The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เรื่อง สมรสเท่าเทียม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nannapas Kakina, 2022-07-28 03:41:44

เรื่อง สมรสเท่าเทียม

เรื่อง สมรสเท่าเทียม

เร่อื ง สมรสเท่าเทยี ม

จดั ทำโดย

นางสาวภูษณศิ า มเี จริญ รหัสนกั ศึกษา1650207648 เลขท1่ี 6
นางสาวสุภาพร พลอยขาว รหัสนักศึกษา1650208216 เลขที่36
นางสาวสวุ นันท์ แก้วตา รหัสนกั ศึกษา1650208224 เลขท3่ี 7
นางสาววิญาดา แปน้ สุวรรณ รหัสนักศกึ ษา1650208232 เลขที่38
นางสาวปภาดา เพง็ พินจิ รหัสนกั ศกึ ษา1650208703 เลขท5่ี 0
นายกฤษดา หง รหสั นกั ศึกษา1650209008 เลขที่59
นางสาวณัฐนันท์ รตั นวาร รหัสนกั ศกึ ษา1650209040 เลขที6่ 0
นางสาวสุดารัตน์ กมิ สร้อย รหสั นกั ศกึ ษา1650209057 เลขท่ี61

เสนอ
อาจารย์ เยาวลกั ษณ์ เอกไพฑูรย์

รายงานน้เี ปน็ สว่ นหนงึ่ ของการรียนวิชา GE101 Thinking Skills Lifelong Learning
ภาคเรยี นท่ี 1/1 ปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ



คำนำ

รายงานฉบับนจ้ี ดั ทำขึน้ เพื่อเป็นของวิชา GE101 Thinking Skills Lifelong Learning Section
106A เพือ่ ให้ไดศ้ ึกษาเกี่ยวกับเรอ่ื งการคดิ อย่างเปน็ ขั้นตอน ได้ศึกษาและทำความเขา้ ใจเกยี่ วกบั เรอ่ื ง การ
สมรสเท่าเทยี ม ว่ามีที่มา ข้อดี ขอ้ เสยี อย่างไร ทำไมทกุ คนจึงออกมาเรียกรอ้ งสิทธิเสรภี าพเพื่อตนเอง ทางคณะ
ผ้จู ดั ทำจึงสนใจในประเด็นน้ี

คณะผูจ้ ัดทำหวังว่ารายงานฉบับน้ี จะให้ความร้แู ละประโยชน์ตอ่ ผทู้ มี่ าศึกษาไม่มากก็นอ้ ย หาก
ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นีด้ ้วย

คณะผจู้ ัดทำ

สารบัญ ข

เรอื่ ง หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
แนวคดิ พ้ืนฐานเกย่ี วกบั บคุ คลเพศทางเลือก 4
แนวคิดพน้ื ฐานเกยี่ วกบั การสมรส 7
แนวคิดพนื้ ฐานเกยี่ วกับสิทธแิ ละเสรีภาพในการสมรสของบุคคลเพศทางเลอื ก 8
แนวคิดทโี่ ต้แยง้ การสมรสของบุคคลเพศทางเลอื ก 9
แนวคิดท่ีสนับสนุนการสมรสของบุคคลเพศทางเลอื ก 11
การวเิ คราะห์โดยเชอ่ื มโยงทฤษฎี 13
13
Critical Thinking 13
Complex and Creative Problem Solving 14
Analytical Thinking 15
บรรณานกุ รม

1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หากกล่าวถึง เพศ ของมนุษย์ในปจั จบุ ัน เป็นทย่ี อมรบั ไดโ้ ดยทว่ั ไปว่า มนษุ ยม์ ี 2 เพศ กล่าวคอื เพศ
ชายและเพศหญิง ซึ่งเป็นเพศสรรี ะท่ีธรรมชาตสิ รา้ งขึ้นเพื่อสบื พันธุ์ต่อไป แตใ่ นสังคม ปจั จบุ นั เรามักพบเหน็
การแสดงออกของกล่มุ บุคคลท่ีมีการแสดงออกทางเพศที่แตกต่างจากเพศกาเนิด เชน่ ชายแสดงออกคล้ายหญงิ
หรือ หญงิ แสดงออกคลา้ ยชาย หรอื กลมุ่ บุคคลท่แี สดงออกตามลกั ษณะ ทางเพศของตนแตม่ ีรสนิยมชอบเพศ
เดยี วกัน กล่าวคอื ชายชอบชาย หรือ หญิงชอบหญงิ ซ่ึงเรียก กลุม่ บุคคลเหลา่ นี้วา่ กลุม่ บคุ คลเพศทางเลือก
หรอื LGBTQ โดย L คอื เลสเบ้ียน (Lesbian)1, G คือ เกย์ (Gay)2, B คอื ไบเซ็กชวล (Bisexual)3, T คือ
ทรานเจนเดอร์ (Transgender)4 และ Q คือ เควียร์ (Queer)5 ดงั นัน้ จึงทำให้สงั คมในปัจจุบันประกอบไป
ด้วยเพศชายและหญิงทม่ี ี การแสดงออกในพฤตกิ รรมทางเพศทแ่ี ตกต่างกันออกไป หรืออาจเรยี กว่าบุคคลเพศ
ทางเลือกนั่นเอง
ในช่วงเวลาทีผ่ ่านมา เรมิ่ มีการยอมรบั และเคารพสิทธคิ วามเทา่ เทยี มของบคุ คล เพศ ในปี ค.ศ. 2001
ประเทศเนเธอรแ์ ลนด์เป็น แรกที่มีกฎหมายรบั รองการสมรสของบคุ คลเพศทางเลือก และตอ่ มาหลายประเทศ
กม็ ี การออกกฎหมายรับรองการสมรสของบุคคลเพศทางเลอื กดงั กลา่ วดว้ ย อาทเิ ช่น ฝร่งั เศส อังกฤษ
สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สเปน นิวซีแลนด์ เป็นต้น

แหลง่ ทีม่ า : https://salehere.co.th/articles/about-pridemonth-lgbtq

2

1.Lesbian (เลสเบี้ยน) หมายถึง ผู้หญงิ ทรี่ กั ผู้หญิงดว้ ยกนั ทางอารมณ์ ทางความสัมพันธ์ทางเพศหรือ
ทางกาย

2. Gay (เกย์) หมายถึง ผู้ชายทีร่ ักผูช้ ายด้วยกัน ทางอารมณ์ ทางความสัมพนั ธท์ างเพศหรอื ทางกาย
3.Bisexual (คนรักสองเพศ) หมายถึง บคุ คลท่ีรกั ได้ทงั้ ชายและหญิง ทางอารมณ์ ทางความสัมพนั ธ์
ทางเพศ หรอื ทางกาย
4.Transgender (คนข้ามเพศ) หมายถึง ผทู้ รี่ สู้ กึ พงึ พอใจกับเพศภาวะหรืออัตลักษณ์ทางเพศท่ีตรง
ขา้ มกบั เพศกำเนิดของตน
5.Queer (เควียร์) หมายถึง คนทไ่ี ม่ได้มีเพศตามขนบธรรมเนยี มของสังคมทวั่ ไป ไมจ่ ำกัดกรอบ
สำหรับประเทศไทย บทบัญญัตแิ ห่งกฎหมายเกี่ยวกบั การสมรสหรือกฎหมายเก่ียวกับ การรบั รอง
สถานะระหวา่ งคสู่ มรสในการใชช้ วี ติ ครู่ ่วมกันนน้ั บญั ญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ บรรพ 5
วา่ ดว้ ยเรื่องครอบครวั โดยในปจั จุบนั บทบญั ญัติแห่งกฎหมายดงั กล่าวรับรองการใช้ ชีวติ ครู่ ว่ มกันระหว่าง
บคุ คลทมี่ ีเพศสรีระทแี่ ตกตา่ งกัน หมายถึง การสมรสระหว่างเพศชายและเพศหญงิ เทา่ น้นั ตามมาตรา 1448
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์6 และในปัจจุบันยงั ไม่มีกฎหมาย ทร่ี ับรองการสมรสของบุคคลเพศ
ทางเลือกแต่อยา่ งใด แม้ว่ารัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พ.ศ. 2560 จะมีบทบัญญัตหิ ้ามการเลือกปฏบิ ัติ
ด้วยเหตุแห่งเพศกต็ าม หรืออนสุ ัญญาและกติกา ระหวา่ งประเทศหลายฉบบั ทปี่ ระเทศไทยเขา้ รว่ มลงนามและ
ใหส้ ัตยาบันว่าจะพจิ ารณาให้มบี ทบัญญตั ิ แห่งกฎหมายดงั กลา่ วดว้ ย อาทเิ ชน่ ประเทศไทยได้รบั รองปฏิญญา
สากลว่าดว้ ยสทิ ธมิ นุษยชน (UDHR) เมื่อวันท่ี 10 ธนั วาคม พ.ศ. 2491 และได้เข้าเปน็ ภาคกี ตกิ าระหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธพิ ลเมืองและ สทิ ธทิ างการเมือง (ICCPR) เมอื่ วันท่ี 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ต่อมาได้เขา้ เป็น
ภาคีกตกิ าระหวา่ ง ประเทศว่าดว้ ยสทิ ธิทางเศรษฐกจิ สังคมและวฒั นธรรม (ICESCR) เมื่อวันท่ี 5 กนั ยายน
พ.ศ. 2542 รวมทง้ั ไดร้ ว่ มรบั รองหลักการยอกยาการ์ตาวา่ ด้วยการปรับใช้กฎหมายสิทธมิ นุษยชนระหวา่ ง
ประเทศ ในประเด็นวถิ ีทางเพศและอตั ลกั ษณ์ทางเพศ ค.ศ. 2006 (The Yogyakarta Principles on the
Application of International Human Rights Law in relation to Sexual Orientation and Gender
Indentity 2006) ซ่ึงตราสารระหว่างประเทศทง้ั 4 ฉบบั ขา้ งต้นไดก้ าหนดสิทธิในการก่อตง้ั ครอบครัวไว้ ดงั นั้น
เมื่อประเทศไทยไดเ้ ข้าเป็นภาคสี มาชกิ สนธสิ ัญญาและตราสารสิทธมิ นุษยชน ระหว่างประเทศดังกลา่ ว สง่ ผล
ให้ประเทศไทยต้องปฏบิ ัติตามพันธกรณีท่ีกำหนดไว้ อนั ได้แก่ การสร้างหลักประกันใหเ้ กดิ สิทธติ ามสนธิสัญญา
และตราสารสิทธิมนษุ ยชนระหว่างประเทศ เช่น การบัญญัติกฎหมาย การแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบและ
มาตรการต่าง ๆ เพื่อใหส้ อดคล้องและเปน็ ไปตามหลกั การและสาระสาคญั ของสนธิสัญญา และตราสารสทิ ธิ
มนุษยชนระหวา่ งประเทศ ดงั กลา่ ว
ปจั จบุ นั ประเทศไทยยังไม่มบี ทบญั ญัตแิ ห่งกฎหมายที่รับรองสถานะการใชช้ วี ิตครู่ ว่ มกัน ของบุคคล
เพศทางเลอื ก ดงั นน้ั บทบญั ญตั แิ หง่ กฎหมายไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ เร่อื งการสมรส จึง
เปน็ การใหก้ ารรบั รองแตเ่ ฉพาะการสมรสระหว่างเพศชายและหญงิ เท่าน้นั โดย บคุ คลทจ่ี ะทำการสมรสนั้น
ต้องดำเนนิ การจดทะเบียนสมรสตามมาตรา 1457 แห่งประมวล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 บัญญตั วิ า่ “การสมรสจะทำไดต้ ่อเม่ือ ชายและหญิง
มอี ายุสิบเจ็ดปีบรบิ รู ณ์แล้ว แตใ่ นกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตใหท้ ำการสมรส ก่อนนัน้ ได้”
กฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ การสมรสนน้ั จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายและทาใหเ้ กดิ สิทธิและหนา้ ที่ระหว่าง
คสู่ มรสตามมา และมีสถานะเป็นคูส่ มรส หรอื สามีภรยิ าโดยชอบดว้ ยกฎหมาย
ด้วยเหตุดงั กล่าว บทบญั ญตั ิแห่งกฎหมายข้างต้น จึงไม่สอดคลอ้ งกับสภาพสงั คมท่ี เปลีย่ นแปลงไป
บคุ คลเพศทางเลือกขาดสทิ ธิและความเสมอภาคในการสมรส โดยในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้มีการตรา

3

พระราชบญั ญตั ิความเท่าเทยี มระหวา่ งเพศ พ.ศ. 2558 โดยบญั ญัตหิ า้ ม การเลือกปฏิบตั ิโดยไมเ่ ป็นธรรม
ระหวา่ งเพศ ซง่ึ คานยิ ามของคาว่า “เพศ” ในพระราชบญั ญัติดังกล่าว รวมถึงบคุ คลท่มี ีการแสดงออกท่ีแตกต่าง
จากเพศโดยกำเนิดดว้ ย ซ่งึ ถอื เปน็ การแสดงออกถงึ การเปล่ียนแปลงในการมองนิยาม คำวา่ “เพศ” ท่ีแตกต่าง
ไปจากเดิมท่ีมีเพียงเพศชายและเพศหญิง เทา่ นน้ั ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยจะได้ให้คำปฏิญาณโดย
สมคั รใจต่อคณะทำงานทบทวน สถานการณส์ ิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UPR) ถงึ การทบทวนประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ท่ีมีเงื่อนไขจำกดั สิทธิในการสมรส ซงึ่ สะท้อนใหเ้ หน็ ไดว้ า่ ประเทศไทยใหก้ ารยอมรบั
การมีตัวตนของบุคคลเพศทางเลือกมากย่ิงขึน้ แตใ่ นปจั จุบันบคุ คลเพศทางเลือกในประเทศไทยก็ยงั ไม่ได้ รบั
ความคุ้มครองทางกฎหมายในการมีชีวิตคแู่ ต่อยา่ งใด โดยมีการเคล่อื นไหวเพื่อเรียกร้องให้ มีการตรากฎหมาย
เร่อื ยมา แต่ก็ยังไมป่ ระสบผลสำเร็จแตอ่ ยา่ งใด และทาใหเ้ กิดปญั หาถกเถียงกันอย่าง มากมายว่า ควรจะให้สทิ ธิ
และเสรีภาพในการสมรสแกบ่ ุคคลเพศทางเลือกหรือไม่ หากให้สทิ ธิและ เสรภี าพดังกลา่ วแล้ว ควรให้มาก
เพียงใด โดยมที ั้งแนวคิดทไ่ี ม่เห็นด้วยและเห็นด้วย โดยแนวคดิ ทไ่ี มเ่ หน็ ด้วยนัน้ มองว่าการสมรสดงั กล่าวขัดต่อ
หลกั ความสงบเรยี บรอ้ ยและศีลธรรมอนั ดีของประชาชน และความไมเ่ หมาะสมในการเล้ยี งดูเดก็ โดยบุคคลเพศ
ทางเลอื ก แต่แนวคิดท่เี หน็ ดว้ ยนนั้ มองวา่ สทิ ธใิ นการสมรสเปน็ สทิ ธิข้นั พน้ื ฐาน และเปน็ การแสดงออกถึงความ
เทา่ เทียมกันของสิทธิมนุษยชน อย่างหนงึ่ โดย อาจารย์ ไพโรจน์ กัมพูสิริ ไดม้ องวา่ การอนุญาตใหบ้ ุคคลเพศ
ทางเลือกสามารถทาการ สมรสกนั ไดน้ ัน้ ถือเปน็ การอำนวยสทิ ธิมนุษยชนและมิไดก้ ระทบสถาบนั ครอบครวั
ของบุคคลตา่ งเพศ

แหลง่ ทม่ี า : https://ilaw.or.th/node/6016

แหล่งทีม่ า : https://ilaw.or.th/node/6016

4

แนวคดิ พน้ื ฐานเกีย่ วกบั บคุ คลเพศทางเลือก

ในอดตี ท่ีผา่ นมานั้น การแสดงออกของบคุ คลเพศทางเลือกทแ่ี ตกตา่ งจากเพศสรีระของ ตนน้ัน อาจถูก
มองเป็นเรื่องต้องห้ามและเป็นเรือ่ งท่ีผดิ ศีลธรรมอนั ดี โดยในบางประเทศไมใ่ ห้การยอมรับ บุคคลเพศทางเลือก
โดยมองวา่ เพศเป็นเพยี งกลไกหน่ึงในการอยูร่ อดและดารงเผ่าพันธ์ุของมนุษย์เทา่ นั้น เพศจึงมเี พียงเพศชายและ
เพศหญงิ และเพศชายเพศหญงิ ใช้ชวี ิตอยูร่ ว่ มกันเท่านน้ั ดังนนั้ จงึ มีการยดึ ถือ กันมาว่า เพศชายและเพศหญงิ
จึงเป็นเพศปกติ และการแสดงออกทางเพศทแ่ี ตกต่างจากเพศโดยกำเนิด นัน้ ถือเปน็ ความไม่ปกตอิ ย่างหนงึ่
นอกจากนี้ความเช่ือทางศาสนา สงั คม ประเพณี วัฒนธรรมและ ทางการแพทย์ในอดีตทำให้เกดิ ความเชื่อท่ี
ปลกู ฝังกนั สืบทอดกนั มาอย่างยาวนานและเป็นอุดมคติของ ความถูกตอ้ งของคนในสงั คม และสง่ ผลให้เกดิ การ
ตอ่ ต้านทางสงั คมกบั บุคคลทมี่ ีพฤติกรรมทางเพศ ทีแ่ ตกตา่ งจากเพศกำเนดิ อาทเิ ช่น การจับกมุ การลงโทษ
จำคุก การทรมานรูปแบบตา่ ง ๆ รวมถึง การประหารชีวิต เปน็ ตน้ โดยแนวคดิ พน้ื ฐานทม่ี ีอิทธิพลต่อการทำให้
กฎหมายกำหนดบทลงโทษ แกพ่ ฤติกรรมรักเพศเดียวกนั มีทีม่ าจากคำอธิบายทางศาสนาครสิ ต์ ซงึ่ ให้คำอธิบาย
ตอ่ การกระทำ ดังกล่าววา่ เป็นส่งิ ทข่ี ดั กบั พระประสงคข์ องพระผู้เปน็ เจา้ ในตานานการสร้างโลก ตามครสิ ต
ธรรม คัมภีร์ ความสัมพนั ธ์แบบรักเพศเดียวกนั เป็นการกระทำทถ่ี ือเป็นความรนุ แรงและเปน็ เหตุให้ พระผู้เปน็
เจา้ ทรงบนั ดาลไฟบรรลัยกลั ป์เผาผลาญเมอื ง Sodom และ Gomorrah เนอื่ งจากผู้คน ในเมืองนิยมการรักเพศ
เดยี วกนั

ความคดิ พน้ื ฐานทางศาสนาคริสต์จึงมอี ทิ ธิพลตอ่ การมองว่าพฤติกรรมการรักเพศเดยี วกัน เป็นส่งิ ที่ขดั
กบั ศีลธรรมและเป็นความผิด พฤติกรรมทางเพศนอกสถาบันการสมรส และที่ไม่สามารถ ก่อให้เกิดบตุ รได้เปน็
การกระทาที่ขัดต่อศีลธรรมด้วยเช่นเดียวกนั ดงั น้นั พฤติกรรมรกั เพศเดยี วกันจึงเป็น ความผิดปกติท่ีจำเป็นต้อง
ไดร้ บั การเยยี วยา หรือเปน็ ความเจ็บป่วยทางจติ ประเภทหนึ่งท่ีต้องได้รบั การรักษา โดยสมาคมจติ แพทย์
อเมริกา (American Psychiatric Association หรอื APA) ตพี มิ พ์ คมู่ ือการวนิ ิจฉัยและสถติ ขิ องความผิดปกติ
ทางจติ (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ฉบบั แรก ในปคี .ศ. 1952 และการรกั
ร่วมเพศถูกจัดให้เป็นความผดิ ปกตทิ างจิต ประเภทหน่ึง และการจาแนกโรคสากล (International
Classification of Diseases’ 9th Revision : ICD-9) คร้งั ท่ี 9 ขององค์การอนามยั โรค ค.ศ. 19782 เหน็ วา่
บคุ คลทม่ี ีความสนใจในทางเพศกบั บคุ คลทมี่ ี เพศเดยี วกนั กับตนเป็นบคุ คลที่มกี ามวปิ รติ

โดยในช่วงยุคกลางจนถึงกลางครสิ ต์ศตวรรษท่ี 20 แนวคิดเรือ่ ง การเอาผดิ และลงโทษ กลมุ่ คน
เหลา่ น้ีแผข่ ยายไปทว่ั ยโุ รป รวมถึงในส่วนอืน่ ๆ ทัว่ โลกจากอิทธิพลของประเทศอาณานิคม การปราบปรามเอา
ผดิ กบั บุคคลเพศทางเลือกเกิดข้ึนมากมายในยโุ รปและมโี ทษถึงประหารชีวติ ในระหว่างสงครามโลกครั้งท่ี 2
กองทัพนาซีได้กวาดล้างและจับกุมบุคคลทมี่ ีพฤติกรรมทางเพศที่แตกต่าง จากเพศกำเนดิ ไว้ในค่ายกักกันเพื่อ
ทรมาน ใช้แรงงาน และถูกใชเ้ ปน็ เครื่องมือในการทดลองต่าง ๆ ส่งผลให้มผี ู้เสียชีวิตจำนวนมาก

แตอ่ ย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกคร้ังท่ี 2 บุคคลท่มี ีพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศ ท่ีแตกตา่ งจาก
เพศกาเนดิ เรม่ิ ถูกมองในมุมมองใหม่ และกลายเปน็ ประเด็นเรือ่ งสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิ มนุษยชน เม่ือนานา
อารยประเทศเรมิ่ มีการต่นื ตวั เรอื่ งสทิ ธิ เสรภี าพ ความเสมอภาค และความเป็น ประชาธปิ ไตย

โดยปี ค.ศ. 1969 ในประเทศสหรฐั อเมรกิ าเกิดเหตุการณ์จลาจลทีเ่ รียกกว่า Stonewall Riots โดย
กลุม่ นกั เคลือ่ นไหวสทิ ธิของบุคคลเพศทางเลือกกบั ตำรวจ ณ กรงุ นวิ ยอร์ก ในวนั ที่ 28 มิถนุ ายน ค.ศ. 1969 ซึ่ง
การเคลือ่ นไหวดงั กล่าวไดก้ ลายเป็นสัญลกั ษณ์ของการต่อสูเ้ พื่อ ความเสมอภาคระหวา่ งเพศของบุคคลเพศ
ทางเลือกในประเทศสหรัฐอเมรกิ า และถือเป็นจุดเร่ิมตน้ ของการเคล่ือนไหวทางสงั คมในเรอ่ื งการเรียกร้องสิทธิ

5

และความเทา่ เทียมของบคุ คลเพศทางเลอื ก ต่อมาองคก์ ารอนามัยโลก (WHO) ได้ถอดพฤติกรรมการรักเพศ
เดยี วกนั ออกจากบัญชจี ำแนกทางสถิต

ในปจั จุบันความเข้าใจในสงั คม เกีย่ วกับความหมายของคาวา่ “เพศ” ของบุคคลน้ัน ไม่ได้ จากัดเพียง
เพศท่ีปรากฏตามสรีระรา่ งกายเทา่ น้ัน โดยสงั คมในปัจจบุ นั มกี ารใหค้ านิยามคาศพั ทท์ ใ่ี ช้ เรยี กบุคคลทไ่ี มไ่ ด้
แสดงออกทางเพศตามเพศกำเนิดได้ปรากฏขึ้นมากมาย ดงั น้นั แนวคดิ เรอ่ื งเพศ จงึ มีองค์ประกอบทตี่ ้อง
พิจารณาร่วมกนั หลายด้าน ได้แก่ เพศสรรี ะ (Sex) เพศที่เป็นบทบาททางสังคม หรือเพศสภาพ (Gender) และ
เพศในทางกามารมณ์ เพศสมั พนั ธ์ และอารมณ์ความรูส้ ึก (Sexual Orientation) ประกอบรวมกนั โดยอาจ
แยกอธบิ าย ดงั น้ี

1. เพศสรีระ (Sex) หรือเพศกำเนิด หมายถึง ลกั ษณะเพศทางกายภาพท่ีมองเห็นจาก ภายนอก มัก
เปน็ ตวั กำหนดเพศของบคุ คลในทางกฎหมาย หรือถกู รับรองอย่างเปน็ ทางการโดยระบบ ของรัฐ

2. เพศสภาพ (Gender) หมายถงึ บทบาทความเป็นเพศท่ีถูกกำหนดขึน้ จาก ขนบธรรมเนียม
วัฒนธรรม ประเพณี และกลไกทางสงั คม ซึ่งมผี ลต่อการนิยามตนเอง หรืออัตลักษณ์ ทางเพศ (Gender
Identity) และการแสดงบทบาททางเพศ หรือตัวตนทางเพศของบคุ คลในสงั คม เชน่ การแสดงบทบาทความ
เป็นหญงิ หรอื ความเปน็ ชาย หรอื ความเป็นเพศอ่นื ๆ ในสังคมของบคุ คล โดยเพศสภาพนั้นเป็นผลลัพธจ์ าก
กระบวนการขดั เกลาทางสังคมทเ่ี ชอ่ื มโยงกับทัศนคติ ความเช่ือ วฒั นธรรม ค่านยิ ม ขนบธรรมเนยี ม ประเพณี
ซ่งึ ไม่มลี ักษณะตายตัว สามารถเปล่ียนแปลงได้ตาม ยคุ สมัย และความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม และ
ไมจ่ าเปน็ จะตอ้ งสอดคล้องกับเพศสรีระหรือเพศกาเนิดก็ได้ บุคคลทีม่ เี พศสภาพแตกต่างจากเพศกำเนิดน้ัน
หมายถงึ บุคคลทีเ่ กดิ มามีเพศกำเนดิ เพศหนงึ่ แตม่ ีการแสดงออกท่ีแตกตา่ งจากเพศกำเนิดของตน

3. เพศวถิ ี (Sexuality) หมายถึง วิถที างเพศในทางกามารมณ์ และในดา้ นความรูส้ ึก ซึง่ หมายความ
รวมถึงรสนยิ มทางเพศ ความร้สู กึ ดึงดดู ความปรารถนาทางเพศ ความร้สู ึกรกั ใคร่ ชอบพอ หรอื พฤตกิ รรมใน
ความสมั พันธท์ างเพศของบคุ คล

แหลง่ ทม่ี า : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟส์ ไตล์/14275

6

การทำความเข้าใจในเรอื่ งความซับซ้อนของ “เพศ” เปน็ ส่ิงสำคญั เพื่อทำความเขา้ ใจ ความหลากหลาย
ทางเพศ และอตั ลกั ษณท์ างเพศของผ้คู นในสังคมปัจจบุ นั ท่ีมีการเปล่ยี นแปลง อย่เู สมอ ดงั นั้น จะให้เห็นวา่
“เพศ” ไม่ไดถ้ ูกจำกดั เพยี งแค่เพศชายและเพศหญงิ เท่านนั้ แต่ “เพศ” เป็นสถานะท่ีไม่ได้มกี ารกำหนดชัดเจน
แนน่ อน สามารถเปลย่ี นแปลงได้ ตามสภาพสังคมและ วัฒนธรรม ดงั นั้น เพศของบุคคลจึงไม่ไดถ้ ูกกำหนดและ
ควบคุมโดยเพศสรีระหรือเพศกำเนดิ แตเ่ ปน็ สงิ่ ทบี่ ุคคลพึงแสดงออกตามความต้องการของตน

โดยในปจั จบุ นั การแสดงออกซ่ึงพฤตกิ รรมทางเพศที่ไม่ตรงกับเพศสรีระอนั มีมาแต่กำเนิด ของบคุ คล
นัน้ ได้รบั การยอมรับมากข้ึนในสงั คม มกี ารบัญญตั ิอนุสญั ญาและกติการะหว่างประเทศ หลายฉบับท่ีเกยี่ วข้อง
กับหลักสิทธมิ นุษยชนและความเทา่ เทียมระหวา่ งเพศ อาทิเช่น ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนษุ ยชน
ค.ศ. 1948 (Universal Declaration of Human Rights หรอื UDHR) ขอ้ 15 และข้อ 26 และกติการะหว่าง
ประเทศวา่ ด้วยสทิ ธิพลเมอื งและสทิ ธทิ างการเมือง (International Covenant on Civil and Political
Rights หรอื ICCPR) ขอ้ 2.17 กตกิ าระหวา่ งประเทศวา่ ด้วยสทิ ธิทางเศรษฐกิจ สงั คมและวัฒนธรรม
(International Convent on Economic, Social and Cultural Rights หรอื ICESCR) ขอ้ 2.28 หลักการ
ยอกยาการต์ าว่าดว้ ยการปรับใชก้ ฎหมายสิทธมิ นษุ ยชน ระหว่างประเทศในประเด็นวิถที างเพศและอัตลักษณ์
ทางเพศ ค.ศ. 2006 (The Yogyakarta Principles on the Application of International Human Rights
Law in relation to Sexual Orientation and Gender Identity 2006) ข้อ 29 ซงึ่ ประเทศไทยไดเ้ ข้าร่วม
ลงนามเป็นภาคสี นธิสัญญาดังกล่าว ด้วย

สำหรบั ประเทศไทยน้ัน บุคคลทุกคนไดร้ บั การรบั รองและคมุ้ ครองสิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ
แหง่ ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 4 บญั ญัตวิ ่า “ศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรภี าพ และความ
เสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความค้มุ ครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุม้ ครองตามรัฐธรรมนูญเสมอ
กนั ”

มาตรา 27 วรรคหนงึ่ วรรคสอง และวรรคสาม บัญญตั วิ า่ “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิ
และเสรภี าพ และได้รบั ความคมุ้ ครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญงิ มีสิทธิเท่าเทียมกนั

การเลอื กปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรมตอ่ บคุ คล ไมว่ ่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรอ่ื งถ่นิ กำเนดิ เชื้อชาติ
ภาษา เพศ อายุ ความพกิ าร สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทาง เศรษฐกจิ หรอื สงั คม
ความเชอ่ื ทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคดิ เหน็ ทางการเมืองอันไม่ขดั ต่อ บทบัญญตั ิแห่งรัฐธรรมนูญ
หรือเหตอุ ่ืนใด จะกระทำมไิ ด้”

7

แนวคิดพื้นฐานเก่ียวกับการสมรส

ครอบครวั ถือเป็นสถาบนั ทางสังคมทีม่ ีขนาดเลก็ ทสี่ ดุ ซ่ึงถอื เปน็ สถาบนั พน้ื ฐานที่มคี วามสำคญั ของ
สงั คมอันมมี าแต่โบราณกาล โดยคา่ นิยมในเร่ืองการใช้ชีวิตครอบครวั ของสภาพสงั คมไทย นน้ั มกี ารยกย่องให้
ฝ่ายชายเปน็ หวั หนา้ ครอบครัว แตก่ ย็ ังให้บทบาทฝา่ ยหญิงในการบริหารและจัดการครอบครวั อันมีลักษณะสบื
ทอดกันมาเป็นระยะเวลาอยา่ งยาวนาน โดยปราศจากคำถามหรือข้อสงสยั ซ่งึ แนวคดิ การสมรสระหวา่ งชาย
และหญงิ ได้ฝงั รากลึกลงในสงั คมมาอยา่ งยาวนาน ดังนัน้ เม่ือชายและหญิงตกลงกนั ที่จะใชช้ วี ิตรว่ มกนั เพอ่ื
เรียนรู้ซึ่งกนั และกัน อันเปน็ การสร้างสถาบัน ครอบครัวขึน้ โดยมจี ุดมุ่งหมายตามธรรมชาตเิ พื่อสบื ทอด
สายโลหติ ตอ่ ไป ซึ่งเป็นแนวคิดพน้ื ฐาน ที่ไดร้ ับการยอมรับจากคนในสังคมส่วนใหญว่ ่าถูกตอ้ งและเปน็ ไปตาม
ทานองคลองธรรม และเปน็ ไปตามหลกั ความสงบเรียบรอ้ ยและศลี ธรรมอันดขี องสังคม เน่ืองจากเป็นความรักท่ี
เปน็ ไปตามกฎเกณฑ์ ของธรรมชาติ โดยชายและหญงิ น้ันแสดงออกโดยเปดิ เผยต่อสงั คมวา่ จะใชช้ วี ติ อยู่ร่วมกัน
เพือ่ สรา้ ง ครอบครัวกัน ต่อมาเมื่อสังคมมคี วามเจรญิ มากขนึ้ รัฐเขา้ มามบี ทบาทในการปกครองประชาชน
ภายในรัฐ โดยจะต้องมีรูปแบบกฎเกณฑก์ ารปกครองและมีกฎหมายท่เี ปน็ ลายลักษณ์อกั ษรสาหรบั ใช้ในการ
ปกครองสังคม รฐั จงึ เข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้รับรองสถานะของการใช้ชวี ิตครู่ ่วมกนั โดย การตราบทกฎ
หมายภายในรัฐอันเกีย่ วกับการสมรสดงั กล่าวขนึ้ ในรปู แบบตา่ ง ๆ โดยในตอนแรก รัฐอาจรบั รองถึงการใช้ชีวิตคู่
รว่ มกนั ของชายและหญิง โดยไม่จำเปน็ ต้องจดทะเบียนสมรสกัน เพยี งแต่ แสดงออกโดยเปดิ เผยวา่ เปน็ สามี
ภริยากัน ก็ถอื ว่าเปน็ การสมรสกนั โดยชอบดว้ ยกฎหมายแล้ว12 จนพฒั นาเร่อื ยมาเปน็ รูปแบบของการจด
ทะเบียนสมรสเพื่อรบั รองสถานะการสมรสนนั้ วา่ เป็นการสมรส ทช่ี อบด้วยกฎหมาย เน่ืองจากภายหลังการ
สมรสกันแล้ว ชายและหญงิ น้ันตอ้ งมีความสมั พันธ์ร่วมกนั ในดา้ นตา่ ง ๆ มีการอยู่กินด้วยกันตลอดจนช่วยเหลือ
อปุ การะเลยี้ งดกู ัน มหี น้าทร่ี วมตลอดถึง การจดั การทรัพย์สินรว่ มกัน หากต่อมาชายและหญิงน้นั ให้กำเนิดบุตร
กจ็ ะมสี ถานะเป็นบดิ าและ มารดา และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหวา่ งบิดามารดากบั บุตรท่ตี า่ งต้องมีหน้าที่
อุปการะเลีย้ งดูซง่ึ กนั และกัน รวมถงึ การจัดการทรัพยม์ รดกเม่ือฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ ถงึ แกค่ วามตายและในกรณี
ภายหลังการสมรสกันแล้ว หากชายและหญิงนน้ั ต้องการทจี่ ะยุตคิ วามสัมพันธต์ ่อกนั และประสงคท์ ่ีจะกลบั ไปใช้
ชีวิตของตนตามเดิมจงึ ต้องมีการยตุ ิการสมรสดงั กล่าวเกิดข้ึนหรอื ท่เี รยี กว่า การหยา่ ซึ่งทำใหก้ ารสมรสน้ัน
สิ้นสดุ ลงอนั เป็นการรับรองการสิน้ สดุ การสมรสโดยบทบญั ญัติของกฎหมาย รัฐจึงตอ้ ง ตรากฎหมาย เพื่อ
รับรองสทิ ธิและหนา้ ทต่ี ่าง ๆ เหล่านใี้ หม้ ผี ลบังคบั และให้บคุ คลทม่ี ีหนา้ ทจี่ ำตอ้ ง ปฏบิ ตั ติ าม อันเป็นการจัดการ
ให้เกดิ ความสงบเรยี บร้อยภายในประเทศ

แตอ่ ย่างไรกต็ ามในสังคมปจั จุบันนป้ี ระกอบไปดว้ ยบคุ คลเพศชายและหญิงทีม่ ี ความหลากหลายใน
การแสดงออกซง่ึ รปู แบบของความรกั และมคี วามนิยมชมชอบในพฤตกิ รรม ทางเพศที่แตกต่างกนั ออกไป การ
บญั ญัตกิ ฎหมายจงึ ต้องมกี ารตระหนกั ให้เหน็ ความเทา่ เทยี มกนั เพื่อรับรองสทิ ธอิ นั ชอบธรรมต่าง ๆ ใหแ้ ก่
บคุ คลทกุ คนท่ีมคี วามรักในรูปแบบตา่ ง ๆ แม้วา่ บุคคลเหล่าน้ัน จะมีพฤตกิ รรมทางเพศท่ีแตกตา่ งจากวถิ ีทาง
ธรรมชาติ อันจะเป็นการก่อใหเ้ กิดความเสมอภาคในทาง กฎหมายข้ึนในสังคม โดยในหลายประเทศได้มีการ
บัญญตั ิกฎหมายเพอื่ รบั รองสิทธิขั้นพน้ื ฐานในเรื่องการใช้ชีวติ ครู่ ่วมกนั ของคูร่ ักทีเ่ ป็นบุคคลเพศทางเลอื กเหลา่ นี้
เพอ่ื สร้างความเสมอภาคและเทา่ เทยี มกนั และเพือ่ ตอบสนองความต้องการในการดำเนินชีวิตใหแ้ ก่บคุ คลใน
ทกุ รูปแบบของความรกั ด้วย การบญั ญัตเิ ป็นกฎหมายลายลกั ษณ์อักษรอย่างชัดเจน แต่ถึงอยา่ งไรก็ตาม แม้ว่า
จะมีการรับรองสทิ ธิ และสถานะในทางกฎหมายให้แก่ครู่ ักทเ่ี ป็นบคุ คลเพศทางเลือกที่มเี พศวถิ แี บบรักเพศ
เดียวกนั ในหลาย ประเทศแล้วก็ตาม แตส่ ำหรบั แนวคดิ ของตา่ งประเทศ รูปแบบกฎหมายภายในของประเทศ
ต่าง ๆ ทใ่ี ห้การยอมรบั และออกกฎหมายรับรองให้นัน้ ยงั คงมแี นวความคิดท่แี ตกตา่ ง และยากที่จะสรา้ ง ความ

8

เข้าใจรว่ มกัน โดยสาหรบั ประเทศไทยนนั้ ยงั ไมม่ ีบทกฎหมายลายลักษณ์อกั ษรท่ีรับรองหรือให้สิทธิในการสมรส
แก่บคุ คลเพศทางเลือกดงั กลา่ ว ซง่ึ จะตอ้ งนำมาพิจารณาเปรยี บเทียบกับรูปแบบของสงั คมไทยต่อไปวา่ ใน
อนาคตอันใกล้น้ี ประเทศไทยควรมีกฎหมายเพือ่ รบั รองสถานะการใชช้ วี ิตคขู่ องบุคคลเพศทางเลอื กดงั กลา่ วใน
รปู แบบใด เพื่อใหเ้ กิดความสอดคล้องกบั บริบทของสังคม วฒั นธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีของไทย
ตอ่ ไป

แนวคิดพนื้ ฐานเกยี่ วกับสิทธิและเสรีภาพในการสมรสของบคุ คลเพศทางเลือก

จากทก่ี ลา่ วมาข้างตน้ ในเร่อื งการสมรสนน้ั หากพิจารณาตามแนวคดิ พื้นฐานทวั่ ไปน้นั ถือเปน็ การผูกพันของ
บคุ คลสองคนท้งั ทางร่างกายและจติ ใจ โดยมีวตั ถุประสงคเ์ พื่อการสืบทอด สายโลหติ ตอ่ ไป โดยบคุ คลสองคน
รว่ มสร้างชีวติ ครอบครวั เพื่อใช้ชีวิตอย่รู ว่ มกัน ดแู ลเอื้ออาทรซึง่ กัน อยา่ งม่ันคงถาวร โดยสาระสำคัญของการ

สมรสน้นั คือ ตอ้ งมีการรว่ มประเวณเี พ่ือมีทายาทเพ่ือสบื สกลุ ตอ่ ไปจึงถือเป็นการสมรสท่สี มบูรณ์13 อนั
สอดคลอ้ งกบั กฎเกณฑ์ทางธรรมชาตทิ ่มี ีมาแตส่ มัยบุพกาลเกี่ยวกบั การสบื พนั ธข์ุ องมนษุ ย์ แตเ่ นื่องดว้ ยสภาพ
สังคมที่เปลีย่ นแปลงไป มีการยอมรบั สทิ ธแิ ละ เสรภี าพในการแสดงออกซ่ึงพฤติกรรมทางเพศของบุคคลอยา่ ง

กว้างขวางมากขน้ึ รวมท้ังการยอมรบั การแสดงออกของบคุ คลเพศทางเลอื กอกี ดว้ ย
ดังนนั้ เมื่อพฤติกรรมการรักเพศเดยี วกนั มใิ ช่ความผิดปกติทางจิตดงั ทีเ่ คยเข้าใจมาในอดีต หากบุคคล
เพศทางเลือกเกิดความรักใคร่ ปรารถนาดตี ่อกนั ประสงคจ์ ะใช้ชีวิตอย่รู ่วมกนั และสร้างครอบครัวเฉกเช่นคู่รัก
ต่างเพศ จึงนำไปสู่การถกเถียงกันวา่ การอย่รู ว่ มกนั และสร้างครอบครัวของบุคคลเพศทางเลือกเปน็ สิ่งที่
เหมาะสมหรือไม่ รฐั ควรให้การรบั รองสทิ ธิและเสรภี าพในการสมรสของบุคคลเพศทางเลือกด้วยหรอื ไม่ โดยมี
ท้งั แนวคดิ ที่โต้แย้งและสนบั สนุนเกีย่ วกับการสมรสของบุคคลเพศทางเลอื ก โดยผเู้ ขียนจะขอนำเสนอถึงแนวคดิ
ทีโ่ ต้แยง้ และสนบั สนุนสทิ ธแิ ละเสรภี าพในการสมรสของบุคคลเพศทางเลือก

แหล่งที่มา : https://www.amnesty.or.th/latest/blog/884/

9

แนวคดิ ทโี่ ตแ้ ยง้ การสมรสของบคุ คลเพศทางเลือก

แนวคิดนม้ี องวา่ การสมรสของบคุ คลเพศทางเลือกขัดต่อเงื่อนไขทางธรรมชาติ วฒั นธรรม สังคมและ
ประเพณี หลักเกณฑ์ของรัฐและความสงบเรยี บรอ้ ยและศีลธรรมอันดขี องประชาชน โดยสามารถแยกอธบิ ายได้
ดงั นี้

1. การสมรสน้ันเป็นเง่ือนไขตามธรรมชาติ คอื การสมรสมีหลกั เกณฑ์เพยี งแค่ความรักของชายและ
หญิง ความสมคั รใจท่ีจะใชช้ วี ิตอยรู่ ว่ มกนั สามีภริยา และความยินยอมร่วมประเวณีกัน เพ่ือสร้างเผ่าพันธ์ุของ
ตนให้เจรญิ ก้าวหนา้ ย่ิงขึน้

2. การสมรสเปน็ เงอ่ื นไขตามขนบธรรมเนยี ม วัฒนธรรม และประเพณขี องสงั คม คือ การสมรส
ระหว่างชายและหญงิ ซ่งึ มีพิธกี รรม ความเชือ่ ศาสนา และเงื่อนไขทางกฎหมายของรัฐท่ีไดถ้ ือปฏิบตั ิกันมาช้า ๆ
เป็นระยะเวลาอยา่ งยาวนาน โดยปราศจากคาถามหรือข้อสงสยั ซ่ึงแนวคดิ การสมรสระหว่างชายและหญิงได้
ฝงั รากลกึ ลงในสังคมมาอย่างยาวนาน โดยการปลูกฝังแนวคดิ ดงั กล่าวผา่ นทางพิธีกรรม ความเชอื่ ศาสนาใน
สังคมนั้น ๆ มาแต่โบราณกาล

3. การสมรสเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐ กล่าวคอื รฐั เขา้ มามีส่วนในการจัดรปู แบบการสมรส โดย
กำหนดหลักเกณฑ์และเง่ือนไขในการสมรสในรปู แบบตัวบทกฎหมาย โดยรัฐเป็นผรู้ ับรองสถานะของการใช้ชีวติ
คูร่ ว่ มกันและใหก้ ารรับรองและคมุ้ ครอง โดยกฎหมายภายในรัฐดังกล่าว ในรูปแบบของการจดทะเบียนสมรส
ทง้ั นี้อาจกลา่ วไดว้ ่า ครอบครัวเป็นสถาบันทาง สงั คมท่มี ีขนาดเลก็ ทสี่ ดุ และเป็นพน้ื ฐานของความสงบ
เรียบร้อยและความมน่ั คงของสงั คม สงั คมจะมีความเข้มแข็งได้หากมีการจัดการสถาบนั ครอบครวั ท่ีดี ดังนนั้ จึง
ไมม่ ีสังคมใด หรือประเทศใดท่จี ะปล่อยใหส้ มาชกิ ของตนอยู่กนิ สรา้ งเผา่ พันธ์กุ ันโดยไม่มีกฎหมายมาควบคุม
กฎเกณฑ์นน้ั โดยรฐั ไดก้ ำหนดเงือ่ นไขแห่งการสมรสขน้ึ เพ่ือเปน็ มาตรการในการสร้างความแขง็ แกร่งให้กับรัฐ
อกี ทางหนงึ่ 16 โดยส่งผลตอ่ เรอื่ งการจดั การประชากร ทำให้รฐั ต้องคานงึ ถงึ ภารกจิ ต่าง ๆ ทร่ี ัฐตอ้ งบรหิ าร
จัดการต่อ ประชากรของตน เช่น สวสั ดิการดา้ นตา่ ง ๆ เป็นตน้ ดังนั้นเรอ่ื งเพศ (Sex) และเพศวิถี (Sexuality)
จงึ กลายเป็นประเด็นสาคญั ของสังคม และเป็นปัญหาของที่มีการถกเถียงกนั เรือ่ ยมาทุกยุคสมยั 17

4. การสมรสเป็นสถาบนั คือ คูส่ มรสไดส้ รา้ งฐานของสงั คม คือครอบครวั ขน้ึ มา และสังคมหนว่ ยนอี้ ยู่
ภายใตก้ ฎระเบียบอันเครง่ ครัดและเปน็ ไปตามบทบัญญัติแหง่ กฎหมายเรื่อง ครอบครัวอันอยู่นอกเหนอื อานาจ
เจตนาของคู่กรณี โดยกฎหมายกาหนดเปน็ เง่ือนไขแหง่ การสมรส ซง่ึ หากมกี ารฝ่าฝืนแลว้ จะกระทบต่อความ
มัน่ คงและศลี ธรรมอนั ดีของประชาชน อาทิเช่น การสมรส ซ้อน คสู่ มรสต้องมเี พศสรีระที่แตกตา่ งกัน การหา้ ม
สมรสกบั บุคคลบางประเภท เป็นต้น ทง้ั น้ีตามบทบัญญตั แิ ห่งกฎหมายการสมรสตาม มาตรา 1448 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์น้นั บัญญตั ใิ ชค้ ำวา่ “ชายและหญงิ ” อนั แสดงให้เหน็ ได้อย่างชดั เจนวา่
“เพศ” ถือเปน็ เงื่อนไขแหง่ การสมรส ตามบทบญั ญตั ิแหง่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5

โดยมคี ำพิพากษาฎีกาท่ี 157/2524 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษากรณเี กีย่ วกับชายท่ี ผา่ ตดั แปลงเพศ โดยผูร้ ้องที่
อ้างว่า เป็นชายโดยกำเนดิ แตไ่ ด้รับการผ่าตัดเปล่ียนอวัยวะเพศเป็นหญงิ แล้ว เพียงแต่ไม่สามารถมบี ุตรได้
เท่านัน้ ผ้รู ้องมีความประสงค์จะถือเพศเปน็ หญิง แต่เจ้าพนักงานขดั ข้องใน การแกห้ ลกั ฐาน ในทะเบียนบ้าน
บัตรประจาตัวประชาชนและทะเบยี นทหาร ยกเว้นแต่ว่าจะได้รับอนญุ าตจากศาลกอ่ น จงึ ขอให้ศาลส่ังอนุญาต

10

ให้ผรู้ อ้ งถือเพศเป็นหญิง... ศาลฎกี าวนิ จิ ฉยั วา่ เพศของ บคุ คลนั้น กฎหมายรบั รองและถือเอาตามเพศที่ถือกา
เนิดมาและคำว่า ‘หญิง’ ตามพจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน หมายถึง คนที่สามารถใหก้ าเนดิ ได้ ผรู้ ้องถอื
กำเนิดมาเป็นชาย ถึงหากจะมีเสรภี าพ ในร่างกายโดยรบั การผา่ ตดั เปลยี่ นแปลงอวัยวะเพศ เป็นอวัยวะเพศ
ของหญิงแล้วกต็ าม แต่ผรู้ อ้ งก็รบั อย่วู า่ ไมส่ ามารถมบี ุตรได้ ฉะน้นั โดยธรรมชาติและตามท่ีกฎหมายรับรอง ผู้
รอ้ งยังคงเป็นเพศชายอยู่ และไมม่ ีกฎหมายรบั รองใหส้ ทิ ธผิ ูร้ อ้ งขอเปล่ยี นแปลงเพศท่ถี ือกาเนดิ มาได้ ทั้งมใิ ช่
กรณีทผี่ รู้ ้องจะต้อง ใชส้ ทิ ธิทางศาลตามกฎหมาย ฉะน้ันผ้รู ้องจะขอให้ศาลมีคาสัง่ ใหผ้ ู้ร้องเปลีย่ นมาเปน็ เพศ
หญิงไม่ได้

5. การสมรสเป็นสญั ญา เนื่องจากการสมรสมิไดข้ ึ้นอย่กู ับรัฐหรอื สถาบันอย่างเดยี ว แต่ยงั มกี ารเคารพ
สิทธเิ สรีภาพในการแสดงเจตนาของเอกชนอยู่ การสมรสจึงมลี ักษณะเป็นสญั ญาบางส่วน และมีลักษณะ
แตกตา่ งจากสัญญาทัว่ ไป โดยรฐั ไดม้ กี ารกาหนดเง่ือนไขการทำสญั ญาการสมรสไวเ้ พยี งแค่เฉพาะชายและหญิง
เทา่ นนั้ และมีการกาหนดหลักเกณฑอ์ นื่ ๆ ด้านอายุ ความยนิ ยอม การแสดงเจตนาไว้ เพ่อื ประกอบการทำ
สัญญาการสมรสดังกล่าวดว้ ย

6. การสมรสเปน็ เร่ืองเกยี่ วกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ ประชาชน โดยอาจเห็นได้ว่า
รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย ไดบ้ ัญญตั ิรับรองค้มุ ครองสทิ ธิและ เสรภี าพของบุคคล โดยบุคคลยอ่ มเสมอ
ภาคกนั ตามกฎหมายและจะต้องไมถ่ ูกเลอื กปฏบิ ตั ิแห่งเพศ แต่ก็มีบทบญั ญัติทจ่ี ำกดั สิทธิและเสรีภาพดังกล่าว
ของประชาชนบางประการเช่นกัน โดยต้องพจิ ารณา บนพื้นฐานของกฎหมายภายในรฐั นัน้ ๆ ดว้ ย โดยรฐั อาจ
กำหนดบทบญั ญตั ขิ องกฎหมายเพอ่ื จำกัด สิทธแิ ละเสรภี าพของบุคคลเพอ่ื ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอนั ดี
ของประชาชนได้ ดังเชน่ เรื่อง การสมรส ทีต่ อ้ งเป็นเรื่องระหวา่ งชายและหญิง ตามประมวลกฎหมายแพง่ และ
พาณชิ ยม์ าตรา 1448

7. การเล้ยี งดเู ดก็ โดยบุคคลเพศทางเลือก เนอ่ื งจากบุคคลเพศทางเลือก อาจเปน็ ต้นแบบเรื่อง
พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศท่ีไมเ่ หมาะสมให้แก่เด็ก เด็กเกิดการซมึ ซับ และ เกดิ พฤตกิ รรมการ
ลอกเลยี นแบบ และเกดิ ความสบั สนเรอ่ื งเพศวิถีตามธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ได้ โดยอาจ เกิดปญั หาตามมาได้หลาย
กรณี เชน่ การใหส้ ิทธใิ นการผสมเทยี ม ซ่งึ อาจต้องพิจารณาต่อไปว่าใครควรเป็นบดิ า มารดาที่ชอบด้วย
กฎหมายของเด็ก หรือในกรณีการรบั บุตรบญุ ธรรมรว่ มกัน ซงึ่ อาจต้องพจิ ารณาต่อไปวา่ บุคคลใดควรเปน็ ผใู้ ช้
อำนาจปกครองบตุ ร24 อกี ท้ังการยกเลกิ คำวา่ บิดามารดา ออกไปจากกฎหมาย และใส่เปลย่ี นเปน็ คำว่า
ผปู้ กครองถอื เป็นการละเมิดสิทธเิ ด็กทจ่ี ะมที ัง้ พ่อและแมไ่ ด้

8. การสมรสระหวา่ งชายและหญิงเปน็ ไปตามบทบญั ญตั ิในรฐั ธรรมนูญ แห่งราชอาณาจกั รไทย ซ่ึงเป็น
กฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยเจตนารมณ์ของรฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจกั รไทยกำหนดประเภทของ
พลเมืองออกเป็นเพศชายและเพศหญิงเท่าน้นั ซ่ึงสอดคล้องกับหลกั กฎหมายเร่ืองการสมรสตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วย เร่ืองครอบครัวแล้ว ทัง้ นกี้ ฎหมายมไิ ดจ้ ากดั สิทธขิ องบุคคลเพศ
ทางเลือกในการอยู่อาศยั ร่วมกันแต่อย่างใด ดังน้นั บุคคลเพศทางเลือกจึงสามารถใช้ชีวติ อยรู่ ่วมกันได้ดงั เช่นคู่
สมรสทม่ี เี พศต่างกนั แตม่ ิไดจ้ ดทะเบยี นตามกฎหมาย ดังน้ัน การทกี่ ฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์บัญญัติใน
ลกั ษณะดงั กลา่ ว จึงไมเ่ ป็น การละเมิดสทิ ธติ ามรฐั ธรรมนญู ของประชาชนแต่อยา่ งใด

11

แนวคิดที่สนบั สนนุ การสมรสของบคุ คลเพศทางเลือก

แนวคิดทส่ี นบั สนนุ การสมรสของบุคคลเพศทางเลอื กให้การยอมรับในบุคคลเพศทางเลอื ก เชอื่ วา่ เพศไม่ได้
จำกดั อยู่เพยี งแค่เพศชายและเพศหญิงตามเพศสรีระท่กี ำเนิดมา โดยเล็งเห็นถึงสิทธิ เสรีภาพและความเสมอ
ภาคของบุคคลตามสภาพสงั คมปัจจบุ ันท่ีเปล่ยี นแปลงไป ประกอบกับสภาพสงั คมทเี่ จริญก้าวหนา้ เทคโนโลยี
การแพทยพ์ ฒั นาไปอย่างรวดเรว็ สามารถแก้ไขปญั หาท่อี าจเกดิ ขน้ึ ในเร่ืองการสมรสของบุคคลเพศทางเลือกได้
โดยสามารถอธิบายได้ดงั นี้

1. การยอมรับความหลากหลายทางเพศของบุคคลเพศทางเลอื ก โดยความหลากหลายทางเพศเป็น
การเปิดพืน้ ทีใ่ ห้บุคคลได้แสดงอัตลกั ษณ์ทางเพศ (Gender Identity) ของตนเอง ซ่งึ ไมจ่ ำเป็นต้องเหมอื นกับ
บรรทัดฐานและกฎเกณฑท์ ่สี ังคมกำหนดหรือไม่จำต้องเหมือนเพศสรีระของตน โดยบุคคลสามารถแสดงออกซ่ึง
รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation) และอัตลกั ษณท์ างเพศได้ โดยมกี ารอธบิ ายแนวคดิ เกี่ยวกบั เพศวิถวี ่า
คำวา่ เพศวิถี เปน็ คำทม่ี ีความหมาย กวา้ งขวาง ครอบคลมุ ในหลายมิติ อาทเิ ชน่ ดา้ นพฤติกรรม เพศสัมพันธ์
ความใคร่ ความปรารถนาทางเพศ อัตลกั ษณ์ทางเพศ ภาพลักษณ์ทางเพศ เพศภาวะ เป็นต้น โดยเชือ่ มโยงกับ
สังคมและเศรษฐกิจน้ัน ๆ เช่น การใหค้ ุณค่าเรื่องความรัก สถาบันครอบครวั ศักด์ิศรี ความซ่อื สตั ย์ และความ
ไว้เนือ้ เชอ่ื ใจ เป็นต้น ดงั น้ัน เพศของบุคคลจงึ ไมไ่ ดจ้ ำกดั อยู่เฉพาะเพศทางสรรี ะร่างกายท่ีกำเนิดมาเทา่ นั้น

2. การสมรสที่สอดคล้องกับสภาพสงั คมปจั จบุ นั โดยมองว่า การสมรสในปจั จบุ นั เปน็ การใชช้ วี ติ
รว่ มกนั ขณะมชี วี ิตอยู่ระหว่างบุคคลสองคน เอื้ออาทรต่อกัน และมีลักษณะเหมอื นเป็น ห้นุ สว่ นชีวิตของกนั และ
กัน โดยไมไ่ ด้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการสืบเผ่าพันธต์ุ ่อไปเทา่ นั้น แต่เปน็ การผูกพัน ดแู ลกนั ชว่ ยเหลอื กัน โดย
มุง่ เนน้ ถึงการดำรงชวี ติ อยู่ในปัจจบุ นั บคุ คลท่ีมีเพศเดยี วกนั จึงสามารถสมรสกันไดแ้ ละร่วมกันสร้างครอบครวั
เพ่ือเกื้อหนุนกนั ในการดำรงชีวิตอยู่ได้

3. การเล้ียงดูเดก็ ของบุคคลเพศทางเลอื ก โดยมองว่า คู่รักทเ่ี ปน็ บคุ คลเพศ ทางเลอื กจำนวนมากมายมี
ความพร้อมและความสามารถในการดูแลบุตรได้เช่นเดยี วกับคสู่ มรสชายและหญงิ บุคคลเพศทางเลือกสามารถ
ให้ความรกั และการดูแลเอาใจใส่ไดเ้ ชน่ เดยี วกบั บุคคลเพศชายและเพศหญิง และเปน็ การสนบั สนุนใหเ้ ด็กท่ถี ูก
ทอดท้ิงหรือเด็กกาพร้ามีจานวนลดลงอีกด้วย โดยการรับบตุ รบญุ ธรรมของบุคคลเพศทางเลอื ก นอกจากนี้ใน
เร่อื งการมบี ุตรนน้ั ปจั จุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ท่สี ามารถชว่ ยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของคู่รักที่เปน็
บคุ คลเพศทางเลือกได้ โดยบุตรนัน้ ยอ่ มเกิดจากความรักและความสมัครใจของครู่ กั เพศทางเลอื กดังกลา่ ว
ดงั นั้น จงึ ไม่ได้มีความ แตกตา่ งในการให้กาเนิดบุตรระหว่างคู่สมรสทเ่ี ปน็ ชายและหญิงแต่อยา่ งใด เพียงแต่ใน
ปจั จบุ นั ยังไม่มี กฎหมายรับรอง และเปิดชอ่ งใหบ้ ุคคลเพศทางเลือกสามารถทาตามขั้นตอนและเง่ือนไขที่
เหมาะสมกบั วิถีชวี ติ ได้ โดยคู่รกั ท่เี ปน็ บคุ คลเพศทางเลือกจานวนมากท่ีมีความพร้อมในหลายดา้ น ท้ังด้าน
เศรษฐกจิ ดา้ นการดแู ลเอาใจใส่ การอบรมเลี้ยงดู โดยครู่ กั เพศทางเลือกมีความสามารถในการสนบั สนนุ เด็ก
เพื่อใหเ้ ด็กเตบิ โต เปน็ บุคลากรท่มี คี ณุ ภาพได้เช่นเดยี วกนั กับคู่รกั ทเ่ี ป็นชายและหญงิ

4. หลักสิทธิ เสรภี าพ และความเสมอภาคของบคุ คล โดยหลกั สทิ ธแิ ละเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และ
ทรพั ยส์ ินเปน็ แก่นของสิทธิขนั้ พ้ืนฐาน โดยหากพิจารณาถึงหลักสทิ ธขิ ้ันพน้ื ฐานแลว้ มีความหมายใกลเ้ คียงกับ
คำวา่ สิทธมิ นษุ ยชน ซงึ่ หมายถงึ สิทธิของความเปน็ มนุษย์ ผ้ทู เี่ ปน็ มนษุ ย์ย่อมมีสทิ ธิตง้ั แต่เกดิ จนตาย โดย

12

ปราศจากเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของกฎหมาย บอ่ เกดิ ของสทิ ธิมนษุ ยชนมีทมี่ าจากหลกั สทิ ธิธรรมชาตซิ ่ึงสมั พนั ธ์
กับหลกั กฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) โดยจอห์น ลอ็ ค ผมู้ บี ทบาทในการพัฒนา หลักสทิ ธิธรรมชาติ
(Natural Rights) ได้กลา่ วว่า ปจั เจกชนทกุ คนล้วนมสี ทิ ธิอำนาจทม่ี มี าเองโดยธรรมชาติ อันหมายถึง สิทธิ
ธรรมชาติ ในชีวติ อิสรภาพ และทรพั ยส์ นิ อันเป็นสทิ ธทิ ี่ไม่อาจถูก ยกเลิก หรือขัดขวางไดจ้ ากรัฐ สทิ ธิ
ธรรมชาติ จงึ มีความหมายตรงกบั สิทธิมนุษยชน โดยสิทธนิ ้มี ี หลักการบนความต้องการข้ันพื้นฐานของมนุษย์
ในการแสวงหาความมน่ั คง ความปลอดภยั ในชวี ิต รา่ งกาย ทรัพยส์ นิ และดารงชวี ิตอยใู่ นสังคม อย่างมีศักดศ์ิ รี
ดงั นัน้ สิทธิ คือ อำนาจทก่ี ฎหมาย รับรองใหแ้ ก่บุคคลในอนั ท่ีจะกระทำการเกยี่ วข้องกบั บุคคลอน่ื เสรีภาพ คือ
ภาวะของมนุษย์ ท่ีไม่อยูภ่ ายใตก้ ารครอบงำของบุคคลอน่ื หรือภาวะทีป่ ราศจากการถูกหนว่ งเหน่ียวขัดขวาง
ดังน้ัน บคุ คลตา่ ง ๆ ย่อมมีเสรีภาพอยู่ตราบเทา่ ท่ีไมถ่ ูกบงั คับให้กระทำในสิง่ ที่ไม่ประสงค์จะกระทำ กลา่ วโดย
สรปุ ไดอ้ ีกนยั หนงึ่ วา่ “เสรีภาพคืออานาจของบุคคลในอนั ที่จะกำหนดตนเอง (Self-determination) โดย
อำนาจนี้ บคุ คลย่อมเลือกวิถชี ีวิตของตนเองได้ดว้ ยตนเอง ตามใจปรารถนา”

13

การวเิ คราะหเ์ ชอื่ มโยงทฤษฎี

1.Critical Thinking

การคิดวิพากษ์แบบมวี ิจารณญาณในเรื่องตา่ งๆไดเ้ ปน็ อย่างดี ประเมนิ และตดั สนิ เรอ่ื งราวตา่ วๆที่
เกดิ ข้ึนที่มีข้อสงสัยหรือข้อโต้แย้ง โดยแสวงหาคำตอบทีม่ ีความสมเหตุสมผล เข้าใจในประเดน็ และสามารถ
เชื่อมโยงกับความคดิ เพอ่ื แก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ตา่ งๆ

การสมรสเทา่ เทียมดหี รือไม่?

การสมรสเทา่ เทียมน้ันเป็นผลดี เพราะเปน็ สิทธแิ ละเสรภี าพของทกุ คน ทกุ คนควรได้รบั ความเท่าเทยี ม

ข้อดี

1.ทุกคนมสี ิทธแิ ละเสรภี าพอย่างเทา่ เทียมกนั

2.ไม่มีการจำกัดและแบ่งแยกความเท่าเทยี มและเพศ
3.ได้รับสิทธปิ ระโยชนแ์ ละสวัสดกิ ารจากรฐั ในฐานะคสู่ มรส เชน่ สทิ ธริ บั ประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม,
สิทธเิ บกิ จา่ ยคา่ รกั ษาพยาบาล เปน็ ตน้
4.คูส่ มรสสามารถรบั บุตรบุญธรรมรว่ มกนั ได้
5.ลดปญั หา
6.การสมรสกันคือการรว่ มสร้างครอบครัวเพ่ือเก้ือหนุนการดำรงชีวิต

2.Complex and Creative Problem Solving
การแก้ไขปัญหาอย่างสรา้ งสรรค์ กระบวนการคิดในรูปแบบใหม่ทจี่ ะทำให้ปญั หาทเี่ กิดขน้ึ ไปถึง

เป้าหมายที่ต้องการด้วยวิธีการหรือเทคนิคตา่ งๆซ่ึงทำให้เกิดการพฒั นาส่ิงใหมๆ่

ขอ้ เสีย
1.ผดิ ศีลธรรมอนั ดีงาม ขนบธรรมเนียม และประเพณที ม่ี ามานาน
2.รฐั กำหนดแค่เพศหญิงและชายเท่านัน้ จึงทำใหล้ ำบากต่อการเปล่ยี นแปลงกฎหมาย
3.อนาคตอาจมีประชากรลดน้อยลงเพราะบางค่สู มรสกนั แล้วไมม่ ีลูกสืบทอด
แกไ้ ข
1.เปลีย่ นมุมมอง ความคิดใหม่ ยอมรบั ความเปลยี่ นแปลงและไม่แบ่งแยกกนั ละกัน เพราะไม่ว่าจะเพศใดรักกนั
ทกุ ความรักกเ็ ปน็ สิง่ ทด่ี งี าม โดยเฉพาะการเปิดใจยอมรับทุกเพศ
2.ร่างกฎหมายขึน้ มาใหม่ โดยเพ่ิมให้ทุกเพศเท่าเทยี มกันไม่กำหนดแค่คำวา่ ชาย หญงิ
3.ในกรณีชายรกั ชาย หญิงรักหญิงนน้ั สามารถรบั บุตรบุญธรรมไดถ้ ้าการสมรสถูกต้อง ทำให้ลดจำนวนเด็ก
กำพร้า หรือใชว้ ิทยาศาสตร์ในการมีลกู สบื ทอดได้

14

3.Analytical Thinking

การคิดเชงิ วเิ คราะหเ์ กีย่ วกับการใช้การคดิ วเิ คราะหเ์ กี่ยวข้องกบั การใชก้ ารวเิ คราะหป์ ญั หาหรอื
สถานการณ์เพ่ือกำหนดหรือสร้างแนวทางสำหรับการแก้ไขปญั หาโดยใชห้ ลักวิทยาศาสตรต์ รวจสอบข้อมูลทีอ่ ยู่
เพือ่ ความเข้าใจสาเหตุและผลกระทบรวมใช้เป็นพน้ื ฐานสำหรบั การแก้ปัญหาหรอื การตัดสินใจ

หัวใจสีชมพู แสดงถึงความคิดเชงิ บวก มองในแงด่ ี

การสมรสเท่าเทยี มไมไ่ ด้ทำให้เพศหญงิ และชายที่รักกนั ได้รับผลกระทบหรือเสยี เปรียบ เสียสิทธิและ
เสรภี าพในด้านใด

หวั ใจสดี ำ แสดงถงึ ความไมเ่ ห็นด้วย มองในมุมมองที่มมี านานแล้ว

การสมรสเทา่ เทยี มเปน็ สิ่งที่ผิดศลี ธรรม เพราะบนโลกน้ีทุกคนเกิดมาก็เปน็ แค่เพศชายและหญิง

หวั ใจสีขาว แสดงถงึ ความเป็นกลาง ไม่โตแ้ ย้งและไม่ออกความคิดเหน็ ใดๆ

การสมรสเท่าเทียมไมไ่ ด้มีผลกระทบและผลดีต่อตนเอง จึงไม่ออกความเห็นใดๆ

15

บรรณานุกรม

ณนชุ คาทอง, “การสมรสของพวกรักรว่ มเพศ,” (วทิ ยานิพนธ์มหาบัณฑติ คณะนิตศิ าสตร์
มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, 2546).

กติ ตศิ ักด์ิ ปรกต,ิ “ตำนานรักรว่ มเพศของไทย”, วารสารนิติศาสตร์ ฉบับท่ี 2, ปที ่ี 13, น. 86, (มิถุนายน
2526).

World Health Organization, “International Classification of Diseases’ 9th Revision : ICD-9,”
Retrieved on 5 March 2019, from
http://icd9 .chrisendres.com/index.php?action=child&recordid=2480

สวุ ัทนา ตรีพรรค, ความผดิ ปกติทางจติ , (กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์จฬุ าลงกรณ์ มหาวิทยาลยั , 2524), น.
380.

World Health Organization, “World Health Assembly Update”, Retrieved on 30 October
2563, from https://www.who.int/news/item/25-05-2019-world-health- assembly-update

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ประกาศ เร่ือง แนวปฏิบัติต่อนกั ศกึ ษาและการแตง่ กาย ของนักศกึ ษาท่ีมอี ัตลักษณ์
ทางเพศหรือวถิ ีทางเพศไม่ตรงกบั เพศกาเนดิ พ.ศ. 2563, สืบค้นเม่อื วันท่ี 27 กรกฎาคม 2565, จาก
https://www.reg.tu.ac.th/th/Picture/AttFile/233c29fb-4ff4-48c9- 80ee-b1d79f2c6cdf

ปรดี ี เกษมทรพั ย์, นิติปรชั ญา, พิมพ์คร้งั ที่ 6 แก้ไขเพิ่มเตมิ , (กรุงเทพมหานคร : โครงการตาราและวารสาร
นติ ิศาสตร์ คณะนติ ิศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539), น.47.

หลวงพศิ ลยสารนติ ิ, กฎหมายลกั ษณะผวั เมยี กับลักษณะมรฤกโดยย่อ, (พระนคร : ม.ป.ท., 2546), น.6.

ประสทิ ธ์ิ ปวิ าวัฒนพานิช, ความร้ทู วั่ ไปเกีย่ วกับกฎหมาย, พมิ พค์ รง้ั ที่ 3 แก้ไขเพม่ิ เติม, (กรงุ เทพมหานคร :
วิญญูชน, 2559), น.296, 297, 305.

เพิ่งอ้าง, น.296-297.

ณัฐวฒุ ิ ชยั สายณั ห์, “กฎหมายรับรองสถานะในการใชช้ ีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มคนท่ีมี เพศวถิ แี บบรกั เพศเดยี วกัน
,” (วทิ ยานพิ นธ์ดุษฎบี ัณฑติ คณะนิตศิ าสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558), น.389.

ไพโรจน์ กัมพสู ิริ, คาอธบิ ายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครวั , พิมพ์คร้งั ที่ 8 แก้ไข
เพม่ิ เติม, (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, 2556), น.94.

16

สมชยั ฑฆี าอตุ มากร, ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์ บรรพ 5 วา่ ด้วยครอบครัว ฉบบั สมบรู ณ์,
(กรงุ เทพมหานคร : พลสยามพริ้นต้ิง ประเทศไทย, 2554), น.83.

ไพโรจน์ กมั พสู ริ ิ, อา้ งแลว้ เชิงอรรถที่ 16, น.104-108.

ณนชุ คาทอง, “การสมรสของพวกรกั ร่วมเพศ,” (วิทยานิพนธม์ หาบณั ฑติ คณะนิตศิ าสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546).

นฤพนธ์ ด้วงวเิ ศษ, “Queer Anthropology แนวคดิ ทฤษฎี เร่ือง ความหลากหลาย ทางเพศ,” ศูนย์
มานษุ ยวทิ ยาสิรนิ ธร (องคก์ รมหาชน), สบื ค้นเมอื่ วนั ท่ี 27 กรกฎาคม 2565, จาก
http://www.sac.or.th/th/article/

วทิ ยา แสงอรุณ, ส่ืออย่างมือโปร : แนวทางการเสนอเร่ืองราวของผมู้ ีความ หลากหลายทางเพศ,
(กรุงเทพมหานคร : สมาคมฟ้าสรี ุง้ แหง่ ประเทศไทย, 2554), น.16.

สชุ าดา ทวสี ิทธ์ิ, เพศภาวะ : การทา้ ทายร่าง การคน้ หาตวั ตน, (กรงุ เทพมหานคร : ศนู ย์สตรีศึกษา คณะ
สังคมศาสตรม์ หาวิทยาลยั เชยี งใหม่, 2547), น. 4.

กฤตยา อาชวนจิ กุล,งานเสวนาและรบั ฟังความคิดเหน็ “ยุทธศาสตร์สขุ ภาวะกลุม่ LGBTIQN+ ฉบบั แรกของ
ประเทศไทย”, โรงแรมแมนดาริน สามย่าน, เมือ่ วันที่ 22 กันยายน 2563.

วรพจน์ วศิ รุตพชิ ญ์, สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช 2540,
(กรุงเทพมหานคร : วญิ ญชู น, 2543), น.14.

อดุ มศักด์ิ สินธิพงษ์, สิทธิมนุษยชน, พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขเพิม่ เตมิ , (กรุงเทพมหานคร : วญิ ญชู น, 2552), น.15.
จรัญ โฆษณานนั ท,์ สทิ ธิมนุษยชนไร้พรมแดน, พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม, (กรุงเทพมหานคร : นิติธรรม,
2556), น.112.
วรพจน์ วศิ รุตพิชญ์, อา้ งแล้ว เชงิ อรรถท่ี 36, น.21-22.

17

1


Click to View FlipBook Version