The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง มาตรา240-249

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Araya Chaikiri, 2022-09-15 10:27:06

ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง

ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง มาตรา240-249

ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง

คำนำ

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชากฎหมายอาญา ซึ่งผู้จัดทำได้อธิบายในหัวข้อ
เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ผู้จัดทำจะอธิบายถึงความผิด
ต่างๆเกี่ยวกับปลอมแปลงตั้งแต่มาตรา 240 ถึง มาตรา 249 แต่เนื่องจากเนื้อหาใน
รายงานเป็นเนื้อหาที่ผู้จัดทำได้ค้นคว้ามาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ผู้จัดทำจึงได้เรียบเรียง
ตามความเข้าใจของผู้จัดทำเอง หากมีปัญหาหรือความผิดพลาดเกิดขึ้น ผู้จัดทำต้อง
ขออภัยล่วงหน้า มา ณ ที่นี้ด้วย
รายงานเล่มนี้ผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลและเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องความผิด
เกี่ยวกับการปลอมแปลงทั้งหมด ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็น
ประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างถึงที่สุด

สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ 1-4
5-7
ความผิดฐานปลอมเงินตรา 75%
ความผิดฐานแปลงเงินตรา 8-9

ความผิดฐานแปลงเงินตราทุจริตให้เหรียญกษาปณ์ 10
ซึ่งรัฐบาลออกใช้มีน้ำหนักลดลง



ความผิดฐานนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งใดๆ อันเป็นของ
ปลอม ตามมาตรา 240 หรือ ของแปลงตามมาตรา241

ความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งสิ่งใดๆ อันตนได้มาโดยรู้ 11-12
ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือ ของแปลงตาม
มาตรา 241 13-14
ความผิดฐานได้มาซึ่งสิ่งใดๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240
หรือของแปลงตามมาตรา 241 ต่อมารู้ยังขืนนำออกใช้ 15-17
ความผิดฐานทำหรือมีเครื่องมือหรือว
ัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงเงินตรา 18-20
ความผิดฐานกระทำเกี่ยวกับเงินตรา หรือพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ 21-23
ความผิดฐานเลียนแบบเงินตรา
อ้างอิง 24

1

ความผิดฐานปลอมเงินตรา

มาตรา 240 ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่ง
อื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญ
สำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอด
ชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท

2

องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใด
2.ทำปลอมขึ้น
3.เงินตรา พันธบัตรรัฐบาล ใบสำคัญสำหรับดอกเบี้ยพันธบัตร
นั้น

องค์ประกอบภายใน

เจตนา

เจตนาพิเศษ

เพื่อให้เป็น เงินตรา พันธบัตรรัฐบาล ใบสำคัญสำหรับ
ดอกเบี้ย พันธบัตรนั้น

3

หลักเกณฑ์

1)เป็นการทำปลอมขึ้น ซึ่งเงินตรา การปลอมขึ้น พันธบัตรรัฐบาล
ใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น
การปลอม คือตั้งใจให้เหมือนของจริง เช่น ลวดลาย สี ขนาด แม้ไม่
เหมือนมากแต่อาจทำให้มีคนหลงเชื่อได้ ถ้าไม่พิจารณาให้ดี ก็เป็นการ
ปลอม
เงินตรา หมายถึง เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร หรือสิ่งอื่นใดที่รัฐบาลออกใช้
หรือให้อำนาจให้ออกใช้ ซึ่งต้องเป็นเงินตราจริงที่ออกใช้ และกำลังมีการใช้
อยู่ขณะกระทำความผิด และยังไม่ได้มีการเลิกใช้

(ฎ.4930/2557)ทำปลอมขึ้น" หมายความถึงทำโดยตั้งใจให้เหมือน
ของจริง จึงต้องทำในประการที่จะให้มีลักษณะอย่างเดียวกับเงินตราที่รัฐบาล
กำหนด เช่น มีลวดลาย สี ขนาด ลักษณะของกระดาษอย่างเดียวกัน ซึ่งจะ
ต้องพอที่จะลวงตาให้เห็นว่าเป็นเงินตรา แต่ไม่จำต้องถึงกับต้องพิจารณาจึง
จะรู้ว่าปลอม เพียงแต่ลวงตาซึ่งถ้าไม่พิจารณาให้ดีอาจหลงเข้าใจว่าเป็นเงิน
ตราได้ ก็ถือว่าเป็นการทำปลอมขึ้นแล้ว และการทำปลอมย่อมจะเหมือนของ
จริงไปทุกอย่างไม่มีผิดกันเลยไม่ได้ ย่อมต้องมีบางสิ่งบางอย่างผิดจากของ
จริงบ้างไม่มากก็น้อย ฉะนั้น การปลอมจะผิดจากของจริงที่ตั้งใจทำให้
เหมือนมากน้อยเพียงใดจึงไม่สำคัญ

4

2)ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้
รัฐบาล หมายถึง รัฐบาลไทย และผู้มีอานาจในการออกเงินตรา คือธนาคาร

แห่งประเทศไทย ดังนั้นถ้าเงินที่ทำขึ้นมานั้นกระทำขึ้นมาโดยคนที่ไม่มีอำนาจใน
การออกเงินตราย่อมเป็นความผิดตามมาตรานี้
3)ผู้กระทำต้องมีเจตนาในการทำปลอม

รู้ว่าเป็นการปลอม และมีเจตนาพิเศษ คือ เพื่อให้เป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตร
หรือสิ่งอื่นใดที่รัฐบาลออกใช้ หรือให้อำนาจให้ออกใช้

(ฎ.10941/2555) การทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นการปลอมขึ้นเพื่อให้
เป็นเหรียญกระษาปณ์หรือธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้
ออกใช้ หากสิ่งที่ทำขึ้นมีลักษณะอย่างเดียวกับเงินตราที่รัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจ
ให้ออกใช้พอที่จะลวงตาให้เห็นว่าเป็นเงินตรา ก็ถือได้ว่าเป็นการทำปลอมขึ้น โดยไม่
จำต้องถึงกับต้องพิจารณาดูหรือจับต้องเสียก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นของปลอม

5

ความผิดฐานแปลงเงินตรา

มาตรา 241 ผู้ ใดแปลงเงินตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่ง
รัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือแปลง พันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับ
รับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ให้ผิดไป จากเดิม เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่าจริง ผู้นั้น
กระทำความผิดฐาน แปลงเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้า
ปี ถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท

6

องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใด
2.แปลงให้ผิดไปจากเดิม
3.ซึ่ง

3.1 เงินตราไม่ว่าจะเป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้ หรือให้
อำนาจให้ออกใช้

3.2 พันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ

องค์ประกอบภายใน

เจตนา

เจตนาพิเศษ

เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่า

7

หลักเกณฑ์

1) เป็นการแปลงเงินตรา พันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ ให้ผิดไปจากเดิม
การแปลง คือ การทำให้ผิดไปจากเดิมโดยเป็นการกระทำต่อเงินตราที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นการทำขึ้นใหม่ แต่เป็นการแก้ไข
ของแท้ให้ผิดไปจากเดิม
2)ต้องเป็นการแปลงให้มีมูลค่าสูงขึ้น

เช่น การแปลงธนบัตรฉบับละ 100 บาท มาแก้ไขให้มีมูลค่า 1000 บาท หรือนำเหรียญ 5 บาท มาแปลง
เป็นเหรียญ 10 บาท ดังนั้นหากเป็นการแปลงแล้วทำให้มูลค่าลดลง ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
3) เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีมูลค่าสูงกว่า

8

ความผิดฐานแปลงเงินตราทุจริตให้เหรียญกษาปณ์
ซึ่งรัฐบาลออกใช้มีน้ำหนักลดลง

มาตรา 242 ผู้ใดกระทำโดยทุจริตให้เหรียญกระษาปณ์ซึ่งรัฐบาลออกใช้มีน้ำหนักลดลง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

ผู้ใดนำเข้าในราชอาณาจักร นำออกใช้หรือมีไว้เพื่อนำออกใช้ ซึ่งเหรียญกระษาปณ์ที่มีผู้
กระทำโดยทุจริตให้น้ำหนักลดลงตามความในวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

องค์ประกอบภายนอก 9

1.ผู้ใด
2.กระทำให้มีน้ำหนักลดลง
3.ซึ่งเหรียญกษาปณ์ ที่รัฐบาลออกใช้

องค์ประกอบภายใน

เจตนา

เจตนาพิเศษ

โดยทุจริต

ข้อสังเกต

1) จะเป็นความผิดตามมาตรานี้ก็ต่อเมื่อได้ทำให้เหรียญกษาปณ์มีน้ำหนักลดลง หากเป็นการทำให้มีน้ำ
หนักเพิ่มขึ้นย่อมไม่เป็นความผิด
2) ในวรรคสอง เป็นความผิดเมื่อ “นำเข้าในราชอาณาจักร นำออกใช้หรือมีไว้เพื่อนำออกใช้” ดังนั้นหาก
มีไว้เพื่อสะสมไม่เป็นความผิด

10

ความผิดฐานนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งใดๆ อันเป็นของปลอม ตามมาตรา
240 หรือ ของแปลงตามมาตรา241

มาตรา 243 ผู้ใดนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสิ่งใด ๆ อันเป็นของ ปลอมตาม
มาตรา 240 หรือของแปลงตาม มาตรา 241 ต้องระวาง โทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ

องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใด
2.นำเข้าในราชอาณาจักร
3.ซึ่งสิ่งใดๆ อันเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241

องค์ประกอบภายใน

เจตนา

11

ความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งสิ่งใดๆ อันตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของ
ปลอมตามมาตรา 240 หรือ ของแปลงตามมาตรา 241

มาตรา 244 ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งสิ่งใด ๆ อันตนได้มาโดย รู้ว่าเป็นของแปลก
ตาม มาตรา 240 หรือของแปลงตาม มาตรา 241 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปี

75%ถึงสิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงสามแสนบาท

12

หลักเกณฑ์

1) ต้องรู้อยู่ก่อนแล้วว่าเงินตรานั้นเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือ แปลงตามมาตรา 241
ดังนั้นหากตอนแรกได้มาไม่รู้ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ แต่หากภายหลังรู้แล้วยังนำออกใช้อาจเป็นความผิดตาม

มาตรา245
2)ต้องมีไว้เพื่อนำออกใช้

การมีไว้ คือ มีอยู่ในความครอบครองของตนไม่รวมถึงกรณีการครอบครองแทนบุคคลอื่น
การนำออกใช้ คือ การทำให้เงินปลอม หรือ แปลงหลุดออกจากอำนาจการครอบครองของตนไปสู่อำนาจการ
ครอบครองของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ร่วมกระทำความผิด
Ex.จำเลยมีธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และจำเลยได้นำธนบัตรดังกล่าวไปใช้ซื้อผลไม้จากผู้เสียหาย
ถือได้ว่า เป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 แล้ว แม้ว่าผู้เสียหายจะยังไม่ทันรับไว้
สมบูรณ์ด้วยการทอนเงินที่เหลือจากค่าซื้อผลไม้แก่จำเลยก็ตาม (ฎ.2177/2542)

13

ความผิดฐานได้มาซึ่งสิ่งใดๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240
หรือของแปลงตามมาตรา 241 ต่อมารู้ยังขืนนำออกใช้

มาตรา 245 ผู้ใดได้มาซึ่งสิ่งใด ๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตาม มาตรา 240 หรือของแปลง
ตามมาตรา 241 ถ้าต่อมารู้ว่าเป็นของปลอมหรือของแปลงเช่นว่านั้น ยังขืนนำออกใช้ ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

14

องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใด
2.ได้มาสิ่งใดๆ โดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา
241
3.ถ้าต่อมารู้ว่าเป็นของปลอมหรือของแปลงเช่นว่านั้น ยังขืนนำออกใช้

องค์ประกอบภายใน

เจตนา

ข้อสังเกต

มาตรานี้จะมีลักษณะคล้ายกับมาตรา 244 แต่ต่างกันที่เป็นกรณีที่ตอนได้
มาไม่รู้ว่าเป็นของปลอม หรือแปลง แต่ภายหลังเมื่อรู้แล้ว ยังนำออกใช้ คือ
มาตรา 244 แค่มีเจตนาที่จะนำออกใช้ก็ผิดแล้ว แต่มาตรา 245 จะต้อง
เป็นการนำออกใช้แล้วจึงจะเป็นความผิด

15

ความผิดฐานทำหรือมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงเงินตรา

มาตรา 246 ผู้ ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงเงิน ตรา ไม่ว่าจะเป็น
เหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งใด ๆ ซึ่งรัฐบาล ออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือสำหรับ
ปลอมหรือแปลงพันธบัตร รัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับ รับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ หรือมี
เครื่อง มือหรือวัตถุเช่นว่านั้นเพื่อใช้ในการปลอมหรือแปลง ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ห้าปี
ถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท

16

องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใด
2.ทำ หรือ มี
3.เครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงเงินตราไม่ว่าจะเป็นเหรียญกษาปณ์
ธนบัตร หรือสิ่งใดๆ ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือสำหรับปลอม
หรือแปลงพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ

องค์ประกอบภายใน

เจตนา

เจตนาพิเศษ

เพื่อใช้ในการปลอมหรือแปลง

17

ข้อสังเกต

1) คำว่า “มี” หมายถึง แค่เพียงยึดถือและครอบครองไว้ ไม่ต้องยึดถือในลักษณะมีกรรมสิทธิ์ก็เป็นความผิด
แล้ว

2) จะเห็นว่ากฎหมายเน้นลงโทษก่อนที่มีการลงมือทำความผิด คือแม้ยังไม่ได้มีการทำการปลอมแปลงเงินตรา
แต่เพียงทำเครื่องมือหรือวัตถุ หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับที่จะใช้ในการปลอมแปลง ผู้กระทำก็มีความผิดแล้ว

18 ความผิดฐานกระทำเกี่ยวกับเงินตรา หรือพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ

มาตรา 247 ถ้าการกระทำดังกล่าวในหมวดนี้เป็นการกระทำเกี่ยว กับเงินตรา ไม่ว่าจะเป็น
เหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใดซึ่ง รัฐบาลต่างประเทศออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้
หรือเกี่ยวกับ พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ผู้
กระทำต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ

องค์ประกอบภายนอก

1.ผู้ใด
2.ถ้าการกระทำดังกล่าวในหมวดนี้ (ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา)
3.เกี่ยวกับเงินตรารัฐบาลต่างประเทศ หรือเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญ
สำหรับดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ

องค์ประกอบภายใน

เจตนา

เจตนาพิเศษ

เพื่อใช้ในการปลอมหรือแปลง

19

Ex.การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้ เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรรัฐบาลไทยและรัฐบาล
สหรัฐอเมริกาโดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอมนั้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 244 บทหนึ่ง และ
มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 244 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้อง
ลงโทษตามมาตรา 244 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาแต่เป็น
ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและ
พิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ที่มีฎีกาด้วย (ฎ.4203/2541)

20

ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือ มาตรา 247 แต่กระทงเดียว

มาตรา 248 ถ้าผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 240 มาตรา 241 หรือ มาตรา 247 ได้
กระทำความผิดตาม มาตรา อื่นที่บัญญัติไว้ใน หมวดนี้อันเกี่ยวกับสิ่งที่ตนปลอมหรือแปลง
นั้นด้วย ให้ลงโทษผู้นั้นตาม มาตรา 240 มาตรา 241 หรือ มาตรา 247 แต่กระทงเดียว

ข้อสังเกต

ถ้าทำความผิดฐานปลอม หรือแปลงเงินตราของรัฐบาลไทย หรือรัฐบาลต่างประเทศ และยังทำความผิดในบทอื่นๆ
เช่น มีเครื่องมือในการทำปลอม หรือนำออกใช้มาตรา 248 กำหนดให้ลงโทษผู้กระทำตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือ
มาตรา 247 แต่กระทงเดียวเท่านั้น

21

ความผิดฐานเลียนแบบเงินตรา

มาตรา 249 ผู้ ใดทำบัตรหรือโลหธาตุอย่างใด ๆ ให้มีลักษณะและ ขนาดคล้ายคลึงกับเงิน
ตรา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญกระษาปณ์ธนบัตรหรือ สิ่งใด ๆ ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้
ออกใช้หรือพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ หรือจำหน่าย
บัตรหรือ โลหธาตุเช่นว่านั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการจำหน่ายบัตร หรือโลหธาตุดังกล่าวในวรรคแรก เป็นการ จำหน่าย โดยการนำ
ออกใช้ดังเช่นสิ่งใด ๆ ที่กล่าวในวรรคแรก ผู้ กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

22 ความผิดที่ 2

ความผิดที่ 1 องค์ประกอบภายนอก

องค์ประกอบภายนอก 1.ผู้ใด
2.จำหน่ายบัตรหรือโลหะธาตุเช่นว่านั้น
1.ผู้ใด
2.ทำให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา ซึ่งรัฐบาลออกใช้

หรือให้อำนาจให้ออกใช้หรือพันธบัตรรัฐบาล หรือใบสำคัญสำหรับ
ดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ องค์ประกอบภายใน
3.บัตรหรือโลหะธาตุอย่างใดๆ
เจตนา



องค์ประกอบภายใน

เจตนา

23

ข้อสังเกต

1) ในมาตรานี้มีความผิด 2 กรณี คือ การทำเลียนแบบ(วรรคหนึ่ง) และการจำหน่ายสิ่งที่ทำเลียนแบบ(วรรคสอง)
ซึ่งการเลียนแบบเงินตรานั้น จะเป็นการกระทำที่ทำให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับเงินตรา แต่ไม่ถึงขนาดที่เหมือนเงินตราจริงไม่
อย่างนั้นจะเป็นการทำปลอม

(ฎ.2828/2551) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 249 มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่าการทำบัตรให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึง
กับเงินตรา ต้องกระทำเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นธนบัตรที่แท้จริง แต่คำว่าคล้ายคลึง แสดงว่าเกือบเหมือนหรือไม่ต้องเหมือนทีเดียว เพียงแต่มี
ลักษณะสีสันรูปร่างและขนาดคล้ายเงินตราที่แท้จริงก็เป็นความผิดตามมาตรานี้ แต่สำเนาธนบัตรที่จำเลยทำขึ้นว่าเกิดจากการถ่ายสำเนา
ธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ของจริงลงในกระดาษธรรมดา สีสันในส่วนสำเนาธนบัตรเป็นสีขาว มิได้มีสีสันเหมือนธนบัตรฉบับจริง แม้ว่า
ขนาดของกระดาษจะเท่าของจริง เมื่อวิญญูชนทั่วไปดูแล้วย่อมทราบได้ทันทีว่าไม่ใช่ธนบัตรที่แท้จริง ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทำบัตรให้มีลักษณะ
และขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา

2) คำว่า “จำหน่าย” คือการส่งต่อไปยังผู้อื่น ดังนั้นแม้ไม่มีค่าตอนแทนก็อยู่ในความหมายของคำว่าจำหน่าย
ซึ่งหากมีการนำออกใช้ซึ่งสิ่งเลียนเงินตราตามวรรคหนึ่ง ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามวรรคสอง

24

อ้างอิง

หนังสือกฎหมาย อาญา2 ภาคความผิด หน้า99 ถึงหน้า 113

นางสาว อารยา ไชยคีรี
รหัส 641081424 S104


Click to View FlipBook Version