เส้ นทางคมนาคมที่ สำคัญ
ทางหลวงแผ่นดิน
ทางหลวงแผ่นดิน เป็ นเส้นทางสาธารณะสายหลักที่เป็ นโครงข่ายเชื่อม
ระหว่างภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่ที่สำคัญ เพื่อให้การเดินทาง
และขนส่งเป็ นไปได้สะดวกยิ่งขึ้น ผู้รับผิดชอบและดูแลโครงการคือกรม
ทางหลวง ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งหมายเลขทางหลวงแผ่นดินแบ่ง
ได้ ดังนี้
ทางหลวงที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 แสดงว่าเป็ นทางหลวงที่มีที่ตั้งอยู่ใน ภาค
เหนื อ
ทางหลวงที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 2 แสดงว่าเป็ นทางหลวงที่มีที่ตั้งอยู่ในภาค
ตะวัน ออกเฉียงเหนื อ
ทางหลวงที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3 แสดงว่าเป็ นทางหลวงที่มีที่ตั้งอยู่ในภาค
กลาง ตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
ทางหลวงที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 4 แสดงว่าเป็ นทางหลวงที่มีที่ตั้งอยู่ในภาคใต้
ป้ ายทางหลวง
ทางหลวงที่มีหมายเลขตัวเดียว หมายถึง ทางหลวงหลักที่เชื่อมต่อ
ระหว่างกรุ งเทพมหานครไปยังภูมิภาคหลักของประเทศไทย
ทางหลวงที่มีหมายเลขสองตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายประธาน
ตามภาคต่าง ๆ ที่มีลักษณะโครงข่ายเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลขตัว
เดียวผ่านพื้นที่สำคัญหลายจังหวัดเชื่อมต่อกันเป็ นระยะทางยาวและมี
ลักษณะกระจายพื้นที่
ทางหลวงที่มีหมายเลขสามตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายรอง
ประธาน ที่มีลักษณะโครงข่ายเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลขตัว
เดียว หรือสองตัว เข้าสู่สถานที่สำคัญของจังหวัด หรืออาจจะไม่
ผ่านพื้นที่สำคัญแต่มีลักษณะเชื่อมต่อเป็ นโครงข่ายที่ดี
ทางหลวงที่มีหมายเลขสี่ ตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อม
ระหว่างจังหวัด กับอำเภอ หรือสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้ น ใน
ลักษณะการกระจายพื้นที่ให้บริการทางหลวงออกสู่พื้นที่ย่อย แต่ไม่
ได้เชื่อมต่อเป็ นโครงข่ายระยะทางยาว
ที่มา:http://planning.doh.go.th/road-system
แผนที่ทางหลวงประเทศไทย
ที่มา : http://www.doh.go.th/content/page/page/119
ถนนสายเศรษฐกิจ AEC
เส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียน คือ ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
GMS Economic Corridors คือ เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองสำคัญใน 6
ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งประกอบด้วยไทย จีน (มณฑล ยูนนาน) เวียดนาม กัมพูชา
ลาว และเมียนมา
1. แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนื อ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC)เชื่อมโยง
ระหว่างไทย เมียนมา ลาว และจีน ประกอบด้วย 3 เส้นทางย่อย ได้แก่
เส้นทาง R3A เชื่อมโยงระหว่างจีนตอนใต้กับลาวและไทย โดยมีจุดเริ่มต้นที่คุนห
มิง มายังโมฮาน บ่อเต็น และห้วยทรายของลาว เข้าเขตไทยที่ อ. เชียงของ และ
สิ้นสุดที่กรุ งเทพฯ
เส้นทาง R3B มีจุดเริ่มต้นที่นครคุนหมิงเช่นเดียวกับ R3A แต่ผ่านเข้ามาทางเมีย
นมาที่ท่าขี้เหล็กแล้วเข้าไทยที่เขต อ. แม่สาย จ.เชียงราย และมีปลายทางที่
กรุ งเทพฯ
เส้นทาง R5 มีจุดเริ่มต้นจากเมืองหนานหนิ งในมณฑลกว่างสีของจีน มายังเมือง
ฮานอยและท่าเรือไฮฟองของเวียดนาม
สำหรับจังหวัดของไทยตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจเหนื อ-ใต้ มี 13 จังหวัด ได้แก่
เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์
พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา และกรุ งเทพฯ
แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนื อ-ใต้
ที่มา : https://slideplayer.in.th/slide/13985971/
2. แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC)
เชื่อมโยงระหว่างเวียดนาม ลาว ไทย และพม่า อาจเรียกได้ว่าเป็ นเส้นทางเชื่อม
โยงระหว่างทะเลจีนใต้กับทะเลอันดามัน ประกอบด้วย เส้นทาง
เส้นทาง R9 มีจุดเริ่มต้นที่เมาะลำไยไปที่เมียวดีเข้าเขตไทยที่ อ. แม่สอด จ.
ตาก เชื่อมไปยังพิษณุโลกขอนแก่นมุกดาหาร และต่อไปยังสะหวันนะเขตเข้า
เขตเวียดนามที่เว้และสิ้นสุดที่ดานั ง
เส้นทาง R12 เชื่อมโยงภาคอีสานของไทยกับมณฑลกว่างซี โดยมีจุดเริ่มต้นที่
จ. นครพนม เข้าเขตลาวที่แขวงคำม่วน วิ่งผ่าน จ. ห่าติ๋ง วิงห์และฮานอยของ
เวียดนาม ก่อนจะไปสิ้นสุดที่กว่างซี
เส้นทาง R8 มีจุดเริ่มต้นที่ จ. บึงกาฬ เข้าเขตปากซันของลาว ผ่านเมืองวิงห์
มุ่งสู่กรุ งฮานอยของเวียดนาม และไปสิ้นสุดที่กว่างซี
สำหรับจังหวัดของไทยตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก มี 7
จังหวัด ได้แก่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และ
มุกดาหาร
แผนที่ แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก
ที่มา : https://kormountainhealthfarm.com/east-west-economic-corridor/
3. แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)เชื่อมโยง
ระหว่างเมียนมา ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ประกอบด้วย 2 เส้นทางย่อย
ได้แก่
เส้นทางทวาย - ทิกิ - กรุ งเทพฯ - อรัญประเทศ- ปอยเปต - พนมเปญ -
โฮจิมินห์ - หวังเต่า
เส้นทางทวาย - ทิกิ - บ้านน้ำพุร้อน - กรุ งเทพฯ - เสียมราฐ - สตรึงเตร็ง
- ควิวยอน
สำหรับจังหวัดของไทยตามแนวเส้นทางนี้ มี 8 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราดและกาญจนบุรี
แผนที่แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้
ที่มา : https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?
แผนที่เส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียน หรือ GMS Economic Corridors
ที่มา : https://www.researchgate.net/figure/GMS-Corridors
ทางหลวงสายเอเชีย(Asian Highway)
ทางหลวงสายเอเชีย เป็ นเส้นทางที่เชื่อมการติดต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ ใน
ทวีปเอเชียเริ่มจากทางตะวันตกของทวีป คือ จากประเทศตุรกี ผ่านอิรัก อิหร่าน
อัฟกานิ สถาน ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ สาธารณรัฐนิ ยมแห่งสหภาพพม่า
ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา
ประชาธิปไตย และสาธารณรัฐสังคมนิ ยมเวียดนาม เส้นทางต่าง ๆ
ทางหลวงสายเอเชีย (Asian Highway) ประกอบด้วย 2 สายหลัก คือ
สาย AH 1 เริ่มต้นจากโฮจิมินห์ซิตี้ (ในเวียดนาม) ปราจีนบุรี อยุธยา ตาก
(ไทย) ย่างกุ้ง (พม่า) ธากา (บังคลาเทศ) กัลกัตตา นิ วเดลี (อินเดีย) ละฮอร์
ราวัลปิ นดี อิสลามาบัด (ปากีสถาน) คาบูล (อัฟกานิ สถาน) เตหะราน (อิหร่าน)
ไปสิ้นสุดที่อังการา (ตุรกี)
สาย AH 2 เริ่มต้นจากอินโดนี เซีย ผ่านสิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย)
สงขลา กรุ งเทพมหานคร เชียงราย (ไทย) มัณฑะเลย์ (พม่า) รากา (บังคลาเทศ)
พาราณสี นิ วเดลี (อินเดีย) ละฮอร์ (ปากีสถาน) ซาฮิถาน เตหะราน ทาบริช
(อิหร่าน) ไปสิ้นสุดที่ แบกแดด (อิรัก)
เส้นทางในประเทศไทย เส้นทางสายเอเชียในประเทศไทยมีทั้งหมด 12 สาย
เป็ นสายประธาน 3 สาย และสายรองอีก 9 สาย
สายประธาน สายประธาน ได้แก่ สาย AH 1 ,AH 2 และ AH 12
สาย AH 1 เริ่มจากพรมแดนพม่าที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผ่านจังหวัด
นครสวรรค์ นครนายก ปราจีนบุรี จนจรดพรมแดนกัมพูชาที่อำเภออรัญประเทศ
ระยะทางประมาณ 703 กิโลเมตร
สาย AH 2 เริ่มจากพรมแดนพม่าที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ลงมาจนจรด
ชายแดนบ้านจังโหลน จังหวัดสงขลา เป็ นระยะทาง 2,254 กิโลเมตร
สาย AH 12 เริ่มจากสามแยกหินกอง จังหวัดสระบุรี (ซึ่งเป็ นจุดที่สาย AH 1 และ
AH 2 มาบรรจบ) ไปทางตะวันออกเฉียงเหนื อ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น
อุดรธานี จนถึงหนองคาย เป็ นระยะทาง 881 กิโลเมตร
สายรอง
สำหรับทางสายรอง ได้แก่ สาย AH 3, AH 13, AH 15, AH 16, AH 18, AH 19, AH
112, AH 121 และ AH 123
สาย AH 3 เริ่มจากพรมแดนลาวที่อำเภอเชียงของ ไปบรรจบกับสาย AH 2
ที่จังหวัดเชียงราย ระยะทาง 116.5 กิโลเมตร
สาย AH 13 เริ่มพรมแดนลาวที่ด่านบ้านห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
ผ่านจังหวัดน่ าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร บรรจบกับสาย AH 2 ที่
จังหวัดนครสวรรค์ ระยะทาง 557 กิโลเมตร
สาย AH 15 เริ่มจากจังหวัดอุดรธานี ผ่านจังหวัดสกลนคร ไปสิ้นสุดที่จังหวัด
นครพนม ระยะทาง 254 กิโลเมตร
สาย AH 16 เริ่มจากพรมแดนลาวที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว จังหวัด
มุกดาหาร ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น อ.หล่มสัก อ.วังทอง พิษณุโลก
สุโขทัย บรรจบกับสาย AH 2 ที่จังหวัดตาก ระยะทาง 688.5 กิโลเมตร
สาย AH 18 เป็ นเส้นทางที่เชื่อมต่อจาก AH
ที่มา : https://guru.sanook.com/8014/
แผนที่ระบบหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน (Asian/ASEAN Highway Route
Numbering System)ทางที่ผ่านประเทศไทย
ที่มา : https://www.ecitepage.com/viewtopic.php?f=48&t=86483
แผนที่ ทางหลวงสายเอเชีย(Asian Highway)
ที่มา : https://th.wikipedia.org
ทางหลวงแผ่นดิน ถนนสายเศรษฐกิจ AEC และAsia highwayส่งผลต่อเศรษฐกิจ
ประเทศไทยอย่างไร
1. ทำให้การคมนาคมขนส่งผู้โดยสารหรือการขนส่งสินค้าจากเมืองหนึ่ งไปยังอีก
เมืองหนึ่ งหรือจากชนบทสู่เมืองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
2. ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสนั บสนุนการจ้างงานและยกระดับ
ความเป็ นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้นทำให้เกิดการพัฒนาที่เท่าเทียมกันใน
ระหว่างประเทศ และในประเทศ
3. ทำให้ประเทศไทยสามารถขยายฐานการผลิตและตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ได้
*ข้อสอบทุก นางสาวสุพัฌา ทองสวนแก้ว คิดเองทั้งหมด*