The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเลือกใช้เครื่องมือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by suvimolis213, 2022-04-24 23:50:27

การเลือกใช้เครื่องมือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม

การเลือกใช้เครื่องมือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม

(Knowledge Management : KM)

การเลอื กใช้เคร่ืองมือในการจัดฝึกอบรมแบบมีสว่ นร่วม

ปัจจุบันการฝึกอบรมได้รับการพัฒนา คือ ในอดีตเน้นวิทยากรเป็นจุดศูนย์กลาง ผู้ทาหน้าท่ีวิทยากร
จะต้องพดู เก่ง มีเทคนิคการสร้างอารมณข์ ันและดึงดูดผู้ฟัง วธิ กี ารนถ้ี งึ แม้ว่าในปจั จบุ นั ยังนิยมใช้กันอยู่เพราะมี
ความสะดวก แต่มีข้อจากัดคือเป็นการสื่อสารทางเดียว ถ้าวิทยากรบรรยายเก่งผู้ฟังอาจได้รับความรู้
ความสนุกสนาน แต่ว่ามีผลต่อการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมน้อยมาก ดังน้ันในปัจจุบันการฝึกอบรมจะเน้น
จุดศูนย์กลางการเรียนรู้อย่ทู ผี่ ้เู รียนมากข้ึนเพราะวธิ กี ารนี้ เปน็ กระบวนการ ท่ีมผี ลต่อการเรียนรู้ ท้งั ดา้ นความรู้
ความเขา้ ใจ ดา้ นทกั ษะ ดา้ นทศั นคติ ตามหลกั ของการฝกึ อบรม และสามารถเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมของคนได้
ดีกว่า ช่วยให้เกิดการเรียนรทู้ ่ีตรงกับความจาเป็นและความต้องการของผ้เู ข้าอบรม และการฝึกอบรมประเภท
น้ีส่วนใหญ่จะใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ และรับผิดชอบ
ต่อการเรียนรู้และมีโอกาสแลกเปลย่ี นความรูแ้ ละประสบการณร์ ว่ มกับผู้อ่ืนเสรมิ สรา้ งบรรยากาศที่เปน็ มติ ร

การที่วิทยากรกระบวนการ จะเลือกใช้เครื่องมืออะไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุประสงค์
ของการประชุมนั้นต้องการเห็นผลอะไร ผู้เข้าประชุมเป็นใคร และมีเวลามากน้อยเพียงใด สถานท่ีประชุมเป็น
เช่นไร ซึ่งคณะวิทยากรต้องร่วมกันออกแบบกระบวนการให้เหมาะสมสอดคล้องเวลา และองค์ประกอบ อ่ืนๆ
โดยจะขอยกตัวอย่างเครอื่ งมือในการฝึกอบรม ดังน้ี

1) แผนทีค่ วามคดิ

แผนท่ีความคิด หรือท่ีรู้จักกันในช่ืออ่ืน ๆ อาทิ แผนท่ีจิตใจหรือการใช้หัวลุย
เป็นคาศัพท์ที่แปลมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Mind-mapping เป็นเคร่ืองมือสาคัญในการประชุม
อยา่ งสรา้ งสรรค์ โดยเฉพาะการดาเนินการประชมุ ให้อยูใ่ นประเด็นทต่ี ้องการ และให้ทกุ คนมีโอกาสได้ถา่ ยทอด
ความคิดสู่ที่ประชุม นักคิดชาวอังกฤษ ชื่อ โทนี บูซาน (Tony buzan) ได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาแผนที่
ความคิดขึ้นมาเรียนแบบกระบวนการทางานของสมองมนุษย์ และกระบวนการคิดในหัวสมอง จากการ
ค้นคว้าวิจัยของบซู าน เขาพบว่าในหวั สมองของเรา ประกอบดว้ ย “เซลลส์ มอง” เป็นสบิ ล้านเซลล์ ทีข่ ดกันไป
มาเหมือนลวดไฟฟ้า เมื่อเราเริ่มต้นคิดเรื่องใดเร่ืองหน่ึง ประจุความคิดก็จะเร่ิมต้นทางานบริเวณเซลสมองจุด
หน่ึง ๆ แล้วแผ่กระจายต่อไปยังเซลล์สมองจุดอ่ืน ๆ เป็นวงกว้างอย่างไม่มีทิศทางชัดเจน คล้ายกับการแตก
กระจายของดอกไม้ไฟ หรือพลุ หรือการแตกกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ โดยเขาเรียกการคิดดังกล่าวว่า Radial
thinking

โทนี บูซาน เชื่อว่า เราจะสามารถคิดแบบสร้างสรรค์ได้ หากเราปล่อยให้สมองทางาน
อย่างธรรมชาติน้ันเอง และในขณะเดี่ยวกัน เราก็ควรบันทึกความคิดเหล่าน้ันด้วยแผนที่ความคิด
ซ่ึงเป็นการบนั ทึกขอ้ มลู ท่ีเรียนแบบการทางานของสมองนนั่ เอง

จากการศึกษาวิจัยเก่ียวกับการประชุม พบว่า ในการประชุมที่มีการถกเถียงกัน และ
นาเสนอความคิดกันหลากหลาย มักจะมีปัญหาในด้านต่างๆ อาทิ การจดจาเรื่องราว หรือประเด็น ต่าง ๆ ที่
นาเสนอได้น้อย การอภิปรายเร่ืองราวต่าง ๆ ขาดความเก่ียวข้อง หรือต่อเน่ืองกันตลอดจ ไม่สามารถเช่ือมโยง
เข้าด้วยกัน ให้เห็นภาพรวมของเรอ่ื งราว ตา่ ง ๆ ทั้งหมด

นอกจากน้ัน ผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ยังพบว่า
มนุษยเ์ รยี นรู้เรื่องราวต่างๆ ผ่านสัมผัสทง้ั 5 โดยเราเรยี นรู้จากการใชต้ าดูถึง 83 % ในขณะท่ีเรียนรู้ด้วยการใช้
หฟู ังแค่ 10% เทา่ นนั้ นอกจากนน้ั มนุษย์เรียนรู้เร่ืองตา่ ง ๆ ผ่านการใชจ้ มูกดมกล่ิน 4 % ใชม้ อื สัมผสั 2 % และ
ใชป้ ากชมิ ลนิ้ รสเพียง 1%

ดังน้ันหากจะระดมความคิด หรือระดมสมองให้ได้ผล เราก็ไม่ควรฝืนธรรมชาติ ในการ
คิดแบบการแตกกระจายของดอกไม้ไฟ หรือการแตกกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ (Radial thinking) โดยผู้จัดการ
ประชุมควรปล่อยให้บุคคลแต่ละคนได้มีโอกาสคิด และนาเสนอความคิดดังกล่าวสู่ที่ประชุม ในขณะเดียวกันก็
ทาการบันทึกข้อคิดในการประชุมเหล่าน้ันด้วย “แผนทีค่ วามคดิ ” เพือ่ ให้บุคคลสามารถเหน็ ภาพรวมของข้อมูล
ต่าง ๆ ทนี่ าเสนอกันในท่ีประชุมและสามารถเสริมต่อประเด็นในการอภิปรายได้อย่างเหมาะสมและชัดเจน แผน
ที่ความคิดยังช่วยฝึกวิธีคิดท่ีเป็นระบบ (System thinking) เพราะการวาดรูป Mind map ทาให้มองเห็นการ
เช่ือมโยงแบบองค์รวมกิง่ ก้านของ Mind map เป็นองค์ประกอบของเร่อื งราวตา่ ง ๆ ได้ครบถ้วนสมบูรณ์

อปุ กรณ์สาหรับการบนั ทกึ การประชมุ ด้วย “แผนทค่ี วามคิด”

1) กระดานแผ่นใหญ่

2) กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ (Flipchart) หลาย ๆ แผน่

3) ไม้หนบี กระดาษ

4) ปากกาเมจิกแทง่ ใหม่ สแี ดง ดา นา้ เงิน เขียว ฯลฯ

5) เทปกาว

ข้ันตอนในการใชแ้ ผนท่ีความคิด

1) เอาไม้หนบี หนบี กระดาษไว้บนกระดานหรือวิธีการอน่ื ทยี่ ึดกระดาษไว้ได้ดี

2) ผู้บันทึกข้อมูล ทาหน้าบันทึกประเด็นต่าง ๆ ในการประชุมลงไปบนกระดาษ
โดยเรมิ่ ตน้ จากการเขยี นหวั เร่ืองในการประชมุ ไวบ้ ริเวณกลางกระดาษ

3) เมอ่ื มีการนาเสนอประเด็นหลกั ผู้บนั ทกึ การประชมุ จะเร่ิมใช้ปากปลายตดั

ลากเสน้ หนาออกไปจากจดุ กลางหน้ากระดาษไปในทิศทางใดก็ได้ให้เส้นหนาแตล่ ะเส้น แทนประเดน็ หลักแต่ละ
ประเดน็

4) ภายหลังจากการลากเส้นหนาดังกล่าวแล้ว ผู้บันทึกการประชุมจะจดบันทึกข้อมูล
บริเวณด้านบนของเส้นหนาดังกล่าว โดยในการบันทึกข้อมลู ดงั กล่าวหา้ มเขยี นประโยดยาว ๆ แตต่ อ้ งพยายาม
เขียนใหก้ ระชับแต่ได้ใจความครอบคลุม โดยเลือกเขียนคาหลักที่มีใจความสาคญั (Key words) หรอื วลสี าคัญ
เท่าน้ัน ในกรณีทป่ี ระโยดยาว ก็ให้ท่ีประชมุ ในกลมุ่ ช่วยกนั สรปุ เปน็ คาส้ัน ๆ

5) เมื่อมีการบันทึกประเด็นย่อย ผู้บันทึกการประชุมจะใช้ปากกาเมจิกปลายแหลม
ลากเส้นเล็กออกไปจากประเด็นหลักเก่ียวข้องกับประเด็นย่อยดังกล่าว โดยอาจลากไปในทิศทางใด ๆ ก็ได้
โดยใหเ้ สน้ เล็กแตล่ ะเส้น แทนประเดน็ ย่อยแตล่ ะประเด็น

6) บันทึกคาหลกั ท่ีเกี่ยวข้องกับประเดน็ ย่อยดังกล่าว ในบรเิ วณดา้ นบนของเส้นเล็กน้ัน

7) หากมีประเด็นเสริมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นย่อยดังกล่าว ก็ลากเส้นบาง ๆ ต่อจาก
เส้นเลก็ ออกไปในทศิ ทางใดๆก็ไดแ้ ละบนั ทกึ คาหลักทีเ่ ก่ียวข้องกบั ประเด็นเสรมิ นน้ั ไวเ้ หนอื เสน้

8) หากต้องการสีสันที่สวยงาม และสามารถจัดหมวดหมู่ หรือแยกแยะประเด็นได้
ชัดเจน อ่านง่าย ผู้บันทึกการประชุมอาจบันทึกความคิดเก่ียวกับประเด็นหลกั ประเด็นย่อย และประเด็นเสริม
ด้วยปากกาสตี า่ งกัน

9) หากสังเกตให้ดี เราอาจพบว่า การลากเส้นดังกล่าว คล้ายกับการแตกกิ่ง
ของตน้ ไม้ที่มกี งิ่ และก้านใหญ่เล็กท่ีเชอ่ื มโยงกัน และแผ่กระจายออกไป

10) ผู้บันทึกการประชุม อาจวาดรูปภาพเป็นสัญลักษณ์แทนข้อความต่างๆ ก็ได้ (หรือ
มีทั้งภาพและข้อความส้ัน ๆ ก็ได้) การใช้ภาพวาดจะช่วยสร้างสีสันให้กับข้อมูล ช่วยกระตุ้นความสนใจของ
ผอู้ ่าน/ผฟู้ งั ตลอดจนทาให้ผู้อ่าน/ผู้ฟังประทบั ใจและจดจาข้อความตา่ ง ๆ ได้ง่าย และนาน

11) หากต้องการแตกประเด็นใดลงไปในรายละเอียดเฉพาะ ก็อาจนาเรื่องดังกล่าวมา
บันทึกในกระดาษแผ่นใหม่ โดยเขียนประเด็นหลักท่ีต้องการลงรายละเอียดอยู่ตรงกลางหน้ากระดาษแล้วแตก
ประเด็นย่อย ๆ ออกไปคล้ายกงิ่ กา้ นของตน้ ไม้

12) ในกรณีต้องการจัดความสาคัญของประเด็นหลักต่าง ๆ ผู้ดาเนินการประชุม
อาจแจกกระดาษสตกิ เกอร์สีให้แกผ่ ูเ้ ข้าร่วมประชมุ เพื่อติดในประเด็นทต่ี นเหน็ วา่ สาคญั

13) อาจต่อกระดาษ ฟลิปชาร์ตหลาย ๆ แผ่นเพื่อทาแผนที่ความคิดที่มีขนาดใหญ่
กว้างขวางย่ิงขึน้ เพื่อให้สามารถบนั ทึกข้อมลู ไดห้ ลากหลายมากข้นึ

ประโยชน์ของแผนท่คี วามคิดในการประชมุ

1) ชว่ ยในการเก็บบนั ทกึ ความคดิ ของผเู้ ข้ารว่ มประชุมทุกคนได้ครบถ้วน

2) ช่วยให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเห็นการบันทึกข้อมูล หรือเรื่องราวที่ตนนาเสนอ
สทู่ ่ีประชมุ ลงบนเอกสารอย่างชดั เจน

3) ช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมจดจาเร่ืองราวต่าง ๆ ในการประชุมได้ง่ายและนานขึ้น
ตลอดจนสอดคล้องกับวิธีการเรยี นรู้ของบุคคล ทีช่ อบภาพสีสันต่าง ๆ ชว่ ยใหผ้ ู้ฟงั การนาเสนองานสามารถเห็น
ภาพรวม และปะติดปะต่อรายละเอยี ดต่าง ๆ เข้าด้วยกันงา่ ยขนึ้

เทคนิค Mind map ใช้ได้กับเกือบทุกเร่ืองขึ้นอยู่กับว่า ผู้นาการประชุมจะตั้งโจทย์ใน
การระดมความคิดเร่ืองอะไรก็สามารถที่จะใช้ Mind map เป็นเคร่ืองมือได้ ใช้ในการสรุปการประชุมเพ่ือให้ผู้
เขา้ ประชุมเห็นภาพรวมของการประชุมก็ได้ อาจเรยี ก Mind map เปน็ เคร่ืองมือสารพดั ประโยชน์

2) เทคนิคการวาดรูป

การวาดรูปเป็นเคร่ืองมือท่ีใช้ในการระดมความคิดท่ีใช้มากในการประชุม ตาม
กระบวนการ A-I-C และสามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย เป็นกิจกรรมที่ฝึกการใช้สมองซีกขวา การใช้จิตนาการ
และสร้างภาพตามจินตนาการออกมา การวาดรูปจะกระตุ้นให้ท่ีประชุมใช้พลังความคิดสร้างสรรค์ได้อย่าง
เต็มที่ซึ่งรูปท่ีให้วาดอาจจะเป็นชุมชนท่ีปรารถนาจะเห็นสหกรณ์ท่ีปรารถนา จะเห็นกลุ่มอาชีพในฝัน เป็นต้น
กิจกรรมการวาดรูป จะทาให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมคิดด้วยกัน เป็นการกาหนดวิสัยทัศน์ ในอนาคตร่วมกัน เป็น
จนิ ตนาการร่วมกันของผู้เขา้ ประชุม

อุปกรณ์ท่ีใช้

1) กระดาษ A4

2) สีเทียน

3) สีเมจกิ

4) กระดาษ Flip chart / กระดาษโปสเตอร/์ ผา้ ขาว กไ็ ดแ้ ล้วแต่จะให้วาดใส่อะไร
ข้นั ตอนในการใช้เทคนิคการวาดรปู

1) แบ่งกลมุ่ ผเู้ ขา้ ประชุมตามความเหมาะสม

2) ใหผ้ ู้เข้าประชมุ ทาสมาธิ และนึกถงึ ภาพทีป่ รารถนาจะเหน็ ตามโจทยท์ ่กี าหนด

3) ใหท้ กุ คนวาดรปู ตามโจทยใ์ สก่ ระดาษ A4

4) เมื่อวาดเสร็จแล้วใหท้ กุ คนอธบิ ายภาพของตัวเองทีละคน

5) ต่อจากนั้น ช่วยกันวาดรูป โดยรวมจินตนาการของทุกคนในกระดาษแผ่นใหญ่

6) นาเสนอภาพของกลุม่ ต่อทีป่ ระชมุ
ประโยชน์ของเทคนคิ การวาดรปู

การให้วาดรูปร่วมกันเป็นการฝึกการร่วมกันคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมกันทางาน และร่วม
รับผลประโยชน์ และความภาคภูมิใจ ในผลงานที่กลุ่มได้ทาร่วมกัน เป็นการกาหนดเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์
ร่วมกนั ซึ่งถา้ ต้องการทจี่ ะให้เกดิ ดงั ภาพทป่ี รารถนา ทกุ คนจะตอ้ งชว่ ยกนั พาไปให้ถงึ เปา้ หมาย ทฝ่ี นั ไว้รว่ มกนั

3) กิจกรรมหอคอยในฝัน

เป็นกิจกรรมท่ีใช้ในการหล่อหลอมฝึกทักษะการทางานเป็นทีมของผู้เข้าร่วมประชุม
ซึ่งอาจใช้เป็นกิจกรรมท่ีเร่ิมต้นการประชุมเพื่อให้ผู้เข้าประชุมคุ้นเคยการทางานเป็นทีม และบริหารจัดการ
ทรัพยากร และจัดระบบการทางานเพื่อให้งานแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และใช้ในการสะท้อนภาพ
การทางานเป็นทีมในสังคมจริงว่า ต้องมีระบบการจัดการท่ีดีจึงจะทาเสร็จทันเวลา และบรรลุเป้าหมาย คือ
เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ นอกจากน้ันการให้กลุ่มได้เล่าถึงกระบวนการทางานของกลุ่มและบทบาท
ของสมาชกิ กลุ่มว่าใครทาอะไร ก็จะทาให้เกดิ การแลกเปล่ียน ความรูใ้ นเร่ืองการบรหิ ารจดั การและสะท้อนภาพ
ลักษณะการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการพฒั นา

อุปกรณ์

1) หลอดกาแฟสตี ่าง ๆ กลุม่ ละ 150 – 200 หลอด (เท่า ๆ กนั ทุกกล่มุ )

2) เขม็ หมุด กลมุ่ ละ 1 กลอ่ ง

วิธีดาเนินกิจกรรม

1) ใหส้ มาชกิ ยืนเปน็ วงกลม แลว้ ให้เดนิ โดยใช้สมาธิ

2) สง่ั ให้จบั กลุ่ม 8–10 คน (อาจเป็นกลมุ่ ละ 8 คน หรอื 9 คน หรือ 10 คน)

3) ให้แต่ละกลุ่มน่ังเป็นวงกลม และอธิบายให้ฟังว่าทุกกลุ่มจะได้หลอดกาแฟ และเข็ม
หมุดงานของกลุ่มคือ นาของ 2 อยา่ งนีม้ าสรา้ งหอคอยใหเ้ สร็จภายใน 15 นาที และหอคอยน้ีจะตัดสินชนะเลิศ
โดยยึดเกณฑ์ 1 เกณฑ์ ประกอบกัน คือ สวยงาม ความคิด ความคงทนแข็งแรง (ทดสอบโดยการปล่อยลงจาก
ที่สูง)

4) นาของแจกทุกกลุ่มและให้ลงมือทางาน

5) หมดเวลา 15 นาที ใหแ้ ตล่ ะกล่มุ นาหอคอยมาส่งและทดสอบความแข็งแรง (เมอ่ื ทุก

กลมุ่ ส่งเสรจ็ แล้ว)

6) สมุ่ ตวั อยา่ งให้แต่ละกลุ่มเลา่ วธิ ีการทางานและบทบาทของสมาชิกกลุ่มถ้ามกี ลุ่มมาก
อาจสุ่มจากกลมุ่ ทเ่ี สรจ็ กอ่ น และเสร็จทีหลัง

7) วิทยากรสรุปกระบวนการทางานของแต่ละกลุ่ม ในเชิงภาพรวมว่าแต่ละกลุ่ม
มีกระบวนการทางานอย่างไร ซ่ึงส่วนใหญ่ก็จะเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการ คือมีการวางแผน แบ่งงาน
และช่วยกันทางานจนเสร็จ ส่วนบทบาทก็จะมีท้ังท่ีช่วยคิด ช่วยทา ช่วยส่ังแต่ไม่ทาก็มี หรือบางคนคอย
ติอย่างเดียว ไม่ทา บางคนคอยชมคอยเป็นกาลังใจ บางคนคิดออกแบบแต่ไม่ค่อยได้ลงมือทา บางคนไม่คิดแต่
สั่งให้ทาอะไรก็ทาเต็มที่ ซึ่งลักษณะการทางานพัฒนาท่ตี ้องอาศัยการเสียสละก็เป็นแบบน้ี ซ่ึงวิทยากรควรสรุป
ให้เป็นภาพแห่งความจรงิ ของสงั คมวา่ เป็นแบบนี้ เพือ่ คนทางานหรอื นักพฒั นาจะได้ไม่ท้อถอย

ขอ้ แนะนา

ถ้าไม่ใช้หลอด อาจใช้ไม้เสียบลูกช้ินและตอกแทนหลอดกับเข็มหมุดก็ได้ โจทย์ท่ีให้
สร้างหอคอย อาจเปล่ียนเป็น สร้างบ้าน สร้างสหกรณ์ สร้างโรงเรียน สร้างแท็งค์น้า ก็แล้วแต่วิทยากร
จะออกแบบ แต่สรุปบนพน้ื ฐานประเดน็ เดียวกัน

4) แผนผังใยแมงมงุ

เป็นเคร่ืองมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ประสิทธิภา พการทางานขององค์กรว่ามี
ประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด โดยการพิจารณาจากสภาพท่ีเป็นอยู่จริงในปัจจุบันเพ่ือหาแนวทางในการ
ปรบั ปรงุ พฒั นาใหด้ ีขน้ึ

วธิ ีการ

1) เขยี นรูปวงกลมซอ้ นกัน 5 วง เปรียบเสมือนใยแมงมุม ตรงกลางเป็นตวั แมงมมุ

2) ให้ผู้ร่วมอภิปรายช่วยกันระบุประเด็นสาคัญของระบบ หรือโครงสร้างองค์การ
ท่ีจะทาให้การทางานขององค์การมีประสิทธิภาพ ลากเส้นออกไปจากตรงกลางหน่ึงเส้น แทนหนึ่งประเด็น
เขยี นช่อื ประเด็นไวน้ อกใยแมงมมุ

3) ให้คะแนนแต่ละประเด็น (ระดับคะแนน 1 – 5 ) แล้วลากเส้นเชื่อมกันระบายสี
พ้นื ทภี่ ายในเส้นเช่อื ม

4) ควรมีการเปรียบเทียบกับองค์การท่ีทางานประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดย
แยกสขี องเส้นเชื่อมและพื้นทภ่ี ายในเส้นเช่อื มให้ต่างกัน

5) วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยของแต่ละองค์การ และวิเคราะห์หาแนวทาง
ปรับปรุงประเด็นท่ีมีระยะทางถึงจุดศูนย์กลางส้ัน และรักษาระดับของประเด็นท่ีมีระยะทางถึงจุดศูนย์กลางยาว
เพื่อขยายพ้นื ทข่ี องเส้นใยขององค์การออกไป

ขอ้ แนะนา

อาจมีการเปรียบเทียบระหว่างองค์กร เช่น ระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนระหว่างสหกรณ์
ด้วยกัน หรือสหกรณ์กับ ธกส. ถ้าจะมีการเปรียบเทียบควรเลือกองค์กรที่มีลักษณะงานขนาดใกล้เคียงกัน มี
งานลักษณะเดียวกันและควรมีความเป็นกลางในการให้คะแนนไม่ลาเอียงเข้าข้างตนเอง เพ่ือที่จะนาไปสู่การ
พฒั นาองค์กรไดอ้ ยา่ งแท้จริง

5) กิจกรรมต้นไม้ปญั หา

ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาว่ามีปัญหาในเรื่องใดบ้าง อาจจะเป็นปัญหาของ
สังคมไทย ปญั หาในการพัฒนาสหกรณ์ ปัญหาของชมุ ชนวา่ มปี ัญหาอะไรบ้าง และมีสาเหตจุ ากอะไร ฝกึ ให้
ผู้เข้าประชุมสะท้อนปัญหาและสืบสาวหาสาเหตุของปัญหาฝึกการวิเคราะห์ปัญหาให้ถูกต้องเพราะ คน
ส่วนใหญ่จะสะท้อนปรากฏการณ์ของปัญหาได้เก่งแต่วิเคราะห์หาสาเหตุไม่เป็น แต่ถ้าหลายคนช่วยกัน
วเิ คราะหจ์ ะทาให้มองเห็นปัญหาแบบองคร์ วม และแยกแยะประเด็นได้ถกู ตอ้ ง หลายปญั หามรี ากจาก ราก
เดียวกัน แก้จุดเดียวแก้ได้หลายปัญหาพร้อมกัน ถ้าเข้าใจและมองปัญหาชัดเจนจะทาให้กาหนดแนวทางและ
กิจกรรมที่จะแกป้ ัญหาไดถ้ กู ต้อง

อปุ กรณ์

1) รปู ต้นไม้ ทม่ี ีสว่ นประกอบครบ คอื ประกอบด้วย ราก ลาตน้ กิ่ง กา้ น ดอก ใบ ผล ซง่ึ
อาจวาดในในผา้ หรือกระดาษก็ไดท้ ีม่ ีขนาดใหญพ่ อสมควรสงู ประมาณ 3 – 4 เมตร

2) บตั รคา

3) ปากกาเคมี

4) กระดาษกาว / เขม็ หมดุ

วธิ ีการ

1) แจกบัตรคา พร้อมปากกาเคมี ให้ผู้เข้าประชุม เขียน ถึงปัญหาตามโจทย์ ที่
กาหนด อาจจะเป็นปัญหาของชมุ ชน ปญั หาของสหกรณ์โดยเขยี นเปน็ ขอ้ ความสาคัญ (Key word) เช่น ถ้าเปน็
เรื่องท่ีเก่ียวกับปัญหาของสหกรณ์ก็อาจจะมี เช่น นโยบายไม่ชัด หนี้ค้างนาน สมาชิกเหนียวหน้ี การทุจริตใน
สหกรณ์ ราคาพืชผลตกต่า การพิจารณาความดคี วามชอบไมย่ ุติธรรม กรรมการไมเ่ สียสละ เปน็ ต้น ใหท้ กุ คนเขียน
ตามความพอใจ มากเท่าทจี่ ะมากไดเ้ ม่อื ครบเวลา ซึง่ อาจจะกาหนดให้ 15 – 20 นาที

2) ให้มายืนล้อมต้นไม้ที่วางไว้กลางห้อง ให้ทุกคนนาบัตรคาไปวางบนต้นไม้และ
จัดระบบว่าอะไรเป็นปรากฏการณ์ของปัญหา ให้ไปวางที่ผล อะไรท่ีเป็นสาเหตุก็ให้วางท่ีกิ่งก้าน ลาต้น
จนกระทัง่ ถงึ สาเหตทุ ่ีเป็นต้นเหตทุ ่แี ท้จริงใหว้ างที่ ราก

3) เมื่อวางแล้วก็ให้ช่วยกันวิเคราะห์ว่าบัตรคาแผ่นใด ควรเป็นผล ดอก ก่ิง ลาต้น
จนกระทั่งถึงรากอภปิ รายและปรบั ตาแหนง่ บัตรคา จนพอใจ ตดิ ดว้ ยเขม็ หมุดหรือกระดาษกาว ผกู ต้นไม้ กบั ท่ี
สูงเพ่อื ให้ตน้ ไม้ยืนต้นตัง้ ตรง

4) วทิ ยากรสรุปภาพรวมของปญั หา และสาเหตุ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการทางความคิดเพื่อการเติบโต
ถือเป็นกุญแจสาคัญของความสาเร็จในการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือสร้างหรือเพ่ิมพูนความรู้ ความเข้าใจ
ทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ และทัศนคติเก่ียวกับงานในหน้าท่ีหรืองานในอาชีพเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ให้สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาศักยภาพในการทางานให้มีขีดความสามารถมากข้ึน และทันกับความ
เปลีย่ นแปลง ซงึ่ เก่ยี วขอ้ งทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคลหน่ึงในสถานการณ์กลุ่ม ซง่ึ ผลของการเกี่ยวข้อง
ดังกลา่ วเป็นเหตเุ ร้าใจให้กระทาการให้บรรลุ จุดมงุ่ หมายของกลุ่มน้ัน กบั ทั้งทาใหเ้ กิดความสว่ นร่วมรับผิดชอบ
กบั กลมุ่


Click to View FlipBook Version