The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by taweepornkenram, 2021-04-17 23:12:22

5 บท ซึมเศร้า

5 บท ซึมเศร้า

4

5

คาํ นาํ

เอกสารสรุปผลการดําเนินงาน การจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดําเนินการใน
วันที่ 12 มีนาคม 2564 ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านหนองบก หมู่ 2 ตําบลหัวถนน อําเภอพนัสนิคม
จังหวัดชลบุรี ผู้เข้าร่วมโครงการ 22 คน ตําบลหัวถนน อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จัดทําข้ึนเพื่อสรุป
ผลสัมฤทธ์ิและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมของ กศน.ตําบลหัวถนน สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอพนัสนิคม กิจกรรมดังกล่าว ดําเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อย ซ่ึงรายละเอียด
ผลการดาํ เนนิ งานต่าง ๆ ตลอดจนข้อเสนอแนะได้สรปุ ไว้ในเล่ม

ขอขอบคุณ นางณัชธกัญ หมื่นสา ผู้อํานวยการ กศน.อําเภอพนัสนิคม ตลอดจนเจ้าหน้าท่ีงาน
แผนงาน เจ้าหน้าท่ีงานการศึกษาต่อเนื่อง ท่ีให้คําแนะนํา คําปรึกษาในการจัดทําเอกสารสรุปและรายงานการ
ประเมินโครงการในคร้ังน้ี กศน.ตําบลหัวถนนหวังเป็นอย่างย่ิงว่า เอกสารเล่มนี้ คงจะเป็นประโยชน์สําหรับผู้ท่ี
ต้องการศึกษาหาข้อมูล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม และหากมีสิ่งหน่ึงสิ่งใดขาดตกบกพร่อง
คณะผจู้ ดั ทําตอ้ งขออภยั มา ณ โอกาสนด้ี ้วย

กศน.ตําบลหัวถนน
สังกดั กศน.อําเภอพนสั นคิ ม

สารบญั 6

คํานาํ หนา้
บทที่ 1 บทนาํ
บทท่ี 2 เอกสารการศึกษาและรายงานทเี่ ก่ียวข้อง 1
บทที่ 3 วิธดี าํ เนินงาน 4
บทท่ี 4 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล 25
บทที่ 5 สรปุ อภิปรายผล ขอ้ เสนอแนะ 27
บรรณานกุ รม 32
ภาคผนวก
คณะผู้จดั ทาํ

1

บทที่ 1
บทนํา

หลกั การและเหตผุ ล
สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2562 สัดส่วนของผู้สูงอายุอยู่ท่ีประมาณ ร้อยละ 18

ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งประมาณการว่าจะมีผู้สูงอายุ ประมาณ 11 ล้านคน ในจํานวนผู้สูงอายุดังกล่าวเม่ือ
แบ่งตามสุขภาวะของผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มติดสังคม มีประมาณ 8.5 ล้านคน (79.50%) กลุ่มติดบ้าน มี
ประมาณ 2 ล้านคน (19.00%) และกลุ่มติดเตียง มีประมาณ 5 แสนคน (1.50%) ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ในช่วง
60-70 ปี เป็นกลุ่มท่ียังมีพลังในการขับเคล่ือนสังคมโดยเฉพาะอย่างย่ิงการสร้างความอบอุ่น เป็นหลัก เป็นที่พ่ึง
ให้แกส่ มาชกิ ในครอบครัว หากแต่ละครอบครัวมีความเข้มแข็งย่อมส่งผลให้ชุมชน สังคมและประเทศเข้มแข็งไป
ดว้ ย การท่จี ะใหผ้ สู้ ูงอายุ “กลุ่มตดิ สงั คม”ยงั เปน็ พลงั ในการขับเคล่ือนสังคม การจัดการศึกษาตลอดชีวิต เป็นอีก
วิธีหนึ่งที่จะช่วยคงภาวะติดสังคมให้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ รูปแบบของการศึกษาตลอดชีวิตดังกล่าว ได้แก่ การ
ออกแบบกิจกรรมท่ีให้ความรู้ในเรื่องท่ีเก่ียวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุกลุ่มติด
สังคมได้ออกมาทํากิจกรรมร่วมกันอย่างสมํ่าเสมอ ซึ่งลักษณะของกิจกรรมนี้กลุ่มน้ี ก็เพ่ือปูองกันไม่ให้ผู้สูงอายุ
กลุ่มติดสังคมมีพัฒนาการไปเป็นผู้สูงอายุภาวะพ่ึงพิง (ติดบ้านและติดเตียง) ตราบเท่าท่ีผู้สูงอายุยังสามารถคง
สมรรถนะทางกาย จิตและสมอง ไว้ไดย้ นื ยาวขน้ึ หรือตลอดชีวิต ย่อมสร้างประโยชน์ให้แก่ครอบครัว ชุมชนและ
สังคมได้ อีกทั้งยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาของภาครัฐได้จํานวนมาก ปัจจัยสําคัญของการท่ีจะคง
ภาวะ ติดสังคมในผู้สูงอายุไว้ให้นานที่สุด ขึ้นอยู่กับการที่ผู้สูงอายุมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมที่เหมาะสมและ
สมํา่ เสมอ

.

จากเหตุผลดงั กลา่ ว กศน.ตําบลหัวถนน สงั กดั ศนู ยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อธั ยาศัยอําเภอพนัสนคิ ม จังหวดั ชลบุรี จึงได้จดั ทาํ โครงการพัฒนาคณุ ภาพชีวิตผ้สู ูงอายุข้ึน

วตั ถปุ ระสงค์
1. เพ่อื ให้ผสู้ ูงอายุได้รู้สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า และแนวทางการปูองกันโรค
2. เพ่ือให้ผสู้ งู อายุมีกิจกรรมที่ทําร่วมกับผู้อ่ืน เพ่อื สร้างปฏสิ ัมพันธก์ บั ผู้อ่ืน
3. เพอ่ื ให้ผู้สงู อายรุ จู้ กั การออกกาํ ลงั กายท่ีเหมาะสมกับสภาวะร่างกายของตนเอง

เปูาหมายการดาํ เนินงาน
เปาู หมายเชงิ ปริมาณ
ผ้สู งู อายุตําบลหวั ถนน จํานวน 20 คน
เปูาหมายเชงิ คุณภาพ
1. เพือ่ ให้ผสู้ ูงอายุไดร้ ู้สาเหตุของการเกดิ โรคซึมเศร้า และแนวทางการปูองกนั โรค
2. เพอื่ ให้ผู้สงู อายุมีกิจกรรมที่ทําร่วมกบั ผอู้ ื่น เพอื่ สรา้ งปฏิสมั พันธก์ บั ผู้อ่ืน
3. เพอื่ ให้ผสู้ งู อายรุ ู้จกั การออกกาํ ลงั กายที่เหมาะสมกบั สภาวะร่างกายของตนเอง

2

วธิ กี ารดาํ เนนิ การ วตั ถปุ ระสงค์ กลมุ่ เปาู หมาย เปาู หมาย พน้ื ทดี่ าํ เนนิ การ ระยะเวลา งบประมาณ
เพอื่ เตรียมความพรอ้ ม ครู กศน.ตําบล 1 คน กศน. อาํ เภอ 19 -
กจิ กรรมหลกั ในการดาํ เนินโครงการ พนสั นิคม
1.ขั้นวางแผน (Plan) ผูส้ ูงอายุ กมุ ภาพนั ธ์
1.1 ประชมุ วางแผนช้ีแจงการ 1. เพ่อื ให้เพ่อื ให้ ตาํ บลหัวถนน 2564
ปฏบิ ตั งิ าน ผสู้ งู อายไุ ด้รสู้ าเหตุ
1.2 ประสานเครอื ขา่ ย/จัดหา ของการเกิดโรค ครู กศน.ตาํ บล 20 คน ศาลา 12 งบรายจ่ายอื่น
สถานท่ี ซมึ เศรา้ และแนวทาง อเนกประสงค์ มีนาคม กจิ กรรม
1.3 เตรียมส่อื เอกสารและวัสดุ การปูองกนั โรค บา้ นหนองบก 2564 พฒั นา
1.4 จดั ทาํ โครงการ/หลกั สตู ร 2. เพอ่ื ให้ผูส้ ูงอายุมี ม.2 ต.หัวถนน
และการอนมุ ตั ิหลกั สตู ร กิจกรรมท่ที าํ รว่ มกับ อ.พนัสนิคม คุณภาพชีวติ
2. ขัน้ ดําเนนิ การ (Do) ผอู้ น่ื เพอ่ื สรา้ ง ผูส้ ูงอายุ
จัดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวติ ปฏิสมั พันธ์กับผู้อื่น จ.ชลบรุ ี
ผู้สูงอายุ 3. เพ่อื ให้ผู้สงู อายรุ จู้ ัก 1,400.-บาท
การออกกําลังกายที่
3.ประเมินโครงการ (Check) เหมาะสมกับสภาวะ 1 คน กศน.ตําบล 1-10
รา่ งกายของตนเอง หวั ถนน มีนาคม
3.1 ประเมนิ ก่อนดาํ เนิน 3.1 เพอื่ ศกึ ษาความ 2564
โครงการ เป็นไปได้
3.2 เพอ่ื ศกึ ษา 12
3.2 ประเมนิ ระหวา่ งดาํ เนิน ความกา้ วหนา้ ของ มีนาคม
โครงการ โครงการ 2564
3.3 เพอื่ ศึกษา
3.3 ประเมนิ หลงั เสร็จสิน้ ความสําเรจ็ ของ 15-20
โครงการ โครงการ มนี าคม
2564

3

กจิ กรรมหลกั วตั ถปุ ระสงค์ กลมุ่ เปาู หมาย เปาู หมาย พนื้ ทด่ี าํ เนนิ การ ระยะเวลา งบประมาณ
4. ขนั้ ปรับปรุงแกไ้ ข (Action) เพือ่ นาํ ผลการประเมนิ ครู กศน.ตําบล 1 คน กศน.ตาํ บล 21 -30
4.1 ประชุมคณะกรรมการ มาใช้ในการปรบั ปรุง หวั ถนน มนี าคม
โครงการเพอ่ื สรุปผลการ และพัฒนา โครงการ 2564
ดาํ เนินงานโครงการ
4.2 นาํ ผลการดาํ เนินโครงการ
ไปปรับปรงุ และพัฒนาโครงการ

วงเงนิ งบประมาณทง้ั โครงการ
โดยใช้เงนิ งบประมาณประจําปี 2564 ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดชว่ งชีวิต

โครงการพัฒนาคณุ ภาพชวี ติ ผู้สงู อายุ งบรายจา่ ยอน่ื กจิ กรรมการพัฒนาคณุ ภาพชวี ติ ผสู้ ูงอายุ
เปน็ เงินท้งั สิน้ 1,400.-บาท (-หน่งึ พันส่ีร้อยบาทถ้วน-)

แผนการใชจ้ า่ ยงบประมาณ เปน็ รายไตรมาส

กิจกรรมหลกั ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสท่ี 3 ไตรมาสที่ 4
(ต.ค.–ธ.ค.62) (ม.ค.–ม.ี ค.63) (เม.ย.–ม.ิ ย.63) (ก.ค.– ก.ย.63)

โครงการพฒั นาคุณภาพชวี ติ ผู้สูงอายุ 1,400.-

ตาํ บลหวั ถนน

ผลลพั ธ์
ผเู้ ขา้ รว่ มกิจกรรมไดร้ ู้สาเหตุของการเกิดโรคซมึ เศรา้ และแนวทางการปูองกนั โรค รวมถงึ มีกิจกรรมที่ทาํ

รว่ มกับผอู้ ืน่ เพื่อสรา้ งปฏิสัมพนั ธ์กับผอู้ น่ื

ผรู้ บั ผดิ ชอบโครงการ
1. นางสาวทวพี ร เคนรํา ครูกศน.ตําบลหวั ถนน
2. นายวัชรินทร์ อุดานนท์ ครูอาสาสมัคร ฯ

4

บทท่ี 2
เอกสารการศกึ ษาและรายงานทเี่ กีย่ วขอ้ ง
ในการจดั ทํารายงานครั้งน้ี ไดท้ าํ การศึกษาคน้ ควา้ เน้ือหาจากเอกสารการศึกษาและเน้ือหาที่เกย่ี วข้อง
ดังต่อไปน้ี
1. การเปลี่ยนแปลงและเตรียมตัวเขา้ สวู่ ยั สูงอายุ
2. ปญั หาสุขภาพจิตของผูส้ งู อายุและวิธกี ารดแู ลสขุ ภาพจิตผู้สงู วัย
3. แนวทางการหลกี เล่ียงหรือปูองกันการเกิดภาวะซึมเศร้าในผสู้ ูงอายุ
4. กจิ กรรมนันทนาการสําหรับผ้สู งู อายุ
5. การจดั ดอกไม้ไหว้พระ

5

1.การเปลย่ี นแปลงและเตรยี มตวั เขา้ ส่วู ยั สงู อายุ

บุคคลเมื่อเขา้ สู่วยั สงู อายุจะมีการเปลีย่ นแปลงตา่ งๆ เกิดขึ้นมากมายทัง้ ทางด้านร่างกาย จติ ใจ อารมณ์
สงั คม และส่งิ แวดล้อม ผ้ทู ่ไี ม่สามารถปรบั ตวั ปรับใจต่อการเปลยี่ นแปลงตา่ งๆ เหลา่ น้ไี ด้ จึงมีโอกาสเกิดภาวะ
ซึมเศร้าไดม้ ากกวา่ บุคคลวัยอ่ืน โดยมรี ายงานว่าประมาณร้อยละ 30 ของผู้ทม่ี อี ายุมากกวา่ 60 ปีขนึ้ ไปเคยมี
ประสบการณ์ของการมภี าวะซึมเศรา้ ทรี่ ุนแรงอย่างน้อยหนึ่งคร้งั ซ่งึ ส่งผลต่อสุขภาวะของผสู้ ูงอายุเป็นอย่างยง่ิ
อย่างไรก็ตาม บุคคลทว่ั ไปมักเข้าใจวา่ ภาวะซึมเศร้าเป็นเรอื่ งธรรมดาของผู้สงู อายุ จึงมักละเลย ไม่สนใจ ทําให้
ผูส้ ูงอายยุ ิ่งมคี วามทกุ ขท์ รมานมากขึน้ แต่ในความเป็นจริง ภาวะซมึ เศร้าในผ้สู ูงอายุเปน็ ส่งิ ทสี่ ามารถหลีกเลี่ยง
หรือปูองกันมิใหเ้ กิดได้ หากผูส้ งู อายไุ ด้มีการเตรยี มความพรอ้ มท้งั ร่างกายและจิตใจก่อนทีจ่ ะเข้าส่วู ัยสูงอายุ หรือ
ทราบแนวทางทส่ี าํ คญั ในการหลกี เล่ียงหรอื ปอู งกนั รวมทั้งทราบแนวทางการดูแลตนเองเม่ือตกอยู่ในภาวะ
ซมึ เศร้า ซง่ึ การปฏบิ ตั ดิ ังกลา่ วจะชว่ ยใหผ้ สู้ งู อายุสามารถดํารงชวี ติ อย่ไู ด้อยา่ งมีคุณค่า มีความสุข และมคี ณุ ภาพ
ชวี ิตทดี่ ี ในทางตรงกนั ขา้ ม หากละเลยหรอื ปล่อยทิ้งไว้ อาจกลายเป็นโรคซมึ เศร้า จนต้องเขา้ รบั การรักษาจาก
จิตแพทย์ มเิ ช่นนั้นอาจเกิดผลเสียหายที่รนุ แรงท้งั ต่อตัวผู้สูงอายุเองและบุคคลรอบข้าง

สงั คมไทยกาํ ลังกา้ วเขา้ สู่สงั คมผอู้ ายุ ความเจรญิ ก้าวหนา้ ทางการแพทยแ์ ละการสาธารณสขุ ทาํ ให้คนมี
สขุ ภาพดีข้ึน อายุยืนยาวขึ้น สง่ ผลใหอ้ ายุขยั เฉลย่ี ของคนไทยสูงขนึ้ กวา่ เดิม แม้วทิ ยาการทางการแพทย์จะ
กา้ วหน้ามากข้นึ แตก่ ็ไม่สามารถหยดุ ยงั้ รา่ งกาย ไมใ่ ห้เปลย่ี นแปลงไปตามกฎของธรรมชาติได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้า
สวู่ ยั ผสู้ ูงอายุ ซึง่ มีการเปล่ยี นแปลง ทัง้ ทางรา่ งกาย จิตใจ และสังคม การเตรียมตวั เขา้ สู่วยั สดุ ทา้ ยของชีวติ จึงมี
ความสาํ คัญ จากคูม่ ือ “แผนท่ีชีวมี ีสุข”ของ รศ.ดร.อาชญั ญา รัตนอบุ ล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั สนับสนุนโดยมลู นิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสํานักงานกองทนุ สนบั สนุน
การสรา้ งเสริมสุขภาพ (สสส.)ใหข้ อ้ แนะนําในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สงู อายุว่า

เตรยี มพร้อมทางดา้ นรา่ งกาย อนามยั ดี ชวี มี สี ขุ
ผูท้ ่ีเร่ิมเขา้ สูงวัยผ้สู ูงอายุ ตัง้ แต่ 50 ปีขน้ึ ไป จะตอ้ งยอมรบั วา่ อวัยวะทกุ สว่ นมีแต่ความเส่ือม พลงั สาํ รอง

คอ่ ยๆ ลดลง การปรบั สภาพสมดุลทางกายกล็ ดลงด้วย ทาํ ให้เกิดภาวะไมส่ ขุ สบาย ผู้สูงอายุต้องยอมรับสภาพ
เหล่าน้ี และปฏบิ ัตติ นใหส้ อดคล้องกับสภาวะท่เี ปน็ อยู่ ดังน้ันหากเริ่มเจ็บปวุ ยเลก็ ๆน้อยๆ ต้องรบี รกั ษา ไม่ควร
ปล่อยไว้นานจนกลายเปน็ โรคเรอื้ รงั จะรักษาไดย้ าก และควรหลีกเลยี่ งสภาวะท่ีทาํ ใหเ้ กดิ ความกดดนั เครียด
เพราะจะนําไปสกู่ ารเกดิ โรคต่างๆได้

ใส่ใจเรือ่ งอาหารการกนิ ใหม้ ากขึ้น
นอกจากจะต้องได้รบั สารอาหารให้ครบทัง้ 5 หมู่แลว้ เมอ่ื เริ่มสงู วยั รา่ งกายยงั ต้องการสารอาหาร

บางอย่างเป็นพิเศษ เชน่ วติ ามินเอ บี และซี กรดโฟลิก แคลเซ่ยี ม โปรตีน ธาตเุ หลก็ สงั กะสี เพื่อบํารุงร่างกาย
จึงควรรบั ประทานอาหารจาํ พวก คาร์โบไฮเดรตไม่ขดั สี เพราะมีวิตามนั และกากใยสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ธญั พชื
ตา่ งๆ ปลา เตา้ หู้ หลีกเลี่ยงเน้ือสัตวต์ ดิ มัน รับประทานพชื ผักใหห้ ลากหลาย และควรต้มให้สุกหรอื น่ึงใหน้ ่มิ
ลดอาหารมนั เค็ม ดืม่ นา้ํ อยา่ งนอ้ ยวนั ละ 6-8 แกว้

6

สภาพแวดลอ้ มดี ชวี ยี นื ยาว
การไดร้ ับอากาศบรสิ ทุ ธิ์ จะทําใหม้ ีสขุ ภาพดี ควรจัดทีอ่ ยู่อาศยั ในทีๆ่ มีอากาศหมนุ เวียนดี ห้องนอนไม่

ควรอยชู่ ้ันบน อย่ใู กล้ห้องส้วมห้องน้ํา และใชว้ ัสดุทีไ่ มล่ ่ืนเพื่อปูองกนั อุบตั เิ หตุ ปรบั พฤติกรรมการนอนให้ได้อยา่ ง
นอ้ ย 8 ชวั่ โมง เพื่อให้รา่ งกายพักผอ่ นเพยี งพอ

สรา้ งสขุ นสิ ยั ใหมเ่ รอื่ งการขบั ถ่าย
คนท่ชี อบกลนั้ อจุ จาระและปัสสาวะ จะตอ้ งปรบั เปล่ยี นพฤติกรรมเหลา่ นี้ เมอื่ รูส้ ึกปวดถา่ ย แสดงว่า

รา่ งกายต้องการขบั ออก การเก็บของเสยี ไวโ้ ดยการกลัน้ ยงิ่ จะทําให้เกดิ อาการบดู เน่า เป็นพิษต่อรา่ งกายเพิ่มขึ้น
เปน็ ทาง หน่ึงทท่ี ําให้เกดิ การเจบ็ ไข้ไดป้ ุวย

ออกกาํ ลงั กายทกุ วนั อยา่ งสมาํ่ เสมอ
ควรออกกาํ ลังกายต่อเนือ่ ง 30 นาที โดยทาํ อย่างน้อย 3 วนั ต่อสัปดาห์ เลอื กวธิ ที บี่ ริหารทเี่ หมาะกบั วัย

ให้อวัยวะทุกสว่ นไดเ้ คลื่อนไหว ถ้ารู้สึกเหน่อื ย ควรพักผ่อน การออกกําลงั ทีพอดี ไมห่ กั โหม จะมปี ระโยชน์ต่อ
สุขภาพ ทําให้อวยั วะทุกส่วนไดร้ ับอาหารและออกซิเจนเพียงพอ และมีการขบั ถ่ายของเสียจากเซลลไ์ ดด้ ี ทําให้
เซลล์ทุกสว่ นแขง็ แรง ไม่เจบ็ ไม่ไข้ เม่ือเจ็บไข้ก็หายเรว็ เช่นการบรหิ ารยดื เหยียด วา่ ยน้าํ และการเดิน หรือการ
บริหารเพ่มิ ประสิทธิภาพการเคล่อื นไหวของกล้ามเนื้อและข้อตอ่ เชน่ รํามวยจีน ฝกึ โยคะ ราํ กระบอง เป็นตน้

เตรยี มพร้อมด้านจติ ใจ
สภาพกายท่ีเส่ือมลง บทบาทต่างๆ ในชีวิตจึงลดลง เศรษฐกิจและรายได้ลดลง สงั คมเปล่ียนไป ตอ้ งจําเจ

กบั ส่ิงหนึง่ ส่ิงใดมากขึ้น ทาํ ให้ผสู้ งู อายุมปี ญั หาทางดา้ นจติ ใจ มีอารมณห์ วั่นไหวมากขนึ้ ใจนอ้ ย เพราะคิดว่า
ตนเองไรค้ ่า หงุดหงิด จู้จี้ ขี้บ่น เพราะทําอะไรด้วยตนเองไดน้ อ้ ยลง อารมณ์หวัน่ ไหวตา่ งๆ นี้ เปน็ ยาพษิ ที่ทาํ ลาย
สขุ ภาพ ดงั นั้นจะต้องพยายามปรับตัว ยอมรับความเปล่ียนแปลงทดแทนความเหงา ด้วยการทํากจิ กรรมทช่ี อบ
หาความบนั เทิงจากสิง่ ที่ตนพอใจ เช่น ดูโทรทศั น์ ฟังเพลง ดแู ลต้นไม้ ประกอบอาหาร การเตรยี มจติ ใจให้พร้อม
สําหรบั การเขา้ สู่วยั ผู้สงู อายขุ ้ึนอยกู่ ับบุคลกิ ลกั ษณะของแต่ละคน วา่ ชอบทําส่ิงใดแล้วจะมคี วามสุขและสบายใจ
ส่วนใหญจ่ ะเก่ียวข้องกับการเขา้ ใจและการยอมรบั ความเปลยี่ นแปลงตา่ งๆในชวี ิต การเสรมิ สรา้ งสขุ ภาพจิต หาก
มีการเตรยี มตัวท่ีดแี ละเหมาะสม จะช่วยให้ผอ่ นคลาย สบายใจและดําเนินชวี ิตอย่างมคี วามสงบสขุ

เตรยี มพร้อมดา้ นสงั คม
ความสมั พนั ธ์ทดี่ รี ะหว่างสมาชิกในครอบครัว กลุม่ เพื่อน และคนทุกวยั ในชมุ ชนมีผลต่ออารมณแ์ ละ

พฤติกรรมของผสู้ ูงอายุ เพราะเป็นการสรา้ งความเพลดิ เพลินและฟืนฟูจติ ใจ หากมีความสัมพันธ์ที่ดีอย่าง
สมาํ่ เสมอจะทาํ ให้สุขภาพจิตดี อยูร่ ่วมกับผู้อน่ื อย่างมีความสขุ ผสู้ ูงอายุจงึ ต้องสนใจรับรู้สง่ิ ใหมๆ่ และการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม และปรับตัวให้ เข้ากบั สงั คมที่เปลย่ี นแปลงไมร่ ู้จบได้อย่างมีความสุข

หากผูส้ ูงอายุ น่ังๆ นอนๆ อยู่แต่ในบ้าน ไม่ทาํ กจิ กรรมร่วมกบั ผู้อ่ืน จะทําใหห้ ่อเห่ียวลงทุกวัน ควรออก
สังคมเป็นคร้งั คราว เพื่อจะได้พูด คุย สังสรรค์กบั คนอ่ืน เช่น ไปวดั ปฏิบัติธรรม ไปทศั นศึกษา เพื่อเปล่ียน
สิ่งแวดลอ้ ม หรอื เขา้ รว่ มชมรมผสู้ งู อายุ และเขา้ รว่ มกิจกกรม เชน่ กายบริหาร การประชุมวชิ าการเพื่อเผยแพร่
ความรู้ในการดูแลตนเอง เปน็ ต้น

7

ออมดชี วี มี สี ขุ
การวางแผนการออมจะทาํ ให้ใชช้ ีวติ แบบสุขกายสบายใจ หากมเี งินออมจาํ นวนทพี่ อเหมาะกบั การใช้

ชีวิตในบ้นั ปลายยอ่ มมีความสําคัญ ท้งั นี้เม่อื คนเราเขา้ สวู่ ยั สูงอายุความสามารถในการหารายไดจ้ ะมีลดลง เม่อื
เทียบกับค่าใชจ้ ่ายด้านอ่ืนท่เี พิ่มเขา้ มา ดังนนั้ จึงควรวางแผนการออมเบื้อต้น เช่นทาํ บัญชีรายรบั รายจา่ ยประจัน
มเี งนิ สํารองใช้จา่ ยในยามฉุกเฉนิ การออมเป็นเร่ืองท่ีต้องปฏิบัติอยา่ งสมา่ํ เสมอ โดยแต่ละคนอาจมีวิธีการออมที่
เหมือนหรือต่างกันออกไป ขน้ึ อยูก่ บั รายไดแ้ ละวิธีการออม วิธเี บอื้ งต้นท่ีสามารถทาํ ได้ เช่น ซื้อของทจ่ี ําเป็น เก็บ
เงินอยา่ งน้อย 1 สว่ น ใช้ 3 ส่วน ไม่เป็นเหย่ือเงินผ่อนกับส่ิงฟุมเฟือย หรือฝากธนาคารในรูปแบบเงนิ ฝาก
ประจํา

ตอ้ งเตือนตนเองวา่ ใหเ้ รม่ิ ออมเงนิ ตงั้ แต่อายยุ งั นอ้ ย เพราะเม่อื ถงึ บนั้ ปลายชวี ติ จะไดม้ เี งนิ ไวใ้ ชอ้ าํ นวยความสขุ ให้
ตวั เองอยา่ งไมข่ ัดสน หากไม่ไดเ้ ตรยี มในสว่ นนต้ี ัง้ แตว่ ยั หนมุ่ สาว ในอนาคตอาจลาํ บากได้ ดังน้นั การท่รี ัฐบาล
เตรียมผลักดนั รา่ งพ.ร.บ.การออมแหง่ ชาติ จะเป็นอีกหน่ึงทางท่ีชว่ ยให้วัยแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบท่ี
ยงั ขาดหลกั ประกันทางรายได้ สามารถมเี งินออมเอาไวใ้ ช้ในยามแกช่ ราได้

2.ปญั หาสขุ ภาพจติ ของผสู้ งู อายุและวธิ กี ารดแู ลสขุ ภาพจติ ผสู้ งู วยั

ผสู้ ูงอายุ เปน็ บุคคลทส่ี ร้างคุณประโยชนแ์ ก่ลูกหลาน และประเทศชาติเป็นอันมาก เปน็ ทรัพยากรที่
ทรงคุณคา่ จากการที่ท่านไดส้ ั่งสมประสบการณ์จากชวี ติ ของทา่ น ท่านจึงเปน็ ผ้ทู ่ีได้รบั การยกย่อง เคารพนบั ถอื
ของผทู้ ี่อ่อนวยั กวา่ อนั เป็นประเพณีทยี่ ดึ ถือกนั มาตง้ั แตส่ มัยกอ่ น

ปัจจุบัน วัฒนธรรมตะวันตกได้แผ่ขยายเข้ามามาก ชีวติ ความเป็นอยู่เปล่ยี นแปลงไปจากครอบครัวขยาย
มปี ุู ย่า ตา ยายอาศยั รวมอยู่ด้วย มาเปน็ ครอบครัวเด่ยี ว จะมีเฉพาะพ่อ แม่ และลูกเทา่ นั้น ครอบครัวแตล่ ะ
ครอบครวั มีปัญหาทางดา้ นเศรษฐกิจ ขาดประสบการณ์ชวี ิต ทาํ ให้เกิดช่องว่างระหวา่ งผู้สงู อายกุ บั ผู้ท่ีอ่อนวัยกว่า
ผู้สูงอายุจงึ ไม่ได้รบั การเคารพนับถือเหมือนสมัยกอ่ น

ผ้สู ูงอายุจึงเป็นกลุ่มทีค่ วรใหค้ วามหว่ งใย ในฐานะท่ีท่านเคยเป็นผูใ้ ห้แก่พวกเรา ทัง้ ลกู หลานและ
บา้ นเมืองประเทศไทย ในปจั จบุ ันพบว่า กลุ่มผสู้ ูงอายมุ จี ํานวนเพ่ิมมากขึ้นโดยโครงสรา้ งประชากรของผู้ท่ีอายุ
มากกวา่ 60 ปี พบว่ามีจํานวนเพิ่มมากขน้ึ ทางรฐั บาลและผ้มู หี น้าที่ทางสขุ ภาพจิต ได้ให้ความสาํ คญั แกผ่ สู้ ูงอายุ
มากขึน้ จดั ให้มีความรเู้ ผยแพรแ่ กป่ ระชาชนทัว่ ไป ในเรอ่ื งการดแู ลผู้สูงอายุ

บทความนี้จะกล่าวถึงปัญหาสขุ ภาพจติ ที่พบได้มาก ใหผ้ ้สู งู อายุและแนวทางในการดแู ลผู้สงู อายุไดเ้ อง
กอ่ นที่จะปรกึ ษากับแพทยท์ ั่วไปหรอื จติ แพทย์ การเปลยี่ นแปลงของผ้สู งู อายุ มใิ ช่อยทู่ ี่อายุซง่ึ เปน็ เพียงตัวเลข
อย่างเดียวเท่านัน้ แตก่ ารเปลี่ยนแปลงของรา่ งกายท่ีเห็นได้ชดั นน้ั จะขนึ้ อยู่กบั องคป์ ระกอบหลายๆอย่าง เชน่
พันธุกรรม การดํารงชวี ิต การดาํ เนินชีวิต และสภาพจติ ใจด้วย จะเหน็ วา่ บางคนแม้อายุมาก ทาํ ไมจึงดูไม่แก่ แต่
บางคนอายไุ ม่มาก ทาํ ไมดแู ก่เกินวัย ท้ังนเ้ี ป็นเพราะองค์ประกอบดังไดก้ ล่าวมาแลว้ ฉะนั้นการยอมรับการ
เปล่ียนแปลงของผสู้ ูงอายุจะข้ึนอยูก่ ับการไดร้ ับการสุขศึกษา ให้รู้วา่ เม่ือย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ จะมกี ารเสื่อมของ

8

รา่ งกาย ร้ถู ึงการปรับตวั หรือสังเกตการเส่ือมของร่างกายได้อยา่ งไร ถ้าขาดความรู้ ความเข้าใจ อาจทาํ ให้เกิดการ
เปลยี่ นแปลงของอารมณ์อยา่ งมากมายซ่งึ การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เปน็ ผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของ
รา่ งกายน่ันเอง

ในผสู้ งู อายุ เมื่อร่างกายเส่อื มสมรรถภาพ จะมีการเสยี บทบาทของตวั เอง ทาํ ให้ความเชื่อม่นั ในตวั เอง
ลดลง และจะส่งผลไปถงึ กิจกรรมประจาํ วัน ไมเ่ ปน็ ทพ่ี อใจ ทาํ ให้เกิดความวติ กกังวลกลวั และยิง่ ได้พบเห็นสภาพ
ของผูท้ ่ีอยู่ในวยั เดยี วกนั ยง่ิ ทําให้เกดิ ความกลัว อารมณเ์ ศร้า ซึมลงและส้นิ หวัง
การเปลี่ยนแปลงท่จี ะเกดิ ในวัยสงู อายุ

ทกุ ขต์ ามวยั ตลอดช่วงชีวิตของมนษุ ย์ย่อมทีจ่ ะเผชญิ กบั ความสขุ ทุกข์แตกต่างกันตามแต่ประสบการณ์
ของบุคคล แตไ่ ฉนในการสาํ รวจสขุ ภาพจติ ของสํานักงานสถิติแหง่ ชาติ พบวา่ ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายมคี วามเสีย่ งท่ี
จะมปี ัญหาสุขภาพจิตมากข้นึ เมอื่ มีอายุเพ่มิ ข้นึ หรือมนุษย์จะมแี หล่งเพาะพันธแ์ุ ละพ้นื ที่กักเกบ็ ทุกข์มากกว่าสขุ

ท่มี า: โครงการรายงานสขุ ภาพจติ ประจาํ ปี สถาบนั วิจยั ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้ขอ้ มูลจาก
การสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครวั เรอื น พ.ศ. 2552 สาํ นักงานสถติ ิแห่งชาติ

จากแผนภาพจะเห็นไดว้ ่ามนุษยย์ ่ิงมีอายุมากขน้ึ ความเครียดกย็ ิง่ สงู ขึน้ ผู้สูงอายเุ ป็นวยั ของการ
เปลี่ยนแปลง มีการเปลย่ี นแปลงท้ังทางกาย มคี วามเสอ่ื มของอวยั วะต่างๆ เมื่ออายมุ ากขึ้น ผวิ หนา้ กล้ามเน้ือ
สายตาแยล่ ง และนอกจากทางกาย เรอื่ งของจติ ใจก็มกี ารเปลยี่ นแปลงเช่นกัน ในแง่ดี ได้แก่ ผู้สูงอายุมี
ประสบการณ์มคี วามสามารถในการปรบั ตัวมากอ่ น จากดา้ นสุขภาพจิต “อาบนา้ํ ร้อนมากอ่ น” จงึ เป็นการท่ีมี
คณุ ค่ามากในผูส้ ูงอายุ แต่ในอีกแงม่ ุมหน่ึง ผู้สูงอายจุ ะประสบกบั การสญู เสียในชีวิตมาก อาทิ เกษียณอายุการ
ทาํ งาน สญู เสียเพือ่ นจากการเสยี ชีวิต คูค่ รอง ทําใหผ้ ูส้ ูงอายุต้องปรับตัวมากเมื่อเขา้ สู่วยั ดังกล่าว จะเป็นการดี ถ้า
เราไดเ้ ตรยี มตัวกับเหตกุ ารณ์ทจ่ี ะเกิดขึน้ ในลว่ งหน้า

9

อารมณ์ของผสู้ งู อายุ
ผ้สู งู อายมุ ีการเปล่ียนแปลงทางดา้ นอารมณ์ท่ีเห็นไดช้ ดั คือ

1. การสญู เสีย เปน็ สาเหตสุ าํ คัญมาก เช่น การสูญเสียคนใกลช้ ดิ จะทาํ ให้อารมณข์ องผู้สูงอายหุ วนั่ ไหว
ไปด้วย ผูส้ ูงอายุจะร้สู ึกเศรา้ ว้าเหว่ และมีความรสู้ กึ กลัววา่ จะเปน็ ไปในสภาพอย่างนัน้ วยั สงู พบการสญู เสียได้
บ่อยทง้ั ดา้ นร่างกาย ได้แก่กําลังวังชาลดลง เสียการได้ยิน เสียการไดร้ ับกลน่ิ เสยี การล้ิมรส เสียการสัมผสั ทาง
ผวิ หนงั ซง่ึ ส่งผลให้ความรสู้ กึ มีคณุ ค่าในตนเองลดลง และการสูญเสียคู่ชีวิต บุคคลอนั เป็นท่ีรกั เชน่ เสียเพอื่ นฝงู
ทําใหข้ าดคนใกล้ชดิ เป็นผลให้เกดิ ความเศร้า หวา้ เหว่

2. พน้ จากหนา้ ทก่ี ารงาน ทาํ ให้รู้สกึ วา่ มปี ญั หาเรอ่ื งเศรษฐกิจ ไม่ไดร้ บั การยกย่องนบั ถอื เหมือนเดมิ ทาํ
ใหม้ ีความรู้สกึ วา่ คณุ ค่าในตนเองลดลง เน่ืองจากหลายสาเหตุท้ังการเสื่อมถอยทางรา่ งกายและตอ้ งพึง่ พาคนอ่นื
เปน็ ภาระแก่ลกู หลานทําให้ผู้สงู อายรุ ู้สึกสิ้นหวัง และวัยสูงอายเุ ป็นวยั เกษียณอายทุ ําให้ขาดอาํ นาจขาดคนเคารพ
นบั ถือ

3. การผา่ ตดั ทาํ ใหม้ ีจิตใจหดหู่ ทอ้ แท้ สน้ิ หวงั เพราะโอกาสที่จะมีสภาพร่างกายเหมือนเดมิ นนั้ เปน็ ไป
ไดย้ าก หรือการกลัวความตาย วยั สูงอายเุ ป็นวยั ทพี่ บความตายทง้ั ของเพื่อนฝูง คสู่ มรสเป็นสาเหตุใหเ้ กดิ
พฤติกรรมทเ่ี ปลี่ยนไป ไดแ้ ก่ ตกใจกลัวจนอยูเ่ ฉยๆ แยกตัวเองจากสังคมไม่ยอมรับรกู้ ารตายของคนใกลช้ ิด และมี
อารมณ์ฉนุ เฉียวใครทาํ อะไรก็ไมถ่ ูกใจเสยี ทุกอยา่ ง

4. ความเขา้ ใจ หรอื ความจาํ มนี ้อยลง โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงความจาํ ใหมจ่ ะเสือ่ ม แต่เรอ่ื งเกา่ ๆจะจาํ ได้ดี
5. เกบ็ ตวั ไม่ชอบเข้าสงั คม บางคนคิดวา่ ตัวเองแกแ่ ล้ว จะรู้สกึ ว่าหงุดหงิด
6. ทกุ ขใ์ จ มักจะทกุ ข์ใจเรื่องในอดตี ดว้ ยความเสียดาย คดิ ถึงปจั จบุ ัน และวติ กกังวลตอ่ อนาคต เกิด
ความเงียบเหงาจะพบได้มากในผูท้ ่ีตอ้ งสูญเสียค่ชู วี ติ เพราะขาดผูใ้ กล้ชิด ทีป่ รึกษาอกี ทั้งลกู หลานกไ็ ปทาํ งาน ทํา
ให้ผู้สงู อายอุ ยู่บ้านคนเดยี ว
7. ตึงเครียด วติ กกงั วล โกรธง่าย ความรู้สึกโกรธจะเกิดเม่ือผู้สูงอายุถูกครอบครัวและสังคมทอดทิ้ง
ผูส้ งู อายคุ ดิ ว่าไม่มีคนสนใจ ตนเองไม่มคี วามสําคัญกจ็ ะปฏิเสธการช่วยเหลือจากทกุ คน พฤติกรรมท่ีชดั เจนไดแ้ ก่
หงดุ หงิดง่าย ไม่สนใจการกระทําของบุคคลรอบข้าง ขีโ้ มโห จ้จู ้ี ขบ้ี น่

โดยทวั่ ไปผู้สูงอายุต้องการใหค้ นยกยอ่ งเอาใจใส่ เอาอกเอาใจ เห็นใจ และเห็นวา่ ตนมีประโยชน์ต่อ
สงั คม ตอ่ ลูกหลาน ต้องการใหม้ ีคนคอยพยาบาล ความกลัวหรอื ความวิตกกังวลของผู้สงู อายุจงึ เป็นปญั หา
สขุ ภาพจติ อย่างหน่งึ

10

ปญั หาสขุ ภาพจติ ของผสู้ งู อายุ

ผู้สงู อายมุ กั จะประสบปญั หาต่างๆดงั นี้
1. ความวติ กกงั วล กลัวว่าจะต้องพึง่ ลกู หลาน มักแสดงออกเด่นชัดเป็นความกลัว ขาดความเช่อื ม่ัน

นอนไม่หลบั กลวั ถูกทอดทิ้ง กลัวภัย กลัวขาดความสามารถ กลัวตาย กลัวไม่ได้รับการเอาใจใสด่ ูแลจากลกู หลาน
ผูส้ ูงอายมุ กั กลัวไปต่างๆนานา อาจแสดงออกทง้ั ทางอารมณ์ไมส่ บายใจ และออกทางกาย เชน่ ใจสัน่ แนน่
หน้าอก หายใจไม่อมิ่ ทําใหอ้ ่อนเพลยี ไมม่ ีแรง เป็นลมง่าย หายใจไม่ออก เบอื่ อาหาร เป็นตน้

การแก้ไข ควรแก้ท่คี วามคดิ ของตนเอง พยายามมองในแง่ความเป็นจริง มากกว่าคดิ ไปล่วงหนา้ กอ่ นที่
จะเกดิ เหตุการณ์ คาดคะเนอนาคตในทางทด่ี มี ากกวา่ จะจินตนาการแตใ่ นแง่รา้ ย รสู้ าเหตเุ รอ่ื งท่ีทาํ ให้กังวล
แก้ปญั หานน้ั โดยตรง การทําใจใหส้ งบโดยวิธีทางพทุ ธศาสนา จะเปน็ ประโยชนอ์ ย่างย่ิงถา้ ผูส้ ูงอายุหม่นั ศึกษา
ธรรมะ ไหว้พระ ฝึกสมาธิ จะช่วยให้จิตใจสงบมากขน้ึ

2. การเปลย่ี นแปลงของอารมณ์ ผู้สูงอายบุ างคนซมึ เศรา้ หงุดหงดิ ระแวง เอาแต่ใจตนเอง ทําใหร้ ูส้ กึ วา่
เปน็ การสญู เสยี ทางใจ หมดกําลังใจ นอนไมห่ ลับ เป็นต้น ผู้สงู อายทุ ่มี ปี ัญหานอนไมห่ ลบั มกั ชอบตื่นกลางดึก ตื่น
เช้ากวา่ ปกติ ตน่ื แล้วหลบั ต่อไม่ได้ หรือเป็นตง้ั แตเ่ ข้านอน นอนหลับยากกว่าปกติ โดยทั่วไปในวยั สงู อายุ มกั
ต้องการเวลานอนน้อยลง จากการเปลยี่ นแปลงของสรีระวทิ ยา ทําใหน้ อนหลบั นอ้ ยลง ตื่นเช้ากว่าปกติ แต่
ผู้สงู อายุบางท่านอาจกงั วลมาก ทาํ ใหป้ ญั หาเพ่ิมมากขน้ึ และผู้สูงอายมุ ักมีปัญหาสขุ ภาพอื่นๆ อาทิ ปวดเข่า ปวด
ท้อง ทาํ ใหเ้ ปน็ สาเหตขุ องการนอนไมห่ ลบั ด้วย รวมถึงโรคซึมเศร้าถือเป็นการเปลยี่ นแปลงทางอารมณ์ที่พบบ่อย
เพราะวัยสงู อายจุ ะพบความสญู เสียได้บ่อย ผ้สู งู อายุทีม่ ีโรคซมึ เศร้า ส่วนใหญ่จะมีอาการทางอารมณ์ เช่น เบ่อื
หนา่ ย ทอ้ แท้ หงุดหงดิ งา่ ย ใจคอไม่ดี เบ่ือความสนใจในกจิ กรรมทเ่ี คยชอบ พูดงา่ ยๆ คือ เซ็ง นอกจากนีอ้ าจจะมี
นอนไมห่ ลบั เบือ่ อาหาร ไม่มีสมาธิ

ผสู้ ูงอายบุ างทา่ นจะบน่ ว่าความจาํ แยล่ ง ซึ่งจริงๆ แลว้ ไม่ใชโ้ รคสมองเส่อื มแต่เปน็ จากสมาธิไม่ดี ทํา
ให้ลืมงา่ ยมากกว่า ถา้ ซึมเศรา้ มากๆ อาจมีความคดิ อยากตาย ต้องการทํารา้ ยตนเองซ่งึ เป็นภาวะเรง่ ดว่ นมาก
ต้องรับให้ความชว่ ยเหลือ

11

การชว่ ยเหลือ
- พบปะพูดคุย และเปล่ยี นความคิดเหน็ กับผอู้ นื่
- หางาน หรือกจิ กรรมเพ่ือความเพลิดเพลิน และเกิดประโยชน์
- หลีกเลย่ี งการอยูค่ นเดียว เม่ือเกิดอารมณเ์ ศร้า
- พบจติ แพทย์ เพื่อขอความช่วยเหลือหากมีอาการรุนแรงหรอื มคี วามคิดอยากตาย
3. การเปลยี่ นแปลงทางความคดิ ผู้สูงอายมุ กั จะคิดซ้ําซาก ลงั เล ระแวง หมกมุน่ เร่ืองของตัวเอง และ

เรอ่ื งในอดตี จะคดิ เรื่องในอดีตดว้ ยความเสยี ใจ เสยี ดาย ท่ีปลอ่ ยเวลาทีผ่ า่ นมาใหเ้ ปลา่ ประโยชน์ และคดิ ถึง
ปจั จุบันด้วยความหวาดกลัว กลัวถูกทอดทิง้ กลวั ถูกเขารงั เกียจ

4. พฤตกิ รรม มกั เอาแต่ใจตัวเอง จูจ้ ี้ ข้บี น่ อยู่ไม่สุข ชอบยุ่งเรือ่ งคนอื่น หรืออาจมปี ัญหาทางเพศ ใน
สงั คมไทย มกั ไม่พูดถงึ เรอ่ื งเพศ แทจ้ รงิ เร่อื งเพศในผู้สงู อายุ อาจพบไดบ้ ่อยกว่าท่ีคดิ ในผู้ชายความตอ้ งการทาง
เพศจะมีอย่ไู ด้ตลอด อาจพบไดใ้ นวยั สงู อายุ กว่าท่ีคาดคดิ แตใ่ นเพศหญงิ อาจไม่พบมีความต้องการทางเพศแลว้
อาจทําใหเ้ กิดปัญหาข้ึนระหว่างคู่สมรส เราควรตระหนักถงึ ปญั หาดงั กลา่ วไว้ ไม่ควรอบั อาย หรือถือว่าเปน็ เร่ือง
ผดิ ปกติ ควรเห็นใจ เข้าใจ ปัญหาดังกลา่ ว ถ้าท่านผสู้ ูงอายุ เกิดปัญหาขน้ึ ควรปรึกษาแพทย์ เพ่อื ขอความ
ช่วยเหลือต่อไป

5. ความจาํ มักจาํ ปจั จุบันไม่ค่อยได้ และชอบยํ้าคาํ ถามซ้ําๆกบั คนท่ีคยุ ดว้ ย ทาํ ใหเ้ กดิ ความเบ่ือหนา่ ย
บางรายจาํ ผดิ พลาด และพยายามแต่เร่อื งราวจนกลายเป็นพูดเท็จ เป็นภาวะทเ่ี รียกวา่ สมองเสอ่ื ม
เป็นธรรมดาทผ่ี สู้ งู อายุจะมีการเปล่ยี นแปลงเรือ่ งความจํา อาทิ ลมื งา่ ย ต้องพูดซ้ําๆ ถามซ้ําๆ จาํ เหตกุ ารณ์ใหม่ๆ
ไดไ้ มด่ ี จาํ เหตกุ ารณ์ในอดตี ได้แมน่ แต่ถ้าไมร่ บกวนชวี ิตประจําวนั ของผสู้ งู อายุถือวา่ ไม่ผดิ ปกติ แต่ใน ผู้สงู อายทุ ี่
มีโรคสมองเส่ือม การสญู เสยี ความจาํ จะรนุ แรงมากจนมผี ลในชวี ติ ประจาํ วนั การช่วยเหลอื ตนเองแยล่ ง มีปัญหา
ในการดูแลช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ซา้ํ ต้องใหค้ าํ ปรึกษาหรอื รักษาจากแพทย์ ในผูส้ งู อายุทล่ี ืมงา่ ย อาจหาวิธตี ่างๆ
มาช่วยเตือนความจํา อาทิ สมดุ บนั ทึก จัดส่งิ ของให้เปน็ ระเบยี บ ลูกหลานควรใหค้ วามเชอ่ื มัน่ เข้าใจ และให้
ความชว่ ยเหลือ จดั กิจวัตรประจาํ วันให้ตรงเวลา เตือนถงึ วันเดือนปี ช่วยเตือนความจาํ อ่ืนๆ แต่ถ้าอาการรุนแรง
มาก นอกจากหลงลืมมอี าการทางจติ พฤตกิ รรมเปลี่ยนแปลงมาก ควรปรึกษาแพทย์

6. โรคจิต ความพิการทางสมอง มีการเสื่อมของสมอง ในกรณที ี่เส่ือมน้อย เปน็ ไม่มากไม่ตอ้ งนอนพัก
รักษาตัว

12

สาเหตขุ องการมสี ขุ ภาพจติ เสอื่ มในผสู้ งู อายุ
เหตสุ ุขภาพจิตเส่ือมแตกต่างกนั ไปในแต่ละบุคคล แต่ถา้ จะกลา่ วโดยทัว่ ไป ส่วนใหญ่ทท่ี ําให้สุขภาพจิต

เสื่อม อย่ทู ่กี ารไมส่ ามารถปรับตัวเข้ากบั สิง่ แวดล้อมได้ เมอ่ื ปรับไมไ่ ดก้ ็เกิดความเครยี ดข้ึน จากการศึกษาพบว่า
ผู้สูงอายุไทยมปี ัญหาในชวี ิตประจําวันมากมายหลายอย่าง แตพ่ อจะประมวลรวมกนั ไดว้ า่ มปี ัญหาหลักอยสู่ าม
ประการคอื

1.ปญั หาเรื่องสุขภาพกายท่ีมีความเสอื่ มไปตามอายขุ ยั ทําให้สมรรถภาพตา่ งๆ ของร่างกายท่เี คยดี-เคย
เกง่ -เคยรวดเรว็ ลดลง ไมส่ ามารถดําเนินได้ดีเทา่ หนมุ่ หรือเท่าเดมิ หู-ตา เสอื่ มลง-ความคลอ่ งแคล่ว-การตดั สนิ ใจ
ลดลง แถมเพ่ิมความหลงลืมขึ้น ส่ิงตา่ งๆ เหลา่ นท้ี าํ ให้ความเปน็ เลิศในอดีตกลายมาเปน็ ความเปน็ รอง ผลก็คือทาํ
ให้จติ ใจไหวหวน่ั ไดร้ ับความกระทบกระเทือนพอสมควร ซํ้ายังไม่มีทางจะไปร้องเรยี นเอากับใครได้

2.ปญั หาเรอื่ งการเงินหรอื สถานภาพทางเศรษฐกิจ โดยทว่ั ไปจะลดลง เพราะต้องเกษยี ณจากการงาน
เงินเดือนเคยจะลดลง หรอื แม้จะไม่ต้องเกษยี ณอายุการงาน เพราะกจิ การเป็นของตนเอง ผลงานก็จะลดต่าํ ลง
เพราะสภาพร่างกายลดความแข็งแรง จะเห็นได้จากผมู้ ีอาชพี เกษตรกรรม อายมุ ากเขา้ ก็ทําไม่ไหว ทาํ ให้รายได้
ตกตํา่ ลง เพราะสภาพรา่ งกายลดความแขง็ แรงลง ผู้ใดมเี งินออมเกบ็ ไว้มากพอกด็ ีไป ผูส้ ูงอายุใดไม่ได้สะสมเงิน
ออมไว้จะเกิดปัญหา ยิ่งคา่ ครองชพี สูงข้ึน ย่งิ ลาํ บาก บางทีต้องอาศยั เงนิ ทองจากบุตรหลาน ทําใหค้ วาม
ภาคภูมิใจลดตํา่ ลง ปะเหมาะเคราะหร์ ้าย บุตรไมด่ ีอย่างใจ ยิง่ ซ้ําร้ายเขา้ ไปอีก เรื่องอยา่ งน้สี มุ อยใู่ นอก-ในจติ ทํา
ใหส้ ขุ ภาพจติ เส่ือมลงได้มาก

3.ปญั หาทางสังคม ยงิ่ ผู้สงู อายใุ ดเคยมบี ทบาทในสังคมสงู เช่น เป็นข้าราชการระดบั สูง มีอํานาจวาสนา
คนนับหน้าถือตาลอ้ มหน้าล้อมหลงั เมอ่ื สงู อายุ เกษยี ณอายกุ ารงานออกมาเปน็ คนธรรมดา จะยง่ิ มีปญั หาทาง
สุขภาพจิตมากกว่าคนธรรมดา ประกอบกบั สังคมสมยั ใหม่ สง่ิ แวดลอ้ มใหม่ คนรุ่นใหม่ มีความรูเ้ ฉลียวฉลาดมาก
ขน้ึ มองคนสงู อายเุ ป็นไดโนเสาร์เตา่ ลา้ นปี ผู้สูงอายไุ ม่สบอารมณ์ในสถานภาพทางสังคมอยา่ งใด ก็ไม่มีอาํ นาจใน
การต่อรองทางสงั คมได้ สงิ่ เหล่านีเ้ ป็นผลต่อจิตใจค่อนขา้ งมาก

นอกจากปัญหาหลกั ๆ 3 ประการน้ีแลว้ ยงั มีปัญหาปลีกย่อยในแต่ละบุคคลซ่ึงแตกต่างกันไปอีกมาก ผล
ของปญั หาเหล่าน้ีจะกระทบจิตใจของผูส้ งู อายุ ทาํ ใหเ้ กิดความเครียด เปน็ ธรรมดา มนษุ ย์ทุกคนต้องมีปัญหา ต้อง
มีความเครยี ด ไมม่ ีใครไมม่ ีปัญหาอยู่ทว่ี า่ แตล่ ะคนจะปรบั ตัวสู้ความเครยี ดนั้นอย่างไร
ถ้าปรับตวั ได้ รา่ งกายและจิตใจกอ็ ยใู่ นสภาพปกติ ผ้ใู ดปรับตัวไม่ได้กจ็ ะเกิดภาวะสุขภาพจติ เส่ือมเกิดขึน้ เสื่อม
มากขน้ึ กก็ ลายเป็นโรคประสาทมากขนึ้ ไปอีกก็เปน็ โรคจติ ในผสู้ ูงอายไุ ด้
การสง่ เสรมิ สขุ ภาพจติ ในผสู้ งู อายุ
เพื่อใหผ้ ูส้ งู อายมุ ีสุขภาพจิตท่ีดี สมาชกิ ในครอบครัวและสงั คมพึงปฏบิ ัตติ อ่ ผูส้ งู อายุ ดงั นี้

1. ชว่ ยใหผ้ สู้ งู อายรุ สู้ กึ วา่ ตนยงั มคี ณุ ค่า มคี วามสาํ คัญและมีความหวงั ในชวี ติ เช่นขอคาํ ปรึกษาแนะนาํ
ตา่ งๆ ขอความชว่ ยเหลอื ใหค้ วบคมุ ดูแลบ้าน และเปน็ ท่ีปรึกษาการเลีย้ งดูบุตร

2. ระมัดระวังคาํ พดู หรอื การกระทําทแี่ สดงออกต่อผสู้ งู อายุ และพยายามเนน้ ถึงความหมายหรือ
ความสําคัญของผูส้ ูงอายุ เช่นกล่าวทักทายกอ่ น เชิญรบั ประทานอาหารก่อน

3. ชกั ชวนพดู คยุ และรบั ฟงั ถงึ สว่ นดหี รือเหตกุ ารณป์ ระทบั ใจในอดตี ของผสู้ ูงอายุอยา่ งเตม็ ใจ ทําให้
ผูส้ งู อายรุ สู้ กึ ว่ายงั มีคนช่นื ชมในชวี ติ ของตนอยู่

13

4. สง่ เสรมิ และอาํ นวยความสะดวกใหผ้ สู้ งู อายุทาํ กจิ กรรมทส่ี นใจตา่ งๆ ตามความเหมาะสม เชน่ ไปวดั
ทําบญุ ฟังเทศนา ลูกหลานควรเตรยี มขา้ วของต่างๆให้

1. เอาใจใสด่ ูแลเร่ืองอาหารและการออกกาํ ลงั กายของผสู้ งู อายุ ให้ได้รับอย่างเพียงพอ และ
เหมาะสมเปน็ ประจาํ

2. ทีพ่ ักอาศยั หากผสู้ ูงอายุต้องการแยกบ้านอยหู่ รือไปอย่สู ถานทีท่ ร่ี ฐั จดั ใหก้ ็ควรตามใจแต่ไมค่ วร
ห่างไกลมาก เพือ่ ความสะดวกในการไปเยยี่ มเยยี น และให้การรักษาพยาบาลเมือ่ เจบ็ ไข้

3. ชว่ ยใหผ้ สู้ งู อายไุ ดม้ โี อกาสพบปะสงั สรรคก์ บั ญาตใิ กลช้ ดิ และเพอื่ นรว่ มวยั เดยี วกนั บา้ ง ด้วยการ
พาไปเยย่ี มเยียน หรือเชญิ ญาติมาท่ีบ้านพาไปสถานที่ทเ่ี ปน็ ศนู ย์รวมของผู้สูงอายุ เชน่ วัด และชมรมผู้สูงอายุท่ีมี
ในชุมชน ผสู้ งู อายจุ ะได้มีเพอ่ื นแลกเปล่ยี นความคิดเห็นและทําให้คลายเหงาลงได้บา้ ง

4. ใหค้ วามเคารพยกยอ่ งและนบั ถืออยา่ งสมาํ่ เสมอ ร่วมมอื รว่ มใจกันรกั ษาและฟืน้ ฟู
ขนบธรรมเนียมประเพณีเดมิ ของไทยเรอื่ งการยกยอ่ ง เคารพนบั ถือผสู้ ูงอายุ เช่น ประเพณีรดนํ้าดําหวั ผู้สูงอายุ
เนอื่ งในวันสงกรานต์ เปน็ ตน้

5. ให้อภยั ในความหลงลมื และความผดิ พลาดทผ่ี สู้ ูงอายกุ ระทาํ และยิ่งกว่านัน้ ความแสดงความเหน็
อกเหน็ ใจทีเ่ หมาะสมด้วย

6. รฐั ควรจดั บรกิ ารทางสงั คมตา่ งๆ เช่น บรกิ ารทางการแพทย์ บรกิ ารสถานสงเคราะห์คนชราและอื่นๆ
การดูแลผสู้ งู อายุ

1. ใหก้ ารศึกษาเรอื่ งความเปลย่ี นแปลงทางด้านรา่ งกายของผสู้ งู อายุกบั ผทู้ อี่ ่อนวยั กวา่ ใหไ้ ดร้ ู้ว่า เมื่อเรา
เปน็ ผูใ้ หญแ่ ล้ว จะมีการเปลีย่ นแปลงอย่างน้ี ถา้ ชะลอไดเ้ ท่าไรก็จะเปน็ ผลดีแก่ตวั เรา และคนใกลช้ ิดมากเทา่ นั้น

2. การสง่ เสรมิ ปอู งกนั ปญั หาสขุ ภาพจติ
2.1 ใหค้ วามรดู้ ้านอนามัยของผสู้ งู อายุ สมยั นี้เรียกว่าการให้สุขศึกษา พยายามใหบ้ ุคลากร

ทางการแพทย์และสาธารณสุขออกไปใหค้ าํ แนะนาํ แกผ่ ู้สูงอายุตามชุมชน แนะนาํ เร่อื งการเคลอ่ื นไหวของร่างกาย
และผู้สงู อายุไม่ควรน่ังอยูน่ ง่ิ ๆ หรอื นอนเฉยๆ ควรจะได้มีการเคลอ่ื นไหวรา่ งกายใหเ้ หงื่อออกบ้างตามความ
เหมาะสม เปน็ การช่วยใหร้ า่ งกายมกี ารไหลเวียนเลอื ดดี

2.2 อาหารเป็นสิ่งสําคญั อยา่ งหนง่ึ การกนิ อาหารที่ผิดสขุ ลักษณะต้งั แต่วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน
วยั สูงอายจุ ะเกิดอตั ราเส่ยี งตอ่ โรค และจะมีผลทําใหส้ ุขภาพร่างกายไมแ่ ข็งแรง อาหารที่ดีที่สดุ คือ อาหารท่ยี ่อย
งา่ ย มโี ปรตีนปานกลาง ไขมันน้อย และมีปริมาณท่ีพอดี อาหารท่ียอ่ ยง่าย เช่นเน้ือปลา ผกั ไขมันสตั วเ์ ปน็
สว่ นประกอบบ้าง ผลไม้ เป็นต้น

2.3 การพกั ผอ่ นอารมณ์ ควรพักผ่อนท้งั รา่ งกายและจติ ใจ ไมเ่ คร่งเครยี ด หรือวติ กกังวลจนเกินเหตุ
2.4 ส่งเสรมิ การตรวจสขุ ภาพผสู้ งู อายุเปน็ ประจาํ พบแพทย์ปลี ะครงั้
2.5 ศาสนาเปน็ ทพ่ี ่งึ ท่ีดขี องผูส้ ูงอายุ จะช่วยบรรเทาทุกข์ให้ความหวังและความสขุ กบั ผูส้ ูงอายุ
วฒั นธรรมไทยในเรือ่ งการเคารพยกย่องผ้สู ูงอายุเปน็ ของดีมีประโยชน์ ควรจะไดม้ ีการอนุรกั ษไ์ ว้ เพื่อแก้ไข
ชอ่ งวา่ งระหวา่ งเด็กกับผูส้ ูงอายุ และทกุ คนควรจะให้ความรัก เอาใจใสผ่ ้สู ูงอายุอย่างจริงจังและจรงิ ใจ

14

แนวทางการปอู งกนั และสง่ เสริมสขุ ภาพจติ ผสู้ งู อายุ
แบง่ เป็น 3 ด้านทีเ่ กยี่ วข้อง

1.ดา้ นนโยบายของรัฐ
2.ดา้ นการดูแลตนเองของผสู้ งู อายุ
3.ดา้ นการดูแลจากลูกหลาน
ดา้ นนโยบายของรฐั
1. มีการวางนโยบายหลักในการให้ความชว่ ยเหลือด้านการเงนิ แก่ผู้สูงอายุท่ีต้องการความช่วยเหลอื มี
ปัญหา เช่น

1.1 ปจั จบุ นั รัฐไดใ้ ห้ความช่วยเหลือเป็นรายเดือนแก่ผสู้ ูงอายุท่ีไมส่ ามารถ ช่วยเหลอื ตนเองได้ ขาด
การดแู ลจากลูกหลาน

1.2 การใหก้ ารรักษาฟรแี ก่คนชรา
2. การให้ความชว่ ยเหลือแนะนาํ ความรู้ด้านตา่ ง ๆ แก่คนสูงอายุ เชน่ คาํ แนะนาํ ในการเสยี ภาษี การ
ทาํ พนิ ัยกรรม ฯลฯ เพ่ือปอู งกันความผดิ พลาด จากการถูกหลอก ทําให้สูญเสยี ทรัพย์สนิ ซง่ึ จะทาํ ใหส้ ขุ ภาพจติ เสยี ได้
3. การจดั บริการต่าง ๆ แกค่ นชรา เช่น การจดั บรกิ ารพยาบาลไปเยยี่ มบา้ น การจัดอาสาสมัคร นกั
สังคมสงเคราะห์ไปเยีย่ ม พูดคยุ กับคนชรา จดั ทาํ ชมรมผสู้ งู อายุ หรอื สโมสรผสู้ งู อายุ
4. มีการใหค้ วามรู้ ช้แี จง อบรม สง่ เสรมิ เรอ่ื งสขุ ภาพจิต
ด้านการดแู ลตนเองของผสู้ งู อายุ
1. เรียนรูก้ ารเปลีย่ นแปลงของตนเองในทกุ ๆ ดา้ น จากการอา่ นหนงั สือ อบรมสมั มนา หรอื พูดคยุ กับ
ผูส้ ูงวัยกวา่ เพื่อเปน็ การเตรยี มพรอ้ มเผชญิ กับความเปล่ยี นแปลงท่ีกาํ ลังจะเกิดขึน้ แก่ตนเอง
2. ยอมรับความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิด
3. ดแู ลรักษาสุขภาพร่างกายใหแ้ ขง็ แรง
4. หางานอดเิ รกทํา หรอื ทํางานทสี่ ร้างความสุขและมปี ระโยชนต์ ่อผู้อื่น
ด้านการดแู ลจากลกู หลาน
ลกู หลานต้องคาํ นึงและตระหนกั ว่า ผู้สูงอายคุ อื ผู้ท่มี คี ุณคา่ มีความรู้ มคี วามสามารถ เป็นผมู้ พี ระคุณต่อ
เรา ดงั นนั้ ลูกหลานจึงมหี นา้ ท่ใี นการปฏิบัตติ ่อผ้สู งู อายุ ดังนี้
1.ให้ความเคารพ นับถือ ยกยอ่ ง
2.ดูแลความสะดวกสบายในการดําเนนิ ชีวิต
3.ให้ความรกั ความเอาใจใส่
4.สนับสนุนเรื่องเงนิ และการใชจ้ ่าย
ปัญหาดังกล่าวเป็นเพียงสว่ นหน่ึงของปัญหา ในผ้สู งู อายุทเี่ กี่ยวขอ้ งทางสขุ ภาพจิต แตผ่ ูส้ ูงอายุ อาจพบ
ปัญหาทเี่ ก่ียวข้องกับสุขภาพจิตและสุขภาพกายรว่ มกันได้อีกดว้ ย สรุปว่าผู้สงู อายเุ ป็นวยั ที่มกี ารเปล่ยี นแปลง
หลายอยา่ งทง้ั ทางกาย และทางจิตใจ การเปล่ยี นแปลงท้ังในแง่ดี และแง่ร้าย ในแงร่ ้ายทําให้เกิดปญั หา ทางจิตใจ
ถา้ เรารทู้ นั ให้การแก้ไขทนั ท่วงที ก็จะสามารถช่วยเหลือผู้ที่มพี ระคณุ กับเรา ผู้ที่จะสามารถนาํ ความสามารถของ
ท่านมาสร้างประโยชน์แกพ่ วกเรา และประเทศชาตติ ่อไป

15

3.แนวทางการหลกี เลย่ี งหรอื ปอู งกนั การเกดิ ภาวะซมึ เศรา้ ในผสู้ งู อายุ

ภาวะซมึ เศรา้ ในผ้สู งู อายเุ ป็นการเจบ็ ปุวยทางจิตใจชนิดหน่ึงทีต่ อบสนองต่อความผดิ หวัง ความสญู เสยี
หรอื การถวิลหาสง่ิ ที่ขาดหายไป เมื่อเกิดขน้ึ แล้วจะทําใหผ้ สู้ ูงอายุรสู้ กึ ไมม่ ีความสขุ จติ ใจหมน่ หมอง หดหหู่ มด
ความกระตอื รือร้น เบ่ือหนา่ ยส่ิงต่างๆ รอบตวั แยกตัวเอง ชอบอย่เู งียบๆ คนเดยี ว ท้อแท้ บางครั้งมีความรู้สกึ
ส้ินหวงั มองชีวติ ไมม่ ีคณุ ค่า มองตนเองไร้คา่ เป็นภาระตอ่ คนอ่ืน ถ้ามีอาการรุนแรงจะมอี ันตรายจากการทํารา้ ย
ตนเองได้ มีรายงานการฆ่าตวั ตายในผู้สงู อายุ ซึง่ พบว่า ร้อยละ 90 มีความสัมพนั ธ์กบั ภาวะซึมเศร้า อยา่ งไรก็ตาม
มีบางรายท่แี สดงออกดว้ ยการหงดุ หงิดโมโหง่าย ทะเลาะกบั บุตรหลานบอ่ ยครัง้ น้อยใจงา่ ย มักมาพบแพทยด์ ้วย
อาการใจส่นั ปวดหัว ปวดหลงั ปวดท้อง อ่อนเพลยี ไม่มแี รง นอนไมห่ ลบั หรือท้องอดื ท้องเฟูอ เมื่อแพทย์ตรวจ
แล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ ทร่ี นุ แรง

ภาวะซมึ เศร้าในผ้สู ูงอายุเกิดข้นึ ไดจ้ ากหลายสาเหตุร่วมกัน ทั้งสาเหตุทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพสังคม
สิ่งแวดล้อม ดงั รายละเอียดต่อไปน้ี

1. สาเหตทุ างดา้ นร่างกายที่พบบ่อย ไดแ้ ก่พนั ธกุ รรมหรือการมปี ระวัติเป็นโรคซมึ เศรา้ ใน
ครอบครวั ความผดิ ปกติของสารส่ือประสาทบางตวั ในสมอง การมพี ยาธิสภาพในสมองเช่นมีการเส่อื มของเซลล์
ประสาท หรือมีการฝุอของสมองบางส่วน หรอื เป็นโรคทางกายทม่ี ผี ลกระทบโดยตรงต่อสมอง เชน่ โรคสมอง
เสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคพารก์ ินสัน โรคต่อมธัยรอยด์ ฯลฯ หรอื เปน็ ผลขา้ งเคียงจากยาท่รี ับประทานเปน็
ประจํา เชน่ ยาลดความดนั โลหติ สูง ยารกั ษาโรคกระเพาะอาหาร ยาขับปสั สาวะ หรือยารักษาโรคมะเร็ง เป็นตน้

2. สาเหตทุ างด้านจติ ใจที่พบบ่อย ได้แก่ การไม่สามารถปรับตัวต่อการสญู เสีย เหตกุ ารณ์ทท่ี าํ ใหเ้ กิด
ความ ผดิ หวงั เสยี ใจ น้อยใจ หรอื มคี วามเครียดในเร่ืองตา่ งๆ ทาํ ใหเ้ กิดเป็นความทุกข์ใจ ไม่สบายใจ โดยสาเหตุที่
พบบ่อย ได้แก่ การสูญเสียบคุ คลอันเปน็ ทรี่ ัก เชน่ คชู่ ีวติ ญาติพ่ีน้อง หรือเพอ่ื นสนิท การสญู เสียหนา้ ที่การงาน
บทบาทในครอบครวั การย้ายทอี่ ยู่ เจบ็ ปวุ ยทางกายที่ทาํ ให้เกดิ ความทกุ ข์ทรมาน เจ็บปวด หรือเปน็ โรคเรือ้ รังที่มี
ค่าใชจ้ า่ ยจํานวนมาก เชน่ โรคหวั ใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคขอ้ โรคมะเร็ง เปน็ ตน้ บุตรหลานไมป่ รองดองกัน
ไม่ไดร้ บั การยอมรับนบั ถอื จากลกู หลาน เนอ่ื งจากเหน็ วา่ อายุมากแล้ว ไม่ทันต่อเหตกุ ารณ์ หรือมีปญั หาทาง
เศรษฐกิจ รวมทง้ั การมีบุคลิกภาพด้งั เดิมเป็นคนที่ขาดความภาคภูมใิ จในตนเอง มองตนเองในด้านลบบ่อยๆ หรือ
ชอบพ่งึ พาผูอ้ น่ื

3. สาเหตุทางด้านสังคม สงิ่ แวดลอ้ มทพ่ี บบอ่ ย ได้แก่ การปรับตัวไม่ได้ต่อสภาพแวดล้อมที่เปลยี่ นแปลง
ไปตามยุคสมยั การประสบความเครียดจากการดาํ เนินชวี ิตประจาํ วนั การทะเลาะเบาะแวง้ ของคนในครอบครัว
เป็นต้น

16

แนวทางการหลกี เลยี่ งหรอื ปอู งกนั การเกดิ ภาวะซมึ เศรา้ ในผสู้ งู อายุ
ภาวะซึมเศร้าในผ้สู งู อายเุ ปน็ สง่ิ ท่สี ามารถหลกี เลีย่ งไดด้ ว้ ยการปฏบิ ตั ิตนเพื่อปูองกันหรือรับมือกับสาเหตุ

ของภาวะซึมเศร้าดังท่ีได้กล่าวมาขา้ งต้น ดงั ต่อไปน้ี
1. การดูแลตนเองทางดา้ นรา่ งกาย

1.1การรบั ประทานอาหารท่ีเหมาะสมกบั วยั ใหค้ รบ 3 ม้ือ ในปริมาณที่เหมาะสมอย่างหลากหลาย
โดยเฉพาะการบริโภคอาหารสด การรับประทานอาหาร ผัก และผลไม้สดจาํ นวนมากๆ ทําใหส้ ขุ ภาพรา่ งกายสด
ชนื่ ตลอดวนั รวมทั้งการรบั ประทานโปรตีนจากเนื้อปลา หากร่างกายไม่ได้รบั อาหารที่พอเพียงจะส่งผลให้เกดิ
ภาวะซึมเศรา้ อ่อนเพลีย และไมม่ แี รง

1.2 ออกกาํ ลงั กายทุกวัน การออกกาํ ลังกายเป็นประจาํ โดยใช้วิธีท่ีงา่ ยๆ เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ เช่น
การเดินเลน่ ในที่ที่มีอากาศบริสทุ ธิ์ตอนเช้าหรอื ตอนเยน็ ฝกึ ออกกาํ ลังกายแบบช่กี ง ไทเ้ ก๊ก รํากระบอง หรือวา่ ย
นํ้า จะชว่ ยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายได้รบั การเติมพลังอย่ตู ลอดเวลา และทํางานประสานกนั ไดด้ ีท้ังระบบ
ประสาท กล้ามเนอ้ื และจิตใจ

1.3 เขา้ รบั การตรวจสขุ ภาพเปน็ ประจําปี หากมีความผดิ ปกติเกดิ ข้ึนในร่างกายเช่นความดันโลหติ สูง
นํ้าตาลในเลือดสูง หรือความผิดปกติอ่นื ๆ จะไดร้ ีบทาํ การรักษาแต่เน่ินๆ ไม่ปล่อยทงิ้ ไว้จนเกดิ ความรนุ แรง

2. การดูแลตนเองทางดา้ นจติ ใจ
2.1 สรา้ งความรูส้ ึกที่ดีต่อตนเอง ด้วยการตั้งมัน่ อยู่ในความดี ด้วยการมีความคดิ ดี พดู ดี และทาํ ดี

จะชว่ ยให้เรามคี วามสุข จิตใจแจม่ ใสไม่ขนุ่ มวั อารมณ์ดี
2.2 ตระหนกั ในคุณค่าของตนเองท่ีมตี ่อบุตรหลาน และบุคคลอ่ืน ชน่ื ชมและภาคภูมิใจในตนเอง

อยา่ มองตนเองวา่ ไร้ค่า หรือรู้สึกท้อแท้
2.3 ดาํ เนินชวี ติ อย่างเรียบง่าย จะทาํ ให้ระบบประสาททํางานอยา่ งราบร่ืน ไม่ตึงเครยี ด และวิตกกงั วล
2.4 ไม่ปล่อยใหต้ นเองอยวู่ า่ ง หางานอดิเรกหรือสิ่งท่ีตนสนใจอยากทํา แต่ไมม่ ีโอกาสทําเม่ืออยใู่ นชว่ งวยั

ท่ตี ้องทาํ งาน ซึง่ อาจนํามาซึง่ รายไดห้ รอื มีวธิ กี ารคลายเครียดตา่ งๆ
2.5 ใชเ้ วลาทํากิจกรรมร่วมกับครอบครัวอย่างสมาํ่ เสมอ เช่น ทาํ อาหารใหบ้ ตุ รหลานรับประทาน

ไปเทย่ี วพักผอ่ นในวันหยดุ ไปทาํ บญุ ทวี่ ดั ดูโทรทศั น์ หรือออกกําลงั กายร่วมกนั เป็นต้น
2.6 สร้างคุณคา่ เพิ่มใหก้ ับตนเองด้วยการอุทศิ ตวั ใหเ้ ป็นประโยชนก์ ับสังคม ดว้ ยการทําบุญ การบรจิ าค

ทรัพย์ใหเ้ ป็นประโยชนก์ บั ผูอ้ ื่น การช่วยเหลือบุคคลอ่นื ด้วยการใหค้ าํ แนะนาํ ใหค้ าํ อวยพร ใหก้ ําลงั ใจ หรอื แสดง
ความเอ้ืออาทรต่อบุคคลอน่ื จะนาํ มาซ่ึงความสุขใจทง้ั ผใู้ หแ้ ละผรู้ ับ จะช่วยใหเ้ รารูส้ ึกสดช่นื มีชวี ติ ชีวา ร้สู ึก
กระชมุ่ กระชวย

2.7 แสวงหาความสงบสุขทางใจ ดว้ ยการฝกึ ทาํ สมาธิ สวดมนตร์ ศึกษาธรรมะจากหนังสือหรอื สนทนา
ธรรมกับผูร้ ู้ จะชว่ ยให้จิตใจให้สงบ เขา้ ใจธรรมชาติหรือความเป็นจริงของชีวิต ไม่ฟงูุ ซา่ น ปล่อยวางปญั หาตา่ งๆ

2.8 อย่ใู กล้ชิดธรรมชาตใิ ห้มากทสี่ ดุ เชน่ หาโอกาสทํางานในสวนดอกไมห้ รือสวนผกั สดู อากาศบริสทุ ธ์ิ
จากปุาเขาลําเนาไพร สัมผัสสายลมและแสงแดดบา้ ง เพ่อื ผ่อนคลายจติ ใจ

2.9 สาํ หรบั ผทู้ อี่ ยคู่ นเดยี วควรหาสัตวเ์ ลี้ยงไว้รบั ผิดชอบดูแล ไม่วา่ จะเปน็ สุนขั แมว นกแก้ว 3. การดแู ล

17

ตนเองทางดา้ นสงั คม
การเขา้ สังคมเพื่อทาํ กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชนก์ บั ตนเองและผู้อ่นื เช่นการสมัครเขา้ เป็นสมาชกิ

ชมรมผู้สงู อายุ จะช่วยใหม้ เี พื่อนใหม่ๆ ไดท้ ดลองทํากิจกรรมใหมๆ่ ช่วยใหจ้ ติ ใจกระชุ่มกระชวย คลายความ
อ้างวา้ ง

อยา่ งไรก็ตาม เมื่อทา่ นได้พยายามปฏิบัตติ ัวเพื่อหลีกเลย่ี งหรือปูองกันภาวะซึมเศร้าดงั คําแนะนาํ ข้างต้น
แล้ว แต่ปรากฏว่ายงั เกิดภาวะซมึ เศร้าได้อีก กอ็ ย่าไดต้ กใจ เพราะอาจเปน็ ผลมาจากความไมส่ มดุลของสารส่ือ
ประสาทในสมอง หรอื เกดิ เหตกุ ารณ์ในชีวติ ที่ทา่ นไม่สามารถควบคุมได้ คาํ แนะนําในการปฏบิ ตั ิตัวเบื้องต้นเม่ือ
เกดิ ภาวะซมึ เศร้า มดี ังต่อไปน้ี

1.หลกี เลี่ยงการอยู่คนเดยี วเม่ือมีอารมณเ์ ศร้าเกิดขน้ึ ควรพูดคุยกบั ผอู้ ื่นเพ่ือผอ่ นคลายความเครยี ด
เกิดความเพลดิ เพลิน ไม่เงยี บเหงา

2.ทํากจิ กรรมหรืองานอดิเรกท่ีชอบ เช่น อา่ นหนังสอื ฟังเพลง ปลกู ตน้ ไม้ เยบ็ ปักถกั ร้อย เป็นต้น
3.ทาํ กิจกรรมรว่ มกับผู้อื่น เช่น เขา้ ชมรมผูส้ ูงอายุ ไปวัด หรอื ออกกาํ ลังกายเป็นประจํา เป็นตน้
4.รบี ไปพบแพทย์เพ่ือทําการตรวจรกั ษาโดยไมต่ ้องอาย เนือ่ งจากโรคน้ีถือเปน็ ความเจบ็ ปุวยอย่างหน่งึ ที่
สามารถรกั ษาใหด้ ีข้นึ และหายขาดได้ การรักษาหลัก โดยมากแพทยจ์ ะให้รับประทานยาต้านเศรา้ เพื่อรักษา
และปอู งกันอาการซึมเศรา้ ยาตา้ นเศรา้ อาจมีอาการขา้ งเคียง ปากแห้ง คอแหง้ ใจสนั่ งว่ งนอน ยาบางตัวอาจทํา
ใหน้ อนไมห่ ลบั ถา้ รับประทานยาอยา่ งน้อยประมาณ 6 เดอื นขึ้นไป ในรายทเ่ี คยปวุ ยมากอ่ นอาจตอ้ งรับประทาน
ยาอยา่ งน้อย 2 ปี นอกจากยายงั อาจมีการทาํ จิตบําบดั แบบประคบั ประคองดา้ นจติ ใจ การทําพฤตกิ รรมบาํ บัด
เพ่อื แกค้ วามคดิ ในแงร่ ้ายต่อตนเอง การให้คาํ ปรึกษา การทําครอบครัวบําบดั รว่ มกบั การดูแลและชว่ ยเหลือทาง
จติ ใจจากสังคม ครอบครวั และคนรอบข้าง
กล่าวโดยสรุป ภาวะซมึ เศรา้ ในผสู้ ูงอายุถือเปน็ การปวุ ยทางจิตใจชนิดหนึ่งที่สามารถปูองกันหรอื
หลีกเลย่ี งได้ด้วยวธิ ีการปฏบิ ตั ิตนท้ังทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสม การเตรยี มความพร้อมท้ังร่างกายและจิตใจ
กอ่ นทจ่ี ะเข้าสวู่ ยั สูงอายุ โดยเฉพาะการทําใจให้ยอมรบั การเปล่ยี นแปลงหรอื การสูญเสยี ครัง้ สําคญั ในชวี ิต เพราะ
การยอมรับความเป็นจริงทีเ่ กิดขึ้นตามวัยไดจ้ ะช่วยใหส้ ามารถปรับตัวตอ่ ความสูญเสียและปอู งกันไม่ใหเ้ กิดภาวะ
ซมึ เศร้าทร่ี ุนแรงได้ แต่หากเกิดภาวะซมึ เศร้าข้ึนแลว้ ควรรบี มาพบจติ แพทยท์ นั ทีทส่ี งั เกตพบความผิดปกติ
เน่อื งจากโรคนีส้ ามารถรักษาให้ดีขึน้ หรือหายได้ แตห่ ากปล่อยไวเ้ นน่ิ นาน ไม่ทําการรกั ษาเพราะคิดว่าเป็นเรอ่ื ง
นา่ อบั อาย หรอื เป็นความอ่อนแอของตนเอง จะทําให้ระยะการปุวยยาวนานขนึ้ โอกาสท่ีจะปวุ ยซา้ํ หรอื กําเรบิ อกี
จะมีสูง

18

4.กจิ กรรมนนั ทนาการสาํ หรับผสู้ งู อายุ

1. ฟงั เพลง หามุมสงบ โดยการนงั่ ปลอ่ ยใจใหล้ อ่ งลอยอยา่ งเปน็ ธรรมชาติ แล้วฟงั เพลง เบา ๆ
โดยเฉพาะเพลงจําพวกสรา้ งเสรมิ สมาธิ ซง่ึ เด๋ียวนม้ี ใี หเ้ ลอื กหลากหลายแบบตามความต้องการ ทง้ั เสียงของดนตรี
บรรเลงหรอื เสียงธรรมชาติ จาํ พวกเสยี งคล่ืน.เสียงน้ําตก.เสยี งนกร้อง รับรองว่าจะชว่ ยสรา้ งสมาธใิ หก้ ลับคนื สู่
สมองและจติ ใจได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ในช่วงระยะเวลาเพยี งสนั้ ๆ ได้

2. ชมภาพยนตร์ ขอแนะนําให้ตีตั๋วดูหนงั ดๆี สกั รอบ เพราะการไปดูหนงั เป็นวิธีทดี่ ีอยา่ งหน่งึ ทีจ่ ะ
ปลดปล่อยความรู้สึกให้ ลอ่ งลอยอย่างเป็นอิสระไม่จมอยู่กับปัญหา แถมระบายความอัดอ้ันตันใจได้อย่างเหน็ ผล
แต่ตอ้ งถามตวั เองก่อนด้วยวา่ กําลังอยู่ในอารมณ์ไหน เช่น ถ้าอยากร้องไหก้ ็ไปดูหนังรกั เศร้าเคลา้ น้าํ ตาแลว้ ก็
ร้องไห้ออกมาใหพ้ อ หรอื ถา้ เครยี ดจัดก็จงไปดูหนังตลกแล้วหัวเราะให้หลดุ โลกไปเลย

3. โทรหาเพ่อื นรู้ใจ อย่าคิดวา่ ตวั เองจะแกป้ ญั หาทกุ ปัญหาได้ดีไปท้งั หมด หัวใจแม้จะแกร่งเพียงใดกย็ ัง
ตอ้ งการทพ่ี ่ึงพิงเสมอ ยกหูโทรศพั ทห์ าเพ่ือนรู้ใจสันคนแล้วระบายความรสู้ ึกให้เพ่ือนได้รับรู้ เพราะการมคี นรบั ฟงั
และให้คาํ ปรึกษา จะทําให้ชวี ติ ท่ไี มส่ มดลุ เข้าทเี่ ขา้ ทางมากข้ึน อย่างน้อยกย็ งั รสู้ ึกวา่ ไม่ได้แบกปญั หาอยคู่ นเดยี ว
ในโลก

4. เขียนไดอารี การเขียนไดอารเ่ี ปรยี บเสมือนการเปิดประตูอารมณ์ท่ีปลอ่ ยให้ความอดั อั้นตันใจต่างๆ
ได้ไหลลงสหู่ น้ากระดาษอยา่ งเปน็ อิสระและเป็นส่วนตวั ทสี่ ดุ เพราะการถา่ ยเทความรูส้ ึกในใจออกมา จะทําให้
จติ ใจปรับสมดุลได้เร็วข้ึน อีกทัง้ ระหว่างการเขยี นไดอารี่นน้ั ยงั ถือเปน็ การทบทวนความรู้สกึ ตัวเองทด่ี ี ท่ีสดุ ดว้ ย
สว่ นขอ้ ดีสุดเลิศอีกข้อก็คือ ไดอารีเ่ ปน็ เพ่ือนสนทิ ที่ไวใ้ จได้ที่สุด เพราะรับฟังเราเสมอและไม่เคยเอาความลับไป
บอกต่อ
5. พลงั แหง่ การสมั ผสั ลองมองหาใครสักคนช่วยโอบกอดหรือสัมผสั เบา ๆ เวลารสู้ กึ เหน่อื ยล้า เพราะร่างกาย
คนเราเวลาถกู สมั ผัส จะทําให้เกดิ ฮอรโ์ มนท่ีชื่อ “อ๊อกซ่โี ทชิน” ซ่งึ มีผลในการลดระดับความเหนือ่ ยและ
ความเครียด ช่วยให้ร่างกายท่ีกําลงั อ่อนล้าร้สู กึ ผ่อนคลายได้อยา่ งไม่น่าเช่อื
6. สร้างอารมณ์ขัน พยายามมองหาเพ่อื นท่ีมีอารมณ์ขนั ชว่ ยกระตนุ้ จติ ใจท่ีแสนเหน่ือยหน่ายใหห้ วั เราะได้อกี ครง้ั
เพราะคนท่ีหัวเราะงา่ ยจะมสี ขุ ภาพจติ ท่ีดี เนื่องจากการหัวเราะจะช่วยลดความดันโลหิตและระดับฮอรโ์ มนคอรต์ ิ
ซอลลง (ฮอรโ์ มนคอร์ติซอล = ฮอร์โมนแสดงความเหน่อื ยล้าในกระแสเลือด) แถมยังชว่ ยเสริมสรา้ งระดบั ของ

19

“อิมโมโนโกลบูลนิ เอ” ซ่ึงเป็นสารแอนตบิ อดีท่สี ร้างภมู ิคุ้มกันให้ร่างกายอีกดว้ ยนะ เพราะฉะนั้นหวั เราะเข้าไว้
แลว้ จะดีเอง

7. สดู กลนิ่ หอม รู้หรอื ไมว่ า่ .กลิ่นหอมของดอกไมน้ านาพนั ธุ์มีผลในการช่วยปลุกประสาทสัมผัสให้สดชน่ื
ต่ืนตัว แถมยงั กระตุ้นพลังงานในจิตใจได้เปน็ อยา่ งดี เวลาเครียด ๆ ก็ลองสูดกล่นิ หอมของดอกไมส้ ิ อยา่ งกล่ิน
กหุ ลาบ มะลิ ลาเวนเดอร์ หรอื จะหยดนํา้ มันหอมระเหยในน้ําอุ่นกาํ ลังดี แลว้ นอนแช่ตัวให้เพลนิ สักคร่งึ ช่ัวโมงก็
ได้ กลน่ิ หอมจะช่วยใหร้ ู้สกึ ดขี ึ้นได้

8. ไปตากอากาศ หาเวลาหลบไปสดู อากาศบรสิ ุทธก์ิ บั ชีวิตทา่ มกลางธรรมชาติสักพัก หายใจเข้าลกึ ๆ
ช้า ๆ ปลอ่ ยสมองใหว้ า่ งท่สี ุด แลว้ ก็นอนให้มากที่สดุ เท่าท่ีอยากจะนอน เพราะบางทคี วามรูส้ ึกเหนื่อยล้าและหด
หู่แบบไม่ทราบสาเหตุมักมาจาก ชวี ิตทย่ี ุง่ เหยงิ จนเกินไป เพราะฉะนัน้ หลบไปนอนตากนํ้าค้างดูดาวเสยี บา้ ง หัวใจ
จะได้ชาร์จพลังได้ดีข้ึน

9. หาสัตว์เลยี้ งเป็นเพอื่ น ลองหาสัตว์เล้ียงสักตัวมาเป็นเพื่อนเล่น เพราะการให้เวลากบั สัตว์เลีย้ งตัว
โปรด คุยเล่น หยอกลอ้ กบั มันเสยี บา้ ง จะช่วยใหจ้ ติ ใจทฟ่ี ูุงซ่าน สงบลงได้ แถมรจู้ ักการให้และมองโลกในแง่ดมี าก
ขึน้ อกี ตา่ งหาก ทส่ี ําคญั ยังช่วยลดความดนั โลหติ ได้อีกดว้ ย

10. จินตนาการแสนสุข อีกทางเลือกสาํ หรบั การบรรเทาความหดหู่ในส่วนลึก เปน็ การดึงตัวเองออกจาก
โลกปจั จุบนั ทาํ ไดโ้ ดยหลับตาแล้วหายใจลึก ๆ จากน้นั กส็ ร้างจินตนาการถึงภาพทวิ ทัศน์สบายๆ เช่น นา้ํ ตก
ภเู ขา หรือแม้แตค่ วามหลงั อันแสนสุขทีเ่ คยมีการดงึ ความสุขจากจนิ ตนาการมาใชจ้ ะ ทาํ ใหเ้ กิดพลงั สร้างสรรค์ใน
หวั ใจ และยังชว่ ยสลายความเครียดข้างในได้เป็นอย่างดี ทําแบบน้เี งยี บๆ สกั 5 นาที

ผู้สงู อายุสามารถบรหิ ารจดั การความเครยี ดไดด้ ว้ ยตนเอง ด้วยวิธีการงา่ ยๆ 4 วธิ ี คอื วิธีแรก เปน็ การ
คลายเครียดทเ่ี ราแตล่ ะคนปฏบิ ตั ิกนั อยู่แลว้ ในชวี ิตประจําวนั เชน่ การพักผอ่ นหย่อนใจ ดูหนงั ฟังเพลง อ่าน
นิยาย ไปทอ่ งเท่ยี ว ไปชอบปง้ิ ไปเสริมสวย ไปเล่นกีฬา ออกกาํ ลงั กาย พดู คยุ กบั คนรู้ใจ ทํางานอดเิ รก เล่นกับ
สัตวเ์ ลีย้ ง เปน็ ต้น วธิ ที ส่ี อง เป็นวธิ ีการคลายเครยี ดโดยการจัดการกบั ปญั หาท่เี กิดขน้ึ ในชีวิต เพราะปัญหาจะเป็น
บ่อเกดิ แห่งความเครียด หากแกป้ ัญหาได้สาํ เร็จ ความเครียดก็จะหมดไปด้วยวธิ ีท่สี าม คือการปรบั เปลี่ยน
ความคดิ เนอื่ งจากความเครียดจะเกิดจากการที่คนเราหมกมนุ่ ครนุ่ คดิ แต่ในเร่ืองท่ีไม่ดี เรื่องที่ทําให้ร้สู ึกน้อยเนือ้
ตํ่าใจ เรื่องเศรา้ เรอ่ื งที่ทาํ ให้ไมส่ บายใจนั่นเอง ถา้ ฝกึ คิดในทางบวกเสียบา้ ง มองโลกในแงด่ ี มอี ารมณข์ นั คิดถงึ
ประสบการณ์ดี ๆ ทผี่ ่านมาในชวี ติ ใหบ้ ่อยขึ้นกวา่ เดิม คิดถึงความปรารถนาดีของคนอ่ืนที่มตี อ่ เรากจ็ ะชว่ ยใหเ้ ปน็
คนทเี่ ครียดน้อยลงและมีความสุขมากข้ึนได้ วิธีสดุ ทา้ ย คือ การฝกึ คลายเครยี ดด้วยวธิ ที างจิตวทิ ยา เช่น ฝึกการ
หายใจ ฝึกผอ่ นคลายกลา้ มเนื้อ ฝึกสมาธิ เปน็ ต้น

20

โตะ๊ หมู่บชู า นอกจากจะนึกถึงพระพทุ ธรูป ธปู เทยี นแล้ว ยงั ตอ้ งนึกถึง
แจกันและดอกไม้อีกดว้ ยทต่ี ้องวางประดับหน้าพระพุทธรปู เปน็ ประจํา หนาํ ซาํ้ ยงั
ตอ้ งล้างทําความสะอาดและเปลยี่ นบ่อยเกือบทุกสัปดาห์
การจัดดอกไมไ้ หว้พระมีหลากหลายรปู แบบ ดังตอ่ ไปนี้

1. วธิ จี ดั ดอกบวั 1

วสั ดอุ ปุ กรณ์

ดอกบวั ใบเตย

กรรไกร เคร่อื งเยบ็ กระดาษ

หนังยาง แจกนั

นํ้าเปลา่

วิธีทํา

1. พบั ดอกบวั จากกลีบนอกสดุ เข้าไปจนถงึ กลีบในสุด โดยวิธีการพบั คือ จับด้านซ้ายของกลบี ลงมา 45 องศา

จากนัน้ ก็จบั ดา้ นขวาทบเข้าไปซอ่ นไวด้ ้านในจนกลายเปน็ มุมแหลม เสร็จแลว้ กค็ ่อย ๆ หมุนและพบั ไปเร่ือย ๆ จน

ครบทัง้ หมด

2. นําใบเตย 3 ใบ มาเรยี งซ้อนกนั โดยให้ใบกลางอยูห่ ลังสดุ และสงู สดุ ส่วนใบซา้ ยและใบขวาต่ําลงมา

เล็กนอ้ ย เยบ็ ใหแ้ น่น เสร็จแล้วเพม่ิ ใบเตยหนึ่งใบทางดา้ นขวา พร้อมพับคร่งึ มว้ นไปด้านหลงั และเย็บให้เรียบร้อย

หลังจากน้ันก็เพิ่มใบเตยอีกหนึ่งใบทางด้านซา้ ย พบั ครึง่ ม้วนไปด้านหลงั เหมือนกันและพยายามทาํ ให้เทา่ กันดว้ ย

3. ตอ่ ไปก็นําดอกบวั 1 ดอก มาวางตรงกลางให้สงู พอดีกับใบเตย 2 ใบทพี่ ับลงไป จากน้นั ใสด่ อกบัวอีกสอง

ดอกค่กู นั โดยวางใหต้ ่าํ ลงมาเลก็ น้อย สุดท้ายใสด่ อกบวั อกี ดอกตรงกลางดา้ นลา่ ง กจ็ ะกลายเป็นทรงส่เี หลย่ี มข้าว

หลามตัด กาํ ใหแ้ นน่ แลว้ เพิ่มใบเตยเข้าไปอีกข้างละใบ พับครึง่ มว้ นไปด้านหลงั เหมือนเชน่ เคย แตใ่ หจ้ ัดไว้ตํ่า

กว่าเดิมเล็กน้อย หลังจากนนั้ ก็เพมิ่ ใบเตยเข้าไปขา้ งหนา้ อกี ฝ่งั ละใบ พบั คร่ึงม้วนไปดา้ นหลงั เหมือนเชน่ เคย และ

ใหต้ า่ํ ลงกวา่ เดิมอีกเล็กน้อยเช่นกนั ตรวจเช็กใหค้ วามสูงของใบเตยท้งั สองฝัง่ เทา่ กัน

4. กาํ ชอ่ ใหแ้ นน่ แลว้ ตดั ก้านให้เสมอ จากนั้นกม็ ดั หนังยางรวมกนั ไว้ สุดทา้ ยเทนา้ํ เปล่าใส่แจกันทรงสูง

ประมาณครง่ึ หนง่ึ แลว้ ใส่ช่อดอกบวั ลงไป จดั ทรงให้สวยงาม กจ็ ะเปน็ อนั เสร็จเรียบร้อย

21

วสั ดอุ ปุ กรณ์ 2. วธิ จี ดั ดอกบวั 2
ดอกบวั
กรรไกร ใบเตย
หนงั ยาง

วธิ ที ํา
1. วธิ ีจดั แจกนั ดอกบัวอีกหนง่ึ แบบ ให้เริ่มต้นทกี่ ารพับดอกบัวจากกลีบนอกสดุ เข้าไปจนถึงกลีบในสุด โดย

วิธีการพับ คอื พับทบกลีบให้ชนกนั ในแนวตงั้ หลังจากน้ันกพ็ ับทบครงึ่ ในแนวนอนให้ปลายเลยออกมาอีกด้าน
เสรจ็ แล้วทบกลับไปตรงกลางให้เป็นทรงสามเหล่ยี มพร้อมกับเหน็บโคนเอาไว้ ทาํ แบบน้ใี ห้ครบทุกดอก

2. นาํ ไปเขา้ ช่อดว้ ยการเรียงดอกบัว 3 ดอก เป็นทรงสามเหลีย่ ม จัดให้ดอกตรงกลางอย่สู งู สุด ส่วนอีกสอง
ดอกซ้าย-ขวาเสมอกัน แล้วใช้หยงั ยางรดั ให้แน่น หลงั จากน้ันก็นาํ ใบเตย 2 ใบ วางซ้อนกัน พรอ้ มวางก้านใบเตย
เล็ก ๆ ทบั ลงไปตรงกลางเพอ่ื ให้หนาขึ้น

3. วางดอกบัวทับลงไป กะให้ตาํ่ ลงมาจากปลายใบเตยตามความเหมาะสม กดให้แน่น จากน้ันใส่ใบเตยเพ่ิม
เข้าไป 6 ใบ โดยแบ่งเป็นด้านซ้ายและขวาอยา่ งละ 3 ใบ พร้อมท้ังเรียงให้แผ่กวา้ งออกมา แล้วกดบรเิ วณด้านลา่ ง
ดอกบัวเข้าหากันเลก็ น้อย ใช้หนงั ยางมัดให้ดี สดุ ท้ายเอาใบเตยอกี ใบมาปดิ ด้านหน้าเพื่อบังกา้ นบวั ไว้ ใช้หนงั ยาง
มดั ใหแ้ นน่ และตดั ก้านออกให้เสมอกัน เท่านี้กน็ ําไปใส่ในแจกนั หรอื ถวายพระได้เลย

3. วธิ จี ดั ดอกดาวเรอื ง
วสั ดอุ ุปกรณ์

ดอกดาวเรืองดอกใหญ่ ใบเตย
กรรไกร หนงั ยาง
ไมแ้ หลม
วิธที าํ
1. นาํ ดอกดาวเรือง 3 ดอก มาตดั ก้านออกจนเหลือแตโ่ คน จากนัน้ นาํ ไม้แหลมเสียบเข้าไปให้เรียงชดิ ตดิ กนั
โดยให้หนั เอาหน้าดอกออก
2. ใหเ้ ลอื กใบเตยสวย ๆ มา 7 ใบ หลังจากนนั้ นําใบเตย 3 ใบมาเรยี งซ้อนกนั ใหส้ องใบกากบาทไขวก้ นั
ด้านล่าง ส่วนอีกใบทับอยตู่ รงกลางด้านบน เสร็จแลว้ ก็นาํ ใบเตยท่ีเหลอื อีก 4 ใบ ซ้อนกันไว้ดา้ นหลงั ไปเรื่อย ๆ
แบบกระจาย ๆ โดยแบ่งออกเป็นสองข้างซา้ ย-ขวา ขา้ งละ 2 ใบ
3. นาํ ดอกดาวเรืองท่ีเตรียมไวว้ างลงตรงกลาง จากนั้นนําใบเตยมาพับครึ่งแลว้ ปดิ ไว้ด้านหนา้ เพ่ือบงั ไม้แหลม
พร้อมทง้ั พบั ใบเตยด้านข้างเข้าหากนั แลว้ ใชห้ นังยางมัดให้แนน่
4. นําใบเตยมาพับคร่งึ อีก 2 ใบ แลว้ ใสเ่ ข้าไปท้ังดา้ นหน้าและดา้ นหลงั บรเิ วณใต้ดอกดาวเรอื ง ตัดปลายให้
สวยเสมอกัน จากนัน้ มัดหนังยางให้แน่น ก็จะเป็นอันเสร็จเรียบรอ้ ย

22

4. วธิ จี ดั ดอกบานไมร่ โู้ รย

วสั ดุอปุ กรณ์
ดอกบานไมร่ ้โู รยสขี าวและสีม่วง
ลกู มะกรูด
ใบเตย
กรรไกร
หนังยาง
ไมก้ ลดั
ไม้แหลม

วธิ ีทาํ
1. นําลกู มะกรูดขนาดกาํ ลงั ดมี าผา่ คร่ึง จากนน้ั นําดอกบานไม่รูโ้ รยหลาย ๆ ดอก มาตัดกา้ นออกแลว้ เสยี บไม้

กลัดเข้าไป พอเสรจ็ เรยี บรอ้ ยแล้วกน็ าํ ไปปักบนลูกมะกรูดที่หนั่ ไว้ โดยใหค้ ว่ํามะกรูดเอาด้านท่ีผ่าลง จากนนั้ กป็ ัก
ตรงกลางด้วยดอกบานไม่รูโ้ รยสมี ว่ ง 1 ดอก แล้วลอ้ มด้วยดอกบานไม่รู้โรยสีขาว 1 ช้นั ตอ่ ไปก็ปกั ดอก
บานไม่รู้โรยสมี ่วงลอ้ มเข้าไปอีก 1 ชั้น

2. นําใบเตยมาตัดให้มคี วามยาวประมาณ 3 นิว้ ครงึ่ แล้วตดั แกนกลางออกจนไดเ้ ป็นใบเตยเลก็ ๆ โดยให้
เตรยี มไวห้ ลาย ๆ ใบ เพื่อนํามาพับเป็นกรวยหรือพับใหป้ ลายทัง้ สองด้านทบกนั เสร็จแล้วก็นําไปใส่ไวร้ อบดอก
บานไมร่ ู้โรยคล้ายกบั กระทง โดยใชไ้ ม้กลัดเสยี บไวใ้ ห้แนน่

3. หลังจากนั้นให้นาํ ไม้แหลม 2 ไม้ เสียบบรเิ วณดา้ นล่างของดอก พร้อมกบั นําใบเตยพับครง่ึ 2 ใบ มาห่อไม้
แหลมไว้ แล้วใชห้ นังยางรดั และตดั ปลายใหเ้ สมอ

4. นําใบเตย 7 ใบ วางซ้อนเรียงกนั แบบกระจายออกไป แล้วนําดอกบานไม่รู้โรยที่เตรียมไวว้ างทบั ลงไปตรง
กลาง จากนั้นพับใบเตยดา้ นข้างเข้าหากนั พรอ้ มใชห้ นังยางมดั ใหแ้ น่นพอดี แลว้ ก็นาํ ใบเตยพบั ครง่ึ มาใสป่ ิดไวท้ ้งั
ด้านหนา้ และดา้ นหลัง ใชห้ นังยางมดั ให้สวย ๆ ตัดปลายออกใหเ้ สมอกัน

23

5. วธิ จี ดั ดอกรกั ใบเตย

วสั ดุอปุ กรณ์

ดอกรัก ใบเตยหอม

กรรไกร เคร่ืองเย็บกระดาษ

ไมแ้ หลม

วิธีทํา

1. เตรียมดอกรักด้วยการนําไมแ้ หลมเสยี บเข้าไปแบบไม่ให้ปลายโผลอ่ อกมาท้ายดอก เสร็จแล้วกม็ าเรม่ิ ทํา

โดยนาํ ใบเตย 2 ใบ เรยี งซ้อนกนั แล้วตดั ใหม้ คี วามยาว 40 เซนตเิ มตร ก่อนจะเยบ็ ท้ังสองเขา้ ดว้ ยกัน โดยเยบ็ ให้

เว้นระยะจากปลายดา้ นบนไว้ 20 เซนตเิ มตร

2. หลงั จากนั้นก็นําใบเตยใบใหมม่ าตัดให้มีความยาว 12 เซนตเิ มตร พร้อมทงั้ ตดั แกนกลางออก แลว้ พับเป็น

กรวยแหลมหรือหรือพับให้ปลายทง้ั สองด้านทบกนั หลงั จากน้ันกน็ าํ ไปติดไว้บนใบเตย 40 เซนตเิ มตรท่เี ตรียมไว้

โดยให้เวน้ ระยะหา่ งจากด้านบนตามเหมาะสม เยบ็ ใหเ้ รยี บร้อย

3. เสรจ็ แลว้ พบั ใบเตยเป็นกลบี อกี ครัง้ แลว้ วางลงไปสองฝงั่ สลบั ซา้ ย-ขวา ติดดอกรกั ตามลงไปตรงกลาง ทํา

แบบนี้ซํ้าไปเรื่อย ๆ จนได้ระยะที่พอใจ เม่อื สวยงามเหมาะสมแล้ว ก็ให้ทิง้ ท้ายดว้ ยกลบี ใบเตยตรงกลางอีก 1

กลีบ ตัดปลายให้เรยี บร้อย แลว้ กดก้านดา้ นล่างเขา้ หากัน พรอ้ มนําใบเตยยาว 12 เซนติเมตร มาพนั ใหร้ อบและ

แน่น เสร็จแล้วกเ็ ยบ็ ตดิ กัน

7. วธิ จี ดั ดอกเบญจมาศ

วสั ดอุ ปุ กรณ์

ดอกเบญจมาศ ใบเตย

กรรไกร เครอ่ื งเย็บกระดาษ

วธิ ีทํา

1. อันดบั แรกให้เตรียมตดั ใบเตยยาวประมาณ 3 น้วิ ครึ่ง พร้อมตัดแกนตรงกลางออก จากนั้นนาํ มาพับเปน็

กลีบ แลว้ แปะลงบนใบเตยยาวเตม็ ใบ โดยใหเ้ หลือดา้ นบนไว้ 9 นว้ิ เย็บให้เรียบร้อย หลงั จากนั้นก็พับเป็นกลีบอกี

2 กลีบ แลว้ นาํ ไปวางทบั กันแบบแยกเป็นแฉกสองขา้ งซา้ ย-ขวา

2. ใส่ดอกเบญจมาศลงไป 1 ดอก เสรจ็ แล้วพับกลีบมาใส่อกี 2 กลีบ แบบแยกสองขา้ งซ้าย-ขวา จากนน้ั ก็พับ

กลีบอีก 1 กลบี มาใส่ไวต้ รงกลาง ตามด้วยอกี 2 กลีบ ซ้าย-ขวา แต่ใหว้ างตํา่ ลงกว่าเดิมนดิ หนึ่ง พอเสร็จ

เรยี บร้อยกใ็ สด่ อกเบญจมาศลงไปอีก 1 ดอก เสรจ็ แล้วทาํ แบบเดมิ ซา้ํ แล้วกต็ ามดว้ ยดอกเบญจมาศดอกสุดทา้ ย

จากน้ันก็ตามดว้ ยกลบี ใบเตย 3 กลีบ โดยวางแยกเปน็ 3 แฉก

3. เมอ่ื ติดเสรจ็ เรียบรอ้ ยแลว้ ให้นําใบเตย 2 ใบ วางซอ้ นกัน แลว้ นําไปซ้อนใตใ้ บเตยทต่ี ิดกลบี ใบเตยและ

ดอกเบญจมาศไว้ เย็บตดิ กนั ใหแ้ น่นดี จากนัน้ นําใบเตย 1 ใบ มาพับเปน็ ดอก

4. สุดท้ายนาํ ไปวางต่อท้ายกลบี ใบเตยและดอกเบญจมาศ จากน้นั ก็บบี บริเวณด้านล่างดอกกหุ ลาบเข้าหากนั

แลว้ นาํ ใบเตยท่ตี ัดแกนตรงกลางเรียบรอ้ ยแล้วมาพันทบเข้าไป และเยบ็ ให้ติดกัน

24

8. วธิ พี ับใบเตยกหุ ลาบ
วสั ดุอปุ กรณ์

 ใบเตยหอม
 หนังยาง
วธิ ีทาํ
1. ล้างทาํ ความสะอาดใบเตยหอม จากน้นั ก็
นํามาพบั เป็นดอกกหุ ลาบหลาย ๆ ขนาด โดย
ขั้นตอน คือ นาํ ใบเตยมา 1 ใบ เว้นโคนไวป้ ระมาณ 10 เซนตเิ มตร แลว้ พับทบลงมา จากนัน้ พับด้านบนลงไป
ทางดา้ นหลัง และพบั ดา้ นข้างทบเข้ามาดา้ นใน โดยจะมีเส้นแกนตรงกลางเปน็ แนวบอก เสร็จแลว้ กห็ มนุ ดา้ นข้าง
เขา้ มาเล็กน้อย พอใกล้สุดขอบตามแนวกว้างกใ็ ห้พบั ดา้ นบนลงไป ใหห้ มนุ แลว้ พบั อยา่ งน้ีไปเรอ่ื ย ๆ จนสวยงาม
พอใจ
2. ใช้หนงั ยางมดั ใหแ้ นน่ และตดิ โคน จะตัดปลายใบเตยทเี่ หลอื ท้งิ หรือยกขึน้ มาเป็นกลีบดอกกไ็ ด้ โดยถา้ หาก
ใครอยากใหด้ อกใหญ่ขนึ้ กวา่ เดิม กใ็ หท้ ําตามข้นั ตอนแรก แต่พอใบเตยใกลจ้ ะหมดแล้ว ใหน้ ําใบเตยใบใหม่มาตัด
มมุ เฉียง แลว้ สอดเขา้ ในตามชอ่ งของใบเดมิ เสรจ็ แล้วกห็ มุนและพับ ๆ ต่อไปเรอ่ื ย ๆ จนเสร็จแล้วจงึ ใช้หนงั ยางมัด
3. เมือ่ เตรียมดอกกุหลาบเรียบร้อยแล้วกน็ าํ มาเขา้ ชอ่ โดยขั้นแรกใหน้ ําใบเตย 3 ใบ เรยี งไขว้ทับกัน หลงั จาก
นั้นนําดอกกหุ ลาบวางไว้ตรงกลาง 1 ดอก แลว้ ใช้หนงั ยางมัด ตามดว้ ยดอกกหุ ลาบอีกสองดอก โดยใหใ้ ส่เย้ืองลง
มาข้างล่างอีกหนึ่งชนั้ แล้วใชย้ างมัดเหมือนเดิม ต่อมากใ็ ส่ดอกกหุ ลาบเข้าไปอีกสามดอก โดยใหเ้ ยอ้ื งลงมา
ขา้ งล่างอีกหนึ่งชัน้ แล้วใชย้ างมดั เหมือนเดมิ หลงั จากนน้ั กเ็ พ่ิมดอกกุหลาบเขา้ ไปอีกชน้ั แตใ่ นชัน้ นี้ใหเ้ พ่ิมใบเตย
ใบใหม่เข้าไปที่สองฝง่ั ซ้าย-ขวา ด้วย โดยเคล็ดลบั ง่าย ๆ ให้เรียงดอกกุหลาบจากเล็กลงมาใหญ่ สดุ ท้ายกต็ ัดปลาย
ใหส้ วยงามเสมอกนั พร้อมตดิ กา้ นแขง็ เข้าไปและใช้หนงั ยางรดั เทา่ นี้ก็เสร็จสมบรู ณ์

25

บทที่ 3

วิธดี าํ เนนิ งาน

โครงการสง่ เสริมสขุ ภาพจติ ผสู้ งู วยั มขี นั้ ตอนดงั นี้
1.ประสานงานกับภาคีเครือข่าย/สาํ รวจความตอ้ งการ
2.เสนอโครงการ
3.ดําเนินงาน
4.การวิเคราะห์ข้อมูล/สรุปผลการดําเนินงาน

1.ประสานงานกบั ภาคเี ครือขา่ ย/สาํ รวจความต้องการ
กศน.ตําบลหวั ถนน ไดด้ าํ เนนิ การประสานงานภาคีเครือขา่ ยประกอบด้วย โรงพยาบาลส่งเสรมิ สขุ ภาพ

ตําบลหวั ถนน และชมรมผสู้ ูงอายุ ตําบลหวั ถนน เพ่ือสาํ รวจความต้องการของกล่มุ เปาู หมายและนาํ มาวางแผน
จดั ทาํ โครงการ

2. เสนอโครงการ

โดยดําเนนิ การขออนุมัติโครงการสง่ เสริมสุขภาพจิตผ้สู งู วัย

3. ดาํ เนินการจัดกิจกรรม

โครงการพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ผสู้ ูงอายตุ ําบลหัวถนน ดาํ เนินการในวันท่ี 12 มนี าคม 2564
ณ ศาลาอเนกประสงค์บา้ นหนองบก หมู่ 2 ตําบลหวั ถนน อําเภอพนัสนคิ ม จงั หวดั ชลบุรี
ผเู้ ข้าร่วมโครงการ 22 คน

4. การวเิ คราะหข์ อ้ มลู /สรปุ ผลการดาํ เนนิ งาน

การวเิ คราะห์ขอ้ มูล ใช้ค่าสถติ ิรอ้ ยละ ในการประมวลผลขอ้ มูลส่วนตวั และตัวชว้ี ัดความสําเรจ็ ของ

โครงการตามแบบสอบถามความคิดเหน็ รายข้อ แลว้ นาํ ไปแปรความหมายตามค่าระดบั เกณฑ์

เกณฑ์การประเมนิ

คา่ สถิตินอ้ ยกวา่ ร้อยละ 50 ปรับปรงุ

ค่าสถติ ิร้อยละ 50-74 พอใช้

ค่าสถิตริ อ้ ยละ 75-84 ดี

ค่าสถิตริ อ้ ยละ 85 ขน้ึ ไป ดมี าก

26

การวเิ คราะห์ข้อมลู ใช้ค่าสถติ ิรอ้ ยละ ในการประมวลผลขอ้ มลู สว่ นตัวและตัวชี้วดั ความสาํ เรจ็ ของ

โครงการตามแบบสอบถามความคิดเหน็ รายข้อ แล้วนาํ ไปแปรความหมายตามคา่ ระดับเกณฑ์กาํ หนดคา่ ลาํ ดบั

ความสาํ คญั ของการประเมินผลออกเป็น 5 ระดับ ดังน้ี

มากทีส่ ดุ ให้คะแนน 5

มาก ให้คะแนน 4

ปานกลาง ใหค้ ะแนน 3

นอ้ ย ใหค้ ะแนน 2

นอ้ ยท่สี ุด ให้คะแนน 1

ในการแปลผล ผูจ้ ดั ทาํ ได้ใชเ้ กณฑก์ ารพจิ ารณาจากคะแนนเฉล่ยี ตามแนวคิดของ บุญชม ศรีสะอาด และ

บญุ สง่ นวิ แกว้ (2535, หน้า 22-25)

4.51-5.00 หมายความว่า ดมี าก

3.51-4.50 หมายความว่า ดี

2.50-3.50 หมายความวา่ ปานกลาง

1.50-2.50 หมายความว่า น้อย

1.00-1.50 หมายความว่า ต้องปรบั ปรุง

ผู้เขา้ รว่ มโครงการจะตอ้ งกรอกข้อมูลตามแบบสอบถาม เพื่อนาํ ไปใชใ้ นการประเมนิ ผลของการจัดกจิ กรรม

ดังกลา่ ว และจะไดน้ ําไปเป็นข้อมูล ปรับปรุง และพัฒนา ตลอดจนใชใ้ นการจัดทาํ แผนการดําเนินการในปตี ่อไป

27

บทท่ี 4

ผลการวิเคราะหข์ อ้ มลู

โครงการพัฒนาคณุ ภาพชีวิตผ้สู ูงอายุ ดาํ เนนิ การในวนั ท่ี 12 มีนาคม 2564 ณ ศาลาอเนกประสงค์บา้ น
หนองบก หมู่ 2 ตําบลหวั ถนน อาํ เภอพนสั นิคม จงั หวัดชลบุรี ผูเ้ ขา้ ร่วมโครงการ 22 คน ซง่ึ ได้สรปุ รายงาน
จากแบบสอบถามความคิดเห็น ขอ้ มลู ท่ีไดส้ ามารถวเิ คราะหแ์ ละแสดงค่าสถิติ ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตวั ผตู้ อบแบบสอบถามของผ้เู ขา้ ร่วมโครงการพฒั นาคุณภาพชวี ติ ผสู้ งู อายุ

ตารางท่ี 1 ผูเ้ ข้าร่วมโครงการที่ตอบแบบสอบถามไดน้ าํ มาจาํ แนกตามเพศ ดังปรากฏตาม ตารางท่ี
1 ดังต่อไปน้ี

เพศ ความคิดเห็น

จานวนคน ร้อยละ

ชาย 0 0.00

หญิง 22 100.00

รวม 22 100.00

จากตารางที่ 1 แสดงวา่ ผู้ตอบแบบสอบถามทเ่ี ข้ารว่ มโครงการพฒั นาคุณภาพชวี ติ ผ้สู ูงอายุ
เป็นหญิง จาํ นวน 22 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 100.00

ตารางที่ 2 ผู้เข้าร่วมโครงการที่ตอบแบบสอบถามได้นํามาจําแนกตามอายุ ดังปรากฏตาม
ตารางที่ 2 ดงั ตอ่ ไปนี้

ช่วงอายุ ชาย ความคิดเห็น ร้อยละ
หญิง รวม

16 - 39 ปี 0 0 0 0.00

40 - 59 ปี 0 0 0 0.00

60 ปขี น้ึ ไป 0 22 22 100.00

รวม 0 22 22 100.00

จากตารางท่ี 2 แสดงวา่ ผตู้ อบแบบสอบถามท่ีเขา้ ร่วมโครงการพฒั นาคุณภาพชวี ติ ผู้สูงอายุ
อายุ 60 ปขี นึ้ ไป จํานวน 22 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 100.00

28

ตารางที่ 3 ผเู้ ขา้ รว่ มโครงการที่ตอบแบบสอบถามไดน้ าํ มาจาํ แนกตามอาชีพ ดังปรากฏตามตาราง
ท่ี 3 ดังตอ่ ไปน้ี

อาชีพ คว า ม คิดเ ห็ น
ชาย หญิง รวม ร้อยละ
รับจา้ ง 0 2 2 9.09
เกษตรกร 0 14 14 63.64
คา้ ขาย 0 2 2 9.09
0 4 4 18.18
อน่ื ๆ 0 22 22 100.00
รวม

จากตารางท่ี 3 แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ประกอบอาชีพอาชีพเกษตรกร จาํ นวน 14 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 63.64 อน่ื ๆ จํานวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18
อาชพี รบั จา้ ง จาํ นวน 2 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 9.09 อาชพี ค้าขาย จาํ นวน 2 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 9.09

ตารางท่ี 4 ผเู้ ข้าร่วมโครงการท่ีตอบแบบสอบถามได้นํามาจําแนกตามระดับการศึกษา
ดงั ปรากฏตาม ตารางที่ 4 ดังต่อไปน้ี

การศึกษา คว า ม คิดเ ห็ น

ตา่ กวา่ ป.4 ชาย หญิง รวม ร้อยละ
ป.4 0.00
00 0 0.00
ประถม 63.64
ม.ตน้ 00 0 18.18
ม.ปลาย 18.18
ปรญิ ญาตรี 0 14 14 0.00
รวม 100.00
04 4

04 4

00 0

0 22 22

จากตารางท่ี 4 แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ระดับการศึกษาประถม จํานวน 14 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 63.64 ม.ต้น จาํ นวน 4 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 18.18
ม.ปลาย จาํ นวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18

29

ตอนท่ี 2 ข้อมลู เกี่ยวกบั ความคดิ เหน็ ทม่ี ีโครงการสง่ เสรมิ สขุ ภาพจติ ผ้สู งู วยั จํานวน 22 ชุด ดงั ปรากฏตาม

ตารางท่ี 5 ดังต่อไปน้ี

ขอ้ ท่ี N = 22

เนอื้ หากจิ กรรม ระดบั ผล

ˉx S.D. อนั ดบั ท่ี การ

ประเมนิ

ตอนท่ี 1 ความพงึ พอใจดา้ นเนอื้ หา

1 เนือ้ หาตรงตามความต้องการ 4.40 0.51 5 ดี

2 เน้อื หาเพียงพอตอ่ ความตอ้ งการ 4.47 0.52 4 ดี

3 เนอื้ หาปจั จุบันทนั สมัย 4.53 0.52 3 ดีมาก

4 เน้อื หามปี ระโยชนต์ อ่ การนาํ ไปใชใ้ นการพฒั นาคณุ ภาพชวี ิต 4.53 0.52 3 ดมี าก

ตอนที่ 2 ความพงึ พอใจดา้ นกระบวนการจดั กจิ กรรมการอบรม

5 การเตรยี มความพรอ้ มก่อนอบรม 4.53 0.52 3 ดมี าก

6 การออกแบบกิจกรรมเหมาะสมกบั วัตถุประสงค์ 4.53 0.52 3 ดีมาก

7 การจดั กจิ กรรมเหมาะสมกบั เวลา 4.47 0.52 4 ดี

8 การจดั กจิ กรรมเหมาะสมกบั กลุ่มเปาู หมาย 4.53 0.52 3 ดมี าก

9 วิธกี ารวดั ผล/ประเมนิ ผลเหมาะสมกับวตั ถปุ ระสงค์ 4.53 0.52 3 ดีมาก

ตอนท่ี 3 ความพงึ พอใจตอ่ วทิ ยากร

10 วทิ ยากรมีความร้คู วามสามารถในเรื่องทถี่ ่ายทอด 4.60 0.51 2 ดีมาก

11 วิทยากรมีเทคนิคการถ่ายทอดใชส้ อื่ เหมาะสม 4.40 0.51 5 ดี

12 วิทยากรเปดิ โอกาสให้มสี ว่ นรว่ มและซกั ถาม 4.60 0.51 2 ดีมาก

ตอนท่ี 4 ความพงึ พอใจดา้ นการอาํ นวยความสะดวก

13 สถานท่ี วสั ดุ อุปกรณ์และส่งิ อํานวยความสะดวก 4.40 0.51 5 ดี

14 การส่ือสาร การสร้างบรรยากาศเพอ่ื ให้เกิดการเรยี นรู้ 4.60 0.51 2 ดีมาก

15 การบริการ การช่วยเหลอื และการแกป้ ัญหา 4.67 0.49 1 ดมี าก

รวม 4.52 0.01 ดมี าก

จากตาราง 5 พบวา่ โดยเฉลี่ยแล้ว ผเู้ ข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับ ดีมาก
เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า การบริการ การช่วยเหลือและการแก้ปัญหา (xˉ=4.67) เป็นอันดับ 1 วิทยากรมีความรู้
ความสามารถในเรอ่ื งท่ีถา่ ยทอด,วิทยากรเปิดโอกาสให้มสี ่วนร่วมและซกั ถาม,การส่อื สาร การสร้างบรรยากาศเพ่ือให้เกิด
การเรยี นรู้ (ˉx=4.60) เปน็ อนั ดบั 2 เน้ือหาปัจจบุ นั ทันสมัย,เน้ือหามีประโยชน์ต่อการนําไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต,
การเตรียมความพร้อมก่อนอบรม,การออกแบบกิจกรรมเหมาะสมกับวัตถุประสงค์,การจัดกิจกรรมเหมาะสมกับ
กลุ่มเปูาหมาย,วิธีการวัดผล/ประเมินผลเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ (ˉx=4.53) เป็นอันดับ 3 เน้ือหาเพียงพอต่อความ
ต้องการ,การจดั กจิ กรรมเหมาะสมกบั เวลา (ˉx=4.47) เป็นอันดับ 4 เน้ือหาตรงตามความต้องการ,วิทยากรมีเทคนิคการ
ถา่ ยทอดใชส้ ื่อเหมาะสม,สถานท่ี วสั ดุ อุปกรณ์และส่งิ อํานวยความสะดวก (ˉx=4.40) เปน็ อันดับสุดท้าย

30

ตารางท่ี 6 แสดงคา่ รอ้ ยละของระดับความพงึ พอใจที่ได้รบั ตอ่ การร่วมกิจกรรม

ประเด็นท่ีประเมิน ระดับการประเมิน

ดีมาก ดี พอใช้ ควรปรับปรุง ต้องปรับปรุง

จานวน ร้อยละ จานวน ร้อยละ จานวน ร้อยละ จานวน ร้อยละ จานวน ร้อยละ

1.ทา่ นได้รบั ความร้เู กี่ยวกับการส่งเสรมิ 11 50.00 10 45.45 1 4.55 0 0.00 0 0.00
สุขภาพจิตในผู้สูงวยั ในระดับใด

2.ทา่ นได้รบั ความรูเ้ กีย่ วกับการวิธีการ 18 81.82 4 18.18 0 0.00 0 0.00 0 0.00
หา่ งไกลโรคซึมเศร้าในระดับใด

3.ทา่ นคิดว่าโครงการนี้มีประโยชน์ต่อทา่ น 18 81.82 3 13.64 1 4.55 0 0.00 0 0.00
ในระดับใด

4.ทา่ นคิดว่าความรทู้ ่ีได้รบั ในโครงการนี้

สามารถนาไปปรับใชใ้ นชีวิตประจาวนั ได้ใน 16 72.73 6 27.27 0 0.00 0 0.00 0 0.00

ระดับใด

5.ทา่ นคิดวา่ วิทยากรมีความสามารถใน 16 72.73 6 27.27 0 0.00 0 0.00 0 0.00
การถ่ายทอดความรรู้ ะดับใด 17 77.27 5 22.73 0 0.00 0 0.00 0 0.00

6.ทา่ นคิดว่าสถานท่ีในการจดั กิจกรรมมี
ความเหมาะสมเพยี งใด

(1) รวม 96 34 20 0
(2) = (1) Xคะแนนเต็มของแต่ละช่อง 480 136 60 0
622
(3) = ผลรวมของความพึงพอใจ สรุป 28.27
(4) = (3) ¸ จานวนคน
(5) = (4) X 100 ¸ 94.24
จานวนข้อXคะแนนเต็มสูงสุด
บรรลุ

31

จากตารางท่ี 7 แสดงวา่ ผู้ตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมรี ะดับความพึงพอใจกับประเด็นท่ี
ประเมิน ดังต่อไปนี้

ประเดน็ ที่ 1 “ทา่ นไดร้ ับความร้เู ก่ียวกบั วิธสี ่งเสริมสขุ ภาพจติ ผู้สูงวยั ในระดบั ใด” ผู้ตอบแบบสอบถาม
ร้อยละ 50.00 มรี ะดับของความพึงพอใจในระดบั “ดมี าก” ร้อยละ 45.45 มีระดับความ พึงพอใจในระดับ
“ด”ี รอ้ ยละ 4.55 มีระดับความพงึ พอใจในระดบั “พอใช้”

ประเด็นท่ี 2 “ท่านได้รับความรู้เก่ียวกับวิธีการห่างไกลโรคซึมเศร้าในระดับใด” ผู้ตอบแบบสอบถาม
ร้อยละ 81.82 มีระดบั ของความพงึ พอใจในระดบั “ดีมาก” รอ้ ยละ 18.18 มรี ะดบั ความพึงพอใจในระดับ “ดี”

ประเด็นท่ี 3 “ท่านคิดว่าโครงการนี้มีประโยชน์ต่อท่านในระดับใด” ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ
81.82 มีระดับของความพึงพอใจในระดับ “ดีมาก” ร้อยละ 13.64 มีระดับความพึงพอใจในระดับ “ดี”
รอ้ ยละ 4.55 มรี ะดับความพงึ พอใจในระดบั “พอใช้”

ประเด็นท่ี 4 “ท่านคิดว่าความรู้ที่ได้รับในโครงการนี้สามารถนําไปปรับใช้ในชีวิตประจําวันในได้ระดับใด”
ผ้ตู อบแบบสอบถาม รอ้ ยละ 72.73 มรี ะดับของความพงึ พอใจในระดบั “ดีมาก” ร้อยละ 27.27 มีระดับความ
พึงพอใจในระดับ “ด”ี

ประเด็นที่ 5 “ทา่ นคิดว่าวิทยากรมคี วามสามารถในการถ่ายทอดความรใู้ นระดบั ใด”ผู้ตอบแบบสอบถาม
ร้อยละ 72.73 มรี ะดบั ของความพงึ พอใจในระดับ “ดมี าก” รอ้ ยละ 27.27 มรี ะดบั ความ พงึ พอใจในระดบั “ดี”

ประเด็นท่ี 6 “ท่านคิดว่าสถานท่ีในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมเพียงใด” ผู้ตอบแบบสอบถาม
รอ้ ยละ 77.27 มีระดบั ของความพึงพอใจในระดับ “ดีมาก” รอ้ ยละ 22.73 มรี ะดับความพึงพอใจในระดับ “ดี”

อภปิ รายผล
จากการจัดกิจกรรมผูเ้ ข้ารว่ มโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงวยั
1. ผตู้ อบแบบสอบถามท่เี ขา้ ร่วมโครงการพัฒนาคณุ ภาพชีวิตผู้สูงอายุ เปน็ หญิง จาํ นวน 22 คน

คิดเป็นร้อยละ 100.00
2. ผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 60 ปีข้ึนไป

จาํ นวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00
3. ผตู้ อบแบบสอบถามที่เข้ารว่ มโครงการพัฒนาคณุ ภาพชีวติ ผู้สงู อายุ ประกอบอาชีพอาชพี เกษตรกร

จํานวน 14 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 63.64 อ่นื ๆ จาํ นวน 4 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 18.18 อาชีพรบั จ้าง จาํ นวน 2 คน
คดิ เป็นรอ้ ยละ 9.09 อาชีพค้าขาย จํานวน 2 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 9.09

4. ผูต้ อบแบบสอบถามทีเ่ ข้าร่วมโครงการพฒั นาคณุ ภาพชีวิตผู้สงู อายุ ระดับการศึกษาประถม
จาํ นวน 14 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 63.64 ม.ต้น จํานวน 4 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 18.18 ม.ปลาย จํานวน 4 คน คิด
เปน็ ร้อยละ 18.18สรปุ ผลได้วา่ บรรลุ

32

5. . โดยเฉล่ียแล้วผูเ้ ข้ารว่ มกจิ กรรมมคี วามพึงพอใจตอ่ การจัดกิจกรรม อยู่ในระดบั ดมี าก เม่อื วิเคราะห์
เป็นรายขอ้ พบวา่ การบริการ การช่วยเหลอื และการแกป้ ัญหา (ˉx=4.67) เป็นอนั ดบั 1 วิทยากรมคี วามรูค้ วามสามารถ
ในเรอ่ื งที่ถา่ ยทอด,วทิ ยากรเปดิ โอกาสให้มีส่วนรว่ มและซักถาม,การส่ือสาร การสรา้ งบรรยากาศเพื่อให้เกิดการเรยี นรู้ (xˉ
=4.60) เป็นอันดับ 2 เนื้อหาปจั จุบันทนั สมยั ,เนือ้ หามปี ระโยชนต์ ่อการนาํ ไปใชใ้ นการพฒั นาคณุ ภาพชีวิต,การเตรยี ม
ความพรอ้ มกอ่ นอบรม,การออกแบบกจิ กรรมเหมาะสมกบั วัตถปุ ระสงค,์ การจดั กจิ กรรมเหมาะสมกบั กลมุ่ เปูาหมาย,
วิธกี ารวัดผล/ประเมินผลเหมาะสมกบั วตั ถปุ ระสงค์ (xˉ=4.53) เป็นอนั ดบั 3 เน้ือหาเพยี งพอตอ่ ความต้องการ,การจดั
กิจกรรมเหมาะสมกับเวลา (ˉx=4.47) เปน็ อันดับ 4 เนือ้ หาตรงตามความต้องการ,วิทยากรมีเทคนคิ การถ่ายทอดใชส้ ือ่
เหมาะสม,สถานท่ี วัสดุ อปุ กรณแ์ ละสิง่ อาํ นวยความสะดวก (ˉx=4.40) เป็นอันดบั สุดทา้ ย
สรุปคา่ x ทงั้ 12 ข้อมีความพึงพอใจอยใู่ นระดบั ดมี าก x = 4.52
สรุปค่า S.D. ทั้ง 12 ข้อมีความพงึ พอใจ S.D.=0.01
สรปุ ค่าเปอร์เซ็นต์ ท้ัง 12 ข้อมคี วามพึงพอใจอยทู่ ี่ 94.24 %
ความพงึ พอใจโดยรวมของผเู้ ขา้ รว่ มกจิ กรรมอยใู่ น ระดบั ดมี าก

ขอ้ เสนอแนะ
- ควรจดั กิจกรรมสง่ เสรมิ อาชีพสําหรับผูส้ ูงอายุ
- ควรจดั กิจกรรมทใี่ ห้ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกายในผสู้ ูงอายุ

33

บทท่ี 5

สรปุ อภิปรายผล ขอ้ เสนอแนะ
การจดั กจิ กรรม

โครงการพฒั นาคุณภาพชีวิตผู้สงู อายุ ดําเนินการในวันท่ี 12 มีนาคม 2564 ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้าน
หนองบก หมู่ 2 ตําบลหัวถนน อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ผู้เข้าร่วมโครงการ 22 คน ซึ่งผู้จัดทําได้
ดําเนินการตามลําดบั ข้ันดงั น้ี

วตั ถปุ ระสงค์

1. เพ่อื ให้ผ้สู ูงอายุได้รู้สาเหตุของการเกิดโรคซมึ เศร้า และแนวทางการปูองกนั โรค
2. เพอื่ ให้ผสู้ งู อายุมีกจิ กรรมท่ีทําร่วมกบั ผอู้ ืน่ เพ่อื สร้างปฏิสมั พนั ธ์กบั ผู้อน่ื
3. เพื่อให้ผสู้ งู อายุร้จู ักการออกกําลังกายทีเ่ หมาะสมกับสภาวะรา่ งกายของตนเอง

วิธดี าํ เนนิ การ

กศน.ตําบลหัวถนน ได้ดําเนินการประสานงานภาคีเครือข่ายประกอบด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตําบลบ้านหัวถนนและชมรมผู้สูงอายุ ตําบลหัวถนนเพื่อสํารวจความต้องการของกลุ่มเปูาหมายและนํามา
วางแผนจัดทําโครงการ โดยดําเนินการขออนุมัติโครงการ ดําเนินการจัดกิจกรรม ใช้เคร่ืองมือประเมินโดยให้
กลุม่ เปูาหมายทง้ั หมดทําแบบสอบถาม และสรปุ รายงานผลการจัดกจิ กรรม มีผูเ้ ข้ารว่ มโครงการ จาํ นวน 22 คน

สรปุ ผลการดาํ เนินงาน

ผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นหญิง จํานวน 22 คน
คดิ เป็นร้อยละ 100.00 ผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 60 ปีข้ึนไป
จํานวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ผู้ตอบแบบสอบถามท่ีเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ประกอบอาชพี อาชพี เกษตรกร จาํ นวน 14 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 63.64 อืน่ ๆ จํานวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18
อาชีพรบั จ้าง จํานวน 2 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 9.09 อาชพี คา้ ขาย จาํ นวน 2 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 9.09
ผู้ตอบแบบสอบถามท่ีเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ระดับการศึกษาประถม จํานวน 14 คน
คิดเป็นร้อยละ 63.64 ม.ต้น จํานวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 ม.ปลาย จํานวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ
18.18 สรปุ ผลไดว้ า่ บรรลุ

ความคิดเห็นของผเู้ ข้าร่วมกจิ กรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกจิ กรรม อย่ใู นระดับ ดมี าก เม่อื วิเคราะห์
เปน็ รายขอ้ พบวา่ การบรกิ าร การช่วยเหลอื และการแก้ปญั หา (ˉx=4.67) เปน็ อนั ดับ 1 วิทยากรมคี วามรู้ความสามารถ
ในเรอ่ื งที่ถ่ายทอด,วิทยากรเปดิ โอกาสใหม้ ีส่วนร่วมและซกั ถาม,การสอื่ สาร การสรา้ งบรรยากาศเพ่ือให้เกดิ การเรยี นรู้
(xˉ=4.60) เป็นอันดบั 2 เนื้อหาปจั จบุ ันทนั สมยั ,เนื้อหามปี ระโยชนต์ ่อการนาํ ไปใชใ้ นการพัฒนาคณุ ภาพชีวิต,การเตรียม
ความพร้อมกอ่ นอบรม,การออกแบบกจิ กรรมเหมาะสมกบั วัตถปุ ระสงค์,การจัดกิจกรรมเหมาะสมกบั กล่มุ เปาู หมาย,
วธิ ีการวดั ผล/ประเมนิ ผลเหมาะสมกับวัตถปุ ระสงค์ (xˉ=4.53) เป็นอันดบั 3 เนอื้ หาเพยี งพอต่อความตอ้ งการ,การจัด

34

กิจกรรมเหมาะสมกับเวลา (ˉx=4.47) เป็นอนั ดบั 4 เนื้อหาตรงตามความต้องการ,วิทยากรมเี ทคนคิ การถา่ ยทอดใช้สือ่
เหมาะสม,สถานที่ วัสดุ อุปกรณแ์ ละส่ิงอาํ นวยความสะดวก (ˉx=4.40) เป็นอันดบั สุดทา้ ย
สรุปคา่ x ทงั้ 12 ขอ้ มีความพึงพอใจอยใู่ น ระดับดมี าก x = 4.52
สรปุ ค่า S.D. ท้ัง 12 ข้อมคี วามพึงพอใจ S.D.=0.01
สรปุ คา่ เปอรเ์ ซน็ ต์ ทงั้ 12 ข้อมีความพึงพอใจอยู่ท่ี 94.24 %
ความพงึ พอใจโดยรวมของผู้เข้ารว่ มกจิ กรรมอยใู่ น ระดับดมี าก

อภปิ รายผล
จากการดําเนินการจัดโครงการซึง่ เป็นการวดั เจตคตกิ ารเห็นคุณคา่ ของโครงการ สรุปไดว้ า่ โครงการนี้

บรรลวุ ตั ถุประสงค์ ผ้สู ูงอายุมีความรูค้ วามเข้าใจวธิ กี ารส่งเสริมสุขภาพจติ ผสู้ ูงวัย อยู่ในระดับดี ความรู้
ประกอบดว้ ยมคี วามพงึ พอใจตอ่ โครงการนี้ในการให้ความรู้สอดคลอ้ งกับความต้องการของกลมุ่ เปูาหมาย

ขอ้ เสนอแนะ
- ควรจัดกจิ กรรมส่งเสรมิ อาชพี สาํ หรบั ผสู้ ูงอายุ
- ควรจดั กิจกรรมที่ใหค้ วามรเู้ กี่ยวกับการออกกาํ ลังกายในผ้สู งู อายุ

35

บรรณานกุ รม

การแชมพูสระผม (ออนไลน์). http://one-lifetrip.blogspot.com/2011/01/blog-post.htm l
เข้าถึงข้อมลู เม่อื วนั ที่ 15 มนี าคม 2564

กรมสุขภาพจติ “แนวปฏบิ ตั ิการบรกิ ารสขุ ภาพเร่ืองการดแู ลผสู้ ูงอายุทม่ี ีภาวะซึมเศรา้ ” กระทรวงสาธารณสุข
2560การเปล่ยี นแปลงและเตรยี มตัวเขา้ สวู่ ัยสงู อายุ (ออนไลน์). http://www.dailynews.co.th

เขา้ ถึงขอ้ มูลเมื่อวันท่ี 15 มนี าคม 2564
แนวทางการหลกี เล่ยี งหรือปูองกันการเกดิ ภาวะซึมเศรา้ ในผู้สูงอายุ(ออนไลน)์ .
http://www.pharm.chula.ac.th/physiopharm/content/activity_%20lh/6.2.9.html

เข้าถึงขอ้ มูลเมือ่ วนั ที่ 15 มนี าคม 2564
กิจกรรมนันทนาการสาํ หรบั ผู้สงู อายุ(ออนไลน)์ .http://www.
https://%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%b0%e0%b8%99%e0%b8%b310-%ผ้สู งู อายุ.

เขา้ ถงึ ขอ้ มลู เมื่อวนั ท่ี 15 มนี าคม 2564
http://www.home.kapook.com/view219303.htmlใบเตยหอมดอกไม้ไหว้พระ#ดอกไม้บชู าพระPPP
CHANNEL/PPP CHANNEL

เขา้ ถึงขอ้ มลู เม่ือวนั ท่ี 15 มนี าคม 2564

36

ภาพผนวก

37

ภาพกจิ กรรม
หลกั สตู ร โครงการพัฒนาคณุ ภาพชีวิตผู้สงู อายุ

วันท่ี 12 มีนาคม 2564
ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านหนองบก หมู่ที่ 2 ตําบลหวั ถนน อาํ เภอพนสั นิคม จงั หวดั ชลบุรี

38

คณะผจู้ ดั ทาํ

ที่ปรกึ ษา ผอู้ ํานวยการ กศน.อาํ เภอพนัสนิคม
1. นางณชั ธกัญ หมนื่ สา ครู
2. นางสาวมุทกิ า การงานดี ครูผชู้ ว่ ย
3. นางพริ ฬุ พรห์พร ทําทอง ครผู ู้ชว่ ย
4. นางสาวณภษร ศรบี ณุ ยะแก้ว ครูอาสาสมัครฯ
5.นายวชั รนิ ทร์ อดุ านนท์
หวั หน้า กศน.ตาํ บลหวั ถนน
ผจู้ ดั ทาํ รปู เล่ม
1. นางสาวทวพี ร เคนราํ

39


Click to View FlipBook Version