักสาน อีกประเภทหนึ่งที่มี ความเกี่ยวเนื่องกับขนบประเพณีความเชื่อและศาสนา งานจักสานประเภทนี้ มักมีความ ประณีตงดงามเป็นพิเศษ - 2- ความหมาย เครื่องจักสาน คำว่า “จัก” หมายถึง การนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือ ริ้ว ถือเป็นขั้นตอน


ในการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสาน ขั้นแรก ส่วนการ “สาน” นั้นถือเป็นกระบวนการทางความคิด สร้างสรรค์ของมนุษย์ คือ นำเอาวัสดุที่เตรียมแล้วมาสานประดิษฐ์ให้เป็นรูปร่างและลวดลายต่าง ๆ ขั้นตอน ที่ สำคัญอีกขั้นหนึ่งคือ การถัก ซึ่งเป็นกระบวนการประกอบที่ทำให้เครื่องจักสานสมบูรณ์ การถักจะใช้วัสดุ ที่เป็นเส้น อ่อน แต่มีความยาวพอสมควร ถักยึดโครงสร้างภายนอกให้ติดกับผนังของเครื่องจักสาน เช่น ถักขอบ ภาชนะจัก สาน ของไม้ไผ่ ถักหูภาชนะ โดยมากจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอก เครื่องจักสาน เป็นงาน ศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยที่มีมาช้านานและผลิตกันทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น หวาย ไม้ไผ่ ย่านลิเพา กระจูด กก เมื่อนำมา ผลิตเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยสนองความต้องการประโยชน์ใช้สอยพื้นฐานเป็นสำคัญ เครื่องจักสาน จึงเป็นสิ่งที่มี ความจำเป็นและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชีวิตของคนไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่มีการสร้างสรรค์และสืบทอดต่อเนื่องกันมาแต่อดีต นับตั้งแต่การออกแบบลวดลาย รูปทรง โครงสร้าง ตลอดจน การเลือกใช้วัสดุพื้นบ้านได้อย่างเหมาะสมตามคตินิยมท้องถิ่นนั้น ๆ ทำให้เครื่องจักสาน พื้นบ้านของไทยมี เอกลักษณ์เฉพาะงานแตกต่างกันไป ประวัติความเป็นมาของเครื่องจักสาน เครื่องจักสาน ทำจากวัสดุที่เปื่อยสลาย และผุพังได้ง่าย จึงไม่สามารถกำหนดอายุได้แน่นอน แม้หลักฐานที่หลงเหลืออยู่จะพบน้อยกว่าเครื่องปั้นดินเผาแต่ ก็มีการทำเครื่องจักสานมาตั้งแต่ยุคก่อน ประวัติศาสตร์ โดยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่อง คือ ได้พบ เครื่องปั้นดินเผาสมัยใหม่ ลักษณะรูปทรง คล้ายเครื่องจักสานรูปสี่เหลี่ยมปากรูปกลม ลวดลายด้านข้างมีลักษณะ คล้ายคลึงกับลวดลาย เครื่องจักสาน ทำขึ้นด้วยวิธียาดินเหนียวภายในภาชนะเครื่องจักสานให้หนาพอแล้วนำไปเผา เมื่อเผาเสร็จแล้วภาชนะจักสาน จะถูกเผาไหม้หายไปเหลือแต่ภาชนะดินเผาที่มีลวดลายจักสานปรากฏอยู่ที่พื้นผิว การค้นคว้าลายจักสาน ของไทยนั้นยากที่จะสืบย้อนไปได้แต่เท่าที่ปรากฏหลักฐานตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่ามี การนำเครื่องจักสาน เป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำสานขัดกันอย่างง่ายๆ แล้วทาด้วยชัน เพื่อไม่ให้น้ำรั่ว เรียกว่า กระออมครุหรือครุ ซึ่งกล่าวกันมาว่าใช้สำหรับส่งน้ำให้พวกขอม ซึ่งปกครองไทยอยู่ในสมัยเมื่อประมาณ 700 กว่า ปีมาแล้ว หลักฐานอื่นที่แสดงวิวัฒนาการการใช้เครื่องจักสานศึกษาได้จากจิตรกรรมฝาผนัง ณ วิหารลายคำ วัด พระสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ จิตรกรรมฝาผนังวัดตะคุ (พระธาตุ) อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น เครื่อง จักสาน พื้นฐานของไทยส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบในการจักสาน นอกนั้นยังมีวัสดุอื่น ๆ ตามท้องถิ่นแต่ละภาค ของไทย เช่น กก หวาย ใบลาน คล้า คลุ้ม กระจูด แหย่ง เตย ลำเจียก ย่านลิเพา ใบมะพร้าว เป็นต้น วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดลวดลายและรูปทรงของเครื่องจักสานที่มีลักษณะเฉพาะตามเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ อีกด้วย


ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลูกหยีบูโด “ลูกหยีบูโด” จากผลไม้อัตลักษณ์ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่อาชีพที่ยั่งยืน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอยี่งอ ชื่อ – สกุล นางอรุณี ยะโย สถานที่ตั้ง/ที่อยู่.1/1 หมู่ที่ 6 ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เบอร์โทรศัพท์ 080-8671063 ที่มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น นางอรุณี ยะโย ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนากอ กล่าวถึงแนวคิด การจัดตั้งกลุ่มว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพารา และรับจ้างทั่วไป แต่ในช่วงปี 2555 ประสบปัญหา ราคาผลผลิตตกต่ำ มีรายได้ไม่เพียงพอเลี้ยงดูครอบครัว จึงคิดหารายได้เสริมด้วยการรวมกลุ่มกันแปรรูปผลไม้ใน ท้องถิ่น เช่น ลองกอง ทุเรียน มังคุด รวมทั้งลูกหยี ซึ่งเป็นไม้ผลที่มีปลูกในชุมชนมาช้านาน จากนั้นก็ได้รับการ สนับสนุนถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแปรรูปผลผลิตจากกรมส่งเสริมการเกษตร ทำให้ทางกลุ่มได้มุ่งมั่นพัฒนา ผลิตภัณฑ์ลูกหยี จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เด่นช่วยสร้างรายได้ให้กับสมาชิก และเครือข่ายในพื้นที่เป็นกอบเป็นกำ จนเกิดเป็นกลุ่มแม่บ้านชายแดนใต้ที่มีความมั่นคงยั่งยืน และได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย เช่น อย.ควอลิตี้ อวอร์ด กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัดและระดับเขต รางวัลรองชนะเลิศกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่น ระดับประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ่านการรับรองมาตรฐานฮาลาล (03401/2561) และมาตรฐานสินค้าโอท็ อป ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 20 คน มีเงินทุนเวียนประมาณ 600,000 บาท นอกจากนี้ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนากอ ยังมีแนวคิดในการอนุรักษ์ต้นหยี ด้วยการนำเมล็ดลูกหยีที่ เหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปมาเพาะปลูกในพื้นที่ของหมู่บ้าน เพื่อให้ต้นหยียังคงอยู่ในหมู่บ้านและสร้างรายได้ ต่อไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการปลูกต้นหยีและเป็นการประชาสัมพันธ์ต้น หยีให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นตามคำขวัญของชุมชนที่ว่า “รักบ้านเกิดเที่ยวบ้านเกิด เที่ยวชุมชนธรรมชาติฝายโต๊ะแก


ต้นหยี 100 ปี ไม้ถิ่นแห่งเทือกเขาบูโด” และ “กินผลไม้ 100 ปี กินลูกหยีบูโด” รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงเกษตรฝายโต๊ะแก ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอ ดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนากอ มีหลายชนิด ทั้งลูกหยีกวนไร้เมล็ด ลูกหยีกวน น้ำผึ้งไร้เมล็ด ลูกหยีคลุกน้ำตาล น้ำลูกหยี ลูกหยีแกะเปลือก ลูกหยีไม่แกะเปลือก กล้วยอบน้ำผึ้งพลังงาน แสงอาทิตย์ ส้มแขกตากแห้ง น้ำผึ้งแท้เขาบูโด กล้วยฉาบ กล้วยกวน ทุเรียนกวน และ มังคุดกวน รวมทั้งทางกลุ่ม ยังรับจัดกระเช้าของขวัญจากผลิตภัณฑ์ลูกหยี เพื่อเป็นของขวัญของฝาก ลักษณะเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น. ที่ว่า “รักบ้านเกิดเที่ยวบ้านเกิด เที่ยวชุมชนธรรมชาติฝายโต๊ะแก ต้นหยี 100 ปี ไม้ถิ่นแห่งเทือกเขาบูโด” และ “กินผลไม้ 100 ปี กินลูกหยีบูโด”


ภูมิปัญญาท้องถิ่น สานตะกร้าหวาย ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอยี่งอ ชื่อ – สกุล นายดุลรอแม เหะลี สถานที่ตั้ง/ที่อยู่ 78 หมู่ที่ 6 ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เบอร์โทรศัพท์ 084-8585011 ภูมิปัญญาท้องถิ่น สานตะกร้าหวาย เป็นหัตถกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ โดย เฉพาะงานจักสานหวาย หรือเครื่องจักสานไม้ไผ่ ซึ่งเป็นงานจักสานที่ทำกันแพร่หลายนั้น เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของ คนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย งานจักสานเป็นหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมไทยแทบทุกเพศทุกวัย แม้ เมื่อพ้นจาก วัยเด็กแล้ว การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวชนบทก็เกี่ยวข้องอยู่กับงานจักสานอย่างหลีกไม่พ้น เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตส่วนใหญ่เป็นงานจักสานหรือเครื่องจักสานแทบทั้งสิ้นตั้งแต่ภาชนะ เครื่องใช้ในครัวเรือน ประเภทกระบุง ตะกร้า เครื่องปูนั่งรองนอน จนถึงเครื่องมือจับและขังสัตว์น้ำ เช่น ลอบ ไซ อีจู้ ตะข้อง กระชังก็ล้วนแต่เป็นงานจักสานทั้งสิ้น งานจักสาน ก็เช่นเดียวกับหัตถกรรมประเภทอื่น ๆ ของมนุษย์ที่ ได้รับการพัฒนาสืบต่อกันเรื่อยมาและ การพัฒนานั้นจะเป็นไปเพื่อให้สามารถใช้สอยให้ได้ดีที่สุดก่อนแล้วจึงพัฒนา ด้านความงาม ดังนั้น ประโยชน์ในการใช้สอย จึงเป็นจุดประสงค์สำคัญในการสร้างหัตถกรรมพื้นบ้าน รวมทั้งงาน จักสานด้วย งานจักสานพื้นบ้านอาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้สอยได้ดังนี้งานจักสานที่ทำ เพื่อใช้เป็นภาชนะเครื่องใช้ในครัวเรือน งานจักสานที่ใช้เป็นเครื่องดักและจับสัตว์งานจักสานที่เกี่ยวเนื่องกับ ความ เชื่อขนบประเพณีและวัฒนธรรม การทำงานจักสานของไทยในอดีตนั้น ทำเพื่อใช้สอยในครัวเรือนก่อน ต่อเมื่อ เหลือใช้แล้ว จึงนำไปแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้ได้ปัจจัยในการดำรงชีพชนิดอื่นที่ตนไม่สามารถผลิตได้นอกจากงานจัก


สานที่ทำขึ้นใช้สอยในครัวเรือน และใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพแล้วยังมีงานจักสาน อีกประเภทหนึ่งที่มี ความเกี่ยวเนื่องกับขนบประเพณีความเชื่อและศาสนา งานจักสานประเภทนี้ มักมีความ ประณีตงดงามเป็นพิเศษ - 2- ความหมาย เครื่องจักสาน คำว่า “จัก” หมายถึง การนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือ ริ้ว ถือเป็นขั้นตอน ในการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสาน ขั้นแรก ส่วนการ “สาน” นั้นถือเป็นกระบวนการทางความคิด สร้างสรรค์ ของมนุษย์ คือ นำเอาวัสดุที่เตรียมแล้วมาสานประดิษฐ์ให้เป็นรูปร่างและลวดลายต่าง ๆ ขั้นตอน ที่สำคัญอีกขั้น หนึ่งคือ การถัก ซึ่งเป็นกระบวนการประกอบที่ทำให้เครื่องจักสานสมบูรณ์ การถักจะใช้วัสดุ ที่เป็นเส้นอ่อน แต่มี ความยาวพอสมควร ถักยึดโครงสร้างภายนอกให้ติดกับผนังของเครื่องจักสาน เช่น ถักขอบ ภาชนะจักสาน ของไม้ ไผ่ ถักหูภาชนะ โดยมากจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอก เครื่องจักสาน เป็นงาน ศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยที่มีมาช้านานและผลิตกันทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น หวาย ไม้ไผ่ ย่านลิเพา กระจูด กก เมื่อนำมา ผลิตเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยสนองความต้องการประโยชน์ใช้สอยพื้นฐานเป็นสำคัญ เครื่องจักสาน จึงเป็นสิ่งที่มี ความจำเป็นและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชีวิตของคนไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่มีการสร้างสรรค์และสืบทอดต่อเนื่องกันมาแต่อดีต นับตั้งแต่การออกแบบลวดลาย รูปทรง โครงสร้าง ตลอดจน การเลือกใช้วัสดุพื้นบ้านได้อย่างเหมาะสมตามคตินิยมท้องถิ่นนั้น ๆ ทำให้เครื่องจักสาน พื้นบ้านของไทยมี เอกลักษณ์เฉพาะงานแตกต่างกันไป


ภูมิปัญญาท้องถิ่นทำผ้าบาติก ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอยี่งอ ชื่อ – สกุล นางสาวกิติมา มะสูละ สถานที่ตั้ง/ที่อยู่ 70/4 หมู่ที่ 5 ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เบอร์โทรศัพท์ 089-9756443 ความเป็นมา ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำผ้าบาติก โดยประชากรทั้งหมดในหมู่บ้าน นับถือศาสนาอิสลาม 100 % วิถีชีวิต ของคนในหมู่บ้านทำเกษตรกร เช่น กรีดยาง ทำนา เลี้ยงผักสวนครัว โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ เพื่อให้พัฒนาและการบริหารจัดการดำเนิน ไปในทางสายกลาง โดยยึดหลักความพอเพียง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมี ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อป้องกันผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ต้อง อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติปัญญา มีจิตสำนึกในคุณธรรม มี ความซื่อสัตย์สุจริต สามารถใช้ชีวิตอย่างพอเพียงและยั่งยืนได้อย่างมีความสุข ทุกคนในชุมชนบ้านกูยิร่วมด้วย ช่วยกันในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำร่วมกันในหมู่บ้าน จึงมีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มอาชีพบ้านกูยิเกิดขึ้น โดยมีการบริหาร จัดการกลุ่มด้วยระบบผู้นำกลุ่มที่บูรนาการระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน เกษตร พัฒนาชุมชน อบต. และศกร.อำเภอยี่งอ เพื่อให้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ และสร้างปลุกจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด ชุมชนเข้มแข็ง มีความรัก ความสามัคคี มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ การดำเนินงานกิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านกูยิ เพื่อให้ชุมชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และช่วย ระดมความคิดเกี่ยวกับการดำเนินงานที่ผ่านมาในการพัฒนาหรือดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อสรุปผลการ ดำเนินงาน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมีศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านกูยิ เป็นศูนย์กลางและจัด กิจกรรมที่เป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนในรูปแบบของการจัดองค์รวมของชุมชน การจัดกิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านกูยิ ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น ประชาชนทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น ทุกคนสามารถมีบทบาทในการเสนอแนวคิดเห็น ทุกคนเห็นจุดแข็ง


จุดอ่อน โอกาส ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้บทเรียนความรู้จากประสบการณ์การทำงาน มีการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการแบ่งปันความรู้และต่อยอดการดำเนินงานพัฒนางาน สามารถมองเห็นแนวทางการพัฒนาต่อไปในอนาคต ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน โดยมีนางสาวกิติมา มะสูละ เป็นครูผู้สอน จุดเด่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำผ้าบาติกตำบลตะปอยาะ การเรียนรู้จากกิจกรรมการพัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง แสดงให้เห็นถึงพลังความร่วมมือ ที่เริ่มจากจุด เล็กที่มีพลังมหาศาล นั่นคือ ประชาชนในชุมชน และมีผู้นำที่ดี เป็นหางเสือในการกํากับทิศทาง ที่มุ่งมั่นทุ่มเทใน การสร้างฐานแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชน โดยการพึ่งพาตนเอง คือ คนในชุมชนร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมตรวจสอบ และร่วมปรับปรุงแก้ไขพัฒนา โดยกระบวนการบริหารในหลัก PDCA ซึ่ง ประกอบด้วย Plan (การวางแผน) Do (การดำเนินการ) Check (การตรวจสอบ) และ Action ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ นางสาวกิติมา มะสูละ 70/4 หมู่ที่ 5 ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โทรศัพท์ : 089-9756443 วันและเวลาทำการ เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น.- ๑๖.๐๐ น.


ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรกรรม (ศิริฟาร์มแพะ) ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอยี่งอ ชื่อ – สกุล เรือตรีศิริ เกตุกิ่ง สถานที่ตั้ง/ที่อยู่ 132/3 หมู่ที่ 4 ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เบอร์โทรศัพท์ 084-9972977 ความเป็นมา ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรกรรม การเลี้ยงแพะ ถือเป็นสัตว์ที่น่าเลี้ยงน่าสนใจน่าศึกษาอีกประเภทหนึ่งน่ะ ครับ เพราะว่าสามารถเลี้ยงเพื่อขายได้ ทั้งเนื้อ นม ขน หรือแม้กระทั่งเขา แถมราคายังดีอีกด้วย แพะเป็นสัตว์ เลี้ยงที่เชื่องที่สุดในจำนวนสัตว์ชนิดที่ใกล้เคียงกันและตอนนี้ก็เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในกลุ่มเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ มี ทั้งเลี้ยงแบบเป็นรายได้เสริมและเลี้ยงแบบเป็นอาชีพหลักเปิดเป็นฟาร์มเลยก็มี และที่สำคัญในเรื่องการทำตลาด แพะสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง เช่น แพะสวยงาม นำไปประกอบอาหารและผลิตลูกพันธุ์ดีให้กับผู้ที่สนใจ เลี้ยงต่อไป เพราะแพะสามารถให้ลูกได้ไว โดย 2 ปี อาจผลิตลูกได้เฉลี่ย 3-4 ครอก จึงได้ผลตอบแทนและคืนทุน ให้กับผู้เลี้ยงได้ไม่ยาก เรือตรีศิริ เกตุกิ่ง อยู่บ้านเลขที่ 132/3 บ้าน บลูกาสนอ หมู่ที่ 4 ตำบล ตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เป็นเกษตรกรที่ทำการเกษตรหลากหลาย มีฟาร์มเลี้ยงแพะและเป็ดเป็นของตนเองและปลูกพืช เพื่อการเลี้ยงสัตว์ เรือตรีศิริ เกตุกิ่ง เล่าให้ฟังว่า เหตุผลที่เลือกเลี้ยงแพะ เพราะมีข้อตีหลายอย่าง ทั้งการมีลูกเร็ว ลงทุนน้อย ขายได้เร็ว ใช้พื้นที่เลี้ยงเพียงเล็กน้อยจึงมีต้นทุนการเลี้ยงไม่มากเมื่อเทียบกับการเลี้ยงโค แพะช่วยกำจัดวัชพืชใน สวน และตลาดยังมีความต้องการตลอดเวลา บวกกับพื้นที่บ้านอยู่ห่างไกลจากชุมชน ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน และที่ สำคัญการเลี้ยงแพะการจัดการระบบต่าง ๆ สามารถทำได้ง่าย เพราะแพะเป็นสัตว์เล็กอีกทั้งยังสามารถนำมูลแพะ มาใช้กับต้นปาล์มน้ำมันเพื่อช่วยลดต้นทุนปุ๋ยเคมีและมีซาวบ้านนำไปใชัผสมกับวัสดุอื่นเพื่อทำเป็นปุยอินทรีย์ใช้กับ พืชผลทางการเกษตร โดยขายให้ชาวบ้านกระสอบละ 40 บาทเนื่องจากมูลแพะมีธาตุอาหารสำคัญสำหรับพืช มี จุลินทรีย์ที่มีประโยซน์ค่อนข้างมาก ในช่วงแรก เริ่มต้นจากแพะตัวเมีย 7 ตัว พร้อมกับพ่อพันธุ์ 1 ตัว เพื่อเป็นการทดลองและเรียนรู้อุปนิสัย


ของแพะไปพร้อมกัน ต่อมาเมื่อการเลี้ยงประสบผลสำเร็จไม่เกิดปัญหาจากการเลี้ยง จึงค่อยๆ ขยายพันธุ์ให้มี จำนวนมากขึ้น จนเวลานี้มีแพะจำนวน 70 ตัว โรงเรือนมีขนาด 4x8 เมตร ยกใต้ถุนสูงจากพื้นดินประมาณ 1.20 เมตร ส่วนโรงเรือนมีขนาด 4x8 เมตร และมีการต่อเติมโรงเรือนเมื่อมีปริมาณแพะเพิ่มมากขึ้น ภายในโรงเรือนจะแบ่งเป็นคอกๆ เป็นสัดส่วนและใช้เป็น คอกอนุบาลด้วย "แพะตัวเมียอายุ 7-8 เดือนสามารถผสมพันธุ์ได้ แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ จึงเน้นเลี้ยงให้มีอายุอย่างต่ำ 1 ปี ถึงจะปล่อยให้ผสมพันธุ์ จากนั้นรอตั้งท้องประมาณ 5 เดือน พอได้ลูกออกมาแล้วปล่อยให้กินนมแม่ก่อนลูกแพะจะ เริ่มอดนมแล้วเริ่มกินหญ้าเมื่อมีอายุได้สัก 2 เดือน ซึ่งอาจจะยังไม่หยุดกินนมทันที เพียงแต่จะกินน้อยลงเพราะกิน พืชแทนได้บ้าง แต่พอลูกอายุได้สัก 4 เดือน แม่แพะจะไม่ยอมให้กินนมแล้ว จะแสตอาการด้วยการเตะลูกทุกครั้งที่ ลูกเข้าไปดูตนม อีกทั้งแม่แพะกำลังเริ่มจะผสมพันธุในรอบต่อไปด้วย แนวทางการเลี้ยงแพะเนื้อของ เรือตรีศิริ เกตุกิ่ง คือจะซื้อแพะที่มีความเด่นของแต่ละสายพันธุ์มาผสมกัน เพื่อให้ได้แพะที่ตรงตามความต้องการของตลาด โดยเริ่มจากใช้แพะพันธุ์พื้นเมืองผสมกับแพะนมเพื่อต้องการให้ มีเนื้อมาก มีน้ำนมให้ลูกมากพอ ต่อมาใช้พันธุ์บอร์ผสมกับแพะนม หรือพันธุ์แองโกลนูเบียน จนถึงทุกวันนี้เพื่อให้ ได้ลูกผสมบอร์ที่มีลักษณะเด่น คือให้น้ำนมมาก ลูกแพะมีนมกินอย่างเพียงพอ ชนาดตัวโตและอัตราการ์แลกเนื้อ ที่ดี รูปแบบการเลี้ยงแพะเป็นการเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช โดยการปล่อยแพะให้กินหญ้าหรือพืชพรรณ ต่าง ๆ โดยปกติจะปล่อยแพะให้ออกกินหญ้าเวลา 13.00 น. ของทุกวัน เวลาประมาณ 17.00 น. แพะจะมา กินหญ้าที่เตรียมไว้ในคอกหญ้าและแพะจะกลับเข้าโรงเรือนเวลาประมาณ 19.00 น. โดยคุณเรือตรีศิริ เกตุกิ่ง ได้ ให้เหตุผลของการเลี้ยงแพะแบบผสมผสานกับการปลูกพืช เพราะแพะเป็นสัตว์ที่กินง่าย สามารถกินอาหารได้ หลากหลาย มีเพียงพืชบางอย่างที่กินไม่ได้ซึ่งโดยธรรมชาติแพะก็ไม่กินอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนทั้ง ค่าอาหารและค่าตัดหญ้าในสวนยางพาราด้วย จากความต้องการของลูกค้ามักใช้แพะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ตามความเชื่อของชาวมุสลิม เมื่อมีบุตรเกิดขึ้นจะต้องเฉลิมฉลองด้วยการลัมแพะ หรือใช้สำหรับเทศกาลทางพิธีสำคัญทางศาสนา โดยราคาขาย แพะอยู่ระหว่าง 170 - 180 บาทต่อกิโลกรัม หรือตัวละประมาณ 2,000-2,500 บาท โดยแต่ละปีขายได้ ประมาณ 50-60 ตัว สร้างรายได้ประมาณ


"เมื่อลูกแพะได้อายุ 4-5 เดือน หากต้องการขายก็สามารถขายได้ทันที โดยแพะที่ขายมักเป็นตัวผู้ เพราะมีน้ำหนักดี มีคุณภาพเนื้อดี ส่วนตัวเมียจะเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ต่อไป แต่จำกัดจำนวนแพะทั้งคอกไม่ให้เกิน 70 ตัว เพราะถ้าเกิน 70 ตัวจะแออัดจนเกินไป ส่วนพ่อพันธุ์จะเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดการ ผสมของสายเลือดเดียวกันจนทำให้ลูกที่ออกมามีความอ่อนแอ ขี้โรค ไม่สมบูรณ์ จนราคาตก การคัดเลือกพ่อพันธุ์ จะเลือกตัวที่มีขนาดใหญ่ เป็นแพะพันธุ์ดี น้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป" ประสบการณ์เลี้ยงแพะกว่า 10 ปี โรคระบาดและอาการที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยกับแพะจนได้รับความเสียหายคือ โรคปากเท้าเปื่อย แต่จะพบโรคดังกล่าวนาน ๆ ครั้ง เนื่องจากจะติดตามการแจ้งเตือนการระบาดของโรคจาก สำนักงานปศุสัตว์อำเภออย่างต่อเนื่อง ถ้าพบโรคระบาดจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทราบและ นำวัคชนมาฉีดเพื่อป้องกันการระบาดและมีการฉีดยาถ่ายพยาธิให้กับแพะทุก 3 เดือนด้วย สำหรับท่านใดที่สนใจอยากเลี้ยงแพะเพื่อสร้างรายได้ เรือตรีศิริ เกตุกิ่ง แนะนำว่า การทำงานด้านปศุสัตว์ อย่างเช่น การเลี้ยงแพะ สิ่งที่ต้องให้มือยู่ในใจคือเรื่องของความตั้งใจที่จะทำ เพราะการทำเกษตรต้องใช้ความ อดทนแบ่บค่อยเป็นค่อยไป เพราะในช่วงแรกที่เริ่มทำจะเกิดความเหนื่อย ยิ่งการเลี้ยงสัตว์ด้วยแล้วในเรื่องของการ เจ็บป่วยเจ็บตายมีให้เห็นอยู่เสมอ แต่เมื่อเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นและรับมือได้ทันท่วงทีช่วยให้การเลี้ยงประสบ ผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ เรือตรีศิริ เกตุกิ่ง 132/3 บ้านบลูกาสนอ หมู่ที่ 4 ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส โทรศัพท์ : 084-9972977 วันและเวลาทำการ เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น.- ๑๖.๐๐ น.


ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม/ป่าชุมชนบ้านต้นตาล ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอยี่งอ ชื่อ – สกุล นายมะซี มะเกซง สถานที่ตั้ง/ที่อยู่ 24 หมู่ที่ 2 ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เบอร์โทรศัพท์ 081-0944341 ประวัติความเป็นมา นายมะซี มะเกซง ก่อตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปีพ.ศ. ๒๕๕๘ โดยได้ดำเนินการ ขึ้นทะเบียนป่าชุมชนกับกรมป่าไม้ เริ่มต้นจากพื้นที่ ๑๗๓ ไร่ ๒ งาน ที่มาของแนวคิดการจัดการป่าชุมชนนั้น มา จากการสรุปบทเรียนงานส่งเสริมอาชีพในชุมชนที่เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งทำให้ตระหนักว่าวัตถุดิบที่เป็น ต้นทุนการสร้างอาชีพล้วนเป็นทรัพยากรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าโดยรอบชุมชนทั้งสิ้น ประกอบกับปัญหาสำคัญ ในขณะนั้นคือ สภาพป่าเริ่มเสื่อม. เป็นแหล่งเรียนรู้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เรียนรู้เรื่องการทำฝายมีชีวิต เรียนรู้ เรื่องธนาคารน้ำใต้ดิน และร่วมกันปลูกป่า ร่วมสร้างจิตสำนึก ส่งเสริมงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน ชุมชนนี้มีจุดแข็ง’คนกับป่าอยู่ร่วมกัน’ ใกล้ชิด จุดเด่น ปัจจุบัน นายมะซี มะเกซงมีความรู้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับเป็นรูปธรรม 9 ฐาน ประกอบด้วย 1.ฐานเรียนรู้การดับไฟป่า 2.ฐานเรื่องพืชสมุนไพร 3.ฐานการเพาะกล้าไม้ป่า 4.ฐานเรียนรู้ฝาย ธนาคารน้ำใต้ดิน 5.ฐานการเลี้ยงเห็ดตามวิถีป่าชุมชน


6.ฐานการเลี้ยงผึ้งหลวง 7.ฐานเลี้ยงสัตว์ปีก 8.ฐานสืบสานอาหารพื้นถิ่น 9.ฐานถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจักสานย่านลิเภา ซึ่งศูนย์ดังกล่าวมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสนับสนุนชุมชนเพื่อให้เกิดพลัง และตั้งอยู่บนฐาน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม/ป่าชุมชนบ้านต้นตาล เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น.- ๑๖.๐๐ น. สอบถามข้อมูล โทร. โทร. 081-0944341


Click to View FlipBook Version