The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานเดือน ธค 2566 ปรับ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sicha1335, 2024-01-03 03:26:24

รายงานเดือน ธค 2566 ปรับ

รายงานเดือน ธค 2566 ปรับ

รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดนครปฐม สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม ศาลากลางจังหวัดนครปฐม ถนนศูนย์ราชการ จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 0 3434 0007-9 ต่อ 317 www.cgd.go.th/nkp ฉบับที่ 4/2566 ประจำเดือน ธันวาคม 2566 รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดนครปฐมปี 2566 “เศรษฐกิจจังหวัดนครปฐมปี 2566 คาดว่าขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.9 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคเกษตรกรรม ภาคบริการ และการบริโภคภาคเอกชนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ ขณะที่เศรษฐกิจจังหวัดนครปฐมปี 2567 คาดว่าขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.1 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ การบริโภคภาคเอกชนและภาคการลงทุน ภาคเอกชนเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดียังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ต่อเศรษฐกิจจังหวัดอย่างใกล้ชิด” เศรษฐกิจจังหวัดนครปฐมในปี 2566 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจังหวัดนครปฐมในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ร้อยละ 2.4 – 3.4) โดยปรับประมาณการลดลงจากที่ประมาณการไว้เมื่อเดือนกันยายน 2566 ที่คาดว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ด้านอุปทาน (การผลิต) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0 – 4.0) จากภาคเกษตรกรรม คาดว่าขยายตัวร้อยละ 11.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 11.2 – 12.2) จากสภาพอากาศ และปริมาณน้ำที่เหมาะสม พร้อมกับในปีนี้พื้นที่ทางการเกษตรในจังหวัดไม่รับผลกระทบจากอุทกภัย ทำให้มีผลผลิต ทางการเกษตรออกสู่ตลาด ตลอดทั้งปี และได้รับแรงกระตุ้นจากนักท่องเที่ยว เข้าเยี่ยมชมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้สม่ำเสมอ อีกทั้งในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ตอนรับปีใหม่ ความต้องการการบริโภคผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคบริการ คาดว่าขยายตัวร้อยละ 5.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.9 – 5.9) เป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญ จากปัจจัยของจำนวนนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติและผู้มาเยี่ยมเยือนชาวไทย ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐม รวมทั้งจังหวัดนครปฐม มีการจัดงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อาทิเช่น “งานมหาธีรราชเจ้ารำลึก มหกรรมวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม” “งานเยือนวังเก่า เล่าวันวาน ผ่านสำรับอาหาร” และ“งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์” เป็นต้น รวมถึงการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวตามชุมชนต่าง ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในจังหวัดทำให้เกิดรายได้และการจ้างงานในพื้นที่ เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าขยายตัวร้อยละ 0.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ (-0.2) – 0.8) คาดว่า จะมีการขออนุญาตประกอบกิจการเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จะส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยในการซื้อสินค้าและบริการ การลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของภาคเอกชนมากขึ้น การจ้างงานและการส่งออกเพิ่มขึ้น


ด้านอุปสงค์(การใช้จ่าย) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.0 – 3.0) จากรายได้เกษตรกร คาดว่าขยายตัวร้อยละ 14.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 13.1 – 15.1) จากความต้องการ บริโภคของประชาชนและภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้น ทำให้การผลิตภาคเกษตรกรรมต้องมากกว่าเดิมเพื่อให้เพียงพอ ต่อความต้องการบริโภคในช่วงที่มีเทศกาลต่าง ๆ การบริโภคภาคเอกชน คาดว่าขยายตัวร้อยละ 3.4 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.9 – 3.9) ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ลดลง อย่างต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวทั้งในประประเทศและนอกประเทศออกท่องเที่ยวที่ประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลให้มีการ จับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการ และกำลังซื้อภาคประชาชนขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าขยายตัวร้อยละ 1.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.1 – 2.1) ประกอบกับการขยายตัวของภาคบริการ ที่เป็น ผลมาจากการสนับสนุนจากภาครัฐและ ภาคเอกชน ในการจัดงานต่าง ๆ และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สะพานข้ามทางรถไฟ และมอเตอร์เวย์ สร้างการจูงใจในการเดินทางมาจังหวัดนครปฐมสะดวกรวดเร็ว รวมถึงการ ขนส่งต่าง ๆ ส่งผล ให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจจังหวัด และการพิจารณาจาก สินเชื่อสำหรับการลงทุนขยายตัวจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อต่างๆ ให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ผู้ประกอบการ SME ส่งผลให้ผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายและสะดวก ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าขยายตัวร้อยละ 2.8 ตามผลการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามกรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในจังหวัด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 1.5 – 2.5) เนื่องจากระดับราคาด้านพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และ ก๊าซหุงต้มที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แม้จะมีการปรับลดระดับ ราคาสินค้าบางประเภทลงเนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน ส ่วนการจ้างงาน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.46 ตามความต้องการแรงงานที่ยังคงขาดแคลนแรงงาน ในบางประเภทอุตสาหกรรม แม้จะมีแรงกดดันจากระดับราคาค่าจ้างแรงงานของจังหวัดที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้สถานประกอบการมีความระมัดระวังในการจ้างงานเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจังหวัดนครปฐมในปี 2567 การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจังหวัดนครปฐมในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.6 – 3.6) จากแรงขับเคลื่อนทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ การบริโภคภาคเอกชนและภาคการลงทุนภาคเอกชน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และผู้มาเยี่ยมเยือนชาวไทย ด้านอุปทาน คาดว่าจะขยายตัวจากปี 2566 ในอัตราร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0 – 4.0) จากภาคบริการ ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5.0 – 6.0) ตามสถานการณ์การส่งเสริม การท่องเที่ยว จึงทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และจังหวัดนครปฐม มีการจัดงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น “งานนครปฐมเมืองอาหารปลอดภัย ศูนย์กลางนำครัวไทย สู่ครัวโลก”เป็นแรงขับเคลื่อนและกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในจังหวัด ประกอบกับมาตรการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวและมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐส่งผลถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยมีแรงหนุนจากการ ใช้จ่ายภาครัฐทั้งการบริโภคและการลงทุน และเนื่องจากการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว รายได้จากนักท่องเที่ยว 2


รายได้ของผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกที่แจ้งเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้ของผู้ประกอบการ อสังหาริมทรัพย์ ที่แจ้งเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.3 – 2.3) ตามการขยายตัวของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม และการเพิ่มขึ้นของจำนวนโรงงาน อุตสาหกรรม โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการสินค้าอาหารในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นส่งผลดี ต่ออุตสาหกรรมแปรรูป อาหารที่เป็นอุตสาหกรรมหลักในจังหวัด ในขณะภาคเกษตรกรรม มีแนวโน้มขยายตัว ในอัตราร้อยละ 1.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 0.5 – 1.5) จากแนวโน้มปริมาณผลผลิตภาคเกษตรที่สูงขึ้น จากปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าจะเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการผลิต ด้านอุปสงค์มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.5 – 3.5) จากการบริโภค ภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.1 – 4.1) ตามคาดการณ์ว่าสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) จะคลี่คลายลงทำให้ภาวะเศรษฐกิจภาพรวมปรับตัวดีขึ้น รวมทั้ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตร สวัสดิการแห่งรัฐส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าขยายตัว ร้อยละ 3.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.1 – 4.1) จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณสินเชื่อเพื่อการลงทุน ประกอบกับ รายได้เกษตรกรคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 1.8 – 3.8) และการใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าขยายตัวร้อยละ 2.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 2.0 – 3.0) จากกรอบวงเงินงบประมาณที่เพิ่มขึ้น จากปีก่อน และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่เข้มงวด ทั้งรายจ่ายประจำ และรายจ่ายงบลงทุน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในจังหวัด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 1.2 – 2.2) ปรับตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของกำลังซื้อประชาชน และอุปสงค์ ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจของจังหวัดนครปฐม ในปี2566 และในปี 2567 1. การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุน ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงของกรอบวงเงิน ลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 รวมทั้งความคืบหน้าของโครงการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม - ชะอำ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรีที่จะให้ทดลองใช้งานสิ้นปี พ.ศ.2566 นี้ต้อนรับ เทศกาลปีใหม่ 2567 ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2566 -3 มกราคม 2567 และโครงการรถไฟทางคู่สายใต้ นครปฐม-ชุมพร 2. โครงการรัฐบาล ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ระยะเวลา 3 เดือน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค.67 โดยกระทรวงพลังงานจะหารือกับกระทรวงการคลังในการบริหาร จัดการด้านราคา ใช้กลไกของภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ระยะเวลา 3 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค.67 โดยบริหารผ่านกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตรึงราคาค่าไฟงวดใหม่ (ม.ค.-เม.ย.67) สำหรับกลุ่มเปราะบางหรือครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วย/เดือนไว้ที่ 3.99 บาท/หน่วย สำหรับค่าไฟงวดใหม่ของครัวเรือนทั่วไป ครม.เห็นชอบหลักการที่จะกำหนดไม่เกิน 4.20 บาท/หน่วย โดยมีอัตราเป้าหมายเบื้องต้นที่ 4.18 บาท 3


3. มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ ช่วยเหลือพักหนี้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SME) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วงเงินงบประมาณ 400 ล้านบาท มาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือ และรองรับลูกหนี้นอกระบบ วงเงิน 4,500 ล้านบาท และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบ จาก โควิด-19 ตามโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระ ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่จะเข้ามาร่วม ในมาตรการดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศ ไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย (SME D Bank) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และบรรษัท ประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดขนาดย่อม (บสย.) ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจของจังหวัดนครปฐม ในปี 2566และในปี 2567 1. ภาคธุรกิจไทยฟื้นตัวบนความเปราะบาง จากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เป็นผลมาจากความอ่อนไหว (Sensitivity) ของภาระดอกเบี้ยจ่ายต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย กล่าวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มสูงขึ้น ภาคธุรกิจจะมีดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยบริษัทที่มีดอกเบี้ยจ่ายมากกว่ากำไร (ก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี) และ เข้าข่ายกิจการที่เปิดมานานกว่า 10 ปี จะถูกเรียกว่า “บริษัทผีดิบ (Zombie firms)” ซึ่งเป็นลักษณะของบริษัทที่มีกำไร ไม่มากพอที่จะมาจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ แต่ก็ไม่ได้มีผลประกอบการแย่ถึงกับต้องปิดกิจการ ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวของ ดอกเบี้ยจ่ายมากย่อมเผชิญความเสี่ยงที่จะเป็นบริษัทผีดิบมากขึ้น หากพิจารณาในมิติขนาดของบริษัท SCB EIC คาดว่าใน ปี 2566 สัดส่วน Zombie firms จะเพิ่มขึ้นมากสุดในกลุ่มธุรกิจขนาดย่อยอยู่ที่ 29% เทียบกับ 16.6% ในปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์ระบาด COVID-19 โดยการเพิ่มขึ้นของ Zombie firms นั้นจะส่งผลให้ความสามารถในการลงทุนของ ภาคเอกชนลดลงตามไปด้วย 2. หนี้ครัวเรือน สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปัจจุบันจัดว่าน่าเป็นกังวล จากข้อมูลของธนาคาร แห่งประเทศไทยพบว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ณ ไตรมาส 1 ปี 2566 อยู่ที่ 90.6% (หลังปรับปรุง นิยามใหม่) โดยแบ่งเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อบัตรเครดิตในสัดส่วน 50%, 24%, 22%, และ 4% ตามลำดับ หากประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลกดดัน เศรษฐกิจจากความสามารถในการบริโภคที่ลดลง เนื่องจากครัวเรือนต้องนำรายได้ไปชำระหนี้ ส่งผลให้การเติบโต ของการบริโภคภายในประเทศในระยะข้างหน้าจะไม่สูงนัก ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกชุดมาตรการใหม่แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน และตรงจุดมากขึ้นเพื่อเร่งแก้ปัญหานี้ โดยเน้นไปที่ “การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)” และเจ้าหนี้ต้องดูแลลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทหมุนเวียนของลูกหนี้รายได้น้อยและเข้าข่ายเป็นหนี้ เรื้อรัง (หรือเป็นหนี้ที่จ่ายดอกมากกว่าเงินต้นใน 5 ปีที่ผ่านมา) ให้ปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี และคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% ต่อปี 3. ภัยแล้งจากเอลนีโญ ข้อมูลปริมาณฝนในช่วง 1 - 27 สิงหาคม 2566 ของประเทศไทยแสดง ให้เห็นถึงปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ (ฝนแล้ง) ในภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ฝั่งตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งภาพรวมปริมาณฝนทั้งประเทศมีน้อยกว่าค่าปกติถึง 27% สะท้อนให้เห็นถึง ผลกระทบจากการกลับมาของเอลนีโญ โดย International Research Institute for Climate and Society (IRI) คาดว่าโลกอาจจะต้องเผชิญเอลนีโญไปจนถึงเดือนเมษายน 2567 4


จากเหตุการณ์ฝนน้อยกว่าค่าปกติที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถผลิต ได้น้อยลง ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง จะมีผลผลักดันให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยกดดันเงินเฟ้อหมวดอาหารเพิ่มเติม โดยผลกระทบของเอลนีโญที่มีต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในปีหน้า 4. การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน กลุ่ม OPEC+ ขยายเวลาประกาศลดกำลังการผลิตแบบสมัครใจที่ 1.66 ล้านบาร์เรลต่อวันจากเดิมที่จะสิ้นสุดในปี 2566 เป็นสิ้นสุดปี 2567 นอกจากนี้ จะเข้าสู่ช่วง High season ของการใช้น้ำมัน เนื่องจากเป็น Driving season ของสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัว สูงขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกยังเป็นปัจจัยกดดันสำคัญกระทบ อุปสงค์น้ำมันโลกที่ยังมีสัญญาณไม่ชัดเจน เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ล่าช้า และสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อราคาพลังงาน เนื่องด้วยราคาพลังงานโลกและต้นทุนน้ำมันมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกของ 2566 ทำให้การจะตรึงราคาไว้ที่ระดับเดิมได้นั้น กองทุนน้ำมันต้องเข้าไปช่วยพยุงราคามากขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ สภาพคล่องของกองทุนน้ำมัน มองไปข้างหน้ามีความเสี่ยงที่กองทุนน้ำมันอาจรับภาระอุ้มราคาได้เพียงบางส่วน จึงมีความเสี่ยงที่ราคาน้ำมันในประเทศอาจปรับสูงขึ้นและเป็นปัจจัยกดดันเงินเฟ้อหมวดพลังงาน 5


ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดนครปฐม ปี 2566 (ณ เดือนธันวาคม 2566) 2565 2566 E 2567F (ณ เดือนธันวาคม 2566) เฉลี่ย ช่วง สมมติฐานหลัก สมมติฐานภายนอก 1) ปริมาณผลผลิต : ข้าว (ร้อยละต่อปี) -1.6 20.0 1.0 0.5 - 1.5 2) จำนวนอาชญาบัตร : สุกร (ร้อยละต่อปี) 2.2 5.0 2.0 1.5 - 2.5 3) ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย : ข้าว (บาทต่อตัน) 8,780 9,219 9,403 9,357 - 9,449 4) ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย : สุกร (บาทต่อกิโลกรัม) 103.0 104.0 102.9 102.4 - 103.5 5) จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม (โรง) 3,384 3,350 3,384 3,367 - 3,400 6) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละต่อปี) 0.7 1.0 2.5 2.0 - 3.0 7) ยอดขายของผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีก (ร้อยละต่อปี) 29.4 -1.0 1.0 0.5 - 1.5 8) จำนวนนักท่องเที่ยวของจังหวัด (ร้อยละต่อปี) 202.7 23.0 10.0 9.5 - 10.5 9) รายได้นักท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม (ร้อยละต่อปี) 200.4 3.3 5.0 4.5 - 5.5 10) จำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (ร้อยละต่อปี) 5.6 -2.2 -1.5 -2.0 - -1.0 11) จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (ร้อยละต่อปี) 3.7 -5.5 -2.3 -2.8 - -1.8 12) สินเชื่อเพื่อการลงทุน (ล้านบาท) 19,391 19,779 20,174 20,075 - 20,273 สมมติฐานด้านนโยบาย 13) รายจ่ายประจำรัฐบาลกลาง (ล้านบาท) 4,393 4,524 4,660 4,638 - 4,683 (ร้อยละต่อปี) -0.8 3.0 3.0 2.5 - 3.5 14) รายจ่ายลงทุนรัฐบาลกลาง (ล้านบาท) 2,737 2,792 2,820 2,806 - 2,834 (ร้อยละต่อปี) 1.6 2.0 1.0 0.5 - 1.5 ผลการประมาณการ 1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 6.8 2.9 3.1 2.6 - 3.6 2) อัตราการขยายตัวทางด้านอุปทาน (ร้อยละต่อปี) 5.6 3.5 3.5 3.0 - 4.0 3) อัตราการขยายตัวของภาคเกษตรกรรม (ร้อยละต่อปี) -0.4 11.7 1.0 0.5 - 1.5 4) อัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละต่อปี) 2.0 0.3 1.8 1.3 - 2.3 5) อัตราการขยายตัวของภาคบริการ (ร้อยละต่อปี) 13.1 5.4 5.5 5.0 - 6.0 6) อัตราการขยายตัวทางด้านอุปสงค์ (ร้อยละต่อปี) 16.1 2.5 3.0 2.5 - 3.5 7) อัตราการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน (ร้อยละต่อปี) 27.2 3.4 3.6 3.1 - 4.1 8) อัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน (ร้อยละต่อปี) 9.1 1.6 3.6 3.1 - 4.1 9) อัตราการขยายตัวของรายได้เกษตรกร (ร้อยละต่อปี) 3.0 14.1 2.8 1.8 - 3.8 10) อัตราเงินเฟ้อ (ร้อยละต่อปี) 5.1 2.0 1.7 1.2 - 2.2 11) จำนวนผู้มีงานทำ (คน) 818,957 830,180 842,305 840,329 - 844,260 เปลี่ยนแปลง (คน) 123,241 11,223 12,124 10,149 - 14,079 ที่มา : กลุ่มงานนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม E = Estimate : การประมาณการ ปรับปรุง : 28 ธันวาคม 2566 F = Forecast : การพยากรณ์ 6


สมมติฐานหลักในการประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดนครปฐม 1. ด้านอ ุปทานในปี 2566 เศรษฐกิจจังหวัดนครปฐมคาดว ่าขยายตัวร้อยละ 3.5 ต ่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 3.0 – 4.0) จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปีในปี 2565 เป็นผลจากภาค เกษตรกรรมขยายตัว ร้อยละ 11.7 ต ่อปี (โดยมีช ่วงคาดการณ์อยู ่ที ่ร้อยละ 11.2 – 12.2) ภาคบริการ ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 4.9 – 5.9) ภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ (-0.2) – 0.8) ในขณะที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 0.5 – 1.5) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจและการขยายกำลังการผลิตสินค้า เพื่อรองรับความต้องการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับจำนวน โรงงานอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีการขออนุญาตประกอบกิจการ และขยายโรงงานเพิ่มมากขึ้น สำหรับปี 2567 คาดว่าจะมีปริมาณการใช้ไฟฟ้า จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 2.0 – 3.0) 1.2 ยอดขายของผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีก ในปี 2566 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -1.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ (-1.5) – (-0.5)) ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 29.4 ในปี 2565 จากแรงกดดัน จากการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพที่ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง ทำให้ยอดขายมีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน โดยคาดว่าในปี 2567 จะมีแรงสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ รวมถึงการสนับสนุนจากมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทางภาครัฐจะออกนโยบายเพื่อเร่งกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน สำหรับปี 2567 คาดว่ายอดขายของผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีก จะขยายตัว ที่ร้อยละ 1.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 0.5 – 1.5) 7 1.7 3.2 2.1 3.7 1.1 -2.6 0.3 0.7 0.5 1.5 -4.0 0.0 4.0 8.0 12.0 16.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม 2.1 -0.9 6.1 6.4 6.2 -25.2 1.8 29.4 -1.5 -0.5 -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 30.0 40.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี ยอดขายของผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีก


1.3 จำนวนนักท่องเที่ยว ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 23.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ ร้อยละ 22.5 – 23.5) จากที่ขยายตัวร้อยละ 202.7 ในปี 2565 จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัด นครปฐมเพื่อสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ "พระร่วงโรจนฤทธิ์" วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” วัดไร่ขิง และ “พระราหู” วัดศีรษะทอง เป็นต้น จังหวัดนครปฐมยังได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้น เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น “งานมหาธีรราชเจ้ารำลึก มหกรรมวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม” สำหรับปี 2567 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยว จะขยายตัวที่ร้อยละ 10.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 9.5 – 10.5) 1.4 รายได้ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วง คาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 2.8 – 3.8) ชะลอตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 200.4 ในปี 2565 จากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ด้านการท่องเที่ยว ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาในจังหวัดเพิ่มมากขึ้น แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐมมีหลากหลาย อาทิเช่น วัดที่สำคัญต่าง ๆ ที่ประชาชนศรัทธาและมากราบไหว้ ค่าเฟ่ และร้านอาหาร เป็นต้น สำหรับปี 2567 คาดว่ารายได้นักท่องเที่ยวจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ อยู่ที่ร้อยละ 4.5 – 5.5) 8 3.3 18.1 4.6 7.0 2.2 -60.2 -43.1 202.7 22.5 23.5 -100.0 -50.0 0.0 50.0 100.0 150.0 200.0 250.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี จ านวนนักท่องเที่ยว 5.1 24.5 8.5 10.1 4.3 -63.8 -45.6 200.4 2.8 3.8 -100.0 -50.0 0.0 50.0 100.0 150.0 200.0 250.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี รายได้จากการท่องเที่ยว


1.5 ปริมาณผลผลิตข้าวในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 19.5 – 20.5) จากที่หดตัวร้อยละ -1.6 ในปี 2565 จากความต้องการบริโภคข้าวของประชาชนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมี การปลูกข้าวในปริมาณที่มากขึ้นด้วย และสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำในจังหวัดนครปฐมมีมากพอต่อการ ทำนาสำหรับปี 2567 คาดว่าปริมาณผลผลิตข้าวจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 0.5 – 1.5) 2. ด้านอ ุปสงค์ในปี 2566 เศรษฐกิจจังหวัดนครปฐมคาดว ่าขยายตัวร้อยละ 2.5 ต ่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 2.0 – 3.0) จากที่ขยายตัวร้อยละ 16.14 ในปี 2565 เป็นผลมาจากรายได้ เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 14.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 13.1 – 15.1) การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 2.9 – 3.9) และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 1.1 – 2.1) ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 (โดยมีช่วง คาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 2.3 – 3.3) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดค้าส่งค้าปลีก คาดว่าในปี 2566 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วง คาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 3.0 – 4.0) จากที่ขยายตัวร้อยละ 29.36 ในปี 2565 ส่วนหนึ่งจากการขยายเวลาลดอัตรา ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 7% ต่อไปถึง 30 ก.ย. 2567 รวมถึงยอดขายส่งขายปลีกที่คาดว่าจะกลับมาเติบโตในระดับปกติ เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน จะส่งผลให้ยอด ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ขยายตัวน้อยลงจากปีก่อนสอดคล้องกับการ ลดลงของยอดขายส่งขายปลีกในจังหวัด ส่งผลต่อรายได้และกำลังซื้อของครัวเรือน รวมถึงความเชื่อมั่นต่อภาวะ เศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยของภาคประชาชนเพิ่มขึ้น สำหรับปี 2567 คาดว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดค่าส่งค้าปลีกจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 3.2 – 4.2) 9 -22.6 -6.6 -13.7 48.3 -3.9 4.8 -6.3 -1.6 19.5 20.5 -50 -30 -10 10 30 50 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี ปริมาณผลผลิต : ข้าว 2.1 -0.9 6.1 6.4 6.2 -25.2 1.8 29.4 3.0 4.0 -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 30.0 40.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดค้าส่งค้าปลีก


2.2 จำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ คาดว่าในปี 2566 จะหดตัวที่ร้อยละ -2.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ (-2.7) – (-1.7)) จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ในปี 2565 ความต้องการที่จะใช้รถยนต์ มีปริมาณลดลงจากราคาน้ำมันที่สูง และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV ราคาสูงยังใหม่ต่อการทดลองใช้ในชีวิตประจำวัน ประกอบกับราคาแบตเตอรี่และประกันภัยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าราคาแพงกว่ารถยนต์ทั่วไป ไม่เหมาะกับประชาชนที่ มีรายได้น้อย สำหรับปี 2567 คาดว่าจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจะหดตัวที่ร้อยละ -1.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ ร้อยละ (-2.0) – (-1.0)) 2.3 สินเชื่อเพื่อการลงทุนของสถาบันการเงินในจังหวัดนครปฐม คาดว่าในปี 2566 สถาบัน การเงินในจังหวัดจะขยายสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนเงิน 19,779 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 19,682 – 19,876 ล้านบาท) เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนมีความสามารถในการขอสินเชื่อมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อของทั้งสถาบันการเงินภาครัฐและภาคเอกชน มีแรงจูงใจในการขอสินเชื่อ อาทิเช่น อัตรา ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ สำหรับปี 2567 คาดว่าสินเชื่อเพื่อการลงทุนของสถาบันการเงินจะขยายสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนเงิน 20,174 ล้านบาท (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 20,075 – 20,273 ล้านบาท) 10 -35.4 15.6 13.7 8.2 3.6 -29.5 -1.4 5.6 -2.7 -1.7 -40.0 -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี จ านวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 15,195 15,799 16,010 18,460 18,998 19,215 19,129 19,391 19,682 19,876 0 5,000 10,000 15,000 20,000 25,000 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ล้านบาท เดือน/ปี สินเชื่อเพื่อการลงทุน


2.4 การใช้จ่ายของภาครัฐ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ ร้อยละ 2.3 – 3.3) โดยคาดว่ารายจ่ายประจำจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 2.5 – 3.5) และรายจ่ายลงทุนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 1.5 – 2.5) สำหรับปี 2567 การใช้จ่ายของภาครัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 2.0 – 3.0) 11 -5.9 -8.9 -34.4 -6.2 3.2 13.6 9.7 -0.8 2.5 3.5 -40.0 -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี รายจ่ายประจ า 13.4 -29.1 19.6 -25.4 -7.5 3.5 1.6 1.5 2.5 -40.0 -30.0 -20.0 -10.0 0.0 10.0 20.0 30.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี รายจ่ายลงทุน


ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมไว้ที่ร้อยละ 93.0 ของวงเงินงบประมาณในภาพรวม และเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนไว้ที่ร้อยละ 75.0 ของวงเงินงบประมาณ งบลงทุน โดยใช้เป้าหมายการเบิกจ่ายรายไตรมาสประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน มีรายละเอียดดังนี้ เป้าหมายการเบิกจ่าย ภาพรวม (ร้อยละ) งบลงทุน (ร้อยละ) ไตรมาส 1 32.0 19.0 ไตรมาส 2 52.0 39.0 ไตรมาส 3 75.0 57.0 ไตรมาส 4 93.0 75.0 สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดนครปฐม สามารถเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมได้ทั้งสิ้น 2,801.1 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 53.4 ของวงเงินงบประมาณในภาพรวม โดยรายจ่ายลงทุน สามารถเบิกจ่ายได้ 61.1 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 23.6 ของวงเงินงบประมาณงบลงทุน ที่มา : ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม 2567 รายการ งบประมาณ จัดสรร ผลการ เบิกจ่าย สะสมตั้งแต่ ต้นปี งปม. จนถึงเดือน ธ.ค.66 ร้อยละ การ เบิกจ่าย ผลการ คาดการณ์ เบิกจ่ายปี งปม. 2567 คาดการณ์ ร้อยละการ เบิกจ่าย เป้าหมาย การ เบิกจ่าย สูงกว่า/ต่ำ กว่า เป้าหมาย 1. งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 1.1 รายจ่ายประจำ 2,541.7 1,435.5 56.5 99.00 98.00 1.00 1.2 รายจ่ายลงทุน 259.4 61.1 23.6 75.00 75.00 - รายจ่ายภาพรวม 2,801.1 1,496.6 53.4 92.00 93.00 -1.00 2.1 ปี2566 888.1 387.5 43.6 รวมงบเหลื่อมปี 888.1 387.5 43.6 12


กราฟผลการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เทียบกับเป้าหมาย การเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงเดือนธันวาคม 2566 กราฟผลการเบิกจ่ายงบประมาณงบลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เทียบกับเป้าหมาย การเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงเดือนธันวาคม 2566 13 37.1 45.4 53.4 32.0 52.0 75.0 93.0 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 ต.ค.-66 พ.ย.-66 ธ.ค.-66 ม.ค.-67 ก.พ.-67 มี.ค.-67 เม.ย.-67 พ.ค.-67 มิ.ย.-67 ก.ค.-67 ส.ค.-67 ก.ย.-67 ร้อยละ ผลเบิกจ่าย เป้าหมาย 16.3 19.6 23.6 19.0 39.0 57.0 75.0 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 ต.ค.-66 พ.ย.-66 ธ.ค.-66 ม.ค.-67 ก.พ.-67 มี.ค.-67 เม.ย.-67 พ.ค.-67 มิ.ย.-67 ก.ค.-67 ส.ค.-67 ก.ย.-67 ร้อยละ ผลเบิกจ่าย เป้าหมาย


3. ด้านรายได้เกษตรกรในปี 2566 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 13.1 – 15.1) จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2565 โดยราคาข้าวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9,219 บาทต่อตัน (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ 9,175 – 9,262 บาทต่อตัน) จากที่ปี 2565 ราคาข้าวอยู่ที่ 8,780 บาทต่อตัน และราคาสุกรเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 104.0 บาทต่อกิโลกรัม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 103.5 – 104.5 บาท ต่อกิโลกรัม) 3.1 ราคาข้าวในจังหวัดนครปฐม ในปี 2566 คาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9,219 บาทต่อตัน (โดยมีช่วงคาดการณ์ ที่ 9,175 – 9,262 บาทต่อตัน) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเฉลี่ยอยู่ที่ 8,780 บาทต่อตัน เนื่องจากตลาดมีความต้องการ ผลผลิตข้าวปริมาณสูง รวมถึงบางประเทศไม่ส่งข้าวออกนอกประเทศทำให้ความต้องการสินค้าข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค สำหรับปี 2567 ราคาข้าวในจังหวัดนครปฐม คาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9,403 บาทต่อตัน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 9,357 – 9,449 บาทต่อตัน) 3.2 ราคาสุกรในจังหวัดนครปฐม ในปี 2566คาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 104.0 บาทต่อกิโลกรัม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 103.5 – 104.5 บาทต่อกิโลกรัม) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 103.0 บาทต่อกิโลกรัม จากการลักลอบ นำเข้าสุกรเถื่อนทำให้ส่วนแบ่งการตลาดลดลง อีกทั้ง ปริมาณสุกรมากกว่าความต้องการในตลาด อย่างไรก็ดีรัฐบาล ยังคงปราบปรามสุกรเถื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้สามารถขายสุกรในราคาที่เหมาะสม สำหรับปี 2567 ราคาสุกรในจังหวัดนครปฐมคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 102.9 บาทต่อกิโลกรัม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 102.4 – 103.5 บาทต่อกิโลกรัม) 14 7,954 8,208 7,868 7,855 7,797 8,508 8,606 8,780 9,175 9,262 7,000 7,500 8,000 8,500 9,000 9,500 Min Max (ณ ธันวาคม2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F บาท/ตัน เดือน/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย : ข้าว 63.4 67.4 68.1 68.2 71.4 71.3 71.3 103.0 103.5 104.5 0.0 20.0 40.0 60.0 80.0 100.0 120.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F บาท/กิโลกรัม เดือน/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย : สุกร


4. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในจังหวัดนครปฐม ในปี 2566 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ร้อยละ 1.5 – 2.5) จากการลดลงของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน ประกอบกับ มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าของภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน เป็นต้น สำหรับปี 2567 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในจังหวัดนครปฐมอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ ร้อยละ 1.2 – 2.2) 5. การจ้างงานในปี 2566 คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ประมาณ 11,223 คน คาดว่าจะ มีการจ้างงานในจังหวัดนครปฐมทั้งสิ้น 830,180คน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่828,252– 832,109 คน) จากแนวโน้ม ฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ตลาดแรงงานในภาพรวมเพิ่มขึ้น สำหรับปี 2567 การจ้างงาน คาดว่าจะมีการจ้างงาน ในจังหวัดนครปฐมทั้งสิ้น 842,305คน (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 840,329 – 844,260 คน) 15 639,871 650,622 648,594 662,759 681,734 688,430 695,717 818,957 828,252 832,109 0 100,000 200,000 300,000 400,000 500,000 600,000 700,000 800,000 900,000 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F คน เดือน/ปี การจ้างงาน : Employment -2.2 -0.2 0.3 2.5 1.6 -0.6 3.0 5.1 1.5 2.5 -6.0 -4.0 -2.0 0.0 2.0 4.0 6.0 Min Max (ณ ธันวาคม 2566) 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565E 2566F ร้อยละ เดือน/ปี อัตราเงินเฟ้อ : Inflation


ตารางสรุปภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มของจังหวัดนครปฐม (NakhonPathom Macroecomomic Summary) ที่มา : กลุ่มงานนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม ปรับปรุง : 28 ธันวาคม 2566 เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ หน่วย 2565 E 2566 E 2567 F Min Consensus Max การขยายตัวเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปี ปัจจุบัน ล้านบาท 368,604 381,152 389,674 393,505 397,317 %yoy 0.7 3.4 2.2 3.2 4.2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคา ปีฐาน (ปีฐาน CVMs) ล้านบาท 253,501 260,876 267,647 268,965 270,270 %yoy 6.8 2.9 2.6 3.1 3.6 ประชากรในจังหวัด คน 1,234,697 1,234,697 1,240,747 1,240,870 1,240,994 %yoy 0.5 0.00 0.49 0.50 0.51 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว บาทต่อคน ต่อปี 329,733 344,540 351,057 354,042 356,971 ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคเกษตร (API) %yoy -0.4 11.7 0.5 1.0 1.5 ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IPI) %yoy 2.0 0.3 1.3 1.8 2.3 ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคบริการ (SI) %yoy 13.1 5.4 5.0 5.5 6.0 ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (Cp) %yoy 27.2 3.4 3.1 3.6 4.1 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Ip) %yoy 9.1 1.6 3.1 3.6 4.1 ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐบาล (G) %yoy -0.2 2.8 2.0 2.5 3.0 ดัชนีรายได้เกษตรกร (Farm Income) %yoy 3.0 14.1 1.8 2.8 3.8 อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate) %p.a. 5.1 2.0 1.2 1.7 2.2 ระดับราคาเฉลี่ยของ GPP (GPP Deflator) %yoy -6.1 0.5 -0.4 0.1 0.6 การจ้างงาน (Employment) คน 818,957 830,180 840,329 842,305 844,260 yoy 123,241 11,223 10,149 12,124 14,079 16


คำนิยามตัวแปรและการคำนวณในแบบจำลองเศรษฐกิจจังหวัดนครปฐม GPP constant price ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน GPP current prices ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีปัจจุบัน GPPS ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน ด้านอุปทาน GPPD ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาปีฐาน ด้านอุปสงค์ API ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคเกษตร IPI ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคอุตสาหกรรม SI ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคบริการ Cp Index ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน Ip Index ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน G Index ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐบาล GPP Deflator ระดับราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนครปฐม CPI ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม PPI ดัชนีราคาผู้ผลิตระดับประเทศ Inflation rate อัตราเงินเฟ้อจังหวัดนครปฐม Farm Income Index ดัชนีรายได้เกษตรกร Population จำนวนประชากรของจังหวัดนครปฐม Employment จำนวนผู้มีงานทำของจังหวัดนครปฐม %yoy อัตราการเปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน Base year ปีฐาน (2548 = 100) Min สถานการณ์ที่คาดว่าเลวร้ายที่สุด Consensus สถานการณ์ที่คาดว่าจะเป็นได้มากที่สุด Max สถานการณ์ที่คาดว่าดีที่สุด 17


แหล่งที่มา และน้ำหนักเพื่อใช้คำนวณในแบบจำลองเศรษฐกิจจังหวัดนครปฐม เครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือน แหล่งข้อมูล น้ำหนัก คำนวณดัชนี ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคเกษตร ปริมาณผลิต : ข้าว สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม 0.42985 ปริมาณผลิต : หน่อไม้ฝรั่ง สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม 0.01605 ปริมาณผลิต : ฝรั่ง สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม 0.08215 ปริมาณผลิต : ส้มโอ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม 0.00927 ปริมาณผลิต : อ้อย สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม 0.05439 ปริมาณผลิต : ชมพู่ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม 0.04215 ปริมาณผลิต : กระชาย สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม 0.02143 ปริมาณผลิต : กล้วยไม้ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม 0.03715 ปริมาณผลิต : โคเนื้อ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม 0.08037 ปริมาณผลิต : สุกร สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม 0.02965 ปริมาณผลิต : กุ้งขาว สำนักงานประมงจังหวัดนครปฐม 0.06084 ปริมาณผลิต : ไข่ไก่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม 0.11248 ปริมาณผลิต : ไก่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม 0.02421 ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ทุนจดทะเบียนของโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม 0.30607 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 3 ภาคกลาง 0.35159 จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม 0.34235 ดัชนีปริมาณผลผลิตภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัด ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว ททท. 0.01124 การก่อสร้าง สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม 0.16701 การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ฯ สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม 0.63093 การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม 0.09746 0.01124 0.03252 0.02469 0.00955 0.01535 ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน ยอดภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดค้าปลีกค้าส่ง สำนักงานสรรพากรพื้นที่นครปฐม 1และ 2 0.92125 จำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม 0.02136 จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม 0.00527 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนที่อยู่อาศัย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 3 ภาคกลาง 0.01701 ปริมาณจำหน่ายสุราและเบียร์ที่จำหน่ายในจังหวัด สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครปฐม 0.03511 18


เครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือน แหล่งข้อมูล น้ำหนัก คำนวณดัชนี ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างรวม สำนักงานสถิติจังหวัดนครปฐม 0.13443 จำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียนใช้ในการพาณิชย์ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม 0.13418 สินเชื่อเพื่อการลงทุน (15% ของสินเชื่อรวม) 15%ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ธกส. ธอส และ ธนาคารออมสิน 0.49723 ทุนจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครปฐม 0.07029 ยอดขายของผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นครปฐม 1และ 2 0.16387 ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐ รายจ่ายงบประจำ สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม 0.71494 รายจ่ายงบลงทุน สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม 0.28506 ดัชนีชีวัดด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครปฐม 0.50000 ดัชนีราคาผู้ผลิต สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครปฐม 0.50000 ติดต่อสอบถาม กลุ่มงานนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม โทร. 0 3434 0007 ถึง 8 (มท) 60157 โทรสาร 0 3434 0009 E-Mail : [email protected] 19


Click to View FlipBook Version