คณะกรรมการสัตวแพทยสภา วาระ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ประกาศศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถฯ งานสัมมนาประจำ�เดือนของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ กิจกรรมสัตวแพทยสภา คณะกรรมการสัตวแพทยสภา วาระ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ประกาศศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถฯ งานสัมมนาประจำ�เดือนของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ กิจกรรมสัตวแพทยสภา ขอแสดงความยินดี ผศ. นายสัตวแพทย์ ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม ที่ได้รับเลือกให้ดำ�รงตำ�แหน่ง นายกสัตวแพทยสภา วาระที่ ๑ (ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๔) ขอแสดงความยินดี ผศ. นายสัตวแพทย์ ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม ที่ได้รับเลือกให้ดำ�รงตำ�แหน่ง นายกสัตวแพทยสภา วาระที่ ๑ (ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๔) ฉบับที่ ๒๒ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๑ สารสัตวแพทยสภา
2 | สารสัตวแพทยสภา เฉลิมพระชนม์พรรษาพระบรมราชินีนาถ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
4 | สารสัตวแพทยสภา
สารสัตวแพทยสภา | 5 ส�ำนักงานสัตวแพทยสภา เลขที่ 68/8 หมู่ 1 ต�ำบลบางไผ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-0170700-8 โทรสาร 02-0170709 www.vetcouncil.or.th เรียน สมาชิกสัตวแพทยสภาทุกท่านครับ สวัสดีครับ สมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ทุกท่าน สารสัตว แพทยสภา ฉบับนี้เป็นฉบับที่ยี่สิบสอง ในวาระของคณะสัตวแพทยสภา พ.ศ. 2561-2564 ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาของคณะกรรมการชุดนี้สัตว แพทยสภาได้ร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวพันธ์กับอนาคตของประเทศไทยและวงการ วิชาชีพการสัตวแพทย์3 กิจกรรมใหญ่คือ 1. การแก้ไขร่างพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ 2. ฉบับที่ ... (พ.ศ. ...) โดยสัตวแพทยสภาร่วมกับภาคีสภาวิชาชีพด้าน สุขภาพ มีมติเห็นชอบให้เสนอขอแก้ไขพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อ สันติพ.ศ.2539 โดยขอให้ยกเว้นเครื่องเอกซเรย์ทางการแพทย์ที่ใช้ส�ำหรับการ วินิจฉัยโรค ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม ตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อสันติและขอให้เครื่องเอกซเรย์ทางการแพทย์ที่ใช้ส�ำหรับการวินิจฉัยโรค ขึ้นทะเบียนและก�ำกับดูแลการใช้โดยกระทรวงสาธารณสุขซึ่งนายกสภาวิชาชีพ ผศ.นายสัตวแพทย์ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม นายกสัตวแพทยสภา ด้านสุขภาพทั้ง 7 สภา ได้ลงนามในหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2531 2 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารการกระทรวง การอุดมศึกษา พ.ศ. ... โดยนายกสภาวิชาชีพทั้ง11สภา (เรียกว่าสมาพันธ์สภาวิชาชีพ) ได้ลงนามร่วมกันเป็นข้อเสนอแนะ และแก้ไขบางมาตราที่อยู่พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น เสนอต่อฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรีในวันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2561 ณ ศูนย์บริการประชาชน ส�ำนักนายกรัฐมนตรีมีนายพันธ์ศักดิ์เจริญ ผู้อ�ำนวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กร ประชาชน เป็นผู้รับหนังสือ และเสนอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2561 ณ ส�ำนัก เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติอาคารรัฐสภา 1 โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 เป็นผู้รับหนังสือ ต่อมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2561 ได้มีมติเห็นชอบ และรับทราบ ให้ส�ำนักคณะกรรมการ กฤษฎีกา รับร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ... ที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอไปตรวจสอบแล้วส่งให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอีกครั้งในสาระส�ำคัญของร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ...ฉบับที่ ... ห้ามมิให้สภาวิชาชีพต่างๆไปรับรองหรือ เห็นชอบหลักสูตรหรือก�ำหนดการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสภาวิชาชีพนั้น ของสถาบันอุดมศึกษา หรือสร้างภาระอื่นใดให้กับสถาบันอุดมศึกษา (รายละเอียดจะปรากฏอยู่ในมาตรา 64 มาตรา 65 และมาตรา 66 ของ ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ...) สมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทยได้ประชุมพิจารณาแล้ว เสนอให้ตัดมาตรา 64,65 และ 66 ออก รวมทั้งแก้ไข บางส่วนในมาตรา 48 เพราะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมาตรฐาน และคุณภาพของบัณฑิตที่จะเข้าสู่วิชาชีพ สาขาต่างๆ และจะส่งผลกระทบในทางลบต่อประชาชนโดยตรงทั้งด้านการสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจของชาติตลอดจนการ ประกอบวิชาชีพในอนาคตอย่างมาก
สมาพันธ์สภาวิชาชีพ จึงขอให้ข้อเสนอแนะ และขอเข้าชี้แจงในรายละเอียด ต่อฯพณฯ ท่านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ.2561 ณ ท�ำเนียบรัฐบาล และท�ำหนังสือชี้แจงเหตุผลในการตัด มาตรา 64,65,66 และบางส่วนของมาตรา 48 ในพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ... เสนอต่อรัฐมนตรีที่มีฐานะสภา นายกพิเศษแห่งแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์สภากายภาพบ�ำบัด สัตวแพทยสภาและรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัติวิชาชีพของสภาวิศวกรสภาสถาปนิกสภาทนายความ และสภา การบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์รวมทั้งเสนอถึงเลขาธิการส�ำนักงานกฤษฎีกา ขอเข้าชี้แจงในคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อ มีการพิจารณาพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ... ในวันศุกร์ที่7กันยายน 2561 นายกสัตวแพทยสภาและหัวหน้าส�ำนักงานสัตวแพทยสภาได้เข้ายื่นหนังสือดังกล่าว กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ณ อาคารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยมีที่ปรึกษารัฐมนตรีนายเลอ ศักดิ์ริ้วตระกูลไพบูลย์เป็นผู้รับหนังสือแทน และรับฟังข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะดังกล่าว 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ (ร่าง) พระราชบัญญัติยา พ.ศ. ... วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2561 นายกสัตวแพทย สภาแห่งประเทศไทย(ผศ.นายสัตวแพทย์ดร.ธวัชชัยศักดิ์ภู่อร่าม)รศ.สัตวแพทย์หญิงดร.เจนนุชว่องธวัชชัยรศ.สัตวแพทย์ หญิงดร.วลาสินีวงศ์อ�ำมาตย์และนายสัตวแพทย์ศศิเจริญพจน์(ผู้แทนกรมปศุสัตว์) ได้มีโอกาสเข้าพบฯพณฯ ท่านพลเอก ฉัตรชัยสาริกัลป์ยะรองนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ...สรุปได้ดังนี้ 3.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการร่วมพระ ราชบัญญัติยา พ.ศ. ... ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยาส�ำหรับสัตว์ 3.2 แยกหมวดยาส�ำหรับสัตว์และหมวดเภสัชเคมีภัณฑ์เป็นการเฉพาะ รวมถึงข้อก�ำหนดเกี่ยวกับยาและวัคซีน ห้ามใช้ในฟาร์มสัตว์ 3.3 มีคณะกรรมการยาส�ำหรับสัตว์ภายใต้คณะกรรมการยาแห่งชาติ ท่านรองนายกรัฐมนตรีได้รับทราบ และจะน�ำไปเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบต่อไป พระราชบัญญัติใหม่ทั้ง 3 ฉบับนี้ถือว่าเป็นกฎหมายหลักส�ำคัญที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ พัฒนาประชาชน และ วงการวิชาชีพส�ำคัญที่สุดของประเทศ ผลจะออกมาอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป ในวารสารฉบับที่ยี่สิบสองนี้ยังมีเรื่องราวอีกหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกและประชาชนผู้บริโภค ล้วนแต่เป็น เรื่องที่น่าสนใจ และน่าเผยแพร่ให้กว้างขวางต่อไปครับ สวัสดีครับ ผศ.นายสัตวแพทย์ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม นายกสัตวแพทยสภา the Veterinary Council of Thailand Address : Veterinary Council Office: 68/8 Moo 1 Nakornin Road, Bang-Phai Sub-district, Maeung District, Nonthaburi Province 11000 Tel : 0-2017-0700-8 Fax: 0-2017-0709 E-mail : [email protected] http://www.vetcouncil.or.th/
• สารจากท่านนายก..............................................................................................................................................5 • ประกาศสัตวแพทยสภาที่ 14/2561 เรื่อง รายชื่อผู้ได้รับอนุมัติบัตรแสดงความรู้- ...........................................8 ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สาขาต่างๆ ประจ�ำปีพ.ศ. 2561 • นายกสัตวแพทยสภาและอุปนายกที่ 1 เข้าพบ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ................................................................10 เพื่อหารือด้านกิจการต่างประเทศ • สัมมนาเรื่องมุ่งมั่นรวมใจสินค้าปศุสัตว์ไทยปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ.............................................................11 • ประกาศสัตวแพทยสภาที่ 15/2561 เรื่อง ผลการตรวจประเมินสถาบันที่ขอเปิดหลักสูตรการ......................12 ฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญ ในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ • ประชุมรับฟังความคิดเห็นและซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและ ...............13 สหกรณ์ว่าด้วยอาหารสัตว์ที่ผสมยา • งานสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 3 เรื่อง "Novel Technique in Semen Preservation"....................................14 • การแถลงข่าวของสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย.................................................................................15 • งานประชุมใหญ่สัตวแพทยสภา ประจ�ำปี2561.............................................................................................20 • สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 เรื่อง "ท�ำหมันหมาแมวอย่างมั่นใจ ให้ปลอดภัยและรวดเร็ว".........................23 • บทความ CE : การจ�ำแนกชนิดสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์.........................................................................25 • ค�ำถาม ...........................................................................................................................................................27 • กระดาษค�ำตอบ ..............................................................................................................................................29 สารบัญ
8 | สารสัตวแพทยสภา ประกาศสัตวแพทยสภา ที่14 / 2561 เรื่อง รายชื่อผู้ได้รับอนุมัติบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญ ในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ สาขาต่างๆ ประจ�ำปีพ.ศ. 2561 อาศัยอ�ำนาจตามข้อบังคับสัตวแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกอนุมัติบัตรและวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความ ช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สาขาต่างๆ พ.ศ.2557และจากการประชุมคณะกรรมการสัตวแพทยสภาครั้ง ที่ 8/2561 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2561 เห็นชอบและให้ออกอนุมัติบัตรเพื่อแสดงความรู้ความช�ำนาญในการ ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สาขาต่างๆ ดังรายชื่อต่อไปนี้ 1 สัตวแพทย์หญิงเยาวลักษณ์ ปัญญสิงห์ พยาธิวิทยา 2 นายสัตวแพทย์เกษม รัตนภิญโญพิทักษ์ พยาธิวิทยา 3 นายสัตวแพทย์ศิริชัย เตชรุ่งชัยกุล เวชศาสตร์ระบบสืบพันธุ์ 4 นายสัตวแพทย์ณรงค์ ทิพธนวัฒนะ เวชศาสตร์ระบบสืบพันธุ์ 5 สัตวแพทย์หญิงเฉลิมขวัญ นนทะโคตร ศัลยศาสตร์ 6 สัตวแพทย์หญิงนภาภรณ์ เสนารัตน์ ศัลยศาสตร์ 7 สัตวแพทย์หญิงณัฏฐิกา โกฎแสง ศัลยศาสตร์ 8 สัตวแพทย์หญิงธนิกุล ศรีธัญรัตน์ ศัลยศาสตร์ 9 สัตวแพทย์หญิงลัดดาวรรณ สมรูป ศัลยศาสตร์ 10 นายสัตวแพทย์สุวลักษณ์ ศรีสุภา ศัลยศาสตร์ 11 นายสัตวแพทย์ธนวุฒิ เหมนิลรัตน์ ศัลยศาสตร์ 12 สัตวแพทย์หญิงนวพร สงค์รอด ศัลยศาสตร์ 13 นายสัตวแพทย์สุวิชา จุฑาเทพ ศัลยศาสตร์ ล�ำดับ ชื่อ – สกุล สาขา
สารสัตวแพทยสภา | 9 ล�ำดับ ชื่อ – สกุล สาขา 14 นายสัตวแพทย์ธาเนศ อนุศักดิ์เสถียร ศัลยศาสตร์ 15 สัตวแพทย์หญิงนาฏทิวา ไชยวรวิทย์สกุล ศัลยศาสตร์ 16 นายสัตวแพทย์ชุมพล จิตรกร ศัลยศาสตร์ 17 นายสัตวแพทย์สิรันดร์ ถึกอ�่ำ ศัลยศาสตร์ 18 สัตวแพทย์หญิงลลนา เอกธรรมสุทธิ์ ศัลยศาสตร์ 19 สัตวแพทย์หญิงอนัญญา พงษ์ประดิษฐ์ ศัลยศาสตร์ 20 สัตวแพทย์หญิงอารีรัตน์ อากาศวิภาต ศัลยศาสตร์ 21 สัตวแพทย์หญิงนิตยา บุญบาล ศัลยศาสตร์ 22 สัตวแพทย์หญิงรติพร ตันติศักดิ์ ศัลยศาสตร์ 23 สัตวแพทย์หญิงศิวาพร พัฒนาสิทธิเสรี ศัลยศาสตร์ 24 นายสัตวแพทย์เกรียงไกร ทองก้อน ศัลยศาสตร์ 25 สัตวแพทย์หญิงนุสรา ปัทมพันธุ์ ศัลยศาสตร์ 26 นายสัตวแพทย์ชลวัฒน์ พัชรินทร์ศักดิ์ ศัลยศาสตร์ 27 สัตวแพทย์หญิงอรอุมา สิรยายน อายุรศาสตร์ 28 สัตวแพทย์หญิงธนวัน มังคละพฤกษ์ อายุรศาสตร์ 29 สัตวแพทย์หญิงสถิตภัค อัศวราชันย์ อายุรศาสตร์ 30 นายสัตวแพทย์เสลภูมิ ไพเราะ อายุรศาสตร์ 31 สัตวแพทย์หญิงอรรัศมี วิมุกตะนันทน์ อายุรศาสตร์ 32 นายสัตวแพทย์สมิต ศรีส�ำราญ อายุรศาสตร์ 33 สัตวแพทย์หญิงบงกช สุภาพ อายุรศาสตร์ 34 นายสัตวแพทย์กฤษฎา บุญอร่ามเรือง อายุรศาสตร์ 35 นายสัตวแพทย์สมจินต์ สุทธิกาญจน์ อายุรศาสตร์ 36 สัตวแพทย์หญิงสิริภัทรา เนตรมัย เดชกัลยา อายุรศาสตร์ 37 สัตวแพทย์หญิงขวัญหทัย โรจนโกเมศ อายุรศาสตร์ 38 สัตวแพทย์หญิงณัฐกานต์ อวัยวานนท์ สัตวแพทย์สาธารณสุข 39 สัตวแพทย์หญิงศุกลรัตน์ บุณยยาตรา สัตวแพทย์สาธารณสุข ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2561 (ผศ.นายสัตวแพทย์ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม) นายกสัตวแพทยสภา
นายกสัตวแพทยสภาและอุปนายกที่1 เข้าพบอธิบดีกรมปศุสัตว์เพื่อหารือด้านกิจการต่างประเทศ 10 | สารสัตวแพทยสภา
12 | สารสัตวแพทยสภา ประกาศสัตวแพทยสภา ที่15 / 2561 เรื่อง ผลการตรวจประเมินสถาบันที่ขอเปิดหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสัตวแพทยสภาในคราวประชุมครั้งที่ 7 / 2561 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2561 สัตวแพทยสภามีมติเห็นชอบผลการตรวจประเมินสถาบันที่ขอเปิดหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ดังนี้ สถาบันที่ขอเปิดหลักสูตร หลักสูตรการฝึกอบรมฯ ผลการตรวจประเมินสถาบัน 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาพยาธิวิทยา ผ่านเกณฑ์การประเมิน สาขาเวชศาสตร์ระบบสืบพันธุ์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน สาขาศัลยศาสตร์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน สาขาอายุรศาสตร์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน สาขาสัตวแพทย์สาธารณสุข ผ่านเกณฑ์การประเมิน สาขาศัลยศาสตร์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน สาขาอายุรศาสตร์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน สาขาศัลยศาสตร์ ผ่านเกณฑ์การประเมิน สัตวแพทยสภา จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2561 (ผศ. นายสัตวแพทย์ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม) นายกสัตวแพทยสภา
สารสัตวแพทยสภา | 13 ประชุมรับฟังความคิดเห็นและซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยอาหารสัตว์ที่ผสมยา เมื่อวันศุกร์ที่10สิงหาคม 2561 นายกสัตวแพทยสภาเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นและซักซ้อมความเข้าใจ ในการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยอาหารสัตว์ที่ผสมยา ณ กรมปศุสัตว์ โดยมีนายสัตวแพทย์ สมชวน รัตนมังคลานนท์รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานมีผู้เข้าร่วมประชุม จากหน่วยงานต่างๆ ประมาณ 60 ทั้งนี้ กฎหมายว่าด้วยอาหารสัตว์ผสมยา ประกอบด้วย ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง ก�ำหนดลักษณะเงื่อนไขของ อาหารสัตว์ที่ผสมยา ที่ห้ามผลิต น�ำเข้า ขาย และใช้พ.ศ.2561 และร่างประกาศกรมปศุสัตว์ฯ จ�ำนวน 9 ฉบับ ซึ่งจะมีผล บังคับใช้วันที่25 กย. 61 (ยกเว้นเพื่อใช้กับสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อใช้เป็นอาหาร ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตนเอง จะมีผลบังคับใช้ วันที่ 26 กย. 61)
14 | สารสัตวแพทยสภา งานสัมมนาวิชาการ ครั้งที่๓ เรื่อง"Novel Techniquein Semen Preservation" เมื่อวันพุธที่ 29 สิงหาคม 2561 ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์ร่วมกับ ชมรมวิทยาการสืบพันธุ์ในสัตว์ (TSAR)และTheSociety forReproductionand Development (SRD) ประเทศญี่ปุ่น จัดงาน The4th symposium of TSAR เรื่อง Novel Technique in Semen Preservation ซึ่งถือเป็นงานสัมมนาของศ.ศ.สพ. ครั้งที่ 3/2561 โดยได้ รับเกียรติจากวิทยากรด้านระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ให้การบรรยายเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจ�ำนวน กว่า 100 ท่าน จากหลากหลายหน่วยงาน หลากหลายแวดวงวิชาการ รวมถึงภายในงานยังมีการน�ำเสนอผลงานวิชาการ ปากเปล่าและการน�ำเสนอผลงานวิชาการทางโปสเตอร์ โดยผู้ที่รางวัลชนะเลิศ จะได้รับรางวัล ค่าลงทะเบียนงาน World Congress of Reproductive Biology (WCRB) 2021 ณ เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ภาพกิจกรรม
สารสัตวแพทยสภา | 15 ก่อนที่จะกล่าวถึงผลกระทบในการประกอบวิชาชีพของ ประเทศไทย กับองค์กรต่างประเทศเป็นอย่างไร ผมต้องสรุปพื้นฐานการสร้างบุคลากรผู้ประกอบวิชาชีพ ให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าสากลว่าต้องเริ่มจากที่สัตวแพทยสภา ร่วมกับภาคีคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ทั้ง 2 ฝ่ายช่วยกัน สร้างมาตรฐานคุณวุฒิในหลักสูตรของวิชาชีพออกมาให้ได้ มาตรฐานเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนให้ผู้เข้าศึกษาว่ามีความ พร้อมในการจัดการศึกษาเช่น สถานที่เรียนมีโรงพยาบาลสัตว์ เพื่อการเรียนการสอน มีสัดส่วนอาจารย์ต่อผู้เข้าศึกษาเพียงพอ ต่อการสอน โดยเฉพาะในภาคปฏิบัติการซึ่งต้องดูแลอย่างใกล้ ชิด เพราะเป็นการฝึกทักษะส�ำคัญต่อการช่วยชีวิตซึ่งมีความ ส�ำคัญมาก มีการลงทุนค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นเงินลงทุน อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย บุคลากรอาจารย์และสถานที่ฝึก ปฏิบัติในโรงพยาบาลสภาวิชาชีพจะให้การรับรองเมื่อสถาบัน การศึกษามีความพร้อม การรับรองมีทั้งแบบรายปีหรือตลอด หลักสูตร 6 ปีทั้งในระหว่างมีการเรียนการสอน สภาวิชาชีพ จะเข้าไปให้ค�ำแนะน�ำส่งเสริม ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะต้องการให้มีการพัฒนาทั้งสถาบันการศึกษาและผู้เข้า ศึกษาให้ได้มาตรฐานความรู้ที่ก�ำหนด ก่อนออกไปประกอบ วิชาชีพก็ต้องผ่านการสอบประเมินผลมาตรฐานการเรียนรู้ก่อน โดยเฉพาะการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์เป็นสาขาที่ต่าง ประเทศเชื่อมั่นในมาตรฐานของบัณฑิตที่จบการศึกษา โดยมี สัตวแพทยสภาให้การรับรองปริญญายิ่งในภูมิภาคอาเซียนด้วย กันสัตวแพทย์ไทยเป็นกลุ่มบุคคลที่ออกไปช่วยพัฒนาการเลี้ยง สัตว์ปศุสัตว์ ให้กับต่างประเทศจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งประเทศเหล่านี้เมื่อพัฒนาพร้อมแล้วอาจจะเป็นคู่แข่งการ ผลิตสัตว์เพื่อส่งออกในอนาคตถ้าการพัฒนาของประเทศไทย ชะงักลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกฎหมาย พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ใหม่ของไทยมิให้สัตวแพทยสภาเข้าไปช่วยเหลือหรือเกี่ยวข้อง กับสถาบันการศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอน หรือการ รับรองปริญญา ประเทศในอาเซียนที่สัตวแพทย์ไทย เข้าไป แถลงข่าว 29 สิงหาคม 2561 โดยนายกสัตวแพทยสภา ช่วยพัฒนาการผลิตปศุสัตว์จะเป็นคู่แข่งที่ก้าวแซงหน้า ประเทศไทยในการส่งออกอย่างแน่นอน ในระยะเวลาไม่ ไกลนัก มูลค่าการส่งออกเนื้อสัตว์ของประเทศไทยที่ผ่านมา ในด้านสัตว์ปีกเป็นมูลค่ากว่าแสนล้านบาทต่อปีส่วนสัตว์ น�้ำมีมูลค่าส่งออกสูงเกินแสนห้าหมื่นล้านบาทต่อปีการส่ง ออกแต่ละครั้งต้องมีการรับรองมาตรฐานการผลิตและความ ปลอดภัยต่อการบริโภคโดยสัตวแพทย์ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภาทุกครั้ง มิเช่นนั้นจะไม่ยอมให้น�ำเข้าประเทศโดยเฉพาะประเทศใน กลุ่ม EU ซึ่งได้เข้ามาตรวจดูมาตรฐานการปฏิบัติด้านตรวจ เนื้อสัตว์ของสัตวแพทย์ไทยจนเป็นที่ยอมรับในมาตรฐาน การผลิตว่าปลอดภัยส�ำหรับการบริโภคของประชาชนใน ประเทศของเขาและมีการสั่งน�ำเข้าประเทศทางEU มาก ขึ้นทุกปีท�ำให้รายได้ด้านการส่งออกไปต่างประเทศสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนผู้ผลิตสัตว์มีรายได้ดีขึ้นตามไปด้วย ทั้ง มาตรฐานการผลิตดังกล่าว ท�ำให้ประชาชนผู้บริโภคได้ บริโภคเนื้อสัตว์ที่สะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ หากสัตวแพทยสภามิได้มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องเพื่อ ดูแลการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถาบันการศึกษาแล้ว แน่นอนว่ามาตรฐานความรู้ความสามารถของผู้เข้ารับการ ศึกษาจะไม่สามารถพัฒนาไปได้โดยเฉพาะถ้าสถาบันการ ศึกษามุ่งผลิตบัณฑิตจ�ำนวนมาก โดยไม่ค�ำนึงถึงคุณภาพ ของบัณฑิตและสัตวแพทยสภามิได้ให้การรับรองอนาคต ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ และสภาวะเศรษฐกิจ การส่งออกคงจะลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ส่งผลกระทบ ที่เลวร้ายต่อประเทศในที่สุด จึงเห็นสมควรพิจารณามาตรา64 มาตรา65และ มาตรา66ในพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ... ใหม่ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ แถลงข่าวสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย ห้ามมิให้สภาวิชาชีพต่างๆ ไปรับรองหรือเห็นชอบหลักสูตรหรือ ก�ำหนดการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสภาวิชาชีพ
16 | สารสัตวแพทยสภา แถลงข่าวสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย (ร่าง)พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. .... ผลกระทบต่อชีวิตและสวัสดิภาพของประชาชนไทย วันพุธที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 1 กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ มติคณะรัฐมนตรี ตามที่มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่7สิงหาคม 2561 เรื่องร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. .... โดยคณะ รัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ให้ส�ำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีการับร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ....ที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ไปตรวจพิจารณา พร้อมกับร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ส�ำนักงาน ก.พ.ร. เสนอซึ่งอยู่ ระหว่างการตรวจพิจารณาของส�ำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่ง ประเทศไทย ที่ประชุมสมาพันธ์สภาวิชาชีพฯเมื่อวันที่10สิงหาคม 2561อันประกอบด้วยแพทยสภาสภาการพยาบาล สภา ทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาเภสัชกรรม ทันต แพทยสภา สภาวิศวกร สภาสถาปนิก สัตวแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบ�ำบัด สภาวิชาชีพ บัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้มีวาระพิจารณาในเรื่องร่าง พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. .... และมีมติร่วมกัน ว่าสมาพันธ์สภาวิชาชีพ เห็นด้วยกับร่างพระราชบัaญญัติ การอุดมศึกษาดังกล่าวแต่มีความห่วงใยในสารัตถะของ บางมาตราและมีมติให้ท�ำหนังสือถึงเลขาธิการส�ำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอเข้าพบหารือและเสนอ แนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา ซึ่งลง นามโดยนายกสภาวิชาชีพทั้ง 11 สภาวิชาชีพ ซึ่งขณะ นี้ยังไม่ได้รับค�ำตอบในการให้เข้าพบ (รายละเอียดตาม ส�ำเนาหนังสือฉบับลงวันที่ 17 สิงหาคม 2561) รวมถึง การร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อ ร่างพระราชบัญญัติ การอุดมศึกษา พ.ศ. .... เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ นักศึกษา ประชาชน และสังคมที่จะได้รับผลกระทบจาก กฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะในมาตรา 64, มาตรา 65 มาตรา 66 และมาตรา 48 สมาพันสภาวิชาชีพฯได้ด�ำเนินการชี้แจงถึงผลกระ ทบมาโดยตลอด แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล สมาพันสภาวิชาชีพ เห็นด้วยกับนโยบายการปฏิรูปการ ศึกษาของชาติของรัฐบาลแต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ในมาตรา ที่ระบุข้างต้น กลับจะเป็นการท�ำลายระบบการศึกษาใน สาขาที่เกี่ยวกับวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตในการประกอบ
สารสัตวแพทยสภา | 17 วิชาชีพ และไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ในวิชาชีพ ที่มีผลกระทบกับสังคม ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนั้นนอกจาก จะจบการศึกษาตามที่ก�ำหนดไว้ยังต้องเข้ารับการทดสอบ เพื่อให้ได้รับใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพจากองค์กร วิชาชีพ ก็คือสภาวิชาชีพต่างๆเพื่อเป็นการยืนยันต่อสังคม ว่าบัณฑิตที่ส�ำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี มาตรฐานและเกิดความปลอดภัยกับผู้รับบริการรัฐจึงให้ อ�ำนาจสภาวิชาชีพต่างๆในการให้ค�ำรับรองแก่สถาบันการ ศึกษาที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บัณฑิตที่จบมามีสิทธิในการ เข้าสอบเพื่อรับใบอนุญาต มาตรการดังกล่าวเป็นการชี้ วัดศักยภาพของสถาบันการศึกษาในการผลิตบัณฑิตที่ มีคุณภาพ และเป็นการสร้างหลักประกันให้กับเยาวชน และผู้ปกครองในการเลือกเข้าศึกษา ณ สถาบันนั้นๆ สมาพันสภาวิชาชีพฯจึงขอถือโอกาสนี้ในการยืนยัน เจตนาในการคัดค้าน มาตรา 64, มาตรา 65 มาตรา 66 และมาตรา 48 ของร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. .... ดังนี้ คัดค้าน มาตรา 64, 65 และ มาตรา 66 มาตรา 64 “ให้สภาวิชาชีพมีส่วนในการเสนอ ความคิดเห็นประกอบการจัดท�ำมาตรฐานหลักสูตรที่ เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนั้นเพื่อก�ำหนดคุณสมบัติที่พึงประสงค์ ของวิชาชีพนั้นได้แต ่มิให้มีอ�ำนาจในการรับรองหรือ ก�ำหนดการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง กับสภาวิชาชีพนั้นของสถาบันอุดมศึกษา หรือสร้างภาระ อื่นใดให้กับสถาบันอุดมศึกษา สภาวิชาชีพสามารถจัดการประเมินความรู้ทักษะ และสมรรถนะในการประกอบวิชาชีพนั้นแก่ผู้ส�ำเร็จการ ศึกษาเพื่อประกอบอาชีพที่สภาวิชาชีพนั้นควบคุมอยู่ได้แต่ จะจัดการศึกษาซ�้ำซ้อนกับการศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษา จัดอยู่มิได้ มาตรา 65 “สภาวิชาชีพจะออกข้อบังคับหรือ หลักเกณฑ์เพื่อจัดระเบียบการประกอบอาชีพ โดยมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือก้าวก่ายการ จัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษามิได้ มาตรา66“ในกรณีที่คณะกรรมการการอุดมศึกษา เห็นว่าสภาวิชาชีพใดฝ่าฝืนมาตรา 64 วรรคสอง หรือ มาตรา65ให้คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาแจ้ง ให้สภาวิชาชีพทราบ และให้สภาวิชาชีพปฏิบัติตามนั้น สมาพันธ์สภาวิชาชีพ ขอคัดค้านบทบัญญัติมาตรา 64 มาตรา 65 และมาตรา 66 แห่ง “ร่าง พ.ร.บ. การ อุดมศึกษา พ.ศ. …..” โดยขอตัดออกทั้ง 3 มาตรา ด้วย เหตุผลดังนี้ มาตรา 64 เป็นการห้ามมิให้สภาวิชาชีพเข้าไป มีอ�ำนาจในการรับรองหรือก�ำหนดการจัดการเรียน การสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสภาวิชาชีพนั้นของ สถาบันอุดมศึกษานั้น หมายถึงการที่จะไม่มีการประกัน คุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยเฉพาะ วิชาชีพที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วยได้เนื่องจากการฝึกปฏิบัติ ชองนักศึกษากับผู้ป ่วยเป็นส ่วนหนึ่งของกระบวนการ ศึกษาในภาคปฏิบัติที่มีความจ�ำเป็น และเมื่อนักศึกษา ส�ำเร็จการศึกษาจากสถาบันแล้ว จะไม่มีหลักประกันว่า จะสามารถสอบวัดความรู้ผ่านเพื่อรับใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพได้ผู้ที่สอบความรู้ไม่ผ่านจะไม่สามารถประกอบ วิชาชีพได้ตามกฎหมาย จะท�ำให้เกิดความสูญเสียทั้ง เวลา ทรัพย์สินเงินทอง และสถานะทางจิตใจ ตลอด จนทรัพยากรบุคคล นับเป็นการสูญเสียทรัพยากรของ ชาติโดยเปล่าประโยชน์ส่งผลให้คุณภาพมาตรฐานของ ผู้ประกอบวิชาชีพต�่ำลง อาจท�ำให้เกิดผู้ประกอบวิชาชีพ ที่ไม่มีใบอนุญาตแอบแฝงและเกิดการประกอบวิชาชีพ อย่างผิดกฎหมายอยู่ตามสถานพยาบาล บ้าน และชุมชน จ�ำนวนมาก ท้ายสุดจะท�ำลายความเชื่อมั่นศรัทธาของ ประชาชนที่มีต่อวิชาชีพ และจะท�ำให้แผนการพัฒนา บุคลากรด้านการประกอบวิชาชีพที่รัฐบาลวางแผนระดับ ชาติไว้ล้มเหลว เกิดผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง ทั้งต่อการสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสังคมของชาติใน ระยะยาวอีกด้วย การรับรองหลักสูตรของสภาวิชาชีพไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการรับรองหลักสูตรของสภาวิชาชีพมิได้เป็นการ
18 | สารสัตวแพทยสภา เลือกปฏิบัติและไม่ได้เข้าไปก้าวก่ายการจัดการเรียนการ สอนในมหาวิทยาลัยแต่การรับรองหลักสูตรของสภาวิชาชีพ เป็นการส่งเสริมสนับสนุนและก�ำกับให้มีการจัดการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ด�ำเนินการโดยอาศัยอ�ำนาจตามกฎหมายของแต่ละสภา วิชาชีพ และเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใน มาตรา54วรรค3 ทุกสภาวิชาชีพมีกฎหมายที่ให้อ�ำนาจ ด�ำเนินการในการรับรองหลักสูตรได้อยู่แล้วการรับรอง หลักสูตรนั้นกระท�ำไปเพื่อก�ำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยจัดการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพให้ มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และที่ส�ำคัญคือเกิดความปลอดภัยต่อชีวิตของประชาชน สภาวิชาชีพแต่ละสภาเป็นองค์กรที่มีความรู้และ เชี่ยวชาญในเรื่องมาตรฐานการศึกษาและการประกอบ วิชาชีพมีความรู้ในมาตรฐานสากลและข้อจ�ำกัดต่างๆของ การประกอบวิชาชีพในประเทศเป็นอย่างดี ดังนั้นการส่งเสริมสนับสนุนและก�ำกับการจัดการ ศึกษาที่ท�ำโดยสภาวิชาชีพจึงท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองประชาชนตามเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญ ฉบับปีพ.ศ. 2560 มาตรา65แห่ง“ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. …..” ตราขึ้นตามมาตรา 40 วรรคสาม แห่งกฎหมาย รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 โดยไม่ค�ำนึงถึงข้อยกเว้นตาม มาตรา40วรรคสอง เนื่องจากกฎหมายสภาวิชาชีพเป็น กฎหมายที่จ�ำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพของบุคคล เพียงเท่าที่จ�ำเป็น เพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามมาตรา 40 วรรคสอง แห่ง กฎหมายรัฐธรรมนูญ ยกเว้นไว้ ดังนั้นบทบัญญัติมาตรา 65 แห่ง “ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ….” จึงขัดกับข้อยกเว้นในมาตรา40 วรรคสอง แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ความไม่ถูกต้องของมาตรา65แห่ง “ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ. …..” คือการบัญญัติข้อกฎหมายมา "ก้าวก่าย" อ�ำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพ ที่ตรากฎหมาย บังคับใช้ไว้ก่อนแล้ว และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสภา วิชาชีพไม่เคยกระท�ำการ ”เลือกปฏิบัติต่อสถาบันการ ศึกษา” หรือ“ก้าวก่ายการจัดการการศึกษาของสถาบัน การศึกษาแต่อย่างใด”ในทางตรงข้าม สถาบันการศึกษา เองกลับกระท�ำการฝ่าฝืนบทบัญญัติพ.ร.บ.วิชาชีพใน หลายกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การที่สถาบันการศึกษา บางแห่งกระท�ำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ.2542โดย ไปท�ำสัญญารับจ้างท�ำงานส�ำรวจและออกแบบโครงการ พัฒนาริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยากับกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2560อันเป็นการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจาก สภาวิศวกรซึ่งถือเป็นการกระท�ำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 อย่างชัดเจน การรับรองหลักสูตรของสภาวิชาชีพ ไม่ใช่การจัด ระเบียบการประกอบอาชีพ การรับรองหลักสูตรท�ำเพื่อ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค คือคุ้มครองประชาชนที่จะส่ง บุตรหลานเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพได้ มาตรฐานสากลซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 54 วรรคสาม มาตรา66เป็นบทบัญญัติที่ขัดแย้งกับบทบัญญัติ ของสภาวิชาชีพ การขัดกันของกฎหมายที่มีศักดิ์เป็นพระ ราชบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. .... ฉบับนี้กับ พระราชบัญญัติของสภาวิชาชีพต่างๆนั้น ไม่สามารถกระท�ำได้กฎหมายที่ตราขึ้นมาใหม่ต้องไม่ กระทบหรือขัดแย้งกับกฎหมายที่มีสภาพบังคับอยู่เดิม ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สมาพันธ์สภาวิชา ชีพฯ จึงขอตัดเนื้อหาใน มาตรา 64 มาตรา 65 และ มาตรา 66 แห่ง “ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ… ..” ออกทั้งหมด คัดค้าน มาตรา 48 “ มาตรา 48 สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการ ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ และให้ค�ำปรึกษาทาง วิชาการและวิชาชีพแก่สังคมภายนอกสถาบันอุดมศึกษา
สารสัตวแพทยสภา | 19 โดยน�ำความรู้จากการจัดการศึกษา การฝึกอบรมทาง วิชาการ การผลิตงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรม การ ท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรม มาด�ำเนินการดังกล่าว เพื่อ พัฒนาสังคมในด้านวิชาการหรือการพัฒนาความรู้ตลอด จนความเข้มแข็งของประเทศชาติและนานาชาติ” สมาพันธ์สภาวิชาชีพฯขอคัดค้านบทบัญญัติมาตรา 48 แห่ง “ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ…..” โดยขอ ตัดค�ำว่า “วิชาชีพ” ที่ระบุใน มาตรา 48 ออกทั้งหมด ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. การให้บริการทางวิชาชีพ” และ “ให้ค�ำ ปรึกษาทางวิชาชีพ” มิใช่“หน้าที่และอ�ำนาจของสถาบัน อุดมศึกษา”ตามบทบัญญัติตามมาตรา 37 (3) ตาม “ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ…..” หมวด 5 ว่าด้วยหน้าที่และอ�ำนาจของสถาบันอุดมศึกษา ตามมาตรา 37 (3) บัญญัติให้สถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่และอ�ำนาจบริการวิชาการแก ่สังคม ดังนั้น บทบัญญัติในส่วนที่3ว่าด้วยการบริการวิชาการแก่สังคม ตามมาตรา48 ที่บัญญัติให้สถาบันการศึกษา“ให้บริการ ทางวิชาชีพ” และ “ให้ค�ำปรึกษาทางวิชาชีพ” จึงไม่ใช่ “หน้าที่และอ�ำนาจของสถาบันอุดมศึกษา”ตามมาตรา 37 (3) 2. ก่อให้เกิดความขัดแย้งในการบังคับใช้กฎหมาย เมื่อสถาบันกระท�ำการฝ่าฝืนกฎหมายสภาวิชาชีพ ในทางปฏิบัติหากยังคงค�ำว่า“วิชาชีพ” ไว้ใน มาตรา 48 หากเมื่อใดที่สถาบันการศึกษาไปให้บริการ หรือค�ำปรึกษางานทางวิชาชีพที่เข้าข ่ายเป็นการท�ำ สัญญารับจ้าง (ซึ่งมิใช่เป็นงานบริการวิชาการแก่สังคม ตามหน้าที่และอ�ำนาจที่บัญญัติไว้ในมาตรา37) โดยไม่มี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้นๆ จะถือเป็นการกระท�ำ การฝ่าฝืนกฎหมายสภาวิชาชีพนั้นๆ อันจะมีผลกระทบ ต่อการบังคับใช้กฎหมายของสภาวิชาชีพ อาทิเช่น สภา วิชาชีพบัญชีสภาทนายความ สภาสถาปนิก และสภา วิศวกร โดยเฉพาะสภาสถาปนิก และสภาวิศวกร เพราะ จะมีผลไปขัดแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการ จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่ บัญญัติให้ผู้ให้รับจ้างออกแบบ ควบคุมงานจะต้องเป็นผู้ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากสภาสถาปนิก สภา วิศวกร ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเมื่อปีพ.ศ.2559สถาบัน การศึกษาของรัฐสองแห่งบังอาจร่วมกันกระท�ำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ. 2543 โดยไปเป็นคู่สัญญากับกรุงเทพมหานครรับจ้าง ท�ำงานส�ำรวจและออกแบบโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น�้ำ เจ้าพระยา ซึ่งถือเป็นงานในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมควบคุม ตาม พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ.2542และ พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ.2543 ในวงเงินค่าจ้างประมาณ120 ล้านบาท โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม/ สถาปัตยกรรมควบคุมจากสภาวิชาชีพทั้งสอง ซึ่งถือ เป็นการกระท�ำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ.2542และ พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ. 2543 อย่างชัดเจน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สมาพันธ์สภาวิ ชาชีพฯ จึงขอตัดค�ำว่า “วิชาชีพ” ที่ระบุใน มาตรา 48 แห่ง “ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ…..” ออก ทั้งหมด. ท้ายนี้สมาพันธ์สภาวิชาชีพฯ ขอแสดงจุดยืน ในการคัดค้าน มาตรา64, มาตรา65 มาตรา66 และ มาตรา 48 ของร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา ปี พ.ศ........ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและสวัสดิภาพ ของประชาชนไทย
20 | สารสัตวแพทยสภา
สารสัตวแพทยสภา | 21
22 | สารสัตวแพทยสภา
สารสัตวแพทยสภา | 23 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่4 เรื่อง "ท�ำหมันหมาแมวอย่างมั่นใจ ให้ปลอดภัยและรวดเร็ว" เมื่อวันพฤหัสบดีที่6 กันยายน 2561 ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์ได้จัดงานสัมมนาครั้งที่4/2561 เรื่อง ท�ำหมันหมาแมวอย่างมั่นใจ ให้ปลอดภัยและรวดเร็ว ซึ่งเป็นงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะและความมั่นใจใน ด้านการศัลยกรรมท�ำหมันสุนัขและแมวให้แก่สมาชิกผู้เข้าร่วม ณ ห้องทองฑีฆายุส�ำนักงานสัตวแพทยสภา โดยมีผู้เข้า ร่วมงานสัมมนากว่า120คน ช่วงเช้าเป็นการบรรยายสรุปเทคนิควิธีการผ่าตัดท�ำหมันสุนัขและแมวโดยศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ 10.30 น. ถึง 16.30 น. เป็นภาคปฏิบัติการโดย วิทยากร 6 ท่าน ได้แก่ 1. สพ.ญ.เบ็ญจวรรณ สิชฌนาสัย ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ส�ำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร 2. ผศ.น.สพ.ดร.ศุภวิวัธน์ พงษ์เลาหพันธุ์ ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยา และวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. สพ.ญ.ชื่นสุมน ลิ้มมานนท์สัตวแพทย์ประจ�ำคลินิกระบบสืบพันธุ์ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน 4. น.สพ.จักรินทร์สัทธาธรรม สัตวแพทย์ประจ�ำหน่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 5. อ.สพ.ญ.ดร.สร้อยสุดา โชติมานุกูล ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยา และวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6. น.สพ.คณิน รุจิเสรีกุล กรรมการสัตวแพทยสภา และกรรมการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์
24 | สารสัตวแพทยสภา
สารสัตวแพทยสภา | 25 บทความ CE การจ�ำแนกชนิดสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ หากกล ่าวถึง สัตว์ทดลอง หรือ สัตว์เพื่องานทาง วิทยาศาสตร์จะมีความหมายที่แตกต่างกันไปตามเอกสาร อ้างอิง หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่นักวิจัยได้รับทุน วิจัยเพื่อการวิจัยที่ใช้สัตว์ทดลอง จากแหล ่งทุนทั้งภายใน หรือต ่างประเทศ อาจจะต้องศึกษาค�ำจ�ำกัดความของ “สัตว์ทดลอง” และการจ�ำแนกชนิดของสัตว์ทดลอง ตาม ระเบียบหรือข้อบังคับที่แหล ่งทุนวิจัยอ้างอิงถึง อาทิเช ่น - กรณีที่เป็นทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ USDA Animal and Plant Health Inspection Service (USDA-APHIS) ประเทศสหรัฐอเมริกา จะอ้างอิงถึง Animal Welfare Act (AWA) และ Animal Welfare Regulations (AWR) ซึ่ง ครอบคลุมถึงสัตว์เลือดอุ่นที่มีชีวิตและครอบคลุมถึงซากของ สุนัขและแมวเท่านั้น แต่ไม่รวมสัตว์ปีก rat (ที่เป็น Rattus norvegicus) และ mouse (ที่เป็น Mus musculus) และ สัตว์ที่ใช้ในการเกษตรเพื่อการผลิตเป็นอาหารและเส้นใย - กรณีที่เป็นทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ The Office of Laboratory Animal Welfare (OLAW) ประเทศ สหรัฐอเมริกา เช่น National Institute of Health (NIH), Food and Drug Administration (FDA), Centers for Disease Control and Prevention (CDC) จะอ้างอิงถึง 1. Public HealthServicePolicyon Humane Careand Useof Laboratory Animals (PHSPolicy)ซึ่ง ครอบคลุม สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีชีวิต ที่ใช้เพื่อการวิจัยการ ฝึกปฏิบัติการศึกษาทดลอง การทดสอบ และวัตถุประสงค์ ใกล้เคียงอื่น ๆ โดยรวมถึงสัตว์ปีก หนูrat และหนูmouse 2. US Government Principles for the Utilization and Care of Vertebrate Animal Used in Testing, Research, and Training (US Government Principles) ซึ่งครอบคลุม สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด ซึ่ง รวมถึงสัตว์ปีก หนูrat หนูmouseสัตว์ที่ใช้ในการเกษตรสัตว์ ป่า และสัตว์น�้ำ - กรณีที่เป็นทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ(วช.) ประเทศไทย ซึ่งอ้างอิงตามประกาศ พระ ราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 โดยมี น.สพ.ศราวุธ ยะมา ศูนย์สัตว์ทดลองมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันพัฒนาการด�ำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ หรือ สพสว. เป็นผู้ดูแลการด�ำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยที่ใช้ สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งในพระราชบัญญัติดังกล่าว ระบุว่า “สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์” หมายความว่า สัตว์ ที่มีการเลี้ยงหรือมีการน�ำมาใช้เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตาม ชนิดและประเภทที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น นักวิจัยที่ด�ำเนินการวิจัยที่ใช้สัตว์ทดลองจะต้อง ศึกษาในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของตนเอง เพื่อ ให้การด�ำเนินงานสอดคล้องตามที่แหล่งทุนก�ำหนด อย่างไร ก็ตามในบทความนี้จะกล่าวถึงการจ�ำแนกชนิดของสัตว์ทดลอง ที่เป็นสัตว์ฟันแทะ ประเภทหนูratและหนูmouseซึ่งเป็นสัตว์ ทดลองที่ถูกใช้เพื่อศึกษาวิจัยกันเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในงานวิจัยประเภท Biomedical research ในการจ�ำแนกชนิดของสัตว์ทดลอง สามารถจ�ำแนก ได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจ�ำแนก โดยหลักเกณฑ์ที่นิยมใช้อ้างอิงในปัจจุบัน คือการจ�ำแนกสัตว์ ทดลองตามการมีเชื้อจุลชีพอยู ่ในร ่างกายของสัตว์ทดลอง หรือที่เรียกว่า Microbiological status ซึ่งหลักเกณฑ์การ จ�ำแนกนี้จะสอดคล้องกับระบบการเลี้ยงสัตว์ทดลอง ท�ำให้ ง่ายต่อการจัดการในประเด็นการดูแลและการใช้สัตว์ทดลอง ดังกล่าวด้วยการจ�ำแนกสัตว์ทดลองประเภทสัตว์ฟันแทะจาก Microbiologicalstatusสามารถจ�ำแนกสัตว์ทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. Germfree หรือ Axenicanimalsคือสัตว์ทดลอง ที่ไม่มีเชื้อจุลชีพในร่างกายเลยไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียเชื้อ ไวรัส หรือเชื้อจุลชีพอื่น ๆซึ่งเกิดจากการผลิตสัตว์ทดลองโดย การผสมพันธุ์การให้แม่รับเลี้ยงและการเลี้ยงสัตว์ทดลองอยู่ ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดเชื้อจุลชีพ (Sterileenvironment)แต่ เนื่องจากสัตว์ทดลองไม่มีเชื้อจุลชีพในร่างกาย ท�ำให้มักพบ ปัญหาในระบบทางเดินอาหารเช่น มีแก๊สในกระเพาะอาหาร หรืออาหารย่อยและดูดซึมได้ไม่ค่อยดีท�ำให้สัตว์ทดลองกลุ่ม นี้มีอายุขัยค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดเดียวกัน 2. Gnotobiotic animals คือ สัตว์ทดลองที่มีเชื้อ จุลชีพในระบบทางเดินอาหาร และทราบว่ามีเชื้อจุลชีพอะไร
26 | สารสัตวแพทยสภา บ้าง ซึ่งเกิดจากการป้อนเชื้อจุลชีพที่จ�ำเป็นต่อระบบทางเดิน อาหารให้กับสัตว์ทดลองชนิด Germ free animals เพื่อให้ สัตว์ทดลองสามารถย่อยและดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น ท�ำให้ สัตว์ทดลองกลุ่มนี้มีอายุขัยเฉลี่ยยาวนานขึ้นกว่าสัตว์ทดลอง ชนิด Germfreeanimalsอย่างไรก็ตามการผลิตสัตว์ทดลอง โดยการผสมพันธุ์การให้แม่รับเลี้ยงและการเลี้ยงสัตว์ทดลอง อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดเชื้อจุลชีพ (Sterileenvironment) เพื่อให้สัตว์ทดลองอยู่ในสภาพที่ปลอดเชื้อและจะมีแต่เชื้อ จุลชีพที่ทราบเท่านั้น (ค�ำว่า Gnotobiotic มีรากศัพท์ที่แปล ว่า “Known Life”) 3.Specific pathogenfree(SPF)animalsคือสัตว์ ทดลองที่ปราศจากเชื้อก่อโรคที่ก�ำหนด แต่ไม่ได้หมายความ ว ่าปลอดจากเชื้อจุลชีพตามความหมายของ Germ free animals ดังนั้นการผลิตสัตว์ทดลองกลุ่ม SPF จะขึ้นอยู่กับ ผู้ผลิตสัตว์ทดลองว่าจะก�ำหนดให้ไม่มีเชื้อจุลชีพใดบ้าง โดย แต่ละผู้ผลิตก็ก�ำหนดรายการและจ�ำนวนเชื้อก่อโรคแตกต่าง กันไป ดังนั้นการเลี้ยงสัตว์ทดลองกลุ่มนี้จะมีการเฝ้าระวังไม่ ให้มีการปนเปื้อนหรือการน�ำเอาเชื้อก่อโรคที่ก�ำหนดเข้ามาสู่ สัตว์ทดลอง อาจจะเป็นระบบการสุ่มตัวอย่างส่งตรวจอย่าง สม�่ำเสมอ หรือการใช้สัตว์ตัวแทน (Sentinel animals) ช่วย เฝ้าระวังไม่ให้มีเชื้อก่อโรคตามรายการที่ก�ำหนด 4. Conventional animals หรือ Unknown microbiologicalstatusคือสัตว์ทดลองทั่วไปที่ไม่ได้รับการ ตรวจและระบุว่ามีเชื้อจุลชีพใดบ้างในร่างกายของสัตว์ทดลอง ส�ำหรับหน ่วยงานที่มีการดูแลและใช้สัตว์ทดลอง และมีพื้นที่จ�ำกัด โดยมากจะด�ำเนินการตามข้อแนะน�ำใน การดูแลและการใช้สัตว์ทดลอง ซึ่งได้ให้ข้อแนะน�ำในการ วางระบบการเลี้ยงสัตว์ทดลองประเภทสัตว์ฟันแทะเอาไว้ ว่า นอกจากจะต้องแบ่งห้องเลี้ยงสัตว์ทดลองตามสปีชีส์ของ สัตว์ทดลองแต่ละชนิดแล้วนั้น ควรมีการวางระบบการแบ่ง ห้องเลี้ยงสัตว์ทดลองตาม Microbiological status หรือ แหล่งที่มาของสัตว์ทดลองด้วย เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อก่อ โรคระหว่างสัตว์ทดลอง ในกรณีที่มีการน�ำเข้าสัตว์ทดลองที่ มีMicrobiological status หรือมีแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีการบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมไปถึงมาตรฐานการดูแลและการใช้สัตว์ทดลอง ท�ำให้ นักวิจัยมีการใช้งานสัตว์ทดลองประเภทสัตว์ฟันแทะในกลุ่ม Conventional animals ลดลง อาจเป็นเพราะสัตว์ทดลอง ดังกล่าวอาจจะมีเชื้อก่อโรคที่มีผลต่อสุชภาพสัตว์ทดลองและ จะกระทบต่อผลการศึกษาวิจัย นักวิจัยจึงเลี่ยงปัจจัยภายนอก ที่มาจากสัตว์ทดลองโดยการหันมาใช้สัตว์ทดลองประเภทสัตว์ ฟันแทะกลุ่ม SPFanimalsแทน นอกจากนี้ผู้ผลิตสัตว์ทดลอง มีระบบการเลี้ยงสัตว์ทดลองและการเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคที่ดี มากขึ้น จึงไม่นิยมผลิตสัตว์ทดลองในกลุ่ม Conventional animalsแต่จะผลิตสัตว์ทดลองในกลุ่ม SPFanimals มากขึ้น ตามความต้องการของนักวิจัย ทั้งนี้การผลิตและใช้สัตว์ทดลอง ในกลุ่ม Germ free animals และ Gnotobiotic animals จะอยู่ในกลุ่มนักวิจัยที่ศึกษาด้านพันธุกรรม และพัฒนาสัตว์ ทดลองสายพันธุ์ใหม่ หรือคิดค้นหา Animal Model ใหม่ๆ มากกว่าการใช้เพื่องานวิจัยทั่วไป อย่างไรก็ตามสัตว์ทดลอง กลุ่มนี้มีความส�ำคัญมาก ในกรณีที่มีการเลี้ยงและรักษาสาย พันธุ์ระดับพ่อแม่พันธุ์เอาไว้เพื่อจะได้ส่งต่อมาสู่ระบบการ ผลิตสัตว์ทดลองในระดับ SPF animals แล้วให้นักวิจัยน�ำไป ใช้ในการศึกษาวิจัยต่อไป เอกสารอ้างอิง 1. L.F.M. van Zutphen, V. Baumans, A.C. beynen. Principles of Laboratory Animal Science, 2nd ed. Amsterdam, The Netherlands: Elsevier Science B.V.; 2001. 2. The American Association for Laboratory Animal Science. Assistant Laboratory Animal Technician (ALAT) Training Manual. Tennessee, USA: The American Association for Laboratory Animal Science; 2011/2012. 3. National Research Councilof the National Academies. The Guide for the Care and Useof Laboratory Animals, 8thed. Washington, D.C. USA: The National Academies Press; 2011. 4. http://labanimals.net/index.php
สารสัตวแพทยสภา | 27 เรื่อง การจ�ำแนกชนิดสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์(สัตว์ทดลอง) 1. ข้อใดต่อไปนี้ครอบคลุม ถึงสัตว์เลือดอุ่นที่มีชีวิต แต่ไม่รวมสัตว์ปีก rat (ที่เป็น Ratus norvegicus) และ mouse (ที่เป็น Mus musculus) และสัตว์ที่ใช้ในการเกษตรเพื่อการผลิตเป็นอาหารและเส้นใย? ก. AWA และ AWR ข. OLAW Policy ค. PHS Policy ง. US Government Principles 2. ข้อใดต่อไปนี้ครอบคลุมสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีชีวิต ที่ใช้เพื่อการวิจัย การฝึกปฏิบัติการศึกษาทดลอง การทดสอบ และวัตถุประสงค์ใกล้เคียงอื่น ๆ โดยรวมถึงสัตว์ปีก หนูrat และหนูmouse? ก. AWA และ AWR ข. OLAW Policy ค. PHS Policy ง. US Government Principles 3. Axenic animals มีความหมายเดียวกันกับข้อใด? ก. Germ free animals ข. Gnotobiotic animals ค. Specific pathogen free animals ง. Conventional animals 4. ข้อใด หมายถึง สัตว์ทดลองที่มีเชื้อจุลชีพในระบบทางเดินอาหาร และทราบว่ามีเชื้อจุลชีพอะไรบ้าง ซึ่งเกิด จากการป้อนเชื้อจุลชีพที่จ�ำเป็นต่อระบบทางเดินอาหารให้กับสัตว์ทดลองชนิด Axenic animals? ก. Germ free animals ข. Gnotobiotic animals ค. Specific pathogen free animals ง. Conventional animals 5. ข้อใด หมายถึง สัตว์ทดลองที่ปราศจากเชื้อก่อโรคที่ก�ำหนด? ก. Germ free animals ข. Gnotobiotic animals ค. Specific pathogen free animals ง. Conventional animals คำถาม
28 | สารสัตวแพทยสภา 6. พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อปีพ.ศ. ใด? ก. พ.ศ.2535 ข. พ.ศ.2538 ค. พ.ศ.2553 ง. พ.ศ.2558 7. หน่วยงานใดในไทยที่เป็นผู้ดูแลการด�ำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยที่ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง ในพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ได้ก�ำหนดไว้ ก. สอวน. ข. สพสว. ค. พสวท. ง. กรอมน. 8. “สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์” ตามพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย มีความหมายว่าอย่างไร? ก. สัตว์ที่มีการเลี้ยงเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามชนิดและประเภทที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง ข. สัตว์ที่มีการน�ำมาใช้เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามชนิดและประเภทที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง ค. สัตว์ที่มีการเลี้ยงและมีการน�ำมาใช้เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามชนิดและประเภทที่ก�ำหนดในกฎ กระทรวง ง. สัตว์ที่มีการเลี้ยงหรือมีการน�ำมาใช้เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามชนิดและประเภทที่ก�ำหนดใน กฎกระทรวง 9. หนูrat ที่เลี้ยงและใช้เป็นสัตว์ทดลอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอย่างไร? ก. Rattus norvegicus ข. Mus musculus ค. Oryctolagus cuniculus ง. Mesocricetus auratus 10. หนูmouse ที่เลี้ยงและใช้เป็นสัตว์ทดลอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอย่างไร? ก. Rattus norvegicus ข. Mus musculus ค. Oryctolagus cuniculus ง. Mesocricetus auratus
สารสัตวแพทยสภา | 29 22 31 มกราคม 2562 การจ�ำแนกชนิดสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์(สัตว์ทดลอง)
30 | สารสัตวแพทยสภา ผรูบั สาํนกังานสตัวแพทยสภา ๖๘/๘ หมู๑ ถนนนครอนิทร ตาํบลบางไผอาํเภอเมอืง จงัหวดันนทบรุี๑๑๐๐๐ (กระดาษคาํตอบสาํหรบัชดุคาํถาม-คาํตอบ สารสตัวแพทยสภาฉบบัท่ี๒๒) ศนูยการศกึษาตอเนอ่ืงทางสตัวแพทย ผฝูาก บรกิารธรุกจิตอบรบั ใบอนญุาตเลขท่ีปน.(น)/๔๑๗๐ ปณศ.นนทบรุี ถาฝากสง ในประเทศไมตองผนกึตราไปรษณยีากร
32 | สารสัตวแพทยสภา
สารสัตวแพทยสภา | 33
Apravet ® ถ้าโคลิสตินและฮาควินอล...จากไป เรียกใช้ อัพราเวท เมื่่ อจำเป็น ใน 1 กิโลกรัมแกรนูล ประกอบด้วย อัพรามัยซินซัลเฟต 100 กรัม หรืออัพราเวทละลายน้ ำ 500 mg/g ใช้ในการรักษาลำไส้อักเสบที่ เกิดจากเชื้ อแบคทีเรีย ที ่ ไวต่อยาอัพรามัยซิน เช่น Escherichia coli อัพราเวท ¹ÓࢌÒáÅШѴ¨Ó˹‹Ò ºÃÔÉÑ·ÎÙàÇ¿ÒÃÁÒ »ÃÐà·Èä·Â ¨Ó¡Ñ´ 3300/118 ªÑ้¹ 23 µÖ¡ªŒÒ§ÍÒ¤ÒÃºÕ ¶.¾ËÅâ¸Թ á¢Ç§¨ÍÁ¾Å ࢵ¨µØ¨Ñ¡Ã ¡Ãا෾ 10900 â·Ã.02-937-4355