The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sasipaa.25, 2021-03-15 12:11:23

ไซรัปลำไย

ไซรัปลำไย

ไซรยั ลำไย
Longan syrup

ศศิภา ชมภวู นั

โครงการนีเ้ ปน็ สว่ นหนงึ่ ของการศึกษาตามหลกั สูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชัน้ สูง

สาขาวิชาการโรงแรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมทอ่ งเทย่ี ว
วิทยาลัยอาชีวศกึ ษาเชยี งใหม่
ปีการศกึ ษา 2563

ไซรยั ลำไย
Longan syrup

ศศิภา ชมภวู นั

โครงการนีเ้ ปน็ สว่ นหนงึ่ ของการศึกษาตามหลกั สูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชัน้ สูง

สาขาวิชาการโรงแรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมทอ่ งเทย่ี ว
วิทยาลัยอาชีวศกึ ษาเชียงใหม่
ปีการศกึ ษา 2563



ใบรบั รองโครงการ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชยี งใหม่

เร่อื ง ไซรปั ลำไย
โดย นางสาวศศภิ า ชมภูวนั

ได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
สาขาวชิ า การโรงแรม ทวิภาคี ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเท่ยี ว

…………………………หัวหน้าแผนกวชิ าการโรงแรม …………………………….รองผูอ้ ำนวยการฝ่าวิชาการ
(นางอัปสร คอนราด) (นายณรงค์ศกั ดิ์ ฟองสินธ์)ุ
วนั ท่ี……..เดือน……………พ.ศ………… วันที่……..เดอื น……………พ.ศ…………

คณะกรรมการสอบโครงการ

……………………………………………………. ประธานกรรมการ
(นายทินกร ตบิ๊ อนิ ถา)

……………………………………………………. กรรมการ
(นางสาวนพรรณพ ดวงแก้วกลู )

……………………………………………………. กรรมการ
(นางสาวพชิ ญาภา นวิ รตั น์)



กติ ตกิ รรมประกาศ

โครงการไซรัปลำไย ของนักศึกษาแผนกวิชาการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ฉบับนี้
สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเนื่องจากได้รับความกรุณา ความอนุเคราะห์ การสนับสนุน และการให้คำแนะนำ
แนวทางในการดำเนินจากหลายทา่ น

ขอขอบพระคุณ นายทินกร ติ๊บอินถา ครูที่ปรึกษาวิชาโครงการ ที่ให้คำปรึกษาโครงการแนะนำ
และให้ข้อคิดต่าง ๆ ในการทำโครงการ และจุประกายในการศกึ ษาเรื่องน้ี ตลอดจนการช้ีแนะ การจัดทำ
ข้นั ตอน รวมท้งั การจดั ทำรูปเลม่ ตลอดจนแก้ไขข้อบกพรอ่ ง จนทำรายงานโครงการฉบับนเี่ สรจ็ สมบูรณ์

ขอขอบพระคุณ ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจทุกคนที่สละเวลาอันมีค่าช่วยเหลื อและ
อนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถาม จนทำให้โครงการฉบับนี่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี รวมถึงผู้มีส่วน
เก่ยี วขอ้ งทุกท่านที่เป็นกำลังสำคัญในการให้คำปรึกษา เปน็ กำลังใจและให้ความชว่ ยเหลือตลอดมาจนทำ
รายงานเลม่ นีส้ ำเร็จลุล่วงไปดว้ ยดี สุดท้ายนี้ผู้จัดได้คาดหวงั ว่า โครงการน้ีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ท่ีสนใจไม่
มากกน็ ้อย และหากโครงการชิ้นน้ีมีขอ้ ผิดพลาดประการใดทางผู้จดั ทำโครงการใครข่ อน้อมรับและขออภัย
มา ณ ท่ีนี้ด้วย

นางสาวศศภิ า ชมภูวัน



ชือ่ : นางสาวศศิภา ชมภวู นั
ช่ือโครงการ : ไซรปั ลำไย
สาขาวชิ า : การโรงแรม
ประเภทวิชา : อตุ สาหกรรมท่องเที่ยว
อาจารย์ทีป่ ระจำวิชาโครงการ : นายทินกร ตบ๊ิ อนิ ถา
อาจารย์ทปี่ รึกษาวชิ าโครงการ : นายทินกร ตบิ๊ อนิ ถา
ปีการศึกษา : 2563

บทคัดย่อ

โครงการเรื่อง ไซรัปลำไย มวี ัตถปุ ระสงคเ์ พื่อผลติ ซรัปลำไย เพอ่ื ศกึ ษาความพึงพอใจของผู้บริโภค
ไซรัปลำไย โดยมีกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย
พิจารณาจากการตัดสินใจของผวู้ ิจัยเอง ลักษณะของกลมุ่ ที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ
กลุ่มผทู้ ดลองบริโภคไซรปั ลำไย 50 คน ระหวา่ งวนั ท่ี 7 ธันวาคม ถึงวนั ที่ 12 มนี าคม 2564 เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบบันทึกผลการทดลอง แบบสอบถามความพึงพอใจของกระเป๋าใส่ขวดน้ำ
ผ้าลายเทียน ผลการดำเนินงานผู้ศึกษาพบว่า พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็น
ร้อยละ 86 ขอ้ มลู ส่วนบคุ คลด้านอายุ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามสว่ นใหญ่อยู่ในชว่ งอายุ 15-20 ปี คิดเป็น
ร้อยละ 94 และผลการวิเคราะห์แสดงผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้บรโิ ภคไซรัปลำไย ได้สรุปผล
การวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าผลสรุปภาพรวมของความพึงพอใจของผู้บริโภคไซรัปลำไย อยู่ในระดับ มาก
ทส่ี ุด ( ̅= 45.92) เม่ือสรปุ ผลออกมาเปน็ รายข้อพบว่า ไซรัปลำไยมีกล่นิ หอม ผลการประเมนิ อยู่ในระดับ
มาก ( ̅=4.43) รองลงมาคอื สีสันของไซรัป อยใู่ นระดับมาก ( ̅=4.33) รสชาตขิ องไซรปั ลำไยอย่ใู นระดับ
มากที่สุด ( ̅=4.57) ขนาดผลิตภัณฑ์ของไซรัปลำไยมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅=4.65)
รูปแบบผลิตภัณฑ์ของไซรัปลำไยมีความสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅=4.71) บรรจุภัณฑ์มีความ
ทนั สมัย อยใู่ นระดบั มากที่สดุ ( ̅=4.67) รปู แบบผลติ ภณั ฑม์ คี วามสะอาด อยูใ่ นระดับมากทส่ี ดุ ( ̅=4.63)
ความคิดสร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์ไซรัปลำไย อยู่ในระดับมาก ( ̅=4.47) การนำทรัพยากรธรรมชาติใน
ท้องถน่ิ มาแปรรปู เพอื่ เพมิ่ มลู ค่า อยใู่ นระดบั มากท่ีสุด ( ̅=4.78) ความพึงพอใจในภาพรวมของผลิตภัณฑ์
ไซรปั ลำไย อยใู่ นระดบั มากท่สี ดุ ( ̅=4.69) ตามลำดับ

สารบญั ง

เร่ือง หน้า
ใบรบั รองโครงการ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
บทคัดยอ่ ค
สารบญั ง
สารบญั (ตอ่ ) จ
สารบัญรปู ภาพ ฉ
สารบญั ตาราง ช
บทท่ี 1 บทนำ
1
1.1 ความเปน็ มาและความสำคัญของโครงการ 2
1.2 วัตถปุ ระสงคข์ องโครงการ 2
1.3 ขอบเขตโครงการ 3
1.4 ประโยชนท์ ่คี าดวา่ จะได้รบั 3
1.5 นิยามศัพท์
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและบงานวิจัยทเ่ี กย่ี วขอ้ ง 4
2.1 ความรู้เก่ยี วกบั ลำไย 20
2.2 ความรู้เกี่ยวกบั การแปรรปู ลำไย 23
2.3 ความรเู้ กีย่ วกบั ลำไยอบแห้ง 25
2.4 แนวคดิ และทฤษฎีความพงึ พอใจ 27
2.5 ทฤษฎีและงานวจิ ยั ท่เี กย่ี วข้อง
บทที่ 3 วิธกี ารดำเนินงานโครงการ 29
3.1 การคดั เลอื กกลมุ่ ตวั อย่าง 29
3.2 เครื่องมอื ทใี่ ช้ในการดำเนินโครงการ 30
3.3 ข้นั ตอนการดำเนนิ งาน 31
3.4 การเก็บรวบรวมขอ้ มลู 31
3.5 การวเิ คราะห์และสรปุ ผล

สารบญั (ตอ่ ) จ

เร่ือง หนา้
บทท่ี 4 ผลการศึกษา
32
4.1 สรุปขัน้ ตอนการทำไซรปั ลำไย 34
4.2 ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู ส่วนบุคคล 35
4.3 ผลการวิเคราะห์ความพงึ พอใจของไซรปั ลำไย 35
4.4 การจดั ลำดบั ผลการวิเคราะห์ความพงึ พอใจของผู้บริโภคไซรปั ลำไย 37
4.5 ผลสรปุ ขอ้ เสนอแนะ
บทที่ 5 สรปุ ผลการดำเนินงานโครงการและข้อเสนอแนะ 38
สรปุ ผลการศึกษา 39
อภิปรายผล 39
ขอ้ เสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ก แบบนำเสนอขออนมุ ตั โิ ครงการวชิ าชพี
ข แบบบันทึกผลการทดลอง
ค แบบประเมินความพึงพอใจ
ง การคำนวณคา่ แบบประเมนิ ความพึงพอใจ
ประวตั ิผูจ้ ัดทำ

สารบญั รูปภาพ ฉ

ภาพที่ หน้า

2.1 ลำไย 5
2.2 ลำตน้ ลำไย 5
2.3 ใบลำไย 6
2.4 ช่อดอกลำไย 6
2.5 ดอกลำไย 7
2.6 ผลลำไย 8
2.7 เมล็ดลำไย 8
2.8 การเพาะลำไย 17
2.9 การตอนกงิ่ ลำไย 18
2.10 ลำไยอบแหง้ 19
2.11 ลำไยกระปอ๋ ง 19
2.12 ลำไยแช่งแข็ง 20
2.13 น้ำลำไย 20
2.14 ผงลำไย 21
4.1 ตม้ นำ้ เชือ่ ม 31
4.2 ตม้ น้ำเช่ือมจนเดอื ด 32
4.3 ใส่ลำไยอบแหง้ ลงไปในหมอ้ 32
4.4 ตม้ ทง้ิ ไว้ 15 นาที 32
4.5 พกั ให้หายร้อน 33
4.6 นำมากรอง 33

สารบญั ตาราง ช

ตารางท่ี หน้า
1 ตารางแสดงผลการวเิ คราะหข์ ้อมลสู ่วนบุคคลด้านเพศ 33
2 ตารางแสดงผลการวเิ คราะห์ขอ้ มลสู ว่ นบคุ คลด้านอายุ 34
3 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ความพงึ พอใจของผู้บรโิ ภคไซรัปลำไย 34
4 ตารางแสดงการจดั ลำดับผลการวเิ คราะหค์ วามพึงพอใจของผบู้ รโิ ภคไซรัปลำไย 35

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ความเปน็ มาและความสำคญั ของโครงการ

ลำไย ชื่อวิทยาศาสตร์: Dimocarpus longan (มักเขียนผิดเป็น ลำใย) มีชื่อเรียกทางพื้นบ้าน
ภาคเหนือว่า "บ่าลำไย" ชื่อภาษาอังกฤษว่า Longan อยู่ในวงศ์ Sapindaceae คือผลไม้ที่มีเปลือกสี
นำ้ ตาลอ่อน เนอ้ื ขาวอมชมพหู รืออมเหลอื ง และมีเมลด็ สีดำขา้ งใน เปน็ ผลไมท้ ีค่ นไทยรจู้ กั กันดี เพราะเป็น
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีมลูค่าการส่งออกสูงปลี ะหลายพนั ล้านบาท ลำไยเป็นผลไมใ้ นเขตกึง่ รอ้ นประเภท
ยืนต้นซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทยซึ่งจะปลูกกันมากในแถบภาคเหนือ ภาค
ตะวันออกเฉยี งเหนอื ภาคกลางและภาคใต้บางจงั หวัด โดยลำไยจะให้ผลผลิตในช่วงฤดฝู นประมาณเดือน
พฤษภาคม – กันยายน ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตที่สามารถผลิตลำไยได้ตลอดปี เนื่องจากมีพันธุ์ที่ดี
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดู การปลูกลำไยที่นิยม
ปลกู ในบา้ นเราจะแบ่งออกเปน็ 5 พวก ชนดิ แรกคือ ลำไยกะโหลก ซ่ึงเป็นพันธ์ุทมี่ ีผลใหญ่ เนอื้ หวานอร่อย
ซง่ึ กจ็ ะแบง่ แยกยอ่ ยไปอกี หลายสายพันธุ์ เชน่ อดี อ อแี ดง อดี ำ

ผู้จัดทำได้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติภายในท้องถิ่น ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮง่
จงั หวดั ลำพูน พบวา่ ลำไยคอื พืชในท้องถ่ินท่ีประชากรในชมุ ชนนยิ มปลูกกนั เป็นจำนวนมาก ซึ่งยังสามารถ
นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพ่ือเพ่ิมมูลค่าได้ด้วย เชน่ ลำไยกระป๋อง ลำไยแช่แข็ง ลำไยอบแหง้ และ
น้ำลำไย ลำไยประกอบด้วยวิตามนิ และแร่ธาตุต่าง ๆ ท่ีมีประโยชน์ตอ่ รา่ งกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน
ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรสั ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซยี ม ธาตุทองแดง ธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินบี
12 ประโยชน์ทางยาของลำไยตามสรรพคณุ แผนโบราณของไทยใชเ้ มล็ดแก้บาดแผลมีเลือดออก หา้ มเลือด
แก้ปวด สมานแผล แก้แผลมีหนอง และแก้กลากเกลื้อน ใบแก้ไข้หวัด แก้มาลาเรีย แก้ฝีหัวขาด แก้
ริดสีดวงทวาร ดอกแก้โรคเกี่ยวกับหนองทั้งหลาย รากใช้แก้เสมหะและลม ถ่ายโลหิตออกทางทวารหนกั
แก้ระดูขาวมากผิดปกติ ขบั พยาธเิ ส้นดา้ ย เปลอื กตน้ แก้เสมหะ ขบั ลมในลำไส้ แกจ้ กุ เสยี ด สมานแผล แก้
น้ำลายเหนียว เกษตรกรไทยสว่ นใหญ่นิยมขายในรูปของผลสด การตลาดของลำไยเป็นปัจจยั หนึ่งที่มีผล
ต่อปริมาณการผลิตและราคาของผลผลิต ตลาดภายในประเทศยังประสบปัญหาการจัดการผลผลิตไปสู่
ผูบ้ รโิ ภคปลายทางไมท่ ัว่ ถงึ ซง่ึ อาจเกิดจากการขนสง่ หรือการเก็บรักษาไมเ่ หมาะสม ประกอบกบั ปัจจุบันมี
การเกบ็ เกย่ี วผลผลิตนอกฤดู จึงทำใหม้ ปี ริมาณผลลำไยสดมากเกินไปในท้องตลาด ซงึ่ จะส่งผลกระทบต่อ
ความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกได้ในระยะยาว ทั้งนี้ยังสามารถนำลำไยมาประกอบเป็นอาหาร คาว
หวานได้อีกหลายชนิดและแปรรูปเป็นลำไยอบแห้ง เพื่อให้เก็บสินค้าได้นานขึ้น ผลผลิตลำไยส่วนใหญ่
สง่ ออกในรูปผลสดและอบแหง้ ไปยังตลาดหลักคือ จีน อนิ โดนเี ซยี เวียดนามและฮ่องกง แต่ตอ่ มาก็ส่งออก

2

ในรูปผลสดและอบแห้ง ไปยังตลาดหลักคือ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และฮ่องกง แต่ต่อมาก็ประสบ
ปัญหาในลกั ษณะคลา้ ยกนั คือ มลี ำไยอบแห้งล้นตลาด หรือคา้ งสต็อก

ดังนั้นทางผู้จัดทำโครงการได้เห็นถึงปัญหาที่มีลำไยอบแห้งล้นตลาดจึงมีแนวคิดการแปรรูป
ผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมเข้มข้นจากลำไย ซึ่งมีวัสดุที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นของตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง
จังหวัดลำพูน นั่นคือลำไย เพื่อนำมาเพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากรท้องถิ่นของตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง
จังหวัดลำพูน และยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งทางเลือกให้แก่เกษตรกร สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็น
ผลติ ภณั ฑ์ทเ่ี พมิ่ รายไดใ้ ห้กับชมุ ชนและเป็นแนวทางในการแกป้ ัญหาลำไยราคาตกต่ำหรอื ลน้ ตลาด ทั้งนีย้ ัง
เป็นการเพิ่มความหลากหลายในการนำผลิตภัณฑ์จากลำไย เป็นการเพิ่มมูลค่าของลำไยและสามารถ
รวบรวมขอ้ มลเู ก่ยี วกับผลิตภัณฑจ์ ากลำไยเพือ่ ให้ผู้สนใจสามารถนำไปใช้ประโยชนใ์ นดา้ นตา่ ง ๆได้

1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของโครงการ
1) เพ่อื ศึกษากรรมวิธกี ารผลิตน้ำเชอื่ มเข้มข้นจากผลลำไย และอายุการเก็บรกั ษาผลิตภณั ฑ์
2) เพื่อหาแนวทางการนำน้ำเชื่อมเข้มข้นจากลำไยไปใช้ประโยชนโ์ ดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ใน
ผลติ ภัณฑ์อาหาร
3) เพือ่ เพิม่ มลคู ่าใหก้ บั ลำไยอบแห้ง

1.3 ขอบเขตโครงการ
1) เชงิ ปรมิ าณ
- จำนวน ไซรปั ลำไย จำนวน 10 ขวด
- กล่มุ ตวั อยา่ งในการตอบแบบสอบถาม คอื กลุ่มผู้ทดลองชิมไซรปั ลำไยจำนวน 50 คน
2) เชิงคณุ ภาพ
- ผลิตภณั ฑ์หนึง่ ท่ีพฒั นามากจากลำไยลำไย ท่มี รี ูปแบบการผลติ ที่สะอาด ปลอดภยั แลt
มรี สชาติทีเ่ ขม้ ข้น
3) ระยะเวลาและสถานท่ใี นการดำเนินงาน
- ระยะเวลาดำเนนิ งาน ตัง้ แตว่ ันท่ี 17 ธันวาคม 2563 ถงึ วนั ท่ี 12 มนี าคม 2564
- สถานทดี่ ำเนินงาน วิทยาลัยอาชวี ศกึ ษาเชียงใหม่ 167 ถนนพระปกเกลา้ ตำบลศรภี ูมิ
อำเภอเมือง จังหวดั เชยี งใหม่

1.4 ประโยชนท์ ่ีคาดว่าจะได้รบั
1) ได้ผลติ ภณั ฑไ์ ซรัปลำไยเพ่อื สุขภาพทส่ี ามารถตอ่ ยอดสทู่ อ้ งตลาด
2) สามารถนำผลติ ภณั ฑไ์ ซรปั ลำไยเพอ่ื สขุ ภาพจัดจำหนา่ ย สรา้ งรายได้
3) ผ้คู นสนใจรับประทานไซรัปลำไยมากขนึ้

3

1.5 นยิ ามศัพท์
ไซรัป (Syrup) หรือมีชื่อเรียกในไทยว่า “น้ำเชื่อม” เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่นำมาปรุงแต่ง

และผา่ นกรรมวธิ ีเพอื่ ใหไ้ ด้ออกมาเป็น ของทสี่ ามารถรับประทานได้
ลำไย (Longan) เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึง่ ร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางลำต้นสีนำ้ ตาล ออก

ดอกเปน็ ช่อ สีขาวครมี ผลทรงกลมเปน็ ช่อ ผลดบิ เปลอื กสีน้ำตาล เน้อื ลำไยสีขาวหรอื ชมพู เมลด็ สดี ำ

บทที่ 2
เอกสารและงานวจิ ยั ทีเ่ ก่ียวข้อง

ในการศึกษาเร่อื งไซรปั ลำไยครง้ั น้ี ผู้จดั ทำไดศ้ ึกษาเอกสารท่ีเกี่ยวขอ้ ง เพอ่ื นำมาเปน็ แนวทางใน
การผลติ ไซรัปลำไย ดงั ต่อไปนี้

2.1 ความรเู้ ก่ียวกบั ลำไย
2.2 ความรเู้ กี่ยวกับการแปรรูปลำไย
2.3 ความร้เู กยี่ วกบั ลำไยอบแห้ง
2.4 แนวคิดและทฤษฎีความพงึ พอใจ
2.5 วิจัยที่เกีย่ วข้อง

2.1 ความร้เู กยี่ วกับลำไย
ลำไย ชื่อวิทยาศาสตร์: Dimocarpus longan มีชื่อเรียกทางพื้นบ้านภาคเหนือว่า “บ่าลำไย”

ชื่อภาษาอังกฤษว่า Longan เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นมีทรงพุ่มทึบ ลำต้นเนื้อไม้
แข็ง มีเปลือกแข็ง ใบมีลักษณะทรงรี ดอกมีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะทรงกลมเล็ก ผิว
เปลอื กบางสาก ผลอ่อนมีสนี ำ้ ตาลอมเขียว เมอ่ื ผลสกุ จะเปล่ียนเป็นสนี ้ำตาล ภายในผลจะมีเน้ือนุ่มฉ่ำน้ำ
มีสีขาวหรือสีชมพู ตามสายพันธ์ุ มีเมล็ดกลมสดี ำอยู่ข้างใน มีรสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นหอม ลำไยที่ปลูก
ในประเทศไทย มกี ารปลกู หลายสายพนั ธุ์ จะปลูกกนั มากในภาคเหนือ ลำไยท่ีมชี อื่ เสียงมากปลกู ในจังหวัด
ลำพนู นยิ มรบั ประทานอย่างมากในบ้านเรา นำรบั ประทานผลสดหรือนํามาปรงุ เปน็ ขนมหวาน เช่น ข้าว
เหนียวเปียกลําไย ยังสามารถนํามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑต์ ่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าไดด้ ้วย เช่น ลําไยกระป๋อง
ลําไยแชแ่ ข็ง ลาํ ไยอบแห้ง นำ้ ลาํ ไย และไวนล์ าํ ไย สำหรับคณุ คา่ ทางโภชนาการ พบว่าในเน้ือผลของลําไย
ประกอบดว้ ยคาร์โบไฮเดรต โปรตนี ไขมัน เส้นใย แคลเซยี ม ฟอสฟอรัส เหล็ก วติ ามนิ เอ วิตามินบี วติ ามนิ
บสี อง ไนอาซิน วติ ามนิ ซี กรดอะมิโน และน้ำตาลซงึ่ ทำให้ลําไยมีรสหวาน ได้แก่ กลโู คส ซูโครส และฟรุก
โตส ส่วนในด้านสรรพคุณ ลําไยใช้เป็นยารักษาโรคได้แก่ เป็นยาแก้ท้องร่วง รักษาโรคมาลาเรีย บรรเทา
อาการริดสีดวงทวาร ปัจจุบันพันธุ์ลำไยที่เกษตรกรนิยมปลูกร้อยละ 95 เป็นลำไยพันธุ์ดอเนื่องจาก
สามารถบริโภคสดและแปรงได้แต่ยังมพี ันธ์ุลำไยที่เหมาะสำหรับรับประทานสวที่น่าสนใจคือพันธุ์สีชมพู
นา่ จะมีการนำพนั ธด์ เี หลา่ นก้ี ลับคนื สู่ตลาดเพ่ือเป็นการสรา้ งความหลากหลายให้กบั ผ้บู ริโภคอกี ด้วย

5

ภาพที่ 2.1 ลำไย
ทมี่ า https://www.google.com/search?q=%E0

ลักษณะพฤกษศาสตร์
1) ลำต้น ลำไยเป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มแผ่กว้าง มีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ต้นที่ปลูกจาก

เมล็ดมลี ำต้นสูงตรง เม่อื ปลูกจากก่ิงตอนมีทรงพุ่มแผก่ ว้าง เม่อื เจริญเติบโตเตม็ สูง 10 - 12 เมตร เปลือก
ลำต้น สนี ้ำตาลหรือสเี ทาปนน้ำตาล แตกเป็นสะเกด็ และร่องขรขุ ระ ก่ิงกลมและเนอื้ ไมม้ กั เปราะะทำให้ก่ิง
หักง่าย

ภาพที่ 2.2 ลำต้นลำไย
ทีม่ า https://www.google.com/search?q –

2) ใบ ใบลำไยเป็นใบรวม ทีม่ ีใบย่อยอยู่บนก้ำนใบรว่ มกนั (pinnately compound leaves)
จำนวน 3 - 5 คกู่ า้ นใบรวมยาวประมาณ 20 - 30 เซนตเิ มตร ใบยอ่ ยจัดเรยี งตวั ในลักษณะตรงขา้ มหรอื
แบบสลบั กัน ก้านใบย่อยยาว 4-6 เซนตเิ มตร ใบยอ่ ยเป็นรูปรีหรอื รปู หอก ใบกวา้ ง 3 - 6 เซนติเมตรและ
ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ขอใบเรยี บไมม่ หี ยกั และไมม่ ้วน ใบเรยี บหรอื เป็นคล่ืนเลก็ นอ้ ย ปลายใบมักแหลม
และฐานใบค่อนคอ่ นขา้ งปา้ น ด้านหลงั ใบมีสเี ขยี วเข้มเปน็ มนั มากกว่าดา้ นท้องใบ เส้นแขนงแตกจากเส้น
กลางใบและเหน็ ได้ชดั เจน

6

ภาพท่ี 2.3 ใบลำไย
ทมี่ า https://www.google.com/search?q=%E0

3) ช่อดอก ลำไยออกดอกที่ปลายยอดที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว โดยเปลี่ยนจากตาใบเป็นตาดอก
ต้งั แตเ่ ร่มิ เห็นชอ่ ดอกดว้ ยตาเปล่าจนก้านชอ่ ดอกพัฒนาจนยาวเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 45 - 50 วัน ข้ึนกับ
พันธุ์และสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะอุณหภูมิ โดยช่วงที่มอี ากาศหนาวเย็นชอ่ ดอกจะพัฒนาช้ากว่าช่วงทีม่ ี
อุณหภูมิอุ่นหรือสูงขึ้น ที่จัดเรียงดอกแบบ panicle กล่าวคือ แตกก้านดอกแขนงออกไปจากก้านที่หน่งึ
และแต่ละก้านย่อยนั้นแตกแขนงต่ออีกครั้ง ช่อดอกยาว 15 - 50 เซนติเมตร ในแต่ละช่อดอกมีทั้งดอก
สมบรู ณเ์ พศและดอกไม่สมบูรณเ์ พศ

ภาพที่ 2.4 ชอ่ ดอกลำไย
ที่มา https://www.google.com/E0%B8%8A

4) ดอก ดอกมีสีครีมและเส้นผ่าศูนย์กลำง 6 - 8 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 1 - 2 มิลลิเมตร กลีบ
ดอกมี 5 กลีบบางเรียวเล็ก สีขาวหม่นและเรียงตัวเยื้องกัน กลีบดอกมี 5 กลีบเช่นกัน สีเขียวปนน้ำตำล
หนาและแขง็ ดอกลำไยแบง่ ออกได้ 3 ชนิดคือ

- ดอกตวั ผู้ (staminate flower) มเี กสรตวั ผู้ 6 - 8 อนั เรยี งเป็นชัน้ เดียวอยูบ่ นจำนรองดอกที่มีสี
นำ้ ตาลออ่ นและมีลักษณะอุ้มน้ำ ก้านเกสรตัวผู้ (filament) มีขน สขี าวขนุ่ ยาวประมาณ 3 มิลลเิ มตร อับ
เกสรตัวผู้ (anther) มีสีเหลืองอ่อน กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มี 2 หยัก
และปริแตกตามยาวปลดปล่อยละอองเกสรตัวผู้ (pollen grain) ออกมาในช่วงบ่าย ละอองเกสรตัวผู้ที่
แตกออกมานัน้ มีสีเหลืองออ่ น รปู ยาวรี เปล่ียนเปน็ รปู สามเหล่ียมหรือกลมรีเมื่อเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว

7

หรืองอกบนยอดเกสรตัวเมีย ละอองเกสรตัวผู้มเี ส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 27 - 30 µm มี 3 ขั้ว แต่ท่อ
ละอองเกสรตวั ผูม้ ักงอกมาจากขัว้ เดียวเท่าน้ัน

- ดอกกระเทยทที่ ำหน้าที่เปน็ ดอกตัวเมียหรือดอกตวั เมยี (pistillate flower) เป็นดอกที่เกสรตัว
เมียพัฒนาจนสมบูรณ์และเห็นได้ชัด ประกอบด้วยรังไข่ที่มีขนปกคลุม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 - 2.5
มิลลิเมตร ตัง้ อย่ตู รงกลางของจานรองดอก รงั ไขม่ ี 2 พู (bicarpellate) และแต่ละพูมีไข่ (ovule) จำนวน
1 ใบ แต่เพยี งพูเดียวเทำ่ น้นั ท่พี ัฒนาต่อไปเปน็ ผลลำไย ส่วนอกี พหู นงึ่ จะคอ่ ยๆแห้งฝ่อและร่วงหล่นไป แต่
บางครั้งอาจพบไข่ในทัง้ 2 พูพัฒนาเป็นผลได้ ก้านเกสรตัวเมีย (style) ยาว 4 - 5 มิลลิเมตร ปลายยอด
เกสรตัวเมีย (stigma) แยกเป็น 2 แฉกและมีน้ำหวานที่จานรองดอกเมื่อดอกบานเต็มที่หรือพร้อมรับ
ละอองเกสร ซ่ึงมักจะเปน็ ในชว่ งเช้าตรู่

- ดอกกระเทยที่ทำหน้าที่เป็นดอกตัวผู้ (hermaphrodite flower) มีลักษณะคล้ายคลึงกับดอก
กระเทยทีท่ ำหน้าที่เปน็ ดอกตวั เมยี มาก แต่ดอกชนดิ นี้มีอบั เกสรตัวผู้ทไี่ มเ่ ปน็ หมันและผลิตละอองเกสรตัว
ผู้ทีส่ มบูรณเ์ ชน่ เดยี วกบั ดอกตัวผู้ มักไม่คอ่ ยพบดอกชนิดน้ีในสภาพธรรมชาติโดยทั่วไปช่อดอกมักมีจำนวน
ดอกตัวผมู้ ากกว่าดอกตัวเมีย

ภาพที่ 2.5 ดอกลำไย
ท่ีมา https://www.google.com/search?q=%E0%B8%94

5) ผล ผลลำไยเปน็ ผลเดีย่ ว จากเร่ิมตดิ ผลจนเก็บเกี่ยวผลได้ใช้เวลาพฒั นาประมาณ 4 - 6 เดือน
ขึน้ กับพันธ์ุและสภาพแวดล้อม เชน่ หากมอี ณุ หภมู ติ ่ำจะทำให้อัตราการพัฒนาของผลต่ำ เปน็ ตน้ ผลลำไยมี
รูปร่างค่อนข้างกลมหรือกลมแป้น ขนาดของผลแตกต่างกัน เปลือกผลเจริญมาจากผนังรังไข่และเริ่ม
พัฒนาไปพร้อม ๆ กับเมล็ด ต่อมาเมล็ดหยุดการพัฒนาแต่เปลือกผลยังมีการพัฒนาต่อต่อจนเก็บเกี่ยว
ผลได้ เปลอื กผลสีเหลืองปนน้ำตาลหรือนำ้ ตาลแดง แต่บางพนั ธุ์เชน่ เบย้ี วเขยี วอาจมสี ีเขยี วปน เปลือกผล
อาจเปน็ ต่มุ หรอื ค่อนข้างเรียบ เนื้อของลำไย (aril) พัฒนามาจากเนอ้ื เยื่อรอบๆ ก้านของเมล็ด(funiculus)
ขึ้นมาโอบจนรอบเมลด็ เนอ้ื ลำไยสีขาวขนุ่ หรือสชี มพูเรอ่ื ๆ แตกตา่ งกันตามพันธ์ุ

8

ภาพท่ี 2.6 ผลลำไย
ท่มี า https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9C

6) เมล็ด ลักษณะกลมหรือกลมแบน เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ เป็นมัน ส่วนที่ติดกับขว้ั
เมล็ดมีวงกลมสีขาว ทำให้ดูคล้ายกับลูกนัยน์ตาและเป็นที่มาของคำว่า ตามังกร ขนาดเมล็ดต่างกันตาม
พนั ธุ์

ภาพที่ 2.7 เมล็ดลำไย
ทีม่ า https://www.google.com/search?q=%E0%B9

ลักษณะประจำพันธุ์
พนั ธุล์ ำไยในประเทศไทยมลี ักษณะต่าง ๆ ท่ีความแตกตา่ งกนั ลกั ษณะท่อี าจใช้ในการจำแนกพนั ธุ์

ลำไยได้แก่ ขนาดและสีของใบ ลกั ษณะรปู ร่างของผล และสเี นื้อ โดยพันธุ์ลำไยที่ปลูกกนั ได้แก่
1) ดอหรืออีดอ เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดี ทนแล้งและทนน้ำได้ดีปานกลาง ทรงพุ่มกว้าง

พอสมควร ลำต้นแขง็ แรง ก่งิ ไม่ฉกี หักง่าย เปลอื กลำต้นสีนำ้ ตำลปนแดง เปน็ ลำไยพันธุเ์ บาทอ่ี อกดอกและ
เก็บเกี่ยวได้ก่อนพันธุ์อื่น กล่าวคือ ออกดอกธันวาคมและเก็บเกี่ยวได้ปลายมิถุนายนหรือกรกฎาคม
เนื่องจากเก็บเกี่ยวเร็วและจำหน่ายได้ทั้งผลสดและแปรรูปเป็นลำไยกระป๋องและลำไยอบแห้ง ทำให้
จำหน่ายได้ราคาดแี ละชาวสวนนิยมปลกู มากที่สุด ใบย่อยมี 3 - 4 คู่ใบ ใบแก่สีเขยี วเขม็ ปลายใบค่อนข้าง
แหลม ขนาดผลกว้างประมาณ 2.7 เซนติเมตร เนื้อสีวุ้นและค่อนข้างเหนียว รสหวานปานกลาง ปริมาณ
ของแข็งที่ละลำน้ำได้ 20 บริกซ์ เมล็ดค่อนข้างใหญ่และแบนเล็กน้อย ผลผลิตเฉลี่ยของเกษตรกร 793
กโิ ลกรมั /ไร่ (16ต้น/ไร่) ลำไยพนั ธุ์ดอสามารถแบ่งตามสขี องยอดอ่อนได้ 2 ชนิด คอื

9

- ดอยอดแดง เจริญเตบิ โตเร็ว ใบอ่อนมสี แี ดง ใบย่อยกว้าง 6 เซนตเิ มตรและยาว 20 เซนติเมตร
ขอบใบเป็นคลื่นและหอ่ ลงเล็กนอ้ ย ออกดอกติดผลไม่ค่อยดี ผลกลม เปลอื กผลสีน้ำตาลแก่

- ดอยอดเขียว ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน ขนำดใบเล็กกว่าดอยอดแดงเล็กน้อย ขอบใบเป็นคล่ืน
เลก็ นอ้ ย ออกดอกติดผลคอ่ นข้างงา่ ย ผลขนาดปานกลาง ลกั ษณะเบี้ยวและยกบ่าข้างเดียว เปลือกผลมีสี
เขียวปนน้ำตาล สามารถแบ่งตามลักษณะของก้านผลได้ 2 ชนิดคือ ดอก้านอ่อนซึ่งมีเปลือกผลบางและ
ดอก้านแข็งซ่งึ เปลือกผลหนา

2) ชมพูหรือสีชมพู ลำต้นสูงโปร่งและแตกกิ่งก้านสาขาดีพอสมควร กิ่งเปราะหักง่ายและไม่ทน
แล้ง เปลือกลาต้นมี สีน้ำตาลอ่อนเปลอื กลำตน้ สีน้ำตาลออ่ น ใบอ่อนสีเขยี วอ่อน ใบแก่สีเขียวซีด ใบแคบ
ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบรวมมีใบย่อย 4 - 5 คู่ ทำมุมเกือบฉากกับก้านใบรวม เป็น
ลำไยพันธกุ์ ลางที่ออกดอกปลายธันวาคมถงึ ตน้ มกราคมและเกบ็ เกย่ี วผลกลางกรกฎาคมถึงต้นสงิ หาคม ผล
กลมแปน้ และเบ้ยี วเลก็ นอ้ ย ผลขนาดใหญ่ปานกลางกว้าง 2.8 เซนตเิ มตร เปลือกผลหนาสนี ำ้ ตาลอ่อนปน
เขียว เนื้อหนาปานกลาง เนื้อล่อนไม่เละ สีชมพูเรื่อ ๆ และยิ่งแก่ยิ่งสีเข้มขึ้น รสหวานหอม ปริมาณ
ของแข็งทีล่ ะลายน้ำได้ 21 - 22 บริกซ์ เมล็ดสีนำ้ ตาลแก่หรือดำเข้ม เมลด็ ค่อนข้างเล็ก ผลผลิตเฉลี่ยของ
เกษตรกรประมาณ 1,000กิโลกรัม/ไร่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 8.9 กรัม น้ำหนักเปลือก 1.7 กรัม น้ำหนักเมล็ด
1.6 กรัม

3) เบี้ยวเขยี ว ลำตน้ มที รงพุ่มคอ่ นข้างกลม เจรญิ เติบโตดีแต่มกั ออ่ นแอตอ่ โรคพุ่มไมก้ วาด ใบรวม
ประกอบด้วยใบย่อย 4 คู่ใบ ใบย่อยกว้าง 5 เซนติเมตรและยาว 16 เซนติเมตร ใบแก่สีเขียวเข้ม ปลายใบ
แหลม ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย มักออกดอกติดผลปีเว้นปี เป็นพันธุ์หนักที่ออกดอกปลาย
มกราคมและเกบ็ เกี่ยวกลางสงิ หาคมหรือตน้ กนั ยายน ความยาวช่อดอก 15 - 30 เซนตเิ มตร การตดิ ผลใน
ช่อผลค่อนข้างห่าง ผลมีลักษณะกลมแป้นและเบี้ยว ผลขนาดใหญ่กว้าง 3.0 เซนติเมตร เมื่อผลแก่เต็มท่ี
เปลือกสเี ขียวอมนำ้ ตาล เปลือกหนาและเนื้อหนา เนอื้ สขี าวนวล แหง้ กรอบและลอ่ น รสหวานแหลม กล่ิน
หอม ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 22 บริกซ์ เมล็ดกลมสีดำ ค่อนข้างเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2
เซนติเมตร ผลผลิตเฉลี่ยของเกษตรกร 626 กิโลกรัม/ไร่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 8.2 กรัม/ผล ลำไยพันธุ์เบี้ยว
เขยี วแบง่ ได้ 2 ชนดิ คอื

- เบีย้ วเขียวก้านแขง็ (เบ้ียวเขียวป่าเส้า) ติดผลไม่ดก แต่ผลขนาดใหญ่มาก ออ่ นแอต่อโรคพุ่มไม้
กวาด เกษตรกรไมน่ ยิ มปลกู

- เบี้ยวเขยี วกำ้ นอ่อน (เบ้ียวเขียวเชยี งใหม่) ออกดอกและตดิ ผลดี ผลขนาดใหญ่
4) แห้วหรืออีแห้ว ทรงพุ่มกว้าง เจริญเติบโตแตกกิ่งก้านสาขาดี แต่ลำต้นไม่ค่อยแข็งแรง ก่ิง
เปราะหกั ง่าย ทนแล้งไดด้ ี เปลอื กลำตน้ เรยี บสนี ำ้ ตาลปนแดงเขยี ว ใบยอ่ ยจำนวน 3 - 4 คู่ใบ ใบแก่สีเขียว
เข้ม รูปร่างใบหอก ปลายใบเรียวแหลมและฐานใบแบบลิม่ ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย เป็นลำไย
พันธุ์หนักคือ ออกดอกปลายมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และเก็บเกี่ยวผลได้ประมาณกลางถึงปลายสิงหาคม
ความยาวช่อดอก 15 - 30 เซนติเมตร ผลกลมและเบี้ยว ขนาดผลเฉลี่ยกว้าง 2.8 เซนติเมตร เปลือกผล

10

หนาสีน้ำตาล มีกระสีคล้ำกระจายทวั่ ผล เน้ือหนาสีขาวขุน่ แหง้ และกรอบ รสหวานหอม เมล็ดกลมแป้นสี
นำ้ ตาลดำ ขนาดคอ่ นขา้ งเลก็ ผลผลิตเฉลีย่ 848 กิโลกรัม/ไร่ ลำไยพนั ธแุ์ ห้วแบง่ ได้ 2 ชนดิ คือ

- แห้วยอดเขียว ใบอ่อนหรือยอดสีเขียวซีด ใบยาวใหญ่ ผลกลมเบี้ยว เปลือกผลสีน้ำตาลอ่อน
ปริมาณของแขง็ ที่ละลายนำ้ ได้ 19 บรกิ ซ์

- แห้วยอดแดง ใบอ่อนหรอื ยอดสีเขียวปนแดง ใบกว้างและยาวกว่าพันธุ์อืน่ ออกดอกและติดผล
งา่ ยกว่าแห้วยอดเขยี ว เปลือกผลสนี ้ำตาล ปริมาณของแขง็ ท่ีละลายน้ำได้ 22 บริกซ์

5) เพชรสาคร ใบออ่ นสเี ขียวปนแดง จำนวนใบยอ่ ย 3 - 4 คู่ ใบยอ่ ยกว้าง 4 เซนตเิ มตรและยาว
12 เซนตเิ มตร ใบแก่สีเขียวปนเหลอื ง รปู ร่างรีเลก็ ขอบใบเรยี บ ปลายใบเรยี วแหลมและฐานใบล่มิ ใบเป็น
มัน จดั ว่าเปน็ ลำไยท่อี อกดอกมากกว่าหน่ึงครัง้ ต่อปี ออกดอกรนุ่ แรกประมาณธันวาคม - กรกฎาคม และ
เก็บเกี่ยวได้ประมาณพฤษภาคมถึงมิถุนายน รุ่นที่สองประมาณกรกฎาคมถึงสิงหาคมและเก็บผลได้
ประมาณธันวาคม - มกราคม ช่อดอกกว้าง 18 เซนติเมตรและยาว 30 เซนติเมตร จำนวนผลต่อช่อนอ้ ย
กว่า 10 ผล/ช่อ ผลกลมกว้าง 2.7 เซนติเมตร เปลือกบาง สีน้ำตาลปนแดง เนื้อนิ่มสีขาวฉ่ำน้ำ รสหวาน
ปริมาณของแข็งที่ละลายนำ้ ได้ 18 - 20 บริกซ์ เมล็ดกลมแป้นสีดำเปน็ มนั กว้าง 1.3 เซนติเมตร

6) พวงทอง ต้นมีทรงพุม่ ขนาดกลาง ใบอ่อนสเี ขยี วปนเหลอื ง ใบรวมมี 4 คูใ่ บย่อย ใบยอ่ ยกว้าง 5
เซนติเมตรและยาว 15 เซนติเมตร ขอบใบและแผน่ ใบเรยี บ ใบรปู หอกกลับ ปลายใบเรยี วแหลมและฐาน
ใบลิ่ม ใบเป็นมัน ออกดอกปานกลาง ช่อดอกขนาดใหญ่ กว้าง 14 เซนติเมตรและยาว 23 เซนติเมตร
จำนวนผลในชอ่ ผล 10 - 25 ผลและติดผลคอ่ นขา้ งแนน่ ผลกลมแป้นกว้าง 2.8 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบ
สนี ้ำตาลปนเหลอื ง เนื้อหนา แนน่ แห้ง สขี าวข่นุ รสหวาน ปริมาณของแขง็ ท่ลี ะลายน้ำได้ 22 บรกิ ซ์ เมล็ด
กลมสดี ำ เป็นมนั กว้างประมาณ 1.2 เซนตเิ มตร

7) เวียดนามหรือกระทมุ่ แบน เป็นลำไยพนั ธ์ทุ วายทนี่ ำพนั ธม์ุ าจากประเทศเวยี ดนาม ลำต้นมีทรง
พุ่มมขี นาดเล็ก มขี ้อปลอ้ งถี่ ลำต้นแขง็ แรง เปลือกลำตน้ เรียบสขี าวนวลปนนำ้ ตาล มใี บย่อย 5 คู่ ใบออ่ นสี
เขียวปนเหลือง ใบแก่สีเขียวซีด ใบรีค่อนข้างกว้าง ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบไม่บิดเป็นคลื่น ออกดอกง่ำย
และออกดอกดกมาก มักไม่เป็นฤดูและมากกว่า 1 ครั้งต่อปี ช่อดอกกว้าง 15 เซนติเมตรและยาว 30
เซนตเิ มตร เปน็ พันธุ์เบา ซึ่งจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวผลใชเ้ วลา 4 - 4.5 เดือน ติดผลดก ผลในช่อมีขนาด
ค่อนข้างสม่ำเสมอ ผลขนาดค่อนข้างใหญ่ กลมและปลายผลป้านกลม เปลือกผลเรียบสีนำ้ ตาลปนเหลือง
เนื้อสีเหลืองน้ำผึ้งและแห้ง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 20 - 24 บริกซ์ เมล็ดสีน้ำตาลดำ กลมแป้น
เส้นผ่าศนู ยก์ ลางเมลด็ ประมาณ 1.5 เซนตเิ มตร

8) ใบดาหรอื กะโหลกใบดา เปน็ พันธท์ุ ่อี อกดอกติดผลสม่ำเสมอเกอื บทุกปี การเจริญเติบโตดี ทน
แล้งและทนน้ำได้ดี แต่ขนาดผลเล็กกว่าพันธุ์อื่น เปลือกลำต้นเรียบ ใบอ่อนสีเขียวปนเหลือง ใบย่อย
จำนวน 5 คู่ ใบย่อยกว้าง 5เซนติเมตรและยาว 15 เซนติเมตร ใบแก่สีเขียวคล้ำกว่าพันธุอ์ ืน่ ขอบใบเป็น
คลนื่ ปลายใบเรยี วแหลมและฐานใบลิม่ ใบรปู ร่างหอกกลับ บางเป็นมัน ช่อดอกกว้าง 14 เซนติเมตรและ
ยาว 23 เซนติเมตร จำนวนผลในช่อผล 10 - 25 ผล เป็นพันธุ์กลางคือออกดอกปลายธันวาคมและเก็บ

11

เกี่ยวผลได้กลางกรกฎาคมถงึ ต้นสิงหาคม ผลค่อนขา้ งกลม ขนำดผลกว้าง 2.8 เซนติเมตร เปลือกหนาทำ
ใหท้ นทานตอ่ การขนส่ง ผิวขรขุ ระสีน้ำตาลปนเขยี ว เนอ้ื สีขาวขุน่ และแฉะน้ำ รสหวาน ปริมาณของแข็งท่ี
ละลายน้ำได้ 20 บรกิ ซ์ เมลด็ กลมดำเป็นมนั

9) แดงหรอื อแี ดง การเจรญิ เตบิ โตปานกลาง ต้นมที รงพุ่มกว้างพอสมควร กง่ิ เปราะหักง่าย ไมท่ น
แล้งหรือน้ำท่วม เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลเข้ม ใบอ่อนสีเขียวปนเหลือง จำนวนคู่ใบย่อย 3 - 4 คู่ ใบย่อย
กว้าง 5 เซนติเมตร และยาว 13 เซนติเมตร ใบแก่สีเขียวปนเหลือง ใบเรียบ ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียว
แหลมและฐานใบแบบลิ่ม ออกดอกและติดผลคอ่ นข้างสม่ำเสมอทกุ ปีช่อดอกกว้าง 22 เซนติเมตรและยาว
31 เซนติเมตร เปน็ ลำไยพันธ์ุกลางท่ีออกดอกธนั วาคมและเก็บเกี่ยวได้กลางกรกฎาคมถึงต้นสิงหาคม ผล
กลมขนาดใหญ่ ปานกลาง กว้าง 2.6 เซนติเมตร เปลอื กผลเรยี บสีน้ำตาลปนแดง เน้อื หนาปานกลาง สขี าว
ครีม เนื้อเหนียวและแฉะน้ำ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 17 บริกซ์ มีกลิ่นคาวคล้ายกำมะถัน เมล็ด
ป้อมค่อนขา้ งใหญ่

10) เหลืองหรืออีเหลือง เป็นลำไยกลุ่มกะโหลก ต้นมีทรงพุ่มค่อนข้างกลม ใบย่อยกว้าง 5.8
เซนติเมตรและยาว 19.6 เซนติเมตร ใบด้านบนมีสีเขียวเข้มแตด่ ้านล่างมีสีเขียวอ่อนกว่า ปลายใบแหลม
ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกติดผลดี ผลค่อนข้างกลม ขนาดผลกว้าง 2.3 เซนติเมตร
เปลือกผลมีสีน้ำตาลอมเหลืองเน้ือสีขาวขุ่น หวานปานกลาง ปริมาณของแข็งท่ีละลายน้ำได้ประมาณ 15
บรกิ ซ์ เมล็ดกลมมเี ส้นผ่าศูนยก์ ลาง 1.4 เซนตเิ มตร

11) สายน้ำผึ้ง มีทรงพุ่มขนาดกลาง ใบอ่อนสีเหลืองปนน้ำตาล ใบย่อย 4 คู่ใบ ใบย่อยกว้าง 4.4
เซนติเมตร และยาว 11.6 เซนติเมตร ใบแก่สีเขียวเข้ม รูปร่างรีค่อนข้างใหญ่ แผ่นใบย่น ขอบใบเรียบ
ปลายใบมนและฐานใบลิ่ม เปอรเ์ ซ็นต์ออกดอกปานกลาง จำนวนผลตอ่ ช่อ 10 - 25 ผล ผลกลม เปลอื กผล
เรียบ สนี ำ้ ตาลปนเหลือง เน้ือขาวปนเหลอื ง เนอื้ แน่นกรอบ รสหวานหอม เมล็ดกลมขนาดเลก็

12) ปู่มาตีนโกง่ เปลือก ลำต้นเรียบ ใบอ่อนสีเขียวปนเหลือง ใบย่อยจำนวน 4 คู่ ใบย่อยกว้าง 4
เซนติเมตร และยาว 13 เซนติเมตร ใบแก่สีเขียว แผ่นใบเรียบและขอบใบเรยี บ เปอร์เซ็นต์ออกดอกปาน
กลาง ช่อดอกกว้าง 13 เซนติเมตรและยาว 22 เซนติเมตร ผลกลมแป้นขนาดใหญ่ เปลือกผลเรียบสี
น้ำตาลปนแดง เนื้อสีขาวขุ่นปนเหลือง เนื้อแห้งและแน่น รสหวานหอม เมล็ดกลมและแบนด้างข้าง สี
น้ำตาลดำ เปน็ พันธทุ์ อ่ี ่อนแอตอ่ โรคพมุ่ ไมก้ วาด

13) ลำไยเถา มีทรงพมุ่ ขนาดเล็ก เปลือกลำต้นเรียบ ใบอ่อนสีเหลืองปนนำ้ ตาล ใบแก่เปน็ มนั และ
สเี ขยี วเขียวปนเหลือง แผน่ ใบย่น ขอบใบเป็นคลื่น ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบลิม่ จำนวนผลในช่อผลน้อย
กว่า 10 ผล ช่อผลกว้าง 20 เซนติเมตรและยาว 27 เซนติเมตร ผลกลมกว้าง 2.8 เซนติเมตร เปลือกผล
เรยี บ สนี ำ้ ตาลปนเขียว เน้อื สขี าวขุน่ ปนเหลือง เนือ้ นม่ิ และฉำ่ น้ำ ปริมาณของแข็งท่ีละลายน้ำได้ 20 - 24
บรกิ ซ์ เมล็ดกลมสนี ้ำตาลดำ

14) ลำไยกระดูก เป็นลำไยพื้นเมือง มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ เปลือกลำต้นเรียบ ใบรวมมักมี 4 คู่ใบ
ใบแก่สีเขียวเข้มแผ่นใบและขอบใบเรียบ ออกดอกปลายธันวาคมถึงต้นมกราคม เก็บเกี่ยวได้ประมาณ

12

กลางกรกฎาคมคามถึงต้นสิงหาคม ผลเล็กกลม เปลือกหนาขรุขระสีน้ำตาลปนเหลือง เนื้อบางสีขาวขุ่น
เนื้อฉ่ำน้ำ รสหวนปรมิ าณของแขง็ ทล่ี ะลายน้ำได้ 19 บรกิ ซ์ เมล็ดใหญส่ นี ้ำตาลดำ

15) ดอเบอร์ 13 เป็นต้นลำไยพันธุ์ดอที่กรมวชิ าการเกษตรคัดเลือกจำกสวนเกษตรกรในจงั หวดั
เชียงใหม่ ลำพูนเชียงรายและพะเยา โดยคัดเลือกต้นที่ออกดอกติดผลสม่ำเสมอตดิ ต่อกันอย่างนอ้ ย 3 ปี
ผลมขี นาดใหญ่เน้ือหนาและรสชาติดี ตน้ พนั ธ์นุ มี้ ใี บออ่ นสีเขียวปนแดง ใบแก่สีเขยี วเข้ม ขอบใบเรียบเป็น
คลืน่ รูปร่างใบรี ปลายใบมนและฐานใบล่มิ จำนวนคใู่ บย่อย 3 คู่ ออกดอกดก ชอ่ ดอกกว้าง 16 เซนติเมตร
และยาว 23 เซนติเมตร ติดผลดกคือ 25 - 50 ผล/ช่อผล ผลกลมแป้น ขนาดผลในช่อค่อนข้างสม่ำเสมอ
รปู ร่างรี คอ่ นขา้ งกว้าง เปลอื กผลเรยี บสนี ้ำตาลปนเหลือง เน้ือสีขาวขุน่ น่ิมและฉ่ำน้ำปานกลาง รสหวาน
หอม ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ประมาณ 21 บรกิ ซ์ เมล็ดแบนด้านข้างสนี ้ำตาลดำ เสน้ ผ่าศูนย์กลาง
1.4 เซนติเมตร

ประวตั ิ
ลำไย เปน็ ไม้ที่มถี น่ิ กำเนดิ ในเขตรอ้ นและกงึ่ ร้อนของเอเชีย ซ่งึ อาจมถี น่ิ กำเนิดในลงั กาอนิ เดยี พมา่

หรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจนี ในสมัยพระเจ้าเซง็ แทงของจีนเม่ือ 1,766 ปีก่อนคริ
สกาลและจากหนงั สือ RuYa ของจนี เมือ่ 110 ปกี ่อนครสิ ตกาลไดม้ ีการกลา่ วถึงลำไยไวแ้ ล้ว และชาวยโุ รป
ได้เดนิ ทางไปยงั ประเทศจนี เมือ่ ปีพ.ศ. 1514 ก็เขียนเร่อื งราวเกีย่ วกบั ลำไยไวใ้ นปีพ.ศ. 1585 แสดงว่าลำไย
มีการปลกู ในจีนท่มี ณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศนู ยก์ ลางอยทู่ ี่มณฑลฟเู กยี น ลำไยไดแ้ พรห่ ลายเข้าไปในประเทศ
อินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่
ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ในประเทศไทย ทางภาคเหนือมีลำไยพันธุ์พื้นเมืองเรียก
"ลำไยกะลา" ในสมัยรชั การลที่ 5 มชี าวจนี นำพนั ธุล์ ำไยเขา้ มาถวายพระราชชายา เจ้าดารารัศมี จำนวน 5
ต้น เป็นพนั ธ์ุเบี้ยวเขยี ว ทรงใหป้ ลูกทีเ่ ชียงใหม่ 3 ต้น ทต่ี รอกจนั ทร์ กรงุ เทพฯ 2 ตน้ หลักฐานทีพ่ บเป็นต้น
ลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญ ศัพทเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์
ใกลว้ ดั ปริวาศในสมัยรชั กาลที่ 5 ต่อมามีการขยายพันธุ์จากต้นในจังหวัดเชยี งใหม่จากนน้ั ก็ขยายสู่ภูมิภาค
ต่างๆในลา้ นนาโดยการเพาะเมลด็ จนเกิดการกลายพนั ธ์ุ (Mutation) เกิดพนั ธุใ์ หมต่ ามสภาพคุณลักษณะท่ี
ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูนมี
สภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมือง
ลำพนู ซง่ึ เกบ็ ผลขายต้นเดียวไดร้ าคาเป็นหมน่ื เมือ่ ปพี .ศ. 2511 ผลติ ผลต่อต้นได้ 40 - 50 เข่งพัฒนาการ
ของลำไยในภูมิภาคนโี้ ดยเฉพาะท่จี ังหวัดลำพูนถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาคร้งั แรกของพระราชชายา
เจ้าดารารัศมีเมื่อปีพ.ศ. 2457จนถึงลำไยต้นหมืน่ ทีห่ นองช้างคืนเมื่อปีพ.ศ. 2511 ก็พัฒนามาร่วม 60 ปี
และถ้านับถึงปีปัจจุบนั มกี ารพัฒนาพนั ธร์ุ ว่ ม90ปีแล้วจนขณะน้ีมีลำไยมากมายหลายพันธ์ุและมีการปลูก
มากถงึ 157,220 ไร่

13

สรรพคณุ ของลำไย ประโยชนใ์ นการรักษาโรค
1) นำ้ ลำไยช่วยเพิม่ ความสดช่ืนให้แก่รา่ งกาย
2) ลำไยแห้งมีส่วนช่วยยบั ยัง้ การสร้างเม็ดสีผวิ ได้ดีกวา่ การใชส้ ารเคมี
3) ลำไยเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสงู มากเน่ืองจากมนี ้ำตาลหรอื คาร์โบไฮเดรตในปรมิ าณมาก
4) ลำไยมวี ติ ามนิ ซที ีม่ ีส่วนชว่ ยการบำรงุ ผวิ และเป็นสารต่อต้านอนมุ ลู อิสระ
5) ลำไยมวี ติ ามินบี 12 ที่มีส่วนชว่ ยในการบำรงุ ประสาทและสมอง
6) ลำไยมีธาตุแคลเซยี มสงู มีสว่ นชว่ ยในเรอ่ื งของกระดกู และฟันให้แขง็ แรง
7) ลำไยมีธาตฟุ อสฟอรสั ทม่ี สี ว่ นชว่ ยบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบได้
8) ลำไยมีธาตุโซเดยี มชว่ ยใหเ้ ส้นประสาทและกล้ามเน้ือทำงานไดอ้ ย่างเป็นปกติ
9) ลำไยมธี าตโุ พแทสเซียมท่มี ชี ว่ ยใหม้ สี ติปัญญาจติ ใจรา่ เรงิ แจม่ ใสได้โดยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงท่สี มอง
10) ลำไยมีธาตุเหล็กซึ่งช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียของร่างกายลำไยมีแร่ธาตุทองแดงที่มีส่วนช่วยให้
ร่างกายมพี ลังงานโดยการช่วยให้รา่ งกายดดู ซมึ ธาตุเหล็กได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ
11) ชว่ ยใหห้ ลับสบายและช่วยในการเจรญิ อาหาร
12) ชว่ ยรกั ษาอาการหวดั ดว้ ยการนำใบมาชงกบั นำ้ รอ้ นดมื่
ชว่ ยรกั ษาโรคมาลาเลียด้วยนำใบสดประมาณ 20 กรัมน้ำ 2 แกว้ ผสมเหลา้ อกี 1 แกว้ นำมาต้ม
13) รวมกนั ใหเ้ ดือดจนเหลือน้ำ 1 แก้วแลว้ นำมากนิ
14) ช่วยรักษาแผลเนา่ เป่อื ยบรรเทาอาการคันด้วยนำเมลด็ ไปเผาให้เปน็ เถ้าแลว้ นำมาทา
15) ช่วยรกั ษาอาการทอ้ งรว่ งดว้ ยการนำเปลอื กของต้นท่มี สี ีนำ้ ตาลออ่ นใช้ตม้ เปน็ ยา
16) ชว่ ยรกั ษาโรคริดสดี วงทวารดว้ ยการนำใบลา่ ไยมาชงกับนำ้ ร้อนดม่ื
17) ใชเ้ ปน็ ยาแก้โรคตา่ งๆทีเ่ กีย่ วกับหนองด้วยการนำใบสดประมาณ 20 กรัมไปต้มกับนำ้ ดื่ม
18) แกป้ ญั หาอาการตกขาว ด้วยการนำรากมาตม้ นำ้ หรอื เคยี้ วให้คนั ผสมกิน
19) ช่วยขับพยาธิเส้นดา้ ย ดว้ ยการนำรากมาต้มนำ้ หรือเคยี้ วใหค้ ันผสมกนิ
20) ช่วยรักษาปัสสาวะขัดด้วยการนำเมล็ดมาทุบให้แตกแล้วต้มน้ำกิน แต่ต้องลอกเปลือกสีดำออกก่อน
21) ดอกลำไยใชเ้ ป็นยาขบั ปสั สาวะสลายก้อนนว่ิ ในไตได้
22) แกอ้ าการวงิ เวียนศีรษะอ่อนเพลีย เพิ่มความสดชื่น ดว้ ยนำเปลือกผลที่แห้งแล้วมาต้มนำ้ กิน
23) ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำเปลือกผลที่แห้งแล้วมาบดให้เป็นผงแล้วนำมาโรยท่ี
บาดแผล
24) ช่วยรักษาแผลมีหนอง สมานแผล ห้ามเลือด แก้ปวด ด้วยการนำเมล็ดม่ต้มหรือบดเป็นผงนำมา
รับประทาน
25) ช่วยรักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้เมล็ดชุบน้ำส้มสายชูที่หมักด้วยข้าวแล้วนำมาถู แต่ทั้งนี้ต้องลอก
เปลอื กสีดำออกก่อน

14

26) ช่วยรักษาแผลเรื้อรังและมีหนองด้วยการนำเมล็ดไปเผาเป็นเถ้าแล้วนำมาผสมกับน้ำมะพร้าวทา
บรเิ วณทีเ่ ปน็
27) เปน็ ยาบำรุงม้ามเลือดลมหวั ใจบำรงุ ร่างกายนอนไม่หลับอาการออ่ นเพลยี ดว้ ยนำเน้อื หุ้มเมลด็ มาต้มน้ำ
กินหรือนำมาแชก่ บั เหลา้
28) ลำไยอบแหง้ มีสารตอ่ ต้านอนมุ ลู อิสระที่ช่วยยบั ยง้ั สารก่อมะเร็ง
29) ช่วยลดอนุมูลอสิ ระในเมด็ เลือดขาว
30) ลำไยมีสารออกฤทธทิ์ ่ชี ว่ ยฆ่าเซลลม์ ะเร็งลำไสใ้ หญไ่ ด้
31) มสี ารชว่ ยลดการเส่อื มสลายจากข้อเข่า
32) ประโยชน์ของลำไยใหค้ วามสดช่ืน ที่รู้กันดวี ่าลำไยนั้นมรี สหวานจึงสามารถชว่ ยเพ่ิมความสดชื่นให้แก่
ร่างกายไดเ้ ปน็ อย่างดี ทำให้อาการเหนด็ เหนื่อยหายได้เรว็ เนื่องจากมนี ้ำตาลชนิดซโู ครสและกลูโคสสงู
33) สรรพคุณลำไยมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาการอักเสบเรื้อรังเปน็ บอ่ เกดิ
ของสารพัดโรค เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคไขข้อเสื่อม ฯลฯ ซึ่งมีการทดลองทางการแพทย์ใน
ต่างประเทศแลว้ ระบวุ ่า น้ำสกัดจากลำไยนั้นสามารถบรรเทาอาการอักเสบใหท้ ุเลาลงจนกระทัง่ หายขาด
ได้
34) ลำไยมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยม จึงช่วยลดการแพร่กระจายและฆ่าเชื้อของ
เซลล์มะเร็งต่างๆ ได้ ลดอนุมลู อิสระท่ีอยู่ในเม็ดเลอื ดขาว และยงั ลดสารพษิ ทีเ่ กิดจากเชอ้ื แบคทีเรียทีไ่ ม่ดี
35) ลำไยช่วยเพ่ิมแบคทีเรียท่ีมปี ระโยชนต์ อ่ ลำไส้ โดยจะลดแบคทเี รียรา้ ยที่ทำให้สขุ ภาพออ่ นแอลงจนเกิด
โรคต่างๆ และยังหยุดการเจริญเติบโตของเช้ือโรคในลำไสไ้ ด้
36) ลำไยอุดมดว้ ยวิตามนิ ซี ที่จะตอ่ ต้านอนมุ ลู อสิ ระไดด้ ีแลว้ ยังช่วยดูแลผิวพรรณใหเ้ ปลง่ ปลง่ั บำรุงผิวให้
ดูสุขภาพดี และมีสรรพคุณรักษาและปอ้ งกันอาการหวดั ด้วย
37) ลำไยเป็นผลไมท้ ่ีมพี ลงั านสงู มากๆ เพราะมีสารอาหารจำพวกคารโ์ บไฮเดรตและนำ้ ตาลในปริมาณมาก
นนั่ เอง
38) สรรพคณุ ลำไยช่วยลดปริมาณของสารพษิ ท่ีอาจเข้าสู่ตับได้ ซึ่งจะส่งผลดใี ห้ตับทำงานเป็นปกติ
39) ลำไยมีฤทธ์ชิ ่วยยอ่ ยอาหาร ในกรณที น่ี ำ้ ย่อยในกระเพาะอาหารไม่สามารถทำงานได้ ลำไยชว่ ยได้ อีก
ทัง้ ชว่ ยเพิ่มการดดู ซึมแคลเซยี มในกระเพาะอาหาร
40) ประโยชน์ของลำไยทำใหร้ ะบบการขับถ่ายดีข้นึ เพราะลำไยมีกรดไขมันชนิดทม่ี ีคุณสมบัติช่วยกระตุ้น
การทำงานของลำไส้ เพ่มิ ความชืน้ ในอุจจาระมากข้นึ อจุ จาระไม่แหง้
41) ลำไยเสริมสร้างให้กระดูกและฟันแข็งแรง เพราะมีธาตุแคลเซียมสูงซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจะเกิดโรค
กระดกู พรนุ กระดกู บางจนเปราะและแตกหักงา่ ย
42) ลำไยมีสรรพคุณชว่ ยสลายคอเลสเตอรอลในเลือด ทำให้ระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง และ
ยับยง้ั การดูดซมึ คอเลสเตอรอลทีผ่ า่ นผนังลำไสไ้ ด้ จึงชว่ ยปอ้ งกันการเกิดโรคได้มาก

15

43) ประโยชน์ของลำไยช่วยบำรงุ เลือด ลดความดันโลหิตสูง ปอ้ งกันร่างกายไมใ่ หอ้ ่อนเพลียง่าย บรรเทา
อาการวงิ เวยี นศีรษะ
44) ลำไยมีธาตุทองแดง ซึ่งจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กมาใช้ได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายมี
พลังงานมากพอในการใช้งาน
45) ลำไยเป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ที่มีหน้าที่ในการบำรุงประสาทและสมองให้ทำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
46) ลำไยมีสรรพคุณทำใหส้ ามารถกินอาหารไดม้ ากขนึ้ และรูส้ กึ ผ่อนคลาย นอนหลับสนิทขนึ้ ด้วย
47) ลำไยมโี ซเดียมที่มคี ุณสมบัตใิ นการบำรงุ เสน้ ประสาทและกล้ามเน้อื ทำใหท้ ำงานไดอ้ ยา่ งเปน็ ปกติ
48) ประโยชน์ของลำไยบรรเทาอาการทอ้ งรว่ ง ทอ้ งเดนิ และชว่ ยขบั ปสั สาวะ สลายก้อนนวิ่ ได้

โทษของลำไย
ตามหลักโภชนาการแล้ว เราควรกินผลไม้ 4 - 5 ส่วนต่อวัน และผลไม้ที่เรากินก็ควรมีความ

หลากหลาย ดังนน้ั เราจึงควรกินลำไยในปริมาณท่พี อเหมาะและควบคไู่ ปกบั ผลไมอ้ ืน่ ด้วย คือควรกินลำไย
ไม่เกิน 1 ส่วนต่อวัน ซ่งึ หากเปน็ ลำไยสดกป็ ระมาณ 6 - 10 ผล แตห่ ากเปน็ ลำไยแห้ง ควรทานเพียง 2 - 3
เม็ด เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอและไม่มากจนเกินไป นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมี
อาการอาหารไมย่ ่อย ทอ้ งอืด ทอ้ งเสีย เปน็ หวดั และเจบ็ คอ ควรหลีกเลีย่ งการกนิ ลำไยด้วย เพราะถึงลำไย
จะมีประโยชน์มากแคไ่ หน แต่ก็จัดเป็นผลไม้รสหวานจดั เน่ืองจากมีปริมาณนำ้ ตาลค่อนข้างสงู และจัดเป็น
ผลไม้ทีม่ ฤี ทธิร์ ้อน หากกินมากไปอาจสง่ ผลไม่ดีตอ่ อาการป่วยท่เี ปน็ อยู่ ทำให้เจบ็ คอหรือเปน็ ร้อนในได้

การเลือกพนื้ ท่ปี ลกู ลำไย
1) การเลือกพนื้ ท่ี ลำไยเปน็ พืชท่ีเจริญเตบิ โตในดินแทบทุกชนิด แมก้ ระทั้งดินลูกรัง แต่ดินปลูกท่ี

ให้ลำไยมีการเจริญเติบโตได้ดี คือดินร่วนปนทรายและดินตะกอน ซึ่งเกิดจากตะกอนดินกรวด หิน ดิน
ทราย อินทรีวัตถทุ ี่น้ำพัดมาเกิดการทับถมของอนิ ทรียวัตถุ สังเกตได้จากต้นลำไยที่ปลูกตามที่ราบลุ่มริม
แม่น้ำปิง น้ำใต้ดินสูงในเขตจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี ดินปลูกลำไย
ควรมีค่าความเป็นกรดด่างของดิน (pH) อยู่ในช่วง 5.0 - 7.0 มีหน้าดินลึกระบายน้ำดี ดังนั้นก่อนทำการ
ปลูกลำไยควรศกึ ษาคุณสมบตั ิของดิน เช่น โครงสร้างของดนิ เนอ้ื ดนิ และความอดุ มสมบูรณ์ของดิน เพ่ือ
ใชเ้ ปน็ แนวทางในการจดั การธาตอุ าหารลำไยอย่างมีประสทิ ธิภาพ

2) แหลง่ น้ำ น้ำเปน็ สิ่งจำเปน็ ต่อกาเจรญิ เตบิ โตของลำไย การผลติ ลำไยเพือ่ ให้ไดค้ ุณภาพตอ้ งมีน้ำ
ในปริมาณทีเ่ พียงพอตลอดฤดกู าล นอกจากนี้ควรทำการศกึ ษาคุณสมบัตขิ องน้ำและวิธีการจัดการน้ำทีม่ ี
ประสทิ ธภิ าพเหมาะสำหรบั การผลติ ลำไย

3) สภาพภมู ิอากาศ ปัจจยั สภาพภูมอิ ากาศทมี่ บี ทบาทสำคญั ตอ่ การเจริญเตบิ โตของลำไย ไดแ้ ก่

16

- อุณหภูมิ โดยทั่วไปลำไยต้องการอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิที่สามารถเจริญเติบโตได้อยู่
ระหว่าง 4 - 30 องศาเซลเซียส และต้องการอุณหภูมิต่ำ 10 - 22 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาวเดือน
พฤศจิกายนถึงมกราคม เพื่อสร้างตาดอก ซึ่งในปีที่มีอากาศเย็นระยะเวลานานโดยไม่มีอากาศอุ่นแทรก
ลำไยจะออกดอกตดิ ผลดี แต่ถ้ามีอุณหภมู ิไม่ตำ่ พอ ต้นลำไยจะออกดอกนอ้ ยหรือไม่ออกดอก

- แสง การเจริญเติบโตของลำไยจำเป็นต้องได้รับแสงอย่างเพียงพอ ดังนั้นการปลุกลำไยจึงควร
ปลกู ในที่โล่ง ในสภาพพืน้ ที่ท่มี ีปริมาณแสงนอ้ ยซ่ึงอาจเกิดจากการบังแสงของเมฆ หรอื เกิดฝนตกติดต่อกัน
หลายวัน มกั ทำให้ตน้ ลำไยชะงักการเจรญิ เติบโต ส่วนในสภาพท่ีมีความเขม้ แสงสูงมักเกิดปัญหาทำให้ผิว
ของผลลำไยเป็นสนี ้ำตาลเขม้ จำหนา่ ยไดร้ าคาตกต่ำ

- ปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ แหล่งปลูกลำไยควรมีปริมาณน้ำฝนอยู่ในช่วงประมาณ
1000 – 200 มลิ ลิเมตรต่อปี และควรมกี ารกระจายของฝนประมาณ100 - 150 วนั ตอ่ ปใี นแหล่งปลุกที่มี
ปรมิ าณฝนตกน้อย ควรจัดหาแหล่งนำ้ และระบบชลประทานใหเ้ พียงพอและเหมาะสม

- ระดับความสูงของพื้นที่ ลำไยสามารถปลูกได้ดีในที่ราบลุ่มจนถึงพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล
1000 เมตร

4) การตลาด ก่อนการเริ่มต้นสร้างสวนลำไยผู้ดำเนินการต้องมั่นใจว่าในพื้นที่นั้นมตี ลาดรองรับ
ผลผลิตทั้งในแปรรูปและผลสด พื้นที่ปลูกลำไยไม่ควรอยู่ห่างจากจุดรับซื้อมากเกินไป เพราะจะทำให้
ตน้ ทุนในการขนส่งสงู ทำให้ไมส่ ามารถแขง่ ขนั ได้ในระยะยาว

5) การคมนาคมขนสง่ การเลือกสร้างสวนลำไยในพื้นที่ที่มีความสะดวกในการติดตอ่ ส่ือสารและ
การจำหน่ายผลผลิต นอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการ เดินทางยังช่วยให้การขนส่งผลผลิตไป
จำหน่ายยงั แหลง่ รบั ซ้ือทำไดร้ วดเร็วมีการสญู เสียของผลผลนิ ้อยลง

6) แรงงาน การปฏิบัติงานภายในสวนลำไยจำเป็นต้องมีแรงงานทัง้ แรรงงานประจำและแรงงาน
ช่ัวคราวต้องทำงานเร่งด่วนในบางช่วง เชน่ ชว่ งเกบ็ เกยี่ วผลผลิต การตัดแต่งก่งิ เปน็ ตน้ แหล่งปลุกลำไยที่
มีแรงงานที่เพียงพอ และมีความชำนาญจะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก นอกจากนี้ควรมีการฝึกฝน
แรงงานใหม้ ีความรู้และทักษะเพือ่ ชว่ ยแบ่งเบาภาระใหก้ ับเจ้าของสวน

รปู แบบการปลกู ลำไย
รูปแบบการปลุกลำไยทนี่ ยิ มมี 3 แบบ

1) การปลูกระยะห่าง เป็นวิธีที่นิยมมากตั้งแต่ในอดีตและปัจจุบัน การปลูกลำไยต้องการให้ต้น
ลำไยมีเจริญเติบโตขยายขนาดของทรงพุ่มเต็มที่ รูปแบบการปลุกมีทั้งสี่เหลี่ยมจัตุรัส และแบบ
สี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยกำหนดให้ระยะห่างระหว่างแถวและระยะห่างระหว่างต้นเกิน 8 เมตร เช่น 8 x8
10x10 12x12 8x10 และ 10x12 เมตร ต้นลำไยมักมีทรงพุ่มขนาดสูงใหญ่ ปริมารผลผลิตติ่ต้นสูง แต่
จำนวนต้นต่อไรน่ อ้ ยมกั ประสบปัญหาการจัดการและตน้ ลำไยโค่นลม้ งา่ ยโดยเฉพาะเมือเกดิ พายุลมแรง

17

2) การปลกู ระยะชดิ เป็นการใช้พ้ืนทใ่ี หเ้ กดิ ประโยชน์สงู สดุ แตก่ ารปลกู ระยะชดิ ต้องมีการตดั แต่ง
ก่ิงเอควบคุมทรงพ่มุ และการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต กระตุ้นใหม้ กี ารออกดอก การปลกู ลำไยระยะชิด
เป็นรูปแบบการปลูกที่ได้จำนวนต้นต่อไร่สูง ในประเทศไทยมีการสรา้ งสวนลำไยระยะชิดยังไม่แพร่หลาย
อาจเน่อื งมาจากมบี ทเรียนจากการปลกู ลำไยระยะชดิ ทไ่ี ม่ประสบความสำเร็จในอดีต การควบคุมทรงพุ่ม
ทำไดย้ ากเพราะตน้ ลำไยทตี่ ดั แตง่ ก่ิงมกั ออดอกปีเว้นปี อย่างไรก็ตามภายหลงั มกี ารค้นพบสารโพแทสเซียม
คลอเรตสามารถกระตุ้นการออกดอกของลำไยได้ แนวคดิ เกย่ี วกบั การปลูกลำไยระยะชิดจึงกลบั มาอีกคร้ัง
ซึ่งรูปแบบการปลุกลำไยระยะชดิ มหี ลายๆแบบ ดงั น้ี

- การปลกู ระยะชิดแบบแถวเดีย่ ว เปน็ รปู แบบการปลกู คล้ายระบบการปลูกห่างแต่มีระยะปลูกท่ี
แคบกว่า เช่น แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ระยะปลูก 4x4 5x5 เมตร หรือ แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ระยะปลูก 3x6
4x6 เมตร ซง่ึ สามารถนำเคร่ืองจกั รเขา้ ไปปฏิบัตงิ านในสวนได้สะดวกกว่าแบบสีเ่ หลยี่ มจัตรุ สั

- การปลูกระยะชดิ แบบแถวคู่ เปน็ ระบบการปลูกท่ีกำหนดใหแ้ ถวอยชู่ ิดกนั หน่ึงคสู่ ลับกับแถวห่าง
เพื่อการปฏิบัติงานงานโดยเครื่องจักร เป็นระบบที่เพ่ิมจำนวนต้นต่อไร่มากขึ้นและมีพืน้ ที่การให้ผลผลิต
เพิม่ มากขนึ้

- การปลกู ระยะชิดแบบกลมุ่ เป็นระบบการปลูกลำไยรวมกนั ใหเ้ กิดเปน็ กลมุ่ โดยอาศัยเทคนิคการ
ตัดแต่งกง่ิ ควบคมุ ทรงพุ่ม เป็นการเพ่ิมพื้นท่ขี องการใหผ้ ลผลติ ลำไย

3) ระบบคอนทวั ร์หรอื ระบบแนวระดบั เป็นระบบการปลูกลำไยทชี่ ่วยปอ้ งกันและลดอัตราการชะ
ล้าง หรือการพงั ทลายของดนิ ในพื้นทท่ี ี่มีความลาดชัน ปกติระบบการปลุกนีจ้ ะใหเ้ มื่อพนื้ ท่ปี ลูกมีความลาด
ชันเกิน 3 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงในทุกระยะทาง 100 เมตร จะมีระดับความสูงข้ึนหรือต่ำลง 3 เมตรขึ้นไป
ตอ้ งทำการปลกุ ตามแนวระดบั การเตรียมพ้นื ทป่ี ลูกตอ้ งมีการทำระดับหรอื ขั้นบนั ได

การขยายพนั ธุ์ลำไย
การขยายพันธุ์ลำไยสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ลำไยที่ปลูกในประเทศไทยขยายพันธุ์จากกิ่งตอน
ปจั จุบนั ในสวนท่ปี ลกู ใหม่ ใชต้ น้ ทไี่ ด้จากการตอ่ กง่ิ โดยนำก่งิ ยอดพันธ์ุดีมาต่อลงบนตน้ ตอลำไยเกษตรกร
เชอื่ วา่ จะได้ตน้ ทแี่ ขง็ แรง ในประเทศจีนต้นกลา้ ทีใ่ ช้ทาบกิง่ เปน็ ต้นตออายปุ ระมาณ 3 - 5 ปี สว่ นกิ่งทาบได้
มีการทดลองแล้วว่าสามารถปฏิบัติไดแ้ ตไ่ ม่คอ่ ยได้รับความนยิ ม การขยายพนั ธุ์ลำไยท่ีนิยมมีหลายวธิ ี

1) การเพาะเมล็ด เป็นวิธดี ั้งเดมิ ทีท่ ำกนั มานาน ตั้งแต่มีการนำเข้าลำไยจากประเทศจีน ซึ่งมีผล
ทำให้เกิดลำไยมากมายหลายพนั ธ์ใุ นปัจจุบนั ปจั จุบนั วธิ ดี ังกลา่ วไมเ่ ป็นที่นยิ ม เน่อื งจากได้ตน้ ทไี่ ม่ตรงตาม
พันธแุ์ ละใหค้ ุณภาพผลต่ำ เม่ือเปรยี บเทยี บกับต้นแม่ นอกจากนตี้ น้ ท่ีปลูกจากเมล็ดมรี ะยะเยาว์วัยนานใช้
เวลา7 - 8 ปี

18

ภาพท่ี 2.8 การเพาะลำไย
ที่มา https://www.google.com/search?q=1

2) การตอนกิง่ เป็นวิธีที่นยิ มกันมากในประเทศไทย เนื่องจากวิธีการที่ทำได้ง่ายออกรากง่าย ใน
ฤดูฝนกง่ิ ตอนใชเ้ วลาประมาณ 1 เดอื นในการออกราก หลงั จากออกรากแลว้ นำไปเพาะชำไว้ในทร่ี ม่ 1 - 2
เดือนก่อนนำลงปลูก (เพอื่ ปอ้ งกนั การคายน้ำที่เกิดข้นึ อย่างรวดเรว็ และเพ่อื เร่งการเจริญเติบโตของราก)
ต้นทไี่ ดจ้ ากการตอนกิ่งจะใช้เวลา 3 - 5 ปีในการให้ผลผลิตแตข่ ้อเสยี ของก่ิงตอนคอื การโค่นล้มเนื่องจาก
ลมไดง้ า่ ย การเสริมรากโดยการปลกู ตน้ กล้าลำไยไว้ใกล้ ๆ กบั ตน้ หลัก และทาบสองตน้ ติดกนั เป็นวธิ หี นึ่งท่ี
เกษตรกรปฏิบตั เิ พ่ือลดปัญหาน้ี การใชไ้ ม้ไผใ่ นการค้ำยันกงิ่ ก็สามารถชว่ ยป้องกันกิง่ ฉกี หกั ได้

ภาพที่ 2. 9 การตอนก่งิ ลำไย
ท่ีมา https://www.google.com/search?q=%

3) การทาบกิง่ เปน็ วธิ ีที่ง่ายและให้ผลดี โดยใชต้ น้ กลา้ อายุ 8 - 12 เดอื น เป็นตน้ ตอ โดยนำตน้ ตอ
ใสถงุ พลาสติกขนาดเล็กและใช้ขุยมะพร้าวหรือกาบมะพร้าวเป็นวัสดุสำหรับให้ความชนื้ แล้วนำไปทาบกับ
กิ่งพันธุด์ ี โดยทาบทิ้งไว้ 45 - 60 วนั เพ่อื ให้รอยแผลเชื่อมกนั สนิทแล้วตัดสว่ นบนของตน้ ตอออก และตัด
ส่วนใต้กิง่ ยอดพันธุ์ดที ้ิงนำมาใส่ภาชนะปลูกอาจเป็นกระถางหรือถุงพลาสติกสีดำเป็นเวลา 2 - 4 สัปดาห์
กอ่ นนำลงปลกู ตอ่ ไป

19

4) การเสียบยอด ใช้ต้นกล้าอายุ 1 ปี เป็นต้นตอ ต้นตอควรมีความสมบูรณ์แข็งแรง และมี
ลักษณะของการเจริญเติบโตที่ดี โดยทั่วไปใช้ต้นตอที่เป็นลำไยพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เช่นลำไย
กระดกู ทำหารตัดยอดตน้ ตอใหม้ คี วามสูงประมาณ 3-5 นว้ิ แลว้ นำยอดพันธุ์ดีมีความยาวประมาณ 10-12
นิ้ว ทำการเฉือนแผลต้นตอและกิง่ พนั ธ์ุใหม้ ีความยาวของบาดแผลประมาณ 1-2 นิ้ว พันพลาสตกิ หรือใช้
เชือกฟางให้แน่นนำไปปลูกในถุงพลาสติกใสขนาด 20X30 นิ้ว พ่นสารกำจัดเชื้อราและรดน้ำให้ชุ่มเพื่อ
รักษาความชื้นภายในถุง มัดปากถุงให้แน่นทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 45 - 60 วันแล้วค่อยเปิดปากถุงออก
หลงั จากน้ันประมาณ 3 - 5 วัน ทำการย้ายลงภาชนะปลกู โดยใชด้ ินผสมเป็นวสั ดปุ ลูก

5) การตัดชำ ในประเทศไทยมีการปฏิบัติโดยการใช้ก่ิงกึ่งออ่ นก่ึงแก่ความยาวประมาณ 5 นิ้วมา
ปักชำในถุงขนาด 3 X 7 นิ้ว ใช้แกลบดำเป็นวัสดุปกั ชำแลว้ นำใส่ถุงพลาสติกเพื่อควบคุมความชื้นอีกครั้ง
หนง่ึ การตดั ชำกง่ิ ลำไยภายใตร้ ะบบพน่ ฝอยพบว่าประสบความสำเรจ็ คอ่ นขา้ งสงู เชน่ เดยี วกับการปฏบิ ตั ิ
ในประเทศออสเตรเลีย หลงั จากต้นลำไยออกรากกท็ ำการยา้ ยลงภาชนะปลกู เพ่อื ใช้เป็นตน้ พนั ธุ์ดีตอ่ ไป

สรุป ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการปลูกมากทางภาคเหนือของประเทศไทย มีสรรพคุณและ
ประโยชน์มากมาย สามารถบำรุงรา่ งกาย บำรงุ เลือด บำรุงระบบประสาท ตา และหัวใจ และยงั มีการแปร
รปู เป็นผลติ ภัณฑ์ เช่น ลำไยอบแหง้ ลำไยกระป๋องและลำไยแชแ่ ข็ง เป็นต้น

2.2 ความรูเ้ ก่ยี วกบั การแปรรปู ลำไย
นอกจากบรโิ ภคลำไยสดแลว้ ลำไยยงั สามารถแปรรปู เป็นผลติ ภัณฑ์ลำไยชนิดต่าง ๆ เพ่ือยืดอายุ

การเก็บรกั ษาให้สามารถเก็บไว้บรโิ ภคได้นาน ๆ และยังมรี สชาติอร่อยอีกด้วย ปัจจุบันผลิตภัณฑ์แปรรูป
หลักประกอบดว้ ย 4 ผลติ ภณั ฑ์ ได้แก่ ลำไยอบแหง้ ท้ังเปลอื ก ลำไยเนือ้ สีทอง ลำไยกระป๋องและลำไยแช่
แข็ง นอกจากนั้นยังสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ลำไยกวน แยมลำไย ลำไยดอง ลำไยแช่อิ่ม
เครื่องดื่มน้ำลำไย ลำไยเคลือบน้ำตาล ฯลฯ นอกจากนี้ลำไยผลสดและเนื้อลำไยอบแห้งสามารถนำมา
ประกอบเป็นอาหารคาวหวานชนิดตา่ ง ๆ ได้

การแปรรปู ลำไยมหี ลายวธิ ตี ามชนดิ ของผลติ ภัณฑ์ ดงั นี้
1) ลำไยอบแห้ง การอบลำไยทั้งเปลือกสามารถทำไดห้ ลายวธิ เี ช่นอบในเตาอบแบบกะบะ อบใน

เตาอบแบบไอนำ้ อบในเตาอบแบบบ่มใบยาสูบ เป็นตน้ โดยแตล่ ะเตาอบยงั อาจใช้เชอ้ื เพลงิ ตา่ งกนั

20

ภาพท่ี 2.10 ลำไยอบแหง้
ท่มี า https://www.google.com/ %E0%B8%87&

2) ลำไยบรรจกุ ระปอ๋ ง สว่ นใหญ่นิยมใชล้ ำไยพันธุก์ ะโหลกซ่งึ มเี นื้อหนาและกรอบ เชน่ พันธ์เุ บ้ียว
เขยี ว พันธอ์ุ ดี อ พนั ธ์ุแห้ว เปน็ ตน้ ส่วนลำไยทมี่ ีเนื้อบางนน้ั ไม่นยิ มนำมาบรรจุกระป๋อง

ภาพท่ี 2.11 ลำไยกระปอ๋ ง
ทีม่ า https://www.google.com/search?q=%E0%

3) ลำไยแชแ่ ขง็ ลำไยแช่แข็งมีตลาดหลักท่สี ำคัญคือ สหรฐั อเมริกา รองลงมาไดแ้ ก่ ฝรัง่ เศส ญี่ปุ่น
และฮอ่ งกง ตามลำดับ แต่การสง่ ออกยงั ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกบั ปริมาณการส่งออกผลติ ภัณฑล์ ำไยประเภท
อืน่ ๆ การแช่แข็ง ( freezing ) เปน็ การเกบ็ อาหารไว้ในอนุหภูมทิ ่ีต่ำกว่าจุดเยอื กแขง็ หรือต่ำกว่า 0 องศา
เซลเซยี ส การแชแ่ ข็งเป็นการถนอมอาหารระยะยาวท่หี ากปฏิบัตอิ ย่างถกู ตอ้ งจะสามารถรักษาสี กลนิ่ รส

21

ภาพท่ี 2.12 ลำไยแชแ่ ข็ง
ท่มี า https://www.google.com/search?q=%E0%B8%

4) นำ้ ลำไย ความหมายของน้ำผลไมต้ ามจำกัดความขงิ สหภาพยุโรป (EU) หรอื UK หมายถงึ น้ำ
ซงึ่ มาจากผลไมโ้ ดยผ่านกระบวนการทางเทคนิคซ่ึงอาจมกี ารเปล่ียนสภาพเพราะจุลนิ ทรยี ์ได้ แตต่ ้องมีการ
หมกั ดอโดยจะต้องมีสี กลน่ิ รส เหมอื นกับนำ้ ผลไมธ้ รรมชาตหิ รือผลิตภัณฑซ์ ึ่งมาจากน้ำผลไมเ้ ข้มข้น

ภาพที่ 2.13 น้ำลำไยทมี่ า
https://www.google.com/search?q=%E0%

5) ลำไยผง เป็นการแปรรปู ลำไยประเภทหนึ่งท่ีสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มใหก้ ับลำไยได้มากกว่าการ
แปรรูปแบบอื่น ๆ ช่วยแก้ปัญหาปริมาณลำไยล้นตลาด ราคาตกต่ำ สามารถแปรสภาพผลลำไยที่ไม่สวย
และมีขนาดเลก็ ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ทำให้มีลำไยบริโภคได้ตลอดท้ังปี ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่าน ทำ
ให้ปริมาณลำไยลน้ ตลาด ราคาตกต่ำ

22

ภาพที่ 2.14 ลำไยผง
https://www.google.com/search?q=%E0%

2.3 ความร้เู กยี่ วกับลำไยอบแห้ง
ลำไยอบแห้งประมาณปี พ.ศ. 2530 - 2531 บริษัท อีเจิ้ง จำกัด ได้เข้ามาพัฒนาการทำลำไย

อบแห้งในประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นราคาลำไยร่วงกิโลกรัมละ 1 - 2 บาท ซึ่งนับว่ามีราคาถูกมากการ
พฒั นาลำไยอบแห้งนม้ี สี ว่ นช่วยให้เกดิ การรองรับผลผลิตของลำไย ซ่งึ มีอัตราการเพ่ิมสูงขนึ้ ทุกๆปี โดยในปี
พ.ศ. 2533 ลำไยอบแห้งสามารถเข้ามามีอัตราส่วนทางการตลาดของลำไยประมาณร้อยละ 17 คิดเป็น
ปริมาณลำไยสด 10,965 ตันในปี พ.ศ. 2539 ยกระดับเพิ่มเป็นร้อยละ 46 คิดเป็นปริมาณลำไยสด
ประมาณ 80,590 ตันและในปี พ.ศ. 2540 เปน็ ร้อยละ 50 คดิ เปน็ ปรมิ าณลำไยสดประมาณ 114,231 ตนั
ในขณะที่ปี 2541 และ 2542 เป็นปี Off Year ซึ่งลำไยมีผลผลิตน้อยมาก แต่มีการทำลำไยนอกฤดูและ
ก่อนฤดู ซึ่งส่งผลทำให้มีผลผลิตลำไยสดเข้าสู่ตลาดฮ่องกงและจีนเป็นระยะ ทำให้กลไกตลาดของลำไย
อบแห้งเปลี่ยนแปลงไปจากการซอื้ เกง็ ราคาในชว่ งต้นฤดูการผลิต แลว้ นำมาขายในปลายฤดูการผลิต ให้ได้
ราคาท่ีสูงข้นึ แต่เนอื่ งจากผลผลิตลำไยอบแห้งนอกฤดมู ีจำนวนมากจงึ ทำใหก้ ารเกง็ ราคาในชว่ งปลายฤดูไม่
สามารถกระทำได้ นอกจากนใี้ นปที ่ีผลผลติ มมี ากราคาตำ่ สามารถเกบ็ กักสินค้าทำกำไรในชว่ งปลายได้ ก็จะ
สามารถทำใหก้ ารตลาดเคล่ือนไหวเช่นในปี พ.ศ. 2543 ราคาลำไยตกตำ่ มาก การกักตุนลำไยเพือ่ เก็งกำไร
ก็มคี วามเปน็ ไปไดใ้ นทางการตลาด ในการผลติ ลำไยอบแหง้ ผู้ผลิตนยิ มใช้ลำไยพนั ธ์ุอีดอ เน่อื งจากเป็นพันธุ์
ทีน่ ำมาอบแลว้ ให้เนื้อมาก ปละเปลอื กหนา ไม่นยิ มนำลำไยพนั ธอ์ ่ืนมาใช้ในการอบ เนอ่ื งจากลำไยพันธ์ุอื่น
ๆจะมีเนื้อน้อยและเปลือกบางกว่าพันธุ์อดี อทำให้แตกเสียหายได้ในการอบ ลำไยอบแห้งสามารถแบ่งได้
เป็น 2 ลักษณะตามวธิ ีการอบดงั น้ี

1) อบลำไยทงั้ เปลอื ก
- นำผลลำไยสดคัดลกู แตก สง่ิ เจอปนออก นำมาคัดขนาดใหเ้ ทา่ กัน
- บรรจลุ ำไยลงในเตาอบ โดยแบ่งเป็น 3 ช้ัน ๆ ละประมาณ 500-700 กก./ชั้น โดยใชต้ าขา่ ยรอง
ก้ันแต่ละชนั้ เกลย่ี ลำไยใหส้ มำ่ เสมอกัน

23

- เปิดเครื่องอบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 - 4 ชั่วโมง ให้น้ำระเหยออกไปใน
ปรมิ าณมาก ๆ นำเอากระสอบป่านมาปิดคลมุ ผลลำไยใหม้ ิดชิด ควบคมุ ลมร้อนใหก้ ระจายอย่างทว่ั ถงึ อบ
ตอ่ ไปเป็นเวลา 13 ชั่วโมงติดตอ่ กนั

- ปดิ เคร่อื งอบ พลกิ กลับลำไยตามชน้ั ตาขา่ ย ชนั้ ล่างขึ้นชนั้ บน ชน้ั บนลงชน้ั ลา่ ง เกล่ียใหส้ มำ่ เสมอ
กัน คลุมผลลำไยด้วยกระสอบ เดินเครื่องอบต่อที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 ชั่วโมง
ติดตอ่ กัน

- ปดิ เคร่อื งอบพลกิ กลับลำไยตามชัน้ ตาขา่ ยเหมือนครัง้ ก่อน เกล่ียลำไยให้สม่ำเสมอคลุมผลลำไย
ดว้ ยกระสอบเหมอื นเดมิ เปิดเครื่องอบอุณหภมู ิ 65 องศาเซลเซียส อบเป็นเวลา 10 ชัว่ โมงติดตอ่ กนั

- ตวั อย่างคณุ ภาพ โดยแกะดูเนอ้ื ลำไย มีสที อง จบั ดูแลว้ ไม่เหนยี วตดิ มือ เมล็ดกรอบ กัดแตกง่าย
เมื่อลำไยแห้งมีคุณภาพตรงตามตอ้ งการแล้ว จึงปิดเครื่องอบลมร้อนแล้วเปิดพัดลมเปา่ ลมเยน็ ประมาณ
30 - 60 นาที ปล่อยให้เยน็ นำลำไยอบแห้งออก รอ่ นแยกขนาด คัดผลแตกออก บรรจุภาชนะ
2) อบเฉพาะเนอื้ ลำไย

- นำลำไยสดควา้ นเมล็ดออกด้วยตุด๊ ตู่ แกะเปลอื กอย่าให้หวั สนี ้ำตาลติด
- ลา้ งนำ้ ให้สะอาด วางเรยี งบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ
- นำเนื้อลำไยที่จะเด็ดน้ำลงแช่ในสารละลายโปแตสเซียมเมตาไบซัลไฟท์เพื่อกันการเกิดรา
หลังจากอบแลว้
- ถา้ ตอ้ งการจำหนา่ ยทันทีหรือเก็บไว้ 3 เดือน ใหใ้ ช้สารโปแตสเซียมเมตาไบซัลไฟท์ 3 กรัมต่อน้ำ
10 ลิตร ตอ่ เนอื้ ลำไย 10 กิโลกรัม แชไ่ ว้ 3-5 นาที ช้อนข้ึน
- ถ้าตอ้ งการเกบ็ ไว้ 6 - 9 เดือน ให้สารโปแตสเซียมเมตาไบซัลไฟท์ 5 กรัมต่อนำ้ 10 ลติ ร ต่อเน้ือ
ลำไย 10 กโิ ลกรมั แชไ่ ว้ 8 - 10 นาที ชอ้ นข้ึน
- นำเขา้ เตาอบชนิดทม่ี ีพดั ลมเปา่ อณุ หภมู ิ 70 องศาเซลเซยี ส ใชเ้ วลาอบเนอ้ื นาน 6 ชัว่ โมง แล้ว
กลับชั้นล่างขึ้นชั้นบน สลับกันอบต่อไป 6 ชั่วโมง หากเตาอบขนาดบรรจุ 100 กก. ใช้เวลาอบนาน 15
ช่ัวโมง ในอณุ หภมู ิเท่ากนั หากเตาอบชนดิ ที่ไมม่ พี ดั ลมเป่าจะตอ้ งอบทอ่ี ุณหภูมิ 65 องศาเซลเซยี ส ใชเ้ วลา
16 - 20 ชัว่ โมง ตดิ ต่อกัน
- ไม่ควรใช้อุณหภมู ิสูงกว่านี้ เพราะจำทำใหเ้ นอื้ ลำไยมสี นี ้ำตาลเขม้ ถงึ ดำ อีกทงั้ เนือ้ ลำไยด้านนอก
จะแขง็ ดา้ นในยังชื้นอยเู่ ป็นสาเหตใุ ห้อายกุ ารเก็บสนั้ และเกดิ รา
- เมื่ออบแห้งครบกำหนดเวลาแล้ว ควรตรวจสอบความแห้งโดยการสัมผัส ไม่เหนียวติดมือและ
ตรวจสอบภายในเนื้อลำไยว่าแหง้ สนทิ ดี
- นำออกจากเตา ผึง่ ใหเ้ ยน็ หรอื เปา่ ลมเยน็ ใหเ้ นอื้ ลำไยเยน็ ตวั

2.4 แนวคิดและทฤษฎีความพึงพอใจ
กู๊ด (Good, 1973) ได้กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง สภาพ คุณภาพ หรอื ระดับความพึพอใจ

24

ซึง่ เป็นผลมาจาก ความสนใจตา่ ง ๆ และทศั นคติท่ีบุคคลนน้ั มตี อ่ สิ่งน้ัน
โอลเิ วอร์ (Oliver, 1997) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจ คือการตอบสนองที่แสดงถึงความรู้

ปะสงค์ของลูกคา้ เป็นวิจารณญาณของลูกค้าท่มี ีต่อสินคา้ และบรกิ าร ความพงึ พอใจมมี มุ มองทแ่ี ตกต่างกนั
แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน

โวลแมน (Wolman, 1973) ได้กล่าวว่า ความพงึ พอใจ หมายถงึ ความรสู้ ึกทมี่ ีความสุขเม่ือได้รับ
ผลสำเรจ็ ตามจดุ มงุ่ หมาย ความตอ้ งการหรือแรงจงู ใจ

เคลิร์ก (Quirk, 1987) ได้กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้ที่มีความสุขหรือความพอใจ
เม่อื ไดร้ ับความสำเรจ็ หรือได้รบั ส่ิงทีต่ ้องการ

ฮอร์นบ้ี (Hornby, 2000) ได้กลา่ วว่า ความพงึ พอใจหมายถงึ ความรู้สึกที่ดเี ม่อื ประสบความสำเร็จ
หรือไต้รับสิง่ ทต่ี อ้ งการให้เกิดขน้ึ เปน็ ความรสู้ ึกทพ่ี อใจ

วิรุฬ พรรณเทวี (2542, หน้า 111) ได้ให้ความหมายความพึงพอใจ หมายถึงความรู้สึกภายใน
จิตใจของมนุษย์ที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะคาดหวังกับสิ่งหนึ่งอย่างไรถ้าคาดหวังหรือมี
ความตั้งใจมากและได้รับการตอบสนองด้วยดีจะมีความพึงพอใจมาก แต่ในทางตรงกันข้ามอาจผิดหวัง
หรือไมพ่ งึ พอใจเป้นอย่างยิ่งเม่อื ไมไ่ ด้รับการตอบสนองตามทคี่ าดหวังไว้

สาโรช ไสยสมบัติ (2534, หน้า 18 อ้างถึงใน ปราการ กองแก้ว,2546, หน้า 17) ได้กล่าวว่า
ความพึงพอใจเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยทำให้งานประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเปน็
งานที่เกี่ยวกับการให้บริการ นอกจากผู้บริหารจะดำเนินการให้ผู้ทำงานเกิดความพึงพอใจในการทำงาน
แล้ว ยังจำเป็นต้องดำเนินการที่จะทำใหผ้ ู้ใช้บริการเกิดความพงึ พอใจด้วยเพราะความเจริญก้าวหนา้ ของ
การบริการเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงจำนวนผู้มาใช้บริการ ดังนั้นผู้บริหารที่ชาญ
ฉลาดจึงควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาให้ลกึ ซึ้งถงึ ปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ทจ่ี ะทำให้เกิดความพงึ พอใจ ทั้ง
ผู้ปฏบิ ตั งิ านและผมู้ าใชบ้ ริการ

ราณี เชาวนปรีชาศ์ (2538, หน้า18 อ้างถึงใน วฤทธิ์ สารฤทธิคาม, 2548, หน้า 31)ได้กล่าวว่า
ความพึงพอใจ หมายถึง ความรสู้ ึกหรอื ทศั นคติของบคุ คลทีม่ ตี ่อสิ่งใดสงิ่ หน่ึงหรอื ปัจจัยตา่ ง ๆ ท่ีเกี่ยวข้อง
ความรู้สึกพึงพอใจจะเกิดเมื่อความต้องการของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ความรู้สกึ พงึ พอใจจะเกดิ ขน้ึ เมื่อความต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนองหรอื บรรลุตามจุดมุง่ หมายใน
ระดับหนึ่ง ความรู้สึกดังกล่าวจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้น หากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้นไม่ไดร้ ับการ
ตอบสนอง ความพึงพอใจต่อการใช้บริการจึงเป็นความรู้สึกของผู้ที่มารับบริการมีต่อสถานบริการตาม
ประสบการณท์ ่ีไดร้ ับจากการเขา้ ไปตดิ ตอ่ ขอรับบรกิ ารในสถานบริการนนั้ ๆ

อรรถพรคาคม (2546, หน้า 29) ได้กล่าวว่า ความพงึ พอใจ หมายถึง ทศั นคติหรอื ระดับความพึง
พอใจของบุคคลต่อกิจการรมต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกิจกรรมนั้น ๆ โดยเกิดจาก
พื้นฐานของการรับรู้ค่านิยมและประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลจะได้รับ ระดับของความพงึ พอใจจะเกดิ ขึ้น
เมอื่ กจิ กรรมนนั้ ๆ สามารถตอบสนองความต้องการแกบ่ คุ คลนน้ั ได้

25

วฤทธ์ิ สารฤทธคิ าม (2548, หนา้ 32 อา้ งถึงใน รัตนศักด์ิ ยสี่ ารพัฒน์, 2551, หนา้ 6) ได้ให้ความ
หมายความพึงพอใจว่า เป็นปฏิกิริยาด้านความรู้สึกต่อสิ่งเรา้ หรือสิ่งกระตุ้นทีแ่ สดงผลออกมาในลักษณะ
ของผลลัพธ์สุดท้ายของกระบวนการประเมิน โดยแบ่งออกถึงทิศทางของผลการประเมินว่าเป็นไปใน
ลักษณะทิศทางบวกหรือทิศทางลบหรือไม่มปี ฏกิ ิรยิ า

ดเิ รก (2528) ได้กลา่ วว่า ความพงึ พอใจ หมายถงึ ทศั นคตทิ างบวกของบุคคลท่ีมตี ่อสงิ่ ใดสิ่งหนึ่ง
เป็นความรสู้ กึ หรอื ทัศนคติที่ดีตอ่ งานที่ทำของบุคคลทม่ี ีต่องานในทางบวก ความสขุ ของบุคคลอันเกิดจาก
การปฏิบัติงานและได้รับผลเป็นทพ่ี งึ พอใจ ทำให้บคุ คลเกิดความกระตือรอื รน้ มคี วามสุข ความมุ่งมั่นที่จะ
ทำงาน มีขวัญและมีกำลังใจ มีความผูกพันกับหน่วยงาน มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จของงานที่ทำ
และสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานส่งผลต่อถึงความก้าวหน้าและ
ความสำเร็จขององคก์ ารอกี ด้วย

กาญจนา (2546) ได้กล่าวว่า ความพึงพอใจของมนุษย์เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่เป็น
นามธรรม ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปรา่ งได้ การที่เราจะทราบว่าบุคคลมีความพึงพอใจหรือไม่ สามารถ
สงั เกตโดยการแสดงออกท่ีคอ่ นขา้ งสลับซับซอ้ นและต้องมีสงิ่ เร้าทต่ี รงตอ่ ความต้องการของบคุ คล จงึ จะทำ
ใหบ้ ุคคลเกดิ ความพึงพอใจ ดงั นั้นการส่ิงเรา้ จงึ เป็นแรงจงู ใจของบคุ คลนนั้ ให้เกดิ ความพงึ พอใจในงานนั้น

นภารตั น์ (2544) ได้กลา่ วว่า ความพงึ พอใจเปน็ ความรสู้ ึกทางบวกความรูส้ ึกทางลบและความสุข
ท่ีมคี วามสมั พันธก์ ันอยา่ งซับซ้อน โดยความพึงพอใจจะเกิดขึน้ เม่ือความรูส้ ึกทางบวกมากกว่าทางลบ

เทพพนม และสวงิ (2540) กล่าวว่า ความพงึ พอใจเปน็ ภาวะของความพึงใจหรอื ภาวะท่ีมีอารมณ์
ในทางบวกท่ีเกิดขึ้น เนื่องจากการประเมินประสบการณ์ของคนๆหนึ่ง สิ่งที่ขาดหายไประหว่างการเสนอ
ใหก้ ับสิง่ ทีไ่ ดร้ ับจะเปน็ รากฐานของการพอใจและไม่พอใจได้

พิทกั ษ์ (2538) กลา่ วว่า ความพงึ พอใจเป็นปฏิกิริยาด้านความรสู้ ึกตอ่ ส่งิ เร้าหรอื สง่ิ กระต้นุ ที่
แสดงผลออกมาในลักษณะของผลลัพธ์สุดท้ายของกระบวนการประเมิน โดยบ่งบอกทิศทางของผลการ
ประเมินว่าเป็นไปในลักษณะทิศทางบวกหรือทิศทางลบหรือไมม่ ีปฏิกิริยาคือเฉยๆ ต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งที่มา
กระต้นุ

ชารณิ ี (2535) ได้เสนอทฤษฎีการแสวงหาความพงึ พอใจไว้ว่า บุคคลพอใจจะกระทำสิง่ ใดๆที่ให้
มีความสุขและจะหลีกเลี่ยงไม่กระทำในสิ่งที่เขาจะได้รับความทุกข์หรือความยากลำบาก โดยอาจแบ่ง
ประเภทความพอใจกรณนี ไี้ ด้ 3 ประเภท คอื
1) ความพอใจด้านจิตวิทยา (psychological hedonism)
2) ความพอใจเกย่ี วกับตนเอง (egoistic hedonism)
3) ความพอใจเกี่ยวกับจริยธรรม (ethical hedonism)

อทุ ัย พรรณสุดใจ (2545) ได้กลา่ วถึง ความพงึ พอใจวา่ เปน็ ความรูส้ กึ รกั ชอบยินดเี ต็มใจ หรือมี
เจตคตทิ ีด่ ีของบคุ คลต่อส่งิ ใดส่ิงหนึ่ง ความพอใจจะเกิดเมอ่ื ได้รบั ตอบสนองความต้องการ ท้ังดา้ นวัตถุและ
ด้านจิตใจ ความพึงพอใจเปน็ เร่ืองเกี่ยวกับอารมณ์ ความรูส้ ึก และทศั นะของบคุ คล อนั เนือ่ งมาจากสิ่งเร้า

26

และสิ่งจูงใจ โดยอาจเป็นไปในเชิงประเมินค่าว่าความรู้สึกหรือทัศนคติต่อ สิ่งเหล่านั้น เป็นไปในทางลบ
หรือบวก

จากทีผ่ จู้ ดั ทำได้ศึกษาสรุปไดว้ ่า ความพึงพอใจ ความรู้สกึ ทดี่ หี รอื ทศั นคติทีด่ ขี องบุคคล ซ่ึงมักเกดิ
เกดิ จากการตอบสนองตามทีต่ นตอ้ งการ กจ็ ะเกดิ ความรู้สึกทีด่ ีตอ่ ส่งิ นน้ั ตรงกนั ขา้ มหากความตอ้ งการของ
ตนไม่ไดร้ ับการตอบสนองความไม่พงึ พอใจกจ็ ะเกดิ ขึ้น

2.5 วิจยั ทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง
โครงการ ไซรัปลำไย ผ้จู ัดทำโครงการไดศ้ กึ ษาคน้ ควา้ บทความงานวจิ ัยที่เกย่ี วข้อง ดงั นี้

ผศ.ดร.ยุทธนา อธิบายว่า งานวิจัยนี้เริ่มจากนำเนื้อลำไยมาคั้นเป็นน้ำแล้วใช้ความร้อนฆ่าเชื้อ
และกำจัดตะกอนจากน้ันนำมาระเหยภายใต้สุญญากาศให้เป็นน้ำเชื่อมลำไยเข้มขน้ สูง โดยยังคงกลิ่นรส
เฉพาะตัวของลำไย ก่อนนำไปทำปฏิกิริยาด้วยกระบวนการทางเอนไซม์ เพื่อเหนี่ยวนำให้น้ำตาลปกติ
กลายเป็นฟรกุ โตสแซคคาไรด์ ซึ่งจะมีคุณประโยชนม์ ากขึ้น มีความหวานลดลง และเป็นประโยชน์ในเชิง
สุขภาพมากยง่ิ ข้ึน เพราะตัวฟรุกโตสแซคคาไรด์มีความหวานน้อยกวา่ ทำให้เอนไซมใ์ นรา่ งกายย่อยไม่ได้
แต่จะเป็นอาหารที่ดีสำหรับจลุ ินทรีย์ในลำไสใ้ หญ่ พอจุลินทรีย์เพ่ิมมากขึน้ กจ็ ะช่วยเพิ่มภมู คิ ุม้ กันมากขึน้
และเมื่อบริโภคแลว้ ไม่ทำใหฟ้ ันผุ งานวิจัยดังกล่าว ได้ทำเป็น 2 รูปแบบ คือแบบไซรปั และแบบผง ทำให้
มูลค่าของ FOS (Fructo-ioligosaccharides) สูงขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบราคาผลิตภัณฑล์ ำไยท่ีแปรรูป
ทวั่ ไป เช่น อบแหง้ ลำไยกระปอ๋ งในนำ้ เชื่อม ฯลฯผศ.ดร.ยุทธนาแจกแจงถึงประโยชน์ของFOSคอื พรไี บโอ
ตกิ ท่ีชว่ ยในเรอ่ื งของจลุ นิ ทรียใ์ นลำไสใ้ หญ่ นำไปใช้เป็นอาหารใหก้ ับจลุ นิ ทรีย์ ดงั น้นั จุลินทรีย์เจรญิ เติบโต
มีความแข็งแรงก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้มากขึ้น ซึ่งปกติสารสกัด FOS อาจจะขายกันที่
กิโลกรัมละ 8,000 บาท“ตวั น้ำเช่อื มปกติจะมีความหวานมาก แต่ถา้ เปน็ FOS จากลำไยตัวนี้ ความหวาน
จะลดลง ทำให้แคลอรีที่ได้ลดลงด้วย ฉะนั้นตัวนี้จึงเหมาะกับคนรักษาสุขภาพ หรือผู้ที่ต้องการเพ่ิ ม
ประโยชนจ์ ากการใช้ FOS และสามารถใชท้ ดแทนความหวานไดส้ ว่ นหน่งึ ทั้งนค้ี นเปน็ เบาหวานก็สามารถ
บริโภคได้ เพราะความหวานลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีแคลอรี หรือไม่หวานเลย ดังนั้นก็ควร
บรโิ ภคด้วยความเหมาะสม”

รศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ อาจารย์ จากภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยผลวิจัยที่ได้นำเนื้อลำไยอบแห้งไปทดลองแล้วพบว่า เนื้อลำไยอบแห้งมีฤทธ์ิ
ตา้ นความเปน็ พิษตอ่ ยีน หรืออธิบายงา่ ย ๆ วา่ สารในเนื้อลำไยอบแห้งมีสรรพคุณต้านพิษในสารก่อมะเร็ง
ได้ โดยการวิจัยได้นำเอาสารก่อมะเร็งจากอาหารปิ้งย่าง อาหารทอดด้วยความร้อนสูง และควันบุหรี่ มา
ผสมกบั สารสกัดลำไย ซ่งึ พบว่า เซลล์มะเร็งมกี ารตายแบบธรรมชาติ (คอื การตายทลี ะเซลล์โดยไม่ส่งผลต่อ
เซลล์รอบข้าง) เพิม่ มากข้ึน อีกท้ังทมี วจิ ยั ยังทำการศกึ ษาตอ่ ในประเด็นท่ีว่า สารสกดั ลำไยอบแห้งสามารถ
ช่วยยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้หรือไม่ โดยการนำเซลล์เม็ดเลือดขาวมากระตุ้นให้เกิดการอักเสบจาก
อนุมลู อิสระ แล้วนำสารสกดั จากเนือ้ ลำไยอบแหง้ เขา้ ไปผสม ซง่ึ กพ็ บวา่ สารอนมุ ูลอสิ ระในเซลล์เม็ดเลือด

27

ขาวมีจำนวนลดลงอยา่ งมีนัยสำคญั อย่างไรกต็ าม การวิจัยน้ียงั คงตอ้ งพัฒนาและตอ่ ยอดองคค์ วามรู้ให้แน่
ชัดกว่านี้ เพื่อตอบสนองความคาดหวงั ว่าจะใช้สารสกดั จากลำไยอบแหง้ ร่วมกับการรักษามะเร็งดว้ ยเคมี
บำบัด หรือนำสารสกัดจากลำไยอบแหง้ ไปใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วยมะเรง็ ในแง่อื่น ๆ เชน่ ชว่ ยลดการใช้ยา หรือ
ลดผลข้างเคียงจากการใชย้ าในอนาคต

บทท่ี 3
วธิ กี ารดำเนินการ

ในการจัดทำโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพือ่ การศึกษาประโยชน์และวิธีทำของไซรัปลำไย
และเพอ่ื ศกึ ษาวิธีการคำนวณตน้ ทุนและราคาขาย ซึ่งผู้จดั ทำได้ดำเนนิ การศึกษาดงั นี้

3.1 การคัดเลือกกลุ่มตัวอยา่ ง
3.2 เครอ่ื งมอื ที่ใช้ในการดำเนนิ โครงการ
3.3 การดำเนินการศึกษา
3.4 การเก็บรวบรวมขอ้ มูล
3.5 การวิเคราะหข์ อ้ มลู

3.1 การคดั เลอื กกล่มุ ตัวอย่าง
โครงการเรื่อง ไซรัปลำไย ผู้จัดทำใช้วิธีการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive

sampling ) เป็นการเลอื กกลุ่มตัวอย่างโดยพจิ ารณาจากการตดั สินใจของผวู้ ิจัยเอง ลักษณะของกลุ่ม
ท่ีเลือกเป็นไปตามวัตถปุ ระสงคข์ องการวิจยั คือ กล่มุ ผูท้ ดลองรับประทานไซรัปลำไยจำนวน 50 คน

3.2 เครือ่ งมือทใ่ี ชใ้ นการดำเนินโครงการ

1) แบบบันทึกผลการทดลอง

2) แบบสอบถามความพึงพอใจ

ผู้จัดทำโครงการใช้แบบบันทึกการทดลอง แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นเครื่องมือเพ่ือ

รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่อสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง หลังจากนั้นผู้จัดทำ

โครงการจะจัดทำแบบสอบถามความพงึ พอใจในการรับประทานไซรัปลำไย ดงั นัน้ ผู้จดั ทำโครงการได้

แยกแบบสอบถาม ออกเป็น 3 สว่ น ดังน้ี

ส่วนท่ี 1 ขอ้ มูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยสอบถามเกยี่ วกับเพศ อายุ

ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับประทานไซรัปลำไย ผู้จัดทำโครงการได้ใช้

มาตราวัดแบบ Rating scale 5 ระดับตามมาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert’Scale) ในการวดั ระดับความ

พึงพอใจ ดังนี้

5 หมายถงึ มากทส่ี ดุ

4 หมายถึง มาก

3 หมายถึง ปานกลาง

2 หมายถึง นอ้ ยหรอื ตำ่ กวา่ มาตรฐาน

1 หมายถึง นอ้ ยท่ีสดุ หรือตอ้ งปรับปรุงแกไ้ ข

30

ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเกณฑ์

การประเมนิ แบบสอบถามความคดิ เหน็ มี 5 ระดบั โดยผจู้ ดั ทำโครงการได้เลอื กวธิ ีการของ เร็นสิส เอลิ

เคริ ท์ ดังน้ี (Likert’Scale,Rating scale A.2504)

4.50 - 5.00 หมายถึง เหน็ ดว้ ยอยู่ระดบั มากที่สดุ

3.50 - 4.49 หมายถึง เหน็ ด้วยอยู่ระดบั มาก

2.50 - 3.49 หมายถึง เหน็ ดว้ ยอยู่ระดบั ปานกลาง

1.50 - 2.49 หมายถึง เหน็ ด้วยอยู่ระดับนอ้ ย

การสร้างเครอื่ งมือในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ครั้งน้ี โดยมกี ารสรา้ งเครอื่ งมือดงั น้ี
- ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางในการสร้างเครื่องมือในการศึกษาให้

ครอบคลมุ เน้ือหาทกี่ ำหนด
- จัดทำแบบสอบถามเพ่ือใชใ้ นการเก็บข้อมลู เกีย่ วกับ ไซรัปลำไย
- ตรวจสอบแบบสอบถาม โดยปรึกษาอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับความถูกต้องของแบบสอบถาม

และข้อควรแก้ไขของแบบสอบถามเพอ่ื นำไปใชใ้ นการเกบ็ ข้อมูลท่ถี ูกตอ้ ง
- ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามที่ควรแก้แล้วเสนอต่ออาจารย์อีกครั้งเพื่อตรวจเช็คความ

ถกู ต้องอกี ครงั้ ก่อนจะนำไปใช้ในการเก็บขอ้ มลู

3.3 ข้นั ตอนการดำเนินงาน
1) การวางแผน (P)

- กำหนดช่อื เรอ่ื งและศึกษารวบรวมขอ้ มลู ปญั หา ความสำคญั ของโครงการ
- เขยี นแบบนำเสนอโครงการ
- ขออนุมตั โิ ครงการ
2) ข้นั ตอนการดำเนินการ (D)
- ศกึ ษา ผลิตไซรปั ลำไย ประเมนิ ผลและปรบั ปรงุ คร้งั ที่ 1
- ศกึ ษา ผลิตไซรปั ลำไย ประเมินผลและปรับปรุง ครัง้ ท่ี 2
- ศึกษา ผลิตไซรัปลำไย ประเมินผล คร้งั ที่ 3
3) ขั้นตอนการตรวจสอบ (C)
- กลมุ่ ประชากรรบั ประทานไซรัปลำไย
- ประเมินผลความพงึ พอใจของการรับประทานไซรัปลำไย
4) ข้ันประเมนิ ตดิ ตามผล (A)
- สรปุ ผลการประเมนิ ความพงึ พอใจผลติ ภัณฑ์ไซรปั ลำไย
- จดั ทำเล่มโครงการ
- นำเสนอโครงการ

3.4 การเก็บรวบรวมขอ้ มูล
ผ้จู ดั ทำโครงการได้ดำเนนิ การเก็บรวบรวมข้อมูลการทำโครงการน้ี อยา่ งเป็นขัน้ ตอนดงั น้ี
1) ผู้จัดทำโครงการทำการแจกแบบสอบถามใหก้ ับกลุ่มตัวอย่าง โดยพิจารณาจากการตัดสินใจ

ของผู้วิจัยเอง โดยวิธีการสแกนคิวอาโค๊ช ให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบแบบสอบถามออนไลน์ด้วย
ตัวเอง

2) การรวบรวมแบบสอบถาม ผ้จู ัดทำโครงการไดร้ วบรวมแบบสอบถามดว้ ยตวั เอง
3) ตรวจสอบความสมบรู ณข์ องแบบสอบถาม เพือ่ นำข้อมลู ไปวิเคราะห์ทางสถติ ิ

3.5 การวเิ คราะหแ์ ละสรปุ ผล
ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม ผู้จัดทำโครงการได้ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยของ

แบบสอบถาม และนำข้อมลู มาประมวลผลดว้ ยโปรแกรมคอมพวิ เตอร์สำเร็จรูป สำหรับการคิดค่าร้อย
ละ การหาคา่ เฉลี่ย ( ̅) และสว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน (S.D) ดงั นี้

1) การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจง
ความถแ่ี ละรอ้ ยละ

สตู รการหาคา่ ร้อยละ

คา่ ร้อยละ = ความถท่ี ี่ตอ้ งการเปรยี บเทยี บ x 100
จำนวนรวมทง้ั หมด

2) การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างคณะครู
บุคลากร นักเรียน-นักศกึ ษา ในวทิ ยาลัยอาชีวศกึ ษาเชยี งใหม่ ในการวิเคราหไ์ ดแ้ ก่ การหาคา่ เฉลี่ย ( ̅)
และส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน (S.D)

× =∑

n

× แทน ค่าคะแนนเฉลี่ย
∑ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

N แทน ขนาดของกลุม่ ตวั อยา่

สตู รการหาคา่ เบีย่ งเบนมาตรฐาน

S.D.√n ∑ x2 [∑ x]2
n(n-1)

เมือ่ S.D. แทน คา่ เบ่ียงเบนมาตรฐานของคะแนนของกล่มุ ตัวอย่าง

[∑ x]2 แทน ผลรวมของคะแนนทง้ั หมดยกกำลังสอง
∑ x2 แทน ผลรวมของคะแนนแตล่ ะตัวอย่างยกกำลงั สอง
n แทน ขนาดของกลมุ่ ตัวอย่าง

S.D.√n ∑ x2 [∑ x]2
n(n-1)

เมื่อ S.D. แทน ค่าเบ่ียงเบนมาตรฐานของคะแนนของกลุ่มตัวอย่าง

[∑ x]2 แทน ผลรวมของคะแนนทง้ั หมดยกกำลงั สอง
∑ x2 แทน ผลรวมของคะแนนแตล่ ะตวั อยา่ งยกกำลงั สอง
n แทน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง





บทที่ 4
ผลการศึกษา

ในการศึกษาผลิตภัณฑ์ไซรัปลำไย มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตไซรัปลำไย เพื่อศึกษาความพึง
พอใจของผ้บู ริโภคไซรปั ลำไย ในการศึกษามีผลการดำเนนิ ดงั หวั ข้อตอ่ ไปน้ี

ส่วนที่ 1 สรปุ ข้นั ตอนการทำไซรปั ลำไย
สว่ นท่ี 2 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูลสว่ นบคุ คล
ส่วนท่ี 3 ผลการวเิ คราะห์ความพึงพอใจของผู้บริโภคไซรปั ลำไย
ส่วนที่ 4 การจัดลำดับผลการวเิ คราะห์ความพึงพอใจของผู้บรโิ ภคไซรปั ลำไย
สว่ นท่ี 5 ผลสรุปขอ้ เสนอแนะ

สว่ นท่ี 1 สรปุ ขนั้ ตอนการทำไซรปั ลำไย 500 กรมั
องค์ประกอบ 250 มลิ ลิลติ ร
1. ลำไยอบแหง้
2 .น้ำเชือ่ ม
อุปกรณ์
1. หมอ้
2. ตะแกรงขดลวด
3. กระบวย

วธิ ีการทำ
1. ต้มน้ำเช่ือม

ภาพท่ี 4.1 ต้มนำ้ เชือ่ ม

33

2. เม่ือตม้ จนนำ้ เชอ่ื มเดอื ด

ภาพที่ 4.2 ตม้ นำ้ เชอื่ มจนเดอื ด

3. นำลำไยอบแหง้ ใส่ลงไป

ภาพท่ี 4.3 ใสล่ ำไยอบแห้งลงไปในหม้อ

4. ตม้ ท้ิงไวป้ ระมาณ 15 นาที

ภาพที่ 4.4 ตม้ ท้ิงไว้ 15 นาที

34

5. พกั ให้หายรอ้ น

ภาพท่ี 4.4 พกั ให้หายร้อน

6. แลว้ นำมากรอง

ภาพที่ 4.5 นำมากรอง

สว่ นที่ 2 ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู ส่วนบุคคล
จากการศึกษาไซรปั ลำไย ผ้ศู ึกษาได้วเิ คราะห์ข้อมลู สว่ นบคุ คลซ่งึ ประกอบดว้ ยข้อมูลเกี่ยวกับ

เพศ และชว่ งอายุ ซึ่งผลการวิเคราะห์ปรากฏดงั นี้

ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการวิเคราะหข์ อ้ มลู สว่ นบคุ คลดา้ นเพศ รอ้ ยละ
เพศ จำนวนคน 14.00
ชาย 7 86.00
หญงิ 43 100.00
รวม 50

35

จากตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการวเิ คราะห์ข้อมูลสว่ นบุคคลดา้ นเพศ ผูศ้ กึ ษาได้สรุปผลการ
วิเคราะห์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 86.00 และเพศชาย คิด
เป็นร้อยละ 14.00 ตามลำดบั

ตารางที่ 2 ตารางแสดงผลการวิเคราะหข์ ้อมลู ส่วนบคุ คลด้านอายุ

อายุ จำนวนคน ร้อยละ

18-20 47 94

21 ปขี น้ึ ไป 3 6

รวม 50 100.00

จากตารางท่ี 2 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมลู ส่วนบุคคลด้านอายุ ผู้ศึกษาได้สรุปผลการ

วิเคราะห์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 18-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 94 รองลงมา

ชว่ งอายุ 21 ปขี ้นึ ไป คิดเป็นร้อยละ 6

ส่วนที่ 3 ผลการวเิ คราะห์ความพงึ พอใจของผบู้ รโิ ภคไซรปั ลำไย
การศกึ ษาครงั้ นี้ผู้ศกึ ษาไดศ้ ึกษาเรื่อง ไซรัปลำไย โดยการหาค่าเฉลีย่ ( ̅) และส่วนเบ่ียงเบน

มาตรฐาน (S.D) จากแบบสอบถามความพงึ พอใจผลติ ภณั ฑ์ไซรัปลำไย ข้อมลู ปรากฏดงั น้ี

ตารางท่ี 3 ตารางแสดงผลการวิเคราะหค์ วามพึงพอใจของผู้บรโิ ภคไซรัปลำไย

รายการแบบสอบถาม ผลการประเมิน
̅ S.D. ผลการประเมิน

ไซรปั ลำไยมกี ลิ่นหอม 4.43 0.68 มาก

สีสันของไซรัปลำไย 4.33 0.88 มากทส่ี ดุ

รสชาติของไซรปั ลำไย 4.57 0.64 มากที่สดุ

ขนาดผลิตภณั ฑข์ องไซรัปลำไยมคี วามเหมาะสม 4.65 0.59 มากทส่ี ุด

รปู แบบผลติ ภัณฑ์ของไซรัปลำไยมีความสวยงาม 4.71 0.65 มากทีส่ ดุ

บรรจุภัณฑ์มีความทันสมยั 4.67 0.60 มากท่สี ดุ

รูปแบบผลติ ภัณฑม์ คี วามสะอาด 4.63 0.67 มากที่สุด

ความคดิ สร้างสรรคข์ องผลิตภัณฑ์ไซรัปลำไย 4.47 0.73 มาก

การนำทรพั ยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาแปรรปู เพือ่ เพ่มิ 4.78 0.61 มากที่สดุ

มลู คา่

ความพงึ พอใจในภาพรวมของผลติ ภัณฑไ์ ซรัปลำไย 4.69 0.64 มากทส่ี ุด

รวม 45.92 6.69 มากที่สดุ

36

จากตารางท่ี 3 ตารางแสดงผลการวเิ คราะห์ความพึงพอใจของผูบ้ ริโภคไซรัปลำไย ได้สรุปผล
การวิเคราะหข์ ้อมูล พบวา่ ผลสรุปภาพรวมของความพึงพอใจของผบู้ รโิ ภคไซรปั ลำไย อยใู่ นระดบั มาก
ที่สุด ( ̅= 45.92) เมื่อสรุปผลออกมาเปน็ รายข้อพบว่า ไซรัปลำไยมกี ลิ่นหอม ผลการประเมินอยู่ใน
ระดับมาก ( ̅=4.43) รองลงมาคือ สีสันของไซรัป อยู่ในระดบั มาก ( ̅=4.33) รสชาติของไซรัปลำไย
อยู่ในระดบั มากท่ีสุด ( ̅=4.57) ขนาดผลิตภัณฑ์ของไซรัปลำไยมคี วามเหมาะสม อยู่ในระดบั มากท่ีสุด
( ̅=4.65) รูปแบบผลิตภัณฑ์ของไซรัปลำไยมีความสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅=4.71) บรรจุ
ภัณฑ์มีความทันสมัย อยู่ในระดับมากทีส่ ุด ( ̅=4.67) รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความสะอาด อยู่ในระดบั
มากท่สี ุด ( ̅=4.63) ความคิดสรา้ งสรรค์ของผลติ ภัณฑ์ไซรัปลำไย อยใู่ นระดบั มาก ( ̅=4.47) การนำ
ทรัพยากรธรรมชาตใิ นท้องถิน่ มาแปรรูปเพอื่ เพ่ิมมูลค่า อย่ใู นระดับมากทส่ี ุด ( ̅=4.78) ความพึงพอใจ
ในภาพรวมของผลติ ภัณฑ์ไซรปั ลำไย อยูใ่ นระดบั มากทส่ี ุด ( ̅=4.69) ตามลำดบั

ส่วนท่ี 4 การจัดลำดบั ผลการวเิ คราะห์ความพงึ พอใจของผู้บรโิ ภคไซรปั ลำไย

การศึกษาครั้งนี้ผู้ศกึ ษาได้ศึกษาเร่ือง ไซรัปลำไย โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ̅) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D) และจดั ลำดบั ความพงึ พอใจผลติ ภณั ฑ์ไซรัปลำไย ขอ้ มลู ปรากฏดังน้ี

ตารางที่ 4 ตารางการจัดลำดบั ผลการวิเคราะหค์ วามพงึ พอใจของผู้บรโิ ภคไซรัปลำไย

รายการแบบสอบถาม ผลการประเมิน ลำดบั ท่ี
̅ S.D. ผลการประเมนิ 1

การนำทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาแปรรูป 4.78 0.61 มากท่ีสดุ 2
3
เพื่อเพมิ่ มลูคา่
4
รูปแบบผลิตภณั ฑ์ของไซรปั ลำไยมคี วามสวยงาม 4.71 0.65 มากท่สี ุด 5
6
ความพึงพอใจในภาพรวมของผลิตภัณฑไซรัป 4.69 0.64 มากที่สดุ 7
8
ลำไย 9
10
บรรจภุ ัณฑ์มคี วามทนั สมยั 4.67 0.60 มากทีส่ ดุ

ขนาดผลติ ภณั ฑข์ องไซรัปลำไยมคี วามเหมาะสม 4.65 0.59 มากทส่ี ดุ

รปู แบบผลติ ภณั ฑม์ ีความสะอาด 4.63 0.67 มากท่สี ดุ

รสชาตขิ องไซรปั ลำไย 4.57 0.64 มากทส่ี ุด

ความคดิ สรา้ งสรรค์ของผลิตภัณฑ์ไซรัปลำไย 4.47 0.73 มาก

ไซรัปลำไยมกี ลน่ิ หอม 4.43 0.68 มาก

สสี นั ของไซรัปลำไย 4.33 0.88 มาก

รวม 45.92 6.69 มากทสี่ ุด

37

จากตารางท่ี 4 ตารางแสดงผลการวเิ คราะห์ความพึงพอใจของผู้บรโิ ภคไซรัปลำไย ได้สรุปผล
การวิเคราะหข์ ้อมลู พบวา่ ผลสรุปภาพรวมของความพึงพอใจของผ้บู ริโภคไซรปั ลำไย อยู่ในระดับ มาก
ที่สุด ( ̅= 45.92) เมื่อสรุปผลออกมาเป็นรายข้อพบว่า ไซรัปลำไยมกี ลิ่นหอม ผลการประเมินอยู่ใน
ระดับมาก ( ̅=4.43) รองลงมาคือ สีสันของไซรัป อยู่ในระดบั มาก ( ̅=4.33) รสชาติของไซรัปลำไย
อยูใ่ นระดับมากที่สดุ ( ̅=4.57) ขนาดผลิตภัณฑ์ของไซรปั ลำไยมีความเหมาะสม อยู่ในระดบั มากที่สุด
( ̅=4.65) รูปแบบผลิตภัณฑ์ของไซรัปลำไยมีความสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅=4.71) บรรจุ
ภัณฑ์มีความทันสมัย อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅=4.67) รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความสะอาด อยู่ในระดบั
มากท่ีสดุ ( ̅=4.63) ความคดิ สร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์ไซรปั ลำไย อยู่ในระดับมาก ( ̅=4.47) การนำ
ทรพั ยากรธรรมชาติในท้องถน่ิ มาแปรรปู เพ่ือเพม่ิ มลู ค่า อยู่ในระดบั มากทีส่ ดุ ( ̅=4.78) ความพงึ พอใจ
ในภาพรวมของผลิตภัณฑไ์ ซรัปลำไย อยู่ในระดบั มากที่สดุ ( ̅=4.69) ตามลำดับ

ส่วนที่ 5 ผลสรุปข้อเสนอแนะ
1) ควรทำใหไ้ ดร้ บั กล่นิ ของลำไยมากกว่านี้
2) ควรมสี ีสันที่ดึงดดู มากกวา่ นี้

บทที่ 5
สรปุ ผล อภปิ ปรายและขอ้ เสนอแนะ

ในการศกึ ษาการผลิตภัณฑ์ไซรัปลำไย มวี ัตถปุ ระสงค์เพอื่ เพ่อื ศึกษากรรมวิธกี ารผลิตน้ำเชื่อม
เข้มข้นจากผลลำไยและอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ เพื่อหาแนวทางการนำน้ำเชื่อมเข้มข้นจากลำไย
ไปใช้ประโยชน์โดยมุ่งเนน้ การประยกุ ต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร เพอ่ื เพ่ิมมลคู า่ ใหก้ ับลำไยอบแห้ง โดยมี
กลุ่มตัวอยา่ งแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เปน็ การเลือกกล่มุ ตัวอย่างโดยพิจารณาจากการ
ตดั สินใจของผ้วู ิจยั เอง ลกั ษณะของกลุ่มทเี่ ลือกเป็นไปตามวัตถุประสงคข์ องการวจิ ัย คอื กลุ่มผ้ทู ดลอง
บริโภคไซรัปลำไย 50 คน ระหว่างวันที่ 7 ธันวาคม ถึงวันที่ 12 มีนาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ใน
การศึกษาครั้งนี้ คือ แบบบันทึกผลการทดลอง แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยสร้างจากกูลเกิล
ฟอรม์ (Google form) ซงึ่ ผ้ศู กึ ษาสร้าวข้ึนเพอ่ื สอบถามความพึงพอใจของผู้ทดลองบริโภคผลิตภัณฑ์
ไซรัปลำไย ผลการศกึ ษามีดงั น้ี

สรปุ ผลการศึกษา
จากการศกึ ษาผลิตภณั ฑ์ไซรัปลำไย สรุปผลการศึกษาดงั น้ี ผลการวเิ คราะห์ขอ้ มลูส่วนบุคคลด้านเพศ
พบวา่ ผ้ตู อบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญงิ คิดเป็นร้อยละ 86 ข้อมลูสว่ นบคุ คลด้านอายุ พบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยาในช่วงอายุ 18-20 ปี คิดเปน็ รอ้ ยละ 94 และผลการวิเคราะห์ความ
พึงพอใจของผู้บริโภคไซรัปลำไย อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅= 45.92) เมื่อสรุปผลออกมาเป็นรายข้อ
พบว่า ไซรัปลำไยมีกลิน่ หอม ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( ̅=4.43) รองลงมาคือ สีสันของไซรปั
อยู่ในระดับมาก ( ̅=4.33) รสชาติของไซรัปลำไยอยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅=4.57) ขนาดผลิตภัณฑ์
ของไซรปั ลำไยมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สดุ ( ̅=4.65) รูปแบบผลิตภัณฑ์ของไซรัปลำไยมี
ความสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅=4.71) บรรจุภัณฑ์มีความทันสมัย อยู่ในระดับมากที่สุด
( ̅=4.67) รปู แบบผลิตภัณฑม์ ีความสะอาด อยู่ในระดับมากท่ีสดุ ( ̅=4.63) ความคดิ สร้างสรรค์ของ
ผลติ ภณั ฑ์ไซรัปลำไย อยู่ในระดบั มาก ( ̅=4.47) การนำทรพั ยากรธรรมชาติในทอ้ งถิ่นมาแปรรูปเพื่อ
เพิ่มมลู ค่า อยใู่ นระดับมากที่สดุ ( ̅=4.78) ความพงึ พอใจในภาพรวมของผลิตภัณฑ์ไซรัปลำไย อยู่ใน
ระดับมากท่ีสดุ ( ̅=4.69) ตามลำดับ

39

อภิปรายผล

จากการศกึ ษาผลติ ภัณฑ์ไซรปั ลำไย สามารถอภิปรายผลได้ดงั นี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศ
หญงิ มากกว่าเพศชายดังน้ัน ผู้ทดลองบริโภคผลิตภณั ฑ์ไซรัปลำไยสว่ นใหญเ่ ปน็ เพศหญิง ด้านช่วงอายุ
เนอื่ งจากไซรัปลำไย ผู้บริโภคสว่ นใหญม่ ักจะเปน็ วยั รุ่นตอนปลายดังนั้นผู้ทดลองบริโภคส่วนใหญ่จึงมี
อายุ 18-20 ปี ผลการวิเคราะห์แบบประเมินของผบู้ รโิ ภคไซรปั ลำไย พบว่า ไซรัปลำไยบริโภคได้จริง

การนำทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า อยู่ในระดับมากที่สุด
( ̅=4.78) จากเป็นการเพม่ิ มลู ค่า ใหก้ ับลำไยอบแหง้ มาใชใ้ ห้เกนิ ประโยชน์มากที่สดุ

รูปแบบผลิตภัณฑ์ของไซรัปลำไยมีความสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅=4.71) เนื่องจาก
ไซรปั ลำไยมีการออกแบบรูปทรงท่เี รีบยง่ายแตส่ วยงาม

ความพงึ พอใจในภาพรวมของผลติ ภณั ฑ์ไซรัปลำไย อยใู่ นระดบั มากทีส่ ดุ ( ̅=4.69) เนอ่ื งจาก
ผูท้ ดลองบริโภคมคี วามพึงพอใจในการบรโิ ภคของไซรัปลำไย

บรรจภุ ณั ฑม์ คี วามทันสมยั อยู่ในระดบั มากท่สี ดุ ( ̅=4.67) เนือ่ งจากไซรปั ลำไยมีบรรจุภัณฑ์
ที่สวยงามและทนั สมัย

ขนาดผลิตภัณฑ์ของไซรปั ลำไยมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากทีส่ ุด ( ̅=4.65) เนื่องจาก
เลือกขนาดของผลิตภณั ฑไ์ ซรปั ลำไยมีความเหมาะสม สร้างทางเลอื กใหมใ่ หก้ ับลูกคา้

รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความสะอาด อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅=4.63) เนื่องจากมีการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ทมี่ ีความเรยี บง่ายแตด่ ูแล้วสะอาด

รสชาตขิ องไซรัปลำไยอยู่ในระดบั มากที่สดุ ( ̅=4.57) เน่อื งจากลำไยอบแหง้ มีความหวาน
ความคดิ สร้างสรรค์ของผลติ ภณั ฑไ์ ซรัปลำไย อย่ใู นระดบั มาก ( ̅=4.47) เน่ืองจากเปน็ การใช้
วตั ถดุ ิบท่ีมีอยู่แลว้ มาแปรรูปเปน็ ไซรปั ลำไย
ไซรัปลำไยมกี ลน่ิ หอม ผลการประเมนิ อยใู่ นระดับมาก ( ̅=4.43) เน่อื งจากไซรัปลำไยมีกล่ิน
หอมมาจากลำไยอบแหง้
สสี ันของไซรัป อยูใ่ นระดับมาก ( ̅=4.33) เนอ่ื งจากไซรปั ลำไยทำมาจากลำไยอบแห้ง

ขอ้ เสนอแนะ
1. ขอ้ เสนอแนะในการศึกษา
ในการศกึ ษาผลิตภัณฑ์ไซรัปลำไย ผ้ทู ดลองบริโภคมีความพึงพอใจในเรอ่ื งของไซรัปลำไยที่มี

การนำทรัพยากรธรรมชาติในทอ้ งถิน่ มาแปรรูปเพอ่ื เพิม่ มลู ค่าแต่อยากให้เพม่ิ ในเรอ่ื งของ กลิน่ และสี
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาคร้งั ตอ่ ไป
ในการศกึ ษาครัง้ ตอ่ ไปคสรพัฒนาการทำไซรัปลำไย ใหม้ กี ลนิ่ และสีของไซรปั ลำลำไย


Click to View FlipBook Version