The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ฎ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รายงานประจำปี 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ฎ

รายงานประจำปี 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ฎ

1


2 รายงานประจำปี 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จัดทำโดย คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก 126/146 อาคาร 10 ชั้น บริเวณชั้น 5 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี วิทยาเขตบำราศนราดูร ซอยติวานนท์ 14 ถ. ติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี Website www.phas.pi.ac.th ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์พิเศษนายแพทย์วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก รองศาสตราจารย์วสุธร ตันวัฒนกุล รองอธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์วิทยา อยู่สุข คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ รองศาสตราจารย์ภูษิตา อินทรประสงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.นพมาส เครือสุวรรณ รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ดร.อาภาพร กฤษณพันธ์ รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ ใจเที่ยง รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ นางจิรสุดา จารุทรัพย์สดใส ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ จัดรูปเล่ม นางสาวเบญจมาศ ขวัญมุข นางสาวรสริน สุขคำ เนื้อหาและภาพประกอบ ผู้อำนวยการวิทยาลัยในสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์


3 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ เป็นส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนกตามกฎกระทรวง จัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 เมื ่อ วันที ่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานคณบดีและวิทยาลัย โดยมีหน้าที่ความ รับผิดชอบในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ การวิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการและบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สามารถผลิต บุคลากรด้านสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าปริญญาตรี ได้ ประมาณ 2,300 คนต่อปีการศึกษา ให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของระบบบริการสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข และผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในระดับชุมชน ชาติ และนานาชาติ เพื่อให้ทิศทางและนโยบายการพัฒนาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ มีความชัดเจนตอบสนองระบบสุขภาพและสอดคล้องกับสถาบันพระบรมราชชนก รายงานฉบับนี้ เป็นการรายงานผลการดำเนินงานของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ในรอบปีที ่ผ่านมา เพื่อเป็นข้อมูลให้คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ได้ทบทวนผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่การ พัฒนาผลงานให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ ตลอดจนตอบสนองนโยบายของสถาบันพระบรมราชชนก และประเทศต่อไป คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ เพื่อ ขอขอบคุณบุคลากรทุกระดับที่ให้ ความร่วมมือ ทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มความสามารถตลอดมา และหวังเป็นอย่าง ยิ ่งว ่าจะได้รับคำแนะนำและข้อเสนอแนะอันจะนำไปสู ่การพัฒนาให้บรรลุ เป้าหมาย และเป้าประสงค์ ตามจุเน้นของคณะสืบไป (รองศาสตราจารย์วิทยา อยู่สุข) คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก


4


5 หน้า สารจากคณบดี ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ▪ ความเป็นมาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 1 ▪ ปรัชญา 1 ▪ ปณิธาน 1 ▪ หน้าที่ตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 1 ▪ วิสัยทัศน์ 2 ▪ พันธกิจ 2 ▪ สมรรถนะหลักของสถาบันพระบรมราชชนก (Core Competency) 2 ▪ อัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก 2 ▪ อัตลักษณ์คุณธรรมบัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก 2 ▪ สมรรรถนะหลักของบัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก 2 ▪ ค่านิยมร่วมสถาบันพระบรมราชชนก 3 ▪ ค่านิยมคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 3 ▪ โครงสร้างคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 3 ▪ โครงสร้างการบริหารคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 4 ▪ อัตรากำลัง 4 ▪ หลักสูตรการจัดการศึกษา 6 ▪ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 9 ▪ ผลการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 10 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงาน ▪ ผลการดำเนินงานคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 12 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ▪ ผลงานเด่นของวิทยาลัยในสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 13 ส่วนที่ 3 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัดของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ▪ รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดกลยุทธ์ แผนยุทธศาสตร์ 36 การพัฒนาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2566-2570


6


7 ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 1.1 ประวัติความเป็นมา คณะสาธารณส ุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ เป็นส ่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก ตามกฎกระทรวง จัดตั้งส่วนราชการในสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 เมื่อ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานคณบดีและวิทยาลัย โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ การวิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการและ บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีวิทยาลัยในสังกัด 9 แห่ง ได้แก่ 1) วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี 2) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น 3) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี 4) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง 5) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก 6) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา 7) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี 8) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 9) วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก 1.2 ปรัชญา จัดการศึกษาแบบบูรณาการผสานความรู้สู ่ชุมชน พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ เพื ่อการ ให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 1.3 ปณิธาน “ปัญญาเพื่อชุมชน (Wisdom for Community)” 1.4 หน้าที่ตามพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 (1) ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ เพื ่อให้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกต่อสังคม และเพื่อให้มี ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) จัดการศึกษา วิจัย ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ ความรู้ และนำความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติ (3) พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพให้มีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการให้เป็น ที่ยอมรับในระดับประเทศและนานาชาติ (4) ส่งเสริมให้เกิดโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตามความต้องการของชุมชน (5) ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมโดยเน้นความร่วมมือกับชุมชน (6) ให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข (7) ส่งเสริมและทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 1


8 1.5 วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นสร้างกำลังคนด้านสาธารณสุขเพื่อบริการปฐมภูมิที่ดีที่สุด 1 ใน 10 ของประเทศไทย ในพ.ศ. 2570 1.6 พันธกิจ (1) จัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อตอบสนองต่อระบบสุขภาพด้วยความเสมอภาค ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกต่อสังคม มีภาวะผู้นำ และมีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) สร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพด้วยการวิจัยและนวัตกรรม ให้มีมาตรฐานและ คุณภาพ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ (3) บริการวิชาการแก่สังคมและบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน (4) บูรณาการการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการศึกษา วิจัย และการบริการ วิชาการเพื่อสุขภาวะชุมชน พันธกิจเพื ่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ สร้างกำลังคนด้านสาธารณสุขผ ่านกระบวนการการจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการในบริบทชุมชน 1.7 สมรรถนะหลักของสถาบันพระบรมราชชนก (Core Competency) “การใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (Community - Based Approach) ที่เน้นการมีส่วนร่วม ของชุมชน (Community Engagement) และการสร้างเครือข่ายกับชุมชน (Community Networking) โดย ใช้แนวคิด สบช. โมเดล ” 1.8 อัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก “บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยยึดมั่นประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” 1.9 อัตลักษณ์คุณธรรมบัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก “ วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ สัจจะ กตเวที ” 1.10 สมรรรถนะหลักของบัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก “4 Cs for C” Critical Thinker นักคิดวิเคราะห์ Communicator ผู้สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ Collaborators นักสานสัมพันธ์ Creator ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม for Community Engagement เพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชน 2


9 1.11 ค่านิยมร่วมสถาบันพระบรมราชชนก 1.12 ค่านิยมคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ PHAS P = Participation ร่วมแรงร่วมใจ H = Happiness สร้างความสุข กาย-ใจ A = Altruism มุ่งผลเพื่อผู้อื่น S = Self-literacy รอบรู้ในตนเอง 1.13 โครงสร้างคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 3


10 1.14 โครงสร้างการบริหารคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 1.15 อัตรากำลัง ในปีงบประมาณ 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ มีอัตรากำลังรวมทั้งหมด 1,079 ค 6 ส านักงานคณบดี 2% (22 คน) ว.การแพทย์แผนไทยฯ 4% (45 คน) วสส.ขอนแก่น 15% (158 คน) วสส.ชลบุรี 14% (152 คน) วสส.ตรัง วสส 8% (80 คน) .พิษณุโลก 15% (165 คน) วสส.ยะลา 12% (124 คน) วสส.สุพรรณบุรี 11% (122 คน) วสส.อุบลราชธานี 9% (100 คน) วทก. 10%(111 คน) จ านวนและร้อยละบุคลากรจ าแนกตามหน่วยงาน 1,079 3 4


11 ที่มา งานทรัพยากรบุคคล คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ข้าราชการ 50% (535 คน) พนักงานสถาบัน 0% (2 คน) พนักงานราชการ 4% (40 คน) พนักงานกระทรวง 16% (167 คน) ลูกจ้างประจ า 1% (15 คน) ลูกจ้างชั่วคราว 0% (3 คน) จ้างเหมาบริการ 29% (317 คน) จ านวนและร้อยละบุคลากรจ าแนกตามประเภท 1,079 5


12 1.17 หลักสูตรการจัดการศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จัดการเรียนการสอนทั้งในระดับ บัณฑิตศึกษา ปริญญาตรี และต ่ำกว ่าปริญญาตรี หลักสูตรที ่เปิดสอนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวม 43 หลักสูตร ดังนี้ 1. ระดับบัณฑิตศึกษา 1.1 ระดับปริญญาโท 7 หลักสูตร ได้แก่ 1.1.1 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต 6 หลักสูตร สอน 6 วิทยาลัย 1.1.2 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) 1 หลักสูตร สอน 1 วิทยาลัย 2. ระดับปริญญาตรี 23 หลักสูตร ได้แก่ 2.1 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน 7 หลักสูตร สอน 7 วิทยาลัย 2.2 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข 7 หลักสูตร สอน 7 วิทยาลัย 2.3 หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย/ หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ 5 หลักสูตร สอน 5 วิทยาลัย 2.4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน 1 หลักสูตร สอน 1 วิทยาลัย 2.5 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค 1 หลักสูตร สอน 1 วิทยาลัย 2.6 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 1 หลักสูตร สอน 1 วิทยาลัย 2.7 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ 1 หลักสูตร สอน 1 วิทยาลัย 3. ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี 13 หลักสูตร ได้แก่ 3.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม 7 หลักสูตร สอน 7 วิทยาลัย 3.2 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉิน ทางการแพทย์ 5 หลักสูตร สอน 5 วิทยาลัย 3.3 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียน 1 หลักสูตร สอน 1 วิทยาลัย 6


13 ตารางที่ 1 แผนการผลิตของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 – 2570 ลำดับ หลักสูตร แผนผลิต ปีการศึกษา 2566 2567 2568 2569 2570 1. ระดับปริญญาโท 369 369 369 369 369 1.1 สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต 157 157 157 157 157 1.2 สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต(หลักสูตร International) 192 192 192 192 192 2. ระดับปริญญาตรี 2,155 2,155 2,155 2,155 2,155 2.1 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน 920 920 920 920 920 2.2 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข 400 400 400 400 400 2.3 การแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย/ ประยุกต์ 370 370 370 370 370 2.4 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน 110 110 110 110 110 2.5 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทศนิค 105 105 105 105 105 2.6 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัย 100 100 100 100 100 2.7 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ 50 50 50 50 50 3. ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี 715 715 715 715 715 3.1 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม 365 365 365 365 365 3.2 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉิน การแพทย์ 210 210 210 210 210 3.3 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียน 120 120 120 120 120 รวมทั้งสิ้น 3,246 3,256 3,256 3,256 3, 256 7


14 หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2566 มีจำนวน 43 หลักสูตร มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 5,399 คน ดังนี้ ลำดับ หลักสูตร ปีการศึกษา 2566 แผนรับ รับจริง 1. ระดับปริญญาโท 369 29 1.1 สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต 157 29 1.2 สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต(หลักสูตร International) 192 - 2. ระดับปริญญาตรี 2,155 4,173 2.1 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน 920 1,488 2.2 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข 400 1,227 2.3 การแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย/ประยุกต์ 370 811 2.4 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน 110 196 2.5 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทศนิค 105 208 2.6 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 100 145 2.7 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ 50 98 3. ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี 715 1,197 3.1 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม 365 670 3.2 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 210 393 3.3 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียน 120 134 รวมทั้งสิ้น 3,246 5,399 8


15 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื ่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และหน้าที ่ของคณะฯ ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รายจ ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยงบประมาณที ่ได้รับจัดสรรทั้งสิ้น 165,223,002 บาท ๑) งบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ ่ายประจำปีงบประมาณพ. ศ. 2566 จำนวน 144,230,942 บาท ๒) ได้รับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากรจำนวน 20,992,060 บาท สามารถจำแนกงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานและผลการใช้งบประมาณได้ดังนี้ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1. แผนงานบุคลากรภาครัฐ 20,992,060 บาท 2. แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 144,230,942 บาท แผนงานบุคลากรภาครัฐ 13% แผนงานพื้นฐานด้านการ พัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 87% แผนภูมิแสดงจ านวนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 9


16 ผลการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 165,223,002 บาท โดยมีผลการใช้จ ่าย ณ วันที ่ 30 กันยายน 2566 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 148,957,123 บาท คิดเป็นร้อยละ 90.16 โดยสามารถจำแนกตามงบรายจ่าย ได้ดังนี้ แผนงาน/หมวด รายจ่าย งบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร ผลการใช้จ่าย คิดเป็น ร้อยละ แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบดำเนินงาน 20,992,060 20,729,064.00 98.75 แผนงานพื้นฐานฯ งบดำเนินงาน 8,157,070 8,156,262 99.99 งบลงทุน 48,764,200 48,764,200 100.00 งบเงินอุดหนุน 87,309,672 71,307,596.61 81.67 รวมทั้งสิ้น 165,223,002 148,957,123 90.16 98.75% 99.99% 100% 81.67% - 10,000,000 20,000,000 30,000,000 40,000,000 50,000,000 60,000,000 70,000,000 80,000,000 90,000,000 100,000,000 งบบุคลากร งบด าเนินงาน งบลงทุน งบเงินอุดหนุน ได้รับจัดสรร ผลการเบิกจ่าย 10


17


18 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงาน สรุปผลการดำเนินงานของวิทยาลัยในสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 1. หลักสูตรที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 หลักสูตร - ผลการประเมิน AUN-QA ระดับ 3 จำนวน 18 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของหลักสูตรที่เปิดสอน - ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านสาธารณส ุขและสหเวชศาสตร์ สำเร็จการศึกษา ภายในระยะเวลาที่กำหนด ร้อยละ82.71 2. ผลงานวิจัยและนวัตกรรม - จำนวนผลงานวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ -จำนวนเงินทุนวิจัยภายในและภายนอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 42,704,819.46 บาท ดังนี้ เงินทุนวิจัยภายใน 41,207,967.46 บาท เงินทุนวิจัยภายนอก 1,496,852.00 บาท - จำนวนบทความในฐาน TCI จำนวน 15 บทความ - จำนวนนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลระดับชาติ จำนวน 14 นวัตกรรม 3. โครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน สบช.โมเดล สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต มีการดำเนินการครบทุก วิทยาลัย 4. โครงการอบรม "พระบริบาลภิกษุไข้" ๑ วัด ๑ รูปทั่วไทย มีการดำเนินการครบทุกวิทยาลัย โดยได้ถวาย ความรู้แด่พระภิกษุ จำนวน 2,356 รูป 3. การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ผ่านการประเมิน ระดับดีเยี่ยม (ทอง)2 วิทยาลัย(วสส.พิษณุโลก และวสส.ตรัง) ระดับดีมาก (เงิน) 1 วิทยาลัย (วสส.ยะลา) 7. จำนวนอาจารย์ที่ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 24 ราย ในปีงบประมาณ 2566 ประเภทผลงานวิจัย จำนวนผลงานวิจัย บทความในวารสารนอกฐาน 7 การประชุมวิชาการระดับชาต 22 การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ - บทความในวารสาร TCI 98 บทความในวารสาร นานาชาติ 17 รวมทั้งสิ้น 144 12


19 ผลงานเด่นของวิทยาลัยในสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 1.วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เข้าร ่วมโครงการสำนักงานสีเขียวกับ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 เพื่อมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสำนักงาน เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ลดการเกิดของเสีย ลด การปล ่อยก๊าซเรือนกระจก ออกสู ่บรรยากาศ และดำเนินกิจกรรมที ่เป็นมิตรกับสิ ่งแวดล้อม โดยใช้พื้นที่ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ขนาด 15 ไร่ 3 งาน 12 ตารางวา ขนาดพื้นที่ใช้สอย อาคาร 3,7๘6 ตารางเมตร (พื้นที่สำนักงาน รวมพื้นที่รอบสำนักงานที่เกี่ยวข้อง) ซึ ่งได้รับประเมินจากคณะกรรมการ เมื ่อวันที ่ ๑๔ กรกฎาคม 2566 ผลการประเมินจากผู้ตรวจ ประเมิน ได้คะแนน 93.84 ระดับผลการประเมิน ดีเยี่ยม (ทอง) 13


20 โครงการอบรม "พระบริบาลภิกษุไข้" ๑ วัด ๑ รูปทั่วไทย เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ฉลองครบรอบพระชนมายุ ๘ รอบ ซึ่งวิทยาลัยจัดจำนวน ๒ รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ ๑ จัดในวันที่ ๒๖ - ๒๘ เมษายน ๒๕๖๖ จำนวน ๑๓๙ รูป ณ วัดป่ามะไฟ ตำบลโคกไม้ลาย อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ใน การนี้พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระพิศาลศึกษากร,ดร.เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์กล่าว ให้โอวาทและสัมโมทนียกถา นายสุนทร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีเป็นประธานฝ่าย ฆราวาสกล่าวเปิดโครงการฯ และรุ่นที่ ๒ จัดวันที่ ๑๖ - ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ จำนวน ๑๒๖ รูป ณ วัดเหล่าอ้อย ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ในการนี้พระเดชพระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณ พระสิริวุฒิ เมธี (สมพร กนฺตาโภ ป.ธ.๗) รองเจ้าคณะจังหวัดสระแก้ว เจ้าอาวาสวัดเหล่าอ้อย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์กล่าวให้โอวาท และสัมโมทนียกถา นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ประธานฝ่ายฆราวาสกล่าวเปิดโครงการ นางดารารัตน์ โห้วงศ์ รองนายแพทย์สาธารสุขจังหวัดสระแก้ว เป็นตัวแทนกล่าวต้อนรับ และ ดร.ภก.บุญมี โพธิ์คำ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี รุ่นที่ ๑ วัดป่ามะไฟ ตำบลโคกไม้ลายอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี รุ่นที่ ๒ วัดเหล่าอ้อย ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 14


21 การประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์AUN-QA วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เข้ารับการตรวจประเมินการประกัน คุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งเป็นหลักสูตรร่วมผลิตกับคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในระหว่างวันที่ 6 -7 กรกฎาคม 2566 ซึ่งได้รับผลการประเมิน ตามเกณฑ์ AUN – QA ได้คะแนน โดยรวม เท่ากับ 4 ซึ่งมีราย ระเอียดดังนี้ เกณฑ์ ระดับคะแนน AUN. 1 Expected Learning Outcomes 4 AUN. 2 Programme Structure and Content 4 AUN. 3 Teaching and Learning Approach 4 AUN. 4 Student Assessment 4 AUN. 5 Academic Staff 4 AUN. 6 Student Support Services 4 AUN. 7 Facilities and Infrastructure 4 AUN. 8 Output and Outcomes 4 2. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น สำนักงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ผ่านการรับรองมาตรฐานจริยธรรมโล ่และประกาศนียบัตร คณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ (NECAST) คณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ระดับชาติใน วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 น. - 12.00 น. ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ 15


22 บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ TCI กลุ่มที่ 1 จำนวน 12 เรื่อง TCI กลุ่มที่ 2 จำนวน 29 เรื่อง ตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำนวน 11 เรื่อง กล่าวสุนทรพจน์(Speech)ในภาคภาษาอังกฤษ“บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยยึดมั่น ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 (หลักสูตร สบ.สาธารณสุขชุมชนปี 1) Humanized Health Care for the Benefit of Mankind นางสาว กัญญารัตน์ ทาดี 16


23 รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยกระทรวงวัฒนธรรม สาขาศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรม นายอาทิตย์ นาสำแดง สาขาวิชาเวชกิจฉุกเฉินชั้นปีที่ 2 (ผลงานย้อนหลัง 3 ปี) 3. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี หลักสูตรใหม่ ในปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี เปิดหลักสูตรใหม่ เพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพให้กับชุมชน จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรแพทย์แผนไทย มีนักศึกษาจำนวน 40 คน และหลักสูตรสาธารณสุขชุมชนมหาบัณฑิต มีนักศึกษาจำนวน 29 คน วิจัยและนวัตกรรม - ทุนวิจัยภายนอกตลอดระยะเวลา 5 ปีที ่ผ ่านมา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยจากหน่วยงานภายนอกเพิ่มสูงขึ้นจาก 1,095,932.86 บาท ใน ปี 2562 เป็น 31,450,000.00 บาท ในปี 2566 สำหรับผลงานวิชาการพบว่าการเผยแพร่ในระดับ Scopus เพิ่มขึ้น จาก 4 ผลงานในปี 2563 เป็น 14 ผลงานในปี 2566 โดยในปี 2566 วิทยาลัยฯ พัฒนานักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุข ชุมชน ชั้นปีที่ 4ให้สามารถผลิตผลงานวิจัย รวมจำนวน 22 บทความ และใช้กระบวนการถอดบทเรียนนำไปสู่การร่วม ผลิตผลงานวิชาการกับเครือข่ายสาธารณสุขชุมชนในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมจำนวน 11 ผลงาน - การประชุมเชิงปฏิบัติการการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติ สหวิชาการเพื่อ สุขภาพ ครั้งที่ 2 ได้จัดการประกวดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ของนักศึกษา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านวิชการและพัฒนาองค์ความรู้ผ่านงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ของ นักศึกษา ประจำปี 2566 และคัดเลือกผลงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ของนักศึกษา เป็นตัวแทนการ นำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ บริการวิชาการ - โครงการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน วิสาหกิจชุมชนหม่อนไหม จ.ชลบุรีการพัฒนา ชุมชนเป็นชุมชนสุขภาวะ วิทยาลัยฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาวะทางกายและจิตของประชาชน ในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นพัฒนาชุมชนสุขภาวะในกลุ่มผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งในปี 2566 ดำเนินการในพื้นที่ ต. บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี สร้าง“โมเดล ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ใต้ถุนบ้าน” และกำหนดเป้าหมายสร้างความมั่นคง ทางเศรษฐกิจให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนผ่านการผลิตผ้าไหม จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนพัฒนาฝีมือการผลิตผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากกระบวนปลูกต้นหม่อน เลี้ยงไหม จนกระทั่งสามารถทอผ้าไหมลายนกสูง ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายแรกในภาค ตะวันออก 17


24 โครงการอบรมพระบริบาลพระภิกษุไข้ประจำวัด 1 วัด 1 รูปทั่วไป วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ให้ ความรู้ทั้งทฤษฎีและฝึกปฏิบัติ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการทำแผล การวัดสัญญาณชีพ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การช่วยชีวิต (CPR) อาหารสำหรับภิกษุอาพาธ การใช้ยาที่ถูกต้อง การนวดผ่อนคลาย และตอบ คำถามปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในพระภิกษุดำเนินการ จำนวน 3 วัด ดังนี้ - วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา พระสงฆ์ 120 รูป - วัดศรีรัตนธรรมาราม จ.สมุทรปราการ พระสงฆ์ 30 รูป - วัดบางพลีใหญ่ใน พระอารามหลวง จ.สมุทรปราการ พระสงฆ์ 300 รูป โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องด้านการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อการเปลี่ยนผ่านผู้ ปฏิบัติการตามข้อบังคับเดิม สู่การเป็นผู้ปฏิบัติการตามข้อบังคับใหม่ สาขาเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ โดยมีวัตุประสงค์เพื่อทำการทบทวนองค์ความรู้ให้เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ได้ฟื้นฟูความรู้ที่ทันสมัย สำหรับ การปฏิบัติการฉุกเฉิน และเพื่อให้เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ฝึกปฏิบัติ พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฎิบัติการ 18


25 4. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง โครงการอบรม “พระบริบาลภิกษุไข้” ประจำวัด1 วัด ๑ รูปทั่วไทย โดยสถาบันพระบรม ราชชนก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆป ริณายก ฉลองพระชนมายุ 8 รอบ โดยการบูรณาการการเรียนการสอน การพัฒนานักศึกษา การวิจัย และการ ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการบริการวิชาการ จัดอบรม 3 รุ่น จำนวนพระภิกษุที่เข้ารับการถวาย ความรู้ทั้งหมด ๒๔๐ รูปพระภิกษุที ่เข้ารับการรับถวายความรู้มาจาก จังหวัดพัทลุง และภูเก็ตสถานที่จัด โครงการ วัดลานแซะ อำเภอขวนขนุน จังหวัดพัทลุง และวัดเทพวนาราม (วัดม่าหนิก) ตำบลศรีสุนทร อำเภอ ถลาง จังหวัดภูเก็ต วิทยากรที่ใช้สอนครั้งนี้ เป็นอาจารย์จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง จาก ทุกวิชาชีพ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพจากหลักสูตรปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และสาธารณสุขชุมชน นักวิชาการ สาธารณสุข จากกลุ ่มงานหลักสูตรสาธารณสุขชุมชนและทันตสาธารณสุข เภสัชกรจากกลุ ่มงานหลักสูตร เทคนิคเภสัชกรรม และ แพทย์แผนไทยจากกลุ่มงานหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต การดำเนินการจัดอบรม แต่ละหัวข้อมีวิทยากรหลักบรรยาย และแบ่งเป็นกลุ่มย่อย จำนวน 10 กลุ่ม โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มทุกกลุ่ม คืออาจารย์และนักศึกษา จำนวน 3-5 คนต่อกลุ่ม ทำให้พระภิกษุที่เข้ารับการอบรมได้ฝึกทักษะในการปฏิบัติได้ อย่างทั่วถึง และครบถ้วน แม้ลดเวลาการอบรมเหลือ 3 วัน สำนักงานสีเขียวและปลอดภัย Green and Safety Office วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง ได้ขับเคลื ่อนการบริหารจัดการองค์กร การ จัดการสิ่งแวดล้อม พลังงาน การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาศักยภาพบุคลากร และลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจก โครงการสำนักงานสีเขียวและปลอดภัย และให้บุคลากรของวิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร จังหวัดตรัง รับทราบและมีส ่วนร ่วมในการดำเนินกิจกรรมนั้น เพื ่อให้เกิดการขับเคลื ่อนในการ ดำเนินการสำนักงานสีเขียวและปลอดภัยของวิทยาลัย (Green and Safety Office) เป็นไปอย ่างมี ประสิทธิภาพ จึงประกาศพื้นที่ขอรับรองสำนักงานสีเขียวและปลอดภัยของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คืออาคารเฉลิมพระเกียรติ เป็นอาหาร 6 ชั้น พื้นที ่ใช้สอยขนาด 5,360 ตารางเมตร (พื้นที่ สำนักงาน รวมพื้นที่สีเขียวรอบสำนักงาน) มีผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานจำนวน 11 คน กำหนดขอบเขต เพื่อขอ รับรอง ดังนี้ (1). กิจกรรมและพื้นที่ภายในอาคารสำนักงานทั้งหมด รวมไปถึงกิจกรรมของหน่วยงานภายนอก ทั้งหมดที่เข้ามาปฏิบัติงานภายในสำนักงาน ประกอบด้วยพื้นที่สำนักงาน ห้องเรียน ห้องประชุม ห้องประชุม กลุ่มย่อย ห้องอเนกประสงค์ ห้องสมุด ห้องเก็บเอกสาร ห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ และห้องพักผู้เข้ารับการอบรม โดยมีกิจกรรมดังนี้ การพิมพ์งาน การถ่ายสำเนา การเรียนการสอน การจัดประชุม หนังสือพิมพ์/วารสาร/ หนังสือ/เอกสารเก่า การขอรถยนต์ราชการไปราชการ การรับประทานอาหาร การล้างภาชนะบรรจุอาหาร การใช้ห้องน้ำ บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ การทำความสะอาดสำนักงาน การบำรุงรักษาพื้นที่สีเขียวรอบ อาคาร การพักของผู้เข้ารับการอบรมในห้องพัก และการอาบน้ำ ยกเว้นกิจกรรมและพื้นที่ของห้องประทับและ พิธีการชั้น ๑ และพื้นที่และกิจกรรมห้องปฏิบัติการเภสัชกรรมแพทย์แผนไทย และศูนย์การเรียนรู้และฝึก ทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ชั้น 3 และ (2) กิจกรรมและพื้นที่รอบสำนักงาน ได้แก่ พื้นที่สีเขียว ประชุมวิชาการเสริมสร้างความเข้าใจเส้นทางสู่คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวช ศาสตร์สถาบันพระบรมชนก ระดับภาคใต้ ครั้งที่ ๑ ผู้เข้าร ่วมโครงการประกอบด้วย ครูแนะแนว และ นักเรียนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 11 และเขตพื้นที่สุขภาพที่ 12 จำนวน 542 คน และ จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม 79 แห่ง ผลการประเมินโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็นดังนี้ - การเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ได้รับข้อมูลการศึกษาต่อ 4.71 คะแนน ระดับมากที่สุด 19


26 - การเข้าร ่วมกิจกรรมทำให้ท ่านรู้จักวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง 4.72 คะแนน ระดับมากที่สุด - การเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ท่านรู้จักคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ 4.72 คะแนน ระดับ มากที่สุด - การเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ท่านเกิดความสนใจที่อาจสมัครเรียนในคณะสาธารณสุขศาสตร์และสห เวชศาสตร์ 4.69 คะแนน ระดับมากที่สุด โค ร งก า ร รณ ร งค ์ป้อ งก ันแ ล ะแก้ไขป ัญห าย าเสพต ิด TO BE NUMBER ONE ผลการประเมินการดำเนินงานปี 2566 ด้านการพัฒนาทักษะชีวิตของนักศึกษา 10 ด้าน ค่าเฉลี่ยการประเมิน การพัฒนาทักษะชีวิตของนักศึกษา 10 ด้าน คะแนนเฉลี่ย 4.23 อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสร้างสัมพันธภาพ ในหัวข้อ พูดคุย ทักทาย ผู้อื่นด้วยน้ำเสียงสุภาพนิ่มนวล มีสีหน้ายิ้มแย้ม คะแนน เฉลี่ย 4.67 อยู่ในระดับมากที่สุด และหัวข้อ มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน คะแนนเฉลี่ย 4.53 การประเมินด้าน การพัฒนาตามอัตลักษณ์บัณฑิต ได้ค่าเฉลี่ยประเมินการพัฒนาตามอัตลักษณ์บัณฑิต คือ คะแนนเฉลี่ย 4.27 อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือหัวข้อ มีสื่อสารกับผู้อื่นด้วยความเป็นมิตร ด้วยน้ำเสียงสุภาพ นิ ่มนวล มีสีหน้ายิ้มแย้ม ด้านจิตบริการ คะแนนเฉลี ่ย 4.34 รองลงมาหัวข้อ ให้การดูแลชมรมอื ่น/ผู้อื่น ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ ไม่แสดงท่าทีรังเกียจ เมื่อมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ด้านจิตบริการ คะแนนเฉลี่ย 4.33 และหัวข้อ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ คะแนนเฉลี่ย 4.31 ด้านความพึงพอใจต่อการดำเนินชมรม ของสมาชิกสามัญ อยู่ในระดับมาก และสมาชิกสมทบ อยู่ในระดับมาก ที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.02±0.73 และ 4.61±0.58 ตามลำดับ และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานศูนย์ เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ของสมาชิกสามัญ อยู่ในระดับมาก และสมาชิกสมทบ อยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.06±0.75 และ 4.67±0.55 ตามลำดับ 20 0


27 5. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ครูต้นแบบ ประจำปีพุทธศักราช 2566 นางรัศมี สุขนรินทร์ ตำแหน่ง อาจารย์ ได้รับการยกย่องและเชิดชู เกียรติเป็น ครูต้นแบบ ประจำปีพุทธศักราช 2566 นักศึกษาดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2566 นายอมรรัตน์ บุญแก้ว ตำแหน่ง นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 ได้รับรางวัล นักศึกษาดีเด่น ของสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปีพุทธศักราช 2566 21 0


28 การแข่งขันกีฬา มหกรรมกีฬา สบช. ที่จังหวัดชลบุรีนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัด พิษณุโลก ทีมบาสเกตบอลหญิง ของวสส.พิษณุโลก ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1ในการเข้าร่วมแข่งขันกีฬา เครือข่ายวิทยาลัยพระบรมชนก สบช. เกมส์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ที่จังหวัดชลบุรี วิจัย นวัตกรรม นักศึกษา เรื่องประสิทธิผลแอปพลิเคชันพิชิตคราบจุลินทรีย์สำหรับผู้บกพร่องตามการได้ยิน นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้รับ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 การประกวดและ แข่งขันในการประชุมวิชาการนักศึกษาระดับชาติ หัวข้อ นวัตกรรมสุขภาพและกีฬา ครั้งที่ ๕ ในหัวข้อ วิจัย นวัตกรรม นักศึกษา เรื่องประสิทธิผลแอปพลิเคชันพิชิตคราบจุลินทรีย์สำหรับผู้บกพร่องตามการได้ยิน เมื่อ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2566" นายชัยวัฒน์ พันธ์รัศมี ผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก เข้ารับโล่ประกาศเกียรติ คุณ บุคคลที่ดำเนินการดีเด่นด้านการป้องกันควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2566" จากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 22 0


29 Best practice วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก สถาบันการศึกษาปลอดบุหรี่ ภาคเหนือ ตอนล่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สมตระกูล ราศิริ ตัวแทนมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนล่าง นำเสนอ ผลงาน Best practice วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก สถาบันการศึกษาปลอดบุหรี่ ภาคเหนือตอนล่าง ในการประชุมมหากรรมวิชาการฟ้าใส ปี ๒๕๖๖ ห้องประชุมมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิม พระบารมี ๕๐ ปี เครือข่ายองค์กรงดเหล้ายอดเยี่ยม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้รับโล่รางวัลงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าในระดับยอดเยี่ยม จากสมาคมสร้างสุขภาคเหนือตอนล่าง ปี พ.ศ.2566 23 0


30 สำนักงานสีเขียว Green Office วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัล โล ่ G เงิน ระดับ(ดีมาก) อาคาร การแพทย์แผนไทย ติกกิจฉาเวช ในปี พ.ศ.2562 รางวัล โล่ G ทองระดับ(ดีเยี่ยม) อาคารสาธารณสุขศาสตร์ ในปี พ.ศ.2563 และรางวัล โล่ G ทองแดงระดับ(ดี) อาคารอำนวยการ ในปี พ.ศ.2564 ในปี 2566 อาคาร เทคนิคเภสัชกรรม รางวัล โล่ G ทองระดับ(ดีเยี่ยม) ปัจจุบันวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้ให้การต้อนรับหน่วยงานต่างๆในการมา ศึกษาดูงาน สำนักงานสีเขียว อย่างต่อเนื่อง เช่น คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวช ศาสตร์ สถบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรามราชชนก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ หน่วยงานต่างๆ 24 0


31 สถาบันหลักการศึกษาต่อเนื่องวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการอนุมัติสถาบันหลักการศึกษาต่อเนื ่อง วิชาชีพการสาธารณสุข โดยในปี 2566 ได้รับการอนุมัติหน ่วยกิตการศึกษาต ่อเนื ่องให้กับนักวิชาการ สาธารณสุข จากโครงการอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยปฐมภูมิ โรงงานผลิตยาสมุนไพรที่ผ่านมาตรฐานการผลิตยาตามหลักเกณฑ์ WHO GMP วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัลโรงงานผลิตยาสมุนไพรที ่ผ ่าน มาตรฐานการผลิตยาตามหลักเกณฑ์ WHO จากอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในพิธี มอบรางวัลงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 20 ในวันที่วันที่ 29 มิถุนายน 2566 ณ เวทีกลาง ฮอลล์ 11- 12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี 25 0


32 ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการรับรอง และอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการ ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานนวดไทย ระดับ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2563 และได้รับการรับรองให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพภาคบริการ สาขา พนักงานนวดไทย ระดับ 2 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 การรับรองจากสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สถาบันการฝึกอบรมการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการ การรับรองจากสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ในการเปิดหลักสูตรอบรมการแพทย์แผนไทย ภาค ก ปัจจุบัน เปิดดำเนินการอบรม ให้ผู้ที่สนใจ จำนวน 22 รุ่น เป็นการอบรมรม Module ระยะเวลาการอบรม 3 ปี 26 0


33 6. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา โครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน สบช.โมเดล สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต รางวัลชนะเลิศ ประกวดนวัตกรรมจากการเรียนการสอน The best Innovation Teaching Award การ จัดการเรียนการสอนนวัตกรรมเข็มขัดกันฉีดอินซูลินซ้ำรอยเดิม การจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ Problem - Based Learning; PBL ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันใน การปฏิบัติท่ามกลางสถานการณ์จริง (Participatory Interactive Learning through Action,; PILA) ทำให้ นักศึกษาสามารถต่อยอดชิ้นงานนวัตกรรมเข็มขัดกันฉีดอินซูลินซ้ำรอยเดิม เพื่อป้องกันการฉีดยาอินซูลินซ้ำ รอยเดิมในผู้ป่วยเบาหวาน 27 0


34 งานวิจัยทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที ่ 21 และแนวทางการสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้สำหรับ นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระ บ ร ม ร า ช ช น ก (21st century skills and ways of learning skills enhancement of undergraduate students at Sirindhorn College of Public Health, Yala Faculty of Public Health and Allied Health Sciences, Praboromarajchanok Institute) 7. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดสุพรรณบุรี มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคฟันผุด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7 สี (สบช โมเดล 1 วิทยาลัย 1 ชุมชน)โครงการสร้างเสรมสุขภาพชุมชน ด้วย สบช. โมเดลชุมชนต้นแบบการสร้างสุขภาพมิติใหม่ จังหวัดสิงห์บุรี โดยวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการร ่วมมือกับ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรีผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 1 ฐานข้อมูลสุขภาพช่องปากในนักเรียน 28 0


35 2. แนวทางในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในนักเรียน 3. การจัดระบบการให้บริการทันตสาธารณสุขในกลุ่มโรงเรียน 29 0


36 8. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี โครงการพระบริบาลภิกษุไข้รูปแบบโครงการจัดถวายความรู้ในครั้งนี้ เป็นการจัดถวาย ความรู้เชิงปฏิบัติการ ณ วัดมหาธาตุจำนวน ๑ รุ่น วัดพุทธโธธัมมธโร (วัดภูด่านแต้) จำนวน ๑ รุ่น และวัดมหา พุทธาราม พระอารามหลวง (วัดพระโต) จำนวน ๒ รุ่น จำนวนวันในการถวายความรู้ รุ่นละ ๓ วัน โดยหัวข้อ หลักในการจัดถวายความรู้ได้แก่ บทบาทของพระบริบาลภิกษุไข้ในการดูแลสุขภาพ การประยุกต์ใช้สบช. โมเดลในการประเมินภาวะสุขภาพ สุขภาพและหลักการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การดูแลสุขภาพ วิทยาส่วนบุคคลและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ปัญหา สุขภาพที ่พบบ่อยในพระภิกษุ หลักการใช้ยาที ่ถูกต้อง การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร ่างกาย การ ประเมินวัดส่งเสริมสุขภาพโดยใช้โปรแกรม health temple การฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเจาะ ระดับน้ำตาลปลายนิ้วมือและการฉีดยาเบาหวาน การนวดผ่อนคลายและการนวดเพื่อสุขภาพ และการดูแล สุขภาพช่องปาก จากการถวายความรู้ทั้ง ๓ จังหวัดในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน ๒๕๖๖ มีพระภิกษุเข้า ร่วมโครงการจำนวนรวม ๓๔๗ รูป พบว่าพระภิกษุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มมากขึ้นหลังการอบรมเกิน ร้อยละ ๘๐ มีทักษะในการบริบาลพระภิกษุมากขึ้นไปในระดับดี เกินร้อยละ ๙๐ และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ต่อโครงการในระดับมากที่สุด (๔.๗๙ จาก ๕ คะแนน) 9. วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ผลงานอาจารย์ของวิทยาลัย ดำรงตำแหน ่งทางวิชาการ ตำแหน ่งผู้ช ่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 ท่าน ผลคะแนนประกันคุณภาพระดับหลักสูตร (AUNQA) และระดับสถาบันตามเกณฑ์มาตรฐานอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 30 0


37 หลักสูตรปริญญาตรี3 หลักสูตร 1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563 2. หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย ปรับปรุง พ.ศ. 2564 3.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน ปรับปรุง พ.ศ. 2564 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชา เวชระเบียน ปรับปรุง 2565 ผลงานอาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่า ดีเด่น จำนวน 4 ท่าน ผลงานเด่นด้านกลุ่มงานบริหารทั่วไปและยุทธศาสตร์ โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ผ่านการประเมินตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2566จากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดับดีมาก (เงิน) กพท. วท.บ. เวช ระเบียน วท.บ.รังสี เทคนิค ปวส. เวช ระเบียน 3.00 3.00 3.00 4.40 31 0


38 ผลงานเด่นด้านบริการวิชาการ กับ สบช.โมเดล โครงการสร้างสุขภาวะชุมชนด้วย สบช.โมเดล ปีงบประมาณ 2566 คัดกรองโรคมา ประเมินพฤติกรรมเสี ่ยงด้านสุขภาพของประชาชนตามเกณฑ์ปิงปองจราจร 7 สี และจัดกลุ ่มสีตาม หลักการปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ชุมชนบ้านคลองขวาง ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัด นนทบุรี โครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน สบช. โมเดล สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต คัดกรองโรคมาประเมินพฤติกรรมเสี ่ยงด้านสุขภาพของประชาชนตามเกณฑ์ปิงปอง จราจร 7 สี และจัดกลุ่มสีตามหลักการปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ชุมชนบ้านคลองขวาง ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรีพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านสาธารณสุขและสุขภาพของนักศึกษาในการ บริหารจัดการสุขภาวะชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และบริการวิชาการแก่ชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชน ด้วย สบช.โมเดล จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างสุขภาวะชุมชนโดย สบช.โมเดล โดยนักศึกษาแกนนำทั้ง 4 หลักสูตร(หลักสูตร วทบ.เวชระเบียนชั้นปีที่ 2, หลักสูตร วทบ.รังสีเทคนิค ชั้นปีที่ 3, หลักสูตรการแพทย์แผน ไทยชั้นปีที่ 2, หลักสูตร ปวส.เวชระเบียนชั้นปีที่ 1 32 0


39 กลุ่มงานวิจัย นวัตกรรม บริการวิชาการ และบริการทางการแพทย์ งานวิจัย : 1) มีผลงานวิจัยของอาจารย์ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ฐาน scopus 2 เรื่อง 2) มีอาจารย์ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 1 คน ได้แก่ อ.วิไลลักษณ์ สุกใส งานวิเทศสัมพันธ์ มีความร่วมมือทางวิชาการ โดยจัดกิจกรรมประชุมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ระหว่าง PBRI และ Komazawa University และได้ร่าง MOU ระหว่าง 2 สถาบัน โดยผ่านการตรวจสอบโดยกองกฎหมาย และกองวิเทศสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเสนอสภาวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก งานบริการวิชาการ รายได้โครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2566 ทั้งหมดเท ่ากับ 1,886,405 (เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2565 คิดเป็นร้อยละ 18.36 ) รายจากได้ศูนย์สาธารณสุขสาธิตคลินิกการแพทย์แผนไทย ประจำปีงบประมาณ 2566 ทั้งหมดเท่ากับ 199,014 (เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2565 คิดเป็นร้อยละ 49.61 ) โครงการอบรมหลักสูตรการสร้างสื่อสารสุขภาพในยุคดิจิทัล 33 0


40 โครงการประสานใจเพื่อพลานามัยของประชาชนชาว ตำบลราษฎร์นิยม งานกิจการนักศึกษา โครงการพัฒนานักศึกษา กิจกรรม ๑๖ กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ การใช้เทคโนโลยีและนวตกรรม เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนก ผลงานเด่น ในงบประมาณ ๒๕๖๖ - ส ่งนักศึกษาเข้าร ่วมประกวดนำเสนอนวัตกรรมในโครงการ Smart Brain and Health 2023 ซึ ่งนักศึกษาได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด การนำเสนอนวัตกรรมประเภท Oral Presentation ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระดับคณะ ปีการศึกษา 2565 34 0


41


42 ส ่วนที ่ 3 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัดของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ปีงบประมาณ 2566 รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดกลยุทธ์ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะสาธารณสุขศาสตร์ และสหเวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2566-2570 พันธกิจ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด บรรลุ ร้อยละ ไม่บรรลุ ร้อยละ ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการเรียนการสอนด้าน สุขภาพสู่มาตรฐานสากล 5 15 10 66.67 5 33.33 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยสาธารณสุขในบริบท ชุมชน และสร้างสรรค์นวัตกรรม 4 10 8 80.00 2 20.00 ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริการวิชาการและบริการ สุขภาพอย่างมืออาชีพ เพื่อสุขภาพชีวิตชุมชน 2 5 3 60.00 2 40.00 ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการสู่องค์กรที่มี สมรรถนะสูงภายใต้หลักธรมาภิบาล 7 18 16 88.89 2 11.11 รวม 18 48 37 77.08 11 22.92 36 0


43


44


Click to View FlipBook Version