The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 35

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by สัตวแพทย สภา, 2023-02-28 01:15:44

สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 35

สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 35

Keywords: สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 35

สาร สัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ โรคทางปรสิต ในกล้ามเนื ้ อสุกร ที ่ ติดต่อระหว่าง สัตว์และคน


ส�ำนักงานสัตวแพทยสภา เลขที่ ๖๘/๘ หมู่ ๑ ต�ำบลบางไผ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๐๑๗๐๗๐๐-๘ โทรสาร ๐๒-๐๑๗๐๗๐๙ www.vetcouncil.or.th Line ID : @vetcce สวัสดี สมาชิกสัตวแพทยสภาทุกท่าน ผ ่านไปแล้วครับกับความส�ำเร็จในการจัดประชุมใหญ ่สามัญ ประจ�ำปีสัตวแพทยสภา “Veterinary Council Annual Conference” หรือ VCAC ซึ่งเป็นการจัดประชุมครั้งที่ ๑๐ ภายใต้แนวคิด “สัตวแพทย์ วิถีใหม ่ บนมาตรฐานวิชาชีพ” จัดขึ้นระหว ่างวันที่ ๖ – ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ขอขอบคุณคณะกรรมการจัดงานฯ ที่ด�ำเนินการจัดประชุมในรูป แบบออนไลน์ได้ตามวัตถุประสงค์อย่างดียิ่ง ขอขอบคุณสมาชิกที่เข้าร่วม กิจกรรมกันอย ่างพร้อมเพรียง ภาพรวมของการบรรยายทางวิชาการ และการเสวนา นับว่าได้รับความพึงพอใจจากสมาชิกในระดับดีข้อมูล และข้อเสนอแนะจากการประชุมในครั้งนี้ สัตวแพทยสภาจะน�ำไป ประยุกต์กับการพัฒนาวิชาชีพของเราให้ก้าวหน้าต ่อไป โดยเฉพาะ ประเด็นส�ำคัญ ๆ เช่น การก�ำหนดสมรรถนะในการประกอบวิชาชีพของ บัณฑิตสัตวแพทย์จบใหม ่ โอกาสของสัตวแพทย์ไทยในการประกอบ วิชาชีพในต ่างประเทศ การวางแผนอัตราก�ำลังพลด้านสัตวแพทย์ใน ประเทศไทย เป็นต้น ระยะนี้รัฐบาลได้ผ่อนคลายให้กิจกรรมหลาย ๆ อย่างด�ำเนินการได้ภายใต้มาตรการการป้องกัน โรคโควิด-๑๙ พร้อม ๆ กับการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ ก็ยังด�ำเนินต่อไป เราหวังกัน ว่าการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของคนไทยจะกลับมาได้เหมือนก่อนที่ยังไม่มีการระบาดของโรคโควิด-๑๙ แม้ว่าจะต้องใช้ชีวิตแบบปกติในรูปแบบใหม่ก็ตาม สารสัตวแพทยสภาฉบับนี้เป็นฉบับส่งท้ายปีพ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการท�ำงาน ของสัตวแพทยสภาภายใต้คณะกรรมการสัตวแพทยสภา ชุดที่ ๗ วาระปีพ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๗ ส�ำหรับปีพ.ศ. ๒๕๖๕ ที่จะถึงนี้ สัตวแพทยสภาจะเข้าสู่ปีที่ ๒๐ เราจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ขอให้สมาชิกทุกท่านติดตามอย่างใกล้ชิดครับ สุดท้ายผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเคารพนับถือ จงดลบันดาลให้สมาชิกสัตวแพทยสภาและครอบครัวทุกท่านมีอายุ วรรณะ สุขะ พละ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 3


คณะบรรณาธิการ จัดทำาสารสัตวแพทยสภา ที่ปรึกษา : รศ.นายสัตวแพทย์ ดร.ธีระ รักความสุข, นายสัตวแพทย์สุเมธ ทรัพย์ชูกุล คณะบรรณาธิการ: นายสัตวแพทย์ชลธิศ ศรีสุดาวรรณ, นายสัตวแพทย์นวพูน จ�ำปานิล, สัตวแพทยหญิง ว่าที่ ร.ต.ญ.ดร.วัชรินทร์ โซ่วิจิตร, นางสุวรรณา หิรัญเจริญวงศ์, นางสาวจินตนา ภู่สกุล พ.ศ. สองพันห้าร้อย หกสิบห้า สัตวแพทยสภา ครบสอง ทศวรรษ ก้าวเจริญ ตามเป้าหมาย พระราชบัญญัติ เคร่งครัด อยู่คู่ สังคมไทย สร้างมาตรฐาน สนับสนุน การศึกษา ปริญญา วิชาชีพ น่าเลื่อมใส สมาชิก สามัคคี เกียรติเกริกไกร จรรยาบรรณ ยึดถือไว้ อย่างมั่นคง ยกระดับ วิชาการ วิชาชีพ ให้เร่งรีบ คืบหน้า ตามประสงค์ สัตวแพทย์ ของไทย ใฝ่ด�ำรง ประชาชน องค์กร ช่วยเหลือกัน ก้าวต่อไป มุ่งหน้า นานาชาติ เปิดโอกาส วิชาชีพ เข้าแข่งขัน ภารกิจ สุขภาพสัตว์ จัดครบครัน เพื่อสร้างสรรค์ สังคม ให้สมบูรณ์ รักษาสัตว์ เกียรติประวัติ สัตวแพทย์ กร�ำทั้งแดด ทั้งฝน จนสิ้นสูญ รับผิดชอบ สังคม อย่างเกื้อกูล พร้อมเพิ่มพูน ผลงาน สืบสานมา ณ โอกาส ศุภฤกษ์ เบิกดิถี อ�ำนวยพร ทุกชีวี สุขหรรษา เสริมส่ง สมาชิก สัตวแพทยสภา จตุรพิธพร ถ้วนหน้า กันด้วยเทอญ สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๕ ครับ รศ.นายสัตวแพทย์ ดร.ธีระ รักความสุข นายกสัตวแพทยสภา สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๕ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 4 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


สารบัญ ๓ ๑๑ ๒๑ ๒๙ ๑๗ ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ บทความ กระดาษค�าตอบ แบบติดบนหลังคา (Solar Roof Top) ภาพโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ On Grid system สารจากท่านนายก/รายชื่อบรรณาธิการ การประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ๒๕๖๔ สัตวแพทยสภา ภาพกิจกรรม ประวัติการเริ่มมีอนุมัติบัตรและวุฒิบัตร แสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการ สัตวแพทย์สาขาเฉพาะทางของประเทศไทย ประกาศสัตวแพทยสภาที่ ๕๙ / ๒๕๖๔ เรื่อง การรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการ บริหารศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ จากสายงานวิชาชีพ บริษัทและฟาร์ม/คลินิกและโรงพยาบาลสัตว์/ภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ) ๖ ๗ ประกาศสัตวแพทยสภาที่ ๖๓ / ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ ๒๐ (ขยายเวลา) โรคทางปรสิตในกล้ามเนื้อสุกรที่ติดต่อระหว่าง สัตว์และคน ค�ำถามเรื่อง โรคทางปรสิตในกล้ามเนื้อสุกร ๒๗ ที่ติดต่อระหว่างสัตว์และคน สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 5


แบบติดบนหลังคา (Solar Roof Top) สัตวแพทยสภา ได้ด�ำเนินโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วย เซลล์แสงอาทิตย์ On Grid system แบบติดบนหลังคา (Solar Roof Top) โดยเลือกใช้บริการ บริษัท ปิโตรพลัส เอ็นเนอร์จี จ�ำกัด วงเงินรวมภาษี มูลค่าเพิ่ม ๑,๔๓๖,๐๐๐ บาทถ้วน มีขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ กิโลวัตต์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของหน่วยงาน โดยเริ่มติดตั้งตั้งแต่ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ ระยะเวลา ด�ำเนินงานของโครงการไม่เกิน ๖๐ วัน ปัจจุบันสัตวแพทยสภาเริ่มใช้ ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ On Grid system แบบติดบนหลังคา (Solar Roof Top) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ภาพโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ On Grid system สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 6 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


เมื่อวันพุธที่ ๖ – วันศุกร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ที่ ผ ่ า น ม า สั ต ว แ พ ท ย ส ภ า ไ ด ้ จั ด กิ จ ก ร ร ม การประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ๒๕๖๔ สัตวแพทยสภา ภายใต้หัวข้อ “สัตวแพทย์วิถีใหม่บนมาตรฐานวิชาชีพ” รูปแบบ Online ณ อาคารส�ำนักงานสัตวแพทยสภา การประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2564 สัตวแพทยสภา ภาพกิจกรรม กิจกรรมภายในงานเต็มไปด้วยความสนุกและ สาระความรู้ น�ำทีมโดย รศ.ดร.น.สพ.จิตรกมล ธนศักดิ์ ประธานจัดงาน (อุปนายกคนที่ ๒), นางสาวนนทกานต์ ฉันทศิลป (เลขานุการโครงการฯ) ทีมงาน เจ้าหน้าที่ ผู้บริหารและวิทยากรอีกมากมาย ภาพกิจกรรมวันพุธที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 7


ภาพกิจกรรมวันพฤหัสบดีที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 8 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


ภาพกิจกรรมวันศุกร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 9


จ�ำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น ๙๖๗ คน รายละเอียด วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ (คน) วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ (คน) วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ (คน) ผู้ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ๗๒๒ ๓๔๗ ๓๔๗ คณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ ๙๑ ๙๑ ๙๑ วิทยากร ๔๗ ๔๗ ๔๗ ผู้สนับสนุน ๑๐๓ ๑๐๓ ๑๐๓ ผู้ได้สิทธิร่วมกิจกรรมฟรีทางเฟสบุ๊ค ๔ ๔ ๔ รวม ๙๖๗ ๕๙๒ ๕๙๒ *หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าชมได้โดยไม่จ�ำกัด ใน ๑ วัน และสามารถเลือกเข้าชมได้ทุกห้องตามต้องการ สรุปจ�ำนวนผู้ลงทะเบียน/จ�ำนวนผู้เข้าร่วมงานประชุมใหญ่ สัตวแพทยสภา ประจ�ำปี ๒๕๖๔ จ�ำนวนผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละห้อง วันที่เข้าร่วม ห้อง ๑ (คน) ห้อง ๒ (คน) ห้อง ๓ (คน) วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ ๕๒๗ ๔๑๗ ๓๔๔ วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ ๓๒๗ ๓๐๘ ๒๖๗ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ๓๒๔ ๒๙๘ ๒๗๓ จ�ำนวนผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละวัน ผู้เข้าร่วม วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ จ�ำนวน ๕๗๙ คน ผู้เข้าร่วม วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ จ�ำนวน ๓๕๕ คน ผู้เข้าร่วม วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ จ�ำนวน ๓๖๑ คน สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 10 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


สัตวแพทยสภาได้เริ่มด�ำเนินการเกี่ยวกับอนุมัติบัตร (อว.สพ.) และวุฒิบัตร (วว.สพ.) แสดงความรู้ความช�ำนาญ ในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ตามข้อบังคับสัตวแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกอนุมัติบัตรและวุฒิบัตร เพื่อแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สาขาต่าง ๆ พ.ศ. ๒๕๕๗ (เอกสาร ๑) โดยให้ วิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ช�ำนาญการแห่งประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นตามข้อบังคับสัตวแพทยสภาว่าด้วยวิทยาลัย วิชาชีพการสัตวแพทย์ช�ำนาญการแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๗ (เอกสาร ๒) รับผิดชอบการด�ำเนินการฝึกอบรมและสอบ เพื่อให้ได้ผู้มีความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ของ ๕ สาขา ได้แก่ สาขาพยาธิวิทยา เวชศาสตร์ ระบบสืบพันธุ์ ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ และสัตวแพทย์สาธารณสุข แล้วเสนอสัตวแพทยสภาเพื่อออกอนุมัติบัตรฯ หรือวุฒิบัตรฯ ให้กับผู้ที่สอบได้ เพื่อพัฒนาวิชาชีพการสัตวแพทย์เช่นเดียวกับทางการแพทย์ โดยพัฒนาสัตวแพทย์ที่มี ความรู้ความช�ำนาญเฉพาะทางในการให้บริการสังคม การสาธารณสุขของประชาชน และการถ่ายทอดประสบการณ์ให้ กับนิสิตนักศึกษาและสัตวแพทย์ โดยเป็นวิทยาลัยเดียวที่บริหารจัดการสาขาช�ำนาญการเฉพาะทาง ทุกสาขาทางสัตวแพทย์ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการและประหยัดงบประมาณ ซึ่งต่างจากของแพทย์ที่มี ราชวิทยาลัยของแต่ละสาขาเฉพาะทาง แต่เหมือนกับราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยที่ก�ำกับดูแลทุกสาขาเฉพาะทาง ทางทันตแพทย์ *- อนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ช�ำนาญการแห่งประเทศไทย (๒๕๕๓ - ๒๕๕๗) - เลขาธิการคณะผู้บริหารวิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ช�ำนาญการแห่งประเทศไทย (๒๕๕๗ - ๒๕๖๐) - ประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ และผู้แทนสาขาศัลยศาสตร์ในคณะผู้บริหารวิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ช�ำนาญการแห่งประเทศไทย (๒๕๖๔ - ปัจจุบัน) ประวัติการเริ่มมีอนุมัติบัตรและวุฒิบัตร แสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ สาขาเฉพาะทางของประเทศไทย ศาสตราจารย์กิตติคุณ น.สพ. ดร.มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์ วท.บ., สพ.บ., M.S., Ph.D., อว.สพ. สาขาศัลยศาสตร์* สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 11


การด�ำเนินการเกี่ยวกับการก่อตั้งอนุมัติบัตรฯ และวุฒิบัตรฯ วิทยาลัยฯ ต้องเริ่มจากการไม่มีผู้ที่ได้รับวุฒิบัตร ทางสัตวแพทย์จากต่างประเทศมาเริ่มต้นซึ่งต่างกับสาขาแพทย์ วิทยาลัยฯ จึงต้องด�ำเนินการเช่นเดียวกับการเริ่มก่อตั้ง วุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญทางสัตวแพทย์ (Board of Veterinary Specialization) ของวิทยาลัยสาขาเฉพาะทาง (Recognized Veterinary Specialty Organization: College or Board) ของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งต้องสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิสูงที่ต้องมีคุณวุฒิสูงกว่าคุณสมบัติของผู้สมัครสอบเพื่อรับอนุมัติบัตรฯ และวุฒิบัตรฯ ตามปกติ ได้แก่ ผู้ที่มีต�ำแหน่งทางวิชาการระดับศาสตราจารย์ ผู้มีผลงานแต่งต�ำรา ผู้ได้รับปริญญาเอกมาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี และมีผลงานทางวิชาการ หรือผู้ได้รับปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตมาไม่น้อยกว่า ๒๐ ปีและมีผลงานทางวิชาการ พิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ แล้วเสนอให้สัตวแพทยสภาออกอนุมัติบัตรฯ ให้ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับ อนุมัติบัตรฯ รุ่นก่อตั้ง (Founder Diplomate) หลังจากนั้นวิทยาลัยฯ จึงได้แต่งตั้งผู้ที่ได้รับอนุมัติบัตรฯ รุ่นก่อตั้งมา เป็นคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ของแต่ละสาขา ให้มีหน้าที่ พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความ ช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ของสาขา ติดตามการประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรและ สถาบันฝึกอบรม และบริหารจัดการการสอบผู้สมัครสอบเพื่อรับอนุมัติบัตรฯ และวุฒิบัตรฯ คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ของแต่ละสาขา ได้ใช้เกณฑ์กลางหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความ ช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สาขาต่างๆ ตามประกาศของสัตวแพทยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘ (เอกสาร ๓) ร่วมกับหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของราชวิทยาลัยแพทย์ของสาขาเฉพาะทางที่คล้ายหรือใกล้เคียงกัน และข้อบังคับสัตวแพทยสภา ว่าด้วยการจัดตั้ง การด�ำเนินการ และการเลิกสถาบันที่ท�ำการฝึกอบรมเป็นผู้ช�ำนาญการสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๗ (เอกสาร ๔) ในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำบ้านของสาขา แล้วออกเป็นประกาศของวิทยาลัยฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ (เอกสาร ๕ - ๙) และประกาศหลักสูตรฯ ของสาขาเวชศาสตร์ ระบบสืบพันธุ์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๓ (เอกสาร ๑๐) หลักสูตรการฝึกอบรมฯ ของทุกสาขามีระยะเวลาการฝึก อบรมไม่น้อยกว่า ๓ ปี ภายใต้การก�ำกับดูแลของผู้ที่ได้รับอนุมัติบัตรฯ หรือวุฒิบัตรฯ ของแต่ละสาขา ในปริมาณงาน ตามที่สาขาก�ำหนดและต้องเสนอผลงานวิจัยเพื่อขอส�ำเร็จหลักสูตรการฝึกอบรมฯ ภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้เตรียมการจนมีความพร้อมในการเป็นสถาบันฝึกอบรม จึงเริ่มเปิดรับสมัครผู้ประสงค์เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร การฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรฯสาขาต่าง ๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๒ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเพื่อรับวุฒิบัตรฯ ต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง และส�ำเร็จ การฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรฯ ของสาขาที่ขอวุฒิบัตรฯ ภายใต้การก�ำกับดูแลของผู้ที่ได้รับอนุมัติบัตรฯ หรือวุฒิบัตรฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปีตามที่กล่าวข้างต้น และ ต้องยื่นผลงานวิจัยที่เสนอเพื่อส�ำเร็จหลักสูตรการฝึกอบรมฯ เมื่อสอบได้จะยังไม่ได้รับวุฒิบัตรฯ จากสัตวแพทยสภา จนกว่าผลงานวิจัยดังกล่าวจะได้รับการตีพิมพ์หรือหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพ ตามระเบียบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่วนคุณสมบัติของผู้สมัครสอบเพื่อรับอนุมัติบัตรฯ ต้องมีใบอนุญาต สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 12 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง และต้องได้รับการศึกษาหรือฝึกอบรม และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ในสาขาที่ขออนุมัติบัตรฯ ตามหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (เอกสาร ๑) ได้แก่ ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญ ในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ในสาขาที่ขออนุมัติบัตรฯ หรือเทียบเท่าในต่างประเทศที่สัตวแพทยสภารับรอง หรือ ได้รับปริญญาเอก ประกาศนียบัตรชั้นสูง ปริญญาโท หรือปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และมีประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานในสาขาที่ขออนุมัติบัตรฯ ติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒, ๓, ๔ หรือ ๑๐ ปีตามล�ำดับ และต้องมี ผลงานทางวิชาการตีพิมพ์อย่างน้อย ๑ เรื่อง วิทยาลัยฯ เริ่มเปิดการสมัครสอบเพื่อรับอนุมัติบัตรฯ เมื่อ พ.ศ ๒๕๖๐ และ การสมัครสอบเพื่อรับวุฒิบัตรฯ ใน พ.ศ. ๒๕๖๖ การสอบเพื่อรับอนุมัติบัตรฯ และวุฒิบัตรฯ ประกอบด้วย การสอบ ข้อเขียน สอบปฏิบัติ และสอบปากเปล่า โดยคณะอนุกรรมการสอบของวิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ช�ำนาญการ แห่งประเทศไทย ผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์การตัดสินผลการสอบที่ก�ำหนดไว้ในข้อบังคับของสัตวแพทยสภา (เอกสาร ๑) จึงจะได้รับ อนุมัติบัตรฯ หรือวุฒิบัตรฯ จากสัตวแพทยสภา ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ และผู้ที่ได้รับอนุมัติบัตรฯ จึงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ระดับสูงขึ้นภายหลังได้รับปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ในการถ่ายทอดความรู้ความช�ำนาญ การให้กับผู้อื่น ให้บริการสังคมและให้ค�ำปรึกษาด้านสัตวแพทย์และการสาธารณสุข คณะกรรมการสัตวแพทยสภา จึงได้ด�ำเนินการขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิจารณารับรองคุณวุฒิ และจากคณะกรรมการส�ำนักงาน ก.พ. พิจารณาก�ำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ที่สอบได้รับวุฒิบัตรฯ และผู้ที่สอบได้รับ อนุมัติบัตรฯ สาขาเดียวกับวุฒิบัตรฯ เช่นเดียวกับที่ให้ความอนุเคราะห์กับสาขาทางการแพทย์และทันตแพทย์ เพื่อพัฒนา และยกระดับวิทยฐานะของผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรฯ และอนุมัติบัตรฯ ให้สามารถสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นอาจารย์ใน มหาวิทยาลัยตามข้อก�ำหนดคุณสมบัติของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ มหาวิทยาลัยมีจ�ำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิสูงเพียงพอที่จะจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาและควบคุมดูแล การฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรของแต่ละสาขา และ ส่งเสริมให้งานบริการสังคมด้านสัตวแพทย์ของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพสูง การเขียนคุณวุฒิของผู้ได้รับอนุมัติบัตรและวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการ สัตวแพทย์ของสาขาต่าง ๆ วิทยาลัยฯ ก�ำหนดไว้ดังต่อไปนี้ สาขาพยาธิวิทยา ภาษาไทย ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อนุมัติบัตร (หรือวุฒิบัตร) แสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์ สาขาพยาธิวิทยา หรือ ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อว.สพ. (หรือ วว.สพ.) สาขาพยาธิวิทยา ภาษาอังกฤษ Name, DVM, Diplomate, Thai Board of Veterinary Pathology หรือ Name, DVM, Diplomate, TBVP หรือ Name, DVM, DTBVP (กรณีเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ) สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 13


สาขาเวชศาสตร์ระบบสืบพันธุ์ ภาษาไทย ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อนุมัติบัตร (หรือวุฒิบัตร) แสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์ สาขาเวชศาสตร์ระบบสืบพันธุ์ หรือ ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อว.สพ. (หรือ วว.สพ.) สาขาเวชศาสตร์ระบบสืบพันธุ์ ภาษาอังกฤษ Name, DVM, Diplomate, Thai Board of Theriogenology หรือ Name, DVM, Diplomate, TBT หรือ Name, DVM, DTBT (กรณีเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ) สาขาศัลยศาสตร์ ภาษาไทย ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อนุมัติบัตร (หรือวุฒิบัตร) แสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์ สาขาศัลยศาสตร์ หรือ ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อว.สพ. (หรือ วว.สพ.) สาขาศัลยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ Name, DVM, Diplomate, Thai Board of Veterinary Surgery หรือ Name, DVM, Diplomate, TBVS หรือ Name, DVM, DTBVS (กรณีเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ) สาขาอายุรศาสตร์ ภาษาไทย ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อนุมัติบัตร (หรือวุฒิบัตร) แสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์ สาขาอายุรศาสตร์ หรือ ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อว.สพ. (หรือ วว.สพ.) สาขาอายุรศาสตร์ ภาษาอังกฤษ Name, DVM, Diplomate, Thai Board of Veterinary Medicine หรือ Name, DVM, Diplomate, TBVM หรือ Name, DVM, DTBVM (กรณีเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ) สาขาสัตวแพทย์สาธารณสุข ภาษาไทย ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อนุมัติบัตร (หรือวุฒิบัตร) แสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์ สาขาสัตวแพทย์สาธารณสุข หรือ ชื่อ-นามสกุล สพ.บ., อว.สพ. (หรือ วว.สพ.) สาขาสัตวแพทย์สาธารณสุข สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 14 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


ภาษาอังกฤษ Name, DVM, Diplomate, Thai Board of Veterinary Public Health หรือ Name, DVM, Diplomate, TBVPH หรือ Name, DVM, DTBVPH (กรณีเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ) เอกสารอ้างอิง ๑. ข้อบังคับสัตวแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกอนุมัติบัตรและวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความช�ำนาญใน การประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สาขาต่าง ๆ พ.ศ.๒๕๕๗ ๒. ข้อบังคับสัตวแพทยสภาว่าด้วยวิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ช�ำนาญการแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๗ ๓. ประกาศสัตวแพทยสภาที่ ๑๔/๒๕๕๘ เรื่อง เกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สาขาต่าง ๆ ๔. ข้อบังคับสัตวแพทยสภาว่าด้วยการจัดตั้ง การด�ำเนินการ และการเลิกสถาบันที่ท�ำการฝึกอบรมเป็นผู้ช�ำนาญ การในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ.๒๕๕๗ ๕. ประกาศวิทยาลัยฯ ที่ ๑/๒๕๕๙ เรื่องเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำ บ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ สาขาพยาธิวิทยา ๖. ประกาศวิทยาลัยฯ ที่ ๒/๒๕๕๙ เรื่องเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำ บ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ สาขาเวชศาสตร์ระบบสืบพันธุ์ ๗. ประกาศวิทยาลัยฯ ที่ ๓/๒๕๕๙ เรื่องเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำ บ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ สาขาศัลยศาสตร์ ๘. ประกาศวิทยาลัยฯ ที่ ๔/๒๕๕๙ เรื่องเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำ บ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ สาขาอายุรศาสตร์ ๙. ประกาศวิทยาลัยฯ ที่ ๕/๒๕๕๙ เรื่องเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจ�ำ บ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ สาขาสัตวแพทย์สาธารณสุข ๑๐. ประกาศวิทยาลัยฯ ที่ ๑๒/๒๕๖๓ เรื่องเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ประจ�ำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความช�ำนาญในการประกอบวิชาชีพ สาขาเวชศาสตร์ระบบสืบพันธุ์ (ฉบับปรับปรุง) สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 15


สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 16 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


ประกาศสัตวแพทยสภา ที่ ๕๙ / ๒๕๖๔ เรื่อง การรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการ บริหารศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ จากสายงานวิชาชีพ บริษัทและฟาร์ม/คลินิกและโรงพยาบาลสัตว์/ภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ) ---------------------------------------- เนื่องจากคณะกรรมการบริหารศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพการ สัตวแพทย์ สายงานวิชาชีพ จะหมดวาระการด�ำรงต�ำแหน่งในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการสัตวแพทยสภาครั้งที่ ๑๑ / ๒๕๖๔ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ที่ประชุมเห็นชอบ ให้ออกประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์ประเมินฯ สัตวแพทยสภา จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน ของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสายงานวิชาชีพ (บริษัทและฟาร์ม/คลินิกและโรงพยาบาลสัตว์/ภาคราชการ และรัฐวิสาหกิจ) โดยมีคุณสมบัติและเงื่อนไข ดังนี้ ๑. คุณสมบัติของผู้สมัคร ๑.๑ เป็นผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ๑.๒ ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการสัตวแพทย์ในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจ เอกชน ฟาร์มสัตว์ เลี้ยง คลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์ ๑.๓ มีเจตนารมณ์ในการท�ำงานด้านวิชาการของศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานของการ ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ๑.๔ มีความเสียสละและอุทิศเวลาเพื่อเข้าร่วมด�ำเนินงานเกี่ยวกับศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน ของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ๒. เงื่อนไขการท�ำงาน ๒.๑ มีวาระการท�ำงาน ๓ ปี เมื่อครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่แต่ไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน ๒.๒ ไม่มีเงินเดือนประจ�ำ ได้รับเบี้ยประชุมตามระเบียบของสัตวแพทยสภา ๒.๓ เป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานของการประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์ โดยมีอ�ำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๒.๓.๑ จัดระบบการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถของสัตวแพทย์ที่ประสงค์จะประกอวิชาชีพ การสัตวแพทย์ในประเทศไทย ๒.๓.๒ ออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ของศูนย์ ให้อยู่ภายในกรอบวัตถุประสงค์ ๒.๓.๓ ออกระเบียบการประชุมของคณะกรรมการ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 17


๒.๓.๔ ออกระเบียบการบริหารบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารทั่วไปของศูนย์ ๒.๓.๕ ก�ำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อด�ำเนินการต่าง ๆ ของคณะกรรมการ ๒.๓.๖ ก�ำหนดค่าบ�ำรุงและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ๒.๓.๗ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์ และรายงานต่อสัตวแพทยสภาเป็นประจ�ำทุกปี ๒.๓.๘ เสนอแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการ ตลอดจนก�ำหนดอัตรา เงินเดือนและค่าตอบแทน ของผู้จัดการต่อคณะกรรมการสัตวแพทยสภา ๒.๓.๙ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จะจัดให้ทราบโดยทั่วกัน ๓. การรับสมัคร ผู้มีความประสงค์สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์สัตวแพทยสภา และส่งใบสมัคร พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร ผ่านทางอีเมล, แอปพลิเคชันสัตวแพทยสภา, ระบบขนส่งเอกชน หรือใส่ซองปิด ผนึกส่งไปยังส�ำนักงานสัตวแพทยสภา เลขที่ ๖๘/๘ หมู่ ๑ ต�ำบลบางไผ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ ภายในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ โดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทยสภาประทับรับเอกสารเป็นส�ำคัญ ๔. การพิจารณา คณะกรรมการสัตวแพทยสภาเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกบุคคลจากเอกสาร ใบสมัคร เพื่อเป็นกรรมการจากสายงานวิชาชีพ (บริษัทและฟาร์ม) ๑ คน กรรมการจากคลินิกและโรงพยาบาลสัตว์ ๑ คน กรรมการจากภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ ๒ คน รวมทั้งสิ้น ๔ คน เข้าร่วมในคณะกรรมการบริหารศูนย์ประเมินความรู้ ความสามารถขั้นพื้นฐานของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ (มีวาระการด�ำรงต�ำแหน่งระหว่างวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ – วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ) ในหัวข้อต่อไปนี้ ๔.๑ คุณสมบัติของผู้สมัคร ๔.๒ งานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับวิชาชีพการสัตวแพทย์ประกอบด้วย ๔.๒.๑ ท�ำงานในสายงานวิชาชีพจากบริษัทและฟาร์ม ๑ คน ๔.๒.๒ ท�ำงานในคลินิกและโรงพยาบาลสัตว์ ๑ คน ๔.๒.๓ ท�ำงานในสายงานภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ ๒ คน ๔.๓ มีเจตนารมณ์ในการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน ของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ๔.๔ ผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสัตวแพทยสภาการพิจารณาของคณะกรรมการสัตวแพทยสภา ถือเป็นที่สุด ๕. การประกาศผลการคัดเลือก ส�ำนักงานสัตวแพทยสภา จะประกาศผลการคัดเลือกบนเว็บไซต์ของสัตวแพทยสภา www.vetcouncil. or.th และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับการคัดเลือกทราบ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ (รศ.นายสัตวแพทย์ ดร.ธีระ รักความสุข) นายกสัตวแพทยสภา สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 18 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 19


ประกาศสัตวแพทยสภา ที่ ๖๓ / ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ (ขยายเวลา) ---------------------------------------- ตามข้อก�ำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชก�ำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๒) และประกาศเรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑๔) สัตวแพทยสภา จึงออกประกาศมาตรการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ (ขยายเวลา) ให้ทราบดังนี้ ๑. สัตวแพทยสภา ขอเรียนแจ้งสมาชิกสัตวแพทยสภาผู้ที่ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ จะหมดอายุในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ – กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ งดการติดต่อที่ส�ำนักงานสัตวแพทยสภา หากมีความจ�ำเป็นเร่งด่วนให้สามารถจัดส่งเอกสารฯต่างๆ ทาง E-mail : [email protected] หรือ ไลน์สัตวแพทยสภา ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ หรือจนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะคลี่คลาย รวมถึงมิให้บุคคลภายนอกติดต่อหรือเข้าพื้นที่ส�ำนักงานสัตวแพทยสภา ๒. การสัมมนา การประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะท�ำงานฯ ขอให้เลื่อนออกไปก่อน หรือ หากมีความจ�ำเป็น เร่งด่วนให้จัดการประชุมสื่อทางไกล แบบ ๑๐๐ % (เฉพาะอนุกรรมการที่สามารถ ด�ำเนินการได้ตามกฎหมาย) หรือให้บริการด้วยการสื่อสารแบบดิจิทัล ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ หรือจนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จะคลี่คลาย เพื่อให้เป็นไป ตามมาตรการควบคุม ข้อ ๗ (๖) ๓. การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจ�ำส�ำนักงานสัตวแพทยสภายังคงเปิดด�ำเนินการในวัน และเวลาท�ำการ ตามปกติ โดยให้เจ้าหน้าที่สลับสัปดาห์มาท�ำงานที่ส�ำนักงานสัตวแพทยสภา และท�ำงานที่บ้าน โดยอนุมัติ จากเลขาธิการสัตวแพทยสภา ทั้งนี้หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมีการเปลี่ยนแปลง สัตวแพทยสภาจะประกาศมาตรการ ให้ทราบต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ (รศ.นายสัตวแพทย์ ดร.ธีระ รักความสุข) นายกสัตวแพทยสภา สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 20 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


โรคทางปรสิต ในกล้ามเนื ้ อสุกร ที ่ ติดต่อระหว่าง สัตว์และคน สพ.ญ.มนทกานติ์ จิระธันห์ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความของโรคติดต่อระหว่าง สัตว์และคนว่าเป็นโรคที่ติดต่อตามธรรมชาติระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลังและคน (WHO, 2019) ดังนั้น โรคทางปรสิตที่ติดต่อระหว่างสัตว์และคนจะเป็นส่วนร่วมระหว่างโรคทางปรสิตและโรคที่ติดต่อระหว่าง สัตว์และคนซึ่งจะต้องใช้หลักการในการรักษา การควบคุม และการป้องกัน ของทั้งโรคทางปรสิต และ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ปัจจุบันพบปรสิตที่เป็นสาเหตุของโรคทางปรสิตที่ติดต่อระหว่างสัตว์ และคนกว่า 50 ชนิด ท�ำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพทั้งสัตว์และคน มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ตามมา การติดต่อส่วนใหญ่จะผ่านทางอาหารที่ปนเปื้อนไปด้วยเชื้อที่ท�ำให้เกิดโรคเหล่านี้ โรคทางปรสิตที่ติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่อยู่ในระบบกล้ามเนื้อของสุกร มีสาเหตุมาจากการ กินเนื้อสุกรดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ โรคที่มีความส�ำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก ได้แก่ โรคทริคิเนลโลสิส โรคพยาธิตืดหมู และโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ได้แก่ โรคท็อกโซพลาสโมซิส การป้องกันการติดเชื้อ ปรสิตในระบบกล้ามเนื้อสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ คือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภคอาหาร ของคน นั่นคือบริโภคเนื้อสัตว์ที่ผ่านความร้อนมาอย่างเพียงพอ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 21


โรคทริคิโนซิส (Trichinosis) เกิดจากพยาธิตัวกลม ทริคิเนลล่า สไปราลิส (Trichinella spiralis) ชื่อพ้องได้แก่ พยาธิตัวบวม พบการระบาดของโรคนี้ได้ในสุกรและคนทั่วโลก ในประเทศไทยพบการระบาดได้ทั้งในสุกร หนู และสุนัข (มนทกานติ์, 2548) ส�ำหรับในคนพบการระบาดตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมักพบในคนที่ซื้อ สุกรชาวเขาที่เลี้ยงแบบปล่อยน�ำมาฆ่าเพื่อขายหรือ แจกจ่ายกันไปท�ำอาหาร ท�ำให้พบผู้ป่วยครั้งละมาก ๆ เดิมพบผู้เสียชีวิตแต่ปัจจุบันไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต (นิมิตรและเกตุรัตน์, 2546) วงจรชีวิตของโรค จะแพร่มาสู่คนได้โดยการกิน เนื้อสัตว์ที่มีตัวอ่อนของพยาธิในถุงหุ้มที่แฝงอยู่ในกล้าม เนื้อดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ลาบ แหนม หลู้ ก้อย น�้ำตก จากนั้นพยาธิจะถูกย่อยในกระเพาะ ถุงหุ้มตัวอ่อนของ พยาธิจะถูกย่อย ท�ำให้พยาธิออกมาเจริญเติบโตเป็นตัว เต็มวัยภายใน 2-3 วัน จากนั้นจะผสมพันธุ์กันในล�ำไส้เล็ก ออกลูกเป็นตัวอ่อนจ�ำนวนมาก พยาธิตัวอ่อนจะไชเข้าไป ในระบบน�้ำเหลือง และเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ในที่สุดจะแพร่ไปทั่วร่างกาย จากนั้นจะเข้าไปฝังตัวอยู่ ตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ กล้ามเนื้อที่พบมากคือกะบังลม กล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างกระดูกซี่โครง กล้าม เนื้อแก้ม ลิ้น และน่อง นอกจากนี้ยังพบในอวัยวะอื่นของ ร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ปอด สมอง ตับ ตับอ่อน และไต พยาธิตัวอ่อนที่ขดตัวอยู่ในกล้ามเนื้อจะสร้างถุง หุ้มล้อมรอบและภายใน 1 เดือนหลังการติดพยาธิ จะมี หินปูนมาหุ้มอีกชั้นหนึ่ง พยาธิตัวอ่อนในถุงหุ้มนี้มีชีวิตอยู่ ในตัวสัตว์ได้นานถึง 11-24 ปี แต่จะไม่มีการเจริญเติบโต จนกว่าเนื้อสัตว์ที่มีถุงหุ้มของพยาธิจะถูกกินเข้าไป อย่างไรก็ดีอาจมีพยาธิตัวอ่อนบางตัวไม่เจริญเติบโตเป็น พยาธิตัวแก่ในล�ำไส้เล็กแต่จะถูกขับออกมากับอุจจาระ ในกรณีเช่นนี้สัตว์อื่นสามารถติดโรคได้โดยการกิน อุจจาระที่มีตัวอ่อนพยาธิปนเปื้อน โรคนี้ติดต่อมายังสุกร และคน โดยกินเนื้อสุกรหรือสัตว์ชนิดอื่นที่มีตัวอ่อนของ พยาธิ ความรุนแรงของโรคในสุกรขึ้นกับจ�ำนวนพยาธิที่ ได้รับ ในสุกรถ้าได้รับพยาธิไม่มากจะไม่แสดงอาการ ผิดปกติให้เห็น แต่สุกรที่ได้รับพยาธิจ�ำนวนมากจะท�ำให้ สุกรป่วย เช่น มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ผอมแห้ง หายใจล�ำบาก บวมตามหน้า เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ มีปัญหาเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวของขา โดยเฉพาะขาหลังจะแข็งท�ำให้ ลุกขึ้นยืนหรือเดินด้วยความล�ำบากและมีขนหยาบกร้าน สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 22 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


การวินิจฉัยโรคในสุกร ได้แก่ 1. การตรวจทางปรสิตวิทยา 1.1 การตัดชิ้นเนื้อจากกล้ามเนื้อไปตรวจ โดย ใช้กระจกสไลด์ 2 แผ่นกดกล้ามเนื้อให้บางที่สุด (compression) จากนั้นน�ำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ชนิดแสงสว่าง 1.2 การย่อย (digestion) โดยใช้น�้ำย่อยเทียม (acid-pepsin) จากนั้นน�ำตัวอ่อนที่ได้ไปตรวจด้วย กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ 2. การตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา ได้แก่ indirect ELISA (indirect Enzyme-linked immunosorbent assay) 3. การตรวจทางอณูชีววิทยา ได้แก่ PCR (Polymerase chain reaction) ในการรักษาสุกรที่ติดพยาธิชนิดนี้จะท�ำลายได้ เฉพาะตัวเต็มวัยในล�ำไส้ โดยให้ยา Thiabendazole ขนาด 150-200 มิลลิกรัมต่อน�้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ครั้งเดียว แต่ในระยะที่เป็นถุงหุ้มจะ รักษาไม่ได้ การควบคุมและป้องกันโรคในสุกร ได้แก่ 1. เลี้ยงสุกรในคอกที่แข็งแรงหรือในบริเวณที่จ�ำกัด ไม่ปล่อยให้หาอาหารกินเอง 2. ให้อาหารสุกรด้วยอาหารส�ำหรับสุกรโดยตรง ถ้าใช้เศษอาหารที่มีเนื้อสัตว์เลี้ยงสุกรจะต้องต้มให้สุก เพื่อท�ำลายพยาธิตัวอ่อนที่อยู่ในเศษเนื้อสัตว์ได้ 3. กวดขันการเคลื่อนย้ายสุกรในเขตที่มีโรค ระบาด วิธีการที่ดีที่สุดคือ ท�ำลายสุกรที่สงสัยว่าเป็นโรค ทั้งหมดด้วยการเผาหรือฝังให้ลึก 4. ไม่ซื้อสุกรจากแหล่งที่เป็นโรค หรือโดยเกิดโรค ระบาดมาเลี้ยง 5. ควรมีโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานที่มีการตรวจ เนื้อสัตว์ว่าปลอดจากโรคต่างๆ ก่อนน�ำไปจ�ำหน่ายใน ท้องตลาด โรคพยาธิตืดหมู (Pork tapeworm infection) เกิดจากพยาธิตัวตืด ทีเนีย โซเลียม (Taenia solium) ระยะตัวอ่อนของพยาธิ เรียก ซิสติเซอร์คัส เซลูโลเซ่ (Cysticercus cellulosae) ชื่อพ้องได้แก่ พยาธิ เม็ดสาคู พบการระบาดของพยาธิชนิดนี้ในสุกรและคน ทั่วโลก โดยมากพบในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย และแอฟริกา ในประเทศไทยพบการรายงานโรค จากการผ่าซากสุกรร้อยละ 2.79 (62/2,223) ในโรง ฆ่าสัตว์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 (de Jesus and Waramontri, 1916) มีรายงานการรวบรวมการพบ พยาธิเม็ดสาคูระหว่างปี 2507-2510 ในสุกรถึงร้อยละ 2.57 (61,096/2,377,281) (ร�ำพึง, 2515) ไม่กี่ปีมานี้ ผู้เขียนยังพบถุงน�้ำในกล้ามเนื้อสุกรอยู่ แต่ไม่พบการ รายงานการพบพยาธิในขณะที่พบคนที่ติดพยาธิชนิดนี้ได้ ทุกภาค และพบผู้ป่วยได้ตั้งแต่อายุ 7-83 ปี (Anantaphruti, 2013) ในปี ค.ศ. 2000-2005 พบความ ชุกของโรคต�่ำกว่าร้อยละ 1 โดยพบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีรายงานการพบ ไข่พยาธิ T. solium จากอุจจาระของผู้ป่วย 5 ราย ในจังหวัดกาญจนบุรี (Waikagul et al., 2006) คนเป็นโฮสต์จ�ำเพาะ (definitive host) ของพยาธิ ชนิดนี้ เมื่อได้รับพยาธิเข้าไปในร่างกาย โดยการกินเนื้อ สุกรดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบที่มีตัวอ่อนของพยาธิฝังตัวอยู่ เมื่อพยาธิเข้าไปในล�ำไส้เล็กส่วนหัวของตัวอ่อนที่หดซ่อน อยู่จะยื่นออกมาภายนอก พยาธิตัวอ่อนจะเอาส่วนหัว เกาะกับผนังล�ำไส้เล็ก พยาธิตัวตืดจะได้รับสารอาหาร จากอาหารในล�ำไส้เล็กของคน โดยการดูดซึมเข้าทาง ผิวหนังของพยาธิโดยตรง หลังจากนั้นพยาธิจะเจริญเป็น ตัวแก่ โดยการสร้างปล้องเพิ่มจ�ำนวนและความยาวออก ไปเรื่อยๆ จากนั้นจะเกิดการผสมพันธุ์ขึ้นภายในปล้อง (self-fertilization) ออกไข่ซึ่งจะเจริญเป็นตัวอ่อนที่มี ขอเกี่ยว (hook) ที่หัวจ�ำนวน 6 อัน (oncosphere หรือ hexacanth larva) อยู่ภายในไข่ ปล้องสุกที่มีไข่อยู่ภายใน (gravid segments หรือ gravid proglottids) สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 23


ที่อยู่ส่วนปลายสุดของตัวพยาธิจะหลุดออกจากล�ำตัว ทีละ 4-5 ปล้อง ออกมาในอุจจาระของคน ซึ่งผู้ป่วยอาจ เห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นแผ่นแบนๆ สีขาวเคลื่อนไหวได้ เมื่อคนถ่ายอุจจาระลงพื้นดิน ไข่ของพยาธิจะมาปะปนอยู่ ในดิน และสามารถมีชีวิตอยู่ในดินและสิ่งแวดล้อม ภายนอกได้นานถึง 2 เดือน เพราะไข่พยาธิมีเปลือกหนา หุ้มอยู่ภายนอก เมื่อสุกรที่เป็นโฮสต์กึ่งกลาง (intermediate host) กินอาหารที่มีไข่พยาธิปนเปื้อนอยู่ เข้าไป เปลือกไข่และเยื่อหุ้มตัวอ่อนจะถูกย่อยโดยน�้ำย่อย ในกระเพาะอาหารของสุกร ตัวอ่อนที่ออกจากไข่จะไช ผนังกระเพาะอาหารหรือล�ำไส้เล็กเข้าไปในเส้นเลือดและ ท่อน�้ำเหลืองขนาดเล็ก จากนั้นกระจายไปตามระบบไหล เวียนโลหิตและน�้ำเหลืองไปยังอวัยวะต่างๆ ในสุกร ท�ำให้ พบถุงหุ้มที่กล้ามเนื้อ ระบบประสาทส่วนกลาง และตับ เมื่อตัวอ่อนฝังตัวจะมีถุงน�้ำผนังบางๆ ล้อมรอบ ลักษณะ มองเห็นด้วยตาเปล่าคล้ายเม็ดสาคูสีขาวฝังอยู่ในเนื้อสุกร ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในเวลาประมาณ 70 วันหลังจากสุกรกิน ไข่พยาธิเข้าไป และถุงหุ้มนี้จะอยู่นานเป็นปี เมื่อคนกิน เนื้อสุกรดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบก็จะติดพยาธิได้ โรคนี้ติดต่อมายังสุกรโดยกินไข่พยาธิที่อยู่ใน อุจจาระคน ในคนจะติดพยาธิชนิดนี้ได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. ทีนิโอซิส (Taeniosis) คือการที่มีพยาธิตัวเต็ม วัยอยู่ในล�ำไส้ โดยการรับประทานเนื้อสุกรดิบ หรือกึ่งสุก กึ่งดิบ ที่มีตัวอ่อนของพยาธิระยะถุงหุ้ม 2. ซิสติเซอร์โคซิส (Cysticercosis) คือการที่มีถุง หุ้มตัวอ่อนของพยาธิอยู่ภายใน โดยที่ถุงหุ้มนี้เองจะไปฝัง ตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆ การเกิดโรคมี 3 วิธี ได้แก่ 2.1 การกินอาหารที่ปนเปื้อนด้วยไข่ของพยาธิตืด โดยเฉพาะพืชผักสดที่ล้างไม่สะอาด ซึ่งผักเหล่านี้ปลูก โดยการใช้อุจจาระคนเป็นปุ๋ยรดผัก หรือรดด้วยน�้ำที่ปน เปื้อนอุจจาระคน น�้ำที่ใช้ล้างวัตถุดิบที่ใช้ท�ำอาหาร อาจมี การปนเปื้อนดินที่มีไข่พยาธิอยู่ ซึ่งจะท�ำให้ไข่พยาธิปะปน เข้าไปในอาหารได้ 2.2 การขย้อนเอาปล้องแก่ที่หลุดออกจาก พยาธิตัวเต็มวัยที่อยู่ในล�ำไส้เล็ก ย้อนกลับเข้าไปใน กระเพาะอาหารของตัวเอง สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 24 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


2.3 คนที่มีพยาธิตัวเต็มวัยอยู่ในล�ำไส้ ใช้มือ ล้างก้นหรือเกาบริเวณทวารหนัก ไข่พยาธิจะติดนิ้วมือ ถ้า คนนั้นไม่ล้างมือแล้วใช้มือจับอาหารเข้าปาก พยาธิจะเข้า สู่ร่างกายได้ สุกรที่ติดพยาธิชนิดนี้จะไม่แสดงอาการใดๆ วินิจฉัยโรคโดยเมื่อผ่าซากสุกรจะพบตัวอ่อนระยะถุงหุ้ม ในกล้ามเนื้อ การรักษาสุกรที่ติดพยาธิ จะให้ยา Oxfendazole 30 มิลลิกรัมต่อน�้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้กินเพียงครั้งเดียว ส�ำหรับการควบคุมและป้องกันโรคในสุกรจะลี้ยงสุกร ในคอกที่ถูกสุขลักษณะ อย่าปล่อยให้หาอาหารกินเอง โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ท็อกโซพลาสมา กอนดิไอ (Toxoplasma gondii) ชื่อพ้องได้แก่ โรคขี้แมว โรคนี้ พบได้ทั่วโลก พบมากในแถบร้อนที่มีความชื้นสูงที่ทวีป อเมริกาใต้ ยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ แอฟริกา (Pappas et al., 2009) ส�ำหรับในประเทศไทย มีการส�ำรวจความชุกทางซีรัมวิทยาของโรคท็อกโซพลาส โมสิสในสัตว์ตระกูลแมว และหนูที่เป็นเหยื่อ พบความชุก ร้อยละ 11.6 (34/293) (รวงรัตน์และคณะ, 2559) แมวซึ่งเป็นโฮสต์จ�ำเพาะที่มีเชื้อ T. gondii จะปล่อยโอโอซิสต์ปนออกมากับอุจจาระ แล้วพัฒนาไป เป็นโอโอซิสต์ระยะติดต่อในสิ่งแวดล้อม เมื่อถูกโฮสต์ กึ่งกลาง ได้แก่ หนูและสัตว์ปีกชนิดต่างๆ ได้รับโอโอซิสต์ โอโอซิสต์จะพัฒนาไปเป็นซิสต์ในกล้ามเนื้อของหนูหรือ สัตว์ปีก ซึ่งภายในมีเชื้อระยะบราดีซอยต์ (bradyzoite) แมวได้รับเชื้อโดยกินโฮสต์กึ่งกลาง ได้แก่ หนูหรือสัตว์ปีก ที่มีเชื้อระยะซิสต์ในกล้ามเนื้อ ในกล้ามเนื้อมีการแบ่งตัว แบบมีเพศ ได้เป็นโอโอซิสต์ออกมากับอุจจาระ หรือกินโอ โอซิสต์จากอุจจาระแมวตัวอื่นที่มีเชื้อ ส่วนสัตว์อื่นๆ เช่น สุกร แพะ แกะ จะได้รับเชื้อผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อน โอโอซิสต์ระยะติดต่อจากอุจจาระแมว เมื่อเข้าไปใน ร่างกายโอโอซิสต์จะแตกออกที่ล�ำไส้เล็กจากนั้นเชื้อจะไช ผ่านผนังล�ำไส้เล็กเข้ากระแสโลหิตไปทั่วร่างกาย และ อวัยวะภายในต่างๆ โดยจะเข้าอยู่ในเซลล์ และแบ่งตัว เพิ่มจ�ำนวนโดยไม่อาศัยเพศ พัฒนามาเป็นซิสต์ในกล้าม เนื้อสุกร แพะ แกะ การติดต่อส�ำหรับสุกรกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระ แมวที่มีเชื้อหรือกินเนื้อของสุกร ซึ่งมีเชื้ออยู่ในระยะซิสต์ ส�ำหรับในคนมีการติดโรคเหมือนของสัตว์ แต่มีวิธีอื่นเพิ่ม เติมดังนี้ 1. สามารถติดเชื้อจากการได้รับการผ่าตัดเปลี่ยน อวัยวะหรือการได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้อ 2. เด็กทารกในครรภ์ได้รับเชื้อทางรกจากมารดา 3. การดื่มน�้ำที่ปนเปื้อนโอโอซิสต์ อาการในสุกร ซึ่งเป็นโฮสต์กึ่งกลางของโรค จะไม่พบ อาการใดๆ ยกเว้นในกรณีที่รุนแรง อาจพบอาการต่อมน�้ำ เหลืองอักเสบ ตับโต ปอดบวม และอาการทางประสาท กรณีที่สัตว์ท้อง อาจพบการแท้งในระยะกลางของการตั้งท้อง หรือลูกตายแรกคลอด การวินิจฉัยโรคในสุกร มีดังนี้ ได้แก่ 1. ตรวจหาเชื้อโดยวิธีทางพยาธิวิทยา 2. ตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา ได้แก่ IFAT (indirect Fluorescent, indirect ELISA, LAT (Latex agglutination test) 3. ตรวจทางอณูชีววิทยา ได้แก่ PCR การรักษา ในสุกรไม่พบรายงานการรักษา การควบคุมและป้องกันโรคในสุกร ได้แก่ การไม่ให้แมวเข้าคอกสุกร เอกสารอ้างอิง นิมิตร มรกต เกตุรัตน์ สุขวัจน์. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ โปรโตซัวและหนอนพยาธิ. โครงการต�ำรา คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2546. มนทกานติ์ วงศ์ภากร. “โรคทริคิโนซิส (Trichinosis).” 2548. [Internet] Available from : http://niah.dld. go.th/th/AnimalDisease/pig_trichi.htm. มานพ ม่วงใหญ่. วิทยาสัตว์เซลล์เดียวทางสัตวแพทย์ (Veterinary Protozoology). คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2545. สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 25


รวงรัตน์ พุทธิรงควัตร กฤษฎา ใจชื้น ศิริพร ตั้งสุดใจ รื่นฤทัย อุดรโสม แอนดริว ทอมป์สัน องอาจ มหิทธิกร พารณ ดีค�ำย้อย และเยาวลักษณ์ สุขธนะ. . ความชุกและ การวิเคราะห์พันธุกรรมของเชื้อ Toxoplasma gondii ในแมวบ้าน สัตว์ป่าตระกูลแมวในกรงเลี้ยง สัตว์ป่า ตระกูลแมวในธรรมชาติ และสัตว์กลุ่มหนูที่เป็นเหยื่อ ในประเทศไทย. เวชชสารสัตวแพทย์. 2559;46(2):209- 18. ร�ำพึง ดิสสะมาน. ปัญหาของโรคพยาธิเม็ดสาคูในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร. 2515;5: 152-8. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กลุ่มปาราสิตวิทยา. 2548b. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์: โรคทริคิโนซิส. การ ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อก�ำหนดมาตรฐานการ ชันสูตร โรคทริคิโนซิส ระหว่างวันที่ 8–10 สิงหาคม 2548. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. กรุงเทพฯ. 2548b;43 หน้า. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กลุ่มปรสิตวิทยา. การชันสูตร โรคท็อกโซพลาสโมซิสในสัตว์. กรมปศุสัตว์ กระทรวง เกษตรและสหกรณ์. 2554. สุภรณ์ โพธิ์เงิน. หนอนพยาธิวิทยาสาขาสัตวแพทยศาสตร์. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ส�ำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2525. Anantaphruti MT, Yamasaki H, Nakao M, Waikagul J, Watthanakulpanich D, Nuamtanong S, Maipanich W, Pubampen S, Sanguankiat S, Muennoo C, Nakaya K., Sato MO, Sako Y, Okamoto M, Ito A. Sympatric occurrence of Taenia solium, T. saginata, and T. asiatica, Thailand. Emerg. Infect. Dis. 2007;13:1413–6. Anantaphruti MT. Current status of Taeniasis in Thailand. Korean J Parasitol. 2013;51(1): 37-42. de Jesus Z, Waramontri J. Parasites of domesticated animals in Thailand. Worm parasites of the pig. J Nalt Res Council Thai. 1961;2:11-25. Faust EC, Russell RF, Jung RC. Craig and Faust’s clinical parasitology. 8th eds. Lea and Febiger, Philadelphia, USA. 1970. Gonzalez AE, Bustos JA, Jimenez JA, Rodriguez ML, Ramirez MG, Gilman RH, Garcia HH. Efficacy of diverse antiparasitic treatments for Cysticercosis in the pig model. Am J Trop Med Hyg. 2012;87(2):292–6. Mkupasi EM,Sikasunge CS, Ngowi HA, Johansen MV. Efficacy and safety of anthelmintics tested against Taenia solium Cysticercosis in pigs. PLoS Negl Trop Dis. 2013;7(7):e2200. OIE (World Organization for Animal Health). Chapter 2.2.9. Trichinellosis. In: Manual of diagnostic test and vaccines for terrestrial animals. 5th eds. Office International Des Epizooties, France. 2004. p. 409–38. OIE (World Organization for Animal Health). “Chapter 3.9.5. Cysticercosis.” In: Manual of diagnostic test and vaccines for terrestrial animals. 2018d [Internet] Available from : http://www.oie.int/ standard-setting/terrestrial-manual/access-online/. OIE (World Organization for Animal Health). 2018d. “Chapter 3.9.9. Toxoplasmosis.” In: Manual of diagnostic test and vaccines for terrestrial animals. 2018d [Internet] Available from: :http:// www.oie.int/fileadmin/Home/eng/Health_ standards /tahm/3.09.09_TOXO.pdf. Pappas G, Roussos N, Falagas ME. Toxoplasmosis snapshots: Global status of Toxoplasma gondii seroprevalence and implications for pregnancy and congenital Toxoplasmosis. Int J Parasitol. 2009;39:1385-94. Roberts LS, Janovy JR. Foundations of Parasitology. 7th eds. Mc Graw Hill Higher Education. Boston, USA. 2005. Soulsby EJL. Helminths, arthropods and protozoa of domesticated animals. 7th ed. Balliere Tindall Publisher, London, England. 1982. Waikagul J, Dekumyoy P, Anantaphruti MT. 2006. Taeniasis, cysticercosis and echinococcosis in Thailand. Parasitol Int. 2006;55 (suppl):S175-80. สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 26 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


1. โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนหมายถึง ก. โรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและคน ข. โรคติดต่อจากสัตว์ทุกชนิดและคน ค. โรคติดต่อจากสัตว์มีกระดูกสันหลังและคน ง. โรคติดต่อจากสัตว์บกและคน 2. โรคทางปรสิตที่ติดต่อระหว่างสัตว์และคนส่วนมากคนจะได้รับเชื้อทางใด ก. การหายใจเอาสิ่งปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ข. การกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกดี ค. การสัมผัสเนื้อสัตว์ ง. การไม่สวมรองเท้าเดิน 3. โรคทริคิเนลโล เกิดจากพยาธิชนิดใด ก. พยาธิตัวกลม Trichinella spiralis ข. พยาธิตัวกลม Trichinea spiralis ค. พยาธิตัวตืด Trichinella spiralis ง. พยาธิตัวตืด Trichinea spiralis 4. โรคทริคิเนลโล พบการระบาดครั้งแรกที่ประเทศไทยที่จังหวัดอะไร ก. เชียงราย ข. แม่ฮ่องสอน ค. เลย ง. เชียงใหม่ 5. การควบคุมและป้องกันโรคทริคิเนลโล ข้อใดถูก ก. เลี้ยงรวมกับสัตว์ชนิดอื่น ข. ให้อาหารเม็ดส�ำหรับเลี้ยงสุกร ผสมกับอาหารเหลือจากการบริโภค ค. เลี้ยงตามธรรมชาติ โดยปล่อยสุกรให้หากินเอง ง. ให้เศษอาหารจากครัวเรือนแต่ต้องผ่านการหุงต้มให้สุก ค�ำถามเรื ่ อง โรคทางปรสิตในกล้ามเนื ้ อสุกร ที่ติดต่อระหว่างสัตว์และคน สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 27


6. โรคตืดหมู เกิดจากพยาธิชนิดใด ก. พยาธิตัวตืด Cysticercus cellulosae ข. พยาธิตัวตืด Cysticercus bovis ค. พยาธิตัวตืด Taenia solium ง. พยาธิตัวตืด Taenia saginata 7. คนเป็นพยาธิตืดหมูได้อย่างไร ก. กินผักกาดที่เลี้ยงโดยอุจจาระสุกรที่เป็นโรคพยาธิตืดหมู ข. กินเนื้อสุกรสุกๆดิบๆที่มีพยาธิตัวอ่อนในกล้ามเนื้อ ค. กินไข่พยาธิตืดหมูจากสุกรที่ปนเปื้อนไปกับอาหารที่ปรุงไม่สุก ง. กินน�้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระสุกรที่เป็นโรคพยาธิตืดหมู 8. โรคท็อกโซพลาสโมสิส เกิดจากพยาธิชนิดใด ก. เชื้อพยาธิตัวกลม Toxoplasma gondii ข. เชื้อพยาธิตัวกลม Toxocara gondii ค. เชื้อพยาธิโปรโตซัว Toxoplasma gondii ง. เชื้อพยาธิโปรโตซัว Toxocara gondii 9. สุกรเป็นโรคท็อกโซพลาสโมสิส ได้อย่างไร ก. กินเศษอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระหนูที่เป็นโรคท็อกโซพลาสโมสิส ข. กินเศษอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระสุกรที่เป็นโรคท็อกโซพลาสโมสิส ค. กินเศษอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระคนที่เป็นโรคท็อกโซพลาสโมสิส ง. กินเศษอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระแมวที่เป็นโรคท็อกโซพลาสโมสิส 10. การควบคุมและป้องกันโรคท็อกโซพลาสโมสิสในสุกร คืออะไร ก. ไม่ให้คนขับถ่ายบริเวณคอกสุกร ข. ไม่เลี้ยงสุกรรวมกัน ค. ไม่ให้แมวเข้าไปในคอกสุกร ง. ก�ำจัดหนูภายในคอกสุกร สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 28 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


ช่องทางการส่งค�ำตอบ เพื่อขอหน่วยกิตสะสม (เลือกช่องทางใดช่องทางหนึ่งเท่านั้น) ๑. ท�ำในกระดาษค�ำตอบ แล้วพับปิดผนึก ส่งไปรษณีย์ ทางธุรกิจตอบรับ (ไม่ต้องติดแสตมป์) ๒. ท�ำในกระดาษค�ำตอบ แล้วถ่ายรูปส่งมาทาง LINE Official Account ของสัตวแพทยสภา หรือส่งมาที่อีเมล [email protected] ๓. ท�ำแบบทดสอบผ่านหน้าเว็บไซต์ (Google form) https://forms.gle/o2pejBnQZXxZnNok7 Scan QR code เพื่อเข้าท�ำ LINE ID: @vetcce CE- vol.35 ชื่อ-สกุล............................................................................. เลขที่ใบอนุญาตฯ.............................................................. ก ข ค ง ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ หมดเขตส่งค�ำตอบ ภายในวันที่ ๓๐ เม.ย. ๒๕๖๕ จากศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์ กระดาษค�ำตอบ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่๓๕ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 29


(กระดาษค�ำตอบส�ำหรับชุดค�ำถาม-ค�ำตอบ สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕) ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์ ผู้ฝาก ................................................................................. ................................................................................. ................................................................................. ................................................................................. ผู้รับ ส�ำนักงานสัตวแพทยสภา ๖๘/๘ หมู่ ๑ ถนนนครอินทร์ ต�ำบลบางไผ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ บริการธุรกิจตอบรับ ใบอนุญาตเลขที่ ปน.(น)/๔๑๗๐ ปณศ.นนทบุรี ถ้าฝากส่งในประเทศไม่ต้องผนึกตราไปรษณียากร สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 30 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 31


สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 32 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 33


สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 34 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ 35


สารสัตวแพทยสภา ฉบับที่ 36 ๓๕ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔


Click to View FlipBook Version