The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) (1)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by มายด์ มายด์, 2022-07-10 07:22:34

พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) (1)

พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) (1)

พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต)

สารบัญ หน้า

พรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต), พระยา 1
ประวัติการทำงานของพระยาพรหมาภิบาล(ทองใบสุวรรณภารต) 1
บรรณานุกรม 9

1

พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต)

พรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต), พระยา

พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) เป็นบุตรนายทองอยู่ และนางขํา สุวรรณภารต เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม
พ.ศ.2404 มีน้องชายคือพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ได้ฝากหัดโขนเป็นโขนตัวยักษ์โดยเป็นศิษย์ของนายบัว
ทศกัณฐ์ซึ่งเป็นปู่ของหลวงวิลาศวงงาม (หร่ํา อินทรนัฏ) ซึ่งได้ต่อท่ารําทศกัณฐ์ของเจ้าจอมลิ้นจี่ และฝากหัดจาก มารดาคือขําซึ่ง
เป็นโขนหลวงตัวพิเภก ทําให้ท่านเป็นตัวทศกัณฐ์มีชื่อเสียงในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) ขุนระบำภาษา (ทองใบ สุวรรณ
ภารต) ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาพรหมาภิบาล เป็นครูยักษ์ของโขนสมัครเล่นเป็นครูโขนยักษ์
คนสําคัญในสมัยรัชกาลที่ 6
ประวัติการทำงานของ พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) มีดังนี้
พ.ศ. 2433 - เข้ารับราชการเป็นโขนหลวง
พ.ศ. 2449 - ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนระบำภาษา

พ.ศ. 2453 - ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงระบำภาษา 2

พ.ศ. 2454 - ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระระบำภาษา

พ.ศ. 2458 - ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพรหมาภิบาล

พ.ศ. 2459 - ได้ย้ายมาประจำกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ สังกัดกระทรวงวัง ได้รับพระราชทานยศ ขุนตำรวจตรี

พ.ศ. 2469 - ปลดออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยบำนาญ

พระยาพรหมาภิบาล ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๙ ศิริอายุได้ ๖๖ ปี

เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ และวันอาทิตย์ที่ ๒ กันยายนที่ผ่านมา วชิราวุธวิทยาลัยได้จัดให้มีการแสดงโขน เรื่อ

รามเกียรติ์ ตอนศึกพรหมมาศ ที่โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์




โขนนั้นกล่าวกันว่า เป็นการแสดงชั้นสูงของไทย แต่เดิมมามีแต่โขนหลวงและโขนเชลยศักดิ์ โขนหลวง
คือ โขนของพะมหากษัตริย์ ส่วนโขนเชลยศักดิ์นั้นหมายถึงโขนของเอกชนชนทั่วไป ในตอนปลายรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯเสด็จนิวัติพระนครแล้วได้ทรงจัดตั้ง “โขนสมัคเล่น”
ขึ้นอีกประเภทหนึ่งเป็นคณะโขนที่ผู้แสดงล้วนเป็นมหาดเล็กข้าในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

3

และโดยที่ผู้แสดงทั้งหมดมิได้เป็นผู้ที่เลี้ยงชีพด้วยการแสดงเช่นพวกโขน ละครทั้งหลาย ในเวลาต่อมาโขนคณะนี้จึงมีชื่อ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โขนบรรดาศักดิ์”

โขนบรรดาศักดิ์หรือโขนสมัครเล่นนี้เล่ากันมาในหมู่นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวงว่า มีต้นกำเนิดมาจากความซุกซน
ของเด็กๆ ที่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับใช้ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯซึ่งเวลานั้นประทับอยู่ที่พระราชวังสราญรมย์
เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นจากการที่มหาดเล็กเด็กๆเหล่านั้นได้ไปเที่ยวงานวัดแห่งหนึ่งบางท่านก็ว่าเป็นงานวัดโพธิ์แต่บางท่านก็
แย้งว่าเป็นงานภูเขาทองวัดสระเกศ ซึ่งโดยส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะเป็นงานวัดสระเกศเพราะยังมีร่องรอยของงาน
เดือน ๑๒ ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

ท่านเล่ากันมาว่ายามว่างจากการเล่าเรียนและล้นเกล้าฯ เสด็จไปทรงงานข้างนอกยังไม่เสด็จกลับมานั้น บรรดา
มหาดเล็กเด็กๆ ทั้งหลายอยู่ว่างๆ ก็เล่นโขนเป็นยักษ์เป็นลิงกันไปตามเรื่อง แล้ววันหนึ่งไปเที่ยวงานวัดกัน หม่อมหลวง
ฟื้น พึ่งบุญ บุตรชายคนเล็กของพระนมทัด ซึ่งเป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทมในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เกิดไปเห็น
หัวโขนกระดาษหัวเล็กๆ ขนาดใส่หัวแมวได้ จึงซื้อกลับมาแล้วจะเอาไปสวมหัวแมวให้ออกท่าเหมือนยักษ์ลิงรบกันหรือไม่
ท่านผู้เล่าเรื่องนี้มิได้ขยายความไว้ เพียงแต่เล่าว่าเมื่อหม่มหลวงฟื้นกลับมาถึงพระราชวังสราญรมย์แล้ว ก็ได้ชักชวน
มหาดเล็กเด็กๆ มาชุมนุมกันที่ห้องพักของท่าน แล้วแจกหัวโขนขนาดเล็กนั้นให้ผูกไว้บนศีรษะคนละหัว เอาผ้ามาขึงเป็น
จอแล้วใช้ปากทำเสียงปี่พาทย์พร้อมกับเปิดบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแสดง
กันไป

วันหนึ่งเสด็จพระราชดำเนินกลับจากทรงปฏิบัติพระราชกิจภายนอก แต่วันนั้นไม่ทราบเกิดอะไรขึ้น
เพราะปกติเวลารถพระที่นั่งเลี้ยวมาถึงสามแยกมุมพระราชวัง ผู้ช่วยสารถีจะต้องหยิบแตรยาวๆ ขึ้นเป่า

4

“ปู๊นๆ” ให้สัญญาณให้รถที่จะผ่านมาในย่านนั้นได้ทราบว่ามีรถยนต์พระที่นั่งกำลังจะผ่านแยก เป็นการ
ป้องกันอุบัติเหตุธรรมเนียมเป่าแตรนี้เมื่อสักสิบปีก่อนก็ยังเห็นผู้ช่วยสารถีรถยนต์พระที่นั่งพระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวหยิบ
แตรยื่นออกมาเป่านอกรถเวลารถยนต์พระที่นั่งแล่นผ่านสะพานผ่านฟ้า

เนื่องจากวันนั้นไม่ได้ยินเสียงแตร อีกทั้งคงจะมีรับสั่งให้กองรักษาการณ์ที่หน้าประตูพระราชวังงดเป่าแตร
คำนับเวลาเสด็จพระราชดำเนินผ่าน วันนั้นบรรดามหาดเล็กเด็กๆเหล่านั้นจึงพากันเล่นเป็นลิงเป็นยักษ์กันอย่างสนุกสนาน
จนเสด็จพระราชดำเนินมาประทับทอดพระเนตรอยู่ที่หน้าประตูห้องที่เด็กๆ กำลังเล่นกันอยู่ คงจะได้ทอดพระเนตรอยู่
นานพอสมควรกว่าที่ยักษ์ ลิง เหล่านั้นจะรู้ตัว ซึ่งก็ทำให้ทราบฝ่าละอองพระบาทว่าเด็กๆ ที่ทรงชุบเลี้ยงไว้นั้นต่างก็เล่น
เป็นลิงเป็นยักษ์เพราะมีใจรักในศิลปแขนงนี้

ครั้นทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง “พระนาละ” และได้โปรดเกล้าฯ ให้คณะละครเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์
(ม.ร.ว.หลาน กุญชร) มาจัดแสดงในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา ๒๕ พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ แล้ว จึงทรงยืมครู
โขนละครผู้มีฝีมือดีจากบ้านเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ เช่น ครูทองใบเป็นครูยักษ์ ครูเพิ่ม เป็นครูลิง ครูทองดี
เป็นครูพระครูนาง และครูเป็นครูดนตรี มาฝึกสอนมหาดเล็กข้าในพระองค์

ในการฝึกหัดมหาดเล็กข้าในพระองค์นี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีรับสั่งว่า โขนสมัครเล่นนี้ต้อง
ให้ดีกว่าโขนหลวงหรือโขนเชลยศักดิ์ เพราะมีพื้นการศึกษาดีมาแต่เดิม และตามแบบอย่างของอังกฤษเขาถือว่า

5

และครสมัครเล่นต้องดีกว่าละครอาชีพเสมอ และอังกฤษก็ได้ยกย่องศิลปินให้เป็นขุนนางเหมือนกัน จึงโปรดให้โขนคณะ
นี้ฝึกหัดกันอย่างจริงจังและถูกต้องตามแบบแผนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

การแสดงโขนกลางแปลงในงานนี้จะแสดงกลางสนามกว้าง ท่ามกลางบรรยากาศในธรรมชาติ มีฉากยกทัพ และ
การรบที่ใช้นักแสดงจำนวนมาก บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการยกทัพ เดินเรื่องด้วยคำพากย์และเจรจา การแสดง
โขนในงานบอลลูนครั้งที่ผ่านมาล้วนได้เสียงตอบรับที่ดีจากคนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ผลตอบรับจาก
โขนที่จัดแสดงในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ตอกย้ำเป็นอย่างดีว่า นาฏกรรมอันล้ำค่านี้ได้รับความนิยมในวงกว้าง
กระแสในรอบ2 ปีที่ผ่านมาอย่างกรณีองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
ประกาศขึ้นทะเบียน “โขนในไทย” ในบัญชีรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ช่วงเวลานั้นก็ทำให้โขนใน
ไทยเป็นกระแสสืบเนื่องต่อมา

รอบ2ปีที่ผ่านมา กิจกรรมสำคัญในแขนงต่างๆ ล้วนมีการแสดงโขนให้ได้ชม แต่ละครั้งมีผู้ชมเข้ามาสัมผัสอย่าง
เนืองแน่นเสมอ ไม่เพียงกลุ่มผู้ชมที่นิยมศิลปะแขนงนี้อยู่แล้ว กลุ่มคนรุ่นใหม่ และชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศจะ
เป็นกลุ่มที่พบเห็นในหมู่ผู้ชมได้มากขึ้น ยิ่งสถานที่จัดเป็นสถานที่ในบรรยากาศที่สวยงาม สิ่งแวดล้อมดีผสมผสาน
สอดคล้องเข้ากับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ยิ่งเป็นองค์ประกอบที่หนุนเสริมบรรยากาศการชมนาฏกรรมได้อย่างรื่นรมย์ดังเช่น
ภาพโขนกลางแปลงที่นำมาให้ชมเป็นตัวอย่าง

6

นักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่ายุคสมัยนี้ถือเป็นยุครุ่งเรือง หรือกล่าวได้ว่าเป็น “ยุคทอง”
ของศิลปะการแสดงหลายประเภท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6 ทรงเป็นนักปกครองที่ทรงรับดูแล
กิจการศิลปะการแสดงด้วยพระองค์เอง นั่นทำให้ศิลปะ อาทิ โขน ละคร และดนตรีปี่พาทย์เจริญรุ่งเรืองอย่างมากย้อน
ไปเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงจัดให้มหาดเล็กในพระองค์หัดเล่นโขน ซึ่งเป็นที่รู้จัก
กันในชื่อ “โขนสมัครเล่น” ในเวลาต่อมา โขนคณะนี้เรียกอีกชื่อว่า “โขนบรรดาศักดิ์” รัชกาลที่6 ทรงมีพระบรม
ราชูปถัมภ์ในศิลปะหลายแขนงไม่เพียงแค่โขนเท่านั้น แต่หากกล่าวถึงด้านโขน พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ซ้อมโขนละคร
และให้รถยนต์หลวงรับนักเรียนมหาดเล็กหลวงมาร่วมซ้อมเป็นเสนายักษ์ เสนาลิง หรือบทบาทอื่น ในระหว่างซ้อมโขน
ละคร มักมีเรื่องราวที่ทำให้ทรงพระสรวลบ่อยๆ

การซ้อมครั้งหนึ่ง ซ้อมในตอนพระรามยกทัพรบทศกัณฐ์ พระรามแผลงศรถูกพวกยักษ์ล้มตายเกลื่อน รบกันถึงย่ำ
พระทินกรก็ยังหาแพ้ชนะไม่ได้ ทศกัณฐ์จึงเจรจาหย่าทัพว่ารุ่งขึ้นให้มารบกันใหม่ เมื่อทศกัณฐ์ยกทัพกลับเข้ากรุงลงกา
เสนายักษ์ที่ต้องศรพระรามล้มลงก็ลุกขึ้นเข้าโรงไปแต่มีเสนายักษ์ตนหนึ่งเป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวงต้องศรพระรามหลับ
ไปจริงๆ พวกยักษ์เพื่อนๆ กำลังจะเข้าไปปลุก พระองค์ทรงห้ามไว้และรับสั่งว่า “ปล่อยให้มันนอนตามสบาย”หลังจาก
กองทัพพระรามยกพลกลับเข้าโรงกันหมด เสนายักษ์ตนนั้นถึงรู้สึกตัว ลุกขึ้นนั่ง เมื่อไม่เห็นผู้ใดหลงเหลือจึงทำท่าเร่อร่า
วิ่งเข้าโรงไป รัชกาลที่6 ทรงพระสรวลและปรบพระหัตถ์ไล่หลัง (วรชาติ มีชูบท, 2561)

7

เมื่อขึ้นครองราชย์ พระองค์โปรดเกล้าฯ โอนกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหรสพมาขึ้นกับกรมมหรสพ รวมถึงกรมโขน
แต่เดิม ดังนั้น จึงมีทั้งโขนสมัครเล่นส่วนพระองค์และโขนหลวงของกรมมหรสพ ทั้งกลุ่มยังเคยมาเล่นรวมกันด้วย และ
โปรดเกล้าฯให้ครูโขนละครฝีมือดีมีบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ช่วงเวลานั้นมีผู้เล่นเป็นทศกัณฐ์ที่มีชื่อเสียงมากคือ พระยา
พรหมาธิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) มีคำบอกเล่ากันมาว่าเคยต่อท่ารำทศกัณฐ์ของเจ้าจอมลิ้นจี่ ในรัชกาลที่4 ซึ่งเป็น
ตัวทศกัณฐ์เลื่องชื่อจากเฒ่าแก่ลำไย น้องสาวของเจ้าจอมลิ้นจี่ภายหลังเป็นครูยักษ์ในกรมมหรสพที่มีลูกศิษย์สืบทอดมาถึง
ปัจจุบัน (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลางเล่ม 9) ในสมัยนี้ยังปรากฏพระราชนิพนธ์บทโขน บทละคร ในรัชกาลที่6
หลายรูปแบบพระราชนิพนธ์บทโขนและละครภาษาไทยล้วนมีจำนวนมากมาย มีทั้งที่พระราชนิพนธ์ตั้งแต่ทรงพระยศเป็น
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชจนถึงช่วงขึ้นครองราชย์รวมเวลา 31ปี เมื่อนับจำนวนปริมาณแล้วถึงกับมีผู้คาดการณ์กันว่า
พระองค์พระราชนิพนธ์ละคร 1เรื่อง ทุก 2เดือน (Pin Malakul, 1975)

ส่วนการแสดงโขนในสมัยนี้ก็ถือได้ว่าเป็นช่วงรุ่งเรืองและเฟื่องฟูอย่างมาก ทั้งกระบวนท่ารำที่เป็นแบบแผน มีองค์
ประกอบความงามของการแสดงศิลปะหลายแขนงครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นชื่อตัวละคร บทขับร้องแบบละครใน บท
พากย์เจรจาแบบโขน เครื่องแต่งกายแบบพระราชประดิษฐ์ เนื้อเรื่องที่ปรับปรุงให้ทันสมัย

8

โดยเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งทรงศึกษาอย่างลึกซึ้ง และพระราชนิพนธ์บทพากย์เจรจา บทโขน และบทละครเรื่อง

รามเกียรติ์อีกหลายชุด

เชื่อว่าการแสดงโขนในงานต่างๆ ทั้งที่กล่าวถึงมานี้ไปจนถึงการแสดงที่จะเกิดในอนาคตล้วนเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้

สนใจ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือผู้ศึกษาศิลปะ เพื่อร่วมกันสนับสนุนการสืบสานศิลปะอันล้ำค่าให้คงอยู่อย่างยืนยาว

บรรณานุกรม 9

สมหมาย จันทร์เรือง. “โขนพระราชทาน ‘สืบมรรคา’ : โดย ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง. มติชน. ออนไลน์.
เผยแพร่ 24 พฤศจิกายน 2562. เข้าถึง 29 มกราคม 2563. http://www.sookjai.com/index.php?
topic=44298.0

เจาะลึกโขนยุครัตนโกสินทร์ ผ่าห้วงปริศนา สู่กระแสมรดกวัฒนธรรมล้ำค่าเฟื่องฟูในสมัยใหม่โดย ผศ.ดร.สม
หมาย จันทร์เรือง”. มติชน. ออนไลน์. เผยแพร่ 24 ตุลาคม 2562. เข้าถึง 29 มกราคม 2563.
https://www.silpa-mag.com/culture/article_44895

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ตำนานละครอิเหนา. วชิรญาณ. ออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม
2563.

จัดทำโดย
น.ส. ณัฐทิชา ปั้นหยัด เลขที่3 ม.5/9


Click to View FlipBook Version