10 วิธีการลดขยะ
ง่ายและคูล ช่วยกู้โลก ให้กรีนขึ้น
ได้ด้วยสองมือเราเอง
ปัญหาขยะพลาสติกจาก Food delivery
วิธีการลดขยะในชีวิตประจำวัน
การลดขยะด้วยแนวคิด 7R
ศุภาพิ ชญ์ ศิลาวรรณ และธนิศา วิเชียร์ศิลป์
02 คพ. เผยปี 2564 ขยะมูลฝอยลดลง
ขยะติดเชื้อ-ขยะอันตรายเพิ่ มขึ้น
ที่มา : มติชนออนไลน์
เผยแพร่เมื่อ : วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 - 11:07 น.
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
(คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เปิดเผยว่า สถานการณ์ขยะมูลฝอยในปี 2564 เกิด
ขึ้น 24.98 ล้านตัน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 1 โดย
ขยะมูลฝอยมีการคัดแยก ณ ต้นทาง และนำกลับไปใช้
ประโยชน์ จำนวน 8.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563
ร้อยละ 3 กำจัดอย่างถูกต้อง 9.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้น
จากปี 2563 ร้อยละ 6 และกำจัดไม่ถูกต้องประมาณ
6.69 ล้านตัน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 15
สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง
เนื่องมา จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้มีการ
ควบคุมการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากต่าง
ประเทศมาประเทศไทย
แต่ในขณะเดียวกันมีมาตรการกำหนดให้ปฏิบัติงาน WORK FROM HOME การสั่งอาหารผ่านระบบ
บริการส่งอาหาร (FOOD DELIVERY) ส่งผลให้ปริมาณพลาสติกใช้ครั้งเดียว (SINGLE USE PLASTIC)
เพิ่มขึ้น เช่น กล่องโฟม กล่องพลาสติกใส่อาหาร ถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงร้อน-เย็น ถุงเครื่องปรุง ช้อน ส้อม
มีดพลาสติก แก้วพลาสติก จากห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และ PLATFORM ของผู้ให้
บริการส่งอาหาร เช่น GRAB FOOD, LINE MAN, WONGNAI, GOJEK, FOOD PANDA, LALAMOVE
เป็นต้น
ที่มารูป : https://unsplash.com/photos/iR4mClggzEU
ขยะพลาสติกพุ่ งกว่า 60 % 03
ในช่วงโควิด -19 ที่มา : มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
เขียนโดย : ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
เผยแพร่เมื่อ : 22 พฤษภาคม 2563 | 16:40 น.
ที่มารูป : https://www.tei.or.th/th/blog_detail.php?blog_id=51 จากรายงานของกรุงเทพมหานคร ปริมาณขยะ
พลาสติกทั้งหมด 3,440 ตัน/วัน (37% ของปริมาณ
ขยะทั้งหมด 9,370 ตันต่อวัน) ในเดือนเมษายน 2563
เพิ่มขึ้นจากปี 2562 (2,120 ตันต่อวัน) โดยเพิ่มขึ้น
1,320 ตัน/วัน (เพิ่มขึ้นประมาณ 62%) ประกอบด้วย
ขยะพลาสติกรีไซเคิลได้ 660 ตัน/วัน (19%) และขยะ
พลาสติกปนเปื้อน 2,780 ตัน/วัน (81%) ซึ่งจะเห็น ได้
ว่าในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ในช่วงโควิด-19 พบว่าเขตเมืองต่างๆ ทั้งกรุงเทพฯ
และเมืองท่องเที่ยวอื่น ๆ ต่างก็มีปริมาณขยะรวมลด
ลงโดยในพื้นที่กรุงเทพมหานครลดลงจากปกติ
10,560 ตันต่อวัน เป็น 9,370 ตันต่อวัน (ลดลง 11%)
ภูเก็ต ลดลงจาก 970 ตันต่อวัน เป็น 840 ตันต่อวัน
(ลด 13%) นครราชสีมา ลดลงจาก 240 ตันต่อวัน
เป็น 195 ตันต่อวัน (ลดลง 19%) เมืองพัทยา จาก
850 ตันต่อวัน เป็น 380 ตันต่อวัน (ลด 55%) เป็นต้น
เป็นที่น่าสังเกตุโดยรวมสัดส่วนขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น
ในเกือบทุกเมือง โดยเฉพาะจากการสั่งอาหารรูปแบบ
เดลิเวอรี่ (FOOD DELIVERY) ส่งถึงที่บ้านหรือที่
ทำงาน ซึ่งมีหลายจังหวัดในประเทศไทย ทำให้ขยะ
พลาสติก เพิ่มขึ้นกว่า 60% ในเขตกรุงเทพมหานคร
และ เพิ่มขึ้นกว่า 3% ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา
การบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ (FOOD DELIVERY) เริ่มเติบโตมาแล้วระยะหนึ่ง พร้อม ๆ กับการ
เติบโตของระบบ ONLINE SHOPPING ซึ่งมีการขยายตัวชัดเจนมาตั้งแต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา ในกรุงเทพและปริ
มลฑล รวมทั้งเมืองใหญ่ต่าง ๆ เนื่องจากผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น มีความก้าวหน้าด้าน
เทคโนโลยี และการเดินทางที่ไม่สะดวก ก่อนหน้านี้มีการคาดกันว่าจะเติบโตประมาณในสถานการณ์ปกติปีละ
10-20% แต่ในช่วงโควิด-19 และการประกาศภาวะฉุกเฉินในเดือนมีนาคมและเมษายน 2563 นั้นได้มีการ
เติบโตมากว่า 300% สิ่งที่ตามมา คือ ขยะพลาสติก ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากกิจกรมดังกล่าวด้วย ขยะจาก
การส่งอาหารประกอบด้วยบรรจุภัณฑ์หีบห่อและอุปกรณ์ ได้ก่อให้เกิดขยะพลาสติกไม่น้อยกว่า 5 ชิ้นต่อการ
สั่งอาหารแต่ละครั้ง หรืออาหารบางประเภทอาจมากถึง 10 ชิ้น ได้แก่ ถุงพลาสติก กล่องพลาสติกใส่อาหาร
กล่องพลาสติก/ซองพลาสติกแยกชนิดอาหาร ซองเครื่องปรุงรส แก้วพลาสติกใส่เครื่องดื่ม ตะเกียบไม้หรือ
พลาสติก ช้อนและส้อมพลาสติก กระดาษทิชชู และแต่ละประเภทก็มีซองพลาสติกใส่อีก
" ขยะเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เรา ทางออกสำคัญที่สุดก็คือพวกเราทุกคน
สำรวจตนเองว่าเราทำให้เกิดขยะและขยะพลาสติกที่ไม่จำเป็นอะไรบ้าง ตั้งเป้าหมายลด ใช้ซ้ำ รีไซเคิล
ทุก ๆ คนร่วมกันก็จะเกิดผลต่อประเทศ ต่อโลก ต่อสิ่งวดล้อม และต่อเราเอง ต่อลูกหลานเราในอนาคตด้วย "
04 การลดและจัดการขยะพลาสติกจาก
FOOD DELIVERY
ที่มารูป : https://www.tei.or.th/th/blog_detail.php?blog_id=51
มีทางเลือกดังต่อไปนี้
- สำหรับผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ควรจะมีทางเลือกในการสั่งอาหารแบบ FOOD DELIVERY
ที่สามารถลดขยะพลาสติกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือปฎิเสธบบรจุภัณฑ์พลาสติกบางประเภท
- การคัดแยกขยะก็ยังนับว่ามีความสำคัญในทุกสถานการณ์ ทั้งก่อนและหลัง COVID-19 เพื่อเพิ่มโอกาสให้
ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นได้ถูกรวบรวมและนำไปแปรรูปกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ถือว่าลดการใช้ทรัพยากรอีก
ทางหนึ่ง ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (CIRCULAR ECONOMY) อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งภาครัฐต้องสร้าง
ระบบการจัดการเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ว่าหากแยกขยะแล้วจะไม่นำกลับไปเทและฝังกลบรวมกัน
เช่นที่ผ่านมา ได้แก่ การแจกถุงขยะรีไซเคิลตามบ้านและรวบรวมเก็บบางวัน มีจุดทิ้งขยะรีไซเคิลในชุมชน
เป็นต้น
- ภาครัฐต้องส่งเสริมและกำกับดูแลลดการใช้ SINGLE-USE PLASTICS และใช้มาตรการจูงใจเพื่อขยาย
ตลาดสินค้าบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมให้แข่ งขันได้กับตลาดสินค้าทั่วไปให้ได้
- ระยะยาว ภาครัฐวางระบบ ออกกฎระเบียบที่สามารถแก้ไขปัญหาขยะและขยะพลาสติกอย่างครบวงจร
- ทางเลือกที่ผู้ประกอบการร้านอาหาร/ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันและผู้ผลิตสินค้าบรรจุภัณฑ์อาหาร ควรทำ
เพื่อ ลดปริมาณขยะพลาสติก ได้แก่ 1. งดการใช้และการให้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (SINGLE-USE
PLASTICS) เช่น ช้อนส้อม หลอดกาแฟ ทิชชูบบรจุซองพลาสติก เป็นต้น 2. เลือกใช้บรรจุภัณฑ์แบบย่อย
สลายได้ เช่น ผลิตภัณฑ์จาก ชานอ้อย จากกระดาษ เป็นต้น 3. เลือกใช้บรรจุภัณฑ์อาหารแบบใช้ซ้ำ โดยจัดให้
มีระบบค่ามัดจำบรรจุภัณฑ์ สำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET) 4. ออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารให้
เหมาะกับอาหารแต่ละประเภท เพื่อลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้น เช่น มีช่องแยกชนิดอาหาร และ 5. เพิ่มทางเลือก
ในการสั่งอาหารผ่านแอฟฟลิเคชัน โดยระบุรับหรือไม่รับช้อนพลาสติกหรืออื่น ๆ ที่ไม่ต้องการ
10 วิธีการลดขยะ ง่ายและคูล ช่วยกู้โลก 05
ให้กรีนขึ้นได้ด้วยสองมือเราเอง
ปัญหาขยะล้นโลกนี้เองที่ทำให้คนรุ่นใหม่หลาย ๆ คนเริ่มหันมาให้ความสนใจกับไลฟ์สไตล์แบบสร้างขยะ
เป็นศูนย์ (ZERO WASTE) มากขึ้น ซึ่งก็คือการหันมาใช้วิธีการลดขยะในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด หรือไม่
สร้างขยะเลย! วิธีนี้นอกจากจะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการช่วยลดโลกร้อนทางอ้อมอีกด้วย
วันนี้พวกเรารวมวิธีการลดขยะ อย่างง่าย ๆ และสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถทำตามกันได้ทันที
1 - พกกล่องข้าวและกระติกน้ำ
TIPS : การเลือกซื้อภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ทุก ๆ วัน เราซื้ออาหารและเครื่องดื่มวันละหลายครั้งเป็นเรื่อง
ควรเลือกซื้อภาชนะที่ทำจากวัสดุที่มีคุณภาพเพื่อให้แน่ใจ ปกติ ลองนึกภาพตามว่าพนักงานออฟฟิศ 1 คนซื้อข้าวจากร้าน
ว่าจะไม่มีสารตกค้างปนเปื้อนจากภาชนะ ค้าวันละ 3 มื้อ และซื้อกาแฟวันละ 1 แก้ว หากอาหารและเครื่อง
ดื่มเหล่านี้ถูกบรรจุอยู่ในกล่องโฟมและแก้วพลาสติก เท่ากับว่า
พนักงานออฟฟิศ 1 คน สร้างขยะไปแล้วกี่ชิ้นใน 1 วัน
จะดีกว่าไหม หากเรานำภาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ซ้ำ ๆ ไป
ด้วยทุกครั้งที่ซื้ออาหารและเครื่องดื่ม เพียงเท่านี้ ก็ทำให้ร้านค้า
ลดการแจกกล่องโฟมและถุงพลาสติกลงไปได้มาก และนอกจาก
ภาชนะใส่อาหารแล้ว การเปลี่ยนมาใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้ทิชชู
หรือทิชชูเปียกเช็ดหน้า ก็เป็นวิธีการลดขยะที่ได้ผลมากเช่นกัน
2 - เลิกใช้หลอดพลาสติกเจ้าปัญหา
นอกจากกล่องข้าวและกระติกน้ำแล้ว การใช้หลอดที่
สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ก็เป็นการช่วยลดขยะได้อีก
มหาศาล ถึงแม้หลอดจะดูเป็นเพียงขยะชิ้นเล็กๆ ที่ไม่มีพิษ
มีภัย แต่เจ้าหลอดนี่เองที่เป็นตัวการทำให้สัตว์ทะเลต่างๆ
ต้องทนทรมานจากการกินเข้าไปเพราะเข้าใจผิดว่าเป็น
อาหาร การงดใช้หลอดเมื่อไม่จำเป็นหรือการใช้หลอดส
แตนเลสที่สามารถนำกลับมาล้างใช้ซ้ำได้จึงเป็นวิธีลด
ขยะและช่วยสิ่งแวดล้อมที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
TIPS : หลอดสแตนเลสเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดขยะได้มากแต่ก็ต้องการการดูแล
ทำความสะอาดที่ถูกสุขลักษณะ มิเช่นนั้นอาจมีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันในหลอดได้
ที่มารูป : hhttps://unsplash.com/photos/7_TSzqJms4w
06 10 วิธีการลดขยะ ง่ายและคูล ช่วยกู้โลก
ให้กรีนขึ้นได้ด้วยสองมือเราเอง
ที่มารูป : https://unsplash.com/photos/FoG7PKNYjpM
3 - ปฏิเสธการรับถุง
ไม่รับถุง สามคำง่าย ๆ เวลาออกไปจับจ่ายซื้อของ ที่เมื่อนักช้อป
ปิ้งพูดแล้วสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากมาย และไม่ใช่เพียงถุง
พลาสติกเท่านั้นที่สร้างมลภาวะให้กับโลก จากงานวิจัยพบว่า ขั้น
ตอนการผลิตถุงผ้าและถุงกระดาษก็สร้างมลภาวะให้กับสิ่ง
แวดล้อมเช่นกัน เพราะฉะนั้นการรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติกและ
หันมาใช้ถุงผ้าจึงไม่ได้หมายถึงการไปหาซื้อถุงผ้าใหม่ ๆ ชิค ๆ มา
ใช้แทนถุงพลาสติก แต่หมายถึงการนำถุงผ้า ถุงพลาสติก หรือ
ถุงอะไรก็ตามที่มีอยู่แล้วในบ้านกลับมาใช้ซ้ำ ๆ เพราะนอก จาก
เรื่องการสร้างขยะแล้ว เราควรตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่ง
แวดล้อมด้านอื่น ๆ ที่เกิดจากการผลิตถุงชนิดต่าง ๆ ขึ้นมาด้วย
4 - นำสิ่งของที่มีกลับมาใช้ซ้ำ
การนำของที่มีอยู่แล้วกลับมาใช้ซ้ำถือเป็นวิธีลด
ขยะโดยการใช้ของที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์
สูงสุด หรือที่เราเรียกกันว่าการรียูส (REUSE)
นั่นเอง นอกจากถุงพลาสติกแล้ว ยังมีของอีก
หลายชนิดที่เราสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เช่น การ
ใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์ตได้ การนำกระดาษเอสี่ที่ใช้
ไปเพียงด้านเดียวมาใช้จดบันทึก และการนำขวด
พลาสติกใช้แล้วมาใช้ใส่ของเหลวต่าง ๆ เช่นสบู่
เหลวหรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น
10 วิธีการลดขยะ ง่ายและคูล ช่วยกู้โลก 07
ให้กรีนขึ้นได้ด้วยสองมือเราเอง
5 - ดัดแปลงของเหลือใช้อย่างสร้างสรรค์
TIPS : สำหรับคนที่สนุกกับการดัดแปลงออกแบบกระถางต้นไม้เพื่อปลูก นอกจากการนำกลับมาใช้ซ้ำแล้ว เรายังสามารถนำ
ต้นไม้ที่บ้านแล้วยังไม่หนำใจ การไปปลูกป่าชายเลนก็เป็นอีกทางเลือก ของเหลือใช้เหล่านั้นมาดัดแปลงสร้างสรรค์เป็นของ
รักษ์โลกที่นอกจากจะได้รับความสนุกแล้ว ยังส่งผลดีกับธรรมชาติอีก สิ่งใหม่ เพื่อเพิ่มความสวยงาม และสร้างประโยชน์ได้
ด้วย มากขึ้นอีกด้วย หรือ ที่เราเรียกกันว่าการอัพไซเคิล
(UPCYCLE) นั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น การนำกระป๋องน้ำอัดลมมาดัดแปลง
เป็นกระปุกออมสิน การนำลูกขนไก่มาดัดแปลงเป็น
โมบายประดับผนังและการนำถังพลาสติกมาดัดแปลง
เป็นกระถางต้นไม้ เป็นต้น นอกจากเป็นวิธีการลดขยะ
ที่ได้ผลแล้วคุณยังสามารถสนุกไปกับการหยิบสิ่งของ
รอบตัวที่กำลังจะกลายเป็นขยะมาสร้างสรรค์ให้เป็น
ของใช้ใหม่ ๆ หรือเครื่องประดับตกแต่งบ้านได้ เก๋กว่า
นี้ไม่มีอีกแล้ว !
6 - เลือกซื้อสินค้าจากบรรจุภัณฑ์
เทคนิคในการเลือกซื้อสินค้าที่สร้างขยะน้อยที่สุดนั้นมีอยู่
หลายวิธีด้วยกัน อย่างแรกก็คือ การเลือกซื้อสินค้าที่มี
บรรจุภัณฑ์น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลาย ๆ คนคงจะ
เคยเห็นซองขนมห่อใหญ่ที่ข้างในเต็มไปด้วยขนมห่อเล็ก ๆ
ที่บรรจุแต่ละชิ้นแยกกันด้วยถุงพลาสติกอีกชั้นใช่ไหม
เท่ากับว่าขนมห่อนั้นสร้างขยะพลาสติกนับชิ้นไม่ถ้วนเชียว
ล่ะ หากเป็นไปได้ ควรเลือกซื้อขนมอื่นๆ ที่ไม่ใช้บรรจุภัณฑ์
จนเกินความจำเป็น อย่างที่สองก็คือ การเลือกซื้อสินค้าที่
บรรจุภัณฑ์นั้นมีสัญลักษณ์รีไซเคิลได้ นอกจากนี้ หากเรา
สามารถเลือกซื้อสินค้าที่ไม่มีบรรจุภัณฑ์เลยได้ ก็จะยิ่งดี
ขึ้นไปอีก เช่น การเลือกรับประทานไอศกรีมโคนแทน
ไอศกรีมถ้วย เท่านี้ก็ลดขยะได้แล้ว
08 10 วิธีการลดขยะ ง่ายและคูล ช่วยกู้โลก
ให้กรีนขึ้นได้ด้วยสองมือเราเอง
artist:"piccaya"
7 - ใช้สิ่งของอย่างทะนุถนอมและเรียนรู้วิธีซ่อมแซม
การใช้ของอย่างทะนุถนอมถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะที่ง่ายที่สุด
เพราะหากเราใช้อย่างทะนุถนอมและถูกวิธีสิ่งของนั้น ๆ ก็จะมีอายุการ
ใช้งานที่ยาวนานขึ้น ไม่ต้องกลายเป็นขยะไป และหากสิ่งของที่มีอยู่
ชำรุด การซ่อมแซมก็ถือเป็นทางเลือกรักษ์โลกที่ดีอีกทาง เพราะแทนที่
จะต้องโยนทิ้งลงถังขยะ เราก็สามารถนำสิ่งของนั้นกลับมาใช้ได้
เหมือนเดิม หากเราเรียนรู้วิธีซ่อมแซมสิ่งของด้วยตนเอง ก็จะประหยัด
เงินได้อีกด้วยนะเออ เพราะไม่ต้องไปจ้างช่างซ่อมหรือซื้อใหม่ให้เปลือง
เงิน การรักษาและซ่อมแซมสิ่งของจึงเป็นวิธีการลดขยะและยังช่วยให้
ประหยัดได้มากกว่า
8 - ซื้อสินค้ามือสอง
การซื้อสินค้ามือสองเป็นการลดปริมาณขยะโดยการ
เลือกที่จะรับสิ่งของที่มีอยู่แล้วจากคนอื่นมาใช้ต่อ
แทนการซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นมาใหม่ หรือก็คือการนำ
ของที่มีอยู่กลับมาใช้อย่างคุ้มค่า เพียงแต่เปลี่ยนมือ
เจ้าของโดยส่งต่อไปยังผู้ที่ต้องการใช้ของสิ่งนั้นคน
ถัดไปนั่นเอง
ทุกวันนี้มีสินค้ามื้อสองสภาพดีอยู่หลายประเภทที่หา
ซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า
รองเท้า หนังสือ หรือเครื่องใช้ในบ้านอื่นๆ สินค้าบาง
ชิ้นก็เป็นสิ่งของรุ่นเก่าหรือรุ่น LIMITED EDITION
ที่ไม่ผลิตอีกแล้ว เหมาะสำหรับสายวินเทจที่อยากชิค
โดยไม่ซ้ำกับใครและยังเป็นวิธีลดขยะไปได้มากทีเดียว
10 วิธีการลดขยะ ง่ายและคูล ช่วยกู้โลก 09
ให้กรีนขึ้นได้ด้วยสองมือเราเอง
9 - กำหนดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้ชัดเจน
รู้หรือไม่ว่า ขยะจากเศษอาหารเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมมาก
ไม่แพ้ขยะชนิดอื่นเลย เพราะขยะเหล่านี้ก่อให้เกิดแก๊สมีเทน
หนึ่งในแก๊สเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน
การวางแผนการรับประทานอาหารก็สามารถช่วยลดขยะ
จากเศษอาหารได้ โดยการกะปริมาณว่าเราจะรับประทาน
อาหารเท่าใดในแต่ละมื้อ
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบและนำมาประกอบอาหารเองที่
บ้าน หรือการสั่งอาหารเวลาออกไปรับประทานที่ร้าน การ
วางแผนและกะปริมาณจะช่วยให้เราไม่ทำหรือสั่งอาหารมา
ในปริมาณที่มากเกินไปจนทำให้ทานเหลือ ถือเป็นวิธีการลด
ขยะเศษอาหารที่ต้นเหตุวิธีหนึ่งที่ทำได้ไม่ยาก เริ่มได้ตั้งแต่
อาหารมื้อถัดไปเลย!
10 - เก็บอาหารอย่างถูกวิธี
หากพบว่าวัตถุดิบที่ซื้อมานั้นมากเกินไป ไม่สามารถนำ
มาประกอบอาหารรับประทานได้ทัน ทางเลือกที่ดีกว่า
การปล่อยให้เน่าเสียจนต้องทิ้งลงถังขยะก็คือการใช้
เทคนิคเก็บรักษาอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น เช่น การทา
น้ำมันพืชเคลือบผิวไข่ไก่ ช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรก
และกลิ่นไม่พึงประสงค์ในตู้เย็นเข้าไปในไข่ จะสามารถ
ยืดอายุไข่ได้ถึง 10 – 12 เดือน หรือการนำเนื้อสัตว์มา
หมักเกลือและเก็บใส่ถุงซิปล็อคโดยไล่อากาศออกก่อน
นำไปแช่ช่องแช่แข็งก็เป็นการรักษาคุณภาพของเนื้อ
สัตว์ให้อยู่ได้นานขึ้นด้วย
" ภาวะโลกร้อนและจำนวนขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันไม่ใช่เรื่องไกลตัวและเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้อง
ตระหนักถึงและเริ่มลงมือแก้ปัญหามลภาวะนี้ด้วยตัวเอง การลดขยะทั้ง 10 วิธีนี้เป็นเรื่องง่ายที่เริ่มทำได้
ทันที หากไม่เริ่มวันนี้ คนที่โชคร้ายที่สุดอาจไม่ใช่เรา แต่เป็นลูกหลานของเราที่ต้องหาวิธีรับมือกับปัญหาสิ่ง
แวดล้อมที่สายเกินแก้ "
10 หลัก 7R ทางเลือกเพื่ อหลีกเลี่ยงมลพิ ษ
พลาสติกหลังวิกฤตโควิด-19
ที่มาข้อมูล https://www.greenpeace.org/thailand/story/16588/plastic-7r-to-manage-single-use-plastic-problem/
หลัก 7R ประกอบด้วย REDUCE ลดใช้, REUSE ใช้ซ้ำ, REFILL การเติม, RETURN การคืน,
REPAIR/REPURPOSE การซ่อมแซม/การเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งาน, REPLACE การแทนที่ และ
RECYCLE รีไซเคิล ยังคงเป็นหลักการที่ทำหน้าที่ได้ดีเพื่อย้ำเตือนพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนอย่าง
พวกเราให้ตระหนักรู้เท่าทันการจับจ่ายซื้อสินค้าของตนเอง และมองหาสิ่งอื่นก่อนการตัดสินใจกดสั่งซื้อ
สินค้าทุกครั้ง และถ้าผู้บริโภคสามารถลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งไปตามลำดับความสำคัญคือ REDUCE,
REUSE, REFILL, RETURN, REPAIR/REPURPOSE, REPLACE และ RECYCLE เราจะพบว่ามีขยะเพียง
น้อยนิดเท่านั้นที่ถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบใกล้บ้านเรา ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดมลพิษพลาสติกให้
อยู่ภายใต้หลักการ 7R ยังเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (CIRCULAR
ECONOMY) ก็คือการลดขยะให้มากที่สุด และใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดจนมีขยะไปสู่
หลุมฝังกลบน้อยที่สุด ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเศรษฐกิจแบบเส้นตรงในปัจจุบันที่นำทรัพยากรธรรมชาติ
จำนวนมากมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มักจะใช้เพียงครั้งเดียวทิ้งเลย ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ
01 REDUCE การลดใช้
ถือเป็นขั้นตอนที่ช่วยลดมลพิษพลาสติกได้มากที่สุด
คือ การลด การหันมาลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียว
ทิ้งให้มากที่สุดเท่าที่เราทำได้ อาจทำโดยการลอง
คำนวณก่อนซื้อสินค้าว่า ในสินค้านี้มีพลาสติก
ใช้ครั้งเดียวทิ้งกี่ชิ้นและเราสามารถลดใช้พลาสติก
ตรงส่วนไหนได้บ้าง
02 REUSE การใช้ซ้ำ
การใช้ซ้ำถือเป็นการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า
โดยนำสิ่งที่มีมาใช้ซ้ำอยู่เสมอจนมันหมดอายุการใช้
งาน เช่น ขวดแก้วที่เคยเป็นขวดเครื่องดื่มนำไปเป็น
กระถางต้นไม้ เป็นต้น หรือจะใช้วิธีการ UPCYCLING
ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ของใช้ที่เรามี เช่น นำเสื้อ
ยืดตัวเก่ามาปักเป็นลายให้สวยงาม, นำกระดาษหน้า
เดียวมาเย็บเป็นสมุดจดงาน เป็นต้น
หลัก 7R ทางเลือกเพื่ อหลีกเลี่ยงมลพิ ษ 11
พลาสติกหลังวิกฤตโควิด-19
03 REFILL นำภาชนะไปเติม
การรีฟิลจัดเป็นอีกสิ่งที่ช่วยให้เราลดพลาสติกจาก
บรรจุภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี ในแต่ละวันเราจับจ่ายซื้อ
สินค้ากันโดยอาจลืมไปว่า นอกเหนือจากสินค้าที่เรา
ได้รับแล้ว เรายังได้ขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกด้วย ซึ่ง
จากการสำรวจแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติกของ
กรีนพีซเมื่อปีที่แล้วพบบรรจุภัณฑ์อาหารตกค้างใน
สิ่งแวดล้อมกว่าร้อยละ 90 ดังนั้น การนำภาชนะใช้
ซ้ำที่เรามีอยู่ไป “เติม” จึงดีกว่าการ “ซื้อใหม่” ที่จะได้
ขยะพลาสติกกลับมาด้วย
04 RETURN การส่งคืน
การคืน คือ การนำบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิต โดยที่ผู้
ผลิตนั้น ๆ เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วแทนขวด
พลาสติก เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถคืนขวดให้แก่ผู้ผลิต
เพื่อให้เขานำไปผ่านกระบวนการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ
และนำกลับมาใช้ใหม่ ตอนแยกขยะ เราจึงควรแยกขวด
แก้วไว้ต่างหากเพื่อที่ขวดจะไม่ไปปะปนกับขยะประเภท
อื่นจนยากแก่การรีไซเคิล สิ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราทำได้
ซื้อเครื่องดื่ม/สินค้าจากผู้ผลิตที่รับคืนขวดแก้ว/ภาชนะ
เพื่อนำไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วหมุนเวียนมาใช้
ต่อได้
05 REPAIR การซ่อมแซม
การซ่อมแทนซื้อใหม่ ในปัจจุบันที่สินค้าราคาถูกลงและมีโปรโมชั่นลดราคาสินค้าอยู่ตลอดทั้งปี ทำให้ผู้บริโภค
มองว่าการซื้อใหม่นั้นง่ายกว่าการซ่อม ทั้ง ๆ ที่การซ่อมอาจจะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาได้มาก
เราแนะนำให้ทุกคนมีทักษะเย็บปักถักร้อยไว้ การปักผ้าในปัจจุบันมีหลายแบบมาก ไม่แน่ว่าการปักเพื่อซ่อม
เสื้อที่ขาดอาจดูสวยงามกว่าซื้อใหม่อีก หรือการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า บางครั้งอาจแค่ซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน ไม่
จำเป็นต้องซื้อทั้งหมดก็ได้ การซ่อมถือเป็นการยืดอายุการใช้งานของที่เรามีแทนการปล่อยทิ้งกลายเป็นขยะ
ทั้ง ๆ ที่มันยังมีอายุการใช้งานที่ดีอยู่
12 หลัก 7R ทางเลือกเพื่ อหลีกเลี่ยงมลพิ ษ
พลาสติกหลังวิกฤตโควิด-19
06 REPLACE การแทนที่
การแทนที่ คือ การนำทางเลือกอื่นมาใช้แทนพลาสติกใช้
ครั้งเดียวทิ้ง เช่น แปรงสีฟันด้ามไม้ไผ่แทนแปรงสีฟัน
ด้ามพลาสติก ไหมขัดฟันจากไหมธรรมชาติแทนไหมขัด
ฟันแบบพลาสติก สบู่ก้อนแบบไม่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์แทน
สบู่ในขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น
07RECYCLE
การนำวัสดุที่หมดสภาพแล้วมาแปรสภาพหรือแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ คืนชีพให้ขยะสามารถนำกลับมาใช้
ประโยชน์ได้อีกครั้ง
ถ้าเราลองท้าทายตนเองโดยการเริ่มจากการลดใช้
ใช้ซ้ำ นำภาชนะที่มีอยู่ไปเติมที่ร้านค้าแบบเติม แล้วยัง
เลือกซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วซึ่งสามารถส่ง
คืนผู้ผลิตให้กลับไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วนำมา
ใช้ใหม่ได้ สิ่งของที่ซื้อมาแล้วเราก็ซ่อมแซมจนหมด
อายุการใช้งาน และเลือกหาทางเลือกอื่นที่เป็นวัสดุ
ธรรมชาติแทนการใช้พลาสติก และสุดท้ายคือการ
รีไซเคิลที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน เราไม่อาจทราบว่า
ขยะที่เราทิ้งไปจะถูกนำไปรีไซเคิลหรือไม่ เพราะการ
รีไซเคิลมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การเก็บ
รวบรวมขยะชนิดนั้นๆ เครื่องจักร และกฏหมายร่วม
ด้วย ดังนั้น ถ้าเราลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายใต้
7R ข้างต้นแล้ว เราก็สามารถมั่นใจได้ว่า เรามีส่วน
ช่วยลดมลพิษพลาสติกได้อย่างมาก และอาจมีขยะ
เพียงจำนวนเล็กน้อยมาก ๆ ที่ต้องไปอยู่ในหลุมฝัง
กลบและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการหลักการ
เศรษฐกิจหมุนเวียนตามคำนิยามของสหประชาชาติ
สรุปหลัก 7R 13
7Rลดขยะ RETURN
ด้วยหลัก คืนเพื่ อหมุนเวียน
REDUCE
ลดใช้ ลดสร้างขยะเพิ่ ม
REUSE REPAIR/
REPURPOSE
ใช้ซ้ำ ให้คุ้มที่สุด
ซ่อมแซม/เปลี่ยนการใช้งาน
REFILL RECYCLE REPLACE
เลือกเติม ไม่เพิ่ มขยะ หมุนเวียนมาใช้ใหม่ ลด ใช้ทดแทน
" เราเชื่อว่าถ้าทุกคนค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม
ขั้นตอนและหลักการตามข้างต้นที่กล่าวไปอย่างสม่ำเสมอ
โดยอาจเลือกวิธีที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของแต่ละคน
ก็ถือว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะพลาสติก
และขยะในครัวเรือนที่จะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบเพิ่ ม
คุณภาพชีวิตให้ตัวเองและครอบครัว สร้างสรรค์สังคมที่
ปราศจากขยะ พร้อมทั้งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใบ
นี้เพื่อส่งต่อทรัพยากรที่ยั่งยืนให้รุ่นถัดไป "
Gen 211 THE PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY
กลุ่มเรียนที่ 2
นางสาวศุภาพิชญ์ ศิลาวรรณ 62080500459
นางสาวธนิศา วิเชียรศิลป์ 62080500490
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
หงษ์ ศุภาพิ ชญ์ สา ธนิศา
เรียบเรียงโดย
ศุภาพิ ชญ์ ศิลาวรรณ และธนิศา วิเชียร์ศิลป์