The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สงครามโลกครั้งที่ 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-12-23 01:19:27

สงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I )
























เป็นสงครามครั้งใหญ่ที่เกิดจากความขัดแย้ง
ของประเทศในทวีปยุโรปและลุกลามไปยัง

ประเทศต่างๆมากกว่า 30 ประเทศสร้างความ
เสียหายให้แก่สังคมโลกอย่างร้ายแรงจึงมีผู้
เรียกสงครามครั้งนี้ว่ามหาสงคราม (Great
War) เป็นสงครามที่เริ่มต้นเมื่อเดือนสิงหาคม

ค.ศ. 1914 และสิ้นสุดลงเมื่อเดือน
พฤศจิกายน ค.ศ. 1918

สาเหตุของสงคราม
1. ปัญหาคาบสมุทรบอลข่านสาเหตุ

ของปัญหาเกิดจากการแข่งขันอิทธิพลระหว่าง
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกับจักรวรรดิรัสเซีย
โดยรัสเซียต้องการใช้คาบสมุทรบอลข่านเป็น
ทางออกสู่ทะเลทางใต้ของตนและต้องการเป็น
ผู้นำของชนชาติสลาฟ (Slave) ในคาบสมุทร
บอลข่านอันมีเชื้อสายเดียวกับรัสเซียแทน
ออสเตรีย-ฮังการี



2. ปัญหาลัทธิช
าตินิยมก่อให้เกิดการ
แข่งขันระหว่างมหาอำนา
จคือชาตินิยมเยอรมนี
สใหล้กาาฟรทสี่รนััสบเสซีนยุนเป็อนอผูส้นเตำโรดี
ยย-ฮรััสงเกซีายรีสกันบับชสาตนิุนนิยชมน
ชาติสลาฟในจักรวรรดิตุ
รกีเพื่อตนจะได้เข้าไป
แทนที่และสลาฟเองก็ต้อ
งการเป็นเอกราชการ
แข่งขันและการสนับสนุน
ของมหาอำนาจ

3. การแข่งขันแสวงหาอาณานิคมอันเป็นผล
มาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมประเทศมหาอำนาจ
ต้องการแสวงหาตลาดสำหรับระบายสินค้าและ
แหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมจึงก่อให้
เกิดความขัดแย้งในทางประโยชน์

4. การแข่งขันทางด้านแสนยานุภาพเป็นผล
มาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศอันมีสาเหตุมา
จากการเมืองและเศรษฐกิจรวมทั้งการแข่งขันทาง
ด้านอาณานิคมทำให้ประเทศต่างๆส่งเสริมการ
สร้างกำลังทหารและกองทัพที่มีประสิทธิภาพ

5. การแบ่งกลุ่มของฝ่ายมหาอำนาจก่อ
สงครามโลกครั้งที่ 1 มหาอำนาจในยุโรปแบ่งออก
เป็น 2 กลุ่ม-ไตรภาคี (Triple Alliance) ซึ่งประกอบ
ด้วยเยอรมนีออสเตรีย – ฮังการีอิตาลี-กลุ่มสัมพัน
ธมติร (Triple Entente) ประกอบด้วยอังกฤษ
ฝรั่งเศสและรัสเซียซึ่งแต่ละกลุ่มต่างมีผลประโยชน์
และข้อตกลงในการให้ความช่วยเหลือร่วมกัน

ชนวนระเบิดของสงคราม

การลอบปลงพระชนม์อาร์ดยุคฟรานซิสเฟอร์ดิ
นานด์มกุฎราชกุมารและพระชายาแห่งออสเตรีย-
ฮังการี-เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 1914 ที่เมืองซารา
เจโวในแคว้นบอสเนียผู้ลอบสังหารเป็นชาวเซอร์เบี
ยออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย

ซึ่งมีผลให้รัสเซียเข้ามาช่วยเซอร์เบียและเมื่อ
เยอรมนีฝรั่งเศสและอังกฤษปฏิบัติตามข้อผูกผัน
ต่อพันธมิตรของตนสงครามจึงเกิดขึ้นและขยาย
ต่อไปนอกยุโรปจึงทำให้สงครามขยายขอบเขตไป

ทั่วกลายเป็นสงครามโลก

เหตุการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 1
เยอรมันประสบชัยชนะในสงครามในระยะแรก

ทวีความรุนแรงและขยายออกเป็นแนวรบใหญ่ 2
แนวคือแนวรบด้านตะวันออกใกล้บริเวณเมโสโปเต
เมียเดิมและช่องแคบคาร์ดาแนลส์และแนวตะวันตก
ได้แก่ บริเวณเบลเยี่ยมและตอนเหนือของฝรั่งเศส
ปลายสงครามเยอรมนีใช้เรือดำน้ำโจมตีอังกฤษ
อย่างไม่มีขอบเขตและสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับ
อังกฤษฝ่ายเยอรมันเป็นฝ่ายถอยและปราชัยในวัน
ที่ 11 พฤศจิกายน 1918

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะและเกิดสนธิ

สัญญาสันติภาพที่บีบบังคับประเทศผู้แพ้สงคราม 3
ประการคือ 1. จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวน
มหาศาล 2. ถูก จำกัด กำลังทหารและห้ามสะสม
อาวุธ 3. เสียดินแดนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

นธิสัญญาสันติภาพที่สัมพันธมิตรทำกับ
ประเทศผู้แพ้สงคราม 5 ประเทศ ได้แก่

-สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมัน
-สนธิสัญญาแซงต์แยร์แมงทำกับออสเตรีย
-สนธิสัญญาเนยยีทำกับบัลแกเรีย
-สนธิสัญญาตรอานองทำกับฮังการี
-สนธิสัญญาแซฟส์ทำกับตุรกีภายหลังตุรกีขอ
แก้ไขสัญญาใหม่เป็นสนธิสัญญาโลซานน์

ผลกระทบของสงคราม
1. เกิดความสูญเสียทางสังคมและทางจิตวิทยา
2. เกิดประเทศเอกราชใหม่ ๆ
3. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก
4. ความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจกลางและความ

หายนะของมนุษยชาติทำให้ประเทศต่างๆมีแนวคิด
ร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาต่างๆโดย
สันติวิธีจึงมีการการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น

แผนที่ประเทศแสดงระหว่างฝ่าย
สัมพันธมิตรในสีเขียวและฝ่ายมหาอำานาจก

ลางในสีส้มและฝ่ายที่เปีนกลางในสีเทา

องค์การสันนิบาตชาติ





















องค์การสันนิบาตชาติเป็นองค์การกลาง
ระหว่างประเทศโดยประธานาธิบดีวูดโรว์วิล
สันแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาสันติภาพ
และความมั่นคงระหว่างประเทศและได้ 4
สถาปนาเป็นองค์การระหว่างประเทศเมื่อวัน
ที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920 สำนักงานใหญ่

ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวาประเทศสวิตเซอร์
แลนด์

หน้าที่ขององค์การสันนิบาตชาติ
องค์การสันนิบาตชาติมีหน้าที่สำคัญสอง

ประการคือ
1. ดูแลให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามสนธิสัญญา
2. ให้โลกมีสันติภาพและความมั่นคงระหว่าง
ประเทศ

การดาเนินงาน
ดังนี้มีองค์กรต่างๆทำหน้าที่และรับผิดชอบ

-สมัชชา (General Assembly) เป็นที่ประชุม
ใหญ่ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกต่างๆมี
สิทธิออกเสียงได้ประเทศละ 1 เสียง

-คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยสมาชิก
ประเภทถาวรคืออังกฤษฝรั่งเศสอิตาลีญี่ปุ่นเยอ
รมณีรัสเซียสำหรับสหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าเป็น
สมาชิกเพราะมีนโยบายไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการ
ของประเทศยุโรป

-สํานักเลขาธิการ (Secretariat) ทำหน้าที่ธุรการ
ทั่วไป

-ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (The
International court of Justice) ทำหน้าที่
พิจารณากรณีพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกมี
สำนักงานตั้งอยู่กรุงเฮกประเทศเนเธอร์แลนด์

-องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(International Labour Organization) เป็น
องค์กรอิสระ แต่ขึ้นตรงต่อองค์การสันนิบาตชาติ
โดยตรง

ข้อเสียขององค์การสันนิบาตชาติ
1. ไม่ได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจาก

สหรัฐอเมริกา
2. ไม่มีกองกําลังทหารเป็นของตนเอง
3. ประเทศสมาชิกคำนึงถึงประโยชน์ของตน

มากกว่าการรักษาสันติภาพของโลก
ข้อสังเกตในการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ

ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกเพราะ
ต้องปฏิบัติตามลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine)
ซึ่งมีนโยบายไม่ยุ่งเกี่ยวหรือผูกพันทางการเมืองกับ
ประเทศทางยุโรปนับเป็นความบกพร่องที่สำคัญ
ที่สุดขององค์การสันนิบาตชาติ

อุปสรรคขององค์กร
อุปสรรคสำคัญที่สุดอันหนึ่งคือไม่มี

สหรัฐอเมริการ่วมเป็นสมาชิกขององค์การด้วย
สันนิบาตชาติประชุมกันเป็นสมัยประชุมครั้งสุดท้าย
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1939 และหมดสภาพ
เป็นองค์การระหว่างประเทศลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม
ค.ศ. 1946 ทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดได้โอนไปให้แก่
องค์การสหประชาชาติ


Click to View FlipBook Version