The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดำเนินการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑ ระหว่างวันที่ ๑๖–๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (รุ่นที่ ๓)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by APINYA MEECHAIYO, 2023-10-25 05:29:04

รายงานผลการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดำเนินการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดำเนินการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑ ระหว่างวันที่ ๑๖–๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (รุ่นที่ ๓)

Keywords: การอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดำเนินการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา,การคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา

ก คำนำ รายงานผลการอบรมเล่มนี้ จัดทำเพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดำเนินการ คัดกรองผู้พิการทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑ ระหว่างวันที่ ๑๖–๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (รุ่นที่ ๓) ภายในเล่มมีใบงานเอกสารที่สรุปองค์ความรู้ตามหัวข้อการอบรมตั้งแต่องค์ ความรู้ที่ ๑–๗ ที่ข้าพเจ้าได้รับการอบรม และภาพประกอบการอบรมในแต่ละหัวข้อ ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑ ที่ได้จัดอบรมที่มี ประโยชน์กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อความเท่าเทียม ทางการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และขอขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่านที่ได้ให้ความรู้ในการ อบรมครั้งนี้ ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปพัฒนาตนเองและใช้ในการจัดการเรียนให้กับนักเรียน ที่มีความต้องการพิเศษให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์การจัดการอบรมในครั้งนี้ นางสาวอภิญญา มีไชโย โรงเรียนวัดบ้านไร่


ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข รายการภารกิจตามการอบรมเชิงปฏิบัติการการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษาปี ๒๕๖๖ ๑ วิเคราะห์ข่าว ภาพยนตร์ คลิปสั้นกรณีศึกษา ๒ สรุปองค์ความรู้ ๓ องค์ความรู้ที่ ๑ กฎหมายและ พ.ร.บ ที่เกี่ยวข้องผู้พิการที่ต้องรู้(๑) ๓ องค์ความรู้ที่ ๒ กฎหมายและ พ.ร.บ ที่เกี่ยวข้องผู้พิการที่ต้องรู้(๒) ๖ องค์ความรู้ที่ ๓ การจัดการเรียนรวม และการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา ๙ ประเภท ๘ องค์ความรู้ที่ ๔ การใช้แบบคัดกรองสำหรับผู้พิการทางการศึกษา ๑๒ องค์ความรู้ที่ ๕ การเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลและการเขียนแผนการสอน ๑๖ องค์ความรู้ที่ ๖ การทำข้อมูลลงระบบบริหารจัดการข้อมมูลโรงเรียนเรียนรวม (SET) IEP Online (ขอรับคูปอง) ๑๘ องค์ความรู้ที่ ๗ การจัดการศึกษาเรียนรวมตามโครงสร้าง SEAT ๒๑ แผนการดำเนินการจัดการเรียนรวมหลังการอบรม ๒๒ ภาคผนวก ๒๓


๑ รายการภารกิจตามการอบรมเชิงปฏิบัติการการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา ปี ๒๕๖๖ รุ่นที่ ๓ สพป.พิจิตร เขต ๑ นางสาวอภิญญา มีไชโย โรงเรียนบ้านไร่ คำชี้แจง แบบตรวจสอบภารงานที่ปฏิบัติระหว่างการอบรม เพื่อขอวุฒิบัตรผู้คัดกรองคนพิการทางการศึกษา ที่ รายการ ภารกิจที่กำหนด ภารกิจเพิ่มเติม ปฏิบัติแล้ว ยังไม่ได้ปฏิบัติ ปฏิบัติแล้ว ยังไม่ได้ปฏิบัติ ๑ วิเคราะห์ข่าว ภาพยนตร์คลิปสั้นกรณีศึกษา ฯลฯ ๒ สรุปองค์ความรู้ที่ ๑ (ผอ.ธงชัย จันแย้) - - ๓ สรุปองค์ความรู้ที่ ๒ กฎหมาย พ.ร.บ. เกี่ยวกับคนพิการ - - ๔ สรุปองค์ความรู้ที่ ๓ ชุดความรู้ผู้พิการทางการศึกษา ๙ ประเภท - - ๕ สรุปองค์ความรู้ที่ ๔ การฝึกใช้แบบคัดกรอง ๑ กรณีศึกษา - - ๖ สรุปองค์ความรู้ที่ ๕ เขียนแผน IEP/IIP พร้อมทั้งวัดผล ประเมินผล - - ๗ สรุปองค์ความรู้ที่ ๖ การทำข้อมูลลงระบบ SET และ IEP Online - - ๘ สรุปองค์ความรู้ที่ ๗ การจัดการศึกษาเรียนรวมตาม โครงสร้าง SEAT ถามมา-ตอบไป พาคิดร่วมทำและการ นิเทศติดตามการจัดการเรียนรวม โดย ศน. พรรณพร ศรลัมพ์ - - ๙ ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม (กิจกรรมที่ ๑) - - ๑๐ ทำแบบทดสอบหลังอบรม (กิจกรรมที่ ๒) - - ๑๑ ทำแบบประเมินความพึงพอใจ (กิจกรรมที่ ๓) - - ๑๒ แผนการดำเนินการเรียนรวมหลังจากการอบรม ๑ แผ่น ๑๓ บันทึกคลิป ถามมา - ตอบไป คนละ ๒ นาที ๑ คลิป ๑๔ รวมเล่มผลงานตนเองเป็น PDF e -book (ศน.จะพาทำ) รวมเป็นจำนวน ๑๐ ๔ รวมรายการภารกิจที่กำหนด (รับวุฒิบัตร) สรุปครบ ๗ องค์ความรู้๓ กิจกรรม รวมรายการภารกิจที่กำหนดและภารกิจเพิ่มเติม(รับวุฒิบัตร VIP) สรุปครบองค์ความรู้ ๓ กิจกรรม ๔ ภารกิจเพิ่มเติม หมายเหตุ - ภารกิจเพิ่มเติมต้องครบ ๔ รายการจึงจะได้รับ วุฒิบัตร VIP - หากมีข้อแนะนำให้แก้ไข ให้ทำให้จบภายในระยะเวลาที่กำหนดของรุ่นที่สมัคร ติดตามในไลน์กรุ๊ปเรียนรวม สพป.พิจิตร เขต ๑ (ปรับเปลี่ยนเวลาได้ตามความเหมาะสม แต่ไม่เกินกำหนดของ รุ่นถัดไป หากพ้นกำหนดส่งท่านจะไม่ได้รับวุฒิบัตร)


๒ วิเคราะหข์ ่าว ภาพยนตร์คลิปสั้น เกี่ยวกับผู้ทมี่ีความตอ้งการจา เป็นพิเศษ ชื่อ-สกุล ผู้เข้ารับการค.....นางสาวอภิญญา...มีไชโย......................................................รุ่นที่......๓............ คา ชีแ้จงจงอธิบายและตอบค าถามต่อไปนี้ ๑.จากคลิปสั้นทั้ง ๒ คลิป บุคคลพิการทางการศึกษา ประเภทใด (ใส่ชื่อเต็ม ตาม พรบ.การจัดการศึกษาฯ) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ๒.ท่านคิดว่าบุคคลพิการทางการศึกษามีความยากล าบากด้านใดบ้างในการใช้ชีวิตประจ าวัน ไม่ต ่ากว่า ๓ ข้อ ..............๑. ความยากล าบากต่อการเคลื่อนไหวในการเดินทางในที่สาธารณะ............................................................ ..............๒. ความยากล าบากในการสื่อสาร............................................................................................................. ..............๓...ความยากล าบากในเรียนรู้ และทักษะในการพัฒนา......................................................................... ..............๔ ความยากล าบากในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น................................................................................ ๓.หากท่านมีบุคคลที่อยู่ในความดูแล (นักเรียน,ลูก,ญาติ) มีลักษณะเป็นประเภทความพิการตามคลิปที่ชม สิ่งที่ท่านจะ พัฒนาบุคคลนั้นที่ท่านดูแล ควรท าอย่างไรบ้าง ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาตอบได้ วัยเด็ก (คลิปที่ ๑) ๑ การสร้างความเข้าใจการยอมรับจากคนรอบข้าง ๒ การให้ก าลังใจ การดูแล ๓ การสร้างกิจกรรมที่ท ารวมกันเพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ๔ การให้การศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนา เสริมทักษะ วัยผู้ใหญ่ (คลิปที่ ๒ ) ๑ การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของผู้พิการเพื่อให้การช่วยเหลือ ๒ การให้โอกาสคนพิการในการได้ท ากิจกรรมที่ร่วมกับผู้อื่นได้ ให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด ๓ ประสานงานกับหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง และสิทธิที่ผู้พิการควรได้รับ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ๔ การท าความเข้าใจ และการให้การยอมรับจากคนรอบข้างในสังคม ๔.ข้อคิดที่ได้จากการชมคลิป/การน าไปประยุกต์ใช้ ข้อคดิทไี่ด้จาการชมคลปิ คนพิการ คือ คนปกติถึงร่างกายจะไม่สมบูรณ์ แต่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ หาก ได้การยอมรับและมีความเข้าใจ ไม่แบ่งแยกทั้งทางร่างกาย ทางความคิด และทางจิตใจ ดังนั้นสังคมควรให้การยอมรับ และร่วมกันแก้ไขปัญหาช่องว่างนี้ เปิดโอกาสให้คนพิการได้มีโอกาสในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อช่วยลด ความขัดแย้งที่รุนแรง ให้เขาสามารถช่วยเหลือการพึ่งพาตนเอง และการเปิดพื้นที่ในการประกอบอาชีพ


๓ สรุปองค์ความรู้ที่ ๑ ชื่อ-สกุล นางสาวอภิญญา มีไชโย โรงเรียน วัดบ้านไร่ รุ่นที่ ๓ คำชี้แจง ตอบคำถามจากการฟังบรรยาย ๑๐ ข้อ ๑๐ คะแนน ๑.นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการข้อใด บ้างที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ทั้งในปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๖ จง อธิบาย ๒๕๖๕ = ข้อที่ ๓ คือ การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย โดยกล่าวว่า มุ่งแก้ปัญหาคนพิการในวัยเรียนที่ไม่ได้รับการศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษา ๒๕๖๖ = ข้อที่ ๓ คือ การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย โดยกล่าวว่า พัฒนาข้อมูลและทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ซึ่งนักเรียน กลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน ความบกพร่องทางพัฒนาการ และความ บกพร่องประเภทอื่น ๆ ๒.ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดการเรียนรวม ของโรงเรียน มีบุคคลใด/ภาคส่วนใดเกี่ยวข้องบ้าง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรในโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ผู้ปกครอง บุคลากรทางการแพทย์ และศูนย์การศึกษาพิเศษ ๓.เป้าหมายสูงสุด ของการจัดการศึกษาเรียนรวม คืออะไร ใครได้ประโยชน์สูงสุด ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด รวมทั้งให้ ผู้เรียนทั่วไปได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างของบุคคลในสังคม และผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษกับผู้เรียนทั่วไป สามารถอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างมีความสุข ๔.สิ่งใดช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทางด้านการจัดการศึกษา สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ใน โรงเรียนเรียนรวม การมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่จำเป็น เช่น สื่อที่ทันสมัย แหล่งเรียนรู้ที่จำเป็น รวมถึงการให้ ความสำคัญกันผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษให้เท่าเทียมกับผู้เรียนทั่วไปในห้องเรียน นักเรียนทุกคนมีสิทธิที่จะ เข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน


๔ ๕.ครูการศึกษาพิเศษที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ครูการศึกษาพิเศษที่ดี ควรมีความเข้าใจ มีความอดทน มีความพร้อม มีความเสียสละตน มีวิสัยทัศน์ ทุ่มเทให้กับนักเรียนแต่ละคนรวมถึงต้องมีเครื่องมือ เทคนิคการสอน สื่อการสอน เจนจัดฝึกฝนศิษย์ ดวงจิตใฝ่ คุณธรรม มีศรัทธาความเป็นครู รวมถึงรู้จักผู้เรียนเป็นอย่างดี ๖.การบริหารโรงเรียนเรียนรวมใช้วิธีการใด โครงสร้างใดที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน จงอธิบาย (โครงสร้าง SEAT) S = Students (นักเรียน) คือ เตรียมความพร้อมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ หรือพิการ โดยศึกษาข้อมูลว่านักเรียนที่มีความบกพร่อง ที่เข้ามาเรียนหรือจะรับเข้ามาเรียนรวม เขาต้องการ ความช่วยเหลือด้านใดบ้าง โรงเรียนสามารถตอบสนองความ ต้องการได้มากน้อยเพียงใด รวมถึงเตรียมความ พร้อมเด็กให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรวม และเตรียมความพร้อมของนักเรียนทั่วไปให้เข้าใจเพื่อนที่มี ความบกพร่อง เพื่อให้อยู่ด้วยกันได้ E= Environment (สภาพแวดล้อม) คือ การจัดสภาพแวดล้อมให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุขทั้ง นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษและนักเรียนทั่วไปทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน จัดสภาพแวดล้อมที่จะ เติมเต็มให้ได้เรียนรู้ได้มากที่สุด A = Activities (กิจกรรมการเรียนการสอน) คือ การปรับหลักสูตร ทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ใช้เทคนิคการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนเสริมในห้อง ทักษะทางวิชาการ ทักษะทางด้านวิชาชีพ ทักษะทางกิจวัตรประจำวันและทักษะทางนันทนาการ รวมถึงการ ประเมิน ติดตามศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดความสมดุลให้มากที่สุด T = Tools (เครื่องมือ) คือ กำหนด นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ ผู้รับผิดชอบ จัดหาสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอื่นๆทางการศึกษา การที่โรงเรียนได้นำแนวทางของ การบริหารจัดการทั้งระบบโรงเรียนจะเป็นการพัฒนาวิธีการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ๗.เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษประเภทใดมีจำนวนมากที่สุด เด็กออทิสติกและเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ๘.สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามบรรยายมีสิ่งใดบ้างจงยกตัวอย่าง อย่างน้อย ๒ ข้อ ๑. เครื่องช่วยฟัง เช่น หูฟังให้ผู้เรียนฟังได้ ฟังรู้เรื่อง ๒. โปรแกรมภาษามือ


๕ ๙. ใครเป็นประธานโครงการขับเคลื่อนการเรียนรวมของจังหวัดพิจิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑ ๑๐.ข้อคิดที่ได้จากการฟังบรรยายพิเศษ/การนำไปประยุกต์ใช้ ได้รับความรู้และนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนทุก คนทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปรกติทั่วไปสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เข้าใจกัน ช่วยเหลือ และสนับสนุนเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น


๖ สรุปองค์ความรู้ที่ ๒ ตอนที่ ๒ กฎหมาย และ พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการที่ต้องรู้ ชื่อ - สกุล นางสาวอภิญญา มีไชโย โรงเรียนวัดบ้านไร่ รุ่นที่ ๓ คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ 1. บอกชื่อกฎหมายที่ตราชี้นมาเพื่อรองรับเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับคนพิการตามรัฐธรรมนูญ อย่าง น้อย ๒ เรื่อง ( ๑๐ คะแนน) ๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ๒. พระราชบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ๓. พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๑ และ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ๔. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ๕. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๒ ๖. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ครู การศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษา สำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ๗. นโยบายและจุดเน้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๘. ประกาศคณะกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือทางการศึกษา เรื่องกำหนด หลักเกณฑ์และ วิธีการ การรับรองบุคคลของสถานศึกษาว่าเป็นคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๖ ๒. บอกสิทธิของคนพิการทางการศึกษา ตามกฎหมายใดก็ได้ โดยบอกชื่อกฎหมายและยกตัวอย่างสิทธิตาม กฎหมายนั้น ( ๒๐ คะแนน) - คนพิการมีสิทธิได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนถึงปริญญาตรีพร้อมทั้งการ ได้รับเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทาง การศึกษา ซึ่งจะต้องได้รับ การศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัด หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบ ทางการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับความจ าเป็นพิเศษ ของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล โดย กระทรวงศึกษาธิการได้มีกำหนดประเภทสื่อการศึกษาเพื่อ คนพิการ ตามความในพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ออกเป็น ๔ ประเภทหลัก คือ


๗ ๑. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือเรียน ชุดการเรียน คู่มือครู คู่มือผู้ปกครอง แผ่นพับ โปสเตอร์ เป็นต้น ๒. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ รายการเทปเสียง รายการวีดีทัศน์ รายการวิทยุ รายการ โทรทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นต้น ๓. สื่อวัสดุ-อุปกรณ์ ได้แก่ บัตรค า บัตรภาพ บล็อคคำศัพท์ เป็นต้น ๔. สื่อประสม คนพิการและผู้ดูแลคนพิการยังมีสิทธิได้กู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา สำหรับคนพิการเพื่อจัดซื้อจัดหาสิ่งอ านวยความสะดวก เทคโนโลยี สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่น ใดทาง การศึกษาสำหรับคนพิการ หากสถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาให้ถือว่าเป็นการ เลือกปฏิบัติโดย ไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย ๓. ชี้แจงบทบาทหน้าที่ของตัวท่านและผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในหน่วยงานของตัว ท่านตามกฎหมาย ๓.๑ ตัวท่าน (๑๐ คะแนน) - ประเมินทักษะและค้นหาวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็ก - วางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) - ส่งเสริมความมั่นใจในการเรียนรู้ - กระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการปฏิบัติจริง ๓.๒ ผู้เกี่ยวข้อง ( ๑๐ คะแนน) - ผู้บริหารโรงเรียนวางแผนบริหารจัดการให้ครูในโรงเรียนจัดการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก ให้กับครูในเรื่องเกี่ยวกับการใช้สื่อ นวัตกรรม เพื่อให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด - ผู้ปกครองต้องมียอมรับเกี่ยวกับความสามารถของเด็ก มีส่วนรวมในการรับรู้ เข้าใจ ต้องมีส่วน ช่วยในการดูแลนักเรียน และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม - หน่วยงานราชการอื่น ต้องประสานให้ได้เพื่อช่วยเหลือเด็ก เพื่อเป็นเครือข่ายช่วยเหลือดูแล เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


๘ สรุปองค์ความรู้ที่ ๓ ตอนที่ ๓ การจัดการเรียนรวมและ การคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา ๙ ประเภท ชื่อ-สกุล ผู้เข้ารับการอบรม.........นางสาวอภิญญา ..มีไชโย..............................รุ่นที่.....๓............. คำชี้แจง จงอธิบายและตอบคำถามต่อไปนี้ ๑.ลักษณะเด่นของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น มีอะไรบ้าง บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอด สนิท ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทดังนี้ (๑.๑) คนตาบอด หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นมาก จนต้องใช้สื่อสัมผัสและสื่อเสียงหากตรวจวัด ความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้ว อยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๖๐ (๖/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๒๐๐(๒๐/๒๐๐) จนถึงไม่สามารถรับรู้เรื่องแสง (๑.๒) คนเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ขยายใหญ่ ด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ หรือเทคโนโลยีสิ่งอ านวยความสะดวก หากวัดความชัดเจนของสายตาข้าง ดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๑๘ (๖/๑๘) หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐(๒๐/๗๐) ๒.ท่านคิดว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้แตกต่างกัน อย่างไร เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีลักษณะแตกต่างกันคือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา คือ มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างชัดเจน ร่วมกับมีความความบกพร่องในทักษะการปรับตัว โดยมีอาการให้เห็นตั้งแต่ช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น ส่งผลให้เกิด ข้อจำกัดในชีวิตประจำวันหลายด้าน ทั้งที่บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน และชุมชน เช่น การใช้เหตุผล การแก้ไข ปัญหา การวางแผน การคิดเชิงนามธรรม การตัดสินใจ การเรียนรู้ทางวิชาการ และการเรียนรู้จาก ประสบการณ์ ซึ่งยืนยันโดยการประเมินอาการทางคลินิก และการทดสอบเชาวน์ปัญญา หรือที่เรียกว่าการวัด ไอคิว ควรทำโดยแบบทดสอบมาตรฐานจึงจะเชื่อถือได้ เกณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ ๙๐-๑๐๙ ถ้าได้ตั้งแต่ ๗๐-๘๙ เรียกว่ากลุ่มเรียนรู้ช้า แต่ถ้าได้ต่ำกว่า ๗๐ จะเข้าเกณฑ์ของความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ มักถูกเรียกสั้นๆง่ายๆ ว่า “โรค LD” หมายถึง กลุ่มโรคที่เด็กมีปัญหา การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ หรือคำนวณ โดยที่เด็กอาจทำไม่ได้เลย หรือทำได้ต่ำกว่าเด็กอื่นที่อายุเท่ากัน และ สติปัญญาเท่ากันอย่างน้อย ๒ ชั้นปี ทั้งๆที่เด็กมีสติปัญญาปกติ ในเด็กไทยพบได้ร้อยละ ๖-๑๐ ของเด็กวัย เรียนเด็กจะมีอาการอ่านหนังสือไม่คล่อง อ่านผิดพลาด อ่านช้าด้วยความยากลำบาก อ่านตะกุกตะกัก อ่าน ออกเสียงไม่ชัด อาจใช้วิธีเดา เด็กจะมีความยากลำบากในการแปลความหมายของสิ่งที่อ่าน บางครั้งไม่เข้าใจ เรื่องที่อ่าน เด็กมีปัญหาในการสะกดคำ อ่านข้าม คำยาก หรือคำที่อ่านไม่ออก เติมคำใหม่ เอาพยัญชนะหรือ สระอื่นมาแทน จำสระไม่ได้ สับสนตัวสะกด ผันคำไม่ได้เด็กจะมีความยากลำบากในการเขียนหนังสือ เขียน สะกดคำผิด เขียนประโยคไม่ได้ ใช้ไวยากรณ์ผิด เรียงลำดับเนื้อเรื่องที่เขียนไม่ได้ ไม่สามารถถ่ายทอดความคิด


๙ ผ่านการเขียนได้ บางรายมีความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์ ก็จะไม่เข้าใจในเรื่องค่าของตัวเลขหลักต่างๆ การนับจำนวน ไม่ สามารถคำนวณคิดหาคำตอบบวกลบคูณหารตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้ บางรายก็ไม่สามารถทำ โจทย์เลขได้ รวมทั้งขาดทักษะในการประยุกต์ใช้ หลักการคิดคำนวณในการแก้ปัญหาได้ อาการที่กล่าวถึงมี ความแตกต่างชัดเจนกับเพี่อนวัยเดียวกันและเป็นปัญหาที่กระทบด้านการเรียนอย่างต่อเนื่อง ๓.ลักษณะเด่นของเด็กออทิสติกมีอะไรบ้าง อาการของเด็กที่เป็นโรคออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสติกสเปกตรัม (Autistic spectrum) แตกต่างกัน ไปในรายละเอียดของความบกพร่องและระดับความรุนแรงของอาการ ทั้งยังขึ้นกับระดับเชาว์ปัญญาและโรค ร่วมอื่น ๆ ทำให้เด็กที่เป็นออทิสติกมีอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไป โดยอาการแสดงของเด็กที่เป็นออทิสติก แบ่งออกเป็น ๒ ด้าน ได้แก่ ๑. ความบกพร่องทางด้านภาษาและการสื่อสาร และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม ได้แก่ • ความบกพร่องทางด้านภาษาและการสื่อสาร • มีความยากลำบากในการใช้คำพูดและภาษาท่าทางร่วมกัน • เริ่มพูดช้า หรือยังไม่พูดเมื่อถึงวัยที่เด็กส่วนใหญ่เริ่มพูด • พูดซ้ำ ๆ พูดวนไปวนมา พูดทวนคำที่คุณพ่อ คุณแม่หรือคุณครูพูด • พูดหรือออกเสียงที่คนอื่นฟังไม่เข้าใจ พูดไม่ชัด • ไม่สามารถสนทนาได้อย่างต่อเนื่องจนจบความ • การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม • ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนหรือผู้อื่น ไม่สามารถเข้ากับเพื่อนได้ • ไม่สบตา ไม่ยิ้มให้ หรือยิ้มตอบ ไม่ทักทาย ไม่แสดงออกทางสีหน้า • หากอยากได้อะไรไม่ชี้นิ้วบอก แต่จะร้องไห้และดึงมือผู้ใหญ่ไปที่สิ่งนั้นแทน • ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ไม่ได้ • ไม่แบ่งปันสิ่งที่ตนสนใจกับผู้อื่น ชอบเล่นคนเดียว ไม่ชอบทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น • เวลาเรียกชื่อแล้วไม่หันมามองตามเสียงเรียก ไม่สบตา หรือสบตาน้อยมาก • ไม่สนใจฟังเวลาพูดด้วย เฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์


๑๐ • ชอบเล่นกับสิ่งของมากกว่าเล่นกับคน • ไม่เข้ามาคลุกคลี สัมผัสกับผู้ปกครอง คุณครู หรือเพื่อน ๆ • ไม่รู้จักการใช้งานของสิ่งของ เช่น นำของเล่นมาดมหรือเลียแทนที่จะนำมาเล่น • ไม่ชอบเล่นกับเพื่อน ไม่ชอบเล่นตามจินตนาการ ไม่ชอบเล่นบทบาทสมมติ เช่น พ่อ แม่ ลูก • มักมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคุณครู ไม่มีเพื่อนสนิท ๒. มีพฤติกรรมเป็นแบบแผน หรือมีความสนใจซ้ำ ๆ จำกัดในเรื่องเดิม • ชอบทำกิจกรรมเดิมซ้ำ ๆ วนไปวนมา หากถูกบังคับให้เปลี่ยนพฤติกรรมจะหงุดหงิด อาละวาดทันที • ร้องไห้หากต้องทำในสิ่งที่ไม่สนใจ หรือเมื่อเจอกับบุคคลที่ไม่คุ้นเคย • ชอบเล่นซ้ำ ๆ มองสิ่งที่สนใจซ้ำ ๆ โดยจะสนใจในรายละเอียดของสิ่งของเป็นอย่างมาก • ชอบเรียงสิ่งของให้เป็นระเบียบ หรือเรียงเป็นแถวยาวต่อ ๆ กัน • ยึดติดกับความคิด สถานที่ หรือการกระทำเดิม ๆ เช่น ต้องนั่งทานข้าวที่เดิมเสมอ • ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อประสาทสัมผัสสิ่งเร้า แสง สี เสียง ผิวสัมผัส อุณหภูมิ เช่น อาจ ตอบสนองหรือไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด ไม่ตอบสนองต่ออากาศร้อนหรือเย็น หรือ ในทางตรงกันข้ามคือมีการตอบสนองมากกว่าปกติ • แสดงออกซึ่งสิ่งที่ไม่ชอบอย่างรุนแรง เช่น ไม่ชอบเสียงดัง ไม่ชอบใส่เสื้อผ้าพอดีตัว ไม่ชอบให้ จู้จี้จุกจิก • หมกมุ่นหรือสนใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเป็นพิเศษ เช่น หลงใหลในวัตถุที่มีแสงหรือมีการ เคลื่อนไหว เช่น ของเล่นที่มีไฟกระพริบ มีแสงวับวาว ของเล่นที่มีล้อหมุน เช่น รถของเล่น หรือพัดลม • ชอบกระโดด ชอบกระพือแขน เขย่งเท้า สะบัดมือซ้ำ ๆ ๔.พี่เลี้ยงเด็กพิการ มีกี่ระดับ พี่เลี้ยงเด็กพิการ มี ๒ ระดับ - ระดับต่ำ - ระดับพื้นฐาน


๑๑ ๕. พี่เลี้ยงเด็กพิการระดับพื้นฐานมีคุณสมบัติอย่างไร พี่เลี้ยงเด็กพิการระดับพื้นฐานมีคุณสมบัติ คือ ต้องมีวุฒิปริญญาตรี หรือ จบเอกการศึกษาพิเศษ โดยตรง และสามารถช่วยเหลือครูผู้สอนได้ในการสอน สอนซ่อมเสริม ช่วยเหลือครูในการควบคุมชั้นเรียน ภายใต้คำแนะนำของครูผู้สอนในวิชานั้น ๖.จงอธิบายแนวทางการมอบหมายหน้าที่พี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑. จัดตารางเวลาให้ดูแล ช่วยเหลือนักเรียนที่พิการที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีความบกพร่องทาง ร่างกายและการเคลื่อนไหว มีความยากลำบากในการดูแลตัวเองหรือพิการบกพร่องด้านอื่น ๆ ๒. จัดตารางเวลาและแบ่งเด็กให้พี่เลี้ยงเด็กพิการประกบนักเรียนเรียนรวมในชั้นเรียนขณะที่ครูสอนใน ชั้นเรียนรวม รวมทั้งเด็กที่ทำลายบรรยากาศในชั้นเรียนโดยเฉพาะวิชาที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้กลุ่มวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่น สอนเสริมเมื่อครูมอบหมายให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด ๗.อัตราส่วนเด็กพิเศษ : พี่เลี้ยง แต่ละประเภท มีสัดส่วนเท่าใด กลุ่มเด็กพิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้กำหนดอัตราส่วนจำนวน นักเรียนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการและเด็กพิการ จำนวน ๙ ประเภท ได้แก่ ๑.บุคคลที่บกพร่องทางการมองเห็น ๑๕ คนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ๒.บุคคลที่บกพร่องทางการได้ยิน ๑๕ คนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ๓.บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ๘ คนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ๔.บุคคลที่บกพร่องทางร่างกายและเคลื่อนไหว หรือ สุขภาพ ๑๕ คนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ๕.บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ๒๐ คนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ๖.บุคคลที่บกพร่องทางการพูดและภาษา ๑๕ คนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ๗.บุคคลที่บกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ ๑๕ คนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ๘.บุคคลออทิสติก ๕ คนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน และ ๙.บุคคลที่พิการซ้ำซ้อน ๘ คนต่อพี่เลี้ยงเด็กพิการ ๑ คน ๘.ข้อคิดที่ได้จากการฟังบรรยายพิเศษ/การนำไปประยุกต์ใช้ อธิบายให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจ การคัดกรองเด็ก มีส่วนรวมในการช่วยดูแลเด็ก และมีการจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้รายบุคคลให้สอดคล้องกับตัวเด็ก


๑๒ สรุปองค์ความรู้ที่ ๔ ใบงาน : กรณีศึกษา ชื่อ-สกุล ผู้เข้ารับการอบรม นางสาวอภิญญา มีไชโย รุ่นที่ ๓ กิจกรรมที่ปฏิบัติ : ให้ท่านศึกษาพฤติกรรมของเด็กต่อไปนี้ แล้วคัดกรองเด็ก โดยเลือกใช้แบบคัดกรองที่ตรง กับพฤติกรรม พร้อมระบุว่า เด็กหญิงรำนำ สีดา มีความบกพร่องประเภทใด เด็กหญิงรำนำ สีดา เกิดวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ พบว่ามีเป็นเด็กที่ไม่ชอบสบตา ไม่ค่อยพูดและ มักก้มศีรษะ มองสิ่งของ หนังสือ รูปภาพหรือนำเข้ามาดูใกล้ๆ ตา ขณะอ่านหนังสือมักจะอ่านซ้ำบรรทัดหรือ อ่านข้าม บรรทัด มักใช้มือเพื่อสำรวจ/หาสิ่งของ ควบคู่กับการใช้สายตา หรี่ตา กะพริบ ขยี้ตา กดตา เมื่อใช้ สายตามากๆ มักมีอาการ ปวดตา คันตา บ่อยๆ มองเห็นสิ่งของเคลื่อนไหวไปมา นอกจากนี้ในระหว่างเรียน ยังพบพฤติกรรมที่แสดงออกดังนี้ บอกสีเขียวกับสีฟ้าว่าเป็นสีเดียวกัน หรือ สี แดงกับสีส้มเป็นสีเดียวกัน เมื่อดูป้ายข้อความ รูปภาพ วัตถุสิ่งของต่างๆ ตามป้ายประกาศของโรงเรียนต้อง เข้าไปดู ใกล้ๆ ติดตา .................................................................. ตัวอย่างการคำนวณอายุ ปี เดือน วัน วันที่ประเมิน ๑ มกราคม ๒๕๖๕ = ๒๕๖๕ ๑ ๑ ยืม ๑ เดือน มา ๓๐ วัน ๓๐ ๒๕๖๕ ๑ ๓๑ ยืม ๑ ปี มา ๑๒ เดือน ๒๕๖๕ ๑๒ ๓๑ ๒๕๖๔ ๑๒ ๓๑ วันเกิด ๒ มกราคม ๒๕๕๗ = ๒๕๕๗ ๑ ๒ อายุที่ได้ = ๗ ๑๑ ๒๙ การกรอกข้อมูล แบบ ๑ = ๗ ๑๑ (๒๙) หรือ แบบ ๒ = ๗ ๑๑ หรือ แบบ ๓ = ๘ - ๑ ใส่วงเล็บ ไม่ใส่วัน ปัดเศษขึ้น


๑๓ ประเมินครั้งที่ ๑ แบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ชื่อ - นามสกุล (ด.ช./ด.ญ./นาย/นางสาว) เด็กหญิงรำนำ สีดา วัน เดือน ปี เกิด ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อายุ ๙ ปี ๙ เดือน ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๓ วัน เดือน ปี ที่ประเมิน ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ คำชี้แจง ๑. แบบคัดกรองฉบับนี้เป็นแบบคัดกรองเพื่อประโยชน์ในทางการจัดการศึกษาเท่านั้น ๒. วิเคราะห์ลักษณะ/พฤติกรรม ของเด็กซึ่งเป็นลักษณะหรือพฤติกรรม ที่เด็กแสดงออกบ่อยๆ โดยให้ทำ เครื่องหมาย /ลงในช่อง “ ใช่ ” หรือ “ไม่ใช่” ที่ตรงกับลักษณะหรือพฤติกรรมนั้นๆ ของเด็ก ๓. ผู้ทำการคัดกรองเบื้องต้นต้องผ่านการอบรมวิธีการใช้และการประเมิน ตามแบบคัดกรองนี้และควร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เช่น ผู้ปกครองหรือครู เพื่อให้เกิดความชัดเจน ถูกต้อง ๔. ผู้คัดกรองควรจะมีอย่างน้อย ๒ คนขึ้นไป ที่ ลักษณะ / พฤติกรรม ผลการวิเคราะห์ ใช่ ไม่ใช่ ๑ มักก้มศีรษะมองสิ่งของ หนังสือ รูปภาพหรือ นำเข้ามาดูใกล้ๆ ตา ๒ เมื่อดูป้ายข้อความ รูปภาพ วัตถุสิ่งของต่างๆ ตามสาธารณะ ต้องเข้าไปดูใกล้ๆ ๓ ขณะอ่านหนังสือ มักจะอ่านซ้ำบรรทัดเดิม หรืออ่านข้ามบรรทัด ๔ มักใช้ประสาทสัมผัสส่วนอื่น เพื่อสำรวจ / หาสิ่งของ ควบคู่กับ การใช้สายตา ๕ บอกรายละเอียดของภาพหรือสิ่งของไม่ได้ ๖ เดินด้วยความระมัดระวังกว่าปกติ เดินไม่คล่องตัว มักชนและสะดุดวัตถุ ๗ หรี่ตา กระพริบตา ขยี้ตา กดตา เมื่อใช้สายตามากๆ ๘ เคลื่อนศีรษะไปมา เพื่อหาจุดที่มองเห็นชัดที่สุด ๙ มักมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา ตาลาย คันตา มองเห็นสิ่งของเคลื่อนไหวไปมา ๑๐ บอกความแตกต่างของสีที่ใกล้เคียงกัน หรือสีทีไม่ตัดกันไม่ได้ เช่น สีเขียว กับสี ฟ้า สีแดงกับสีส้ม


๑๔ เกณฑ์การพิจารณา ถ้าตอบว่าใช่ ๕ ข้อขึ้นไป แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นควรให้การ ช่วยเหลือตามความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของผู้เรียนและส่งต่อให้จักษุแพทย์ตรวจวินิจฉัยต่อไป ผลการคัดกรอง พบความบกพร่อง ไม่พบความบกพร่อง ความคิดเห็นเพิ่มเติม ลงชื่อ อภิญญา ใบวุฒิบัตร เลขที่ (ผู้คัดกรอง) (นางสาวอภิญญา มีไชโย) ลงชื่อ นพัชฌา ใบวุฒิบัตร เลขที่ (ผู้คัดกรอง) (นางสาวนพัชฌา เรืองสุข) คำยินยอมของผู้ปกครอง ข้าพเจ้า (นาย / นาง / นางสาว) รำพึง สีดา เป็นผู้ปกครอง ของ (ด.ช. / ด.ญ./ นาย / นางสาว) รำนำ สีดา ยินยอม ไม่ยินยอม ให้ดําเนินการคัดกรอง (ด.ช./ด.ญ./ นาย / นางสาว) รำนำ สีดา ตามแบบคัดกรองนี้ เมื่อพบว่ามีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีความบกพร่องตามแบบคัดกรองข้างต้น ยินดี ไม่ ยินดี ให้จัดบริการช่วยเหลือทางการศึกษาพิเศษต่อไป ลงชื่อ รำพึง (ผู้ปกครอง) (นางรำพึง สีดา)


๑๕ ลำดับ การพิจารณาใช้แบบคัดกรอง ๑. ครูสังเกตเห็นปัญหาของนักเรียนที่ควรได้รับการช่วยเหลือให้เข้าถึงการศึกษาเป็นพิเศษ ๒. นำเสนอผู้บริหาร เพื่อพิจารณาดำเนินการใช้แบบคัดกรอง ๓. ผู้บริหารหรือผู้ได้รับมอบหมายพิจารณา ว่าควรได้รับการคัดกรอง ๔. ขอความร่วมมือกับครูผู้ผ่านการอบรมการคัดกรองเพื่อดำเนินการคัดกรอง ๕. ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อช่วยเหลือนักเรียน ๖. ขออนุญาตทำการคัดกรองจากผู้ปกครอง โดยผู้ปกครองลงนามยินยอมให้คัดกรอง ในแบบคัดกรอง รวมทั้ง ยินดีให้ สถานศึกษาจัดบริการช่วยเหลือทางการศึกษาพิเศษเมื่อพบว่ามีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีความบกพร่อง ตามแบบคัดกรอง ๗. เตรียมการคัดกรอง ๘. ดำเนินการคัดกรอง ควรมีผู้ดำเนินการคัดกรอง ๒ คน ๙. สรุปผลการคัดกรองตามเกณฑ์ ๑๐. รายงานผลผู้บริหารและผู้ปกครองทราบผลการคัดกรอง ๑๑. - กรณีไม่พบความบกพร่อง ให้จัดการเรียนการสอนโดยหาสาเหตุอื่นๆ เพิ่มเติม - กรณีพบความบกพร่อง มีแนวโน้มเป็นคนพิการและผู้ปกครองยินยอมให้บริการจัดการศึกษาพิเศษ ควรส่งแพทย์ตรวจวินิจฉัยออกใบรับรองความพิการหรือใบรับรองแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นคนพิการ - กรณีพบความบกพร่อง และผู้ปกครองไม่ยินยอมให้จัดบริการทางการศึกษาพิเศษ สถานศึกษาควรพิจารณาร่วมกับผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางการจัดการศึกษาต่อไป ๑๒. เมื่อแพทย์วินิจฉัยและออกใบรับรอง สถานศึกษาต้องนำใบรับรองและข้อมูลจากการคัดกรองมาประกอบ การพิจารณาจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และติดตามผลการจัดการเรียนการสอนตามแผน ๑๓. กรณีใช้แบบคัดกรองมากกว่า ๑ ประเภทและพบว่ามีแนวโน้มมีความบกพร่อง ๒ ประเภทขึ้นไป ให้สรุป เป็นบันทึกข้อความว่า มีความบกพร่องในลักษณะพิการซ้อน การเตรียมการคัดกรอง ๑. แบบคัดกรอง เลือกใช้แบบคัดกรองให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาศึกษาทบทวนเนื้อหา ๒. เตรียมสื่อ อุปกรณ์ ได้แก่ หนังสือเรียน รูปภาพ แผ่นภาพสี แบบทดสอบ ฯลฯ ๓. การสอบถามหรือการสัมภาษณ์ ข้อมูล จากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ - ผู้ปกครอง - ครูประจำวิชา ครูประจำชั้น พยาบาลประจำโรงเรียน ข้อมูลสุขภาพ - เพื่อนนักเรียน ๔. การเตรียมสถานการณ์ เช่นข้อคำถามให้แสดงพฤติกรรม คำสั่งให้ปฏิบัติ ๕. การเตรียมสถานที่ เป็นการกำหนดสถานที่เพื่อสังเกตพฤติกรรม


๑๖ สรุปองค์ความรู้ที่ ๕ การเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program : IEP /การเขียน แผนการสอน (Individual Implementation Plan : IIP) ชื่อ-สกุล......นางสาวอภิญญา...มีไชโย....................โรงเรียน....วัดบ้านไร่....................รุ่นที่.....๓.................. คำชี้แจง ตอบคำถามจากการฟังบรรยายและฝึกประสบการณ์การเขียนแผน IEP ๑. แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program : IEP ) คือ อะไร (๒ คะแนน) แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program : IEP ) คือ แผนการ จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับความ ต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ ตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และ ความช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษา โดยปกติจะเป็นแผนระยะเวลา ๑ ปี และมีการทบทวนทุกภาคเรียน ๒. แผนการสอน (Individual Implementation Plan : IIP) คือ อะไร (๒ คะแนน) แผนการสอน (Individual Implementation Plan : IIP) คือ แผนการสอนจัดทำขึ้น เฉพาะเจาะจงสำหรับนักเรียนคนนั้นเพื่อช่วยให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน IEP ๓. องค์ประกอบ แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program : IEP) มี ๘ ข้อ อะไรบ้าง(๒ คะแนน) ๑. ข้อมูลทั่วไป เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยชื่อ-สกุล เลขประจำตัว ประชาชน การจดทะเบียนคนพิการ วันเดือนปีเกิด ประเภทความพิการ ชื่อ-สกุล บิดามารดา ชื่อ-สกุล ผู้ปกครอง และที่อยู่ของผู้เรียนหรือผู้ปกครองที่ติดต่อได้ ๒. ข้อมูลด้านการแพทย์หรือด้านสุขภาพ เป็นข้อมูลของผู้เรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยและการ รักษา ประกอบด้วย โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา โรคภูมิแพ้ข้อจำกัดอื่น ๆ และผลการตรวจทางการแพทย์ ต่าง ๆ ๓. ข้อมูลด้านการศึกษา เป็นข้อมูลที่ผู้เรียนได้รับหรือไม่ได้รับการศึกษา บริการทางการศึกษา ประกอบด้วย การได้รับการศึกษาหรือบริการทางการศึกษาจาก ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนเฉพาะความ พิการ โรงเรียนเรียนรวม การศึกษาด้านอาชีพ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และอื่น ๆ ๔. ข้อมูลอื่นๆที่จำเป็น เป็นข้อมูลความสามารถพิเศษ บุคลิกภาพเฉพาะบุคคลหรือข้อมูลบุคคลที่มี ส่วน เกี่ยวข้อง ตลอดจนพื้นฐานสถานภาพครอบครัว


๑๗ ๕. กำหนดแนวทางการศึกษาและการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษ เป็นข้อมูลของผู้เรียนในการวาง แผนการจัดการศึกษา ประกอบด้วย ระดับความสามารถในปัจจุบัน เป้าหมายระยะเวลา ๑ ปีจุดประสงค์เชิง พฤติกรรม (เป้าหมายระยะสั้น) เกณฑ์และวิธีประเมินผล และผู้รับผิดชอบ ๖. ความต้องการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความ ช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา เป็นการระบุรายการ รหัส สิ่งที่มีอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องการ จำนวนเงินที่ขออุดหนุน เหตุผลและความจำเป็น และผู้ประเมิน ๗. คณะกรรมการจัดทำแผน เป็นการระบุบุคคลในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ประกอบด้วย ผู้บริหาร บิดามารดาผู้ปกครอง ครูประจำชั้น หัวหน้างานวิชาการสหวิทยาการ ๘. ความเห็นของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้เรียน การลงความเห็นชอบในการจัดทำแผนการ จัด การศึกษาเฉพาะบุคคล ๔. นักสหวิชาชีพ คือใครบ้าง จงยกตัวอย่าง (๒ คะแนน) นักสหวิชาชีพ คือ กลุ่มบุคคลที่ทำงานประสานความร่วมมือ จากหลายสาขาวิชาชีพ เพื่อมุ่งแก้ปัญหา อย่างมีระบบและเป็นกระบวนการ อยู่บนพื้นฐานที่มีจุดประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน ในการปฏิบัติงาน โดยมี การติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อการประเมินสภาพการณ์ของปัญหาและมีความรับผิดชอบ ร่วมกันทั้งกระบวนการ ตัวอย่างเช่น ศูนย์ช่วย เหลือสังคม (OSCC) มูลนิธิต่าง ๆ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ องค์กรเพื่อการกุศล บ้านพักเด็กและครอบครัว สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคง ฯลฯ ๕. การคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษามีกี่ประเภท ประเภทใดที่มีการแยกระดับชั้น และ ประเภทใดไม่มีแบบคัดกรอง (๒ คะแนน) ประเภทที่มีการแยกระดับชั้น แบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ประเภทที่ไม่มีแบบคัดกรอง บุคคลพิการซ้ำซ้อน


๑๘ สรุปองค์ความรู้ที่ ๖ การทำข้อมูลลงระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงเรียนเรียนรวม (SET) และ IEP Online (ขอรับคูปอง) ชื่อ-สกุล....นางสาวอภิญญา.....มีไชโย................................โรงเรียน........วัดบ้านไร่...................รุ่นที่..... ๓.................. คำชี้แจง ตอบคำถามจากการฟังบรรยายและฝึกประสบการณ์การเขียนแผน IEP ๑. ระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงเรียนเรียนรวม (SET) ระดับโรงเรียนมีผู้ดูแลระบบ (แอดมิน) กี่คน/ โรงเรียน (๑ คะแนน) ตอบ ๓ คน ๒. หากต้องการลบแอดมินระดับโรงเรียนออก เนื่องจากย้าย/ เกษียณ ต้องแจ้งไปที่ใด (๑ คะแนน) ตอบ ติดต่อสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ๓. การตั้งชื่อผู้ใช้ (Username) สามารถตั้งเป็นภาษาไทยได้กี่ตัวอักษร จงอธิบายวิธีการ (๒ คะแนน) ตอบ สามารถกรอกชื่อ Username ได้เพียงตัวอักษร - ๒ และ ๐-๙ เท่านั้น และมีความยาวระหว่าง ๖ - ๑๕ ตัวอักษร หรือตัวเลข ๔. ข้อมูลนักเรียนที่ต้องนำมาลงในระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงเรียนเรียนรวม (SET) ต้องเตรียมข้อมูล ส่วนใดบ้าง จงอธิบาย (๒ คะแนน) ตอบ ๑. บัตรประจำตัวประชาชนของนักเรียนและผู้ปกครอง สำหรับใช้ในการกรอกข้อมูลรวมทั้งชื่อ ภาษาอังกฤษ ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน สำหรับใช้กรอกข้อมูลที่อยู่อาศัย ๓. เลขที่ประจำตัวนักเรียน ๔. ระยะห่างระหว่างบ้านกับโรงเรียน ๕. ข้อมมูลอื่น ๆ เช่น ผลการเรียน น้ำหนัก ส่วนสูง ๕. หากต้องการขอรับคูปองการศึกษา สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ต้อง ดำเนินการอย่างไร และใช้ระบบใด จงอธิบาย (๒ คะแนน) ตอบ ๑. ดำเนินการคัดกรองนักเรียน และพานักเรียนเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ๒. จัดทำแผน IEP และ IP


๑๙ ๓. ต้องบันทึกข้อมูล ๒ ส่วน คือ . บันทึกข้อมูลลงระบบ SET และบันทึกข้อมูลลงโปรแกรม IEP Online ๔. นำเอกสารที่ได้จากโปรแกรม IEP Online ส่งไปยังศูนย์การศึกษาพิเศษ ๖. หากท่านต้องการสอบถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงเรียนเรียนรวม (SET) และ IEP Online สามารถสอบถาม/ศึกษาเพิ่มเติมทางช่องทางใดได้บ้าง จงอธิบาย (๒ คะแนน) ตอบ สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ โทร - ๒๒๘๘ ๕๕๔๗ , ๑๐๘ ๙๔๘ ๔๔๔๕ ประสานงาน ด้านการบันทึกข้อมูลระบบโปรแกรม SET โทร ๐ ๒๒๘ ๕๕๔๓-๔ ประสานงานด้านการคัดกรองและการ จัดสรรพี่เลี้ยงเด็กพิการ กลุ่มไลน์ รร.เรียนรวม สพป.พิจิตร เขต ๑


๒๐ สรุปองค์ความรู้ที่ ๗ การจัดการศึกษาเรียนรวมตามโครงสร้าง SEAT ชื่อ-สกุล.......นางสาวอภิญญา ...มีไชโย..................โรงเรียน........วัดบ้านไร่..................รุ่นที่.....๓............ คำชี้แจง ตอบคำถามจากการฟังบรรยาย ๕ ข้อ ๑๐ คะแนน ๑. การจัดการเรียนร่วม กับ การจัดการเรียนรวม ต่างกันอย่างไร (๒ คะแนน) ตอบ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้า มาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริกรพิเศษตามความต้องการของแต่ละ บุคคล แต่การศึกษาแบบเรียนร่วม เป็นการศึกษา ที่ให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนหรือกิจกรรมร่วมกับเด็กปกติ ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ๒. การเรียนร่วม คือ อะไร จงอธิบาย (๒ คะแนน) ตอบ การศึกษาแบบเรียนร่วมหมายถึง การนำนักเรียนพิการ หรือมีความพกพร่อง เข้าไปในระบบ การศึกษาปกติ มีการร่วมกิจกรรม และใช้เวลาว่างช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ระหว่างนักเรียนพิการหรือที่มี ความพกพร่องกับนักเรียนทั่วไป ๓. การเรียนรวม คือ อะไร จงอธิบาย (๒ คะแนน) ตอบ การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การศึกษาสำหรับคนทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่ม รับ การศึกษาและจัดบริการ พิเศษตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล ๔. โครงสร้าง SEAT คืออะไร จงอธิบาย (๒ คะแนน) ตอบ โครงสร้าง SEAT เราจะให้โอกาสเด็กที่มีความต้องการพิเศษอยู่ร่วมกับเราแบบไหน S (Student) ด้านนักเรียน = ความพร้อมของนักเรียน ทั้งตัวนักเรียนและเพื่อนนักเรียน E (Environment) ด้านสภาพแวดล้อม = ความพร้อมของโรงเรียน ห้องเรียน มีอุปสรรคให้น้อย ลด ขีดกำจัด การจัดการเรียนรู้ให้ มากขึ้น A (Activities) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน = การจัดกิจกรรมกรเรียนการสอนโดยคำนึงความ แตกต่าง เฉพาะบุคคล T (Tools) เครื่องมือ = นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน รวมไปถึงระบบการบริการจัดการ ของ โรงเรียน ๕. พี่เลี้ยงเด็กพิการมีคุณสมบัติอย่างไร และปฏิบัติหน้าที่อะไร (๒ คะแนน) ตอบ คุณสมบัติ ๑. วุฒิการศึกษา ม. ๓ หรือเทียบเท่า ๒. เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ๓. อายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี บริบูรณ์ และไม่เกิน ๖๐ ปี ๔. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้


๒๑ ๒๑


ภาคผนวก


๒๓ องค์ความรู้ที่ ๑ ตอนที่ ๑ กฎหมายและ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการที่ต้อง รู้


๒๔ องค์ความรู้ที่ ๒ ตอนที่ ๒ กฎหมายและ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการที่ต้อง รู้ รู้


๒๕ องค์ความรู้ที่ ๓ ตอนที่ ๓ การจัดการเรียนรวมและการคัดกรองผู้พิการทางรู้


๒๖ สรุปองค์ความรู้ที่ ๔ ใบงาน : กรณีศึกษา


๒๗ องค์ความรู้ที่ ๕ การเขียนแผนการจัดการศึกษาพิเศษ (Individaulized Education Program : IEP) การเขียนแผนการสอน (Individaul Implementation Plan : IIP)


๒๘ Plan : IIP) องค์ความรู้ที่ ๖ การทำข้อมูลลงระบบบริหารจัดการข้อมมูลโรงเรียนรวม (SET) และ IEP Online (ขอรับคูปอง)


๒๙ สรุปองค์ความรู้ที่ ๗ การจัดการศึกษาเรียนรวมตามโครงสร้าง SEAT



Click to View FlipBook Version